อธิมุติ ความเข้ากันได้โดยธาตุโดยธรรม (โดยปกติ)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย kengkenny, 27 กรกฎาคม 2009.

  1. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    <CENTER> พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
    ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค</CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD width="100%" bgColor=darkblue hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    [๒๗๗] ญาณในฉันทะเป็นที่มานอน และกิเลสอันนอนเนื่องแห่งสัตว์ทั้งหลาย ของพระตถาคต เป็นไฉน ฯ ในญาณนี้ พระตถาคตย่อมทรงทราบฉันทะเป็นที่มานอน กิเลสอันนอนเนื่อง จริต อธิมุติ ของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมทรงทราบชัดภัพพสัตว์และอภัพพสัตว์ ฯ
    [๒๗๘] ก็ฉันทะเป็นที่มานอนของสัตว์ทั้งหลายเป็นไฉน ฯ สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้อาศัยทิฐิในภพก็มี อาศัยทิฐิในความปราศจากภพก็มีดังนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง โลกมีที่สุดบ้าง โลกไม่มีที่สุดบ้างชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้นบ้าง ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่นบ้าง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกบ้าง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีกบ้าง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มีบ้าง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้บ้าง บุคคลไม่ข้องแวะส่วนที่สุดทั้งสองนี้เสียแล้ว เป็นอันได้ขันติอันสมควร ในธรรมทั้งหลายอันอาศัยกันคือความมีสิ่งนี้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯ อนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงทราบบุคคลผู้เสพกาม ด้วยยถาภูตญาณ คือทรงทราบบุคคลผู้เสพกามว่า บุคคลนี้เป็นผู้หนักในกาม มีกามเป็นที่อาศัย น้อมใจไปในกาม ทรงทราบบุคคลผู้เสพเนกขัมมะว่า บุคคลนี้เป็นผู้หนักในเนกขัมมะมีเนกขัมมะเป็นที่อาศัย น้อมใจไปในเนกขัมมะ ทรงทราบบุคคลผู้เสพพยาบาทว่าบุคคลนี้เป็นผู้หนักในพยาบาท มีพยาบาทเป็นที่อาศัย น้อมใจไปในพยาบาททรงทราบบุคคลผู้เสพความไม่พยาบาทว่า บุคคลนี้เป็นผู้หนักในความไม่พยาบาทมีความไม่พยาบาทเป็นที่อาศัย น้อมใจไปในความไม่พยาบาท ทรงทราบบุคคลผู้เสพถีนมิทธะว่า บุคคลนี้เป็นผู้หนักในถีนมิทธะ มีถีนมิทธะเป็นที่อาศัยน้อมใจไปในถีนมิทธะ ทรงทราบบุคคลผู้เสพอาโลกสัญญาว่า บุคคลนี้เป็นผู้หนักในอาโลกสัญญา มีอาโลกสัญญาเป็นที่อาศัย น้อมใจไปในอาโลกสัญญา ฯ
    [๒๗๙] ก็กิเลสอันนอนเนื่องของสัตว์ทั้งหลายเป็นไฉน ฯ กิเลสอันนอนเนื่องของสัตว์ทั้งหลาย คือ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัยมานานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย กามราคานุสัยของหมู่สัตว์ ย่อมนอนเนื่องในอารมณ์อันเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ปฏิฆานุสัยของหมู่สัตว์ ย่อมนอนเนื่องในอารมณ์อันไม่เป็นที่รักที่ยินดีในโลก อวิชชาตกไปตามในธรรมสองประการนี้ ดังนี้ มานะ ทิฐิ และวิจิกิจฉา ซึ่งตั้งอยู่ร่วมกันกับอวิชชานั้น ก็พึงเห็นดังนั้น นี้เป็นกิเลสอันนอนเนื่องของสัตว์ทั้งหลาย ฯ
    [๒๘๐] ก็จริตของสัตว์ทั้งหลายเป็นไฉน ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร เป็นภูมิน้อยก็ตาม เป็นภูมิมากก็ตาม นี้เป็นจริตของสัตว์ทั้งหลาย ฯ
    [๒๘๑] ก็อธิมุติของสัตว์ทั้งหลายเป็นไฉน สัตว์ทั้งหลายมีอธิมุติเลวก็มีมีอธิมุติประณีตก็มี สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุติเลว ย่อมสมาคมคบหาเข้านั่งใกล้กะสัตว์ผู้มีอธิมุติเลวเหมือนกัน สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุติประณีต ย่อมสมาคมคบหาเข้านั่งใกล้กะสัตว์ผู้มีอธิมุติประณีตเหมือนกัน แม้ในอดีตกาล สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุติเลว ก็สมาคมคบหาเข้านั่งใกล้กะสัตว์ผู้มีอธิมุติเลวเหมือนกัน สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุติประณีต ก็สมาคมคบหาเข้านั่งใกล้กะสัตว์ผู้มีอธิมุติประณีตเหมือนกันแม้ในอนาคตกาล สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุติเลว ก็จักสมาคมคบหาเข้านั่งใกล้กะสัตว์ผู้มีอธิมุติเหมือนกัน สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุติประณีต ก็จัดสมาคมคบหาเข้านั่งใกล้กะสัตว์ ผู้มีอธิมุติประณีตเหมือนกัน นี้เป็นอธิมุติของสัตว์ทั้งหลาย ฯ
    [๒๘๒] อภัพพสัตว์เป็นไฉน สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องกั้น คือ กรรม กิเลส วิบาก เป็นผู้ไม่มีศรัทธาไม่มีฉันทะ มีปัญญาทราม ไม่อาจย่างเข้าสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย เหล่านี้เป็นอภัพพสัตว์ ฯ
    [๒๘๓] ภัพพสัตว์เป็นไฉน สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องกั้น คือ กรรม กิเลส วิบาก เป็นผู้มีศรัทธา มีฉันทะ มีปัญญาอาจย่างเข้าสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านี้เป็นภัพพสัตว์ นี้เป็นญาณในฉันทะเป็นที่มานอน และกิเลสอันนอนเนื่องแห่งสัตว์ทั้งหลาย ของพระตถาคต ฯ
    </PRE>

    หนึ่ง ใน ทศพลญาณ ของสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า
    </PRE>

    นานาธิมุตติกญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อธิมุติ คือ รู้อัธยาศัย ความโน้มเอียง ความเชื่อถือ แนวความสนใจ เป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปต่างๆ กัน)
    </PRE>

    พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    </PRE>
     
  2. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    เป้าหมายของศาสนาพุทธ คือ อะไร?
    พิจารณาชีวิตของตน ใช่หรือไม่
    พิจารณาความสุขและทุกข์ที่เกิดขึ้นในชีวิตของตน ใช่หรือไม่
    พิจารณาความคิดกับจิตและเหตุให้เกิดความคิดกับจิตนั้นของตน ใช่หรือไม่
    พิจารณาการปรุงแต่งที่เกิดขึ้นกับความคิดกับจิตนั้นของตน ใช่หรือไม่
    พิจารณาเห็นเป็นความเกิดและความดับ ใช่หรือไม่
    พิจารณาเห็นความเป็นปกติของจิตการเกิดดับของเหตุปัจจัยทั้งหลายนั้น ใช่หรือไม่
    แล้วทั้งหมดนี้จะเห็นกิเลสได้หรือไม่ และปล่อยละมัน ทำจิตให้ผุดผ่องสดใส มีสติสมาธิตั้งมั่นอยู่
    ได้หรือไม่

    หากปฏิบัติและกระทำด้วยความเพียรอันมี อินทรีย์ทั้ง ๕ อาศัย ศีล สมาธิ และ ปัญญาเป็นบาทแล้ว ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยจิตด้วยใจของตนเองว่า สิ่งที่เรียกว่าความเศร้าหมองใดในดวงจิตนั้นหายไป นั้นลดลง นั้นไม่กลับคืนมา เรียกว่า ปฏิบัติถูกแล้วไม่ต้องสงสัย แต่หากกระทำแล้วได้ผลออกมาตรงกันข้ามก็พึงพิจารณา ทั้งหมดนี้เรียกว่า สันทิกฐิโก แล้วพิสูจน์อย่างไร มันก็ค่อยเป็นค่อยไปนั่นแหละ บทพิสูจน์มีอยู่ว่า สิ่งใดเป็นความเคยชินที่ทำให้ใจและกายได้รับทุกข์ภัย ความเคยชินนั้นหายไปเรียกได้ผลไม่ต้องสงสัย หลังจากนั้นกิเลสส่วนหยาบกลางละเอียดจะถูกจับตามองหรือตามรู้โดยสติ และมันจะค่อยๆคลายตัวเมื่อมองเห็นเป็นธรรมชาติของมันเราก็ไม่ต้องไปบังคับแค่ดูและระวังเหตุนั้นเรียกการดับเหตุจิตก็จะค่อยๆ กำจัดกิเลสมูลทั้งหลายออกไปเรื่อยๆจนถึง วาระที่จะนำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการเจริญปัญญาด้วยวิปัสสนากรรมฐานอันมี สติปัฏฐานสูตร เป็นบาท ก็จะทำให้จิตเดินทางสู่ ไตรลักษณะ เห็นอริยะสัจ ๔ เจริญองค์มรรคได้อย่างสมบูรณ์ เกิดโพชฌงค์ขึ้นในจิต ทั้งหลายเป็นเหตุให้บุคคลเข้าสู่ความเป็นอริยะจิตตามลำดับตามขั้นตามภูมิของตน

    [FONT=Angsana New, AngsanaUPC]สติ สมาธิ ปัญญา[/FONT]
    [FONT=Angsana New, AngsanaUPC]ทั้ง 3 อย่างนี้แยกกันไม่ได้[/FONT]
    [FONT=Angsana New, AngsanaUPC]ครั้นไม่มีสติ ก็ไม่มีสมาธิ[/FONT]
    [FONT=Angsana New, AngsanaUPC]ไม่มีสมาธิ ก็ไม่มีปัญญ[/FONT][FONT=Angsana New, AngsanaUPC] <O:p</O:p<O:p</O:p[/FONT]<O:p</O:p<O:p</O:p<O:p</O:p<O:p</O:p<O:p</O:p<O:p</O:p
    สติ - สมาธิ - ปัญญา ทั้ง ๓ อย่างนี้มันแยกกันไม่ได้ ครั้นไม่มีสติก็ไม่มีสมาธิ ไม่มีสมาธิก็ไม่มี ปัญญา มันต้องอยู่ในนั้นแหละ พิจารณาให้ถี่ถ้วน พิจารณาแน่วแน่ลงในเฉพาะสิ่งเดียวแล้ว อารมณ์อื่นไม่มาแทรกซึม มันก็เกิดปัญญาความรู้ความฉลาดขึ้นมา ไม่ใช่ว่าปัญญาจะเป็นกลุ่มเป็นก้อน เป็นหมู่เป็นพวกอย่างนั้น มันให้รู้ในนั้นเอง มันให้แน่วแน่ในนั้นเอง ความรู้จริงเห็นจริงอันนั้นเรียกว่าปัญญา
    คำกล่าว ของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี<!-- google_ad_section_end -->

    แต่ไม่ว่าอย่างไรผู้ปฏิบัติจะต้องเรียนรู้การมีสติ โดยธรรมชาติ และโดยการฝึก อย่างลึกซึ้งเป้นเบื้องต้นก่อนโดยธรรมชาติคือการรับรู้ทั่วไป ในชีวิตประจำวัน ไม่คลาดเคลื่อน รู้อย่างไรก็รู้อย่างนั้น ไม่ผสมปนเปกันกับความรู้สึก เช่น รู้ว่าตอนนี้คือตอนเช้า กลางวัน เย็น กำลังทำงาน กำลังเดิน กำลังยืน นั่ง นอน มันก็ต้องฝึกให้เกิดความ ศรัทธาต่อความเป็นจริงก่อนอันดับแรก จากนั้นฝึกระลึกรู้ลมหายใจ ก็คือ ทำอานาปาณสติ รู้ทุกเวลาที่ยืนเดินนั่งนอน ทุกอริยบถ ว่ากำลังหายใจเข้าและหายใจออก ภาวณาบริกรรมก็ได้หรือไม่ก็ได้แต่ควร พุทโธ ไว้ในใจตลอดวัน ก็จะเป็นพื้นฐานให้ฝึกสมาธิได้อย่างไม่ยาก ผลของการฝึกลักษณะนี้มีคุณมากมายนักไม่อยากอธิบายแต่มีคุณแน่นอน ผู้มีวาสนาพึงพิจารณานำไปปฏิบัติเถิด

    เมื่อพร้อมก็เริ่มทำสมาธิโดยวิธีเดิม แต่ นั่งอยู่กับที่ หรือเรียกขัดสมาธิ รับรู้ลมหายใจพร้อมภาวณาบริกรรม จนจิตเป็นหนึ่งเดียวกับลมหายใจ รู้หยาบ รู้ละเอียด ของลมหายใจ ควรพิจารณาถึงความสงบที่ได้ มากกว่าจะบอกตนเองว่านี่เป็นฌาน ฝึกจนได้ความสงบระดับหนึ่งจึงระลึกนึกถึงว่าอะไรคือฌาน ด้วยวิธีนี้ฝึกมาตั้งแต่ต้นไม่มีทางที่จะหลงกับนิมิตใดๆแน่นอน เพราะมีสติตั้งมั่นจะรับรู้ตามความเป็นจริง เรียก สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นั่นเอง

    จากการปฏิบัติ อานาปาณสติ ลมเป็นเพียงเครื่องยึดสติเป็นสัญญาอย่างหนึ่งในตอนต้นแต่พอจิตเป็นสมาธิสติกล้าแข็ง หมายถึง กรณีของอานาปณสตินะครับ สัญญานั้นดับไป กลายเป็นจดจ่ออยู่กับอารมณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมั่นคงไม่มีสะดุด แต่การเลือกความละเอียดหรือหยาบของลมนั้นเป็นการ หาระดับความพอดีที่จะทำให้การเข้าสมาธินั้นไม่ ยากเกินไป เช่น ช้าไปก็อึดอัดสำหรับบางคนแต่บางคนพอดี แรงไปอาจพอดีกับบางคนแต่ไม่เหมาะกับใครบางคนอะไรทำนองนี้ครับ พุทธศาสนาประเด็นคือการค้นหาตนเองในตนเองครับ ไม่ว่าจะจุดเริ่มต้นจนถึงจุดสิ้นสุด และสุดท้ายทุกคนจะพบเหมือนกันคือสมาธิกับสติตั้งมั่น

    จากการปฏิบัติ เมื่อจิตสงบและเป็นสมาธิ เพราะว่าทุกขณะจิตเกิดขึ้นได้ และมีการปรุงแต่งหรือไม่ปรุงแต่งนั้น มันอาศัยสิ่งหนึ่งเสมอ คือ สติ ไม่ว่ายังไงมันก็ส่งผลเหมือนเดิมต่างกันที่เมื่อมีสติเป็นตัวขวางผลของการเกิดจิตแต่ละขณะนั้นก็จะถูกทำให้จางลงหรือเบาบาง แต่กำลังสติหากมีน้อย แต่ไม่ถึงกับขาดเพราะถ้าขาดก็จะไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น การเกิดของจิตขณะนั้นจะชัดเจนมากแบบไร้การควบคุมหรือควบคุมมันไม่ได้ ทุกสภาวะเหมือนกันหมดเกิดผ่านสิ่งเดียวกันหมด แต่มีสิ่งที่ผมข้องใจคือ สาเหตุของการเกิดการปรุงมันมาเพราะ เรา หรือ จิตเรา หรือ ตัวเรา ปรุงแต่งหรือปล่อยให้มันปรุงแต่งไปเพราะ ยังคิดว่าหรือคิดว่ามันเป็นเรานั่นเอง ผมเห็นเป็นอย่างนั้น บางครั้งมันเหมือนมีสติก็ไม่ใช่ไม่มีสติก็ไม่ใช่ แต่อยู่ในสมาธิครับ เลยรู้สึกแบบนั้น<!-- google_ad_section_end --> ตรงนี้จะเห็นว่าปัจจัยคือ กิเลส และ การปรุงแต่ง เมื่อมีการปรุง จิตจะเกิด เมื่อไม่มีการปรุงจิตก็จะดับ การปรุงนั้นประกอบด้วยทุกสภาวะ นิ่งก็คือนิ่ง ทุกข์ก็คือทุกข์ สุขก็คือสุข เป็นต้น

    จากการปฏิบัติ เมื่อไม่ได้ติดลมหายใจแล้วจะเห็นจิตได้จะต้องมีสมาธิขั้นสูง ก็จะรู้การทำงานที่แท้จริงของสติได้ เห็นการปรุงแต่งและลำดับขั้นตอนของการปรุงแต่งได้นั้น สติสมาธิต้องกล้าแข็งพอสมควร ส่วนเหตุที่ทำไม่ได้น่าจะมาจาก การไม่ปล่อยวางก็มาจากอินทรีย์ยังไม่กล้าพอนั่นแหละ ต้องมั่นฝึกสติ บางคนติดอยู่กับนิวรณ์ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นอุบายและวิธีของครูบาอาจารย์คือให้พิจารณาลมพร้อมกับภาวณาบริกรรม แต่ถึงจุดหนึ่งเราก็ต้องปล่อยมันไปให้เหลือแต่สติกับสมาธิเท่านั้น เพราะการฝึกจิตที่แท้จริงคือเพื่อให้จิตสงบจากการปรุงแต่งใดๆ แล้วเอาความสงบที่ได้มาใช้พิจารณา อีกอย่างเพราะการชอบดูถูกปรามาสผู้อื่นก็เป็นกิเลสที่อยู่ในจิตหากยังกำจัดไม่ได้มันก็จะทำหน้าที่ของมันไปตามธรรมชาติ ไม่ต้องถึงนิวรณ์หรอกเพราะนิวรณ์จะเจอตอนอุปจารเชื่อมกับอัปปนาสมาธิเท่านั้นครับ

    กรณีทั้งหมดนี้เป็นไปเพื่อฝึกสติ ให้ละให้คลายจากกิเลสทั้งหลาย อันมี ราคะ โมหะ โทสะ โลภะ เป็นตัวแม่ของอวิชชา เมื่อมีสิ่งใดเกิดขึ้นและไม่ได้ตามแก้ไข จิตจะไขว่แขว เห็นไปต่างๆนานา หลอกให้หลง ว่าดี ว่ามีคุณธรรมสูง ดูเหมือน ละสังโยชน์ได้ แต่ก็ไม่มีใครพิสูจน์ทราบได้หากเพียงก็เป็นแต่ในตนเองเท่านั้น หากตนเองพิจารณาดีแล้ว ว่ามีก็คือมี ไม่มีก็คือไม่มี นั้นก็สุดแล้วแต่ตนเอง จุดนี้เป็นทางแพ่งแห่งการบรรลุธรรมขั้นสูง เพราะส่วนใหญ่มักหลงและหลอกตนเอง เกิดทุศีล มุสาวาส และหลังจากนั้นก็จะเกิดเป็น สักกายทิฐิและอัตตานุทิฐิตามลำดับ เกิดความคลาดเคลื่อนในอรรถในธรรม นำธรรมที่ไม่สมควรแสดงมาแสดงเพื่อให้ผู้อื่นได้เห็นว่าตนนั้นดีกว่าผู้อื่น ทั้งหลายนี้ล้วนแล้วแต่เป็นมิจฉาทิฐิที่เกิดขึ้นจากจิตที่มี กิเลส รัดแน่น ในจิตวิปัสสนูกิเลส ทั้งสิ้น แต่ทุกคนที่ปฏิบัติถึงขั้นนั้นจะต้องเจอไหม อันนี้ก็แล้วแต่ว่าการสะสม ความคิดหรือกิเลสในจิตนั้น หนักไปทางใด ที่สำคัญ กิเลส ไม่ได้หมายถึงเฉพาะ ความไม่ดีงามทั้งหลายแต่ความดีงามก็เป็นกิเลสเช่นกัน ดังนั้น ผลแห่งการฝึกสติและสมาธิ ที่กล้าแข็งจะค่อยๆกำจัดกิเลสที่สะสมออกไป จนจิตนั้นสะอาดผ่องใส ก็จะทำให้วิปัสนูกิเลส นั้นไม่อาจเกิดขึ้นได้ในจิตของผู้นั้น ดังนั้นสรุปว่า จิตที่เป็นสมาธิมีสติตั้งมั่นที่ปราศจากกิเลสนั้นไม่ได้มาจากการปฏิบัติเพียงชั่วครั้งชั่วคราวหากคือการระลึกได้เสมอ และไม่สะสมกิเลส หมายความว่า ต้องใช้เวลาพอสมควร จิตจึงจะเหมาะต่อการนำมาใช้พิจารณาเพื่อให้เกิดวิปัสสนาญาณได้อย่างแท้จริง

    ขอญาณจงเกิดแก่ท่านทั้งหลาย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กรกฎาคม 2009
  3. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    ที่ยกมานี้เป็นส่วนหนึ่งในบทสวดพระอาการวัตตาสูตร
    ที่แสดงถึงทศพลญาณของพระผู้พระภาคเจ้า

     
  4. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    จากบทสรุปสุดท้าย จะเห็นว่าผู้ปฏิบัติบางคนมีสติไม่สมบูรณ์จึงเกิด ผลกระทบต่อจิต เห็นอะไรต่างๆนานา เป็นอะไรต่างๆนานา ตามจริตตามกิเลสที่สะสมในสันดานหรือก้นบึ้งของจิตใจ ส่วนใหญ่เป็นพวกไม่มีเหตุผล ข้างๆคูๆ ดังนั้น ผู้จะเริ่มปฏิบัติธรรมไม่จำเป็นต้องก้าวกระโดดตามใครเลยแค่เพียงมี ตนเองเป็นตัววัดตนเองก็เพียงพอต่อการฝึก หากสติยังไม่ทันเหตุการณ์ปกติ หรือ เหตุฉุกเฉิน คืออะไรก็ตามที่เกิดอย่างรวดเร็ว สติยังไม่ทัน ก็อย่าพึ่งได้ไปพิจารณาธรรมใดก็ตามเลยเพราะจะเป็นการยิ่งสั่งสมกิเลสให้มีมากขึ้น ไว้ในจิตใจ เพราะสุดท้ายมันจะโผล่ออกมาให้เห็นแน่นอน เพราะท่านอาจจะมองว่าเขาเหล่านั้นวิเศษแต่ผมมองว่าเขาเหล่านั้นกำลังจะเป็นบ้าครับ สาธุ (ถามว่ามีได้จริงไหม ตอบ มีได้จริงแต่โดยมากเขาจะไม่นำมาเป็นเรื่องเป็นราวเพราะว่าส่วนใหญ่เขารู้ว่ามันคือนิมิต ซึ่งมักเกิดกับผู้ยังตัดกิเลสไม่ขาดสิ้นจากสันดาน ยกเว้นพระอรหันต์)
    ด้วยความหวังดีแก่ผู้ที่ต้องต่ออายุพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มีนาคม 2010
  5. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    แปลกนะคนเรามักจะอายกับการสร้างความดีและความถูกต้อง แต่ไม่อายกับสิ่งที่ไม่ดีไม่ควรกระทำ
     
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เพราะคนเรามักเห็นกลับตะละปัด มันก็ทำอะไรไปตามนั้น เพราะเห็นเป็นอย่างนั้น
    เพราะเห็นว่าดี ว่าถูกแล้ว จึงทำไปอย่างนั้น
    คงไม่มีใครเห็นว่า ไม่ดี แต่ก็ยังตั้งหน้าตั้งตาทำไป ที่ทำไปเพราะเห็นว่าดีจึงทำกันทั้งนั้น
    ถ้ามีความเห็นผิด คือเห็นว่าถูกคือผิด และผิดคือถูก โดยไม่รู้ตามจริง
    เขาก็ทำไปเพราะเห็นผิดว่าเป็นถูก อยู่นั่นเอง
    วันไหนเห็นได้ตามจริง เห็นว่าถูกคือถูก เห็นว่าผิดคือผิด
    วันนั้นเขาย่อมตัดสินใจกระทำแต่เรื่องที่ถูกต้องดีงาม ตามจริง เอง

    ปล.แต่คงมีข้อยกเว้น อื่นๆ ถ้าเป็นคนไม่ปกติก็อีกเรื่องๆ ก็ต้องปล่อยวางไปตามเวรกรรม
     
  7. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ครับอย่าลืมปฏิบัติอยู่เนืองๆนะครับ สมาธิไม่ได้ในแต่ละวันก็ควรได้สติในแต่ละวันนะครับ
    อนุโมทนาครับ คุณขวัญ
     
  8. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    คนบางคนแค่ศึกษาพระธรรมเพื่อนำมาเป็นเครื่องบำเรอกิเลสสนองของตน(เพื่อความสนุกสนานเฮฮาไปวันๆ) แล้วก็ร้องเรียกหาความจริงในสัจธรรมนั้น ดูแล้วเหมือนลิงติดบ่วงไม่มีผิด ยังไงยังงั้น ก็คือมันก็วิ่งไปมาเป็นวงกลมบ้าง วิ่งจากด้านหนึ่งสู่อีกด้านหนึ่งบ้าง นั่นเหตุเพราะมันติดบ่วงคือตัณหาที่รัดตรงคอมันพอดี และไม่มีปัญญาจะแก้มันต้องรอให้มีพราน(ใจดีหรือเปล่าไม่รู้) มาแก้หลังจากนั้นก็...เพราะฉนั้นก็พึงเพียรพิจารณาตนทำในสิ่งที่ควรทำเถอะจะได้ไม่ต้องเป็นลิงติดบ่วง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กรกฎาคม 2009
  9. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    (like dissolves like)
    แต่ก็แยกได้อย่างชัดเจนด้วยปัญญา ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนมาแล้วทั้งสิ้น จริงไหมครับ กลัวลืมเลยยกมาอ่านและแบ่งให้ผู้อื่นได้อ่านบ้างครับ

    วันหนึ่ง พระพุทธองค์ประทับ ณ ภูเขาคิชกูฏ วันนั้นพระสารีบุตรกำลังเดินจงกรม (เดินกลับไปกลับมาเพื่อพักผ่อนหรือพิจารณาธรรม) อยู่กับภิกษุผู้เป็นบริวารจำนวนมาก พระมหาโมคคัลลานะ, พระมหากัสสป, พระอนุรุทธ์, พระปุณณะ มันตานีบุตร พระอานนท์ และพระเทวทัต ก็กำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุผู้เป็นบริวารจำนวนมาก

    พระผู้มีพระภาคตรัส กับภิกษุทั้งหลายว่า

    “ดูเถิดภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรจงกรมอยู่กับภิกษุเป็นอันมาก ภิกษุเหล่านั้นล้วนมีปัญญามากทั้งสิ้น ที่จงกรมอยู่กับมหาโมคคัลลานะ ล้วนมีฤทธิ์ กับมหากัสสปล้วนเคร่งครัดในธุดงค์ กับอนุรุทธ์ล้วนมีทิพยจักษุ กับปุณณะล้วนเป็นธรรมธึก กับอานนท์ล้วนเป็นพหูสูตร กับอุบาลีล้วนทรงวินัย แต่ที่จงกรมอยู่กับเทวทัตล้วนมีความปรารถนาลามกทั้งสิ้น
    ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ย่อมเข้ากันได้ด้วยธาตุ ด้วยอัธยาศัย (อธิมุตติ) สัตว์ผู้มีอัธยาศัยทรามย่อมเข้ากันได้กับผู้มีอัธยาศัยทราม ผู้มีอัธยาศัยประณีตย่อมเข้ากันได้กับผู้มีอัธยาศัยประณีต เรื่องทำนองนี้ได้มีมาแล้วในอดีต กำลังเป็นอยู่ในปัจจุบัน และจักเป็นต่อไปในอนาคต เปรียบเหมือนอุจจาระเข้ากับอุจจาระ น้ำลายเข้ากับน้ำลาย เลือดเข้ากับเลือด น้ำนมเข้ากับน้ำนม และน้ำตาลเข้ากับน้ำตาล ฯ ”
    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๘
    สังยุตตนิกาย นิทานวรรค ธาตุสังยุตต์ ทุติยวรรค
    จังกมสูตร


    ๕. จังกมสูตร
    [๓๖๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เขต
    พระนครราชคฤห์ ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตรจงกรมอยู่ด้วยกันกับ
    ภิกษุหลายรูปในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็จงกรม
    อยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ท่านพระมหากัสสปก็
    จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ท่านพระอนุรุทธก็
    จงกรมอยู่ ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ท่านพระปุณณ-
    มันตานีบุตรก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ท่าน
    พระอุบาลีก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ท่าน
    พระอานนท์ก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค แม้
    พระเทวทัตต์ก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ฯ
    [๓๖๖] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร-
    ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเห็นสารีบุตรกำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือ
    ไม่ ฯ
    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนมีปัญญามาก พวกเธอเห็น
    มหาโมคคัลลานะกำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่ ฯ
    ภิ. เห็น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนมีฤทธิ์มาก พวกเธอเห็นมหากัสสปกำลัง
    จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่ ฯ
    ภิ. เห็น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นธุตวาท พวกเธอเห็นอนุรุทธ กำลังจงกรม
    อยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่ ฯ
    ภิ. เห็น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นผู้มีทิพยจักษุ พวกเธอเห็นปุณณมันตานีบุตร
    กำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่ ฯ
    ภิ. เห็น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นธรรมกถึก พวกเธอเห็นอุบาลีกำลังจงกรม
    อยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่ ฯ
    ภิ. เห็น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นผู้ทรงวินัย พวกเธอเห็นอานนท์ กำลัง
    จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่ ฯ
    ภิ. เห็น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นพหูสูต พวกเธอเห็นเทวทัตต์กำลังจงกรม
    อยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่
    ภิ. เห็น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนมีความปรารถนาลามก ฯ
    [๓๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน
    โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับ
    สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี ย่อมคบค้ากัน ย่อม
    สมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี แม้ในอดีตกาล สัตว์ทั้งหลายก็ได้
    คบค้ากันแล้ว ได้สมาคมกันแล้ว โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว
    ได้คบค้ากันแล้ว ได้สมาคมกันแล้ว กับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว สัตว์จำพวก
    ที่มีอัธยาศัยดี ได้คบค้ากันแล้ว ได้สมาคมกันแล้ว กับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี
    แม้ในอนาคตกาล สัตว์ทั้งหลายก็จักคบค้ากัน จักสมาคมกัน โดยธาตุเทียว
    คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว จักคบค้ากัน จักสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มี
    อัธยาศัยเลว สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี จักคบค้ากัน จักสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่
    มีอัธยาศัยดี แม้ในปัจจุบันกาล สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดย
    ธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับ
    สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคม
    กันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี ฯ

    จบสูตรที่ ๕
    อนุโมทนากับท่านผู้อ่านทุกท่านครับ
     
  10. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    สาธุ สาธุ สาธุ...

    ธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงตรัสเอาไว้ชอบแล้ว
    ทุกบททุกบาท ไม่มีผิดพลาดคลาดเคลื่อนแม้ัสักนิด
    ไม่ว่ากาลไหน ๆ

    เป็นสวากขาตธรรม เป็นอกาลิกธรรม โดยแท้

    สาธุ สาธุ สาธุ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มีนาคม 2010
  11. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ทำไมสึกเร็วจังครับ เกิดอะไรไม่ดีขึ้นหรืออย่างไรครับ น่าเสียดายแต่หรือว่าเปลี่ยนภูมิจิต มาเป็นพุทธภูมิหลายๆอย่างเลยเปลี่ยนไปครับ
     
  12. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    เอาเถอะครับ เกรงว่าจะไปก่อกรรมเวรกันอีกเปล่าๆครับ จะเสียโอกาสที่ควรได้รับครับ ตามสบาย เพราะหากเขาตั้งเจตนามาดีเขาจะพิจารณาเห็นได้เองว่า สภาวะเหล่านั้นมันไม่ใช่ ไม่เป็น สิ่งที่น่ายึดถือไว้แต่อย่างใดครับ
     
  13. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ผมพิจารณาเต็มที่แล้วนะคุณเก่งผมไม่เคยเปลี่ยน

    แต่ผมว่าคุณเก่งนะที่เปลี่ยน
     
  14. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ผมสงสัยว่า พระสูตรกล่าวว่า คนไม่ดี คบคนไม่ดี คนดีคบคนดี
    แล้ว พวกไม่มีใครคบหละครับ ควรจำแนกอย่างไร
     
  15. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ครับเปลี่ยนก็เปลี่ยน แล้วแต่จะพิจารณาครับ ผมอาจความจำไม่ดี ยังไงก็คงตามนั้น เพราะผมเองไม่อาจบอกได้ว่าเมื่อเห็นว่าเป็นกิเลสแล้วจะบอกว่าเป็นธรรมผมทำไม่ได้จริง ยินดีที่ได้สนทนา จริงๆไม่รู้ว่าคุณสึกออกมาแล้วหรอก ยินดีที่ได้เจออีกครั้งครับ
     
  16. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ใช่ครับลุงพระสูตรกล่าวไว้อย่างนั้นครับ ถูกต้องทุกประการครับ
    [๓๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน
    โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับ
    สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี ย่อมคบค้ากัน ย่อม
    สมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี แม้ในอดีตกาล สัตว์ทั้งหลายก็ได้
    คบค้ากันแล้ว ได้สมาคมกันแล้ว โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว
    ได้คบค้ากันแล้ว ได้สมาคมกันแล้ว กับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว สัตว์จำพวก
    ที่มีอัธยาศัยดี ได้คบค้ากันแล้ว ได้สมาคมกันแล้ว กับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี
    แม้ในอนาคตกาล สัตว์ทั้งหลายก็จักคบค้ากัน จักสมาคมกัน โดยธาตุเทียว
    คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว จักคบค้ากัน จักสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มี
    อัธยาศัยเลว สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี จักคบค้ากัน จักสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่
    มีอัธยาศัยดี แม้ในปัจจุบันกาล สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดย
    ธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับ
    สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคม
    กันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี ฯ


    ไม่มีใครคบนี่เขาบอกว่ายังดีกว่าเป็นคนไม่ดีนี่ครับ เอ๋ลุง ในกระทู้นึงเขียนเอาไว้อย่างหนึ่ง
    <TABLE class=tborder id=post3067612 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175><!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->ขันธ์<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_3067612", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    วันที่สมัคร: Oct 2006
    สถานที่: หาไม่เจอว่าอยู่ตรงไหน
    ข้อความ: 6,375
    Groans: 393
    Groaned at 603 Times in 428 Posts
    ได้ให้อนุโมทนา: 2,186
    ได้รับอนุโมทนา 14,577 ครั้ง ใน 4,094 โพส
    พลังการให้คะแนน: 1039 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]



    </TD><TD class=alt1 id=td_post_3067612 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- google_ad_section_start -->อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">คุณเคยเห็นผู้ใหญ่ทะเลาะกับเด็กไหมครับ เด็กทะเลาะกับผู้ใหญ่ก็ได้ ผมขออนุญาติสอนธรรมบางอย่าง ไม่ใช่ผมไม่รู้นะครับ ว่าพรหมวิหารธรรมคืออะไร เพียงแต่ผมไม่พูดเท่านั้นครับ เวลาที่เด็กเล็กๆทะเลาะกับผู้ใหญ่หรือไม่สบอารมรณ์กับผู้ใหญ่นั้นๆแล้ว ข้อแรกที่อยากถามคือ เด็กหรือผู้ใหญ่จะต้องยุติการทะเลาะหรือสาวความนั้นๆ โดยทั่วไป ผู้ใหญ่จะหยุดก่อนวางโกรธ วางโทสะ วางความอยากเอาชนะลง ก่อนไม่สร้างเหตุให้เกิดอีกเหมือนเป็นเด็กด้วยกันจริงไหมครับ แบบนี้เรียกว่า เป็นผู้ที่มีทั้งคุณวุฒิและวัยวุฒิ จริงไหมครับ หากคุณเป็นผู้ใหญ่คุณคงทำเช่นนั้นจริงไหมครับ ผมเองก็เช่นกัน ไม่เห็นว่ามันน่าสนุกเลยการที่ต่อปากต่อคำกับเด็ก แล้วแบบนี้จะสอนคนได้ยังไง หากไปเจอผู้ใหญ่แบบนั้น คุณจะประพฤติปฏิบัติตามไหม ทำเหมือนที่เขาทำไหม เวลาสอนเด็กก็กลายเป็นทะเลาะกับเด็ก สอนคนอื่นก็กลายเป็นทะเลาะกับคนอื่น คุณอยากเห็นว่าโลกวันข้างหน้า จะต้องเป็นแบบนี้ใช่ไหมครับ ผมเพียงชี้ให้เห็นว่า ความเป็นผู้มีคุณวุฒิและวัยวุฒิแม้มองไม่เห็นหน้าตากัน เพียงเห็นแค่การกระทำอันต่อเนื่องก็รู้ได้ว่า คุณวุฒิกับวัยวุฒิ เป็นเช่นไร มันอาจไม่ใช่อย่างที่เข้าใจก็ได้เท่านั้นครับ พอทราบแล้วก็วางลงเช่นกันครับ จะได้ไม่เกิดกรรมต่อตนเองเช่นกันครับ คุณสังเกตไหมครับพอผู้ใหญ่หยุดทะเลาะกับเด็กแล้วด้วยที่การหยุดนั้นเพราะ เมตตา ต่อมาแล้วเด็กจะทราบเอง จากนั้นเด็กจะขอโทษเองจริงไหมครับ ไม่มีหรอกครับที่ผู้ใหญ่จะขอโทษเด็กเว้นเสียแต่ว่า ผู้ใหญ่นั้นจะเป็นผู้มีคุณธรรมสูงจริงๆ จึงทำเช่นนั้นได้ อันนี้เป็นธรรมไหม ลองพิจารณาดูครับ เพราะธรรมทั้งหลายสามารถนำเอาไปใช้ในชีวิตและเรียนรู้ศึกษาชีวิตให้เป็นสุข เป็นประโยชน์ได้จริงๆครับ
    ลองพิจารณาดูครับ วางจิตเป็นกลางครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ไม่มีใครไปวุ่นวายอะไรกับคุณ นอกจากคุณจะตามมา วุ่นวายของคุณเอง

    ผมก็เตือนไปตามปรกติ คุณก็จะเอาให้ได้อย่างที่คุณต้องการ คือ ยอมคุณ

    ผมก็ไม่เข้าใจว่า จะให้ยอมอะไร เพราะ เดี๋ยวคุณก็ถาม เดี๋ยวคุณก็ด่า
    เดี๋ยวคุณก็ว่า ผู้ใหญ่ต้องยุติ

    ผมว่า ถ้าปล่อยให้คุณพูดไป ต่อไปเรื่อยๆ ผมก็บอกแล้วนี่ ว่า คุณก็ละเลงธรรม

    ครั้นพอผมแสดงความเห็น คุณก็งอแง

    ไปพักผ่อนเถอะคุณ<!-- google_ad_section_end -->

    </TD></TR><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">[​IMG] [​IMG]<SCRIPT type=text/javascript> vbrep_register("3067612")</SCRIPT> [​IMG] </TD><TD class=alt1 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right>[​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE>



    สงสัยจะไม่เข้ากันกับสิ่งที่เห็นและสิ่งที่เป็นเสียละมั้งครับ พิจารณาเอาเองครับคำพูดและการกระทำมันไปคนละทางกันเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มีนาคม 2010
  17. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ถ้าอยากจะใช้กิเลสกันก็ใช้ไปครับ ถ้าเลิกเมื่อไหร่ค่อยว่ากัน เพราะมันไม่ทำให้จิตใจดีขึ้นครับสำหรับกิเลส ใครอยากจะคบใครอยากจะเป็นเพื่อนใคร เป้นพวกใครไม่ใช้สาระสำคัญของพระสูตรนี้เลยครับ สาระสำคัญคือ การที่รู้ว่าอะไรเป็นของดีอะไรเป็นของเลวต่างหากครับ ส่วนเรื่องอื่นๆ ก็แล้วแต่จะสรรสร้างกันไปครับ คงจบการสนทนาได้นะครับ เพราะว่า ผมเองไม่อยากเป็นเวรเป็นกรรมกับใครเดี้ยวเขาจะชดใช้ไม่หมดเช่นกัน ลำพังของผมเองของเดิมก็มีมากแล้วไม่อยากทำเพิ่ม จบการสนทนานะครับ
     
  18. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ผมว่า คุณคงจะ ร้อนตัวมากไปหน่อยนะคุณ

    คุณ รู้ไหมว่า ผมตั้งใจจะพูด และคิดอยู่แล้วว่า คุณจะต้องเป็นเดือดเป็นร้อน

    แต่จริงๆ แล้วผมต้องการจะพูดธรรม ซึ่งผมจะเฉลยให้ว่า

    คนที่ไม่มีใครคบนั้น แบ่งออกเป็น 2 กรณีคือ

    คนดีอยู่ท่ามกลางคนชั่ว และ คนชั่วอยู่ท่ามกลางคนดี

    ดังนั้น คุณ ก็ไปพักผ่อนได้แล้ว
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  19. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697
    อาจไม่เกี่ยวกับกระทู้นัก
    เหมือนจะเห็นคุณเก่งเคยถามประมาณว่าทำไมต้องมีขันติ.. ต่อ...

    เคยสวดพาหุงไหม
    ในบทสวด พระพุทธองค์ชนะศัตรูได้ ด้วย ทาน เมตตา ขันติ อิทธิฤทธิ์ ปัญญา .. ฯลฯ
    ศัตรู ก็ไม่ใช่ใคร บางท่านเป็นถึงพระอสีติ เป็นพุทธภูมิ เป็นพระปัจเจก .. รวมไปถึงพาลปุถุชน.. (ในตอนที่ยังขาดสติและทำร้ายพระพุทธองค์)

    การจะชนะใครนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงทำไปด้วยประโยชน์ของเขาอีก (หากเขามี)
    และทรงทราบ กาละเทศะ ในการชนะนั้น

    บางครั้ง นี่ก็เป็นธรรมที่ทำให้เราต้องขบคิดมากมาย..


    ({)
     
  20. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ครับถ้ารู้จักพิจารณาจริงๆก็จะเห็นและทราบได้ แยกแยะได้ เข้าใจดีครับ แต่เวลาที่เราเอาใจช่วยบางครั้งก็ รู้สึกเสียดาย แต่ก็สุดแล้วแต่บุญและกรรมที่สั่งสมกันมาครับ ของอย่างนี้ต้องพิจารณาให้เห็นให้ได้ ไม่อย่างนั้นก็เสียเวลาเปล่าเท่ากับว่าหลับตาเดินดุ่มไป แล้วจะมาบอกว่าถึงที่หมายแล้วย่อมมีแต่ความขัดแย้งในตนเอง แค่รู้สึกน่าเสียดายกับเขาด้วยเท่านั้นครับ แต่ท่านก็อย่าลืมอย่าหลงหลอกตนเอง ว่า ธรรมก็คือธรรม กิเลสก็คือกิเลส หาก แยกแยะกันยังไม่ได้ ของเบื้องสูง ปัญญาเบื้องสูง ไม่มีทางเกิดขึ้นได้ อย่างเป็นจริง หรือตามจริง ครับ
    พิจารณาเอาเถอะครับว่าอะไรเป็นอะไร ผมก็พิจารณาได้เท่านั้นครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...