จิตนิ่งแล้ว ยกอะไรไปวิปัสสนา ??

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Mr.Boy_jakkrit, 13 มกราคม 2011.

  1. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    เมื่อจิตนิ่งเป็นสมาธิแล้ว ควรยกธรรมข้อใดไปพิจารณา ?

    ธรรมภายนอก หมายถึงอะไรบ้าง

    ธรรมภายใน หมายถึงอะไรบ้าง

    อาการนิ่งแล้วพิจารณา นำเรื่องเก่ามาเล่า มาเจียใหม่ หรือ เอาเรื่องที่เพิ่งผ่านไปเมื่อกี้ขึ้นมาพิจารณา

    ขอเชิญร่วมแสดงธรรมของแต่ละท่าน ร่วมด้วยแชร์ประสบการณ์และข้อคิดแรกเปลี่ยนทัศนคติครับ


    ขอปัญญาเกิดแด่ทุกท่านครับ สาธุ
     
  2. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    ร่วมเอามะพร้าวห้าวมาขายสวนนะครับ....

    ธรรมภายนอก หมายถึงอะไรบ้าง

    ตีได้หลายอย่าง...แต่ต้องการพูดให้ง่ายที่สุดก็คือ สิ่งที่อยู่ภายนอกกาย ขันธ์ ๕ นอกกาย(สิ่งอื่น) อายตนะภายนอกกาย อย่างนี้ก็ได้ อายตนภายนอก ๖ ก็ได้


    ธรรมภายใน หมายถึงอะไรบ้าง

    ก็ตีได้หลายอย่าง...แต่ต้องการพูดให้ง่ายที่สุดก็คือ สิ่งที่อยู่ภายในกาย ขันธ์ ๕ ในกาย(ตัวเรา) อายตนะภายในกาย อย่างนี้ก็ได้ อายตนภายใน ๖ ก็ได้.....

    รวมแล้วได้ ขันธ์ ๕(นอก,ใน) อายตนะ ๑๒ นั่นหละ....

    ว่าโดยกล่าวในแห่งวิปัสสนาปัญญาคือ ตามวรรคแห่ง สังเวคะปะริกิตตะนะปาฐะ ดังนี้

    ...สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา เสยยะถีทัง
    รูปูปาทานักขันโธ เวทะนูปาทานักขันโธ สัญญูปาทานักขันโธ,
    สังขารูปาทานักขันโธ วิญญาณูปาทานักขันโธ เยสังปะริญญายะ,
    ธะระมาโน โส ภะคะวา เอวัง พะหุลัง สาวเก วิเนติ เอวัง
    ภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี พะหุลา
    ปะวัตตะติ รูปัง อะนิจจัง เวทะนา อะนิจจา สัญญา อะนิจจา
    สังขารา อะนิจจา วิญญาณัง อะนิจจา รูปัง อะนัตตา เวทะนา
    อะนัตตา สัญญา อะนัตตา สังขารา อะนัตตา วิญญาณัง อะนัตตา
    สัพเพ สังขารา อะนิจจา สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ....

    ดังนี้แล....คือบท วิปัสสนา ที่สมเด็จองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านได้ทรงกล่าวไว้....


    ปัญญายังน้อย...ตอบได้ไม่มาก...รอสดับท่านอื่น....สนทนาธรรมตามกาลเป็นมงคลชีวิต....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มกราคม 2011
  3. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ส่วนที่ผมกระทำอยู่ผมนั่งกรรมฐานทุกวัน เวลาไม่นั่งก็ภาวนาตลอด แต่ก็มีบ้างที่หลุด
    เวลาที่จิตนิ่งเป็นอารมณ์เดียว ผมไม่ได้พิจารณาอะไรแต่เวลาที่ออกจากสมาธิอารมณ์นั้นจะยังอยู่ผมถึงจะยกเรื่องความตายมาพิจารณาและก็ทำทุกครั้ง จนเป็นอย่างที่ได้กล่าวไว้ในกระทู้ก่อนๆครับ สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นก็จะเห็นการเกิดดับของความรู้สึกครับ เห็นบ่อยๆก็ยิ่งทำให้เข้าใจว่าทำไมต้องนั่งกรรมฐานครับ เพราะพิจารณาความตายบ่อยๆสิ่งที่เห็นตามมาก็คือชีวิตที่ผ่านมาของเราเอง เหมือนย้อนไปเรื่อยๆจนถึงตอนเกิด แล้วย้อนไปย้อนมา จนเห็นอาการของจิตชัดเจนขึ้นตามลำดับ
    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  4. อวตาร.

    อวตาร. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    411
    ค่าพลัง:
    +633
    ธรรมที่จะยกขึ้นวิปัสสนามี ๓ นัย ใน คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน(หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) �Ի��ʹҭҳ������
    ๑.พิจารณาอริยสัจ ๔
    ๒.พิจารณาขันธ์ ๕
    ๓.พิจารณาวิปัสสนาญาณ ๙
    ผมขอตอบปัญหาที่ถามตามแบบอริยสัจ ๔

    เมื่อจิตนิ่งเป็นสมาธิแล้ว ควรยกธรรมข้อใดไปพิจารณา ?
    อริยสัจ ๔
    ธรรมภายนอก หมายถึงอะไรบ้าง
    ทุกข์
    ธรรมภายใน หมายถึงอะไรบ้าง
    เหตุแห่งทุกข์
    อาการนิ่งแล้วพิจารณา นำเรื่องเก่ามาเล่า มาเจียใหม่ หรือ เอาเรื่องที่เพิ่งผ่านไปเมื่อกี้ขึ้นมาพิจารณา
    ธรรมชาติใดก็ได้ ทั้งอดีต อนาคตและปัจจุบัน ให้เห็นหลักไตรลักษณ์
     
  5. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    625
    ค่าพลัง:
    +572
    เมื่อจิตนิ่งเป็นสมาธิแล้ว ควรยกธรรมข้อใดไปพิจารณา ?

    -ควรยก หรือ น้อมจิต พิจารณากาย ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง (อะยัง โข เม กาโย)
    ให้เห็นตามเป็นจริง หรือ รวมลงที่ ไตรลักษณ์ เกิดขึ้น ผันแปล ดับไป
     
  6. suhotat

    suhotat Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +53
    ให้พิจารณาสภาวะธรรม หรือกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ จะเป็นภายในตัวเรา หรือนอกตัวเราก็ได้ เพราะสรรพสิ่งเป็นสิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย และมีภาวะเกี่ยวเนื่องกันโดยตลอด หากปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ จะเข้าใจได้ละเอียดยิ่งขึ้นเรื่อยๆ นำไปสู่ไตรลักษณ์ เมื่อเข้าใจแล้วจะเกิดปัญญา ปัญญาจะนำไปสู่การฟาดฟันกิเลสให้เบาบางหรือหมดสิ้นไป จิตจะไม่ยึดมั่นในโลกียะ นำพาไปสู่แนวทางพ้นทุกข์ต่อไป
     
  7. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ว่าแต่ ว่า นิ่งแบบไหนครับ พี่บอย

    นิ่ง แบบเป็น เอกัคตารมณ์ แบบรู้แต่อารมณ์เดียว
    เรียกโดยสมาธิเรียกอัปนาสมาธิ เรียกโดยฌาน คือ ฌานที่ ๔ ในฌานฤษี (อารัมนูปนิชฌาน )

    หรือ นิ่ง แบบ สงบ ไม่รุกรี้ รุก รน แต่สะบายๆ

    หรือ นิ่งในความสงบ ที่รู้อยู่ ในหลายอารมณ์
     
  8. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    อนุโมทนากับทุกความเห็นครับ
    สรุปเบื้องต้น ไม่ว่าจะนำธรรมข้อใดมาพิจารณาก็ตาม เมื่อนำมาพิจารณาแล้วโดยธรรมข้อใหญ่คือพระไตรลักษณ์ที่หมายถึงความไม่เที่ยงแท้แน่นอนสรรพสิ่งไม่สามารถคงสภาพเดิมได้ด้วยเหตและปัจจัย ทั้งภายในและภายนอกย่อมปรากฏให้เห็นเสมอ และเมื่อเหตปัจจัยคุณพระไตรลักษณ์นี้จะยังส่งผลไปอริยสัจ๔ โดยปริยายในที่สุด
    การมอง การคิดเห็น และความเข้าใจตามสภาพความเป็นจริงแล้วล้วนเป็นแรงขับดันให้ไปสู่หนทางดับทุกข์ได้ในช่วงเวลาที่เหมาะสมด้วยเหตและปัจจัยทั้งสิ้น

    และจากการอ่านและสังเกตุประสบการณ์ของแต่ละท่าน ซึ่งเป็นธรรมดาว่าแต่ละท่านจะมีจริตและวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกันไปตามนิยมและตรงกับอุปนิสัยของตนเอง แต่มีสิ่งหนึ่งที่มาบรรจบกันนั่นก็คือ เมื่อปัญญารู้แจ้งเห็นจริงในแต่ละระดับขั้นแล้วจะพบว่า ภาษาที่สื่อออกมามีเค้าโครงที่เหมือนกัน จะต่างกันที่ประสบการณ์ การรับรู้ การเข้าใจ รวมไปถึงมุมมอง จึงสรุปได้ว่าทุกท่านมีจุดหมายเดียวกัน


    อนุโมทนาบุญกุศลในธรรมทานครับ สาธุ
     
  9. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676

    จะเป็นบุญอย่างยิ่งหากสามารถอธิบายได้ทุกลักษณะครับ

    ขอบพระคุณล่วงหน้า สาธุ :cool:
     
  10. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    ธรรมที่ควรนำมาพิจารณามีให้เลือกหลายอย่างตามความถนัด เช่น ธาตุ ขันธ์ อายตนะ ปฏิจจสมุปบาท อริยสัจ เป็นต้น

    ธรรมภายนอก หมายถึง ธรรมที่อยู่นอกตัว เช่น ต้นไม้ ภูเขา แม่น้ำ สังขารผู้อื่น ธรรมชาติทั้งหลาย
    ธรรมภายใน หมายถึง ธรรมที่อยู่ในตัว เช่น กาย (รูปขันธ์ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง) ใจ (เวทนา จิต เจตสิก ธรรมมารมณ์) ของเรานี้เอง

    หากเมื่อนิ่งแล้วพิจารณาเรื่องเก่า เรียกว่า นำสัญญามาพิจารณา ได้ปัญญาระดับจินตมยปัญญา เป็นอย่างมาก ไปไม่ถึงวิปัสสนาญาณ
    หากนำอารมณ์ขณะปัจจุบันมาพิจารณา ให้เห็นไตรลักษณ์ได้ จึงจะเป็นภาวนามยปัญญา สติจึงต้องไวมากจึงจะตามได้ทัน นี่คือเหตุผลที่เราจำเป็นต้องเจริญมหาสติปัฏฐาน เพื่อให้ตามอาการต่างๆได้เท่าทันอย่างที่สุด มันถึงจะปิ๊ง...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มกราคม 2011
  11. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    ได้ความรู้เพิ่มเติมกว่าที่คิดไว้จริงๆครับ...นี่ก็จริง เหมือนกัน

    เพราะการที่เราพูดในสิ่งไม่รู้จริง ย่อมไม่เข้าใจสิ่งที่จริงกว่าที่เราเองปิดกั้นตัวเองเอาไว้
    หากเราพูดแกล้งโง่มากเกินไปเพื่อหวังให้ผู้อื่นดูดี หรือสรรเสริญมากจนเกินหน้าเกินตาจะถูกมองเราไม่จริงใจ
    ดังนี้ผมก็พูดไปตามปัญญาของผมเองเหมือนกันครับ

    ก็..คิดว่าตัวเองแน่เหมือนกัน แต่พอได้อ่านของหลายๆความเห็นก็เกิดปัญญาพิจารณาตามจริงได้อย่างที่กล่าวไปแล้วเมื่อกี้

    ด้วยเหตุดังนี้จึงสามารถอธิบายในอีกแง่มุมนึงว่า หากเราเปิดใจรับฟังบ้าง พูดบ้าง อ่านบ้าง เขียนบ้าง เราก็จะได้บทเรียนที่เพิ่มขึ้น เรียกกันว่าความใฝ่รู้ แสวงหาความรู้อันพอประมาณนั่นเอง


    อนุโมทนาสาธุครับ :cool:
     
  12. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    ขออนุโมทนากับคุณบอย ดูเหมือนจะจับทางได้แล้ว

    การทำตัวเป็นแก้วเปล่า ดีกว่าน้ำเต็มแก้ว
    ถ้าเรารู้แล้วทุกเรื่อง เราก็เรียนรู้ได้ยาก
    ถ้ามีความพร้อมจะเรียนรู้ทุกเรื่อง นำไปพิจารณา เราก็ได้ประโยชน์เอง
    ดังนั้นไม่มีเหตุผลที่สมควรเลย กับการที่ทำตัวเป็นผู้รู้ แล้วเที่ยวเข้าไปตอบได้ร้อยแปดคำถาม (คนอะไรมันจะเก่งปานนั้น) ตอบเท่าที่รู้ ที่ไม่รู้ก็รับฟัง สำหรับผู้รู้จริงที่เข้ามาตอบ ขออนุโมทนาในธรรมทานของท่านด้วย
    ส่วนการถ่อมตัวมากไป ก็ูดูเสแสร้ง เช่น ผมมีปัญญาแค่เด็กอนุบาลอะไรเทือกนั้น เห็นแล้วสงสารครับ ขอให้ขึ้นชั้นประถมไวไวแล้วกัน หุๆๆ
     
  13. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    จากการเล่าเรียนของผม
    จากการศึกษาของผม
    จากการปฏิบัติของผม
    จากการได้เห็น ได้รู้ของผม


    สงบแบบที่ ๑. นิ่ง แบบเป็น เอกัคตารมณ์ แบบรู้แต่อารมณ์เดียว
    เรียกโดยสมาธิเรียกอัปนาสมาธิ เรียกโดยฌาน คือ ฌานที่ ๔ ในฌานฤษี (อารัมนูปนิชฌาน )

    ลักษณะการเข้า อาการนี้ ไม่สามารถจะใช้ความคิด มาตรึก มาวิเคราะห์
    มาค้นคิดได้ จิต จะรู้อยู่แต่ อารมณ์เดียว มีแต่ตัวรู้ ความรู้ไม่มี
    ผู้ที่เข้ามาอาการนี้ จะ รู้อยู่ในรู้อย่างนั้น ลักษณะเข้าครั้งแรก มันเหมือนๆ ตกหน้าผา แล้วก็สว่างโพล่ง ไม่มีประมาณ มีแต่ความสว่างจ้า บังคับไม่ได้ ว่าจะออกตอนไหน มันจะหลุดก็หลุดออกมาเอง

    หากผู้เข้าถึง ความ สงบนิ่งแบบนี้ได้ เรียกว่าเข้าถึงการตั้ง สมถะกรรมฐาน
    ความสงบนิ่ง แบบนี้ จึงจัดเรียกว่า สงบนิ่ง ลงเป็นอัปนาสมาธิ

    เมื่อ ผู้ทำได้แบบนี้แล้ว ก็ควรทำแบบเดิมให้มีความชำนาญ เข้าได้เป็นครั้ง ที่สอง ที่สาม แล้วจะมีช่องสังเกตุว่า ช่วงที่มันหลุดออกจากอัปนาสมาธินั้น เมื่อมีความรู้สึกว่ามีกาย คือบางทีมันไปรู้ที่ลมหายใจ หรือ บางทีไปรู้ที่ความคิด


    ความรู้สึกที่จิต ที่จิตออกมาจากอารมณ์เดียวนั้น
    เมื่อมีอารมอื่นเข้าไหวมา มันจะจับตัวที่ไหวเองโดยอัตโนมัติ จะรู้สึกถึงการรู้ตัว ในขณะนั้นเป็นลำดับๆ ลำดับ

    แรกๆ ที่ออกจากอัปนานั้น จะยังไม่ชัดเท่าไร จะเริ่มเห็นชัด ก็ต่อเมื่อมีความชำนาญขึ้น เป็นลำดับๆ หรือจะเรียกว่าเป็น ขณะ ขณะก็ได้

    เมื่อรู้สึกถึง อาการที่มันเป็นไปเองโดยนัยนี้ ก็ให้ทำความรู้สึก ตามรู้สิ่งที่ปรากฏไปเรื่อยๆไปเรื่อยๆ ตรงนี้ๆแรกจะยัง จับจุดยังไม่คล่องเท่าไร ต้องอาศัยการตามรู้บ่อยๆเข้าไปอีก

    การตามรู้นี่ ก็ทำประหนึ่งว่า รู้อยู่ที่จิต ในขณะ ที่มีอะไรไหวในจิตก็รู้อยู่เฉยๆที่จิตอยู่อย่างนั้น

    มีอีกอาการหนึ่ง บางทีจะรู้สึกว่า มันมีความรู้ที่ผุดขึ้น แบบเราถามเองตอบเอง ออกมาแบบพรวดๆ แต่ว่า เราไม่ได้มีความฟุ้งซ่านแต่อย่างใด ยังคงมีความสงบ รู้ในสิ่งที่มันพรวดๆออกมาทางความคิด บางทีจะเป็นข้อความที่เราเกิดสงสัยในสิ่งใดซักอย่าง แต่คำตอบก็ทำให้เราประจักษ์แจ้งในข้อสงสัยด้วยอาการนี้


    และความรู้นั้นมันออกมาเองโดยที่เราไม่ได้เจตนาให้มันมา แต่มันมาเอง มันจะรู้สึกได้ว่า ยิ่งมีมาเท่าไร เราถามเองตอบเอง อยู่ในจิต อาการ ซ่านๆ ก็บังเกิดมาเรื่อยๆตามนั้น เป็นระยะ ระยะ ของการรู้คำตอบที่ได้
    แต่ละช๊อต แต่ละช๊อต ขณะแห่งตรงนั้น โดยที่มันเป็นไปเอง
    จาก ตัวสีน้ำเงินนี้ เป็นการ ยกจิตขึ้นสู่การวิปัสนา
    หรือเรียกว่า เริ่มเดินวิปัสนา ....ในความสงบแบบที่ ๑


    ความสงบในแบบที่ ๒. นิ่ง แบบ สงบ ไม่รุกรี้ รุก รน แต่สะบายๆ
    อารมณนี้จะสังเกตุได้ง่าย เช่น พอสวดมนต์ จบ แผ่เมตตา จิตก็สู่ความสงบๆแบบนี้แล้ว หรือการสวดมนต์ บท อิติปิโส ๑๐๘ หลังจากสวดจบ จิตก็บังเกิดความสงบๆ แบบนี้แล้ว

    เมื่อ จิตสงบแบบนี้แล้ว ก็ต้องหา ทางดำเนินการสร้างปัญญา ให้จิต
    ด้วยการมาใช้ การ ตรึก ค้นคิด พิจารณา ในการ ทำกายคตาสติ หรือ อสุภะ หรือ กรรมฐาน ที่ตั้งด้วยรูป เพื่อสร้างอุบายให้จิตเห็นด้วยนิมิตร

    ยกตัวอย่างเช่น การทำกายคตาสติ ก็ยกเอา 1อย่าง ในอาการ 32 มาค้นคิด ด้วยการนึกให้เห็นภาพ ด้วยคิดไปจากมันเริ่มมี จนมันเริ่มสลาย กลับไปกลับมา

    เช่นดูเล็บ ก็นึกให้เห็น ไปตามตั้งแต่เด็ก วัยรุ่น วัยทอง จนแก่ ตาย จนเน่าสลายไป แล้ววกไล่มาจนเป็นเด็กเหมือนเดิม ทำแบบนี้กลับไปกลับมา จนจิตเข้า อัปนาสมาธิ ลักษณะ การเริ่มเดินแบบนี้ เป็นการยกจิตเข้าสู่วิปัสนา แต่ยังไม่เริ่มเดินวิปัสนา

    จะมีจุดที่ว่าเริ่มเดินวิปัสนา นั้นก็ต่อเมื่อ นิมิตรที่เราจงใจสร้าง มันจะเริ่มเป็นเองโดยที่เราไม่ได้จงใจเหมือนแต่แรก และก็จะกลายเป็นผู้รู้ดูอยู่ที่จิตเฉยๆโดยเริ่มเป็นอัตโนมัติไปเอง

    แต่หากไม่ทำกายคตาสติหรือทำอสุภะ

    แต่หากความสงบนัยที่ ๒ นี้ จะเดินอานาปานสติต่อ จนเข้าอัปนาก็แล้วแต่ ว่าผู้ฝึกมี ความเหมาะสมในส่วนไหน ในส่วนของการเดินอานาปานสติ จะเข้าวิปัสนาเหมือน ในแบบตัวสีน้ำเงินได้เหมือนกัน

    และกรรมฐาน อานาปานสติ หากทำตามกรรมฐานนี้โดยมั่นคง จะเดินวิปัสนาไปเอง




    ความสงบ ในแบบที่ ๓. นิ่งในความสงบ ที่รู้อยู่ ในหลายอารมณ์

    ลักษณะ ของความสงบบแบบนี้ เรียกว่า กำลังดำเนิน เดิน วิปัสนา

    ความสงบที่รู้ในหลายอารมณ์นี้ จะไม่มีความฟุ้งซ่าน แต่อย่างใด รู้หลายสิ่งแต่ไม่ฟุ้ง มีแต่รู้แล้วก็วาง รู้แล้วก็วาง และเป็นไปเองโดย ที่ไม่ตั้งใจวาง มันรู้มันวางเอง คล้ายๆกับตัวสีน้ำเงินที่ขีดเส้นใต้
    ถ้ามี มาเป็นขณะ ขณะ เรียกโดยสมาธิ เรียกว่า ขณิกสมาธิในอริยะมรรค
     
  14. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    เมื่อได้สมาธิแล้ว ก็เอาปัจจุบันธรรมนั่นแหล่ะพิจารณา จึงเรียกว่าวิปัสสนา ^-^
     
  15. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    ผมเข้าใจว่านิ่ง..แบบไม่มีนิวรณ์ หรือนิวรณ์กำลังคลายจาง จิตเริ่มสงบดิ่งสติไม่ขาด..ส่วนจะอยู่ในญาณ หรือฌาน ใดก็ไม่ต้องสนใจครับ..หากยังมีสติรู้อยู่ สามารถคิด พิจราณาได้..ผมแนะนำ ..พิจราณา กาม ครับ...!
    หาก พิจราณา กายหรือไล่กาย นั่นก็เยี่ยม ทางตรงเลยครับ.. หากจะไล่จิตให้นิ่ง คู่ไปกับความคิดพิจราณาให้จิตเหนื่อย..ก็ลองไล่ ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น ดูครับเพราะเป็นกิเลสตัวแม่ทีเดียวครับ..(กาม)
     
  16. patchara2

    patchara2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    244
    ค่าพลัง:
    +258
    หลังจากที่จิตนิ่งแล้ว

    ก็ยกเอา({)ขี้ ขึ้นมาวิปัสสนาสิครับ

    ร่างกายของเรา คือขี้ก้อนใหญ่
    พิจรณาขี้เยอะๆ ลองดู
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มกราคม 2011
  17. อภิราม

    อภิราม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    532
    ค่าพลัง:
    +9,005
    ขอแสดงความคิดเห็นบ้างนะครับ (ตอนนี้อุปาทานเกิดเดี๋ยวมันก็ดับ)

    ธรรมที่ควรพิจารณา คือ ความตาย

    พิจารณาได้ทั้งกลางวันและกลางคืน

    หากจะให้ดีที่สุด คือควรพิจารณาทุกลมหายใจ
     
  18. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    ให้เอาสิ่งที่เกิดขึ้น ณ ตอนนั้นมาพิจารณา ในภูมิวิปัสสนาให้ตีกรอบภายในกายตัวเองพอ เอาให้พิจารภายในกายเรา ความรู้ที่เกิดขึ้นอยู่แค่ในกายตัวเองเท่านั้น ด้วยเหตุที่ว่าศึกษากายให้รู้ไปเรื่อย จะเกิดความรู้ทางจิตขึ้น เมื่อรู้กายก้จะเข้าใจจิต
    สิ่งที่ต้องพิจารณามีอะไรบ้าง
    1. อารมณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้นตอนภาวนาอยู่
    2. อารมณ์เวทนาที่เกิดขึ้นทางกายและทางใจ สุข ทุกข์ ไม่สุข ไม่ทุกข์ให้รู้
    ตามจริง อย่าทิ้งเวทนา
    3.สิ่งต่างๆที่มากระทบกาย กายสัมผัสเกิดจิตต้องกำหนดให้ทันรู้ทัน และสิ่งที่
    มากระทบอินทรีย์ที่เหลืออันได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และใจ ก้ให้รู้และตามมันให้ทัน เพราะอินทรีย์ทั้ง6ทางนี้เป็นอาจารย์สอนกรรมฐานที่เยี่ยมมาก
    4.พิจารณาในอริยาบถย่อย(เรียกสัมปชัญญะ7)คือรู้ในขณะคู้แขนเหยียดแขน
    หันซ้าย หันขวา งอขา เหยียดขา ก้ม เงย จับนั่น หยิบนี่ ดื่มหนอ กินหนอ เคี้ยวหนอ ขับถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ เป็นต้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มกราคม 2011
  19. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    ได้อ่านของแต่ละท่านแล้ว
    หากกระทำได้ดังว่า..
    รับรองได้เลยว่า ยุคนี้เป็นยุคแห่งป๊อปคอร์นแห่งอริยชน ในอนาคตอันใกล้นี้แน่นอนครับ

    อนุโมทนาครับ :cool:
     
  20. หาธรรม

    หาธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,163
    ค่าพลัง:
    +3,739
    [​IMG]
    พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)


    วิปัสสนาภูมิ ตอนที่ 1
    วิปัสสนาภูมิ 6 คืออะไร
    โดย พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)



    ตามธรรมดาการกระทำงานใดๆ ก็ต้องมีสถานที่ที่ทำงาน หรือ การจะเพาะปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารใดๆ นั้น ก็ต้องมีพื้นที่เพาะปลูก เช่น การปลูกข้าวเจ้าก็ต้องมีพื้นที่นา ปลูกข้าวโพด, มัน ก็ต้องมีพื้นที่ไร่ เป็นต้น ฉันใดก็ดี การเจริญวิปัสสนาก็ต้องมีที่ทำงาน หรือมีที่เพาะปลูกเหมือนกัน ภูมิพื้นที่เพาะปลูกให้ วิปัสสนาเจริญขึ้นนั้นเรียกว่า วิปัสสนาภูมิ ฉะนั้น วิปัสสนาภูมิ ก็หมายถึง พื้นที่กระทำวิปัสสนา หรือกรรมฐานของวิปัสสนา หรือ อารมณ์ของวิปัสสนา หมายความว่า การเจริญวิปัสสนานั้นต้องกำหนดรู้อยู่ที่วิปัสสนาภูมิ

    วิปัสสนาภูมิที่พระพุทธองค์ทรงแสดงนั้น มีอยู่ 6 ภูมิด้วยกัน เรียกว่า วิปัสสนาภูมิ 6 แต่เมื่อย่อวิปัสสนาภูมิลงแล้ว คงได้ 2 อย่างคือ รูปธรรม กับ นามธรรม กล่าวสั้นๆ ว่า รูป-นาม

    การเจริญวิปัสสนานั้น จะต้องมีเฉพาะรูปนามเท่านั้นเป็นอารมณ์หรือเป็นกรรมฐาน หรือเป็นที่ตั้งของวิปัสสนา เรียกว่า ทางเดินของวิปัสสนาคือ รูปนามเท่านั้น

    เฉพาะคำว่า วิปัสสนา แปลว่าเห็นแจ้ง, เห็นวิเศษ ซึ่งได้แก่ ตัวปัญญานั่นเอง แต่ปัญญาในที่นี้ เป็นความรู้เห็นแจ้ง เห็นวิเศษ หมายถึงว่าเป็นความรู้เห็นของจริง ตามเป็นจริง ของจริงก็คือรูปนาม ตามความเป็นจริงก็คือ รูปนามมีสภาพ อนิจจัง คือไม่เที่ยง ทุกขัง คือเป็นทุกข์ ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ อนัตตา คือบังคับบัญชาไม่ได้ ดังนั้นการเจริญวิปัสสนา ก็ต้องกำหนดรู้อยู่ที่รูปนาม ตามเป็นจริงว่า มีสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ และบังคับบัญชาไม่ได้

    แผนผังแสดงวิปัสสนาภูมิ 6
    วิปัสสนาภูมิ 6 คืออะไร

    1) ขันธ์ 5 คือ กองทั้ง 5

    2) อายตนะ 12 คือสะพานเครื่องเชื่อมต่อให้เกิดความรู้ มี 12

    3) ธาตุ 18 คือ สิ่งที่ทรงไว้ซึ่งสภาพของตน มี 18

    4) อินทรีย์ 22 คือ ความเป็นใหญ่ มี 22

    5) อริยสัจจะ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ มี 4

    6) ปฏิจจสมุปบาท 12 คือ ความประชุมพร้อมด้วยเหตุผล มี 12


    1. ขันธ์ มี 5 คือ

    1) รูปขันธ์ กองรูป องค์ธรรม ได้แก่ รูป 28

    2) เวทนาขันธ์ กองเวทนา องค์ธรรม ได้แก่ เวทนาเจตสิกที่ในจิต 89 หรือ 121

    3) สัญญาขันธ์ กองสัญญา องค์ธรรม ได้แก่ สัญญาเจตสิกที่ในจิต 89 หรือ 121

    4) สังขารขันธ์ กองสังขาร องค์ธรรม ได้แก่ เจตสิก 50 (เว้นเวทนา, สัญญา) ที่ในจิต 89 หรือ 121 ตามสมควร

    5) วิญญานขันธ์ กองจิต องค์ธรรม ได้แก่ จิต 89 หรือ 121


    2. อายตนะ มี 12 คือ

    1) จักขายตนะ จักขุ ชื่อว่า อายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ จักขุปสาท

    2) โสตายตนะ โสตะ ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ โสตปสาท

    3) ฆานายตนะ ฆานะ ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ ฆานปสาท

    4) ชิวหายตนะ ชิวหา ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ ชิวหาปสาท

    5) กายายตนะ กายะ ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรม ได้แก่ กายปสาท

    6) รูปายตนะ รูปารมณ์ ชื่อว่า อายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ สีต่างๆ

    7) สัททายตนะ สัททารมณ์ ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ เสียงต่างๆ

    8) คันธายตนะ คันธารมณ์ ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ กลิ่นต่างๆ

    9) รสายตนะ รสารมณ์ ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ รสต่างๆ

    10) โผฏฐัพพายตนะ โผฏฐัพพารมณ์ ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ สัมผัสต่างๆ

    11) มนายตนะ จิต ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ จิตทั้งหมด

    12) ธัมมายตนะ สภาพธรรมต่างๆ ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ เจตสิก 52 สุขุมรูป 16 นิพพาน


    3. ธาตุ มี 18 คือ

    1) จักขุธาตุ จักขุ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งความใสที่รูปารมณ์มากระทบได้องค์ธรรมได้แก่ จักขุประสาท

    2) โสตธาตุ โสตะ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งความใสที่สัททารมณ์มากระทบได้องค์ธรรมได้แก่ โสตปสาท

    3) ฆานธาตุ ฆานะ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งความใสที่คันธารมณ์มากระทบได้องค์ธรรมได้แก่ ฆานปสาท

    4) ชิวหาธาตุ ชิวหา ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งความใสที่รสารมณ์มากระทบได้องค์ธรรมได้แก่ ชิวหาปสาท

    5) กายธาตุ กายะ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งความใสที่โผฏฐัพพารมณ์มากระทบได้ องค์ธรรมได้แก่ กายปสาท

    6) รูปธาตุ รูปารมณ์ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการกระทบกับจักขุปสาทได้องค์ธรรม ได้แก่ สีต่างๆ

    7) สัททธาตุ สัททารมณ์ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการกระทบกับโสตปสาทได้ องค์ธรรมได้แก่ เสียงต่างๆ

    8) คันธธาตุ คันธารมณ์ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการกระทบกับฆานปสาท ได้องค์ธรรมได้แก่ กลิ่นต่างๆ

    9) รสธาตุ รสารมณ์ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการกระทบกับชิวหาปสาทได้องค์ธรรม ได้แก่ รสต่างๆ

    10) โผฏฐัพพธาตุ โผฏฐัพพารมณ์ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการกระทบกับกายปสาท ได้องค์ธรรมได้แก่ สัมผัสต่างๆ

    11) จักขุวิญญาณธาตุ จักขุวิญญาณ ชื่อว่าธาตุ เพราทรงไว้ซึ่งการเห็นองค์ธรรม ได้แก่ จักขุวิญญาณจิต 2

    12) โสตวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณ ชื่อว่าธาตุ ทรงไว้ซึ่งการได้ยิน องค์ธรรมได้แก่ โสตวิญญาณจิต 2

    13) ฆานวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการรู้กลิ่นองค์ธรรม ได้แก่ ฆานวิญญาณจิต 2

    14) ชิวหาวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการรู้รสองค์ธรรมิ ได้แก่ ชิวหาวิญญาณจิต 2

    15) กายวิญญาณธาตุ กายวิญญาณ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการรู้สัมผัสองค์ธรรม ได้แก่ กายวิญญาณจิต 2

    16) มโนธาตุ จิต 3 ดวง ชื่อว่ามโนธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการรู้ปัญจารมณ์อย่างสามัญ องค์ธรรมได้แก่ ปัญจทวาราวัชชนจิต 1 สัมปฏิจฉันจิต 2

    17) มโนวิญญาณธาตุ จิต 76 ดวง ชื่อว่ามโนวิญญาณธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการรู้ อารมณ์เป็นพิเศษองค์ธรรมได้แก่ จิต 76 (เว้นทวิปัญจวิญญาณจิต 10 มโนธาตุ 3)

    18) ธัมมธาตุ สถาพธรรม 69 ชื่อว่าธัมมธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งสภาวลักษณะของตนๆ องค์ธรรมได้แก่ เจตสิก 52 สุขุมรูป 16 นิพพาน


    4. อินทรีย์ มี 22 คือ

    1) จักขุนทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการเห็นองค์ธรรมได้แก่ จักขุปสาท

    2) โสตินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการได้ยินองค์ธรรมได้แก่ โสตปสาท

    3) ฆานินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการรู้กลิ่นองค์ธรรมได้แก่ ฆานปสาท

    4) ชิวหินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการรู้รสองค์ธรรมได้แก่ ชิวหาปสาท

    5) กายินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการสัมผัสองค์ธรรมได้แก่ กายปสาท

    6) อิตถินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในความเป็นหญิงองค์ธรรมได้แก่ อิตถีภาวรูป

    7) ปุริสินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในความเป็นชายองค์ธรรมได้แก่ ปุริสภาวรูป

    8) ชีวิตินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการรักษารูปและนามองค์ธรรมได้แก่ ชีวิตรูป และชีวิตินทรีย์เจตสิก

    9) มนินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการรับอารมณ์องค์ธรรมได้แก่ จิตทั้งหมด

    10 ) สุขินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการเสวยความสุขกายองค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิกที่ในสุขสหคตกายวิญญาณจิต 1

    11) ทุกขินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการเสวยความทุกข์กายองค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิกที่ในทุกขสหคตกายวิญญาณจิต 1

    12) โสมนัสสินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการเสวยความสุขใจองค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิกที่ในโสมนัสสหคตจิต 62

    13) โทมนัสสินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการเสวยความทุกข์ใจองค์ธรรม ได้แก่ เวทนาเจตสิกที่ในโทสมูลจิต 2

    14) อุเปกขินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการเสวยอารมณ์ที่เป็นกลาง องค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิกที่ในอุเบกขาสหคตจิต 55

    15) สัทธินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในความเชื่อต่อสิ่งที่ควรเชื่อองค์ธรรมได้แก่ สัทธาเจตสิกที่ในโสภณจิต 91

    16) วิริยินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในความเพียรองค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิกที่ในวิริยสัมปยุตตจิต 105

    17) สตินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการระลึกชอบองค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิกที่ในโสภณเจตสิก 91

    18) สมาธินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการตั้งมั่นในอารมณ์อันเดียวองค์ธรรมได้แก่ เอกัตคตาเจตสิกที่ในจิต 72 (เว้นอวิริยจิต 16 วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต 1)

    19) ปัญญินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการรู้ตามความเป็นจริงองค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิกที่ในญาณสัมปยุตตจิต 47 หรือ 79

    20) อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการรู้แจ้งอริยสัจจ์ 4 ที่ตนไม่เคยรู้องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิกที่ในโสดาปัตติมรรคจิต 1

    21) อัญญินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการรู้แจ้งอริยสัจจ์ 4 ที่ตนเคยรู้องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิกที่ในมรรคจิตเบื้องบน 3 และผลจิตเบื้องต่ำ 3

    22 ) อัญญาตาวินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการรู้แจ้งอริยสัจจ์ 4 สิ้นสุดแล้วองค์ธรรม ได้แก่ ปัญญาเจตสิกที่ในอรหัตตผลจิต 1


    5. อริยสัจจะ มี 4 คือ

    1) ทุกขสัจจะ ธรรมชาติที่เป็นทุกข์ เป็นความจริงของพระอริยเจ้าทั้งหลาย องค์ธรรม ได้แก่ โลกียจิต 81, เจตสิก 51 (เว้น โลภะ), รูป 28

    2) สมุทยสัจจะ ธรรมชาติที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นความจริงของพระอริยเจ้าทั้งหลาย องค์ธรรม ได้แก่ โลภเจตสิก

    3) นิโรธสัจจะ ธรรมที่เป็นเครื่องดับทุกข์ เป็นความจริงของพระอริยเจ้าทั้งหลาย องค์ธรรม ได้แก่ นิพพาน

    4) มรรคสัจจะ หนทางที่เป็นเหตุให้ถึงความดับทุกข์ เป็นความจริงของพระอริยเจ้าทั้งหลาย องค์ธรรม ได้แก่ มัคคังคเจตสิก 8 ดวง มีปัญญาเจตสิก เป็นต้น ที่ในมรรคจิต 4


    6. ปฏิจจสมุปบาท 12

    1) อวิชชา ธรรมชาติที่เป็นไปตรงกันข้ามกับปัญญาคือ การไม่รู้ตามความเป็นจริง ที่ควรรู้ รู้แต่สิ่งที่ไม่เป็นไปตามความเป็นจริงที่ควรรู้ ได้แก่ โมหเจตสิก

    2) สังขาร ธรรมชาติที่ปรุงแต่งสังขตธรรมที่เป็นผลโดยตรง ได้แก่ เจตนาที่ในอกุศล และโลกียกุศล

    3) วิญญาณ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์เป็นพิเศษ ได้แก่ ปฏิสนธิวิญญาณ คือปฏิสนธิจิต 19 และปวัตติวิญญาณ คือ โลกิยวิปากจิต 32

    4) นามรูป ธรรมชาติที่น้อมไปในอารมณ์ ชื่อว่า นาม ได้แก่ เจตสิก 35 ที่ประกอบกับ โลกิยวิบากจิต 32 ธรรมชาติที่สลายไป เพราะปัจจัยเป็นปฏิปักษ์ ชื่อว่า รูป ได้แก่ ปฏิสนธิกัมมชรูป, ปวัตติกัมมชรูป, จิตตชรูป

    5) สฬายตนะ ธรรมชาติที่ทรงไว้ซึ่งวัฏฏสงสารที่ยืนยาว ได้แก่ อัชฌัติกายตนะ 6

    6) ผัสสะ ธรรมชาติที่กระทบซึ่งอารมณ์ ได้แก่ ผัสสเจตสิก ที่ประกอบกับโลกิยวิบากจิต 32

    7) เวทนา ธรรมชาติที่เสวยอารมณ์ ได้แก่ เวทนา 6 ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยสัมผัสสะ มีจักขุสัมผัสสชาเวทนา เป็นต้น

    8) ตัณหา ธรรมชาติที่ติดใจซึ่งวัตถุกาม ได้แก่ โลภเจตสิกที่ในโลภมูลจิต 8

    9) อุปาทาน ธรรมชาติที่เข้าไปยึดมั่น ได้แก่ ตัณหาและทิฏฐิที่มีกำลังมาก

    10) ภวะ (กัมมภวะ,อุปัตติภวะ) ธรรมชาติที่เป็นเหตุให้ผลเกิดขึ้น ชื่อว่า กัมมภาวะ ได้แก่ อกุศลเจตนา 12 โลกิยกุศลเจตนา 17 ธรรมชาติที่เข้าไปเกิดในภพใหม่ด้วย ได้เกิดขึ้นเพราะอาศัยกรรมด้วย ชื่อว่า อุปัตติภวะ ได้แก่ โลกิยวิปากจิต 32 เจตสิก 35, กัมมชรูป 20

    11) ชาติ ธรรมชาติที่เป็นเหตุแห่งการปรากฏเกิดขึ้นของสังขารธรรมได้แก่ปฏิสนธิชาติ (การเกิดขึ้นครั้งแรกในภพใหม่)

    12) ชรา มรณะ และ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส

    ชรา ความเก่าแก่ของวิบากนามขันธ์ 4 และนิปผันนรูป ชื่อว่า ชรา

    มรณะ ความตาย คืออาการที่กำลังดับของ โลกิยวิบาก และกัมมชรูป ชื่อว่า มรณะ โสกะ ความเศร้าโศก ชื่อว่า โสกะ ได้แก่ โทมนัสเวทนาที่ประกอบกับ โทสมูลจิต 2 ซึ่งเกิดจากพยสนะ 5 อย่าง

    ปริเทวะ การร้องไห้รำพัน ชื่อว่า ปริเทวะ ได้แก่ จิตตชวิปปลาสสัททะที่เกิดขึ้นโดยมีการร้องไห้รำพัน เพราะอาศัยพยสนะ 5 อย่างๆ ใดอย่างหนึ่งเป็นเหตุ ทุกขะ เวทนาที่อดทนได้ยาก ชื่อว่า

    ทุกข์ ได้แก่ กายิกทุกขเวทนา
    โทมนัส สภาพที่เป็นเหตุให้เป็นผู้มีใจคอไม่ดี ได้แก่ เจตสิกทุกข์คือ ทุกข์ใจ
    อุปายาส ความลำบากใจอย่างหนัก ชื่อว่า อุปายาส ได้แก่ โทสเจตสิกที่เกิดขึ้นโดยอาศัยพยสนะอย่างใดอย่างหนึ่ง


    ::
     

แชร์หน้านี้

Loading...