ไม่ใช่นะครับที่มักกล่าวว่า “สมถะเหมือนการหลบภัย วิปัสสนาเหมือนการผจญภัย”

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 26 พฤษภาคม 2009.

  1. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    ใช่แล้วครับ ท่านขวัญ เห็นจิตเพียงแค่เริ่ม แต่ถ้าเห็นจิตที่แท้จริงแล้วอีกอย่างนึง..คิดว่างั้นนะ
     
  2. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    จ้า ก็ขอบคุณที่แนะนำจ้า
    ที่ถามเพราะไม่รู้วิธีจริงๆจ้า เลยได้เรียนรู้แล้ว จ้า


    (smile)
     
  3. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ตามภาษาคนรู้น้อย ถ้อยศึกษา 55+ขออภัย
    ...งานเข้าจากคุณวิษณุ...สักหน่อยละกัน พอหอมปากหอมคอ...

    ยิ่งคิดยิ่งทุกข์ ยิ่งทุกข์ยิ่งคิด ผิดตรงไหน ตรงที่วุ่นวายทั้งวัน นะเอย...
    ผิดเพราะสะดุ้งน่ะล่ะ

    ปุถุชน ย่อมถึงความสะดุ้ง ในฐานะอันไม่ควรสะดุ้ง
    พระอริยสาวก ย่อมไม่ถึงความสะดุ้ง ในฐานะอันไม่ควรสะดุ้ง

    (smile)
     
  4. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    การดูจิต อย่างที่น้องเล่ามา
    เป็นการตามดูอาการของจิต โดยที่เรายังไม่รู้จักจิตที่แท้จริง
    .... มีใครไหมที่อยากเห็นหัวมันสำปะหลังโดยที่ไม่ต้องไปขุดเอาหัวมันสำปะหลังโดย ไม่ต้องผ่านดิน ผ่านการดึงที่ลำต้น อยู่ๆไปหยิบหัวมันสำปะหลังได้เลยโดยมือไม่เปื้อนดินไม่แตะลำต้น ....หากเห็นหัวมันสำปะหลังดีแล้ว ก็ไม่ต้องผ่านดินผ่านลำต้นแล้วซิ....ในเมื่อรู้จักจิตที่แท้จริงแล้ว จะไปดูจิตทำไมล่ะก็ในเมื่อรู้แล้วอย่างนั้น
    เพราะจิตเราชอบแส่ส่ายไปตามอารมณ์
    ถ้ายังไม่สามารถทำจิตให้ตั้งมั่นชอบได้
    (จิตตั้งมั่นโดยลำพังตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาอารมณ์)

    สิ่งที่จิตดูก็คือตามดูอาการหวั่นไหวของจิตและไหลไปตามอารมณ์นั้นๆ
    หรืออารมณ์อื่นใดที่คิดว่าดีกว่า ชอบกว่า ถูกต้องกว่า สุดแท้แต่ความคิดแต่ละคน

    ในเมื่อรู้จักจิตที่แท้จริงแล้ว จะไปดูจิตทำไมล่ะก็ในเมื่อรู้แล้วอย่างนั้น
    รู้เพื่อเป็นคู่เทียบในทางตรงกันข้ามไง
    ว่าอ้อ ถ้าปฏิบัติฯ จิตตั้งมั่นชอบเป็นอย่างนี้...
    ปกติ จิตไม่ตั้งมั่นชอบเป็นอย่างนี้...ชอบไปอยู่กับอารมณ์ กระสับกระส่ายไปตามอารมณ์

    ไม่ใช่พอตั้งมั่นชอบครั้งนึงแล้วจะจบกิจซะเมื่อไหร่
    ยังต้องเพียรทำไปอีกนานล่ะ เพราะกิเลสที่หมักหมมในกมลสันดานมันเยอะเหลือเกิน

    การดูจิตที่ว่า จึงเปรียบเสมือนการเปลี่ยนจากอารมณ์นึงไปสู่อีกอารมณ์นึง
    .... ที่เปลี่ยนจากอารมณ์หนึ่งไปสู่อีกอารมณ์หนึ่งก็เป็นธรรมชาติของมันอยู่แล้ว แต่การดูจิตคือการไปเห็นจิตมันเปลี่ยน และเห็นว่าทำไมมันจึงเปลี่ยน และทำไมมันจึงไหลไปตามอารมณ์ จนมันเห็นถึงความจริง

    การไปเห็นจิตมันเปลี่ยน...ฯลฯ...

    ใครเห็นล่ะ? ถ้าจิต(ที่ไม่เที่ยง)เห็นจิต(ที่ไม่เที่ยง)เปลี่ยน
    เห็นที่ว่านี้จะเที่ยงรึ ...โปรดพิจารณา

    (smile)
     
  5. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ข้อดีคือ เราจะรู้อารมณ์ได้เร็วขึ้น แต่เราจะละไม่เป็น
    ....ที่ละไม่เป็นเพราะสติมันไม่ได้เป็นเอง การตามรู้จนจำสภาวะไม่ได้นั้นมันจะไม่ขาดสะบั้น
    ถึงตามรู้รูปนามเกิดดับๆๆๆๆ จนจำสภาวะได้ มันก็ขาดสะบั้นไม่ได้อยู่ดี
    ถ้าจิตไม่ตั้งมั่นชอบ จะเอาพลังที่ไหนมา

    จิต(ที่ไม่เที่ยง) ตามรู้รูปนาม(ที่ไม่เที่ยง)
    ของไม่เที่ยงดูของไม่เที่ยง จะเที่ยงได้อย่างไร? ...โปรดพิจารณา


    เราก็จะใช้วิธีกดข่มอารมณ์ เพราะเราเรียนรู้มาว่าอารมณ์นั้นๆเป็นสิ่งที่ไม่ดี
    ...ผิดแล้วครับ แม้สิ่งที่ดีและไม่ดีก็ตามรู้ ไม่ใช่เลือกแต่สิ่งที่พอใจเป็นหลักแต่หลีกหนีสิ่งที่ไม่ชอบใจ

    ตามรู้ที่ว่านี่ สิ่งที่ดีหรือไม่ดีก็คือตามอารมณ์นั่นเอง
    จะเกิดประโยชน์อะไร ในเมื่ออารมณ์เกิดดับๆๆๆไม่เที่ยง

    แล้วการตามรู้สิ่งที่ไม่เที่ยง ใครคือผู้ตามรู้คะ ใครทีว่านี้เที่ยงมั๊ยคะ?


    เราก็จะเปลี่ยนไปหาอารมณ์ที่ดีกว่า แล้วมันก็จะวนเวียนกลับมาสู่อารมณ์เดิมอีก
    .... การรู้สึกตัวในแต่ละครั้งหลังจากที่จดจำสภาวะจากการอบรมดีแล้ว ย่อมตั้งอยู่เหนือดีเหนือชั่ว เมื่อรู้สึกตัว ทุกคนย่อมเลือกสิ่งที่ดีเป็นพื้นฐาน

    นั่นก็คือ ใช้ความรู้สึกตัวของตัวเองที่ไม่มีพื้นฐานจากการปฏิบัติฯ มาเลือก
    ๑๐๐ คนก็เลือก ๑๐๐ แบบ เพราะดีแต่ละคนไม่เหมือนกัน...

    (smile)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 พฤษภาคม 2009
  6. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    การปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน ๔ ก็เป็นการเปลี่ยนอารมณ์เหมือนกัน
    ....การปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน ๔ เป็นการตามรู้สภาวะตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนอารมณ์
    โดยหลักการในเมื่อยอมรับข้างบนว่า
    ที่เปลี่ยนจากอารมณ์หนึ่งไปสู่อีกอารมณ์หนึ่งก็เป็นธรรมชาติของมันอยู่แล้ว
    แสดงว่ายอมรับว่า ธรรมชาติจิตชอบคลุกคลีกับอารมณ์
    จะเปลี่ยนจากอารมณ์นึงไปอีกอารมณ์นึงตลอดวัน ตลอดคืน

    พระองค์จึงสอนให้เปลี่ยนอารมณ์จิตให้มาตั้งลงในสติปัฏฐานซะ
    อย่างที่บอก อารมณ์ในสติปัฏฐาน เป็นอารมณ์ที่ปราศจากกาม
    เป็นบาทฐานเพื่อการปล่อยวางอารมณ์อื่นๆที่จิตชอบคลุกคลี

    แต่เนื่องจากอารมณ์ในสติปัฏฐาน ๔ เป็นอารมณ์ที่ปราศจากกาม
    ดังนั้น เมื่อเราฝึกดึงจิตกลับเข้ามาตั้งในอารมณ์ในสติปัฏฐาน ๔ ได้บ่อยๆเนืองๆ
    เราก็จะสามารถละวางอารมณ์ที่มากระทบได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น ตามการฝึกฝนของเรา....

    ซึ่งบาทฐานแรกในการปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ คือ อานาปานสติ
    พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ตรัสรู้ด้วยอานาปานสติ
    หลวงปู่ หลวงพ่อ สายปฏิบัติทุกองค์ เคี่ยวกรำศิษย์ ก็อานาปานสติ
    ....ผมมีความเห็นว่า ก็อาจจะมีบางคนที่ไม่ตั้งฐานด้วยอานาปานะสติ อาจตั้งที่อื่นก็ได้ แต่โดยส่วนรวมผมก็เห็นว่า อานาเหมาะที่สุด

    ก็มีพุทธพจน์เห็นพี่ธรรมภูตยกมาบ่อยๆให้เทียบเคียง

    อานาปานสติบริบูรณ์ ทำให้สติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์
    สติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์ ทำให้โพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์
    โพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์ ทำให้จิตหลุดพ้นจากทุกข์

    เมื่อปฏิบัติอานาปานสติจนคล่อง จนชินแล้ว
    จากนั้นจะไปกรรมฐานองค์ไหนก็ไปได้.
    ..เมื่อได้ฐานแล้วจะเปลี่ยนฐานทำไม นอกจากจะฝึกฤทธิ์

    ก็มีอานาฯเป็นบาทฐานแล้ว ถึงค่อยไปดูจิตไง
    ฝึกฤทธิ์ก็ใช่ ก็มีอานาฯเป็นบาทฐานเหมือนกัน

    (smile)
     
  7. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    แต่ถ้าอานาฯยังไม่คล่อง ไม่ชิน การไปดูจิต ก็จะเป็นการตามดูอาการของจิต....
    ถูกต้องแล้วครับ การจะฝึกดูจิต ก็ต้องทำกรรมฐานอย่างใดอย่างนึงไว้เป็นฐาน
    อย่างที่บอกพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ อานาฯ
    กรรมฐานบทแรกที่ทรงแนะนำในมหาสติปัฏฐานสูตร ก็คือ อานาปานสติกรรมฐาน


    อย่างที่บอกข้างต้น เพราะเรายังไม่รู้จักจิตตามความเป็นจริง
    .....อย่างที่บอกไปการดูจิตเพื่อเห็นจิตตามความเป็นจริงที่แจ่มแจ้ง ในเมื่อรู้จิตตามความเป็นจริงทั้งๆที่ยังไม่ได้ดูจิต แล้วจะไปดูจิตทำไม
    ก็ต้องขออภัยถ้าจะถามคำถามเดิมว่า
    การดูจิตเพื่อเห็นจิตตามความเป็นจริงที่แจ่มแจ้ง
    ใครค่ะ เป็นผู้ดูจิต? เป็นผู้เห็นจิต

    ที่ต้องฝึกปฏิบัติอานาฯก่อน ก็เพื่อให้จิตเห็นตนเองอย่างแจ่มแจ้งไงคะ
    ว่า จิตเดิมประภัสสรผ่องใส แต่ที่เศร้าหมองเพราะมีอุปกิเลสเป็นแขกจร

    ส่วนที่จิตดูจิตในหมวดจิตตาฯนั้น
    ก็คือ ให้มีสติระลึกรู้ ก่อนที่จิตจะหวั่นไหวไปกับอารมณ์
    ถ้าเราฝึกมาดี ไหวเพียงนิดเดียวเราก็รู้

    ยังไม่รู้จักภาวะจิตสงบ เป็นยังไง เพื่อเปรียบเทียบกับภาวะจิตไม่สงบ
    ....จิตสงบเป็นสมถะ เป็นการรวมจิตเพื่อเป็นกำลัง ในการจะดูจิต จิตสงบ ก็เป็นขั้นไปแล้วแต่ความปราณีตในความสงบ

    ค่ะ จิตสงบเป็นสมถะ
    แต่ถ้าไม่มีวิปัสสนา(ปัญญา) จิตก็สงบไม่ได้นาน
    เพราะจิตไม่มีพลังปัญญาในการปล่อยวางอารมณ์ต่างๆที่เข้ามากระทบ
    อย่างที่พูดกันตอนต้นไงว่า
    ที่เปลี่ยนจากอารมณ์หนึ่งไปสู่อีกอารมณ์หนึ่งก็เป็นธรรมชาติของมันอยู่แล้ว
    ในเมื่อธรรมชาติจิตชอบแส่ออกไปหาอารมณ์

    ดังนั้นสมถะ และวิปัสสนาจึงเกื้อกูลกัน ทำให้จิตสงบระงับค่ะ

    (smile)
     
  8. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ค่ะ ก็เล่าสู่กันฟังนะคะ

    ดังนั้น อาจารย์ขันธ์ คุณวิสุทโธ พี่ธรรมภูต ซึ่งทุกท่านล้วนมีอานาฯเป็นบาทฐาน
    ทุกท่านเข้าใจดีว่า เราต้องเห็นจิตที่แท้จริงก่อน จึงจะดูจิต แล้วไม่กลายเป็นดูอาการของจิต
    จึงมาแสดง คคห ดังที่ได้ปรากฏอยู่

    ....ก็เล่าสู่กันฟัง หากเห็นจิตที่แท้จริงก่อนแล้ว ..แล้วจะไปดูจิตทำไม...ก็เมื่อเห็นจิตที่แท้จริงแล้ว
    การปฏิบัติอานาฯ เป็นพื้นฐาน เพื่อให้เห็นจิตที่แท้จริง คือ จิตเห็นตนเอง
    ไม่ใช่ทำปุ๊บเห็นได้ปั๊บเหมือนที่เราเขียนกันอยู่ที่นี่ซะเมื่อไหร่ล่ะ

    ก็ถือว่า มาคุยกัน พอหอมปากหอมคอนะคะ...

    อยากรู้มากกว่านี้
    อาจารย์ขันธ์ ตอบได้เพราะอาจารย์ขันธ์ปฏิบัติมาจริง
    ท่านวิสุทโธ ผ่านการเคี่ยวกรำจากครูอาจารย์สายปฏิบัติมา
    ท่านปฏิบัติจริงจัง ท่านก็ตอบได้
    พี่ธรรมภูต มีประสบการณ์ปฏิบัติแบบจริงๆจังๆสม่ำเสมอ มากว่า ๑๘ ปี
    ตอบได้แน่นอน

    ท่านเหล่านี้ตอบให้พวกคุณฟังมาก็มากแล้ว
    และก็เห็นว่าท่านเหล่านี้ ก็คงพร้อมที่จะตอบคำุถามต่อไป
    เพื่อสืบสานการปฏิบัติสัมมาสมาธิ ในพระศาสนาให้กว้างขวางออกไป

    ขออนุโมทนากับทุกท่านที่กล่าวนามมาค่ะ

    (smile)
     
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    สิ่งที่จิตดูก็คือตามดูอาการหวั่นไหวของจิตและไหลไปตามอารมณ์นั้นๆ
    หรืออารมณ์อื่นใดที่คิดว่าดีกว่า ชอบกว่า ถูกต้องกว่า สุดแท้แต่ความคิดแต่ละคน
    ++++++++++

    ขออนุญาติ แจงนิดหนึ่งนะคะ
    หัวใจของการดูจิต คือ ดูและรู้ อย่างที่เป็นอยู่ตามจริง ไม่ไหล ไม่ตาม ไม่เปลี่ยน ไม่หนี
    ไม่แทรกแซง พิจารณาตรงหน้าเห็นอย่างไร รู้อย่างนั้น ถ้าสมาธิน้อยๆ แบบเรา ก็เห็นแวบ
    เดียว ส่วนที่เหลือก็หลงไป แล้วก็รู้มาเห็นอีกแวบ แล้วก็หลงไป รู้เป็นระยะ ภาวนาเนืองๆ
    รู้ตัวเองเนืองๆ รู้สึกตัวเองเนืองๆ หลุดจากนี้ไปก็หลง ก็รู้ว่าหลง

    ถ้าจิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้เด่นดวง ขึ้นมาได้จริงๆ ก็คงไม่ได้รู้แวบๆ แบบเรา มันก็รู้นานขึ้น
    รู้ทุกข์ ได้นานขึ้น พิจารณาทุกข์ ได้นานขึ้น รู้ทุกข์ได้นาน ก็สะสมปัญญาการเห็น
    ทุกข์ การรู้ทุกข์ ได้มากกว่า ได้ชัดกว่า ก็จะตั้งมั่น ไม่ไหล ไม่เปลี่ยน ไม่หลง ได้นานกว่า
    ไม่ได้แปลว่า กระด้างต่อทุกข์ได้มากกว่า ไม่ใช่รู้ทุกข์จนด้านชา ถ้าเป็นปัญญารู้ทุกข์
    มันจะรู้แล้ววาง รู้แล้วตัด รู้แล้วไม่เอาไม่ถือไว้ ไม่ใช่ทนรู้ด้วยความบึกบึนทนทาน เพราะ
    เป็นการรู้ด้วยกำลังพร้อมปัญญา ไม่ใช่รู้ด้วยกำลังอย่างเดียว

    รู้ทุกข์ ไม่ใช่ทนทุกข์
    ฝึกรู้ทุกข์ด้วยความอดทน ไม่ใช่ฝึกอดทนต่อภาวะที่เป็นทุกข์ข้างเดียว
     
  10. visutto

    visutto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,541
    ค่าพลัง:
    +1,167
    อนุโมทนาสาธุ....
    สิ่งสำคัญที่สุดคือ การทำความเพียร เป็นสิ่งที่ครูบาอาจารย์ท่านสรรเสริญผู้ปฏิบัติ
    การจะพ้นไปได้หรือไม่ได้...อยู่ที่ ความเพียร เป็นสิ่งสำคัญ..ไม่ได้อยู่ที่ความเกียจคร้าน ขาดกำลังใจ ไม่ได้ส่งเสริมผู้ปฏิบัติ แต่อย่างใด...เปรียบเช่นสัตว์ที่เข้าโรงฆ่าสัตว์รอเพชฌฆาตให้ประหารชีวิต...เราเป็นมนุษย์สุดประเสริฐิ์มีโอกาสกว่าสัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีโอกาสแม้แต่จะร้องขอชีวิตต่อเพชฌฆาตไม่ให้ประหารชีวิต ทำไมเราจึงไม่สร้างโอกาสให้ตนเอง...ทั้งที่คำสอนของพระพุทธองค์ก็มีอยู่ ทั้งศีล สมาธิ
    ปัญญา ไม่เป็นลิขสิทธิ เป็นสิ่งต้องห้ามแต่อย่างใด คงยกเว้นแต่โฆฆะบุรุษ ผู้เป็นบัวใต้น้ำที่ไม่รู้คุณค่า..
     
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    แล้วการตามรู้สิ่งที่ไม่เที่ยง ใครคือผู้ตามรู้คะ ใครทีว่านี้เที่ยงมั๊ยคะ?

    ++++++++++

    รู้ไปเรื่อยๆ ว่า ไม่เที่ยงทั้งคู่
    ไม่ได้รู้ตลอดเวลา รู้เมื่อ มีสติ ขาดสติ ก็ไม่รู้

    ไม่ยึด ทั้ง คู่

    ที่เรารู้ มีสองส่วน คือ รู้ตัว กับ รู้สึกตัว

    เช่น รู้ตัวว่า ร้องไห้ แล้วก็ มีคนที่รู้สึกว่าเศร้าเสียใจร้องไห้จริงอยู่

    พอรู้แล้ว ภูมิธรรมมีอย่างไรมันก็ดำเนินไป บางทีก็ร้องต่อไป บางทีก็หยุดร้อง
    แล้วแต่ความรุนแรงของเหตุและอารมณ์ ที่มากระทบ

    ปัจจัยสำคัญ คือ รู้ตัวเอง ใจอยู่ที่ตัวเอง เห็นที่ตัวเอง มันสะสมความเห็นถูก เป็น ปัญญา
    รู้ความจริงที่เกิดขึ้น สภาวะจริงที่เกิดขึ้น แล้วเราเห็นตรงนั้น รู้สึกตรงสภาวะจริง คือ รู้โลก
    ของความเป็นจริง ด้วยจิตมีสติ
     
  12. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ตามภาษาคนรู้น้อย ถ้อยศึกษา 55+ขออภัย
    ...งานเข้าจากคุณวิษณุ...สักหน่อยละกัน พอหอมปากหอมคอ...
    ....มีงานก็ทำซิครับ ไม่ยากเลย


    ยิ่งคิดยิ่งทุกข์ ยิ่งทุกข์ยิ่งคิด ผิดตรงไหน ตรงที่วุ่นวายทั้งวัน นะเอย...
    ผิดเพราะสะดุ้งน่ะล่ะ
    ปุถุชน ย่อมถึงความสะดุ้ง ในฐานะอันไม่ควรสะดุ้ง
    พระอริยสาวก ย่อมไม่ถึงความสะดุ้ง ในฐานะอันไม่ควรสะดุ้ง

    ....ก้ถูกแล้วนี่ครับ ความคิดเห็นผม มีกิเลสตัณหาก็มีสะดุ้ง
     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ยังไม่รู้จักภาวะจิตสงบ เป็นยังไง เพื่อเปรียบเทียบกับภาวะจิตไม่สงบ
    ++++++++++


    คนที่มีศีลเป็นปกติ ย่อมรู้จักภาวะจิตสงบ และภาวะจิตไม่สงบ ได้เหมือนกันนะ
     
  14. แว๊ด

    แว๊ด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    982
    ค่าพลัง:
    +509
    สะดุ้งมาก สะดุ้งน้อย สะดุ้งพองาม ^^
     
  15. visutto

    visutto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,541
    ค่าพลัง:
    +1,167
    การดูจิต ไม่ใข่การรู้ความคิดเพียงอย่างเดียว หรือรู้อาการของจิตเพียงเท่านั้น
    เมื่อใดที่จิตปรุงแต่งความคิด เมื่อนั้นเป็นสมุหทัย เพราะทุกข์เกิดขึ้นเพราะความคิด จึงต้องอาศัยการหยุดคิด หยุดปรุงแต่ง เพราะสัญญาที่จิตรับรู้ข้ามาทางทวารทั้ง 6 จิตจึงปรุงแต่งสังขาร เกิดเวทนา เป็นอุปทานขันธุ์ การหยุดคิด หยุดปรุงแต่ง เป็นการทำให้จิตพักจากกิเลสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ชั่วคราว สภาวะนี้จิตไม่ถูกพันธนาการจากกิเลสที่เป็นเครื่องร้อยรัดจิตใจ เมื่อผู้ปฏิบัติได้รู้ได้เห็นจิตที่ไม่มีกิเลสมารบกวนจิตใจ ถึงจะเป็นสภาวะชั่วคราว แต่ก็ได้รู้ได้เห็นการเกิด-การดับของสภาวะของจิตและขันธุ์ขณะนั้น ซึ่งจะลึกซึ้งละเอียดแยบแคบแค่ไหนก็ขึ้นอยู่การฝึกตนมาดีของผู้นั้น ...ทีนี้กำลังใจผู้ปฏิบัติจะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องมีผู้ใดมากระตุ้น เพราะรู้เองเห็นเอง เป็นอกาลิโก..นี่แหละ..ธรรมของพระพุทธเจ้า..
    ไม่ต้องโปรโมต...มีโปรโมชั่นแลกแจกแถม...อิ..อิ
     
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ถ้ายังไม่ได้อรหัตผล แล้วไม่สะดุ้ง ซักกะติ๊ด อันนี้สิ น่าห่วงกว่า

    ปุถุชนคนที่สะดุ้ง เป็นนิจ แสดงว่า มีความรู้สึกตัวเป็นนิจ รู้สึกตัวได้ไว สติเกิดไว

    ปุถุชนคนไม่เคยสะดุ้ง แปลว่า เป็นก้อนหินไปแล้ว หรือ คนหลับ คนไม่เคยสดับ

    กะอีกอย่างเป็นปุถุชน ผู้ไม่สนใจ ไม่รู้ ไม่เห็น สิ่งที่มากระทบ
     
  17. visutto

    visutto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,541
    ค่าพลัง:
    +1,167
    เอาสติและหิริ โอตัปปะ เป็นเครื่องวัดปัญญาที่เห็นความสะดุ้ง
     
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ถ้าเชื่อมั่นในปัญญา ก็ไม่มีอะไรต้องกังวล เดินหน้าสะดุ้งต่อทุกข์กันให้ รู้ๆ กันไป
    จับถ่านไฟร้อนๆ ก็ต้องสะดุ้ง ถึงจะได้ชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติธรรม มีสติ ภาวนาเนืองๆ
    ถ้าจับถ่านไฟร้อนๆ แล้วไม่ยังยิ้มไม่รู้ร้อนรู้หนาว ก็ต้องรู้ตัว ว่าไม่ยังไม่รู้รสของถ่านไฟร้อน
    ถ้ายังไม่รู้อีก ก็ต้องปลงว่า วิบากกรรมของเรายังไม่หมด ยังรู้ทุกข์ไม่เป็น
    ก็หมั่นทำความดี รักษาศีล ทำบุญ ทำทาน ลดทำกรรมไม่ดี ถือคติพรหมวิหารไป
    อย่างน้อยก็ได้เดินทางเจริญ หยุดความเสื่อม รอวันหมดวิบากกรรม ก็จะได้รู้เอง
    คติธรรม ของเรา (อาจไม่เหมือนคนอื่น)
     
  19. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    สะดุ้งไม่ได้เหรอ น่าจะสะดุ้งได้นะ ^-^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 พฤษภาคม 2009
  20. visutto

    visutto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,541
    ค่าพลัง:
    +1,167
    เปรียบเทียบได้ดี...เป็นคติครับพี่ขวัญ
    เหมือนตอนเกิดเด็กทารกกำมือ..
    ตอนตายคนคายแบมือ..
     

แชร์หน้านี้

Loading...