ไม่ใช่นะครับที่มักกล่าวว่า “สมถะเหมือนการหลบภัย วิปัสสนาเหมือนการผจญภัย”

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 26 พฤษภาคม 2009.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ที่นี้เรามาเริ่มเรื่องเหตุเป็นผล ผลเป็นเหตุกันให้กระจ่างกันดีกว่า

    ผมขอความกรุณาล่วงหน้าไว้ก่อนว่า
    อย่าใช้วิธีเดิมๆที่ปฏิบัติกันมา คือ เมื่อไม่มีเหตุผลมากพอที่จะกล่าวแย้ง
    ก็ใช้วิธีแถออกนอกเรื่องหรือกล่าวร้ายไว้ก่อนโดยไม่ตอบ
    พร้อมกับหาวิธีลดความน่าเชื่อของอีกฝ่าย

    อย่าเห็นว่าเรื่องแค่ “เหตุเป็นผล ผลเป็นเหตุ”เป็นเรื่องเล็กน้อย
    ที่คิดอย่างนั้นเป็นความผิดอย่างมหันต์ในการปฏิบัติ
    เพราะจะหลงผิดติดอยู่แค่ “ติดดีในดีเท่านั้น”
    ด้วยความห่วงใยในพระพุทธศาสนาครับ

    ;aa24
     
  2. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เอ้ามาว่ากัน ไปด้วยกันแบบช้าๆเพื่อหาเหตุให้พบ
    ค้นเหตุให้เจอ เผลอไม่ได้ เหตุจะกลายเป็นผลครับ
    ทุกคนต้องยอมรับก่อนครับว่า
    ราคะ โทสะ โมหะ เป็นของมีอยู่ก่อนประจำโลก เป็นเพียงกิเลส
    แต่จะเป็นกิเลสของจิตเราหรือของตนได้นั้น
    ต่อเมื่อจิตของเราเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งนั้นว่าเป็นเรา เป็นของเรา
    เป็นตน เป็นของตน ใช่มั้ยครับ???

    จึงจะเป็น ราคะ โทสะ โมหะ ของเราหรือของตน (ของใครของมัน)
    อาจเหมือนกันและไม่เหมือนกันก็ได้

    ตามให้ดีนะครับเพราะเป็นเรื่องสำคัญ
    เมื่อเรา(จิต)ไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นมัน(ราคะ โทสะ โมหะ)
    มัน(ราคะ โทสะ โมหะ) ก็เป็นเพียงกิเลสเท่านั้น
    ยังให้ผลหรือเป็นพิษเป็นภัยกับใครไม่ได้

    เหตุ เหตุ เหตุๆๆๆๆเพราะว่าเรา(จิต)เข้าไปยึดมั่นถือมั่นมันใช่มั้ยครับ???
    หรือเชื้อเชิญ(ยึดมั่นถือมั่น)มันเข้ามา
    เราจึงเรียกมันว่า ราคะ โทสะ โมหะของเราหรือของตน ใช่มั้ย???

    ตัวราคะ โทสะ โมหะ เป็นเหตุแห่งทุกข์ของเรา
    ก็ต่อเมื่อเรา(จิต)เข้าไปยึดมันเข้ามาเป็นของเรา
    ถ้าเรา(จิต)ไม่ยึด มันก็ไม่เป็นของเรา

    ;aa24
     
  3. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    <O:pถามว่าตัว ราคะ โทสะ โมหะนั้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วเป็นผลใช่มั้ยครับ????
    และพร้อมที่จะกลับมาเป็นเหตุ ให้จิตเป็นทุกข์
    เพราะจิตออกไปยึดมั่นถือมั่นสิ่งเหล่านั้นเข้ามาเองใช่มั้ยครับ???
    อย่าปฏิเสธเสียให้ยากเลย เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องจริงของจริงที่เกิดขึ้นจริง
    ในชีวิตประจำวันของทุกผู้ทุกคน มากน้อยต่างกันเท่านั้นครับ</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p;aa24</O:p
     
  4. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ผมก็รอให้พี่ภูติ พูดส่วนนี้ออกมานี่แหละครับ ตกลงพี่ภูติเห็นแล้วนะว่า

    จิตที่สิ้นการปรุงแต่งนั้น อยู่ในฌาณอยู่แล้ว

    แต่เคยสงสัยไหม มีหลายสำนักทีเดียวที่ยก การปรินิพพาน มาเป็นวาทะ

    หลายท่านทีเดียวที่สงสัยว่า จะต้องทำฌาณไล่ไปไล่มา แต่ก็ถกเถียง
    กันว่า ต้องหยุดตรงไหน

    พระบางท่านก็ว่า จะไปสงสัยทำไมว่า จะหยุดตรงไหน ฌาณ4 นั่นแหละ
    สัญญาเวทยิตนิโรธน ดังนั้น ไม่ต้องไล่ขึ้นไป 7 8 เพื่อ 9 แต่ทว่าก็
    เหมือนต้องไล่จาก 1 2 3 ไป 4

    บ้างก็ว่า สัญญาเวทยิตนิโรธนนี่แหละนิพพาน ตกลง งง กันไป ไม่รู้ ฌาณ4 หรือ ฌาณ9
    ( เอาให้งงกว่านั้นอีก รู้สึกว่า อภิธรรมเรียก ฌาณ5 ฌาณที่ว่า 4,5,6,7,8,9 คือ ฌาณ5 หมด)

    บ้างก็ว่า ไม่มีหลอก มันเป็นอะไรตรงที่ ฌาณ4 กำลังจะขึ้น ฌาณ5 แต่
    ไม่ขึ้น สายกลางอยู่ตรงนั้น ตกลงพึ่งสรุปว่า ฌาณ4 คือสัญญาเวทยิตนิโรธน แต่ก็
    พูดออกไปว่า ยังมีระหว่างนั้นอีก .....อ้าว !!!

    โดยพวกเขาลืมกันไปหมดว่า ก็นิพพานอยู่แล้ว จิตสิ้นการปรุงแต่ง
    อยู่แล้ว จะต้องไล่ไปทำไมอีก ก็เหมือนที่พี่ภูติเสนอนั่นแหละ

    ว่าแต่ว่า พี่ภูติเห็นอย่างไร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤษภาคม 2009
  5. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เรากำลังคุยกันเรื่องอะไรอยู่ครับ??? ใช่สมถะและวิปัสสนามั้ยครับ???
    เราควรว่ากันเป็นเรื่องๆนะครับ อย่าใช้วิธีเหมาโหลครับ

    บางครั้งเห็นครูบาอาจารย์บางท่าน ใช้วิธีนี้ ผมเองยังรู้สึกไม่ดีเลยครับ
    ของอะไรที่ผ่านกาลเวลามานานมากแล้ว ควรสืบหาเค้าเงื่อนให้ดีก่อนครับ

    ;aa24
     
  6. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ถ้าว่ากันตามเหตุผลนะพี่ภูติ

    ปุถุชนนี่ กิเลส หายไปหรือยัง สมาธิถือว่ามีหรือยัง

    หากเทียบปริยัติ พระโสดาบันพึ่งชำระกิเลสได้ และมีสมาธิเล็กน้อย

    แต่มาย้อนดูตัวเรากันสิ เห็นกันอย่างไร : กิเลสฉันไม่มี สมาธิฉันมาก ขัดพระไตรปิฏกไหม

    แล้วมาดูทางผมสิ เห็นอย่างไร : ยอมรับฐานะนั้น กิเลสฉันไม่อยู่ในฐานะเอามาประหาร
    สมาธิฉันยังเพียรทำ แต่ก็เอามาอาศัยระลึกเพื่อเกิดสติ(อย่าลืมนะว่า เราใช้คำว่าสติกัน
    คนละแบบ : ปรารภกันแล้ว ไม่ต้องถกกันในประเด็นนี้ซ้ำ )

    ลองพิจารณาละกันว่า ฝ่ายคุณมองตามความเป็นจริงตามฐานะไหม หรือ ว่าปฏิเสธ
    ตลอดเวลา แล้วทางเราที่ไม่ปฏิเสธฐานะคือคนขี้เกียจหรือ บอกก่อนนะว่าเราไม่ได้
    เลิกทำสมถะ ไม่มีใครเลิกทำสมถะได้ เพราะยิ่งปฏิบัติสมาธิก็ยิ่งมาก(แต่ถือว่าเล็กน้อย:ยึดปริยัติ)
    แต่สมาธิมากเท่าไหร่เราก็เอามาอาศัยเพื่อการระลึกให้เกิดสติตามนั้น เราไม่เคยเลิก

    นี่พูดกันในฐานะปุถุชนล้วนๆนะ ไม่ต้องลักลั่นไปคิดว่ากำลังคุยฐานะอื่น การเห็น
    อริยสัจจนั่น จะกี่รอบก็คือการเห็นอริยสัจจ ลักษณะของการเห็นนั่นเหมือนกัน แต่
    ผลในแต่ลำดับจะต่างกัน ดังนั้น อย่าตกอกตกใจหากเราพูดกันในรสของการเห็น
    อริยสัจจเหมือนๆจะเห็นแบบอรหันต์ ก็มันเห็นแบบเดียวกัน แต่ผลนั้นคนละเรื่อง
    ให้แยกไว้พิจารณาทีหลังว่าทำไม(จริงๆมันก็เรื่อง วาสนา บารมี)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤษภาคม 2009
  7. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ดีแล้วครับ ที่พูดตามฐานะ ผมจึงอยากจะขอให้คุณ ยกหลักการของคุณเอาให้ชัด
    ไม่ใช่บอกว่า วิธีการของเราไม่ได้บอกให้เลิกทำสมถะ แต่ว่าคำสอนของคุณบอกว่า อย่าไปเพียร ไม่ต้องทำอะไรให้ดูเฉยๆและหลายๆ อย่างที่ผมไม่อยากจะยกขึ้นมากล่าวอีก

    ซึ่งทุกครั้งที่ คุณยกเหตุผลมาพูด แทนที่จะชี้แจงข้อสงสัย และ เคลือบแคลงที่เพื่อนๆ มี คุณกลับ สร้างประเด็นใหม่ๆ ด้วยคำพูดที่ผิดพลาดไปเรื่อยๆ ทุกครั้ง
    คุณนิวรณ์ ผมถามว่า หลักการที่คุณใช้อยู่ มีใจความสำคัญว่าอย่างไร

    คุณ ต้องจับประเด็นให้มั่น กว่านี้ ว่าเรากำลังถกกันเรื่องอะไร และ อะไรจะนำไปสู่คำตอบของปัญหาครั้งนี้ได้
     
  8. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ปัญหาอีกปัญหา คือ การไปมองว่า คนนั้นคนนี้ไม่รู้ นั่นเป็นเรื่องของการส่งจิตใจออกนอก ของคุณเอง

    คุณควรจะมองไปที่ธรรม ตรงๆ แล้วถามตัวเองว่า ข้อนี้จริงไหม ข้อที่ว่านั้นจริงไหม
    แล้ว ทำไม ใจของคุณยังวิ่งไปที่เหตุผลอื่น โดยไม่ยอมรับกับข้อธรรมอันนั้น
    นั่น แหละ ตัวกิเลส

    ในชีวิตของคน เมื่อไรที่เจอธรรม คือ ความจริง มีบ้างไหมที่มันจะยอมรับกับธรรมนั้นตรงๆ และ ทำใจให้รู้สึกคล้อยไปกับธรรมนั้นได้
    แต่เราไม่มี ฟังแล้วผ่านเลย การถกครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน มันวิ่งห่างออกจากธรรม เพราะไม่ยอมรับ มันหนี มันไปทางอื่น

    นี่เป็นเครื่องแสดงว่า ใจของท่านที่มีนั้น เต็มไปด้วยกิเลสหรือธรรม
     
  9. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    อาจานนิฯครับ ผมต้องบอกก่อนว่า
    การตอบของผมไม่ถือว่าเป็นการสิ้นสุดนะครับ

    เนื่องจากท่านอาจารย์แต่ละท่านนั้น
    ท่านมีประสบการณ์แตกต่างกันออกไป

    บางท่านที่เอาสวรรค์นิพพานมาล่อ
    ก็เพราะว่าท่านพิจารณาแล้วว่า คนในปัจจุบันขาดกำลังใจ
    ให้ลงมือปฏิบัติอานาปานสติแล้ว ก็ยังขาดความเพียรเพ่ง

    ท่านพระอาจารย์บางท่านยังเคยถึงกลับปรารภเลยว่า
    อบรมสั่งสอนศิษย์มาตั้งแต่บวชจนกระทั่งล่วงเลยมาจนใกล้ละสังขาร
    ยังไม่พบคนที่ปฏิบัติอานาปานสติจนจิตเป็นสมาธิเข้าสู้ฌาน๔ไ
    ด้อย่างคล่องแคล่วเลย

    ฉะนั้นผมถึงได้เพียรพยายามชี้ให้เห็นว่า
    ครูบาอาจารย์แต่เก่าก่อนในสายปฏฺบัตินั้น
    ท่านทั้งหลายเหล่านั้นล้วนต้องผ่านแนวทางนี้ทั้งนั้น

    แม้กระทั่งของหลวงปู่ดลูย์เอง ท่านก็บอกชัดเจนอยู่แล้วว่า
    ต้องเข้าฝึกฝนอบรมจิตจนกระทั่งเข้าสู่สภาวะจิตภาวนาพุทโธเอง
    ก็แสดงว่าจิตรู้ตัวตลอดเวลา ไม่ฟุ้งซ่านวุ่นวายส่งออก

    ส่วนเรื่องการเข้า-ออกฌานโน้นสู่ฌานนี้ เอาไว้เรียนกันดีกว่า
    อันนี้ผมไม่มีข้อคิดเห็น โดยส่วนตนเองแล้วเอาตามมหาสติปัฏฐาน๔ครับ

    เริ่มไล่เรียงตั้งแต่ต้นบทแล้วเดินตามโดยเทียบเคียงกับผลการปฏิบัติครับ
    ทางนี้ทางเดียว(ทางเดียวขอย้ำ)เท่านั้น ทางอื่นนอกไม่มีอีกแล้ว
    ให้หาที่สงบสงัดโน้นราวป่า ที่ว่างจากเรือน นั่งคู้บรรลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติ
    หายใจเข้าก็รู้ ออกก็รู้ สั้นก็รู้ ยาวก็รู้ แสดงว่าอานาปนาสตินั้นสำคัญมากครับ

    มีพุทธพจน์รองรับ(ไม่ใช่รับรอง)ว่า
    อานาปานสติ ถ้าทำให้เกิดขึ้น ทำให้บ่อยๆแล้ว ย่อมได้ชื่อว่า
    ทำสติปัฏฐานสี่ให้สมบูรณ์ เป็นพุทธพจน์เน้นย้ำเรื่องอานาปานสตินะครับ

    ผมขอข้ามไปเรื่องฌาน จะเห็นว่าฌาน๔ในมหาสติปัฏฐานสูตรนั้น
    บอกไว้ชัดเจนในฌานที่๔ว่า ปล่อยวางอารมณ์สุข ทุกข์จิตสงบ
    พ้นจากการถูกอารมณ์ปรุงแต่งใดๆ สติบริสุทธิ์กุมเฉยอยู่(ในฌาน๔เท่านั้นจึงจะเฉยจริงๆได้ครับ)

    ปล.เป็นความคิดเห็นส่วนตนเท่านั้น ไม่ถือว่าเป็นข้อสิ้นสุด

    ;aa24
     
  10. เกสท์

    เกสท์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    765
    ค่าพลัง:
    +18
    ผมไม่เชื่อหรอก

    ก็คนตาบอด
    มาบอกผมว่า
    กรุงเทพ เมือง อมร
    มีลักษณะความสวยงามอย่างนั้น อย่างนี้
    สีสรรค์งดงามอย่างนั้น อย่างนี้

    แล้วจะให้ผมเชื่อคนตาบอดเหรอ
    ก็ผมมองเห็นว่า ตาของเค้าบอด
    ผมจะเชื่อได้ยังไง
     
  11. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ดีครับพี่ภูติ ที่กลับมาคุยด้วยเหตุด้วยผล เรื่องการปรินิพพานนั้นจะต้องเข้าฌาณ
    เพื่อหาทางเข้าพระนิพพานอีกหรือเปล่า อันนั้นก็ตะไว้ก่อน ไม่ได้มีการฟันธงอะไร ใครทำใคร
    ถึงคนนั้นย่อมรู้ เมื่อรู้ หากไม่ประมาทก็ย่อมชัดไปตามเหตุและผล

    * * *

    กลับมาเรื่อง อานาปานสติ ที่พี่ภูติถาม ก็คงไม่ลืมนะครับว่า ผมเองก็ทำอยู่

    ในกรณีการทำ อานาปานสติ ให้ถึง ฌาณ 4 นั้น ผมขอถามพี่ภูติหน่อยว่า
    ในบทของมหาสติปัฏฐานสูตรระบุว่า เมื่อจิตเกิดโทษะให้รู้ เมื่อจิตเกิดโลภะ
    ให้รู้ ฯลฯ นั้นกระทำที่ ฌาณ4 หรือ ว่า ฌาณ2

    หากเป็นการระลึกรู้ โทษะ โมหะ โลภะ ที่ฌาณ2 แล้วทำไมไม่ทำใน ฌาณ4

    อันนี้ให้พี่ภูติตอบออกมาก่อน แน่นอนหละมัน basic แต่เราต้องค่อยๆคุย


    * * **

    อะไรคุณ เกสท มีใครที่ไหนพูดเพื่อให้เชื่อ เขาพูดเพื่อให้เกิดกังขา พอกังขาแล้วก็
    ลองไปค้นคว้าด้วยการปฏิบัติของตน ใช่ไม่ใช่ก็ว่ากันไปตามภูมิปัญญาที่ปฏิบัติจน
    เห็น อย่าตกอกตกใจเกินไป
     
  12. เกสท์

    เกสท์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    765
    ค่าพลัง:
    +18
    ก็มีแต่สำนักนี้นี่ล่ะที่ชักจูงคนให้หลงทาง
    มีที่ไหนพูดให้คนกังขา นำพาให้คนงง

    เอ้าดูนี่นะ
    อานิสงส์ของการฟังธรรม
    <meta http-equiv="Content-Type" content="text/html; charset=utf-8"><meta name="ProgId" content="Word.Document"><meta name="Generator" content="Microsoft Word 11"><meta name="Originator" content="Microsoft Word 11"><link rel="File-List" href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5CADMINI%7E1%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtml1%5C01%5Cclip_filelist.xml"><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> <w:UseFELayout/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><style> <!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:Batang; panose-1:2 3 6 0 0 1 1 1 1 1; mso-font-alt:바탕; mso-font-charset:129; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:-1342176593 1775729915 48 0 524447 0;} @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} @font-face {font-family:"\@Batang"; panose-1:2 3 6 0 0 1 1 1 1 1; mso-font-charset:129; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:-1342176593 1775729915 48 0 524447 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:Batang; mso-bidi-font-family:"Angsana New";} @page Section1 {size:595.3pt 841.9pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:35.4pt; mso-footer-margin:35.4pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} /* List Definitions */ @list l0 {mso-list-id:930506049; mso-list-type:hybrid; mso-list-template-ids:1006408352 -1414766176 67698713 67698715 67698703 67698713 67698715 67698703 67698713 67698715;} @list l0:level1 {mso-level-tab-stop:36.0pt; mso-level-number-position:left; text-indent:-18.0pt; mso-ansi-font-size:14.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Angsana New"; mso-ansi-font-weight:bold;} ol {margin-bottom:0cm;} ul {margin-bottom:0cm;} --> </style><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->
    • [FONT=&quot]ได้ฟังเรื่องที่ยังไม่เคยฟัง[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    • [FONT=&quot]ทำให้เรื่องที่เคยฟังแล้ว ชัดเจนยิ่งขึ้น[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    • [FONT=&quot]ทำให้หมดความสงสัย[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    • [FONT=&quot]ทำความเห็นให้ถูกต้อง[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]
    • [FONT=&quot]จิตผู้ฟังย่อมผ่องใส[/FONT][FONT=&quot]<o:p></o:p>[/FONT]

    แล้วนี่ก็ กถาวัตถุ
    ถ้อยคำที่ควรพูด, เรื่องที่ควรนำมาสนทนากันในหมู่ภิกษุ มี ๑๐ อย่างคือ

    ๑. อัปปิจฉกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความปรารถนาน้อย
    ๒. สันตุฏฐิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสันโดษ
    ๓. ปวิเวกกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสงัดกายสงัดใจ
    ๔. อสังสัคคกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่
    ๕. วิริยารัมภกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ปรารภความเพียร
    ๖. สีลกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล
    ๗. สมาธิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำจิตมั่น
    ๘. ปัญญากถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา
    ๙. วิมุตติกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลสและความทุกข์
    ๑๐. วิมุตติญาณทัสสนกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดความรู้ความเห็นในภาวะที่หลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์


    ที่ผมยกมา
    เหมือนอย่างที่พวกคุณพูด พวกคุณสอนมั้ย

    มีอย่างเหรอ สอนให้คนงง
    นี่มันวิธีการสอนของเทวทัต แบบพวกคุณนี่
     
  13. dokai

    dokai Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2009
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +71
    ผมว่าคุณ เอกวีร์ คงจะสับสนเรื่อง ฌาณ และ เรื่อง สัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาฯ มันเลย ฌาณ 8 ไปแล้ว มันไม่ได้เป็นอย่าง ที่คุณบอกเลย ฌาน 4 คือ จตุถฌาณแค่นั้นเอง และ ผมก็ไม่เคยเห็น ที่ไหนเค้ามาอธิบาย ที่คุณ เอกวีร์กล่าวเอาไว้ ไม่เคยเจอ ส่วนในของอภิธรรม เค้าแยก รูปฌาณ ออก เป็น 5 ก็ เพราะ เค้าแบ่ง เอา เอกคัตตา อุเบกขา แยกส่วนต่างหาก เป็นเพียงการแบ่งออก เป็นเพียงพยัชนะ ส่วนจริง แล้ว 4 กับ 5 ก็นับเนื่องเป็นอันเดียวกัน ได้ อีกอย่าง ก็ไม่เคยเจออีกนั้นแหละ ว่า ที่บอกว่า 4,5,6,7,8,9, คือ ฌาณ 5 ทั้งหนมด

    ไม่รู้ว่าเป็นการยกขึ้นมา ให้สับสน หรือ สับสนเองจริง ๆ

    ส่วนเรื่องว่ามี ระหว่าง ฌาณ 4 กับ ฌาณ 5 มันเกินวิสัยเกินไปหน่อยกะมังที่จะกล่าวกัน

    กลับมาตรงที่ว่า ดู เหมือน ต้องไล่ ระดับ อะไรที่คุณเอกวีร์ ว่า ไว้ แท้จริงมันไม่ได้ เป็นการ ต้องไล่ระดับ จาก 1 2 3 4 เพราะสภาวะ สภาพ มันเป็นไป ละไป โดยลำดับเอง มิได้ จงใจจะต้องไปไล่ เหมือนขับรถไป คุณก็ไม่จำเป็นต้องไปไล่ ดู หลักกิโล เพราะยังไงรถคุณก็เคลื่อนขับไปอยู่แล้ว แต่หากต้องการจะรู้ ก็ดูก็ได้ มันเป็นเพียง ป้ายบอกระยะ จะรู้ จะดู ก็ได้ ไม่ได้ ว่าต้องไล่

    เพราะมันละไป พ้นไปตามลำดับ ของความละเอียด กิเลสหยาบ ก็พ้นไปในระดับสภาวะต้น ๆ ส่วน ที่ ละเอียดปราณีตของพ้นไปในชั้นที่ลึกลงไป

    แล้วไอ้ที่ ดู ๆ กันแล้วบอกว่า แค่ ขณิกสมาธิ ก็พอนั้น คิดหรือว่า ในชั้นละเอียด ละได้ รู้ได้ ทัน นี่แหละ คือ ปัญหา

    แท้จริง การข้ามฌาณไปในแต่ละขั่น นั้น คือ วิมุต พ้นไป ละ ออกในแต่ละส่วนแต่ละระดับ มันเป็นไปเอง มันไม่มีความจำเป็นต้องจำเพราะเจาะจงว่าต้องหยุดตรงไหน จะหยุดแค่ไหน จะไปตรงไหน มันขึ้นอยู่ กับ ปัญญา และ ภูมิว่ามีปัญญาทำได้แค่ไหนต่างหากครับ เมื่อเข้าถึง ฌาณ 4 โดยบริบรูณ์ สภาพก็เป็น อุเบกขา เอกคัตตา จิต ประกอบไปด้วย สติบริบรูณ์ บริสุทธิ์ แล้ว
     
  14. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    คุณวิษณุ...

    ตามภาษาคนรู้น้อย ถ้อยศึกษา
    ไม่ได้เรียนบาลีค่ะ แค่ครูอาจารย์สอนหลักๆให้เท่านั้นค่ะ

    คัมภีร์ที่คุณจะหา search ใน google ก็มีนี่คะ
    ไม่ทราบน่าสนใจตรงไหนคะ จะได้ตามไปอ่านดู ขอบคุณค่ะ

    (smile)
     
  15. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    คุณ dokai จริงๆ ผมก็มีที่มาของข้อความเหล่านั้นนะ

    แต่ผมต้องการเสวนาเฉพาะกลุ่ม ว่ากันซื่อคือ เฉพาะ คุณธรรมภูติ กับ คุณธรรมสวนัง

    ทั้งสองท่านจะรู้ดีว่า ผมกำลังอ้างอิงจากคำพูดของใครมา

    และเขาก็แสดงความไม่ชอบใจแล้ว โดยกล่าวมาว่า มันเป็นเรื่องพูดให้สับสนกันเปล่าๆ

    แต่ถ้าเขากลับไปอ่านในแหล่งที่มาของคำเหล่านั้น ก็ไม่แน่ว่า ที่ว่าเขายึดถือนั้นมันจะ
    ปรากฏเป็นอีกแบบอยู่

    เพราะการปฏิบัติที่คุณธรรมภูติเขาแสดงออกมาเป็นคำอธิบาย มันมีความเข้าใจบาง
    ตัวที่จะทำการเห็นแย้งกับแหล่งที่มานั้น

    เมื่อมีการเห็นแย้ง โดยที่ผมเองก็ไล่ลำดับความเป็นเหตุเป็นผลให้เขาได้พูดออกมา
    เองในเหตุในผล แต่พอเอาเหตุผลที่เขาสรุปออกมาไปอ่านเทียบกับปริยัติฝ่ายเขา

    เขาก็จะ งง เอง ...ซึ่งผมไม่ได้ต้องการให้เขา งง เพราะการยึดปริยัติ แต่ผมต้อง
    การให้เขา งง ในผลการปฏิบัติ ตกลงที่ทำมานั้น มันตรงดีอยู่หรือ

    ซึ่งผมก็ไม่ได้เจตนาจะคาดคั้นอะไร ก็แค่อยากรู้ว่า ปริยัติที่เขาถือปฏิบัตินั้น บาง
    อย่างผมอ่านแล้วไม่เข้าใจ ก็ต้องอาศัยศิษย์ที่เขาปฏิบัตินั้นแหละ สำแดงความรู้
    ออกมาเป็นภาษาพูดให้ดู

    ก็ไม่มีอะไร มากไปกว่านั้น

    ก็เหมือนอย่างที่ทางปริยัติฝ่ายเขาสรุปเอาไว้

    ความสับสนนั้นมันเกิดที่ตัวบุคคล เกิดที่ตัวคนปฏิบัติ ไม่ใช่เกิดเพราะ
    ใครมาพูดให้สับสน มันไม่เกี่ยวกัน

    ถ้าพี่ภูติเขากลัวสับสน ก็ไม่ต้องมาเสวนาธรรม แต่นี่พี่ภูติเขาไม่เคยสับสน
    การลำดับความก็ยังดีอยู่ ไม่ถามอะไรซ้ำซ้อน มันก็คุยได้อรรถรส

    ส่วนใครจะ งง แล้วปล่อยคำต่อว่าออกมา ก็ว่ากันไป

    * * * *
     
  16. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    อาจานนิฯครับ คุณบอกว่าคุณทำอยู่ คุณบอกผมหน่อยครับว่า
    คุณเห็นไตรลักษณ์ในส่วนไหนบ้างครับ เพราะคุณเคยคุยว่า
    ฝึกมาตั้งแต่อายุ๑๒ปี ผมจำได้ว่าเคยถามไปว่า
    แล้วฐานที่ตั้งของสติของคุณอยู่ไหน ยังไม่เคยได้คำตอบ

    ขณะที่พิมพ์อยู่นี้ ผมกำลังฟังเสียงท่านอาจารย์อยู่ ยิ่งฟังยิ่งสับสน
    แรกๆก็ให้ดูจิตไปเรื่อย อย่าไปแทรกแซง เค้าคิดปล่อยเค้าคิดไป
    จิตเค้าถึงเวลาจิตก็สลัดของเค้าเอง พูดเป็นเด็กเล่นขายของวกไปเวียนมา
    เดี๋ยวมีเดี๋ยวไม่มี เดี๋ยวห้ามเดี๋ยวปล่อย เดี๋ยวมีการสลัดของจิต
    แต่แปลกแฮ่ะผู้สลัดกลับไม่มี เค้าเอาอะไรของเค้ามาสลัดของนะ

    พูดขัดแย้งกับพุทธพจน์เกือบทั้งหมดเนื่องจาก ท่านเน้นแต่อภิธรรม
    มีแต่สภาวะ แต่ไม่มีจริง คุณมีโอกาสช่วยถามทีสิครับว่า
    มีแต่การปล้น ผู้ปล้นไม่มี ไหนทำให้ดูหน่อยสิ???

    เอาล่ะเข้าเรื่องดีกว่า ผมว่าแล้ว คุณเองปฏิบัติไปไม่ถึงไหน
    ถึงได้มีคำถามที่ผู้ฝึกใหม่เท่านั้นที่ถาม
    แต่คุณก็พยายามบอกว่า "เมื่อจิตเกิดโทษะให้รู้"
    เช่นจิตมีราคะเกิดขึ้นที่จิตก็รู้ชัดว่าจิตมีราคะ ราคะดับไม่จากจิตก็รู้ชัดฯลฯ
    คุณกลับไปอ่านในมหาสติปัฏฐานสูตรดูเองก็ได้ครับว่า
    เพียงแค่ในองค์ฌานที่๑นั้น ต้องสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย

    คุณจะพูดถึงฌาน๔ และฌาน๒เพื่ออะไรมิทราบครับ

    ปล. ผมจะฝากคำถามไปถามท่านอาจารย์ใครพอช่วยอนุเคราะห์ได้บ้างครับ
    ถือว่าเป็นการสร้างกุศลให้แก่ศาสนาก็แล้วกัน เมื่อตะกี้ที่ฟัง คำถามบานเลยครับ

    ;aa24
     
  17. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    อาจานนิฯ ผมว่าคุณกำลังสับสนและมั่วเอง
    ตรงไหนที่ผมกล่าวขัดแย้งกับปริยัติ
    ยกมาสิครับ อย่ากล่าวร้ายคนลอยๆโดยไม่มีหลักฐานครับ
    ซึ่งเป็นสันดานที่คุณชอบทำเป็นประจำอยู่แล้ว

    ถามหาหลักฐานไม่เคยได้

    ส่วนของคุณจะเอาหลักฐานมั๊ย ที่พูดขัดกันเองเป็นประจำ


    ;aa24
     
  18. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ล้อเล่นน่า คุณเอกวีร์
    พระพุทธองค์ทรงบรรลุพระนิพพานตั้งแต่วันตรัสรู้แล้ว
    ยังจะมาถามว่า ตอนนั้นไม่ปรากฏนิพพานเหรอ

    คุณคิดว่า นิพพาน ตั้งอยู่ที่ไหน? นิพพานเป็นคุณลักษณะของอะไร ?

    แล้วคุณคิดว่า สุญญตวิหารธรรม เป็นสภาวะแบบไหนเนี่ย
    ถึงถามคำถามมาแบบนี้?


    อย่าตอบแบบ ไปไหนมา สามวาสองศอก ล่ะ

    ;aa24
     
  19. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    อ๋อ..เคยได้ยินครูบอกไว้ ว่า คัมภีร์พระไตรปิฏกได้มาจากคัมภีร์นั้นอีกที .....เห็น ท่านธรรมะสวนัง ชำนาญในการยกพระไตรปิฏกมา เลยถามดูนะครับเผื่อจะรู้บ้างอยากลองไปอ่านดู หายากจัง
     
  20. visutto

    visutto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,541
    ค่าพลัง:
    +1,167
    อนุโมทนา สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...