การนั่งสมาธิ วิปัสนา กรรมฐาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย พันตา, 4 มิถุนายน 2009.

  1. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    <table style="width: 581px; height: 96px;" class="tborder" align="center" border="0" cellpadding="6" cellspacing="1"><tbody><tr><td background="images/gradients/bg_p.gif">สมาชิก 1 คน ได้กล่าว "ไม่เห็นด้วย" กับข้อความของ คุณ ขันธ์ ที่เขียนไว้ทางด้านบน</td> </tr> <tr> <td class="alt2" height="29"> jinny95 (วันนี้)

    นี่ก็อีกหนึ่งตัวอย่าง ที่ตามโกรธ ตามเกลียด ไม่เอาเหตุเอาผล เป็นบุคคลหนึ่งที่ อ้างว่าตัวเองเป็นพระโสดาบัน
    เป็นตนที่ตั้งกระทู้ล่อเป้า สร้างชนวนขัดแย้ง โดยหันหน้าเข้าไปจับกลุ่ม กับพวกดูจิต เพียงเพื่อเอาชนะ
    เพราะโกรธเคืองที่ถูกด่าว่าโง่ ตามจองล้างจองผลาญ ใครเห็นตรงกันข้ามกับนายขันธ์ นายคนนี้ อนุโมทนาหมด ใคร เห็นด้วยกับนายขันธ์ นายคนนี้ กดไม่เห็นด้วยแทบจะทุกคน


    </td> </tr>
    <tr> </tr>




    </tbody></table>
     
  2. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    วกกลับมาเรื่อง ธรรมที่ผิดเพี้ยน ของพระปราโมทย์ เรื่องที่จิตเป็นอนัตตา ควบคุมไม่ได้ จิตต้องรับอารมณ์ตลอดเวลา จึงมีคำสอนว่า เมื่อเกิดอะไรขึ้น ไม่ต้องแก้ไข ให้มองดูเฉยๆ มันจะดับไปเอง

    คำสอนนี้เป็นอันตรายต่อพระศาสนาอย่างมาก เพราะว่า อีกหน่อยจะไม่มีใครเพียร ไม่มีใครทำสมาธิ เพราะว่า ดูเฉยๆ มันจะดับไปเอง

    ดังนั้น ความผิดพลาดจุดนี้มี 2ประการกับความจริงด้วยเหตุผลคือ

    1 จิตของมนุษย์สามารถฝึกได้ ดังคำสอนที่ให้ ละอกุศล และ เจริญกุศล และ ทำจิตตนให้ผ่องใส อันเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์

    2 จิตไม่ได้เป็นอนัตตา ไม่ปรากฎว่า สัพเพจิตตัง อนัตตา มีแต่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    และ สัพเพธรรมมา อนัตตา

    ดังนั้น ความคลาดเคลื่อน 2 จุดนี้ ทำให้ พระศาสนาผิดเพี้ยนไป อันจะเป็นเหตุให้ คนเข้าถึงพระศาสนาที่ถูกต้องมีน้อยลง จนนำไปสู่ การห้อยจีวรผืนเท่าเล็บมือ ในอนาคต
     
  3. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    หลวงตามหาบัวกล่าวว่า จิตที่เป็นสมาธิแล้ว คือ จิตที่ไม่หิวอารมณ์

    ฐีติภูตังคือจิตเดิมแท้ ที่ไม่รับอารมณ์ เป็น พ่อแม่ของ อวิชชา

    ในพระอภิธรรม กล่าวว่า จิตคือ ธรรมชาติที่ไม่มีอารมณ์

    เรื่องนี้ เดี๋ยวผมจะยก พระอภิธรรมบทนั้นมาให้ดู


    ดังนั้น ความผิดพลาดของพระปราโมทย์ มาจาก การสังเกตุจิตตนที่ไม่มีสมาธิ จึงทำให้เห็นแต่สิ่งที่ต้องรับอารมณ์ตลอดเวลา แต่ก็ยังไม่รอบคอบ ยังคิดว่าตนรู้ดี สอนคนแบบผิดๆ
     
  4. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    จิตของตถาคต หลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่าหลุดพ้นแล้ว

    หลุดพ้นนี้ยังเป็น อนัตตาหรือ
     
  5. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ใครจะโต้แย้ง ทิ้งคำโต้แย้ง ที่มีเหตุผลเอาไว้ ผมจะโต้เฉพาะคนที่มีเหตุผล

    ส่วน คนที่พูดตามอารมณ์และความรู้สึก ต้องไปถกกับ หญิงประมาท
     
  6. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    มาดูประเด็นที่เพื่อนๆ ทั้งหลายเขาเห็นกันบ้าง

    ประเด็น คือ สมถะ วิปัสสนา ควรกล่าวแยกจากกันไหม

    สิ่งที่ ผมทำก็คือ หาคำสอนที่กล่าวแยก สมถะ และ วิปัสสนา มาแสดง
    และคำสอนของพระสังฆราชก็ระบุชัดเจนว่า สมถะ และ วิปัสสนา ไม่เหมือนกัน
    เป็นคนละตัวกัน และทำคนละขณะกัน ทำไมทำคนละขณะกัน ก็เพราะอารมณ์
    ที่เอามาดู มีการเลือกดูไม่เหมือนกัน อีกทั้ง การดูเพื่อรู้ก็ต่างกัน อันหนึ่ง
    ดูเพื่อให้แนบลงเป็นหนึ่ง(อารัมณูฯ) อีกอัน ดูโดยอาศัยดูการเปลี่ยนแปลง(ลักขณูฯ)

    ซึ่งตรงนี้ มันก็ชัดเจนอยู่แล้ว ในกรณี ของพี่ภูติ ที่เห็นว่า ฌาณ4 คือวิปัสสนา
    มันก็ไม่ตรงคำสอนข้างต้นโดยเนื้อหาสาระ...ซึ่งหมายถึง การระบุว่า ฌาณ4เป็น
    วิปัสสนาในตัวนั้นไม่ตรงคำสอน... แค่นี้ ไม่ได้กล่าวตำหนิว่า ใครทำฌาณ4 นั้น
    ผิด อย่างที่ลุงขันธ์ยัดเยียดข้อหาว่าเรากล่าวเช่นนั้น หาว่าเรามีความคิดเช่นนั้น มัน
    คนละเรื่อง คนละความ จับคนละประเด็น

    * * *

    ในแง่ประเด็นต่างๆที่ลุงขันธ์ตั้งขึ้นมา ล้วนไร้สาระ เป็นการควานหาที่ผิด
    เล็กๆน้อยๆ เพื่อการปรักปรำตามใจปากเท่านั้น โดยให้สังเกตข้อหาที่
    เขาตั้ง จะเห็นว่า ไม่ได้อยู่ในเนื้อหาการพิจารณาธรรมะ แต่เป็นเรื่องความ
    ไม่ชอบใจกันเป็นส่วนตัว ลองสังเกตเนื้อหาในการกล่าวหา จะมีเรื่องของตัว
    บุคคลเป็นหลัก มีการเจาะจงชื่อบุคคลเป็นหลัก

    ซึ่งไม่แปลกอะไร ที่เขาจะมุ่งเป้าเป็นการส่วนตัว ทั้งนี้ผมเป็นคนผูกเงื่อนเอา
    ไว้เอง โดยการกล่าวหาว่า "ลุงขันธ์จะกลายเป็นคนที่ขวางนักภาวนาที่มีจริต
    ทางวิปัสสนายานิก" เพราะเขายึดมั่นแนวทางสมถะยานิก(แต่ประกาศตัวว่าเป็น
    ปฏิสัมภิทา) ซึ่งจะทำให้สอนนักวิปัสสนายานิกผิดพลาด เขาควรจะปฏิบัติธรรม
    ได้ในจริตของเขา

    เรื่อง จริตของบุคคล ว่าคนไหน ควรปฏิบัติแบบ วิปัสสนายานิก คนไหนควร
    ปฏิบัติแบบสมถยานิก เรื่องนี้ ผม คุณธรรมภูติ คุณธรรมสวนัง คุณภาณุเดช
    ไม่ได้สงสัยกันในเรื่องนี้

    ผม คุณธรรมภูติ คุณธรรมสวนัง ถกกันแต่เฉพาะประเด็น ควรแยก สมถะ ออกจาก วิปัสสนา หรือไม่
    ซึ่งก็วนเวียนอยู่เฉพาะประเด็นนี้

    ผม กับ คุณภาณุเดช แม้จะดูเหมือนเถียงกัน เรื่อง จริต แต่ผมก็ชี้แจงไปแล้วว่า ผม
    ก็เพียงเข้าไปในกระทู้ ไปเสนอมุมให้ จขกท เห็นแนวทางวิปัสสนายานิก ไว้เผื่อๆเท่า
    นั้น ไม่ได้ชักจูงมาตรงๆ

    เว้นแต่คนๆ นั้น ออกแนวแสดงความเป็น วิปัสนายานิกชัดเจน ผมก็จะกระหน่ำป้อน
    เรื่องเหตุผลให้เขาเห็น ซึ่งเขาจะค่อยๆรู้ตัว และยอมรับว่าตัวเองเป็นคนชอบวิจัยธรรมะ

    การชอบวิจัยธรรมะ ก็คือ อุธธัจจะ ...ซึ่งมันจะเป็นตัวกั้นให้เขาไม่สามารถสำเร็จฌาณได้

    การที่ดึงเขาออกมาจึงเป็นประโยชน์ต่อๆ คนๆ นั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2009
  7. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ส่วนเรื่อง ของท่านๆ อื่นๆ ตั้งกระทู้ ก็เป็นเรื่องของ แนววิปัสสนายานิก

    ซึ่งมีหลายคนเข้าใจผิดว่า วิปัสสนายานิก อาจจะไม่มีการทำฌาณ

    ตรงนี้ก็ต้องบอกซ้ำอีกครั้งว่า ไม่ใช่

    การเป็นวิปัสสนายานิก เป็นเพียง เรื่อง การทำวิปัสสนานำหน้าการทำสมถะ

    จะเห็นว่า คำว่า น้ำหน้า สมถะ มันก็บอกอยู่แล้วว่า ทำสมถะด้วย ก็แปลว่า
    เขา ทำฌาณด้วย

    และการ ทำฌาณ โดยมีปัญญาอินทรีย์ ปัญญาพละ จะทำให้ทำสมถะได้
    คล่องแคล้วกว่าเดิม ( อ่านคำสอนของพระสังฆราชอีกครั้ง )

    ดังนั้น การที่เข้าใจว่า วิปัสสนายานิก ไม่ทำฌาณ จึงเป็นเรื่องที่คิดกัน
    เอาเองไม่ได้ดูเนื้อหาสาระที่เขาปฏิบัติตามความเป็นจริง

    ส่วนสุขวิปัสสโกนั้น จะเป็นคนละประเด็น นั่นเป็นกรณีของบุคคล 8

    ไม่ใช่เรื่องแนวทางปฏิบัติ ซึ่งนิยมเรียกสองแบบคือ สมถะยานิก และ วิปัสสนายานิก

    หากจะดูเรื่องแนวทางปฏิบัติ ยังมีการเรียกมากกว่านี้ เช่น ศรัทธานุสารี ธรรมานุสสารี

    หากจะดูแนวการเทศนา หรือ การแสดงคำสนอ ก็มี เทศนาโดยบุคคลธิษฐาน คือ การ
    อ้างพระธรรม พระสูตร ครูบาอาจารย์ ส่วนอีกแบบคือ เทศนาโดยธรรมาธิษฐาน คือ
    การพูดกันถึงสภาวะธรรมล้วนๆ
     
  8. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    นี่ผมพลาดอะไรไปบ้างหรือเปล่าครับเนี่ย???
     
  9. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ตราบใดที่ยังแยกขันธ์ ๕ ไม่ได้

    ยังคลายขันธ์ ๕ ไม่เป็น

    ตราบนั้นเราก็ยังจะว่า ขันธ์ ๕ เป็นเรา เราเป็นขันธ์ ๕

    ขันธ์ ๕ มีในเรา เรามีในขันธ์ ๕ อยู่วันยังค่ำนั่นแหละ

    บางคนก็ไปคิดเลยเถิด เห็นเลยเถิดว่า มีผู้รู้อยู่ต่างหากออกไปจากขันธ์ ๕ นี้ก็มี

    แล้วพยายามคิดผลักไสขันธ์ ๕ นี้ด้วยวิธีการต่าง ๆ

    ทั้ง ๆ ที่ ความจริงแล้ว ตัวที่เข้าไปรู้ในอาการของขันธ์ ๕ เหล่านั้น ก็คือ ตัววิญญาณขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ นั้นเอง

    จะไปผลักไสเขาได้อย่างไร มีแต่ต้องหมั่นฝึกสติ สร้างกำลังจิตขึ้นมา เพื่อมาทำความเข้าใจกับเขา มาแยกและคลายเขา้ออกให้เห็นตามความจริงด้วยใจ ไม่งั้นท่านจะเรียกว่า ขันธ์ ที่แปลว่า กอง รึ

    ถ้าแยกออกได้จริง ๆ เราก็จะเข้าใจ เขาก็จะคลายออกจากกันได้เอง วิญญาณเขาจึงไม่ไปหลงสัญญาและสังขารได้ง่าย ๆ อีก นั่นก็คือ ไม่อินนั่นเอง

    ตัวเราจึงไม่มี มีแต่กระบวนการที่ทำงานกันไปตามเหตุตามปัจจัย มีเหตุทำเหตุก็มีปัจจัยมีผล ก็ต้องขยันทำความเข้าใจกันต่อไป จิตเกิดก็ต้องดับอีกต้องควบคุมเขาอีก เพื่อไม่ให้เขาออกไปอาละวาดภายนอกได้

    ที่สุด ครูบาอาจารย์ท่านบอกไว้ว่า ต้องตามทำความเข้าใจ ตามดับจนจิตเขาสะอาดบริสุทธิ์ จนจิตเขาไม่เกิดอีกเลย เสร็จแล้วก็ยังต้องมาวางความคิดอีก และที่สุดก็ต้องวางแม้กระทั่งตัวจิตอีกทีหนึ่ง จึงจะจบกิจครับ...

    ตกลงที่ปฏิบัติ ๆ กันมานี่ เรารู้จักขันธ์ ๕ กระบวนการทำงานของขันธ์ ๕ กันจริง ๆ แล้วหรือยังเท่านั้นเอง



    ผมก็แค่ฝากความหวังดีมาให้ท่านทั้งหลายได้ลองพิจารณาดู ลองเฉลียวใจดูบ้่าง ก็เท่านั้นเอง



    สาธุ ขอพระธรรมรักษากันทุกท่านนะครับ
     
  10. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    จิต และ วิญญาณ ในข้อของ ขันธ์ 5 ไม่ใช่อันเดียวกัน......
     
  11. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ถ้าคิดอย่างนี้ก็ยากหน่อยนะครับ เพราะจะไม่ยอมฝึกสติเพื่อมาทำความเข้าใจตรงจุดนี้ แยกไม่ได้ คลายไม่เป็น และเข้าใจอย่างนี้ ในที่สุดอัตตาก็เลยไปหมก ๆ อยู่กับตัวที่ว่าเป็นจิตต่างหากนั้นเองระวังให้ดีในจุดนี้นะครับ

    สัพเพธัมมา นาลัง อะภินิเวสายะ แปลว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
     
  12. Peace in mind

    Peace in mind เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    175
    ค่าพลัง:
    +370
    เห็นด้วยตามนี้

    ตอนฝึกวิปัสนาก็เริ่มต้นทำให้เกิดความนิ่งก่อน เหมือนมีสมถะกรรมฐานเป็นฐานที่ตั้งอันมั่นคง ก่อนจะเริ่มพิจารณาตามมหาสติปัฏฐาน เห็นความเคลื่อนไหว ที่ไม่มีใครควบคุมได้ หายใจเข้าแล้วมันก็ต้องออก เมื่อหายใจออกแ้ล้วมันก็ต้องเข้าใหม่ เอาอากาศธาตุเข้าไปหล่อเลี้ยงร่างกาย ไม่อาจบังคับให้มันหยุดหายใจและยังคงสภาพการมีชีวิตอยู่ได้ พิจารณาตามนั้นว่า ยุบหนอ พองหนอ นั่งไปนานเข้าเกิดความปวดเมื่อย เดี๋ยวปวดขา ก็ปวดหนอ ปวดหนอ ปวดหนอ รู้ว่ามันปวด สภาวะปวดเป็นเช่นนี้เองหนอ การมีอินทรีย์นั้นเป็นทุกข์หนอ เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์หนอ ทุกข์จริง ๆ หนอ รู้อาการปวดสักพักมันก็หายปวดขา ไปปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่ ไปจนหมดทุกส่วนที่มันจะปวดได้ เป็นอย่างนั้นประมาณ 3 วัน จากนั้นมานั่ง กี่ชม.ก็ไม่มีอาการปวดอีกแล้ว แต่เห็นโน่นเห็นนี่มากมาย เห็นเรื่องราวเก่า ๆ เห็นภาพแปลก ๆ เป็นรูปภาพสีเหมือนจริง เหมือนตัวเราเข้าไปอยู่ในนั้น เห็นเรื่องราวเหมือนดูละครโทรทัศน์ ต้องรู้ว่ามันไม่ใช่เรื่องจริง และภาวนารู้หนอ เห็นหนอ พอรับรู้ตามนั้นมันก็หายไป เป็นเรื่องราวอื่น เป็นแสงสี เสียงอื่น ขึ้นมาให้เห็นอีก หากว่าเราจะตามไปดูมันก็จะพาเราไปเลยเถิด เกิดติดภาพ เสียง แสง และจะทำสมาธิเพื่อให้เห็นไปเสีย แทนที่จะทำสมาธิเพื่อให้เกิดปัญญาเห็นตามความจริง วิปัสนาจารย์จึงว่าอย่าไปติด อย่าไปตาม อย่าไปสงสัย ในสิ่งที่เห็นในการปฏิบัติระดับนี้ ใจมันชอบอย่างไรมันก็จะปรุงแต่งสิ่งที่ชอบขึ้นมาให้เราติด คนบางคนแยกแยะความจริง ความปรุงแต่งไม่ออก นั่งไปนั่งมาเกิดเสียสติ จึงควรนั่งวิปัสนาเมื่อมีสภาวะจิตและสมาธิที่มีกำลังพอ คนบางคนอึดอัดกับการทำสมาธิแบบนี้ แต่กลับชอบที่จะทำสมถะกรรมฐานมากกว่า พระท่านก็ส่งเสริมเพราะเป็นสิ่งที่ดี เป็นพื้นฐานในการต่อยอดต่อไปได้ หากจะปฏิบัิติสมถะกรรมฐานแล้วชีวีเป็นสุข ก็ไม่มีผิดแต่อย่างใด ดีทั้งสิ้นในการทำจิตให้ผ่องใส เมื่อรู้ว่าความนิ่งเป็นอย่างไรก็ย่อมรู้ว่าสิ่งใดที่ไม่นิ่ง เมื่อฝึกสมถะกรรมฐานมาแล้วหรือไม่ก็ย่อมฝึกวิปัสนากรรมฐานได้ ความนิ่งจดจ่อในปัจจุบันขณะได้ถือเป็นฐานของการปฏิบัติกรรมฐานขั้นสูง ๆ ขึ้นไป วิปัสนาจารย์ท่านให้เดินสมาธิในระยะต่าง ๆ ก่อนนั่งสมาธิ เพื่อไม่ให้เกิดการติดภาวะนิ่งในแบบสมถะเพียงอย่างเดียว เดิน 1 ชม. ก็นั่ง 1 ชม. เดิน 3 ชม. ก็นั่ง 3 ชม. ฝึกเดิน1ชม.ครึ่งและนั่ง เท่ากัน วันที่3 เกิดความรู้สึกเป็นสุขตัวเบา ตัวลอย เริ่มไม่มีอาการปวดเมื่อยใด ๆ แม้มีก็น้อยมาก ๆ รู้ึสึกตัวพองตัวใหญ่ ต่อมาก็เกิดตัวโอนเอนไปมา หยุดไม่ได้แม้ไม่ได้อยู่ในสมาธิก็ยังเกิด นั่งสมาธิและฝึกเจริญสติปัฏฐานไปเรื่อย ๆ ในสัปดาห์แรกกราบสติก็ได้ยินเสียงกึก ๆ ๆ ๆ เป็นจังหวะเมื่อค่อย ๆ ก้มลงกราบ เป็นอยู่หลายวันจึงหายแต่เริ่มรับรู้ได้ว่าการเคลื่อนไหวร่างกายมีองศาเพิ่มลดอย่างไร เอียงซ้ายเอียงขวาไปแค่ไหนแล้ว แม้หลับตาก็ยังเดินได้ไม่ล้ม เริ่มได้ยินเสียงตึก ๆตัก ๆ ดังสนั่นในหู ก็งงว่าเป็นอะไร ในที่สุดก็รู้ว่า อ้อ จิตเราคงจับสัมผัสได้ถึงการเต้นของหัวใจ และจุดชีพจรในตำแหน่งต่าง ๆ เวลาอิ่มก็รู้ได้ชัด ฝืนกินไม่ได้ ใจมันเต้นแรงมาก รู้ว่าเหนื่อย รู้การทำงานของร่างกาย มันวูบ ๆ วาบ ๆ ภายในท้อง เรื่องการเห็นแรก ๆ ยังไ่ม่เห็นอะไร เห็นแ่ค่กายเคลื่อนไหว อยากก้าวหนอ ก้าวหนอ ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ สัก 9 วันผ่านไป เริ่มเห็นความไม่อยากของใจ มันไม่อยากตื่นหนอ ขี้เกียจหนอ ง่วงหนอ อยากนอนหนอ ยังงง ๆ ว่าใครกันนะ ใจ นั่น เราหรือใคร อบรมมันว่า ไม่ได้นะ มาฝึกก็ต้ืองฝึก เอ๊ะแล้วใครกันนะที่เถียงกันอยู่ มันแสดงอาการแยกกันกับความเห็นที่ถูกต้องของเรา เราอยากไปซ้ายหนอ มันนิ่ง มันเริ่ม แสดงตัว เริ่มรู้ เริ่มดื้อ ไม่ให้เราบังคับได้ เราจะเริ่มเหมือนคนเสียสติไป เดินปัด ๆ เป๋ ๆ อยู่หลายวัน โลกมันโคลงเคลงยังกะยืนบนเรือกลางคลื่นในทะเล มีอาการอยู่เกือบสัปดาห์ วิปัสนาจารย์ท่านว่าอาการโยกเบา เป็นอาการของปีติ แต่อาการโคลงเคลงเป็นอาการแสดงของธาตุลมกำเริบ เมื่อไม่ฝึกสมาธินานไปอาการก็ค่อย ๆ หายไป แต่ก่อนก็รู้ว่ามันเคยแอบปิดนาฬิกาปลุกเมื่อเราต้องไปทำงานแต่เช้า เคยตามดูอาการของมันพอทานข้าว ตักหนอ มาหนอ อมหนอเคี้ยวหนอ ลิ้นมันรู้รส โอ..อร่อยหนอ ตัวมันโยกทันทีเลย มันพอใจ มันดีใจได้กินของอร่อย เออหนอ เราจึงเริ่มรู้ว่า กายไม่ใช่ของเรา แล้วใจก็ไม่ใช่ของเรา "เรา" ที่ว่าคือตัวตามรู้เท่านั้นเองหรือ แล้วทำไมเมื่อเราคือตัวรู้ทำไมจึงเกิดความคิดเห็นในการกระทำของใจและกายได้ หมดเวลาปฏิบัติในวันสุดท้ายยังสอบถามวิปัสนาจารย์ว่า จริง ๆ แล้ว ใจ กาย นั้นก็ไม่ใช่ของเราใช่หรือไม่ ใจกับจิต ต่างกันหรือไม่อย่างไร ถามมากมาย จนท่านให้ไปศึกษาพระอภิธรรมเอาน่าจะได้คำตอบที่ดี ซึ่งก็ได้กลับมาค้นหาความจริง มีหลักสูตรให้ประชาชนที่สนใจโดยทั่วไปได้ศึกษาอภิธรรมด้วย และมีตำราอภิธรรมออนไลน์ให้ศึกษาอีกด้วย อย่าได้ทุ่มเถียงกันไปไกลมาเร่งศึกษาปฏิบัติกันจริง ๆ จัง ๆ ดีกว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2009
  13. Peace in mind

    Peace in mind เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    175
    ค่าพลัง:
    +370
    ไม่เห็นด้วยเพราะ...

    "....ฝ่ายปฏิบัติ ไม่ค่อยอยู่หน้าเครื่อง ไม่ทันเกมพวกอยู่หน้าเครื่องมานาน
    ก็ทยอยกันเดินออกจากบอร์ดคนแล้วคนเล่า (ที่สดๆร้อนๆ คือ คุณวิสุทโธ)
    ต่อไป ก็คงเหลือแต่พวกดูจิต เป็นอริยะติดบอร์ด อยู่ ก็เท่านั้น

    มีการใช้ระบบ MLM หาพรรคพวก ถ้าเป็นพวกเดียวกัน ก็คุยกันกระหนุงกระหนิง
    แล้วพร้อมใจกัน กดไม่เห็นด้วยกับ คคห ของคนที่เสนอไม่เหมือนพวกตน
    อาฆาตมาดร้ายยิ่งกว่าแม่นาคพระโขนงเสียอีก…55+ขออภัย"

    ไม่เห็นด้วยกับการกล่าวลักษณะนี้ ยิ่งเป็นการทำให้เห็นความแบ่งแยก ชี้ให้เห็นว่าเกิดการมีพรรคพวกกัน ไปกันใหญ่แล้ว แม้จะมีมูลความจริงหรือไม่ ในการถกเถียงกัน มีความอาฆาตมาดร้ายหรือไม่ก็ไม่ควรนำมาแสดงว่าเรารู้ เราเห็น หรือทำให้เห็นเป็นเรื่องชวนหัว 555 ขออภัยที่ไม่เห็นด้วย
     
  14. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646

    กำลังค้นข้อมูลในพระอภิธรรมอยู่ครับ.........ไม่แน่ผมอาจเข้าใจผิดมาตลอดว่า จิต ใช่ วิญญาณ.....แต่ในอดีตแยกกันไม่ค่อยออก......
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2009
  15. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ก็ขันธ์ ๕ มันเป็นตัวเป็นตนผู้คิดผู้นึกนี้เอง จะคิดจะนึกไปทางไหนก็คิดนึกออกมาจากขันธ์ ๕ นี้ทั้งหมด ดังนั้นจึงต้องมาทำความเข้าใจ มาคลายขันธ์ ๕ คลายอัตตาตัวตนที่ขันธ์ฺ ๕ นี้เอง ความพิเศษของมนุษย์เราก็คือ สามารถฝึกสติขึ้นมา เพื่อมาใช้แยกขันธ์ ๕ ได้นี่เอง ภพมนุษย์ประเสริฐเพราะเหตุนี้
     
  16. Peace in mind

    Peace in mind เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    175
    ค่าพลัง:
    +370
    อย่าคิดอกุศลนะ

    ไม่หรอก คุณธรรมฯ ท่านก็เพียงทำการสรุปประเด็นการโต้เถียงให้ชัดเจน แต่ออกจะติดเรทไปนิดนึง อันนี้เราก็ไม่เห็นด้วยที่ชี้แจงว่าเกิดการมีพรรคพวก ดิสเครดิต ฯลฯ โอ ไปไกล อันนี้มันสังคมออนไลน์ เปิดช่องไว้ให้สนทนาระหว่างกันอย่างมีสาระไม่นำพาการทะเลาะเบาะแว้งให้เปลืองเนื้อที่server
    เราจึงไม่ควร คิดเอาเองว่าเค้า คิดแต่อกุศลโดยไม่ชี้แจงนะ เพราะนั่นหมายถึงเราเองกำลังคิดแต่อกุศลอยู่
     
  17. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    วิปัสนา กับ สมาธิ เป็นของคู่กันเอื้อประโยชน์กัน หากหมายสมาธิว่า จิตตั่งมั่น

    สมถะ กับ วิปัสนา คนละส่วนกัน หากหมายสมถะ คือจิตสงบ(ชั่วคราว)

    จิตสงบชั่วคราวนี้ (สมถะ) มีมาก่อน พระพุทธเจ้ามาสอน สามารถทำให้จิตสงบชั่วคราว จนเป็นฌาน และละเอียดขึ้นเรื่อยๆ จากรูป ไปจน อรูป แต่ก็ไม่สามารถบรรลุได้ หากเข้าใจว่า สมถะกับวิปัสนา แยกกันไม่ได้ คนที่ฝึกมาก่อนพระพุทธเจ้าคงบรรลุก่อนแล้ว เพราะได้วิปัสนาไปด้วยหากเข้าใจว่ามันแยกกันไม่ได้
    ..ต่อพอมีพระพุทธเจ้ามาสอน จึงมีคำว่า สมาธิ สัมมาสมาธิ นั้นหมายถึงจิตตั่งมั่น ไม่หวั่นไหว ซึ่งสมาธินี้ เอื้อกัน
    ส่งเสริมกันระหว่าง วิปัสนา
     
  18. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    จิต ธรรมชาติที่รู้อารมณ์, สภาพที่นึกคิด, ความคิด, ใจ; ตามหลักฝ่ายอภิธรรมจำแนกจิตเป็น ๘๙ (หรือพิสดารเป็น
    ๑๒๑) แบ่งโดยชาติเป็นอกุศลจิต ๑๒ กุศลจิต ๒๑(พิสดารเป็น ๓๗)วิปากจิต ๓๖ (๕๒) และกิริยาจิต ๒๐; แบ่ง
    โดยภูมิเป็นกามาวจรจิต ๕๔รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ และโลกุตรจิต ๘ (พิสดารเป็น ๔๐)
    <O:p</O:p
    วิญญาณ ความรู้แจ้งอารมณ์, จิต, ความรู้ที่เกิดขึ้นเมื่ออายตนะภายในและอายตนะภายนอกกระทบกันเช่นรู้อารมณ์
    ในเวลาเมื่อรูปมากระทบตาเป็นต้น ได้แก่ การเห็นการได้ยินเป็นอาทิ; วิญญาณ ๖คือ ๑.จักขุวิญญาณความรู้อารมณ์
    ทางตา (เห็น)๒. โสตวิญญาณความรู้อารมณ์ทางหู (ได้ยิน) ๓.ฆานวิญญาณความรู้อารมณ์ทางจมูก (ได้กลิ่น)๔. ชิวหา
    วิญญาณความรู้อารมณ์ทางลิ้น (รู้รส)๕. กายวิญญาณความรู้อารมณ์ทางกาย (รู้สิ่งต้องกาย)๖. มโนวิญญาณความรู้
    อารมณ์ทางใจ (รู้เรื่องในใจ)
    <O:p</O:p
    พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
    โดย พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)
     
  19. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ขอบคุณครับ
    งั้น แสดงความคิดด้วย


    ไม่เห็นด้วยเพราะ...<!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->"....ฝ่ายปฏิบัติ ไม่ค่อยอยู่หน้าเครื่อง ไม่ทันเกมพวกอยู่หน้าเครื่องมานาน
    ก็ทยอยกันเดินออกจากบอร์ดคนแล้วคนเล่า (ที่สดๆร้อนๆ คือ คุณวิสุทโธ)
    ต่อไป ก็คงเหลือแต่พวกดูจิต เป็นอริยะติดบอร์ด อยู่ ก็เท่านั้น

    มีการใช้ระบบ MLM หาพรรคพวก ถ้าเป็นพวกเดียวกัน ก็คุยกันกระหนุงกระหนิง
    แล้วพร้อมใจกัน กดไม่เห็นด้วยกับ คคห ของคนที่เสนอไม่เหมือนพวกตน
    อาฆาตมาดร้ายยิ่งกว่าแม่นาคพระโขนงเสียอีก…55+ขออภัย"


    ตามท่านเลย เห็นเหมือนกัน
     
  20. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    คนส่วนมาก พอพูดถึงขันธ์ ๕ มักจะพากันนึกถึงแต่ส่วนที่เป็น รูปขันธ์เท่านั้น ลืมส่วนที่เป็นนามขันธ์ผู้คิดผู้นึกไปเสียสิ้น พากันหลงรังเกียจกาย ลืมดูใจที่รังเกียจนั้นว่า นั่นก็เป็นทุกข์ ความจริงการเห็นสภาพร่างกายตามความเป็นจริงก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย เป็นการบรรเทาความเมาในวัยได้ดีทีเดียวนะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...