วิชชา ธรรมกาย ไม่ได้มาจาก วัดพระธรรมกาย

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย jack5487, 28 มิถุนายน 2008.

  1. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697
    กรรมฐานก็คือกรรมฐาน
    วิปัสนานญาณ ก็มีอยูในกรรมฐานที่ไปถึงภูมิวิปัสสนา

    ทำไมเอามาแยก เป็น กรรมฐาน 40 คือสมถะ ทั้งหมด

    แล้ว มหาสติปัฏฐานสูตร น่ะ มีกรรมฐานชื่อนี้ไหม ถ้าเขาไม่ตั้งชื่อแบบนี้

    ที่มี เขาก็มี พองยุบ สมาธิหมุน มากมาย..ฯลฯ

    แต่ก็ไม่พ้นไปจาก กรรมฐานที่แจกแจงรายละเอียดใน 40 กองแล้ว คือในรายละเอียดเข้าไปค้นได้ถึงสภาวธรรมที่เกิดเป็นอย่างไร ไปเทียบได้

    และเทียบเป็นวิปัสสนาทางปัญญา ได้จากลำดับญาณ

    (||)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2008
  2. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    มีคำไหน ที่ผมบอกว่า ผมไม่ได้ผ่้านการปฏิบัติ และ ไม่ได้ผลของการปฏิบัติ
     
  3. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    เต้าเจี้ยว ผมอยากให้คุณ หาเหตุผลที่ดีกว่า นี้ มาพูด เอาแบบชัดๆ หน่อย อย่ามาพูดแบบนี้เลย มันตลก
    เพราะมันไม่มีประเด็นอะไรเลย
     
  4. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697

    เหอๆๆๆ (||) อ่านคนเดียวเหรอจ๊ะ แต่อ่านแล้วก็หัดวิเคราะห์บ้างนะจ๊ะ ไปตีความตัวหนังสือตามหมวด ทำปายด้ายยยยย


    อ่านะ อ่านแล้วคิดบ้างนะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2008
  5. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    อะไรของมันเนี่ย เต้าเจี้ยว เป็นบ้าอะไรไปหรือเปล่า
    จับประเด็นก่อน สิ พูดจาแบบนี้

    อะไรที่บอกว่า ผมไม่วิเคราะห์ อะไรที่บอกว่า ผมอ่านคนเดียว
    คุณ ต้องดูสิว่า กำลังพูดเรื่องอะไร โอ้ กิเลสนี่มันหนาจริงๆ ตะแบงไปได้เรื่อยๆ

    ผมจะไปทำธุระแล้ว ไม่มีเวลา เถียงกับเด็กแล้ว
     
  6. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697

    เหมียนเดิม ระวังว่าใครแล้วเข้าตัวทุกทีนะ

    ;8
     
  7. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ถ้าสบายใจ และ อยากดังที่ได้เถียงกับผมก็ทำไปเถอะนะเต้าเจี้ยว ผมรู้ว่า คุณอยากเกาะผมดัง ได้เป็นคู่วาทะ อาจารย์ขันธ์ เอาเลยตามสบายนะ ผมยินดี
     
  8. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697

    หูย รู้ใจคนจริงนะ นะจ๊ะ นะจ๊ะ

    ก็ออกมารับผิดชอบแล้วไง คุณท้านี่ ... จำได้หรือเปล่า... อ้างอิง
    ถ้าไม่ออกมายอมรับในประเด็นนี้ ผมถือว่า คุณเป็นคนไม่มีความรับผิดชอบในคำพูด


    เหอๆ ศีล ต้องระวังให้มากนะ นะคะ นะคะ


    (||)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2008
  9. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    คุณโอม เมื่อก่อนผมก็คิดว่า การที่เราจะมีบารมีมากๆ มีวาสนามากๆ
    คือ การลองผิดลองถูกไปในทุกๆเรื่อง

    แต่ตอนนี้ผมมีทัศนะว่า ไม่ใช่เรื่องการลองผิดลองถูกไปในทุกๆเรื่อง

    แต่เป็นเรื่องของการเจริญสติกำกับไว้ในทุกๆเรื่องต่างหาก บารมีทั้ง
    30 ทัศน์ คุณลองพิจารณาเอามาเทียบกำการทำสมถะดู มันจะลง
    รอยได้ไม่สนิทเท่า การเอาบารมี 30 ทัศน์มาเทียบกับ สติ

    การเที่ยวไปสี่แสนอสงไขยมหากัปป ไม่ได้เป็นไปเพื่อการทำสมาธิ
    ถึงขั้นเอกอุ หากแต่เป็นการเจริญสติให้มากๆ

    คุณคงเคยได้ยินพระเถระที่มีฤทิธ์มากเสมอพระพุทธองค์เที่ยวออก
    ไปจนสุดขอบจักรวาล เลยพุทธเกษตร แล้วหาทางกลับไม่ได้ไหม

    แล้วคุณเคยได้ยินพระเถระที่มีสติไวมากๆ สมารถไปรู้กว่าหมื่นกว่า
    แสนโลกธาตุ(เลยพุทธเกษตรออกไปอีกจำนวนมาก) ไหม แต่พระ
    เถระองค์หลังนี้ไม่มีปัญหาเรื่องหาทางกลับ ไม่หลง !

    ก็ถือว่าแลกเปลี่ยนทัศนะกันนะ
     
  10. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,169
    กระทู้เรื่องเด่น:
    20
    ค่าพลัง:
    +29,715
    OOOOOOOOOOOOOOOOOOOO

    องค์แรก คงเป็นพระโมคคัลลานะ แล้วองค์หลังนี่ใครครับ
     
  11. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    เต้าเจี้ยว ผมมีวิธี อีกวิธีหนึ่ง ดังกว่า เถียงกับผมอีก
    คือ ไปฝึกให้ เก่งกว่าผม แล้วออกมาสอนธรรมให้คนอื่น สิจะได้ดัง
     
  12. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    องค์หลังคือพระอนุรุธ ซึ่ง ก็มีสติมากเกินไป มีแต่อยู่ข้างนอก

    ไม่ยอมเข้ามรู้กาย รู้ใจตน รู้กาย หมายถึงรู้ในฐานกายเนื้อนะ ไม่
    ใช่รู้ธรรมกาย เพราะธรรมกายต้องไปเทียบกับการรู้ใจ รู้ข้างใน ส่ง
    เข้าข้างใน ส่งเข้าไปมากก็เห็นนิมิต

    ให้ดีต้องมีสติมากๆ แต่ไม่ส่งเข้าใน ไม่ส่งออกนอก และไม่กลางๆ !!?

    หมายถึง อย่ากำหนด ว่าต้องอยู่ตรงไหน ตรงไหนก็ได้ แค่ให้รู้ว่าอยู่ตรง
    ไหนเท่านั้น
     
  13. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,169
    กระทู้เรื่องเด่น:
    20
    ค่าพลัง:
    +29,715
    OOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOO


    ตรงนี้เคลียร์ครับ

    แต่ เห็นต่างหน่อยครับ

    พระอรหันต์ น่าจะใช้สติไม่มากเกิน ไม่ว่านอก หรือ ใน



    ไม่ว่าเป็นอรหันต์ประเภทไหน


    แต่ นั่นเป็นนิสัย วาสนา เดิมของท่านที่ฝึกมาต่างกัน

    แต่ ที่ตรงกัน เหมือนกัน คือ ต่างเป็นอรหันต์ ดับทุกข์ได้


    OOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOO







    ใช่ครับ

    ให้รู้เสมอ เนืองๆ ว่าจิตเราติดพันที่ไหนหรือไม่
    ขณะนี้อยู่ตรงไหน ไม่ติดนอก ไม่ติดใน

    เดี๋ยวมันก็เข้าล๊อคกลางของมันเองแหละ หน้าที่ของเราคือ ทำบ่อยๆ เนืองๆ
    จนกว่ามันจะเต็มรอบ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 กรกฎาคม 2008
  14. kittitpx

    kittitpx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +2,000
    "ความจริงเป็นสิ่งที่น่าค้นหา" เสมอ
    ทุกชีวิตตกอยู่ภายใต้ความเป็นจริง
    ตราบใดที่เรายังไม่พบความจริง เราก็ดำเนินชีวิตตามความเชื่อ
    ของเรา โลกที่ถูกครอบงำด้วยความเชื่อของแต่ละคน.....

    ทฎษฎีทางวิทยาศาสตร์ยังสามารถลบล้างได้ เมื่อมีทฎษฎีที่ดีกว่า
    ถูกต้องกว่ามาอธิบาย ทฎษฎีเดิมก็ถูกลบล้างไป
    แต่ พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็น อกาลิโก
    คือ เป็นความจริงแท้แห่งพระธรรมที่ไม่มีกำหนดอายุกาล จริงแท้อยู่ตลอดกาล
    จริงแท้อย่างนั้นทุกยุคทุกสมัย ไม่จำกัดกาลเวลา ไม่ขึ้นกับกาลเวลา ให้ผล
    ทุกเมื่อทุกโอกาส ไม่ใช้ทฎษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่ยังสามารถลบล้างได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2008
  15. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697

    ไปธุระมาเร็วจริง

    ขอบคุณนะที่แนะนำ
     
  16. upanya

    upanya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2006
    โพสต์:
    900
    ค่าพลัง:
    +1,035

    งั้นลองบอกหน่อยสิครับว่าตอนนั้น ปฏิบัติแล้วได้ประสบการณ์อย่างไรบ้าง
    ตอบตรงๆเลยครับไม่ต้องให้ผมคิดเอาเอง

    เพราะผมรอคำตอบของพี่นานแล้วครับว่า

    ตกลงที่พี่บอกว่าผ่านการปฏิบัติสายธรรมกายมาแล้วนั้นพี่ผ่านมาอย่างไร
    และผลหลังสุดที่ได้ สุดอยู่ที่สภาวะธรรมใด

    มี 2คำถามนะครับ ขอขอบพระคุณครับ
     
  17. upanya

    upanya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2006
    โพสต์:
    900
    ค่าพลัง:
    +1,035
     
  18. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    น้องต้องเข้าใจ อย่างหนึ่งว่า ธรรมกายนั้นไม่มีสภาวะธรรม นอกจากนิมิต
    เข้าใจตรงจุดนี้ก่อน ทีนี้ จะให้ผมบอกสภาวะธรรมอะไรหละ ในเมื่อ ธรรมกายนั้นไม่มีอะไรเลย
    แม้คนที่เขาบอกน้องว่า เขาได้ ธรรมขั้นนั้นขั้นนี้ เขาก็ไม่ได้อะไร เลยนอกจาก รูปฌาณ และ นิมิต

    คุยกันมาตั้งนาน ต้องพยายามเข้าใจหน่อย ไม่ใช่ จะถามไร้สาระ เหมือนกับคน บอกว่า เขามีวุฒิปริญญาเอก แล้วผมเข้าไปเรียน ผมเรียนจนจบ ก็ปรากฎว่ามันไม่มีอะไร มันเป็นแค่ ป1 เท่านั้น
    ทีนี้ พอ ป1 ผมก็บอกไปแล้วไงหละครับว่า มันแค่ป1 น้องก็ยังจะถามอีกว่า มันได้ธรรมอะไร ไม่เห็นบอกธรรมอะไรเลย

    ก็มันมีแค่ป 1 จะให้พูดอะไร นอกเหนือจากป1 ทีนี้ถ้าจะให้ผมบอกว่า มันมีรายละเอียด กายพระอรหันต์อย่างไร
    ก็ได้ แต่ว่า มันก็ไม่ใช่ วุฒิปริญญาเอก มันคือ ป1 เท่านั้น
    การกำหนดเห็นภาพ ไม่ว่าจะภาพอะไรก็ตาม มันก็คือ การเห็นภาพและ การกำหนดดูภาพได้ จริงไหม
    นั้นแหละ ไม่ว่าภาพจะสวยงามแค่ไหน มันก็คือ ภาพเท่านั้น ใช่เป็นสิ่งเลิศเลอไม่

    เมื่อคนที่เขาเรียนปริญญาเอกจริงๆ เขาก็บอกว่า ที่พูดมาทั้งหมดนั้นไม่ใช่ ปริญญาเอก แต่มันป1 คุณก็ยังจะมาถามแล้วถามอีก

    ผมจะไม่พูดในสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เพราะว่า การบอกว่า นั่งไปแล้วเจออะไร เป็นการปรุงแต่งทั้งสิ้น

    คุณควรพูดในธรรมที่คุณรู้ แล้วผมจะบอกให้ว่ามันคืออะไร

    ทำความเข้าใจตรงนี้ก่อน
     
  19. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    คุณ ถามสิว่า นั่งสมาธิแล้วได้อาการอย่างไร ผมจะบอกให้ทั้งหมด
    แต่ถ้าบอกว่า ได้ขั้นใด ใน ธรรมกาย ผมคงต้องบอกว่า มันไม่ได้

    เพราะพระพุทธองค์ ไม่เคยสอน ไม่เคยมีในพระไตรปิฎก ว่า กายพระอรหันต์เป็นอย่างนั้นอย่างนี้

    นี่ ต้องศึกษาให้มาก ผมจะเลิกตอบแล้วกับปัญหาแบบนี้ มันเหนื่อย
     
  20. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    มีหลายท่านไปคิดว่าการฝึกให้เห็นกายในกายจนกระทั่งเห็นพระธรรมกายเป็นครละเรื่องกับสติปัฏฐาน ๔ นั่นเพราะท่านเข้าใจผิด การฝึกสติปัฏฐาน ๔ นั้นสมาธิทุกสำนักก็ฝึกได้ ท่านแยกแยะอย่างไร ท่านต้องพิจารณาว่าการฝึกสติว่ามีทั้งสมถะและวิปัสสนาไปในตัว วิชชาธรรมกายในภาคการฝึกด้านสติปัฏฐาน ๔ ขอยกโดยย่อมาดังนี้


    สติปัฏฐาน ๔ และอานิสงส์

    ๑. ความหมายของสติปัฏฐาน ๔ และ อานิสงส์


    “สติปัฏฐาน ๔”
    คือ ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติ ๔ ประการ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ในขณะที่เสด็จประทับอยู่ใน
    กัมมาสทัมมนิคม กุรุชนบท


    สติปัฏฐาน
    เป็น “เอกายนมรรค” คือ เป็นทางไปทางเดียว เฉพาะบุคคล เพื่อให้ได้รับ อานิสงส์ ๕ ประการ (ถึงมรรคผลนิพพาน) คือ



    ๑. สตฺตานํ วิสุทฺธิยา เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย

    ๒. โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย เพื่อข้ามพ้นความโศก และความร่ำไร

    ๓. ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย เพื่อความดับสูญ แห่งทุกข์และโทมนัส

    ๔. ญายสฺส อธิคมาย เพื่อบรรลุธรรมที่ควรรู้

    ๕. นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง





    ๒. ธรรมที่พึงถือเป็นหลักปฏิบัติ และธรรมที่พึงนำออก ของผู้บำเพ็ญสติปัฏฐาน

    ธรรม ๒ ประการนี้สำคัญมากแก่ผู้บำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ จะละทิ้งเสียมิได้ ถ้าละทิ้งก็เสีย กัมมัฏฐาน คือ



    ก) สัมปโยคธรรม คือ ธรรมที่ผู้บำเพ็ญสติปัฏฐานจะพึงถือเป็นหลักปฏิบัติ คือ


    (๑) อาตาปี มีความเพียรเผากิเลสที่เร่าร้อน ไม่เกียจคร้าน ไม่ทำย่อหย่อน ไม่ทำ ๆ หยุด ๆ เหมือนกิ้งก่า


    (๒) สัมปชาโน มีความรู้ตัว ตื่นตัว พร้อมอยู่เสมอ ไม่เผลอตัวตกอยู่ในอำนาจของ กิเลสนิวรณ์ ได้แก่ ไม่ง่วง ไม่หลับใน ไม่ฟุ้งซ่านไปนอกเรื่องพระกัมมัฏฐาน เป็นต้น


    (๓) สติมา มีสติ มีความระลึกกำหนดได้ตามเห็นอารมณ์ คือ กายในกายเวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ทั้ง ณ ภายใน และทั้ง ณ ภาย นอก ได้อยู่เสมอ ไม่ปล่อยให้จิตไปยึดอารมณ์อื่น





    ข. ปหานังคธรรม คือ ธรรมที่ผู้บำเพ็ญสติปัฏฐานควรนำออก มี ๒ ประการ คือ


    (๑) อภิชฌา ความยินดี ได้แก่ กามฉันทนิวรณ์
    (ความยินดี พอใจ ติดอยู่ อาลัยอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ)


    (๒) โทมนัส ความยินร้าย ได้แก่ พยาบาทนิวรณ์



    ๓. อานิสงส์แก่ผู้บำเพ็ญ คือ


    ผู้บำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างสูง ๗ ปี อย่างต่ำ ๗ วัน พึงหวังผลทั้ง ๒ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ

    ๑ ความเป็นพระอรหันต์ในปัจจุบัน

    ๒ เมื่อกิเลสเป็นเหตุเข้าไปยึดถือยังเหลืออยู่ ก็ถึงความเป็นพระอนาคามี



    การพิจารณาสติปัฏฐาน ๔ ณ ภายใน และ ณ ภายนอก



    การมีสติพิจารณา เห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต และ เห็นธรรมในธรรม ณ ภายใน และ ณ ภายนอก





    ๑. การมีสติพิจารณา ณ ภายใน


    คือ เห็นในเบื้องต้น (ส่วนหยาบ) พิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม ของตน ให้เห็นตามธรรมชาติที่เป็นจริงก่อน เช่นว่า พิจารณาเห็นส่วนต่าง ๆ ของร่างกายของตัวเราเอง ว่า ไม่งดงาม เป็นแต่ปฏิกูลโสโครก น่าเกลียด หรือเป็นที่ตั้งแห่งปฏิกูล โสโครก น่าเกลียด ทั้งสิ้น และพิจารณา เห็นความเกิดขึ้น เสื่อมไป คือเห็นว่า ไม่เที่ยง (อนิจฺจํ) เป็นทุกข์ (ทุกขํ) เพราะแปรปรวนไป และ เป็นของไม่ใช่ตัวตนของใครที่แท้จริง (อนตฺตา)



    ในขั้นละเอียด พิจารณาเห็นกายในกาย และ เวทนา จิต ธรรม ของกายในกาย ณ ภาย ในต่อ ๆ ไปจนสุดละเอียด ที่เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยที่ปรุงแต่งด้วย ปุญญาภิสังขาร
    (ปรุงแต่งด้วยบุญกุศล) อเนญชาภิสังขาร (ปรุงแต่งด้วยฌานสมาบัติที่ไม่หวั่นไหว ได้แก่ จตุตถฌาน ปัญจมฌาน และ อรูปฌาน เป็นต้น ) อปุญญาภิสังขาร (ปรุงแต่งด้วยบาปอกุศล) ตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรมและที่เป็นโลกุตตรธรรม (พ้นโลก) พ้นความปรุงแต่ง ได้แก่




    ก) กรณีปุญญาภิสังขาร และ อเนญชาภิสังขาร

    ก็จะพิจารณาเห็นกายในกายที่ปรุงแต่งด้วยบุญกุศล คุณความดี ที่ได้ประกอบทานกุศล ศีลกุศล และภาวนากุศล


    -->> ในระดับมนุษยธรรม ซึ่งจะปรากฏกายมนุษย์ละเอียด และ เวทนา จิต และ ธรรม ที่บริสุทธิ์ ผ่องใส เป็นสุคติภพ



    -->> ในระดับเทวธรรม ก็จะปรากฏ กายทิพย์ ทิพย์ละเอียด และ เวทนา จิต ธรรม ที่เป็น สุขวเทนา ที่ละเอียด ประณีต และบริสุทธิ์ ผ่องใส ยิ่งไปกว่ากายมนุษย์



    -->> ใน
    ระดับพรหมธรรม และรูปฌาน ก็จะปรากฏกายรูปพรหม รูปพรหมละเอียด และ เวทนา จิต ธรรม ที่เป็นสุขเวทนา ที่ละเอียด ประณีต บริสุทธิ์ ผ่องใส และมีรัศมีสว่าง ยิ่งกว่ากายทิพย์



    -->> ในระดับอรูปฌาน
    เป็น อเนญชาภิสังขาร ก็จะปรากฏ กายอรูปพรหม อรูปพรหม อรูปพรหมละเอียด และ เวทนา จิต ธรรม ที่เป็นสุขเวทนา ที่ละเอียด ประณีต บริสุทธิ์ ผ่องใส และมีรัศมีสว่างยิ่งกว่ากายรูปพรหม



    และเห็นว่า แม้เป็นกายในกาย
    ที่ประกอบด้วยสุขเวทนาที่ละเอียด ประณีต ด้วยจิตที่บริสุทธิ์ผ่องใสในระดับโลกิยธรรม เป็นสุคติภพ ก็ยังต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งไตรลักษณ์ หรือมีสามัญญลักษณะ คือไม่เที่ยง (อนิจฺจํ) เป็นทุกข์ (ทุกขํ) เพราะแปรปรวนไป (วิปริณามธมฺมโต) และไม่ใช่ ตัวตนที่แท้จริงของใคร ๆ (อนตฺตา) เพราะไม่อยู่ในอำนาจ (อวสวตฺตนโต) ของใคร ๆ ว่า จงอย่าแก่ (มา ชีรนฺตุ) จงอย่าตาย (มา มียนฺตุ)





    ข) กรณีอปุญญาภิสังขาร (ปรุงแต่งด้วยบาปอกุศล)


    ก็จะพิจารณาเห็นกายในกายภายใน
    ที่ปรุงแต่งด้วยบาปอกุศลคือความชั่ว ได้แก่ กายทุจจริต วจีทุจริต และ มโนทุจจริต ปรากฏเป็นกายมนุษย์ละเอียดที่ซ่อมซ่อ เศร้าหมอง ด้วยทุกขเวทนา ด้วยจิตใจ (เห็น-จำ-คิด-รู้) ที่มัวหมอง และดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายก็ขุ่นมัวเป็นทุคติภพไป


    และเห็นว่า ต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งไตรลักษณะ หรือ มีสามัญลักษณะ คือ ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา อีกเช่นกัน





    ค) กรณีเป็นโลกุตตรธรรม (พ้นโลก) พ้นความปรุงแต่ง

    ก็จะเห็นเป็นกายธรรม
    คือ “ธรรมกาย” ปรากฏ ตั้งแต่ธรรมกายโคตรภูหยาบ-ละเอียดธรรมกายพระโสดาหยาบ - ละเอียด ธรรมกายพระสกิทาคาหยาบ -ละเอียด, ธรรมกายพระอนาคา หยาบ-ละเอียด และธรรมกายพระอรหัตหยาบ - ละเอียด ซึ่งถ้ายังละสัญโญชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลก] อย่างน้อย ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฏา และ สีลัพพตปรามาส ยังไม่ได้ ก็ยังไม่นับว่าได้เข้าถึง-รู้-เห็น และเป็น ธรรมกายที่มั่นคงเที่ยงแท้ ถาวร คือ ยังอาจเห็น ๆ หาย ๆ ได้



    ต่อเมื่อละสัญโญชน์ได้แล้วเพียงไร ก็จึงเป็นธรรมกายมรรค-ผล-นิพพาน ตามระดับภูมิธรรม ที่ปฏิบัติได้เพียงนั้น







    ๒. การมีสติพิจารณา ณ ภายนอก


    คือ ในเบื้องต้น (ขั้นหยาบ) พิจารณากาย เวทนา จิต และ ธรรม ของคนอื่น ให้เห็นตามธรรมชาติที่เป็นจริง เทียบเคียงกันกับของเรา ว่า ของเรามีสภาวะตามธรรมชาติเป็นเช่นไร ของผู้อื่นก็เป็นเช่นนั้น เป็นต้นว่า พิจารณาเห็นส่วนต่าง ๆของร่างกายของเราเป็นแต่ปฏิกูล หรือ เป็นที่ตั้งแห่งปฏิกูล โสโครก น่าเกลียด อย่างไร ของผู้อื่นก็เป็นอย่างนั้น


    กาย เวทนา จิต ธรรม ของเราเอง เป็นสังขารธรรมที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง มีความ เกิด แก่ เจ็บ และตายเป็นธรรมดา มีสามัญญลักษณะ คือ เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา เช่นไร ของผู้อื่นก็เป็นเช่นนั้น


    ในขั้นละเอียด เมื่อพิจารณา เห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และ ธรรมในธรรมทั้งของตนเอง และ ของผู้อื่น จากกายสุดหยาบ คือ กายมนุษย์ ไปสุดละเอียด คือถึงกายธรรมเพียงใด ส่วนที่หยาบนั่นแหละเป็น ณ ภายนอก ส่วนที่พิจารณา เห็นละเอียด เข้าไป เป็น ณ ภายใน ต่อๆ ไป จนสุดละเอียด เป็นต้นว่า


    เมื่อ
    ปฏิบัติได้เข้าถึง-รู้ – เห็น และ เป็น กายมนุษย์ละเอียด กาย เวทนา จิต และ ธรรม ของกายมนุษย์ หยาบ เป็น ณ ภายนอก ของกายมนุษย์ละเอียดเป็น ณ ภายใน


    เมื่อปฏิบัติถึงกายทิพย์ กาย เวทนา จิต ธรรม ของกายมนุษย์ละเอียด เป็น ณ ภายนอกของกายทิพย์เป็น ณ ภายใน


    ต่อๆ ไปจนสุดละเอียดอย่างนี้ เมื่อเข้าถึงกาย เวทนา จิต และธรรม ที่ละเอียด ๆ เข้าไปนั้น เวทนาของกายหยาบก็เป็นทุกขเวทนา ของกายละเอียดก็เป็นสุขเวทนา ต่อๆ ไปเป็นลำดับ จนถึงธรรมกาย ซึ่งเป็นกายพ้นโลก ก็เป็นอุเบกขาเวทนาไป
    <!--MsgFile=1-->




     

แชร์หน้านี้

Loading...