ลงรายการใหม่ พระหลักร้อย พุทธคุณหลักล้าน และคณาจารย์ยอดนิยม เชิญรับชมก่อนครับ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย THE PUNCH, 18 มีนาคม 2022.

  1. THE PUNCH

    THE PUNCH สมาชิกใหม่ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2022
    โพสต์:
    1,189
    ค่าพลัง:
    +53
    #แหวนพิรอด หลวงพ่ออาด วัดตะพุนทอง

    PhotoRoom_25660913_135139.jpeg

    #หลวงพ่ออาด วัดตะพุนทอง ท่านเป็นผู้สืบทอดวิชาสาย หลวงพ่อโต วัดชากกระโดน

    (ต่อมาหลวงพ่อโตท่านได้ย้ายไปสร้างวัดเขาบ่อทองอีกแห่งหนึ่ง)

    จากหลวงพ่อเขียน อดีตเจ้าอาวาสวัดตะพุนทอง ซึ่งเป็นบิดาของท่าน

    หลวงพ่อโตท่านมีวิชาแก่กล้ามากๆ ท่านมรณภาพเมื่อปี 2508

    หลวงพ่ออาด ท่านพระที่มีเมตตามาก สมถะ ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เป็นที่นับถือของคนในท้องถิ่นมาก
    ในย่านนั้นจะเป็นสวนยาง ชาวสวนยางแถวนั้นจะพก " แหวนพิรอด " ของท่านกัน เพราะป้องกันงูได้อย่างชะงัด
    ถึงขนาดเคยมีคนลองเอาแหวนพิรอดของท่านผูกเชือกไปคล้องคองู งูถึงกับตายเลยทีเดียว


    ลุงที่อยู่ข้างวัดคนหนึ่งเล่าว่า...เขาเองก็เอาไปลอง ตีงูเห่าที่บ้านหลังหักยังไม่ตาย เอาไม้แหย่ฉกไม้
    พอเอาแหวนพิรอดไว้ปลายไม้ คราวนี้ไม่ฉกแถมหัวตกเลย พอเอาแหวนออกคราวนี้ฉกอีก
    เรียกได้ว่าแหวนพิรอดท่านมีประสบการณ์เยอะมาก


    #แหวนพิรอด ท่านจะทำเองทุกขั้นตอน ใช้กระดาษสาทำ ถักเอง แล้วลงรัก

    #แหวนท่านไม่ได้ทำให้ใส่นิ้ว ให้เลี่ยมแขวน แต่มีข้อแม้ว่าเวลาเลี่ยมต้องเจาะรูด้วย
    ไม่ต้องใช้คาถาปลุก เป็นทั้งแคล้วคลาด กันสัตว์มีพิษได้สารพัด ไม่เฉพาะงู

    #สมัยนี้จะหาครูบาอาจารย์ที่ทำแหวนพิรอดถักแบบโบราณได้ยากเย็นเต็มที


    #นับวันมีแต่วิชาเหล่านี้จะสูญหายไปตามกาลเวลา ไร้คนสืบทอด ต่อไปก็คงเหลือแต่ตำนาน

    สภาพสวยเดิมๆ แบ่งบูชาที่ 500 ครับ 

    PhotoRoom_25660913_135139.jpeg
     
  2. THE PUNCH

    THE PUNCH สมาชิกใหม่ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2022
    โพสต์:
    1,189
    ค่าพลัง:
    +53
    มีดเทพศาสตรา ผ่าตะวัน ล้างอาถรรพ์

    รุ่นบารมีเหนือดวง

    PhotoRoom_25660913_141733.jpeg

    #แบ่งบูชาราคาพิเศษที่ cxxx ครับ

    พระอาจารย์สุริยัณ จนฺทวณฺโณ วัดป่าฉัพพรรณรังสี

    ขนาด 3 นิ้ว (รวมด้ามและใบมีด)

    ด้ามแกะท้าวเวชสุวรรณ

    ด้ามไม้และฝักทำจากแก่นคูณตายพราย


    ผ่านพิธีพุทธาภิเษกใหญ่ในวันคล้ายวันเกิดของท่านเมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๓

    PhotoRoom_25660913_141733.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กันยายน 2023
  3. THE PUNCH

    THE PUNCH สมาชิกใหม่ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2022
    โพสต์:
    1,189
    ค่าพลัง:
    +53
    #ตะกรุดนะกินไม่รู้สิ้น

    #พระอาจารย์สุริยัณ จนฺทวณฺโณ วัดป่าฉัพพรรณรังสี

    PhotoRoom_25660913_141842.jpeg

    มีเพื่อนสมาชิกสอบถามมา .. ว่าตะกรุดนะกินไม่รู้สิ้น ที่ทางวัดจะออกให้บูชาเพื่อนำปัจจัยไปเป็นค่าใช้จ่าย ค่าน้ำ-ค่าไฟและซ่อมแซมกุฎิสงฆ์ของวัดทางวัดป่าฯ ว่าเป็นอย่างไร....


    พระยันต์ตัวนะกินไม่รู้สิ้นนี้ ... พุทธคุณไปทาง การทำมาหากิน ทำมาค้าขาย การงานต่างๆ ทำให้มีกินมีใช้ ไม่อด ไม่ยาก ไม่หมด ไม่สิ้น .. แน่นอนว่าเหมาะกับสภาพเศรษฐกิจยุคนี้เป็นอย่างมาก ...


    ในอดีตที่ผ่านมา ลป.หมุน ฐิตสีโล เทพเจ้าแห่งโชคลาภ ก็เคยใช้พระยันต์ตัวนี้บรรจุในวัตถุมงคลอย่าง ..พระผงนั่งตั้ง.. ที่มีประสบการณ์อย่างต่อเนื่องในด้านการทำมาค้าขาย จนปัจจุบันวัตถุมงคลมีราคาเช่าหาบูชาสูงขึ้นเรื่อยๆ (หลักพันปลายๆจนถึงหมื่นต้นๆ) ไปแล้ว ....


    #แบ่งบูชาที่ cxx ครับ

    PhotoRoom_25660913_141842.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2024
  4. THE PUNCH

    THE PUNCH สมาชิกใหม่ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2022
    โพสต์:
    1,189
    ค่าพลัง:
    +53
    IMG_8834.jpeg
     
  5. THE PUNCH

    THE PUNCH สมาชิกใหม่ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2022
    โพสต์:
    1,189
    ค่าพลัง:
    +53
    IMG_8834.jpeg
     
  6. THE PUNCH

    THE PUNCH สมาชิกใหม่ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2022
    โพสต์:
    1,189
    ค่าพลัง:
    +53
    สนใจรายการไหนสอบถามเพิ่มเติมได้นะครับ
     
  7. THE PUNCH

    THE PUNCH สมาชิกใหม่ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2022
    โพสต์:
    1,189
    ค่าพลัง:
    +53
    ### "เสือ" หลวงพ่อชาญ วัดบางบ่อ องค์นี้ แกะจากไม้งิ้วดำ หรือไม้พญางิ้วดำ ไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่มีเทวดารักษา

    PhotoRoom_25660915_140306.jpeg


    ขนาดสูง2 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางจากหน้าเสือถึงหลัง 1.5 ซม.

    สภาพเก็บรักษา ร่วมบุญมาจากวัดโดยตรง (
    ตนนี้ หลวงพ่อเมตตาปลุกเสก ให้อีกรอบ พร้อมรับกับมือท่านครับ )

    เสือของหลวงพ่อถ้าเป็นเสือแกะของวัดจะไม่สามารถกำหนดปีที่เสกได้อย่างแน่นอน เพราะญาติโยมช่วยแกะช่วยทำกันมา เสร็จแค่ไหนก็นำถวายปลุกเสกไปตามโอกาส หมดแล้วก็ต้องรอกันต่อไปครับเพราะได้จำนวนแต่ละครั้งไม่มาก พุทธคุณของเสือที่หลวงพ่ออธิษฐานจิตปลุกเสกให้ ไม่ใช่เพียงเด่นทางแคล้วคลาดป้องกันสรรพอันตรายทั้งหลาย ยังเป็นเมตตามหาอำนาจ และช่วยทำมาหากินให้แก่ผู้บูชาอีกด้วย ผู้เขียนเองเคยเจอประสบการณ์ตรงจากการอธิษฐานจิตสวดมนต์บริเวณเสือองค์ใหญ่หน้าทางเข้าออกของวัด ยังมีโชคลาภเข้ามาอย่างไม่คาดคิด เพราะตามคติการสร้างเสือแต่เดิมนั้นกล่าวไว้ว่า เสือเป็นสัตว์ที่หากินเก่ง และเสือเป็นที่ครั่นคร้ามของสัตว์ทั้งหลาย เพียงแค่ได้กลิ่นสาปโชยมาแต่ไกลยังหลบลี้หนีภัยกันไปหมด แต่เสือก็มีเสน่ห์ที่น่าหลงไหลทำให้ผู้คนอยากเข้าไปเห็นไปดูไม่เคยขาด

    เครื่องรางประเภทเสือจึงเป็นเมตตาอย่างสูงแก่ผู้มีไว้บูชา แต่จะหาผู้ที่เสกขึ้นและเป็นของจริงในปัจจุบันนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย มีโอกาสจึงควรรีบหาบูชา "เสือ" ของหลวงพ่อชาญไว้แต่เนิ่นๆ นะครับ
    โดยเฉพาะเสือที่แกะจากไม้มงคลต่างๆ และเป็นของวัดโดยตรงอย่างนี้ เพราะสร้างขึ้นแต่ละครั้งไม่มาก บางอย่างหมดกันเป็นปีต่อปีทีเดียว เพราะท่านสำเร็จวิชาเหล่านี้จากหลวงปู่ไผ่ ศิษย์หลวงปู่ปาน วัดบางเหี้ย และกับหลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว โดยตรง นี่ไม่นับรวมวิชาความรู้จากครูบาอาจรย์รูปอื่นและจากภูมิจิตจากการปฏิบัติของท่าน ปัจจุบัน (2560) อายุของหลวงพ่อย่างเข้า 103 ปีเต็มแล้ว แต่ท่านก็ไม่เคยคิดที่จะปฏิเสธศรัทธาญาติโยมที่มาหาหรือนิมนต์ไปนั่งปรกปลุกเสกในพิธีต่างๆ นอกเสียจากอาพาธจริง ๆเท่านั้น ที่สำคัญหลวงพ่อเป็นพระสมถะไม่ยึดติดในลาภสักการะ และมีความเชี่ยวชาญในพระกรรมฐานอย่างไม่เคยออกตัวใดๆ จนเมื่อถึงเวลาอันล่วงเลยไปตามอายุ ท่านจึงเมตตาสงเคราะห์ญาติโยมในทางวัตถุมงคลเมื่อเห็นว่าญาติโยมมีศรัทธาหวังพึ่งพาในวัตถุมงคลของท่านไว้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจให้มีความสุขความเจริญในชีวิต..…

    (ขอบคุณข้อมูลจากศิษย์ท่านหนึ่งครับ)

    #
    แบ่งบูชาที่ 2,500 ครับ ใครไม่มีงบ บูชาเสือ หลวงพ่อปาน แนะนำ ครับ

    PhotoRoom_25660915_140306.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กันยายน 2023
  8. THE PUNCH

    THE PUNCH สมาชิกใหม่ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2022
    โพสต์:
    1,189
    ค่าพลัง:
    +53
    พระสมเด็จ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี โครงการช่วยชาติมอบทองคำ 60ปี ธ.ป.ท. วังบางขุนพรม พิมพ์ใหญ่พระประธาน หายาก

    PhotoRoom_25660915_144421.jpeg


    #เนื้อพระมีส่วนผสมของสมเด็จบางขุนพรหมและมวลสารสุดยอดครับ

    ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธ.ป.ท) สร้างแจกเมื่อวันที่ 10 ธ.ค.45 พิธีเยี่ยมมวลสารประกอบด้วยผงพุทธคุณต่างๆ มากมาย พิธีใหญ่มากๆครับ

    #แบ่งบูชาราคาพิเศษ 999 ครับ

    รายชื่อพระอาจารย์ที่ร่วมพิธี

    1. พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) วัดเกษรศีลคุณ (วัดป่าบ้านตาด) ต.บ้านตาด อ. เมือง จ.อุดรธานี

    2. พระพุทธพจนวราภรณ์ วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อ.เมือง จ.เชียงใหม่

    3. พระเทพวิสุทธิมงคล (หลวงปู่ศรี มหาวีโร) วัดป่าประชาคมวนาราม(ป่ากุง) ต.ศรีสมเด็จ อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด

    4. พระอาจารย์ บุญมี ปริปุณฺโณ วัดป่าบ้านนาคูณ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

    5. พระอาจารย์ เพียร วิริโย วัดป่าหนองกอง ต.บ้านค้อ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

    6. พระอาจารย์ บุญเพ็ง เขมาภิรโต วัดถ้ำกลองเพล ต.โนนทัน อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู

    7. พระอาจารย์ ลี กุสลธโร วัดภูผาแดง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    8. พระครูการุณย์ธรรมนิวาส (หลวงปู่หลวง กตปุญฺโญ) วัดป่าสำราญนิวาส ต.ศาลา อ.เกาะคา จ.ลำปาง

    9. พระญาณวิศิษฏ์ (ทอง จนฺทสิริ) วัดอโศการาม ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ

    10. พระเทพเมธาภรณ์ (เอื้อม ชุตินฺธโร) วัดสนามพราหมณ์ อ.เมือง จ.เพชรบุรี

    11. พระอาจารย์ ปรีดา(ทุย) ฉนฺทกโร วัดป่าดานวิเวก อ.ปากคาด จ.หนองคาย

    12. พระอาจารย์ บัวเกตุ ปทุมสีโล วัดแม่ปาง ต.สันติคีรี อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน

    13. พระอาจารย์ เผย วิริโย วัดถ้ำผาปู่ ต.นาอ้อ อ.เมือง จ.เลย

    14. พระอาจารย์ อุทัย สิริธโร วัดถ้ำพระภูวัว ต.โสกก่าม อ.เซกา จ.หนองคาย

    15. พระอาจารย์ ฟัก สนฺติธมฺโม วัดเขาน้อยสามผาน ต.สองพี่น้อง อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี

    16. พระอาจารย์ อ้ม สุขกาโม วัดป่าภูผาผึ้ง ต.กกตูม อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร

    17. พระอาจารย์ อุ่นหล้า ฐิตธมฺโม วัดป่าแก้วชุมพล ต.ค้อใต้ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    18. พระอาจารย์ ทองอินทร์ กตปุญฺโญ วัดผาน้ำทิพย์ ต.ผาน้ำย้อย อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด
    19. พระอาจารย์ บุญกู้ อนุวฑฺฒโน วัดพระศรีมหาธาตุ เขตบางเขน กรุงเทพฯ
    20. พระครูถาวรธรรมโกศล (พระอาจารย์ด้วง) วัดโยธานิมิตร อ.เมือง จ.อุดรธานี
    21. พระครูวิทิตศาสนกิจ(ไพโรจน์ วิโรจโน) วัดดอยปุย ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
    22. พระวิสุทธิสังวรเถร (เลี่ยม ฐิตธมฺโม) วัดหนองป่าพง ต.บุ่งหวาย อ.วารินฯ จ.อุบลราชธานี
    23. พระอาจารย์ ประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร วัดป่าหมู่ใหม่ ต.แม่แตง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
    24. พระอาจารย์ สนอง กตปุญฺโญ วัดสังฆทาน ต.บางไผ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี
    25. พระอาจารย์ อินทร์ถวาย สนฺตุสฺสโก วัดป่านาคำน้อย ต.บ้านก้อง อ.นายูง จ.อุดรธานี
    26. พระครูสมณกิจจาทร (สว่าง โอภาโส) วัดป่าศรีอุดมรัตนาราม อ.โนนสะอาด จ.อุดรธานี
    27. พระครูเกษมวรกิจ (วิชัย เขมิโย) วัดถ้ำผาจม อ.แม่สาย จ.เชียงราย
    28. พระอาจารย์ คูณ สุเมโธ วัดป่าภูทอง บ.ภูดิน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
    29. พระอาจารย์ เมือง พลวฑฺโฒ วัดป่ามัชฌิมวาส ต.ลำพาน อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์
    30. พระอาจารย์ อ่ำ ธมฺมกาโม วัดป่าเขาเขียว ต.วังโพรง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก
    31. พระอาจารย์ สำรวม สิริภทฺโท วัดไกลกังวล ต.บ้านเชี่ยน อ.หันคา จ.ชัยนาท
    32. พระอาจารย์ คลาด ครุธมฺโม วัดบางเตย ต.บางเตย อ.เมือง จ.พังงา
    33. พระอาจารย์ สุธรรม สุธมฺโม วัดป่าหนองไผ่ ต.ดงมะไฟ อ.เมือง จ.สกลนคร
    34. พระอาจารย์ บุญทัน ฐิตสีโล วัดเขาเจริญธรรม อ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์
    35. พระอาจารย์ กัณหา สุขกาโม วัดแพร่ธรรมาราม ต.เด่นชัย อ.เด่นชัย จ.แพร่
    36. พระอาจารย์ ณรงค์ อาจาโร วัดป่ากกสะทอน ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี
    37. พระอาจารย์ สมหมาย อตฺตมโน วัดป่าสันติกาวาส อ.ไชยวาน จ.อุดรธานี
    38. พระอาจารย์ สุชิน ปริปุณฺโณ วัดธรรมสถิต ต.สำนักทอง อ.เมือง จ.ระยอง
    39. พระครูสมุห์ พิชิต(โอ) ฐิตวีโร วัดจันทาราม(ท่าซุง) ต.น้ำซึม อ.เมือง จ.อุทัยธานี
    40. พระอาจารย์ จีรวัฒน์ อตฺตรกฺโข วัดป่าไชยชุมพล ต.สะเดาะพง อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์
    41. พระอาจารย์ อุทัย(ติ๊ก) ฌานุตฺตโม วัดป่าบ้านห้วยลาด ต.สานตม อ.ภูเรือ จ.เลย
    42. พระอาจารย์ บุญช่วย ปญฺญวนฺโต วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม อ.สามโคก จ.ปทุมธานี
    43. พระอาจารย์ บุญมี ธมฺมรโต วัดป่าศรัทธาถวาย อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    44. พระอาจารย์ อนันต์ อกิญฺจโน วัดมาบจันทร์ ต.แกลง อ.เมือง จ.ระยอง
    45. พระอาจารย์ นิพนธ์ อภิปสนฺโน วัดป่าบ้านใหม่เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
    46. พระอาจารย์ สวัสดิ์ ปิยธมฺโม วัดป่าคูขาด ต.นาเชือก อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม
    47. พระอาจารย์ วิสิทธิ์(ลาย) สนฺติงฺกโร วัดป่าภูสังฆารามฯ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    48. พระอาจารย์ เฉลิม ธมฺมธโร วัดป่าภูแปก ต.หนองงิ้ว อ.วังสะพุง จ.เลย
    49. พระอาจารย์ สงบ มนสฺสนฺโต วัดป่าสันติธรรม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
    50. พระอาจารย์ ชิต ฐิตจิตฺโต วัดป่าดงคล้อ ต.วังกวาง อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์
    51. พระอาจารย์ อัครเดช(ตั๋น) ฐิรจิตฺโต สำนักสงฆ์บุญญาวาส ต.บ่อทอง อ.บ่อทอง จ.ชลบุรี
    52. พระอาจารย์ นพดล นนฺทโน วัดป่าดอยลับงา อ.เมือง จ.กำแพงเพชร
    53. พระอาจารย์ ถาวร ฐานวโร วัดป่าเหวไฮ ต.หัวนาคำ อ.ศรีธาตุ จ.อุดรธานี
    54. พระอาจารย์ ภูสิต(จันทร์) ขนฺติธโร วัดป่าหลวงตาบัว อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี
    55. พระอาจารย์ สมเดช สิริจนฺโท วัดเขาถ้ำโบสถ์ ต.สองพี่น้อง อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี
    56. พระอาจารย์ มานะ(หมู) ฉนฺทสาโร วัดป่าเทอดพระเกียรติสิริธร อ.นาแห้ว จ.เลย
    57. พระอาจารย์ สุนทร ฐิติโก วัดป่าหลวงตามหาบัวธรรมเจดีย์ (ร้อยก้อน) อ.หนองแสง จ.อุดรธานี
    58. พระอาจารย์ ทวีศักดิ์(เล็ก) สุจิตฺโต วัดถ้ำดอยลาน ต.สามเงา อ.สามเงา จ.ตาก
    59. พระอาจารย์ กุศล ฐิตกุสโล วัดหนองบัว อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์
    60. พระอาจารย์ พฤกษ์ สุทฺธิญาโณ วัดป่าเขาเขียว ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี


    PhotoRoom_25660915_144421.jpeg
     
  9. THE PUNCH

    THE PUNCH สมาชิกใหม่ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2022
    โพสต์:
    1,189
    ค่าพลัง:
    +53
    พระปิดตาหัวจรวด หลวงปู่พุฒ สารสุข วัดเขาไม้แดง ชลบุรี (ศิษย์หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ที่ทันท่านครับ )

    PhotoRoom_25660915_154330.jpeg

    #
    แบ่งบูชาพิเศษที่ cxx ครับ


    รุ่นนี้หลวงปู่พุฒ ท่านมีความตั้งใจ

    สร้างขึ้นมาด้วยตัวท่านเอง

    ในปีพ.ศ.2534 การผสมมวลสารต่างๆ และขั้นตอนการจัดสร้าง

    หลวงปู่ท่านยืนควบคุมด้วยตัวท่านเอง

    โดยใช้บล็อคโลหะที่ท่านสั่งทำมา
    กดด้วยมือทีละองค์ไม่มีแท่นกด
    และกดบริเวณด้านล่างกุฏิท่าน
    เนื้อพระ
    เกิดจากมวลสารที่เป็นผงว่าน

    ที่ท่านทำเก็บไว้ไม่ได้ใส่สี

    ผสมลงไปอย่างที่หลายๆคนเคยเข้าใจ


    สร้างจำนวนไม่มาก

    พอให้มีหมุนเวียนให้พบเห็น
    พระที่ทำขึ้นมาแรกๆ จะมีเพียงสองสี
    คือ สีเทากับ สีชมพู

    ส่วนบางองค์ที่ไม่ได้ชุปรักดำ
    แล้วเป็นสีดำเกิดจากการเก็บรักษา
    ที่มีความชื้น ลักษณะขององค์พระ
    จึงดูออกฟูๆหน่อย ไม่หดตัวแน่น
    เหมือนอย่างสีเทา กับสีชมพู
    สีดำที่เกิดขึ้น บนผิวพระเกิดจากราดำ
    ที่เกาะตัวขึ้นมา

    พระรุ่นนี้ถือว่าเป็นของดี

    มีเกศา ท่านผสมร่วมเป็นมวลสาร
    แถมราคายังเบา จึงเป็นอีกรุ่น
    ที่น่าห้อยบูชาติดตัว (แขวนเดี่ยวได้เลยนะครับ )
    เพราะเกิดจากความตั้งใจทำ
    ด้วยตัวหลวงปู่เอง

    PhotoRoom_25660915_154330.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2024
  10. THE PUNCH

    THE PUNCH สมาชิกใหม่ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2022
    โพสต์:
    1,189
    ค่าพลัง:
    +53
    พระปิดตาหัวจรวด หลวงปู่พุฒ สารสุข วัดเขาไม้แดง ชลบุรี (ศิษย์หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ที่ทันท่านครับ )

    #องค์ที่ 2

    PhotoRoom_25660915_163551.jpeg



    #แบ่งบูชาเบาๆที่ cxx ครับ


    รุ่นนี้หลวงปู่พุฒ ท่านมีความตั้งใจ

    สร้างขึ้นมาด้วยตัวท่านเอง

    ในปีพ.ศ.2534 การผสมมวลสารต่างๆ และขั้นตอนการจัดสร้าง

    หลวงปู่ท่านยืนควบคุมด้วยตัวท่านเอง

    โดยใช้บล็อคโลหะที่ท่านสั่งทำมา
    กดด้วยมือทีละองค์ไม่มีแท่นกด
    และกดบริเวณด้านล่างกุฏิท่าน
    เนื้อพระ
    เกิดจากมวลสารที่เป็นผงว่าน

    ที่ท่านทำเก็บไว้ไม่ได้ใส่สี

    ผสมลงไปอย่างที่หลายๆคนเคยเข้าใจ


    สร้างจำนวนไม่มาก

    พอให้มีหมุนเวียนให้พบเห็น
    พระที่ทำขึ้นมาแรกๆ จะมีเพียงสองสี
    คือ สีเทากับ สีชมพู

    ส่วนบางองค์ที่ไม่ได้ชุปรักดำ
    แล้วเป็นสีดำเกิดจากการเก็บรักษา
    ที่มีความชื้น ลักษณะขององค์พระ
    จึงดูออกฟูๆหน่อย ไม่หดตัวแน่น
    เหมือนอย่างสีเทา กับสีชมพู
    สีดำที่เกิดขึ้น บนผิวพระเกิดจากราดำ
    ที่เกาะตัวขึ้นมา

    พระรุ่นนี้ถือว่าเป็นของดี

    มีเกศา ท่านผสมร่วมเป็นมวลสาร
    แถมราคายังเบา จึงเป็นอีกรุ่น
    ที่น่าห้อยบูชาติดตัว (แขวนเดี่ยวได้เลยนะครับ )
    เพราะเกิดจากความตั้งใจทำ
    ด้วยตัวหลวงปู่เอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2023
  11. THE PUNCH

    THE PUNCH สมาชิกใหม่ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2022
    โพสต์:
    1,189
    ค่าพลัง:
    +53
    เหรียญผ้าป่า ปี ๒๕๕๗ (พิมพ์ปาดตาล) หลวงพ่อฉาบ วัดศรีสาคร จ.สิงห์บุรี มียอด 2 องค์ครับ

    PhotoRoom_25660916_101625.jpeg


    #
    หลวงพ่อเมตตาอธิฐานจิตให้อีกครั้ง ก่อนรับกับมือท่าน เมื่อคราวไปทำบุญกับหลวงพ่อที่วัดครับ

    #แบ่งบูชา สภาพสวยกล่องเดิมองค์ละ 350 ครับ



    ชีวประวัติพระครูมงคลนวการ (หลวงพ่อฉาบ มงฺคโล)ชาติภูมิหลวงพ่อฉาบ มงฺคโล มีนามเดิมว่า ฉาบ ด้วงดาราถือกำเนิดวันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2471 เป็นบุตรคนโต ในจำนวนพี่น้อง 7 คนด้วยกันคือ 1.หลวงพ่อฉาบ 2.นายเอิบ 3.นายสังวาล 4.นายประสงค์ 5.นายถวิล 6.นายปุ่น 7.นางสมนึก ของโยมพ่อเน่า และโยมแม่สมบุญ ณ บ้านเลขที่ 27 ต.ต้นโพธิ์ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี จบการศึกษาชั้นป.4 ที่โรงเรียนวัดศรีสาคร อาชีพทำนา
    หลวงพ่อ ฉาบ มงฺคโล ในวัยเด็กตอนยังเป็นฆาราวาส เป็นคนถือสัจจะเป็นใหญ่มีความตั้งใจพูดจริงทำจริงและสนใจในเวทย์มนต์คาถา มักชอบไปกราบนมัสการหาพระอยู่เสมอ ในปีพ.ศ.2485 หลวงพ่อแช่ม อินทโชโต แห่งวัดตาก้อง อ.เมือง จ.นครปฐม ท่านได้สร้างเหรียญรุ่นแรกของท่านขึ้น ได้แจกให้คณะศิษยานุศิษย์ ทายกทายิกาที่ร่วมทำบุญมาทำการทอดกฐินยังวัดศรีสาครและได้มาพำนักอยู่ที่วัด ศรีสาครเป็นเวลาถึง 6 เดือน เพราะท่านขอบพอสนิทกับหลวงพ่อดี เจ้าอาวาสวัดศรีสาครในสมัยนั้น หลวงพ่อฉาบ ในวัยเด็กขณะนั้นอายุได้ 14 ปี มีความศรัทธาเลื่อมใสหลวงพ่อแช่มมาก ได้มากราบนมัสการหลวงพ่อแช่มบ่อยครั้ง และได้ขอฝากตัวเป็นศิษย์ขอเล่าเรียนวิชาคาถาอาคมต่าง ๆ ในลำดับแรกหลวงพ่อแช่มได้สอนให้เรียนรู้ทางด้านการปฏิบัติจิต สมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน ให้จิตนิ่งเป็นสมาธิก่อน และหลังจากทำกรรมฐานและวิปัสสนาอยู่ 3 เดือน หลวงพ่อแช่ม ก็ได้สอนวิชาคาถาอาคมต่าง ๆ ให้ ในปีพ.ศ.2486 หลวงพ่อแช่ม ก็ได้กลับไปวัดตาก้อง หลังจากนั้นในปีพงศ.2488 หลวงพ่อแช่มได้มาพำนักที่วัดศรีสาครอีกครั้งหนึ่ง เป็นเวลา 25 วัน หลวงพ่อฉาบ ตอนนั้นอายุได้ 17 ปี ได้เข้าพบรับใข้และเล่าเรียนสอบถามวิชาไสยเวทย์พร้อมให้หลวงพ่อแช่มช่วย ทบทวนวิชาคาถาที่เล่าเรียนจนสามารถปฏิบัติได้ตามคำสอนอย่างดี แล้วหลวงพ่อแช่มก็เดินทางกลับวัดตาก้อง ต่อมาในปีพ.ศ.2490 หลวงพ่อแช่ม ท่านก็ได้ละสังขารมรณภาพลงในปีนั้น
    ครั้นเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดศรีสาคร เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2491 โดยมีพระครูเกศิวิกรม (หลวงพ่อทรัพย์ ฐิตปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดสังฆราชาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ประทุม เจ้าอาวาสวัดสว่างอารมณ์เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการฉ่ำ เจ้าอาวาสวัดตึกราชาวาสเป็นพระอนุสาวนาจารย์ อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วได้รับฉายาว่า มงฺคโล เมื่อได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วได้ตั้งจิตมั่นได้กล่าวคำสัจจะวาจาบอกกล่าว ต่อโยมบิดามารดาของท่านว่า เมื่อฉันได้บวชเรียนเป็นภิกษุแล้วจะขอรับใช้พระพุทธศาสนาตลอดชีวิต โยมพ่อและโยมแม่ก็ไม่ได้ทักทวงแต่ประการใด เมื่ออุปสมบทแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดศรีสาคร 2 พรรษา ได้เรียนพระธรรมวินัยไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐานและพุทธาคมจากหลวงพ่อทรัพย์ ฐิตปญฺโญ ซึ่งองค์นี้เป็นศิษย์ของหลวงพ่อพูล (เจ้าอาวาสองค์ก่อน) วัดสังฆราชาวาส ซึ่งเป็นสหายธรรมของหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย และหลวงพ่อเภา วัดถ้ำตะโก เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อพูล วัดสังฆราชาวาสเป็นเหรียญยอดนิยมของชาวเมืองสิงห์บุรีมีค่านิยมหลักหมื่น ถือว่าเป็นสุดยอดเหรียญที่ศักดิ์สิทธิ์และคงกระพัน หลังจากหลวงพ่อฉาบได้ศึกษาวิชาจากหลวงพ่อทรัพย์แล้ว ก็ได้ปรึกษาหลวงพ่อทรัพย์ในการปฏิบัติกิจแห่งธุดงค์วัตร ก็ได้รับการแนะนำสั่งสอนอย่างดี
    ในปีพ.ศ.2493 โดยมุ่งสู่จังหวัดลพบุรีดินแดนซึ่งเคยเป็นอาณาจักร ลวปุระ (ละโว) อันรุ่งเรืองเกรียงไกรมาแล้ว หลวงพ่อฉาบได้เดินธุดงค์ไปยังถ้ำตะโก เพื่อจะไปหาความสงบวิเวก เมื่อถึงถ้ำตะโกมาทราบว่าหลวงพ่อเภา วัดถ้ำตะโกพุทธโสภา ท่านได้ละสังขารมรณภาพไปแล้ว ก็ได้พบกับหลวงพ่อคง คงฺคปัญโญ เจ้าอาวาสวัดถ้ำตะโก ศิษย์เอกหลวงพ่อเภา ซึ่งได้รับสืบทอดวิชาวิปัสสนากรรมฐานและไสยเวทย์ต่าง ๆ จากหลวงพ่อเภาทั้งหมด หลวงพ่อฉาบจึงได้เข้าฝากตัวเป็นศิษย์เรียนวิชาต่าง ๆ ของหลวงพ่อเภา วัดถ้ำตะโก จากหลวงพ่อคง คงฺคปัญโญ เจ้าอาวาสวัดถ้ำตะโกพุทธโสภา จากนั้นหลวงพ่อฉาบก็เดินทางมุ่งไปสู่วัดเขาสาริกา เพื่อจะไปศึกษาธรรมกรรมฐานจากหลวงพ่อกบ ก็ปรากฎว่าได้มรณภาพไปแล้วเช่นกัน จึงได้มาปฏิบัติธรรมที่วัดเขาวงกฎ วัดเขาวงกฎอยู่ติดกับวัดเขาสาริกาอยู่คนละฝางเขา ที่วัดเขาวงกฎแห่งนี้ตั้งอยู่ที่สนามแจง ต.สนามแจง อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในวงล้อมของเขา เป็นลักษณะหุบเขาเปิด มีทางเข้าออกทางเดียว เมื่อปีพ.ศ.2465 หลวงพ่อเภา พุทธสโร วัดถ้ำตะโกธุดงค์มาพบสถานที่แห่งนี้เข้าเห็นว่าเหมาะแก่การอบรมสมถกรรมฐาน และเจริญวิปัสสนากรรมฐานมาก จึงได้ทำการก่อสร้างให้เป็นวัดโดยสมบูรณ์แบบ มีถ้ำคูหาสวรรค์อยู่ที่เชิงเขาด้านทิศเหนือ ซึ่งหลวงพ่อเภาจะจำพรรษาและทำความเพียรในถ้ำคูหาสวรรค์แห่งนี้ ต่อมากรมพระนครสวรรค์ พระองค์เจ้าบริพัตรสุขุมพันธ์เสด็จมาที่เขาวงกฎได้พบหลวงพ่อเภา ทรงเลื่อมใสในปฏิปทาและแนวทางในการปฏิบัติของหลวงพ่อ จึงได้ถวายปัจจัยให้ก่อสร้างวัด หลวงพ่อเภาได้สร้างกุฏิขึ้นหน้าถ้ำคูหาสวรรค์ให้ชื่อว่า "ตึกบริพัตร" ตามนามของผู้บริจาค และหลวงพ่อเภาได้มาจำพรรษาที่กุฏินี้ตลอดมา หลังจากหลวงพ่อเภาได้มรณภาพในปีพ.ศ.2474 ที่วัดแห่งนี้ในปีหนึ่งจะมีพระสงฆ์มาจากวัดต่างๆ ทุกภูมิภาคมาปฏิบัติธรรมที่วัดเขาวงกฎแห่งนี้ หลวงพ่อฉาบได้มาปฏิบัติธรรมได้พบกับ พระมหาชวน มลิพันธ์ (หลวงพ่อโอภาสี) หลวงพ่อฉาบได้พบหลวงพ่อโอภาสี เล่าเรื่องมีความศรัทธาหลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา แต่มารู้ภายหลังว่าท่านได้มรณภาพไปแล้วด้วยความตั้งใจมุ่งหวังจะศึกษาวิชา ต่าง ๆ จากท่าน ก็ได้รับคำแนะนำจากหลวงพ่อโอภาสี ซึ่งเป็นศิษย์ที่รับการถ่ายทอดวิชามาหลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา หลวงพ่อฉาบจึงขอฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อโอภาสี ขอศึกษาวิชากสิณต่าง ๆ และไสยเวทย์ หลวงพ่อโอภาสีได้ฝึกสอนวิชาต่าง ๆ ให้เช่นกสิณไฟ และคาถาอาคมต่างๆ ให้หลวงพ่อฉาบจำนวนมากและยังได้ชักชวนนิมนต์ให้หลวงพ่อฉาบเดินทางไปพบท่าน ที่อาศมบางมดกรุงเทพฯ ในครั้งนั้นที่วัดเขาวงกฎหลวงพ่อฉาบยังได้พบปะรู้จักเป็นสหายธรรมกับหลวงพ่อ ชา สุภัทโท แห่งวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี ก็ได้เดินทางมาปฏิบัติธรรมที่วัดเขาวงกฎแห่งนี้ด้วย ได้ปฏิบัติธรรมร่วมกันได้ขอศึกษาแลกเปลี่ยนวิชาไสยเวทย์ต่าง ๆ กับหลวงพ่อชา สุภัทโท  หลวงพ่อชาเกิดปีพ.ศ.2471 ปีเดียวกับหลวงพ่อฉาบ มงฺคโล หลวงพ่อชาท่านได้ละสังขารไปแล้วเมื่อปีพ.ศ.2536 ร่วมสิริอายุได้ 65 ปี หลวงพ่อฉาบอยู่ปฏิบัติธรรมเป็นเวลา 45 วัน ก็ได้เดินทางกลับไปยังวัดถ้ำตะโกอีกครั้งหนึ่ง ได้พำนักอยู่ที่วัดถ้ำตะโกพบปะใกล้ชิดกับหลวงพ่อคงอีกครั้งก็มาศึกษาพบว่า ที่วัดถ้ำตะโกแห่งนี้อยู่ในบริเวณดอยเขาเทือกเขาเดียวกับวัดต่าง ๆ อีกถึง 3 วัดรวมดอยนี้มีวัดถึง 4 วัดคือ วัดเขาสมอคอน วัดถ้ำช้างเผือก วัดถ้ำตะโก และวัดบันไดสามแสน ในอดีตตั้งแต่ยุคสมัยทวาราวดีเป็นต้นมา ดอยเทือกเขานี้มีความสำคัญมากมีถ้ำใหญ่น้อยเป็นร้อย ๆ ถ้ำ เป็นที่อยู่ของผู้ทรงศีล สมณะ ฤาษี พราหมณ์ เป็นแห่งกำเนิดของวิชาไสยเวทย์มนต์คาถาแหล่งรวมวิชาไสยศาสตร์ เช่นวิชาขอมดำดิน ก็ก่อเกิดในที่แห่งนี้เป็นตรรกศิลาแห่งไสยศาสตร์และเวทย์มนต์ วัดเขาสมอคอนเป็นวัดอยู่ต้นดอย มีถ้ำพระนอนและที่พำนักของฤาษีสุกกะทันตะและ ถ้ำพราหมณี พ่อขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยก็มาศึกษาที่แห่งนี้ นับว่าเป็นแหล่งรวมศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ หลวงพ่อฉาบ ก็ได้เดินทางมาที่วัดเขาสมอคอน เข้ากราบนมัสการฝากตัวขอเป็นศิษย์เล่าเรียนวิชาจากหลวงพ่อบุญมี อิสสรโร ศิษย์ผู้รับการสืบทอดวิชาไสยเวทย์จากหลวงพ่อพระครูปัชฌาย์ก๋ง จฺนทสโร พระอุปัชฌาย์ก๋ง มีวิชาไสยเวทย์มากมายได้จากตำราเก่าอักขระยุคขอม
    ท่าน เก่งมากเหรียญรุ่นแรกของท่านชาวลพบุรีเล่นหากันหลักแสนจะขอย้อนกล่าวถึงความ เป็นมาของเทือกเขาสมอคอน ที่เป็นที่ตั้งของวัดเขาสมอคอนอยู่บนดอยสำคัญที่ได้กล่าวมาให้ทราบถึงความ เป็นมาดังนี้ เทือกเขาสมอคอนหรือเรียกดอยธัมมิกราช ดอยธัมมิกราชวิทยาลัยราชะแห่งยุวทวาราวดี ดอยธัมมิก สาเหตุที่มีชื่อเรียกอย่างนี้เนื่องมาจาก สุกกทันตฤาษี (สุทันตะฤาษี)ในหนังสือชินกาลมนีกล่าวว่าสุกกทันตฤาษีำพำนัก ณ ดอยธัมมิก(เขาสมอคอน) อยู่ทางทิศใต้ของกรุงหริภุญชัย (ลำพูน) ในสมัยพระเจ้าจักรวัตติราช แห่งกรุงละโว้ สุกกทันตฤาษี ในสมัยนั้นย่อมเป็นที่รู้จักต่อฝูงชนหมู่คณาจารย์ และบรรดากษัตริย์ต่าง ๆ ทั่วทุกแคว้น ดอยธัมมิกราช เป็นดอยที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาเกี่ยวข้องกับกษัตริย์ในสมัยทวาราวดี เพราะทั้งภาษาหนังสือและความหมายเป็นภาษาชั้นสูงของผู้คงแก่เรียนที่ได้รู้ ในทางพระพุทธศาสนาอย่างมาก จึงสถาปนายอดดอยแห่งนี้เป็นที่ปฏิบัติธรรมของบรรดาฤาษีและผู้มีบุญหนัก ศักดิ์ใหญ่หรืออีกนัยหนึ่งว่าเจ้ากรุงละโว้ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก พระพุทธศาสนา จนได้สมญาพระนามว่าพระเจ้าธัมมิกราช ความสำคัญของดอยธัมมิกราช เขาสมอคอนได้สมญานามว่าวิทยาลัยแห่งราชา ยุคทวาราวดียอมเป็นที่แน่นอนที่สุดที่บรรดาพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงดัง เรื่องไสยเวทย์เข้มขลังเป็นที่ยอมรับในสมัยเก่าก่อนมากกว่า 150 ปีขึ้นไปนั้นส่วนใหญ่จะได้รับการสืบทอดเผยแพร่วิชาไสยเวทย์ มาจากแหล่งกำเนิดวิชาจากดอยธัมมิกราชแห่งนี้ทั้งสิ้น
    หลวงพ่อฉาบ ได้เข้าจากธุดงค์ครั้งที่ 2 แล้ว ก็อยู่แต่ภายในวัดศรีสาครไม่ได้เดินทางไปไหนอีกเลยท่านปิดกุฏิเป็นเวลานาน มุ่งบำเพ็ญกรรมฐานและสมาธิวิปัสสนากรรมฐานอยู่เป็นเวลาหลาย 10 ปี ในแต่ละวันจะเปิดกุฎิรับญาติโยมและพุทธศาสนิกชนเพียงบางเวลาเท่านั้นท่านไม่ มีโทรทัศน์, วิทยุปิดกุฎิไม่รับรู้เรื่องภายนอกแต่ท่านก็รอบรู้เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ดี ท่านจะเน้นเรื่องกรรมบางครั้งสิ่งที่เป็นกรรมเหตุจะเกิดก็ไม่อาจเลี่ยงได้ ต้องปล่อยให้เป็นไปตามกรรมคุณสุนทร คนที่ดูแลหลวงพ่อคุยให้ฟังว่าหลวงพ่อจะพูดถึงหลวงพ่อชา สุภัทโท อยู่เสมอ เหมือนท่านได้นั่งสมาธิส่งกระแสจิตถึงกันเหมือนติดต่อกันทางจิตในวันที่หลวง พ่อชาได้ละสังขารลง หลวงพ่อฉาบได้รีบเดินทางล่วงหน้าไปยังวัดหนองป่าพงและหลวงพ่อฉาบได้ไปร่วมใน งานพระราชทานเพลิงศพในครั้งนั้นด้วยหลวงพ่อฉาบได้ศึกษาไสยเวทย์และคาถาต่าง ๆ จากพระเกจิอาจารย์และพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงจำนวนมากอีกทั้งท่านได้ ปฏิบัติดีและประพฤติชอบตามพระธรรมวินัยคำสั่งสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมเป็นที่ยอมรับนับถือของชาวพุทธและชาวจังหวัดสิงห์บุรีอีกทั้งจังหวัด ใกล้เคียงอีกจำนวนมาก


    PhotoRoom_25660916_101625.jpeg
     
  12. THE PUNCH

    THE PUNCH สมาชิกใหม่ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2022
    โพสต์:
    1,189
    ค่าพลัง:
    +53
    IMG_8834.jpeg
     
  13. THE PUNCH

    THE PUNCH สมาชิกใหม่ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2022
    โพสต์:
    1,189
    ค่าพลัง:
    +53
    IMG_8834.jpeg
     
  14. THE PUNCH

    THE PUNCH สมาชิกใหม่ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2022
    โพสต์:
    1,189
    ค่าพลัง:
    +53
    #พระผงของขวัญ วัดเกาะจันทร์ " จ.ฉะเชิงเทรา รุ่นทูลเกล้า พรห์มคุณากร ปี 2538

    PhotoRoom_25660916_111636.jpeg


    #
    มีเกศา และ ผงเก่าหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ รุ่น 1,2,3

    #หายาก ใครไม่มีบูชาพระวัดปากน้ำ รุ่น ที่ทัน หลวงพ่อสด แนะนำรึ่นนี้แทนครับ


    #หลวงพ่อคูณร่วมปลุกเสก น่าบูชาอย่างยิ่งครับ

    #แบ่งบูชาพิเศษที่ 350 ครับ 

    PhotoRoom_25660916_111636.jpeg
     
  15. THE PUNCH

    THE PUNCH สมาชิกใหม่ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2022
    โพสต์:
    1,189
    ค่าพลัง:
    +53
    พระร่วงเนื้อชิน พิมพ์เล็ก ท่านเจ้าคุณนรฯอธิษฐานจิต ออกที่วัดเขาบางทราย ชลบุรี เมื่อปี 2512 หายากครับ

    พระขนาด 0.8 X 2.5 ซ.ม. หลังยันต์
    PhotoRoom_25660916_182313.jpeg
    IMG_1300.jpeg

    สภาพสวยเดิมๆแบ่งบูชาราคาพิเศษที่ 350 ครับ

    PhotoRoom_25660916_182313.jpeg
    IMG_1300.jpeg
     
  16. THE PUNCH

    THE PUNCH สมาชิกใหม่ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2022
    โพสต์:
    1,189
    ค่าพลัง:
    +53
    #สมเด็จปู่เฒ่า #หลวงปู่สุภา กันตสีโล

    PhotoRoom_25660917_123704.jpeg

    #สมเด็จปู่เฒ่า วัตถุมงคลที่หลวงปู่สุภา ได้ตั้งใจมอบให้เหล่าบรรดาศิษยานุศิษย์และผู้ที่เคารพเลื่อมใส เอาไว้บูชาและคุ้มครองป้องกันภัยนตรายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หลวงปู่กล่าวไว้เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2550 ที่บ้านโยมที่กรุงเทพ ท่ามกลางคนเป็นจำนวนมากว่า

    พระสมเด็จปู่เฒ่านี้ศักดิ์สิทธิด้วยแรงสัจจะอธิษฐาน “

    ของอาตมาที่มีต่ออาจารย์ใหญ่ที่เคยไปเรียนวิชาด้วยที่เมืองจีน ” เนื่องจากท่านได้เคยตั้งสัจจะ ไว้ว่าจะสร้างพระขึ้นมา 1 รุ่นเพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูและ ระลึกถึงคุณครูบาอาจารย์ของท่าน และท่านได้อธิฐานบอกกล่าว

    กับครูบาอาจารย์ทุกองค์และพระอรหันต์ที่ถ้ำจุงจิง ประเทศลาว ที่ท่านเคยพบและเรียนกรรมฐานด้วยว่า ” เมื่อใดที่ได้มีการสร้างพระที่ตั้งสัจจะไว้ขออารธนาท่านเหล่านั้นมาช่วยแผ่บารมีและพุทธาภิเษกให้ด้วย ” ซึ่งท่านเหล่านั้นก็ได้รับปากหลวงปู่ไว้ เพราะฉนั้นจึงเป็นที่มาของชื่อ พระรุ่นนี้ และ วิธีการพุทธาภิเษกพระที่ไม่เหมือนใคร

    ความเป็นมา

    รูปแบบของ “สมเด็จปู่เฒ่า” หลวงปู่สุภาเป็นผู้กำหนดเองทั้งหมดทั้งการวางตัวอักษร ขอมลาวบนองค์พระ ท่านมอบหมายให้แม่ชีเล็กเป็นผู้สร้าง จำนวน 84,000 องค์ โดยท่านจะกำกับดูแลอยู่ตลอดเวลา และได้ทำพิธีเริ่มการสร้างพระด้วยตัวท่านเอง โดยมีกรรมการวัด รู้เห็นหมดขั้นทุกตอนและพระที่ได้ทั้งหมด กรรมการจะเป็นผู้มารับมอบไปเพื่อให้เช่าบูชาที่ห้องวัตถุมงคลของวัดโดยไม่มีหลุดเล็ดรอดไปที่อื่น

    หลวงปู่ได้มอบหมายหน้าที่ให้คุณสุเทพ พงษ์เพียรชอบ (หมี ร่มโพธิ์ไทร) นำแบบพระมาสั่งทำแม่พิมพ์, จัดหามวลสาร, และ จัดสร้างกล่องที่ใช้บรรจุทั้ง 84,000 องค์ ส่วนหน้าที่การสร้าง หลวงปู่มอบหมายให้แม่ชีเล็กเป็นแกนนำในการสร้างโดยใช้เวลาในการปั๊มพระทั้งหมดเพียงเดือนเศษเท่านั้น เมื่อเสร็จภาระกิจที่หลวงปู่มอบหมายในครั้งนั้นแล้ว แม่ชีได้ลาสิกขาใน วันที่ 5 พฤศจิกายน 2554

    พิธีพุทธาภิเษก

    หลวงปู่สุภาได้นำพระรุ่นนี้เข้ากุฏิใหม่ ชั้น 2 และปิดประตูห้องห้ามใครรบกวน โดยใช้เวลาในตอนกลางคืนกับพระรุ่นนี้ถึง 10 คืนเต็มก่อนจะนำออก ให้เช่าบูชา หลวงปู่เล่าให้ฟังว่า ในแต่ละคืนที่ท่านอยู่ในห้องจะมีเหล่าบรรดาครูบาอาจารย์ของท่านและพระอรหันต์ที่เคยรับปากไว้หมุนเวียนกันมาแผ่บารมีและพุทธาภิเษกพระรุ่นนี้อย่างสมบูรณ์และครบถ้วนในทุกๆด้าน โดยเฉพาะคืนที่ 5 เบื้องบนได้เสด็จลงมา และในคืนนั้นเองได้เกิดปาฏิหารย์ขึ้นที่วัด กล่าวคือเสาไฟในวัดล้มระเนระนาดโดยไม่มีสาเหตุ ในทันทีที่ท่านเข้าห้องและปิดประตู ไฟฟ้าดับทั้งวัด และในคืนนั้นได้เกิดไฟลุกไหม้ภายในห้องที่ท่านกำลังพุทธาภิเษกพระเนื่องจากเทียนที่จุดข้างกองวัตถุมงคลได้ล้มลงโดยไม่มีสาเหตุ ทำให้ไฟได้ไหม้พรมและลุกลามไปทั่ว แต่ได้เกิดความอัศจรรย์คือ พระเพลิงมิอาจลุกลามเข้าไปทำอะไร กองวัตถุมงคลรวมทั้งหลวงปู่ ที่นั่งกรรมฐานได้ ความร้อนนั้นถึงขนาดทำให้สร้อยคอทองคำพร้อมพระเลี่ยมทอง ของประธานกรรมการวัดที่วางไว้ภายในกองวัตถุมงคลถึงกับ หลอมละลายกลายเป็น ก้อนทองไปหมดสภาพของสร้อย พระเพลิงได้ลุกไหม้อยู่นานจนกระทั่ง ผู้ที่ดูแลหลวงปู่รู้สึกแปลกว่าอาจจะมีอะไรเกิดขึ้นข้างบน จึงได้ขึ้นไปแอบดูจึงได้เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจึงได้ช่วยกันเข้าไปดับไฟที่กำลังโหมไหม้พร้อมทั้ง นิมนต์หลวงปู่ออกจากสมาธิ และนำท่านออกมาจากห้องได้โดยปลอดภัย เมื่อท่านออกจากสมาธิจึงบอกว่าพระนั้นได้เสกจนครบถ้วนบริบูรณ์ดีแล้วแต่ท่านจะยังคงทำพิธีต่อไปอีกเรื่อยๆจนครบ 10 วันตามที่ได้ตั้งใจไว้

    แต่เดิมพระรุ่นนี้จะเป็นพระรุ่นสุดท้ายที่ท่านสร้าง (แต่ภายหลังศิษยานุศิษย์ได้พร้อมใจกันอาราธนาให้ท่านอยู่ต่อ) เหล่าบรรดาศิษย์ใกล้ชิด แม่ชี กรรมการวัดจึงได้ร่วมแสดงความสามัคคีช่วยกันสร้างเองอันเป็นนิมิตหมายอันดี พระทั้งหมด ได้ดำเนินการสร้างภายในวัดทั้งสิ้น ทางแม่ชีเป็นผู้ผสมมวลสารและปั๊มพระ โดยหลวงปู่ได้ขึ้นไปทำพิธีและกำหนดเขตในการสร้างพระให้บนศาลากรรมฐานชั้น 2 ของหอแม่ชีต่อหน้าพระประธานบนศาลา และได้ทำพิธีปลุกเสกมวลสารซ้ำอีกหลังจากที่ได้มีการพุทธาภิเษกไปแล้วเมื่อคราวหล่อพระประธานในวันเกิดท่าน

    มวลสารหลักที่สำคัญๆมีดังนี้

    1. พระผงนะหน้าทองแตกหัก หลวงปู่มีวัดมารวิชัย(เสก20ปี) เกือบเต็มบาตร เจ้าอาวาสวัดมารวิชัยถวายมา

    2. พระผงแตกหักหลวงพ่อเกษม ได้มาจากคลังของสุสานไตรลักษณ์

    3. ผงปูนจากฐานพระพุทธวิชิตมาร วัดมารวิชัย

    4. ตะไบชนวนพระกริ่งหลายๆรุ่นของวัดสุทัศน์และวัดบวร

    5. ผงว่าน 108 ที่เหลือจากการทำพระขุนแผนสาริกา(2 บาตร)

    6. พระเสด็จกลับที่แตกหักบดเป็นผง (คุณสุเทพ พงษ์เพียรชอบ ถวาย)

    7. เกษาหลวงปู่สุภา

    8. ชานหมากหลวงปู่สุภา

    9. แป้งเสกหลวงปู่ต่าง เช่นหลวงปู่บุดดา หลวงปู่เย็น

    10.ผงวิเศษที่หลวงปู่สุภาเสกให้ไว้

    11.พระธาตุ(หลวงปู่นำมามอบให้ผสม)

    12.ผงดอกไม้บูชาพระที่วัดสีลสุภาราม

    13.ข้าวที่ท่านเคยออกบิณบาตรเมื่อกลางปี 48

    14.สีผึ้งเดือน5ยอดมหาเสน่ห์ของหลวงปู่ที่เก็บไว้

    15.พระรุ่นเก่าๆที่แตกหัก

    16.ผงจากเต่ากัสสะโป

    17.ดินจากสังเวชนียสถาน

    18.ใบโพธิ์จากสังเวชนียสถาน

    19.ปูนเปลือกหอย


    พระสมเด็จปู่เฒ่าที่ทางแม่ชีสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทางคณะกรรมการวัดก็ได้รับมอบต่อมาทั้งหมดเพื่อ นำมาเก็บรักษาที่คลังวัตถุมงคลและทำหน้าที่เปิดให้เช่าบูชาเพื่อนำรายได้ทั้งหมดมาสร้างพระอุโบสถกลางน้ำให้สำเร็จลุล่วง โดยพระชุดนี้จะถูกแบ่งไปให้เช่าบูชาที่วัดคอนสวรรค์ สกลนคร ด้วยเพื่อนำเงินไปสร้างหอปฏิบัติธรรมที่ยังค้างคา พระชุดนี้มีทั้งหมด 4 สีหลักๆคือ สีขาว เหลือง แดง และเทา แต่ก็ มีสีอ่อนและเข้มแตกต่างกันบ้างตามการผสมมวลสารในแต่ละครั้ง

    #
    แบ่งบูชาสภาพสวยเก่าเก็บเดิมๆ 850 ครับ 

    PhotoRoom_25660917_123704.jpeg
     
  17. THE PUNCH

    THE PUNCH สมาชิกใหม่ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2022
    โพสต์:
    1,189
    ค่าพลัง:
    +53
    #พระผงสมเด็จ #วัดปากน้ำ #ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ

    #รุ่น 6 หลังพระไตรปิฎก เนื้อผงพุทธคุณ ปี 2532

    PhotoRoom_25660917_125937.jpeg

    #สภาพสวยสมบูรณ์คมชัด กล่องเดิมแบ่งปันที่ 950 ครับ

    พระวัดปากน้ำรุ่น 1 ถึงรุ่น 3 ชื่อ “พระของขวัญ” ส่วนรุ่น 4 ชื่อ “พระธรรมขันธ์” รุ่น 5 เรียก “พระธรรมกาย” ส่วนรุ่น 6 ชื่อ “พระไตรปิฎกหินอ่อน” ได้พิมพ์ปฐมฤกษ์ เมื่อ 26 สิงหาคม พ.ศ.2532 ซึ่งทำแจกแด่ผู้ที่สมทบทุนบริจาคทรัพย์สร้าง พระไตรปิฎกหิน อ่อน, พระมหาวิหารและพระมหาเจดีย์ ผู้ใดที่มีพระรุ่นนี้ หากตกที่นั่งลำบากให้เพ่งไปที่องค์พระจนติดตาแล้วอาราธนาขอพรให้คุ้ม ครองพร้อมกับภาวนาว่า “สัมมาอะระหัง” แล้วความปาฏิหาริย์จะบังเกิดขึ้น

    (ข้อมูล พระไตรปิฎก รุ่น 6)
    สร้างเมื่อ วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2532 จำนวน 3,000,000 องค์ (สามล้าน) และพระคะแนนอีก 30,000 องค์ แม่พิมพ์ ทั้งหมดมี 39 พิมพ์ ลองพิมพ์อีก 4 และพระคะแนนอีก 3 พิมพ์ รวมเป็น 46 พิมพ์

    วัตถุประสงค์ สร้างขึ้นเพื่อมอบให้แก่ผู้บริจาคทรัพย์สร้างพระไตรปิฎกหินอ่อน ระยะเวลา ใช้ระยะเวลาแจกเพียงปีเดียวพระก็หมด ซึ่งเร็วกว่าทุกๆ รุ่นที่ ผ่านมา

    สีเนื้อ สีเนื้อของพระรุ่น 6 มีหลากหลายสีด้วยกัน ทั้งสีขาว เทา เหลือง และน้ำตาล ทั้งอ่อนและแก่

    พระของขวัญวัดปากน้ำรุ่น6 พระไตรปิฎกหินอ่อน รุ่นนี้เริ่มสร้างเมื่อปี 2532 จำนวนสร้าง 3,000,000 องค์ เพียงไม่กี่วันเท่านั้นในปี 2533 ที่พระจำนวน 3,000,000 องค์ ถูกเช่าบูชาหมดจากวัด ระหว่างที่เปิดให้เช่าบูชา ประชาชนผู้มีจิตศรัทธา แน่นขนัดวัดปีนกำแพง เบียดเสียด เป็นลม จนถึงล้มตาย กับ พระผงของขวัญรุ่นนี้ ยิ่งเมื่อพระที่ผู้มีจิตศรัทธาได้ไปครอบครองแล้วมีประสบการณ์รอบด้านและแตกต่างกันแล้วนำกลับมาเล่าสู่กันฟังในวัดจนเป็นการเรียกชื่อพระพักตร์ของพระรุ่นนี้แตกต่างกันออกไป เช่น อุดมทรัพย์ หรือ อุดมโชค อุดมเกียรติ แป๊ะยิ้ม ยิ้มใหญ่ ยิ้มเล็ก โสธร ชินราช ก็ว่าไปตามที่พิจารณา แต่ที่สำคัญนอกเหนือกว่า หน้าพระพักตร์ คือ วิชชาธรรมกาย ที่บรรจุลงในพระผงทุกองค์ รวมจนถึง ผงมวลสารเก่าหลวงพ่อ แผ่นทองปิดองค์หลวงพ่อ และผงอื่นๆอีกมากมาย จนทำให้พุทธคุณของพระผงรุ่นนี้ ไม่ต่างจากรุ่น1-3 เพราะวิชชาที่หลวงพ่อสดได้คิดค้นไว้ ส่งต่อให้ลูกศิษย์ใกล้ชิดได้สำเร็จมามากมาย

    Pra Somdej, Wat-Paknam - Model: 6nd edition B.E.2532 “Tripataka”(Buddhist scriptures) Wat-Paknam, Phasi-Charoen, Bangkok,
    Buddha’s grace dust body, made in B.E. 2532

    PhotoRoom_25660917_125937.jpeg
     
  18. THE PUNCH

    THE PUNCH สมาชิกใหม่ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2022
    โพสต์:
    1,189
    ค่าพลัง:
    +53
    เหรียญหลวงพ่อพระพุทธโสธร หลัง ภปร ปี 2509" ที่เรียกกันว่า "รุ่นสร้างโรงเรียน"

    PhotoRoom_25660917_133446.jpeg

    #
    แบ่งบูชาราคาพิเศษที่ ปิดให้พี่ Sunmk ครับ

    ความสำคัญเหรียญรุ่นนี้ คือ

    ประการแรก สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องวาระที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยเสด็จพระราชกุศลสร้างโรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร วันที่ 3 มิ.ย. 2509

    ประการที่สอง เป็นเหรียญจำลองพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของ จ.ฉะเชิงเทรา และเป็นหนึ่งในพระพุทธรูปสำคัญของประเทศที่เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชน ทั่วหล้า


    และประการสำคัญ คือ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระปรมา ภิไธยย่อ "ภปร" ประดิษฐานด้านหลังเหรียญ อันนับเป็นมหามงคลยิ่ง

    เหรียญหลวงพ่อพระพุทธโสธร หลัง ภปร ปี 2509 จัดสร้างโดย พระราชพุทธิรังสี (จิรปุญโญ ด.เจียม กุลละวณิชย์) หรือ พระพรหมคุณาภรณ์ (สมณศักดิ์สุดท้ายเมื่อมรณภาพ) เจ้าอาวาสวัดโสธรวรารามวรวิหารขณะนั้น
    เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ.2509 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญาฯ เสด็จฯ พิธีวิสาขบูชา ณ วัดโสธรวรารามวรวิหาร
    ด้วยอันเป็นมูลเหตุแห่งการจัดสร้าง "พระอุโบสถหลังใหม่" ที่งดงามอลังการ จากพระราชปรารภถึงความคับแคบ
    เหรียญหลวงพ่อพระพุทธโสธร หลัง ภปร ปี 2509 เป็นเหรียญรูปเสมา หูในตัว มีห่วง ด้านหน้ายกขอบ 2 ชั้น ชั้นในเล็กกลมแบบเส้นลวด ตรงกลางเป็นรูปจำลองหลวงพ่อพระพุทธโสธรเต็มองค์ ต่อด้วยอักษร ไทยว่า "หลวงพ่อพระพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา" ล่างสุดเป็นตัวอักษร "พ" ซึ่งย่อมาจาก "พระราชพุทธิรังสี" พิมพ์ด้านหน้านี้แบ่งออกเป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ฐานบัว และพิมพ์ฐานเขียง สังเกตจากฐานขององค์พระ
    ด้านหลังยกขอบหนาชั้นเดียว ตรงกลางเป็นพระปรมาธิไภยย่อ "ภปร" มีอักษรไทยจารึกว่า "ที่ระลึกโดยเสด็จพระราชกุศล สร้างโรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร ๓ มิ.ย.๐๙" โดยมีสัญลักษณ์ "ดาว" ด้านหน้าและท้ายประโยค จัดสร้างเป็น เนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้ออัลปาก้า และเนื้อทองแดง

    พิธีพุทธาภิเษก ถือว่าจัดยิ่งใหญ่ในยุคนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ ทรงเป็นประธาน พร้อมด้วยพระเกจิอาจารย์ชื่อดังเข้าร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก อาทิ หลวงพ่อทอง วัดก้อนแก้ว, หลวงพ่อจุ้ย วัดพงษาราม, หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี อาจารย์นำ วัดดอนศาลา ฯลฯ

    PhotoRoom_25660917_133446.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กันยายน 2023
  19. THE PUNCH

    THE PUNCH สมาชิกใหม่ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2022
    โพสต์:
    1,189
    ค่าพลัง:
    +53
    พระสมเด็จ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี โครงการช่วยชาติมอบทองคำ 60ปี ธ.ป.ท. วังบางขุนพรม

    #พิมพ์ปรกโพธิ์ กรอบ + สายเดิมๆ สภาพสวยหายาก

    PhotoRoom_25660917_142119.jpeg


    #เนื้อพระมีส่วนผสมของสมเด็จบางขุนพรหมและมวลสารสุดยอดครับ

    ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธ.ป.ท) สร้างแจกเมื่อวันที่ 10 ธ.ค.45 พิธีเยี่ยมมวลสารประกอบด้วยผงพุทธคุณต่างๆ มากมาย พิธีใหญ่มากๆครับ

    #แบ่งบูชาราคาพิเศษ cxxx ครับ

    รายชื่อพระอาจารย์ที่ร่วมพิธี

    1. พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) วัดเกษรศีลคุณ (วัดป่าบ้านตาด) ต.บ้านตาด อ. เมือง จ.อุดรธานี

    2. พระพุทธพจนวราภรณ์ วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อ.เมือง จ.เชียงใหม่

    3. พระเทพวิสุทธิมงคล (หลวงปู่ศรี มหาวีโร) วัดป่าประชาคมวนาราม(ป่ากุง) ต.ศรีสมเด็จ อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด

    4. พระอาจารย์ บุญมี ปริปุณฺโณ วัดป่าบ้านนาคูณ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

    5. พระอาจารย์ เพียร วิริโย วัดป่าหนองกอง ต.บ้านค้อ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

    6. พระอาจารย์ บุญเพ็ง เขมาภิรโต วัดถ้ำกลองเพล ต.โนนทัน อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู

    7. พระอาจารย์ ลี กุสลธโร วัดภูผาแดง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    8. พระครูการุณย์ธรรมนิวาส (หลวงปู่หลวง กตปุญฺโญ) วัดป่าสำราญนิวาส ต.ศาลา อ.เกาะคา จ.ลำปาง

    9. พระญาณวิศิษฏ์ (ทอง จนฺทสิริ) วัดอโศการาม ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ

    10. พระเทพเมธาภรณ์ (เอื้อม ชุตินฺธโร) วัดสนามพราหมณ์ อ.เมือง จ.เพชรบุรี

    11. พระอาจารย์ ปรีดา(ทุย) ฉนฺทกโร วัดป่าดานวิเวก อ.ปากคาด จ.หนองคาย

    12. พระอาจารย์ บัวเกตุ ปทุมสีโล วัดแม่ปาง ต.สันติคีรี อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน

    13. พระอาจารย์ เผย วิริโย วัดถ้ำผาปู่ ต.นาอ้อ อ.เมือง จ.เลย

    14. พระอาจารย์ อุทัย สิริธโร วัดถ้ำพระภูวัว ต.โสกก่าม อ.เซกา จ.หนองคาย

    15. พระอาจารย์ ฟัก สนฺติธมฺโม วัดเขาน้อยสามผาน ต.สองพี่น้อง อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี

    16. พระอาจารย์ อ้ม สุขกาโม วัดป่าภูผาผึ้ง ต.กกตูม อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร

    17. พระอาจารย์ อุ่นหล้า ฐิตธมฺโม วัดป่าแก้วชุมพล ต.ค้อใต้ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    18. พระอาจารย์ ทองอินทร์ กตปุญฺโญ วัดผาน้ำทิพย์ ต.ผาน้ำย้อย อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด
    19. พระอาจารย์ บุญกู้ อนุวฑฺฒโน วัดพระศรีมหาธาตุ เขตบางเขน กรุงเทพฯ
    20. พระครูถาวรธรรมโกศล (พระอาจารย์ด้วง) วัดโยธานิมิตร อ.เมือง จ.อุดรธานี
    21. พระครูวิทิตศาสนกิจ(ไพโรจน์ วิโรจโน) วัดดอยปุย ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
    22. พระวิสุทธิสังวรเถร (เลี่ยม ฐิตธมฺโม) วัดหนองป่าพง ต.บุ่งหวาย อ.วารินฯ จ.อุบลราชธานี
    23. พระอาจารย์ ประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร วัดป่าหมู่ใหม่ ต.แม่แตง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
    24. พระอาจารย์ สนอง กตปุญฺโญ วัดสังฆทาน ต.บางไผ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี
    25. พระอาจารย์ อินทร์ถวาย สนฺตุสฺสโก วัดป่านาคำน้อย ต.บ้านก้อง อ.นายูง จ.อุดรธานี
    26. พระครูสมณกิจจาทร (สว่าง โอภาโส) วัดป่าศรีอุดมรัตนาราม อ.โนนสะอาด จ.อุดรธานี
    27. พระครูเกษมวรกิจ (วิชัย เขมิโย) วัดถ้ำผาจม อ.แม่สาย จ.เชียงราย
    28. พระอาจารย์ คูณ สุเมโธ วัดป่าภูทอง บ.ภูดิน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
    29. พระอาจารย์ เมือง พลวฑฺโฒ วัดป่ามัชฌิมวาส ต.ลำพาน อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์
    30. พระอาจารย์ อ่ำ ธมฺมกาโม วัดป่าเขาเขียว ต.วังโพรง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก
    31. พระอาจารย์ สำรวม สิริภทฺโท วัดไกลกังวล ต.บ้านเชี่ยน อ.หันคา จ.ชัยนาท
    32. พระอาจารย์ คลาด ครุธมฺโม วัดบางเตย ต.บางเตย อ.เมือง จ.พังงา
    33. พระอาจารย์ สุธรรม สุธมฺโม วัดป่าหนองไผ่ ต.ดงมะไฟ อ.เมือง จ.สกลนคร
    34. พระอาจารย์ บุญทัน ฐิตสีโล วัดเขาเจริญธรรม อ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์
    35. พระอาจารย์ กัณหา สุขกาโม วัดแพร่ธรรมาราม ต.เด่นชัย อ.เด่นชัย จ.แพร่
    36. พระอาจารย์ ณรงค์ อาจาโร วัดป่ากกสะทอน ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี
    37. พระอาจารย์ สมหมาย อตฺตมโน วัดป่าสันติกาวาส อ.ไชยวาน จ.อุดรธานี
    38. พระอาจารย์ สุชิน ปริปุณฺโณ วัดธรรมสถิต ต.สำนักทอง อ.เมือง จ.ระยอง
    39. พระครูสมุห์ พิชิต(โอ) ฐิตวีโร วัดจันทาราม(ท่าซุง) ต.น้ำซึม อ.เมือง จ.อุทัยธานี
    40. พระอาจารย์ จีรวัฒน์ อตฺตรกฺโข วัดป่าไชยชุมพล ต.สะเดาะพง อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์
    41. พระอาจารย์ อุทัย(ติ๊ก) ฌานุตฺตโม วัดป่าบ้านห้วยลาด ต.สานตม อ.ภูเรือ จ.เลย
    42. พระอาจารย์ บุญช่วย ปญฺญวนฺโต วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม อ.สามโคก จ.ปทุมธานี
    43. พระอาจารย์ บุญมี ธมฺมรโต วัดป่าศรัทธาถวาย อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    44. พระอาจารย์ อนันต์ อกิญฺจโน วัดมาบจันทร์ ต.แกลง อ.เมือง จ.ระยอง
    45. พระอาจารย์ นิพนธ์ อภิปสนฺโน วัดป่าบ้านใหม่เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
    46. พระอาจารย์ สวัสดิ์ ปิยธมฺโม วัดป่าคูขาด ต.นาเชือก อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม
    47. พระอาจารย์ วิสิทธิ์(ลาย) สนฺติงฺกโร วัดป่าภูสังฆารามฯ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    48. พระอาจารย์ เฉลิม ธมฺมธโร วัดป่าภูแปก ต.หนองงิ้ว อ.วังสะพุง จ.เลย
    49. พระอาจารย์ สงบ มนสฺสนฺโต วัดป่าสันติธรรม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
    50. พระอาจารย์ ชิต ฐิตจิตฺโต วัดป่าดงคล้อ ต.วังกวาง อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์
    51. พระอาจารย์ อัครเดช(ตั๋น) ฐิรจิตฺโต สำนักสงฆ์บุญญาวาส ต.บ่อทอง อ.บ่อทอง จ.ชลบุรี
    52. พระอาจารย์ นพดล นนฺทโน วัดป่าดอยลับงา อ.เมือง จ.กำแพงเพชร
    53. พระอาจารย์ ถาวร ฐานวโร วัดป่าเหวไฮ ต.หัวนาคำ อ.ศรีธาตุ จ.อุดรธานี
    54. พระอาจารย์ ภูสิต(จันทร์) ขนฺติธโร วัดป่าหลวงตาบัว อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี
    55. พระอาจารย์ สมเดช สิริจนฺโท วัดเขาถ้ำโบสถ์ ต.สองพี่น้อง อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี
    56. พระอาจารย์ มานะ(หมู) ฉนฺทสาโร วัดป่าเทอดพระเกียรติสิริธร อ.นาแห้ว จ.เลย
    57. พระอาจารย์ สุนทร ฐิติโก วัดป่าหลวงตามหาบัวธรรมเจดีย์ (ร้อยก้อน) อ.หนองแสง จ.อุดรธานี
    58. พระอาจารย์ ทวีศักดิ์(เล็ก) สุจิตฺโต วัดถ้ำดอยลาน ต.สามเงา อ.สามเงา จ.ตาก
    59. พระอาจารย์ กุศล ฐิตกุสโล วัดหนองบัว อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์
    60. พระอาจารย์ พฤกษ์ สุทฺธิญาโณ วัดป่าเขาเขียว ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

    PhotoRoom_25660917_142119.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2024
  20. THE PUNCH

    THE PUNCH สมาชิกใหม่ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2022
    โพสต์:
    1,189
    ค่าพลัง:
    +53
    #ภาพถ่ายกันภัย หลวงปู่พวง ปสันโน

    วัดสหกรณ์รังสรรค์ สระบุรี

    พร้อมแผ่นจาร ทอง เงิน ทองแดง พร้อมใบกำกับคาถา

    สภาพสวยเดิมๆ ไม่ผ่านการใช้

    PhotoRoom_25660917_143910.jpeg PhotoRoom_25660917_143946.jpeg

    #แบ่งปันราคาพิเศษ ที่ 500 บาทครับ

    PhotoRoom_25660917_143910.jpeg PhotoRoom_25660917_143946.jpeg
     

แชร์หน้านี้

Loading...