แจกแผ่นยันต์หนุนดวงชะตาฟรี

ในห้อง 'แจกฟรี' ตั้งกระทู้โดย เด็กไร้เดียงสา, 5 ตุลาคม 2008.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. เด็กไร้เดียงสา

    เด็กไร้เดียงสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,024
    ค่าพลัง:
    +3,303
    จับผิดคนเก่ง

    ----มีหลายท่านครับที่ถามผมว่าอาจารย์เราจะรู้ได้ไงว่าคนนั้นทำได้เก่งจริงมีวิชาจริงสำเร็จจริง เห้นมีหลายคนบอกว่าเขาเก่งจริงทำได้จริงสำเร็จแล้ว พอจะมีข้อสังเกตุไหมครับ
    ตอบ ในเรื่องนี้ผมไม่อยากตอบเลยครับ เพราะทุกวันนี้บางคนที่มีความเคารพผมก้มีบางคนคิดไม่ดีไม่เคารพผมแถมยังเอาพระธรรมที่ผมนำมาบอกตามจริงที่พระพุทธองค์ท่านทรงตรัสไว้ไปเปลี่ยนแปลงเสียอีก แต่ที่ถามมานี่ก้ดีครับ ผมจะบอกไว้ว่า
    การที่จะสังเกตุว่าคนนั้นเขาดีจริงเก่งจริงหรือฯลฯ ให้ดูตามนี้ครับ
    1 มีศีลไหม
    2 นิวรณ์ละได้บ้างป่าว
    3 ถือตัวถือตนมีมานะ มีอัตตา สูงไหม
    4 พรหมวิหารสี่มีไหม
    5 เขาสอนอะไรเน้นอะไรเป็นหลักใช่ตามธรรมที่พระพุทธองค์ท่านทรงสอนเอาไว้หรือป่าว
    6 คนที่เก่งจริงเขาไม่อวดหลอกครับ ที่อวดนั้นก้แสดงกิเลสความต้องการให้คนอื่นยอมรับในตัวเขาใจยังเป็นทาสของอารมณืของคนอื่นอยู่มาก ใจไม่เป็นไทมากเพียงพอ
    ตามที่กล่าวมาให้ดูคุณสมบัติแค่นี้ก้พอจะทราบได้แล้วว่าเป็นอย่างไร
    แต่ถ้ายังมีมานะถือตัวถือตนอยู่มาก อวดดีอวดเก่ง ก้เป็นแค่เพียงเด็กน้อยๆที่ยังอวดฉลาดและยังงมงายอยู่ก็เท่านั้นครับ (คำตอบนี้อาจค่อนข้างแรงหน่อยนะครับ อยากให้คิดกันให้มากๆ) สมัยนี้เก่งกันมากแต่ธรรมะบางข้อยังรักษากันไม่ได้เลยแล้วจะเอาอะไรมาเก่งกัน
    พิจจารณาดูนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มิถุนายน 2009
  2. เด็กไร้เดียงสา

    เด็กไร้เดียงสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,024
    ค่าพลัง:
    +3,303
    แจ้งข่าวดีครับ เว็ปใหม่สำหรับญาติธรรม

    แจ้งข่าวดีนะครับ พอดีมีท่านใจบุญท่านนึงอยากช่วยงานในพระพุทธศาสนา ท่านนี้ถนัดเรื่องคอมฯ ก็เลยจัดทำเว็ปไซด์ใหม่ให้ผมเพื่อจะได้เป็นการสดวกในการติดต่อกับเหล่าญาติธรรมกันแบบสบายๆโดยที่ไม่ต้องมีใครมารบกวนกันมากนัก อย่างไรขอให้ทุกท่านลองแวะไปเยี่ยมชมเว็ปไซด์ใหม่ของผมนะครับ ชื่อ เว็ปไซด์ ธรรมประทานครับ ตามลิงค์นี้เลยครับhttp://www.thumpratharn.com/ลองเข้า...ระมากครับไม่มีเวลาดุแลให้เขาทำมอบให้ผมไว้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มิถุนายน 2009
  3. audi1416

    audi1416 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +853
    เข้าไปดูเว็บมาแล้วครับ สวยงามมากครับ
    อนุโมทนากับผู้จัดทำด้วยนะครับ
     
  4. jeenus

    jeenus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,513
    ค่าพลัง:
    +3,576
    เรียน ท่าน ญาติธรรม ทุกท่านครับ
    ท่านใดที่ประสงค์ จะช่วยท่าน อ.คนวัด ดูแลเว็บ ธรรมประทานกรุณาสมัครเป็นสมาชิกก่อนนะครับ แล้ว ส่งข้อความส่วนตัว(Pm)มาที่ user = admin นะครับ

    อยากให้ท่าน แนะนำติ ชม ปรับปรุง ต้องการให้เว็บมีสาระอะไรบ้าง เขียนมาในกระทู้ ได้เลยครับ :z4
     
  5. พรบารมีสามสิบทัศ

    พรบารมีสามสิบทัศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    183
    ค่าพลัง:
    +220
    เข้าไปดูแล้วครับ สวยงามดีครับ ขออนูโมทนาบุญกับท่านผู้จัดทำเวปนี้ด้วยครับ
    แล้วก็ขอเชิญบรรดาญาติธรรมทั้งหลายเข้าไปดูกันเยอะๆน่ะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มิถุนายน 2009
  6. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,684
    ค่าพลัง:
    +21,337
    สงสัยหน่อยครับขอถามหน่อย.....

    แล้วเราจะรู้ได้ยังไงครับเพราะว่าตามความเป็นจริงเราไม่ได้อยู่กับท่านเหล่านั้น

    ตลอดเวลาต่อหน้าอาจจะเป็นอีกอย่างลับหลังเป็นอีกอย่าง........

    เราจะรู้ได้ยังไงการสังเกตุแค่ครั้งสองครั้งหรือตามคำบอกเล่าส่วนมากก็มักจะ

    บอกเรื่องดีๆก่อน..เรื่องไม่ดีก็ไม่ค่อยจะมีใครบอกกล่าวกัน......หรือมีก็ไม่กล้า

    บอกกลัวจะไปมีปัญหาหรือเกิดปัญหา.มันไม่เหมือนการบอกในเรื่องดี........

    พี่มีความเห็นยังไงครับช่วยบอกกล่าวด้วย..........

    ถ้าใช้ปัญญาตนเองกับการมองคนอื่นในแง่ดี...ทำให้เกิดความผิดพลาดได้

    ช่วยลองอธิบายแบบละเอียดหน่อยครับ............

    คงถามไม่ยากนะพี่ 555
     
  7. เด็กไร้เดียงสา

    เด็กไร้เดียงสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,024
    ค่าพลัง:
    +3,303
    ในเรื่องนี้ต้องอาศัยเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ครับ และต้องอาศัยการอยู่ใกล้ชิดเป็นเครื่องสังเกตุครับ แต่ก็ใช้หลักตามที่ผมบอกมานั้นเป้นข้อสังเกตุได้ชัดเจนครับ
    ก่อนอื่นให้มองแบบกว้างๆครับอย่าพึ่งไปปักใจว่าดีหรือไม่ดี เพราะว่าตราบใดที่คนเรานั้นยังมีกิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดอยู่ ก็ยังไม่ถือว่าดีทั้งร้อยเปอร์เซนต์
    และเป้นธรรมดาครับไม่มีใครดีทั้งหมดและไม่มีใครที่เลวทั้งหมดต่างก็มีดีมีชั่วปะปนกันไป ยกเว้นผู้เข้าเขตอริยบุคคลแล้ว
    และที่สังเกตุง่ายๆมากที่สุดดูว่าบารมีธรรมความเจริญในทางโลกและทางธรรมที่แสดงออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรมนั้นมีการพัฒนาการเกิดขึ้นในด้านที่ดีหรือไม่ครับ
     
  8. rapwc

    rapwc เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    136
    ค่าพลัง:
    +136
    เรียน อาจารย์คนวัดที่เคารพค่ะ
    ได้รับเทียนสะเดาะเคราห์แล้วค่ะ ไม่ทราบว่าเทียนมีมีวิธีการจุดอย่างไรค่ะอาจรย์ ขอความอนุเคราะห์ด้วยค่ะอาจารย์ และขออนุโมทนา สาธุด้วยความเคารพค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มิถุนายน 2009
  9. เด็กไร้เดียงสา

    เด็กไร้เดียงสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,024
    ค่าพลัง:
    +3,303
    วิธีการจุดให้จุดเหมือนวิธีจุดเทียนเศรษฐีครับ แต่ให้จุดตามวันเกิดครับ เช่นเกิดวันจันทร์ก็จุดวันจันทร์ ครับ
     
  10. เด็กไร้เดียงสา

    เด็กไร้เดียงสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,024
    ค่าพลัง:
    +3,303
    วันนี้ไปทำบุญมาครับเลยนำรูปมาฝากอีกเช่นเคย

    วันนี้10 มิย 52 ผมได้เดินทางไปกราบครูบาอาจารย์และได้แวะไปทำบุญไปที่วัดสระเกษ อ่างทองสถานที่พระเนศวรมหาราชท่านทรงยกทัพไปรบ ได้ถวายสังฆทานพร้อมกับบริจาคเงินซื้อที่ดินให้กับวัดสระเกษ อ่างทอง และหลังจากนั้นไปกราบหลวงพ่อจรัล วัดอัมพวัน สิงห์บุรี หลังจากนั้นก็แวะไปกราบพระปู่ฤาษีแก้วปฐมมุนี ที่อาศรมท่าวุ้ง ลพบุรี เลยนำรูปมาฝากครับ แต่เสียดายที่ไฟล์กล้องเสียเลยทำให้รูปบางส่วนขาดหายไปครับ
    ขอเชิญทุกท่านอนุโมทนาบุญกับผมได้เลยครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2009
  11. พรบารมีสามสิบทัศ

    พรบารมีสามสิบทัศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    183
    ค่าพลัง:
    +220
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2009
  12. chantasakuldecha

    chantasakuldecha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2008
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,331
    อนุโมทนา สาธุ สาธุ
    อ.คนวัดครับ ผมอยากทราบหลักในการเดินจงกรมหน่อยครับ ขอบคุณครับ
     
  13. บรม

    บรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,163
    ค่าพลัง:
    +3,926
    เรียนอ.คนวัด ได้จุดเทียนวันนี้หน้าโต๊ะหมู่ที่ทำงาน ตอนแรกลุกโชนดีครับแต่หลังจากนั้น 30 นาทีก็ดับต้องจุดใหม่ 30 นาที่ก็ดับอีก จุดใหม่อีกครั้งจนหมดเล่ม สรุปไฟโชติช่วงดีครับ เทียนดับ 2 ครั้ง ขี้เถ้าออกจะเทามากกว่าดำครับ ขอบคุณครับ
     
  14. เด็กไร้เดียงสา

    เด็กไร้เดียงสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,024
    ค่าพลัง:
    +3,303
    ช่วงนี้ผมอาจมีงานที่ต้องทำมากนิดหน่อยนะครับอย่างไรที่ถามคำถามผมเอาไว้จะทยอยตอบให้ครับผม อย่างไรก้ฝากกระทู้กับญาติธรรมทุกท่านด้วยครับและขอฝากเว็ปไซด์ใหม่ด้วยครับ
     
  15. พรบารมีสามสิบทัศ

    พรบารมีสามสิบทัศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    183
    ค่าพลัง:
    +220
    พอดีจะเอาไปลงในเวป ธรรมประทาน ก็เลยเอามาให้อ่านกันก่อนครับ คงไม่ตรงประเด็นแต่ก็เป็นอานิสงส์น่ะลองอ่านกันดูน่ะครับ
    " อานิสงส์ของการเดินจงกรม "

    การฝึกจิตให้เป็นสมาธินี้ผู้ปฏิบัติสามารถเลือกอิริยาบถในท่าต่างๆ ได้ดังนี้ คือ
    ๑. ท่านั่งได้แก่ท่านั่งขัดสมาธิสองชั้น (ขัดสมาธิเพชร)ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมปฏิบัติกันทั่วไปท่านั่งขัดสมาธิแบบธรรมชาติเป็นท่านั่งตามธรรมชาติช่วยให้ขาไม่เมื่อยชาได้ง่ายท่านั่งพิงฝาเหยียดเท้าเหมาะสำหรับคนแก่ ท่านที่ทุพพลภาพ ไม่สมประกอบท่านั่งบนเก้าอี้แล้วทอดขาลงมาเหยียบพื้นเหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดขาปวดหัวเข่า และผู้ที่มีร่างกายอ้วนใหญ่ไม่สามารถนั่งขัดสมาธิได้ <O:p</O:p
    ๒. ท่ายืนเป็นการเปลี่ยนอิริยาบถอีกแบบหนึ่ง เพื่อฝึกสมาธิให้ต่อเนื่องและเหมาะอย่างยิ่งในการปลงสังขาร แผ่เมตตา <O:p</O:p
    ๓. ท่านอนได้แก่ท่านอนสีหไสยาสน์คือ นอนตะแคงขวา และท่านอนหงายซึ่งเหมาะสมสำหรับคนชรา ผู้ที่เจ็บป่วย หรือมีร่างกายอ้วนมากไม่เหมาะกับการใช้ท่าอื่นปฏิบัติสมาธิ <O:p</O:p
    ๔. ท่าเดินเรียกว่าเดินจงกรมวิธีนี้ไม่เหมาะสำหรับผู้ชรา หรือ ผู้ที่มีกำลังขาไม่แข็งแรง ไม่สมประกอบเพราะอาจหกล้มได้ง่าย<O:p</O:p
    การเดินจงกรมนั้น ควรจะเดินในตอนรุ่งเช้าก่อน ๘ นาฬิกาผู้ปฏิบัติจะได้รับประโยชน์ต่างๆ ในด้านสุขภาพพลานามัย คือ<O:p</O:p
    ๑. ได้รับพลังงานที่เป็นประโยชน์จากแสงอาทิตย์และในช่วงเวลานี้ แสงอุลตร้าไวโอเล็ตยังไม่แรงจัด <O:p</O:p
    ๒.ได้รับอากาศบริสุทธิ์ อากาศยังมีมลภาวะเป็นพิษไม่มากนักหากเป็นการเดินตาม ชายหาดชายทะเล จะได้มีโอกาสสูดโอโซนอีกด้วย <O:p</O:p
    ๓. เป็นการออกกำลังกายที่ประหยัดที่สุดการเดินจะช่วยให้มีกำลังขาแข็งแรง สามารถเดินทางได้ไกลๆ <O:p</O:p
    ๔. เมื่อมีการออกกำลังกายจนได้เหงื่อแล้วร่างกายจะขับสารทางเคมีอย่างหนึ่งเรียกว่า " เอ็นโดฟิน (Endophin) " ออกมาทำให้ร่างกายรู้สึกสบาย สดชื่น มีอารมณ์ดี คลายเครียด <O:p</O:p
    ๕. ระบบการขับถ่ายอุจจาระจะได้รับการกระตุ้นให้ทำงานช่วยให้ท้องไม่ผูก คำว่า"เดินจงกรม"นี้ หมายความว่าการเดินบริกรรมภาวนาไปมาโดยมีสติกำกับและคำว่า"สติ"ในกรณีนี้หมายถึง"สติปัฏฐาน ๔"ซึ่งมีความหมายอย่างหยาบๆ คือ <O:p</O:p
    ๑. กายานุปัสสนาสติปัฏฐานคือการมีสติรู้เท่าทันว่าจิตกำลังเกาะติดอยู่ที่อิริยาบถการเคลื่อนไหวของร่างกายของเราในขณะเดินจงกรมนั้นเช่น เรากำลังก้าว เรากำลังเดิน เรากำลังหยุด เป็นต้น <O:p</O:p
    ๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานคือการมีสติรู้เท่าทันว่า จิตกำลังรับรู้อารมณ์ทุกขเวทนา หรือ สุขเวทนาที่ร่างกายกำลังได้รับอยู่ในขณะที่เดินจงกรม เช่น ความปวดเมื่อย ความเหนื่อยความสดชื่น กระปรี้กระเปร่า เป็นต้น <O:p</O:p
    ๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานคือการมีสติรู้เท่าทันว่าจิตกำลังรับรู้อารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นเพราะจิตไปคิดถึงเรื่องโน้น เรื่องนี้ในระหว่างที่กำลังเดินจงกรม เช่นโทสะจริต (โกรธ) โลภะจริต (หลง) ราคะจริต (อยากได้สิ่งนั้นสิ่งนี้อยากเป็นอย่างนั้น อยากเป็นอย่างนี้) เป็นต้น <O:p</O:p
    ๔. ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานคือการมีสติรู้เท่าทันว่า ในขณะกำลังเดินจงกรมนั้นจิตกำลังยกเอาพระธรรมคำสั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเรื่องหนึ่งเรื่องใด เช่นนิวรณ์๕ อริยสัจจ์ ๔ ฯลฯ มาเป็นอารมณ์พิจารณา ไตร่ตรอง ทบทวนเพื่อให้เกิดปัญญาแตกฉานมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้นประเด็นนั้นแจ้งชัดยิ่งขึ้น คำภาวนาที่นิยมใช้กันทั่วไปในขณะเดินจงกรม คือเมื่อจะเริ่มต้นเดิน ภาวนาว่า"ยืนหนอ อยากเดินหนอ"ในระหว่างการเดินจงกรมภาวนาว่า"ซ้ายย่างหนอ ขวาย่างหนอ"เมื่อรู้สึกเมื่อย ภาวนาว่า"เมื่อยหนอ"เมื่อเดินไปสุดทางจะเดินกลับ ภาวนาว่า"หยุดหนอ กลับหนอ"ดังนี้เป็นต้น<O:p</O:p
    ดังนั้น การเดินจงกรมโดยการบริกรรมภาวนาดังกล่าวนี้ผู้ปฏิบัติจะได้รับอานิสงส์เพียงสองประการ คือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน กับเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน เท่านั้น <O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงอานิสงส์ของการเดินจงกรมไว้ ๕ประการ ดังปรากฏในปัญจกนิบาต<O:p></O:p>
    อังคุตตรนิกาย ไว้ว่า <O:p</O:p
    ๑. ทำให้เป็นผู้เดินทางไกลได้ทน <O:p</O:p
    ๒. ทำให้เป็นผู้ทำความเพียรได้ทน <O:p</O:p
    ๓. ทำให้เป็นผู้มีความไข้เจ็บน้อย <O:p</O:p
    ๔. ทำให้อาหารที่กิน ดื่ม เคี้ยว ย่อยได้ดี <O:p</O:p
    ๕.สมาธิที่บรรลุในขณะเดินจงกรมตั้งแน่วแน่อยู่ได้นาน<O:p</O:p
    พระพุทธพจน์ดังกล่าวข้างต้น ข้อ ๕.ควรจะเป็นสิ่งที่นักศึกษาและปฏิบัติธรรมควรให้ความสนใจหยิบยกมาเป็นอารมณ์เพ่งพินิจไตร่ตรองพิจารณาเพื่อให้เกิดปัญญาแตกฉานว่าเพราะเหตุใด พระพุทธองค์จึงได้ตรัสไว้เช่นนั้น มิใช่หยุดนิ่งที่อารมณ์เดียว คือรับทราบว่า ได้ทรงตรัสไว้อย่างนั้น โดยมิได้คิดเสาะหาเหตุผลต่อไป ก่อนอื่นผมใคร่ขอทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์สำคัญในการปฏิบัติสมาธิอีกครั้งหนึ่งว่าการปฏิบัติสมาธิ คือการกำหนดจิตให้เกาะติดพิจารณาเรื่องหนึ่งเรื่องใดเพียงเรื่องเดียว ที่เรียกว่าวิตกและเฝ้าประคองจิตให้นิ่งเฝ้าพิจารณาเรื่องนั้นอย่างต่อเนื่องอยู่แต่เพียงเรื่องเดียวไม่ฟุ้งซ่านไปคิดถึงเรื่องอื่นๆ ที่เรียกว่าวิจารถ้าสามารถควบคุมจิตให้พิจารณาเรื่องนั้นอย่างต่อเนื่องได้เป็นเวลานานๆจิตจะเข้าสู่ภาวะสงบนิ่ง ที่เรียกว่าเอกัคคตาบังเกิดเป็นสมาธิขึ้นในที่สุด ในระหว่างการเดินจงกรมนั้น ร่างกายมีการเคลื่อนไหวทวารทั้งหก ซึ่งได้แก่ปัญจทวาร คือ ตา ลิ้น จมูก หู และ กาย กับ มโนทวาร คือจิตเปิดพร้อมกัน จึงสามารถรับรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และความนึกคิดที่เกิดจากสมอง สามารถรับและสร้างตัณหาอารมณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดีดังนั้น เมื่อทวารทั้งหกเปิดพร้อมๆ กันจิตจะมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนไปรับและสร้างตัณหาอารมณ์ต่างๆที่ผ่านทวารหนึ่งทวารใดเข้ามา ทวารนี้บ้าง ทวารนั้นบ้าง หากจิตมิได้รับการฝึกที่ดีจะเป็นการยากลำบากอย่างยิ่งที่จะทำให้จิตเกิดเป็นสมาธิขึ้นได้<O:p</O:p
    ท่านเจ้าคุณ พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)ได้กล่าวเปรียบเทียบเรื่องนี้ไว้ว่า การภาวนาก็เหมือนกันกับบุรุษจับเหี้ยมีใจความว่า “.....เหี้ยตัวหนึ่งเข้าไปอยู่ในโพรงจอมปลวกซึ่งมีรูอยู่หกรูถ้าเหี้ยเข้าไปในที่นั้น ทำอย่างไรเราจึงจะจับมันได้ จะต้องปิดไว้สักห้ารูเอาอะไรมาปิดไว้ให้เหลือแค่รูเดียวสำหรับให้เหี้ยออก นอกนั้นปิดให้หมดแล้วให้นั่งจ้องมองอยู่ที่รูนั้น ครั้นเหี้ยวิ่งออกก็จับ อันนี้ฉันใดการกำหนดจิตก็ฉันนั้น ตาก็ปิดไว้ หูก็ปิดไว้ จมูกก็ปิดไว้ ลิ้นก็ปิดไว้ กายก็ปิดเหลือแต่จิตอันเดียว ตา หู จมูก ลิ้น กาย ปิดมันไว้ คือ สำรวมสังวรให้กำหนดจิตอย่างเดียว... การภาวนาก็เหมือนกันกับบุรุษจับเหี้ย....<O:p</O:p
    เกี่ยวกับข้ออุปมาอุปมัยของท่านพ่อชาฯดังกล่าวผมใคร่ขออนุญาตนำมายกเป็นข้ออุปมาอุปมัยให้เข้ากับเรื่องนี้ ดังนี้ในโพรงจอมปลวกหนึ่งมีเหี้ยอยู่หกตัว มีรูอยู่หกรูหากเราเปิดรูทั้งหมด เราจะสามารถจับเหี้ยได้เพียงตัวเดียว หรือสองตัวเท่านั้นส่วนที่เหลือจะสามารถหนีเล็ดรอดออกไปทางรูอื่นๆ เพราะเราคงจะคว้าจับมันไม่ทันแต่ถ้าเราเปิดไว้ให้มีรูออกเพียงรูเดียวเหี้ยทุกตัวก็จำเป็นต้องหนีเอาตัวรอดออกทางรูที่เหลือไว้เราก็สามารถจับเหี้ยได้ทุกตัวโดยไม่ต้องสงสัย การนั่งสมาธิ หรือ นอนสมาธิ จึงดูจะง่ายกว่าการเดินจงกรมเพราะจะมีทวารที่เปิดอยู่ไม่เกิน ๓ ทวาร คือ หู จมูก และความนึกคิดที่เกิดจากสมองเท่านั้น หรือ ถ้าเราเอาสำลีมาอุดหูได้ก็จะปิดได้อีกหนึ่งทวารดังนั้น ในระหว่างการเดินจงกรมหากเราปฏิบัติสติสัมปัฏฐานได้ทั้งสี่ประการสมาธิที่เกิดขึ้นจึงมีพลังสูงมากเป็นพิเศษ สมดังพระพุทธพจน์ที่ได้ทรงแสดงไว้ว่าสมาธิที่บรรลุได้ในขณะเดินจงกรมจะตั้งแน่วแน่อยู่ได้นาน อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการเดินจงกรมเพื่อให้บังเกิดสมาธินั้นกระทำได้ยากดังที่ท่านเจ้าคุณพระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)ได้กล่าวเปรียบเทียบเรื่องนี้ไว้ว่าเหมือนกันกับบุรุษจับเหี้ยก็ตาม แต่ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจใช้ความเพียรฝึกปฏิบัติดู ผู้ปฏิบัติไม่บังควรหยุดอยู่เพียงกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน และ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานเท่านั้นขอให้ทดลองพัฒนาการบริหารจิตตามวิธีการของผมดูบ้างจะช่วยให้ท่านได้รับประโยชน์และอานิสงส์มากยิ่งขึ้น การเดินจงกรมตามวิธีการของผมนั้นเป็นการเดินในลักษณะการออกกำลังกายทั่วไปโดยพยายามกำหนดสติให้ระลึกว่า จิตกำลังคิดอะไรอยู่แล้วพยายามควบคุมให้จิตคิดระลึกอยู่ที่เรื่องนั้นเพียงเรื่องเดียว อารมณ์เดียวหากจิตจะมาเกาะติดอยู่ที่อิริยาบถการเคลื่อนไหว หรือ คิดไปถึงรูปร่างลักษณะอวัยวะและ อิริยาบถต่างๆ ของร่างกายในขณะเดินจงกรมก็ปล่อยให้จิตเกาะติดคิดไปในเรื่องดังกล่าวเพียงเรื่องเดียว อารมณ์เดียว เช่นกันโดยผู้ปฏิบัติต้องคอยกำหนดสติให้เฝ้าระลึกรู้ติดตามจิตไปอย่างใกล้ชิดทุกระยะวิธีการนี้จึงเป็นการปฏิบัติกายานุปัสสนาสติปัฏฐานแล้ว ถ้าเรารู้สึกว่าร่างกายส่วนหนึ่งส่วนใดเกิดการเจ็บป่วยเมื่อยล้าก็ให้จิตรับเป็นอารมณ์เกาะติดอยู่ที่ส่วนของร่างกายที่กำลังประสบทุกขเวทนานั้นแล้วคอยกำหนดสติให้เฝ้าระลึกรู้อยู่กับจิต อยู่กับอารมณ์นั้นเพียงอย่างเดียวเช่นกันวิธีการนี้จึงเป็นการปฏิบัติเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานครั้นเมื่อจิตกลับไปคิดติดอยู่กับอารมณ์รัก โลภ โกรธ หลงผู้ปฏิบัติจะต้องกำหนดสติให้รู้เท่าทันติดตามอารมณ์ของจิตไปทุกระยะคอยควบคุมให้จิตรับเกาะติดอยู่ที่เรื่องเดียวอารมณ์เดียวอย่าปล่อยให้จิตคิดเปลี่ยนแปลงเรื่อง เปลี่ยนแปลงอารมณ์ไปมาตามอำเภอใจเพราะจะทำให้จิตเกิดฟุ้งซ่านขึ้น วิธีการนี้จึงเท่ากับเป็นการปฏิบัติจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานและหากจิตกลับเปลี่ยนไปหยิบยกสภาวธรรมเรื่องหนึ่งเรื่องใดขึ้นมาเป็นอารมณ์เพื่อพิจารณาหาเหตุหาผล หาข้อยุติ หาคำตอบ ก็ปล่อยให้จิตคิดไป พิจารณาไปผู้ปฏิบัติเพียงแต่คอยกำหนดสติให้เฝ้าติดตามการทำงานของจิตในลักษณะนี้อยู่ทุกระยะจึงเท่ากับเป็นการปฏิบัติธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกันแล้ว นับได้ว่าการปฏิบัติจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีบทบาทสำคัญที่สุดเพราะจะทำให้ผู้ปฏิบัติตื่น และ รู้คอยทำหน้าที่กำกับควบคุมจิตอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือเมื่อจิตทำท่าจะเปลี่ยนถอนจากอารมณ์หนึ่งไปยังอีกอารมณ์หนึ่งผู้ปฏิบัติจะต้องมีสติเตือนและสอบถามจิตว่า ขณะนี้ จิตกำลังคิดเรื่องอะไรอยู่จะเปลี่ยนไปคิดเรื่องอื่นแล้วหรือ ? หากจิตยังยืนกรานว่าต้องการจะเปลี่ยนไปคิดเรื่องอื่น ก็อย่าไปขัดใจเขาปล่อยให้จิตเปลี่ยนไปตามความต้องการของเขา หากไปฝืนใจเขา ขัดใจเขาจิตจะเกิดความเครียดขึ้นทันทีผู้ปฏิบัติเพียงแต่รับรู้แล้วคอยตั้งสติติดตามไปอย่างใกล้ชิด และพยายามหน่วงเหนี่ยวให้จิตเกาะติดอยู่กับเรื่องนั้น อารมณ์นั้นให้นานที่สุดเท่าที่จะกระทำได้เท่านั้น ดังนั้นหากผู้ปฏิบัติท่านใดสามารถปฏิบัติได้เช่นนี้ตลอดเวลาการเดินจงกรม ก็ถือว่าท่านได้ปฏิบัติสติสัมปัฏฐานโดยครบถ้วนทั้งสี่ประการแล้ว การปฏิบัติเช่นนี้นอกจากท่านจะได้รับประโยชน์จากการเดินบริหารร่างกายซึ่งช่วยให้ท่านมีสุขภาพพลานามัยแข็งแรงมีอายุยืนแล้ว จิตของท่านยังได้รับการบริหารอีกส่วนหนึ่งไปพร้อมๆ กันสามารถสร้างและเพิ่มพลังให้แก่สติ สมาธิ และปัญญา ให้มากขึ้นด้วยซึ่งท่านเจ้าคุณ พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า<O:p</O:p
    ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงให้ฝึกหัด ฝึกจิตนี้ให้มีกำลังการทำจิตให้มีกำลังกับการทำกายให้มีกำลังมีลักษณะอันเดียวกัน แต่มีวิธีการต่างกันการฝึกกำลังกายเราต้องเคลื่อนไหวอวัยวะ มีการนวดกาย เหยียดกาย เช่นวิ่งตอนเช้าตอนเย็น เป็นต้น นี่เรียกว่า ออกกำลังกาย กายนั้นก็จะมีกำลังขึ้นมาจะคล่องแคล่วขึ้นมา เลือดลมจะมีกำลังวิ่งไปมาสะดวกตามเส้นประสาทต่างๆได้กายจะมีกำลังดีกว่าเมื่อไม่ได้ฝึก แต่การฝึกจิตให้มีกำลังไม่ใช่ให้มันวิ่งให้มันเคลื่อนไหวอย่างกับการออกกำลังกาย คือ ทำจิตให้มันหยุดทำจิตให้พักผ่อน เช่น เราทำสมาธิยกอารมณ์อันใดอันหนึ่งขึ้นมา เช่น อานาปานสติลมหายใจเข้าออก อันนี้เป็นรากฐาน เป็นเป้าหมายในการเพ่งในการพิจารณาเราก็กำหนดลมหายใจ การกำหนด ก็คือ การรู้ตามลมนั่นเอง กำหนดลมเข้าแล้วกำหนดลมออกกำหนดให้รู้ระยะของลม ให้มีความรู้อยู่ในลม ตามรู้ลมเข้าออกสบายแล้วพยายามปล่อยสิ่งทั้งหลายออก จิตของเราก็จะมีกำลังเพราะว่ามีอารมณ์เดียวถ้าหากว่าเราปล่อยให้จิตคิดอย่างนั้นอย่างนี้สารพัด มีหลายอารมณ์มันไม่รวมเป็นอารมณ์เดียว จิตเราก็จะหยุดไม่ได้ ที่ว่าจิตหยุดได้นั้น ก็คือหยุดในความรู้สึก ไม่คิดแล่นไปทั่วไป เช่น เรามีมีดเล่มหนึ่งที่เราลับไว้ดีแล้วแล้วมัวแต่ฟันหินฟันอิฐ ฟันหญ้าไปทั่ว ถ้าเราฟันไม่เลือกอย่างนี้มีดของเราก็จะหมดความคม เราจึงต้องฟันแต่สิ่งที่จะเกิดประโยชน์ จิตนี้ก็เหมือนกันถ้าเราปล่อยให้จิตแล่นไปในสิ่งที่ไม่เป็นสาระประโยชน์ ก็จะไม่ได้ประโยชน์อะไรจิตนั้นจะไม่มีกำลัง ไม่ได้พักผ่อน ถ้าจิตไม่มีกำลัง ปัญญาก็ไม่เกิด จิตไม่มีกำลังคือ จิตที่ไม่มีสมาธิเลย”<O:p</O:p
    เรียบเรียงโดย พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์<O:p</O:p
    <O:p
    <O:pขอเชิญร่วมสร้างศาลาบำเพ็ญบุญสำนักปฏิบัติธรรมสวนป่าจุฬาภรณ์ดอยธาตุเวียงด้ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มิถุนายน 2009
  16. เด็กไร้เดียงสา

    เด็กไร้เดียงสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,024
    ค่าพลัง:
    +3,303
    การเดินจงกลมแบบง่ายๆชิวๆ

    หลักการเดินจงกลม
    จงกลม คือการเดินกลับไปกลับมาบนทางเท่าที่จะหาได้ อาจเดินในที่ร่มหรือกลางแจ้งก็ได้ ระยะทางที่เดินอาจสั้นเพียงไม่กี่ก้าวหรือยาวหลายสิบก้าวก็ได้ แต่ระยะทางนั้นไม่สำคัญเท่ากลับวิธีรู้เท้าที่กระทบอย่างถุกต้อง
    การที่จะรู้เท้ากระทบอย่างถูกต้องนั้น เริ่มแรกควรเน้นที่ใจอันเปิดกว้างสบายๆ เหมือนเราเดินเล่นชมสวนดอกไม้อะไรประมาณนี้ ขอให้เราเอามือไพล่หลังแบบสบายๆ เงยหน้ามองทางตรงแบบไม่ต้องจดจ้องเพ่งเล็งจุดใดจุดหนึ่งมากนัก ก้าวเท้าแบบเดียวกับเหมือนเราเดินทอดน่องหรือเดินเพื่อผ่อนคลาย แต่ในการเดินแบบสบายๆนั้นให้เรากำหนดรู้ผัสสะระหว่างเท้ากับพื้นไปด้วย
    ขอให้สังเกตุว่าถ้าเท้าเราเกร็งมากเกินไปจะรู้สัมผัสที่กระทบกับผิวพื้นที่เราเดินได้ไม่ชัด แต่ถ้าเท้าเราไม่เกร็งเกินไปและสามารถวางเหยีบบนพื้นผิวได้เต็มฝ่าเท้าจะรู้สึกกระทบกับผิวพื้นได้ชัดเจนมาก ยิ่งเราสามารถรู้สึกถึงการกระทบได้ชัดยิ่งรู้นานเท่าใดการสัมผัสระหว่างเท้ากับพื้นผิวที่เราเดินจะยิ่งปรากฏชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ
    หากเรามีสติในการเดินแต่ละก้าวที่เราย่างเท้าออกไป ก็ย่อมต้องรู้สึกถึงฝ่าเท้ากระทบพื้นไม่ขาด เพราะเท้ากระทบพื้นเป็นสัมผัสที่เกิดขึ้นจริงโดยไม่ต้องจินตนาการว่าเรากำลังเดินอยู่
    การเดินไม่ใช่เรื่องที่ยาก แต่ที่จะรู้อาการเดินที่ถูกต้องตามจริงนั้น ต้องฝึกฝนกัน เพื่อให้เราเดินอย่างมีสติได้ทุกย่างก้าว
    การที่เท้าจะอ่อนและวางเหยียบได้เต็มฝ่าเท้า ต้องไม่มีความเร่งร้อน ไม่มีความเพ่งเล็งเคร่งเครียด ไม่มีความฟุ้งซ่านซัดส่ายออกนอกตัว ใจจะต้องอยู่กับเรื่องคือเท้ากระทบก้าวต่อก้าวอย่างเดียว
    หากกำลังเดินอยู่แล้วรู้สึกว่าฟุ้งซ่านให้เดินแบบช้าๆดู ค่อยเอาสติสัมผัสว่าการเดินแต่ละก้าวนั้นเราเอาสติตามได้หรือไม่ หรือว่าเราก้าวเท้าเดินแล้วสติเราถึงจะรู้สึกตามหลัง ขอเพียงให้รู้ว่าเราจะเดินทุกย่างก้าวโดยใช้สติรู้อาการทางกายที่กำลังเดิน
    จังหวะการกลับตัวที่ปลายทางของการเดินจงกลมนั้นก็สำคัญมาก หากเรารีบเร่งกลับตัวโดยทันที่ทันใดนั้นกำลังสติของเราจะขาดลง ดังนั้นพอเราเดินถึงปลายทางก่อนที่เราจะกลับตัวให้เราหยุดอยู่กับที่แล้ว ค่อยๆกำหนดการกลับตัวของเรา โดยใช้เท้าขวาค่อยก้าวหันหลังกลับโดยแบ่งจังหวะออกเป็นสองจังหวะในการใช้เท้าขวาเป้นหลักในการกลับตัวและแต่ละก้าวของการกลับตัวโดยใช้เท้าขวากลับนั้นเราต้องกำหนดสติรู้ไปด้วย เช่นขวากลับหนอ ๆ ดังนี้เป็นต้น
    การฝึกเดินจงกลมเป็นเรื่องที่ดีมาก แต่จะยิ่งดีถ้าเราสามารถทำให้ทุกอย่างก้าวของเราในขณะที่เราเดินมีสติกำกับเหมือนอย่างที่เราเดินจงกลมได้อันนี้ถือว่าดีมากที่สุด
    ขออนุโมทนาสาธุกับการปฏิบัตฺธรรมครับ[​IMG]
    อ คนวัด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2009
  17. coollingpudding

    coollingpudding Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    48
    ค่าพลัง:
    +47
    อาจารย์คนวัดค่ะ นั่งสมาธิเเล้วเหมือนจิตจะลอยขึ้นข้างบนน่ะค่ะเเบบเเรงมากๆ เหมือนโดนดูดตอนที่สมาธิจิตนิ่งน่ะค่ะ เเบบนี้ควรทำยังไงค่ะ ขอบคุณค่ะ
     
  18. เด็กไร้เดียงสา

    เด็กไร้เดียงสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,024
    ค่าพลัง:
    +3,303
    อาการที่นั่งแล้วอย่างนี้เขาเรียกว่าจิตเราดิ่งแล้วเกิดอาการเหมือนตัวเราลอยขึ้นข้างบน บางคนอาจรู้สึกว่าตัวเรายืดตัวสูงขึ้นหรือตัวขยายพองใหญ่ขึ้น อาการที่เกิดถือว่าเป็นอุเพ็งคาปิติ ถ้าเรารู้สึกมีอาการดังกล่าวให้เรากำหนดสติแค่เพียงรู้ว่าอาการมันเกิดขึ้นอย่างนี้เราไม่เอาจิตไปยึดติดในอาการดังกล่าวมันจะเกิดอาการอย่างใดก้ปล่อยให้มันเป้นไปเราไม่สนใจอาการที่เกิดไม่เอาจิตไปยึดในอาการดังกล่าว เรากำหนดสติไว้ที่องค์ภาวนาอย่างเดียว ถ้าองค์ภาวนาหายไปแล้วในขณะนั้นให้เราลองหายใจเข้ายาวๆหายใจออกยาวๆซักสองสามครั้ง แล้วตั้งสติแค่รู้ว่าอาการมันเกิด ในไม่ช้าอาการดังกล่าวจะหายไปเองครับ อย่าไปจับเอาอาการดังกล่าวมายึดก็แค่นั้นครับ
    ขออนูโมทนาในการปฏิบัตฺธรรมด้วยนะครับ
    อ คนวัด
     
  19. coollingpudding

    coollingpudding Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    48
    ค่าพลัง:
    +47
    เเบบนี้ถือว่ามาถูกทางได้ไหมค่ะ เเบบว่าพอควบคุมสติให้นิ่งได้ในระดับหนึ่งน่ะค่ะ เป็นอาการที่เเสดงว่าดีใช่ไหมค่ะ(เพราะตอนเเรกตกใจนึกว่าวิญญาณจะหลุด) เเละไม่ค่อยเข้าใจในคำว่า อุเพ็งคาปิติ ขอบคุณค่ะ จะตั้งใจปฏิบัติต่อไปค่ะ
    ปล.ตอนนี้ฝึกนั่งวิชาเปิดโลกของหลวงปู่ดู่น่ะค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2009
  20. เด็กไร้เดียงสา

    เด็กไร้เดียงสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,024
    ค่าพลัง:
    +3,303
    ดีครับอนุโมทนาบุญด้วยครับ ยิ่งทำกรรมฐานสายหลวงปู่ท่านดีมากๆเลยครับเป้นเร็วกำลังแรงดีครับ
    อ้อ ลืมตอบครับ อุเพ็งคาปิติ เป็นลักษณะอาการที่เกิดขึ้นของความปิติ(ความอิ่มใจ ความสุขใจ)โดย อุเพ็งคาปิติ นั้นเป็นอาการปิติในระดับหนึ่งครับ อาการดังกล่าวจะทำให้มีความรู้สึกว่าตัวเบาหรือตัวลอย หรือ นั่งแบบโอนเอนไปมา หรือบางทีนั่งได้นานไม่รู้สึกเมื่อยหรือเบื่อครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2009
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...