วิชชา ธรรมกาย ไม่ได้มาจาก วัดพระธรรมกาย

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย jack5487, 28 มิถุนายน 2008.

  1. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    เอาเท่านั้น ขี้เกียจพูด ที่พูดนี่ รู้กันไหมว่า ผมแสดงธรรมนะ ยอมทนมาเถียงนี่ให้ความรุ้คนอื่นไปด้วยจะได้ไม่หลงไม่โง่รุ้จักพิจารณาและ ตอบคำถามพวกโง่ พวกกิเลสหนาได้
    จะได้ เห็นในหลักการพิจารณา
    ก็ดีมีคนโง่ๆ มาเถียงผม ผมจะได้เอาปัญญา มาเถียง ให้คนอื่นเขาอ่านว่า เถียงกับคนโง่กิเลสหนา ต้องโต้ให้มันเห็นพฤติกรรม ที่ไร้สาระของตัวมันเอง และให้เห็นว่า ประเด็นที่ไหลตามกิเลสนั้น ไม่เคยวกกลับเข้าสู่ ประเด็นได้ มีแต่กิเลส ไหลออกมา
     
  2. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    นี่คือ ตัวอย่างที่ผมยกมา แล้วมันก็ไม่มีใครมาตอบว่า จริงหรือไม่ มันก็เปลี่ยนไป กลายไปเป็น นายขันธ์ ไม่เห็นจริง
    นายขันธ์ บอกตัวเองก่อน นี่ก็เห็นๆ ว่ามันมี บ้าอยู่สองสามคำจริงๆ ใครไปแกล้งว่ามันเสียเมื่อไร
     
  3. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697

    ไปไหนก็ไปน้า ..ไปตั้งกระทู้ ฉลาดของคุณน้า...
    ไอ้ที่ว่าๆ เขา น่ะ เขาคงไม่รับกันหรอก

    ไม่ต้องมาทนหรอกจ๊ะ เหอๆๆๆๆ

    ..


    ตกลง เขาจะไปไหมเนี่ยยยยยย เหอๆๆๆๆๆๆ สัจจะ หน่อยน้า

    (||)
     
  4. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    พูดร้อยครั้ง มันก็มีเท่าเดิม ก็จะไปให้มันพูดมากไปกว่านี้ ก็ไม่ได้ ปัญญามันมีเท่านั้น
    เหมือนกับ ไอ้ขจรอีกคน กี่ที กี่ที ก็แงวๆ มันร้องเป็นอยู่เท่านั้นจริงๆ
    นี่ ดีนะ ฐานัฎฐ์ พักนี้ ชักเริ่มเลิก ไอ้ หุๆ ไป ไม่งั้นก็ติดกับ ไอ้คำว่า หุๆ
    แต่ตอนนี้มี วิมุตติอีกคน เริ่มติดกับ หุๆๆ เหอะๆ นี่มันมีปัญญาเท่านั้น



    แตกออกทางอื่นไม่เป็น
     
  5. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697
    อิอิ


    ตกลง เขาจะไปไหมเนี่ยยยยยย เหอๆๆๆๆๆๆ สัจจะ หน่อยน้า
     
  6. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ไปดู ย้อนกลับไปดู แล้วผมพูดผิดสักคนเมื่อไร บอกอะไรใครไป ว่ามันติด นี่มันไม่เชื่อ
    แล้วจะบอกให้ มันจะค่อยๆ ปิด แล้วหลงนะ ไอ้พวกนี้ หลงว่าบรรลุธรรมแล้ว ทั้งนั้น แต่มันมองโลกเห็นอะไรเสียที่ไหน
    เห็นอยู่อย่างเดียว นั้นแหละเขาเรียกว่า ติดภพ

    ติดไป มันก็บอกนี่กูบรรลุแล้ว สบายแล้ว โธ่ พวกหนอนชัยขี้นะสิ เคยฟังไหม นิทานหนอนไชขี้ ที่เทวดาไปหามันเพราะว่าเป็นเพื่อนเก่ากัน ไอ้หนอนไชขี้อยู่มันบอกว่า สบายดีอยู่แล้ว
     
  7. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697
    เห็นมีคุณนะ ที่ชอบบอกบรรลุ ปิดอบาย (||)

    ตกลง เขาจะไปไหมเนี่ยยยยยย เหอๆๆๆๆๆๆ สัจจะ หน่อยน้า
     
  8. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ดูกันเอาไว้ นี่ถือว่าเป็นกรรมแล้วนะ ไอ้เต้าเจี้ยวนี่ ผมเมตตาไปตลอด จิตมันไม่รับเอง
    ดูสิ คิดอะไรเป็น มีแต่ ร้อน มากี่ที ก็ ขันธ์ ทำได้หรือยัง สอนตัวเองเถอะ
    นี่ผมหละเวทนา จิตมันติดอยุ่ในภพโกรธ มาเป็น 2 ปีแล้วมั้ง ดิ้นไม่หลุด เปิดไม่ออก

    แล้วยังจะผูกอยุ่เรื่อยๆ มันไม่รู้ตัวว่า อีกไม่นานนี่จะหนักขึ้นๆ คราวนี้ ปิดหมด เจอกันอีกที อ่าวใครหว่า อยู่ ในกระทะ
    ดิ้นพลาดๆ กำหนดจิตดู อ้าว นั่นมันเต้าเจี่้ยวนี่หว่า เคยปรามาส ผูกโกรธ ไม่เลิก

    นี่มันเป็นอย่างนี้นะ ผมพูดให้ฟังหมดเปลือกแล้ว ก็ให้ฝึก รุ้ ละ ทวน เปลี่ยน นิสัย เปลี่ยน ความรุ้สึก ให้ได้
     
  9. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697

    เขามาปกป้อง ครูบาอาจารย์น่ะ
    กล่าวหา ผิดศีลนะจ๊ะ นะจ๊ะ

    .
     
  10. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697
    ปู่มั่นสอนว่า ว่าคนอื่น จิตใจเราก็เศร้าหมอง
    ผู้น้อย ขอกราบขออภัยหลวงปู่ มา ณ ที่นี้ ถึงรู้ตัวแต่ต้นก็ตาม

    . ข้าพเจ้ายอมรับความเศร้าหมอง

    .
     
  11. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    เหรอ ไปนะจ๊ะๆ คราวหน้าก็ นะจ๊ะ ๆ ในกระทะนั่นแหละ

    คุณจะมาปกป้องครูบาอาจารย์ อะไร ก็เห็นว่าไปทุกที่ มันก็มีแต่คำว่า ขันธ์ ทำให้ได้ก่อน ขันธ์สอนตัวเองเถอะ

    นี่ เขาเรียกว่า กิเลส ทำอะไรไม่ซื่อสัตย์ต่อ อารมณ์ตนเอง ปกปิดความรุ้สึกที่แท้จริง
    นี่แหละผิดศีล มุสาแหละ จำเอาไว้ เต้าเจี้ยว
     
  12. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    เอาหละนะ 2 ปีมาแล้วเต้าเจี้ยว ดูตัวเองให้ดี ผมบอกธรรมให้ได้ก็แต่ตอนนี้
    ลงนรกไปแล้ว ก็บอกไม่ได้ อยากลงไป ก็ทำต่อไป
    แต่ถ้าไม่อยากลง ก็ให้ไป ฝึกให้มากกว่านี้ คุณยังห่างจากผม อีกมาก ยังต้องฝึกอีกนาน
     
  13. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697
    ไม่ต้องห่วงค่ะ คุณขันธ์ กรรมเขาเที่ยง !!!

    .
     
  14. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    กรรม เที่ยงนะสิ ไม่ทบทวนบ้างหรือ ว่า ผมไม่ได้สนใจอะไรกับคุณเลย คุณไม่อยู่ผมก็ ตอบปัญหาอย่างเบิกบาน
    แต่ ผมตอบปัญหา ไม่ว่าอะไร 2 ปีที่ผ่านมา คุณหยิบจับอะไรได้ หรือมีแต่ ผูกโกรธ เต้าเจี้ยว

    นี่ขนาด กรรม แค่ ไม่ได้สัมผัสตัวนะ เอาแค่ ผ่านหน้าจอ แต่มโนกรรมนั้นแรงขนาดนี้ คุณไม่ได้เอะใจเลยหรือ เต้าเจี้ยว กับ ว่า ทำไมจิต คุณไม่อิสระ คุณจะต้อง ไม่ชอบ และ ตามโกรธ

    ตัวผมนะไม่เป็นไรเลย แต่คุณติดอยู่ คุณยังไม่รู้ตัวเลยหรือ นี่หลายๆ คนดูเอาไว้เป็นตัวอย่าง ไม่ต้องใครหรอก เอาไอ้ ขจร นั่น บ้าไปเลย แงวๆ อย่างเดียว

    นี่ ผมเตือน เพราะหวังดี ผมรุ้สิว่า ผมได้ธรรมอะไร คนไม่ได้ธรรมจริง มันต้องเต้นสิ มันต้องร้อนรน ผูกโกรธ
    นี่มีแต่ ธรรมมาให้ ยังไม่เห็นหรือ

    นี่สงสารหรอกนะ ถึงบอก ถ้าเป็นเมือก่อน ยังไม่ได้ธรรม จะไม่บอกเลย ให้มันดิ้นในนรก นั่นแหละ
    แล้วก็สังเกตุหน่อย ถ้าผม ไม่ได้ธรรมจริง ผมด่าคนนั้นคนนี้ไป ป่านนี้ มันเพลี่ยงพล้ำแล้ว หรือไม่ ป่านนี้มันก็ อยุ่ไม่สุขแล้ว ทั้งหมดออกจากธรรม มันจึงไม่เป็นอะไร ธรรมรักษาผุ้ประพฤติธรรม

    นี่บอกให้ชัด จะได้ระวังเอาไว้ ทำบุญกับผมให้มากเถอะ เวลาผมไปแสดงธรรมตรงไหนให้อนุโมทนามากๆ กุศลมันจะได้ไปถึง
     
  15. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697

    1.บร้าาาา

    2.อ่ะจ๊ากกกกกกก
    แต่สาวกของคุณก็เยอะอยู่แล้วน้า... พอเพียง ดีไหม เข้ากับยุค

    (||) เขาจะไปไหมหนอ??
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กรกฎาคม 2008
  16. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 9 คน ( เป็นสมาชิก 2 คน และ บุคคลทั่วไป 7 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"></TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>เต้าเจี้ยว, สมถะ </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  17. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    “ยึดมั่น” “ยึดติด” “ตัวตน” “นิมิต” และ “ปล่อยวาง” ในวิชชาธรรมกาย


    <!--MsgIDBody=0-->
    (นิตยสารธรรมกาย เล่มที่ ๔๔)
    จัดพิมพ์โดย
    มูลนิธิและสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย
    อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี



    ถาม : ดิฉันเคยปฏิบัติเจริญภาวนาธรรมในสายอื่น ที่สอนให้ปล่อยวางสิ่งต่าง ๆ แม้เพียงตัวตนของเรา ก็ไม่ให้ยึดมั่นถือมั่น ตามขั้นตอนของการพิจารณาดูสังขารในสติปัฏฐาน ๔ แม้เพียงนิมิตก็ไม่ให้เอาเป็นอารมณ์หรือยึดติด แต่เมื่อเข้ามาปฏิบัติ ณ สถานที่แห่งนี้กลับตรงกันข้าม แม้เอกสารสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่ให้มา ก็มีข้อความเป็นโดยนัยลักษณะเดียวกัน อย่างนี้จะไม่เป็นการสอนให้ยึดมั่นถือมั่นหรือค่ะ เช่นในหนังสือหลักการเจริญภาวนา (เล่มสีฟ้า) หน้า ๒๒ ระหว่างบรรทัดที่ ๑ ถึงบรรทัดที่ ๑๘ เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมเข้ากลางกายแต่ละกาย ผู้ปฏิบัติจะต้องยึดกายที่เข้าถึงเป็นแบบไปอย่างนี้เรื่อยๆ จนถึงกายธรรมอรหัตละเอียด ดิฉันสงสัยว่าจะถูกทางที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ในหลักของมัฌชิมาปฏิปทา และการปล่อยวางต่าง ๆ หรือไม่?



    ตอบ : ก่อนอื่นต้องขอทำความเข้าใจคำว่า “ยึดมั่น” หรือ “ยึดติด” คำว่า “ตัวตน” คำว่า “นิมิต” และ “ปล่อยวาง” ให้ดีเสียก่อนก็จะเข้าใจความหมายคำของหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุณี (สด จนฺทสโร) ได้ง่า กล่าวคือ



    การปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน ในพระพุทธศาสนานั้นมุ่งที่จะอบรมจิตใจให้สงบ และ ผ่องใสจากกิเลสนิวรณ์ (ธรรมชาติเครื่องเศร้าหมองอันเป็นเครื่องกั้นปัญญา) ควรแก่งาน แล้วพิจารณาสภาวะของธรรมชาติที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ อุปาทินนกสังขาร (สังขารที่มีวิญญาณครอง) และอนุปาทินนกสังขาร (สังขารที่ไม่มีวิญญาณครอง) ทั้งปวง ให้เห็นตามธรรมชาติที่เป็นจริงว่า ไม่เที่ยง (อนิจฺจํ) เป็นทุกข์ (ทุกฺขํ) และมิใช่ตัวตนของใครที่ถาวรแท้จริง (อนตฺตา) เพื่อให้คลายอุปาทานความยึดถือ (ยึดมั่น ยึดติด) ว่าเป็นตัวตน (มีแก่นสารสาระของความเป็นตัวตนที่แท้จริง) ว่าเป็น บุคคล เรา-เขา ของเรา-ของเขา ด้วยตัณหา และทิฏฐิ ความหลงผิด (ความคิดว่าเป็นตัวตนนั้นเสีย)



    เพราะอุปาทาน คือความยึดถือสังขารธรรม ทั้งปวงที่ไม่มีแก่นสารสาระในความเป็นตัวตนที่แท้จริงของใครนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ด้วยตัณหา และ ทิฏฐิ (ความหลงผิดว่าเป็นแก่นสารสาระในความเป็นตัวตน บุคคล เรา-เขา) นั้น เป็นทุกข์จริง ๆ แท้ (ทุกขสัจ) ตามส่วนแห่งความยึดถือนั้น ยึดมากก็ทุกข์มาก ยึดน้อยก็ทุกข์น้อย ไม่ยึดเลยก็ไม่ทุกข์เลย



    อุปาทาน ความยึดมั่น” ณ ที่นี้หมายถึงความรู้สึกเป็นเจ้าของเมื่อไปมีอุปาทาน (ความยึดถือ) คือมีความรู้สึกเป็นเจ้าของในสิ่งที่ไม่มีแก่นสารสาระในความเป็นตัวตนที่เป็นเองโดยธรรมชาติไม่เที่ยง ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยที่ปรุงแต่งอยู่เสมอ ด้วยตัณหา (ความทะยานอยาก) และ ทิฏฐิ (ความหลงผิด) จึงเป็นทุกข์ ดังตัวอย่างพระบาลีว่า “สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา” กล่าวว่าโดยสรุปอุปาทานเบญจขันธ์เป็นทุกข์



    ได้เคยมีบางท่านกล่าวว่า “เพราะบุคคลมีอุปาทาน จึงมีอัตตาถ้าไม่มีอุปาทาน อัตตาก็ไม่มี” คำกล่าวเช่นนี้ ไม่ถูกต้อง



    ฉะนั้นการพิจารณาดูสังขารในสติปัฏฐาน ๔ ก็เพื่อให้เห็นแจ้งด้วยปัญญาอันเห็นชอบ คือเห็นถูกต้องตามพระพุทธดำรัสต่อไปนี้ว่า


    สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
    อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา

    สพฺเพ สงฺขรา ทุกฺขาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
    อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา

    สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
    อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา.


    แปลความว่า เมื่อใดบุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ ข้อนี้เป็นหนทางแห่งความหมดจด เมื่อใดบุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ข้อนี้เป็นหนทางแห่งความหมดจด เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตาเมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ ข้อนี้เป็นหนทางแห่งความหมดจด.



    คำว่า ธรรมทั้งปวง ณ ที่นี้หมายเอาสังขารธรรม มีเบญจขันธ์เป็นต้น เท่านั้นที่เป็น “อนัตตา” เพราะไม่มีแก่นสารสาระในความเป็นตัวตนที่ถาวรแท้จริงของใคร และนี้ก็เป็นพระพุทธดำรัสในลำดับ “นิพพิทาญาณ” ซึ่งเป็นขั้นตอนของการยกเอาสังขารมีเบญจขันธ์เป็นต้นขึ้นพิจารณาเพื่อให้เห็นแจ้งแทงตลอดพระไตรลักษณ์ อันจะนำไปสู่ วิราคะ วิมุตติ วิสุทธิ สันติ นิพพาน จึงยังไม่มีพระนิพพานเป็นอารมณ์เพราะเหตุนั้นพระพุทธดำรัสว่า “สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา” ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตานี้ จึงหมายเอา “สังขารธรรมทั้งปวง” หรือธรรมชาติที่เป็นไปในภูมิ ๓ (กามภูมิ, รูปภูมิ,อรูปภูมิ) ทั้งหมดเท่านั้น <!--MsgFile=1-->



    ที่หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านสอนว่า ให้เข้ากลางของกลางแต่ละกาย แล้วให้ผู้ปฏิบัติยึดกายที่เข้าถึงเป็นแบบไปอย่างนี้เรื่อย ๆ จนถึงธรรมกายอรหัตละเอียด นั้นหมายความว่าเมื่ออบรมใจให้หยุดให้นิ่งจนบริสุทธิ์ผ่องใสจากกิเลสนิวรณ์ด้วย และจิตใจไม่ปรุงแต่งด้วย จึงยิ่งบริสุทธิ์จากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง และจึงถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายต่อๆ ไปอย่างนี้ จนสุดละเอียดก็จะถึงกายในกายที่บริสุทธิ์ผ่องใส ณ ภายใน ต่อ ๆ ไปตามลำดับ คือ ต่างจากกายมนุษย์หยาบ ก็จะถึงกายมนุษย์ละเอียด เมื่อถึงแล้วไม่ใช่ให้ดู คือเพียงแต่เห็นเฉยๆ ถ้าเพียงแต่เห็นเฉย ๆ ธรรมก็ไม่ก้าวหน้า แต่ให้ดับหยาบไปหาละเอียด คือให้ละอุปาทานกายหยาบ ได้แก่ ละความรู้สึกทั้งหมดอันเนื่องด้วยกายมนุษย์หยาบ เข้าไป (สวมความรู้สึก) เป็นกายมนุษย์ละเอียดเพื่อให้ใจของกายมนุษย์ละเอียดที่บริสุทธิ์ยิ่งกว่าของกายมนุษย์หยาบนั้น ทำหน้าที่เจริญภาวนาต่อไปให้สมบูรณ์เต็มที่ เพื่อความเข้าถึง รู้- เห็น และเป็นกายในกาย (รวมเวทนา-จิต-ธรรม) ที่บริสุทธิ์ยิ่ง ๆ ขึ้นไปตามลำดับ



    การเข้าถึง รู้-เห็น และเป็นกายละเอียด (กายในกาย เวทนา ในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เป็น ณ ภายใน) เป็นขั้น ๆ ไปอย่างนี้ “ดับหยาบไปหาละเอียด” จนสุดละเอียดถึงธรรมกายต่อ ๆ ไปจนสุดละเอียด ถึงธรรมกายอรหัต เป็นขั้น ๆ ไปอย่างนี้แหละที่หลวงพ่อท่านอธิบายว่า เมื่อปฏิบัติถึงกายละเอียด (กายในกายที่ละเอียดและบริสุทธิ์) แล้ว ต้องยึดกายละเอียดที่เข้าถึงนั้นเป็นแบบ คือ เป็นแนวทางปฏิบัติภาวนาให้ถึงกายและธรรมที่ละเอียด ๆ ที่บริสุทธิ์ ผ่องใส ยิ่งกว่าเดิมต่อๆ ไป ตามลำดับ ในทางธรรมปฏิบัติจึงเป็นการละอุปาทาน (ความยึดถือ) สังขารธรรมที่ไม่บริสุทธิ์ เพื่อความเข้าถึง รู้-เห็น และเป็นธรรมที่บริสุทธิ์ยิ่ง ๆ ขึ้นไป จนถึงธรรมกายอันเป็นกายที่พ้นโลก พ้นความปรุงแต่ง (สังขาร) อันเป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์ผ่องใส โดยไม่ใช่ให้ยึดติด



    ที่ว่า “ให้ยึดกายที่เข้าถึงเป็นแบบ” นั้น หมายถึง ให้เอาเป็นแนวทางพื้นฐานในการเจริญภาวนาให้ถึงธรรมที่บริสุทธิ์ยิ่งขึ้นต่อ ๆไปเหมือนการขึ้นบันไดทีละขั้น ๆ ไปถึงชั้นบนบ้านได้ ก็ต้องอาศัยบันไดชั้นสูงยิ่งขึ้นต่อ ๆ ไป ตามลำดับ จึงเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องที่สุด



    ถ้ามัวแต่ไปเพ่งที่คำพูด แต่ไม่เข้าใจถึงความเป็นไปอันแท้จริงของธรรมปฏิบัติ จึงไขว้เขวได้อย่างนี้ มีเยอะ มีแต่นักอ่าน นักพูด นักวิจารณ์ แต่ไม่เข้าใจถึงความเป็นไปอันแท้จริงของธรรมปฏิบัติ ก็ไขว้เขวได้มากอย่างนี้ ยิ่งคนดัง ๆ พูดแล้วคนก็เชื่อมากเสียด้วย เพราะฉะนั้นให้พยายามปฏิบัติต่อไปให้เข้าถึงกายที่ละเอียด ๆ (เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม) ถึงธรรมกายต่อ ๆ ไปให้สุดละเอียด ก็พระนิพพานก็จะเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งไปเอง <!--MsgFile=2-->



    เรื่อง “นิมิต” นั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดงไว้เป็นขั้นตอนของการเจริญสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานเพื่อทำนิพพานให้แจ้งว่าดังนี้



    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ที่พอใจในความคลุกคลีกัน เป็นหมู่ ๆ, ยินดีในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ, ตามประกอบความพอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ ๆ, เป็นผู้พอใจในหมู่,ยินดีในหมู่, ตามประกอบความพอใจในหมู่, อยู่แล้วหนอ; เธอนั้นจักมาเป็นผู้โดดเดี่ยวยินดียิ่งในความสงัดเงียบนั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้.


    เมื่อไม่เป็นผู้โดดเดี่ยวยินดียิ่งในความสงัดเงียบแล้ว จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตได้นั้นข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.


    เมื่อไม่ได้ถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตแล้วจักยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์นั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.


    เมื่อไม่ทำสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนา ให้บริบูรณ์แล้ว จักยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์นั้นข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.


    เมื่อไม่ทำสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผล ให้บริบูรณ์แล้ว จักละสังโยชน์ทั้งหลายนั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.


    เมื่อไม่ละสังโยชน์ทั้งหลาย จักทำนิพพานให้แจ้งนั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้เลย.


    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ที่ไม่พอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ ๆ, ไม่ยินดีในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ ๆ,ไม่เป็นผู้พอใจในหมู่ ไม่ยินดีในหมู่ไม่ตามประกอบความพอใจในหมู่, อยู่แล้วหนอเธอนั้นจักมาเป็นผู้โดดเดี่ยวยินดีในความสงัดเงียบนั้นข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.


    เมื่อเป็นผู้โดดเดี่ยวยินดียิ่งในความสงัดเงียบแล้ว จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิและวิปัสสนาจิตได้นั้นข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.


    เมื่อถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตและวิปัสสนาจิตได้แล้ว จักยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้นั้นข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.


    เมื่อทำสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์ได้นั้นข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.


    เมื่อทำสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักละสังโยชน์ทั้งหลายได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.


    เมื่อละสังโยชน์ทั้งหลายได้แล้วจักทำนิพพานให้แจ้งได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้แล.

    <SUP>(พระไตรปิฎกบาลีฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๒๒,อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต,ข้อ ๓๓๙,หน้า ๔๗๒-๔๗๓ (คำแปลจากหนังสือขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ ของกองตำราคณะธรรมทานไชยา พ.ศ. ๒๕๑๔ , หน้า ๒๘๕-๒๘๖)) </SUP><!--MsgFile=3-->


    กล่าวโดยสรุป “นิมิต” เป็นขั้นตอนของการเจริญสมถภาวนาเพื่อกำจัดกิเลสนิวรณ์เครื่องกั้นปัญญา ให้จิตใจผ่องใสควรแก่งานและ เป็นขั้นตอนของวิปัสสนาภาวนา คือยกสังขารนิมิต มีเบญจขันธ์เป็นต้น ทั้ง ณ ภายนอก (ส่วนหยาบ) และทั้ง ณ ภายใน (ส่วนละเอียด)ขึ้นพิจารณาให้เห็นแจ้งรู้แจ้งสภาพความปรุงแต่ง และลักษณะอันเป็นเองของสังขารธรรมที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ว่าเป็นสภาพไม่เที่ยง (อนิจฺจํ) เป็นทุกข์ (ทุกฺขํ) และมิใช่ตัวตนที่แท้จริงของใคร (อนตฺตา)



    ในขั้นสมถภาวนา เมื่อสามารถถือเอาปฏิภาคนิมิตได้ ก็จะได้สมาธิในระดับอัปปนาสมาธิอันเป็นเบื้องต้นของปฐมฌาน มรรคจิตอันประกอบด้วยสัมมาสมาธิ จึงจะเริ่มสามารถทำหน้าที่ได้สมบูรณ์เพราะฉะนั้น ถ้าใครปฏิเสธนิมิตเสียตั้งแต่สมาธิจิตยังไม่ได้ถึงอัปปนาสมาธิ อันเป็นเบื้องต้นของปฐมฌาน มรรคจิตก็ย่อมจะยังไม่เจริญขึ้นสมบูรณ์ให้สามารถทำหน้าที่ปหานสังโยชน์ได้เต็มกำลัง เพราะขาดสัมมาสมาธิ (การเจริญรูปฌาน ตั้งแต่ปฐมฌาน ถึง จตุตถฌาน) อันเป็นไปเพื่อเจริญปัญญาเห็นแจ้งรู้แจ้งในสภาวธรรม และอริยสัจจธรรมตามที่เป็นจริงได้



    อนึ่ง เมื่อสมาธิจิตเป็นฌานจิต ตั้งแต่ปฐมฌาน และเจริญขึ้นไปตามลำดับฌานนั้น ย่อมละองค์แห่งฌานที่หยาบ หรือเรียกว่า “ดับหยาบไปหาละเอียด”ไปเองโดยอัตโนมัติ อย่างสงสัยเลย



    ในขั้นวิปัสสนาภาวนาถ้าไม่ยกสังขารนิมิต อันตัณหาปวัตติ (ปรุงแต่งให้เป็นไป) ให้แจ้งสภาพความปรุงแต่ง และลักษณะอันเป็นเองตามธรรมชาติของสังขารธรรมทั้งหลายทั้งปวงว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาอย่างไรแล้ว ภาวนามยปัญญา (ปัญญาแจ้งชัด จากการเจริญภาวนาจริง ๆ ) จะเกิดได้อย่างไร ก็จะได้แต่เพียงสุตมยปัญญา และจินตามยปัญญา จากสัญญา คือ ความจำได้หมายรู้จากตำรา หรือจากที่ฟังเขาว่ามาเท่านั้นเอง



    ใครสอนให้ละ “นิมิต” ตั้งแต่ขั้นแรกของสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐาน ก็เท่ากับสอนให้ละฐานสำคัญที่จะให้เกิดสมาธิจิตในระดับปฐมฌานขึ้นไป อันจะนำไปสู่การเห็นแจ้งสภาวะของสังขตธรรมและสัจจธรรมตามที่เป็นจริง การเจริญสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานก็จะมีสภาพเป็น “วิปัสสนึก (เอาเอง)” เท่านั้น ถึงแม้จะเป็นอุบายให้ได้รับผลเบื้องต้นในระดับหนึ่ง แต่มรรคจิตก็ไม่สมบูรณ์พอจะปหานสังโยชน์โดยเด็ดขาดได้ ต่อเมื่อถึงฌานจิตตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไปจึงจะมีพลังพอที่จะปหานสังโยชน์โดยเด็ดขาดได้ จึงขอให้บททวนพระพุทธดำรัสข้างต้นนี้ให้ดี จะได้ไม่หลงทางปฏิบัติ วนอยู่แต่ในวิธี “ขุดบ่อไม่ถึงตาน้ำ” . <!--MsgFile=4-->
     
  18. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    สติปัฏฐานสูตร (๑) : พระธรรมเทศนาของหลวงพ่อวัดปากน้ำ

    กัณฑ์ที่ ๔๓ สติปัฏฐานสูตร
    http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2007/03/Y5251529/Y5251529.html

    ๓ ตุลาคม ๒๔๙๗


    นโม ตสฺส ถควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส นโม ตสฺส ถควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส นโม ตสฺส ถควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

    อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ.

    อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ
    เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ.

    อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ.

    อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี วิหรติ.

    อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ




    ณ บัดนี้ อาตมาภาพจักได้แสดงธรรมิกถา แก้ด้วยเรื่อง ธรรม ที่ทำให้เป็น ธรรมกาย เป็นธรรมที่แน่แท้ในพระพุทธศาสนา จะแสดงตามคลองธรรมของ สติปัฏฐานสูตรที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้เป็นหลักเป็นประธานมหาสติปัฏฐานสูตรนั้นเป็นโพธิปักขิยธรรม เป็นไปในเรื่องฝ่ายเครื่องตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์เหมือนกันหมดปรากฏดังนี้


    เหตุนั้นตามวาระพระบาลีแห่งมหาสติปัฏฐานสูตรที่ได้ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นว่า


    อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายา นุปส ฺสี วิห รติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ
    ว่าดูกรภิกษุทั้งหลายผู้ศึกษาพระธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้


    กาเย กายานุปสฺสี เห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่
    อาตาปี มีความเพียรเป็นเครื่องเผายัง กิเลสให้เร่าร้อน
    สมฺปชาโน รู้สึกตัวพร้อมอยู่เสมอ สติมา มีสติไม่เผลอ
    วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌา-โทมนสฺสํ พึงกำจัดความดีใจเสียใจในโลกเสียให้พินาศ


    เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนนสฺสํ เห็นเวทนาในเวทนาเนือง ๆ อยู่
    มีความเพียรเป็นเครื่องเผายังกิเลสให้เร่าร้อน
    มีความรู้สึกตัวพร้อมอยู่เสมอ มีสติไม่เผลอ
    พึงจำกัด อภิชฌาโทมนัสในโลกเสียให้พินาศ


    จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌา โทมนสฺสํ เห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่
    มีความเพียรเป็นเครื่องเผายังกิเลสให้เร่าร้อน
    มีความรู้สึกตัวพร้อมอยู่เสมอ
    มีสติไม่เผลอ พึงกำจัด อภิชฌาโทมนัส ในโลกเสียให้พินาศ


    ธมฺเมสุ ธมฺมานฺปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺยํ โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ เห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่
    มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสให้เร่าร้อน
    มีความรู้สึกตัวพร้อมอยู่เสมอ มีสติไม่เผลอ
    พึงกำจัดความเพ่งอยากได้ ความเสียใจในโลกเสีย



    -->> นี้เป็นเนื้อความของวาระพระบาลีในมหาสติปัฏฐานสูตร แสดงหลักไว้ตามจริงดังนี้รับรองหมดทั้งประเทศไทยว่าเป็นข้อที่ถูกต้องแน่นอนแล้ว

    ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายขยายความเป็นลำดับไป พิจารณาจะแสดง ธรรม ที่ทำให้เป็น ธรรมกาย นี้เป็นข้อที่ลึกซึ้งของยาก ได้ไม่ยากแต่ว่าไม่ง่าย ไม่ยากแก่บุคคลที่ทำได้ ไม่ง่ายสำหรับบุคคลที่ทำไม่ได้



    ตำราได้กล่าวไว้ว่าเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ เห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่เห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ เห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ ๔ ข้อ



    เห็นกายในกาย น่ะเห็นอย่างไร บัดนี้กายมนุษย์ที่ปรากฏอยู่ นั่งเทศน์อยู่นี่ นั่งฟังอยู่นี่ นี่กายมนุษย์แท้ๆ แต่ว่ากายมนุษย์นี่แหละเวลานอนหลับฝันไปก็ได้ พอฝันออกไปอีกกายหนึ่ง เขาเรียกว่า กายมนุษย์ละเอียด นี่รู้จักกันทุกคนเชียวกายนี้
    เพราะเคยนอนฝันทุกคน รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร เป็นเหมือนมนุษย์คนนี้แหละ คนที่ฝันนี่แหละ นุ่งห่มอย่างไร อากัปกิริยาเป็นอย่างไร สูงต่ำอย่างไร ข้าวของเป็นอย่างไร ก็ปรากฏเป็นอย่างนั้น ก็ปรากฏเป็นคนนี้แหละแบบเดียวกันทีเดียว คนเดียวกันก็ว่าได้ แต่ว่าเป็นคนละคน เขาเรียกว่า กายมนุษย์ละเอียด
    เวลานอนหลับสนิทถูกส่วนเข้าแล้ว ก็ฝันออกไป ออกไปอีกคนหนึ่งก็เป็นกายมนุษย์คนนี้แหละ รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างนี้แหละ ถึงได้ชื่อว่าเป็นกายมนุษย์ละเอียด

    กายมนุษย์คนที่ฝันออกไปนั่นแหละเขาเรียกว่า กายมนุษย์ในกายมนุษย์ นี่แหละ กายในกาย หละ เห็นจริงๆ อย่างนี้ ไม่ใช่เห็นตามเหลวไหลเห็นอย่างนี้ก็เป็นหลักเป็นพยานได้ทุกคน เพราะเคยนอนฝันทุกคน นี่เห็นในกายเห็นอย่างนี่นะ เมื่อเห็นกายในกายอย่างนี้แล้ว


    เห็นเวทนาในเวทนา ล่ะ ก็ตัวมนุษย์คนนี้มีเวทนาอย่างไรบ้าง สุข ทุกข์ ไม่สุข ไม่ทุกข์ ดีใจ เสียใจ เวทนาเป็นอย่างนั้นมิใช่หรือ ก็ส่วนกายที่ฝันออกไปนั้นก็มีสุข ทุกข์ ไม่สุข ไม่ทุกข์ ดีใจ เสียใจ เหมือนกันแบบเดียวกันกันกายมนุษย์คนนี้แหละ ไม่ต่างอะไรกันเลย


    จิตล่ะ เห็นจิตในจิต ก็แบบเดียวกันกับเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิตนี่ ต้องกล่าว “เห็น”นะ ไม่ใช่กล่าว “รู้” นะ เห็นจิตในจิต ดวงจิตของมนุษย์นี้เท่าดวงตาดำข้างนอก อยู่ในเบาะน้ำเลี้ยงหัวใจ ตำรับตำรากล่าวไว้ว่า หทยคูหา จิตฺตํ สรีร จิตฺตํ เนื้อหัวใจเป็นที่อยู่ แล้วก็กล่าวไว้อีกหลายนัย เนื้อหัวใจเป็นที่อยู่ แล้วก็กล่าวไว้อีกหลายนัย

    ปกติมโน ใจเป็นปกติ ภวงฺคจิตฺตํ ใจเป็นภวังคจิต ตํ ภวงฺคจิตฺตํ อันว่าภวังคจิตนั้น ปสนฺนํ อุทกํ วิย จิตเป็นดังว่าน้ำ จิตนั่นแหละเป็นภวังคจิต เวลาตกภวังค์แล้วใสเหมือนกับน้ำที่ใส จิตดวงนั้นแหละเป็นจิตของมนุษย์ ที่ต้องมีปรากฏว่า จิตในจิตนั่นแหละอีกดวงหนึ่งคือ จิตของกายมนุษย์ละเอียด ที่ฝันออกไปนั้นเรียกว่า จิตในจิต


    ธรรมในธรรม เห็นธรรมในธรรมเนืองๆ เป็นฉไนเล่า ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ มีอยู่ในศูนย์กลางกายมนุษย์ ขนาดเท่าฟองไข่แดงของไก่ติดอยู่ในกลางกายมนุษย์ นี่เห็นธรรมในธรรมหละ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดมีอยู่ ไม่เท่าฟองไข่แดงของไก่ สองเท่าฟองไข่แดงของไก่ อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนี้แหละ สองเท่าฟองไข่แดงของไก่ นั่นเป็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด นั่นอีกดวงหนึ่ง

    นั่นเห็นอย่างนี้ เห็น หรือรู้ ล่ะ รู้กับเห็นมันต่างกันนะ เห็นอย่างหนึ่ง รู้อย่างหนึ่ง นะ ไม่ใช่เอารู้กับเห็นมาปนกัน ไม่ได้

    <!--MsgFile=0-->


    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#204080 border=0><TBODY><TR><TD width=10></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#204080 border=0><TBODY><TR><TD width=10></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>


    กาเย กายานุปสฺสี เห็นกายในกาย เห็นเหมือนอะไร เห็นเหมือนนอนฝันอย่างนั้นซี เห็นจริงๆ อย่างนั้น ตากายมนุษย์นี่เห็นหรือ ตากายฝันมันก็เห็นละซี จะไปเอาตากายมนุษย์นี่เห็นได้อย่างไรล่ะ

    ตากายมนุษย์นี่มันหยาบนี่อ้ายที่เห็นได้นั่นมันตากายมนุษย์ละเอียดนี่ มันก็เห็นกายโด่ ๆ อย่างนั้น

    ->> เห็นเวทนาในเวทนา เล่า ถ้าว่าเมื่อทำถูกส่วนเข้าเช่นนั้นละก็ เห็นเวทนาจริงๆ สุข ทุกข์ ไม่สุข ไม่ทุกข์ ดีใจ เสียใจ เวทนา ๓ หรือ เวทนา ๕ เห็นจริงๆ เป็นดวง เป็นดวงใส เวทนา เวทนาแท้ๆ
    สุขก็ดวงใส ทุกข์ก็ดวงข้น ดวงขุ่นไม่สุข ไม่ทุกข์ ก็ดวงปานกลาง เห็นชัดๆ เป็นดวงขนาดไหน ถ้าเต็มส่วนมันเข้าก็เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์นั่น ดวงเวทนาขนาดนั้น ถ้าลดส่วนลงไปก็โตได้เล็กได้ นั่นเห็นเวทนาในเวทนา เห็นอย่างนั้นเชียว เห็นเหมือนนอนฝัน กายละเอียดทีเดียว เห็นเวทนาเป็นดวงทีเดียว
    แต่ว่าสุขก็อยู่ในสุขของมนุษย์นี่ ทุกข์ก็อยู่ในทุกข์ของมนุษย์นี่ไม่สุขไม่ทุกข์กอยู่ก็อยู่ในไม่สุขไม่ทุกข์ของมนุษย์นี่
    ดีใจก็อยู่ในดีใจของมนุษย์นี่ เสียใจก็อยู่ในเสียใจของมนุษย์นี่ เขาเรียกว่า เวทนาในเวทนา เป็นดวงพอๆกัน เท่าๆ กัน

    ->> เห็นจิตในจิต ล่ะ ดวงจิตตามส่วนของมันก็เท่าดวงตาดำข้างนอก ถ้าไปเห็นเข้ารูปนั้นมันขยายส่วน วัดเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เหมือนกัน ดวงจิตก็ขนาดเดียวกัน ไปเห็นจริงๆ เข้าเช่นนั้น ขยายส่วนเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ปรากฏอยู่ในดวงจิตกายมนุษย์หยาบนี่แหละ

    แต่ว่าเป็นดวงจิตของกายมนุษย์ละเอียด อยู่ในกายมนุษย์ละเอียดโน่น แต่ว่าล้อมอยู่ข้างในนี่แหละ


    ->> เห็นธรรมในธรรม ล่ะ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ใสบริสุทธิ์ เท่าฟองไข่แดงของไก่ เมื่อไปเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดเข้าแล้วดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ก็ขยายส่วนได้ โตได้ขนาดดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เหมือนกัน ขนาดๆเดียวกัน ขยายส่วนออกไป นั้นได้ชื่อว่า เห็นธรรมในธรรม คือในกายมนุษย์นั้นเอง ในกายมนุษย์ละเอีย ดนั้นนี่รู้จักชั้นหนึ่งล่ะนะ




    -->> เมื่อเห็นเข้าเช่นนี้เราจะทำอย่างไร ตำรากล่าวไว่ว่า อาตาปี เพียรให้กลั่นกล้าๆ หายทีเดียว เพียรไม่ย่อท้อไม่ถอยทีเดียว เอาเป็นเอาตายทีเดียว เรียนกันจริงต้องใช้ความเพียรประกอบด้วยองค์สี่ทีเดียว


    องค์สี่นั้นอะไรบ้าง เนื้อเลือด กระดูก หนัง หนังเนื้อเลือด จะแห้งเหือดไปไม่ว่า เหลือแต่กระดูกหนังช่างมันไม่ลดละ ใจต้องจรดอยู่ทีเดียว ในกาย เวทนา จิต ธรรมนั้น ไม่เคลื่อนหละ

    จรดอยู่ในกาย จะต้องจรดอยู่ทีเดียว ไม่ไปอื่นกันหละ ฝันไม่กลับกันละ ฝันกันเรื่อยไป แม้จะกลับมาก็เล็กน้อย ฝันไปอีก ฝันไม่เลื่อนกันหละ ให้ชำนาญทีเดียว ฝันในฝัน นั่งก็ฝันได้ เดินก็ฝันได้ ยืนก็ฝันได้ ขี้เยี่ยวก็ฝันได้ทีเดียวนี่เขาเรียกว่า อาตาปี เพียรเข้าเร่งเร้าเข้าอย่างนี้

    สมฺปชาโน สติมา รู้อยู่เสมอไม่เผลอ เผลอไม่ได้ เผลอก็จะหายเสียเท่านั้น ถ้าได้ใหม่ เป็นใหม่ๆ เผลอไม่ได้ เป็นหายทีเดียว เพราะฉะนั้นต้องไม่เผลอกันทีเดียว ไม่วางธุระ ให้เอาใจใส่ ไม่เอาใจใส่ไปจรดที่อื่น ให้จรดอยู่ที่กาย เวทนา จิต ธรรม ในกายนั้นแหละ


    -->> จรดอยู่ใน กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม สี่อย่างนั้นจรดได้ หรือ จรดที่ไหนละ ที่จรดเขามี ที่ตั้งของใจเขามี ที่จรดเขามีแต่ว่า สี่อย่างนั้นจะดูเวลาไรก็เห็นเวลานั้น เหมือนกายมนุษย์นี้ ถ้าว่าทำเป็นละก็จะเห็นปรากฏ ที่นี้ไม่มีความเห็น มีแต่ความรู้ กายของตัวเห็นอยู่เสมอ เวทนาของตัวก็รู้สึกอยู่เสมอ จิตของตัวก็รู้สึกอยู่ เสมือนให้รู้สึกอยู่เสมอ ธรรมของตัวก็รู้สึกอยู่เสมอ ความดีของตัวไม่มีชั่วเข้ามาเจือปน รุ้อยู่อย่างนี้
    ส่วนกายมนุษย์ละเอียดเห็นปรากฏ เมื่อเห็นปรากฏดังนี้ละก็ นี่แหละหลักจริงในพระพุทธศาสนา รู้จักเท่านี้แล้ว


    อย่ารู้จักแต่เพียงว่ากายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม เพียงเท่านั้นนะ ยังมีอีกหลายชั้น นับชั้นไม่ถ้วน นี่ชั้นหนึ่งละนะ เข้าไปอีกชั้นหนึ่ง กายในกาย นั้น เขาเรียกว่า ฝันในฝัน อย่างไรละ ฝันในฝัน กายที่ฝันไป ทำงานเหนื่อยเข้าก็จะแสดงฝันเต็มเกมของการฝันเข้า เหนื่อยเข้าไปนอนหลับ นอนหลับฝันเข้าอีกแหละ กายฝันๆเข้าอีกนี่ เขาเรียกว่า ฝันในฝัน


    ฝันในฝันเป็นอย่างไรล่ะ รุดออกไปอีกกายละซิ ออกไปอีกกายก็เป็นกายทิพย์ ที่นี้เป็นกายทิพย์เข้าไปอีกกาย เป็นกายทิพย์ กายทิพย์ก็เห็นโด่อีกนั้นแหละ เหมือนกับกายมนุษย์ที่ฝันนั่นแหละ แบบเดียวกันไม่เปลี่ยนไม่แปลงอะไรกันมากนัก เหมือนกระจกคันฉ่องมาส่องเงาหน้า เอามาเทียบกันดู จำได้ทีเดียว นี้คนเดียวกันไม่ใช่แยกกัน นี่กายคนเดียวกัน


    เมื่อรู้จักเช่นนั้นแล้ว เห็นกายในกายที่สามเข้าไปแล้ว ไม่ใช่ที่สองแล้วเวทนาก็แบบเดียวกัน เห็นอย่างเดียวกัน เวทนาตั้งอยู่ตรงไหน จะว่าเวทนาตั้งอยู่ตรงไหน อยู่กลางกาย กายที่ฝันในฝันนั่นแหละ กายที่สามนั่นแหละ อยู่กลางกายนั่นแหละ เวทนาในเวทนา จิตในจิตก็อยู่ในกลางเวทนานั่นแหละ ธรรมในธรรมก็อยู่กลางจิตนั่นแหละ ธรรมในธรรมนั่นไม่ใช่อยู่ที่ไหนหรอก เป็นดวงเท่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ปริสุทธิ์สนิทเท่าๆ กัน นี่เหมือนฝันในฝันตัวจริงอย่างนี้ ไม่ใช่คลาดเคลื่อน




    --->> ที่วัดปากน้ำ ดำเนินปฏิบัติ ไม่ได้เอาเรื่องอื่นมาเหลวไหล ค้นเข้าไปถึงตัวจริงอย่างนี้ นี่ก็เป็นสามกายละนะ เข้าไปสามกายแล้ว ฝันในฝันนั่นได้เท่านี้ก็พอแล้ว ได้เท่านี้ก็พอเอาเป็นตัวอย่าง ได้เท่านี้ก็เดินในแนวนี้ เป็นตำราอย่าถอยหลังก็แล้วกัน มันจะมีกี่ร้อยกายพันกายก็ไปเถอะ กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม เข้าไปอย่างนี้แหละ ไม่คลาดเคลื่อนทีเดียว แต่ว่าที่จะเข้ารูปนี้นะ



    แสดงไว้เมื่อวันพระที่แล้ว แสดงไว้แล้วตั้งแต่ เอกายนมรรค โน้นยังค้างอยู่กายในกายยังไม่กว้างออกไป ที่นี้จะแสดงให้กว้างออกไปว่า ได้ความอย่างนี้ กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม อย่างนี้แหละ นี่เป็นกายที่สาม



    -->> กายที่สี่ กายทิพย์ละเอียดอีก ฝันในฝันเข้าไปอีก เป็นสี่ชั้น สี่ฝันแล้วแบบเดียวกัน เห็น กาย เวทนา จิต ธรรม แบบเดียวกัน

    แล้วกายทิพย์ละเอียดฝันเข้าไปในฝันเข้าอีก เป็นสี่ฝันสี่ชั้นเข้าไป ก็เห็น กาย เวทนา จิต ธรรม อีก ก็ต้องมีความเพียรอีก เผลอไม่ได้นะ เพียรให้มีสติไว้เสมอ ไม่เผลอ
    นำอภิชฌาโทมนัสในโลกออกเสีย อย่าให้ความดีใจเสียใจแลบเข้าไปได้นะ ถ้าความดีใจเสียใจแลบเข้าไปได้ เดี๋ยวไม่ฝันอีกละ ต้องตื่นหละเพราะต้องกลับออกมาแล้วไม่ได้เสียแล้ว ความดีใจแลบเข้าไป แลบเข้าไปอย่างไรละ แลบเข้าไปลึกซึ้ง เข้าไปฝันๆ อย่างนั้นแหละ
    ความดีใจจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้เข้าไปแต่งหละ เสียใจหละ ไม่สมเจตนาก็เสียใจหละ ดีใจเสียใจแลบเข้าไปแล้ว
    เป็นขุ่นมัวทีเดียวประเดี๋ยวก็ต้องถอยออกมา ที่นี้ก็ฝันไม่ได้ ก็ต้องเลิกกัน
    เพราะฉะนั้นความดีใจเสียใจนี้ร้ายนัก ไม่ใช่ร้ายแต่เมื่อเวลาปฏิบัติธรรม เห็นธรรมอย่างนี้น่ะ ถึงเวลาเราดีๆอยู่


    อ้ายความดีใจเสียใจนี่แหละที่ทำให้ต้องกระโดดน้ำตาย กินยาตาย ผูกคอตาย ดีใจเสียใจนี้แหละมันเต็มขีด เต็มส่วนของมัน บังคับอย่างนี้ เพราะฉะนั้นความดีใจเสียใจ เป็นมารร้ายทีเดียว ถ้าว่าใครให้เข้าไปอยู่ในใจบ่อยเข้าก็หน้าดำคร่ำเครียด ร่างกายไม่สดชื่นละซิ เศร้าหมองไม่ผ่องใสหรอก

    เพราะอะไร เพราะดีใจเสียใจบังคับมัน ทำให้เดือดร้อ่น หน้าดำคร่ำเครียดทีเดียว บางคนไม่อ้วนผอมเป็นเกลียวทีเดียว เพราะความดีใจเสียใจทั้งหมดอยู่ที่มันไม่ปล่อยมันไป
    ถ้าว่าทำให้สบายสดชื่นให้ชื่นใจ เย็นอกเย็นใจ สบายใจ จะมั่งมีดีจนอย่างไรก็ช่างทำใจให้เบิกบานไว้ ร่างกายมันก็ชุ่มชื่นสบาย
    นี่อ้ายดีใจเสียใจมันฆ่ากายมนุษย์อยู่อย่างนี้ กายมนุษย์ละเอียดก็ฆ่า กายทิพย์ก็ฆ่า กายทิพย์ละเอียดก็ฆ่า ฆ่าทั้งนั้นทุกกาย ความดีใจเสียใจต้องคอยระวังไว้ให้ดี ท่านจึงได้สอนนักว่า ให้ทำความดีใจและเสียใจในโลกเสียให้พินาศ


    ดีใจเสียใจในโลกนะ ดีใจเสียใจในอัตตภาพร่างกายโลกนั้นคือขันธ์ ๕ นี้แหละ ร่างกาย อันนี้แหละเป็นตัวโลกสำคัญนัก เขาเรียกว่า สัตว์โลก โอกาสโลก ขันธ์โลก สัตว์โลก โอกาสโลก ก็ ว่าง ที่ว่างๆ เหล่านี้ ที่ว่างๆ ดิน น้ำ ลม ไฟ ลม ที่ว่างๆ เหล่านี้เขาเรียกว่าโอกาสโลก
    ขันธ์โลก ก็เป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเดียว สัตว์โลก ที่อาศัยขันธ์นั่นแหละ ที่ไปเกิดมาเกิดเป็นกายๆ นี้แหละ เข้าไปในกายข้างในนี่เป็นสัตว์ทั้งนั้น เป็นชั้นๆ ๆ เข้าไป สัตว์โลกเป็นชั้นๆ เข้าไป สัตว์โลกทั้งนั้น เมื่อเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมใรนธรรมของกายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียดแล้ว กายทิพย์ละเอียดนั้นแหละ ฝันในฝัน เป็นข้อสี่ออกไปอีก



    -->> กายในกายเป็นกายที่ห้าก็คือ กายรูปพรหม กายรูปพรหมก็มี กาย เวทนา จิต ธรรมเหมือนกับปรากฏดังกล่าวแล้ว ไม่ต้องอธิบาย เวลาจะไม่พอ ย่นย่อพอควรแก่กาลเวลา กายรูปพรหมนั้นแหละ ฝันในฝันเข้าไปอีกเหมือนกัน ออกไปอีกกาย เป็น รูปพรหมละเอียด ก็เห็นกาย เวทนา จิต ธรรม อีกแบบเดียวกัน


    -->> กายรูปพรหมละเอียด ฝันในฝันเข้าไปอีกเหมือนกัน ออกไปอีกกาย เรียกว่า กายอรูปพรหม ใน กาย เวทนา จิต ธรรม แบบเดียวกัน กายอรูปพรหมฝันออกไปอีกได้เหมือนกัน ออกไปอีกกายเรียกว่า กายอรูปพรหมละเอียด มีกาย เวทนา จิต ธรรม แบบเดียวกัน กายอรูปพรหมละเอียดนั่นแหละ ฝันในฝันเหมือนกัน ออกไปอีกกายหนึ่ง เรียก กายธรรม


    -->> กายธรรมก็มี กาย เวทนา จิต ธรรม เหมือนกัน กาย ก็คือ ธรรมกาย เวทนา ก็คือ เวทนาของธรรมกายนั่นแหละ จิต ก็จิตของธรรมกายนั่นแหละ ธรรมก็เป็นธรรมดาของธรรมกายนั่นแหละ ขยายส่วนขึ้น ดวงใหญ่วัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย ธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมนั่น ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายเท่าหน้าตักธรรมกาย ธรรมกายนั่นแหละฝันได้อีกเหมือนกัน ออกไปอีก กายเรียกว่า กายธรรมละเอียด ใหญ่ออกไปหน้าตัก ๕ วา สูง ๕ วา เกตุดอกบัวตูมใสหนักเข้าไป มี กาย เวทนา จิต ธรรม เหมือนกัน


    -->> ธรรมกายละเอียดนั่นแหละฝันออกไปอีกเหมือนกัน ออกไปอีกกายหนึ่ง มีกายพระโสดา เป็น กายพระโสดา หน้าตัก ๕ วา สูง ๕ วา เกตุดอกบัวตูมใสหนักขึ้นไป กายพระโสดานั่นแหละพอทำถูกส่วนเข้า ออกไปอีกกายหนึ่งแบบฝันนั่นแหละ ออกไปอีกกายหนึ่ง เป็น กายโสดาละเอียด หน้าตักกว้าง ๑๐ วา สูง ๑๐ วา มี กาย เวทนา จิต ธรรม เหมือนกัน


    -->> ธรรมกายละเอียดของพระโสดานั่นแหละ ฝันเข้าไปอีกเหมือนกันออกไปอีกกายหนึ่ง เรียกธรรมกาย พระสกทาคา หน้าตัก ๑๐ วา สูง ๑๐ วาขึ้นไป พระสกทาคาก็ฝันเข้าไปอีก ออกไปอีกกายหนึ่ง เป็นกาย พระสกทาคาละเอียด หน้าตัก๑๕ วา สูง ๑๕ วา มีกาย เวทนา จิต ธรรม แบบเดียวกัน กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม แบบเดียวกัน


    -->> กายพระสกทาคาละเอียดฝันไปอีกเหมือนกัน ออกไปอีกกายหนึ่งเป็น กายพระอนาคา หน้าตัก ๑๕ วา สูง ๑๕วา ธรรมกายพระอนาคาฝันไปอีกเหมือนกัน ออกไปอีกกายหนึ่ง เรียกว่า พระอนาคาละเอียด หน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา


    -->> ธรรมกายพระอนาคาละเอียดนั้นแหละฝันไปได้อีกเหมือนกัน ออกไปอีกกายหนึ่งเรียกว่ากาย พระอรหัตต์ หน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา เกตุดอกบัวตูมใสหนักขึ้นไป กายพระอรหัตต์นั้นแหละฝันไปอีกเหมือนกัน ออกไปอีกกายหนึ่งเรียกว่า พระอรหัตต์ละเอียดใหญ่หนักขึ้นไป มี เวทนา จิต ธรรม แบบเดียวกันฝันออกไปอย่างนี้แหละ มีธรรมกายพระอรหัตต์ในพระอรหัตต์ เป็นพระอรหัตต์ละเอียดๆๆต่อๆไปนับอสงไขยไม่ถ้วน



    -->> ฝันออกไปอย่างนี้แหละ หมดกายพระอรหัตต์ มีกายพระพุทธเจ้าก็ได้ กายในกาย กายในๆๆๆๆ มันก็อย่างนี้แหละ ผู้เทศน์นี้ได้ทำวิชานี้ ๒๓ ปี ออกพรรษานี้ก็ ๓ เดือน เต็มหละ ยังไม่หมดกายละเอียดเหล่านี้เลย ไม่ได้ถอยกลับเลย ยังไม่หมดกายละเอียดเหล่านี้เลย ยังไมถึงที่สุด
    ไปทูลถามพระพุทธเจ้าองค์เก่าแก่ที่เข้านิโรธเข้านิพพานไปแล้ว ถอยเข้าไปหากายละเอียดนี้นะ ไปถึงแล้วหรือยัง แล้วไม่มีใครรู้เลยว่าไปถึงหรือยัง
    เอาละซิคราวนี้นี่ศาสนาตัวจริงของกายมนุษย์เป็นอย่างนี้ พวกเป็นพระอรหันต์ ก็ต้องไปตรวจของตัว เข้านิพพานแล้วต้องไปตรวจของตัว เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าขึ้นแล้วเข้านิพพาน ก็ต้องไปตรวจกายของตัวอย่างนี้แหละ ว่าที่สุดอยู่ที่ไหน ต้องไปถึงที่สุดให้ได้ ต้องไปบอกที่สุดให้ได้ นี่เป็นความจริงเป็นอย่างนี้นะ

    รู้จักความจริงอย่างนี้แล้วละก็อย่าเพลินล่ะ อย่าเลอะเทอะที่อื่น ไม่ใช่ของตัว ให้เอาใจจรดจี้ตัวของตัว กลับให้เข้าไปถึงกายทิพย์ให้ได้ ว่ากายที่สุดของตนอยู่ที่ไหน เมื่อไปถึงที่สุดของตัวได้ละก็ รักษาตัวได้เป็นอิสระ ไม่มีใครมาบังคับบัญชา


    ถ้ายังไม่ถึงที่สุดของตัวแล้วก็หวานเลย เขาจะต้องบังคับบัญชาแกท่าเดียวเท่านั้นแหละ แกจะต้องเป็นบ่าวเป็นทาสเขา เวลามีพญามารมาบังคับใช้สอยเป็นบ่าวเป็นทาส เขาจะใช้ทำอะไรทำได้ ให้ด่า ให้ตี ให้ชก ให้ฆ่า ให้ฟันแกงก็ได้ ธรรมกายมาร บังคับ มันบังคับได้อย่างนี้เชียวนะ ให้เป็นบ่าวเป็นทาสเขา ให้เลวทรามต่ำช้า ให้เป็นคนจน อนาถาติดขัดทุกสิ่งทุกอย่าง เครื่องกินเครื่องใช้ขาดตกบกพร่อง เครื่องกินเครื่องให้ไม้สอยไม่มี มารเขาทำได้ บังคับได้


    ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะตัวไม่ยินดีสละในตัว เพราะตัวไม่เป็นใหญ่ในตัว เพราะตัวไม่รู้จักที่สุดของตัว นี่ที่สุดของตัวนี่ มนุษย์ทั่วไปเป็นอย่างนี้ เห็นไหมล่ะ ไม่ใช่มนุษย์เท่านั้น พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ท่านก็ไปถึงที่สุดเหมือนกัน


    ถ้าใครไปยังไม่ถึงที่สุดก็ยังไม่ฉลาดเต็มที่ ต่อเมื่อไปให้ถึงที่สุดกายของตัวต่อไปแล้วละก็ฉลาดเต็มที่แน่ ตัวของตัวเองมีชีวิตพึ่งแก่ตัวเองได้แล้ว นี้เป็นข้อสำคัญที่สุดนะ มาเจอพุทธศาสนานี่แล้วเห็นไหม จะไปทำเรื่องอื่น จะไปหลงเลอะเทอะ


    เอ้า! มีครอบครัวแล้วได้อะไรบ้าง ได้ลูกคนหนึ่ง แล้วเอาไปทำไมล่ะ เอามาเลี้ยง ๑๐ คน เอาไว้เลี้ยงอย่างไงก็เลี้ยงไป บ่นโอ๊กแล้ว เอ้าได้ห้าสิบคน เอ้า! เอาไว้เพียงเท่านี้ เอ้า! เปะปะไปซี ยากได้ลูกอีกไหมละ ไม่จริง เหลว โกงตัวเอง โกงตัวเอง พาให้เลอะเลือน
    ไม่เข้าไปค้นกายของตัวให้ถึงที่สุด ไม่ให้เข้าไปค้นตัวให้ถึงที่สุด เป็นมนุษย์กับเขาทั้งที เพราะเชื่อกิเลสเหลวไหลเหล่านี้แหละจึงได้เลอะเลือนจะครองเรือนไปสักกี่ร้อยปีก็ครองไปเถิด มันงานเรื่อง ของคนอื่นเขาทั้งนั้นเรื่องของพญามารทั้งนั้นไม่ใช่เรื่องของตัว ไม่ใช่งานของตัว ไปทำงานให้พญามาร เขาทั้งวันทั้งคืน เอาเรื่องอะไรไม่ได้



    -->>> เพราะอะไรล่ะ เพราะไม่รู้อิโหน่อิเหน่ เกิดมาพบอย่างไงก็ไปอย่างนั้นแหละ เพราะไม่ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าพระอรหันตต์ นี่ไม่ได้ฝึกใจในธรรมของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ไม่ได้ฟังธรรมของสัตตบุรุษ ไม่ได้ฝึกใจในธรรมของสัตตบุรุษ ความเห็นก็เลอะเลือนไปเช่นนี้ เมื่อรู้จักหลักอันนี้แล้ว นี่แหละ เป็นความจริงทางพระพุทธศาสนาตัวจริง ทีเดียวนี้เป็นข้อที่ลึกซึ้ง


    ให้นึกไว้ในใจว่า ต่อแต่นี้ไปเราจะต้องเข้าให้ถึงที่สุด เข้าไปในกายที่สุดของเราให้ได้ เป็นกายๆ ออกไป เมื่อเป็นกายๆเข้าไปแล้ว ถ้าทำเป็นแล้ว ไม่ใช่เดินท่านี้ เดินในไส้ทั้งนั้น ในไส้เห็น ไส้จำ ไส้คิด ไส้รู้ ในกำเนิดดวงธรรมที่ทำให้เป็นสุดหยาบสุดละเอียด เดินในใส้ ไม่ใช่เดินทางอื่น เดินในกลางดวงปฐมมรรค มรรคจิต มรรปัญญา เดินไปในกลางดวงศีล ดวงสมาธิ ปัญญา ดวงวิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ นั้นเป็นทางเดินของพระพุทธเจ้า พระอรหันตต์ เดินไปในไส้ ไม่ใช่เดินไปในไส้เพียงเท่านั้น ในกลางว่างของดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ของดวงศีล ดวงสมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
    ว่างในว่างเข้าไป ในเหตุว่างในเหตุว่าง เหตุเปล่าในเหตุเปล่า เหตุดับในเหตุดับ เหตุลับในเหตุลับ เหตุหายในเหตุหาย เหตุสูญในเหตุสูญ เหตุสิ้นเชื้อในเหตุสิ้นเชื้อ เหตุไม่เหลือเศษในเหตุไม่เหลือเศษ...ฯลฯ ในเหตุว่างเข้าไป เหตุสุดในเหตุสุด หนักเข้าไปอีกไม่ถอยกลับ นับอสงไขยไม่ถ้วน นับชาติอายุไม่ถ้วน ไม่มีถอยกลับกัน เดินเข้าไปอย่างนี้นะ พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ไม่ใช่เดินโลเลเหลวไหล
    ที่เรากราบที่เราไหว้เรานับถือนะ ท่านวิเศษวิโสอย่างนี้นี่แหละเป็นผู้วิเศษแท้ๆ นี่แหละเป็นที่พึ่งของสัตว์โลกแท้ๆ ถ้าเป็น ผู้รู้จริง เห็นจริง ได้จริง เราจึงเอาเป็นตำรับตำราได้ เมื่อรู้จักหลักธรรมอันนี้แล้ว อย่าเข้าใจว่าได้ฟังง่ายๆ นะ
    ตั้งแต่เราเกิดมาเป็นภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกานะ อย่างนี้ไม่เคยได้ฟังเลยไม่ใช่หรือ
    เมื่อได้ฟังแล้วก็จงเพียรพยายามทำให้เป็นอย่างที่แสดงให้ฟังทุกสิ่งทุกประการ จะได้ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา


    ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺ-เชน ด้วยอำนาจสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทาโสตถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลายบรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมมิกถา โดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการะฉะนี้ฯ <!--MsgFile=5-->


    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#224422 border=0><TBODY><TR><TD width=10></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#224422 border=0><TBODY><TR><TD width=10></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><!--MsgFile=4--><!--MsgFile=3--><!--MsgFile=2--><!--MsgFile=1-->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กรกฎาคม 2008
  19. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    มหาสติปัฏฐานสูตร (๒) : พระธรรมเทศนาของหลวงพ่อวัดปากน้ำ http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2007/03/Y5255676/Y5255676.html

    <!--MsgIDBody=0-->กัณฑ์ที่ ๔๔
    มหาสติปัฏฐานสูตร
    ๑๐ ตุลาคม ๒๔๙๗

    นโม ตสฺส ถควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
    นโม ตสฺส ถควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
    นโม ตสฺส ถควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

    กถญฺจ ภิกฺขเว ภิกขฺ จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ. อิธ ภิกฺขเว ภิกขฺ สราคํ วา จิตฺตํ สราคํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. วีตราคํ วา จิตฺตํ วีตราคํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. สโทสํ วา จิตฺตํ สโทสํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ วีตโทสํ วา จิตฺตนฺติ ปชานาติ. สโมหํ วา จิตฺตํ สโมหํ จิตฺตนฺติ ปาชานาติ วีตโมหํ วา จิตฺตํ วีตโมหํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. สงฺขิตฺตํ วา จิตฺตํ สงฺขิตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. วิกฺขิตฺตํ วา จิตฺตํ วิกฺขิตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. มหคฺคตํ วา จิตฺตํ มหคฺคตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. อมหคฺคตํ วา จิตฺตํ อมหคฺคตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. สอุตฺตรํ วา จิตฺตํ สอุตฺตรํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. อนุตฺตรํ วา จิตฺตํ อนุตฺตรํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. สมหิตํ วา จิตฺตํ สมาหิตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. อสมาหิตํ วา จิตฺตํ อสมาหิตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. วิมุตฺตํ วา จิตฺตํ วิมุตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. อวิมุตตํ วา จิตฺตํ อวิมุตตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. อิติ อชฺฌตฺตํ วา จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ พหิทฺธา วา จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ อชฺฌตฺตพหิทฺธา วา จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ. สมุทยวยธมฺมานุปสฺสี วา จิตฺตสฺมึ วิหรติ. วยธมฺมานุปสฺสี วาจิตฺตสฺมึ วหรติ สมุทยวยธมฺมานุปสฺสี วาจิตฺตสมึ วิหรติ อตฺถิ จิตฺตนฺติ วา ปนฺสส สติ ปจฺจุปฏฐิตา โหติ ยาวเทว ญาณมตฺตาย ปติสฺสติมตฺตาย อนิสฺสิโต จ วิหรติ น จ กิญฺจิ โลเก อุ-ปาทิยติ. เอวํ โข ภิกฺขเว ภิกฺขุ จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรตีติ. ฯ


    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักแสดงใน มหาสติปัฏฐานสูตร ที่แสดงไปแล้วนั้น โดยอุเทศทวาร ปฏิเทศทวาร แสดงในมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นอุเทศทวารนั้น ตามวาระพระบาลีว่า

    เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย

    แค่นี้ จบอุเทศทวารของมหาสติปัฏฐานสูตร แปลภาษาบาลีว่า
    เอกายโน อยํ ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อยํ มคฺโค อันว่าหนทางนี้ เอกายโน เป็นเอก เอกายโน อยํ ภิกฺขเว หนทางนี้เป็น หนทางเอก ไม่มีสองแพร่ง เป็นหนทางเดียวแท้ๆ หนทางหนึ่งแท้ๆ เอกนะ คือหนึ่ง
    เอโก ทฺวิ ติ จตุปญฺจ เหล่านี้ เอโก เขาแปลว่า หนึ่ง หนทางนี้เป็นหนึ่งไม่มีสองต่อไป
    สตฺตาน ํวิสุทฺธิยา ความหมดจดวิเศษของสัตว์ทั้งหลาย
    โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย เพื่อความล่วงเสียซึ่งโศก ความแห้งใจ ความปริเทวะ ความพิไรรำพันเพ้อ
    ทุกฺขโมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย เพื่ออัสดงคต หมดไปแห่งเหล่าทุกข์โทมนัส
    ญายสฺสอธิคมาย เพื่อบรรลุซึ่งญาณ
    นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
    นี่แสดงดังนี้เพียงเท่านี้ เรียกว่า อุเทศทวาร จักได้แสดงเป็นปฏินิเทศทวารสืบต่อไป



    กตเม จตฺตาโร ยทิทํ จตฺตาโร สติปฏฺฐานา นี้คือ สติปัฏฐานสี่
    กตเม จตฺตาโร สติปฺฏฐานา สติปัฏฐาน ๔ นี่คืออะไร สติปัฏฐาน ๔ คืออะไรบ้างล่ะ


    อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฌาโทมนสฺสํ เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ ธมฺมานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ

    สี่อย่างนี้เรียกว่าปฏินิเทศทวาร อุเทศทวารแสดงแล้ว อีกสองนี้เป็นปฏินิเทศทวาร อุเทศน่ะแสดงออกเป็นหนึ่งทีเดียว ปฏินิเทศนั้นแสดงออกไปเป็นสี่ กาย เวทนา จิต ธรรม แปลภาษาบาลีว่า


    -->> อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายที่ศึกษาพระธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้า เห็นกายในกายเนืองๆ นั้นเป็นไฉนเล่า
    อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ศึกษาพระธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ เห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ อ้ายนี้ต้องคอยจำนะ เห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ ถ้าเห็นเข้าแล้วทำให้
    อาตาปี เพียรเทียวเพียรให้เห็นอยู่เสมอนั้นไม่เผลอทีเดียว
    อาตาปี สมฺปชาโน รู้รอบคอบอยู่ เพียรแล้วก็รู้รอบคอบ
    สติมา มีสติด้วยไม่เผลอ รู้รอบคอบไม่เผลอ
    วิเนยฺย โลเก โทมนสฺสํ คอยกำจัด อภิชฌา ความเพ่งเฉพาะอยากได้และความโทมนัสเสียใจที่ไม่ได้สมบัติ นำอภิชฌาโทนัสในโลกออกเสีย อย่าเพ่งเฉพาะเสียใจ เพราะอยากได้แล้วไม่สมหวัง มันจะทำกายในกายให้เสื่อมไปเสีย อภิฌชา สำคัญนัก เพ่งเฉพาะอยากได้ เมื่อไม่ได้มันก็เสียใจเพราะไม่สมหวัง ไอ้ดีใจเสียใจนี่แหละอย่าให้เล็ดดลอดเข้าไปได้ทีเดียว เมื่อเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่แล้ว
    อาตาปี มีความเพียรเร่งเร้าทีเดียว มีความรู้รอบคอบประกอบด้วยสติมั่น ไม่ฟั่นเฟือนทีเดียว
    วิเนยฺย โลเก อภิชฌณาโทมนสฺสํ นำอภิชฌา และโทมนัสในโลกออกเสียได้ นี่ข้อต้น



    -->> ข้อที่สองคือ เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสึ เห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆอยู่ มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสให้เร่าร้อน มีความรู้รอบคอบ มีสติ มั่นไม่ฟั่นเฟือน นำอภิชฺณาโทมนัสในโลกออกเสีย ไม่ให้ลอดเล็ดเข้าไปได้ นี่ส่วนเวทนา



    -->> จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ เห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ มีความเพียรเป็นเครื่องเผายังกิเลสให้เร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติไม่พลั้งเผลอ นำอภิชฺฌาในโลกนี้ออกเสียได้ อย่าให้ความยินดียินร้ายมันเล็ดลอดเข้าไปได้ นี่เป็นข้อสาม



    -->> ข้อที่สี่ ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ เห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ เมื่อเห็นแล้ว ให้มีความเพียรเป็นเครื่องเผายังกิเลสให้เร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นไม่ฟั่นเฟือนกำจัดอภิชฺฌาโทมนัสในโลกนี้เสียได้


    สี่ข้อนี้แหละเรียกว่า ปฏินิเทศทวาร กาย เวทนา จิต ธรรม เห็นกายในกายอยู่ เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ เห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ เห็นธรรมในธรรมอยู่ นี่ให้เข้าใจเสียก่อนจึงจะสอนต่อไปเป็นลำดับ




    -->>> เห็นกายในกาย นี่เห็นอย่างไร เห็นกายในกายนั่นเหมือนกับนอนฝันนั่นแหละ เห็นชัดๆ อย่างนั้นนะ เห็นกายในกายก็เห็นกายมนุษย์ละเอียดเท่ากายมนุษย์นี้แหละ นอนฝันในกายมนุษย์นี่ต่อไป ทำหน้าที่ไป ผู้เห็นกายในกายก็คือกายมนุษย์ละเอียดนั่นเอง


    เห็นเวทนาในเวทนา ล่ะ มนุษย์นี่มันก็มีเวทนาเหมือนกัน เห็นนี่ ไม่ได้พูดรู้ นี่ เวทนาในเวทนานั่น เป็นอย่างไรล่ะ สุข กายนั้นเป็นสุข ก็เห็นเป็นสุข กายนั้นเป็นทุกข์ ก็กายละเอียดนั่นแหละที่เห็นนั่นแหละ กายนั้นเป็นทุกข์ก็เห็นว่าเป็นทุกข์ เมื่อกายนั้นไม่สุขไม่ทุกข์ ก็เห็นว่าไม่สุข ไม่ทุกข์ เห็นชัดๆ อย่างนี้


    เห็นจิตในจิต ล่ะ ลึกนี่เห็นจิตได้หรือ เห็นจิตได้หรือ ไม่ใช่เห็นง่ายๆนี่ จิตเป็นดวง นี่ เท่าดวงตาดำข้างนอกนี่แหละ เท่าดวงตาดำของตัวทุกคนๆ นั่นแหละ ดวงจิต เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม ถ้าเห็นอย่างนี้ไม่หลับ เป็นประธาน เห็นกายในกายชัดๆ ก็เห็นกายละเอียดนั่น



    ->> เห็นเวทนาในเวทนา เห็นกายแล้วก็เห็นเวทนา เวทนาเพราะใจกำหนดอยู่ที่จะดูกายเห็นกายนะ ต้องกำหนดอยู่ศูนย์กลางกายมนุษย์ เมื่ออยู่ศูนย์กลางกายมนุษย์ละก็นั่นแหละ ตาเห็นกาย ก็เห็นอยู่ในกลางกายมนุษย์นั่นแหละ เห็นเวทนาล่ะ เป็นอย่างไรล่ะ เห็นสุขเป็นดวงกลมใสอยู่ในกลางกายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละ เห็นสุข ทุกข์ ไม่สุข ไม่ทุกข์ เห็นชัดๆ เป็นดวง อยู่กลางกายมนุษย์นั้นแหละ เวทนาของกายมนุษย์นี้เป็นเวทนานอก เวทนาของกายมนุษย์ละเอียดเป็นเวทนาของกายมนุษย์ละเอียดละเอียดข้างใน นั่นแหละเวทนาในเวทนา


    ->> เห็นจิตในจิตล่ะ ดวงจิต ก็เห็นดวงจิตของกายละเอียดนั่น เห็นดวงจิตเท่าดวงตาดำข้างนอก เห็นดวงจิตมั่นอยู่ในกลางดวงจิตนี่แหละ อยู่ในกลางดวงจิตมนุษย์หยาบนี่แหละ เข้าไปถึงกายมนุษย์ละเอียดมันก็ไปเห็นดวงจิตของกายมนุษย์ละเอียดนั่น นี่เห็นจิตในจิต


    ->> เห็นธรรมในธรรมล่ะ ดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายมนุษย์หยาบมันมีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์หยาบนั่น พอไปเห็นกายละเอียด มันก็เห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั่น ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละ เป็นธรรมข้างใน ดวงธรรมทำให้เป็นกายมนุษย์หยาบนี่เป็นดวงธรรมข้างนอก เห็นจริงอย่างนี่นะ วัดปากน้ำเขาเห็นกันจริงๆ อย่างนี้ไม่ใช่เห็นเล่นๆ




    นี่ เห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม เห็นจริงๆอย่างนี้ นี่ๆอุเทศทวารแล้วก็เห็นอย่างนี้เรื่อยๆ ขึ้นไป กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม วัดปากน้ำเห็นเข้าไปตั้ง ๑๘ กายนั่นแน่ะ เห็นเข้าไปอย่างนี้แหละ ๑๘ กายชัดๆ ทีเดียว ชัดใช้ได้ทีเดียว ไม่ใช่พอดีพอร้ายหละ เห็นชัดใช้ได้ทีเดียว ไม่ชัดแต่ว่าเห็นหละ ถ้าว่าสนใจจริงๆ ก็เห็นจริงๆเห็นจริงๆอย่างนี้ เมื่อเห็นจริงๆ เป็นจริงๆ อย่างนี้แล้วละก็ ตำราบอกไว้ตรงๆอย่างนี้แล้วมันก็ถูกตำรับตำราทีเดียว แล้วจะได้แสดง ใน กาย เวทนา จิต ธรรม ต่อไปอีก คัมภีร์นิเทศทวารต่อไป <!--MsgFile=1-->



    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#224422 border=0><TBODY><TR><TD width=10></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#224422 border=0><TBODY><TR><TD width=10></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>


    มีคำถามสอดเข้ามาว่า กถญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ศึกษาพระธรรมวินัย เห็นกายในกายเนืองๆ อยู่นั่นเป็นไฉน

    อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ อันนี้แล้ว อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ อรญฺญคโต วารุกฺขมูลคโต วา นี่ปฏินิเทศทวาร อรญฺญคโต วา รุกฺขมูลคโต วา สุญฺญา-คารคโต วา นีสีทติ ปลฺลงกํ อาภุชิตฺวา อุชํ กายํ ปณิธาย ปริมุขํ สตึ อุปฏฐเปตฺวา โส สโต ว อสฺสสติ สโต ปสฺสสติ ฑีมํ วา อสฺสสนฺโต ฑีฆํ อสฺสสามีติ ฯเปฯ ฑีฆํ วา ปสฺสสนฺโต ฯเปฯ อสฺสสนฺโต ฯเปฯ รสฺสํ วา ปสฺสสนฺโต รสฺสํ ปสฺสสามีติ ปชานาติ

    นี่เป็นปฏินิเทศทวารกว้างออกไปทีเดียว กว้างนี่แหละที่แสดงไปแล้ว ส่วนกายที่แสดงไปแล้ว ท่านจัดออกเป็น ข้อกำหนด

    เป็น ปัพพะ คือ

    --> เรียก อานาปานปัพพะ ข้อกำหนดด้วยลมหายใจเข้าออก

    --> อิริยาปถปัพพะ ข้อกำหนดด้วยอิริยาบถ เดิน ยืน นั่ง นอน

    --> สัมปชัญญปัพพะ ข้อกำหนดด้วยกิริยาในอิริยาบถแห่งอวัยวะ รู้อยู่เสมอนั่นเรียกว่า สัมปชัญญปัพพะ

    --> ปฏิกูลมนสิการปัพพะ ข้อกำหนดด้วยข้อปฏิกูลแห่งร่างกายของคนเรา แห่งฟัน หนัง เนื้อ ตามบาลีว่า อตฺถิ อิมสฺมึ กาเย เกสา โลมา นขา ทนฺตา ปฏิกูลนั้นไม่น่ารักน่าชมเลย ปฏิกูลแห่งร่างกายนี้ไม่ใช่สัตว์ บุคคลตัวตน เราเขา ที่ไหนประสมกันแล้วก็เป็นร่างกายล้วนแต่เป็นดิน น้ำ ไฟ ลม ไปนี้เป็นธาตุปัพพะพอกายมนุษย์ละเอียดออกจากกายมนุษย์หยาบแล้วก็เน่ากันทั้งนั้น เป็นปฏิกูลอย่างนี้ ปฏิกูลนั่นเป็นข้อที่ 5

    --> นวสีวถิกปัพพะ ข้อกำหนดด้วยศพเก้ารูป ตายวันหนึ่งสองวันท้องเขียว น้ำเลือดน้ำหนองไหล เป็นลำดับไปจนกระทั่งเหลือแต่กระดูกนั่น นี้ได้แสดงมาแล้ว


    <!--MsgFile=2-->วันนี้จะแสดง เห็นเวทนาในเวทนา สืบต่อไปว่า

    กถญฺเจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ. อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ กถญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ เวทนาสุ เวทนานุปสติ วิหรติ. อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ เวทนํ เวทิยมาโน สุขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ ทุกฺขํ เวทนํ เวทิยมาโน ทุกฺขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ. อทุกฺขมสุขํ เวทนํ เวทิยมาโน อทุกฺขมสุขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ. สามิสํ วา สุขํ เวทนํ เวทิยมาโน สามิสํ สุขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ. นิรามิสํ วา สุขํ เวทนํ เวทิยมาโน นิรามิสํ สุขํ เวทิยามีติ ปชานาติ. สามิสํ วา ทุกฺขํ เวทนํ เวทิยมาโน สามิสํ เวทิยามีติ ปชานาติ. นิรามิสํ วา ทุกฺขํ เวทนํ เวทิยมาโน นิรามิสํ ทุกฺขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ. สามิสํ วา อทุกฺขมสุขํ เวทนํ เวทิยมาโน สามิสํ อทุกฺขมสุขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ. นิรามิสํ วา อุทกฺขมสุขํ เวทนํ เวทิยามาโน นิรามิสํ อทุกฺขมสุขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ. อิติ อชฺฌตฺตํ วา ฯ


    อันนี้เวทนาไม่ใช่เป็นของฟังง่ายเลย เป็นของฟังยากนัก แต่ว่าท่านแสดงไว้ย่อๆ ว่า สุข เมื่อเราเสวยความสุขอยู่ ก็รู้ชัดว่า เวลานี้เสวยความสุขอยู่ เมื่อเราเสวยความทุกข์อยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยความทุกข์อยู่ เมื่อเราเสวยความไม่สุขไม่ทุกข์ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยความไม่สุขไม่ทุกข์อยู่ เมื่อเสวยความสุขที่เจือด้วยอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยความสุขที่เจือด้วยอามิส เมื่อเราเสวยความทุกข์ที่เจือด้วยอามิส ก็รู้ว่าเสวยความทุกข์ที่เจือด้วยอามิส เมื่อเสวยความไม่สุขไม่ทุกข์ที่เจือด้วยอามิสก็รู้ชัดว่าเราเสวยความไม่สุขไม่ทุกข์ที่เจือด้วยอามิส เราปราศจากความสุข นิรามิสสุข เราเสวยความสุข ปราศจากความเจือด้วยอามิสเสวยความสุข ปราศจากความเจือด้วยอามิส เสวยความไม่สุขความไม่ทุกข์ ไม่เจือด้วยอามิสก็รู้ชัดอยู่อย่างนี้ นี้เรียกว่า เวทนา รู้จักเวทนาอย่างนี้ แต่เวทนาที่จะแสดงวันนี้จะแสดง เวทนาในจิต


    คำว่า จิต นะ เป็นของจำเป็นที่เราจะต้องแก้ไข มิฉะนั้นมันก็บังคับเราใช้มันอยู่ทุกๆ วัน ถ้าเราใช้มันไม่เป็นมันจะกลับมาข่มเหงเอาเราเข้า จิตนั่นเป็นตัวสำคัญ ท่านจึงได้ยืนยันตามวาระพระบาลีว่า
    กถญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายที่ศึกษาในธรรมวินัย เห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่นั่นเป็นไฉน
    อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย ผู้ศึกษาในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ สราคํ วา จิตฺตํ สราคํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตระคนด้วยราคะ ก็ทราบชัดว่าจิตนี้นี่ระคนด้วยราคะ
    วีตราคํ วา จิตฺตํ วีตราคํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตปราศจากราคะ ก็ทราบชัดว่าจิตปราศจากราคะ
    สโทสํ วา จิตฺตํ สโทสํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตระคนด้วยโทสะ ก็ทราบชัดว่าจิตระคนด้วยโทสะ
    วีตโทสํ วา จิตฺตํ วีตโทสํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากโทสะ
    สโมหํ วา จิตฺตํ สโมหํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตระคนด้วยโมหะ ก็ทราบชัดว่าจิตระคนด้วยโมหะ
    วีตโมหํ วา จิตฺตํ วีตโมหํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตปราศจากโมหะก็ทราบชัดว่าจิตปราศจากโมหะ
    สงฺขิตฺตํ วา จิตฺตํ สงฺขิตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่าจิตหดหู่
    วิกฺขิตฺตํ วา จิตฺตํ วิกฺขิตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่าจิตฟุ้งซ่าน
    มหคฺตตํ วา จิตฺตํ มหคฺคตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตเป็นมหรคตก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคตจิตประกอบด้วยบุญกุศลยิ่งใหญ่เรียกว่ามหัดคตกุศล กุศลเกิดด้วยรูปฌาณ เป็นมหัคคตกุศล
    อมหคฺคตํ วา จิตฺตํ อมหคฺคตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตไม่ประกอบด้วยมหรคต ก็ทราบชัดว่าจิตไม่ประกอบด้วยมหรคต
    สอุตฺตรํ วา จิตฺตํ อุตฺตรํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตยิ่งก็รู้ว่าจิตยิ่ง
    อนุตฺตรํ วา จิตฺตํ อนุตฺตรํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ชัดว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
    สมาหิตํ วา จิตฺตํ สมาหิตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตตั้งมั่นก็รู้ชัดว่าจิตตั้งมั่น
    อสมาหิตํ วา จิตฺตํ อสมาหิตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตไม่ตั้งมั่นก็รู้ชัดว่าจิตไม่ตั้งมั่น
    วิมุตตํ วา จตฺตั้ วิมุตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตหลุดพ้นก็รู้ชัดว่าจิตหลุดพ้น
    อวิมุตฺตํ วา จิตฺตํ อวิมุตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตไม่หลุดพ้นพ้นก็รู้ชัดว่าจิตไม่หลุดพ้น
    อิติ อชฺฌตฺตํ วา จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ ดังนี้แหละ ภิกษุเห็นจิตเป็นภายในเนืองๆ อยู่ มหิทฺธา วา จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ เห็นจิตในจิตเนืองๆ อันเป็นภายนอกอยู่
    อชฺฌตฺตพหิทฺธา วา จิตฺเต จิตตานุปสลี วิหรตี เห็นเนืองๆ ซึ่งจิตในจิตทั้งเป็นภายในและภายนอก
    สมุทยธมฺมานุปสฺสี วา จิตฺตสฺมึ วิหรตี เห็นธรรมดาซึ่งความเกิดขึ้นในจิตอยู่
    วยธมฺมานุปสฺสี วา จิตฺตสฺมึ วิหรติ เห็นเนืองๆ เป็นธรรมดาคือความเสื่อมไปในจิตอยู่
    สมุทยวยธมฺมานุปสฺสี วา จิตฺตสฺมึ วิหรติ เป็นธรรมดาคือความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปซึ่งจิตในจิตอยู่
    อตฺถิ จิตฺตนฺติ วา ปนสฺส ก็หรือสติของเธอเข้าปรากฎว่าจิตมีอยู่
    ยาวเทว ญาณมตฺตาย สักแต่ว่ารู้
    ปติสฺสติมตฺตาย สักแต่ว่าอาศัยระลึก
    อนิสฺสิโต จ วิหรติ เป็นผู้อันตัณหาและทิฎฐิยึดถือไม่ได้แล้ว
    น จ กิญฺจิ โลเก อุปาทิยติ ไม่ยึดถือมั่นอะไรๆ ในโลก
    เอวํ โข ภิกฺขเว ภิกฺขุ จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ อย่างนี้แหละภิกษุ เห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ด้วยประการดังนี้ นี้เนื้อความของพระบาลี คลี่ความเป็นสยามได้ความเพียงเท่านี้ <!--MsgFile=3-->



    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#224422 border=0><TBODY><TR><TD width=10></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#224422 border=0><TBODY><TR><TD width=10></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>


    ต่อไปนี้จะอรรถาธิบายขยายความในเรื่อง จิต จิตนั่นอยู่ที่ไหน รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร คำที่เรียกว่า “จิต” นั่น หนึ่งในสี่ของใจ ดวงวิญญาณ เท่าดวงตาดำข้างในดวงจิต เท่าดวงตาดำข้างนอก เห็นชัดอยู่อย่างนี้แล้วก็ ดวงจำ ก็โตไปอีกหน่อย อยู่ในเบาะน้ำเลี้ยงหัวใจ ดวงเห็น อยู่ในกลางกาย โตไปอีกหน่อย ดวงเห็นอยู่ข้างนอก มันซ้อนกันอยู่


    ดวงเห็นอยู่ข้างนอก ดวงจำอยู่ข้างใน อยู่ข้างในดวงเห็น ดวงคิดอยู่ข้างในดวงจำ ดวงรู้อยู่ข้างในดวงคิด

    ดวงรู้ เท่าตาดำข้างใน นั่นแหละเขาเรียกว่าดวง วิญญาณ เท่าดวงตาดำข้างในเขาเรียกว่าดวงวิญญาณ เท่าดวงตาดำข้างนอกนั้นเขาเรียกว่า ดวงจิต หรือ ดวงคิด โตออกไปกว่านั้น โตออกไปกว่าดวงจิต เท่าดวงตานั่นแหละ นั่นเขาเรียกว่า ดวงใจ หรือ ดวงจำ

    โตกว่านั้นอีกหน่อย เท่ากระบอกตานั่นแหละเขาเรียกว่า ดวงเห็น ดวงเห็นนั้นคือดวงกายทีเดียว สี่ดวงนั้นมีเท่านี้แหละ


    ดวงกาย นั่นแหละ เป็นที่ตั้งของเห็น ธาตุเห็นอยู่ศูนย์กลางกำเนิดดวงกายนั้น อ้ายดวงใจนั่นแหละ เป็นที่ตั้งของจำ ธาตุจำอยู่ศูนย์กลางดวงใจนั่นแหละ อ้ายดวงจิตนั่นแหละเป็นที่ตั้งของคิด ธาตุคิดอยู่ศูนย์กลางจิตนั่นแหละ อ้ายดวงวิญญาณเป็นที่ตั้งของรู้ ธาตุรู้อยู่ศูนย์กลางดวงวิญญาณนั่นแหละ ธาตุเห็น จำ คิด รู้ สี่ประการนั้น ธาตุเห็นเป็นที่ตั้งของเห็น ธาตุจำเป็นที่อยู่ของจำ ธาตุคิดเป็นที่อยู่ของคิด ธาตุรู้เป็นที่อยู่ของรู้ เห็น จำ คิด รู้ สี่ประการ ยกแพลบเดียวโน้นไปนครศรีธรรมราชไปแล้ว เห็นจำคิดรู้ไปแล้วยกไปอย่างนั้นแหละไปได้ ไปได้ ไปเสียลิบเลย ไปเสียไม่บอกใครทีเดียว ไปอยู่เสียที่นครศรีธรรมราชโน้น

    -->> ถ้าว่าคนเขามีธรรมกาย อ้ายนี่มายุ่งอยู่ทำไมในนครศรีธรรมราชไปเห็นเอากายมนุษย์ละเอียดเข้าแล้ว อ้ายคนนี้รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างนั้น แต่งเนื้อแต่งตัวเป็นอย่างนั้น เราคิดว่าเราส่งใจไปนี่นะ ส่งไปนครศรีธรรมราช อ้ายนี่มายุ่งอยู่ทำไมในนครศรีธรรมราช เห็นทีเดียว เขามีธรรมกาย อ้ายนี้มายุ่งอยู่ที่นี้แล้ว เราก็ยกเห็น จำ คิด รู้ ไปนี่ ไม่ได้ไปทั้งตัว นั่นแหละ กายละเอียดไปแล้ว ไปยุ่งอยู่โน้นแล้ว ดูก็ได้ ลองไปดูก็ได้ พวกมีธรรมกายเขามี เขาเห็นทีเดียว อ้ายนี้มายุ่งอยู่นี้แล้ว จำหน้าจำตา จำตัวได้ เอ! ก็แปลกจริงนะ ไม่ใช่ของพอดีพอร้าย พระพุทธศาสนาเป็นของลึกซึ้งอยู่ แต่ว่าจะส่งใจไปอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตามเถอะ ไปได้อย่างนี้แหละ สี่อย่างไปได้อย่างนี้ คือ เห็น จำ คิด รู้ มันหยุดเป็นจุดเดียวกัน เป็นกายละเอียด มันแยกกันไม่ได้ แยกไม่ได้เด็ดขาดเชียว เป็นตัวเป็นตัวตายอยู่ เหมือนกายมนุษย์นี่เราจะเอาแยกเป็นหัวใจเสีย จากหัวใจเสีย หัวใจแยกจากดวงจิตเสีย จิตแยกจากดวงวิญญาณเสียไม่ได้ ถ้าแยกไม่ได้เป็นเลยแยกตายหมด

    ถ้าแยกเวลาใดมนุษย์ก็ตายเวลานั้น ถ้าไม่แยกก็เป็นอย่างนี้ เห็น จำ คิด รู้ สี่อย่างนี้แยกไม่ได้ แยกก็ตายเหมือนกันแยกเข้าอ้ายกายละเอียดนนตาย แยกหัวใจออกไป ดวงจำ ดวงเห็น ตาย แยกไม่ได้ หากว่ากายทิพย์ก็เหมือนกัน แยกไม่ได้ มันเป็นตัวของมันอยู่อย่างนั้นแหละ เอาแต่ตัวกายมนุษย์ละเอียด มันก็ละเอียดพอแล้ว พอเข้าถึงกายทิพย์ละเอียด ก็ยิ่งละเอียดไปกว่านั้นอีก ละเอียดพอแล้วหรือ พอเข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด ละเอียดยิ่งกว่านั้นเข้าไปอีก เข้าถึงกายอรูปพรหม ละเอียด ยิ่งกว่านั้นไปอีก เข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียด ละเอียดยิ่งกว่านั้นไปอีก เข้าถึงกายธรรม ละเอียดยิ่งกว่านั้นไปอีก เข้าถึงกายธรรมละเอียด ละเอียดยิ่งกว่านั้นเข้าไปอีก


    <!--MsgFile=4-->นี่ถ้าว่าทำธรรมกายเป็นละก็ มันฉลาดกว่ามนุษย์หลายสิบเท่าเชียวนะ นี่พอเข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด ก็ฉลาดกว่าเท่าหนึ่งแล้ว สูงกว่าเท่าหนึ่งแล้ว เข้าถึงกายทิพย์ก็สองเท่าแล้ว กายทิพย์ละเอียดก็สามเท่าแล้ว กายรูปพรหมสี่เท่า กายรูปพรหมละเอียดห้าเท่า กายอรูปพรหมหกเท่า กายอรูปพรหมละเอียดเจ็ดเท่า เข้าถึงกายธรรมและกายธรรมละเอียด ๘-๙ เท่า เข้าไปแล้ว มันมีความฉลาดกว่ากันอย่างนี้นะ ให้รู้จักว่าของสูงของต่ำอย่างนี้ เมื่อรู้จักอย่างนี้แล้วก็ วันนี้ที่จะแสดง จิต ตำราท่านวางไว้แค่จิตเอา ดวงจิต นี้เท่านั้น ดวงเห็นก็ไม่ได้เอามาพูด ดวงจำไม่ได้มาพูด ดวงรู้ไม่ได้มาพูด มาพูดแต่ดวงจิตดวงเดียว


    ที่เราแปลจิตถ้าเราเอามาใส่ปนกันกับเรื่องจิตก็ป่นปี้หมด เพราะ จิต มีหน้าที่คิดอย่างเดียวเท่านั้น แหละ ดวงรู้ ก็ มีหน้าที่รู้อย่างเดียว ไม่มีหน้าที่คิด ดวงจิตก็มีหน้าที่คิดอย่างเดียว ดวงจำก็มีหน้าที่จำอย่างเดียว ดวงเห็นก็มีหน้าที่อย่างเดียว จะสับเปลี่ยนกันไม่ได้ แต่ว่า ถ้าไม่รู้หลักความจริงแน่นอนอย่างนี้ละก็ ท่านก็แปลเอาดวงจิตไปรวมเข้ากับรู้เสียว่า รู้ก็คือจิตนั่นแหละวิจิตฺตารมฺมณํ ดวงจิตวิจิตรด้วยอารมณ์ต่างๆ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฎฐัพพารมณ์ ธัมมารมณ์ นี่วิจิตรด้วยอารมณฺต่างๆ อย่างนี้ ดวงจิตนั่น อีกนัยหนี่ง อารมฺมณํ วิชานาตีติ จิตฺตํ จิตรู้ซึ่งอารมณ์ จิตรู้เสียอีกแล้ว เอาละซี เอาวิญญาณไปไว้ที่ไหนแล้ว ไม่พูดดวงวิญญาณเสียอีกแล้ว พูดเป็นรู้เสียแล้ว


    เพราะฉะนั้น คำว่า จิต นี่แหละ เป็นดวงใสเท่าดวงตาดำข้างนอกใสเกินใส ปกติมโน ใจเป็นปกติ คือ ภวังคจิต จิตที่เป็น ภวังคจิตน่ะ ใสเหมือนยังกับน้ำที่ใส ใสเหมือนยังกับน้ำที่ใสนะ จิตที่ใสนั่นแหละ เมื่อระคนด้วยราคะเหมือนยังกับน้ำแดงเข้าไปเจือเสียแล้ว มันก็ปนเป็นนะซี นี่เป็นอย่างนั้นนา เมื่อจิตระคนด้วยราคะเหมือนน้ำแดงเข้าไปเจือเสียแล้ว จิตระคนด้วยโทสะ เล่า เหมือนยังกับน้ำเขียวน้ำดำเข้าไปปน น้ำเขียวเข้าไปปนระคนเสียแล้ว จิตระคนด้วยโมหะเหมือนน้ำตมเข้าไประคนเสียแล้ว ไอ้จิตใสนะมันก็ลางไป ก็รู้นะซี


    สราคํ วา จิตฺตํ สราคํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตระคนด้วยราคะก็รู้ว่าจิตระคนด้วยราคะ จิตไม่มีราคะ ปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตไม่มีราคะ ไม่ปนด้วยโมหะ ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ จิตฟุ้งซ่าน จิตหดหู่ จิตหดหู่ ที่ใสน่ะ หดหู่ไป ผู้สร้างพอรู้ว่าผู้สร้างเป็นอติวิสัย ไม่คงที่เสียแล้ว ผู้สร้างก็รู้ว่าผู้สร้าง จิตประกอบด้วยกุศลที่ระคนด้วยญาณ เป็นมหัคตจิต จิตไม่ประกอบด้วยกุศลก็เห็นจิตประกอบด้วยกุศลก็เห็นชัดๆ ดังนี้

    สมาหิตํ วา จิตฺตํ สมาหิตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตตั้งมั่นใสมั่นดิ่งลงไปก็เห็นชัดๆ ดังนี้ รู้ชัดๆ อย่างนี้ จิตไม่ตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตพ้นใสพ้นจากเครื่องกิเลส ก็รู้ว่าพ้น ไม่พ้นก็รู้ว่าไม่พ้น เห็นชัดๆ อย่างนี้ เมื่อเห็นชัดเข้าดังนี้ละก็

    อชฺฌตฺตํ วา จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ เห็นจิตในจิต เป็นภายในเนืองๆ ภายใน น่ะคือ จิตกายละเอียดเห็นเนืองๆ ซึ่งจิตในจิตเป็นภายนอกนี้จิตของกายมนุษย์ เห็นเนืองๆ ซึ่งจิตในจิตทั้งภายในภายนอก เห็นเป็นรูปจิต เป็นจิตของกายมนุษย์ละเอียด เห็นทั้งสองทีเดียว เห็นทั้งภายในและภายนอก เห็นเนืองๆ เป็นธรรมดาคือความเสื่อมไป ความเกิดขึ้นของจิต เห็นเนืองๆ เป็นธรรมดาคือความดับไปของจิต คือความดับไปในจิต เมื่อเห็นเนืองๆ เป็นธรรมดาทั้งเกิดขึ้นทั้งความดับไปเมื่อเห็นชัดดังนี้ละก็

    อตฺถิ จิตฺตนฺติ วา ปนสฺส สติ ปจฺจุปฏฐิตา โหติ ก็หรือสติของเธอ เข้าไปปรากฎว่าจิตมีอยู่เห็นจิตแล้ว เมื่อจิตมีสติของเธอปรากฎว่า จิตมีอยู่เพียงสักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าอาศัยความระลึก อันตัณหาและทิกฐิเข้าไปอาศัยไม่ได้เลย

    น จ กิญจิ โลเก อุปาทิยติ ไม่ถือมั่นอะไรเลยในโลก รู้ว่าปล่อยวางแล้ว ไม่ถือมั่น ไม่ติด ไม่แตะ ไม่อะไรแล้ว ให้รู้ชัดๆ เห็นชัดๆ อย่างนี้ อย่างนี้แหละ เรียกว่าภิกษุทั้งหลาย เห็นในจิต เนืองๆอยู่ ด้วยประการดังนี้

    ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ตามวาระพระบาลี ชี้ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เพราะได้ยินเสียงระฆังหง่างๆ อยู่แล้ว เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อธิบายอ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดิ์จงบังเกิดมีแด่ท่านทั้งหลายบรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพได้ชี้แจงแสดงมา ตามสมควรแก่เวลาสมมติว่ายุติธรรมิกถา โดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้ฯ <!--MsgFile=5-->

    <!--MsgFile=0-->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กรกฎาคม 2008
  20. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    เพิ่งจะพูดอยู่หยกๆ ว่าให้กระชับ และ รุ้จักคัดเลือก หรือไม่ก็สรุป ไม่ใช่ไปก๊อบปี้มาแปะ เยอะแยะรุงรังแบบนี้
    ผมเพิ่งพูดไปก่อนหน้านี้ ว่า แบบนี้มันเป็นการฟังมา อ่านมาแล้วก็เอามาให้คนอื่นอ่าน

    เคยเรียนหนังสือ กับ ครูที่เวลามาสอนแล้วเหมือนอ่านหนังสือให้เด็กฟังไหม นั่นแหละเหมือนกันเลย
     

แชร์หน้านี้

Loading...