ราหุลสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย บุญญสิกขา, 30 กรกฎาคม 2009.

  1. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ด้วยความนอบน้อมบูชาคุณพระราหุลเถระเจ้า
    องค์ต้นมาแห่งสายวิชชาพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ
    สืบสายวิชชาผ่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราชสุก (ไก่เถื่อน)
    พระผู้บอกวิชชาพระกรรมฐาน ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์

    ขออนุญาตอัญเชิญพระอริยประวัติพระองค์ท่าน "พระราหุลเถระเจ้า" ในฐานะผู้ทรงธรรมบริบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ ๒ประการ คือ ชาติสมบัติ ๑ และปฏิบัติสมบัติ ๑ ทรงเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระศาสดาและเป็นอริยสาวกเจ้าที่มีเอกทัคคะเลิศทางการใฝ่ศึกษาทรงสร้างสมพระสาวกบารมีมาหลายอสงไขย แสนมหากัปป นับชาติไม่ถ้วน ซึ่ง ศีล สมาธิ ปัญญาทรงได้รับพระมหากรุณาพุทธิคุณในการอบรมพระกรรมฐานจากพระเถระสารีบุตรในฐานะพระพี่เลี้ยงและจากพระมหาเถระอริยะสาวกเจ้าพระองค์อื่นๆ อาทิ พระปิติ ๕ พระยุคล ๖ พระอานาปานสติ๙ พระกายคตาสติ ๓๒ กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสติ ๗ พรหมวิหาร ๔ วิสุทธิ ๗ วิปัสสนาญาณ ๑๐อรูปญาณ ๔ พระมหาสติปัฏฐาน ๔ พระโพธิปักขิยธรรม ๓๗ พระไตรลักษณ์ ๓เบญขันธ์ และอายตนภายในภายนอกทั้ง ๕ ธาตุ ๔ เป็นต้น

    <O:p
    จนกระทั่ง พระองค์บ่มวิมุติแก่กล้าด้วยอิริยาบถ ไม่เคยเหยียดหลังบนเตียงตลอดช่วงปฏิบัติธรรม ก่อนเป็นพระอเสขบุคคลทรงเผยแพร่พระกรรมฐานมัชฌิมา และบรรลพระอรหันตเจ้า พร้อมด้วยมรรค ๔ ผล ๔ อภิญญาปฏิสัมภิทา ๔ แล้ว กาลต่อมาก็มีกุลบุตรที่ได้รับทราบกิตติศัพท์ได้เข้ามาเป็นสัทธวิหาริก และอันเตวาสิกศึกษาตามแบบอย่างในสำนักของพระราหุลเถระเจ้าที่ท่านได้ทรงศึกษามาเพื่อสืบทอดการตั้งความปรารถนาและเจตนารมณ์ของพระองค์ท่านก่อนที่พระราหุลเถระเจ้าท่านจะเข้าสู่ขันธปรินิพพานนั้นพระองค์ท่านได้เจริญอิทธิบาทภาวนาอธิษฐานขอจิตนี้กายนี้ของพระองค์ท่านแบ่งเป็นสองภาค คือ กายเนื้อเดิม ๑กับกายทิพย์ใหม่ ๑ เมื่อกายเนื้อแตกดับสู่นิพพาน จึงเหลือแต่กายอธิษฐานทิพย์คอยดูแลพระบวรพุทธศาสนาไปอีก ๑,๐๐๐ ปี หลังท่านนิพพาน โดยมีพระเถระรุ่นสืบต่อ ๆกันมา เป็นผู้สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ จากนั้น กายทิพย์อันเกิดจากการอธิษฐานจิตก็อันตรธานหายไป จึงกล่าวได้ว่าพระราหุลเถระเจ้าท่านจะมีกายก็ไม่ใช่จะไม่มีกายก็ไม่ใช่


    ความจากหนังสือประวัติพระราหุลเถระจ้า พระอาจารย์ใหญ่กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ หน้า๙-๑๙




    [music]http://palungjit.org/attachments/a.654246/[/music]





    <O:p พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐<O:p</O:p


    สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค<O:p</O:p

    ราหุลสูตร<O:p</O:p

    [๑๘๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ทรงเกิดปริวิตกแห่ง พระหฤทัยอย่างนี้ว่า ธรรมที่เป็นเครื่องบ่มวิมุติของราหุลแก่กล้าแล้ว ถ้ากระไร เราควรแนะนำราหุล ในธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะอันยิ่งขึ้นไปเถิด ครั้นทรงพระดำริฉะนี้แล้ว ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ครั้นเวลาภายหลังภัต เสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว ตรัสเรียกท่านพระราหุลมาตรัสว่า ดูกรราหุล เธอจงถือผ้านิสีทนะไปสู่ป่าอันธวันด้วยกัน เพื่อพักผ่อนในกลางวัน ฯ
    <O:p</O:p
    ท่านพระราหุลทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้ถือผ้านิสีทนะตามเสด็จตามพระผู้มีพระภาคไป ณ เบื้องพระปฎษฎางค์ ก็สมัยนั้นแล พวกเทวดาหลายพันติดตามพระผู้มีพระภาคไปด้วยคิดว่า วันนี้ พระผู้มีพระภาคจักทรงแนะนำท่านพระราหุลในธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะอันยิ่งขึ้นไป ฯ<O:p</O:p
    <O:p
    [๑๘๘] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปสู่ป่าอันธวัน ประทับ ณ พุทธอาสน์ที่พระราหุล ปูลาดถวาย ที่ควงต้นไม้แห่งหนึ่ง ฝ่ายท่านพระราหุลถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคจึงตรัสถามว่า
    <O:p</O:p
    ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ<O:p</O:p
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ<O:p</O:p
    ท่านพระราหุลทูลรับว่า เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ<O:p</O:p
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ<O:p</O:p
    ท่านพระราหุลทูลรับว่า ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า. รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ<O:p</O:p
    ท่านพระราหุลทูลรับว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ<O:p</O:p
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ<O:p</O:p
    ท่านพระราหุลทูลรับว่า เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ<O:p</O:p
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ<O:p</O:p
    ท่านพระราหุลทูลรับว่า ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

    <O:p</O:pพระผู้มีพระภาคตรัสว่า จักษุวิญญาณ... จักษุสัมผัส... เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ<O:p</O:p
    ท่านพระราหุลทูลรับว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ<O:p</O:p
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ<O:p</O:p
    ท่านพระราหุลทูลรับว่า เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ<O:p</O:p
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ<O:p</O:p
    ท่านพระราหุลทูลรับว่า ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯลฯ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ใจ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ<O:p</O:p
    ท่านพระราหุลทูลรับว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ<O:p</O:p
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ<O:p</O:p
    ท่านพระราหุลทูลรับว่า เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ<O:p</O:p
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ<O:p</O:p
    ท่านพระราหุลทูลรับว่า ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ธรรมารมณ์เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ<O:p</O:p
    ท่านพระราหุลทูลรับว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ<O:p</O:p
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ<O:p</O:p
    ท่านพระราหุลทูลรับว่า เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ<O:p</O:p
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ<O:p</O:p
    ท่านพระราหุลทูลรับว่า ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มโนวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ<O:p</O:p
    ท่านพระราหุลทูลรับว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ<O:p</O:p
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ<O:p</O:p
    ท่านพระราหุลทูลรับว่า เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ<O:p</O:p
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ<O:p</O:p
    ท่านพระราหุลทูลรับว่า ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า.มโนสัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ<O:p</O:p
    ท่านพระราหุลทูลรับว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ<O:p</O:p
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ<O:p</O:p
    ท่านพระราหุลทูลรับว่า เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ<O:p</O:p
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ<O:p</O:p
    ท่านพระราหุลทูลรับว่า ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ<O:p</O:p
    ท่านพระราหุลทูลรับว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ<O:p</O:p
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ<O:p</O:p
    ท่านพระราหุลทูลรับว่า เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ<O:p</O:p
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ<O:p</O:p
    ท่านพระราหุลทูลรับว่า ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัส เป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุด พ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี พระผู้มีพระภาคตรัสพระสูตรนี้จบลงแล้ว ท่านพระราหุลชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
    <O:p</O:p
    อนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของท่านพระราหุลหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ฝ่ายเทวดาหลายพันก็เกิดธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ฯ<O:p</O:p

    จบสูตรที่ ๘ ราหุลสูตร
    <O:p


    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๒๖๙๗ - ๒๗๘๕. หน้าที่ ๑๑๖ - ๑๒๐<O:p</O:p
    </O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กรกฎาคม 2009
  2. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ฮ้าย ! คุณเฮียปอฯ สวัสดีจ้ะ :) บุญรักษานะจ๊ะ
     
  3. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    อนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ ...ดีแล้ว ชอบแล้ว เสนาะดีแล้ว



    .
     
  4. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    สวัสดีครับ(good) ไพเราะยิ่งนักแล ฟังเพลินเลยครับ คุณบุญญสิกขา
     
  5. Bacary

    Bacary เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,211
    ค่าพลัง:
    +23,196

แชร์หน้านี้

Loading...