ไม่ใช่นะครับที่มักกล่าวว่า “สมถะเหมือนการหลบภัย วิปัสสนาเหมือนการผจญภัย”

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 26 พฤษภาคม 2009.

  1. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    จริงๆคำว่า สะดุ้ง ในพระไตรปิฏกให้ความหมายว่า ธรรมใดสะดุ้งธรรมนั้นชื่อว่าตัณหา แต่คนไทยภาษาไทย หมายเข้าใจว่าเหมือนความรู้สึก ตกใจ หรือ รู้ตัว



    ถ้ายังไม่ได้อรหัตผล แล้วไม่สะดุ้ง ซักกะติ๊ด อันนี้สิ น่าห่วงกว่า
    ....อันนี้ความหมายคำว่าสะดุ้ง เหมือนกับภาษาไทย

    ปุถุชนคนที่สะดุ้ง เป็นนิจ แสดงว่า มีความรู้สึกตัวเป็นนิจ รู้สึกตัวได้ไว สติเกิดไว
    ...อันนี้ถ้าหมายถึงความหมายในพระไตรปิฏก คือผู้มีตัณหาเป็นนิจ

    ปุถุชนคนไม่เคยสะดุ้ง แปลว่า เป็นก้อนหินไปแล้ว หรือ คนหลับ คนไม่เคยสดับ
    กะอีกอย่างเป็นปุถุชน ผู้ไม่สนใจ ไม่รู้ ไม่เห็น สิ่งที่มากระทบ[
    ... ถ้าหมายถึงความหมายในพระไตรปิฏก ย่อมหมายถึง ปุถุชนที่เป็นอริยะบุคคลแล้ว ไม่มีมาไม่มีไปอีกแล้ว
     
  2. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ถ้าคิดว่า ประโยคข้างบนนี้สมเหตุสมผล ผมจะขยายให้ฟัง

    ปัญญาอบรมสมาธิ ผลสุดท้ายที่ได้คือ "จิตสงบเป็นสมถะกรรมฐาน"

    ก็คือ เมื่อมาเจริญปัญญา(วิปัสสนา)ให้มากๆ ผลที่ได้คือ จิตจะจะเดินกรรมฐานได้เอง
    โดยจะเดิน สมถะก็ได้ หรือ มันจะไปเดินวิปัสสนา ก็ได้ โดยที่เราไม่เกี่ยวข้องกับการ
    กระทำกิจนั้นของจิตอีก (จิตตื่น)

    ครับแล้วจากนั้นก็.น้อมจิตไปพิจารณา "จิต" หรือ "กาย" เป็น "วิปัสสนากรรมฐาน" ตามจริตของตัวเองครับ

    เมื่อเห็น จิตตื่น จิตผู้รู้ เขาภาวนาเองได้แล้ว เรามีหน้าที่เพียงการทำเหตุใกล้ให้เกิดจิต
    ตื่น จิตผู้รู้ เนืองๆ โดยการน้อมเอาจิตที่ตื่นนั้นไปใช้ในการพิจารณาลงในกาย ในใจตน
    เท่านั้น อย่าส่งออกนอก อย่าเข้านิมิต หลวงปู่เทสก์ใช้คำตรงนี้ว่า(อย่าให้จิตรวม ให้
    อยู่ที่ใจ มีใจ-จิตตื่นเป็นหลัก)

    ก็คือการใช้สติไล่ต้อนไล่จับความคิดของเราที่ฟุ้งซ่านไร้ระเบียบให้
    รวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนและค่อยๆใช้สติไล่ตามกระแสความคิดอันนั้นไปจนกระทั่งสุดสาย
    แล้วความคิดชุดนั้นก็จะหายไป แต่ความคิดชุดใหม่ก็จะเข้ามาอีกต้องหมั่นมีสติคอยไล่ตาม
    ไปตลอดเวลาข้อสำคัญ

    ...ซึ่งก็คือการไล่ต้อนมุมมองการเห็น ให้เห็นกาย หรือ จิต นั้นล้วมมีความเป็น
    กลุ่มเป็นก้อนกันอยู่ เห็นกายก็เห็นจิต เห็นจิตก็คือเห็นกาย เมื่อเห็นได้อย่างนี้ก็
    รู้เท่าทันความเป็น ฆนสัญญา ของกายกับจิต แต่ละอันจะมีชุดความคิด ที่ไล่
    ดูไปเรื่อย เพราะการดูจะความคิดชุดใหม่เข้ามาอีก เราก็ดูอีก ดูที่ความคิดใหม่
    ที่มันผุดมาเสมอ อย่าจมกับความคิดเก่าที่พึ่งเห็นไป หลวงตามหาบัวใช้คำว่า
    การดูจิตไม่กยาอะไร ก็คือการรู้ลงเป็นปัจจุบัน และไม่ใช่การจงใจดับความคิด
    อะไร แต่อาศัยการดูความคิดที่มันกำลังฝุ้งซ่านนั่นแหละ เอามาเป็นเครื่องอาศัย
    ระลึกในการเจริญปัญญา สมาธิก็คือจิตที่ตั้งนั่นอยู่ที่รู้ปัจจุบัน แต่คนที่ยังไม่ได้
    ใช้ปัญญาอบรมสมาธิจะคิดว่า สมาธิคือการที่จิตไม่ตรึกไม่คิด ซึ่งคนละเรื่อง

    "ห้ามไปเพลิดเพลินพอใจกับความคิดนั้นๆเด็ดขาดเพราะจะ
    ทำให้สติของเราขาดหายแล้วจิตของเราก็ไปจับเข้ากับความคิดอันนั้นแล้วปรุงแต่ง
    อารมณ์ต่างๆให้ใจเราเป็นทุกข์"

    อันนี้ก็คือการย้ำอารมณ์ การรู้ลงปัจจุบันไว้ อะไรที่เห็นผ่านไปแล้ว ก็ให้สักแต่
    ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น แต่ไม่ใช่สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็นสภาวะคิดในปัจจุบัน ต้องรู้
    ปัจจุบันไว้ไม่คลาดเคลื่อน ไปในอดีต หรือแม้แต่อนาคต


    หมั่นทำเข้าบ่อยๆให้ต่อเนื่องเข้าไว้สุดท้ายจิตจะยุบตัวรวมลงเป็นสมาธิ (สมถะ) ถ้าเรามีวาสนา/จริตทาง "จิตตานุปัสสนา" เราจะเห็นความเกิดดับของจิตและอารมณ์ต่างๆที่เข้ามาจากภายนอกและเกิดขึ้นภายใน แต่ถ้าเรามีวาสนา/จริตทาง "กายานุปัสสนา" เราจะเห็นความความเกิดดับของการเราที่ประกอบด้วยอาการ 32 และธาตุ 4 หรือถ้าไม่เห็นอะไรเลยก็ใช้สติที่แจ่มชัดน้อมจิตเข้าไปพิจารณา "กาย, เวทนา, จิต หรือธรรม" ก็แล้วแต่ (ขึ้นกับว่าอะไรทำให้จิตของเราเกิดความสลดสังเวชได้มากที่สุด<!-- google_ad_section_end -->

    ตรงนี้ไม่มีอะไร ยังเป็นข้อสรุป แต่มีบางจุดที่ต้องขอชี้เพิ่ม....ตรงที่

    "กายานุปัสสนา" เราจะเห็นความความเกิดดับของการเราที่ประกอบด้วยอาการ 32
    และธาตุ 4

    ตรงนี้ไม่ใช่ การเห็นกายในแง่วิปัสสนาจะต้องรู้ลงมาที่จิต คือ เห็นกาย แล้วต้องไปเห็น
    จิต การเห็นการเกิดดับ ไม่ใช่เห็นกายเกิดดับ แต่เห็นจิตเกิดดับตามอยาตนะ ธาตุ6
    18ธาตุ คือ ไม่ว่าอะไร จะต้องรู้ลงไปที่จิต เห็นจิตมันเกิดดับทางทวาร ดังคำที่หลวง
    ปู่ดูลย์กล่าวไว้เป็นบทกลอน คือ ต้อง เห็น สภาะที่ จิตเห็นจิต เป็นมรรค และผลของจิต
    เห็นจิตเป็นนิโรธน เป็นปัญญาวิมุตติ

    การไปเห็นอาการ 32 หรือ ธาตุ4 นั้นเป็นเรื่องผลของสมถะกรรมฐาน ไม่ใช่วิปัสสนา
    กรรมฐาน ซึ่งจะเห็นธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งของเหล่านี้ส่วนใหญ่ให้ภาพของความที่ยง
    อยู่ มีผลทำให้สงบจากกาม ให้ผลทางเจโตวิมุตติ ซึ่งถ้าทำได้ยังต้องทำการระลึกย้อน
    ลงดูที่จิต ย้อนกลับมาเห็นที่จิต ถึงจะเกิดส่วนปัญญา

    * * * *

    การเห็นตรงที่อ้างอิงมานี้ ก็ยังไม่เรียกว่า เห็นจิตนะ ยังเห็นไม่ถึงจิต แต่เป็นจังหวะเริ่ม
    ตื่น เริ่มรู้จัก จิตตื่น แต่ถ้าไปคิดว่าการทำนั้นคือการ ดับความคิดให้ทันในปัจจุบัน อัน
    นั้นเรียกว่าเข้าใจผิดอย่างแรง โดนพวกติดสมถะที่เจริญปัญญาไม่เป็นหลอกเอา ซึ่งพวก
    ติดสมาธิ เอาสมาธิเป็นนิพพาน มักจะมีข้อสรุปไปในเรื่อง การหยุดคิด หยุดเวทนา ตรง
    นี้หากไม่สังเกตให้ดี ตรงการดูกระแสความคิดที่มันดับไป แล้วไปเข้าใจว่าเราต้องเข้า
    ไปดับจะทำผิดทันที ต้องปล่อยให้จิตที่มันภาวนาเป็นแล้วมันทำของมันเอง เราเพียง
    แต่ตามดูพฤตจิตนั้นอีกที ถึงจะเห็นว่า อะไรไปดับความคิด อะไรทำให้ความคิดเกิด
    ...อะไรเล่าไปดับความคิด ก็อัตกลิมัตถานุโยค แล้วอะไรหละที่ทำให้ความคิดใหม่เกิด
    ก็..กามสุขุลกลิมัตถานุโยค พอเห็นพฤติจิตมีพฤติกรรมเพียงแค่นี้ ก็จะรู้ว่า อะไรไม่ใช่
    ทางพ้นทุก เมื่อเห็นแล้วว่าเหล่านั้นไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ จะค่อยเกิดโยนิโสมนสิการ ความ
    แยบคายในการวิจัยแยกแยะเห็นสิ่งที่รอการเห็น ที่มันอยู่ตรงกลาง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 พฤษภาคม 2009
  3. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ในเมื่อ นิวรณ์ พูดแบบนี้ ก็ขอให้ตอบคำถามสิ่งที่ผมจะถามกลับไปดังนี้

    1 วิธีการของคุณ เข้าถึงยาก ขนาดนั้น จนถึงกับว่า ไม่มีใครเข้าใจ ทั้งผม ทั้งวิสุทโธ และ ธรรมภูต ไม่เข้าใจวิธีการของคุณ แล้วคุณคิดว่า คุณจะทำอย่างไรให้ คนทั่วไปเขาเข้าใจในวิธีการอันสุดแสนจะลึกซึ้งของคุณ

    2 ตามธรรมดา ธรรม ทั้งหลายจะต้องกินความที่สอดคล้องและไต่ระดับไป ดังพระศาสดากล่าวว่า มหาสมุทรไม่ได้ลึกทีเดียว แต่ หากคุณบอกว่า การดูจิตของคุณ เป็นวิธีการที่ถูกต้องก็จะต้องไต่ระดับไป จากตื้นไปสู่ลึกได้ แต่ในคำสอนหาได้มีไม่

    3 มันอาจจะเป็นไปได้ว่า อีกฝ่ายหนึ่งซึ่งก็คือ นายขันธ์ไม่เข้าใจในวิธี แต่มันก็มีมุมมองได้อีกอย่างหนึ่งคือ วิธีการของคุณผิดจริงๆ คุณเอาอะไรมาพิสูจน์ว่ามันถูก ในเมื่อมันขัดกับพุทธพจน์ และ คำสอนครูบาอาจารย์แทบทุกประเด็น ผมจึงถามว่า พยาน มีไหม
    หลักแหล่งอ้างอิงในพระไตรปิฎกมีไหม
     
  4. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ใกล้ละ เมื่อไหร่เห็นสภาวะ ผู้รู้ถูกปล่อย ก็จะรู้ว่า ไม่ต้องไปทำอะไร
    ไม่ต้องประคอง ไม่ต้องรักษา หากประคองรักษา ก็เป็นเพราะยังมี
    มานะสังโยชน์

    คราวนี้ มานะนี้เป็นสังโยชน์ ดังนั้น ที่ นานากล่าวว่า จนกว่า มานะ จะถูก
    ปลด อันนี้ก็เป็นเรื่องอนาคต หากสมมติว่าตอนนี้ยังไม่มีฐานะ การไปจับ
    หลักความคิดนี้จะกลายเป็น อุธัจจะนิวรณ์ ....ก็ต้องปล่อยเรื่องที่รู้ออกไป
    ก่อน

    ก็จะเป็น ปล่อยให้จิตมันรู้ของมันเอง ...ปล่อยรู้

    และเป็น จิตไม่รู้ไปวิจัยธรรมอะไรมาได้บ้างแล้วก็ต้องปล่อยไป อย่ายึดไว้
    ก็เรียก .....ปล่อยรู้ เหมือนกัน

    "ปล่อยรู้" จึงเป็นคำพระที่ ถ้วนในอรรถ และ พยัญชนะ
     
  5. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ที่คุณเห็นว่า ธรรมทีผมแสดงนั้น แสดงแล้วไม่เข้าใจ จริงๆ ก็ไม่ใช่พวกคุณไม่เข้าใจ

    แต่เป็นเพราะพวกคุณ ตรึกไปในอนาคตอันไกล เลยมองไม่เห็นว่า ธรรมะกำลังแสดง
    โดยลำดับ

    พอไปตรึกอนาคตอันไกล มันเลยเกิดภาพไม่เกิดผลตามอนาคตอันไหลนั้น เพราะเรา
    ทยอยพูดทีละลำดับไปเรื่อยๆ ยังไม่ถึงที่สุด แต่ก็ถูกติว่า "ไม่ถึง" เสียก่อน

    คำว่า ดูจิต นั้น คนที่กล่าวก็คือ หลวงปู่ดูลย์ พระสองท่านที่ได้รับคำว่า ดูจิต เป็นเครื่อง
    ระลึกในการเห็นธรรมอันเป็นที่สุด เท่าที่ทราบมีสองท่าน คือ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย และ
    ประอาจารย์ปราโมทย์ ทั้งสองท่านจึงปรึกษากันเป็นประจำ และหลวงพ่อพุธเ เป็นผู้
    สำเร็จธรรมก่อน และเป็นผู้ผูกคำพยากรณ์ว่า "ต่อไปในอนาคต การดูจิตจะเจริญอย่าง
    มาก จะมีฆารวาสสำเร็จโสดาบันจำนวนมากด้วยวิธีการดูจิต ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นไป"
    ก็เรียกว่า คนที่ประกาศธรรมโฆษณ์ ทำการตลาดไว้ให้ ก็คือ หลวงพ่อพุธ คนที่สั่งกำชับ
    ให้หลวงพ่อปราโมทย์มาเทศนาที่กรุงเทพฯ ก็คือ หลวงพ่อพุธ

    คำว่า ดูจิต ซึ่งเป็นคำของพระป่าอย่างหลวงปู่ดูลย์ ย่อมเป็นคำสอนสั้นๆ ที่ให้กัน เช่น
    บางท่านพระท่านก็บอกให้ไปดู ผมเส้นเดียว บางท่านก็ให้ไปกวาดพื้น บางท่านก็ให้ไป
    ดูผ้าขี้ริ้ว คำว่า "ดูจิต" จึงมีฐานะของคำเหมือน "ดูผมเส้นเดียว" "ไปกวาดพื้น" ฯ

    ซึ่งเมื่อสมาทานคำพระไปแล้ว ก็จะขึ้นใจ เป็นคำที่เข้าสู่ใจ จนนำพาไปถึงที่สุดได้

    แต่พวกคุณนั้น สับสน คิดว่า คำว่า ดูจิต คือ การพิจารณาความคิดไปๆมาๆ เห็นแค่
    ส่วนต้นก็เหมาว่าเป็นเนื้อเดียวกับคำสอน หลวงปู่ดูลย์ เลยทำให้ฟังไม่จบ ติเสียก่อน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 พฤษภาคม 2009
  6. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    คุณ นิวรณ์ คุณล่วงรู้ไปถึงไหนต่อไหน คุณล่วงรู้จิตใจคนนั้นคนนี้ว่า ตรึกไปในอนาคตบ้าง ตรึกไปทางนั้นทางนี้บ้าง
    ทำไม คุณไม่พิจารณาหละว่า ไม่มีใครตรึกไปในอนาคต มีแต่คุณที่ไม่เข้าใจเอง และ สิ่งที่คุณรู้มันผิด

    นี่แสดงให้เห็นว่า ใจคุณที่มันพุ่งไปไหนต่อไหน คุณเคยตั้งสติ แล้วตามมันไหมว่า คุณรู้ถูกหรือ คุณปรุงในสังขารนั้น โดยไม่พิจารณาเนื้อความเฉพาะหน้า
     
  7. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    นี่ก็แสดงถึงความวนเวียน ของคุณ เพราะว่า เราจะไม่ไปอ้าง หลวงพ่อพุธ และ หลวงปู่ดูลย์ แต่ คุณควรอ้างไปที่ธรรม และ คำสอน ที่อาจารย์ของคุณพูด แล้วสังเกตุในเนื้อธรรมนั้น เพราะว่า อย่างที่ผมเคยแสดงแล้วว่า มีการแสดงข้อบิดเบือนในคำสอนของหลวงพ่อพุธ และ หลวงปู่ดูลย์ นั้นมีอยู่ ดังนั้น เรื่องการพระอริยะทั้งสองท่านนั้น ควรวางไว้ แล้วให้ธรรม ของตัวคุณพิสูจน์ตัวคุณเอง
     
  8. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    คุณนี่ช่างคิดไปไกล นี่คิดว่าผมล่วงรู้จิต อ่านดูให้ดีเถอะครับ อย่าได้
    สับสนไปอีกคนหนึ่ง

    คำว่า ตรึกไปในอนาคต ก็คือ การตีตัวก่อนไข้ เช่นผมบอกว่า ทำสมาธิเสร็จ
    ให้ออกมาพิจารณา คุณก็ตีตัวไปก่อนไข้ว่า อย่านะ อย่าออกมาพิจารณา ให้
    ทำให้ถึงฌาณให้สำเร็จก่อน ไม่งั้นขาเดี้ยง พื้นฐานไม่ดี

    ผมก็บอกว่า ก็ครั้งนี้ทำสมาธิไปแล้ว กี่ชั่วโมงไปแล้ว ก็มันไม่ได้ฌาณ แล้ว
    จะให้ทู้ซี่ทำต่อหรือ คนฉลาด ก็ต้องเอาสภาวะที่มีตามมีตามได้ ออกมาพิจารณาดูจิตดูกายไปด้วย (เพื่อไม่จิตติดเฉย - หลวงปู่มั่น) คุณก็ไม่ได้ๆ
    ไอ้ที่ผมสอนนั้นผิด
     
  9. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ผมพูดขึ้น ก็เพราะ โพสก่อนหน้า คุณได้กรุณาถามถึง ว่ามีอะไรรับรอง
    หรือไม่ ตรงพุทธพจน์หรือไม่ จะหาพุทธพจน์มาก็เป็นคำที่ต้องแปล

    ผมก็เลยเอาคำสอนของพระร่วมสมัย มาแสดงแทน

    แต่พอเอามาแสดง ตามคำขอ คุณก็บอกว่า ไปอ้างพระ ....วนในอ่าง


    นี่คือคำที่คุณทิ้งคำถามให้ผมตอบ ผมตอบให้ตามความต้องการ แต่กลับถูกกล่าวว่า อ้างพระ ...!
     
  10. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ผมเคยบอกว่า ให้คุณระงับตัววิญญาณ ของคุณ
    ให้รู้แบบเฉพาะหน้า เพราะว่า คนที่รู้ไปไว รู้ไปเองจนชิน นั้นแหละ คือ คนที่พญามารชอบมากที่สุด อาจารย์ของคุณก็เป็นเช่นนั้น

    ทีนี้ มันทำให้ เมื่อรู้แล้ว เกิดข้อสรุปที่เป็นจริงเป็นจังขึ้น คุณก็ตามมันไป โดยที่คุณไม่เคยกลับมาตั้งมั่น กับฐานให้จิตบริสุทธิ์ เมื่อคุณตามมันไป คุณก็ทึกทักไปว่า สิ่งนั้นจริง สิ่งนั้นไม่จริงตามแต่คุณจะเสกสรรค์ปั้นแต่ง ด้วยใจตัวเอง ก็สรุปเป็น สัญญาขึ้นในตัวคุณเอง

    คุณจึงมีสัญญา ที่ผิด และไม่สามารถก้าวเข้าสู่การฟอกจิตให้สะอาดได้สักที

    คำถามคือ แล้วจะทำอย่างไร ผมก็บอกไปแล้วว่า คุณต้องหันหน้ามา ทำสมาธิให้นานให้ตั้งมั่น และ ดับตัวรู้ให้เป็น คือ บริกรรมอย่างเดียวให้ชำนาญ แล้วคุณจึงจะใช้จิตดวงนี้ได้ รู้ว่า ตอนนี้จิตมีราคะอันละเอียด รู้ว่าตอนนี้ จิตมีความหลงอันละเอียดหรือไม่

    ก็ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นแล้วว่า คุณมองไม่เห็น ความหลงอันละเอียดไปกว่าเดิมเลย
     
  11. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    แสดงว่า คุณ กำลังสับสนอย่างยิ่ง ด้วยการไม่ตระหนักและแยก ความจริงในคำพูดของผมว่า

    เราเชื่ออาจารย์ ทำตามอาจารย์ ได้ผล แล้ว ยกคำสอนอาจารย์มา

    กับ การยกคำพูดตัวเองมา แล้ว เอาคำอาจารย์มาสนับสนุน

    มันต่างกันไหม คุณ นิวรณ์

    แยกให้ออก

    ทีนี้ ครูบาอาจารย์แต่ละท่าน คำพูดของท่าน ก็เหมือนกันทุกคน ไม่ต้องเอาของใครมารับรอง และก็ตรงกับพระไตรปิฎก

    ทีนี้ของคุณ ไม่ตรงกับใคร แต่คุณไปเอาคำของพระอริยะมารับรอง คุณคิดว่าอย่างไรในเรื่องนี้
     
  12. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    เปล่าเลยครับ ที่ผมไม่กล่าวว่า ผมจะทำตามคุณสอน ก็เพราะ ผมเห็นว่า
    คุณสอนผิดอยู่ต่างหาก

    คุณไปยึดสภาวะสมาธิเป็นผล ไปยึดสภาวะที่ได้จากสมาธิคือจิตบริสุทธิเป้า
    หมาย ตรงนั้นแหละ ที่ผมเล็งเห็นว่ามีสภาวะที่บริสุทธิกว่ามีอยู่

    ดังนั้น ราคะ โทษะ โมหะ ผมจึงเห็นละเอียดมากขึ้น
     
  13. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    คุณ นิวรณ์ คุณไม่ต้องสนใจว่า ของผมผิดหรือไม่ คุณไปทำตามพระอริยะเช่น หลวงตามหาบัวสอน หรือ พระอริยท่านอื่นสอนเถอะ
    เวลานี้ คุณควรดูว่า มันจริงอย่างที่ผมพูดหรือไม่ในเหตุผลที่กล่าวไป แล้วตื่นขึ้นว่า นี่เรากำลังเข้าใจผิดพลาดอะไรหรือไม่ นั่นผมให้คุณตื่นตรงนั้น ยังไม่ต้องก้าวไปถึงจุดที่จะทำตามผมบอกหรือไม่
     
  14. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241

    ....คุณเพ้อแล้วครับ..กำลังสับสนในตนเองอย่างหนักว่า ขณะนี้ตัวเองกำลังทำอะไร...
     
  15. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    คุณ นิวรณ์ ผมจะไปสับสนอะไรหละครับ ผมจับประเด็นมั่นตลอด และ มีสติตลอด ระลึกได้ตลอดว่า กำลังพูดอะไร และ อีกฝ่ายหนึ่งพูดอะไร

    คุณ กลับไปพิจารณาให้ดี ในสิ่งที่ผมพูด แล้วก็ตั้งทัสนะใหม่
    ว่า การจะดับทุกข์ได้ มันจะต้อง เห็นว่า นี่ไม่ดี สิ่งนั้นไม่ดี จริง จนเกิดความรู้สึกในใจว่า จะไม่เอาแบบนั้นแล้ว จะไม่เอาแบบนี้แล้ว ก็ตั้งใจว่าจะออกไปจาก การกระทำ หรือ ความประพฤติเดิมๆ ทั้งนี้ ปัญญาทั้งหลายที่จะคิดได้ ต้องอบรม ด้วยการ สังเกตุชีวิตประจำวัน
    เหมือน คนเลิกสุรา ถ้ายังเห็นว่า มันดี หรือ ไม่เห็นว่ามันเป็นโทษฉันใด เขาจะไม่มีวันเลิกมันได้ ฉันใดก็ฉันนั้น

    ขัดเกลา กิเลส ดังคนคิดจะเลิกสุราเพราะเห็นโทษภัยของมัน ไม่ใช่ ดื่มสุราก็รู้
    หรือ อยากสุราก็รู้ มันห้ามใจตัวเองได้หรือ
     
  16. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    คนเคยดื่มสุราติดสุรา เลิกได้แล้ว จะกลับไปอยากอีก ไม่มี

    เพราะละในสิ่งที่เคยชินได้

    ในชีวิตจริง การติดภพ หนักยิ่งกว่าติดสุราหลายเท่านัก การที่บอกว่า เมื่อเกิดดูเฉยๆ จดจำเอาว่า มันเป็นแบบนี้ พอถึงเวลามันเลิกได้

    ก็ถ้าเช่นนั้นแล้ว มันจะต้องใช้วิธีนี้เลิก สุรา ได้ แต่ไม่ปรากฎเลย

    ไปพิจารณาดู ขอตัว
     
  17. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    เพ้อไม่เลิก

    "คุณยังไม่ต้องฟังผม คุณยังไม่ต้องฟังผม"

    ........

    ........
     
  18. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    พิจารณาให้ดี
     
  19. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    เพ้อ เหลืออีกนิดหน่อย ตามดูวิญญาณทันแล้วเหรอครับ

    เป็นผม ผมไม่ใช้คำว่า ตามดูวิญญาณหลอกนะ
     
  20. เดินทาง

    เดินทาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +38
    การดูความคิดตามความเข้าใจผม
    ดูแบบรู้ว่าคิด แต่ไม่รู้เรื่องที่คิด (หรือคือ เผลอคิดแล้วรู้) เป็นการระลึกรู้ตามหลัง
    โดยอาศัยเป็นเครื่องอยู่ในการระลึก ให้ความสำคัญกับการที่จะระลึก ดูความคิดเกิดเป็นหลัก หรือเป็นฐาน

    เนื่องจากเราให้ความใส่ใจที่จะระลึกรู้ เมื่อเกิดการเผลอไปคิด พอระลึกรู้ สติ ก็จะเกิดความสงบหนึ่งขณะ ความคิดดับ
    จะเห็นอาการสงบตามปัจจัยตอนนั้น แล้วจะเกิดความคิดต่อมาอีก ก็ระลึกรู้อีกว่าคิด ความคิดดับสงบอีกหนึ่งขณะ
    เมื่อทำไปเรื่อยๆ ก็จะเห็น ความคิด เกิด ระลึกรู้ ความคิดดับ เหมือนคนติดอ่าง พูด ขาดๆติดๆ ตอนนี้ความคิดเริ่มสงบลงมาก พอทำไปทำให้เกิดว่างความคิดขึ้นมา เกิดเป็นความว่างขึ้นมาเหมือนทำสมาธิ

    แต่ตอนหัดใหม่ๆใจต้องพอสงบอยู่บ้าง
    ตอนหัดแรกๆจะเหมือนกดข่ม บังคับความคิด เป็นการเรียนรู้ ว่ากด ข่ม เป็นอย่างไร แสดงอาการเป็นอย่างไร
    แล้วก็จะเผลอไปอ่านเรื่องที่คิด (เหมือนพอเรารู้ว่าคิด เราก็หลงเข้าไปอยู่ในความคิด ไปช่วยแต่งเติมต่อด้วย เป็นเรื่องราวไปต่อเลย)
    พอระลึกได้อีกครั้งเรื่องก็ไปยาวแล้ว เลยต้องอาศัยความใส่ใจ ไว้มากๆเป็นหลัก

    พอฝึกไประยะหนึ่ง อาจจะเกิดสติที่มันระลึกได้เองแบบปัจจัยดี เข้ามาเห็นความคิดตอนนั้นที่เผลออยู่ เห็นความคิด ความคิดดับ ก็จะเข้าใจอาการที่ไม่ได้กด ข่ม บัง คับ
    แต่เราทำให้เป็นแบบนั้นไม่ได้ มีแต่อาสัยความเข้าใจวางอารมณ์ในการใส่ใจให้ดีขึ้น ลดการกดข่มบังคับ

    เมื่อฝึกด้วยความใส่ใจไป ก็จะเกิดความเข้าใจได้มากขึ้น แล้วเริ่ม คุ้นชินในทางที่เดิน เนื่องจากฝึกบ่อยๆ เดินบ่อยๆ
    เนื่องจากเราไม่รู้ ไม่รู้จริงๆ มันจะมีความอยากในการจะให้ความคิดดับแฟงตัวมาอยู่ด้วย ดูยังงัยมันก็ยังรู้สึกกด อยู่ ยิ่งดูต่อ มันจะสะสมขึ้นมาเรื่อยๆ แล้วก็แสดงอาการออกมาให้เห็น ก็เลยได้เห็นสภาวะความอยากให้ความคิดดับ และจะรู้ทันเมื่ออาการมันแสดงฟ้องมา

    เมื่อฝึกไปอีก ตอนนี้ เราใส่ใจในการดูอยู่ มันอาจจะระลึกได้เองบ้าง หรือ เราจงใจเข้าไปบ้าง พอทำไป มันจะเกิดไม่พอใจ หรือ เคืองใจ ที่ความคิดสะดุด
    เหมือน เมื่อก่อนมันคิดอะไรก็เป็นเรื่องเป็นราว เหมือนดูหนังเป็นเรื่องเป็นราว แต่คราวนี้ มันจะรู้สึกดูหนังสะดุด จากที่สติมันระลึกได้เองบ้าง ที่เราฝึกบ้าง
    ทำให้เกิดรู้สึกรำคาญ (เหมือนยืนเข้าแถวอยู่ แล้วเพื่อนมาคอยสกิดหลัง ทำให้รู้สึกตัวทำให้เกิดความรำคาญ สติที่เริ่มเกิดเอง จะเริ่มเข้าไปคั้น ) ก็จะเห็นอาการความรำคาญแสดงออกมา เห็นอีกสภาวะหนึ่ง
    พอฝึกไปอีก ความคล่องในทางก็เริ่มดีขึ้น การระรู้ลึกที่ ความคิด ก็เริ่มดีขึ้น เผลอได้สั้นลง ระลึกรู้ได้ดีขึ้น การเข้าไปหลงในความคิดก็น้อยลง

    เมื่อฝึกความใส่ใจเข้าดีๆ มันจะเห็นความเบาเริ่มเกิดขึ้น ตอนนี้จะเริ่มเกิดเข้าไปชอบความเบา มันเลยไปเพลินๆกับความเบาแทน เข้าไปชอบเพราะไม่รู้ไม่เคยเห็น เพลินดี
    พอแยกแยะได้ ก็จะเข้าใจขึ้นมาอีกอย่างหนึ่ง ต่อไปพอฝึกไปมันจะเริ่มเกิดความรู้สึกว่ามีความนิ่งขึ้นมา เหมือนเราดูได้ แต่จะมีความแข็งอยู่ด้วยไม่อ่อนนุ่ม อันนี้อีกภาวะหนึ่ง
    อธิบายประมาณนี้ครับที่เข้าใจ (แต่บางช่วงจะมีการไปเห็นกายเห็นลมด้วย แต่เราให้ความใส่ใจอยู่กับความคิดเป็นหลัก แต่ละครั้งก็จะไม่เหมือนกัน เหมือนสะสมความชำนาญในทาง)
     

แชร์หน้านี้

Loading...