ไม่ใช่นะครับที่มักกล่าวว่า “สมถะเหมือนการหลบภัย วิปัสสนาเหมือนการผจญภัย”

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 26 พฤษภาคม 2009.

  1. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
  2. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    การอดทานปลากระป๋องทำให้เห็นอะไร

    การอดปลากระป๋องของคุณขวัญทำให้เห็นว่า สิ่งที่เราทำนั้นมีการกดข่มบังคับ
    เมื่อเห็นปลากระป๋องแล้วรู้ว่าอยากแต่ระงับไว้ในมโนทวาร แรกๆจึงรู้สึกว่าเหมือน
    มองเฉยๆ จริงคือเกิด วิตก วิจาร ในปลากระป๋องไปแล้ว แต่ที่รู้สึกว่าไม่รู้ว่ามอง
    ทำไมเพราะไปแทรกแซงการเห็น ทำให้จิตตัดอารมณ์กิเลสออกโดยอัตโนมัติ
    เกิดการกดข่ม อัตกลิมัตถานโยค ซึ่งผลของการกดข่มก็คือ มันจะทับกิเลสนั้น
    ไว้ พอเห็นอีกก็ข่มอีก พอเห็นอีกก็ข่มอีกและกิเลสมารเริ่มรู้แล้วว่ากำลังจะแพ้
    มันจึงหว่านล้อมด้วยเหตุผล ทำให้หยุดการกดข่มแล้วเข้าเสพ ดีดไปทาง กาม
    สุขขัลกลิมัตถานุโยค และทันทีที่เสพ ศีลก็เสีย และพอเสพแล้วก็ศีลทะลุ เกิด
    การบริภาษในรสที่ไม่อร่อย เมื่อศีลทะลุแล้ว ก็กลับบ้านไปปรุงกินเอง

    ซึ่งก็ให้ดูไปแบบนี้ ลักษณะของกิเลสในเรื่องกามทั้งหลายก็เป็นแบบนี้ พอมัน
    พุ่งออกไปแล้วมันก็พรั้งพรู ระเบิดออก ระเบิดแรงกว่าเดิม เราก็เข้าใจการทำ
    งานของจิตไปแบบนั้น หยุดอยู่ที่รู้ ไม่เกลียดจิตตัวเอง แต่ให้เข้าใจพฤติจิตตัว
    เอง ซึ่งจะเป็นการนำไปสู่การเห็นทุกขสัจจแห่งจิต

    ทีนี้ หากจะเอามาทำการเห็น จะเห็นอะไร เห็นเป็นกองกิเลสกามคุณ หรือ หาก
    ทำอย่างนั้นก็จะภาวนาไม่เข้าเป้า โดนมันหลอก กิเลสกองกามคุณนั้นเห็นง่าย แต่
    เราอย่าไปหลงเชื่อเห็นตามนั้น เราต้องระลึกดูมาที่ การเกิด วิตก วิจาร การเกิดทิฏฐิ
    อุปทาน ซึ่งมันเป็นส่วนประกอบของ สักกายทิฏฐิ เมื่อเห็นมาถูกกอง ทำการเห็น
    กิเลสในสภาวะเดียวกันแต่เอามาเห็นให้ถูกกองถูกฐานะ ก็จะภาวนาเข้าเป้า
     
  3. dokai

    dokai Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2009
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +71
    ขออนุณาติ เจ้าของความคิดเห็นข้างบนสักหน่อยนะ ครับ ขออภัยที่ขัดจังหวะ เพราะเห็นว่า ความเข้าใจอันนี้ มันคลาดเคลื่อนเป็นอันมาก และ มันก็ยากที่จะแย่งได้ เพราะมันหายากในยุคสมัยนี้ แต่มันก็ไม่ถึงขนาดว่า จะไม่มีคนไม่เข้าถึงหรือไม่เข้าใจมันเลย

    ก่อนอื่น ขอกลับไปตรง ที่กล่าวข้างต้น ว่า ใน อรูป 4 เนวสัญญานั้น ที่ว่า ล้วนสัญญาดับ นั้น ก็ไม่ใช่แล้ว ครับ ถ้าจะกล่าวให้ พอที่จะเข้าใจคือ มันเหมือนว่าจะไม่มีสัญญา แต่ ก็บอกไม่ได้เต็มปากว่า มันไม่มี เพราะ มันยังมี แต่ พอจะบอกว่ามันมี ก็บอกไม่ได้เต็มปาก ว่า มีอะไร เพราะ เหตุว่า มันไม่สามารถอธิบายว่ามีอะไร ปัญหามันอยู่ตรงไหน โดยคนส่วนใหญ่ ไปไม่ถึง คือความละเอียด ครับ ไอ้ที่คิดว่า แน่น ๆ ละเอียดแล้วเห็นกันดาดเลย ขออภัยว่ายังไม่พอครับ ละเอียดอย่างเดียวก็ยังไม่พอ ในสภาพนั้นมันบางเฉียบมาก ไปไม่ถึงกันหรอก น้อยคนอาจจะถึง แต่ ก็ล่วงเพราะอยู่ได้ไม่นาน เพราะกำลัง ส่วนนิโรธ ยิ่งไม่ต้องพูด การจะก้าวล้วง เนวสัญญาได้ ก็ต้องเป็นไปด้วย ปัญญา ลองไปค้นดู นัยยะ ใน่พระไตรปฏกก็ได้ ว่า ว่ากันอย่างไร

    ประเด็นที่สำคัญคือ ที่บอกว่า ในเนวสัญญา และ นิโรธ เป็นไปเพื่อความขาดสติ อันนี้ ยิ่งไปกันยกใหญ่ มันขาดเดาเอาเต็ม ๆ จริง ๆ ไม่ทราบว่าเอาอะไรมาพิสูตร ( ฟังกันมา เพราะอาจารย์บอก คงไม่ต้องบอกนะ ว่า อาจารย์ไหน หนังสือเล่มไหน)

    สัญญาเวทยิตฯ เป็น นิพาน ที่ยังมิได้ เป็น สมุทเฉท หรือ กล่าวง่าย คือ
    นิพานเป็นไปชั่วขณะ ในขณะที่ดำรงอยู่ ในเมื่อเป็นนิพานแม้นชั่วขณะที่ดำรงอยู่ แล้ว จะเป็นไปเพื่อความขาดสติได้ อย่างไรกัน ผู้ที่กล่าวเช่นนั้น คือ ผู้ ที่ยังเข้าไม่ถึงสภาพ และ ยังมีประจักรแจ้ง อันนี้ จริง ก็ไม่ใช่สิ่งที่พึงตำหนินัก แต่ที่ควร ตึงคือ ในเมื่อยังมิเข้าใจในสภาพอย่างท่องแท้ แล้ว จะบอกว่ามันเป็นอย่างโน้น อย่างนี้ อันนี้ไม่ควรกล่าวอย่างยิ่ง สิ่งที่ควรทำคือ ปล่อยวาง และก็ย่อมรับว่า ยังไม่รู้และ เข้าใจ ยังน่าจะชื่นชมและ น่าเครารพ มากกว่า

    เอาละ ผมถามต่อก็แล้วกัน ว่า ในองค์ แห่ง อริยะมรรค ทั้ง 4 นั้น
    ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

    ทำไม นิโรธ ถึงถูก กล่าว ก่อน หรือ มา ก่อน มรรค ทำไม ถึง ไม่เป็น มรรค คือ หนทาง แห่ง ความดับทุกข์ และ ถึง จะถึง สภาพ แห่งความดับทุกข์

    เอาไปพิจาณา ดู ถ้าชัดแจ้งในคำตอบของคำถามอันนี้ มันก็คงจะไม่มีข้อถกเถียงสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดด้านบนอีกเลย
     
  4. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ไม่ได้เถียง ไม่ขอขัดกับใคร แค่อยากจะพูด

    ก็นิโรธนี่ถ้าได้สัมผัส จึงจะนับว่ามีสัมมาทิฐิไง ถึงนิโรธก่อนสิ จึงจะรู้ จึงจะเดินมรรคถูก เพราะของมันเคยแล้ว

    ถ้าไม่ถึงนิโรธก่อน จะอ้างว่าทำมรรคไปอย่างไร มันก็ยาก มันก็เคลื่อนมา เคลื่อนไป เอนซ้าย เอียงขวา

    นิโรธแรก ก็โสดาผลนั่น ที่นี้การจะเข้าโสดาผลนี่มันไม่สนมรรคหรอก มันจมทุกข์ มันดูทุกข์ มันเห็นทุกข์ จนมันเห็นสมุทัยนั่น ว่ามาจากการยึดจับ การเกาะเกี่ยวเองนั่น จับยึด จับโหนก็ทุกข์ พอทันสภาวะ ทันกระบวนการบุ่อย ๆ มันก็ปล่อยเองแหล่ะ

    อริยสัจจ์เรียงถูกแล้วนี่ ว่าแต่ถามทำไมเหรอ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤษภาคม 2009
  5. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    สวัสดีครับ ทุกท่าน
    ขออภัยที่มาช้า ถึงช้าก็ดีกว่าไม่มา
    ทุกคำถามต้องได้รับคำตอบ แต่อาจช้าหน่อยนะครับ
    เพราะเนทผมเต่า เปิดไม่ค่อยจะเข้า

    ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาครับ

    ;aa24
     
  6. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    อาจานวิฯครับ ที่คุณเข้าใจนั้น ผมขอยกเอาไว้เรียนกันก็แล้วกัน ท่านคันธรจนาจารย์ท่านมีวัตถุประสงค์อย่างไรนั้นสุดแล้วแต่ท่าน อาจเป็นเพียงบุคคลาธิษฐานเท่านั้น

    ผมคำนึงเพียงเนื้อหาเท่านั้นครับ
    คำว่าสมาธิคือความตั้งมั่นแห่งจิต
    ขณะที่คุณมีความโลภอยู่คุณจะเข้าสมาธิได้มั้ย???
    แต่ในกรณีที่จิตเป็นอุปจารสมาธิอยู่นั้น โลภะผุดขึ้นมาได้มั้ย??? ได้ครับถ้าเผลอ


    เมื่อขณะที่โลภะผุดขึ้นมานั้น จิตย่อมตั้งอยู่ในอุปจารสมาธิไม่ได้หรอกครับ
    นอกจากสลัด(อารมณ์)ออกไปอย่างเดียวเท่านั้น
    สิ่งที่ไปรู้ไปเห็นขณะที่โลภะผุดขึ้นนั้นไม่ถูกต้องครับ
    และย่อมทำให้สมาธิเสื่อมลงเรื่อยๆครับ


    ;aa24
     
  7. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ก็สุดแล้วแต่คุณว่าจะใช้คำไหนที่ชอบ

    ส่วนผมและนักอานาปานสติแล้วใช้คำว่า “ที่พึ่ง”ครับ
    จากการที่จิตสลัดออกจากความสับสนวุ่นวายกลับเข้าสู่ความสงบนั้น
    เพราะต้องการ “ที่พึ่ง” เท่านั้นครับ


    ;aa24
     
  8. dokai

    dokai Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2009
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +71
    ขออภัย พิมม์ผิดพลาดไปหน่อย ดันพิมม์เป็นอริยมรรค จริงๆ คือ อริยสัจจ

    ที่คุณjinny กล่าวไว้ ไม่ได้ผิดหรอกครับ และ ก็ อริยสัจจ ก็มิได้ เรียงผิดด้วย ที่ถามก็เพื่อจะให้ เอาไปทบทวนพิจารณา หากจะมีผู้บอกว่า "นิโรธ นั้น เป็นไปเพื่อความขาดสติ" มันถูกต้องหรือเปล่าเท่านั้นเอง ครับ

    ขอบคุณ คุณjinny ที่มาเฉลยคำตอบให้ไปเสียค่อนละ
     
  9. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    [​IMG]..
     
  10. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ก่อนอื่นต้องขออนุโมทนากับคุณผู้หญิงที่ช่วยเอาพระสูตรมาวางให้อ่านครับ

    คุณถามผมเรื่องหนังสือนั้น ก็คือในพระไตรปิฎกนั้นเองครับ
    ถึงจะเป็นคำที่เกิดขึ้นในภายหลัง ก็ไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหายอะไร
    เพราะท่านคันธรจนาจารย์ท่านรจนาไว้ชัดเจนว่า
    สมถะและวิปัสสนา ไม่ใช่ "สมถะหรือวิปัสสนา”

    คำว่า “และ” หมายถึงขาดอย่างไรอย่างหนึ่งไม่ได้
    ถ้าคำว่า “หรือ” นั้นอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ครับ

    ถ้าคำว่าวิปัสสนามีความสำคัญเป็นเอกเทศแล้ว
    พระองค์คงต้องตรัสไว้ในอริยะมรรคแล้วครับ
    แม้แต่ในมหาจัตตารีสักสูตร ก็ยังไม่มีที่อ้างถึงเลย

    มีแต่สาวกพจน์ในปัจจุบันเท่านั้น
    ที่ไปแยกกันเองตามความพอใจของตัวเอง

    ;aa24
     
  11. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ผมเอาพระสูตรบางส่วนบางตอนมาให้อ่าน ถ้าอ่านเต็มที่นี่

    ภยเภรวสูตร

    เราเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ.
    พระอริยะเหล่าใด ถึงพร้อมด้วยสมาธิ เสพเสนาสนะอันสงัด
    ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง

    ดูกรพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความพร้อมด้วยสมาธิ
    นี้ในตน(?) จึงถึงความเป็นผู้มีขนตกโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า.

    เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว
    ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน
    ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป
    เพื่อบุพเพนิวาสานุสติญาณ. เรานั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก

    เรานั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว
    ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน
    ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้ โน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย

    เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว
    ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน
    ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้ โน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ
    ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกข์สมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

    ?Ð䵃?Ԯ???ը
     
  12. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ในช่วงเริ่มต้นนั้น การกำหนดรู้ เป็นเองไม่ได้หรอกครับ
    มีแต่พวกคิดเองเออเองเท่านั้น


    ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า “การกำหนดรู้”
    ต้องมีความตั้งใจ(ยังไม่เป็นสัมมาสติ)
    กำหนดรู้ลงที่จุดลมกระทบ(ฐานที่ตั้งของสติในมหาสติปัฏฐาน)ครับ


    เมื่อเพียรเพ่ง(จุดลมกระทบ)ไปบ่อยๆเนืองๆต่อเนื่องได้นั้น
    ต้องอาศํยความเพียรเพ่ง(สัมมาสติ)เป็นอย่างมาก
    เพื่อไม่ให้จิตวอกแวกออกไปรู้อารมณ์อื่น


    ;aa24
     
  13. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ขอบคุณครับ พี่ภูต ก้แสดงว่า พระไตรปิฏกเล่มหลังก็ครบถ้วนไม่มีเพี้ยนไม่เสียหายใช่ไหมครับ
     
  14. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    โทษนะครับ อย่าเข้าข้างตัวเองสิครับ
    ภาษาที่ใช้ๆเพื่อสื่อสารให้เข้าใจครับ

    ไม่ใช่สื่อสารเพื่อเข้าข้างตนเอง

    คำว่าละ สู้ ประหาร ให้นัยยะใกล้เคียงคือขจัดออกไปใช่มั้ยครับ???
    ไม่ใช่ “หลบ”

    ;aa24
     
  15. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
     
  16. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณตามรู้ตามดูอยู่ที่จุดลมกระทบเพื่ออะไร
    ถ้าไม่ใช่เพื่ออยู่กับการงานที่ทำทางจิต

    และย่อมรู้อยู่ตลอดถึงลักษณะของลมหายใจที่เข้าก็รู้-ออกก็รู้

    แล้วลมหายใจย่อมแสดงอาการไตรลักษณ์ให้เห็นครับ

    ;aa24
     
  17. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ผมสื่อสารให่พี่ภูตเข้าใจผิดเองครับ ผมหมายถึงการที่สู้กิเลสครับไม่ได้ให้ความหมายของคำว่าหลบ ขอโทษที
     
  18. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ที่คุณพยายามเสนออยู่นั้น การดูอยู่เฉยๆเป็นยังไงครับ??

    ถ้าไม่ถูกต้องชี้แนะด้วย ที่ผมเข้าใจก็ได้แสดงไว้แล้วนิครับ

    ;aa24
     
  19. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    ในช่วงเริ่มต้นนั้น การกำหนดรู้ เป็นเองไม่ได้หรอกครับ
    มีแต่พวกคิดเองเออเองเท่านั้น
    .....ก็แสดงว่าต้องอาศัยเจตนาก่อนใช่ไหมครับ
    ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า “การกำหนดรู้”
    ต้องมีความตั้งใจ(ยังไม่เป็นสัมมาสติ)
    ..แสดงว่า แรกๆ นี่ยังไม่เป็นสัมมาสติ งั้นก็แสดงว่า การตั้งใจแรกๆก็ยังทำให้สัมมาสติเกิดไม่ได้ใช่ไหมครับ ต้องอาศัยทำบ่อยๆ เนืองใช่ไหมครับ ถึงจะเป็นสัมมาสติ
    กำหนดรู้ลงที่จุดลมกระทบ(ฐานที่ตั้งของสติในมหาสติปัฏฐาน)ครับ

    เมื่อเพียรเพ่ง(จุดลมกระทบ)ไปบ่อยๆเนืองๆต่อเนื่องได้นั้น
    ต้องอาศํยความเพียรเพ่ง(สัมมาสติ)เป็นอย่างมาก
    เพื่อไม่ให้จิตวอกแวกออกไปรู้อารมณ์อื่น...
    .....ที่ว่าเพื่อไม่ให้ไปรู้อารมณ์อื่นนี่เป็นที่พึ่งไว้ใช่ไหมครับ แสดงว่า อารมณ์อะไรมาก็ไม่ต้องไปรู้ใช่ไหมครับ แล้วคำว่ากำหนดรู้เราจะรู้เฉพาะ ลมที่กระทบอย่างนั้นเหรอครับ จะกำหนดรู้อารมณ์อื่นไหมครับพี่ภูต
     
  20. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    การดูอยู่เฉยๆที่ผมเข้าใจ คือการตามรู้อารมณ์แบบผ่านๆ แบบไม่ต้องไปแต่งเติม แค่ตามรู้เฉยๆ จึงเรียกว่า การดูอยู่เฉยๆ เช่นว่า มีอารมณ์ อะไรมาในระหว่างทำสมาธิ ก็ ตามรู้เฉยๆ รู้แบบผ่านๆ เช่นผมทำสมาธิด้วยการพิจารณา อสุภะ ขณะที่ผมดูร่างกายที่ไม่สวยงาม แล้วเกิดมีอารมณ์ ชอบ ไม่ชอบ กับรูปที่ผมพิจารณาอยู่นั้น ผมก็ดูเฉยๆกับอารมณ์ที่เกิดขึ้น เรียกว่ารู้เฉยๆ การรู้เฉยๆนี่มันก็รู้ได้แว๊ปเดียวเท่านั้น แต่ก็ต้องให้รู้ได้บ่อยๆก่อนครับผมฝึกแบบนี้ ในอารมณ์ที่เกิดขึ้น แล้วรู้ให้ได้บ่อยๆ เนืองๆครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...