เป็นนักกฏิบัติแต่ทำไมจิตคิดอกุศล

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย nanakorn, 4 มีนาคม 2009.

  1. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ขออภัยครับ

    เรื่อง ข้อปัญหานั้นหลากรูปแบบ แล้วแต่บุคคล จะให้แจง สงสัยไม่ไหว
    แต่วันนี้มีสมาชิก คุณ wellrider เอาเรื่องเล่าของพระที่ทำกรรมฐานแบบ
    นี้มาลงพอดี

    อ่านกระทู้นี้ น่าจะให้คลี่แผนที่ ภาพได้รัดกุมกว่า

    พอเริ่มต้นก็ผิดเสียแล้ว
     
  2. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    อันนี้มันคือการฝึกแบบไม่ฉลาดในการฝึก......เมื่อใดก็ตามตอนทำงานก็ต้องทำงาน....เมื่อว่างจากการงาน...ก็จับต่อก็ได้...เพิกไปก่อนนะ......มีสติ มีสมาธิในการงานนั้นๆ....เช่น ขับรถ...ก็ต้องมีสติ และสมาธิในการขับรถ....เป็นต้น...


    ฝึกจนเป็นปกติ....เหมือนไม่ตั้งใจฝึกนั่นหละดี....จับอัตโนมัติ.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มีนาคม 2009
  3. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อ้าว ช้าก่อน เวลาขับรถนั้น ก็เหมือนเวลาเราทำงานสำคัญ

    อันนี้ก็หยุดปฏิบัติก่อนครับ ไม่งั้นจะเป็นอย่างผม ( ดูรูปรถผมประกอบ )

    * * *

    จะเกิดขึ้น ตอนเราเห็นทาง มันจะสนุก บันเทิงธรรม แต่มันเกินพอดีครับ

    เกิดจากความรักผล อยากสำเร็จเร็วๆ ก็จะเร่งการปฏิบัติ พอทำได้ใน
    ชีวิตประจำวันก็จะ ประคองการดู เอาไว้ทั้งวัน เกิดสัญญาไปจับคำว่า
    "รู้ตัวทั่วพร้อมผิดความหมาย" เราไปคิดว่า ต้องให้มันเกิดตลอด ต้อง
    เจริญตลอดโดยการประคองการดูเอาไว้ จริงๆ รู้ตัวทั่วพร้อมคือ เมื่อ
    จิตมันมีกำลังจะดู มันเกิดจะดูขึ้นมา เราก็เห็นตามมันไป มันจะแว๊บ
    เดียว เหมือนช้างกระดิกหู เห็นแล้วก็แล้วกัน ก็ผ่าน อย่าไปจับมาประคอง
    เอาไว้ อย่าไปทำให้มันเที่ยงครับ

    อย่างที่บอก ให้ดูความไม่เที่ยงของมันด้วย ซึ่งแปลว่า อย่าไปทำให้มัน
    เที่ยง

    พอขับรถเสร็จกลับถึงบ้านทำกับข้าวกับปลา ทำหน้าที่ของคนในครอบครัว
    เสร็จมีเวลา ก็มาทำสมาธิ พอจิตใจสงบดีมีกำลัง ก็ค่อยๆเพียรเจริญสติ
    ตามรู้ตามดู แบ่งเวลาให้ถูก จนกว่าจิตจะได้รับการอบรมจน สติ สมาธิ
    ปัญญา เขากลายเป็นอินทรีย์(จิตทำเอง) เราก็จะเหมือน auto เห็นเท่าที่
    เห็น พร้อมจะเห็นเมื่อเขาจะเห็น

    * * *

    พอเป็นแล้ว ก็จะยากส์อีก แบบนี้แหละครับ จิตเขาไม่ใช่เราครับ

    * * *

    พระท่านจะให้โอวาทคนที่พอจะรู้จัก จิตตื่น ที่เกิดจากการเจริญสติ แบบนี้ว่า

    "ให้ภาวนาเล่นๆ อย่าพยายาม ความพยายามอยู่ที่ไหน ความล้มเหลวอยู่ที่นั่น"

    แล้วสำหรับคนที่ไม่ละ ยังไม่เข้าใจ ก็จะพูดว่า

    "ธรรมะ จะรักษาเราเอง"
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG0092A.jpg
      IMG0092A.jpg
      ขนาดไฟล์:
      69.6 KB
      เปิดดู:
      59
    • IMG0093A.jpg
      IMG0093A.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59.5 KB
      เปิดดู:
      60
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มีนาคม 2009
  4. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    [​IMG][​IMG][​IMG]
     
  5. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    อย่าไปทำสมาธิด้วยการนั่งมากๆ ให้เดินเอา ฝึกสังเกตุ ว่าเพ่งเป็นอย่างไร มันจะดิ่งๆ หายๆ แล้วถ้าเกิดการหลงไปเพ่ง มันจะมาอีก เรายังอยู่ในโลกการทำมาหาเลี้ยงชีพ การทำสมถะ ที่มากไป มันจะแอบไปดิ่งเอง อีกอย่าง ลองอ่านลิ้งที่ท่านนิวรณ์ส่งมาดูครับ..
     
  6. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    สัจจะธรรมมีหลายระดับ
    ธรรมะก็มีหลายระดับ

    เริ่มจาก ยึดมั่นในศีล กือมั่นในมรรค
    วาง และก็ปล่อยวาง

    และก็วางอย่างสิ้นเชิง
     
  7. Shinray01

    Shinray01 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,675
    ค่าพลัง:
    +2,310
    เรื่องนี้ผมก็เป็นครับผมนึกว่าผมบ้าแล้วนะเนี่ยที่คิดอย่างนี้ทั้งที่ใจก็เคารพพระรัตนตรัย แต่อยู่ๆผมเห็นพระทุ่งเศรษฐีใจมันก็คิดด่าไปเองว่าทำท่าเหมือนผู้หญิงเป็น...หรือปาว ผมข่มมันมันยิ่งคิดหนักกว่าเดิม กลัวบาปมากหเลยไปขอขมาพระรัตนตรัยประจำ บางครั้งก็ลืมขอ แต่พอวันต่อมาก็ขอขมากลัวบาปจริงอย่างถ้าขอขมายังจะมีบาปติดตัวเราไหมครับ
     
  8. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    ผมก็เป็นในสมัยที่ยังฝึกตนอยู่
    ก็มีกิเลสมารมาทำให้กังวล
    เช่นกันคุณ มองเห็นพระเป็นหมา
    และก็จะด่าในใจ ว่าหมาจือ ๆๆๆ

    ผมก็หามาตรการบังคับกำหลาบจิตที่คิดไม่ดี
    ด้วยการเขกกะบาลตัวเองให้เจ็บ จะได้จำ

    แต่ก็ไม่ได้ผล จนผมระวังความคิดบ่อย ๆ เข้า
    และก็ไม่ทำร้ายตัวเอง เป็นผู้ดูความคิดที่มันผุดขึ้นมา

    สำรวมระวังจิตที่เป็นอกุศลบ่อย ๆ เข้ามันก็ละไปได้เอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ตุลาคม 2010
  9. radiophone

    radiophone สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +18
    สาธุ สาธุ ใครทำอะไรก็ได้อย่างนั้น สร้างความดีเยอะๆ ในชีวิตกันเถอะค่ะ
     
  10. ขุนพลลุ่มน้ำป่าสัก

    ขุนพลลุ่มน้ำป่าสัก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กันยายน 2008
    โพสต์:
    408
    ค่าพลัง:
    +634
    อนุโมทนา กับทุกๆ ความคิดครับ โดยเฉพาะความคิดของคุณ chura
    ทั้งสองข้อความ
    จากประสบการณ์ที่ตัวผมเคยเป็นมาก่อนและไดมีโอกาศถามครูบาอาจารย์
    ท่านกล่าวว่า "จิตที่คิดออกไปทางมโนทรุตจริตนั้น ก็เป็นธรรมชาติของเขา เมื่อเขาคิดให้เรารู้มีสติรู้เท่าทัน วิธีแก้มีหลายวิธีเช่น 1.ข่มไว้(เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเพราะกลัวบาป)เหมือนเอาหินทับหญ้าไว้ หญ้าไม่ตาย (ทำไม่นานอาจระเบิดได้) 2.รีบเปลี่ยนความคิดพยายามสลัดออก ทำให้จิตไปสนใจอย่างอื่น (ภาวนาต่างๆ กระพริบตา ขยับตัว ขยับมือ)แต่ไม่นานก็กลับไปคิดอีก 3.เข้าไปพิจารณาตามปัญญาของเราว่าสิ่งที่เขาทำนั้นดีหรือชั่ว ถ้าดีก็อนุโมทนา ถ้าชั่วก็อัตตา มันเป็นกรรมของเขา เราไปยุ่งอะไรกับเขา เรานะทำดีพอแล้วหรือ เป็นต้น
    ไม่มีใครรู้ว่าเราทำดีหรือชั่ว นอกจากตัวเราเอง
    ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มีนาคม 2009
  11. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    กลับกันเลยครับ หากคนที่ดูจิตได้ เขาเห็นว่าคุณก็เห็นกิเลสเป็นเหมือนกัน
    เขาก็จะชื่นชม ว่าคุณก็สามารถลงสนามรบกับกิเลสได้ ไม่ใช่เอาแต่สร้าง
    ป้อมไปอยู่นิ่งๆ เงียบๆ อมพนำด้วยจิต ขังจิตขังใจ

    ถ้าคุณภาวนาอีกหน่อย จนประจักษ์ในไตรลักษณ์ตามจริง ก็จะเข้าใจไตรสรณะ
    ที่นี้คุณก็มีที่พึ่งอันเกษม เขาก็ไม่ต้องมายุ่งแล้ว เหลือแต่คุณจะต้องเป็นกลาง
    ด้วยปัญญาที่จะเกิดในเบื้องหน้าเท่านั้น

    เว้นแต่บางคนติดปัญหาหนักอกจริงๆ อันนี้ก็ต้องยืมบารมีคนที่มีคุณธรรม
    มีศีล มีสัจจเพื่อรับปราวณา ปรารภความเพียร บัณฑิตทั้งหลายก็จะชื่นชม
    ที่คุณกล้าเผชิญความเป็นจริง ตามจริง ไม่เที่ยวเอาแต่ปิดบัง สร้างความคิด
    ขึ้นมา สร้างภพขึ้นมาอันหนึ่ง สำหรับปิดบัง บิดเบือนการเห็น จะกลายเป็น
    หรอกตัวเองไป

    ปรกติ คนเรานั้นรักดี เวลาทำอะไรก็ติดภาพของการเป็นคนดี โดยที่เรา
    ไม่รู้หรอกว่า เนิ่นนานมาแล้วที่กรรมต่างๆได้ก่อไว้ ภาพของคนดีก็แค่
    เสี้ยวเวลาเล็กน้อยเท่านั้น เมื่อเทียบกับสังสารวัฏที่ผ่านมา

    หากเราต้องการพ้นทุกข์ เราต้องเข้าไปรู้ทุกข์ ไม่ใช้สร้างสุข เพราะสุข
    นั้นเอาเข้าจริงๆ ก็คือ ทุกข์ของจิต งานของใจ

    การเข้าไปรู้ทุกข์ คือ ขั้นที่หนึ่งของการแจ้งอริยสัจจ เรามาภาวนาเพื่อ
    ทำสงครามกับกิเลส แต่ไม่เอาวิธีการแจ้งอริยสัจจ ก็เป็นอริยะไม่ได้

    ขั้นที่หนึ่งของอริยสัจจ ทำไม่ได้ หรือ ไม่เข้ามาทำ ก็เหมือนคนที่เตรียม
    อาวุธจนเต็มคลังแต่ไม่เคยออกมาสำรวจข้าศึกเลย พอใจกับฤทธิ์ที่มี
    แต่ไม่รู้ว่าเอาไปใช้ยังไง ก็เอาไปเที่ยวเล่นซะ หรือ ไม่ก็หาเงิน หางาน

    เพราะรู้แต่เรา ไม่รู้เขา

    ถ้าจะอาย ที่เราไปเห็นว่าเรามีกิเลส ก็อย่าไปอายต่อคนอื่นครับ

    การอายที่วิเศษ คือ หิริ โอตัปปะ เราแปลความอายให้ตรงทางมรรคผล
    น่าจะแจ่มกว่า อายชั่ว กลัวบาปไปเลย คนดีเราไม่ต้องไปอาย
     
  12. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    [music]http://203.130.131.118/sound/dekdekjeng.mp3[/music]
     
  13. nanakorn

    nanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +155
    ขอบคุณค่ะ กระจ่างหมดแล้ว ไม่ใช่ไม่พิจารณานะ ก็เป็นอย่างที่หลายท่านกล่าวมา
    รู้ได้ว่าหลายท่าน ได้ถึงอีกระดับนึงจริง ๆ ลองปฏิบัติดูก็เป็๋นตามนั้น
    จริง ๆ ก็อึดอัดมาทั้งนานแต่ก็ไม่กล้าถามดูสัก ที จนตัดสินใจถาม สิ่งสงสัยหลายอย่าง
    ได้คลี่คลายหมดแล้ว รู้ได้เลยว่าจิตของเรา เปลี่ยนเร็วกว่าฉากหนังที่เคลื่อนไหวได้ซะอีก
     
  14. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    บางทีก็ต้องระวังกิเลสมันหลอกนะ ว่า กายนี้ไม่ใช่เรา ถ้าท่องทุกวัน ฟังเทศน์ทุกวัน มันจำฝังใจได้เหมือนกัน พอสภาวะอะไรเกิดขึ้นมา ความเคยชิน สัญญามันจะลากเราลงไปตรงที่จำฝังใจนั้น ปิ๊งขึ้นมาเลยว่า มันไม่ใช่เรา ต้องระวัง

    ดูง่าย ๆ อย่างเพลงที่เขาเปิดกล่อมเราให้เราฟังทุกวันนี่ก็ได้ จากไม่ชอบเลย แต่เปิดทีวีทีไรเจอทุกที ไปที่ไหน ๆ เขาก็เปิด ได้ยินแต่เพลงนี้ จนภายหลังทั้ง ๆ ที่ไม่ชอบแต่ก็ร้องได้เฉยเลย และร้องแบบไม่ได้ตั้งใจร้องซะด้วย บางทีเคยได้ยินพวกการตลาดเรียกวิธีนี้ว่า เป็นวิธีการเพาะความคิดนะ และใช้ได้ผลเสียด้วย นี่แหละสังคมสื่อสารมวลชนยุคใหม่ บางทีเราถูกยัดเยียดแบบไม่รู้ตัวเลย ค่ายเพลงเขาเก่งหรือโหดกันแน่นะเนี่ย

    ภาวะกายนี้ไม่ใช่เรา จิตนี้ไม่ใช่เรามีอยู่จริง แต่จิตคงต้องได้ลิ้มรสของความเป็นกลางที่ฐานเดิมของเขาได้แล้วนั่นเอง ทำไมจึงว่าอย่างนั้น ถ้าจิตเข้าถึงฐานเดิมของเขาได้แล้ว มันเป็นภาวะที่เรียบสุด ภาวะที่ไม่ได้ติดแนบกับอารมณ์ใดทั้งสิ้น เป็นอิสระตามธรรมชาติของเขา การรับรู้ตามธรรมชาติธรรมดานั้นมีอยู่โดยปกติสามัญ แต่จิตไม่กระเพื่อมหวั่นไหวไปตามสภาวะที่ผัสสะมากระทบให้เกิดเป็นอารมณ์ได้ หรือหากจะหวั่นไหวไหลตามก็น้อย ก็กลับมายืนสภาวะเดิมแท้นั้นได้ไว และเมื่อใดที่สติหย่อนกำลัง ความตั้งมั่นน้อย เผลอหลุดไปคิด หรือไปอินแล้ว ครั้นเมื่อสติตื่นคืนกลับมาดังเดิม ภาวะเมื่อครู่ที่หลงไปกับภาวะที่ตื่นรู้นั้นจะแตกต่างกันอย่างชัดเจน จึงทำให้เห็นเป็นขณะจิตได้ว่า ความรู้สึกเมื่อครู่ที่ได้หายไปแล้วนั้น ขาดสนิท จนเกิดความรู้สึกถึงสิ่งที่ผ่านมานั้นอย่างชัดเจนว่า มันไม่ใช่เรา...

    สรุปว่าต้องระวังสัญญามันหลอกเอาได้เหมือนกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มีนาคม 2009
  15. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ทีนี้ต้องมาดูอีกว่า จิตปกติในความหมายของพวกเราหมายถึงอะไร

    ส่วนมากจะเข้าใจว่า จิตปกติ คือ จิตที่มีสุขมีทุกข์ใจ คลุกเคล้ากันไปตามเหตุตามปัจจัยที่เข้ามากระทบ อันนี้มันก็มองได้แบบโลก ๆ โลกเขาก็มองกันแบบนี้เอง และหาทางแก้ปัญหาคือ ที่สุดก็คือ ยอมรับมัน ยอมรับความจริงซะเถอะ ประมาณนั้น นี่เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ น้อยคนที่จะย้อนถามและทำความเข้าใจว่า เหตุใดใจจึงสุขจึงทุกข์ขึ้นมาได้ หลงอะไร อะไรเป็นเหตุ ธรรมใดเกิดแต่เหตุ พระพุทธเจ้าทรงตรัสเหตุและความดับไปแห่งเหตุแห่งธรรมนั้น เรารู้เหตุนั้นชัดเจนด้วยสติหรือยัง เห็นชัดในกระบวนการที่หลงส่งจิตออกนอก หรือเข้าไปแช่ข้างในจนเป็นเหตุให้หลงสุขหลงทุกข์ได้ชัดเจนแล้วหรือยัง นี่แหละตัวต้นแห่งการคลายอัตตา ต้องเข้าใจตรงนี้ให้ได้เสียก่อน คลายความหลงให้เป็นเสียก่อน ถ้าแยกได้คลายได้ ก็จะเข้าใจเองว่า เราจะไปอย่างไรต่อไป ซึ่งที่ครูบาอาจารย์ท่านกล่าวมานั้นไม่ผิดหรอก แต่มันสำคัญว่า เราหาต้นเหตุจริง ๆ เจอก่อนหรือยัง ถ้ายังและทำไปตามนั้นเลย มันก็คือการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้นเอง ก็คือการปลอบใจตัวเอง หลอกตัวเองไปวัน ๆ ด้วยอำนาจแห่งสัญญาที่จำมาได้นั้นเอง

    ถามว่าจำเป็นไหมต้องสาวหาเหตุขนาดนั้น ก็ต้องบอกว่า ถ้าไม่รู้เหตุที่ต้นตอจริง ๆ มันก็ยังคงหลงอยู่ร่ำไป แก้ปัญหาที่ปลายทางคือที่สุขที่ทุกข์เกิดแล้วอยู่ร่ำไป มันไม่จบ มันก็ลุ่ม ๆ ดอน ๆ เดี๋ยวสุขเดี๋ยวทุกข์อยู่เช่นนั้น แล้วท่านก็จะสรุปแบบเข้าข้างตัวเองว่า จิตปกติมันเป็นเช่นนี้เอง แล้วก็ผลักไสว่ามันไม่ใช่เราไปเสียเลย น่าสนใจในประเด็นนี้เหมือนกันนะพี่น้องครับ
     
  16. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    โห แจ่มเลยครับ นี่แปลว่านอกจากรู้ทันกิเลสแล้ว ก็รู้ทันนิวรณ์ด้วย

    พอความสงสัยที่เป็นนิวรณ์คลายตัว สมาธิจิตก็เกิด คราวนี้ก็จะเห็น
    รูปปรมัตถ์ ตามองไปก็จะเห็นเป็นรูปปรมัตถ์ เห็นเลยว่า แท้จริงแล้ว
    ทุกอย่างก็เหมือนพยับแดด ที่เราเข้าไปสำคัญมั่นหมายเอาเอง ดูจน
    เห็นว่า ไม่มีคน ไม่มีสัตว์ แล้วเห็นจริงๆ รู้ด้วยตัวเอง และรู้ชัดว่าไม่ใช่
    สะกดจิตตัวเอง เพราะการเห็นนั้นมีความเบิกบาน ไม่ใช่สะลุมสะลือซึม
    กระทือ จิตพุธท-โธ ที่คุณบริกรรมนำทางมา วันนี้ก็ส่งผลให้เห็น จิตพุท-โธ
    ตัวจริงๆแล้ว

    ดูจิตก็ทำให้เกิดฌาณได้ เพราะดูจิตนั้นจะประหารกิเลสกันจริงๆ ไม่ใช่
    การกดไว้ นิวรณ์ก็รำงับเพราะเรารู้เหลี่ยมมุมมันหมด จิตก็ตั้งมั่น มีสมาธิ
    มีกำลังของฌาณเกิดอัตโนมัติ ทำให้เห็นรูปปรมัตถ์ได้เหมือนคนที่ทำสมาธิ
    อุปจารสมาธิแล้วถอยมาดู

    หลังจากนี้ก็ไปเรื่อยๆ นะครับ ปัญหาของคนที่ภาวนเป็นแล้ว คือ ปัญญา
    มันจะฝุ้งไปข้างหน้า สภาวะดีๆ ที่ใช่ ที่เราจดจำได้ เราจะเผลอน้อมนำทำ
    ขึ้น แทนที่จะปล่อยให้มันเกิดแล้วรู้ตาม ตรงนี้ก็แก้ด้วยสมาธิ แต่ถ้าฝุ้งมากๆ
    ก็เหมือนที่พระสูตรกล่าวไว้ หากฝุ้งอยู่ก็เหมือนไฟ หากปฏิบัติต่อก็จะทำให้
    เหมือนเติมเชื้อ เราก็ต้องหยุดบ้าง ไปทำบุญ ทำทานสะสมบารมีเพิ่ม
    เติมแทน -- ก็จะเห็นว่า เราสามารถปฏิบัติทุกอย่างอย่างรู้เหตุรู้ผลของ
    การปฏิบัติในแต่ละชนิด ทำไปเพื่ออะไร เหตุอะไร ผลอะไร บารมีก็จะเต็ม
    ไวกว่าคนที่ภาวนาแบบงมไปเรื่อยๆ ลูบๆคลำ -- สิ่งที่คุณรู้ตอนนี้ก็คือ
    คุณได้จบจิตสิกขาบท ที่เหลือก็คือ ทำปัญญาให้เกิด ก็คือ เข้าสู่บทปัญญา
    สิกขา

    อนุโมทนา
     
  17. dap!

    dap! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +442
    อนุโมทนา สา..ธุ กับทุกท่านครับ เก่ง..เก่ง กันทั้งนั้นเลย
     
  18. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424

    หากทำได้มีความเข้าใจดังนี้แล้ว การปฏิบัติของเราก็จะไม่ต้องไปเลือกกาลเลือกเวลา ว่าเวลานั้นถึงจะทำได้ เวลานี้ทำไม่ได้ ขับรถขับเรือทำได้หมดเพราะมันเข้าใจแล้วว่า เราจะดูจะบริหารจัดการอะไร เราก็เอาสติเข้าไปบริหารจัดการ ขับรถถ้ามันเพลินมันหลงจะเอาแต่จิตตั้งมั่นภายใน เรามีสติแค่ไหน นั่นแหละเราก็ต้องฝีกให้ต่อเนื่อง นี่มันยังไม่ต่อเนื่องมันถึงดูไม่ค่อยออก ก็ถ้าเราเห็นได้ต่อเนื่อง เรารู้ว่าเราเผลอจมแช่ลงไปในสภาวะที่พอใจ มันเป็นความอยากเราก็ละมันสิ ไม่ทำตามความอยากจะผิดอะไร จะมัวไปคิดว่าไอ้นี่สมถะนะ ไอ้นี่วิปัสสนานั่นแหละมันมัวติตรูปแบบอยู่ ยึดรูปแบบ กอดรูปแบบไว้ มันก็ติดอยู่นั่นแหละ สมถะวิปัสสนานั้นเป็นแค่เครื่องมือใช้แล้วก็ต้องวาง ไม่ใช่ถือมันอยู่ตลอดแบบนั้น มันถึงได้ทำอะไรก็จะผิดเสียหมด นั่นแหละมันไม่ธรรมชาติ จิตเกิดเราก็ต้องดับต้องควบคุมเขา อาการของขันธ์ ๕ ก็ให้ตามดู ส่วนมากปัญหาคือ แยกกันไม่ออกนั่นแหละว่าอะไรคืออาการของขันธ์ ๕ อะไรคืออาการที่เป็นผลจากการหลงขันธ์ ๕ จิตเกิดไปแล้ว ดูไม่ออกกันเอง ส่วนไหนควรรู้ควรตามดู ส่วนไหนควรละ ดูไม่ออก มันก็จะคอยแทรกแซงเสียทุกเรื่องหรือไม่ก็ปล่อยมันเสียทุกเรื่องอย่างนั้นเอง

    สรุปว่า ปฏิบัติได้ตลอดเวลาตั้งแต่ตื่นนอนยังไม่ลุกจากที่ จนกระทั่งกลับเข้าไปนอนนั่นแหละ ไม่งั้นเมื่อไหร่สติมันถึงจะต่อเนื่องได้ล่ะ..ว่ามั้ยเอ่ย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มีนาคม 2009
  19. joeycoles

    joeycoles เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    572
    ค่าพลัง:
    +457
    เพราะเราเห็นกิเลส แต่เราต้องตัดกิเลสให้ได้ ยิ่งเห็นมากยิ่งได้ง่าย ย่อมมีความโลภ จึงต้องการมาก เช่นเดียวกัน
     
  20. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ต่อไป จขกท ก็รู้จัก จิตตื่น จิตพุธโธ และปฏิบัติได้แบบช้างกระดิกหู

    โดยที่ไม่ใช่การปฏิบัติแบบจมแช่ แน่นิ่ง คิดจะไปทำสติให้เที่ยง เรา
    เจริญสติขึ้นมาแล้ว ต่อไปก็ให้ดูความไม่เที่ยงของ สติ ชนิดนั้น
    ตรงนี้สำคัญมาก นักปฏิบัติในเมืองไทย 100 ละ 100 มุ่งแต่จะทำ
    ให้มันเที่ยง พอทำให้เที่ยงแล้วก็คิดว่าต้องรักษาให้เที่ยง รักษาให้
    เที่ยงแล้วก็เอามันไปแช่ให้มันเที่ยง สุดท้ายคือ ไม่รู้จักจิตตื่น ที่คุณ
    จขกท ได้สัมผัสด้วยตัวเอง ดังนั้น เวลาไปสนทนาธรรม ก็ต้องเข้า
    ใจจุดนี้ น้อยคนที่จะเข้าใจว่า คุณเจริญสติแบบไหน น้อยคนนักที่
    จะเข้าใจว่าคุณเห็นกิเลสหรือไม่ น้อยคนนักที่จะเข้าใจว่า การดูจิต
    เจริญสติ เจริญผู้รู้ผู้ดู มีจิตตื่นเพื่อดูความไม่เที่ยงของจิตชนิดนี้ คือ
    หนทางของการรู้ถ้วน โลกของรูปนาม เขาจะลังเลสงสัยในการเจริญ
    สติชนิดนี้ แม้แต่เราเองที่รู้จักแล้วก็สามารถลืมได้ เน้นนะครับว่า สามารถ
    ลืมได้ ถึงตอนนั้นอย่ากลัว เขากำลังแสดงธรรมะให้คุณดูว่า จิตตื่นนั้น
    ไม่เที่ยง ไม่อยู่ในอานัติ ตรงนี้ลองกลับไปอ่าน link การปฏิบัติของ
    หลวงพ่อปราโมทย์ดูอีกทีว่าผมกำลังพูดถึงจุดไหน

    เมื่อทบทวนแล้วจะเห็น

    - การที่เรามีมรณะสติทุกลมหายใจที่พระพุทธองค์ตรัสถึงนั้น เป็นอย่างไรอะไรคือ
    การเริ่มปฏิบัตใหม่เหมือนเกิดใหม่ทุกลมหายใจ มีรูปแบบอะไรยึดไว้หรือไม่ ต้อง
    มานั่งคิดตายแน่ๆ เหรอ จะเห็นว่าคนละอารมณ์ สิ่งที่ จขกท จะสัมผัสได้ในมรณะสติ
    จะปราณีตขึ้น ( ต้องดูเอาเอง )

    - การทิ้งธรรมคืออะไร เราปฏิบัติเพื่อเอาสุขที่โชยในใจเหรอ ก็ไม่ใช่ เพราะสุขมัน
    เกิดก็คือรูปนามที่เราเอามาดูทั้งสิ้น เราไม่ได้มาปฏฺบัติเพื่อเอาอะไร มีแต่รู้ รู้ทุกข์
    เท่านั้นที่เกิด ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป มีรูปนามอะไรที่เรายึดไว้หรือไม่

    - หากเราภาวนาได้ถูกต้องตรงทาง จะเห็นเลยว่า ไม่มีอะไรที่เราจับ มีแต่การละวาง

    ธรรมะที่เป็นไปด้วยการละวาง นั้นคือธรรมะของพระพุทธองค์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มีนาคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...