รวบรวมข้อมูลเตรียมตัวรับมือกับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย kananun, 28 กันยายน 2006.

  1. Kongp

    Kongp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +3,909
    มีคน PM , โทรมา , อีเมล์ ถามผมมาหลายคน ครับ ว่าอยากจะจัดมั่ง จะเริ่มต้นยังไง หาซื้อที่ไหน แหล่งเลือกซื้อ อุปกรณ์ประเภทนี้ อยู่ที่ใด

    ต้องเริ่มต้นจาก วางแผนก่อนครับ

    อย่างแรกเลย เราจะจัดทำไม เราจะจัดเพื่ออะไร ในสถานการณ์แบบไหน ความคล่องตัว การอพยพ การย้ายถิ่นฐาน ต้องวางแผนก่อนครับ

    หลักการในการจัดเป้ฉุกเฉินของผม คือ

    อุปกรณ์ทุกชิ้น ต้องตอบสนองทุกความต้องการของผม ยามภัยพิบัติได้จริงๆ โดยเฉพาะเหตุการณ์แผ่นดินไหว เป็นหลัก เพราะถือว่า เป็นเรื่องที่หนักที่สุด ในชุมชนเมืองกรุงเทพ ที่ผมอยู่

    เพราะแค่จัดชุดรับมือแผ่นดินไหว ก็เท่ากับว่า ชุดนี้ สามารถใช้ได้ ในสถานการณ์อื่นๆได้ด้วยครับ

    ชุดรับมือแผ่นดินไหว ต้องอาศัยความคล่องตัว ผมบอกตรงๆ จัดไปจัดมา น้ำหนักเยอะเหมือนกัน แต่ก็ได้อุปกรณ์ที่สามารถช่วยเหลือเราได้จริงๆ น้ำหนักเยอะ แต่คล่องตัว เพราะเป็นเป้ แค่ขนาด 30 ลิตร เท่านั้นเอง

    เมื่อก่อน ผมก็จัดแบบ มีน้ำขวดหลายลิตร มีอาหารกระป๋อง มีเต๊นท์ มีถุงนอน กระเป๋าใบใหญ่ อุปกรณ์หลายอย่าง อยู่กันสะเปะสะปะ กระจายกันอยู่ ทำไปทำมา คิดไปคิดมา เกิดไอเดียขึ้นมาว่า "แผ่นดินไหว เราจะขนไปได้สักแค่ไหนเชียว"

    นอกจากนี้ ไม่รู้ว่าจะเกิดเหตุการณ์เมื่อไหร่ ความคงทน อายุการใช้งาน สำคัญมาก โดยเฉพาะ อะไรที่บอกวันหมดอายุ ปีนี้ 2009 ผมต้องจัดเป้ชุดนี้ ให้มีอายุสัก 5 ปี คือหมดอายุ ปี 2014 (จากคำทำนาย คือ 2012) หลายอย่าง หมดอายุปี 2012 ก็มีครับ เช่น แท่งเรืองแสง หรือยาบางชนิด แต่อาหารและน้ำ ของผมหมดอายุ ปี 2014 ครับ

    การจินตนาการ การศึกษาจากเหตุการณ์ใน Youtube ก็สำคัญครับ ผมมีพลุฉุกเฉิน ที่ซื้อมาจากคลองถม ผมเคยคิดว่า เอาไปไว้ใน survival kit เล็กๆ พกพา เผื่อเวลานั่งรถไฟใต้ดิน เกิดรถไฟดับ ในนั้นมืด ผมจะจุดให้สว่าง เรื่องนี้ ทำให้ผมคิดอีก คือ "ไม่เหมาะสม" ถ้ามีแก๊สรั่วจะทำยังไง สุดท้าย ผมเลือกแท่งเรืองแสง กับไฟฉาย ไว้ดีกว่า ครับ

    การวางแผนที่จะทำ Emergency Kit สักชุด ต้องรอบคอบ ครับ

    สำหรับแหล่งเลือกซื้อ ไม่ยากครับ ตามร้านอุปกรณ์เดินป่าทั่วไป ตามห้างสรรพสินค้า ร้านไดโซะ หรือ แม้แต่ตามเว็บไซต์ ก็มีขายเยอะแยะครับ

    สงสัย สินค้า ไม่แน่ใจ ตัวไหน สอบถามผมก่อนได้ ก่อนซื้อมาใช้ครับ
     
  2. krisdasri

    krisdasri เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2008
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +759
    เมื่อวานไปเช็คเป้ฉุกเฉินของผม ปรากฎว่าพวกอาหารเริ่มหมดอายุ
    สงสัยต้องเปลื่ยนแผนเก็บใหม่ครับ
     
  3. Kongp

    Kongp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +3,909
    ควรให้ความสำคัญ กับ "สี" เป็นอย่างมากในสถานการณ์ฉุกเฉิน

    เคยอ่านข่าวไหมครับว่า พระธุดงค์ รอดมาจากในป่า ขณะที่หลงป่า ได้อย่างไร ก็เพราะว่า ท่านมีจีวร สีเหลือง อยู่ เฮลิคอปเตอร์ เห็นจีวรสีเหลือง ได้อย่างชัดเจนบนฟ้าครับ

    บางคนเข้าป่า หรือเดินป่า ไม่แนะนำให้ใส่ชุดลายพรางครับ เกิดหลงป่า จะลำบากมาก ถ้าจำเป็นต้องเข้าป่าลึก กรุณาติด ผ้าสีส้มผืนใหญ่ๆติดเป้ ไว้เสมอ ครับ

    การเลือกซื้อ หรือเลือกใช้ เกี่ยวกับเป้ ก็สำคัญครับ ควรเลือกซื้อเป้ที่มีสีสด เช่น สีแดงสว่าง หรือ สีส้มสะท้อนแสง มันดีตรงที่ ทำให้การค้นหาของหน่วยกู้ภัย ทำได้ง่ายมากขึ้นครับ
     
  4. Kongp

    Kongp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +3,909
    กลัวคนอ่าน ยิ่งอ่าน ยิ่ง งง ทำไมอุปกรณ์ผมมันเยอะจัง เอาเป็นว่า ผมเรียบเรียง อุปกรณ์เบสิก ที่ควรจะต้องมี ดีกว่า แต่ก็แบบฉบับของผมนะ "ชุดรับมือแผ่นดินไหว" และของทุกชิ้น ต้องหาได้ในเมืองไทย ด้วย

    1. เป้ (Backpack) สีแดงสด หรือสีส้ม ไม่จำเป็นต้องของแท้ ของก๊อบก็ได้ ดีๆ หน่อย เกรด A ลองเดินหาซื้อตามสวนจตุจักร ดูครับ ขนาดสักประมาณ 30 ลิตร

    2. Light Stick หรือ แท่งเรืองแสง ควรที่จะเป็น สีเขียว ครับ สีเขียวสว่างมากที่สุด และสีมันตัดกับเปลวไฟ ใช้ดีครับ ควรมีสัก 3 แท่ง

    3. นกหวีด จะเป็นนกหวีดอะไรก็ได้ ราคามีหลากหลาย แต่ถ้าให้ดี ลองไปจุ่มน้ำ ถ้าเป่าแล้ว เสียงไม่ออก อย่าซื้อเลยครับ

    4. ชุดปฐมพยาบาล อันนี้จัดเองครับ ลองดูว่า ชุดปฐมพยาบาลพื้นฐาน ต้องมีอะไรบ้าง พยายามเน้น พวก ผ้าก๊อซ ยาทาแผล เป็นหลัก ครับ

    5. Duct Tape หรือ เทปผ้า ครับ เวลาซื้อสังเกต ต้องเป็น Duct Tape นะครับ ถ้าเทปผ้าทั่วไป ตามร้านเครื่องเขียนเรียกว่า Cloth Tape หาซื้อตอนนี้ได้ที่ เซ็นทรัลลาดพร้าว ชั้นเดียวกับ ที่มี supersport ตรงแผนก เครื่องใช้ไฟฟ้า , แต่งรถ เลือกซื้อ Duct Tape ยี่ห้อ 3 M ความยาว 30 หลา ราคาประมาณ 270 บาท ครับ

    6. มีดอเนกประสงค์ อันนี้ต้องเลือกแล้วครับ มีของจีน กับของสวิส(Victorinox) ถ้าทรัพย์น้อย ก็เลือกจีนก็ได้ครับ แต่คุณภาพจะแย่หน่อย อันนี้ตัดสินใจเองครับ มีดอเนกประสงค์ ปลีกย่อย ควรจะมี มีด, เลื่อย , ที่เปิดกระป๋อง เปิดขวด กรรไกร ครับ รู้สึกว่า ถ้าเป็น Victorinox น่าจะเป็นรุ่น Huntman ครับ

    7. วิทยุ AM/FM พร้อมแบตเตอรี่ ซื้อแบบเล็กๆ ก็ได้ครับ จะของจีน ของไทย ก็พยายามดูเนื้องานสักหน่อย เลือกระบบที่เป็น แมนนวลนะครับ อย่าเอา แบบดิจิตอลเพราะพวกนี้อาจพังเร็ว

    8. ไฟฉาย พร้อมแบตเตอรี่ อันนี้แล้วแต่เลือกใช้ครับ ที่ผมใช้อยู่ เป็น ไฟฉายแบบไดนาโม ครับ ของ Osram ราคาไม่ถึงสี่ร้อย ใช้ดีครับ แต่ผมก็ว่าจะหา Back up อีกสักอัน นึง

    9. ผ้าห่มฉุกเฉิน หาซื้อได้ที่ร้าน ไดโซะ ราคา 60 บาท ครับ ต้องตระเวนหาหน่อยครับ ลองถามที่ร้าน ถามผ้าห่มฉุกเฉิน ไม่รู้ ครับ ลองถามว่า "มีผ้าห่มอลูมิเนียมไหม"

    10. อาหารฉุกเฉิน อันนี้ผมขอเลือก เป็นแบบ อาหารให้พลังงานสูง เก็บได้ 5 ปี ครับ เมืองไทย ตอนนี้มียี่ห้อ seven ocean เพียงอย่างเดียวเท่านั้นครับ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เลือกมากไม่ได้ครับ มีอะไรก็ต้องกิน ประทังชีวิต

    11. น้ำฉุกเฉิน ก็เลือก seven ocean เหมือนกัน เนื่องจากเก็บได้ 5 ปี ถ้าเป็นน้ำขวดธรรมดา ถ้าเก็บจริงๆ เก็บได้ประมาณ 6 เดือน เท่านั้นเองครับ ก็เลยเลือก seven ocean

    12. หลอดกรองน้ำฉุกเฉิน เป็นทางเลือกสุดท้ายในการหาน้ำครับ เนื่องจาก seven ocean ที่ผมมีไว้ ผมมีแค่ 1 ลิตร เท่านั้นครับ มากกว่านี้ คงต้องใช้หลายห่อ (ห่อละครึ่งลิตร x 2 )

    13. ยาเม็ดฆ่าเชื้อโรคในน้ำ มีติดไว้ด้วยก็ดีครับ น้ำเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต

    14. เสื้อกันฝน ซื้อแบบทีเป็นพลาสติก ธรรมดาก็ได้ครับ ราคา 19-29 บาท

    15. หน้ากาก กันฝุ่นละออง กันเชื้อโรค รุ่น N95 ยี่ห้อ 3 M หาซื้อได้ตาม Homepro ครับ เซ็นทรัลลาดพร้าวก็มีขาย ถ้าไปซื้อ Duct Tape ด้วย อยู่ที่เดียวกันครับ

    16. ถุงมือหนัง แบบที่ ใช้กันติดไว้ในรถ น่ะครับ หาซื้อได้ทั่วไป

    17. ไม้ขีดไฟ กันน้ำ กันลม มีไว้ดีกว่า มีไฟแช็คครับ อย่างน้อย มันไม่น่าจะเสียกลางคัน อย่างแน่นอน ครับ หาซื้อได้ ตามเว็บไซต์ ครับ

    เอาเท่านี้ก่อนครับ จริงๆ ของผมก็มีเยอะกว่านี้

    เพื่อนๆ ต้องแยกระหว่าง Emergency กับ Survival นะครับ

    ชุดรับมือแผ่นดินไหว คือ Emergency ครับ หลุดตรงนี้ไป ถ้าสถานการณ์หนัก ทีนี้ก็ต้อง Survival ล่ะครับ
     
  5. Kongp

    Kongp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +3,909
  6. Kongp

    Kongp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +3,909
    ไม่รู้ว่าเกี่ยวกันหรือเปล่าครับ

    เวลามาแจ้งข่าว เกี่ยวกับ อุปกรณ์ที่ลดราคา หรือสถานที่เลือกซื้อ

    อย่างเช่น พลุฉุกเฉินที่คลองถม จากที่ผมไปมาและซื้อคราวแรก มีเต็มตระกร้า พอมาบอกที่เว็บพลังจิต กลับกลายเป็นว่าเหลือนิดเดียว

    หรือแม้แต่ ผ้าห่มฉุกเฉิน หาเดินตามไดโซะ หายเกลี้ยง ไม่มีสักผืน

    ไม่แน่ใจว่าอ่านจากที่นี่หรือเปล่า หรือผมคิดไปเอง
     
  7. Kongp

    Kongp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +3,909
    หน้ากากปกป้องระบบทางเดินหายใจ ยี่ห้อ 3M รุ่น 8210 N95

    ลักษณะทั่วไป

    เป็นอุปกรณ์สำหรับสวมใส่ครอบคลุมจมูกและปากเพื่อป้องกันให้ไม่อนุภาคอันตราย ซึ่งปนเปื้อนอยู่ในบรรยากาศและเชื้อชีวภาพจำเพาะอย่างผ่านเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ น้ำหนักเบา หายใจสะดวก

    ลักษณะจำเพาะ
    1. ได้รับรองมาตรฐานของ National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH) จากประเทศสหรัฐอเมริกา และมีประสิทธิภาพการป้องกันถึง 0.3 ไมครอน

    2. มีคุณสมบัติตามข้อแนะนำ ขององค์การอนามัยโลกและศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ ในการลดความเสี่ยงต่อการรับสัมผัสเชื้อวัณโรค , โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง , โรคไข้หวัดนก , โรคไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ชนิด A (H1N1)

    3. ทำจากเส้นใยโพลีโพรพีลีน

    4. มีแถบอลูมิเนียมอยู่ด้านบน และมีแถบโฟมบุอยู่ด้านหลังแถบอลูมิเนียมเพื่อเพิ่มความกระชับและความสบายขณะสวมใส่

    5. มีสายรัด 2 เส้น ทำจากวัสดุที่สามารถปรับความยืดหยุ่นได้เอง ให้มีความพอดีกับขนาดของศรีษะและลำคอ ของผู้สวมใส่โดยไม่รัดแน่นจนเกินไป
    6 มี 2 ขนาด ให้เลือก คือ ขนาดธรรมดา รุ่น 8210 และ ขนาดเล็ก รุ่น 8110S

    ที่มา : 3mthailand.co.th

    หาซื้อได้ที่ --> ร้านขายอุปกรณ์ความปลอดภัย (safety) หรือ Homepro Homework

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_2818.jpg
      IMG_2818.jpg
      ขนาดไฟล์:
      46.4 KB
      เปิดดู:
      5,324
  8. marine24

    marine24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    2,223
    ค่าพลัง:
    +15,632
    [/ATTACH]ที่เป็นค้อนเป็นชุดเครื่องมือ ประกอบด้วยค้อน คีมจับและตัดลวดไ มีใบมีด ใบเลื่อยและไขควงขนาดเล็ก เหมาะกับติดรถไว้ใช้ในกรณีประสบอุบัติเหตุแล้วไม่สามารถเปิดประตู/กระจกไม่ได้ งานสนามไว้ตอกสมอบกกางเต็นท์ ตะปู ซ่อมเครื่องมืออื่นๆ ส่วนพลั่วสนามขนาดเล็ก ด้ามถอดออกเป็นสองท่อน เมื่อเทียบโทรศัพท์มือถือ เหมาะใช้ติดตัวในการเดินทางในป่า/อพยพรอนแรมในป่า ใช้ขุดทำบ่อดักน้ำ ทำเตา ขุดร่องน้ำรอบเต็นท์ ใช้ขุดหลุมสำหรับธุระส่วนตัว ถากถางรอบที่พักเพื่อป้องกันทาก เห็บป่า ทั้งสองชิ้นซื้อจากห้างอมรชัย โลตัส บางใหญ๋ นนทบุรี ไม่ทราบว่าสาขาอื่น มีหรือไม่
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • S4020506.JPG
      S4020506.JPG
      ขนาดไฟล์:
      85.9 KB
      เปิดดู:
      143
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กรกฎาคม 2009
  9. marine24

    marine24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    2,223
    ค่าพลัง:
    +15,632
    [/ATTACH] มื้อเช้า อาหารป่าขนานแท้ เพราะนั่งกินกลางป่าและความตาย คนที่ถอดเสื้อกินข้าวผมเอง เพราะเสื้อเปียกเอาไปผึ่งไฟให้แห้ง ส่วนคนนั่งหันหลังให้ เสียชีวิตไปแล้ว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • S4020505.JPG
      S4020505.JPG
      ขนาดไฟล์:
      71.8 KB
      เปิดดู:
      88
  10. Kongp

    Kongp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +3,909
    อย่าลืม "เงินสด" ไว้ในเป้ฉุกเฉินด้วยครับ

    ไฟดับ ATM ใช้ไม่ได้ ธนาคารไม่เปิด ไม่แน่ใจว่า ร้านขายของ จะเปิดหรือเปล่า

    แต่ ผมเคยฟังเพื่อนที่อยู่ชุมพร ในละแวกบ้านของเขาอยู่สูงกว่าที่อื่นๆ มี seven มีร้านขายของชำ แต่...ก็ยังถูกน้ำท่วมปิดเส้นทาง ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก

    ปรากฏว่า seven ก็ยังเปิดอยู่ มีประชาชน เข้าไปซื้อ ของจำเป็นหลายคนครับ

    ไฟฟ้าอาจะมี แต่ atm ก็สามารถไม่ให้บริการได้ เนื่องจากปัญหาด้านความปลอดภัย

    เพราะฉะนั้น เงินสด จำเป็นมาก ควรที่จะมีติดไว้
     
  11. Kongp

    Kongp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +3,909
    Emergency & Survival Backpack

    เป้ใบนี้ เป็นเป้ ที่เป็นทั้ง Emergency และ Survival ครับ เนื่องจากมีทั้งอุปกรณ์ ที่ช่วยเหลือตัวเอง ในสถานการณ์ฉุกเฉิน และ อุปกรณ์ที่เอาตัวรอดในยามที่ระยะเวลาของภัยพิบัติยาวนานขึ้น

    สามารถใช้ได้ ในสถานการณ์ แผ่นดินไหว , พายุ , น้ำท่วม

    แผนของผมคือ ผมมี 2 ชุด ชุดใหญ่ เป้สีแดง ชุดเล็ก กระเป๋าสีดำ

    สำหรับ กระเป๋าสีดำ(ชุดเล็ก) มีไว้เพื่อพกพาไปได้ทุกๆ ที่ ครับ เวลาผมออกเดินทางไปไหน เดินห้าง ไปทำงาน ไปเรียน ผมก็จะสะพายเป้ (เป้เอกสาร) ไปทุกที่ และจะพกกระเป๋าสีดำ นี้ไว้ตลอดเวลา

    สำหรับ เป้สีแดง (ชุดใหญ่) มีไว้ติดห้อง ไว้ครับ หากผมอยู่ในห้องเมื่อไหร่ ผมจะนำกระเป๋าสีดำ ใส่ไว้ในเป้สีแดงอีกทีครับ

    เป็นการเตรียมพร้อม ทั้งข้างใน และข้างนอกบ้าน ครับ

    ขออธิบายสำหรับ "กระเป๋าสีดำ" (ชุดเล็ก) ก่อนครับ

    1. แท่งเรืองแสง (สีเขียว) 3 แท่ง
    2. นกหวีด Storm 1 ชิ้น
    3. หน้ากากอนามัย 2 ชิ้น
    4. หลอดกรองน้ำ
    5. ยาเม็ดฆ่าเชื้อโรคในน้ำ
    6. เสื้อกันฝนแบบพกพา 1 ตัว
    7. ไฟฉายคาดหัว 1 ตัว พร้อมแบตเตอรี่
    8. Wet Fire (เชื้อไฟ ติดเร็ว และอยู่นาน) 2 ชิ้น
    9. ไม้ขีดไฟ กันน้ำ กันลม 1 กระบอก (บรรจุ 25 ก้าน)
    10. มีดวิตอรินอกซ์ 1 ตัว

    ## กล่อง Survival Kit ## (อยู่ในกระเป๋าสีดำด้วย)

    11. เข็มทิศเล็กๆ 1 ตัว
    12. นกหวีด Fox 40
    13. เทียนเล็ก 4 แท่ง
    14. เบ็ดตกปลา 1 ชุด
    15. สายเอ็นตกปลา 1 ชุด
    16. ไม้ขีดไฟกันน้ำ กันลม 9 ก้าน
    17. เข็มกลัด 5 อัน
    18. Tool card การ์ดอเนกประสงค์ 1 อัน
    19. กระจกสะท้อนแสงอาทิตย์ส่งสัญญาณ 1 ชิ้น
    20. แท่งจุดไฟแท่งใหญ่ 1 แท่ง

    ต่อไป เป็น "เป้สีแดง" (ชุดใหญ่) ครับ

    21. ไฟฉาย AA x 2 จำนวน 1 กระบอก
    22. ไฟฉาย ไดนาโม จำนวน 1 กระบอก
    23. ชุดปฐมพยาบาล 1 ชุด ประกอบด้วย ชุดทำแผล ยารักษาโรค , ยาทากันยุง
    24. พลุฉุกเฉินส่งสัญญาณแบบมือถือ 1 แท่ง
    25. มีดขนาดเล็ก(ใบเรียบ) 1 อัน
    26. มีดขนาดกลาง(ใบกึ่งหยัก) 1 อัน
    27. มีดขนาดใหญ่ (อีเหน็บ) 1 อัน
    28. แท่งจุดไฟแท่งเล็ก 1 แท่ง
    29. เทียนตะไคร้ 4 แท่ง
    30. วิทยุ AM/FM 1 อัน พร้อมแบตเตอรี่ AA x 2
    31. หน้ากาก 3 M รุ่น N 95 จำนวน 2 ชิ้น
    32. อาหารฉุกเฉิน Seven Oceans 2,500 กิโล แคลอรี่ จำนวน 1 กล่อง หมดอายุ 2/2014
    33. น้ำฉุกเฉิน Seven Oceans 500 มิลลิลิตร จำนวน 2 ถุง (1 ลิตร) หมดอายุ 2/2014
    34. Duct Tepe ขนาด 30 หลา
    35. เชือกร่ม ขนาด 10 เมตร
    36. น้ำเกลือ ทำความสะอาดแผล 1 ขวด
    37. คู่มือปฐมพยาบาล
    38. ผ้าห่มฉุกเฉิน 1 ผืน
    39. เสื้อกันฝนพกพา 1 ตัว
    40. กระดาษทิชชู่ 1 แพ็ค
    41. ถุงมือช่าง 1 คู่
    42. ชุดเย็บผ้า 1 ชุด
    43. ขวดน้ำพร้อมภาชนะต้มน้ำ
    44. เงินสด
    45. ฟลายชีต ขนาด 2x3 เมตร 1 ผืน

    คงหมดเพียงเท่านี้ครับ สำหรับอุปกรณ์ที่มีอยู่ทั้งหมด ครับ

    เนื้อที่เป้ 30 ลิตร ยังมีที่เหลือ สามารถใส่เสื้อผ้า เพิ่มเติมได้ครับ

    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]<!-- google_ad_section_end -->
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_2825.jpg
      IMG_2825.jpg
      ขนาดไฟล์:
      53.1 KB
      เปิดดู:
      5,768
    • IMG_2826.jpg
      IMG_2826.jpg
      ขนาดไฟล์:
      57.4 KB
      เปิดดู:
      5,761
    • IMG_2828.jpg
      IMG_2828.jpg
      ขนาดไฟล์:
      64.5 KB
      เปิดดู:
      5,899
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2009
  12. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
    <TABLE width=500 align=center><TBODY><TR><TD width=496>
    "สบู่"เป็นสิ่งสำคัญในยามที่เกิดโรคระบาด

    (ความเป็นด่างของน้ำสบู่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้)

    [​IMG]

    วิธีทำสบู่ไว้ใช้เอง

    เป็นที่ทราบกันดีว่าสบู่ช่วยรักษาความสะอาดให้ร่างกาย และสิ่ง อื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี ความสะอาดช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค การทำสบู่ใช้เองภายในบ้านสามารถทำได้ โดยอาศัยส่วนประกอบที่สำคัญคือ ไขมันและน้ำด่าง

    วิธีการทำสบู่ มีอยู่ 2 วิธีคือ

    วิธีที่ 1 ใช้น้ำด่างสำเร็จรูปในท้องตลาด หากสามารถหาซื้อน้ำด่าง สำเร็จรูปได้ง่ายในท้องตลาด

    วิธีที่ 2 ใช้น้ำด่างจากการชะล้างขี้เถ้า วิธีนี้ได้แบบอย่างมาจากผู้อพยพไปตั้งถิ่นฐานในทวีปอเมริกาเหนือรุ่นแรก ๆ

    ส่วนผสมของสบู่

    1. ไขมันและน้ำมัน อาจเป็นไขมันสัตว์หรือน้ำมันพืชก็ได้ แต่น้ำมันจากแร่ธาตุใช้ไม่ได้ ไขมันสัตว์ เช่น ไขวัว กระบือ น้ำมันหมู ฯลฯ ไขมัน พืช เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก ข้าวโพด เมล็ดฝ้าย ถั่วเหลือง ถั่วลิสง และน้ำมันละหุ่ง ฯลฯ

    2. น้ำด่าง น้ำด่างสำเร็จรูปที่ขายในท้องตลาดเรียกว่า โซดาไฟ หรือผลึกโซดา หรือผลึกโซเดียมไฮดรอกไซด์ ราคาถูกมีขายทั่วไป หรือน้ำ ด่างที่ได้จากการชะล้างขี้เถ้าเรียกว่า โพแทช

    3. บอแร็กซ์ สารบอแร็กซ์นี้ไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้ แต่สารนี้ช่วยให้ สบู่มีสีสันสวยงามและทำให้เกิดฟองมาก มีจำหน่ายตามร้านขายยา หรือร้านขายของชำ มีชื่อเรียกว่า ผงกรอบ หรือผงนิ่ม ส่วนใหญ่บรรจุในถุง พลาสติก

    4. น้ำหอม น้ำหอมก็ไม่จำเป็นต้องใช้เช่นกัน แต่ถ้าใช้จะทำให้สบู่ มีกลิ่นดีขึ้น ถ้าไขมันที่ใช้ทำสบู่นั้นเหม็นอับ ใช้น้ำมะนาวหรือน้ำมะกรูดผสม จะช่วยให้กลิ่นหอมยิ่งขึ้นและไม่เน่า

    5. น้ำ น้ำที่ใช้ทำสบู่ได้ดีต้องเป็นน้ำอ่อน ถ้าเป็นน้ำกระด้างจะทำ ให้สบู่ไม่เกิดฟอง จึงขจัดความสกปรกไม่ได้ ควรทำให้น้ำนั้นหายกระด้าง เสียก่อน โดยเติมด่างประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ (15 มิลลิลิตร) ต่อน้ำกระด้าง 1 แกลลอน (3.8 ลิตร) คนให้เข้ากัน ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 3-4 วัน จึงเท เอาส่วนบนออกมา ส่วนน้ำและตะกอนที่ก้นภาชนะเททิ้งไปได้ น้ำที่เหมาะ ในการทำสบู่มากที่สุดคือน้ำฝน

    การทำสบู่จากน้ำด่างสำเร็จรูปในท้องตลาด

    อุปกรณ์

    - ถ้วย ถังหรือหม้อที่ทำด้วยเหล็กหรือหม้อดินก็ได้ แต่ อย่าใช้หม้ออะลูมิเนียม เพราะด่างจะกัด
    - ถ้วยตวงที่ทำด้วยแก้วหรือกระเบื้องเคลือบ
    - ช้อนกระเบื้องเคลือบหรือช้อนไม้ และใบพายหรือกิ่งไม้ ขนาดเล็กสำหรับคน
    - แบบพิมพ์สบู่อาจจะทำด้วยแผ่นไม้หรือกระดาษแข็งก็ ได้ ขนาดของแบบพิมพ์จะใช้กว้างหรือยาวตามต้อง การ แต่ส่วนลึกควรจะเป็น 2-3 นิ้ว ดีที่สุด
    - ผ้าฝ้ายหรือกระดาษมันสำหรับรองรับสบู่ในแบบพิมพ์ โดยตัดผ้าหรือกระดาษออกเป็น 2 ชิ้น ชิ้นหนึ่งกว้าง กว่าเล็กน้อย อีกชิ้นหนึ่งยาวกว่าแบบเล็กน้อย ใช้ สำหรับช่วยยกสบู่ออกจากแบบพิมพ์ง่ายขึ้น (ดังรูปที่1)


    <CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER>รูปที่ 1 ปูพื้นแบบพิมพ์ด้วยผ้าฝ้ายหรือกระดาษมัน </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER></CENTER><DD><CENTER></CENTER>อัตราส่วนของส่วนผสมที่ใช้ในการทำสบู่ได้ประมาณ 4 กิโลกรัม <DD>

    <DD>
    <TABLE borderColor=#ff6633 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 align=center bgColor=#ffffcc border=1><TBODY><TR align=middle><TD>น้ำมันหรือไขแข็งสะอาด </TD><TD>3 ลิตร หรือ 2.75 กก. </TD></TR><TR align=middle><TD>บอแร็กซ์ </TD><TD>57 มิลลิลิตร (1/4 ถ้วย) </TD></TR><TR align=middle><TD>ผลึกโซดาหรือน้ำด่าง </TD><TD>370 กรัม </TD></TR><TR align=middle><TD>น้ำ</TD><TD>1.2 ลิตร</TD></TR><TR align=middle><TD>น้ำหอม (เลือกกลิ่นตามต้องการ)</TD><TD>1-4 ช้อนชา </TD></TR></TBODY></TABLE>


    <DD>ขั้นตอนในการทำสบู่<DD> <DD>1. เตรียมไขมัน ถ้าไขมันไม่สะอาด ควรทำให้สะอาดเสียก่อน โดยเอาไปต้มกับน้ำในปริมาณที่เท่ากันในกาต้มน้ำ เมื่อเดือดแล้วเทส่วน ผสมผ่านผ้าบาง ๆ หรือตะแกรงสำหรับกรองลงในภาชนะที่เตรียมไว้ แล้วเติมน้ำเย็นลงไป 1 ส่วนต่อส่วนผสม 4 ส่วน ปล่อยทิ้งไว้ให้เย็นโดยไม่ ต้องคน ถ้าจะให้สะอาดยิ่งขึ้นควรใส่มันเทศที่หั่นเป็นแว่นลงไปก่อน ที่จะต้มส่วนผสม<DD> <DD>2. เตรียมน้ำด่างผสม ทำได้โดย ตวงน้ำตามปริมาณที่ต้องการ แล้วค่อย ๆ เติมด่าง (ผลึก โซดา) ที่จะใช้ลงไปในน้ำ ไม่ควรเติมน้ำลงไปในด่าง เพราะจะเกิดความร้อน และกระเด็นทำให้เปรอะเปื้อนได้ แล้วปล่อยให้น้ำด่างผสมนี้เย็นลงจนปกติ <DD> <DD>3. ค่อย ๆ เติมน้ำด่างผสมนี้ลงไปในไขมันที่ละลายแล้วในข้อ 1 ขณะที่เติมนี้ต้องคนส่วนผสมทั้งหมดนี้อย่างช้า ๆ และสม่ำเสมอในทิศทาง เดียวกัน จนกว่าส่วนผสมจะข้นตามปกติ ใช้เวลาประมาณ 30 นาที ช่วงนี้ เติมน้ำหอมที่เตรียมไว้ลงไปได้ หลังจากนั้นปล่อยไว้ 15-20 นาที จึงค่อย คนหนึ่งครั้ง ทิ้งไว้ 2-3 ชั่วโมง เมื่อส่วนผสมเหนียวดีแล้วจึงเทลงในแบบ พิมพ์ ซึ่งมีผ้าหรือกระดาษมันรองอยู่ <DD> <DD>4. หาฝาครอบแบบพิมพ์ แล้วทิ้งไว้ประมาณ 2 วัน ไม่ควรมีการ เคลื่อนย้ายหรือถูกกระทบกระเทือน สบู่จะยึดกันแน่นสามารถเอาออกจาก แบบพิมพ์ได้ <DD> <DD>5. เมื่อสบู่แข็งตัวดีแล้ว นำออกจากแบบพิมพ์ แล้วใช้เส้นลวดหรือ เส้นเชือกตัดสบู่ออกเป็นชิ้น ๆ ตามขนาดที่ต้องการ แล้วนำไปวางเรียงไว้ให้ อยู่ในลักษณะที่ลมพัดผ่านได้ทั่วถึงในบริเวณที่อุ่นและแห้ง ปล่อยไว้ 2-4 สัปดาห์ ก็นำไปใช้ได้ <DD>


    <CENTER>[​IMG] </CENTER><CENTER>รูปที่ 2 การตัดสบู่ให้เป็นก้อนด้วยลวดหรือเชือก </CENTER>


    <CENTER>[​IMG] </CENTER><CENTER>รูปที่ 3 การวางสบู่หลังจากที่ตัดเรียบร้อยแล้ว </CENTER><DD><CENTER> </CENTER><DD>
    การทดสอบว่าสบู่จะดีหรือไม่
    <DD></DD>
    - สบู่ที่ดีควรจะแข็ง สีขาว สะอาด กลิ่นดีและไม่มีรส สามารถขูด เนื้อสบู่ออกเป็นแผ่นโค้ง ๆ ได้

    - ไม่มันหรือลื่นจนเกินไป เมื่อใช้ลิ้นแตะดูไม่หยาบหรือสาก

    การปรับปรุงสบู่ให้ดีขึ้น

    ถ้าสบู่ที่ผ่านขั้นตอนตามเวลาที่ทำทุกช่วงแล้ว แต่ยังมีส่วนผสมบาง ส่วนไม่แข็งตัวหรือแยกกันอยู่ หรือไม่ดีเพราะสาเหตุใดก็ตาม อาจแก้ไขให้ดี ขึ้นดังนี้

    - ตัดสบู่ออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ลงในหม้อที่มีน้ำบรรจุอยู่ 2.8 ลิตร พร้อมทั้งเทส่วนที่เป็นของเหลวที่เหลืออยู่ในแบบพิมพ์ลงไปด้วย

    - นำไปต้มนานประมาณ10 นาที อาจเติมน้ำมะนาวหรือน้ำมัน อื่น ๆ ที่มีกลิ่นหอมลงไปในส่วนผสมประมาณ 2 ช้อนชา (ถ้ายังไม่ได้เติม)ต่อจากนั้นจึงเทส่วนผสมลงในแบบพิมพ์ใหม่อีกครั้งหนึ่ง ปล่อยไว้ 2 อัน แล้วดำเนินการตามที่กล่าวมาแล้ว

    การทำสบู่จากน้ำด่างที่ได้จากขี้เถ้า

    เริ่มต้นด้วยการทำน้ำด่างขึ้นเองจากขี้เถ้า

    อุปกรณ์

    1. เครื่องมือสำหรับการชะล้างน้ำด่าง ประกอบด้วยก้อนหิน ขนาดย่อม ๆ หลายก้อน
    - แผ่นหินราบมีร่องน้ำให้ไหลได้
    - ถังไม้ขนาดจุ 19 ลิตร มีรูเล็ก ๆ หลายรูติดอยู่ก้นถัง
    - ภาชนะรองน้ำด่าง ไม่ควรใช้ภาชนะที่ทำด้วยอะลูมิเนียม เพราะน้ำด่างจะกัด
    - กิ่งไม้เล็ก ๆ และฟาง
    - ขี้เถ้า 19 ลิตร ซึ่งได้จากการเผาไหม้ทุกชนิด ขี้เถ้าจาก ไม้เนื้อแข็งจะใช้ทำน้ำด่างได้ดีที่สุด สำหรับชนบทแถบ ชายทะเล ขี้เถ้าจากการเผาสาหร่ายทะเลใช้ได้ดีมาก เพราะมีธาตุโซเดียมทำให้สบู่แข็งตัวได้ดี
    - น้ำอ่อนปริมาณ 7.6 ลิตร
    <DD>


    <CENTER>[​IMG] </CENTER><CENTER>รูปที่ 4 อุปกรณ์การชะล้างน้ำด่าง รูปที่ 5 วิธีชะล้างขี้เถ้าทำน้ำด่าง </CENTER>


    <DD>2. วิธีการชะล้างขี้เถ้าทำน้ำด่าง <DD> <DD>- ตั้งอุปกรณ์ดังแสดงในรูป โดยที่ก้นของถังทำเป็นที่กรอง ขี้เถ้า ใช้กิ่งไม้ไข้วกัน 2 กิ่ง เรียงเป็นแถว แล้วเอาฟางวางลงบนกิ่ง <DD> <DD>- ใส่ขี้เถ้าลงในถัง แล้วเทน้ำอุ่นลงในถังเพื่อให้ขี้เถ้าเปียก และเหนียว เกลี่ยให้เกิดหลุมตรงกลาง แล้วค่อย ๆ เทน้ำส่วนที่เหลือลงใน หลุมนั้น ปล่อยให้น้ำซึมแล้วเติมน้ำอีก น้ำด่างสีน้ำตาลจะไหลลงสู่ส่วนล่าง ของถัง นานประมาณ 1 ชม. น้ำด่างที่ได้จะมีปริมาณ 1.8 ลิตร ถ้าน้ำด่างที่ มีความเข้มข้นดีแล้ว ทดสอบได้โดยเอาไข่ไก่หรือมันฝรั่งใส่ลงไป ไข่หรือมัน จะลอยได้ หรือถ้าจุ่มขนไก่ลงไป น้ำด่างจะเกาะติดแต่ไม่กัดขนไก่ให้หลุด ถ้าน้ำด่างอ่อนไป ควรเทกลับคืนถังอีกครั้ง หรือเคี่ยวให้ข้นด้วยการต้ม <DD> <DD>- ส่วนการทำสบู่ในขั้นต่อไปนั้นดำเนินการเช่นเดียวกันกับ วิธีแรก<DD> <DD>ข้อควรระวังในการใช้น้ำด่าง <DD> <DD>น้ำด่างนี้เป็นพิษเพราะกัดผิวหนังและทำให้เกิดแผลร้ายแรงได้ ฉะนั้น ไม่ควรให้ถูกผิวหนัง ถ้าถูกต้องรีบล้างทันทีด้วยน้ำเปล่า แล้วล้างด้วย น้ำส้มอีกครั้งหนึ่ง<DD> <DD>ถ้ากลืนน้ำด่างลงไป ให้รีบดื่มน้ำส้ม น้ำมะนาวหรือมะกรูดตามลงไป ให้มาก ๆ แล้วรีบไปพบแพทย์ ดังนั้นควรเก็บน้ำด่างให้พ้นมือเด็ก</DD>

    <DD>
    <CENTER>Village Technology Handbook 1977 </CENTER></DD></TD></TR></TBODY></TABLE><!--Address Bar --><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle>
    <HR color=#cc3366 SIZE=1>สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
    เทคโนธานี ถ.เลียบคลองห้า ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 ประเทศไทย
    โทรศัพท์ 0-2577-9000
    โทรสาร 0-2577-9009

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 กรกฎาคม 2009
  13. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775

    อยากให้เสริมเป็นวิทยาทานว่า แต่ละชิ้นนั้น เลือกเพราะอะไร และใช้ในสถานการณ์ไหนบ้าง เพราะ เชื่อว่าผู้ที่ไม่ได้ไปเอาท์ดอร์อาจนึกภาพสถานการณ์จริงไม่ออกครับ

    พอเสริมแล้วแต่ละท่านจะได้ประยุกต์จัดให้เหมาะสมกับการใช้งาน ความถนัด และงบประมาณของตนเองได้ เพื่อประโยชน์สูงสุดครับ

    ว่าแต่ในรูปนี้ มีด อีเหน็บที่ไหน โคลล์สตีลกรูข่าแท้ๆ
     
  14. Kongp

    Kongp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +3,909
    ผมก็คิดจะมาแจกแจงรายละเอียดอยู่พอดีครับ

    อุปกรณ์ทุกตัวมีที่มาที่ไป ไม่ได้ซื้อมาเล่นครับ แต่รายละเอียด และอุปกรณ์มันเยอะมาก ต้องใช้เวลาในการทำข้อมูลครับ แต่ถ้าพูดคงไม่ยากนัก

    สำหรับ มีด เป็นมีด Coldsteel Krukri by Kitcamp ครับ
     
  15. Kongp

    Kongp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +3,909
    เหตุผลของการเลือกอุปกรณ์เหล่านี้

    ขอเอาเฉพาะ "เป้สีแดง" ก่อนครับ


    21. ไฟฉาย AA x 2 จำนวน 1 กระบอก
    - สมมติเกิดแผ่นดินไหว เวลากลางคืน ท่านสามารถใช้ไฟฉายได้อย่างรวดเร็ว เพียงแค่ใส่ถ่าน แค่ 2 ก้อน ก็ใช้ได้แล้ว ที่ผมให้เหตุผลแบบนี้ ก็เพราะว่า ผมเคยไปภูกระดึง ที่ตอนเดินกลับเวลากลางคืนเป็นระยะทาง 9 กิโลเมตร มีบางกลุ่มเดินถือไฟฉายแบบเขย่าเพื่อสร้างพลังงานแบตเตอรี่ ผมว่ามันไม่ดีเลย ตรงที่ เดินไป ไฟหมด ต้องเขย่า กลายเป็นว่า เดินไปเขย่าไป การส่องทางทำได้ไม่ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่ง เพราะทางเดินบนภูกระดึง มีรากไม้ และหินเต็มไปหมด

    22. ไฟฉาย ไดนาโม จำนวน 1 กระบอก
    - สำหรับไฟฉายตัวนี้ เปรียบเสมือน ไฟฉายสำรอง (backup) มีไว้เพื่อไฟฉาย AA แบตเตอรี่หมด ท่านสามารถใช้ไฟฉายไดนาโมได้ ในระยะเวลาต่อไปหลังเหตุการณ์ฉุกเฉิน

    23. ชุดปฐมพยาบาล 1 ชุด ประกอบด้วย ชุดทำแผล ยารักษาโรค , ยาทากันยุง
    - ส่วนใหญ่ชุดปฐมพยาบาล ที่ผมเตรียม มักเป็น ชุดทำแผลเสียมากกว่า การที่เกิดแผ่นดินไหว ไม่ใช่เป็นแค่ ตึกถล่ม เท่านั้น หากของที่อยู่สูงตกมาใส่ เช่นหลอดไฟ หรือ แม้กระทั่ง คนจำนวนมาก เบียดเสียด เหยียบกัน ก็อาจจะทำให้บาดเจ็บได้ ชุดทำแผลจึงสำคัญเป็นอันดับต้นๆ สำหรับ ยารักษาโรค ก็อาจจะเป็นยาประจำตัว และที่สำคัญ ประเทศไทย เป็นเขตร้อนชื้น ศัตรูตัวร้ายที่สุด คือ "ยุง" กรุณาติดยากันยุงไว้เสมอ ครับ

    24. พลุฉุกเฉินส่งสัญญาณแบบมือถือ 1 แท่ง
    - ให้แสงสว่าง หรือขอความช่วยเหลือ หากต้องอยู่ในที่โล่ง ดาดฟ้า ฯลฯ

    25. มีดขนาดเล็ก(ใบเรียบ) 1 อัน
    - ใช้หั่นสิ่งของชิ้นเล็กๆ

    26. มีดขนาดกลาง(ใบกึ่งหยัก) 1 อัน
    - มีดที่มีหยักเป็นมีดอเนกประสงค์อย่างมาก เชือกหรือวัสดุที่มีความเหนียว มีดใบเรียบสามารถตัดได้ แต่ใช้เวลานานมาก แต่มีดที่มีหยักด้วย จะสามารถตัดวัสดุที่เหนียวได้เป็นอย่างดี

    27. มีดขนาดใหญ่ (อีเหน็บ) 1 อัน
    - มีดขนาดใหญ่ หรือ มีดอีเหน็บ ใช้ฟันต้นไม้ เพื่อทำฟืน หรือตัดต้นไม้ ที่กีดขวางเส้นทางสัญจร

    28. แท่งจุดไฟแท่งเล็ก 1 แท่ง
    - เป็นอุปกรณ์ survival อย่างหนึ่ง ที่ทำให้เกิดประกายไฟ สามารถจุดไฟได้ แม้ในสถานการณ์ที่มีฝนก็ตาม เป็นทางเลือกสุดท้ายที่ อุปกรณ์จุดไฟ อย่างไม้ขีด หมด

    29. เทียนตะไคร้ 4 แท่ง
    - สามารถไล่ยุงได้ และ เทียนสามารถจุดได้นาน (Candle Long Time)

    30. วิทยุ AM/FM 1 อัน พร้อมแบตเตอรี่ AA x 2
    - ไว้ติดตามข่าวสาร ต่างๆ จากทางรัฐบาล ในสถานการณ์ภัยพิบัติ หรือ ความคืบหน้าต่างๆ ของภัยพิบัติ ที่ให้มีไว้ ก็เพื่อ เวลามีภัยพิบัติ ไฟฟ้าอาจไม่มีใช้ การติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ ใช้การไม่ได้ สามารถรับรู้ข่าวสารได้แค่ทาง คลื่นวิทยุ
    31. หน้ากาก 3 M รุ่น N 95 จำนวน 2 ชิ้น
    - ไว้กันฝุ่น , ผงซีเมนต์(จากตึกถล่ม) กันเชื้อโรคระบาด

    32. อาหารฉุกเฉิน Seven Oceans 2,500 กิโล แคลอรี่ จำนวน 1 กล่อง หมดอายุ 2/2014
    - อาหารตัวนี้สามารถใช้ได้ 3 วัน 1 คน ต่อ 1 กล่อง ให้พลังงานสูงมาก มีขนาดเล็ก พกพาง่าย และที่สำคัญ ไม่ต้องดูแลมาก เพราะมีอายุ ถึง 5 ปี ใช้ยามฉุกเฉินจริงๆ การจัดเป้ฉุกเฉิน ควรให้สำคัญกับความคงทนของอุปกรณ์ เพราะไม่รู้ว่า เราจะได้ใช้เมื่อไหร่

    33. น้ำฉุกเฉิน Seven Oceans 500 มิลลิลิตร จำนวน 2 ถุง (1 ลิตร) หมดอายุ 2/2014
    - น้ำเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อมนุษย์ ท่านลองนึกถึงสภาพว่า ถ้าตึกถล่ม หรือ มีฝุ่นละอองมากๆ หากคนเราต้องรับสิ่งเหล่านี้ อย่างแรก เลย คอแห้ง แห้งเป็นผงด้วยครับ สิ่งที่ตามมา ถ้าไม่ได้ดื่มน้ำ คือ เจ็บคอ ปอดติดเชื้ออีก ทีนี้ยาวเลย และน้ำ ก็สามารถมีชีวิตอยู่ได้ หากไม่มีอาหาร มีน้ำก็ยังอยู่ได้ครับ ที่ผมไม่เลือกขวดน้ำ ก็เพราะว่า มันอยู่ได้แค่ 3-4 เดือน เท่านั้น

    34. Duct Tepe ขนาด 30 หลา
    - ใช้ซ่อมแซมอุปกรณ์ต่างๆ แม้ทำแพ ก็สามารถทำได้ ครับ เพราะมีความเหนียว ทนทุกสภาพอากาศ กันน้ำ ครับ

    35. เชือกร่ม ขนาด 10 เมตร
    - ไว้ขึงฟลายชีต ผูกของต่างๆ หรือ ย้ายของจากที่สูง ได้

    36. น้ำเกลือ ทำความสะอาดแผล 1 ขวด
    - ไว้ทำความสะอาดแผลต่างๆ

    37. คู่มือปฐมพยาบาล
    - สำคัญครับ เราไม่รู้จะเป็นอะไร ในอนาคต อย่างน้อย หากเราเป็นอะไรขึ้นมา คู่มือสามารถช่วยเหลือท่านได้

    38. ผ้าห่มฉุกเฉิน 1 ผืน
    - ไว้กรณี ที่ตัวเราเปียก หรือ หนาวสั่น ครับ

    39. เสื้อกันฝนพกพา 1 ตัว
    - ความไม่แน่นอนคือความไม่แน่นอนครับ ดินฟ้าอากาศ เราไม่สามารถควบคุมได้ แต่เราป้องกันได้

    40. กระดาษทิชชู่ 1 แพ็ค
    - มีไว้ทำความสะอาดแผล หรือ ร่างกาย หรือ ทำความสะอาดหลังทำธุระ

    41. ถุงมือช่าง 1 คู่
    - ใช้หยิบจับ หิน ซากปรักหักพัง หรือ จับในสิ่งที่มีความคม

    42. ชุดเย็บผ้า 1 ชุด
    - ไว้ซ่อมแซม เสื้อผ้า ที่ขาดครับ

    43. ขวดน้ำพร้อมภาชนะต้มน้ำ
    - มีไว้ครับ เผื่อเจอแหล่งน้ำ ที่สามารถทานได้ แต่ควรที่จะต้มน้ำเสียก่อน ก่อนบรรจุใส่ขวดน้ำครับ

    44. เงินสด
    - ATM คงใช้ไม่ได้ มีติดตัวไว้ครับ

    45. ฟลายชีต ขนาด 2x3 เมตร 1 ผืน
    - ที่อยู่อาศัย เป็นส่วนหนึ่งของปัจจัย 4 ครับ คงไม่ต้องอธิบายมากครับ

    เอาเท่านี้ก่อนครับ
     
  16. วิมลรัตน์

    วิมลรัตน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +302
    ขอแจม ในกรณีคนที่มีโรคประจำตัว น่าคิดๆ ต้องมียาที่รักษาโรคนั้นๆติดตัวไว้เสมอค่ะ
    เพราะภัยต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นนั้น ทำให้เราไม่สามารถจะไปหาซื้อได้ง่ายๆ
    นอกจากนั้นพวกยาสามัญประจำบ้านก็ต้องเตรียมด้วยจ๊ะ
     
  17. วัสสานะ

    วัสสานะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    268
    ค่าพลัง:
    +565
    ร่วมแชร์ข้อมูลเตรียมตัวรับมือภัยพิบัติด้วยครับ


    [​IMG]


    ๑. magnifier card
    การ์ดแว่นขยายจากไดโซะ ๖๐ บาท ขนาดเท่านามบัตรทั่วไป ไว้ส่องแผนที่ชัดดีหรือไว้ใช้จุดไฟได้ ยังไม่ได้ลองครับ เพราะแสงแรงอันตรายต่อสายตา
    ๒. หนังสือ วิธีรอดตาย จากภัยพิบัติ ของ se-ed ราคา ๑๔๕ บาท ถ้ามีบัตรลดได้อีก ในหนังสือ ไม่ได้เน้นที่ซึนามิหรือน้ำทะเลหนุนแต่จะมีครอบคลุมภัยพิบัติต่างๆเกือบทุกประเภท และวิธีเอาตัวรอด และเบอร์สำคัญต่างๆไว้ท้ายเล่ม

    http://www.se-ed.com/eShop/(A(JUwqW2U4ygEkAAAANWJlNGU5ZGQtYzYzOS00N2M5LTliODYtMjYyYmExYjhjYTQwjMDaYZnlV-qQOAtqx9EsOGov5WA1))/Products/Detail.aspx?No=9789742128012&AspxAutoDetectCookieSupport=1
     
  18. Kongp

    Kongp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +3,909
    ต่อไปครับ ใน "กระเป๋าสีดำ"

    1. แท่งเรืองแสง (สีเขียว) 3 แท่ง
    - แท่งเรืองแสงสามารถให้แสงสว่างและขอความช่วยเหลือได้ มันดีตรงที่ หากท่านตกอยู่ในอันตราย และสถานที่นั้น มีแก๊สลอยอยู่ เช่น ท่านอยู่รถไฟฟ้าใต้ดิน การที่จุดไฟ คงจะไม่ดี มีสิทธิ์บึ้มแน่นอน แท่งเรืองแสงไม่ทำให้เกิดประกายไฟ และให้แสงสว่างท่านได้ และทำไมจะต้องเป็นสีเขียว เนื่องจากสีเขียวเป็นสีที่สว่างที่สุดในบรรดาแท่งเรืองแสงทั้ง 5 สี (แดง,ขาว,เขียว,ฟ้า,เหลือง) สีเขียวตัดกับสีแดง , เหลือง (เปลวไฟ) ตัดกับสีฟ้า (น้ำทะเล) ตัดกับสีขาว (ฝุ่นผงซีเมนต์ ตึก บ้าน ส่วนใหญ่สีขาว)

    2. นกหวีด Storm 1 ชิ้น
    - นกหวีด storm ขึ้นชื่อว่า ดังที่สุดในโลก สามารถเป่าได้ไกล หลายร้อยเมตร ถึงท่านจะติดอยู่ภายในอาคาร ความที่ไม่มีอาหาร ไม่มีน้ำ อาจจะทำให้หมดแรงได้หากต้องเป่านกหวีด ที่เสียงไม่ดัง นกหวีด storm สามารถเป่าให้ดังได้ แม้แต่เป่าค่อยๆ ก็ดังครับ

    3. หน้ากากอนามัย 2 ชิ้น
    - เนื่องจากกระเป๋ามีขนาดเล็ก ไม่สามารถพกพา 3M N95 ได้ จึงต้องพกหน้ากากอนามัย แทน กันฝุ่นผงซีเมนต์ โรคระบาด ครับ

    4. หลอดกรองน้ำ
    - น้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต หลอดกรองน้ำ ใช้สำหรับกรองน้ำเพื่อดื่มตามแหล่งน้ำตามธรรมชาติ

    5. ยาเม็ดฆ่าเชื้อโรคในน้ำ
    - กรณี ที่ต้องช่วยเหลือ เพื่อนร่วมทุกข์ด้วยกัน น้ำฉุกเฉินที่เรามีไว้คงไม่เพียงพอให้กับผู้อื่น หรือ หลอดกรองน้ำ ก็ไม่สามารถใช้ร่วมกับผู้อื่นได้(เพื่อป้องกันโรคระบาด) ยาเม็ดฆ่าเชื้อโรค 1 เม็ด ต่อน้ำ 1 ลิตร พอจะช่วยเหลือคนอื่นได้
    เวลามีภัยพิบัติ ไม่ใช่แค่เราคนเดียวเท่านั้น ที่จะลำบาก ถึงเวลานั้น ทุกคนจะมารวมตัวกัน อาจจะมีทั้งคนดีและไม่ดี เราต้องป้องกัน แต่ไม่ใช่เราไม่เผื่อแผ่ใคร การที่เราไม่เผื่อแผ่คนอื่น เราอาจจะมีเปอร์เซ็นต์ในการถูกประทุษร้ายมากกว่าครับ อย่าลืมไปว่า เราพร้อมกว่าผู้อื่น

    6. เสื้อกันฝนแบบพกพา 1 ตัว
    - ใช้ยามฝนตก ครับ

    7. ไฟฉายคาดหัว 1 ตัว พร้อมแบตเตอรี่
    - หากมีแผ่นดินไหว หรือ ดินถล่ม หรือต้องช่วยเหลือผู้อื่น ไฟฉายคาดหัวจำเป็นมาก หากเราจะยกอะไร มือเดียวคงยกไม่ไหว เพราะอีกมือต้องถือไฟฉาย ไฟฉายคาดหัว เป็นตัวที่ตัดปัญหาเรื่องนี้ได้ครับ

    8. Wet Fire (เชื้อไฟ ติดเร็ว และอยู่นาน) 2 ชิ้น
    - สำหรับ Wet Fire นี้ เป็นของที่ผมซื้อมาพิเศษ นำเข้าจาก USA ข้อดีของมัน คล้ายๆ เทียน หรือ แอลกอฮอล์แห้งครับ สามารถใช้แท่งจุดไฟจุดได้ พอติดแล้ว สามารถอยู่ได้นาน และจุดบนที่ชื้น มีน้ำ ได้ด้วยครับ ลองดูจากในคลิป wet fire ละกันครับ [ame="http://www.youtube.com/watch?v=kfDrC3apWT0"]YouTube - Ultimate Survival Wet Fire, Blastmatch and Sparkie in action[/ame]

    9. ไม้ขีดไฟ กันน้ำ กันลม 1 กระบอก (บรรจุ 25 ก้าน)
    - ผมไม่เลือกไฟแช็ค เพราะว่า อย่างแรก เปียกน้ำใช้ไม่ได้ แน่นอน อย่างสอง มันสามารถขัดข้องได้ หากไม่ได้ใช้นานๆ ไม้ขีดกันน้ำกันลม ข้อดีคือ โดนน้ำแล้วมาจุด สามารถจุดได้ และ ลมแรงขนาดไหน ก็ไม่ดับครับ

    10. มีดวิตอรินอกซ์ 1 ตัว
    - มีดอเนกประสงค์จริงๆ ครับ ที่ผมเลือกตัวนี้ เพราะมันมี "เลื่อย" อยู่ด้วยครับ นอกนั้น ก็มีมีดสั้น มีดยาว ที่เปิดขวด เปิดกระป๋อง กรรไกร ไว้ทำแผล ด้วยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2009
  19. Kongp

    Kongp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +3,909
    ซื้อที่ไหน ขอเป็นหลังไมค์ครับ กลัวว่าจะเป็นการโฆษณาไป

    ก็มีคนโทรเข้ามาบ้างแล้วครับ

    ส่วนใหญ่ก็จะมีปัญหากัน เพราะไม่รู้ว่า เราจะเริ่มต้นอย่างไร ดีครับ
     
  20. วัสสานะ

    วัสสานะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    268
    ค่าพลัง:
    +565
    ยาเม็ดทำน้ำสะอาด เห็นมีคนถามหา เคยลงข้อมูลไปครั้งหนึ่งแล้วครับ


    [​IMG]

    ยาเม็ดทำน้ำสะอาด
    Oasis Water Purification Tablets
    (sodium dichloroisocyanurate)

    แผงละ ๓๒ บาท สิบเม็ด หนึ่งเม็ดต่อน้ำหนึ่งลิตร เท่ากับ หนึ่งแผงต่อน้ำสิบลิตร ใส่น้ำสิบนาทีก่อนจึงจะรับประทานได้ (เข้าใจว่าต้องเขย่าให้ยาทั่วถึงและก่อนใช้ให้ไอจากการทำปฏิกิริยาระเหยออกไปด้วย)


    หาซื้อได้ที่
    ร้านองค์กรเภสัชกรรม ตรงข้ามโรงพยาบาลรามาธิบดี
    เวลาทำการ และ วันเสาร์ครึ่งวัน
    call center 1648

    สอบถามเจ้าหน้าที่เป็นหัวหน้าร้านยาองค์การเภสัชกรรมสาขาย่อย
    แจ้งว่าทางองค์การ นำยาตัวนี้เข้ามาช่วงที่มีพายุนาร์กิสที่พม่าและจะเข้าประเทศไทยและปัจจุบันก็ไม่นำเข้ามาแล้ว (แต่ยังมีของอยู่มากพอสมควร)

    ยาตัวนี้ราคาูไม่แพง คุณภาพเทียบเท่ากับยาเม็ดทำน้ำสะอาดของต่างประเทศ
    และเท่าที่ทราบในประเทศไทยมีขายที่เดียวคือที่ร้านยาองค์การเภสัชกรรม ตรงข้ามโรงพยาบาลรามาธิบดี ครับ
    ( ตามข้อมูลข้างต้นและดูตามสาขาย่อยของร้านยาองค์การเภสัชกรรมไม่มีครับ )

    น้ำสะอาดเป็นสิ่งจำเป็นมากและน้ำก็เป็นสิ่งที่มีน้ำหนักมากถ้าเราต้องเดินทางและแบกน้ำไปด้วยกับเป้ฉุกเฉิน จึงต้องมีวิธีีที่จะทำให้สามารถทานน้ำสะอาดได้โดยใช้น้ำหนักน้อยที่สุดครับ ยาเม็ดทำน้ำสะอาดเป็นอีกทางเลือก เบามาก
    แต่ไม่ดีเท่าการต้มให้เดือดห้านาทีขึ้นไป

    ถ้ามีท่านละสี่ห้าแผงก็ตก 120-160 กว่าบาทแต่สามารถใช้กับน้ำได้ห้าสิบลิตร
    ถ้าบริโภควันละหนึ่งถึงสองลิตรก็สามารถใช้ได้ร่วมเดือนครับ
    แต่มีทางเลือกอื่นอีกครับเช่น ต้มน้ำ ด่างทับทิม หรือหลอดกรองน้ำฉุกเฉิน
    ยิ่งมีหลายวิธียิ่งก็ยิ่งปลอดภัยในการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน พิจารณาตามที่เราคิดว่าจำเป็นต้องใช้ เห็นข้อมูลเป็นประโยชน์ก็นำมาแชร์กัน (ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญครับ)

    ท่านไหนมีความสามารถจัดกลุ่มรวมกันไปซื้อได้ก็ดีครับ โดยเฉพาะท่านที่อยู่ต่างจังหวัดหาซื้อไม่ได้

    วันหมดอายุ ตัวที่ผมมี แจ้งว่า เดือน 7 ปี 2012 ครับ อยู่ได้อีกนานมาก

    เทียบราคา คุณภาพ และน้ำหนักการพกพาแล้ว น่าสนใจครับ
    ติดตัวไว้ในการเดินทางเดินป่าท่องเทียว ใน survival kit หรือในเป้ฉุกเฉินก็ดีครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กรกฎาคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...