สัมมาทิฐิ-รู้เห็นตามความเป็นจริง จะรู้ตามจริงได้อย่างไรถ้าไม่มีสัมมาสมาธิ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 9 มิถุนายน 2009.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ท่าน <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->siratsapon<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_2179103", true); </SCRIPT> ครับ ท่านอย่าใช้นิสัยแบบเดียวกับอาจานนิวรณ์นะครับ
    ลงแบบนี้ คนเข้าใจผิดเนี่ย เป็นบาปนะครับ

    ควรเอาบริบทก่อนหน้านั้นมาลงสิครับ จึงจะสมบูรณ์ ถูกต้องตามพุทธพจน์
    ถ้าเพียงเพื่อจะเอาชนะคะค้านเท่านั้น ธรรมะไม่ก้าวหน้านะครับ
    รู้เห็นตามความเป็นจริงต่างหาก ถึงทำให้ธรรมะก้าวหน้า

    ดูต้นพระสูตร มหาจัตตารีสกสูตร

    [​IMG]
     
  2. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เป็นไปไม่ได้ครับ เพียงขณิกสมาธิ ปัญญาที่ว่า ยังไม่รู้เห็นตามความเป็นจริง
    เพราะก็เขียนมาเองว่า สิ่งที่รู้เห็นจะยังหยาบ
    อย่างนี้ จะเรียกว่าตามความเป็นจริงได้ยังไง
    เป็นการรู้เห็นตามจิตที่ไปติดอารมณ์

    ถ้าจะรู้เห็นตามความเป็นจริงได้ ต้องสัมมาสมาธิฌาน ๔ เท่านั้น
    เพราะสัมมาสมาธิ มีอริยมรรคอีก ๗ องค์แวดล้อมอยู่
    และ๗ องค์ที่แวดล้อมสัมมาสมาธินี้ มีสัมมาทิฐิเป็นประธาน
    จึงจะรู้เห็นตามความเป็นจริงครับ

    ฯลฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เราจักแสดงสัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ แก่เธอทั้งหลาย
    พวกเธอจงฟังสัมมาสมาธินั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป
    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ

    [๒๕๓] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ก็สัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ
    คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา
    สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ เป็นไฉน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง
    ประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แล
    เรียกว่า สัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุบ้าง มีองค์ประกอบบ้าง ฯ

    [๒๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
    ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ
    ภิกษุรู้จักมิจฉาทิฐิ ว่ามิจฉาทิฐิ
    รู้จักสัมมาทิฐิ ว่าสัมมาทิฐิ
    ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ

    ;aa24
     
  3. siratsapon

    siratsapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    368
    ค่าพลัง:
    +641
    ถึงคุณธรรมภูตที่ ๑๒๗ และ ๑๒๘ ครับ

    แสดงว่าคุณคงเคยสนทนากับคุณนิวรณ์ในประเด็นทำนองนี้มาแล้ว

    ถ้าอย่างนั้นผมคงจะไม่สนทนาต่อไปจะดีกว่าครับ เดี๋ยวจะกลายเป็นโต้แย้งกันได้ กันเอาไว้ก่อนดีกว่า เพราะตามจริงหากคุณนิวรณ์ยกพระสูตรข้างต้นมาแล้ว คงจะมีการอธิบายกันไปแล้ว และหากทำให้คุณเข้าใจถูกแล้ว คงจะไม่มีประเด็นกระทู้ทำนองนี้ขึ้นมาได้อีก...

    แต่เพื่อไม่ให้เสียมารยาท ขอตอบว่า พระสูตรดังกล่าว คุณได้อ่านแล้วก็อย่าไปตีความว่าสัมมาสมาธิสำคัญที่สุดนะครับ พระสูตรนี้ไม่ได้สื่ออย่างนั้นแม้แต่น้อยเลย จริงอยู่หัวข้อใหญ่จะเป็นเรื่องสัมมาสมาธิ แต่ก็ไม่ได้ตรัสเอาไว้เลยว่าสัมมาสมาธิสำคัญที่สุด แต่เราจะเห็นว่าในพระสูตรข้างต้น จะบอกเอาไว้ว่าสัมมาสมาธิของพระอริยหากไม่มีสัมมาทิฐิเป็นตัวประธานก่อน และอิงอาศัยมรรคอื่นๆ ต่อๆ มาก่อนสัมมาสมาธิย่อมเกิดไม่ได้ เพราะสัมมาสมาธิมีองค์ประกอบอยู่ มีเหตุปัจจัยอยู่ และพระองค์ยังลงท้ายให้เห็นอีกไปจนถึงสัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติอีกด้วย ลองพิจารณาดูให้ดีๆ นะครับ คนละเรื่องกับว่าอะไรสำคัญที่สุดครับ

    ต่อไปที่ความเห็น ๑๒๘ คุณบอกว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะใช้ขณิกสมาธิทำให้รู้เห็นตามเป็นจริงไม่ได้ ผมแนะนำให้ไปอ่านกระทู้นี้ หรือสนทนากับผู้รู้ในที่นี้เลยก็ได้ครับ โดยเฉพาะความเห็นที่ ๘ จะชัดมากบอกเกี่ยวกับขณิกสมาธิเอาไว้ครับ (ทำอะไรอย่าคิดเอง และสรุปเอาเองนะครับเดี๋ยวจะผิดได้)

    เจริญวิปัสสนา โดยไม่มีฌานเป็นพื้นฐาน ....... กรณี(พระ)สุกขวิปัสสก
    PANTIP.COM : Y7953911 ���ԭ�Ի��ʹ� �������լҹ��繾�鹰ҹ ....... �ó�(���)�ء��Ի��ʡ []

    คุณคงจะได้รับประโยชน์ หรือไขข้อข้องใจได้ไม่มากก็น้อยครับ

    ขอให้เจริญในธรรม
     
  4. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ขออนุญาต ยก มหาจัตตารีสกสูตร มาให้อ่านกันว่า
    ไม่ทราบอ่านกันอย่างไร ในเมื่อทรงตรัสไว้ชัดเจนว่า


    สัมมาสมาธิ ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ประกอบแล้วด้วยองค์ ๗
    นั่นคือ “สัมมาสมาธิ” เป็นประธาน แวดล้อมด้วยมรรคอีก ๗ องค์
    บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
    และในมรรค ๗ องค์ ที่แวดล้อม “สัมมาสมาธิ” นั้น มี “สัมมาทิฏฐิ” เป็นประธาน

    ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ
    ภิกษุรู้จักมิจฉาทิฐิว่ามิจฉาทิฐิ รู้จักสัมมาทิฐิว่าสัมมาทิฐิ
    ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ

    ถ้าไม่ปฏิบัติสัมมาสมาธิ จนจิตตั้งมั่นชอบแล้ว
    จะรู้เห็นตามความเป็นจริงได้อย่างไรว่า
    สิ่งไหนเป็นมิจฉาทิฐิ สิ่งไหนเป็นสัมมาทิฐิ

    ถ้าตอบว่ารู้เห็นได้ นั่นแสดงว่าเดาสวดค่ะ
    ไม่ใช่รู้เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง

    เพราะถ้ารู้เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเ้ป็นจริง
    รู้เห็นแล้ว ต้องละได้ด้วย หรือก็คือ ปล่อยวางอารมณ์ได้

    (smile)
     
  5. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    สรุปมหาจัตตารีสกสูตร

    ๑. สัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ คือ
    สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
    สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ


    ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง
    ประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แล
    เรียกว่า สัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุบ้าง มีองค์ประกอบบ้าง ฯ

    ๒. บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิ ย่อมเป็นประธาน คือ
    ภิกษุรู้จักมิจฉาทิฐิว่ามิจฉาทิฐิ
    รู้จักสัมมาทิฐิว่าสัมมาทิฐิ


    ความรู้นี้ เป็นสัมมาทิฐิ ฯ

    .
     
  6. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ๓. มิจฉาทิฐิเป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า
    ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล
    ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล
    สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล
    ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้วไม่มี
    โลกนี้ไม่มี
    โลกหน้าไม่มี
    มารดาไม่มี
    บิดาไม่มี
    สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี
    สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
    เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี


    ๔.สัมมาทิฐิเป็นไฉน
    สัมมาทิฐิแบ่งเป็น ๒ อย่าง คือ
    ๔.๑. สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ คือ ความเห็นดังนี้ว่า
    ทานที่ให้แล้ว มีผล
    ยัญที่บูชาแล้ว มีผล
    สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล
    ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่
    โลกนี้มี
    โลกหน้ามี
    มารดามี
    บิดามี
    สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี
    สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
    เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่


    ๔.๒. สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค คือ
    ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ความเห็นชอบ องค์แห่งมรรค
    ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่

    ความพยายามเพื่อละมิจฉาทิฏฐิ เพื่อบรรลุสัมมาทิฏฐิ เป็นสัมมาวายามะ
    ความมีสติละมิจฉาทิฏฐิได้ มีสติบรรลุสัมมาทิฏฐิอยู่ เป็นสัมมาสติ
    สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อมเป็นไปตามสัมมาทิฏฐิของภิกษุนั้น ฯ

    .
     
  7. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ๕. บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานคือ

    ภิกษุรู้จักมิจฉาทิฐิ ว่ามิจฉาทิฐิ
    (มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ ฯ)

    รู้จักสัมมาทิฐิ ว่าสัมมาทิฐิ
    (สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ฯ)

    ความรู้นี้เป็นสัมมาทิฏฐิ

    ๖.มิจฉาสังกัปปะ คือ ความดำริในกาม ดำริในพยาบาท ดำริในความเบียดเบียน

    สัมมาสังกัปปะ มี ๒ คือ
    ๑.สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์
    ความดำริในเนกขัมมะ ดำริในความไม่พยาบาท ดำริในความไม่เบียดเบียน

    ๒.สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค
    ความตรึก ความวิตก ความดำริ ความแน่ว ความแน่ ความปักใจ วจีสังขาร
    ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรคเจริญอริยมรรคอยู่

    .
     
  8. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    .มิจฉาวาจา คือ พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ เจรจาเพ้อเจ้อ

    สัมมาวาจา มี ๒ คือ
    ๑.สัมมาวาจาที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์
    เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูด ส่อเสียด
    งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการเจรจาเพ้อเจ้อ


    .สัมมาวาจาของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค
    ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนางดเว้น จากวจีทุจริตทั้ง ๔
    ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่

    .
     
  9. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ๘. มิจฉากัมมันตะ คือ ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร

    สัมมากัมมันตะมี ๒ คือ
    ๑.สัมมากัมมันตะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์
    เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต งดเว้นจากอทินนาทาน งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร

    . สัมมากัมมันตะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค
    ความงดความเว้น เจตนางดเว้น จากกายทุจริตทั้ง ๓
    ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่

    .
     
  10. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ๙. มิจฉาอาชีวะ คือการโกง การล่อลวง การตลบตะแลง การยอมมอบตนในทางผิด การเอาลาภต่อลาภ

    สัมมาอาชีวะมี ๒ คือ
    ๑. สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑
    ย่อมละมิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ

    ๒. สัมมาอาชีวะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค
    ความงด ความเว้น เจตนางดเว้น จากมิจฉาอาชีวะ
    ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่

    .
     
  11. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ๑๐.บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน คือ

    เมื่อมีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะจึงพอเหมาะได้
    เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงพอเหมาะได้
    เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะจึงพอเหมาะได้
    เมื่อมีกัมมันตะ สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้
    เมื่อมีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะจึงพอเหมาะได้
    เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติจึงพอเหมาะได้
    เมื่อมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิจึงพอเหมาะได้
    เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะได้
    เมื่อมีสัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติจึงพอเหมาะได้

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล
    พระเสขะผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยองค์ ๑๐

    สรุปจาก มหาจัตตารีสกสูตร

    (smile)
     
  12. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255

    ในมหาจัตตารีสกสูตร ทรงแสดงว่า
    “สัมมาสมาธิ” เป็นใหญ่ เป็นประธานในมรรคมีองค์ ๘
    “สัมมาสมาธิ” แวดล้อมด้วยมรรคอีก ๗ องค์

    และมรรค ๗ องค์ ที่แวดล้อมสัมมาสมาธินั้น
    มีสัมมาทิฐิเป็นประธาน...จะกล่าวในแทบทุกตอนว่า


    บรรดาองค์ทั้ง ๗ คือ
    ซึ่งทั้ง ๗ องค์ นี้ มีสัมมาสมาธิเป็นประธาน


    (smile)
     
  13. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ในการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ “สัมมาสมาธิ” เป็นประธาน แวดล้อมด้วยมรรคอีก ๗ องค์
    ในมรรค ๗ องค์ ที่แวดล้อม “สัมมาสมาธิ” นั้น มี “สัมมาทิฐิ” เป็นประธาน

    นั่นแสดงว่า การปฏิบัติ “สัมมาสมาธิ” ทำให้เกิด “สัมมาทิฐิ”
    รู้เห็นตามความเป็นจริง รู้ว่า อะไรเป็นมิจฉาทิฏฐิ อะไรเป็นสัมมาทิฐิ

    “สัมมาทิฏฐิ” ไม่ได้เกิดจากการอ่านตำรา แต่ต้องเกิดจากการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ เท่านั้น
    ซึ่งเป็นการปฏิบัติทางจิต และต้องเริ่มต้นโดยการปฏิบัติ “สัมมาสมาธิ”

    “สัมมาทิฏฐิ” แบ่งเป็น ๒ ระดับคือ
    ๑.สำหรับผู้กำลังปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ อยู่ สัมมาทิฏฐิยังมีอาสวะกิเลสปนอยู่
    ๒.ส่วนพระอริยสาวก สัมมาทิฏฐิไม่มีอาสวะกิเลสปนแล้ว

    ดังนั้น การจะกล่าวหาผู้ใดว่าเป็น “มิจฉาทิฏฐิ”
    ส่วนตนเองเป็น “สัมมาทิฎฐิ” นั้น
    คงไม่ดูแค่ความเห็นที่ยกมาจากตำราเท่านั้นกระมัง???


    (smile)
     
  14. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    การอ่าน ฟัง คิด เชื่อตาม เป็นความเห็นที่เกิดจากศรัทธา
    ยังไม่ใช่ปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริง

    เพราะทรงตรัสไว้ว่า

    “โยคาเว ชายเต ภูริ, อโยคา ภูริ สงฺขโย,
    เอตํ เทฺวตปถํ ญตฺวา ภวาย วิภาวย จตถตฺตานํ นิเวเสยฺย ยถา ภูริ ปวทฺฒติ

    ปัญญาเกิดขึ้นเพราะความประกอบ ไม่ประกอบ ปัญญาก็หมดสิ้นไป
    บุคคลรู้ทางแห่งความเจริญและความเสื่อมทั้ง ๒ ทางนี้,แล้ว
    พึงตั้งตนไว้ในทางที่ปัญญาจะเจริญ”.


    สัมมาทิฐิ ที่เกิดจากการปฏิบัติ สัมมาสมาธิ
    จึงจะเป็นความเห็นที่ถูกต้องตามความเป็นจริง

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จงยังสมาธิให้เกิดขึ้นเถิด
    ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง ดังนี้

    (smile)
    [FONT=&quot]<o></o>[/FONT]

     
  15. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ท่าน siratsaponครับ ที่ผมเอ่ยถึงอาจานนิฯ นั้นเพื่อให้รู้ว่าอย่าใช้นิสัยแบบนั้น
    ตอบไม่ตรงคำถามและชอบแถออกนอกเรื่องเป็นประจำเมื่อตอบไม่ได้<O:p
    แสดงว่าท่านกำลังออกอาการตอบไม่ตรงต่อพุทธพจน์นะครับ<O:p
    <O:p
    ในต้นพระสูตรนั้นจอมศาสดาทรงเน้นว่า<O:p
    “พวกเธอจงฟังสัมมาสมาธินั้น จงใส่ใจให้ดี
    เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า”<O:p
    <O:p
    จากนั้นพระองค์ทรงกล่าวต่อไปว่า<O:p
    ก็สัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ
    คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา
    สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ เป็นไฉน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง(เป็นสมาธิ)
    ประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แล
    เรียกว่า สัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุบ้าง มีองค์ประกอบบ้าง ฯ<O:p
    <O:p
    ครั้นต่อมาเมื่อจิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหว(เป็นสมาธิ)<O:p</O:p
    ทรงให้สัมมาทิฐิเป็นประธาน เพื่อพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม<O:p</O:p
    เป็นภายในบ้าง เป็นภายนอกบ้าง ทั้งภายในและภายนอกบ้าง

    <O:p</O:pดูกรภิกษุทั้งหลาย
    บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
    ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ
    ภิกษุรู้จักมิจฉาทิฐิ ว่ามิจฉาทิฐิ
    รู้จักสัมมาทิฐิ ว่าสัมมาทิฐิ
    ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ที่ท่านยกมาในตอนท้ายบทนั้น <O:p</O:p
    ท่านแกล้งอ่านไม่เข้าใจหรือแกล้งทำเป็นเขลาเข้าข้างตัวเอง<O:p
    ผมจะชี้ให้ท่านดู พระองค์ท่านยังทรงกล่าวเหมือนเดิมคือ <O:p
    “บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร” <O:p
    <O:p
    เพราะในขณะนั้นเกิดสภาวะมรรคสมังคีแล้ว <O:p
    สัมมาทิฐิจึงรวบมรรคทั้ง๘องค์เข้าด้วยกันทำงานพร้อมกัน <O:p
    จึงได้ปรากฏสัมมาญาณะ และสัมมาวิมุตติ<O:p
    <O:p
    ผมไม่เคยแปลกใจเลยว่า พวกดูจิตติดคิดจนจิตกระด้างต่ออารมณ์<O:p
    ชอบล้มล้างพุทธพจน์ จะเอาแต่อรรถกถาจารย์เท่านั้น
    โดยเอาเฉพาะส่วนปลายมาพูด เพราะคิดว่าตัวเองวางเฉยได้แล้ว<O:p
    หาใช่ไม่ เป็นเพียงความกระด้างแห่งจิตต่ออารมณ์เท่านั้น<O:p
    <O:p
    เลิกชอบคิดเองเออเองได้แล้ว ชอบตีความเข้ากับจริตตัวเองเท่านั้น

    ;aa24<O:p
     
  16. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ผมไม่เคยแปลกใจเลยว่า พวกดูจิตติดคิดจนจิตกระด้างต่ออารมณ์
    ชอบล้มล้างพุทธพจน์ จะเอาแต่อรรถกถาจารย์เท่านั้น
    โดยเอาเฉพาะส่วนปลายมาพูด เพราะคิดว่าตัวเองวางเฉยได้แล้ว<O:p
    หาใช่ไม่ เป็นเพียงความกระด้างแห่งจิตต่ออารมณ์เท่านั้น<O:p
    <O:p

    เลิกชอบคิดเองเออเองได้แล้ว ชอบตีความเข้ากับจริตตัวเองเท่านั้น
    <O:pเช่นลิ้งค์ที่นำมาให้อ่านหนะ บทความนั้นเพียงต้องการชี้ให้เห็นว่า<O:p
    ไม่จำเป็นต้องผ่านรูปฌาน อรูปฌาน ให้ปฏิบัติสัมมาสมาธิโดยตรงอย่างเดียว<O:p
    ย่อมบรรลุมรรคผลนิพพานได้ <O:p

    แม้แต่เจ้าของกระทู้ผู้นำบทความมานำเสนอเอง ก็ยังไม่รู้เรื่องเลย<O:p
    <O:p
    วันหลังอ่านพระสูตรหนะ ควรอ่านทั้งบทก่อนหน้าและบทที่เกี่ยวเนื่องด้วย <O:p
    บทที่เกี่ยวเนื่องนั้นจอมศาสดาตรัสไว้ชัดเจนครับ<O:p
    <O:p
    เลิกมั่วได้แล้วครับ เพื่อไม่ให้ศาสนาเสียหายไปมากกว่านี้<O:p
    มีที่ไหนขณิกสมาธิในพระสูตร มีแต่อรรถกถาจาราย์รจนาขึ้นมาเอง<O:p
    <O:p
    ถ้าขณิกสมาธิดีจริง ในมหาสติปัฏฐานสูตรทำไมไม่มีพูดถึงหละ<O:p
    <O:p
    ผมทำอะไรโดยอิงพระสูตรเทียบเคียงเสมอครับ <O:p
    บางครั้งเอาอรรถกถามาเทียบเคียงด้วย
    โดยมากอรรถกถาเพิ่มเติมเสริมแต่งขึ้นเองโดยไม่มีพุทธพจน์รองรับ<O:p
    <O:p
    ผมเตือนด้วยเมตตา ท่านจะรับหรือไม่รับ นั่นส่วนของท่านเอง <O:p
    (ทำอะไรอย่าคิดเอง และสรุปเอาเองนะครับเดี๋ยวจะผิดได้)
    <O:p</O:p
    ท่านมีเวลาก็ไปโพสบอกเจ้าของกระทู้ให้รู้ด้วยว่า <O:p
    อย่าเอาแต่โพสแต่กระทู้ที่เข้ากับจริตตัวเองเท่านั้น <O:p
    เพื่อจะได้สบายไม่ต้องฝึกฝนอบรมอัปปนาสมาธิใช่มั้ย??? <O:p
    <O:p
    หัดอ่านพระสูตรบทที่เกี่ยวเนื่องด้วยว่า จอมศาสดาตรัสอะไรไว้บ้าง ยกมาให้อ่าน

    [๙๒] พ. ดูกรอานนท์ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้<O:p
    ซึ่งกามทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า
    และกามสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า
    ซึ่งรูปทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า
    และรูปสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า
    ซึ่งอาเนญชสัญญา ซึ่งอากิญจัญญายตนสัญญา
    ซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา
    <O:p</O:pซึ่งสักกายะเท่าที่มีอยู่นี้
    <O:p</O:pซึ่งอมตะ คือความหลุดพ้นแห่งจิตเพราะไม่ถือมั่น

    <O:p</O:pดูกรอานนท์ ด้วยประการนี้แล เราแสดงปฏิปทามีอาเนญชสมาบัติเป็นที่สบายแล้ว
    <O:p</O:pเราแสดงปฏิปทามีอากิญจัญญายตนสมาบัติเป็นที่สบายแล้ว
    <O:p</O:pเราแสดงปฏิปทามีเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเป็นที่สบายแล้ว

    อาศัยเหตุนี้ เป็นอันเราแสดงปฏิปทาเครื่องข้ามพ้นโอฆะ คือวิโมกข์ของพระอริยะแล้ว

    ดูกรอานนท์
    กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ อาศัยความอนุเคราะห์
    พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราทำแล้วแก่พวกเธอ

    ดูกรอานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง
    เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง
    นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ ฯ<O:p



    </PRE>

    �����ûԮ�������� �� - ����ص�ѹ��Ԯ�������� �

    ;aa24<O:p</O:p


    </PRE>
     
  17. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง
    พึงสำคัญที่จะติเตียน คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะนี้

    การกล่าวก่อนและการกล่าวตามกัน ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุ
    ของสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น

    ย่อมถึงฐานะน่าตำหนิในปัจจุบันเทียว

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้พวกอัสสะและพวกภัญญะชาวอุกกลชนบท
    ซึ่งเป็นอเหตุกวาทะ อกิริยวาทะ นัตถิกวาทะ
    ก็ยังสำคัญที่จะไม่ติเตียน ไม่คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะ

    นั่นเพราะเหตุไร เพราะกลัวถูกนินทา ถูกว่าร้าย และถูกก่อความ ฯ

    ;aa24
     
  18. nanakorn

    nanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +155
    นั่นเพราะเหตุไรเล่า ผู้ที่มีปัญญาพิจารณาอย่างละเอียด แล้วหรือไม่
    ย่อมจะนินทา และกล่าวร้ายผู้อื่นอย่างแนบเนียน และชอบก่อความ?
    และเพียรพยายามติเตือน ผู้ที่ไม่เห็นชอบกับตน หรือยกตนข่มท่่าน
    แต่ความจริงก็คือความจริง สิ่งต่างที่มันไม่จริง ย่อมแพ้ภัยตัวเองไป


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มิถุนายน 2009
  19. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ท่านนานาฯที่รักครับ
    เรื่องนินทาไม่ต้องพูดถึง
    เพราะการนินทานั้นเป็นการกล่าวร้ายผู้อื่นลับหลัง


    แต่ท่านบอกว่ากล่าวร้ายนั้น
    ท่านชี้สิครับว่าตรงไหนครับที่เป็นการกล่าวร้าย
    การทำเนียนพูดลอยๆไม่ดีนะครับ


    ตรงไหนครับที่ผมเพียรพยายามติเตียนครับ
    แสดงว่าที่ผมติเตียนเป็นเรื่องจริงสิครับ
    ผู้ถูกผมติเตียนจึงไม่พยายามอธิบายบ้างเลยเหรอ
    ว่าที่ผมติเตียนไม่ถูกต้องตรงไหน
    ที่ไม่อธิบายนั้นเพราะรู้อยู่เต็มอกว่าตัวเองนั้นหละที่สมควรถูกติเตียนใช่มั้ยครับ???


    ผมก็เห็นอยู่เสมอๆนิครับว่า
    คนที่ไม่เห็นด้วยกับผม กดไม่เห็นด้วยเป็นประจำ
    ทำไม ทำไม ผมถึงไม่ทำแบบนั้น
    การทำแบบนั้นไม่ใช่วิสัยสุภาพชนคนพุทธศาสนาหรอกครับ


    ไม่เห็นด้วยชี้สิครับ ไม่เห็นด้วยเพราะเรื่องอะไร?เหตุผลกลใด?

    ไม่มีใครเค้ายกตนข่มท่านหรอกครับ
    ที่ท่านมีความรู้สึกแบบนั้นเพราะ ขาดความเข้าใจสิ่งที่ถูกต้องต่างหาก


    ใช่ครับความจริงก็คือความจริงครับ
    สิ่งต่างที่มันไม่จริง ย่อมแพ้ภัยตัวเองไป
    ไม่ใช่พวกมากลากไปหรอกครับ ไม่เคยยอมฟังเหตุผลเองครับ

    ;aa24
     
  20. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    จริงหรือ คุณธรรมภูติ ที่คุณเคยอยู่ต่อหน้าหลวงพ่อ
    แล้วพูดสิ่งที่ควรติเตียนท่านอันเป็นเรื่องถูกต้องแล้ว
    ในการติเตียน ต่อหน้าท่าน

    สัจจะนั้น เกิดขึ้นเมื่อไหร่กันหรือ

    ท่านไม่ใช่คนพูดจาเลื่อนลอย วานบอกหน่อยเถิด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มิถุนายน 2009

แชร์หน้านี้

Loading...