เราไม่มีในกาย กายไม่มีในเรา

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ขันธ์, 26 ธันวาคม 2008.

  1. ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก"

    ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก" สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    223
    ค่าพลัง:
    +21
    สาธุ อนุโมทนามิ <label for="rb_iconid_31">[​IMG]</label><label for="rb_iconid_31">[​IMG]</label><label for="rb_iconid_31">[​IMG]</label>
     
  2. horasarn

    horasarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +3,255
    กราบนมัสการ พระคุณเจ้า ที่ท่านสาธยายมา ลึกซึ้งตั้งแต่ประโยคแรกแล้วล่ะครับ ที่ดูท่านถ่อมตนยิ่งนัก มิได้แสดงตนอวดรู้ทั้งทั้งที่ท่านรู้ ซึ่งเป็นสัญญาณหนึ่งของผู้เห็นธรรม ปัญญาญาณของท่านได้แฝงออกมาในทุกคำพูดทุกตัวอักษร และแสดงถึงยถาภูตญาณทรรศนะอย่างชัดแจ้ง เขียนถึง"ตัวฉัน"ที่แฝงถึงความไม่มีตัว"ของฉัน"อยู่ในนั้น เหมาะเจาะทั้งโวหารและเจตนา สมกับเป็นนักปฎิบัติอย่างยิ่ง
    ขอกราบอนุโมทนา.........สาธุ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 ธันวาคม 2008
  3. eddy1965

    eddy1965 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    369
    ค่าพลัง:
    +475
    ถึง คุณขวัญ

    ขอบคุณที่ชี้แนะ แต่ผมมีประเด็นดังนี้
    1) สิ่งที่นำเสนอเป็นการปฏิบัติให้เข้าใจการตัดกายด้วยฌานสมาบัติ ไม่รับรู้ถึงทุกข์-สุขเวทนาก็ดี ก็ถือว่าเป็นการตัดกายอย่างหนึ่ง
    2) การฝึกจิตภาวนา ย่อมบูรณาการณ์ทั้งสติ สมาธิ และวิปัสสนา ผู้ตัดกายย่อมรู้ดีอยู่ว่า กายนี้ไม่ใช่ของเรา มันเป็นเพียงสิ่งที่เราอาศัยของการประชุมของธาตุสี่เท่านั้น
    3) ทุกคนล้วนแล้วแต่มีอัตตาทั้งสิ้น เพียงแต่จะละลายอัตตาอย่างไร ขึ้นอยู่กับจริตและวิถีการดำเนินชีวิตของแต่ละคน
    4) สำหรับผู้มุ่งหวังวิปัสสนา+สติ ก็ดี ก็ต้องใช้กำลังฌานอยู่ดี

    ดังนั้น คนที่เขาสมาธิขั้นสูงได้ย่อมแสดงให้รู้ว่าเขามีกำลังพอที่จะไปให้ถึงฝั่งหมาย
    เพราะฉะนั้น อย่าแต่มัวพูดแต่หลักการ ปฏิบัติจะดีกว่า สิ่งที่พูดกับสิ่งที่ทำ
    บางครั้งมันอาจจะไม่สอดคล้องกันได้ เป็นธรรมดา
    ถามใจตัวเองแล้วหรือยัง รู้แจ้งตัวเองดีพอแล้วยัง ก่อนที่จะรู้เขา
     
  4. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ไม่ได้บอกว่าไม่ดีนะคะ เพียงแต่อยากบอกในอีกมุมมอง ที่ต่างออกไปว่า มีผลเสียในเรื่องใด ในสายตาของเรา แต่ถ้าท่านเห็นว่าดีแล้ว เราก็ยอมรับความเห็นท่าน เพราะแต่ละคน ก็มีภูมิรู้ของตนเอง ต้องประจักษ์แจ้งแก่ใจเอง จึงจะยอมรับและเปลี่ยนแปลงทิฏิฐิ ตนเองได้

    เราเองก็แจ้งแต่ในทิฏฐิตนเอง เท่านั้นว่า พลังสมาธิ และ พลังปัญญา เป็นคนละส่วนถ้าไปหลงติดที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง หลงความสุขในฌาณ หรือหลงปัญญาในตน
    ก็ไปไม่ถึงฝั่ง เพราะมีโอกาสไปเกยตื้นอยู่ ณ.ที่ใดที่หนึ่งได้ จึงได้แต่บอกทัสนะของคนคนหนึ่งที่ยังศึกษาและเดินทาง เพื่อหาทางพ้นทุกข์ อยู่

    และเชื่อว่า ทัสนะความเห็นที่ถูกต้องนั้น เราสามารถแสวงหาได้จาก พระผู้รู้แจ้งความจริง เท่านั้น จึงจะช่วยให้เรามีความเห็น ทิฏฐิ ที่ตรงทางได้ ซึ่งในโลกปัจจุบันนี้ ก็มีหลายท่าน ที่เปิดเผยธรรม ในที่สาธารณะ นับถือ ศรัทธาในท่านใด ก็ไปทางนั้น เพราะเราต่างก็เดินทางกันอยู่ ปฏิบัติกันอยู่ตามทิฏฐิตน อยู่นั่นเอง รู้อย่างใด ก็บอกอย่างนั้น เพราะเราก็ยังมีทิฏฐิแบบปุถุชน ผู้ยังไม่รู้จริง นั่นเอง

    และทิฏฐิเราเอง จะเปลี่ยนได้ ก็ด้วยการสอบถามทำความเข้าใจกับพระอาจารย์ที่เรานับถือ ถึงจะยอมรับและเปลี่ยนแปลง ก็รู้ตัวว่า ทิฏฐินั้นเปลี่ยนยาก ถ้าไม่เห็นประจักษ์แจ้งแก่ใจ แต่ถ้าทำเองรู้เอง ก็ขออนุโมทนา ขอให้สำเร็จได้ผลสมประสงค์ ถึงฝั่งได้ดังใจหมาย กันทุกคน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ธันวาคม 2008
  5. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    คุณ นิวรณ์

    ลักษณะของคำพูดของท่าน มักจะมีนัยยะสื่อไปในทำนองที่ว่า การพูดเรื่องฌาณ การพูดเรื่องการอบรมจิตใจ นั้นเป็นเรื่องที่มีอยู่แล้ว คนอื่นพูดอยู่แล้ว ซึ่งผมไม่เข้าใจว่าทำไมท่านจะต้องสนใจและ กล่าวเรื่องนี้บ่อยๆ ท่านกำลังมี ทิฎฐิที่เริ่มเป็นปฏิปักษ์กับ การทำสมาธิ
    ดังตัวอย่างที่ผมจะให้ดูต่อไปนี้

    ท่านไม่เข้าใจ และกำลังติดอยู่กับวิธีการอันเป็น นิกันติของท่านเอง
    โดยท่านอ้าง หลวงปู่ดูลย์ และ สมเด็จพระสังฆราช

    แม้กระทั่งพระศาสดา ก็ยังกล่าวว่า ให้เจริญให้มาก ให้ทำเป็นวสี แต่ท่านกลับบอกให้มันเกิดเอง

    ท่านนิวรณ์ หากว่าท่านจะ พูดในวิธีการของท่าน แต่ท่านไม่ควรที่จะพูดในทำนองที่ ให้คนอื่นตัดเรื่องสมาธิ หรือ พูดง่ายๆ ว่าท่านมีความพยายามพูด ให้คนอื่นเลิกสนใจการทำสมาธิ
    นั่นคือความหมายที่สื่อออกมา

    ครั้นพอผมเตือน ท่านก็กล่าวว่า ผมเข้าใจไปเองเช่นนั้น ท่านไม่ได้หมายความเช่นนั้นท่านสนับสนุนการทำสมาธิ แต่คำพูดของท่านมันตรงกันข้าม ดังตัวอย่างต่อไปนี้

    ท่านนิวรณ์ ท่านประมาืทในธรรม และ ยึดเอาแต่ทัสนะตนเป็นหลัก
    โดยอ้างเอาคำครูบาอาจารย์มาสนับสนุนคำพูดของตนเอง โดยหยิบมาแค่บางขั้นบางตอน
    แล้วหมายให้คนปฏิบัติเช่นนั้น เสมอไป
    ซึ่งกิริยาอาการของท่านไม่ต่างอะไรกับ ใบไม้ ที่ยกคำพูดบางขั้นบางตอนขึ้นมา

    ผมจะไม่พูดอะไรเลย หากว่า ท่านเอาวิธีการเฉพาะทางของท่านขึ้นมา แล้วไม่พูดทำนองโจมตี ด้านอื่น ว่า สมาธิทั่วไปศาสนาไหนก็มี หรือการพิจารณาธรรมเป็นสิ่งที่ไม่ควร ไม่ต้องไปตัดไปละ หรือ ว่า สมาธิเป็นกรรมฐานหัวตอ โดยไม่ยกสถานการณ์โดยรวม
    ท่านกำลังทำให้ คนหลายคนไขว้เขว ดังสิ่งที่ ท่านวิุมุตติเคยไขว้เขวมาแล้ว

    ท่านกำลังจะทำกรรมโดยไม่รู้ตัว

    คนเขาปฏิบัติธรรม ที่สมควรแก่ความสามารถของเขาก็ดีอยู่แล้ว
    แยกให้ออกว่า ถ้าตนเองจะสอนคนอื่นแต่ต้องไม่พูดให้คนอื่นเห็นว่า แนวทางโดยรวมนั้นผิด
     
  6. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ท่านนิวรณ์ การพยายาม บอกว่า ให้ดูจิตอย่างเดียว หรือ ไม่ต้องไปทำอะไรเพิ่มจากเดิม

    ไม่ต้องไปทำฌาณ ไม่ต้องไปพิจารณา นั้นแหละ คือ การที่ท่านพยายามจะบอกให้คนไม่ต้องทำฌาณ และให้เข้าใจว่า นี้คือวิถีของเซ็น

    วิถีแห่งเซ็น นั้นจะไม่เพิ่มอะไรจากทางที่เป็น ซึ่งผมบอกตามตรงว่า เซ็นนั้้นหมิ่นเหม่ต่อคนที่ เริ่มปฏิบัติธรรมมากๆ มันเหมาะแก่ผู้มีปัญญามาก และ ถึงกระนั้นก็ตาม คำพูดที่พยายามกล่าวให้ไม่ต้องทำอะไรเลย เพราะจิตนั้นบริสุทธิ์อยู่แล้ว คนปฏิบัติเองก็ไม่ได้ทำเช่นนั้นเสมอ เป็นคำพูดที่เป็นเพียง ทัสนะ แต่ไม่ใช่เพื่อการปฏิบัติจริง

    และคนที่ติดกับวิธีการเช่นนี้ จะเห็นว่า การทำสมาธิ การพิจารณา การทำบุญ เป็นการเพิ่มภาระกับจิต เป็นการเพิ่มสมมติให้จิต ซึ่งผมเคยผ่านมาแล้วกับทัสนะเช่นนี้ อันเป็นการติดกับดักของ มาร

    ทัสนะเช่นนี้ เป็นวิปัสสนูกิเลส เว้นแต่ ท่านจะผ่านมันได้ ผมกล้าท้าให้ท่านไปดูการวิวัฒนาการคำสอนของท่านเว่ยหลาง ว่าสุดท้ายท่านสอนอย่างไร
    และตอนแรกท่านสอนอย่างไร

    ท่านเคยเห็นหลวงปู่มั่นสอนไหม ท่านสอนให้อดอาหาร ให้หาอุบายธรรมต่างๆ นาๆ
    ท่านพ่อลี สอนให้พิจารณาร้อยแปด รวมถึงการสวดมนต์ พระกรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น
    ไม่มีใครที่จะสอนให้ ดูเฉยๆ เว้นแต่ท่านจะพูดไปเฉพาะทาง เช่นหลวงปู่ดูลย์ ที่กำลังสอนเฉพาะบุคคลหรือ เฉพาะเรื่องขณะนั้น

    ท่านนิวรณ์ ท่านพิจารณาหน่อย สำหรับพฤติกรรมของท่านในการสอนพระพุทธศาสนา
     
  7. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    นั่นแหละ คือ เหตุผลว่า ทำไมผมจึงต้องบอกให้ พวกท่านทั้งหลายฝึกฝน ฝืน ละ กิเลส ฝึกทำสมาธิให้มาก หาอุบายต่อสู้กับกิเลส ฝึกสติ เพราะสุดท้ายแล้วมันจะเป็นไปของมันเอง
    ตามที่ท่านได้พบเจอดังกล่าว
     
  8. eddy1965

    eddy1965 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    369
    ค่าพลัง:
    +475
    ถึงท่านนิวรณ์

    จะให้กระผมไปเริ่มหัดเขียน ก. ใหม่หรือไร?
    ในเมื่อคุณพูดอยู่หยกๆ ว่า กรรมฐานหัวตอ เป็นเพียงแค่สมาธิที่ศาสนาอื่นเขาทำกัน มันไม่ใช่ทาง แล้วนี้จะให้ไปเรียนรู้อะไรอีก เรื่องณานนะณาน

    สอนคนนะหากสอนผิด และมีส่อเจตนาแล้วละก็ มันบาปกรรมหนักนะคุณ
    หากเรียนรู้ยังไม่แจ้ง ก็อย่าได้นำเสนอเช่นนี้อีก นิวรณ์จะกินใจเอานะท่าน
     
  9. eddy1965

    eddy1965 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    369
    ค่าพลัง:
    +475
    ถึง เค ขวัญ

    ขอบคุณที่ชี้แนะ อยากเป็นนักปราชญ์ก็ต้องอดทนและเพียรให้มากๆ
    พลังสมาธิและพลังปัญญาแม้จะเป็นคนละส่วนกัน แต่มันก็ต้องสมดุลกัน เพราะมีความสัมพันธ์กันทั้งทางตรงและทางอ้อม
    อีกทั้งสมาธิย่อมเป็นพลังให้กับปัญญา
    ในเมื่อ ฌาน เป็นพลัง และ ญาณ เป็นอาวุธประหารกิเลส
    เปรียบเหมือนว่าเธอมีอาวุธ แต่เธอไม่มีกำลัง เธอจะสู้รบกับกิเลสได้อย่างไร?
    อยากตามรอย อ. ขันธ์ นะ มันอีกนาน มันคนละชั้น
    อย่าได้ประโลมโลกด้วยเพียงคำพูดเลย ปฏิบัติเยอะๆ ถึงแก่นแล้วยังเนี้ยะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ธันวาคม 2008
  10. eddy1965

    eddy1965 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    369
    ค่าพลัง:
    +475
    ฮ่าว งั้นแล้วไป ขอโทษด้วยครับ
     
  11. ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก"

    ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก" สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    223
    ค่าพลัง:
    +21
    .....
    สาธุ..อนุโมทามิ <label for="rb_iconid_31">[​IMG]</label><label for="rb_iconid_31">[​IMG]</label><label for="rb_iconid_31">[​IMG]</label>
     
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ยังเลย อะจ้ะ แถมยังตาบอด อีกด้วย
    แล้วยังรู้ว่า จิตเราเอง ก็เชื่อถือไม่ได้ ถ้าขาดสติ ก็พาลงเหว เหมือนกัน
    เพียงแต่ว่า เห็นคนได้ฌาณสมาธิสูงๆ มีพลังจิตมากๆ แล้วไม่ได้พิจารณาด้านปัญญา
    ให้ใจสูงตาม มักจะมีอัตตาเยอะ กระทบอัตตาไม่ได้ มักจะกระเทือนตอบสนองแรง
    ก็เลยตั้งข้อสังเกตไว้ว่าเป็นดาบสองคม เท่านั้น หากคุณมีที่ยึดมั่นแล้ว น่าเชื่อถือ
    ว่าจะพาไปถึงที่หมายที่คุณต้องการจริงแล้ว ก็ขออนุโมทนา กับคุณด้วย ไง

    ที่เราเห็นในเว็บนี้ ก็เยอะแยะ บางคนมีอัตตา มากกว่าหนึ่งอีก บางคนก็ยึดอัตตาภายนอก
    เป็นตัวตน ลืมอัตตาตนไปเลยก็มี บางคนก็ยึดมั่นถือมั่น จะเป็นบริวารกันตลอดไปก็มี
    เราเห้นตัวอย่างเยอะ ก็เลยระวังตัวเองไว้ ขอเดินทางตรงไว้ก่อน โดยยึดพระอาจารย์
    ที่เรานับถือ ไว้เป็นทาง เท่านั้น เวลาคุยกันจะได้รู้ทางกันบ้าง ถึงแม้จะคนละทาง
    ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย ที่จะคุยทำความเข้าใจ ส่วนคุณจะเห็นว่าฌาณมีแต่ประโยชน์
    ไม่มีโทษให้ต้องระแวดระวัง ก็ไม่ผิดอีก เราไม่ได้เป็นทุกข์ตามกัน นินา
     
  13. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    คุณ ขวัญ ครับ ฌาณไม่มีโทษหรอก และไม่ปรากฎว่า ฌาณนั้นมีโทษ พระพุทธองค์สรรเสริญว่า ฌาณนี้ปิดตาพญามารได้

    ทีนี้ คนที่หลง ฌาณ ต้องอย่าไปโทษฌาณ แต่ให้โทษมิจฉาทิฎฐิของเขา
    คนที่ไม่มีฌาณ หลงมีมิจฉาทิฎฐิก็มี
    คนดูจิตหลง มีมิจฉาทิฎฐิก็มี

    กระผมจึงไม่เข้าใจว่า ทำไมท่านต้องมาสนใจกังวลกับคนมีฌาณ เพราะนั่นแหละคนเรายังมีสีลพตรปรามาสจึงมองไม่ถูกจุด
    สมัย ที่หลวงตามหาบัว ท่านติดสมาธิ ท่านก็โต้แย้งกับหลวงปู่มั่น แต่ด้วยนิสัยท่านคือฟังและยอมลงให้กับธรรม ก็ไม่ได้เรียกว่าหลง

    การกล่าวว่า การติดสมาธิไม่ถูกต้องเป็นเพียงการกล่าวสอนศิษย์ ในสภาวะขณะนั้น ที่อาจารย์เห็นว่าศิษย์นั้นกำลัง ไม่สนใจจะพิจารณา

    ไม่ใช่ว่าอะไรๆ ก็กลัวการทำฌาณ อะไรๆ ก็กลัวว่า การทำสมาธิอาจจะไม่ถูก

    จริงๆ แล้วทำสมาธิดีทั้งหมด ยิ่งมีมากยิ่งดี คนจะไม่ดีอยู่ที่กิเลสตน อยู่ที่การไม่ฟังใคร
    ไม่ใช่อยู่ที่ฌาณ

    แยกตรงนี้ให้ออกด้วย จะได้ไม่คอยสอนคนอื่นให้ดูจิตอย่างเดียว จะว่าไป ผมสอนคนอื่นให้ดูจิต แต่ผมไม่เคยบอกว่า คุณอย่าไปเจริญฌาณ หรือ คุณอย่าไปพิจารณา คุณต้องดูเฉยๆ
    นี่เรียกว่า สอนในวงแคบเกินไป ก็ในเมื่อ คนที่เขามีกำลังสมาธิดี เขาก็ตัดนิวรณ์ได้ มองดูเฉยๆ ขณะเจริญภาวนาอยู่แล้ว และที่สำคัญ ต้องใช้เหตุใช้ผล พิจารณา

    ไม่ใช่ดูเฉยๆ ผมก็ไม่อยากโต้แย้งอะไรมาก ซ้ำไปซ้ำมา แต่สรุปง่ายๆ ว่า พฤติกรรมที่คุณขวัญและท่านเอกวีร์ เป็นอยู่นั้น ผมเคยเป็นมาก่อน กับพฤติกรรมที่เชื่อไปในทิศทางเดียวว่าจะต้องเป็นไปในแบบแผนที่ตนมี หรือ เชื่อว่าทัสนะแบบนี้ถูกต้อง และ ปิดทางอื่น
    ผมจึงกล่าวแต่แรกว่า นี้คือ นิกันติ คือ วิปัสสนูกิเลสของท่านเอง

    และท่านจะเห็นอยู่อย่างเดิม เวียนไปเวียนมา ไม่ก้าวหน้า เพราะกิเลสที่เรามีอยู่เรากับทำเป็นมองไม่เห็น และ ไม่เคยฝืน ไม่เคยสู้ แล้วก็คิดว่า ด้วยวิธีการดูจิตนี้จะประหารไปเอง
    สรุปว่านั่นแหละ กิเลสเอาไปกินหมด

    ฝากเอาไว้ด้วยแล้วกัน
     
  14. eddy1965

    eddy1965 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    369
    ค่าพลัง:
    +475
    คุณ เค ขวัญ

    สงสัยว่าคุณเคขวัญ คงฝึกปัญญาภาวนามากไป จนมองปัญญาคนอื่นไม่รู้ทันเท่าปัญญาตน
    ก็อย่าได้มีอัตตามากเลย ทุกอย่างมันก็เป็นดาบสองคม มีปัญญามากก็เชื่ออะไรยากอยู่แล้ว
    เอาปัญญาที่ว่านี้ไปใช้เป็นประทีปส่องจิตตนก็แล้วกัน หากไม่หลงตนเองเสียก่อน

    เดินทางสายตรงมันก็ดีอยู่แล้ว อนุโมทนา ก็อย่าได้โน้มลงมาต่ำเลย
    หากจะเชื่อสิ่งใด ก็ยึดหลักกาลามาสูตรและโยนิโสมนสิการก็จะเป็นสิ่งที่ดียิ่ง
    สายคุณนะมันสุขวิปัสสโก จริตมันก็เป็นไปตามแหละ
    เวลาจะชี้แนะหรือสอนคนนะ ให้ดูจริตคนด้วย ไม่ใช่จะเอาแต่จริตตนเองมาใส่
    จะตามรอยทั้งที ให้มันมีความแตกต่างบ้าง ไม่ใช่ว่าจะลอกเลียนแบบเจ้าสำนัก
    ทั้งสำนวนและความคิด ศัพท์แสงวิชาการให้มันน้อยๆ หน่อย
    จะได้มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง
     
  15. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    อีกประการที่อยากจะฝากเอาไว้ให้แยกแยะคือ

    อัตตาเยอะ
    มานะเยอะ
    หรือธรรมเยอะ

    อัตตาเยอะนี้ เป็นพวกกระทบไม่ได้ ไม่ฟังทั้งที่คนอื่นมีเหตุผล ชอบที่จะโต้แย้ง ไม่ดูว่าเหตุผลคืออะไร

    มานะเยอะนี้ โอ้อวดว่าของตนดีกว่าคนอื่น วิธีการเช่นนี้ดีกว่าคนอื่น

    ส่วน ธรรมเยอะ คือ หากไม่ถูกต้องจะต้องแก้ไข และต้องแสดงให้ถูกธรรม และลงให้ธรรม

    เพราะฉะนั้น การสังเกตุว่า คนไหนอัตตามาก มานะมาก ธรรมมาก ก็ให้ดู สามประการที่ผมอธิบายไป
     
  16. eddy1965

    eddy1965 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    369
    ค่าพลัง:
    +475
    อ. ขันธ์ กล่าวมาถูกต้องแล้ว

    ไม่ว่าจะฌานหรือญาณ ใช่ว่าจะเป็นสิ่งสลักสำคัญ ประเด็นมันอยู่ที่ว่าเราหลงหรือไม่หลงในทิฐิแค่นั้นอง
     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ทีนี้ คนที่หลง ฌาณ ต้องอย่าไปโทษฌาณ แต่ให้โทษมิจฉาทิฎฐิของเขา
    คนที่ไม่มีฌาณ หลงมีมิจฉาทิฎฐิก็มี
    คนดูจิตหลง มีมิจฉาทิฎฐิก็มี

    เรียนถาม อ.ขันธ์
    มิจฉาทิฏฐิ นี่จะแก้ไข ได้ยังไงคะ เพราะคนที่มี ส่วนใหญ่ ก็ไม่รู้ตัว คิดว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ทั้งนั้น
     
  18. eddy1965

    eddy1965 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    369
    ค่าพลัง:
    +475
    อะไรที่ขัดกับความคิดตน หรือรู้ไม่เท่าทันตน ก็คิดว่าเขาเป็นมิจฉาทิฏฐิหรือ?
    คนเรามันมองต่างมุมกันได้ไม่ใช่หรือ?
    ไม่ว่าจะด้วยการศึกษาและประสบการณ์
    เอาอะไรมาวัดว่าคนนี้มีมิจฉาทิฏฐิ คนนี้มีสัมมาทิฏฐิ
    ความรู้สึกหรือ
     
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เราเอง ก็ยังอยู่ในข่าย มิจฉาทิฏฐิ อยู่เลย
    เราดูจากอะไร รู้ไไหม ดูจาก จิตที่ขาดสติ แล้วมักจะไหล ลงต่ำ
    ถ้า จิตมีสติ ก็จะ รู้ตัว ทำดี หรือทำชั่ว ก็รู้ ด้วยตัวจิตเอง

    สำหรับตัวเราเอง ถ้ารู้ทันจิตตน ก็มีสติ
    ถ้าเราขาดสติ ก็เหลือเพียง จิตใต้สำนึก มันพาไป ไม่รู้ตัว
    ถ้าจิต มีพื้นฐานดี ใฝ่ดี ก็ทำชั่วน้อยหรือไม่ทำเลย ก็ถือว่า อบรมจิตมาดี

    ที่เราหวัง ก็คือ จิตที่มีสัมมาทิฏฐิ ตลอดเวลา ทั้งที่รู้ตัว และไม่รู้ตัว
     
  20. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ขอยก คำสอนพระอริยเจ้าอีกท่านหนึ่งมา เพื่อบอกให้รู้ว่า การปฏิบัตินั้นมิใช่การนั่งรู้ดูเฉย
    และ การปฏิบัตินั้นควร ทำอะไรเป็นหลัก

    ท่านนิวรณ์ ท่านแยกไม่ออกเอง ว่าสิ่งที่ท่านแนะนำนั้น คนอื่นเขาอ่านแล้วเขาเห็นอย่างไร

    ท่านไม่ได้พูดหรอกว่า ท่านตำหนิฌาณ แต่ท่านพูดสอนคนอื่นในทำนอง ที่ว่า การปฏิบัตินั้น ไม่ควรทำฌาณ หรือ พิจารณาธรรม เพียงแต่ให้ดูรู้ ดูเฉย และท่านยก ข้อความของหลวงปู่ดูลย์ และ อานาปานสติบรรพ และ คำสอนของพระสังฆราชมาสนับสนุนท่านเอง
    นั่นก็หมายความโดยชัดแจ้งนี่ ว่า ท่านยึดในแนวทางนี้

    ผมว่าท่าน กำลังเมาธรรมและไม่เห็นในสิ่งที่ผมกำลังพยายามบอก ว่าประเด็นคืออะไร

    ท่านจะสอนใครว่า การดูจิต นั้นต้องทำอย่างไรนั้นไม่ผิด แต่ท่านพูดในทำนองที่ว่า การทำฌาณนั้นต้องระวัง ท่านบอกว่า การพิจารณาธรรมเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ท่านบอกว่า การทำสมาธิ เป็นเรื่องของศาสนาอื่นก็มี

    การพูดลักษณะเช่นนี้ ท่านคิดว่า จะให้มีความหมายในทำนองไหนหรือ
    การกล่าวในลักษณะเช่นนี้มาจาก มานะ และ นิกันติของท่านเอง ท่านมองไม่เห็น

    ครั้นพอผมพูดอธิบายให้ฟัง ท่านกลับหาว่า ผมไปอ่านทางของท่าน ผมขี้เกียจจะชี้แจงมาก เพราะว่า มันคือ การมองจากข้อความตรงๆ มิได้มีอะไรพิสดาร ในการต้องใช้เจโตหรือ การอนุมานอะไรเลย
     

แชร์หน้านี้

Loading...