สัมมาทิฐิ-รู้เห็นตามความเป็นจริง จะรู้ตามจริงได้อย่างไรถ้าไม่มีสัมมาสมาธิ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 9 มิถุนายน 2009.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    มาต่อด้วยเรื่อง
    พระสาติเข้าใจผิดว่าวิญญาณขันธ์เที่ยงต่างหาก
    จึงถูกพระพุทธองค์ตำหนิว่าเป็นโมฆบุรุษ

    ที่ยกมา ถามตรงๆอ่านรู้เรื่องหรือเปล่า
    ถ้าอ่านไม่รู้เรื่องเองแล้ววันหลังอย่ายกมาประจานตัวเองหละ
    ประจานท่านอาจารย์ตัวเองยังไม่พอ
    ไม่หนำใจต้องได้ประจานตัวเองบ้างจึงจะสะใจใช่มั้ย

    ท่านนี้เก้อ-ยากจริง กี่ครั้งต่อกี่ครั้งแล้วที่ประจานตัวเองว่าไม่รู้เรื่องปฏิบัติ
    แต่ก็พยายามจังที่จะดีสเครดิต พ่อแม่ครูบาอาจารย์สายปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา

    แต่ไม่เป็นไร อภัยให้ได้ เพราะความสัมพันธ์ยังต้องคงอยู่
    ส่วนกรรมที่ทำนั้นของใครของมัน ใช่ของตนมั้ย???

    ในเมื่อของๆใครก็ของๆคนนั้น
    ถ้าจะว่าของตน ของเรา ของเขาฯลฯ ผิดตรงไหนครับ???
    กลัวกันจังเลยนะไอ้สัตว์บุคคลเราเขานี่
    ท่านสู้อุตส่าห์บัญญัติออกมาไว้ให้ “เรา”ได้ใช้
    เพื่อประโยชน์เพื่อความสุขสงบในสังคมว่านั่นของใคร นี่ของใครฯลฯ

    ส่วนพวกกลัวสัตว์บุคคลเราเขานั้น
    เป็นพวกชอบยึดเป็นอาจิณจึงได้กลัวนักกลัวหนา
    แน่จริงก็อย่าใช้สมมุติเหล่านี้สิ กลัวก็กลัว แต่ก็ยังแอบใช้ทำไม???

    ;aa24
     
  2. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    มาเข้าเรื่องนิโรธกันดีกว่า
    ไม่น่าเชื่อเลยว่าท่านนิฯไม่รู้จักคำว่า “นิโรธ” เอาซะยังงั้น

    นิโรธ คือความดับทุกข์ จะเป็นดับชั่วคราวหรือดับได้ถาวรนั้น
    ก็เป็นประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติทั้งสิ้น
    ถ้าการดับทุกข์ไม่ใช่ธรรมแล้วจะให้เป็นอะไรครับ คำพูดนี้

    “จิตอยู่ที่ฐานที่ตั้งสติ จิตสงบ ไม่กระสับกระส่าย (ฐานธรรม) เป็น นิโรธ”

    ผิดตรงไหนครับ ถ้าไม่เข้าใจด้วยภาษาง่ายๆแค่นี้
    ถามเด็กป๔ เด็กยังตอบให้ท่านได้เลยครับ

    เมื่อจิตตั้งมั่น สงบ ไม่กระสับกระส่าย
    ก็แสดงว่าจิตสามารถดับความหงุดหงิดฟุ้งซ่านวุ่นวายได้(นิวรณ์)
    ใช่ธรรมมั้ยครับ???
    อย่าพยายามแถออกนอกประเด็นอีกหละ

    เอ้าเอาพระสูตรไปอ่านซะ จะได้มีโอกาสหลุดพ้นความเป็นโมฆะบุรุษ
    ที่ชอบเถียงพุทธพจน์คอเป็นเอ็น โป่งแล้วโป่งอีก ดูจิตภาษาอะไร ไร้รสนิยม

    ;aa24
     
  3. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    มีจิตของเรานะครับ
    ถ้าไม่บอกว่าของเรา
    มีพวกชอบแอบอ้าง อาจจะสวมรอยได้

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2009
  4. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ที่ถกกันเริ่องเห็นความเกิดดับของจิต
    ตรงนั้นเป็นการกล่าวถึงการเกิดดับของจิตสังขาร

    อย่าเอามามั่วปนกันครับ เพื่อจะเอาชนะคะคาน โดยไม่ดูบริบทก่อนหน้า
    พระอรหันต์ จิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหวแล้ว
    เห็นการเกิดดับของจิตสังขาร หรือ พูดภาษาชาวบ้านว่า

    รู้แต่ไม่รับ

    ;aa24
     
  5. มโน

    มโน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    316
    ค่าพลัง:
    +100
    ถ้าเรารักษาศีลไม่ดีก็เท่ากับว่าเรายังไม่แจ้งในศีล
    ถ้าเราบำเพ็ญภาวนาไม่ดีก็เท่ากับว่าเราไม่แจ้งในสติ
    ถ้าเราไม่มีความตั้งมั่นเพียงพอเท่ากับเราไม่ตั้งมั่นในสมาธิ
    ถ้าเราไม่มีความรู้เท่าทันกิเลสตัณหาอุปาทานเท่ากับเราไม่รู้แจ้งในปัญญา
     
  6. มโน

    มโน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    316
    ค่าพลัง:
    +100
    นักปฏิบัติต้องกำหนดรู้อยู่ในกายให้มาก
    ให้เห็นแจ้งรู้จริงในกาย เมื่อกำหนดรู้ในกายเด่นชัดแล้ว
    ก็จะรู้เองโดยอัตโนมัติว่า จิตเป็นยังไง กายเป็นยังไง ไม่ต้องไปถามใคร
     
  7. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ท่านsiratsaponครับ
    ท่านบอกว่าการปฏิบัติให้เอาปัญญานำนั้น ท่านเข้าใจแค่ไหนครับ

    การรักษาศีลนั้นเป็นการรับมาปฏิบัติตาม เป็นเพียงข้อห้ามเท่านั้น

    ส่วนที่อยู่ท่ามกลางนั้นสำคัญที่สุดครับ การอบรมสมาธิเพื่อให้เกิดสติ
    เมื่อสติอยู่ที่ไหนปัญญาย่อมอยู่ที่นั่น
    ปัญญาอยู่ที่ไหนสติย่อมอยู่ที่นั่นเช่นกัน เป็นอัญญะมัญญะปัจจัยกัน

    เห็นเหรอยังครับว่า ใครที่ชอบแอบอ้างว่า ต้องมีสัมมาทิฐินำนั้น
    เป็นพวกที่ถูกจูงให้เชื่อตามๆกันมาเท่านั้นครับ

    เป็นได้ที่ไหนครับว่า คนที่เริ่มต้นจะเกิดมีสัมมาทิฐิขึ้นมาได้ ขี้ฮกทั้งเพครับ
    ผู้ที่มีสัมมาทิฐินั้นต้องเริ่มจากเป็นพระโสดาบันเท่านั้น

    แต่มีบางท่านที่อวดอุตริมนุษยธรรมว่าตัวเองเป็นโซดา(โสดา)นั้น
    ถ้ายังไม่รู้จักจิตที่แท้จริงแล้ว เป็นไปไม่ได้เด็ดขาดครับ
    ยังดื่มเครื่องดองของเมาอยู่เลย เป็นได้แค่โซดา ก็ดีแล้ว...

    สำหรับผู้เริ่มใหม่เป็นได้แค่กัลยณปุถุชนเท่านั้น
    เพราะมีความเชื่อ(ศรัทธา)ที่ถูกต้องเท่านั้นจากสัญญา
    เป็นปัญญาทางโลก ไม่ใช่ปัญญาทางธรรม
    เลิกมั่วได้แล้วครับ การจะได้ซึ่งอริยบุคคลนั้นไม่ง่ายแค่ปลายนิ้วคลิก

    ;aa24
     
  8. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เพียงดูจิตติดความกระด้างคุ้นชินต่ออารมณ์เท่านั้น
    ยังไม่ใช่การวางเฉยได้สักหน่อยหลงตัวเองไปได้
    ไม่รู้จักอายใคร ก็ควรอายตัวเองบ้างก็ยังดีครับ
    แต่ความที่คุ้นชินกับความกระด้างของจิต อายไม่เป็นหรอกครับพี่น้อง

    ศีล สมาธิ ปัญญา อะไรที่เป็นศูนย์กลาง(ท่ามกลาง) ถ้าไม่ใช่สมาธิ
    ศีลนั้นเป็นเพียงข้อห้ามทางกาย วาจาเท่านั้น
    เพื่อไม่ให้แสดงอาการวิปริตออกไป เรารับมาเพื่อปฏฺบัติตาม

    ส่วนผู้ที่รับหน้าที่รักษาคือจิต
    เมื่ออบรมสมาธิจนจิตสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
    ย่อมชักนำให้ กาย วาจาที่ออกมาเป็นกุศลครับ
    ถ้าจิตที่เป็นสมาธิไม่มีปัญญาจะควบคุมกาย วาจาให้แสดงออกมาเป็นกุศลได้อย่างไรครับ

    อย่าดูจิต จนคิดทรนงตัวว่าเก่งเกินพุทธพจน์ แต่กลับกบฏไม่ซื่อตรงต่อตัวเอง

    ;aa24
     
  9. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    งงอะไรครับท่าน0ห้าตัว
    ศีลใช่ข้อห้ามมั้ยครับ???
    ศีลจะบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ขึ้นอยู่กับอะไร???

    กาย วาจาใช่อยู่ในบังคับบัญชาของจิตใข่มั้ย???
    กาย วาจาเป็นผู้รักษาศีลเหรอ???
    หรือจิตเป็นผู้รักษาข้อห้ามนี่ครับ???

    ถ้าจิตเป็นผู้รักษา เราควรอบรมจิต หรือควรอบรมกาย วาจาครับ???
    จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าวใช่มั้ยครับ???

    ;aa24
     
  10. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นการปฏิบัติทางไหน?
    ทางกายหรือ ทางจิต ???

    ;aa24
     
  11. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    เสวิสูตร

    [๔๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

    บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ

    ๑. บุคคลที่ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ มีอยู่
    ๒. บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ มีอยู่
    ๓. บุคคลที่จะต้องสักการะเคารพ แล้วจึงเสพ คบหา เข้าไปนั่งใกล้ มีอยู่

    ***

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ก็บุคคลที่ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ เป็นไฉน

    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนเลวโดยศีล สมาธิ ปัญญา
    บุคคลเห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ นอกจากจะเอ็นดู อนุเคราะห์กัน


    ***

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ก็บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ เป็นไฉน

    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนเช่นเดียวกับตน โดยศีล สมาธิ ปัญญา
    บุคคลเห็นปานนี้ ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้


    ข้อนั้นเพราะเหตุไร

    เพราะการสนทนา ปรารภศีล จักมีแก่พวกเราซึ่งเป็นคนเสมอกันโดยศีลด้วย
    การสนทนาของเรานั้น จักเป็นถ้อยคำเป็นไปด้วย และจักเป็นความสำราญของเราด้วย

    การสนทนาปรารภสมาธิ จักมีแก่พวกเราซึ่งเป็นคนเสมอกันโดยสมาธิด้วย
    การสนทนาของเรานั้น จักเป็นถ้อยคำเป็นไปด้วย และจักเป็นความสำราญของเราด้วย

    การสนทนา ปรารภปัญญา จักมีแก่เราซึ่งเป็นคนเสมอกันโดยปัญญาด้วย
    การสนทนาของเรานั้น จักเป็นถ้อยคำเป็นไปด้วย และจักเป็นความสำราญของเราด้วย


    ฉะนั้น บุคคลเห็นปานนี้ จึงควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้

    ***

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ก็บุคคลที่จะต้องสักการะ เคารพแล้วจึงเสพคบหา เข้าไปนั่งใกล้ เป็นไฉน

    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ยิ่งโดยศีล สมาธิ ปัญญา
    บุคคลเห็นปานนี้ จักต้องสักการะเคารพแล้วจึงเสพ คบหา เข้าไปนั่งใกล้

    ข้อนั้นเพราะเหตุไร

    เพราะอาการเช่นนี้ จักบำเพ็ญศีลขันธ์ที่ยังไม่สมบูรณ์ให้สมบูรณ์
    หรือจักอนุเคราะห์ศีลขันธ์ที่บริบูรณ์ด้วยปัญญาในที่นั้นๆ

    จักบำเพ็ญสมาธิขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์
    หรือจักอนุเคราะห์สมาธิขันธ์บริบูรณ์ด้วยปัญญาในที่นั้นๆ

    จักบำเพ็ญปัญญาขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์
    หรือจักอนุเคราะห์ปัญญาขันธ์ที่บริบูรณ์ด้วยปัญญาในที่นั้นๆ


    ฉะนั้น บุคคลเห็นปานนี้
    จึงควรสักการะเคารพ แล้วเสพ คบหา เข้าไปนั่งใกล้

    ***

    ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคล ๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก

    ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคผู้สุคตพระศาสดา ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว
    จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

    บุรุษคบคนเลว ย่อมเลวลง
    คบคนที่เสมอกัน ย่อมไม่เสื่อมในกาลไหนๆ
    คบคนที่สูงกว่า ย่อมพลันเด่นขึ้น ฉะนั้น จึงควรคบคนที่สูงกว่าตน ดังนี้ ฯ

    เสวิสูตร
     
  12. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ^
    พระพุทธองค์ทรงเน้นให้ปฏิบัติศีล สมาธิ ปัญญา หรือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นั่นเอง
    ซึ่งต้องเริ่มต้นด้วยการ “ปฏิบัติสัมมาสมาธิ”
    เพื่อให้ศีล สมาธิ ปัญญา รวมตัวกันเป็น มคฺคสมงฺคี
    ทำหน้าที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ให้จิตพ้นทุกข์ในที่สุด.


    เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ทรงมีพระสาวกครบ ๖๐ รูป
    ได้ทรงส่งพระสาวกออกไปประกาศพระศาสนาเป็นครั้งแรก
    ได้ตรัสแก่พระสาวกเหล่านั้นว่า:

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวจาริก(อบรมสั่งสอน)ไป
    เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนทั้งหลาย
    เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก
    เพื่อประโยชน์และความสุขของเทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายเถิด

    พวกเธออย่าได้ไปรวมทางเดียวกัน ๒ รูป
    จงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น(ศีล) งามในท่ามกลาง(สมาธิ) งามในที่สุด(ปัญญา)
    จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะและพยัญชนะครบบริบูรณ์, บริสุทธิ์

    สัตว์ทั้งหลาย (ผู้ติดข้องอยู่ในอารมณ์) จำพวกที่มีกิเลสเบาบางมีอยู่
    เพราะไม่ได้ฟังธรรมย่อมเสื่อม, ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมี

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เราเองก็จักไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เพื่อแสดงธรรม."


    พระองค์จึงตรัสไว้ในเสวิสูตรนี้ ในข้อที่ ๑ ว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ก็บุคคลที่ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ เป็นไฉน

    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนเลวโดยศีล สมาธิ ปัญญา
    บุคคลเห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ นอกจากจะเอ็นดู อนุเคราะห์กัน

    ^
    นั่นคือเมื่อบุคคลไม่ปฏิบัติศีล สมาธิ ปัญญา จึงนับเป็นคนเลว ไม่ควรคบหา
    บุรุษคบคนเลว ย่อมเลวลง

    ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้ นอกจากจะเอ็นดู อนุเคราะห์กัน
    เพราะเราคงทำอะไรเขาไม่ได้
    แม้แต่พุทธองค์ก็มีตรัสไว้ใน "ปุปผสูตร" ว่า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    บุคคลใด เมื่อพระตถาคตบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย
    จำแนกกระทำให้ตื้นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่รู้ ไม่เห็น
    เราจะกระทำอะไรได้กะบุคคลนั้น ผู้เป็นปุถุชนคนพาล บอด ไม่มีจักษุ ไม่รู้ ไม่เห็น

    (smile)
    <!--MsgFile=1-->
     
  13. siratsapon

    siratsapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    368
    ค่าพลัง:
    +641
    ถึง คุณธรรมธูต

    ปัญญามีหลายระดับ สัมมาทิฐิมีหลายระดับ...

    หากขาดเสียซึ่งปัญญาแล้ว ศรัทธาก็จะเป็นศรัทธาที่หลงงมงาย...

    หากขาดเสียซึ่งปัญญาแล้ว ศีลก็จะเป็นศีลที่อุกฤษ ผิดปกติ เป็นการเข้าใจผิดว่าศีลจะทำให้บรรลุได้ด้วยศีลไปก็มี...

    หากขาดเสียซึ่งปัญญาแล้ว สมาธิก็เป็นสมาธิแบบที่ไม่ใช่สมาธิในพระพุทธศาสนา เป็นมิจฉาสมาธิ ทำให้เข้าใจว่ามีแต่ฝึกสมาธิแล้วจะทำให้ปัญญาเกิดได้...

    ปัญญานี้สำคัญที่สุด ขาดไม่ได้ หากขาดแล้วจะไม่ทำให้ถึงการบรรลุได้ เพราะทุกอย่างหากวัดกันในแง่ความสำคัญไม่มีอะไรสำคัญเท่าปัญญา ทุกสิ่งอย่างย่อมคล้อยเกิดสมบูรณ์ตามปัญญา...

    *****************
    ลองศึกษาในกระทู้ต่อไปนี้ดูเพิ่มเติมนะครับ โดยเฉพาะที่ผมเฉลยเอาไว้

    http://palungjit.org/threads/คำถามทางธรรม-เรื่อง-อินทรีย์ห้า.190636/

    ขอให้เจริญในธรรม
     
  14. สาละ

    สาละ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +328
    บุคคลที่มีปัญญาแก่กล้า ไตรลักษณ์จะเกิดในปฐมฌานหรือทุติยฌาน
    ส่วนบุคคลที่มีปัญญาขนาดกลาง ไตรลักษณ์จะเกิดเมื่อสำเร็จฌาน 4 แล้ว
    บุคคลใดที่สามารถสำเร็จฌาน 4 ก็มักจะไม่เกิดความกำหนัดหรือที่เรียกว่า จิตตกกระแสธรรม

    มันจะเป็นของมันเอง เรียกว่าเป็นผลของฌานสมาธิก็ได้
    ไตรลักษณ์ นี้จะเป็นเครื่องตัดสินถูกหรือผิด จะเป็นสัมมาสมาธิหรือมิจฉาสมาธิ
    ถึงแม้ว่าบุคคลใดจะทำสมาธิได้ดี จะได้รับความสุขขนาดไหนก็ตามหรือจะได้อภิญญาเพียงใดก็ตาม

    ถ้าไตรลักษณญาณยังไม่เกิดแล้ว ก็ยังนับว่าเป็นมิจฉาสมาธิ ยังอยู่ในวงเขตที่ผิด

    เมื่อพิจารณาขันธ์ 5 ธาตุ 4 เห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาแล้ว
    จนเกิดญาณ ความรู้พิเศษ เมื่อเกิดความรู้พิเศษแล้ว วิปัสสนูกิเลสหรือวิปลาส ก็เกิดขึ้นไม่ได้

    เมื่อสิ่งใดหรือความรู้ใดเกิดขึ้นก็จะเอาไตรลักษณ์เป็นเครื่องตัดสิน

    การพิจารณาให้ถือเอารู้รูปกายตามความเป็นจริง รู้เวทนาตามความเป็นจริง รู้จิตตามความเป็นจริง
    ให้ยึดถือความรู้นี้เป็นหลัก ความรู้อย่างอื่นไม่สำคัญ

    ถึงจะเกิดอภิญญารู้ในเหตุผลต่างๆ ครั้งแรก ๆ ก็อาจเป็นจริง
    แต่ถ้าเรายึดถือในสิ่งเหล่านั้นต่อไป ก็จะกลายเป็นเรื่องหลอกลวงเรา ท่านจึงห้ามไม่ให้ถือเอานิมิตเป็นสิ่งสำคัญ

    ท่านจึงว่า ถ้าไตรลักษณญาณยังไม่เกิด ก็ยังเป็นมิจฉาสมาธิต้องทำการศึกษาและเร่งความเพียรยิ่งขึ้นไป

    พระภิกษุรูปใดเด็ดเดี่ยว ชอบไปบำเพ็ญภาวนารูปเดียว มักจะได้อภิญญารู้เหตุผลต่างๆแม้แต่ในครั้งพุทธกาล

    พระภิกษุที่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ก็ยังมีคุณสมบัติไม่เสมอเหมือนกัน
    ตัวอย่างเช่นพระอรหันต์ที่สำเร็จอย่างแห้งแล้ง แสดงธรรมสอนผู้อื่นไม่ได้ไม่มีปฎิภาณโวหาร

    แต่ก็สามารถสิ้นอาสวะกิเลส เรียกพระอรหันต์จำพวกนี้ว่า “สุกขวิปัสสโก”
    ถ้าพูดถึงความสุขของผู้ที่สิ้นอาสวะกิเลสแล้ว ก็เหมือนกันหมด มีความสุขความสบายเท่าเทียมกัน

    เป็นพระนิพพานเหมือนกันหมด
    การที่ท่านผู้ใดจะได้วิชชา 3 อภิญญา 6 ปฏิสัมภิทา 4 นั้นก็จะต้องขึ้นอยู่กับบุญวาสนาของแต่ละท่านด้วย

    ผู้ที่ปฎิบัติเพียง2-3 ครั้ง ก็สามารถที่ทำจิตให้สงบได้ มีความรู้บาป บุญคุณโทษ

    ทำให้เพิ่มความเชื่อความเลื่อมใส จิตใจเยือกเย็นได้รับความสุข นี่ก็เป็นเพราะอำนาจบารมีเก่าที่ได้สะสมมา
    สิ่งที่ควรตั้งความปรารถนาให้เป็นอุปนิสัย คือ ทาน ศีล ภาวนา
    ถ้าบุคคลใดมีอุปนิสัยครบทั้ง 3 ประการนี้แล้ว หากเกิดภพชาติใดๆได้พบพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง

    หรือสาวกของพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งแล้ว เมื่อได้ยินได้ฟังธรรมพระเทศนาก็มักจะได้บรรลุผลในการฟัง
    ในครั้งพุทธกาล มีท่านที่สำเร็จจากการฟังเป็นพระโสดาบันบ้าง พระสกทาคามีบ้าง พระอนาคามีบ้าง

    แสดงว่าท่านเหล่านี้เคยบำเพ็ญสร้างสมอบรมมา ตั้งแต่หนึ่งชาติขึ้นไป
    ส่วนผู้ที่ปรารถนาใหญ่ เช่นปรารถนาเป็นอัครสาวก ต้องเกิดเป็นมนุษย์เพื่อที่จะสร้างสมบารมีถึงแสนชาติ
    อย่างพระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร เป็นต้น

    ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย ถ้าได้บำเพ็ญติดต่อกัน 1-3 ชาติ ก็จะเป็นอุปนิสัย
    ถ้าได้มีโอกาสพบครูบาอาจารย์ ก็จะทำสมาธิได้ง่าย หรือเจริญฌานได้ง่าย
    ขอให้พวกท่านจงทำกัน ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็สามารถปฎิบัติได้เหมือนกัน เมื่อตั้งใจทำแล้ว

    จะไร้ผลเสียเลยก็ไม่มี อย่างต่ำก็เป็นการเพิ่มบุญวาสนาบารมีของเราให้แก่กล้าขึ้น


    ธรรมเทศนา หลวงปู่คำดี ปภาโส วัดถ้ำผาปู่ จ.เลย


     
  15. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ท่านsiratsaponครับ ท่านกำลังสับสนอยู่นะ
    ปัญญาทางโลกกับปัญญาทางธรรมแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

    ท่านกำลังเอาปัญญาทางโลกมาปนเปกับปัญญาทางธรรมครับ

    ปัญญาทางโลกนั้นคือความนึกคิด อ่าน ท่องจำไว้ได้มากๆ ปริญญาหลายๆใบ
    แต่ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นไม่เป็น แล้วได้ประโยชน์อะไรครับ
    เจออะไรเป็นยึดตลอด ก็เป็นทุกข์ตลอดเช่นกัน(ปล่อยวางไม่เป็น)

    ส่วนปัญญาทางธรรมนั้น ต้องมีจิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์
    เนื่องจากปล่อยวางเป็น เจออะไรเป็นปล่อยวางตลอด ทุกข์ก็ไม่เกิด

    ที่ท่านบอกว่าปัญญามีหลายขั้นนั้นยังไม่ใช่ปัญญา
    เป็นเพียงความเห็นที่เชื่อว่าถูกต้องเท่านั้น
    เมื่อผ่านการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาแล้ว
    จึงรู้เห็นตามความเป็นจริง จึงเรียกว่าเห็นชอบ(สัมมาทิฐิ)ครับ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จงยังสมาธิให้เกิดขึ้นเถิด
    ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง ดังนี้

    จิตตั้งมั่น(สัมมาสมาธิ)
    รู้เห็นตามความเป็นจริง(ปัญญาเห็นอริยสัจ ๔ หรือ สัมมาทิฐิ)

    ท่านกรุณาอ่านพระพุทธพจน์ที่ผมยกมาสัก๑๐๐-๒๐๐เที่ยว
    จะได้รู้ว่าอะไรเกิดก่อนหลังตามๆกัน จนกระทั่งมรรคสมังคีครับ

    “สีล ปริภาวิโต สมาธิ มหปฺผโล โหติ มหานิสงฺโส,
    สมาธิ ปริภาวิโต ปญฺญา มหปฺผลา โหติ มหานิสงฺสา,
    ปญฺญา ปริภาวิโต จิตฺตํ สมฺมเทว อาสเวหิ วิมุจฺจติ

    สมาธิที่มีศีลอบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
    ปัญญาที่มีสมาธิอบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
    จิตที่มีปัญญาอบรมแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากเครื่องเศร้าหมอง เสียได้ ดังนี้”.

    ;aa24
     
  16. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ท่านสาละครับ วันหลังถ้าเอาของท่านอาจารย์มา
    ถ้ายังไม่เข้าใจหละก็ ควรสอบถามท่านอาจารย์ให้กระจ่างก่อนนะครับ

    ท่านอาจารย์ก็พูดถูกแล้วนิครับ ท่านละสมาธิและสติไว้ในฐานที่เข้าใจ
    ปัญญาอยู่ที่ไหนสติอยู่ที่นั่น สติอยู่ที่ไหนสมาธิอยู่ที่นั่น
    เป็นปกติของขั้นตอนการปฏิบัติอยู่แล้วครับ

    เมื่อจิตเป็นสมาธิมีสติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
    ย่อมสงัดจากกามารมณ์ และอกุศลธรรมทั้งหลาย
    ย่อมเข้าสู่ปฐมฌาน เนื่องจากเกิดปัญญารู้อยู่เห็นอยู่ ตามความเป็นจริงว่า
    ขันธ์๕(รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)ไม่ใช่เรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตนของเรา

    ผมเอาพระพุทธพจน์ มาให้ทัศนา ก็ไม่ต่างกันนิครับ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จงยังสมาธิให้เกิดขึ้นเถิด
    ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง ดังนี้

    จิตตั้งมั่น(สัมมาสมาธิ)
    รู้เห็นตามความเป็นจริง(ปัญญาเห็นอริยสัจ ๔ หรือ สัมมาทิฐิ)


    “สีล ปริภาวิโต สมาธิ มหปฺผโล โหติ มหานิสงฺโส,
    สมาธิ ปริภาวิโต ปญฺญา มหปฺผลา โหติ มหานิสงฺสา,
    ปญฺญา ปริภาวิโต จิตฺตํ สมฺมเทว อาสเวหิ วิมุจฺจติ
    สมาธิที่มีศีลอบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
    ปัญญาที่มีสมาธิอบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
    จิตที่มีปัญญาอบรมแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากเครื่องเศร้าหมองเสียได้ ดังนี้”.

    ;aa24
     
  17. siratsapon

    siratsapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    368
    ค่าพลัง:
    +641
    ถึงคุณธรรมภูต ที่ ๑๒๑

    ปัญญาทางธรรมมีหลายระดับ ระดับโลกียะก็มี ระดับโลกุตระก็มี ที่กล่าวไปนั้นไม่ใช่ปัญญาทางโลก...

    การปฏิบัติจริงๆ ไม่เคยมี และจะไม่มี ผู้ที่ผ่านไประดับโลกุตระเลยโดยที่ไม่บ่มเพาะปัญญาระดับโลกียะมาก่อนเลย ไม่บ่มเพาะสัมมาทิฐิระดับโลกียะมาก่อน ผู้ปฏิบัติย่อมจะต้องใช้สติปัญญาในระดับพื้นฐานเพื่อรู้ ตัดสินใจ ว่าอะไรเป็นสัมมา ควรทำ ว่าอะไรเป็นมิจฉา ไม่ควรทำอยู่ในเบื้องต้น ไม่เช่นนั้นก็จะไม่รู้ว่าอะไรผิดศีล อะไรไม่ผิดศีล อะไรเป็นนิวรณ์ อะไรเป็นสิ่งเกื้อกูลแก่สมาธิได้ ไม่รู้ว่าควรจะจัดการอกุศลธรรมอย่างไร...

    และนอกจากนี้ ปัญญารู้เห็นตามเป็นจริงให้เกิดความปล่อยวางนี้ สามารถกระทำได้โดยอาศัยเพียงขณิกสมาธิก็ได้ สามารถกระทำได้ตั้งแต่ระดับเบื้องต้นเลย เพียงแต่ว่าสิ่งที่รู้เห็นจะยังหยาบ ความปล่อยวางที่เกิดขึ้นก็ปล่อยวางได้ในสิ่งหยาบ แต่เมื่อทำไปเนื่องๆ อย่างนี้ สติสมาธิก็เป็นอันได้สะสมไปด้วย จึงทำให้ต่อมาผู้ปฏิบัติจะรู้เห็นตามเป็นจริงในสิ่งต่างๆ ปล่อยวางสิ่งต่างๆ ได้ละเอียดมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ตรงนี้หากเราเข้าใจเรื่องโยนิโสมนสิการก็จะกระจ่างมากขึ้น หรือเข้าใจเรื่องมรรค ๔ ที่เป็นการปฏิบัติแนวทางสมถะอันมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ของผู้เจริญวิปัสสนาให้เห็นความเป็นจริงของสิ่งต่าง แล้วมีความปล่อยวางสิ่งต่างๆ นั้นเป็นอารมณ์ตั้งแต่ต้นแล้วจิตรวมเป็นฌานในเบื้องปลายแห่งการบรรลุมรรคผลเราก็จะเข้าใจมากขึ้นครับ

    พระธรรมของพระพุทธเจ้านั้นลึกซึ้ง บางแห่งตรัสเฉพาะกับบางบุคคล บางจริต โดยเฉพาะเรื่องบอกว่าอะไรสำคัญที่สุดนั้น พระพุทธเจ้าจะตรัสเอาไว้เลยว่าอะไรสำคัญที่สุด เราไม่ควรไปคิดเอาเองว่าอะไรสำคัญที่สุด จะเป็นการผิดพลาดได้นะครับ เพราะถ้อยคำที่เรากล่าวไป อาจค้านกับพุทธพจน์ที่ทรงตรัสเอาไว้ว่าอะไรสำคัญที่สุดเข้าครับ

    *******************************

    "ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ดิรัจฉานเหล่าหนึ่งเหล่าใดก็ตามบรรดามี พญาสีหมฤคราช ชาวโลกกล่าวว่าเป็นยอดแห่งสัตว์เหล่านั้น โดยความแข็งแรง โดยความรวดเร็ว โดยความกล้าหาญ ฉันใด โพธิปักขิยธรรม (ธรรมที่เข้าข้างหรือช่วยอุดหนุนการตรัสรู้) เหล่าหนึ่งเหล่าใดบรรดามี ปัญญินทรีย์ก็เรียกว่าเป็นยอดของธรรมเหล่านั้น ในข้อที่เป็นไปเพื่อความตรัสรู้ (โพธะ) ฉันนั้น" (สํ.ม.19/1024/301)

    "ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนกูฏาคาร (เรือนชั้นมียอด) เมื่อเขายังมิได้ยกยอดขึ้นเพียงใด กลอนเรือนก็ยังไม่ตั้งได้ที่ ยังไม่มั่นลงได้เพียงนั้น เมื่อใดเขายกยอดขึ้นแล้ว เมื่อนั้น กลอนเรือนจึงจะตั้งได้ที่ จึงจะมั่นลงได้ ฉันใด อริยญาณยังไม่เกิดขึ้นแก่อริยสาวกเพียงใด อินทรีย์ ๔ ก็ยังไม่ตั้งได้ที่ ยังไม่มั่นลงได้เพียงนั้น เมื่อใดอริยญาณเกิดขึ้นแล้วแก่อริยสาวก เมื่อนั้น อินทรีย์ ๔ จึงจะตั้งได้ที่ จึงจะมั่นลงได้ ฉันนั้นเหมือนกัน; อินทรีย์ ๔ ไหน? ได้แก่ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ และสมาธินทรีย์ สำหรับอริยสาวกผู้มีปัญญา ศรัทธา...วิริยะ...สติ...สมาธิ ซึ่งเป็นของคล้อยตามปัญญานั้น ย่อมทรงตัวได้ที่" (สํ.ม.19/1028-9/302)

    ************************************

    เพื่อความไม่ประมาท คุณธรรมภูต ลองหาพระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสอย่างแน่ชัดว่า สัมมาสมาธิ สำคัญที่สุดมายืนยันก็คงจะกระจ่าง และจะไม่มีข้อโต้แย้งจากผู้ใดอีกน่ะครับ

    ลองพิจารณาดูนะครับ สัมมาสมาธินั้นสำคัญ แต่ยังไม่ถือว่าสำคัญที่สุดครับ ดังพระพุทธเจ้าตรัสไว้ข้างต้นครับ

    ขอให้เจริญในธรรม
     
  18. มโน

    มโน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    316
    ค่าพลัง:
    +100
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ต่อไปข้างหน้าสัทธรรมปฏิรูปจะมาก จะเป็นที่ยอมรับจากสังคม เพราะปกติวิสัยผู้คนโดยมาก มักจะยอมก็ต่อเมื่อมีความเห็นตรงกับความเห็นของตนและคิดว่าถูกต้องดีแล้ว เป็นหลักครับ </TD></TR></TBODY></TABLE>
    คนมีกิเลสหนา ปัญญาหยาบ ย่อมชอบสิ่งที่เข้ากับกิเลสของตน....
    การทำความเพียรแบบอุกฤษณ์ ธรรมอยู่ฟากตาย....
    เจ็บปวด..เมื่อย ทุกข์ทรมาน...เพื่อให้รู้ทุกข์เห็นทุกข์..อริยสัจจธรรม
    ทุกข์ที่เกิดจากกาย ทุกข์ที่เกิดภายในจิต...
    เป็นสิ่งที่ขัดกับกิเลสในใจตนเอง...


    คนปัจจุบัน..จึงไม่เห็นการทำความเพียรเป็นเรื่องไม่สำคัญ..
    ปัญญาจะเกิดขึ้นเอง..โดยไม่ต้องทำความเพียรเข้าแลก
    แต่ปัญญา..จะเกิดขึ้นจากความจำ..ความเข้าใจ..ในสิ่งนั้นที่ตนศึกษา


    คนยุครุ่นพ่อแม่ครูอาจารย์ ท่านเริ่มต้นจาก...
    การสมาทานรักษาศีล...ให้บริสุทธิ์
    การบำเพ็ญภาวนา...สมาธิสำรวมจิตให้ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
    การเจริญปัญญา... รู้แจ้งแทงตลอดในขันธ์5

    เปรียบเสมือนดั่งการสร้างเจดีย์...เริ่มต้นจาก...
    ศีล..เป็นพื้นฐานขององค์เจดีย์
    สมาธิ...เป็นช่วงกลางขององค์เจดีย์
    ปัญญา...เป็นยอดสูงสุดขององค์เจดีย์

    แต่คนปัจจุบัน...
    เริ่มจากปัญญา คือ สร้างยอดเจดีย์ก่อน...
    โดยที่พื้นฐานไม่แน่น..ช่วงกลางไม่เป็นสิ่งสำคัญ
    เหมือนเจดีย์คว่ำกลับหัวปักดิน..


    พุทธพจน์
    บุคคลล่วงทุกข์ ได้ด้วยความเพียร
    <!-- google_ad_section_end -->

    ฌานที่เป็นความสุขของพระพุทธศาสนา อันได้แก่ ฌานของพระอริยเจ้าทั้งหลายฯ
    เป็นฌานอันเกิดจากการสัมมาปฏิบัติ และองค์อริยมรรค
    <!-- google_ad_section_end --> <!-- / message -->
     
  19. สาละ

    สาละ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +328
    ต้องขอโทษด้วยครับที่ผมคงไม่สามารถถามอาจารย์ผมได้แล้วเพราะท่านมรณะภาพไปนานแล้ว
    และที่สำคัญผมไม่ได้ค้านหรือสนับสนุนใครทั้งสิ้น
    ผมว่าท่านธรรมภูตคงเข้าใจเจตนาผมผิด
    ถ้าท่านคิดว่าที่ท่านลงพุทธพจน์ไว้ถูกต้อง
    และที่ผมลงก็ถูกตามนั้นผมว่ามันก็น่าจะจบนะครับ
    ไม่ใช่ผมลงเพื่อค้านใคร
    ที่จริงอยากชี้ให้เห็นว่า หลวงปู่คำดีซึ่งท่านเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง
    บอกว่า

    ไตรลักษณ์ นี้จะเป็นเครื่องตัดสินถูกหรือผิด จะเป็นสัมมาสมาธิหรือมิจฉาสมาธิ

    ส่วนในพระไตรปิฎกหากท่านเห็นว่าตรงกันเรื่องก็ควรจบตรงนี้นะครับ

    ผมชอบเทศน์หลวงปู่ดู่ว่า

    ปฏิบัติแล้วโลภ โกรธ หลง แกลดลงหรือเปล่าหละ
    ถ้าลดลง ข้าก็ว่าแกใช้ได้

    ผมขอย้ำอีกครั้งผมไม่ได้มีเจตนาจะค้านหรือสนับสนุนใครทั้งสิ้น
    เพราะผมเองยังปฏิบัติไม่ถึงไหนเลย
    นั่งสมาธิก็น้อย โลภ โกรธ หลงก็ไม่เห็นมันจะลดลง
    ที่นำมาลงเพราะคิดว่าน่าจะพอมีประโยชน์ครับ

    ขอบคุณครับ
     
  20. siratsapon

    siratsapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    368
    ค่าพลัง:
    +641
    เพิ่มเติมเพื่อเป็นประโยชน์แก่การศึกษา

    อริยมรรคเป็นมุมมองการปฏิบัติจากภายใน เริ่มจากสัมมาทิฐิให้พอเหมาะก่อน แล้วอย่างอื่นจะค่อยๆ สมบูรณ์ตามมาได้ (เวลาสมบูรณ์จะค่อยๆ สมบูรณ์ในลักษณะของไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา แบบมุมมองภายนอก)

    ***********************

    [๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็น
    ประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ เมื่อมีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ
    จึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาวาจา
    สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะจึงพอเหมาะได้
    เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิจึง
    พอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาญาณะ
    สัมมาวิมุตติจึงพอเหมาะได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล พระเสขะผู้
    ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยองค์ ๑๐ ฯ


    จาก :
     

แชร์หน้านี้

Loading...