การนั่งสมาธิ วิปัสนา กรรมฐาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย พันตา, 4 มิถุนายน 2009.

  1. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    เมื่อไปหลงผลักไสขันธ์ ๕ อย่างนี้ แล้ววิ่งหา่ตัวที่เป็นจิตนั้น ในที่สุดจิตจึงว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่ เป็นโสดา สกิทาคา อนาคา อรหันต์ ขึ้นมานั่นเอง
     
  2. Peace in mind

    Peace in mind เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    175
    ค่าพลัง:
    +370
    ไม่เห็นด้วยจากใจจริง

    หากท่านมุ่งหวังจะแสดงให้เห็นความถูกต้องอย่างแท้จริงแล้วไซร้ อย่าลืมกำหนดจิตท่านเองให้แสดงตามความจริง โดยไม่กล่าวคำร้าย แม้ว่าใครจะกล่าวแก่ท่าน "ความถูก" นั้น "ความจริง" คือสิ่งที่นำมารองรับได้ ดังนั้น ถ้าท่านทำดีแล้ว ทำถูกแ้ล้ว แสดงความเห็นไว้แล้ว ไม่จำเป็นต้องเข้ามาแสดงความเห็นในทางที่จะต่อความยาวกันอีกเรื่อยไป เราเป็นคนเข้ามาอ่าน เห็นด้วยกับสิ่งที่ท่านอธิบายมาก็หลายเรื่อง แต่ไม่เห็นด้วยหากท่านจะแสดงความถูกผิดให้ชัดเจนว่าท่านถูก คนนั้นผิด ฯลฯ กลายเป็นวงจรก่ออารมณ์อกุศล ผู้อ่านก็เกิดความรู้สึกไม่ดีกลับไป ท่านยกข้อมูลอ้างอิงมารับรองให้พร้อม ในสิ่งที่ท่านเห็นว่าคลาดเคลื่อน บอกกล่าวกันด้วยเมตตา ให้อภัยซึ่งกันในคำที่แสดง มันเป็นเช่นนั้นผ่านแล้ว ละไปเสียซึ่งอารมณ์ ขอให้หันมามองความเป็นจริงตามนั้น ว่าสิ่งใดคลาดเคลื่อนไป สิ่งใดถูกต้องแล้ว ส่งเสริม ตักเตือน กันด้วยปราณี สละเสียซึ่งอารมณ์ในทางลบ ไม่มีพวกเราพวกเขากันอีกต่อไปนะท่านนะ
     
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    5. วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ ส่วนที่เป็นความรู้แจ้งอารมณ์ ความรู้อารมณ์ทางอายตนะทั้ง 6
    อายตนะแปลว่า บ่อเกิดหรือสื่อสัมพันธ์ บ่อเกิดหรือสื่อสัมพันธ์ ของอายตนะทั้งสองแล้วเกิดอารมณ์ขึ้น อายตนะมีตาเป็นต้น เมื่อสัมผัสกับรูปแล้ว ก็ติดต่อสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องถึงประสาทเข้ามาหาใจ แล้วใจก็รับเอามาเป็นอารมณ์ ถ้าดีก็ชอบใจ สนุก เพลิดเพลิน ถ้าไม่ดีก็ไม่ชอบใจ คับแค้นเป็นทุกข์โทมนัสต่อไป
    อายตนะ ประกอบด้วย อายตนะภายใน 6 และอายตนะภายนอก 6

    <TABLE width="83%" align=center><TBODY><TR><TD width="9%">หู </TD><TD width="54%">ที่เสียงดังมากระทบ</TD><TD width="37%">เรียกว่า โสตวิญญาณ</TD></TR><TR><TD>ตา </TD><TD>ที่เห็นวัตถุรูป </TD><TD>เรียกว่า จักษุวิญญาณ</TD></TR><TR><TD>จมูก</TD><TD>ที่ดมกลิ่นสารพัดทั้งปวง</TD><TD>เรียกว่า ฆานวิญญาณ</TD></TR><TR><TD>ลิ้น</TD><TD>ที่รับรสทุก ๆ อย่างที่มาสัมผัส </TD><TD>เรียกว่า ชิวหาวิญญาณ</TD></TR><TR><TD>กาย</TD><TD>ที่ถูกสัมผัสเย็นร้อนอ่อนแข็งอันจะรู้ได้ทางกาย </TD><TD>เรียกว่า กายวิญญาณ</TD></TR><TR><TD>ใจ </TD><TD>ความรู้สึกนึกคิดในอารมณ์นั้น ๆ </TD><TD>เรียกว่า มโนวิญญาณ</TD></TR></TBODY></TABLE>


    สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสระแก้ว

    *******************************************************
    ตามข้อมูลที่หามาทั้งหมด.....เริ่มที่จะงง....จิด คือ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์.......มีหน้าที่รับรู้ วิญญาณ เช่น จักษุวิญญาณ เมื่อมีการปรุงแต่ง.(ที่ใจ)......จึงเกิดเป็นอารมณ์ ทั้งดีและไม่ดี..............การรับรู้อารมณ์เป็นธรรมชาติที่จิตไปรู้...................

    ท่าน พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) บอกว่า จิต คือ วิญญาณ......เอาหละ ตกลงมันคนละขณะกันหรืออย่างไร.........

    ถ้าจิต เป็น วิญญาณ แน่นอนว่าจิตไม่เที่ยง....
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  4. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    จิต ตามหลักอภิธรรม ไม่เที่ยงแน่นอน เกิดดับตลอดเวลา.......อนุมาณว่า 1 ลัดนิ้ว จิตมีการเกิดดับ ประมาณ 1 ล้านๆ ครั้ง...........
     
  5. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    จิตมันก็นามขันธ์ประกอบกันนั่นแหล่ะ ไปไล่ปฎิจจสมุปบาทดู หากวิปัสสนาได้ ไม่เห็นเป็นอย่างอื่น ^-^
     
  6. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ผมว่า เอาเป็นว่า วิญญาณคือตัวรู้ ก็พอนะครับ จะรู้อะไรก็ช่าง รู้ทางไหนก็ช่าง ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ช่าง ก็คือมันรู้ รู้แล้วทีนี้่จะหลงในรู้ตรงนั้นมั้ย จะหลงปรุงต่อก่อทุกข์สุขต่อไปหรือไม่ อันนี้เป็นเรื่องของปัญญา เราต้องดึงความพิเศษของความเป็นมนุษย์ที่เราได้มา มาใช้คือ สติ ต้องสร้างตัวนี้ให้เกิดมีขึ้นมาให้ได้ก่อน ตำราอย่าเพิ่งเอามาใช้ เอาวางไว้ชั่วคราว เจริญสติให้มันอยู่กับปัจจุบัน เห็นปัจจุบันจริง ๆ เสียก่อน ให้ต่อเนื่องจะดีที่สุดครับ

    ดัุงคำกล่าวที่ว่า อตีตคือสิ่งที่ละไปแล้ว อนาคตคือสิ่งที่ยังไม่มาถึง ผู้ใดเห็นธรรมอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าในที่นั้น ๆ อย่างแจ่มแจ้ง ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน เขาควรพอกพูนอาการเช่นนั้นไว้ ดังนี้ครับ


    ขอบคุณครับ ขออนุโมทนากับความตั้งใจดี..
     
  7. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    คือ ต้องบอกก่อนนะว่าผมที่ตั่งคำถามและหาคำตอบนี้ไม่ได้ต้องการจะโจมตีฝ่ายใหน......

    ต้นเหตุเลยที่ หา คือ ท่านขันธ์ ขอกว่าจิตไม่เป็นอนัตตา .....
    แล้วท่าน Tboon บอกว่าจิตเป็นอนัตตา .......คืออยู่ในกฎของพระไตรลักษณ์......
    และผมก็ยังไม่มีความเข้าใจที่แน่ชัด....เลยหาคำตอบ.....

    พระอภิธรรม ตอบไว้เช่นนั้น...
     
  8. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    จิตดวงเดียวเที่ยวไป มันไม่ได้จิตไม่บุบสลายคงทนถาวรอยู่อย่างนั้น แต่หมายถึงจิตที่เกิดดับเป็นรอบ ๆ ทั้งภายใน จนกระทั้งภายนอก คือ เป็นร่าง มีภพ มีชาติ เกิด ๆ ดับ ๆ อย่างไม่สิ้นสุด เป็นกิเลสทั้งนั้น เป็นตัวทำให้ต้องเกิดอีก ดับปุ๊บ ก็เกิดใหม่ปั๊บ เป็นอย่างนี้ ^-^
     
  9. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ถ้าเราคลายขันธ์ ๕ ได้ ตัววิญญาณตัวนี้มันจึงจะอยู่ต่างหาก คือ มันไม่หลงอินไปกับความคิดง่าย ๆ (ในเบื้องต้น) ไม่หลงหน่วงเหนี่ยวเอาความคิดมาเป็นอารมณ์ได้ง่าย ๆ ครับ แต่มันก็ยังคงทำหน้าที่ของมันอยู่ มันมีหน้าที่อะไรมันก็ทำของมันอยู่อย่างนั้น ขันธ์ ๕ ก็ยังคงดำรงอยู่ตรงนั้น แต่ไม่หลงในอาการของเขา มันก็ดีตรงนี้และ ดีตรงที่มันมีสติสัมปชัญญะประกอบบ้างแล้ว
     
  10. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ผมมีปริศนา เกี่ยวกับ จิต

    จิตนั้น เขาว่ากันว่า เมื่ออรหันต์ ก็คือ ไม่หยิบฉวยจิตขึ้นมาอีก ซึ่งเป็นการพูด
    ที่ทำให้เห็นการเข้านิพพาน แต่เราก็งงว่า แล้วทำไมยังมีชีวิตอยู่ ถ้าไม่หยิบ
    ฉวยจิต

    ก็เลยมีคำว่า กริยาจิต มาใช้แทน โดยไม่พูดว่า จิตอีก หรือ พระอรหันต์มีแต่
    กริยาจิต เพื่อให้รู้เป็นนัยอีกว่า ไม่ใช่ถือจิตไว้

    ทั้งนี้ จิต ตัวมันเองเป็นตัวทุกข์ หรือ เป็นทุกขสัจจ

    ทำไมถึงกล่าวว่า จิตเป็นทุกขสัจจ ก็จะไปที่คำที่นักวิปัสสนาใช้เป็นหลักใน
    การระลึกรู้ คือ เราไม่มีวันจะไปแทรกแซงการรู้ของจิตได้ เมื่อไหร่มีจิต ก็
    จะต้องมีการหยั่งลงสู่รูปนาม(โลก) และเมื่อหยังลงรูปนาม เวทนาจะเกิด
    ทันที วิญญาณเกิดทันที และ สังขารเกิดทันที ... การวิปัสสนาถึงที่สุดก็
    จะมาให้เห็นสภาวะนี้ และนี้คือ สภาวะความเป็นจริงที่ต้องเข้ามาเห็น เห็น
    แล้วถึงจะประจักษ์ในทุกขสัจจนี้ เมื่อประจักษ์ ก็จะละคลายความกำหนัด
    เมื่อละคลายความกำหนัดจึงรู้ว่า พ้น คำว่าพ้นก็คือพ้นจากการยึดถือจิต

    การพ้นจากการยึดถือจิต ลำพังโสดาบันก็ประจักษ์แล้ว แต่จะให้บรรยาย
    ออกมาว่า จิตไม่ยึดถือจิต มันเป็นอย่างไร ...ตรงนี้ไม่มีทางที่จะบรรยาย
    ได้..คำว่าปัจจัตตังเกิดตรงนี้ และหมายเอาตรงนี้ ไม่ใช่ ทำสมาธิมีฤทธิ
    มีเดชอย่างนู้นอย่างนี้แล้วอ้างเป็นปัจจัตตัง เพราะตรงนี้พระพุทธองค์
    กล่าวว่า มันเป็นของชาวบ้าน คือ ใครๆก็ศึกษามารู้ได้ หมอดูธรรมดาๆ
    ก็สามารถมีได้ เห็นได้ ปลุกได้ ทำนายได้ ผลักได้ รังแกได้ โดยที่หมอ
    ดูคนนั้นไม่ต้องมีศีลให้ประจักษ์ชัดก็ยังได้ ชาวบ้านรู้ได้นั่นเอง

    ซึ่งจะเห็นว่า สภาวะการเห็นว่าจิตนั้นเราไปแทรกแซงการรู้ไม่ได้ จะไม่มีใน
    ความคิดคำนึงของนักทำสมาธิ เพราะการทำสมถะคือการแทรกแซงการรู้
    เพื่อให้แนบ คำว่าเพื่อให้แนบมันคนละรสกับรู้ชัด เพราะการแนบแนบไป
    เพราะมันเป็นอุเบกขา ไม่ใช่แนบเพื่อรู้ คำว่า อุเบกขา กับ รู้ ต้องดูรสทาง
    ธรรมให้ดี ...หากทำ สัญญาเทยิตนิโรธรนได้จะรู้ความชัดระหว่าง อุเบกขา
    ในการรู้อย่างสมบูรณ์(หมดการระลึกรู้ - จะต้องรอจนกว่าปัจจัยหมดจึงจะ
    กลับมาระลึกรู้ได้ )...ดังนั้น ฌาณ ทำไปก็เพื่อให้รู้ว่า ทางไหนคือทางที่
    ก้าวไปแล้วพลาด พระพุทธองค์ก็กล่าวตรงนี้ไว้ชัดเจนว่า ไม่ใช่ทางพ้นทุกข์
    แล้วก็ไม่ใช่ทางรู้ทุกขสัจจด้วย เพราะพระพุทธองค์ยังต้องหาทางใหม่อยู่
    จนกระทั่งพบในที่สุด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2009
  11. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ตัวอย่างรอบภายในจิต หรือขันธ์ หรือปฎิจจสมุปบาท

    ผมนั่งหลับตาจนมีสมาธิในระดับหนึ่ง จะเห็นสิ่งเคลื่อนไหวภายใน บางท่านเรียกความคิด บางท่านเรียกเกิดดับ

    เริ่มรอบนี้เห็น พอลล่า นี่ขณะหลับตาอยู่ เรียกว่า เกิดรูป
    วิญญาณรับรู้ ว่านี่รูป
    สัญญาทำงานต่อมา ว่า อ๋อ นี่มันพอลล่า สาวสาย
    ที่นี้สังขารทำงานเลย โอ้แหมอยากได้ อยากอยู่ใกล้ สวย พึงตา พึงใจ (กิเลสปรุง)
    เวทนา รับช่วงทันที มันเพลิน มีพอลล่าอยู่ด้วยชีวิตคงมีสุข

    แล้วก็จะจบรอบ เป็นระลึก ละอายได้ มันก็ย้อนลงเวทนาอีก
    พอมีเรื่องใหม่มา ก็ขึ้นรอบใหม่ได้
    หรือสังขารปรุงไปเรื่อย ๆ ก็ขึ้นรอบใหม่ไป

    นี่คือ ตัวอย่างของรอบปฎิจจภายใน หรือจิตเกิดดับเป็นรอบ ๆ ^-^
     
  12. Peace in mind

    Peace in mind เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    175
    ค่าพลัง:
    +370
    ขอบคุณที่ทำให้กระจ่าง

    อ่านตามที่ยกมา ตกลงที่เห็น จิต กับใจ คือตัวเดียวกัน ในความหมายของจิตไม่มีสิ่งที่เรียกว่า "วิญญาณ "แต่ในความหมายของวิญญาณกลับมี "จิต"
    วิญญาณกับจิตคือตัวเดียวกัน หรือ? หรือว่า เมื่อเกิดการกระทบของอายตนะภายในภายนอกเกิดเป็นวิญญาณขึ้นเช่นโสตวิญญาณ ก็เกิดจิตขึ้นด้วยเืพื่อรับรู้อารมณ์ที่เกิดจากการได้ยิน
    แล้วทำไม ถึงมีการแบ่งจิตโดยชาติเป็นกุศลและอกุศล และโดยภูมิ เป็นกามา รูปา อรูป โลกุตร ในขณะที่วิญญาณนั้นเกิดดับตามการกระทบกันของอายตนะภายในและภายนอก ดูเหมือนมันจะเป็นคนละสิ่งกัน แต่ก็เหมือนมันเป็นสิ่งเดียวกันนะ งง งง แระ แล้วทำไม วิญญาณ จึงถูกแยกอยู่ใน ขันธ์ 5 ในขณะที่เรากำหนดสติหรือเจริญสติเพื่อฝึกจิตให้ละเอียดและตามรู้ความเป็นไปของขันธ์ได้ล่ะ
    รูป 1 นาม 4 เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แล้วยังไงจิตและวิญญาณ ดั๊นเป็นสิ่งเดียวกันไปด๊าย ทั้ง ๆ ที่มีเกิดภายใต้เงื่อนไขที่แตกต่างกัน หรือ จิตก็คือจิต แต่เมื่อเกิดวิญญาณตามการมีอยู่ของขันธ์ 5 จิตก็เกิดและดับตามนั้นไปด้วย จึงกล่าวได้ว่า จิต ณ ขณะนั้นก็คือวิญญาณ zzzz ไม่สงสัยมันเลยจะดีกว่ามั๊ยเนี่ยะ ปวดหัวหนอ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2009
  13. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ผมไม่ได้บอกว่า จิตเป็นอัตตา หรือ อนัตตา ใด ๆ จิตจะเป็นอะไรก็ช่างเขา ผมไม่สนใจตรงนั้น

    ผมสนใจเพียงว่า เวลานี้จิตเขาเข้าไปร่วมไปหลงกับความคิด หลงหน่วงเหนี่ยวเอาความคิดเข้ามาเป็นอารมณ์บ้างหรือไม่ อย่างไร ผมศึกษาและทำความเข้าใจตรงนี้ กิเลสปรุงจิต หรือจิตปรุงกิเลส สมถะก็ใช้ วิปัสสนาก็ใช้ ใช้หมด ตามความเหมาะสมในแต่ละสภาวะ ไม่ยึดมั่นเครื่องมือ ใช้แล้วก็วาง มีปัญหาก็เอามาใช้ใหม่ ไม่เห็นมีปัญหาอะไรเลย ทุกวันนี้ก็เพียงแค่เริ่มเห็นและเข้าใจความจริงตรงนี้บ้างแล้ว ก็เท่านั้นเอง ท่านน่าจะลองมาฝึกสติให้เห็นตรงนี้บ้าง ไม่น่าจะเสียหายอะไร เป็นกุศลทั้งนั้นครับ...กาลามสูตร.
     
  14. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    พระอภิธรรมบอกว่า จิตไม่มีรูปร่าง ไม่มีลักษณะ ไม่เที่ยง ......มันจะเป็นดวงเดียวได้ไง......
     
  15. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    นั่นนะผมก็กำลัง งง.....
     
  16. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    กว่าจะอ่านถึงหน้านี้เล่นเอาคอเคล็ดเลย

    เวียนหัวมากๆกับ สมถะนายิก และ วิปัสสนายานิก

    สำหรับผู้เริ่มต้น(เช่นผม) คงจะมึนตึบ

    จิต ที่มักนิยมกล่าวๆกัน มีอยู่2 นัยยะ

    หนึ่งคือจิตที่เที่ยง ท่องเที่ยวไปทั่วสังสารวัฏโดยความไม่รู้ที่ยังแยกไม่ออกจากอวิชชา เมื่อแยกออกได้ จะกลายเป็นจิตหนึ่ง หรือ ฐีติจิต หรือ มโนธาตุ

    สองคือจิตที่ประกอบไปด้วยเจตสิก มีการเกิดดับสืบเนื่องเป็นสันตติจิต สิ่งนี้คือของลวงที่ทำให้มองไม่เห็นฐีติจิต หากเจริญสติมากๆจนหยุดกระบวนการนี้ ความรู้แจ้งจึงเกิดขึ้น ที่มักเรียกว่าการแหวกจอกแหนออกไปเพื่อเห็นผิวน้ำ ทำได้ชั่วขณะ แต่ทัสนะก็เปลี่ยนไปตลอดกาล

    แบบที่หนึ่ง ผู้เข้าถึงแล้วมักนิยมกล่าวถึงจิตในลักษณะนี้
    แบบที่สอง ผู้ที่กำลังเดินทาง เห็นเกิดดับเกิดดับ ก็มักกล่าวถึงจิตในลักษณะนี้

    กระทู้นี้อ่านแล้วสนุก น่าติดตาม เสียดายก็แต่ท่านวิสุทธโธที่จากไป...
     
  17. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    งง เพราะ ไม่ได้ทำ
    งง เพราะ มัวแต่เทียบ
    งง เพราะ มัวแต่คิด
    งง เพราะ มัวแต่ตีความตามพระสูตร
    งง เพราะ จิตปรุงแต่ง
    งง เพราะ ความไม่รู้

    จิตก็จิต นิพพานก็นิพพาน มันไม่ได้เป็นอย่างเดียวกัน ของมันต้องขัดเกลา ต้องอบรม ต้องพิจารณาตั้งมากมาย หลายภพ หลายชาติ ไปตีว่ามันอันเดียวกัน ยุ่งตาย

    ไปล่ะ เจริญในธรรม แล้วตั้งเป้าหมายให้ดีว่า "ดับทุกข์" ^-^^-^
     
  18. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    เราไปผูกปมให้มันยุ่งทำไม ทำไมเราไม่คลายมันออก ด้วยสติสัมปชัญญะจริง ๆ ไม่ใช่นั่งคิดว่า เป็นอย่างนั้นมั้งอย่างนี้มั้งอยู่นั่นเอง ทำปัจจุบันขณะ ปัจจุบันธรรมให้มันบังเกิดสิ แล้วสังเกตดูเอา ถ้าปัจจุบันธรรมมันเกิดยากก็ช่วยเขาหน่อย เอาสมถะเข้าไปข่มความเคยชินเสียบ้าง ไม่ใช่มาถึงจะมานั่งคิด ๆ แล้วก็จะให้มันทะลุทางความคิดไปเลย อันนั้นมันก็ต้องมึนกันทั้งนั้นแหละครับ

    สู้ ๆ เป็นกำลังใจให้ครับ
     
  19. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    แล้วคุณ วิมุตติ เห็นอย่างไรหละ เห็นว่า ฐีติจิต ซึ่งเป็น มโนธาตุ
    คือ อสังขตธาตุ หรือเปล่า

    คุณคิดว่า สังขตธาตุ สามารถเอามาค้นหา อสังขตธาตุ ได้หรือเปล่า ( เอาจิตแสวงหาจิต )

    * * * *

    จิตอบรมได้คืออะไร จิตอบรมได้ก็คือจิตอบรมให้ละกิเลสได้

    แต่มันคืออันเดียวกันกับจิตอบรมให้สร้าง อสังขตธาตุ ได้กระนั้นหรือ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2009
  20. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    สมมติ ย่อมเป็น สมมติ อยู่วันยังค่ำ...
     

แชร์หน้านี้

Loading...