วิชชา ธรรมกาย ไม่ได้มาจาก วัดพระธรรมกาย

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย jack5487, 28 มิถุนายน 2008.

  1. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ส่วนเรื่องของกายในกายนั้น
     
  2. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ส่วนเรื่องของกายในกายนั้น ผมจะประมวลมานำเสนอให้ทราบ ดังต่อไปนี้ โปรดทำความเข้าใจให้ดีเถิด


    ข้อความบางตอนจากปาฐกถาเรื่องกายสาม โดยพระเดชพระคุณ พระพรหมมุนี (สุวจเถร) วัดบวรนิเวศวิหาร จัดพิมพ์โดยมหามกุฏราชวิทยาลัย ฯ พ.ศ. ๒๕๒๗



    เรื่องกายสาม ฯลฯ มีพระบาลีในมหาสติปัฏฐานสูตรบทหนึ่งว่า “กาเย กายานุปสฺสี” “พิจารณาเห็นกายในกาย” พระบาลีบทนี้ แม้แปลเป็นภาษาไทยแล้วก็ยังเข้าใจความยาก มีผู้อธิบายกันเป็นหลายนัย ฝ่ายที่เป็นนักเรียน อธิบายว่า “พิจารณาอย่างหนึ่งในกายทั้งหลาย” หมายความว่าให้แยกกายที่รวมกันหลาย ๆ อย่าง ยกขึ้นพิจารณาทีละอย่าง ๆ เช่น พิจารณาหมู่ขนอย่างหนึ่ง ผมอย่างหนึ่ง เล็บอย่างหนึ่ง เป็นต้น ส่วนนักธรรม อธิบายและความหมายความไปอีกอย่างหนึ่ง คือ หมายความว่า ให้พิจารณากายธรรมในกายทิพย์ ให้พิจารณากายทิพย์ในกายมนุษย์ เป็นชั้น ๆ กันออกมา หรือให้พิจารณากายมนุษย์ในกายทิพย์ ให้พิจารณากายทิพย์ในกายธรรม เป็นชั้น ๆกันเข้าไป กายมนุษย์อยู่ชั้นนอก กายทิพย์อยู่ชั้นกลาง กายธรรมอยู่ชั้นใน


    จะว่าของใครผิดก็ว่ายาก น่าจะถูกด้วยกันทั้งสองฝ่าย คือ ฝ่ายนักเรียนก็แปลถูกด้วยแบบแผนและไวยากรณ์ หรือข้อปฏิบัติในเบื้องต้น ฝ่ายนักธรรม หรือ นักปฏิบัติก็ถูกด้วยอาคตสถาน มีที่มาเหมือนกัน และในทางปฏิบัติชั้นกลางและชั้นสูงก็มีได้. โดยอาคตสถานคือที่มา กายมนุษย์และกายทิพย์ มีที่มา เช่น ในมหาสมัยสูตรว่า


    เย เกจิ พุทฺธํ สรณํ คตา เส น เต คมิสฺสนฺติ อปายภูมึ
    ปหาย มานุสํ เทหํ เทวกายํ ปริปูเรสฺสนฺติ ฯ


    แปลความว่า “บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ บุคคลเหล่านั้นจักไม่ไปสู่อบายภูมิ ละกายที่เป็นของมนุษย์แล้ว จักยังเทวกายให้เต็มรอบ ดังนี้


    พระคาถานี้ เรียกกายมนุษย์ว่า “มานุสเทหะ” ซึ่งแปลว่า “กายอันเป็นของมีอยู่แห่งมนุษย์” เรียกทิพยกายว่า “เทวกาย” โดยความก็เหมือนกัน.



    ธรรมกายนั้น เช่น พระบาลีในอัคคัญญสูตรแห่งสุตตันตปิฎก ปาฏิกวรรค ทีฆนิกาย (หน้า ๙๒) ว่า “ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฏฺฐา อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปิ พฺรหฺมกาโย อิติปิ ธมฺมภูโต อิติปิ พฺรหฺมภูโต อิติปิ” แปลว่า “ดูก่อนวาเสฏฐโคตรทั้งหลาย คำว่า ธรรมกาย ก็ดี พรหมกายก็ดี ธรรมภูตก็ดี พรหมภูตก็ดี เป็นชื่อของตถาคต ดังนี้.....”


    ธรรมกาย คือกายธรรม นี้เป็นชั้นละเอียด เมื่อกล่าวด้วยเรื่องกายธรรม จำเป็นต้องจะต้องอธิบายคำว่า “ธรรม” ในศัพท์นี้ให้เข้าใจก่อน ธรรมหรือธาตุนั้น ตามพยัญชนะแปลว่า “ทรง” เมื่อถือเอาคำว่า “ทรง” เป็นประมาณ ก็ไม่อธรรม แม้ในสภาพที่เป็นธรรม ซึ่งแปลว่า “ทรง” นั้นเมื่อเพ่งตามอาการแล้ว ก็มีทรงอยู่ ๒ อย่างคือ ทรงอยู่อย่างนั้น ไม่แปรผันเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ซึ่งเรียกว่า อสังขตธรรม ธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง หรืออมตธรรม ธรรมที่ไม่ตาย อย่างหนึ่ง ทรงอยู่ชั่วครู่ชั่วคราว แล้วก็เปลี่ยนแปลง เป็นอย่างอื่นไป เช่น ร่างกายของคนของสัตว์ หรือสิ่งประดิษฐ์ทุก ๆ ชนิดอย่างหนึ่ง อย่างหลังนี้ท่านเรียกว่าสังขตธรรมบ้าง สังขารธรรมบ้าง เพราะเป็นธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งขึ้น เรียกว่ามตธรรม ธรรมที่ตายสลายไปบ้าง



    คำว่า ธรรมกาย ในที่นี้เข้าใจว่า หมายเอาอสังขตธรรมหรืออมตธรรมที่เป็นส่วนโลกุตตรธาตุหรือโลกุตตรธรรม ไม่ใช่โลกียธาตุหรือโลกียธรรม**


    คำว่า ธรรมกาย ได้แก่อะไร ธรรมที่เรียกว่า ธรรมกาย นี้ เข้าใจว่า หมายเอาอสังขตธรรมทั้งที่เป็นวิราคะ*** ทั้งที่เป็นสราคะ**** ถ้าเป็นวิราคธรรมก็เป็นธรรมกายที่บริสุทธิ์ ถ้ายังไม่เป็นวิราคธรรม ก็ยังไม่เป็นธรรมกายที่บริสุทธิ์ แต่ ธรรมกาย ที่มาในอัคคัญญสูตร คำว่า ธรรมกาย ก็ดี พรหมกาย ก็ดี เป็นชื่อ หรือคำร้องเรียกซึ่ง “ตถาคต” นั้น มีปรากฏที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในที่อื่นอีกหลายแห่ง เช่น ใน อัคคิเวสสนวัจฉโคตรสูตรเป็นต้น เล่าว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงแก่วัจฉโคตรปริพาชก ปฏิเสธขันธ์ว่า เขาบัญญัติตถาคตด้วยรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันใด รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันนั้น ตถาคตละเสียได้แล้ว ทำให้เหมือนตาลมีรากขาด มียอดด้วน ไม่เจริญอีกแล้วดังนี้ นี่ก็ได้ความว่า ตถาคตไม่ใช่นาม ไม่ใช่รูป ไม่ใช่ขันธ์ ๕ ไม่ใช่อายตนะ ๖ ไม่ใช่ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ไม่ใช่โลกิยธาตุ ตถาคตนั้นเป็นธรรมซึ่งบางครั้งหรือบางแห่งก็เรียกว่า “เรา” เช่นใน วักกลิสูตร ทรงแสดงแก่พระวักกลิว่า “ประโยชน์อันใดด้วยการมานั่งแลดูร่างกายซึ่งเป็นของเน่านี้ ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม” ดังนี้ แต่คำว่า เรา ๆ นี้มีที่ใช้หลายแห่งเราแก่ เราเจ็บ เราตายก็มี เราเป็นผู้พลัดพรากจากนามรูป ที่แก่ ที่เจ็บ ที่ตาย ซึ่งเป็นของรักยิ่งนั้นก็มี เราเป็นผู้เป็นไปตามกรรมก็มี อันมาในอภิณหปัจจเวกขันธ์ เราไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ก็มี เราที่แสดงไว้ในวักกลิสูตรนั้น ไม่ใช่เรา ๓ ข้อ ข้างต้น ในอภิณหปัจจเวกขณ์นั้น “เรา” ในพระสูตรนี้ เป็นเรา “ตถาคต” เราใช้ใน “ธรรมกาย” ที่บริสุทธิ์ <!--MsgFile=0-->
     
  3. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ต้องไป พิจารณา ในมหาสิตปัฎฐานสูตร เรื่อง กายในกาย นั้น พูดถึงแต่ อานาปานบรรพ
    อาริยาบถบรรพ สัมปชัญญะบรรพ ปฏิกูลมนสิการบรรพ ธาตุมนสิการบรรพ ทั้งหมดเป็น สิ่งที่เป็นจริง ที่สังเกตุได้ในโลก ไม่ได้พูดไปถึงเรื่องกายทิพย์เลย การตีความของฝ่ายธรรมกายนั้นเป็นการตีความเข้าข้างตนอย่าง น่าเกลียด เป็นการทำลายพระศาสนาอย่างยิ่ง

    แต่คำพูด ที่น่าจะพ้องกับธรรมกายมากที่สุด คือ เรื่อง อภิภายตนะ คือ การมีอายตนะ ที่นอกเหนือจากปกติ ซึ่งไม่ใช่หลักธรรม เป็นเพียงบางส่วนที่พระพุทธองค์ ยกขึ้นประกอบ

    อย่าจับแพะชนแกะเลยครับ
     
  4. upanya

    upanya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2006
    โพสต์:
    900
    ค่าพลัง:
    +1,035
    จริงๆแล้วก็คือตอนปฏิบัติไม่ได้ผลตามที่ครูสอนใช่มั๊ยครับ
    ครูสอนอะไรก็ทำไม่ได้ตามนั้นใช่มั๊ยครับ
    ได้แต่คิดเอาว่ามันต้องเป็นไปแบบที่พี่คิดไว้ แน่ๆ

    ผมมองว่าตรงนี้เป็นสาระนะครับเพราะอย่างที่พี่บอกไว้ว่า"คุณควรพูดในธรรมที่คุณรู้"
    พี่ไม่ได้รู้ได้เห็นตามลำดับที่เป็นไปแล้วนำมาพิจารณาว่าที่เห็นอยู่นั้นสภาวะของใจเป็นอย่างไร

    ได้แต่ดึงดันให้เป็นเหมือนอย่างที่พี่เข้าใจว่ามันก็คงเป็นอย่างนั้นแน่
     
  5. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ไปอ่านใน พระสุตตันตปิฎก เล่ม 2 ทีฆนิกาย มหาวรรค เรื่องมหาสติปัฎฐานสูตร ให้ดูแต่ละบรรพที่ผมยกมาให้ดีว่า ใจความนั้น หมายถึงอะไร อย่าเอาแค่คำว่า กายในกาย มาหมายถึง กายมนุษย์ กาย เทวดา กายพระอรหันต์อะไร
    มัน เป็นการตีความที่น่าเกลียด ยิ่งกว่า ดาร์วินชี่โคด
     
  6. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    รู้และเห็น ตามลำดับ ที่ธรรมกายพูดมาเมื่อไรก็ได้ ไม่ใช่ ไม่รู้และไม่ได้ตามลำดับ เอาทุกลำดับเลย ระดับไหนดีหละ นั่งเดี๋ยวนี้ผมก็เห็น วิสุทธิเทพตรงหน้าเลย
     
  7. upanya

    upanya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2006
    โพสต์:
    900
    ค่าพลัง:
    +1,035
    เหยือกเต็มหรือยัง <TT>? </TT>
    <TT></TT>
    <TT>ชายหนุ่มคนหนึ่งได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยเอกชน </TT>
    <TT>เพื่อให้เป็นวิทยากรพิเศษสอนวิชาปรัชญาให้กับนักศึกษาปริญญาโท </TT>
    <TT>เขาเตรียมการสอนอยู่หลายวันจึงตัดสินใจจะสอน </TT>
    <TT>นักศึกษาเหล่านั้นด้วยแบบฝึกหัดง่ายๆ </TT>
    <TT>แต่แฝงไว้ด้วยข้อคิด </TT>
    <TT></TT>
    <TT>เขาเดินเข้าห้องเรียนมาพร้อมด้วยของสองสามอย่างบรรจุอยู่ในกระเป๋าคู่ใจ </TT>

    <TT>เมื่อได้เวลาเรียน </TT>
    <TT>เขาหยิบ เหยือกแก้ว </TT>
    <TT>ขนาดใหญ่ขึ้นมา แล้วใส่ </TT>
    <TT>ลูกเทนนิส ลงไปจนเต็ม </TT>
    <TT>' </TT>
    <TT>พวกคุณคิดว่าเหยือกเต็มหรือยัง?' </TT>
    <TT>เขาหันไปถามนักศึกษาปริญญาโท </TT>
    <TT></TT>
    <TT>แต่ละคนมีสีหน้าตาครุ่นคิดว่าอาจารย์หนุ่มคนนี้จะมาไม้ไหนก่อนจะตอบพร้อมกัน </TT>
    <TT>' เต็มแล้ว... ' </TT>
    <TT>เขายิ้มไม่พูดอะไรต่อหันไปเปิดกระเป๋าเอกสารคู่ใจ </TT>
    <TT>หยิบกระป๋องใส่กรวดออกมา </TT>
    <TT>แล้วเท กรวดเม็ดเล็กๆ </TT>
    <TT>จำนวนมากลงไปในเหยือกพร้อมกับเขย่าเหยือกเบาๆ </TT>
    <TT>กรวดเลื่อนไหลลงไปอยู่ระหว่างลูกเทนนิสอัดจนแน่นเหยือก </TT>
    <TT>เขาหันไปถามนักศึกษาอีก </TT>
    <TT>เหยือกเต็มหรือยัง ?' </TT>
    <TT>นักศึกษามองดูอยู่พักหนึ่งก่อนจะหันมาตอบ </TT>
    <TT>' เต็มแล้ว... ' </TT>
    <TT>เขายังยิ้มเช่นเดิม </TT>
    <TT>หันไปเปิดกระเป๋าหยิบเอาถุงทรายใบย่อมขึ้นมา </TT>
    <TT>และเททรายจำนวนไม่น้อยใส่ลงไปในเหยือก </TT>
    <TT>เม็ดทราย </TT>
    <TT>ไหลลงไปตามช่องว่างระหว่างกรวด </TT>
    <TT>กับลูกเทนนิสได้อย่างง่ายดาย </TT>
    <TT>เขาเทจนทรายหมดถุง </TT>
    <TT>เขย่าเหยือกจนเม็ดทรายอัดแน่นจนแทบล้นเหยือก </TT>
    <TT></TT>
    <TT>เขาหันไปถามนักศึกษาอีกครั้ง </TT>
    <TT>' เหยือกเต็มหรือยัง ?' </TT>
    <TT></TT>
    <TT>เพื่อป้องกันการหน้าแตกนักศึกษาปริญญาโทเหล่านั้นหันมามองหน้ากัน </TT>
    <TT>ปรึกษากันอยู่นาน </TT>
    <TT></TT>
    <TT>หลายคนเดินก้าวเข้ามาก้มๆ </TT>
    <TT>เงยๆ </TT>
    <TT>มองเหยือกตรงหน้าอาจารย์หนุ่มอยู่หลายครั้ง </TT>
    <TT>มีการปรึกษาหารือกันเสียงดังไปทั้งห้อง! </TT>
    <TT>เรียน </TT>
    <TT>จวบจนเวลาผ่านไปเกือบห้านาที </TT>

    <TT>หัวหน้ากลุ่มนักศึกษาจึงเป็นตัวแทน </TT>
    <TT>เดินเข้ามาตอบอย่างหนักแน่น </TT>
    <TT></TT>
    <TT>คราวนี้เต็มแน่นอนครับอาจารย์ </TT>
    <TT>' </TT>
    <TT>' แน่ใจนะ ' </TT>
    <TT></TT>
    <TT>' แน่ซะยิ่งกว่าแน่อีกครับ </TT>
    <TT>' คราวนี้เขาหยิบ น้ำอัดลม </TT>
    <TT>สองกระป๋องออกมาจากใต้โต๊ะแล้วเทใส่เหยือกโดยไม่รีรอ </TT>
    <TT>ไม่นานน้ำอัดลมก็ซึมผ่านทรายลงไปจนหมด </TT>
    <TT>ทั้งชั้นเรียนหัวเราะฮือฮากันยก ใหญ่ </TT>
    <TT>เขาหัวเราะอย่างอารมณ์ดี </TT>
    <TT>' </TT>
    <TT>ไหนพวกคุณบอกว่าเหยือกเต็มแน่ๆ </TT>
    <TT>ไง ' เขาพูดพลางยกเหยือกขึ้น </TT>
    <TT></TT>

    แล้วคุณคิดว่าเหยือกของคุณเต็มหรือยัง
    >>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>


    คุณแน่ใจแล้วหรือว่าเหยือกที่คุณเห็นมันเต็มแล้วแน่นอน
     
  8. upanya

    upanya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2006
    โพสต์:
    900
    ค่าพลัง:
    +1,035

    ตอนนี้เห็นกายอรูปพรมมั๊ยครับ
     
  9. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ขอเรียนให้ทราบว่า ผมเองมิได้มีเจตนาเอาชนะใคร และเนื่องจากเห็นถึงความไม่รู้จริงในสิ่งที่ท่านกำลังสนทนากัน โดยเฉพาะผู้ไม่เข้าใจต่อการฝึกภาวนาวิชชาธรรมกาย และบางครั้งท่านก็ใช้อัตโนมติของท่านเองเป็นความเห็นส่วนตัวตัดสินว่าวิชชาธรรมกายต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เช่น ธรรมกายเป็นแค่เพียงรูปนิมิตบ้าง ไม่ใช่วิปัสสนาบ้าง ไม่พิจารณาอนัตตาบ้าง ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดและเป็นการสร้างความสับสนให้แก่ผู้อ่านอื่นๆ ที่ไม่มีพื้นความเข้าใจเพียงพอ


    ผมจึงเห็นถึงอันตรายที่เกิดจากความเห็นผิดของบางท่าน ที่ไม่เข้าใจ ชอบพูดอวด คิดเห็นเองฝ่ายเดียว ความรู้น้อย แลไม่เข้าถึงความจริงใดๆ เมื่อท่านกล่าวความไม่รู้จริงออกมา ย่อมได้ชื่อว่าสร้างโมหะอคติติดนิสัยสันดานจิตให้เกิดเเป็นบาปเวรภัยได้ทั้งปัจจุบันและอนาคตเบื้องหน้า ผมเพียงต้องการให้ผู้ไม่รู้ท่านอื่นได้มีข้อมูลในการพิจารณา และไม่เชื่ออะไรเพียงด้านเดียว อันอาจเกิดเป็นความประมาทแลเกิดบาปอกุศลในจิตใจได้ สำหรับท่านที่มีอคติท่านจะคิดประการใด ท่านจะเอาความไม่รู้จริงของท่านมาทำลายทำร้ายสัจธรรมความเป็นจริงได้หรือ อันเรื่องของการฝึกปฏิบัติสมาธิแนวธรรมกายนั้น มีทั้งพระภิกษุ แม่ชีอุบาสิกา แลผู้มีศีลมีธรรมมากมายฝึกฝนปฏิบัติเรียนรู้อยู่ทั่วไป ท่านเองคิดว่าท่านเก่งกว่า ฉลาดกว่า รู้วิเศษกว่า รู้ถูกต้องไปเสียทุกเรื่องมากกว่าท่านผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเหล่านี้หรือ...? ท่านกล่าวเชิงให้ร้ายต่อวิชชาธรรมกายก็เท่ากลับกล่าวตู่ความรู้และวัตรปฏิบัติของท่านผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเหล่านี้ ท่านจะก่อบาปเบียดเบียนผู้อื่นไปเพื่ออะไร ท่านปิดประตูนรกได้แล้วแน่เทียวหรือ...?


    ขอท่านผู้มีปัญญาและมีใจเป็นธรรมจงไตร่ตรองดูเถิด...


    ผมจะเสนอความรู้ให้ทราบต่อไปเรื่อยๆ จนกว่ากระทู้นี้จะยุติลง ต่างคนต่างความเห็นก็ควรจะต่างคนต่างอยู่ในที่ๆ เหมาะสมของตนเถิด ควรหรือที่จะนำความสามารถของตนมากระทบกระทั่งเบียดเบียนกันอันเป็นส่วนแห่งบาปนะครับ
     
  10. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    คุณ อัปปัญญา อย่าเอาเรื่องอะไรแบบนี้มาสอนผมเลย ผมสอนคนมาเท่าไร คุณไม่ได้รู้อะไรเลยเสียด้วยนะ

    เพราะฉะนั้นถ้าจะ ยกเหตุผลอะไรมาประกอบ มาถก ก็ให้ยกมาถกด้วยเหตุด้วยผล อย่าไปทำนิสัยอย่างเต้าเจี้ยว คุณอยากตกนรกตามเขาหรือ

    ไม่ต้องมาพูดว่า ผมดีหรือไม่ดี แต่ให้ ดูที่ธรรม การเล็งที่ตัวบุคคล มันไม่ได้ทำให้การถกดีขึ้น

    ผมชื่นชม สมถะ ที่เอาธรรมมาพูด ไม่ได้เล็งที่ตัวบุคคล
     
  11. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    สมถะ คุณ เอาธรรมมาโต้กัน อย่าไปเอาเรื่อง อื่นมาปน คุณ แก้ต่างสิ่งที่ผมพูดสิ ว่า คุณจะว่าอย่างไร ในประเด็นคำว่า กายในกาย แล้วค่อยไปพูดเรื่องอื่นต่อ
     
  12. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ไม่รู้จักแยก ระหว่างสมถะ กับวิปัสสนา ออกจากกันชั่วคราว ติด อุปกิเลส เข้าให้
    ว่าง ๆ เข้าไปดู สติฐาน บ้างนะครับ เผื่ออาจจะช่วยให้ออกจากวัฏสงสารได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
    http://palungjit.org/showthread.php?t=131076
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2008
  13. upanya

    upanya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2006
    โพสต์:
    900
    ค่าพลัง:
    +1,035
    ผมต้องพิจารณาก่อนครับว่าผมคุยกับใคร
    คนที่ผมสนทนาด้วยมีจริยธรรมหรือไม่
    และผมจะเชื่อสิ่งที่เขาพูดได่หรือเปล่า

    ใหนบอกสามารถทำได้ตอนนี้ ตอบสิครับ อย่าไปอย่างอื่น

    อยากรู้ว่าพี่ขี้โม้จริงๆหรือเปล่า
     
  14. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]



    พระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม)
    รองเจ้าอาวาสและพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ



    [​IMG]


    บทสัมภาษคัดมาจากคำอธิบายเกี่ยวกับสมาธิภาวนาวิชชาธรรมกาย



    ยากจะสนทนาเกี่ยวกับเรื่องประวัติความเป็นมาของวิชชาธรรมกาย

    วิชชาธรรมกายเป็นวิชาที่พระพุทธเจ้าท่านเห็นที่ใต้ต้นโพธิ์ เราเรียกว่า โคตรภู หรือ ธรรมกาย นั่นเป็นกายอีกกายหนึ่งที่จะนำเราเข้าสู่มรรคผลนิพพาน กายมนุษย์เราจะเข้ามรรคผลนิพพานไม่ได้ ในเวลาที่เราตายแล้วก็เอาไปเผา มีอีกกายหนึ่งที่เรานอนไปกลางคืนแล้วฝันเรียกว่า กายมนุษย์ละเอียด

    กายมนุษย์ละเอียด(กายฝัน) นี่เวลาเราตาย แล้วมันไปทำหน้าที่ปลุกนะ กายมนุษย์ละเอียดทำหน้าที่เกิด

    ถ้าเราจะไปเกิดบนสวรรค์เราต้องเอากายทิพย์ไป กายทิพย์ไปเกิดบนสวรรค์ได้ หรือจะไปนรกก็เอากายทิพย์ไป

    ถ้าเรามีฌาณเราก็ต้องเอากายรูปพรหมไป

    ถ้าเรามีอรูปฌาณเราก็ต้องเอากายอรูปพรหมไป

    ถ้าเราจะไปนิพพาน เราก็ต้องเอากายธรรมไป

    แต่ ถ้าเราเข้าถึงคุณธรรมของพระโสดาเราก็จะเห็นกายพระโสดา ถ้าเรามีคุณธรรมของพระสกิทาคามีเราก็เห็นกายพระสกิทาคามี ถ้าเราเข้าถึงคุณธรรมของพระอนาคามีเราก็เห็นกายพระอนาคามี ถ้ามีคุณธรรมของพระอรหันต์ก็เห็นกายพระอรหันต์ได้ มันถอดไปเป็นชั้นๆ ไป



    อยากเรียนถามว่า วิชชาธรรมกาย หลวงพ่อสดเป็นผู้ค้นพบหรือว่า.....?

    พระพุทธเจ้าท่านค้นพบไว้ก่อนแล้ว



    มีระบุในพระไตรปิฎก

    มีในพระไตรปิฎก มีอยู่ในพระไตรปิฎกหลายตอน



    ในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าเองก็....?

    มีธรรมกายเหมือนกัน หมายถึงถ้าจะเข้าสำนักปฏิบัติธรรมต้องมีธรรมกายเหมือนกัน แล้วธรรมกายนี่ไม่ใช่มีเฉพาะคนไทยน่ะ มีทั่วไป ฝรั่งก็มีธรรมกาย อินเดียก็มีธรรมกาย มีทั่วไป เคยมีศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยปารีสอยู่มหาวิทยาลัยปารีส นั่นก็ได้ธรรมกายเหมือนกัน เคยสอนพระที่ญี่ปุ่นเคยเห็นมีธรรมกาย



    สมมติว่าเป็นการปฏิบัติสมาธิโดยใช้อุบายอย่างอื่นไม่ใช่ดวงแก้ว ไม่ทราบว่าจะเห็นธรรมกายเหมือนกันหรือไม่?

    เห็น แต่ว่าการทำสมาธินี่เราต้องอาศัยสิ่งสามอย่าง บริกรรมนิมิต บริกรรมภาวนา และที่ตั้งของใจ ที่ตั้งของใจ ใจของเรานี่ย่อมมีที่ตั้งเหมือนของทุกอย่างที่มีที่ตั้งทั้งนั้น ถ้าไม่มีที่ตั้งก็ล้มมันก็เสียหาย ใจเราก็เหมือนกัน ต้องมีที่ตั้ง จะไปตั้งที่ไหนจะต้องไปตั้งที่กลางตัว โบราณเขาเรียกว่าที่ สิบ และเหนือสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วเราเรียกว่าที่ ศูนย์ "สิบ" "ศูนย์" นี้เป็นเรื่องสำคัญในการทำสมาธิ ถ้าเราเข้าสิบเข้าศูนย์ทำสมาธิ ถ้าเราเห็นองค์พระเราต้องเห็นตรงนี้

    สังเกตดูเวลาเราจะนอนตาจะเหลือกขึ้น ตาเหลือกขึ้นใจมันก็เหลือกตาม

    ที่ศูนย์เป็นที่เกิด ที่ดับ ที่หลับ ที่ตื่น ถ้าเราจะ "เกิด" ใจต้องไปหยุดตรงนั้น "ตาย" ใจต้องหยุดตรงนั้น หลับก็หลับที่ตรงนั้น ตื่นต้องตื่นที่ตรงนั้น ต้องเห็นทุกคน



    แม้ว่าจะปฏิบัติสมาธิในแนวไหน

    ปฏิบัติสมาธิในแนวอะไรก็ตาม จะต้องเป็นสมถะ ต้องเห็นองค์พระที่นั่น ถ้าไปทำข้างนอกไม่ได้ผิดทาง ถ้าทำข้างนอก ที่เขานั่งกรรมฐานแล้วบ้านะใจมันอยู่ข้างนอกนะ ใจเราต้องอยู่ในตัวเองที่ศูนย์ ที่ว่าต้องมีน้ำเลี้ยงหัวใจ หล่อเลี้ยงน้ำเลี้ยงหัวใจ ใจมันอยู่ด้วยน้ำเลี้ยงหัวใจ คราวนี้เราถอนออกมาไว้ข้างนอกมันจะกลายเป็นโรคที่โบราณเขาเรียกว่า โรคบาทจิต โรคนอนไม่หลับ



    เฉพาะพวกเพ่งกสิณใช่ไหม

    ไม่ใช่ เพ่งกสิณนี้ถ้าเพ่งถูกแล้วได้นิมิตธรรมไว้ข้างในตัวแล้วเอาไปไว้ฐานที่ ๗ เลย เหนือสะดือ ๒ นิ้ว เอาไปไว้ที่นั่น ถ้าเราเพ่งข้างนอกเรื่อยๆ ไม่ได้จะเป็นบ้า เพราะฉะนั้นนั่งกรรมฐานจะต้องเอาจิตไปไว้ที่สิบที่ศูนย์ ใจจะหยุดนิ่งก็อยู่ที่นั่น ถ้าเราไปไว้ข้างนอก มันหยุดนิ่งเหมือนกันแต่มันจะทำให้เป็นบ้า

    เคยเห็นมีเด็กคนหนึ่งนั่งภาวนาพูดอะไรเลอะๆ เลือนๆ ไปถามเขาดู ได้ความว่า เอาจิตไว้ข้างนอกไม่เข้าข้างใน แล้ว เราจะให้พวกนี้เอาจิตเข้าข้างใน ไม่เข้าหรอก เพราะมันเคยแต่ข้างนอก พอวันที่ ๒ ที่ ๓ มันจะเข้า พอเข้ามันจะหลับ แต่พวกนี้นอนไม่หลับ กลางคืนนอนไม่หลับ มันเป็นอันตรายอย่างหนึ่งของการทำกรรมฐาน เพราะฉะนั้นการเรียนกรรมฐานเราต้องหาอาจารย์ที่รู้เรื่องจริงๆ เดี๋ยวนี้อาจารย์เยอะ ลูกศิษย์เป็นบ้าแก้ไม่ได้ ต้องมาหาเราให้แก้ สมัยหลวงพ่อวัดปากน้ำนี่ คนเราเป็นโรคอย่างว่านี่นะเล่นกสิณเล่นอะไรแล้วมันไม่น้อมเข้าไปในตัวเป็น บ้าเยอะแล้ว หลวงพ่อก็แก้ แก้แล้วให้กินยาบาทจิต พอกินยาบาทจิตแล้วก็ขย้อน แล้วทำให้นอนหลับ ได้เวลานอนหลับใจมันลงอยู่ที่ศูนย์ก็หาย



    หลวงพ่อบางท่านบอกว่าที่ปฏิบัติสมาธิแล้วเป็นบ้าเพราะว่าคนนั้นเป็นบ้าอยู่แล้ว คนนั้นมีเชื้ออยู่แล้ว ?

    ไม่ใช่ ใจมันออกจากศูนย์ ใจมันออกจากตัว ไอ้นี่เรื่องใหญ่ ถ้าเราปฏิบัติกรรมฐานแล้วใจออกข้างนอกเป็นได้ทุกคนไม่ว่าผู้ชายไม่ว่าผู้ หญิง



    แต่รักษาได้ใช่ไหม

    รักษาได้ด้วยวิธีให้น้อมเอาใจไว้ที่กลางตัว(ฐานที่ ๗) มีหมอมาเรียนกับฉัน หมอแกเป็นแล้ว แกไปที่คลีนิค แกไม่ให้กินยาให้เอาใจไปวางไว้อยู่ที่นั่น(ฐานที่ ๗) เดี๋ยวก็หาย



    ธรรมกายไม่ใช่กายมนุษย์ละเอียด?

    ไม่ใช่กายมนุษย์ละเอียด ไม่ใช่กายรูปพรหมและกายอรูปพรหม เขาเรียกกายธรรม



    เป้าหมายการฝึกสมาธิตามแนววิชชาธรรมกายเพื่อบรรลุธรรมกาย

    เพื่อให้บรรลุธรรมกายเพื่อให้เข้าสู่มรรคผลนิพพาน
     
  15. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    เอาล่ะ คุณjinny95 ต้องการทราบอะไรโปรดถามมาเป็นข้อๆ เถิด การที่คุณมีอคติอย่าใดอย่างหนึ่งต่อการปฏิบัติแนวธรรมกายนั้นน่าจะมีมูลเหตุอยู่นะครับ


    ขอให้คุณjinny95 ทำใจให้เป็นเป็นกลางๆ วางอคติลงก่อน แล้วค่อยๆ อ่านทวนเนื้อหาที่ผมได้นำเสนอทุกเรื่อง คุณอาจเข้าใจเรื่องการฝึกปฏิบัติภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายได้ชัดเจนขึ้น ผมเรียนคุณก่อนว่าผมมิใช่คนของวัดพระธรรมกาย ผมไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับวัดพระธรรมกายเลย ผมนำเสนอความรู้ตามแบบอย่างที่ถูกต้องของสำนักวัดปากน้ำซึ่งเป็นต้นตำรับของการฝึกภาวนาวิชชาธรรมกายนะครับ


    อย่าเอาเพียงความเห็นส่วนตัวมานั่งทะเลาะกันเพื่อหวังผลแพ้ชนะและด้วยความสะใจทางอารมณ์เท่านั้นนะครับ สิ่งที่คุณไม่รู้ไม่เห็นจะกล่าวว่าไม่จริงไม่มีนั้นสมควรอยู่หรือ โปรดจงไตร่ตรองให้ดีเถิด...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2008
  16. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    เด็ก จริงๆ อัปปัญญา ผมไม่สนทนาแล้ว มีธุระต้องไปทำอย่างอื่น เอาไว้ว่างๆ ผมจะมาคุยด้วย
     
  17. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    เรื่องกายในกายนั้น เราควรพิจารณาด้วยเหตุผลให้ได้ก่อน ดังนี้


    [​IMG]


    “ธรรมกาย” ในแนวคิดพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส)
    http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2006/05/Y4359375/Y4359375.html


    ปกรณ์ของฝ่ายทักษิณนิกาย หรือเถรวาท (คือฝ่ายเรา) ท่านโบราณจารย์แบ่งพระกายของพระพุทธเจ้าเป็น ๓ ภาคเช่นเดียวกันกับปกรณ์ของฝ่ายมหายาน แต่เรียงลำดับจากต่ำไปหาสูง คือ

    ๑. พระรูปกาย เป็นพระกายซึ่งเอากำเนิดจาก พระพุทธบิดา พระพุทธมารดาที่เป็นมนุษย์
    ธรรมดา ประกอบด้วยธาตุทั้ง ๔ เหมือนกายของสามัญมนุษย์เป็นแต่บริสุทธิ์สะอาดสวยงาม พระฉวีวรรณเปล่งปลั่งเกลี้ยงเกลากว่ากายของมนุษย์สามัญ เป็นวิบากขันธ์สำเร็จมาแต่พระบุญญาบารมี


    ๒. พระนามกาย ได้แก่กายชั้นใน ปราชญ์บางท่านเรียกว่ากายทิพย์ และว่าเป็นกายที่มีรูปร่างสัณฐานเหมือนกายชั้นนอก เป็นแต่ว่องไวกว่าและสามารถกว่ากายชั้นนอกหลายร้อยเท่า สามารถออกจากร่างหยาบไปในที่ไหน ๆ ได้ตามต้องการ เมื่อกายหยาบสลาย กายชั้นนี้ยังไม่สลายจึงออกร่างไปหาที่เกิดใหม่ต่อไป นามกายเป็นของมีทั่วไปแม้แต่สามัญมนุษย์ แต่ดีเลวกว่ากันด้วยอำนาจกุศล อกุศลที่ตนทำไว้แต่ก่อน ส่วนพระนามกายของพระพุทธเจ้าท่านว่าดีวิเศษยิ่งกว่าของสามัญมนุษย์ด้วยอำนาจพระบุญญาบารมีที่ทรงบำเพ็ญมาเป็นเวลาหลายอสงไขยกัลป์


    ๓. พระธรรมกาย ได้แก่ พระกายธรรมอันบริสุทธิ์ ไม่สาธารณะทั่วไปแก่เทวาและมนุษย์ หมายถึง พระจิตที่พ้นจากกิเลสอาสวะแล้วเป็นพระจิตบริสุทธิ์ผุดผ่อง มีพระรัศมีแจ่มจ้า เปรียบเหมือนดวงอาทิตย์อุทัยไขแสงในนภากาศฉะนั้น พระธรรมกายนี้เป็นพระพุทธเจ้าที่จริงแท้ เป็นพระกายที่พ้นเกิด แก่ เจ็บ ตาย และทุกขโศกทั้งหลายได้จริง เป็นพระกายที่เที่ยงแท้ถาวร ไม่สูญสลายเป็นอยู่ชั่วนิรันดร



    แต่ท่านมิได้บอกให้แจ้งชัดว่า พระธรรมกายนี้มีรูปพรรณสัณฐานเช่นไรหรือไม่ เป็นที่รวมแห่งธรรมทั้งปวง


    ความเชื่อว่าพระอรหันต์นิพพานแล้ว ยังมีอยู่อีกส่วนหนึ่งซึ่งเป็นพระอรหันต์แท้ไม่สลายตามกาย คือความเป็นพระอรหันต์ไม่สูญ ความเป็นพระอรหันต์นี้ท่านก็จัดเป็นอินทรีย์ชนิดหนึ่งเรียกว่า อัญญาตาอินทรีย์ พระผู้มี พระภาคเจ้าคงหมายเอาอินทรีย์นี้เอง บัญญัติเรียกว่า วิสุทธิเทพ เป็นสภาพที่คล้ายคลึงวิสุทธาพรหมในสุทธาวาสชั้นสูง เป็นแต่บริสุทธิ์ยิ่งกว่าเท่านั้น


    เมื่อมีอินทรีย์อยู่ก็ย่อมจะบำเพ็ญประโยชน์ได้ แต่ผู้จะรับประโยชน์จากท่านได้ก็จะต้องมีอินทรีย์ผ่องแผ้วเพียงพอที่จะรับรู้เห็นเท่าท่านได้ เพราะอินทรีย์ของพระอรหันต์ประณีตสุขุมที่สุด แม้แต่ตาทิพย์ของเทวดาสามัญก็มองไม่เห็นมนุษย์สามัญซึ่งมีตาหยาบ ๆ จะเห็นได้อย่างไร


    อินทรีย์ของพระอรหันต์ นั่นแหละเรียกว่า อินทรีย์แก้ว หู ตา จมูก ลิ้น กาย และใจของท่านเป็นแก้ว คือ ใสบริสุทธิ์ดุจแก้วมณีโชติ ผู้บรรลุถึงภูมิแก้วแล้วย่อมสามารถพบเห็นพระแก้ว คือพระอรหันต์ที่นิพพานแล้วได้ <!--MsgFile=0-->
     
  18. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    [​IMG]

    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา ได้กล่าวถึงคำว่า ธรรมกายไว้ในหลายนัยในไตรพิธกายหน้า ๒๑๔-๒๑๗ ความว่า คนเรามีกายสามชั้น คือ


    ๑. สรีรกาย กายที่แลเห็น ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย


    ๒. ทิพยกาย คือ กายที่เป็นความรู้สึกภายใน ผันแปรไปตาม กุสลากุศลธรรม แต่ไม่แก่
    ไม่ไข้ แลไม่ตาย


    ๓. ธรรมกาย คือ กายที่เที่ยง ถาวร ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ไข้ ไม่ตาย เพราะเป็นชาติอมตธรรม
    นอกจากนี้ท่านยังได้กล่าวถึงในตรีพิธกายว่า สัตว์ทั้งหลายมีกายสามชั้น ในหน้า ๒๓๖-๒๓๗ ความว่า

    ๑. รูปกาย เป็นเปลือกชั้นนอก

    ๒. นามกาย เป็นเปลือกชั้นใน

    ๓. ธรรมกาย เป็นแก่น ไม่เกิด ไม่ตาย ไม่ผันแปร


    รูปกายย่อมเกิดและตาย นามกายย่อมผันแปร ธรรมกาย ไม่เกิด ไม่ตาย และไม่ผันแปร เป็นอยู่ตลอดกาลทุกเมื่อ
    .

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2008
  19. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    แนวคิดเรื่องกายของเถรวาท


    ก่อนอื่นคงจะต้องเกริ่นเสียก่อนว่า ความคิดที่แตกแยกกันในเรื่องกายนั้นมีปรากฏมานาน และมีการอธิบายแก้กันอยู่ในระหว่างผู้ที่มีความเข้าใจแตกต่างกันเหล่านี้ นี่เป็นตัวอย่างอันดีของบรรดานักปราชญ์ในกาลก่อน ที่พยายามนำเสนอแนวคิดที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจในประเด็นธรรม แม้การเผยแพร่หลักคิดต่าง ๆ ในกาลก่อนยังไม่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพดังในปัจจุบัน แต่ท่านเหล่านี้ก็ได้ทำหน้าที่ของตนได้อย่างน่าสรรเสริญ



    ใน กถาวัตถุ (เรื่องใน อภิธรรมปิฏก เป็นคำถามตอบหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา) ได้มีการอภิปรายถึงเรื่องการดำรงอยู่จริงของพระพุทธเจ้า ทั้งนี้ก็เพื่อลบล้างความคิดของพวกที่ไม่เชื่อว่ามีพระพุทธเจ้าในประวัติศาสตร์และเนื้อความใน กถาวัตถุ นี้เอง ที่ถือเป็นความเห็นหลักที่สามารถอ้างได้ ว่าเป็นแนวคิดเรื่องกายที่เถรวาทมีอยู่



    แม้จะมีคำว่า รูปกายและธรรมกาย (ธัมมกาย) ในคัมภีร์บาลีในชั้นหลัง โดยเริ่มต้นมาจากคัมภีร์ฝ่ายมหายาน หรือกึ่งมหายานแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าแนวคิดดังกล่าวจะถือกำเนิดเป็นรูปเป็นร่างเด่นชัดในแง่การปฏิเสธกายที่มีอยู่จริงของกายพระพุทธเจ้า (เรื่องราวต่าง ๆในพระสูตรหลายเรื่องมีนักปราชญ์วิเคราะห์เพิ่มเติมเข้ามาในการสังคายนาครั้งหลัง ๆ สำหรับพระอภิธรรมทั้งหมวดนั้น เป็นการรจนาของนักปราชญ์ในการสังคายนาครั้งหลัง ๆ เช่นกัน การวิเคราะห์ถึงความน่าเชื่อถือของเรื่องเหล่านี้มีอยู่บ้างแต่ส่วนใหญ่ก็ยอมรับว่าเป็นแนวคิดตามหลักพุทธศาสนาโดยมิได้แย้งว่าเป็นความเห็นที่แปลกแต่อย่างใด โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก หมายเหตุใต้พระสูตรใน พระไตรปิฏกฉบับสำหรับประชาชนของอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ และการวิเคราะห์คำสอนเรื่องปฏิจจสมุปบาทในวิสุทธิมรรค โดยท่านพุทธทาสภิกขุและเรื่องปฏิจจสมุปบาทในพุทธธรรมของพระธรรมปิฎก) เรามีตัวอย่างเนื้อความใน ในการกล่าวถึงรูปกาย และธรรมกายไว้อย่างชัดเจน (โดยท่านพุทธโฆษพระพุทธโฆษาจารย์) ได้อ้างไว้เมื่อประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๑๐ ดังนี้



    “โยปิ โส ภควา อสีติอนุพฺยญฺชนปติมณฺทิตทฺวตฺตึสมหาปูริสสกฺขณวิจิตฺตรูปกาโย สพฺพาการปริสุทฺธสีลกฺขนฺธาทิคุณรตฺน สมิทฺธธมฺมกาโย ยสมฺหตฺต ปุญฺญมหตฺต....อปฺปฏิปุคฺคโล อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ.....”


    (พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้มี “รูปกาย” อันวิจิตรงดงามประดับด้วยมหาบุรุษ ๓๒ ประการ และอนุพยัญชนะ (ลักษณะปลีกย่อยต่าง ๆ) ๘๐ ประการและเป็นผู้มี “ธัมมกาย” อันบริสุทธิ์แล้วในทุกหนทางและเรืองรองด้วย ศีล สมาธิ ฯลฯ เต็มไปด้วย ความล้ำเลิศ และคุณธรรม เป็นผู้ตื่นแล้วอย่างเต็มที่ และไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน)



    แม้แนวคิดของท่านพุทธโฆษาจารย์จะถือเป็นหลักตามความจริง แต่ท่านก็มิได้อาศัยหลักพื้นฐานในการยกอำนาจวิเศษเหนือมนุษย์ให้แก่พระพุทธเจ้าแต่อย่างใดดังเราจะเห็นได้ชัดเจนขึ้น จากคัมภีร์ อัฏฐสาลินี (เป็นอรรถกถาธรรม สังคณี ท่านแต่งไว้ที่อินเดีย ก่อนจะเดินทางไปลังกา) โดยกล่าวว่าในช่วงระยะเวลาสามเดือนที่พระพุทธเจ้า เสด็จจากโลกมนุษย์ไปทรงเทศนาพระอภิธรรมแก่พระมารดาในสวรรค์นั้น พระองค์ได้สร้างนิมิตตพุทธขึ้น อันเป็นการจำลองพระองค์ขึ้นมาใหม่ให้มีลักษณะดังเดิมทุกประการ



    กล่าวกันว่า นิมิตตพุทธ นี้มิอาจแยกแยะความแตกต่างจากพระพุทธเจ้าองค์จริงได้ ทั้งน้ำเสียง คำพูด และแม้รัศมีแสงที่เปล่งออกมาจากพระวรกาย พระพุทธเจ้าองค์ที่นิมิตขึ้นมานั้น จะมองเห็นได้ก็เฉพาะแต่เทวดาในสวรรค์ชั้นสูงเท่านั้น ส่วนเทวดาทั่วไป หรือมนุษย์ในโลกไม่อาจมองเห็นพระพุทธเจ้าองค์นี้ได้เลย



    กล่าวแต่เพียงสั้น ๆ ได้ว่า ฝ่ายเถรวาทสมัยแรก ๆ นั้น รับรู้ถึงแนวคิดเรื่องรูปกายของพระพุทธเจ้า ว่าเป็นมนุษย์ทั่วไป และถือว่าธรรมกายของพระองค์นั้นเป็นที่รวมของธรรมะ นั่นคือ คำสั่งสอนและกฎระเบียบที่จัดรวบรวมไว้นั่นเอง



    เราอาจกล่าวได้ว่า แม้มีถ้อยความ เนื้อความ ข้อความใด ๆ ในคัมภีร์บาลีที่ยกอ้างถึงรูปกาย หรือธรรมกายก็ดี แต่โดยนัยแล้ว มิได้มีความหมายเกินกว่าที่กล่าวมาข้างต้นเลย แม้ปราชญ์ชั้นหลังโดยเฉพาะฝ่ายเถรวาทก็มิได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้เลย เพราะอาจมีแนวความคิดว่า ธรรมกาย เป็นของฝ่ายมหายาน ไม่ใช่ของฝ่ายเถรวาท ก็เป็นได้



    ในสายตาของนักวิชาการฝ่ายมหายานก็มองว่า “ธรรมกาย” มิได้เป็นของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ทว่า..."ธรรมกาย" เป็นทั้งหมดของพระพุทธศาสนา เพียงแต่คำว่า “ธรรมกาย” มีอยู่มากมายในตำราที่อยู่ในครอบครองของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เพราะเส้นทางสายไหมที่พาดผ่านระหว่างจีน ญี่ปุ่น ธิเบต และอินเดีย คือถนนสายพระพุทธศาสนา ที่ท่านเซี่ยนจาง (ถังซำจั๋ง) นำพระคัมภียร์แบกใส่หลังช้างจากนาลันทาพุทธมหาวิยาลัยมุ่งหน้าเข้าภูมิลำเนาแห่งตน ก่อนวาระที่พระพุทธศาสนาจะเลือนหายไปจากประเทศอินเดีย <!--MsgFile=1-->





    แนวคิดเรื่อง ตรีกาย



    แนวคิดเรื่อง ตรีกาย หรือกระทั่งเรื่อง กาย เองนั้น นับเป็นศัพท์ที่แปลกใหม่สำหรับผู้ที่คุ้นเคยกับพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท แนวคิดดังกล่าวแม้จะก่อสร้างตัวขึ้นในสำนักทางเถรวาทอย่างชัดเจน แต่ก็ไปรุ่งเรืองเติบโตอยู่ในทางฝ่ายมหายานเสียมาก ฉะนั้นเมื่อเอ่ยถึงเรื่องดังกล่าวในบ้านเรา จึงออกไปไม่คุ้นเคยกัน แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าแนวคิดนี้ไม่ได้มีในเถรวาทมิใช่เช่นนั้น



    แนวคิดเรื่องตรีกายนั้นบังเกิดขึ้นในช่วงต้น ๆ ของอายุพระพุทธศาสนาและพัฒนาในกาลต่อมา จุดนี้จึงกลายเป็นลักษณะบอกความแตกต่างของพุทธศาสนาฝ่ายเหนือ (คือมหายาน) และฝ่ายใต้ (คือเถรวาท) อย่างชัดเจน ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวโยงกับทรรศนะ และอุดมคติเรื่องพระโพธิสัตว์ด้วย เราคงไม่โยงถึงรายละเอียดที่ลึกซึ้งจนเกินไปนัก



    เริ่มต้นกันที่ว่า ตรี-กายหรือกายสามคืออย่างไร ตรีกายนั้นที่เด่นชัดก็คือ ตามแนวคิดของฝ่ายมหายาน ซึ่งมีพัฒนาการมาช้านาน และยังมีลักษณะแปลก แยกออกไปมากมาย ทั้งโทกาย ตรีกาย จตุรกาย เบญจกาย เป็นต้น (กายสอง กายสาม กายสี่ กายห้า ตามลำดับ) แนวคิดนี้เกี่ยวโยงกับการคิดเชิงลักษณะ หรือบุรุษ ที่เป็นหลักในการเล่าเรื่องคือแต่เดิมนั้น คัมภีร์ต่าง ๆ จะถือว่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้เล่าเรื่องเหล่านั้นด้วยการใช้ภาษาง่าย ๆ เพื่อให้ผู้อ่านรู้สึกว่าพระองค์มีอยู่จริงแต่ในสมัยต่อมามีการยกขึ้นเป็นผู้อยู่เหนือกว่ามนุษย์ รายล้อมและเป็นที่เคารพสักการะจากสรรพชีวิตทั้งปวง ทั้งมนุษย์ เทวดา ยักษ์ คนธรรพ์ ฯลฯ ทั้งบางครั้งยังมีปรากฏปาฏิหาริย์ ซึ่งอาจจะเล่าด้วยการใช้ภาษาอันวิจิตรและมีสำนวนโวหารเชิงกวีด้วย



    ในคัมภีร์บาลีนั้นในพระสูตรจะเริ่มต้นด้วย “เอวมฺเม สุตํ...ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วดังนี้” จากนั้นก็เล่าเรื่องที่ว่าพระพุทธเจ้าเคยเล่าไว้ และนำไปยังแก่นเรื่องที่ต้องการนำเสนอ ซึ่งปกติจะใช้ภาษาอย่างง่าย ๆ แต่หากเป็นคัมภีร์ฝ่ายมหายาน (ซึ่งอาจจะใช้ภาษาสันสกฤต จีน หรือทิเบตเป็นพื้น จะแตกต่างออกไป กล่าวคือ การเปิดฉากจะเริ่มต้นด้วย “เอวมฺมยา ศฺรุตํ” เป็นการเตรียมใจให้ผู้อ่านคอยติดตามเรื่องที่ยิ่งใหญ่เหนือความปกติของเหตุการณ์ทั่วไป



    พระพุทธเจ้าในคัมภีร์มหายานนั้น ไม่ใช่มนุษย์ธรรมดาที่เดินเหินในโลก มิใช่พระโอรส ของพระเจ้าสุทโธทนะ ผู้ละทิ้งฐานะเดิมออกบวช แล้วบรรลุโพธิญาณซึ่งก็จะก่อให้เกิดคำถามตามมาว่า แล้วพระพุทธเจ้า ที่สั่งสอนพระธรรมแก่ชาวโลกมาเมื่อ ๒,๕๐๐ กว่าปีแล้วนั้นเป็นใครกัน คำถาม นี้แหละถือเป็นที่มาของแนวคิดเรื่องกาย และพัฒนาเป็นตรีกาย อันเป็นแนวคิดหลักที่ค่อนข้างเด่นชัดของฝ่ายมหายาน ซึ่งเรื่องนี้เป็นที่ศึกษาและถกเถียงกันมาก <!--MsgFile=2-->



    แม้เรื่องตรีกายจะเป็นจุดแบ่งแนวคิดระหว่างมหายาน และเถรวาทแต่พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทก็มิได้ปฏิเสธเรื่องกาย เพียงแต่กล่าวถึงเพียง ๒ กาย คือรูปกาย และธรรมกาย



    นักปราชญ์ทางพุทธศาสนาอย่าง ดี ที่ ซูซูกิ แสดงความเห็นว่าความคิดเรื่องมหาบุรุษผู้ไม่ตายนั้น (อย่างพระพุทธเจ้าในแนวคิดทางมหายาน) เป็นแนวคิดสากล เพราะในความรู้สึกแล้ว คนเหล่านี้ยังไม่ตายอย่างแน่นอน และคุณประโยชน์ที่มหาบุรุษได้สร้างไว้แก่โลกนับตั้งแต่อดีตและเป็นผลงานอันโดดเด่น ด้วยเหตุนี้คนที่มีคุณงามความดีสูงส่งก็ต้องเป็นผู้ไม่ตายอย่างแน่นอน แต่ก็ใช่ว่าคนทั้งหมดจะมีแนวคิดตรงกันเช่นนี้ จึงเกิดการตั้งคำถาม และมีความเห็นขัดแย้งกันมากมายในเรื่องดังกล่าว ที่ได้ตั้งคำถามเรื่องลักษณะมหาบุรุษของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดแนวคิด สัมโคกายของฝ่ายมหายานขึ้นแนวคิดเรื่องธรรมกายก็มาจากการตั้งคำถามถึงการตายของพระศากยมุนีนั่นเอง โดยถือว่าด้วยบุญบารมีที่สะสมมาเป็นจำนวนหลายกัปกัลป์ จนนับไม่ถ้วนนั้น ย่อมบังเกิดผลอันน่ามหัศจรรย์ ธรรมกายของพระองค์ นั้นอยู่เหนือการเกิดและการตายและยังอยู่เหนือนิรวาณด้วย แต่กายจากนิมิตนั้น ออกมาจากครรภ์ของตถาคตตามกำหนดของกรรม และสิ้นไปเมื่อกรรมนั้นหมดอำนาจลง



    ในฝ่ายเถรวาทแล้ว มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องกายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะสำนักนี้ถือว่าพระพุทธเจ้าคือมนุษย์ที่มีอยู่จริงในโลกเช่นมนุษย์ทั่วไป และอยู่ในอาณัติของความเสื่อมไปทั้งปวงของกายที่มีอายุขัย แต่ในทางอภิปรัชญา คือโดยหลักธรรมแล้ว บางครั้งฝ่ายเถรวาทก็กล่าวว่าพระพุทธเจ้าก็คือ ธรรมะโดยไม่มีนัยทาง อภิปรัชญาเพราะไม่ต้องการให้ยึดติดกับพระพุทธเจ้าที่เป็นตัวบุคคล หากแต่ให้มุ่งเน้นไปที่คำสอน โดยมิต้องกังวลกับพระศากยมุนี และด้วยเหตุนี้เอง จึงเป็นการเปิดโอกาส ให้สรรวาสติวาทและมหายาน ได้เสนอแนวคิวทฤษฎีธรรมกายของตนต่อไปได้



    สำนักสรรวาสติวาท นั้น ได้ให้อรรถธิบายโดยละเอียดถึงกายของพระพุทธเจ้า แต่ฝ่ายมหาสังฆิกะนั้นเองที่ได้ตั้งคำถามเรื่องกายในเริ่มแรกและปูทางไปสู่การพิจารณาโดยละเอียดต่อไปตามหนทางของฝ่ายมหายาน



    ในสมัยแรก ๆ นั้น ฝ่ายมหายานถือเอากายทั้งสอง อันปรากฏอยู่ในคัมภีร์ต่าง ๆ เช่น อษฺฏาทศสาหสฺริกา ปฺรชฺยญาปารมิตา พร้อมกับสำนักของทานนาคารชุน(นั้นคือ สำนักมาธยมิก) โดยรับรู้ว่ามีกายเป็นสองรูป คือ



    ๑. รูปกาย (หรือนิรมาณกาย) และกำหนดหมายถึงกายหยาบและกายละเอียด โดยหมายถึงสรรพชีวิตทั่วไป


    ๒. ธรรมกาย ซึ่งให้ความหมายไว้สองอย่างด้วยกัน คือกายแห่งธรรม ซึ่งก่อให้เกิดพระพุทธเจ้าที่เป็นบุคคล และอีกอย่างหนึ่งก็คือหลักอภิปรัชญา ที่กุมจักรวาล นั่นคือ ตถตา (ความเป็นเช่นนั้นเอง)




    สำนักโยคาจารได้แยกความแตกต่างระหว่างกายหยาบ ออกจากกายละเอียด โดยตั้งชื่อกายหยาบว่า รูปกาย หรือ นิรมาณกายและตั้งชื่อกายละเอียดว่า สัมโภคกาย ส่วนในคัมภีร์ลังกาวตาร ซึ่งได้แสดงถึงยุคแรกเริ่มของโยคาจารก็ถือเอาว่าสัมโภคกายนั้นคือ นิษยันทพุทธะ หรือธรรมนิษยันทพุทธะ (พระพุทธเจ้าที่บังเกิดจากธรรม) และในสูตราลังการ ยังใช้คำว่า สัมโภคกาย หมายถึง นิษยันทพุทธะ และใช้คำว่า สวาภาวิกกาย หมายถึง ธรรมกายด้วย <!--MsgFile=3-->



    ส่วนในคัมภีร์ อภิสมยาลังการการิกา และ ปัญจวึศติสาหัสริกานั้น คำว่า สัมโภคกาย หมายถึงกายละเอียด ที่พระพุทธเจ้าใช้เพื่อเทศนาสอนแก่พระโพธิสัตว์ และธรรมกาย หมายถึงกายที่บริสุทธิ์แล้วด้วยการปฏิบัติโพธิปักษิและปฏิบัติธรรมอื่น ๆ ซึ่งก่อให้เกิดเป็นพระพุทธเจ้าขึ้นในทางอภิปรัชญาแล้ว ธรรมกายในคัมภีร์เหล่านี้ล้วนแต่ใช้คำว่า สวภาวะหรือสวาภาวิกกาย



    สำหรับคัมภีร์ วิชญปติมาตราสิทธิ ยังมีแนวคิดเรื่องเดียวกับในการิกา แต่ใช้คำใหม่คือ สวสัมโภคกายเพื่อหมายถึง ธรรมกายอย่างใน การิกา และแตกความหมายของสัมโภคกาย ออกไปโดยใช้คำว่าประสัมโภคกาย แทน



    สำหรับคำสอนของพวกที่เรียกว่า จิตรมาตระตา มีว่า กายของพระพุทธเจ้ามีอยู่ทั้งหมด ๓ กายด้วยกันคือ


    กายที่ ๑ คือ ธรรมกาย (ธรมกาย) ธรรมกายนั้นเป็นกายซึ่งประกอบด้วยธาตุธรรมอันบริสุทธิ์ และก็เป็นธรรมล้วน ๆ เป็นตัวเนื้อแท้ของพระสัมมาพุทธเจ้าและของสรรพสิ่งทั้งปวงเป็นพุทธภาวะที่แน่นอน


    กายที่ ๒ ในลัทธิตรีกายนี้เรียกกว่า สัมโภคกาย แปลว่ากายแห่งความบริบูรณ์แห่งความสุขคือ รูปกายนั่นเองเป็นกายเนื้อของพระตถาคตเจ้าประกอบด้วยมหาบุริสลักษณะ ๓๒ ประการ และอสีติพยัญชนะทั้ง ๘๐ อย่าง กายที่เรียกว่าสัมโภคกายนี้เป็นกายที่ไม่เที่ยงแต่เป็นกายที่ไปปรากฏต่อสายตาของชาวโลก เพื่อสั่งสอนธรรมะแก่ชาวโลกทั้งหลาย และเป็นกายของพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในแดนสุขาวดีดังมีในพระไตรปิฏกของจีน



    ส่วนในพระไตรปิฏกสันสกฤตมีพระสูตรหนึ่งชื่อว่าสุขาวดีวยุหูตรพระสูตรนี้ก็มี ๒ ฉบับ ฉบับยาวกับฉบับสั้น กล่าวถึงดินแดนทางทิศตะวันตกของโลก เป็นดินแดนซึ่งมีพระพุทธเจ้าอยู่พระองค์หนึ่งพระนามว่า พระอมิตตาภะ พระวรกายของพระองค์ มีความสว่างไม่มีประมาณ จึงเรียกว่า อมิตตาภะ และพระองค์ยังมีอีกพระนามหนึ่งว่าอมิตตายุส คือมีกายอันไม่มีประมาณในพระสูตรนี้ได้อธิบายเรื่องสัมโภคกายว่า เป็นผู้ที่ไปอธิบายธรรมะให้กับสรรพสัตว์ทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ก็อยู่ในรูปของสัมโคกายด้วย



    กายที่ ๓ ในลัทธิตรีกายก็คือ นิรมาณกาย เป็นกายซึ่งปรากฏอยู่ในโลกมนุษย์ พระพุทธเจ้าจะไปปรากฏในรูปกายต่าง ๆ ได้โดยอาจจะเป็นสัตว์ก็ได้ เป็นผีเสื้อสักตัวหนึ่ง เป็นกระต่ายสักตัวหนึ่ง หรือเป็นครูสอนสมาธิก็ได้ เกิดเป็นพระลามะทิเบตก็ได้ เพื่อสั่งสอนสรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากทุกข์ <!--MsgFile=4-->



    หากจะกล่าวกันถึงเรื่องตรีกายในลัทธิมหายาน ยังมีอีกหลายหลายแนวความคิด ซึ่งคงจะต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมกันต่อไป



    แม้ว่าในฝ่ายมหายานจะมีแนวคิดที่แตกต่างกันออกไป แต่กล่าวโดยสรุปได้ว่าตรีกายของมหายานนั้น อาจพิจารณาได้ดังนี้


    ๑. นิรมาณกาย คือ กายที่นิติขึ้นเป็นการประกาศตัวให้แก่โลกได้ประจักษ์


    ๒. สัมโภคกาย คือ กายอันเป็นสัญลักษณ์ของอุดมคติของพระพุทธเจ้าโดยปรากฏให้มีลักษณะพิเศษนานา


    ๓. ธรรมกายคือ กายแห่งธรรมเป็นความบริบูรณ์หรือปารมิตา นั่นเอง



    นอกจากนี้คำว่า “ธรรมกาย” ในเชิงความรู้ทั่วไปดูออกจะเป็นของใหม่ เรื่องใหม่ ที่ต้องการคำอธิบายอย่างยิ่ง หลายคนคิดว่าธรรมกาย คือสภาวะอะไรสักอย่างที่ดูลี้ลับห่างไกล หลายคนคิดว่าธรรมกายคือนิกายใหม่ของพุทธศาสนาที่เพิ่งถูกคิดขึ้นมาในยุคปัจจุบัน หากในความเป็นจริงในโลกแห่งวิทยาการสากลด้านพระพุทธศาสนาว่ากันด้วยเรื่องราวของพุทธปรัชญา “ธรรมกาย” หรือ THE DHAMAKAYA ในภาษาสันสกฤตกลับเป็นที่กล่าวขวัญและรู้จักกันดีในหมู่ของนักวิชาการที่ทุ่มเทชีวิตเพื่อการศึกษาค้นคว้าทางด้านนี้ บรรดานักวิชาการมากมายต่างพยายามที่จะให้คำจำกัดความถึงสภาวะแห่งธรรมกายหรือนิยามของคำว่าธรรมกายให้ชัดเจนที่สุดเท่าที่จะทำได้ และส่วนใหญ่เป็นงานที่เกิดจากการค้นคว้าดัดแปลงมาจากพระสูตรต่าง ๆ ในภาคภาษาสันสกฤตมาเป็นภาษาจีน ญี่ปุ่น และธิเบต ก่อนที่จะแปลมาเป็นภาคภาษาอังกฤษอีกชั้นหนึ่ง คำจำกัดความเหล่านี้โดยส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดมาจากพระสูตรของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่งมีมากมายในจีน ญี่ปุ่น และธิเบต เพราะเป็นภาคพื้นเดียวเท่านั้นที่รับมรดกทางด้านนี้ไว้มากที่สุด ทางด้านที่เป็นตำราในลักษณะของตัวอักษร



    ซึ่งต่างต้องยอมรับว่าล้วนเป็นเรื่องราวของตัวอักษรที่ถ่ายทอดผ่านตัวอักษรเป็นตัวอักษรบนพื้นฐานของความชำนาญทางด้านภาษาผสมกับความเข้าใจในปรัชญาเชิงพุทธ



    เรื่องราวของ “ธรรมกาย” ในพระพุทธศาสนาขณะนี้เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักวิชาการตะวันตก จีน ธิเบต และญี่ปุ่น ซึ่งต่างก็ยอมรับว่าเลือนรางเต็มทีในเรื่องของความเข้าใจจริง ๆ เพราะสิ่งนี้ได้ถูกทำให้เจือจางลงนานนักหนาแล้วนับตั้งแต่พุทธศักราชที่ ๕๐๐ โดยประมาณเมื่อหมดยุคสมัยของพระเจ้ากนิษกะ มหาพุทธมามกะแห่งราชวงศ์กุศานะของอินเดียตอนเหนือเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน



    อย่างไรก็ตาม นี้เป็นเพียงแนวคิดหนึ่งที่เสนอออกมาเท่านั้นข้าพเจ้าเพียงแต่ต้องการให้ท่านได้เห็นภาพโดยรวมของกายต่าง ๆ ทั้งในฝ่ายเถรวาท และฝ่ายมหายานเพื่อเปรียบเทียบกับความหมายของกายต่าง ๆ ที่กล่าวไว้ในตำรับตำราต่าง ๆ ในประเทศไทย <!--MsgFile=5-->




    ข้อมูลจาก หนังสือ "ตามรอยธรรมกาย"

    หลักฐานธรรมกายของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย


    โดย พระครูภาวนามงคล (วิวัฒน์ กตวัฑฺฒโน)

    วัดป่าเจริญธรรมกาย อ.ปทุมรัตน์ จ.ร้อยเอ็ด <!--MsgFile=6-->



    <!--MsgFile=0-->
     
  20. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ขอเรียนให้ทราบว่า ผมเองมิได้มีเจตนาเอาชนะใคร และเนื่องจากเห็นถึงความไม่รู้จริงในสิ่งที่ท่านกำลังสนทนากัน โดยเฉพาะผู้ไม่เข้าใจต่อการฝึกภาวนาวิชชาธรรมกาย และบางครั้งท่านก็ใช้อัตโนมติของท่านเองเป็นความเห็นส่วนตัวตัดสินว่าวิชชาธรรมกายต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เช่น ธรรมกายเป็นแค่เพียงรูปนิมิตบ้าง ไม่ใช่วิปัสสนาบ้าง ไม่พิจารณาอนัตตาบ้าง ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดและเป็นการสร้างความสับสนให้แก่ผู้อ่านอื่นๆ ที่ไม่มีพื้นความเข้าใจเพียงพอ


    ผมจึงเห็นถึงอันตรายที่เกิดจากความเห็นผิดของบางท่าน ที่ไม่เข้าใจ ชอบพูดอวด คิดเห็นเองฝ่ายเดียว ความรู้น้อย แลไม่เข้าถึงความจริงใดๆ เมื่อท่านกล่าวความไม่รู้จริงออกมา ย่อมได้ชื่อว่าสร้างโมหะอคติติดนิสัยสันดานจิตให้เกิดเเป็นบาปเวรภัยได้ทั้งปัจจุบันและอนาคตเบื้องหน้า ผมเพียงต้องการให้ผู้ไม่รู้ท่านอื่นได้มีข้อมูลในการพิจารณา และไม่เชื่ออะไรเพียงด้านเดียว อันอาจเกิดเป็นความประมาทแลเกิดบาปอกุศลในจิตใจได้ สำหรับท่านที่มีอคติท่านจะคิดประการใด ท่านจะเอาความไม่รู้จริงของท่านมาทำลายทำร้ายสัจธรรมความเป็นจริงได้หรือ อันเรื่องของการฝึกปฏิบัติสมาธิแนวธรรมกายนั้น มีทั้งพระภิกษุ แม่ชีอุบาสิกา แลผู้มีศีลมีธรรมมากมายฝึกฝนปฏิบัติเรียนรู้อยู่ทั่วไป ท่านเองคิดว่าท่านเก่งกว่า ฉลาดกว่า รู้วิเศษกว่า รู้ถูกต้องไปเสียทุกเรื่องมากกว่าท่านผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเหล่านี้หรือ...? ท่านกล่าวเชิงให้ร้ายต่อวิชชาธรรมกายก็เท่ากลับกล่าวตู่ความรู้และวัตรปฏิบัติของท่านผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเหล่านี้ ท่านจะก่อบาปเบียดเบียนผู้อื่นไปเพื่ออะไร ท่านปิดประตูนรกได้แล้วแน่เทียวหรือ...?


    ขอท่านผู้มีปัญญาและมีใจเป็นธรรมจงไตร่ตรองดูเถิด...


    ผมจะเสนอความรู้ให้ทราบต่อไปเรื่อยๆ จนกว่ากระทู้นี้จะยุติลง ต่างคนต่างความเห็นก็ควรจะต่างคนต่างอยู่ในที่ๆ เหมาะสมของตนเถิด ควรหรือที่จะนำความเห็นของตนมากระทบกระทั่งเบียดเบียนกันอันเป็นส่วนแห่งบาปนะครับ
    <!-- / message -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...