มีวัตถุมงคลสายพระป่ากรรมฐานให้บูชาราคาเบาๆ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Somchai 2510, 8 กันยายน 2019.

  1. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 799 ล็อกเก็ตรูปไข่ฉากฟ้าขาวหลวงปู่ท่อน ญาณธโร พระอรหันต์เจ้าวัดศรีอภัยวัน อ.เมือง จ.ขอนเเก่น หลวงปู่ท่อนเป็นศิษย์รุ่นใหญ่หลวงปู่คำดี ปภาโส วัดถํ้าผาปู่ ล็อกเก็ตสร้างปี 2553 มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล *********บูชาที่ 245 บาทฟรีส่งems
    หลวงปู่ท่อน ญาณธโร วัดศรีอภัยวัน จ.เลย
    %E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B0-25-%E0%B8%A1.%E0%B8%84.jpg

    หลวงปู่ท่อน ญาณธโร วัดศรีอภัยวัน จ.เลย
    หลวงปู่ท่อน ญาณธโร – หรือ “พระราชญาณวิสุทธิโสภณ” อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีอภัยวัน ต.นาอ้อ อ.เมือง จ.เลย พระเถรา จารย์สายกัมมัฏฐาน ที่มีความเชี่ยวชาญด้านจิตตภาวนาและวิทยาคมอันเป็นเอกลักษณ
    • มีนามเดิม ท่อน ประเสริฐพงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 3 พ.ค.2471 ที่บ้านหินขาว จ.ขอนแก่น
    ช่วงวัยหนุ่มฉกรรจ์ เป็นคนติดเพื่อนฝูง กินเหล้าเมายา ทำให้บิดา–มารดา เป็นกังวลใจมาก จึงนำไปฝากกับหลวงปู่คำดี ปภาโส วัดป่าชัยวัน จ.ขอนแก่น แต่หลวงปู่คำดี มีข้อแม้ว่า ก่อนบวชจะต้องรักษาศีล นุ่งห่มขาว เจริญภาวนา กินข้าวมื้อเดียวก่อน

    ครั้นอยู่ทดสอบจิตใจได้ 5 เดือน จึงอนุญาตให้เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.2491 ที่พัทธสีมา วัดศรีจันทร์ อ.เมือง จ.ขอนแก่น โดยมีพระครูพิศาลสารคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูคัมภีรนิเทศ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระมหาสุพจน์ อุตตโม เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    หลังอุปสมบท เดินทางไปอยู่กับหลวงปู่คำดี ที่วัดป่าชัยวัน โดยหลวงปู่คำดี เป็น อาจารย์กัมมัฏฐาน เน้นเรื่องสติ สมาธิ และปัญญา

    ระยะเวลาผ่านไปนานพอสมควร ท่านได้ช่วยครูบาอาจารย์ แบ่งเบาภาระในการสอนคนที่จะมาบวช ด้วยการสอนขานนาค เป็นต้น ครั้นถึงช่วงออกพรรษา ได้เป็นหัวหน้าเดินธุดงค์เข้าป่าเป็นกิจวัตร

    ครั้งหนึ่งท่านมีโอกาสพบหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์สายพระป่า และได้รับโอวาทอันทรงคุณค่าจากหลวงปู่มั่น ให้เร่งทำความเพียร มิให้ประมาท ชีวิตอยู่ได้ไม่นานต้องตาย

    นอกจากนี้ ยังมีโอกาสไปกราบเยี่ยมครูบาอาจารย์หลายท่าน อาทิ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงปู่หลุย จันทสาโร, หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี เป็นต้น

    หลังจากช่วยงานการครูบาอาจารย์เสร็จสิ้น หลวงปู่คำดีนำหมู่คณะออกวิเวกไปทาง จ.เลย ตอนนั้น หลวงปู่ท่อนบวชได้ 7 พรรษาแล้ว
    พ.ศ.2497 หลวงปู่คำดี นำคณะเข้าป่าและถ้ำต่างๆ ภาวนาทำความเพียร ญาติโยมมาฟังธรรมะ และในพรรษานี้ หลวงปู่ท่อนอยู่จำพรรษาที่วัดถ้ำผาปู่กับหลวงปู่คำดีด้วย

    หลวงปู่ท่อน อยู่ที่วัดถ้ำผาปู่ได้ 2 พรรษา มีญาติโยมมาขอให้ไปโปรดที่วัดถ้ำตีนผา อ.เชียงคาน 1 พรรษา ต่อมาหลวงปู่คำดีเกิดอาพาธเจ็บป่วยด้วยโรคชรา ท่านจึงกลับมาเยี่ยมและช่วยสร้างวัดถ้ำผาปู่ไปด้วย จวบกระทั่ง หลวงปู่คำดี มรณภาพอย่างสงบ

    พ.ศ.2500 ญาติโยมได้นิมนต์ให้หลวงปู่ท่อนไปอยู่ที่ป่าช้านาโป่ง และสร้างเป็นวัดศรีอภัยวัน ในเนื้อที่ประมาณ 40 ไร่ รวมทั้งรักษาความเป็นป่าอย่างสมบูรณ์ไว้ จากนั้นมา หลวงปู่ท่อน จำพรรษาที่วัดศรี อภัยวัน จ.เลย ตราบจนถึงปัจจุบัน

    เนื่องจากหลวงปู่ท่อนเป็นพระป่า ที่วัดจึงไม่มีสิ่งก่อสร้างใหญ่โต กุฏิเป็นเพียงกุฏิเล็กๆ ปัจจัยที่ได้รับจากญาติโยม ล้วนแบ่งเอาไว้ใช้เท่าที่จำเป็น ส่วนใหญ่จะแบ่งปันให้แก่วัดที่ขาดแคลนหรือทุรกันดาร

    ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2503 เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีอภัยวัน พ.ศ.2526 เป็นเจ้าคณะอำเภอเชียงคาน–ภูเรือ (ธ) พ.ศ.2532 เป็นเจ้าคณะอำเภอเชียงคาน–ปากชม (ธ) พ.ศ.2550 เป็นเจ้าคณะจังหวัดเลย (ธ)

    พ.ศ.2555 ที่ปรึกษาเป็นเจ้าคณะจังหวัดเลย (ธ)

    ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2514 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ที่ พระครูญาณธราภิรัติ พ.ศ.2527 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอกในราชทินนามเดิม พ.ศ.2531 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษในราชทินนามเดิม

    พ.ศ.2535 เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ครบ 5 รอบ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระญาณทีปาจารย์ เป็นกรณีพิเศษ

    พ.ศ.2550 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ “พระราชญาณวิสุทธิโสภณ”

    อย่างไรก็ตาม เมื่อย่างเข้าวัยชรา หลวงปู่ได้อาพาธด้วยโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ต้องเดินทางเข้าไปตรวจเช็กสุขภาพที่โรงพยาบาลอย่างสม่ำเสมอ

    ท้ายที่สุด ละสังขารอย่างสงบ เมื่อวันที่ 7 เม.ย.2561 เวลา 16.46 น. ที่ ร.พ.วิชัยยุทธ กรุงเทพฯ สิริอายุ 90 ปี พรรษา 70

    ในการนี้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จ ในการพระราชทานเพลิง วันเสาร์ที่ 26 ม.ค.2562 เวลา 14.30 น. ณ วัดศรีอภัยวัน ต.นาอ้อ อ.เมือง จ.เลย

    sam_5671-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_6260-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_6259-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_1986-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg
     
  2. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 800
    รูปหล่อเหมือนพระพุทธชิณราชหลวงปู่อร่าม ชิณวังโส พระอรหันต์เจ้าวัดป่าถํ้าเเกลบ อ.เมือง จ.เลย หลวงปู่อร่ามเป็นศิษย์หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม เนื้อทองเหลือง มีตอกโค๊ต อ ใต้องค์พระ มีบรรจุมวลสารพลอยเสกใต้องค์พระ มาพร้อมกล่องเดิม พระใหม่ไม่เคยใช้ >>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล **********บูชาที่ 245 บาทฟรีส่งems partiharn_1525936529_3410-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg

    จังหวัดเลย มีพระเถระที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบหลายรูป อาทิ หลวงปู่ท่อน ญาณธโร วัดศรีอภัยวัน, หลวงปู่พัน จิตธัมโม วัดป่าน้ำภู, หลวงปู่ขันตี ญาณวโร วัดป่าม่วงไข่ ฯลฯ
    แต่ยังมีพระเถระผู้ใหญ่อีกรูปหนึ่ง เป็นพระสายปฏิบัติ คือ "หลวงปู่อร่าม ชินวังโส" วัดป่าถ้ำแกลบ บ้านท่าวังแคน ต.ศรีสองรัก อ.เมืองเลย จ.เลย
    ประวัติโดยสังเขปจากหนังสือที่บรรดาลูกศิษย์รวบรวม เนื่องในงานวันเกิดครบ 86 ปี บันทึกเอาไว้ว่า หลวงปู่อร่าม มีนามเดิมชื่อ อร่าม ศรีคำมี เกิดเมื่อวันที่ 10 พ.ค.2470 ที่บ้านท่ามะนาว ต.นาอ้อ อ.เมืองเลย จ.เลย ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา
    สมัยเป็นเด็ก ชอบไปวัดกับโยมแม่ ท่านเป็นผู้มีอัธยาศัยเรียบร้อย ไม่เคยก่อปัญหาให้กับครอบครัว เมื่ออายุ 3 ขวบ บิดาของท่านเสียชีวิต
    อายุ 7 ขวบ เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดในหมู่บ้าน
    ย่างวัยหนุ่ม เข้าทำงานที่แขวงการทาง อายุ 35 ปี แต่งงานมีครอบครัวอยู่ที่บ้านหนองเสือคราง ต.หนองบัว อ.ภูเรือ จ.เลย
    แต่แล้วเมื่อลูกสาวอายุ 5 ขวบ เจ็บป่วยหนักและเสียชีวิต ทำให้ท่านปลงอนิจจังกับชีวิต เกิดความเบื่อหน่าย จึงออกบวชขณะอายุ 48 ปี ที่วัดศรีอภัยวัน บ้านนาอ้อ ต.นาอ้อ อ.เมือง โดยมีหลวงปู่ศรีจันทร์ วัณณาโภ เจ้าอาวาสวัดศรีสุทธาวาส อ.เมืองเลย เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูญาณธราภิรัติ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระถนัด เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายานาม ชินวังโส
    หลังอุปสมบทจำพรรษาอยู่ที่วัดศรีอภัยวัน ท่านอยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ท่อน ญาณธโร เป็นเวลา 5 พรรษา
    จากนั้นหลวงปู่อร่าม ลาไปจำพรรษาอยู่ที่วัดถ้ำผาปู่ ต.นาอ้อ กับหลวงปู่คำดี ปภาโส เป็นเวลา 2 พรรษา ก่อนเดินธุดงค์ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดป่านาศรีเทียน อ.ด่านซ้าย จ.เลย
    ต่อมาท่านไปกราบหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ที่วัดหนองบัวบาน อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี ซึ่งหลวงปู่อ่อนเมตตาสั่งสอนข้อปฏิบัติให้ ตลอดจนถึงการเร่งความเพียรในการภาวนา
    อยู่รับใช้อุปัฏฐากหลวงปู่อ่อน ที่วัดป่านิโคธาราม ระหว่างนั้นหลวงปู่อร่ามก็ขออนุญาตออกธุดงค์ เพียงลำพัง ท่านธุดงค์มาที่บ้านน้ำสวยโพนสว่าง อ.เมือง จ.เลย ออกไปที่วัดถ้ำแกลบ ปฏิบัติธรรมภาวนาอยู่ในถ้ำ
    ต่อมาชาวบ้านท่าวังแคน ต.ศรีสองรัก อ.เมืองเลย มีความเลื่อมใสศรัทธา จึงสร้างกุฏิชั่วคราวที่ถ้ำแกลบ เป็นกุฏิทำจากไม้ไผ่ให้หลวงปู่อร่าม
    ผ่านไปไม่นาน มีชาวบ้านถวายที่ดินให้เพื่อสร้างวัดขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า "วัดถ้ำแกลบ"
    หลวงปู่อร่าม ชินวังโส เป็นพระเถระที่ชอบความสงบ มักน้อย สันโดษ ปฏิบัติเคร่งครัดในพระธรรมวินัย ยึดถือแนวทางปฏิบัติมาจากหลวงปู่อ่อน นับเป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบรูปหนึ่งของจังหวัดเลย
    หลวงปู่อร่าม เป็นพระสายป่า (ธ) ยึดถือแนวทางปฏิบัติมาจากหลวงปู่อ่อน นับเป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบรูปหนึ่งของจังหวัดเลย sam_7022-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_7023-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_7024-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_7026-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_1967-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg

     
  3. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 801
    เหรียญเสมาสมปรารถนาเนื้อสามกษัตริย์หลวงปู่เเก้ว สุจิณโณ พระอรหันต์เจ้าวัดถํ้าเจ้าผู้ข้า อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร หลวงปู่เเก้วเป็นศิษย์หลวงปู่เเบน ธนากโร วัดดอยธรรมเจดีย์,หลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถํ้าผาบิ้ง เหรียญสร้างปี 2559 เนื้อ 3 กษัตริย์อัลปาก้า,ทองเเดง,กะไหล่ทอง มีตอก 3 โค๊ต,โค๊ตตัวเลข 149 เเละโค๊ต ซุ้มลายไทย หลังเหรียญ เเละโค๊ต ยันต์หน้าเหรียญ**********บูชาที่ 285 บาทฟรีส่งems >>>>>>> ประวัติโดยย่อของหลวงปู่เเก้วเเละประวัติวัดถํ้าเจ้าผู้ข้า หลวงปู่แก้ว สุจิณฺโณ วัดถ้ำเจ้าผู้ข้า อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ละสังขารอย่างสงบแล้ววันนี้ ตรงกับวันศุกร์ที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๓ ณ โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร สิริอายุ ๗๖ ปี ๗ เดือน ๒๘ วัน พรรษา ๕๒ ท่านเป็นศิษย์ในองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร , หลวงปู่แบน ธนากโร
    ".. ถ้าอยากจะชำระก็ขอให้ชำระกิเลสตัณหาที่มีอยู่ในใจของเรา อย่าไปชำระบาป บาปนั้นชำระไม่ได้ ถ้าไม่อยากจะรับผลของบาป ก็อย่าไปทำเสียตั้งแต่วันนี้ .." โอวาทธรรมหลวงปู่แก้ว สุจิณโณ

    #อัตโนประวัติหลวงปู่แก้ว_สุจิณฺโณ
    ท่านมีนามเดิมว่า "ทองแก้ว ฮ่มป่า" เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ.๒๔๘๖ ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะแม ณ บ้านห้วยหีบ ต.ตองโขบ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายจันทร์ และนางวงศ์ ฮ่มป่า
    ในช่วงวัยเยาว์ หลังจากที่ได้เรียนจบภาคบังคับในหมู่บ้านแล้วออกมาช่วยพ่อแม่ทำนา ทำสวน ทำไร่ เหมือนชาวชนบทภาคอีสานทั่วไป
    เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ หลังจากที่ผ่านการคัดเลือกเกณฑ์ทหารแล้ว จึงได้คิดอุปสมบทเพื่อทดแทนบุญคุณพ่อแม่ อย่างไรก็ดี ท่านยังหาโอกาสเหมาะสมมิได้ เนื่องจากติดขัดที่ฐานะทางบ้านต้องช่วยเหลือครอบครัว แต่จิตใจก็ยังคิดใฝ่หาที่จะเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ตลอดเวลา
    กระทั่งอายุได้ ๒๕ ปีพอดี โยมพ่อแม่จึงได้ให้นายทองแก้วเข้าไปบวชเป็นตาผ้าขาวอยู่กับหลวงพ่อแบน ธนากโร ที่วัดดอยธรรมเจดีย์ เพื่อให้ทราบถึงข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ เกี่ยวกับพระภิกษุ ซึ่งผู้ที่จะบวชเป็นพระภิกษุหรือสามเณรนั้นในวัดพระกัมมัฏฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต จะให้บวชเป็นตาผ้าขาวก่อน เพื่อให้หัดท่องคำขานนาค ท่องบทสวดมนต์ และให้ทราบถึงข้อวัตรปฏิบัติ
    รวมทั้งอยู่ดูนิสัยไปก่อน เรียกง่ายๆ คือ อยู่ดัดนิสัยเดิมเสียก่อน ฝึกกิริยามารยาทให้งดงาม ให้รู้จักครรลองครองธรรมของพระสงฆ์ ฝึกความอดทน ฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง ต้องใช้เวลานานพอสมควร บางคน ๑ เดือน ๒ เดือน ๓ เดือน หรือเป็นปีสองสามปีก็มี แล้วแต่ใครจะฝึกหัดได้ง่ายได้ยาก
    จนเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๑ หลวงพ่อแบน ธนากโร จึงได้นำนายทองแก้วเข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุในทางพระพุทธศาสนา ณ วัดป่าสุทธาวาส ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร โดยมีพระวิบูลธรรมภาณ (ไพบูลย์ อภิวณฺโณ) วัดศรีโพนเมือง เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์แว่น ธนปาโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อแบน ธนากโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    ภายหลังจากอุปสมบทแล้วท่านก็ได้กลับไปพักปฏิบัติธรรมกับหลวงพ่อแบน ธนากโร ที่วัดดอยธรรมเจดีย์ อยู่ปฏิบัติธรรมและศึกษาพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด เร่งรัดปฏิบัติข้อวัตรมิให้ตกหล่น ตรงตามเป้าหมายที่ประสงค์ไว้ จนเกิดความช่ำชอง
    เมื่อเห็นว่าสามารถที่จะดูแลตัวเองได้แล้วจึงได้กราบลาหลวงพ่อแบน ธนากโร ออกเดินธุดงค์จาริกปฏิบัติธรรมไปตามสถานที่ต่างๆ และได้ขึ้นมาอยู่ศึกษาปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ที่วัดถ้ำเจ้าผู้ข้า อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
    ครั้นต่อมา หลวงปู่หลุยได้มรณภาพลง จึงได้จำพรรษาตั้งแต่ครั้งนั้นจนกระทั่งปัจจุบัน
    พระอาจารย์ทองแก้วเป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบองค์หนึ่ง ที่เดินตามรอยครูบาอาจารย์ โดยเฉพาะหลวงปู่หลุย จันทสาโร ที่เป็นต้นแบบ เป็นพระที่ต้องการอยู่ที่เงียบสงบอยู่แต่ป่า จึงนับได้ว่าเป็นเนื้อนาบุญของชาวโลกอย่างแท้จริง
    พระอาจารย์ทองแก้วมักสอนญาติโยมทุกครั้งในเรื่อง "มาแต่ตัวก็ต้องไปแต่ตัว ขอให้เร่งสร้างความดีงามเอาไว้ อย่าเบียดเบียนกัน"
    พระอาจารย์ทองแก้วถือเป็นร่มธรรมองค์หนึ่งของชาวสกลนคร ที่มีความตั้งใจทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง และเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

    #ประวัติวัดถ้ำเจ้าผู้ข้า
    บ้านทิดไทย ต.ไร่ อ.พรรรณานิคม จ.สกลนคร
    .. ก่อนที่จะมีการเรียกว่าวัดถ้ำเจ้าผู้ข้านั้นก็มีประวัติความเป็นมาตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ที่ข้าพเจ้าได้สอบถามข้อมูลด้วยตนเองดังนี้ ในอดีตเมื่อสมัยร้อยกว่าปีมาแล้วได้มีชาวบ้านไฮ่ ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ในปัจจุบันได้ออกบวชห่มขาวถือศิล ๘ มาพักปฏิบัติธรรมอยู่ที่บริเวรถ้ำแห่งนี้โดยที่ท่านไม่รับประทานเนื้อสัตว์ เป็นอาหารเพราะเมื่อท่านรับประทานเข้าไปแล้วจะอาเจียนออกมาหมดก่อนที่ท่านจะสละทางโลกเข้ามาทางธรรมนั้นท่านก็มีครอบครัวเช่นเดียวกับชาวบ้านทั่วไป มีบุตรสาวหนึ่งคน จากการบอกเล่าของลูกหลาน เชื้อสายเจ้าผู้ข้าอีกเรื่องหนึ่ง ก็คือก่อนที่ท่านเจ้าผู้ข้าจะออกบวชห่มขาวถือศิล ๘ นั้น วันนึงในฤดูทำนาภรรยาท่านเจ้าผู้ข้าก็ได้ไปเก็บหอยขมมาทำอาหาร การที่นำหอยขมมาทำอาหารนั้น บางคนก็ตัดก้นหอยเพื่อที่จะนำมาแกง บางคนก็ต้มเลยไม่ต้องตัดก้นหอย การที่นำหอยเป็นๆมาต้มก็เหมือนกับเราต้มเปรตปลาไหลนั้นเอง หอยเป็นๆพอถูกน้ำร้อนมันจะร้อนแค่ไหน ลองพิจารณาเอาเองก็แล้วกัน
    ภรรยาของท่านเจ้าผู้ข้าก็เช่นกันนำหอยขมที่ได้มานั้นต้มเพื่อเป็นอาหาร ขณะที่น้ำในหม้อต้มหอยกำลังเดือด ท่านเจ้าผู้ข้าก็ได้ยินเสียงหอยขมในหม้อต้มนั้นร้องว่า “โอ้ยร้อนจัง ช่วยด้วย ร้อน ร้อน ” ซึ่งเสียงนั้นท่านเจ้าผู้ข้าได้ยินเพียงผู้เดียว ตั้งแต่นั้นมาท่านเจ้าผู้ข้าก็มีอาการผิดปกติคือรับประทานอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ไม่ได้ รับประทานเข้าไปก็มีอาหารเคลื่อนไส้ อาเจียนทันที มีการบันทึกไว้ว่าก่อนที่จะมีการเรียกชื่อเจ้าผู้ข้านั้น ท่านมีนามว่า น้อยหน่า ส่วนนามสกุลนั้นมีการแต่งขึ้นในภายหลังจากท่านออกบวชแล้ว
    >>>>>>สาเหตุทำไมถึงเรียกว่า.. "เจ้าผู้ข้า"
    ท่านเจ้าผู้ข้านั้นชอบเรียกตัวเองว่า ผู้ข้า ซึ่งไปเป็นภาษาภูไท หมายความว่า กระผม หรือ ข้า หรือ ข้าพเจ้าประมาณนั้น และมีคนพบท่านเจ้าผู้ข้าครั้งสุดท้ายที่ถ้ำแห่งนี้ ท่านนอนป่วยอยู่จึงนำท่านลงไปรักษาในหมู่บ้านที่มีผู้ศรัทธาท่านจนท่านเจ้าผู้ข้านั้นเสียชีวิตในเวลาต่อมาจึงมีผู้คนเรียกถ้ำแห่งนี้ว่า "ถ้ำเจ้าผู้ข้า" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

    และถ้ำเจ้าผู้ข้าแห่งนี้เป็นที่ละสังขารของท่านพระอาจายร์กู่ ธมฺมทินฺโน ก่อนที่ท่านจะมรณะภาพ เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๕ ท่านพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน และลูกศิษย์ซึ่งมีสามเณรบุญหนา (หลวงปู่บุญหนา ธมฺมทินฺโน.รวมอยู่ด้วย ท่านได้มาปฏิบัติธรรมอยู่ที่ถ้ำเจ้าผู้ข้าแห่งนี้โดยมีกุฏิหลังเก่าไว้เป็นหลักฐาน เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๖ ท่านพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน ก็ได้ละขันธ์ในท่านั้งสมาธิในกุฏิหลังนี้เพระท่านเป็นโรคฝีฝักบัวอยู่ที่ก้นจนทนไม่ได้จึงละขันธ์เมื่อ สิริอายุ ๕๓ ปี พรรษา ๓๓ และเพื่อระลึกถึงท่านพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน ที่ท่านมาละขันธ์ที่สถานที่แห่งนี้ ข้าพเจ้าจึงได้ขออนุญาติ หลวงปู่แก้ว สุจิณฺโณ สร้างรูปเหมือนเท่าองค์จริงของพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน ไว้ที่หน้ากุฏิที่พระอาจารย์ท่านละขันธ์ เพื่อให้ผู้มีจิตศรัทธาพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน ได้กราบไว้บูชา >>>>>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ sam_7993-jpg-jpg-jpg.jpg sam_7994-jpg-jpg-jpg.jpg sam_7995-jpg-jpg-jpg.jpg sam_7996-jpg-jpg-jpg.jpg sam_7997-jpg-jpg-jpg.jpg sam_7793-jpg-jpg-jpg.jpg sam_8872-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤศจิกายน 2021
  4. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 802
    เหรียญรุ่นเเรกหลวงปู่เเฟ๊บ สุภัทโท พระอรหันต์เจ้าวัดป่าดงหวาย อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร หลวงปู่เเฟ๊บเป็นศิษย์หลวงปู่ประสิทธิ์ ปุญญมากโร วัดป่าหมู่ใหม่,หลวงปู่เทศน์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง เป็นต้น เหรียญสร้างปี 2548 เนื้อกะไหล่ทอง สร้างเนื่องเป็นที่ระลึกฉลองพระพุทธนิมิตเจดีย์ มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ**********บูชาที่ 305 บาทฟรีส่งems
    ชีวประวัติโดยย่อของหลวงปู่แฟ๊บ สุภัทโท

    aa-25e0-25b8-25b8-25e0-25b8-25a0-25e0-25b8-25b1-25e0-25b8-2597-25e0-25b9-2582-25e0-25b8-2597-jpg.jpg

    หลวงปู่แฟ๊บ สุภัทโท วัดป่าดงหวาย บ้านจาร ตำบลบ้านม่วง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๖๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนยี่ ปีจอ ณ บ้านคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ท่านเป็นผู้มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาตั้งแต่วัยเยาว์ มีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาและถวายงานต่างๆ แด่องค์หลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่น ได้ฝึกปฏิบัติจิตภาวนาเจริญในธรรมต่อเนื่องมาโดยลำดับ
    หลังจากภรรยาเสียงชีวิตลง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ หลวงปู่ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุต เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๕ ณ วัดอรัญญิกาวาส อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ท่านมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนา และเป็นลูกศิษย์ครูบาอาจารย์หลายรูป เช่น หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน หลวงปู่หล้า เขมปัตโต ฯลฯ ท่านเป็นผู้ที่มีจิตใจกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว เข้มแข็ง อดทน ตั้งมั่นในการบำเพ็ญเพียร ปฏิบัติภาวนาเพื่อหาความหลุดพ้นทุกข์ในสามแดนโลกธาตุจนหายสงสัยในธรรมทั้งปวง ไม่ต้องการกลับมาเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะสงสารอีกต่อไป
    หลวงปู่แฟ๊บ สุภัทโท เป็นผู้เปี่ยมล้นด้วยเมตตาบารมี ท่านได้ทำการก่อสร้างและบูรณะศาสนสถาน ศาลา เจดีย์ วิหาร ตลอดจนเมตตาสร้างโรงพยาบาล พร้อมมอบพัสดุและครุภัณฑ์ต่างๆ แก่หน่วยงานหลายแห่ง อีกทั้งเป็นหนึ่งในกองทัพธรรมโครงการผ้าป่าช่วยชาติ มีลูกศิษย์ทั้งพระสงฆ์และฆราวาสมาขอความเมตตาฟังพระธรรมเทศนา และแนวทางการฝึกปฏิบัติภาวนาเป็นจำนวนมาก
    ท่านได้ละสังขารเมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๓ สิริอายุรม ๘๐ ปี ๑๐ เดือน พรรษาที่ ๒๙ สามารถกล่าวได้ว่า หลวงปู่แฟ๊บ สุภัทโท เป็นผู้สำเร็จกิจทั้งทางโลกและทางธรรมอย่างสมบูรณ์

    aa-25e0-25b8-25b8-25e0-25b8-25a0-25e0-25b8-25b1-25e0-25b8-2597-25e0-25b9-2582-25e0-25b8-2597-png.png

    "วันนี้หลวงปู่มาแผ่เมตตา ให้ช่วยกันทำบุญทำกุศล สร้างโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทย หลวงปู่มาบอกบุญนำหน้า นำทางบุญให้ญาติโยมทั้งหลายมาช่วยกัน หลวงปู่ไม่มีเงินหรอก หลวงปู่เป็นผู้บอกไปเฉยๆ ถ้าพวกเรามีศรัทธาก็ทำไป อันนี้ไม่ใช่ของหลวงปู่นะ คนไหนทำ คนนั้นเป็นเจ้าของ"

    หลวงปู่แสดงพระธรรมเทศนาในพิธีถวายผ้าป่าและวางศิลาฤกษ์ โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยสกลนคร หลวงปู่แฟ๊บ สุภัทโท วันเสาร์ที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๓ sam_6956-jpg.jpg sam_8804-jpg.jpg sam_8805-jpg.jpg sam_8544-jpg.jpg

     
  5. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    ายการที่ 803 sam_8011-jpg-jpg-jpg.jpg sam_8012-jpg-jpg-jpg.jpg sam_7605-jpg-jpg-jpg.jpg เหรียญรูปหน้าครึ่งองค์หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร พระอรหันต์เจ้าวัดป่าสุนทราราม หลวงปู่สิงห์องเป็นศิษย์หลวงปู่ดี ฉันโน(ศิษย์ผู้ใหญ่หลวงปู่มั่น) เนื้อทองเเดง สร้างเนื่องสมทบทุนสร้างอุโบสถ มาพร้อมพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ *********บูชาที่ 205 บาทฟรีส่งems
    ss1-jpg-jpg-jpg.jpg
    หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร
    เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2563 หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร วัดป่าสุนทราราม อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร ได้ละสังขารเข้าอนุเสสนิพพานอย่างสงบ ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น เมื่อเวลา 18.38 น. สิริอายุ 95 ปี 6 เดือน 18 วัน 70 พรรษา



    ss3-jpg-jpg-jpg.jpg
    ภาพจาก ศิษยานุศิษย์หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร

    ss4-jpg-jpg-jpg.jpg
    หมายเหตุ....เป็นพระอรหันต์ที่มีฉายาว่า ผีกลัวหรือผีย่านอีกองค์หนึ่งครับในสายหลวงปู่มั่น รู้วาระจิตล่วงหน้าด้วยครับ ผมเจอมากับตัวเองมาเเล้ว วันเเรกที่ไปกราบท่าน หลวงปู่ทักเลยครับว่าผมมาจากเชียงใหม่เหรอ ผมงี้ขนลุกเลย หลวงปู่รู้ได้ไง ทั้งที่ๆผมยังไม่เอ่ยอะไรเลย ก้มกราบเสร็จเเล้วเงยหน้าขึ้นเท่านั้น หลวงปู่เอ่ยทักเลยว่ามาจากเชียงใหม่เหรอ ตั้งเเต่นั้นมาผมจะเเวะไปกราบเเละนวดรับใช้เเละสรงนํ้าหลวงปู่ประจำ ส่วนตัวผมหลวงปู่เป็นพระอรหันต์ที่มีฤทธิ์องค์หนึ่งครับ หลวงปู่เองได้มอบคำหมากให้ผมก้อนหนึ่งส่วนตัวเลยครับ เพราะช่วงปลายหลวงปู่จะเคี้ยวหมาก 7 วันเคี้ยวหนึ่งคำ,อีกเรื่องครับ มีวันหนึ่งมีลูกศิษย์ที่วิทยาลัยการอาชีพเลิงนกทา (อำเภอที่วัดหลวงปู่ตั้งอยู่ครับ) ได้มีนักเรียนนักศึกษาี่การอาชีพเลิงนกทาได้เกิดอุปทานหมู่เป็น 100 กว่า ได้พากันกรีดร้องเหมือนมีผีเข้าร่าง ร้องโวยวาย ทางอาจารย์คือเพื่อนผมเองที่เป็นรองผู้อำนวยวิทยาลัย ได้มานิมนต์หลวงปู่สิงห์ทอง ไปดูให้หน่อยครับ พอหลวงปู่สิงห์ทองท่านลงจากรถยนต์ หลวงปู่สิงห์ทองได้เดินไปที่ศาลเจ้าที่อยู่ในวิทยาลัยการอาชีพ พอหลวงปู่ไปยืนหน้าศาลเเล้งยืนหลับตาไม่ถึงนาที พอหลวงปู่หลวงปู่สิงห์ทองลืมตา ก็เอ่ยขึ้นว่าให้รื้อศาลที้งทันที เเละปรากฎว่าตั้งเเต่นั้นมาเด็กนักษาก็ไม่มีอาการผีเข้าอีกเลยครับ เพื่อนผมที่เป็นรองผ.อ. ได้เอ่ยกับผมว่าหลวงปู่สิงห์ทองเเน่นอนจริงๆ
     
  6. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 804
    หลวงปู่เสน เป็นศิษย์หลวงปู่บัว สิริปุณโญ วัดป่าหนองเเซง
    พระอาจารย์เสน ปญฺญาธโร เจ้าอาวาส
    สามเณร เสน ผู้เป็นเจ้าอาวาสต่อจากหลวงปู่ หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ เคยได้รับการปรนนิบัติจากสามเณรน้อยรูปหนึ่งชื่อ สามเณรเสน สามเณรน้อยรูปนี้อยู่กับท่านมานาน แล้วได้จากหายไป จนสึกออกไปมีภรรยาและบุตร แม้เณรจะจากท่านไปเป็นเวลานานท่านก็ยังจำได้เป็นอย่างดี อยู่มาวันหนึ่ง หลวงปู่บัว ได้พูดคุยกับหลวงปู่เพ็ง พุทฺธธมฺโม พระลูกชายของท่านว่า
    “เอ...เณรน้อยคนนั้น มันไปไหนหนอ มันเป็นไข้มาลาเรีย...เราพยายามรักษามันจนจะหายแล้วไม่พาหนีจากเราไป ไม่รู้ว่าไปอยู่ไหน”
    หลัง จากหลวงปู่ปรารภถึงสามเณรน้อยของท่านได้เพียง ๒ วันเท่านั้น สามเณรของท่านก็กลับมา แต่มาในฐานะพระภิกษุเสน ปญฺญาธโร บวชได้ ๒ พรรษาแล้ว การปรารภของหลวงปู่ในครั้งนั้นเหมือนท่านได้รู้เหตุการณ์ล่วงหน้า
    ต่อ มาภายหลัง พระอาจารย์เสน ได้รับมอบภาระให้เป็นเจ้าอาวาส ปกครองวัดป่าบ้านหนองแซง สืบต่อจากหลวงปู่ ได้ทำการพัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรืองมาโดยลำดับ จนกระทั่งปัจจุบัน
    รูปเหมือนสร้างปี 2560 เนื้อทองทิพย์ สร้างเนื่องจากหลวงปู่อายุครบ 7 รอบ(84 พรรษา) สร้างโดยคณะศิษย์การบินไทย มาพร้องกล่องเดิม มีตอกโค๊ต ดอกจำปี สัญลักษณ์การบินไทยใต้องค์พระ มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ **********บูชาที่ 235 บาทฟรีส่งems

    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่เสน ปัญญาธโร

    วัดป่าหนองแซง
    ต.หนองบัวบาน อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    8b-e0-b8-ad-e0-b8-88-e0-b8-ad-e0-b8-b8-e0-b8-94-e0-b8-a3-e0-b8-98-e0-b8-b2-e0-b8-99-e0-b8-b5-jpg.jpg
    หลวงปู่เสน ปัญญาธโร วัดป่าหนองแซง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    ชาติภูมิ
    หลวงปู่เสน ปัญญาธโร นามเดิมท่านชื่อ ประเสน ชัยพันธุ์ ต่อมาบิดาของหลวงปู่ได้เป็นทหารจึงเปลี่ยน นามสกุลเป็น จงประสม ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๗ ถิ่นกำเนิด ณ บ้านหนองอ้อใหญ่ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์

    โยมบิดาชื่อ นายสี จงประสม และโยมมารดาชื่อ พร จงประสม มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๙ คน (ชาย ๗ คน หญิง ๔ คน)

    b-e0-b9-88-e0-b8-b2-e0-b8-ab-e0-b8-99-e0-b8-ad-e0-b8-87-e0-b9-81-e0-b8-8b-e0-b8-87-1012x1024-jpg.jpg
    หลวงปู่เสน ปัญญาธโร วัดป่าหนองแซง
    การศึกษา
    หลวงปู่เสน จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ซึ่งเป็นความรู้ชั้นสูงสุดที่มีในยุคนั้น ในสมัยนั้นถ้าเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ก็สามารถเข้ารับราชการบรรจุเป็นครูได้
    ในสมัยหลวงปู่เสน ไม่มีสมุดจดบันทึกวิชาความรู้ ใช้กระดานชนวน และดินสอพอง

    เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์
    หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ เคยได้รับการปรนนิบัติจากสามเณรน้อยรูปหนึ่งชื่อ สามเณรเสน สามเณรน้อยรูปนี้อยู่กับท่านมานาน แล้วได้จากหายไป จนสึกออกไปมีภรรยาและบุตร แม้เณรจะจากท่านไปเป็นเวลานานท่านก็ยังจำได้เป็นอย่างดี
    อยู่มาวันหนึ่ง หลวงปู่บัว ได้พูดคุยกับหลวงปู่เพ็ง พุทฺธธมฺโม พระลูกชายของท่านว่า

    “เอ.. เณรน้อยคนนั้น ไปไหนหนอ ได้เป็นไข้มาลาเรีย..เราพยายามรักษาเณรจวนจะหายแล้วหนีจากเราไป ไม่รู้ว่าไปอยู่ไหน”

    หลังจากหลวงปู่ปรารภถึงสามเณรน้อยของท่านได้เพียง ๒ วันเท่านั้น สามเณรของท่านก็กลับมา แต่มาในฐานะพระภิกษุเสน ปญฺญาธโร บวชได้ ๒ พรรษาแล้ว การปรารภของหลวงปู่ในครั้งนั้นเหมือนท่านได้รู้เหตุการณ์ล่วงหน้า

    ต่อมาภายหลัง พระอาจารย์เสน ได้รับมอบภาระให้เป็นเจ้าอาวาส ปกครองวัดป่าบ้านหนองแซง สืบต่อจากหลวงปู่บัว ได้ทำการพัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรืองมาโดยลำดับ จนกระทั่งปัจจุบัน

    8b-e0-b8-87-e0-b8-88-e0-b8-ad-e0-b8-b8-e0-b8-94-e0-b8-a3-e0-b8-98-e0-b8-b2-e0-b8-99-e0-b8-b5-jpg.jpg
    หลวงปู่เสน ปัญญาธโร เจ้าอาวาสวัดป่าหนองแซง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    ผลงานของหลวงปู่เสน ปัญญาธโร
    ๑. ปลูกป่าติดต่อกันมาเป็นเวลา ๓๐ ปี
    ๒. จัดตั้งบ้านพักคนชรา ดูแลผู้สูงอายุด้วยวิถีพุทธ
    ๓. จัดทำแท่นมหัศจรรย์ เพื่อสุขภาพ
    ๔. จัดทำน้ำมันสมุนไพรรักษาโรค
    ๕. จัดสร้างโรงพยาบาลหลายแห่งในจังหวัดอุดรธานี
    ๖. จัดทำสระเก็บน้ำขนาดใหญ่เก็บกักน้ำไว้ใช้
    ๗. จัดสร้างถังประปาขนาดใหญ่ส่งน้ำให้ชุมชนหลายหมู่บ้านได้ใช้
    ๘. ช่วยเหลือดูแลรักษาผู้สูงอายุที่เป็นโรคอัมพฤกษ์อัมพาต
    ๙. อบรมสั่งสอนวิชาชีพงานช่างต่าง ๆ แก่ผู้ที่มีความสนใจ
    ๑๐. อบรมสั่งสอนศีลธรรมจริยธรรม สมาธิกรรมฐาน แก่บุคคลที่มีความสนใจ
    ๑๑. ผลิตน้ำหมักชีวภาพใช้เป็นปุ๋ยบำรุงพืช
    ๑๒. ผลิตน้ำพริกปลาร้าบริจาคแก่ประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม
    ๑๓. เมตตาช่วยเหลือปัจจัยสี่แก่ภิกษุสงฆ์ ประชาชน นักเรียน ผู้ที่ขาดแคลน
    ๑๔. บริจาคที่ดิน วัว ควาย แก่ชาวบ้าน
    ๑๕. บริจาคทองคำช่วยชาติ แก่โครงการช่วยชาติ
    ๑๖. จัดสร้างโรงเรียนหลายแห่งในจังหวัดอุดรธานี

    ระเบียบและข้อปฏิบัติ วัดป่าหนองแซง
    หลวงปู่ท่านเน้นความมีระเบียบวินัย พระเณรทุกรูปต้องทำตนเป็นผู้มีสัจจะ และข้อวัตรทุกเมื่อ

    ข้อวัตรกลางวัน พอรุ่งสว่างเป็นวันใหม่ พระเณรทุกรูปนำบริขารของตนที่เกี่ยวกับการฉัน ลงรวมบนศาลาโรงฉัน จัดให้ได้ระเบียบและทำสะอาดบนศาลา พอถึงเวลาที่เที่ยวภิกขาจารบิณฑบาต ต่างองค์ก็เตรียมนุ่งสบงจีวรซ้อนสังฆาฏิ ไปเที่ยวบิณฑบาตตามที่จัดไว้

    เมื่อกลับมาพร้อมเพรียงกันแล้ว จัดอาหารเสร็จ ก็เริ่มลงมือฉัน เมื่อฉันเสร็จแล้ว ทำข้อวัตรของตนและช่วยกันทำข้อวัตรศาลาจนสะอาด เก็บเครื่องบริขารขึ้นกุฏิ ต่อจากนั้นลงสู่ทางจงกรม เดินจงกรมไปจนถึง ๕ ชั่วโมง ทำข้อวัตรสำหรับตน แล้วลงกวาดตาดทำความสะอาดบริเวณวัด และจัดหาน้ำฉัน ตลอดจนสรงน้ำเรียบร้อย เตรียมลงทำวัตรเย็น ทำสมาธิ ต่อประมาณ ๔ ชั่วโมง

    ปัจจุบัน หลวงปู่เสน ปัญญาธโร เจ้าอาวาสวัดป่าหนองแซง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี อายุวัฒนะมงคล 87 ปี พรรษา 56

    -e0-b8-9b-e0-b9-88-e0-b8-b2-e0-b8-ab-e0-b8-99-e0-b8-ad-e0-b8-87-e0-b9-81-e0-b8-8b-e0-b8-87-1-jpg.jpg
    หลวงปู่เสน ปัญญาธโร เจ้าอาวาสวัดป่าหนองแซง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    -e0-b9-88-e0-b8-b2-e0-b8-ab-e0-b8-99-e0-b8-ad-e0-b8-87-e0-b9-81-e0-b8-8b-e0-b8-87-2-682x1024-jpg.jpg
    หลวงปู่เสน ปัญญาธโร เจ้าอาวาสวัดป่าหนองแซง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    sam_7049-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_6777-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_6778-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_6779-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_6780-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_3774-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg

     
  7. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    ายการที่ 805
    พระกริ่ง 90 ปีหลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม พระอรหันต์เจ้าวัดป่าสีห์พนม อ.สว่างเเดนดิน จ.สกลนคร หลวงปู่บุญมาเป็นศิษย์หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถํ้ากลองเพล,หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม เป็นต้น องค์พระกริ่งสร้างปี 2561 สร้างเนื่องในวาระหลวงปุ่อายุครบ 90 ปี เนื้อนวะ มาพร้อมกล่องเดิม มีตอกโค๊ต ใบโพธิ์ด้านหลังองค์พระเเละโค๊ตตัวเลข 474 ใต้องค์พระ มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชา ******* (หลวงปู่ยังทรงธาตุทรงขันต์อยู่ครับปัจจุบัน)*********บูชาที่ 415 บาทฟรีส่งems (พระกล่องใหญ่เเละหนักมากครับ) sam_6386-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_5578-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_5579-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_5580-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_5581-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_3985-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg

     
  8. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 806 เหรียญหล่อรูปไข่รุ่นเเรกเเละรุ่นเดียวหลวงปู่จันเเรม เขมสิริ พระอรหันต์เจ้าวัดเกาะเเก้วธุดงคสถาน(วัดระหาน) อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์ หลวงปู่จันทร์เเรมเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นยุคสุดท้าย เหรียญหล่อสร้างปี 2545 เนื้อทองเหลือง สร้างเนื่ององค์หลวงปู่อายุครบ 80 ปี อนึ่ง.....หายากหลวงปู่สร้างวัตถุมงคลน้อยมากครับ มาพร้อมพระเกศาหลวงปู่มาบูชา *********บูชาที่ 150 บาทฟรีส่งems
    หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ จันทร์เต็มดวง พระอริยะเจ้าประทีปธรรมแห่งอีสานใต้.
    ตั้งแต่ต้นปีมาจนถึงต้นเดือนธ.ค.นี้ มีพระกรรมฐานชั้นผู้ใหญ่ละดับขันธ์ไปแล้วถึง 6 รูป หลวงตาพวง สุขินทริโย หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร หลวงพ่อเพียร วิริโย หลวงปู่หลอด ปโมทิโต หลวงปู่มา ญาณวโร หลวงปู่สอ พันธุโล นึกว่าปีนี้จะหมดกันแค่นี้ ไหนได้เช้าวันที่ 8 ธ.ค.ที่ผ่านมา พุทธศาสนิกชนตื่นขึ้นมาก็ได้รับรู้ว่า หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ ก็มาจากไปอีกรูปหนึ่งแล้ว ประมาทในวันเวลาไม่ได้จริงๆ
    หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ หรือ พระครูเขมคุณโสภณ มีนามเดิมว่า จันทร์ นามสกุล ร้อยตะคุ เกิดเมื่อวันจันทร์ แรม 6 ค่ำ เดือน 5 ปีจอ ตรงกับวันที่ 17 เม.ย. 2465 เวลาเย็น ณ บ้านปะหลาน ต.ปะหลาน อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม โยมบิดาชื่ออ่อนสี โยมมารดาชื่อแก้ว มีพี่น้องรวมทั้งสิ้น 8 คน

    เดิมทีนั้นครอบครัวของหลวงปู่ตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ มีถิ่นฐานทำกินอยู่ที่บ้านตะคุ ต.ตะคุ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา ประกอบอาชีพเป็นพ่อค้า ซึ่งตามภาษาอีสาน เรียกขานกันว่า “นายฮ้อย” อันเป็นที่มาของนามสกุลว่า ฮ้อยตะคุ (เรียกตามภาษาท้องถิ่นอีสาน) หรือร้อยตะคุนั่นเอง ต่อมาโยมบิดาของท่านได้อพยพโยกย้ายครอบครัวไปทำมาหากินอยู่ที่บ้านปะหลาน อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม ซึ่งหลวงปู่ได้ถือกำเนิด ณ หมู่บ้านแห่งนี้

    ต่อมาบิดาของท่าน ก็ได้โยกย้ายครอบครัวอีกครั้งหนึ่ง ไปทำมาหากิน ณ บ้านระหาร ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งวัดเกาะแก้วธุดงคสถานในปัจจุบันนี้
    หลวงปู่เคยเล่าถึงชีวิตในวัยเด็กว่า “บิดามารดาเป็นชาวนาชาวไร่ ทำมาหาเลี้ยงชีพ ซึ่งชาวนาไทยเรานั้นถึงจะลำบากยากไร้แค่ไหนก็เป็นไปโดยธรรมชาติ ไม่รู้สึกทุกข์ร้อนจนเกินไป อันความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้านั้น ใครๆ ก็ไม่อยากได้รับ แต่ชาวนาจะหลบหลีกได้หรือ ก็ต้องอดทนจนกลายเป็นความเคยชินนั่นแหละ ก็อย่างญาติโยมชาวกรุงเทพฯ ที่ต้องตื่นนอนตั้งแต่ตี 4 อาบน้ำแต่งตัว ดื่มกาแฟพอรองท้อง ก็ต้องขับรถออกไปทำงาน ถ้าออกสายรถก็ติด บางรายถึงกับต้องเอาเสบียงอาหารติดรถไปด้วย เมื่อไปถึงที่ทำงานก็รับประทานอาหารเสร็จแล้วแปรงฟันอีกที เสร็จพิธีก็ทำงานกับหมู่คณะได้ ชาวนาก็เช่นเดียวกัน ทำงานเหนื่อยก็ต้องอาศัยร่มไม้ใบเงา หายเหนื่อยก็ทำงานต่อไป”

    [​IMG]หลวงปู่จันนทร์แรม เขมสิริ
    บรรพชา

    ขณะที่ช่วยเหลือพ่อแม่ทำนาทำไร่นั้น จิตใจที่เคยคิดจะบวชก็ปะทุอยู่ภายในตลอดเวลา ทุกเช้าเมื่อเห็นพระสงฆ์ห่มคลุมผ้าเหลืองเดินบิณฑบาตทีไร จิตใจก็แช่มชื่นเบิกบาน นึกถึงภาพในอดีตอันประทับใจสมัยที่เคยเป็นเด็กวัด มโนภาพยังปรากฏชัด ความปรารถนาที่กรุ่นอยู่ในใจยิ่งระอุขึ้น พออายุได้ 17 ปี บิดามารดาและญาติพี่น้องทุกคนต่างก็สนับสนุนให้ไปเริ่มชีวิตในเพศบรรพชิต

    ท่านบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปี 2482 ณ วัดสระทองนพคุณ อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม มีพระครูจันทรศรีธรคุณ เจ้าคณะอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย เป็นพระอุปัชฌาย์ บวชปีแรกสอบได้นักธรรมชั้นตรี ปีต่อๆ มาสอบได้นักธรรมชั้นโท และนักธรรมชั้นเอกตามลำดับ

    หลังจากที่สอบได้นักธรรมชั้นเอกแล้วขณะนั้นอายุได้ 20 ปี จิตใจก็เริ่มเปลี่ยนแปลง จึงได้ลาสิกขา เพราะความที่เริ่มจะเป็นหนุ่ม อีกทั้งจะเข้าเกณฑ์ทหารด้วย

    พบพระธุดงค์กรรมฐาน
    สมัยนั้นหนุ่มๆ ทั้งหลาย ชอบเรียนคาถาอาคมไว้เพื่อป้องกันตัวเพราะมีความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ว่า เป็นสิ่งที่ทำให้อยู่ยงคงกระพันแคล้วคลาดจากอุปัทวันตรายทั้งหลายได้ โยมแม่ซึ่งมีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงได้สั่งลูกชายให้ไปเรียนคาถาอาคมกับพระอาจารย์บุญหนัก เกสโว พระธุดงค์กรรมฐานศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต (ศิษย์ร่วมรุ่นกับหลวงปู่คำดี ปภาโส แห่งวัดถ้ำผาปู่ จ.เลย) ซึ่งท่านได้จาริกธุดงค์ผ่านมาจำพรรษาในละแวกนั้นพอดี

    การเรียนคาถาอาคมนั้น จะต้องไปพักค้างแรมอยู่กับ พระอาจารย์บุญหนัก ท่านมีโอกาสได้ใกล้ชิดครูบาอาจารย์ ถวายน้ำใช้น้ำฉัน ทำความสะอาดสถานที่อยู่อาศัย ตอนเช้าพระอาจารย์ออกบิณฑบาต หลวงปู่ซึ่งขณะนั้นเป็นปะขาว ก็เดินตามคอยรับอาหารบิณฑบาตที่ญาติโยมใส่มา ตอนเย็นท่านอาจารย์ก็เรียกมาสอนคาถาโดยให้ท่องตามที่ท่านบอก ซึ่งการให้ท่องคาถาอาคมนี้ จะเป็นอุบายการสอนของครูบาอาจารย์สมัยก่อน ที่ท่านฉลาดสอนภาวนาแก่ศิษย์ให้ถูกต้องตามลักษณะอุปนิสัย เพราะผู้ที่ชอบคาถาอาคมอยากให้คาถาอาคมขลังศักดิ์สิทธิ์ ก็จักขะมักเขม้นนั่งบริกรรมการบริกรรมนี้แหละ เป็นเครื่องโน้มน้าวจิตใจไม่ให้ฟุ้งซ่านวอกแวก และได้สมาธิเกิดความสงบโดยไม่รู้ตัว

    หลวงปู่ได้เล่าถึงพระอาจารย์บุญหนักว่า “พระอาจารย์บุญหนักท่านเป็นชาวบ้าน จ.ขอนแก่น เป็นศิษย์ของหลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่น นี่แหละท่านเป็นพระรุ่นเดียวกับหลวงปู่คำดี เดินธุดงค์ และเคยมาฝึกจิตอบรมธรรมะที่วัดป่าสาลวันด้วยกัน โดยมีพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นผู้ให้กรรมฐาน ท่านเดินธุดงค์ ไปอยู่ถ้ำพระเวส ถ้ำพระ และสถานที่อันวิเวกหลายๆ แห่ง ปฏิปทาของท่านงดงามมาก ตามแบบฉบับศิษย์หลวงปู่มั่นเลยทีเดียว

    ในเรื่องการสอน การอบรม ท่านพระอาจารย์บุญหนัก ท่านมีปฏิภาณโวหารในการสอนคนได้เก่งมาก อย่างเหตุการณ์ที่ปรากฏแก่ตนเอง พอได้ฟังครั้งแรกก็คิดในใจว่า เอ...เราไม่เคยได้ยินธรรมะแบบนี้มาก่อนเลย ท่านเริ่มพูดก็เสียดแทงหัวใจได้เผงๆ เลยไม่เหมือนที่เราเคยเห็นพระองค์อื่นๆ เลย ก็อ่านตามใบลานที่ช่างพิมพ์มาให้ เอาตามใบลานมาเทศน์มาสอนชาวบ้าน นี่ท่านไม่มีหนังสืออะไรทั้งนั้นนั่งหลับตาก็พูดๆ ออกมา มีอะไรที่ทำชั่วช้าอยู่ ท่านดักใจหงายท้องไปหลายราย

    ท่านสอนให้นั่งขัดสมาธิ ตั้งกายให้ตรง หลับตาแล้วบริกรรมภาวนาในใจพร้อมกับกำหนดลมหายใจเข้าว่า พุท กำหนดลมหายใจออกว่า โธ พุทโธๆๆ พอนั่งไปๆ ฟังท่านพูดไปเรื่อยๆ จิตใจก็เกิดความสงบอย่างบอกไม่ถูก เป็นความรู้สึกใหม่ที่ได้รับ

    ท่านพูดได้ว่าพระอาจารย์บุญหนักรูปนี้เป็นผู้มีพระคุณมาก ด้วยท่านเป็นผู้ให้กรรมฐานเป็นรูปแรก

    ตัดสินใจออกบวช

    ก่อนที่หลวงปู่จะอุปสมบทนั้น ได้มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอันเป็นสาเหตุทำให้เกิดความสลดสังเวชใจ เบื่อหน่ายในการครองชีวิตฆราวาส ได้มรณานุสติกรรมฐาน หลายครั้งหลายครา จนกระทั่งถึงกาลเวลาแห่งความแก่รอบของบารมีธรรม ท่านจึงตัดสินใจเป็นแน่วแน่ว่าจะบวช

    แต่ก่อนที่จะบวชจริงๆ ท่านได้ครุ่นคิดพิจารณาอย่างถี่ถ้วนว่าจะทำอย่างไรกับชีวิตดีหนอ เพราะตอนนี้เป็นเหมือนเดินมาสู่ทางสองแพร่ง ลังเลสงสัยว่าจะเลือกทางไหนดี จะออกบวชหรือจะอยู่ครองฆราวาสวิสัย ได้นั่งวาดมโนภาพในเรื่องฆราวาสวิสัยว่า

    “ถ้าหากเราแต่งงานมีภรรยา มีลูก 3 คน มีบ้านมีที่นา มีสวน มีทุกสิ่งทุกอย่างตามที่ชาวโลกเขามีกัน แล้วสมมติว่าเราตายก่อนภรรยา ภรรยาเราเขาก็ต้องแต่งงานใหม่ เพราะยังสาวอยู่ บังเอิญไปได้นักเลง นักการพนัน ขี้เหล้าเมายา คนไม่ดีมาเป็นสามีใหม่ เขาก็ต้องมาล้างผลาญทรัพย์สมบัติที่เราหามาไว้จนหมดเกลี้ยง มิหนำซ้ำยังทิ้งลูกเราภรรยาเรา ให้อดอยากลำบากยากแค้น แล้วเราจะทำอย่างไร”

    เมื่อพิจารณาถึงเหตุนี้ ทำให้ตัดสินใจได้ว่า “อย่างกระนั้นเลยกับชีวิตฆราวาส การแต่งงาน การสร้างโลก สร้างภพ สร้างชาติ ไม่มีที่สิ้นสุด เราจะเลือกเอาทางบวชดีกว่า” เมื่อตัดสินใจจะบวชก็คิดทบทวนอีกว่า “ถ้าบวช ก็จะเสียเวลาทำมาหากิน สมมติว่าเราบวช 5 ปี ถ้าปลูกมะม่วงในระยะเวลาเท่านี้ ก็จะได้กินหมากกินผล หากสึกออกมาก็จะสร้างฐานะสร้างตัวไม่ทันคนอื่นเขา ถ้าบวชเราต้องไม่สึก ถ้าบวชแล้วสึก เราจะไม่บวช”

    ท่านได้ตั้งปณิธานไว้ในใจเช่นนี้ “เอาล่ะ บ้านแห่งนี้ ฉันจะไม่กลับมาเหยียบในเพศเป็นฆราวาสอีก” เพราะพิจารณาเห็นว่า ชีวิตของฆราวาสแก่นสารสาระไม่ได้เลย มันขัดข้องวุ่นวายไปหมด เฉกเช่นคนอื่นๆ ได้อีกต่อไป แม้ว่าจะพยายามทำตามอย่างหนุ่มๆ รุ่นราวคราวเดียวกัน ถึงจะมีสาวๆ มาหลงรัก ก็ไม่ได้ทำให้จิตใจสนุกสนานเพลิดเพลินอย่างที่คนอื่นๆ เขาต้องการได้เลย กลับมามองเห็นว่า คนเราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นพระราชามหากษัตริย์ผู้สูงศักดิ์ หรือยาจกผู้เข็ญใจ ก็ไม่มีใครหนีพ้นความตายไปได้ ไม่ว่าจะคิดอะไรก็มาลงที่ความตายทุกที

    อุปสมบท

    เมื่อตัดสินใจว่าจะบวช บิดามารดาจึงนำไปฝากเป็นนาคที่วัดกระดึงทอง ซึ่งขณะนั้นมีพระอาจารย์แก้วเป็นผู้ปกครองได้รับเข้าเป็นนาคแล้วถามว่า "จะบวชนานไหม" หลวงปู่ตอบว่า "บวช 3 ครับ" เพราะไม่กล้าบอกออกไปว่าจะบวชไม่สึก เพราะโดยอุปนิสัยของท่านแล้ว ถ้าทำอะไรยังไม่สำเร็จตามที่ตั้งใจไว้จะไม่พูดไปก่อน แต่คำว่า "สาม" ของท่านนั้น คงจะหมายถึง ปฐมวัย มัชิมวัย ปัจฉิมวัย ซึ่งท่านได้ อุทิศถวายให้แก่พระพุทธศาสนาแล้ว

    ในสมัยนั้น การจะบวชเป็นพระธรรมยุตเป็นเรื่องที่ยากลำบากพอสมควร จะต้องเดินทางไปเป็นแรมคืนทีเดียว เพราะในแถบ จ.สุรินทร์ จ.บุรีรัมย์ ที่เป็นวัดธรรมยุต มีพัทธสีมาสามารถให้การอุปสมบทได้ ก็มีเพียงวัดเดียวเท่านั้น คือ วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์

    หลวงปู่ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดบูรพาราม เมื่อปี 2488 โดยมี พระครูรัตนากรวิสุทธิ์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) เป็นพระอุปัชาย์ พระครูคุณสารสัมปัน (หลวงปู่โชติ คุณสมฺปนฺโน) แห่งวัดวชิราลงกรณ วราราม จ.นครราชสีมา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับนามฉายาจากพระอุปัชาย์ว่า เขมสิริ ขณะที่อายุได้ 23 ปีเต็ม

    หลวงปู่ท่านเมตตาเล่าไว้ว่า "ช่วงที่บวชใหม่ๆ นั้น ยังไม่รู้จักกับหลวงปู่ดูลย์มากนัก เพราะไม่ได้อยู่ จ.สุรินทร์ แต่ก็ได้รับโอวาทธรรมในเรื่องการประพฤติปฏิบัติเป็นแนวทางสำหรับพระใหม่มาบ้าง"

    ถึงแม้ว่าหลวงปู่จะไม่ได้อยู่ อุปัฏฐากบำรุงพระอุปัชาย์ในฐานะที่เป็นสัทธิวิหาริก แต่ท่านก็ยึดถือปฏิปทาของพระอุปัชาย์เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ท่านเป็นพระที่พูดน้อย แต่เคร่งครัดในการปฏิบัติ ยึดมั่นในพระธรรมวินัยเป็นหลักตามแบบฉบับของหลวงปู่พระอุปัชาย์ ซึ่ง สิ่งเหล่านี้หลวงปู่ได้ยึดถือเป็นแบบปฏิบัติ ดังปรากฏเป็นคติสอนศิษยานุศิษย์เรื่อยมาไม่ผิดเพี้ยน

    หลวงปู่จันทร์แรมเป็นศิษย์สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และที่สำคัญท่านเป็นพระภิกษุรูปแรกจาก จ.บุรีรัมย์ ที่ได้พบหลวงปู่มั่น เมื่อบวชได้ 4 พรรษาที่วัดป่าบ้านหนองผือ

    ท่านเข้าสู่สำนักบ้านหนองผือได้แต่อยู่ได้เพียงเดือนเศษ เพราะไม่มีพระผู้ใหญ่รับรอง ระหว่างนั้นมีโอกาสได้รับเทศนาโดยตรงจากหลวงปู่มั่นเพียงครั้งเดียว

    ท่านว่าวันที่ได้พบหลวงปู่มั่นนั้นกำลังกวาดตาดอยู่ จู่ๆ พระอาจารย์มั่นเดินผ่านมาพอดี พอเห็นท่านเข้าก็รีบหลบหน้าด้วยความเกรงกลัว แต่ท่านพระอาจารย์มั่นได้เรียกไว้ก่อนว่า "หยุดก่อนๆ พระน้อย อย่าเดินหนี อย่ากวาดเร็ว มันไม่สะอาด" แล้วท่านก็ได้ถามขึ้นว่า "มาจากจังหวัดไหน" เมื่อกราบเรียนว่า"มาจากบุรีรัมย์ ขอรับ" ท่านก็ว่า "เพิ่งเห็นพระมาจากบุรีรัมย์" แล้วท่านก็มีคำอีกว่า "ไล่ทหารหรือยัง" จึงกราบเรียนว่า "เรียบร้อยแล้วครับ" จากนั้นท่านได้กำชับขึ้นว่า "อย่าหนีน่ะ อย่ากลับบ้านน่ะ ถ้ากลับบ้าน ก็จะกลายเป็นคนบ้า"

    "การภาวนาอย่านอน 3 ทุ่ม 4 ทุ่มจึงนอน นอนตื่นเดียวไม่ให้นอนซ้ำ เมื่อตื่นขึ้นให้ภาวนาต่อ ก่อนภาวนาต้องมีสติ เอาใจใส่ต่องานที่เราทำ อย่าทำแบบลวกๆ กลางวันอย่านอน ให้เดินจงกรมนั่งสมาธิ ให้ไปทำหลังวัดที่เป็นป่ากระบาก นอกจากนั้นให้ไปที่ถ้ำพระบ้านนาใน เป็นถ้ำที่มีเสือเดินผ่าน ด้วยความกลัวจะทำให้จิตเป็นสมาธิเร็ว อย่าขี้เกียจ"

    นี่เป็นธรรมโอวาท ที่หลวงปู่มั่นเมตตาเทศนาอบรมพระภิกษุใหม่รูปนี้ แม้จะเป็นการรับธรรมเทศนาตรงเพียงครั้งเดียวแต่ศิษย์รูปนี้ก็ได้น้อมนำมาเป็นประทีปส่องทางให้แก่ชีวิตมาตลอด

    ช่วงเดือนเศษนั้นท่านยังได้รับเมตตาจาก พระอาจารย์วัน อุตฺตโม และหลวงปู่หล้า เขมปัตโต เป็นพระพี่เลี้ยง อบรมกรรมฐานให้

    หลวงปู่จันทร์แรมเจริญในธรรมมากระทั่งเป็นพระมหาสมณะ เป็นประทีปธรรมแก่สาธุชนในแถบอีสานใต้ กระทั่งวันที่ 8 ธ.ค.2552 ที่ผ่านมา หลวงปู่จึงได้แสดงธรรมอันยิ่งใหญ่ต่อโลก โดยทิ้งธาตุขันธ์ อันเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา ทำงานมาก ก่อตัวขึ้นมามาก หลวงปู่ได้ละสังขารเข้าอนุเสสนิพพาน สิริอายุ 87 ปี หลังเข้ารับการรักษาอาการอาพาธในห้องไอซียู โรงพยาบาลศูนย์บุรีรัมย์ ตั้งแต่วันที่ 29 พ.ย.ที่ผ่านมา

    เปิดดูไฟล์ 5732884 sam_8756-jpg.jpg sam_8377-jpg-jpg.jpg sam_8378-jpg-jpg.jpg sam_8379-jpg-jpg.jpg sam_8380-jpg-jpg.jpg
     
  9. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    ายการที่ 807
    พระสมเด็จรุ่นนิโรธญานพิมพ์ใหญ่ผงอังคารธาตุหลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป พระอรหันต์เจ้าวัดป่าประทีปปุญญาราม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร พระรุ่นนี้สร้างปี 2555 สร้างจากผงอังคารธาตุหลวงปู่ผ่าน เเละผงว่าน 108 ชนิด อฐิษฐานจิตโดยหลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม พระอรหันต์เจ้าวัดศรีวิชัย หลวงปู่คำพันธ์บอกว่าท่านได้ขอทิพยญานของหลวงปู่ผ่านได้มาร่วมอฐิษฐานจิตร่วมด้วย หลวงปู่ผ่านได้บอกหลวงป่คำพันธ์ว่า " ยินดีเเละเต็มใจ" ,มีพระเกศาหลวงปู่ผ่านมาบูชาเป็นมงคลด้วย *********มาพร้อมกล่องเดิม >>>>>บูชาที่ 375 บาทฟรีส่งems sam_8359-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg sam_8601-jpg-jpg.jpg sam_8602-jpg-jpg.jpg sam_8603-jpg-jpg.jpg sam_7605-jpg-jpg-jpg.jpg sam_0517-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg

     
  10. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 808 รูปเหมือนลอยองค์รุ่นเเรกหลวงปู่จันทา ถาวโร + ผ้ายันต์มงกุฏพระพุทธเจ้าที่มีรูปหลวงปูอํ่า ธัมมกาโม ผืนสีขาวทั้ง 2 องค์เป็นศิษย์เอกหลวงปู่ขาว อนาลโย พระอรหันต์วัดถํ้ากลองเพล องค์พระสร้างปี 2546 องค์พระเนื้อโลหะผสม สร้างปี 2539 องค์นี้เลี่ยมกันนํ้าอย่างดี มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ ********บูชาที่ 375 บาทฟรีส่งems(ผ้ายันต์ผืนใหญ่) ประวัติประสบการณ์ผ้ายันต์ของหลวงปู่จันทา ส.จ.จังหวัดพิจิตรคนหนึ่งไปกราบเยี่ยมหลวงปู่จันทา ที่วัดเขาน้อย เพราะได้ยินกิตติศัพท์มาก่อน เมื่อเอ่ยปากขอเครื่องมงคล ท่านก็เมตตามอบผ้ายันต์ให้ผืนหนึ่งภายในบรรจุด้วยรูปหลวงปู่เป็นลายเส้น และยันต์มงกุฎพระพุทธเจ้ากับคาถาพระไตรสรณคมน์ ทั้ง 3 บทของหลวงปู่

    ครั้นกราบลาแล้วก็ขับเก๋งคู่ใจ มุ่งตรงมาแวะจอดทำธุระที่ตลาด ขณะที่ยืนไขกุญแจล็อกประตูรถด้านคนขับนั่นเอง ปรากฏชายฉกรรจ์ 2 คน ซ้อนมอเตอร์ไซค์ขี่มาหยุดอยู่ข้างๆ และโดยไม่มีสัญญาณใดๆทั้งสิ้น ชายผู้ซ้อนหลังก็หยิบปืนออกจากเอวเบนปากกระบอกไปยังเป้านิ่งที่ยืนตะลึงตรงหน้า แล้วลั่นไก ปัง... ปัง...ออกไปราว 3-4 นัด จากนั้นก็บึ่งรถหายลับไป บนถนนราวกับภูตผี

    ร่าง ส.จ. เคราะห์ร้ายรูดลงไปกองอยู่กับพื้น เป็นเป้าสายตาที่ใครต่อใครต่างกรูกันเข้ามา พอประคองลุกขึ้นจะส่งโรงหมอ ก็ให้ประหลาดใจที่ไม่เห็นเลือดนองดังคิด ไม่เห็นความเจ็บปวดอะไรบนใบหน้านอกจากแววตาที่ตื่นตระหนกเมื่อรุมล้อมซักถาม ได้ความว่า ยมทูตทั้ง 2 ยื่นความตายให้ไม่ถึงตัว ห่างกันไม่พอ 2 เมตร กลับยิงไม่ถูกเลยสักนัด ต่อให้คนไม่เคยยิงปืน มันก็น่าจะถูกบ้าง

    เลยเป็นเรื่องอัศจรรย์ที่แคล้วคลาดได้ ต่างซักถามถึงพระดีว่าแขวนอะไร ส.จ.เคราะห์ร้ายผู้กลับมาเคราะห์ดีบอกว่า ไม่ได้แขวนพระอะไร แต่มีผ้ายันต์ ผืนหนึ่ง เพิ่งรับมาจากหลวงปู่จันทาสดๆ ร้อนๆ ไทยมุงก็ขอชมเป็นบุญตา เขาก็ล้วงจากกระเป๋าเสื้อออกมาคลี่ให้คนชม

    หัวกระสุนทั้ง 4 นัด นอนกลิ้งอยู่กลางผ้ายันต์ !!

    เสียงอื้ออึงก็สนั่นขึ้นอีก รวมถึง ส.จ.คนนั้น ที่แทบไม่เชื่อสายตาตัวเอง กระสุนปืนที่ถูกยิงออกมามีความรุนแรงแค่ไหนใครก็รู้ ไม่ถูกยังพอว่า นี่กลับมาอยู่ในผ้ายันต์ที่พับเป็นสี่เหลี่ยมไว้ในกระเป๋าเสื้อ >>>>>>อนึ่ง.....หลวงปู่จันทาเป็นศิษย์รุ่นพี่หลวงปู่อํ่า เป็นสหธรรมมิกกันเเละได้ชักชวนกันมาอยู่จำพรรษาที่วัดป่าเขาน้อย อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร เพราะมีลูกหลานญาติพี่น้องของหลวงปู่จันทาที่ย้ายอพยพมาจากจ.ร้อยเอ็ด มาตั้งรกรากอยู่ที่ต.นี้มากเลยครับ (พูดภาษาอีสานทั้งนั้นครับ ) sam_6500-jpg-jpg.jpg SAM_9255.JPG SAM_9256.JPG SAM_9257.JPG SAM_9258.JPG เปิดดูไฟล์ 5821917 SAM_8108.JPG sam_8791-jpg.jpg
     
  11. ผู้ผ่านมา

    ผู้ผ่านมา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2006
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +140
    ขอบูชาครับ
     
  12. สักการะ

    สักการะ ชิวิตดั่งอาทิตย์อัศดง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,689
    ค่าพลัง:
    +5,778
  13. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    7,886
    ค่าพลัง:
    +6,814
    ขอจองรายการ806ครับ
     
  14. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 809 พระผง 500 อรหังหลวงปู่ครูบาวงศาพัฒนา พระโพธิสัตว์โตเเห่งวัดวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน หลวงปู่ครูบาวงศาเป็นศิษย์ครูบาพรหมมาจักร พระอรหันต์เจ้าวัดพระพุทธบาทตากผ้า องค์พระสร้างปี 2537 เนื้อออกสีเทา มาพร้อมเกศา,พระธาตุข้าวบิณฑบาตรพระพุทธเจ้า,คำหมาก,สำลีเช็ดนํ้าตา,จีวร มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ********บูชาที่ 385 บาทฟรีส่งems พระผง500 อรหันต์ ครูบาชัยวงศ์ ปี 2537
    ความเป็นมาของพระ ธาตุ 500 อรหันต์ โดยพระอาจารย์พงษ์ศักดิ์ คัมภีรธัมโม แห่งวัดพระธาตุดอยกวางคำ อ.ทุ่งหัวช้าง จ.ลำพูน.. ตอนนั้นไปกราบครูบาวงศ์บอกว่าจะไปถ้ำตับเต่า ท่านก็บอกเออไป พอไปแล้วมีญาติโยมตามไปด้วย ไปพักที่นั่นก็อธิษฐานว่า ถ้าถ้ำตับเต่านี้มีเทวดารักษาพระธาตุอยู่ อาตมาจะขอนำพระธาตุไปให้ชาวโลกเขาสักการะบูชา ถ้าจะให้ก็ขอให้มีนิมิต คืนนั้นก็มีนิมิตว่ามีช้างเผือกประมาณหลายร้อยเชือกน ับไม่ถ้วน วิ่งผ่านหน้าพระราชวังไป อาตมาเห็นจนสุดลูกหูลูกตา ตอนเช้าตื่นขึ้นมาก็เล่าให้เจ้าอาวาสฟัง ตอนนั้นพระอาจารย์บุญช่วยไม่อยู่ ท่านน้อย รักษาการเจ้าอาวาสแทน ก็เลยเล่าให้ฟัง ท่านบอกว่าถ้ามีนิมิตอย่างนี้ก็ดีแล้วจะพาท่านเข้าไป ถ้ำนั้นจะทราบเฉพาะเจ้าอาวาสกับท่านน้อยเท่านั้น เพราะท่านเข้าไปนั่งภาวนาแต่ตอนนี้ถ้ำได้ถูกปิดแล้ว ปากถ้ำแคบมาก เหมือนกับว่าจะมีแต่พญานาคหรืองูเท่านั้นทีจะเลื้อยเ ข้าไปได้ เพราะปากถ้ำใหญ่เท่าลำตาลแค่นั้น แต่ลึกเข้าไปจะเป็นที่โล่ง เย็นมาก พระธาตุจะอยู่สุดถ้ำพอดี ตรงนั้นเป็นที่ภาวนาพระธาตุจะเต็มไปหมด อาตมาก็ขอเทวดาว่า ถ้าจะได้พระธาตุไปเพื่อให้ชาวโลกสักการะบูชา ก็ขอให้เทวดาช่วยด้วย คือขอให้ออกจากถ้ำได้ทันเวลา เพราะเวลานั้นบ่ายสามบ่ายสี่โมงแล้ว เป็นช่วงที่เขาจะไม่ให้คนเข้าถ้ำเพราะงูจะออกหากิน แล้วมันมืดมาก ถ้าไฟที่เราจุดเกิดดับไป เราจะออกจากถ้ำไม่ได้ จะไม่มีใครมาช่วยก็เลยใจแข็งยอมเอาพระธาตุออกมาหลายถ ุงมากโดยไม่รู้ว่า คือ พระธาตุอะไร ตอนแรกยังไม่ทราบ พอออกมามันติดปากถ้ำพอดี เพราะตรงนั้นแคบมาก ช่วงที่ออกมานี่ปากถ้ำแคบเกินกว่าที่เราจะเอาพระธาตุ ออกมาได้ เฉพาะเราจะนั่งก็นั่งไม่ได้ แล้วถุงพระธาตุจะถูลู่ถูกังมาตามทางเดินไม่ได้ เพราะทางเดินเราต้องเลื้อยออกมาเหมือนงู ถ้าถูลู่ถูกังมาอย่างนั้น ถุงก็จะขาดเอาพระธาตุออกมาไม่ได้ ก็เลยบอกเทวดาว่าถ้าอาตมาหรือข้าพเจ้าจะนำพระธาตุออก มาให้คนสักการะบูชา ให้ชาวโลกสักการะบูชาได้ ก็ขอให้เทวดาช่วยขยายปากถ้ำให้นำออกมาได้ด้วย ปากถ้ำนี่ขยายออกมาจนอาตมาสามารถนั่งได้และคนที่จะตามมาสามารถนั่งได้ เราทุกคนแปลกใจมากและก็ขนพระธาตุออกมาได้ ปรากฎว่า พระธาตุที่นำออกมานั้น เอามาถวาย ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา ท่านว่านี่คือ พระธาตุของห้าร้อยอรหันต์ ซึ่งมีปรากฎเฉพาะใน ธรรมบท ที่ว่าพระสารีบุตรเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าตอนที่อยู่บนดา วดึงส์ บอก ว่าสารีบุตรเธอจงนำธรรมบทนี้ไปแสดงแก่ภิกษุห้าร้อ ย ภิกษุห้าร้อยนี้เคยเกิดเป็นค้างคาวที่ถ้ำหนึ่งแล้วก็ ได้ฟังเทศนาธรรมนี้จนเคลิ้มแล้วตกลงมาตายพร้อมกัน แล้วก็หมดบุญไปเกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์ชั้นฟ้า หลังจากหมดบุญแล้วก็ลงมาเกิดเป็นมนุษย์ มาบวชในสำนักพระสารีบุตร แล้วก็ได้บรรลุอรหันต์พร้อมกันทั้งห้าร้อยรูป หลังจากบรรลุธรรมเป็นอรหันต์พร้อมกันแล้ว ก็ไปนิพพานบนถ้ำตับเต่า แต่ก่อนไม่มีชื่อเรียกถ้ำ บนถ้ำนี้คนขึ้นไปไม่ได้ มันสูงมาก ไม่มีใครทราบว่ามี พระอรหันต์ 500 รูป ไปนิพพานข้างบน ก็ร้อนถึงพระอินทร์ พระอินทร์ก็ได้เนรมิตไฟมาเผา จนเป็นผงแล้วความร้อนของไฟที่เผาร้อนไปถึงเมืองบาดาล พญานาคก็เลยโผล่ขึ้นมาดูว่าทำไมถึงร้อนขนาดนี้ ก็เห็นเป็นไฟกำลังลุกไหม้ เลยพ่นน้ำมาดับ ถ้ำนั้นจึงเรียกว่า ถ้ำตับเต่า ที่ทางเหนือเขาเรียกถ้ำตับเต่าก็คือ ถ้ำดับเถ้า นั่นเอง.. ปัจจุบันนี้รูนั้นก็ยังอยู่ อาตมาเคยไปภาวนาที่ถ้ำนั้น ครูบาวงศ์ท่านเล่าให้ฟังอย่างนี้ ก็เลยถวายพระธาตุท่านไป ท่านก็ว่านี่คือ ห้าร้อยอรหันต์ ไม่มีที่อื่น มี ที่เดียว ปัจจุบันถ้ำนี้ถูกปิดไปแล้ว เพราะฉะนั้นพระธาตุห้าร้อยอรหันต์นี้ อาตมาคิดว่าอาตมาได้ขอเทวดามาให้ชาวโลกได้สักการะบูช า ก็คิดว่าถ้าจะเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์โลก
    sangha1.jpg
    ครูบาชัยวงศาพัฒนา (ครูบาวงศ์)
    "ท่านเป็นที่เคารพรักอย่างยิ่งของพี่น้องชาวกะเหรี่ยงในเขตอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มิใช่เฉพาะชาวกะเหรี่ยงเท่านั้น ใครก็ตามที่ได้พบ ได้ฟังคำสั่งสอนของท่าน และได้ทราบประวัติของหลวงพ่อ ต่างจะยิ่งบูชาหลวงพ่อมากยิ่งขึ้น ท่านเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ และมีเมตตาสูงยิ่งนัก ท่านเป็นพระนักพัฒนา นำชาวเขาชาวกะเหรี่ยงสู่การดำรงชีพที่ดีขึ้น "


    ประวัติ : ครูบาชัยวงศาพัฒนา (ครูบาวงศ์)
    เกิดในครอบครัวชาวนาที่มีฐานะ ยากจน นามเดิมชื่อ ด.ช.ชัยวงศ์ ต๊ะแหงม เกิดวันอังคาร ที่ 22 เม.ย. 2456 ตรงกับวันแรม 2 ค่ำเดือน7 เหนือ (เดือน5ใต้) ปีฉลู ณ ที่บ้านก้อหนอง หมู่ 2 ต.ก้อ อ.ลี้ จ.ลำพูน บิดาพ่อน้อยจันทะ- แม่บัวแก้ว ต๊ะแหงม เป็น บุตรคนที่3 ในจำนวน9 คน เมื่ออายุได้ 12 ปี ด.ช.ชัยวงศ์ ได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์วัดก้อท่า หรือวัดแม่ปิงเหนือ

    บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ 6 พ.ค.2468 ตรงกับวันขึ้น15 ค่ำ เดือน8 เหนือ(เดือน6ใต้) ณ วัดแก่งสร้อย ต.มืดกา อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ โดยมีพระครูบาชัยลังกา เป็นพระอุปัชฌาย์ ตั้งชื่อให้ว่า"ชัยยะลังก๋าสามเณร" และเป็นศิษย์อีกรูปหนึ่งที่เจริญรอยปฏิบัติธรรมตามแนวหลักของครูบาเจ้าศรีวิไชย

    หลวงปู่ครูบาวงศ์ เมื่อครั้งยัง มีชีวิตนอกจากจะเป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบในด้านศีลาจริยาวัตร ที่ดีงาม แล้ว ยังเป็นผู้ที่มีความเชียวชาญทาง ด้านเป็นช่างสถาปนิก ก่อสร้างทั้งงานปูนและงานไม้ ได้เป็นเยี่ยม อีกด้วย

    หลวงปู่ครูบาวงศ์ มรณภาพ รวมสิริ อายุได้ 87 ปี 67 พรรษา SAM_9259.JPG SAM_9260.JPG SAM_9263.JPG SAM_9262.JPG SAM_6890.JPG
     
  15. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 810 พระกริ่งจักรพรรดิ์โภคทรัพย์หลวงพ่อสายทอง เตชะธัมโม พระอรหันต์เจ้าวัดป่าห้วยกุ่ม อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ หลวงพ่อสายทองเป็นศิษย์หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง จ.ร้อยเอ็ด องค์พระสร้างปี 2555 ในวันมาฆบูชา ที่วัดป่าวังนํ้าเย็น เนื้อโลหะ มาพร้อมกล่องเดิม มีพระเกศาหลวงพ่อมาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ *********บูชาที่ 195 บาทฟรีส่งems
    ประวัติและปฏิปทา

    หลวงพ่อสายทอง เตชะธัมโม
    วัดป่าห้วยกุ่ม
    อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ


    %B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1-707x1024.jpg
    หลวงพ่อสายทอง เตชะธัมโม วัดป่าห้วยกุ่ม
    หลวงพ่อสายทอง เตชะธัมโม เดิมชื่อ “สายทอง คำมิสา” เกิดเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๑ ที่หมู่บ้านดอนสำราญใต้ กิ่ง อ.เชียงขวัญ จ.ร้อยเอ็ด ของครอบครัว “คำมิสา” เป็นบุตรคนที่ ๓ ในจำนวนบุตร ๑๑ คน บิดาชื่อ นายพุธ และมารดาชื่อ นางพา ประกอบสัมมาอาชีพ ทำไร่ ทำนา เลี้ยงครอบครัวด้วยความซื่อสัตย์สุจริต

    หลวงพ่อสายทอง ท่านเล่าว่า… เมื่อมีอายุเข้าเกณฑ์การศึกษา ผู้ปกครองจึงได้นำไปฝากเรียนที่โรงเรียนบ้านดอนสำราญใต้ จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ได้ดำเนินชีวิตตามท้องไร่ท้องนาประกอบอาชีพตามวิถีชีวิตชนบท หลังจากนั้นก็ได้บวชเป็นเณรอยู่ ๒ ปี แล้วสึก จนอายุ ๓๒ ปี ญาติผู้ใหญ่จึงได้จัดหาคู่ครองให้ อยู่กินกับภรรยาจนมีบุตรหญิงด้วยกัน ๑ คน ด้วยความยากจนและการทำมาหากินที่ฝืดเคือง จึงตัดสินใจเข้ากรุงเทพฯ เพื่อขับรถแท็กซี่ จนมาวันหนึ่ง ท่านถูกผู้โดยสารหลอกให้ไปส่งในที่เปลี่ยว แล้วโจรในคราบผู้โดยสารก็แสดงตัวขึ้นปล้นจะเอารถแท็กซี่ เครื่องมือทำมาหากินเลี้ยงชีพอย่างเดียวของท่านไป ท่านได้ถูกคนร้ายตีเสียจนน่วมไปทั้งตัว แล้วโยนทิ้งลงแม่น้ำข้างทาง ท่านนอนสลบอยู่ตัวไปติดกอผักตบเกาะไว้อยู่อย่างนั้น ก่อนฟื้นได้ยินเสียงพูดก้องหูว่า “โลกนี้หาความซื่อสัตย์ยาก ผ้ากาสาวพัสตร์นั้นจะช่วยเธอได้”

    เมื่อภายหลังจากที่ท่านมาสร้างวัดป่าห้วยกุ่มแล้ว ท่านเล่าได้เล่าว่า พระที่มาช่วยท่านขึ้นจากการหมดสติในคราวเป็นฆราวาสนั้น คือ หลวงพ่อปาน โสนันโท วัดบางนมโค ซึ่งตอนนั้นท่านไม่รู้จัก มาจำได้ก็ตอนที่มีโยมนำรูปเหมือนท่านมาถวายที่วัด พอเห็นใบหน้าพระองค์นั้นจึงจำได้ว่า องค์นี้มาช่วยเราไว้ ฝ่ายโยมผู้นำพระรูปเหมือนหลวงพ่อปาน มาถวายเองนั้นก็เล่าว่า หลวงพ่อปานมาเข้าฝัน บอกให้ทำรูปเหมือนมาถวายที่วัดป่าห้วยกุ่ม จ.ชัยภูมิ ซึ่งตัวเขาเองก็ไม่รู้จักวัดนี้หรือแม้แต่หลวงพ่อสายทองมาก่อนเลยด้วยซ้ำ

    หลังจากรักษาร่างกายอยู่นาน พอหายจึงได้ออกบวชโดยไม่ยอมบอกใครเลย เข้าบวชเป็นนาคตาปะขาว นานประมาณ ๑ เดือน จากนั้นจึงได้เข้าสู่เพศบรรพชิตด้วยวัย ๓๕ ปี ณ วัดป่ากุง อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๗ เวลา ๒๑.๐๐ น. โดยมีท่านเจ้าคุณภัทรมุณี (เลื่อน) วัดเหนือ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นพระอุปัชฌาย์ มีหลวงปู่ศรี มหาวีโร เป็นพ่อแม่ครูบาอาจารย์ คอยอบรมสั่งสอนเรื่อยมา

    จากนั้นท่านจึงออกรุกขมูลไปศึกษาธรรมกับพ่อแม่ครูอาจารย์ และไปยังป่าเขาลำเนาไพรในสถานที่ ที่จะเรียกสติและกำลังใจได้ดี นั่นคือตามราวป่า ป่าช้า ป่าชัฏ สมัยที่ท่านออกไปธุดงค์อยู่ตามป่าเขา ท่านเคยโดนผีมาหลอก โดยขวักไส้ ขวักลูกตาโบ๋ แลบลิ้นปริ้นตามาหลอกท่าน ท่านตอบผีไปว่า โอ๊ย ไม่กลัวหลอก ไส้เราก็มี แถวยังดีกว่าด้วย ไม่เน่าอย่างนั้น ตาก็ดียังใช้การได้อยู่ ที่แสดงมานั่น ไม่กลัวหรอก ไม่ต้องมาหลอกหรอก

    การปฏิบัติธรรมของหลวงพ่อสายทอง เตชะธัมโม นั้นคือเอาตายเข้าแลก คือยอมหักแต่ไม่ยอมงอ ท่านปฏิบัติอย่างจริงจัง ท่านเคยเล่าให้ฟังว่า ตอนจิตท่านฟุ้งซ่านง่วงหงาวหาวนอน ท่านแก้กิเลสด้วยการไปเดินจงกลมในน้ำ เดินกลับไปกลับมาอย่างนั้น ถ้าหลับก็ให้จมลงไปเลย การอดอาหารภาวนาก็ช่วยได้อย่างหนึ่ง ท่านเคยอดอาหารภาวนาติดต่อกันยาวนานถึง ๔๕ วัน เพื่อเร่งความเพียร โดยองค์ท่านให้เหตุผลว่า การงดฉันอาหารช่วยให้กายเบาจิตเบา ถึงแม้จะมีความหิวเกิดขึ้นมากมายขนาดไหนก็ตาม ล้วนเป็นอุปการะคุณต่อการปฏิบัติจิตตภาวนาทั้งสิ้น คือ จิตสงบละเอียด ปัญญาเฉียบคมเป็นพิเศษ และอีกสิ่งหนึ่งซึ่งถือเป็นปฏิปทาของหลวงพ่อสายทอง ที่เด็ดเดี่ยวไม่แพ้การอดอาหาร สิ่งนั้นคือการเดินจงกรม

    B8%AD%E0%B8%87-%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%8A%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%A1.jpg
    หลวงพ่อสายทอง เตชะธัมโม วัดป่าห้วยกุ่ม
    การเดินจงกรมเป็นการเดินภาวนาอย่างหนึ่ง พระกัมมัฏฐานใช้ในการเปลี่ยนอริยาบถ สลับกับการนั่งภาวนา ภาวนา “พุท-โธ” พร้อมกับรับรู้ไปกับการเดิน การเคลื่อนไหว ผู้รู้จริงๆ นั้นเอาไว้จุดไหนก็ได้ภายในร่างกายของเรา มันจะขยับไปไหนรู้หมด มันมีแต่ผู้รู้ เพราะจิตมันละเอียดมันไม่ปล่อยพุทโธ พุทโธไม่มีแล้ว เวลานี้มันเป็นของมันอัตโนมัติ

    แต่ก่อนไปหยิบมั่วเลย ใจดวงนี้ ไอ้นั่นก็จะเอา ไอ้นี่ก็จะเอา…นั่นดูซิ ถึงบอกว่าถ้าเราฝึกดีแล้ว อันนั้นไม่เอา อันนี้ไม่เอา อันนี้ไม่ใช่ มันอด รู้ว่าของร้อนมันไม่ไปแตะ มันเป็นอย่างนั้น ถ้าสติดีมันเกิดขึ้นไม่ได้นะภายในจิต มีเท่าไหร่ดับหมด เกิดดี ไม่ดี ับมันรู้ รู้เท่าทันไม่ไปเกี่ยวข้องกับสิ่งใด มันก็อยู่เป็นเอกเทศซิ เอกเทศก็หมายถึง เอโกธัมโม จิตเป็นหนึ่ง เอาหล่ะซิ ใครจะมาบังคับจิตได้ในโลกอันนี้ ความอยากทั้งหลายทั้งปวง เรื่องของโลกจะมาบังคับจิตไม่ได้ มันเป็นอัตโนมัติ แม้แต่ตัวเองทำผิดมันยังดุ ธรรมภายในจิตเวลามันออกมา น่ากลัว แม้แต่นั่งอยู่คนเดียวมันยังด่าตัวเอง ไปทำผิออะไรมา พอมันตรวจตรา ทำอย่างนี้ใช้ได้เรอะ ?

    สำหรับหลวงพ่อสายทอง ท่านชอบการเดินจงกรมมากเป็นพิเศษ ครั้งแรกที่เดิน ครั้งนั้นอดอาหารภาวนาอยู่ ๙ วัน พอออกจากที่นั่งสมาธิก็มาเดินจงกรม เดินได้ครึ่งวันรู้สึกแรงมันหมด เอ้า…เดินไม่ได้ก็นั่ง พอวันที่สองก็เอาอีก เดินถึงเก้าโมงแรงหมดไม่มีเลยเพราะไม่ได้ฉัน เดินไปก็หกล้ม เลยนั่ง เอ้า…วันที่สามลุกขึ้นมาเดิน ยังไม่ทันสองชั่วโมงไม่ถึงแปดโมงเลยแรงหมดหกล้ม
    “อย่างนี้ใช้ไม่ได้ การฝึกของเรานี้อ่อนมาก ต้องฝึกใหม่” ครบ ๙ วันก็ฉันตามปกติ แต่คราวนี้ฝึกใหม่ คือฉันเสร็จเข้าทางจงกรมเลยไม่ให้พักผ่อน เดินไปเรื่อยถึงเที่ยงคืนตีหนึ่ง บางทีก็ข้ามคืน รู้สึกว่าแข็งแกร่งขึ้น เดินครั้งแรกมีเจ็บปวดบ้าง พอพิจารณามันก็หาย บางทีลงทางจงกรมใหม่ๆ เหมือนเราจะเดินไม่ได้ มันเจ็บมันปวด พอเดินไปชั่วขณะหนึ่งเดินตัวเบาหวิว เวลาเดินทางจงกรมแล้วไม่อยากออก มันอยากจะเดินอยู่อย่างนั้น มันสบายมีความรื่นเริง

    8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1-2.jpg
    หลวงพ่อสายทอง เตชะธัมโม วัดป่าห้วยกุ่ม
    หลวงพ่อสายทอง ท่านเคยเดินจกรมติดต่อกันได้ยาวนานถึง ๑๓ วัน ภายในถ้ำมโหฬาร อ.หนองหิน จ.เลย ท่านเดินจงกรมทั้งวันทั้งคืน หยุดยืนพักภาวนาชั่วขณะคราวเหนื่อยอ่อน เดินไปฝ่าเท้าร้อนเหมือนเดินบนกองเพลิง เนื้ออ่อนของฝ่าเท้าสุดทานทนต่อการสัมผัสดินอย่างไม่หยุดหย่อน จนฉีกขาดเลือดไหลทะลัก ต้องใช้ผ้าพันแผลแล้วเดินต่อ ทุกขเวทนาก่อตัวรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ จนกระทั้งเป็นมหาทุกข์ คล้ายร่างกายจะระเบิด ทุกข์นี้เป็นเครื่องทดสอบจิตใจ ไหวพริบสติปัญญา ว่าจะสามารถผ่านพ้นทุกข์ – สมุทัย ไปสู่นิโรธได้หรือไม่

    มันนอนไม่ได้ ถ้ามานั่งอย่างนี้ไม่ได้ เป็นไฟไปเลยภายในร่างกาย จะอยู่ได้เฉพาะในทางจงกรม จากนั้นมาวันที่ ๑๓ อุปาทานขันธ์ความยึดมั่นถือมั่นมันวางประมาณบ่ายสองโมงกว่า พอทุกข์มันดับลงแล้วก็ไม่รู้ตัว เดินไปอย่างนั้น ไม่รู้ว่ามืดเมื่อไหร่ พอจิตถอนขึ้นมาอีกที เขาจุดไฟกันแล้ว แต่ความรู้สึกมันเหมือนกับแสงเทียนลอยไปลอยมาอยู่ท่ามกลางทางจงกรม

    ท่านว่า “ต้องอยู่ในสนามรบ ทุกข์มันเกิดขึ้น ถ้าใจเราไม่แข็งจริงๆ แล้วไปไม่ได้ มันต้องตัดสินใจลงไปว่า ทุกข์มันจะแสนสาหัสขนาดไหน เราก็จะเป็นเพียงผู้รู้ผู้เห็น ถ้าทุกข์ไม่ดับให้เห็นไปกับตาของเรา เราจะไม่ออกจากทางจงกรม กี่วันก็ย่าง(เดิน) กี่คืนก็ย่าง ให้จิตมันหยั่งลงไป ถ้าเดินไม่ได้เราจะคลานลงไป ถ้าคลานไม่ได้เราจะนอนกลิ้งลงไป ทุกข์นี่มันจะดับไหม พอจิตมันหยั่งลงไปในความสงบ ทุกข์ดับมันก็รู้

    เมื่อทุกข์มากๆ มันไม่มีเรื่องอื่น มีแต่เรื่องใจกับเวทนา พูดอย่างนั้นเลย รูปมันก็ตั้งอยู่อย่างนั้น ปัญญานั่นแหละห่ำหั่นความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ทั้งห้า ตัวนี้หล่ะมันแรง ยึดไม่มีประมาณ อันนี้ก็เป็นของเรา มือไม้อะไรยึดเอาหมด มันว่าเป็นของเรา ไม่ยอมปล่อย เหนียวแน่นยิ่งกว่าอะไรเสียอีก ถ้ามันจนตรอกจนมุมจริง มันไม่ยอมปล่อย จนตรอกจนมุมในที่สุด ตายก็ตายตัดพรึ่บแค่นั้น !

    พอทุกข์ดับลงเราก็รู้นะ เวทนามันไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เวลามันปล่อยวางอุปาทานขันธ์มันเป็นอย่างนี้แหละ จากนั้นจะให้มันยึดอีกมันก็ไม่ยึดละ ถ้าเป็นนักมวยเอาชนะกันสักครั้งหนึ่ง โอ้โฮ กำลังใจดีมากเลยในการต่อสู้ มาตอนหลังเวลาล้มป่วย หลวงพ่อไม่เคยให้ยา…ปล่อย ไอ้การปล่อยตัวนี้แหละก็คือว่า เอ้า…มันจะเป็นอย่างไรก็ปล่อยมันหล่ะ ไม่เสียดายละ มันจะแตกคืนนี้ก็แตก มันจะแตกพรุ่งนี้หรือเวลาไหนก็เป็นเรื่องของมัน แต่ก็ไม่แตกดับ มันยังไม่ถึงวาระมันก็ยังไม่ตาย จากนั้นมาถึงคราวล้มป่วยลงยิ่งสบาย จิตมันรวมเข้ามา ไม่ได้กำหนดอะไรยากเลย มันเป็นของมันอัตโนมัติเลย

    ปัญญานี่แหละ ที่ใช้อบรมจิตใจให้มันคลายจากความยึดมั่น พิจารณาอยู่เป็นนิจ ทุกข์เกิดจุดไหนก็พิจารณา จุดนี้หล่ะสำคัญ “ปัญญา” แสงสว่างใดจะเสมอเหมือนด้วยปัญญาไม่มี ในธรรมทั้งหลายทั้งปวงก็รวมลงมาในจุดนี้ นัตถิ ปัญญา สมาอาภา คำสั่งสอนทั้งหลายรวมลงมาจุดนี้ สมาธิทำให้จิตใจสงบมีอยู่อารมณ์เดียวนั่นแหละ นอกจากนั้นปัญญาห่ำหั่นแยกแยะออก ในที่สุดมันก็จะขาดพรึ่บลง กองทุกข์ทั้งหลายจิตมันปล่อย พูดง่ายๆ ทุกข์ทั้งหลายมันปล่อย ปล่อยขันธ์ ความยึดมั่นถือมั่นมันปล่อยลงพรึ่บนี่มันก็เบาๆ เหมือนกับนุ่นที่มันลอยไปลอยมานี่ละ นั่น…เบาถึงขนาดนั้น เดินเหินไปไหนมาไหนปกติทุกอย่าง เป็นอย่างนั้น เป็นคนละส่วนไปเลย ทุกวันนี้เดินทั้งวันทั้งคืนมันก็ไม่ยึดทุกข์…อยู่ได้

    การฝึกสอนตนไม่ใช่ของง่ายนะ ฝึกตนให้ดี ฝึกตนให้มีความตั้งมั่น ฝึกตนให้อยู่ในความมักน้อย ฝึกตนไม่ให้ไปรังแกคนอื่น แล้วในที่สุด ใจดวงนี้ฝึกได้แล้ว มันจะเป็นที่พึ่งของใคร มันจะเป็นที่พึ่งของคนอื่นก็ได้ แล้วมันก็ย่นเข้ามาเป็น อัตตาหิ อัตตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งของตน เห็นไหม ประกาศออกมาเลย มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ นะ

    หลวงพ่อสายทอง ท่านเล่าอีกว่า ท่านได้นิมิตเห็นหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต มาหามาเยี่ยมและไตร่ถามว่า เธอจะเป็นพระแบบไหน ท่านจึงตอบหลวงปู่มั่นไปว่า ผมจะยึดพระแบบหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เป็นแบบอย่างครับ คือเมื่อตนเป็นที่พึ่งแห่งตนเองได้ก่อนแล้ว ก็เป็นที่พึ่งแห่งโลก สงเคราะห์โลกแบบองค์หลวงตามหาบัว ที่ท่านพาดำเนิน ภายหลังจากนั้นหลวงพ่อสายทอง ท่านก็เมตตาสงเคราะห์โลก เกื้อกูลโลก โดยช่วยสร้างสาธารณะประโยชน์ให้แก่สังคม เช่น ปลูกสร้างตึกโรงพยาบาลผู้ป่วยและเครื่องมือแพทย์ในอำเภอต่างๆ โรงเรียน สถานีตำรวจ เรือนจำ เป็นต้น

    ในส่วนของพระภิกษุสงฆ์ที่มาอบรมศึกษาธรรมกับท่านที่วัดป่าห้วยกุ่ม ท่านก็เคร่งครัด ในข้อธรรมข้อวินัย อีกทั้งยังห้ามไม่ให้พระสงฆ์อ่านหนังสือพิมพ์ ไม่ให้ใช้โทรศัพท์มือถือ หากท่านพบเห็นก็จะหยิบโยนเข้าป่าไปเลย จริงๆ แล้วที่วัดป่าห้วยกุ่มก็ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์อยู่แล้ว ซึ่งก็เป็นข้อดีที่หลวงพ่อท่านชอบ แต่ทำไมหลวงพ่อสายทองท่านจึงเคร่งครัดเรื่องนี้นัก เช่น มีอยู่ครั้งนึงท่านเล่าให้ฟังว่า มีพระบวชจากที่อื่น มาขอภาวนาอบรมธรรมอยู่กับท่าน พระรูปนี้แอบพกมือถือ พอท่านทราบก็เรียกเขามาคุย บอกให้เอามือถือออกมา หลวงพ่อสายทองท่านเองใช้มือถือไม่เป็น แต่ก็ชี้บอกให้เขาเข้าเมนูต่างๆ ไล่ไป ไล่ไป จนไปเจอภาพโป๊ในเครื่อง ท่านจึงสั่งพระให้ลบทิ้งเสีย ไม่เช่นนั้นก็จะไม่ให้อยู่อีกต่อไป หลวงพ่อท่านบอกเห็นมั้ยๆ เราถึงไม่อยากให้พระใช้มือถือเลย ทั้งนี้เพราะท่านไม่ต้องการให้พระภิกษุสงฆ์ส่งจิตออกไปภายนอก ให้พระสงฆ์ตั้งใจฝึกฝนอบรมหันเข้ามาดูภายในจิตในใจตนเองมากกว่า

    ปัจจุบัน หลวงพ่อสายทอง เตชะธัมโม เจริญอายุวัฒนมงคลครบ 73 ปี พรรษา 38 (16 ตุลาคม พ.ศ.2554)

    โอวาทคำสอนหลวงพ่อสายทอง เตชะธัมโม

    “…หลักธรรมะของพระพุทธเจ้าคืออยากให้ภาวนา การทำบุญให้ทานได้บุญอย่างเต็มที่สุดจิตสุดใจ มาทำบุญแต่ละครั้งมันเกิดขึ้นที่จิตที่ใจ ถ้าใจไม่เกิดขึ้น มาไม่ได้นะ นี่มันเป็นอย่างนี้ จึงอยากให้ภาวนา อยากให้รู้ อยากให้เห็นบ้าง เพราะวาระสุดท้าย เราจะได้พึ่งตัวเองได้ เป็นอัตตาหิ อัตตโน นาโถ..” SAM_9264.JPG SAM_9265.JPG SAM_9266.JPG SAM_9267.JPG SAM_8191.JPG
     
  16. ผู้ผ่านมา

    ผู้ผ่านมา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2006
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +140
    ขอบูชาครับ
     
  17. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 811 พระผงพระพุทธกลีบบัวรุ่นเเรกหลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป พระอรหันต์เจ้าวัดอรัญวิเวก อ.เเม่เเตง จ.เชียงใหม่ หลวงปู่เปลี่ยนเป็นศิษย์หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม วัดป่าอาจารยืตื้อ,หลวงปู่เเหวน สุจิณโณ วัดดอยเเม่ปั๊ง เป็นต้น องค์พระสร้างปี 2536 เนื้อผงพุทธคุณ สร้างเนื่องในวาระครบ 5 รอบ 60 ปี ด้านหลังมีผสมเกศา รุ่นนี้หลวงปู่อฐิษฐานจิต 1 ไตรมาส องค์นี้เลี่ยมกันนํ้าอย่างดี มีเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ *********บูชาที่ 205 บาทฟรีส่งems
    พระอาจารย์เปลี่ยน ปญฺญาปทีโป
    พระเปลี่ยน ปญฺญาปทีโป
    (เปลี่ยน ปญฺญาปทีโป)

    B8%99_%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%9B.jpg
    เกิด 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476
    มรณภาพ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
    อายุ 84 ปี 2 เดือน 30 วัน
    อุปสมบท 31 มีนาคม พ.ศ. 2502
    พรรษา 59
    วัด วัดอรัญญวิเวก
    จังหวัด เชียงใหม่
    สังกัด ธรรมยุติกนิกาย
    25px-Dharma_wheel.svg.png พระอาจารย์เปลี่ยน ปญฺญาปทีโป เป็นพระภิกษุฝ่ายอรัญวาสี วัดอรัญญวิเวก สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย
    พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป นามสกุลเดิม วงษาจันทร์ เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 ตรงกับวันพฤหัสบดี ปีระกา ณ บ้านโคกคอน ตำบลโคกสี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร บิดาชื่อ กิ่ง มารดาชื่อ อรดี สกุลเดิม จุนราชภักดี บิดามารดาทำการค้าขาย มีฐานะดี คุณตาเป็นกำนันอยู่ที่ตำบลโคกสี ชื่อ ขุนจุนราชภักดี และคุณยายรักท่านมากจึงรับท่านมาเลี้ยงดูตั้งแต่ยังเล็ก ๆ ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา 6 คน เป็นผู้ชาย 5 คน ผู้หญิง 1 คน มีชื่อตามลำดับ ดังนี้[1]

    1. นายสมบิน วงษาจันทร์ (ถึงแก่กรรม)
    2. นายคำปิ่น วงษาจันทร์ (ถึงแก่กรรม)
    3. พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป
    4. นายเหรียญ (วงษาจันทร์) นันตสูตร (ถึงแก่กรรม)
    5. นางหนูจีน (วงษาจันทร์) ธรรมจิตร (ถึงแก่กรรม)
    6. นายถวิล วงษาจันทร์ (ถึงแก่กรรม)
    การศึกษา[แก้]
    การศึกษาในระยะแรก ได้เรียนกับคุณตาคุณยายที่บ้าน เพราะระหว่างนั้น เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา (สงครามโลกครั้งที่ 2) ต่อมาได้เข้าเรียนที่โรงเรียนบ้านโคกคอน เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เมื่ออายุ 11 ปี สอบได้ที่หนึ่งในชั้น ท่านมีความประสงค์จะเรียนต่อ แต่มารดาต้องการให้ท่านมาช่วยงานค้าขายของบิดา ท่านจึงต้องปฏิบัติตามความประสงค์ของมารดา

    การประกอบอาชีพและชีวิตก่อนบวช[แก้]
    ในการประกอบอาชีพค้าขายของท่านนั้น ท่านต้องออกเดินทางไปซื้อของถึงจังหวัดอุดรธานี โดยนั่งรถโดยสารบ้าง รถบรรทุกหรือรถขายถ่านบ้าง สินค้าส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ทั่วไป เมื่อถึงฤดูทำนาก็จ้างคนมาทำนา แต่ละปีสามารถเก็บเกี่ยวข้าวจากนาได้มาก จึงขยายกิจการไปค้าขายข้าวเปลือกกับโรงสีใหญ่ ๆ ด้วย

    หลังจากผ่านการคัดเลือกทหารแล้ว ท่านหันไปสนใจการรักษาคนเจ็บป่วย ได้รับถ่ายทอดวิชาความรู้เรื่องยา การรักษาคนไข้จากหมอประจำอำเภอซึ่งเป็นญาติกัน คุณหมอจึงคิดจะส่งท่านไปเรียนต่อที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งคุณตาก็สนับสนุน แต่มารดาไม่อนุญาต ต้องการให้ท่านดูแลการค้าต่อไป

    ในการทำการค้านั้น กิจการต่าง ๆ ดำเนินไปด้วยดี ฐานะการเงินของครอบครัวดี พระอาจารย์เปลี่ยนเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบในการงานสูง ญาติพี่น้องและผู้ใกล้ชิดจึงไว้ใจ ได้พากันนำเงินมาฝากท่านเหมือนหนึ่งเป็นธนาคาร ท่านก็เก็บรักษาให้เขาโดยไม่ได้อะไรตอบแทน ท่านทำให้กับทุกคนด้วยความรักและนับถือเหมือนกับที่เขาวางใจท่าน ส่วนในเรื่องการครองเรือนนั้น ท่านไม่คิดที่จะแต่งงานหรือตกลงใจกับใคร แม้ว่าจะมีเพศตรงข้ามพยายามเข้ามาสนิทสนมด้วยหลายคน

    พระอาจารย์เปลี่ยนมีโอกาสดีได้คุ้นเคยกับพระสงฆ์มาตั้งแต่อายุ 11-12 ปี เมื่อทางบ้านมีงานบุญ ท่านจะทำหน้าที่ไปรับพระที่วัด จึงได้เห็นวิธีเดินจงกรมของพระอาจารย์ลี วัดป่าบ้านตาล และเป็นผู้ที่ได้แนะนำให้ไปหาหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ (ซึ่งบวชเมื่ออายุมากแล้วและติดตามหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ไปปฏิบัติธรรมที่ถ้ำเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับการยกย่องด้านการบำเพ็ญเพียรไม่ท้อถอย) หลวงปู่พรหมได้เดินจงกรมให้ดู และสอนให้เดินด้วย จึงถือได้ว่าหลวงปู่พรหมเป็นพระอาจารย์องค์แรกของพระอาจารย์เปลี่ยน

    พระอาจารย์เปลี่ยนได้ศึกษากับพระที่บวชกับหลวงปู่พรหมหลายองค์ ซึ่งสรรเสริญการบวชมาก ทำให้พระอาจารย์เปลี่ยนคิดบวชอยู่ตลอดเวลา เริ่มตั้งแต่อายุ 12 ปี 14 ปี 16 ปี จนถึง 20 ปี แต่มารดาก็ไม่อนุญาตทั้ง ๆ ที่พี่ชาย 2 คนก็บวช แล้วตัวมารดาเองก็ไปวัดถือศีลทุกวันพระ และบางครั้งเดินทางไปกราบนมัสการหลวงปู่มั่น ภูริทัตโตก็ตาม จนกระทั่งบิดาของท่านซึ่งป่วยด้วยวัณโรคถึงแก่กรรมใน พ.ศ. 2497 และอีก 5 ปีต่อมาคุณลุงก็ถึงแก่กรรมอีกคนหนึ่ง พระอาจารย์เปลี่ยนจึงใช้ความพยายามขอบวชอีกครั้งหนึ่งเพื่อทดแทนพระคุณพ่อแม่เหมือนกับพี่ชายทั้ง 2 คน เพราะยังไม่เคยบวชเลย ขณะนั้นพี่ชายได้สึกออกมาประกอบอาชีพแล้ว มารดาและคุณตาทนการรบเร้าของพระอาจารย์ไม่ไหว จึงอนุญาตให้บวชแค่เพียง 7 วัน

    ครั้นทำการฌาปนกิจศพคุณลุงแล้ว วันรุ่งขึ้นท่านก็ถือโอกาสเข้าวัดเพื่อเตรียมตัวบวช หัดขานนาคพร้อมกับคนอื่นซึ่งมาอยู่วัดถือศีลอีก 2 คน ฝึกสวดมนต์เจ็ดตำนานได้เกือบหมดเล่ม ใช้เวลา 40 วัน มีพระอาจารย์สุภาพ ธัมมปัญโญ เป็นครูผู้ฝึกสอน

    การบวช
    พระอาจารย์เปลี่ยนเข้าพิธีอุปสมบทที่วัดธาตุมีชัย บ้านโคกคอน ตำบลโคกสี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2502 พระอุปัชฌาย์ชื่อ พระครูอดุลย์สังฆกิจ พระกรรมวาจาจารย์ชื่อ พระครูพิพิธธรรมสุนทร ได้ฉายาว่า ปัญญาปทีโป

    เนื่องจากวัดธาตุมีชัยเป็นวัดฝ่ายมหานิกาย ดังนั้น เมื่อพระอาจารย์เปลี่ยนบวชแล้วจึงย้ายไปอยู่วัดทุ่งสว่าง บ้านโคกคอน ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ท่านมีความสบายกายสบายใจมากเพราะได้ปล่อยวางภาระต่าง ๆ ตั้งแต่การรับผิดชอบเงินทองจำนวนมาก ทั้งของท่านเองและเงินฝากของผู้อื่น ความกังวลในการค้าขายให้กับครอบครัวและญาติพี่น้อง รวมทั้งการดูแลรักษาไร่นา วัวควาย และทรัพย์สมบัติอื่น ๆ ที่ท่านแบกอยู่ผู้เดียวมาตั้งแต่อายุ 12 ปี ครั้นบวชได้ 18 วัน โยมมารดาก็ขอให้ท่านสึก เพราะเลยกำหนดเวลาที่อนุญาตแล้ว แต่ด้วยความฝักใฝ่ในการศึกษาธรรมะของท่าน จึงได้ขอโยมมารดาบวชต่อให้ครบ 1 พรรษา

    แสวงโมกขธรรม
    ด้วยความมุ่งมั่นของพระอาจารย์เปลี่ยนที่จะศึกษาธรรมะให้ถึงจุดหมายปลายทางของศาสนา ท่านจึงพยายามบ่ายเบี่ยงโยมมารดาในการสึกและหนีออกไปธุดงค์ตามจังหวัดต่าง ๆ เพื่อแสวงหาโมกขธรรม และได้พบกับพระอาจารย์ที่ได้ยินกิตติศัพท์ ทั้งภาคอีสาน ภาคใต้ และภาคเหนือ แต่ที่พระอาจารย์เปลี่ยนอยู่ฝึกปฏิบัติธรรมด้วยนาน ๆ และรับใช้ใกล้ชิดอย่างสนิทสนมคือ หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม และ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ส่วนองค์อื่น ๆ เช่น อาจารย์จวน กุลเชฏโฐ หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่คำดี ปภาโส หลวงปู่ชอบ ฐานสโม พระสุธรรมยานเถร (อินถา อินฺทจกฺโก) หลวงปู่สาม อกิญฺจโน พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร (วัน อุตฺตโม) หลวงปู่แว่น ธนปาโล หลวงพ่อผาง จิตฺตคุตฺโต พระอาจารย์ที่ท่านได้พบนั้นต่างมีเมตตาเทศน์อบรม ทำให้ท่านมีความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมยิ่งขึ้นไปเป็นลำดับ [2]

    พระอาจารย์เปลี่ยนเป็นเจ้าอาวาสวัดอรัญญวิเวก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 เป็นต้นมาจนกระทั่งปัจจุบัน ท่านมีลูกศิษย์มากมายที่ติดตามและฝึกปฏิบัติตามแนวทางของท่าน พระอาจารย์เปลี่ยนได้รับการยอมรับในหมู่นักปฏิบัติว่าเป็นพระป่ากรรมฐานผู้เคร่งครัดในธรรมวินัย มีความเพียรอันยิ่งในการปฏิบัติ เป็นพระสุปฏิปันโนและเป็นพระแท้ที่เปี่ยมด้วยความเมตตา ท่านเขียนหนังสือหลายเล่มเพื่อถ่ายทอดธรรมะต่อสาธุชนแบบไม่มีค่าใช้จ่าย ธรรมบรรยายของท่านนั้นล้วนเป็นสิ่งที่ถูกต้องตรงจริตของผู้ฟังและสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาการปฏิบัติของตนเองได้เป็นอย่างดี การสอนของพระอาจารย์เปลี่ยนที่สำคัญนั้นมุ่งเน้นการปฏิบัติที่นำไปสู่นิพพานซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางของการปฏิบัติในพระพุทธศาสนา

    มรณภาพ[แก้]
    300px-Wiharn.jpg
    พระวิหาร วัดอรัญญวิเวก (บ้านปง) ต.อินทขิล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
    พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป ได้ละสังขารอย่างสงบ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เวลา 15.03 น. อายุ 84 ปี 59 SAM_9268.JPG SAM_9269.JPG SAM_8183.JPG
     
  18. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    7,886
    ค่าพลัง:
    +6,814
    ขอจองครับ
     
  19. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 813 เหรียญรุ่นสมปรารถนา+พระผงในซุ้มเรือนเเก้วรุ่นละวางหลวงปู่เนย สมจิตโต พระอรหันต์เจ้าวัดป่าโนนเเสงคำ อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร หลวงปู่เนยเป็นศิษย์หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร วัดป่าสุนทราม เหรียญสร้างปี 2554 เนื้อกะไหล่ทอง ,ส่วนพระผงสร้างปี 2554 (รุ่นนี้มีพ่อเเม่ครูอาจารย์ที่มาร่วมปลุกเสกอฐิษฐานจิตในงานฉลองพระเจดีย์พิพิธภัณฑ์ของหลวงปู่เนย เช่น หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป วัดป่าประทีบปุณยาราม,หลวงตาเเตงอ่อน กัลยาณธัมโม วัดป่าโชคไพศาล,หลวงปู่เคน เขมาสโย วัดป่าหนองหว้า,หลวงปู่เหนูเมย สิริธโร เป็นต้น )มีเกศาหลวงปู่เนย มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ *******บูชาที่ 180 บาทฟรีส่งems
    B9%88%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%A2-%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%82%E0%B8%95.jpg

    อัตโนประวัติ ชื่อ เนย มูลสธูป เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 17 ก.ย. 2480 ที่บ้านกุดแห่ ต.กุดเชียงหมี อ.เลิงนกทา จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบัน จ.ยโสธร)

    เมื่อวัยเด็กอายุ 7 ขวบ เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนบ้านกุดแห่ แต่เกิดป่วยเป็นโรคท้องเรื้อรัง ขาดการเรียนอยู่ 3 เดือน อายุ 11 ขวบ เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แล้วออกมาช่วยพ่อแม่ทำนา

    ด้วยในสมัยนั้นการที่จะเรียนต่อให้สูงขึ้นต้องเดินทางไปเรียนยังต่างถิ่น กลายเป็นเรื่องลำบาก จำต้องออกมาช่วยครอบครัวหาเลี้ยงชีพ

    พออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ บิดา-มารดาได้นำผ้าป่าถวายให้ พระอาจารย์ดี ฉันโน ซึ่งเป็นศิษย์รุ่นใหญ่ของ พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล และ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ขอฝากบุตรชายให้บวชตามประเพณี

    นายเนย ได้ฝึกขานนาคอยู่เป็นเวลา 3 เดือนเต็ม จึงได้รับการบรรพชาอุปสมบทในเขตวิสุงคามสีมา วัดป่าสุนทราราม อ.เลิงนกทา เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2500 โดยมี พระครูภัทรคุณาธาร วัดพรหมวิหาร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สิงห์ทอง ปภากโร เป็นพระกรรมวาจารย์ เเละ พระสมุห์อุ้ย เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านได้เข้ารับฟังธรรมกับ พระอาจารย์ดี ฉันโน เจ้าอาวาสวัดป่าสุนทรารามอยู่บ่อยๆ
    พ.ศ.2500 ได้จำพรรษาที่วัดป่าสุนทราราม โดยมี พระอาจารย์สิงห์ทอง เป็นผู้ให้นิสัยรับโอวาทการปฏิบัติธรรม และในพรรษา ได้ถือธุดงค์ห้ามภัตตาหารที่นำมาถวายภายหลังตลอด 3 เดือน

    ในช่วง พ.ศ.2504-2508 ท่านได้จำพรรษาที่ภูถ้ำพระ ประกอบความเพียรด้วยความวิริยอุตสาหะแรงกล้า ไม่จำวัดตลอดกลางวัน

    พ.ศ.2510 จำพรรษาที่วัดกลาง บ้านหนองสูง อ.คำชะอี จ.นครพนม (ปัจจุบันเป็นจังหวัดมุกดาหาร) ท่านพระอาจารย์กงแก้ว ขันติโก เจ้าอาวาสวัดกลางให้ช่วยเร่งทำความเพียรอย่างแรงกล้า จนเป็นลม 2 ครั้ง เนื่องจากฉันอาหารน้อย บางวันถึงกับอดอาหาร ทำให้การประกอบความเพียรเป็นไปได้ด้วยดี ต่อสู้กับกิเลส ขันธมารตลอดเวลาอย่างไม่ย่อท้อ

    ได้ตั้งสัจอธิษฐานว่า ถ้าจะตายขอให้ตายไปเลยอย่าได้เดือดร้อนญาติโยม ปรารถนา จะไม่ให้ใครเดือดร้อนลำบากด้วยเรื่องของสังขาร แม้รักษาก็รักษาร่างกายด้วยตัวเอง

    ท่านเคยบอกว่าผู้คนมักมัวเมาลุ่มหลงด้วยถูกทรมานแสนสาหัสจากภพภูมินรก ภูมิสัตว์เดรัจฉาน ทำให้หลงลืมที่จะรักษาความเป็นมนุษย์ไว้ ด้วยภพภูมินี้เป็นภพภูมิที่จะนำไปสู่นรก สวรรค์ พรหมโลก นิพพานได้ ภพภูมิต่างๆ ล้วนต้องอาศัยความเป็นมนุษย์เท่านั้นที่จะบำเพ็ญไปสู่ภพนั้นๆ เทวดาจะไปนิพพานต้องจุติมาเกิดในโลกมนุษย์ก่อน อย่างนี้เป็นต้น จึงได้ปฏิบัติแบบค่อยเป็นค่อยไปตลอดพรรษา แต่ก็ยังเป็นแบบเคร่งครัดปฏิบัติเสมอต้นเสมอปลาย

    ทุกช่วงออกพรรษา หลวงปู่เนยมักเดินทางออกไปธุดงค์ แต่มาระยะหลังสุขภาพไม่แข็งแรง จึงเลือกที่จะปฏิบัติอยู่กับวัดป่าโนนแสน

    หลวงปู่เนย เป็นพระที่มีศีลาจารวัตรอันงดงาม เป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง สงบเสงี่ยมเรียบร้อยงดงามด้วยข้อวัตรปฏิบัติ

    ท่านมักสอนเสมอๆ ว่าการรักษาศีลข้อวัตรปฏิบัติเป็นหัวใจของพระศาสนา และต้องปฏิบัติทุกลมหายใจเข้าออก ถือเป็นหน้าที่ จะหาข้อหลบหลีกปลีกหนีที่จะไม่ปฏิบัติไม่ได้โดยเด็ดขาด แม้ข้อสิกขาบทเพียงเล็กน้อยก็ไม่มีการยกเว้นได้เลย ศีลสิกขาบทเป็นความงดงามของพระเรา ใครปฏิบัติได้มากยิ่งงดงามมาก ไม่มีอะไรจะงดงามเท่าการรักษาศีลได้เลย การสอนที่ดีที่สุด คือ การปฏิบัติเป็นแบบอย่างให้ดู

    แม้ยามเจ็บป่วยหรือไม่แข็งแรง หลวงปู่เนยไม่เคยบอกกล่าวให้ญาติโยมทราบ น้อยคนนักที่จะรับรู้ปัญหาสุขภาพ บางคณะถึงกับนิมนต์ท่านให้เดินทางไปในที่ไกลๆ ท่านต้องใช้ความอดทนเป็นอย่างมาก

    บางครั้งท่านได้ปรารภกับพระในวัด ห้ามบอกว่าไม่สบาย ด้วยหลวงปู่ต้องการทำคุณประโยชน์ให้กับโลกมากที่สุด

    หลวงปู่เนยละสังขารอย่างสงบ ด้วย โรคไตวายเฉียบพลัน เมื่อวันศุกร์ที่ 4 พ.ค. 2555 ที่กุฏิวัดป่าโนนแสนคำ สิริอายุ 74 พรรษา 54 sam_5901-jpg.jpg SAM_9271.JPG SAM_9272.JPG SAM_9273.JPG SAM_9275.JPG SAM_9276.JPG SAM_9277.JPG SAM_7823.JPG
     
  20. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 814 กริ่งหล่อเหมือนรุ่นเเรกหลวงพ่อคำเเพง พระอรหันต์วัดป่าบุญญานุสรณ์ อ.หนองวัวซอ จ.สกลนคร หลวงพ่อคำเเพงเป็นศิษย์หลวงปู่อ่อน ญานสิริ วัดป่านิโครธาราม กริ่งหล่อเหมือนสร้างปี 2545 เนื้อโลหะผสม ก้นทองเเดง ********บูชาที่ 200 บาทฟรีส่งems
    ประวัติและปฏิปทา

    พระครูสันติวรคุณ (หลวงพ่อคำแพง อัตตสันโต)
    วัดบุญญานุสรณ์ (วัดป่าหนองวัวซอ)
    ต.หนองวัวซอ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    %B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%8B%E0%B8%AD.jpg
    หลวงพ่อคำแพง อัตตสันโต
    วัดบุญญานุสรณ์ (วัดป่าหนองวัวซอ) ต.หนองวัวซอ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    หลวงพ่อคำแพง ท่านเป็นชาวบ้านหนองวัวซอโดยกำเนิด ท่านเป็นพระพี่ชายแท้ๆ ของหลวงพ่อทองพูน กาญจโน แห่งวัดป่าภูกระแต จ.หนองบัวลำภู

    หลวงพ่อคำแพง อัตตสันโต มีนามเดิมว่า คำแพง สารักษ์ ท่านถือกำเนิดเกิดในตระกูลชาวไร่ชาวนา ท่านเกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓ เดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๔๙๑ ณ บ้านเลขที่ ๑๓๕ บ้านหนองวัวซอ ตำบลหนองวัวซอ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี เป็นบุตรของโยมพ่อกอง และโยมแม่หนูแดง สารักษ์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๑๒ คน มีชื่อตามลำดับดังนี้

    ๑. นายแสวง สารักษ์
    ๒. หลวงพ่อคำแพง อัตตสันโต (สารักษ์)
    ๓. นายแปลง สารักษ์
    ๔. เด็กหญิงแสง สารักษ์ (เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก)
    ๕. นายทองแดง สารักษ์
    ๖ นางสมบูรณ์ ภูสวัสดิ์
    ๗. นางคูณ สารักษ์
    ๘. นางหมุน มาแสง
    ๙. พระอาจารย์ทองพูล กาญจโน (สารักษ์)
    ๑๐. เด็กชายหลอด สารักษ์ (เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก)
    ๑๑. พระอาจารย์ชัยวัฒน์ อุตตมวังโส
    ๑๒. นางคำปุ่น ภูเยี่ยมใจ

    หลวงพ่อคำแพง อัตตสันโต อุปสมบทเมื่ออายุ ๒๒ ปี ในวันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๔ เวลา ๑๓.๑๕ น. ณ วัดบุญญานุสรณ์ จ.อุดรธานี โดยมีพระครูประสิทธิคุณานุการ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “อตฺตสนฺโต” ท่านเป็นศิษย์ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ,หลวงปู่ขาว อนาลโย ,หลวงปู่สิงห์ สุขปุญฺโญ

    ประสบการณ์ธุดงค์บางตอนของหลวงพ่อคำแพง อตฺตสนฺโต
    หลวงพ่อคำแพง อตฺตสนฺโต เล่าถึงการธุดงค์ของพระป่า ท่านเดินทางรอนแรมไปตามป่าตามเขาพักอาศัยตามร่มไม้ชายเขา ตามหมู่บ้านกระเหรี่ยง แม้ว เหย้า อีก้อ มูเซอ จีนฮ่อ ซึ่งหมู่บ้านเหล่านี้ ในสมัยก่อนสามารถเดินเท้าเข้าไปได้อย่างเดียว

    หลังออกพรรษาในปี พ.ศ.๒๕๑๘ ท่านได้พบหลวงปู่จันทร์เรียน คุณวโร โดยบังเอิญและได้สนทนารับอุบายธรรมจากหลวงปู่จันทร์เรียน ทำให้ท่านเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์ หลวงปู่จันทร์เรียนก็ได้ให้อุบายธรรมหลายอย่างตลอดจนถึงวิธีการเอาชนะกิเลส การปฏิบัติต้องไม่กลัวตาย ต้องผ่านตายให้ได้ก่อนจึงจะปฏิบัติอยู่กับท่านได้ เมื่ออยู่ด้วยกันระยะหนึ่งแล้ว หลวงปู่จันทร์เรียนท่านจะไปธุดงค์ที่ผาดอก บ้านเซียงเคี่ยน อ.เทิง จ.เชียงราย หลวงพ่อคำแพงขอติดตามไปด้วย หลวงปู่จันทร์เรียน ย้อนถามท่านว่า “ท่านยังเสียดายชีวิตอยู่หรือไม่ ถ้ายังเสียดายชีวิตอยู่ก็ไม่ต้องไปกับผม”

    หลวงพ่อคำแพง จึงตอบว่า “ถึงอย่างไรผมก็ขอไปกับครูจารย์ให้ได้” หลวงปู่จันทร์เรียน ท่านเห็นความตั้งใจดีของหลวงพ่อคำแพง จึงอนุญาตให้ติดตามไปได้ ในคณะธุดงค์ครั้งนั้น มีสหธรรมมิกหลวงปู่จันทร์เรียน อีกรูปคือ หลวงพ่อสมศรี อตฺตสิริ วัดป่าผาน้อย จ.เลย รวมพระอยู่ ๓ รูป และ สามเณรเหลาอีกรูปนึง เมื่อเตรียมเครื่องบริขารเสร็จ ก็ออกเดินทางทันที ต้องเดินขึ้นเขาหลายกิโลเมตร ผ่านหมู่บ้านและดงหนาป่าทึบ เข้าไปทุกขณะ เมื่อขึ้นไปหลังเขาแล้วก็เป็นเวลาบ่ายแก่ๆ คณะธุดงค์เมื่อท่านนั่งพักพอหายเหนื่อยแล้วก็เดินสำรวจหาที่พักปักกลด และแหล่งน้ำเพื่อสรง และล้างบาตร

    เมื่อเจอแหล่งน้ำและได้ที่พักแล้วต่างองค์จัดบริขารออกจากบาตร และกางกลด เสร็จแล้วสรงน้ำ ฉันน้ำเสร็จก็เป็นเวลาค่ำมืดพอดี หลวงปู่จันทร์เรียน ท่านกำชับว่า ขอให้ทุกองค์ตั้งใจปฏิบัติภาวนาอย่างเต็มที่ เรื่องความพากเพียรต้องมาก่อน ความขี้เกียจขี้คล้านให้อยู่ที่หลัง เพราะนี่คือการออกสู่สนามรบจริงๆ ถ้าหากมัวประมาทนิ่งนอนใจแล้วจะเสียทีกิเลสโดยไม่รู้ตัว เมื่อหลวงปู่จันทร์เรียน ท่านพูดเสร็จก็ให้แต่ละองค์แยกย้ายกันไปภาวนาในแต่ละที่ของตน

    หลวงพ่อคำแพง ท่านปักกลดอยู่ในที่แห่งหนึ่ง ซึ่งองค์ท่านไม่ทราบว่าที่ตรงนั้นเป็นที่หากินของสัตว์ป่าในยามค่ำคืน พอตกดึกหน่อย ท่านได้ยินเสียงกิ่งไม้หักลงมาจากภูเขา เสียงนั้นดังลงมาใกล้ทุกขณะ ทำให้ท่านอดวิตกไม่ได้ว่าเป็นเสียงของอะไรกัน แต่ในจิตของท่านนั้นก็บริกรรมพุทโธๆ ลงไปเรื่อยๆ พยายามไม่ให้จิตหวั่นไหวไปตามเสียงที่ได้ยิน แต่ดูเหมือนจิตจะยิ่งเงียบเท่าไหร่ เสียงก็จะยิ่งดังขึ้นเรื่อยๆ และใกล้เข้ามาๆ และมาหยุดลงไม่ไกลจากตรงที่ท่านปักกลดเท่าไรนัก คล้ายกับว่ามันเห็นสิ่งผิดปกติเกิดในเส้นทางที่มันเคยเดินผ่านประจำนั้น สายตาของมันคงจับจ้องมายังที่ท่านนั่งภาวนาอยู่ ฝ่ายหลวงพ่อคำแพง ก็พิจารณาว่าทำไมเสียงของมันเงียบไปผิดสังเกตทั้งๆที่ก่อนหน้านี้เสียงเหยียบใบไม้ดังมาก จนเวลาผ่านไปพักใหญ่เสียงนั้นจึงค่อยๆดังขึ้นมาอีก และยิ่งใกล้เข้ามา ตรงมายังกลดของท่าน หลวงพ่อคำแพงท่านจึงเกิดความสงสัย และได้ลืมตาขึ้นดู

    สิ่งที่ปรากฏตรงหน้าคือ หมีควายตัวใหญ่ที่ยืนทมึนจ้องมายังท่าน คล้ายจะข่มขู่ในฐานะเจ้าถิ่น พอท่านรู้ว่าเป็นหมีควายเท่านั้น ทั้งความกลัวและความตกใจวิ่งเข้ามาสู่หัวใจท่านทันที ท่านจึงหลับตาบริกรรมพุทโธๆ ย้ำเข้าไปตามจังหวะการเต้นของหัวใจ ไม่สนใจว่าอะไรจะเกิดขึ้นอีกต่อไป มีแต่จิตกับพุทโธเท่านั้น หมีควายตัวนั้นมันค่อยเดินเข้ามาจนมาถึงกลดท่าน มันยังคงเดินวนรอบกลดอยู่อย่างนั้นแต่ไม่ทำอันตรายใดๆ

    ส่วนท่านก็บริกรรมพุทโธจนจิตติดกับพุทโธเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หยั่งลงสู่ความสงบอย่างรวดเร็วพอจิตรวมพลึบลงไปอยู่ในสมาธิ ก็เกิดความสว่างขึ้น และไม่รู้สึกอะไรอีกเลย มีแต่ความสุขอยู่อย่างนั้น ความกลัว ความเจ็บปวด ความหวั่นไหว ไม่รู้หายไปไหนหมด มีแต่ดวงจิตที่ใสสว่างอยู่อย่างนั้น จนเวลาผ่านไปหลายชั่วโมงที่จิตสงบอยู่ในอัปปนาสมาธิจนจิตมีความอิ่มตัวในสมาธิ จึงค่อยถอนออกจากสมาธิขึ้นมาอยู่ในระดับที่รับทราบอารมณ์ความรู้สึกภายนอกแล้ว ท่านจึงย้อนเหตุการณ์ที่พึ่งเกิดขึ้นสดๆร้อนๆ ว่ามีความเป็นมาอย่างไร หลังจากที่พิจารณาจนทราบแน่ชัดแล้วท่านจึงมองหาหมีควายตัวนั้น แต่การมองหาคราวนี้แตกต่างจากครั้งแรก เพราะการมองเห็นครั้งแรกเต็มไปด้วยความหวั่นไหวหวาดกลัว วิตกกังวลว่าหมีควายตัวนั้นจะมาทำอันตราย เห็นหมีควายเป็นศัตรู แต่หลังจากจิตของท่านที่สงบลงแล้ว และถอนขึ้นมา กลับมองว่าหมีควายตัวนั้นเป็นมิตร และมองทุกสิ่งทุกอย่างเป็นมิตรไปหมด แต่หมีมันคงหนีไปหากินที่อื่นหรือไม่ก็กลับไปยังที่อยู่ของมัน จึงมองไม่เห็น

    เวลาจวนใกล้สว่างพอดี ท่านจึงได้ออกจากที่ภาวนา ทำธุระส่วนตัว เสร็จแล้วท่านก็สวดมนต์ เก็บบริขาร เตรียมตัวออกรับบิณฑบาต ในเส้นทางหมู่บ้านที่เดินผ่านมาเมื่อวานนี้ ซึ่งก็อยู่ไกลพอสมควร พอได้เวลาบิณฑบาตหลวงปู่จันทร์เรียนก็เดินออกมาจากที่พัก พอเห็นหน้าหลวงพ่อคำแพงแล้ว หลวงปู่จันทร์เรียน ก็ได้พูดทักทายว่า “ท่านแพง เมื่อคืนนี้เห็นอะไรไหม” หลวงพ่อคำแพงตอบว่า “เห็นครับ เมื่อคืนนี้ ผมเห็นหมีควาย และเมื่อผมเห็นแล้วก็ทำให้รู้สึกว่า เหมือนตายแล้วเกิดใหม่เลย”

    หลวงปู่จันทร์เรียน เลยกล่าวกับท่านว่า

    “ธรรมดาแหล่ะคนเรา เมื่อเห็นธรรมก็ต้องผ่านความตายไปก่อน ถ้ายังไม่ผ่านความตายก็ไม่เห็นพุทโธ พุทโธนี้เอาพึ่งเป็นพึ่งตายได้อย่างแน่นอน”

    การเดินธุดงค์นี้ไม่ใช่เรื่องความสะดวกสบาย ไม่ใช่เรื่องความคึกคะนอง ไม่ใช่เรื่องความคลุกคลี และไม่ใช่เรื่องอิ่มหมีพีมัน แต่เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับที่กล่าวมาข้างต้นโดยสิ้นเชิง อาหารการขบฉัน ที่อยู่ที่อาศัย ผ้าผ่อนท่อนสไบ ยารักษาโรค สิ่งเหล่านี้ไม่ต้องไปคำนึงถึง อาศัยไปตามยถากรรมตามมีตามเกิด พอให้มีลมหายใจได้ปฏิบัติไปวันหนึ่งๆ ก็ถือเป็นมหาโชคลาภแล้ว ฉะนั้นพระที่ท่านออกธุดงค์จึงไม่ห่วงว่าชีวิตจะเป็นหรือตาย ยอมสละทุกอย่างแม้ชีวิตก็ไม่เสียดาย กลัวอย่างเดียวคือ กลัวกิเลสจะไม่หมดจากหัวใจเท่านั้น เพราะต้นเหตุของความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็คือ กิเลสตัณหา อวิชชา อุปทานนี่เอง ถ้ากิเลสตัณหา อวิชชา อุปทานหมดไปจากจิตใจเมื่อใดแล้ว ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ชนะโดยประการทั้งปวง และจะเห็นความแตกต่างระหว่างโลกสมมุติกับโลกวิมุติอย่างน่าอัศจรรย์
    ฉะนั้นพระธุดงค์ ที่มุ่งหวังความหลุดพ้นจึงไม่ห่วงเรื่องความเป็นความตาย ท่านจึงหมายมั่นปั้นมือ ตั้งอกตั้งใจที่จะปฏิบัติให้รู้แจ้งเห็นจริงตามรอยแห่งองค์พระศาสดาด้วยความเคารพและศรัทธาจริงๆ

    %B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7-768x1024.jpg
    ภาพมหามงคลเมื่อ ๒๐ กว่าปีที่เเล้ว
    พิธีเททองพระประธานในอุโบสถวัดบุญญานุสรณ์
    ซึ่งมีสมเด็จพระญาณวโรดม เสด็จมาเป็นประธาน
    หลวงปู่คำผอง ปุญกาโม วัดป่าสามัคคีธรรม (รูปช้าย)
    พระเทพวรคุณ วักบรมนิเวศวิหาร (รูปกลาง)
    หลวงพ่อคำเเพง อัตตสันโต (รูปขวาสุด)
    B8%87-%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%95-1024x811.jpg
    (ซ้าย) หลวงพ่อมหาบุญทัน ปุญญทัตโต (ขวา) หลวงพ่อคำแพง อัตตสันโต
    เรื่องราวความเป็นมาของ หลวงพ่อมหาบุญทัน ปุญญทัตโต และหลวงพ่อคำแพง อัตตสันโต
    พรรษาที่ ๑๘ ของหลวงพ่อคำแพง ที่วัดเขาวงมหาวัน พ.ศ.๒๕๓๑

    พรรษาที่ ๑๘ พ.ศ.๒๕๓๑ ท่านจำพรรษาที่วัดเขาวงมหาวัน จ.เชียงราย หลังจากที่หลวงพ่อคำแพง เคยให้สัญญากับชาวบ้านวังน้อยก่อนที่ท่านจะมา จ.อุดรธานี ว่าจะกลับขึ้นมาที่วัดเขาวงมหาวันอีกอย่างแน่นอน ทำให้ชาวบ้านวังน้อยเฝ้ารอคอยการกลับมาของท่านอยู่เสมอ ซึ่งตัวท่านเองก็ทราบดีและหาโอกาสที่จะกลับขึ้นไปจำพรรษาอยู่เสมอเมื่อปัญหาต่างๆของวัดบุญญานุสรณ์หมดไปแล้ว ท่านจึงคิดว่าน่าจะไปจำพรรษาที่วัดเขาวงมหาวันอีกสักครั้งหนึ่งและท่านก็ได้นัดกับหลวงพ่อมหาบุญทัน บุญญทัตโต และท่านก็ได้นัดกันว่าจะขึ้นไปจำพรรษาร่วมกันที่วัดป่าเขาวงมหาวัน จ.เชียงราย พอใกล้เข้าพรรษาท่านก็ได้กลับขึ้นไปกับหลวงพ่อมหาบุญทัน ปุญญทัตโต วัดป่าสามัคคีสันติธรรม จ.ขอนแก่น ซึ่งทำให้ชาวบ้านดีใจเป็นอย่างมากที่ได้มีครูบาอาจารย์ทั้งสองรูปมาจำพรรษา เป็นอันว่าพรรษาที่ท่านได้จำพรรษากับหลวงพ่อมหาบุญทันเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ท่านทั้งสองรู้จักกันมา (ท่านรู้จักกันเป็นครั้งแรกอยู่ที่วัดป่าเขาวงมหาวัน) โดยท่าน พระอาจารย์สมหวัง สันตะมะโน ท่านได้นิมนต์หลวงพ่อมหาบุญทันมาจำวัตรที่ วัดอรัญญบรรพต ซึ่งวัดอรัญญบรรพตและวัดป่าเขาวงมหาวันก็อยู่ไม่ไกลกันเท่าไหร่ พอตกช่วงกลางคืนหลวงพ่อมหาบุญทันท่านนิมิตร เห็นวัดเขาวงมหาวันมีแสงสว่างพวยพุ่งขึ้นมาตลอดคืนตอนเช้าถามท่านพระอาจารย์สมหวังว่าที่วัดเขาวงมหาวันมีงานอะไรหรือป่าว เพราะเมื่อคืนนี้นิมิครเห็นที่วัดเขาวงมหาวันมีแสงสว่างมาก และทำให้ท่านอยากมาวัดเขาวงมหาวันวันหลังจากฉันเช้าเสร็จแล้วพระอาจารย์สมหวังก็เลยพาหลวงพ่อมหาบุญทัน กับหลวงพ่อคำแพงมาพบกันเป็นครั้งแรกและหลวงพ่อคำแพง ท่านได้นิมิตรคืนนั้นว่าหลวงพ่อมหาบุญทันมาบอกว่า “ท่านเคยเป็นพี่ชายของหลวงพ่อคำแพง ในอดีตชาติ” นี่เป็นสาเหตุทำให้ท่านทั้งสองหาโอกาสมาจำพรรษาที่วัดแห่งนี้ก้ได้

    ในช่วงกลางพรรษา หลวงพ่อคำแพงท่านปรารภ กับหลวงพ่อมหาบุญทันว่าทำไมมีญาติโยมมาหาท่านช่วยโน้นช่วยนี้อยู่เสมอ หลวงพ่อมหาบุญทันบอกท่านว่า “จะเอาของดีให้เอาไหม”หลวงพ่อคำแพงถามว่า “ของดีคืออะไร” หลวงพ่อมหาบุญทันตอบว่าของดีคือพลัง เดี๋ยวจะชาร์ทให้ พลังตัวนี้ทำให้หลายอย่างแต่ต้องมีเมตตา ซึ่งท่านสามารถรับพลังนี้ได้ ในฐานะที่เคยทำบุญร่วมกันมาตั้งแต่อดีตชาติ ในวันหนึ่งท่านจึงได้นัดหมายกันว่าจะส่งพลังให้กันตอนเวลาสามทุ่ม หลังจากทำวัตรสวดมนต์เสร็จแล้ว ซึ่งต่างองค์ก็ได้นั่งภาวนา อยู่ที่กุฏิของแต่ละองค์ ซึ่งก็ห่างกันมากประมาณ ๒๐๐ เมตรได้ แล้วหลวงพ่อมหาบุญทันท่านก้ได้รวบรวมสมาธิอธิฐานรวมพลังทุกอย่าง พุทธบารมี ธรรมบารมี สังฆบารมี อริยสาวกต่างๆ รวมกันแล้วก็ส่งพุ่งไปทันที รุ่งเช้าหลวงพ่อมหาบุญทันถามหลวงพ่อคำแพงว่าเป็นอย่างไรบ้าง หลวงพ่อคำแพงตอบว่า “มันมาจริงๆมันเป็นแสงเหมือนกงจักรก่อนที่มันจะพุ่งลงมาใส่กระหม่อม” หลวงพ่อมหาบุญทันท่านจึงว่า นั้นแหละได้แล้วให้รักษาเอาไว้

    “อันนี้ผู้เขียน ได้เขียนตามเทศนาของหลวงพ่อมหาบุญทัน ปุญญทัตโต วัดป่าสามัคคีสันติธรรม จ.ขอนแก่น ซึ่งท่านได้มีเมตตามาแสดงธรรมให้ศิษยานุศิษย์ของหลวงพ่อคำแพงฟังในวันมรณภาพ ๗ วัน ของหลวงพ่อคำแพง ผู้เขียนไม่มีเจตนาที่จะเขียนเพื่อที่จะอวดอ้างอุตริหรือแอบอ้างแต่อย่างใด สุดแล้วแต่ท่านผู้รู้ทั้งหลายจะพิจารณา”

    ปัจจุบัน พระครูสันติวรคุณ (หลวงพ่อคำแพง อัตตสันโต) มรณภาพลง ณ วัดป่าบุญญานุสรณ์ เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๕

    %B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C-485x1024.jpg
    อัฐิธาตุของท่าน หลวงพ่อคำแพง อัตตสันโต
    วัดบุญญานุสรณ์ (วัดป่าหนองวัวซอ) ต.หนองวัวซอ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    8%AD-%E0%B8%88.%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5-768x1024.jpg
    พระเจดีย์อัตตะสันโต พลวงพ่อคำแพง วัดบุญญานุสรณ์ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    โอวาทธรรมคำสอนหลวงพ่อคำแพง อัตตสันโต
    “..เหตุก็คือปัจจุบัน ผลก็คืออนาคต วันนี้เราทำความดี วันต่อไปเราก็มีความสุข…” paragraphparagraph__659.jpg
    พระอัฐิของหลวงพ่อคำแพง อัตตสันโต อดีตเจ้าอาวาสวัดบุญญานุสรณ์
    ซึ่งปัจจุบันอัฐิของท่านได้แปรสภาพกลายเป็นพระธาตุแล้ว
    969571_412033088904220_1296442480_n.jpg
    SAM_9285.JPG SAM_9286.JPG SAM_9287.JPG
     

แชร์หน้านี้

Loading...