วิชชา ธรรมกาย ไม่ได้มาจาก วัดพระธรรมกาย

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย jack5487, 28 มิถุนายน 2008.

  1. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ที่กล่าวมาทั้งหมด ไม่ใช่เพื่อยับยั้งการฝึกของท่าน

    แต่เพื่อให้ลงรอยกับพระไตรปิฏก กับธรรมะของพระพุทธองค์เท่านั้น
     
  2. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    คุณมีความรู้อะไรไปตั้งกระทู้ใหม่แสดงเอาเองก็ได้ ไม่ต้องมาปะทะกับความเห็นกับผมก็ได้ แต่ที่คุณพยายามเข้ามาเสนอความเห็นในที่นี้เพราะต้องการให้เขาเชื่อตามคุณว่าคุณไม่เห็นด้วยกับผู้ฝึกธรรมกายอย่างไร ผมก็ไม่ว่าอะไรเพียงแต่ผมยกแสดงข้อมูลให้พิจารณาดูจากฝ่ายผู้ที่ฝึกภาคปฏิบัติจากสำนักวัดปากน้ำ ไม่ใช่เรื่องอคติต่อสำนักใดสำนักหนึ่งแล้วเอามาพูดว่าแอบว่าสีอะไรนะครับ
     
  3. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    กายในกาย ไม่เคยหาย การดูลมก็คือการดูกายในกาย

    ซึ่งไปสอดคล้องกับการกำหนดลูกแก้วลงฐาน แต่จริงแล้ว
    การกำหนดฐานรู้ลม หรือ กายในกาย ก็อยู่ในอานาปานสติ ซึ่ง
    การกำหนดฐานดังกล่าวมีชื่อวิชาว่า อานาปานสติ
     
  4. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ถ้าอย่างนั้นผมจะยกพระไตรปิฎกให้ลงรอยกัน ขอให้อ่านและทำใจเป็นกลางวางอคติลงก่อน แล้วค่อยๆ พิจารณากันไป ทำไมจะไม่ลงกับพระไตรปิฎกล่ะครับ ที่ผมแสดงข้อมูลมานั้นผมยกพระไตรปิฎกมาให้ดูแล้ว จะเอาอีกก็ได้นะครับ
     
  5. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    การเจริญภาวนาจำเป็นจะต้องผ่านนิมิตหรือไม่

    ก่อนที่จะได้กล่าวถึงปัญหาเรื่องนิมิต ขอทำความเข้าใจกันเสียก่อนว่า
     
  6. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ---->>> อย่างไรก็ตาม นิมิตที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการเกิดของสมาธินั้น ไม่ใช่นิมิตในความหมายที่กล่าวข้างต้น แต่เป็นนิมิตที่หมายถึงภาพที่เห็นในใจ ซึ่งมีความหมายกว้างมาก กล่าวคือ เป็นภาวะจิตหนึ่งที่ไม่ตื่นตัวเต็มที่ คนที่อยู่ในภาวะจิตเช่นนี้จึงอาจจะเห็นภาพในใจซึ่งเกิดจากการปรุงแต่งของจิตได้ หรือไม่ก็เป็นภาพที่เกิดจากสัญญา (สัญญาในที่นี้หมายถึงภาพของสิ่งเก่าๆ ที่จิตเคยกำหนดหมายจำไว้) คือ อาจเป็นภาพที่เกิดจากสัญญาเก่าหรือภาพที่เกิดจากการปรุงแต่งของจิต ซึ่งโดยทั่วไปจะได้ประสบมากที่สุด ก็คือในภาวะหลับที่ไม่สนิท จะมีนิมิตปรากฏขึ้นมาที่เรียกเต็มๆ ว่า สุบินนิมิต แปลว่า ภาพในฝัน สุบินนิมิตนี้จะเกิดในลักษณะที่เรียกว่าตื่นอยู่ก็ไม่ใช่ หลับอยู่ก็ไม่เชิง หรือจะเรียกว่า ครึ่งหลับครึ่งตื่นก็ได้ กล่าวคือเป็นภาวะจิตที่ไม่ถึงกับหลับ แต่เป็นภาวะอีกอย่างหนึ่งที่ไม่อยู่ในภาวะตื่นเต็มที่

    คนที่ฝึกสมาธิก็สามารถจะเกิดนิมิตดังกล่าวนี้ได้เช่นกัน คือเกิดภาพในใจขึ้น ถ้าหากเป็นภาพนิมิตที่เป็นปกติธรรมดา ก็คือภาพที่เกิดจากสิ่งที่ตนกำหนด เพื่อทำจิตให้เป็นสมาธินั้น (คือเป็นบริกรรมนิมิต อุคคหนิมิต หรือปฏิภาคนิมิต อย่างใดอย่างหนึ่งที่กล่าวข้างต้น) หรือเกิดจากการที่ตนเอาจิตไปจดจ่อกับมันกลายเป็นสัญญากำหนดหมายจำเกิดเป็นนิมิต เป็นภาพในใจ แต่ทีนี้มันไม่ใช่เท่านั้น คือมันมีการปรุงแต่งต่อ หรือว่าจิตไม่ได้อยู่กับสิ่งที่กำหนดนั้น เกิดภาพอื่นเข้ามา เช่น ภาพที่ตนไปพบไปเห็นไว้เป็นความจำเก่าๆ ผุดขึ้นมาในจิตใจ ลักษณะเช่นนี้แสดงว่า ขณะนี้จิตเริ่มจะเขว คือ จิตไม่จดจ่ออยู่กับอารมณ์ที่กำหนดหรืออารมณ์กรรมฐาน แต่กลับมีภาพของสิ่งอื่นเกิดขึ้นมาเป็นนิมิต เรียกว่า --> นิมิตนอกตัวกรรมฐาน <-- จึงอาจเห็นภาพต่างๆ ภาพเหล่านี้ก็ถือได้ว่าเป็นปัญหาและอุปสรรคในการฝึกสมาธิ

    ภาพนิมิตเหล่านี้อาจเป็นภาพสวยๆ งามๆ เป็นแสงสีอะไรต่างๆ ที่ถูกใจ พอใจ ชื่นชม อาจจะเป็นสีที่สดใสสวยงาม ชวนให้เพลิดเพลินเจริญใจ ติดใจ หรือเป็นภาพของสถานที่ บุคคล สิ่งที่น่ารักน่าชมก็ได้ จิตใจก็จะไปติดเพลินอยู่กับสิ่งเหล่านั้น เมื่อจิตใจไปติดเพลินก็คือการที่ออกจากการฝึกสมาธิแล้ว จิตเวลานั้นก็จะไม่เป็นสมาธิ จะไปหลงเพลิดเพลินอยู่กับภาพนิมิตนั้นในลักษณะนี้จึงเรียกว่า ปัญหา เป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งของการฝึกสมาธิ

    ในทางตรงข้าม ถ้าภาพที่เห็นนั้น ไม่ได้เป็นภาพที่สวยงาม แต่กลับเป็นภาพของสิ่งน่าเกลียดน่ากลัว เพราะว่าตนเคยมีความทรงจำอะไรบางอย่างหรือจิตผูกพันกับอะไรบางอย่างที่ตนปรุงแต่ง เป็นภาพที่น่ากลัว เป็นต้นว่าเห็นเป็นงูจะมากัด เป็นภาพผีสางอะไรต่างๆ สุดแล้วแต่จะเกิดขึ้นก็ทำให้ตกใจด้วยคิดว่าเป็นความจริง ถ้าร้ายแรงก็อาจจะทำให้สติวิปลาสหรือเสียจริตไปก็ได้ นี้ก็เป็นปัญหาแก่การฝึกสมาธิ --->>> เพราะฉะนั้นจะต้องรู้เท่าทันว่า สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงภาพนิมิตและหันกลับมากำหนดสิ่งที่เป็นอารมณ์กรรมฐานต่อไป... <!--MsgFile=6-->
     
  7. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    กายเห็นจิตไหลไปตามแขนขา ก็คือ เห็นกายในกาย อีกกรณีหนึ่ง

    ทั้งหมดล้วนไปเห็นได้ แม้แต่ผู้ยกวิปัสสนาล้วนๆ เพียงแต่จะตาม
    รู้ หรือถลำไปรู้ตามนั้น หรือ ไปยกมาเป็นองค์ฌาณหรือไม่ แต่โดย
    หลักการแล้ว จะไม่ยกขึ้นมา จะรู้แล้วปล่อย เพื่อเรียนรู้กายในกาย
    ที่ละเอียดกว่าที่อยู่ในขั้นถัดไป หลังจากการวางรู้ ลม หรือ การไหล
    ของจิต ก็จะเริ่มเห็นจิต และเห็นฐานของจิต
     
  8. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    การเจริญอานาปานัสสติกรรมฐาน มีนิมิต ๓ อย่าง คือ


    ๑. บริกรรมนิมิต ได้แก่ลมหายใจเข้าออก

    ๒. อุคคหนิมิต ได้แก่ ลมหายใจเข้าออกปรากฏดุจสายน้ำ เปลวควัน ปุยสำลี ไม้ค้ำ พวงดอกไม้ ดอกบัว ล้อรถ ลมต้าน

    ๓. ปฏิภาคนิมิต ได้แก่ ลมหายใจเข้าออกปรากฏดุจดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ดวงแก้วมณี ดวงแก้วมุกดา


    การตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออกในขณะที่มีบริกรรมนิมิต อุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต อย่างใดอย่างหนึ่งมีสมาธิอยู่ ๓ อย่าง คือ


    ๑. บริกรรมภาวนาสมาธิ ได้แก่สมาธิในขณะที่มีบริกรรมนิมิตและอุคคหนิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอารมณ์อยู่

    ๒. อุปจารภาวนาสมาธิ ได้แก่ การตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออกที่มีปฏิภาคนิมิตเป็นอารมณ์ในระหว่างที่ยังไม่เข้าถึงรูปฌาณ

    ๓. อัปปนาภาวนาสมาธิ ได้แก่ การตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออกที่มีปฏิภาคนิมิตเป็นอารมณ์ที่เข้าถึงรูปฌาณแล้ว


    ดังนั้น ไม่ว่าจะเจริญอานาปานัสสติ หรือแนวกสิณก็ย่อมเป็นเรื่องของการใช้บริกรรมนิมิตในการเจริญสมาธิเบื้องต้นทั้งนั้น และได้ผลปฏิบัติในขั้นนิมิต ๓ และภาวนา ๓ ได้เหมือนกัน... <!--MsgFile=3-->

     
  9. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    สังเกตประโยคนี้เถอะครับ ว่า นิมิต ปรากฏหรือไม่ปรากฏ ก็เห็นชัดว่า
    ปรากฏ มีนิมิตปรากฏ และต้องทำให้นิมิตนั้นปรากฏ แต่นิมิตนั้นไม่
    ต้องถลำลงไปเห็นว่าเป็นรูปอะไร คือ ไม่ดึงสังขาร สัญญามาใช้ เมื่อ
    รู้แล้ววาง นิมิตนั้นก็ผ่านไป -- เนี่ยะ ไม่ได้บอกสักคำว่า ไม่ให้มีนิมิต
    เพียงแต่หากมีนิมิตเกิด ให้รู้ทัน พอรู้ทัน มันช่วยไม่ได้ เพราะโดยหลัก
    แล้วมันจะดับไปเอง ไม่ใช่บอกให้ดับนิมิต แต่จิตเขาปิดการรู้ของเขา
    เอง ทำให้เห็นอนัตตาในจิตที่เนื่องกับนิมิต
     
  10. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    การพิจารณาสติปัฏฐาน ๔ ณ ภายใน และ ณ ภายนอก


    การมีสติพิจารณา เห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต และ เห็นธรรมในธรรม ณ ภายใน และ ณ ภายนอก





    ๑. การมีสติพิจารณา ณ ภายใน


    คือ เห็นในเบื้องต้น (ส่วนหยาบ) พิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม ของตน ให้เห็นตามธรรมชาติที่เป็นจริงก่อน เช่นว่า พิจารณาเห็นส่วนต่าง ๆ ของร่างกายของตัวเราเอง ว่า ไม่งดงาม เป็นแต่ปฏิกูลโสโครก น่าเกลียด หรือเป็นที่ตั้งแห่งปฏิกูล โสโครก น่าเกลียด ทั้งสิ้น และพิจารณา เห็นความเกิดขึ้น เสื่อมไป คือเห็นว่า ไม่เที่ยง (อนิจฺจํ) เป็นทุกข์ (ทุกขํ) เพราะแปรปรวนไป และ เป็นของไม่ใช่ตัวตนของใครที่แท้จริง (อนตฺตา)



    ในขั้นละเอียด พิจารณาเห็นกายในกาย และ เวทนา จิต ธรรม ของกายในกาย ณ ภาย ในต่อ ๆ ไปจนสุดละเอียด ที่เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยที่ปรุงแต่งด้วย ปุญญาภิสังขาร
    (ปรุงแต่งด้วยบุญกุศล) อเนญชาภิสังขาร (ปรุงแต่งด้วยฌานสมาบัติที่ไม่หวั่นไหว ได้แก่ จตุตถฌาน ปัญจมฌาน และ อรูปฌาน เป็นต้น ) อปุญญาภิสังขาร (ปรุงแต่งด้วยบาปอกุศล) ตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรมและที่เป็นโลกุตตรธรรม (พ้นโลก) พ้นความปรุงแต่ง ได้แก่




    ก) กรณีปุญญาภิสังขาร และ อเนญชาภิสังขาร

    ก็จะพิจารณาเห็นกายในกายที่ปรุงแต่งด้วยบุญกุศล คุณความดี ที่ได้ประกอบทานกุศล ศีลกุศล และภาวนากุศล


    -->> ในระดับมนุษยธรรม ซึ่งจะปรากฏกายมนุษย์ละเอียด และ เวทนา จิต และ ธรรม ที่บริสุทธิ์ ผ่องใส เป็นสุคติภพ



    -->> ในระดับเทวธรรม ก็จะปรากฏ กายทิพย์ ทิพย์ละเอียด และ เวทนา จิต ธรรม ที่เป็น สุขวเทนา ที่ละเอียด ประณีต และบริสุทธิ์ ผ่องใส ยิ่งไปกว่ากายมนุษย์



    -->> ในระดับพรหมธรรม
    และรูปฌาน ก็จะปรากฏกายรูปพรหม รูปพรหมละเอียด และ เวทนา จิต ธรรม ที่เป็นสุขเวทนา ที่ละเอียด ประณีต บริสุทธิ์ ผ่องใส และมีรัศมีสว่าง ยิ่งกว่ากายทิพย์



    -->> ในระดับอรูปฌาน
    เป็น อเนญชาภิสังขาร ก็จะปรากฏ กายอรูปพรหม อรูปพรหม อรูปพรหมละเอียด และ เวทนา จิต ธรรม ที่เป็นสุขเวทนา ที่ละเอียด ประณีต บริสุทธิ์ ผ่องใส และมีรัศมีสว่างยิ่งกว่ากายรูปพรหม



    และเห็นว่า
    แม้เป็นกายในกาย ที่ประกอบด้วยสุขเวทนาที่ละเอียด ประณีต ด้วยจิตที่บริสุทธิ์ผ่องใสในระดับโลกิยธรรม เป็นสุคติภพ ก็ยังต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งไตรลักษณ์ หรือมีสามัญญลักษณะ คือไม่เที่ยง (อนิจฺจํ) เป็นทุกข์ (ทุกขํ) เพราะแปรปรวนไป (วิปริณามธมฺมโต) และไม่ใช่ ตัวตนที่แท้จริงของใคร ๆ (อนตฺตา) เพราะไม่อยู่ในอำนาจ (อวสวตฺตนโต) ของใคร ๆ ว่า จงอย่าแก่ (มา ชีรนฺตุ) จงอย่าตาย (มา มียนฺตุ)





    ข) กรณีอปุญญาภิสังขาร (ปรุงแต่งด้วยบาปอกุศล)


    ก็จะพิจารณาเห็นกายในกายภายใน
    ที่ปรุงแต่งด้วยบาปอกุศลคือความชั่ว ได้แก่ กายทุจจริต วจีทุจริต และ มโนทุจจริต ปรากฏเป็นกายมนุษย์ละเอียดที่ซ่อมซ่อ เศร้าหมอง ด้วยทุกขเวทนา ด้วยจิตใจ (เห็น-จำ-คิด-รู้) ที่มัวหมอง และดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายก็ขุ่นมัวเป็นทุคติภพไป


    และเห็นว่า ต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งไตรลักษณะ หรือ มีสามัญลักษณะ คือ ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา อีกเช่นกัน





    ค) กรณีเป็นโลกุตตรธรรม (พ้นโลก) พ้นความปรุงแต่ง

    ก็จะเห็นเป็นกายธรรม
    คือ “ธรรมกาย” ปรากฏ ตั้งแต่ธรรมกายโคตรภูหยาบ-ละเอียดธรรมกายพระโสดาหยาบ - ละเอียด ธรรมกายพระสกิทาคาหยาบ -ละเอียด, ธรรมกายพระอนาคา หยาบ-ละเอียด และธรรมกายพระอรหัตหยาบ - ละเอียด ซึ่งถ้ายังละสัญโญชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลก] อย่างน้อย ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฏา และ สีลัพพตปรามาส ยังไม่ได้ ก็ยังไม่นับว่าได้เข้าถึง-รู้-เห็น และเป็น ธรรมกายที่มั่นคงเที่ยงแท้ ถาวร คือ ยังอาจเห็น ๆ หาย ๆ ได้



    ต่อเมื่อละสัญโญชน์ได้แล้วเพียงไร ก็จึงเป็นธรรมกายมรรค-ผล-นิพพาน ตามระดับภูมิธรรม ที่ปฏิบัติได้เพียงนั้น







    ๒. การมีสติพิจารณา ณ ภายนอก


    คือ ในเบื้องต้น (ขั้นหยาบ) พิจารณากาย เวทนา จิต และ ธรรม ของคนอื่น ให้เห็นตามธรรมชาติที่เป็นจริง เทียบเคียงกันกับของเรา ว่า ของเรามีสภาวะตามธรรมชาติเป็นเช่นไร ของผู้อื่นก็เป็นเช่นนั้น เป็นต้นว่า พิจารณาเห็นส่วนต่าง ๆของร่างกายของเราเป็นแต่ปฏิกูล หรือ เป็นที่ตั้งแห่งปฏิกูล โสโครก น่าเกลียด อย่างไร ของผู้อื่นก็เป็นอย่างนั้น


    กาย เวทนา จิต ธรรม ของเราเอง เป็นสังขารธรรมที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง มีความ เกิด แก่ เจ็บ และตายเป็นธรรมดา มีสามัญญลักษณะ คือ เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา เช่นไร ของผู้อื่นก็เป็นเช่นนั้น


    ในขั้นละเอียด เมื่อพิจารณา เห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และ ธรรมในธรรมทั้งของตนเอง และ ของผู้อื่น จากกายสุดหยาบ คือ กายมนุษย์ ไปสุดละเอียด คือถึงกายธรรมเพียงใด ส่วนที่หยาบนั่นแหละเป็น ณ ภายนอก ส่วนที่พิจารณา เห็นละเอียด เข้าไป เป็น ณ ภายใน ต่อๆ ไป จนสุดละเอียด เป็นต้นว่า


    เมื่อ
    ปฏิบัติได้เข้าถึง-รู้ – เห็น และ เป็น กายมนุษย์ละเอียด กาย เวทนา จิต และ ธรรม ของกายมนุษย์ หยาบ เป็น ณ ภายนอก ของกายมนุษย์ละเอียดเป็น ณ ภายใน


    เมื่อปฏิบัติถึงกายทิพย์ กาย เวทนา จิต ธรรม ของกายมนุษย์ละเอียด เป็น ณ ภายนอกของกายทิพย์เป็น ณ ภายใน


    ต่อๆ ไปจนสุดละเอียดอย่างนี้ เมื่อเข้าถึงกาย เวทนา จิต และธรรม ที่ละเอียด ๆ เข้าไปนั้น เวทนาของกายหยาบก็เป็นทุกขเวทนา ของกายละเอียดก็เป็นสุขเวทนา ต่อๆ ไปเป็นลำดับ จนถึงธรรมกาย ซึ่งเป็นกายพ้นโลก ก็เป็นอุเบกขาเวทนาไป
    <!--MsgFile=1-->

     
  11. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    อธิปัญญาสิกขา: วิปัสสนากัมมัฏฐาน/ภาวนา


    ปัญญาสิกขา คือ การเจริญปัญญาอันเห็นแจ้งรู้แจ้ง ในสภาวะของสังขารที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง (สังขตธรรม) และในสภาวะของวิสังขารที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง (อสังขตธรรม) คือ พระนิพพาน และอริยสัจ ๔ ตามธรรมชาติที่เป็นจริง



    ที่มาของปัญญา

    ความจริงการเจริญปัญญานั้น ย่อมเจริญได้ด้วยการได้ยิน ได้ฟังพระธรรมเทศนาหรือธรรมบรรยาย และด้วยการอ่านคัมภีร์พระธรรมต่างๆ อันมีคัมภีร์พระไตรปิฎกซึ่งถือว่าเป็นคัมภีร์หลัก และคัมภีร์พระอรรถกถาซึ่งอธิบายพระพุทธพจน์หรือพระธรรมที่พระอริยเจ้าได้แสดงไว้ดีแล้วเป็นต้น ชื่อว่า สุตมยปัญญา” แล้วคิดไตร่ตรองด้วยความรอบคอบด้วยตนเอง ชื่อว่า “จิตตามยปัญญา” ซึ่งเป็นปัญญาที่รู้ด้วยธรรมชาติที่ทำหน้าที่รู้ คือ สัญญาและวิญญาณ



    ปัญญาอันเห็นแจ้งรู้แจ้ง ในสภาวะของสังขารธรรม (สังขตธรรม) ทั้งปวง ด้วย “วิญญาณ”ว่ามีสามัญญลักษณะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา อย่างไร ชื่อว่า “วิปัสสนาปัญญา” นั้น ยังไม่สามารถเกื้อหนุนให้ถึงมรรคผลนิพพานได้ แต่เป็นอุปการะให้สามารถเจริญสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน/ภาวนาต่อไป เพื่อให้เห็นแจ้งรู้แจ้ง ทั้งในสภาวะของสังขารธรรมทั้งปวง และทั้งในวิสังขารธรรมคือ พระนิพพานธาตุอันเป็นอสังขตธรรม และอริยสัจ ๔ ด้วย “ญาณ” จากการเจริญสมถวิปัสสนาภาวนา เป็น ภาวนามยปัญญา ชื่อว่า “โลกุตตรปัญญา” จึงจะเกื้อหนุนให้พระโยคาวจรนั้นบรรลุมรรค ผล นิพพาน ที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวง และ ที่เป็นบรมสุข ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้


    พระพุทธโฆษจารย์ ผู้รจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรคท่านได้อธิบายเปรียบเทียบปัญญาที่รู้ด้วยสัญญาและวิญญาณ กับปัญญาที่เห็นแจ้งรู้แจ้งด้วยญาณจากการเจริญสมถวิปัสสนาภาวนา ว่า


    “ในข้อปฐมปุจฉาที่ถามว่า “อะไรชื่อว่าปัญญา” นั้น นักปราชญ์พึงสันนิษฐานว่า วิปัสสนาญาณที่ประกอบด้วยกุศลจิต (พิจารณาไตรลักษณ์ คือ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา) นั้นแหละ ได้ชื่อว่า ปัญญา


    ในข้อทุติยปุจฉาที่ถามว่า “ได้ชื่อว่าปัญญาเพราะอรรถอะไร” วิสัชชนาว่า ได้ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่าให้รู้โดยประการ


    อธิบายว่า กิริยาที่รู้ชอบ รู้ดี รู้พิเศษ โดยอาการต่าง ๆ นั้น ได้ชื่อว่า รู้โดยประการ
    ถ้าจะว่าโดยธรรมชาติอันมีกิริยาให้รู้ นั้นมี ๓ คือ สัญญา ๑ วิญญาณ ๑ ปัญญา ๑ ทั้ง ๓ประการนี้ มีกิริยาให้รู้อารมณ์เหมือนกัน


    แต่ว่า สัญญากับวิญญาณ ๒ ประการนั้น ไม่รู้พิเศษเหมือนปัญญา
    “สัญญา” นั้นให้รู้แต่ว่า สิ่งนี้เขียว นี้ขาว นี้แดง นี้ดำ เพียงเท่านั้น ไม่รู้ถึงลักษณะ ๓ คือ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา


    ฝ่าย “วิญญาณ” นั้นให้รู้จักเขียว และ ขาว แดง ดำ ให้รู้ตลอดถึงลักษณะ ๓ คือ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ด้วย แต่ว่ามิอาจจะเกื้อหนุนให้ดำเนินขึ้นถึงอริยมรรคอริยผลได้


    ส่วน “ปัญญา” นั้น ให้รู้พิเศษ ให้รู้จักเขียว ขาว แดง ดำ ให้รู้จักลักษณะ ๓ แล้ว เกื้อหนุนให้ดำเนินขึ้นถึงอริยมรรคอริยผล ให้สิ้นทุกข์สิ้นภัยในวัฏฏสงสารได้


    แท้จริง ธรรมทั้ง ๓ ประการ คือ สัญญา วิญญาณ และ ปัญญา นี้ เปรียบ เหมือนชน ๓ จำพวก คือ ทารกน้อย ๑ บุรุษชาวบ้าน ๑ ช่างเงิน ๑ ชน ๓ จำพวกนี้รู้จักกหาปณะไม่เหมือนกัน


    ทารกน้อยนั้น ได้เห็นกหาปณะ ก็รู้แต่ว่าสิ่งนี้งาม วิจิตร อันนี้ยาว อันนี้สั้น อันนี้เหลี่ยมและกลม รู้แต่เพียงนั้น จะได้รู้ว่าสิ่งนี้โลกสมมุติว่าเป็นแก้ว เป็นเครื่องอุปโภคแห่งมนุษย์ทั้งปวง จะได้รู้ฉะนี้หามิได้


    ฝ่ายบุรุษชาวบ้าน นั้น รู้ว่างานวิจิตร รู้ว่ายาวสั้นเหลี่ยม กลม และรู้แจ้งว่า สิ่งนี้โลกทั้งหลายสมมุติว่า เป็นแก้ว เป็นเครื่องอุปโภคบริโภคแห่งมนุษย์ทั้งปวง รู้แต่เท่านี้ จะได้รู้ว่ากหาปณะอย่างนี้เนื้อสูงเนื้อบริสุทธิ์ ไม่แปดปน อย่างนี้เป็นทองแดงทำเทียม อย่างนี้เนื้อเงินกึ่งทองแดงกึ่ง จะได้รู้ฉะนี้หามิได้


    ส่วนช่างเงินนั้น รู้ตลอดไปสิ้นเสร็จทั้งปวง พอแลเห็นก็รู้ว่ากหาปณะนี้ทำในนิคมและบ้านชื่อโน้น ๆ ทำในนคร ชนบทโน้น ๆ ทำที่ภูเขา ฝั่งแม่น้ำโน้นอาจารย์ชื่อนั้น ๆ กระทำ นายช่างเงินรู้ตลอดไปฉะนี้ ด้วยกิริยาที่ได้เห็นรูปพรรณสัณฐานแห่งกหาปณะ บางคาบนั้นได้ยินแต่เสียงกหาปณะกระทบ ก็รู้ว่ากหาปณะนี้ทำที่นั้น ๆ ผู้นั้น ๆทำ บางคาบได้ดมกลิ่นหรือได้ลิ้มแต่รสก็รู้ ได้หยิบขึ้นชั่งด้วยมือก็รู้ นายช่างเงินรู้จักกหาปณะพิเศษกว่าทารกน้อยและบุรุษชาวบ้านผู้เขลาฉันใด ปัญญานี้ก็รู้พิเศษว่าสัญญาและวิญญาณ มีอุปไมยดังนั้น


    นักปราชญ์พึงสันนิษฐาน ว่า ที่ชื่อว่า “ปัญญา” นั้น ด้วยอรรถว่า รู้ชอบ รู้ดี รู้พิเศษ โดยอาการต่าง ๆ ดังนี้.” <!--MsgFile=0-->
    <!-- / message -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2008
  12. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ไม่ได้กลัวนะครับ ให้ระลึกรู้ว่าเกิดนิมิต เมื่อรู้ทัน โดยสภาวะธรรม จิตจะดับ
    นิมิตไปเอง เหตุที่นิมิตดับไปเพราะ ความอยากเห็นนิมิตดับไป นี่คือสภาวะ
    ของการถอดถอนที่จิตได้รับการอบรม การไม่ถลำเข้าไปในนิมิต นี่คือ ภาวะ
    อันเป็นที่สุด เพราะในขั้นการเข้านิพพานนั้น ย่อมไม่ใช่ถลำเข้าไปในนิมิต เพราะ
    ในสภาวะที่มีนิมิต จะไม่มีสภาวะนิพพานอยู่

    ที่ให้รู้ทันนิมิตเกิด ก็เพราะ บางคนอาจเคยทำไว้ในชาติที่แล้วๆ เป็นวาสนา เป็นวิบาก
    ดังนั้น เมื่อมาวิปัสสนาตามสติปัฏฐาน 4 นิมิตเหล่านั้นอาจผุดขึ้นให้รู้เอง ดังนั้น
    จึงควรรู้ทันว่ามันเกิด แล้วก็ดูมันดับไป ไม่ยึดถืออะไร จะได้คลายกำหนัดจาก
    การอยากรู้ ถ้าไม่คลายกำหนัดอยากรู้ ก็จะถลำไปในนิมิต ไปรู้เรื่องราวมากมาย
    ก็ใช่ว่าไม่ดี แต่มันไม่ได้ช่วยในการถอดถอน เพราะการถอดถอนอยู่ที่ดูความ
    ชอบใจ ดูความอยากดูนิมิต ถ้ายอมผ่านการดู ก็เท่ากับไม่ได้อบรมจิตในการ
    ถอดถอน แล้วจะเอาปัญญาที่ไหนที่เจริญไว้ไปถอดถอน ก็จะจมไปอีกหนึ่งชาติ
    กับนิมิตเดิมๆ วนอยู่อย่างนั้นไม่จบไม่สิ้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2008
  13. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    โปรดทำความเข้าใจเรื่องนิมิตให้ตรงตามความเป็นจริงของการฝึกสมาธิเจริญภาวนาดูก่อนนะครับคุณบุคคลทั่วไปฯ ผมยกมาแสดงให้พิจารณาอย่างละเอียดแล้วว่า นิมิตอย่างใดเป็นเรื่องของสมาธิ นิมิตอย่างใดเป็นนิมิตหลอก ท่านที่ฝึกมาทางสายสมาธิแบบบริกรรมนิมิตนั้นผมว่าจะเข้าใจได้ไม่ยาก จะยากก็แต่ผู้ปฏิเสธนิมิตในการฝึกภาวนาเท่านั้น ผมว่าคุณถูกโปรแกรมให้เข้าใจเรื่องนิมิตไปในทางต้องละ ต้องวาง ต้องไม่สนใจ ซึ่งมันเป็นเรื่องการสอนแบบเหวี่ยงแห ไม่ตรงตามความเป็นจริงในเรื่องของการพัฒนาใจให้สงบ หยุด นิ่ง ทั้งสมถะและวิปัสสนา ผมว่าคนรู้จริงเขาฟังคุณอธิบายเขาก็ทราบว่าคุณยังพยายามมองเรื่องนิมิตเพียงแต่ต้องละ แต่ไม่รู้คุณค่าของนิมิตที่เป็นการนิมิต ๓ ภาวนา ๓ เอาล่ะครับ ขอให้คุณมั่นใจได้ว่าสำนักวัดปากน้ำสอนเรื่องการฝึกบริกรรมนิมิต เพื่อพัฒนาใจอย่างไร แล้วไม่ต้องห่วงเรื่องการติดนิมิตและการละนิมิต ทางวัดปากน้ำสอนเทคนิคเหล่านี้อย่างชัดเจนตามที่ผมยกข้อมูลมานำเสนอแล้ว หวังว่าคุณคงไม่ติดใจอีก "ธรรมทั้งปวงไม่พึงยึดมั่นถือมั่น" คำว่าติดในระดับสูงก็หมายเอาดังนี้ได้ ถ้ายังยึดถือในธรรมอยู่ก็ยังติดอยู่ เรื่องนี้คุณน่าจะเข้าใจได้นะครับ
     
  14. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ไม่มีปัญหาครับ เพราะเจตนาผมมีเพียงความไม่เข้าใจ การใช้คำว่า วิชาใหม่ เท่านั้น

    ถ้าหากคุณ สมถะ ไม่ได้ใช้คำนี้แล้ว แถมยังรับว่านี้คือ กสิณ ผมก็หมดวาระครับ

    เพราะการฝึกกสิณนั้นเป็นเรื่องดี หาคนทำได้ยาก หมื่นคนจะมีสักคนเดียวที่สำเร็จ

    ดังนั้นคนเรือนแสนที่นับถือธรรมกาย ก็จะมี 10 คนที่ฝึกสำเร็จ ย่อมเป็นเรื่องน่ายินดี
    ครับที่จะมีคนที่ฝึกได้สำเร็จมากขึ้น
     
  15. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    อ้อ คุณ สมถะ หากว่าท่านฝึกผู้ใดแล้ว 5 ปีก็ไม่ได้ก้าวหน้าอะไร
    อย่าลืมชี้ทางอื่นๆให้กับเขานะครับ บอกเขาว่า ทางแห่งธรรมนั้นยัง
    มีอีกหลายทาง ท่านคงไม่ยึดเขาเหล่านั้นไว้ เพื่อความมั่นคงเฉพาะทาง

    แต่เพื่อเห็นแก่ความมั่นคงของพุทธะทุกสายปฏิบัติ ที่รอคนออกไปฝึก
    ฝนตามจริตที่ตรงกับทางของเขา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2008
  16. taengmostudio

    taengmostudio สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +17
    พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏคารศาลา ป่ามหาวันเมืองเวสาลี พระนางมหาปชาบดี เสด็จไปเฝ้าทูลขอให้ทรงแสดงธรรมโดยย่อ เพื่อหลีกออกปฏิบัติแต่ผู้เดียว พระพุทธองค์ทรงประทาน ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘ ประการ ให้ทรงปฏิบัติคือ :-

    ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อ
    ๑. ความกำหนัด
    ๒. ประกอบสัตว์ไว้ในภพ
    ๓. ความสั่งสมกิเลส
    ๔. ความมักมาก
    ๕. ความไม่สันโดษ
    ๖. ความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
    ๗. ความเกียจคร้าน
    ๘. ความเลี้ยงยาก พึงทราบเถิดว่า นั่นไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่คำสั่งสอนของพระศาสดา
    ส่วนธรรมเหล่าใดที่มีลักษณะตรงข้ามจากนี้ พึงทราบเถิดว่า นั่นเป็นธรรมเป็นวินัย เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา


    การติดในนิมิต คือการประกอบสัตว์ไว้ในภพ ใช่หรือไม่
    การพากันไปนั่งหลับ คือความเกียจคร้าน ใช่หรือไม่


    ......................................
    ควายบางตัวสอนได้
    ควายบางตัว..........????


    ;21;21;21;21;21
     
  17. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    แหม...ต้องขอบคุณคุณบุคคลทั่วไปจริงๆ ที่อุตส่าห์แนะนำว่าถ้าฝึกใครมา 5 ปีแล้วเขาไม่ก้าวหน้าให้ไปหาช่องทางอื่น แต่แปลกครับผมฝึกให้เขามาเป็นสิบปีแล้วเขาก็ไม่ไปไหนกันเลย เป็นเพื่อนนักปฏิบัติด้วยกันตลอด ก็เขาจะไปไหนได้ไงล่ะครับ เพราะเขาบอกว่าเขามาจากสายอื่นฝึกแล้วไปไม่รอด มาฝึกปฏิบัติด้วยกันแล้วเขาก็พอใจ อันนี้เล่าให้ฟังครับ แต่ถ้าใครจะไปฝึกแบบอื่นๆ ผมยินดีเสมอ บางคนเราเห็นนิสัยเขาแล้วอยากจะไล่ไปที่อื่นเหลือเกิน แต่เขากลับยังไม่ไป แต่ความจริงแล้วเราก็ต้องยอมรับกันว่า การปฏิบัติแบบอื่นก็มาฝึกแบบธรรมกายก็มีเยอะครับ โดยเฉพาะผู้คนในภาคอีสาน แต่สำหรับการฝึกแบบธรรมกายแล้วไปฝึกแบบอื่นก็มีเหมือนกันครับ ธาตุธรรมภายในเขาเป็นเช่นนั้น ถึงอยู่ก็ได้ประเดี๋ยวประด๋าวน่ะครับ


    อันที่จริงเรื่องแบบนี้ไปยึดติดได้หรือ แม้ในสมัยหลวงพ่อวัดปากน้ำท่านตรวจดูเลย คนไหนเป็นอย่างไรท่านดูเลย ใครจะอยู่ใครจะไปท่านไม่ว่า ยิ่งไม่ว่ายิ่งมีแต่คนมาขออยู่กับท่าน สำหรับผมเองไม่ได้ตั้งตัวเป็นอาจารย์อะไร คนทุกคนเป็นเพื่อน ใครฝึกแล้วทำได้แค่ไหนอย่างไรสุดแต่วาสนาบารมี เพื่อนกันทั้งนั้น เราไม่เอาอะไรกัน ไม่บังคับกัน


    ขอชี้แจง ดังนี้นะครับ ผมไม่เคยคิดว่าวิชชาธรรมกายเป็นของใหม่ และการฝึกสมาธิแนวธรรมกายตั้งต้นที่กสิณแสงสว่าง เคยรับรู้มาว่าคนฝึกแนวอานาปานัสสติก็เข้าถึงธรรมกายได้ซึ่งอันที่จริงการฝึกสมาธิกัมมัฏฐานทั้ง 40 วิธีก็สามารถเข้าถึงธรรมกายและรู้เห็นเรื่องกายในกายได้หมด โดยมีหลักอยู่ว่า บริกรรมนิมิต บริกรรมภาวนา และที่ตั้งของใจ ถ้าทำใจหยุดได้ถูกส่วนตามที่ตั้งของใจก็เห็นกายในกายกันได้ทุกคนครับ


    เรื่องกระดูกใสเป็นแก้วนั้น ผมได้เคยเห็นผู้ฝึกธรรมกายที่เป็นทั้งพระสงฆ์และฆราวาสหลังแตกกายตายลงกระดูกลายเป็นแก้วใสมาแล้ว ไปขอพระครูภาวนามงคล (วิวัฒน์ กตวฑฺโน) ดูได้

    ประวัติของท่าน

    อาตมาเป็นศิษย์เก่าวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ บรรพชาเป็นสามเณร ปีพุทธศักราช ๒๔๘๘ ที่วัดมหาธาตุฯ โดยมีพระพิมลธรรม (ช้อย ฐานฑตฺตมหาเถร) เป็นพระอุปัชฌาย์ บวชในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ ๒ และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูภาวนามงคล (ด้านวิปัสสนาธุระ) ปีพุทธศักราช ๒๕๓๕ ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาส วัดป่าเจริญธรรมกาย ต.บัวแดง อ.ปทุมรัตน์ จ.ร้อยเอ็ด เป็นพระธรรมทูตฝ่ายบริหาร ปะจำศูนย์งานพระธรรมทูตจังหวัดร้อยเอ็ด ปีนี้อายุ ๗๒ ปี (พ.ศ.๒๕๔๖)

    ท่านเก็บอัติธาตุของหลวงพ่อใสและอุบาสิกาที่กระดูกใสเป็นแก้วเอาไว้ให้ดูกัน ผมไปดูมาแล้วครับ



    เรื่องของวาสนาบารมีนั้นบังคับกันไม่ได้ดอกครับ ใครถนัดแนวไหนตามสบาย ขอแต่ทำความเข้าใจกันและกัน เป็นเพื่อนกัน ไม่อคติต่อกัน ไม่ว่าฝึกมาแบบไหนสายไหนก็เดินมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกันคือพระนิพพานนั่นเอง แล้วจะมานั่งทะเลาะกันทำไมล่ะครับ
     
  18. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ก็ขอขอบคุณ คุณ สมถะ ที่อดทนคุยกับผมผู้มีสิ่งค้างคาใจ

    ตอนนี้ก็สบายใจตามระเบียบ แม้คุยกันกับศิษย์หนึ่งในสาย
    แต่ก็ทำให้มั่นใจว่า ในอนาคตคำบางคำคงหายไป

    แต่ถึงแม้ไม่หายไป ก็ไม่ใช่สิ่งที่ผมอยากรู้อีก เพราะตอนนี้รู้
    จากคุณสมถะแล้ว ก็จบ
     
  19. upanya

    upanya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2006
    โพสต์:
    900
    ค่าพลัง:
    +1,035


    ดูที่ธาตุหรือครับ ไปเอามาจากไหนครับว่า หากกระดูกของคนเปลี่ยนสภาพแล้ว
    หมายความว่า คนคนนั้นเป็นพระอรหันต์

    คนทั่วไปที่มีศีลมีธรรม มีข้อวัตรปฏิบัติ ก็แปรธาตุได้เหมือนกันครับ
    ครูบาอาจารย์ผมกระดูกท่านก็เป็นธาตุ แต่ท่านก็ไม่ได้เป็นพระอรหันต์
    เป็นธาตุนี่ ไม่ได้เป็นทันทีนะครับค่อยๆเปลี่ยนไป

    อันที่เป็นทันทีที่ไปคุ้ยเจอหนะ สัปปะเหรอ เขาทำได้ มีวิธีทำครับ

    หากตัดสินที่ธาตุก็ยังจะดูมีความเข้าใจน้อยไปหน่อยครับพี่
     
  20. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    หิวข้าว
     

แชร์หน้านี้

Loading...