วิชชา ธรรมกาย ไม่ได้มาจาก วัดพระธรรมกาย

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย jack5487, 28 มิถุนายน 2008.

  1. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697
    ขณิกะ แล้วเป็นอะไรต่อมา.. ??
    เพราะในสตินั้นย่อมมีกำลังสมาธิอยู่
     
  2. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    การจะทำอะไร นี่ กิเลสนี้มันพิเรนทร์ เพราะว่า อานาปานสติมีอยู่ มันก็แผลงไปวิธีอื่น อ้างอย่างนั้นอย่างนี้ร้อยแปดว่า ทำแล้วดี แต่วิธีที่ดีที่ประเสริฐ มันไม่เพียรทำ
    แต่ชอบวิธีพิสดาร นี่ชอบกันเหลือเกิน เดี๋ยวผมจะสอนวิธีพิสดารกว่าธรรมกายอีก เรียกว่า วิธี ธรรมกู คือให้ดูแต่ที่กู นี่ ว่าคิดอะไร บ้าอะไร ทำอะไร

    มหาสติ พระพุทธองค์ ยกย่องสรรเสริญ ก็ไม่สนใจ ไปแผลงวิธีอื่นแล้ว ก็ไปตีความพระสูตรเข้าข้างวิธีที่ตนทำ แบบนี้ตีความเข้าข้างกิเลส มันผิด

    หลักการ วินิจฉัย นี้ เราต้อง ปฏิเสธเอาไว้ก่อน ทุกกรณี แล้ว พอปฏิเสธไม่ได้สักข้อหนึ่ง นั้นแหละ จึงเชื่อได้
    แต่นี่เล่น รับทุกกรณี แล้ว ไม่ปฏิเสธเลย แต่กลับตีความเข้าข้างตน นี่เรียกว่า มี อคติ มี bias แล้วมันจะไม่เข้าสู่ความเป็นจริง จำเอาไว้
     
  3. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697
    ผู้ที่จะทรงโคตรภูอยู่ได้นาน นี่เป็นเรื่องของสมาธิอันเป็นกำลังเอก
    ไม่มีหรอก ยิ่งพวกที่สมาธิสมัคคีทีหลังนี่ แวบเดียวยังแทบจับไม่ทันโคตรภู
    ญาณนี้ ไม่ใช่สังขารุเปขาญาณ
     
  4. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697


    อ่า นะ .. ;37
     
  5. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ บุคคลทั่วไป 3 คน [​IMG]
    ก็ไม่จำเป็นนะ ที่ว่าถ้าไม่เอาสมาธิเป็นฐานแล้ว แล้วฝุ้งเกิดขึ้นกลายเป็นเรื่องไม่ดี

    ก็อย่างที่ทราบ ถ้ามาสายวิปัสสนา หรือ สายปัญญากล้า การที่จิตมันฝุ้งนั้น กลับ
    อยู่ภายใต้การดู รู้ตัวตลอด เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ เพราะว่า ปัญญากล้าพอที่จะดำ
    ลงไปในความฝุ้งของจิต โดยมีความเป็นกลาง อุเบกขาอยู่ ดังนั้น สายวิปัสสนา
    จึงมีข้อขัดแย้งอีกข้อหนึ่งกับสายสมถะ คือ กิเลส ฝ่ายวิปัสสนาจะกล้าพอที่จะปล่อย
    ให้มันเกิด เพราะว่า มันเกิดในมโนจิต มันจึงเป็นแค่สภาวะ ไม่ได้ปล่อยมันออกมา
    ทางกาย วาจา จึงไม่มีปัญหาอะไรเลย



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ขณิกะ แล้วเป็นอะไรต่อมา.. ??
    เพราะในสตินั้นย่อมมีกำลังสมาธิอยู่

    - - - - - - - - - - - -

    จริงในภาวะที่ผมอธิบายข้างต้น นั้นชี้ได้ทั้งภาวะของศีล
    ที่อริยะ ต่างจาก ปุถุชนอย่างไร

    และอธิบาย ภาวะโคตรภู ได้ด้วย

    ก็ถ้าสังเกตุ จะเห็นว่า ผู้ที่เห็นกิเลสจรไปมา โดยไม่เข้าแทรกแซง นั้นทำอยู่ด้วย
    ภาวะสติบริบูรณ์ ไม่อย่างนั้นจะไม่เห็น แต่เมื่อเห็นแล้ว ไม่ได้แทรกแซงตัดทำ
    ลายลง แต่ปล่อยให้มันทำอยู่ เกิดอยู่ โดยมีสติตามรู้ตลอด ดังนั้น แม้ว่าในขันธ์
    จะมีกริยาของกิเลศเกิดขึ้น แต่ในภาวะปัญญาที่แยกออกเป็นผู้ดู ภาวะนั้นคือ กุศล
    ที่เลิศกว่าโดยปริยาย คือทางปิดอบาย และเป็นสังขารุเบกขาญาณ

    ดังนั้น ภาวะที่ยังไม่เข้าสู่อริยะโสดาบัน ยังอยู่ในภาวะปุถุชน จึงไม่ตกอบายใดๆ
    ก็ได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นกรรมชนิดของกรรมที่กระทำ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2008
  6. taengmostudio

    taengmostudio สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +17
    ผมว่าเขียนผิดหรือเปล่า
    น่าจะเขียนว่า
    วิชา ธรรมกลาย ไม่ได้มาจาก วัดพระธรรมกลาย


    ฮิฮิ...มันไม่ใช่วิธีปฏิบัติของพุทธศาสนาเถียงกันอยู่ได้
    บ้าหรือเปล่า....

    ;5;5;5;5;5
     
  7. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ........ว่าใครคือ ผู้ที่ใช้วิชชาไปในทางผิด เฉออกจากทางที่พระท่านวางไว้....

    อย่างประโยคนี้ เมื่ออ่านแล้วก็อิน คิดว่า นั้นคือผลแห่งการทำนาย หรือ เรียกว่า แช่ง แต่
    เป็นไปไม่ได้ที่จะเป็นการแช่ง

    ดั้งนั้น ก็เป็นไปได้ว่า เป็นเพราะกรรมที่กระทำกับพระ จึงเกิดการจัดสรร แต่ทว่า ถ้าหากเปิด
    ใจไม่มองอะไรเข้าข้างฝ่ายของตน

    นั้นเป็นเพียงกรรมที่เขากระทำขึ้นเอง ปราศจากการกำหนดโดยผู้อื่นแน่นอน เป็นเรื่อง
    เฉพาะบุคคลที่ทำกรรมไว้ แล้วได้รับการส่งผลตามวิถีของกฏแห่งกรรม ไม่ใช่พรหมลิขิต
    หรือ อริยะลิขิต กรรมที่เห็นอาจจะเป็นกรรมแต่ชาติปางไหนที่ตามมาทันก็เป็นได้ จึง
    ไม่สมควรเลยที่จะตีความว่า เหตุที่เกิดเช่นนั้น เพราะไปสอนกรรมฐานพระ

    ถึงจะเป็นกรรมที่ไปสอนกรรมฐานพระ พระท่านนั้นก็ไปโดยคำสั่งของพระที่อาวุโสกว่า
    จึงไม่มีความยุติธรรมเกิดขึ้นแก่คนที่ตีความว่า พระผู้ไปสอนกรรมฐานจะต้องชดใช้กรรม

    หากเปิดใจเป็นกลาง จะเห็นแต่ข้อพร่องในการชี้กรรมตามประโยคดังกล่าว
     
  8. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ผมชอบ ผมยอมบ้า ถ้ามีคนออกมาพูดแบบนี้ึครับ
     
  9. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    เอาหละ ผมจะไม่พูดแรงแล้ว ถือว่าเป็นการรักษาน้ำใจคนปฏิบัติธรรมด้วยกัน

    ขออย่างเดียว ให้กลับไปพิจารณาให้มาก แล้วศึกษาธรรมที่ตรง คือ มหาสติปัฎฐานสี่ให้มาก

    ก็จะดึง เรามาสู่ทางที่ถูกต้องได้ อย่าให้ความเชื่อ ปิดบังปัญญา ครับ
     
  10. upanya

    upanya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2006
    โพสต์:
    900
    ค่าพลัง:
    +1,035

    ผู้สำเร็จนี่หมายถึงอะไรครับ
    หมายถึงสำเร็จอรหัตผลหรือเปล่า
    ถ้าใช่ ขอถามเลยนะครับว่า

    ท่านทราบได้อย่างไรว่าท่านผู้นั้นได้เป็นพระอรหันต์จริง
    เพราะ ขนาดพระสารีบุตรเอง ยังไม่ทราบเลยว่าผู้ที่ท่านจะไปโปรดนั้น
    ได้บรรลุอรหันต์แล้ว พระพุทธเจ้ายังตรัสว่า สารีบุตรเธอไม่มีญาณนี้หนอ
    แล้วคนที่บอกว่าคนนั้นคนนี้เป็นพระอรหันต์แล้วนี่ เป็นใครครับ

    หากว่าท่านผู้นั้นเป็นผู้บอกเองว่าท่านหมดกิเลสแล้ว
    ในสมัยพุทธกาลก็ยังมีภิกษุผู้สำคัญตนว่าได้เป็นพระอรหันต์แล้วอยู่
    พระพุทธเจ้ายังต้องให้ไปดูศพที่ป่าช้าผีดิบ เป็นหญิงรูปงามไร้อาภรณ์ปกปิดกาย จึงรู้ว่าจริงๆแล้วตนยังไม่ได้เป็นอย่างที่ตนคิดเลย


    แล้วหลวงพ่อวัดปากน้ำท่านก็ไม่ได้บอกว่าท่านเป็นพระอรหันต์
    และลูกศิษท่านก็ไมมีใครบอกด้วยว่าท่านเป็นพระอรหันต์
    หากรู้จักปฏิปทาท่านจริงจะเข้าใจ

    ฉะนั้นคุณวิมุตติจะตัดสินกันด้วยเหตุ เท่านี้น่าจะขาดความรอบครอบไปสักหน่อย
    ขอให้ใช้หลักเกณฑ์การตัดสินใจใหม่นะครับ
     
  11. upanya

    upanya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2006
    โพสต์:
    900
    ค่าพลัง:
    +1,035

    คุณขันธ์ผ่านกายมนุษย์ละเอียดแล้วหรือครับ ตอนนั้นถึงกายทิพย์แล้วด้วยใช่มั๊ยครับ
     
  12. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 5 คน ( เป็นสมาชิก 3 คน และ บุคคลทั่วไป 2 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"></TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>เต้าเจี้ยว, สมถะ, upanya </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ขอนำความเห็นของคุณดร.จรูญ วรรณกสิณานนท์ จากหนังสือกสิณ กรรมฐานที่ทรงพลัง ความเห็นของท่านน่าฟังครับ ดังนี้<!--MsgFile=9-->



    การทำสมาธิในพุทธศาสนาที่สอนกันอยู่ทั่วไปในเมืองไทยรวมถึงกลุ่มประเทศตะวันตกในปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่หรือทั้งหมดเลยก็ว่าได้ มีวิธีทำอยู่อย่างเดียว คือ วิปัสสนากรรมฐาน และสำนักปฏิบัติทั้งหลายเหล่านั้นก็จะตั้งชื่อให้สอดคล้องกับวิธีปฏิบัติว่า สำนักวิปัสสนากรรมฐาน และเรียกพระผู้สอนวิปัสสนากรรมฐานนั้นว่า พระวิปัสสนาจารย์ โดยในเมืองไทยทั้งหมดจะนิยมทำวิปัสสนากรรมฐานกันมากจนไม่เคยได้ยินวัดใดสอนสมถกรรมฐานเลย


    เหตุผลที่เป็นเช่นนี้เพราะ(พระวิปัสสนาจารย์)เกือบทั้งหมดให้เหตุผลว่าวิปัสสนาเป็นการรู้แจ้งแทงตลอดสามารถตัดกิเลสได้เป็นการสิ้นภพสิ้นชาติได้ ส่วนสมถกรรมฐานนั้นไม่สามารถตัดกิเลสได้เป็นเพียงการใช้สมาธิกดทับกิเลสไว้เท่านั้นเหมือนเอาหินทับหญ้าไว้เวลานำเอาหินออกหญ้าก็กลับงอกงามเหมือนเดิม ด้วยเหตุผลเหล่านี้พระวิปัสสนาจารย์ทั้งหลายจึงมุ่งสอนวิปัสสนากันมากเพื่อละกิเลสเพื่อนิพพานกันทั้งหมด


    เวลาสอนกรรมฐานวิปัสสนาจารย์จะเน้นหนักเสมอว่า อย่ากำหนดอย่างเดียวนะเดี๋ยวจะถูกสมถะไม่ใช่วิปัสสนา ต้องกำหนดรู้ทันขณะจิตกำหนดรูปกำหนดนามอย่าให้สติขาด ใช้สติเป็นเชือกดึงจิตใช้ปัญญาตัดกิเลสให้ขาดไป ๆ เกิดมาเท่าไรตัดให้ขาดไปเท่านั้นๆ ดังนี้


    สมถกรรมฐานซึ่งท่านจะเน้นเสมอว่า อย่าไปเล่นนะสมถะไปไม่ถึงไหนหรอก ตัดกิเลสไม่ขาด ไม่ถึงนิพพาน ไม่สิ้นภพสิ้นชาติ ยังอยู่ในวัฏฏสงสารต่อไป ไปได้สูงแค่พรหมโลกแล้วก็เวียนกลับมาอีก ส่วนวิปัสสนาทำให้กิเลสขาดนิพพานได้เป็นเป้าหมายของพระพุทธศาสนา ส่วนสมถะเป็นของพวกฤาษีเขาเล่นกัน อย่าไปเล่นเลย และทั่วไปจะปฏิเสธการทำสมาธิแบบสมถะนี้เป็นส่วนใหญ่


    ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ ตรัสว่าผู้ที่ไม่เคยฝึกจิตให้นิ่งบริสุทธิ์ได้ที่เสียก่อนจะไปเจริญวิปัสสนาโดยตรงเป็นอฐานะ แปลว่า เป็นไปไม่ได้ เหมือนคนตาดีนั่งมองน้ำขุ่นย่อมไม่เห็นวัตถุใต้น้ำ หรือเหมือนคนคิดจะสร้างตึกสัก ๑๐ ชั้น แต่คิดว่า ตัวเองจะอยู่ชั้นที่ ๑๐ ชั้นเดียว ดังนั้นจะสร้างเฉพาะชั้นที่ ๑๐ อย่างเดียวโดยไม่สร้างอีก ๙ ชั้น มาเป็นฐานให้เสียก่อนก็เป็นอฐานะเช่นกัน อาจจะเป็นเพราะเหตุนี้ก็ได้ที่เมืองไทยมีสำนักวิปัสสนากรรมฐานเต็มไปหมด พระวิปัสสนาจารย์ก็เดินกันเต็มเมือง แต่ผู้ที่ประกาศว่าบรรลุรู้แจ้งความจริงแล้วด้วยวิปัสสนาญาณจึงหาแทบไม่มีเลย ถ้าเป็นการลงทุนก็ขาดทั้งทุนขาดทั้งกำไร


    การปฏิบัติโดยมุ่งหวังเพื่อตัดกิเลสรู้เท่าทันกิเลสเป็นสำคัญโดยที่สภาพจิตของตนเองยังไม่มีพลังเข้มแข็งพอ จึงมีผลออกมาในลักษณะเช่นนี้ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องนี้จะแสดงพระพุทธพจน์ที่ตรัสแสดงเรื่องการเจริญวิปัสสนาโดยไม่ผ่านการฝึกจิตมาก่อนย่อมไม่อาจสำเร็จผลได้ ดังนี้



    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ห้วงน้ำที่ขุ่นมัว ไม่ใสสะอาด
    เป็นโคลนตม บุคคลผู้มีตาดี ยืนอยู่บนฝั่งมองไม่เห็นหอยโข่ง
    และหอยกาบบ้าง ก้อนกรวดและถ้วยกระเบื้องบ้าง ฝูงปลาที่
    ว่ายไปและหยุดอยู่ในห้วงน้ำนั้นบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร
    เพราะน้ำขุ่นมัว แม้ฉันใด ภิกษุรูปนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    เป็นไปไม่ได้เลยที่จักรู้จักประโยชน์ตน รู้ประโยชน์ผู้อื่น
    รู้ประโยชน์ทั้งสองหรือจักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะ(วิปัสส-
    นาญาณ)ที่ประเสริฐอันสามารถ อันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของ
    มนุษย์ด้วยจิตที่ขุ่นมัว (ข้อนี้เป็นอฐานะคือเป็นไปไม่ได้)
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตขุ่นมัว


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ห้วงน้ำใสที่ไม่ขุ่นมัวใสสะอาด
    บุคคลผู้มีตาดียืนอยู่บนฝั่งพึงมองเห็นหอยโข่งและหอยกาบบ้าง
    ก้อนกรวดและถ้วยกระเบื้องบ้าง ฝูงปลาที่ว่ายไปและหยุดอยู่
    ในห้วงน้ำนั้นบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะน้ำใสไม่ขุ่นมัว
    แม้ฉันใดภิกษุรูปนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นไปได้ที่จักรู้ประ-
    โยชน์ตน รู้ประโยชน์ผู้อื่น รู้ประโยชน์ทั้งสองหรือจักทำให้แจ้ง
    ซึ่งญาณทัสสนะ(วิปัสสนาญาณ)ที่ประเสริฐอันสามารถอันวิเศษ
    ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ด้วยจิตที่ไม่ขุ่นมัว (ข้อนี้เป็นฐานะ คือ เป็น
    ไปได้) ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตไม่ขุ่นมัว



    บัณฑิตกล่าวว่า ต้นจันทน์เป็นไม้ที่เลิศกว่าต้นไม้ทุกชนิด เพราะ
    เป็นของอ่อนและใช้งานได้ดี แม้ฉันใด เราไม่เห็นสิ่งอื่นแม้สักอย่าง
    ที่ได้เจริญทำให้มากแล้ว เป็นของอ่อนและควรแก่การใช้งานเหมือน
    จิตนี้ จิตที่ได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นของอ่อนและควรแก่การ
    ใช้งาน (อํ.เอก. ๒๐ /๔๕-๔๗/ ๘-๙)



    นอกจากนี้พระวิปัสสนาจารย์และผู้ปฏิบัติจำนวนมากได้ปฏิเสธการฝึกจิตด้วยวิธีสมถะ(วิธีฝึกให้จิตสงบ)นี้ในหลายลักษณะด้วยกัน ซึ่งในที่นี้ได้แบ่งลักษณะของการปฏิเสธออกเป็น ๔ ลักษณะ คือ <!--MsgFile=1-->



    ๑. ลักษณะที่บอกว่า วิปัสสนาทำให้ผู้ปฏิบัติเกิดปัญญารู้ทันกิเลสที่เกิดขึ้นแต่ละขณะแล้วตัดได้อย่างฉับพลัน กิเลสที่เกิดขึ้นมาในขณะใดผู้เจริญวิปัสสนาก็กำหนดตัดได้ในขณะนั้นๆ ไม่หลงไปตามกิเลสนั้น



    ส่วนสมถะ(เช่นการเพ่งกสิณ)นั้น ทำให้ผู้ปฏิบัติเกิดพลังสมาธิแล้วใช้สมาธินั้นกดทับกิเลสนิวรณ์ไว้เหมือนหินทับหญ้า เมื่อสมาธิอ่อนกำลังกิเลสก็จะกลับงอกงามเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมเป็นเท่าตัวตัดกิเลสไม่ขาด



    มีพระพุทธพจน์ในฌานสูตร ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสถึงการทำสมาธิแบบสมถะที่ทำให้ได้ฌาณสมาธิแล้วใช้ฌานนั้นกดทับนิวรณ์ไว้แล้วทำให้ปัญญาผุดขึ้นมาพิจารณาขันธ์ ๕ ของตนและผู้อื่นให้เห็นความเป็นไปต่างๆ จนสามารถเห็นความจริงแล้วนำไปสู่การสิ้นกิเลสตัณหาและอาสวะทั้งปวงได้ ถ้าหากยังไม่สามารถสิ้นกิเลสได้ในชาตินี้ก็จะสิ้นได้ในภพที่ไปเกิดใหม่ได้แน่นอน




    พระไตรปิฎกเล่ม ๒๓ ข้อ ๒๔๐ หน้า ๔๑๓ (ฌานสูตร) ได้กล่าวถึงฌานทั้งหลายว่า สามารถทำให้สิ้นกิเลสได้



    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าความสิ้นไป
    แห่งอาสวะทั้งหลายมีได้เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง
    ทุติยฌานบ้าง ตติยฌานบ้าง จตตุถฌานบ้าง อากาสา
    นัญจายตนะบ้าง วิญญานัญจายตนะบ้าง อากิญจัญจา
    ยตนะบ้าง เนวสัญญานาสัญญายตนะบ้าง


    ก็ข้อที่เรากล่าวนั้น เราอาศัยอะไรกล่าวไว้
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ประพฤติ
    ตนสงบจากความกำหนัดทั้งหลายแล้ว บรรลุถึงปฐมฌาน
    เธอย่อมพิจารณาเห็นขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
    วิญญาณอันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยมีความเปลี่ยน
    แปลงอยู่ตลอดเวลา(ไม่เที่ยง) มีความเป็นทุกข์ เป็นโรค
    เป็นดังหัวฝีเป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น
    เป็นของชำรุดว่างเปล่า มิใช่ตัวตนเป็นอมตะ(อนัตตา)


    เธอย่อมทำจิตหยุดนิ่งสงบอยู่กับการพิจารณาขันธ์ ๕
    เหล่านั้น ครั้นนั้น(อมตธาตุ)ว่า การดับขันธ์ ๕ นั่นเป็นที่สงบ
    ประณีต คือเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สละ
    กิเลสทั้งปวงทิ้ง เป็นความสิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความสิ้น
    ความกำหนัดเป็นที่ดับสนิท (นิพพาน)


    เธออยู่ในภาวะปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้น
    ไปแห่งอาสวะกิเลสทั้งหลาย ถ้ายังไม่อาจทำอาสวะ
    ทั้งหลายให้สิ้นทั้งหมดได้ เธอจะได้ไปเกิดเป็นพรหม
    (อุปปาติกะ) แล้วจักดับสนิท(นิพพาน)ได้ เพราะสังโยชน์
    เบื้องต่ำสิ้นไปแล้ว ไม่กลับมาจากโลกนั้นอีก ด้วยความ
    ยินดีเพลิดเพลินในปฐมฌานนั้นๆ


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนักยิงธนู
    หรือผู้ช่วยนักยิงธนูเพียรพยายามฝึกยิงหุ่นฟางหรือ
    ก้อนดิน(จนชำนาญ) ต่อมาเป็นผู้ยิงได้ไกล
    ยิงไม่พลาดและยิงทำลายสิ่งใหญ่ๆ ได้แม้ฉันใด


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือน
    กันนั่นเอง สงบระงับจากกามทั้งหลายแล้ว...บรรลุถึง
    ปฐมฌาน เธอย่อมพิจารณาดูขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา
    สัญญา สังขาร วิญญาณ(ของตนเอง) อันมีอยู่ในขณะ
    ปฐมฌานนั้น โดยเป็นของที่ไม่เที่ยง (เปลี่ยนแปลง)
    เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตน


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ความสิ้นไป
    แห่งอาสวะทั้งหลายมีได้เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง
    ดังนี้นั้นเราอาศัยข้อนี้กล่าวไว้


    ก็ข้อที่เรากล่าวว่าความสิ้นไปแห่งอาสวะ
    ทั้งหลายมีได้ เพราะอาศัยทุติยฌานบ้าง ฯลฯ เพราะ
    อาศัยตติยฌานบ้าง ฯลฯ เพราะอาศัยตติยฌานบ้าง ฯลฯ
    เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง ฯลฯ เพราะอาศัยอากาสา-
    นัญจายตนะบ้าง ฯลฯเพราะอาศัยวิญญานัญจายตนะ
    บ้าง ฯลฯ เพราะอาศัยอากิญจัญจายตนะบ้าง ดังนี้นั้น
    เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2008
  14. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ถูกแล้วคุณ upanya ที่คำถามที่ถามว่า ใครสำเร็จบ้าง เป็นคำถามที่ไร้สาระที่สุด

    เป็นคำถามของคนที่จนปัญญาธรรม จะยกขึ้นถามทุกครั้ง เมื่อจนปัญญา เพราะมัน
    มีข้อเงื่อนไขง่ายๆ แม้แต่พระอรหันต์เองก็กล่าววาจารับรองตัวเองไม่ได้ แม้แต่การ
    กล่าวรับรองคนโน้นคนนี้ก็ไม่ได้ มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่กล่าวได้

    ดังนั้นคำถามที่ว่า ใครบรรลุแค่ไหน สำเร็จหรือยัง จึงเป็นคำถามที่ต่ำที่สุดที่จะงัดออก
    มาใช้

    สิ่งที่ต้องดู คือ ดูปฏิปทา

    การดูปฏิบทาของพระ ก็ดูเป็นสองอย่าง ไม่ต่างจากการศึกษาทั่วไป คือ ดูปริยัติ
    และ ดูปฏิบัติ

    ดู ปริยัติ ก็ดูว่า สามารถกล่าวสนับสนุนธรรมะทุกสายได้หรือไม่ หรือทำได้แค่สายเดียว

    ดู ปฏิบัติ ก็ดูว่า สอนได้ทุกสายหรือไม่ หรือว่าสอนได้แค่สายเดียว

    เพราะการเข้าถึงธรรมนั้น ย่อมมีที่สุด การลงมาสอนในสายต่างๆเป็นเพียงการแตกราย
    ละเอียดจากสาภวะที่เป็นที่สุด หากผู้ใดมีคุณธรรมอยู่ตรงไหน ย่อมแจกแจงลงมาจาก
    ตำแหน่งที่อยู่ได้ หากทำไม่ได้ ก็ต้องดูว่า นั้นแหละยังไม่สุด
     
  15. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    จริงอยู่ แม้อย่างไร ผู้สอนผู้ถึงที่สุดย่อมสอนในทางของตน เหตุเพราะยังคงอาสวะไว้
    ตามกุศลจิตกรุณาเจตสิกจะผลักดันออกมา หากไม่มีกรุณาเจตสิกแล้ว ผู้ถึงธรรมผู้นั้น
    ย่อมไม่อาจเจริญกุศลได้ ย่อมอยู่อย่างเรียบง่าย

    คราวนี้ มาดูกรุณาเจตสิก ดวงจิตดวงนี้ ไม่มีทางไหนเลยที่จะมีมูลจิตตามมาจะเป็นฝ่าย
    เอา ฝ่ายสะสม เป็นฝ่ายนำมาซึ่งทรัพย์ จะมีแต่ธรรมทานที่ตรงแท้ ที่พุ่งออกโดยการ
    กรุณาต่อผู้ซักถาม ผู้มาปฏิบัติ หากมีจริตตรงกันแล้ว ย่อมไม่แปลกที่จะได้รับการถ่าย
    ทอดตามสายนั้น แต่ทว่า หากจริตไม่ตรง ย่อมสอนไปในทางจริตของผู้มาถามได้บ้าง ไม่ใช่
    ยัดสายปฏิบัติของตนเพียงถ่ายเดียว นั้นย่อมไม่ใช่ เพราะการฝึกที่ไม่ถูกจริต ย่อมไม่
    สำเร็จ

    แต่ทว่า ธรรมะของพระพุทธองค์นั้นมีหลายสาย พระผู้รู้ย่อมต้องชี้ได้ทุกสาย ไม่ใช่ชี้
    ไม่ได้แล้ว ก็กล่าวว่า ไปทำทานกันมากๆไว้ละกัน
     
  16. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ในธรรมกายในบางสำนัก ไม่ได้เน้นลงไปที่ทาน สำหรับผู้ที่ไม่สามารถเจริญกรรมฐาน
    แบบธรรมกายได้ ปรากกฏว่า เน้นไปทางพุทธประวัติไว้เป็นเบื้องต้น คือ เมื่อไม่รู้จะ
    สอนอะไรได้ ก็ข้อปลูกศรัทธามากๆ ไว้ก่อน พาไปดูสังเวชนียสถาณ ถาวรวัตถุ ดีหน่อย
    ที่เป็นการพาไปดู ไม่ใช่พาไปสร้าง

    ทั้งที่จริงธรรมะที่เรียบง่าย ก็มีให้เจริญกรรมฐานได้

    มันจึงเป็นเรื่องสูญเปล่า ที่จะพาไปดู พาไปทำทาน แม้ว่าเบื้องหลังจะดีในแง่มีศาสนากิจ

    แต่กิจเหล่านั้นเป็นไปเพื่อกิจวัตรของบริษัท ไม่ใช่การสถิตย์ธรรมที่แท้

    การเกิดขึ้นของผู้ศรัธทา หรือ ผู้ทำทานนับหมื่นนับแสน เทียบไม่ได้กับการเกิดเนื้อนาบุญ
    เพียงคนเดียว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2008
  17. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    การเห็นกับวิปัสสนากรรมฐาน



    ถ้าพิจารณาด้วยหลักการทางภาษาศาสตร์ เมื่อวิปัสสนาแปลว่า “เห็นแจ้ง” ก็หมายความว่า วิปัสสนากรรมฐานต้องมีการเห็นเป็นหลักสำคัญเลย ถ้าไม่เป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าก็ต้องทรงใช้ศัพท์อื่นไปแล้ว นี่ว่ากันตามหลักการของภาษาล้วนๆ นอกจากชื่อจะบ่งแสดงให้เห็นว่า วิปัสสนาต้องมีการเห็นเป็นองค์ประกอบสำคัญ ยังมีพระสูตรเป็นจำนวนมากที่สนับสนุนว่า วิปัสสนาต้องมีการเห็น




    ธัมมจักรกัปปวัตนสูตรเป็นพระสูตรแรกที่พระพุทธเจ้าทรงเลือกมาสอนปัจจวัคคีย์ และน่าจะเป็นพระสูตรที่สำคัญมาก เพราะ พระพุทธเจ้าทรงประกาศว่า พระองค์เป็นพระสัมมา สัมพุทธเจ้าแล้ว ด้วยวิธีการใด ในพระสูตรนี้พระองค์ได้ทรงกล่าวกับปัจจวัคคีย์ว่า ไม่ควรทรมาณ ตนเองให้ลำบาก และหมกมุ่นอยู่ในกาม เพราะไม่เป็นประโยชน์ ต่อจากนั้นพระองค์ทรงกล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า พระองค์มีดวงตาเกิดขึ้นแล้ว ญาณ/ความรู้จึงเกิดตามขึ้นมา ดังนี้




    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น นั่นตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นไฉน?


    -->> จะเห็นได้ว่า พระองค์ตรัสไว้อย่างชัดเจนว่า พระองค์ทรงทำดวงตาให้เกิด หลังจากนั้นมาจึงทรงทำญาน/ความรู้ให้เกิด ทั้งดวงตาและญาน/ความรู้นั้นจะทำให้บรรลุพระนิพพานได้ หลังจากนั้น พระองค์ทรงอธิบายต่อถึงเรื่องอริยสัจ 4 ซึ่งรวมถึงมรรค 8 ด้วย หลังจากพระองค์ตรัสว่า



    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล เราก็ได้กำหนดรู้แล้ว.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ



    -->> พระองค์ตรัสข้อความดังกล่าว 3 รอบ รอบแรกทรงกล่าวว่า พระองค์รู้จักอริสัจ 4 รอบที่สองทรงกล่าวว่า จะทำอะไรกับอริสัจ 4 และรอบที่สาม ทรงกล่าวว่า ได้ทำอะไรไปแล้วกับอริยสัจ 4 ซึ่งเมื่อกระทำแล้วพระองค์จึงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ข้อความในส่วนนี้ก็เช่นเดียวกัน พระองค์ตรัสว่า ดวงตาของพระองค์เกิดขึ้น ลำดับญาณ/ความรู้จึงเกิดขึ้น ต่อจากนั้น ปัญญา วิทยา/วิชา และแสงสว่างจึงเกิดขึ้นมาตามลำดับ


    ต่อจากนั้นมา พระสูตรนี้กล่าวว่า
    ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรมปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา.



    -->> จะเห็นได้ว่า ในขณะที่พระพุทธเจ้าตรัสธัมมจักรกัปปวัตรสูตรอยู่นั้น ปัจจวัคคีย์ก็ปฏิบัติธรรมตามไปด้วย เมื่อใจสงบเป็นหนึ่งเดียว/เอกัคคตารมณ์แล้ว พระโกณฑัญญะจึงมีดวงตาเกิดขึ้น และเห็น “ธรรม” ซึ่งผ่องใส ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เมื่อพระโกณฑัญญะเห็นธรรมแล้ว จึงกล่าวขอบรรพชาอุปสมบท



    ครั้งนั้น ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้วได้รู้ธรรม แจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบท ในสำนักพระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าข้า.

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วตรัสต่อไปว่าธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุนั้น.



    -->> จากธัมมจักกัปปวัฒนสูตรข้างต้น คำว่าดวงตานั้นต้องไม่ใช่ดวงตาที่เป็นตาเนื้อของพระพุทธเจ้าและปัจจวัคคีย์ เพราะ ตาเนื้อนั้นมนุษย์ทุกคนต้องมีมาตั้งแต่เกิดแล้ว แสดงว่า ดวงตาในพระสูตรนี้ต้องเป็นดวงตาชนิดอื่น <!--MsgFile=0-->
     
  18. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ผิดแล้ว ในสติปัฏฐานสูตร คำกริยาของประโยคมีเพียงคำเดียว คือ รู้

    คำว่าเห็น เห็นนิมิต เห็นความว่าง เป็นเพียงกริยาในประโยคย่อยที่บรรยาย
    บริบทว่าขณะนั้นเกิดอะไรขึ้นเป็นปัจจุบัน อะไรเกิดขึ้นเป็นปัจจุบัน ให้รู้สึก
    ให้รู้ไปตามนั้น เป็นการทำอนุสติ รู้ตาม เพื่อให้รู้ทันจนเป็นปัจจุบัน จนเป็น
    กลาง และเห็นการดับไปของการเห็นใดๆ ด้วยการรู้สึกว่ามันดับไป

    การเห็นธรรมใดๆ แม้แต่เห็นนิมิต ยังเป็นการเห็นในขั้นสมสนญาณ ยังไม่ใช่
    อุทัพยญาณ ซึ่งข้อความตรงนี้ ก็มีรจนาอยู่ในหนังสือการแก้กรรมฐานที่
    เคยกล่าวถึงไปแล้ว โดยผู้กล่าวรับรองตรงสติปัฏฐานสูตร ณ จุดนี้ คือผู้ใด
    ผู้เป็นศิษย์ย่อมอ่านผ่านตา แต่ไม่เคยน้อมรับคำสอนนั้น เหตุเพราะเอา
    เหตุหนึ่งยกไว้มาบังธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2008
  19. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    ดูได้จากพระอรหันตธาตุไงครับท่าน หุๆๆๆ
     
  20. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    คำสอนเกี่ยวกับเรื่อง “ธรรมกาย” ทั้งๆ มีปรากฏหลักฐานทั้งในพระไตรปิฎก และคัมภีร์สำคัญๆ ในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทของเราหลายแห่ง กล่าวคือ


    ในพระไตรปิฎก ๔ แห่ง


    ในอรรถกถา ๒๘ แห่ง

    ในฎีกา ๗ แห่ง

    ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ๒ แห่ง

    ในวิสุทธิมรรคมหาฎีกา ๓ แห่ง

    ในคัมภีร์มิลินทปัญหา ๑ แห่ง

    ในหนังสือปฐมสมโพธิกถา ๑ แห่ง

    ในหนังสือพระสมถวิปัสสนาแบบโบราณ ๑ แห่ง



    นอกจากนี้ยังพบที่หลักศิลาจารึก ที่พบในประเทศไทยอีก ๓ แห่ง


    แต่ยังมีบางท่านคิดว่า “ธรรมกาย” เป็นลัทธิใหม่ ดังนั้นเราจึงควรมาศึกษาทำความเข้าใจเรื่อง “ธรรมกาย” กันให้ถูกต้องจากเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่หาได้ในปัจจุบัน
     

แชร์หน้านี้

Loading...