เพื่อการกุศล :::(เปิดจอง)ล็อกเกตพระแก้วมรกต"ภูริทัตตเถรานุสรณ์-สมเด็จองค์ปฐมอมฤตศุภมงคลญาณสังวร":::

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย dekdelta2, 13 พฤศจิกายน 2009.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD background=../../../../bg/c.gif height=87>

    พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน)
    </TD><TD bgColor=#ffd013> </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffd013> </TD><TD background=../../../../bg/c.gif rowSpan=9><TABLE width="86%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>

    [​IMG]



    </TD></TR><TR><TD>
    ประวัติหลวงตาพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน



    <TABLE width="40%" align=center><TBODY><TR><TD>หลวงตาพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
    วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี
    ท่านเป็นลูกศิษย์ผู้สืบทอดปฏิปทาของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่ยังทรงธาตุทรงขันธ์เป็นที่พึ่ง ที่อาศัยของเหล่าศิษย์กรรมฐาน ทั้งบรรพชิต และฆราวาส ปฏิปทาขององค์หลวงตาถอดแบบมาจาก ปฏิปทาของหลวงปู่มั่น โดยตรง ท่านสามารถชี้แนะแนวทางให้กับ เพื่อนสหธรรมิกให้ได้บรรลุผ่านในปัญหาของการภาวนาเป็นจำนวน หลายรูปด้วยกัน ท่านมีศิษยานุศิษย์ฝ่ายบรรพชิตที่ได้กลายเป็น พ่อแม่ครูบาอาจารย์เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์หลวงตา ได้เป็นผู้นำในการทำผ้าป่าช่วยชาติ แก้วิกฤตการเงินภายในประเทศ ซึ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทยไม่เคยมีมาก่อน ปัจจุบัันองค์หลวงตา ยังทรงธาตุขันธ์อยู่ เศษกายหรือสิ่งใด ๆ ก็ตามที่องค์ท่านได้บริโภค ล้วนแต่ได้กลายเป็นพระธาตุ เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของพุทธศาสนิกชน เป็นจำนวนมาก


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD bgColor=#ffd013> </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffd013> </TD><TD bgColor=#ffd013> </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffd013> </TD><TD bgColor=#ffd013>
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffd013> </TD><TD bgColor=#ffd013> </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffd013> </TD><TD bgColor=#ffd013>
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffd013> </TD><TD bgColor=#ffd013> </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffd013> </TD><TD bgColor=#ffd013>
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffd013> </TD><TD bgColor=#ffd013> </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffd013 height=551> </TD><TD bgColor=#ffd013> </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffd013> </TD><TD background=../../../../bg/c.gif><TABLE width="88%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="1%" height=473>
    </TD><TD width="99%">
    [​IMG]
    <TABLE width=500><TBODY><TR><TD>
    พระธาตุอันเกิดจากเส้นเกศาขององค์หลวงตา มีลักษณะเป็นเกร็ดเล็ก ๆ สีแดง ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD bgColor=#ffd013> </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffd013> </TD><TD background=../../../../bg/c.gif><TABLE width="88%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD><TABLE width=500 align=center><TBODY><TR><TD>
    เส้นเกศาธาตุขององค์หลวงตามีลักษณะใสประดุจใยแก้ว​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD><TD bgColor=#ffd013> </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffd013> </TD><TD background=../../../../bg/c.gif> </TD><TD bgColor=#ffd013> </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffd013> </TD><TD background=../../../../bg/c.gif>
    <TABLE width=500><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระธาตุชุดนี้เป็นพระธาตุที่แปรสภาพจากชานหมากขององค์หลวงตา ซึ่งเจ้าของพระธาตุ ได้เก็บชานหมากขององค์หลวงตามาไว้บูชาตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ปัจจุบันชานหมากเหล่านั้นได้แปรสภาพเป็นพระธาตุโดยสมบูรณ์แบบ มีสีสัน พรรณะ เหมือนพระบรมสารีริกธาตุ เป็นที่น่าอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD><TD bgColor=#ffd013> </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffd013> </TD><TD background=../../../../bg/c.gif>
    <TABLE width=500><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>
    พระธาตุชานหมากขององค์หลวงตาที่ผู้มีจิตศรัทธาได้มอบถวายเข้าพิพิธภัณฑ์พระธาตุบูรพาจารย์วัดสันติธรรม จำนวน ๑๒ องค์ ส่วนองค์ที่เป็นเกร็ดสีแดง เป็นพระธาตุเกศา
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>
    ภาพขยายพระธาตุชานหมากองค์เล็กมีลักษณะใสเป็นปริมณฑล ขนาดเท่าเมล็ดผักกาด ​
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>
    ณ วิหารบูรพาจารย์ วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ทีมงานเว็ปไซต์ ได้ไปนมัสการหลายครั้ง นับตั้งแต่เริ่มสร้างเป็นต้นมา และได้สังเกตที่เจดีย์แก้วบรรจุนขาธาตุ (เล็บ) ขององค์หลวงตา พบว่ามีนขาธาตุองค์หนึ่งได้แปรสภาพจากเล็บ กลายเป็นพระธาตุสมบูรณ์แล้ว จึงได้พยายามถ่ายภาพมาให้ชมครับ ​
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>
    เจดีย์บรรจุนขาธาตุ ประดิษฐานหน้าหุ่นขี้ผึ้นรูปเหมือนขององค์หลวงตามหาบัวครับ ​
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>
    นขาธาตุขององค์หลวงตาแปรสภาพเป็นพระธาตุพรรณเหลืองอำพัน โดยสมบูรณ์
    ถ่ายภาพเมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ​
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>เพื่อความหลากหลายทางข้อมูล จึงขออนุญาตนำข้อมูลจาก -:- Wat Pa Doisaengdham Yanasampanno -:- มานำเสนอในที่นี้ด้วยเพื่อให้เครื่องเจริญศรัทธาของท่านผู้อ่าน
    ขอเล่าเกร็ดที่น่าสนใจ เนื่องจากผู้เขียนได้มีโอกาสพบเห็นเหตุการณ์ที่น่าแปลกใจ คือเส้นเกศาของหลวงตามหาบัวที่บรรจุในผะอบ เกิดเม็ดสีดำเล็ก ๆ จำนวนมาก มีลักษณะเป็นเงามันสวยงามระยิบระยับ ส่วนเกศานั้นไม่พบ ผู้เป็นเจ้าของได้เล่าว่าเกศาของหลวงตานี้ได้เก็บมานานนับ ๑๐ ปีแล้ว ซึ่งในขณะนั้นหลวงตาท่านยังไม่สูงวัยมากนัก ยังมีเส้นผมสีดำ หลังจากนั้น ปลายเดือนเมษายน ๒๕๕๑ ได้ไปดูแลหิ้งพระ ก็พบผะอบปรากฏลักษณะดังกล่าว
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>
    จากภาพ ผะอบที่บรรจุเกศาหลวงตามหาบัว ไม่ปรากฏเส้นเกศา แต่มีวัตถุลักษณะเป็นเม็ดเล็ก ๆ สีดำเป็นมันเงาสวยงาม​
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>เมื่อสำรวจดู พบว่าที่ก้นผะอบ จะมีเส้นเกศาเล็ก ๆ ปรากฏอยู่ และมีลักษณะสั้นลงกว่าเดิมประมาณ ๕-๖ ส่วน ภาพขยาย ๒๐๐ เท่า จะเห็นความมันเงาสวยงามคล้ายลักษณะของพระธาตุอย่างชัดเจน เป็นไปได้ว่า เส้นเกศาของท่านได้กลายเป็นพระธาตุ เช่นของครูบาอาจารย์บางองค์ที่เคยปรากฎ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 78 เอารูปเก่าๆมาให้ชมครับ

    สวัสดีทุกคนในกระทู้นะครับ

    ผมหายไป 1 เดือนเต็มๆ งานเรื่องการทำบุญนี้ก็ยกให้คุณเต้ยเป็นคนจัดการไปก่อน ที่รูปมาให้ชมเป็นภาพถ่ายเก่าๆที่ยังไม่เคยลงเพราะไม่ใช่กล้องของผมครับ กว่าจะทวงรูปได้ต้องใช้เวลาเกือบปี

    ตอนนี้ใครอยากมีส่วนร่วมในการจัดสร้างวัตถุมงคล ที่เป็นสถิติที่สร้างน้อยชิ้น เจตนาเพื่องานบุญกุศล มีพุทธคุณเต็มเปี่ยม ก็เชิญไดนะครับ อาจจะช่วยหามวลสาร หรือนำไปอธิษฐานพระเพิ่มเติม โดยติดต่อกับผมได้
    เพราะพระเครื่องปัจจุบันมีอยู่ดาษดื่นมากมาย ผมบอกตรงๆว่าส่วนใหญ่ผม "เฉยๆ" ประวัติต่างๆในหนังสือที่ลงโฆษณาพระอยากให้ทุกท่านหารกันซักนิดนะครับ

    อย่าง หลวงพ่อสาครท่านเล่าว่า ผงพรายกุมารหลวงปู่ทิมได้มาจากลิ้นเด็กตายคนเดียว(ลูกพรายอีส้ม) ความขลังอยู่ที่จิตตานุภาพของท่าน ที่ไปเอาผงพรายกุมารเพราะตามใจเหล่าลูกศิษย์ คนสมัยนี้ชอบของแปลกเฉยๆ ต่อมาประวัติดัดแปลงไปเป็นกะโหลกศรีษะเด็ก และผสมเท่าไหร่ก็ไม่รู้จักหมด เพราะแท้จริงแล้วผงพรายกุมารที่เป็นหัวเชื้อก็ผสมว่านและดินสอพองมาแล้ว จนได้ผงมาเป็นบาตร

    มาถึงรูปดีกว่าครับ

    [​IMG]

    หลวงปู่สำลี วัดถ้ำคูหาวารี ขณะกำลังอธิษฐานจิตพระรุ่นนี้ กับพระพุทธเมตตา พระในสายกรรมฐานเล่ากันว่า คุณธรรมท่านไม่ต่างกับอาจารย์ของท่านมากนัก(หลวงปู่หลุย วัดถ้ำผาบิ้ง) ไม่น่าเชื่อว่า ท่านเคยได้รับนิมนต์พุทธาภิเษกพระรุ่น 60 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่ปี 2537 เพราะทุกวันนี้ท่านก็ยังอยู่เงียบๆ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_8883.jpg
      IMG_8883.jpg
      ขนาดไฟล์:
      132.1 KB
      เปิดดู:
      1,300
    • IMG_8886.jpg
      IMG_8886.jpg
      ขนาดไฟล์:
      184.8 KB
      เปิดดู:
      1,428
    • IMG_8889.jpg
      IMG_8889.jpg
      ขนาดไฟล์:
      191.1 KB
      เปิดดู:
      2,522
    • IMG_8893.jpg
      IMG_8893.jpg
      ขนาดไฟล์:
      193 KB
      เปิดดู:
      2,915
  3. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    [​IMG]

    หลวงปู่บุญมา วัดป่าสีห์พนม มีคนเคยเห็นแสงในกุฎิท่านเป็นประจำ
     
  4. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    [​IMG]

    หลวงปู่ทองอินทร์ วัดกลางคลองสี่ ว่ากันว่าท่านเป็นพระพลังจิตสูง บารมีสามารถช่วยเหลือคนได้ เช่น แก้ผีเข้า ทำให้เด็กดื้อน้อยลง ดูดวง ผูกดวง หาของที่หาย ฯลฯ

    [​IMG]

    พระอาจารย์บัวพรรณ วัดป่าสันติสามัคคีธรรม ขอฤกษ์การอธิฐานจิตกับหลวงปู่ทองอินทร์ ซึ่งเป็นที่มาของฤกษ์การปลุกเกสล็อกเกตพระแก้วมรกตภูริทัตตเถรานุสรณ์ ที่วัดป่าสันติสามัคคีธรรม
     
  5. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    [​IMG]

    หลวงปู่ทองอินทร์ วัดกลางคลองสี่ ท่านเป็นศิษย์เอกของหลวงปู่ด๊วด
    สืบสายวิชามอญ
     
  6. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    หลวงปู่ดี วัดเทพากร ท่านเป็นศิษย์ของหลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน หลวงพ่อโปร่ง วัดท่าช้าง แต่สุดยอดอาจารย์ที่ท่านนับถือที่สุดคือ ครูบาพรหมา วัดพระพุทธบาทตากผ้า ศิษย์ที่ผ่านพระกรรมฐานอานาปานสติกับหลวงปู่พรหมา นั้นปัจจุบันเป็ฯพระเก่งและดีทุกรูป

    ท่านเป็นสหธรรมิกรุ่นพี่ของหลวงพ่อทรง วัดศาลาดิน
    [​IMG]
    หลวงปู่มองอักขระบนถุงอย่างตั้งใจ ลืมเล่าเรื่องถุงที่บรรจุล็อกเกตว่า ถุงนี้อาจารย์สุวัฒน์ พบร่มเย็นเป็นคนลงอักขระ โดยอาจารย์เบิ้มกับอาจารย์อนันต์ สหัสดิเสวี อดีตหัวหน้าช่างกรมศิลปากร ใช้ถุงนี้ในการบรรจุพระเข้าพิธีพุทธาภิเษกในวัดต่างๆ ทั้งวัดพระแก้ว วัดบวรฯ วัดสุทัศน์ วัดราชบพิธ รวมทั้งวัดวังวิเวการาม ที่อาจารย์เบิ้มมักจะทำหน้าที่พรามณ์เจ้าพิธีมามากกว่า 200 พิธีพุทธาภิเษก เสกเดี่ยวทั้งหลวงปู่สิม หลวงปู่คำพันธ์ หลวงปู่พรหมา ผาหินนางคอย ฯลฯ ตอนนี้ถุงก็ยังบรรจุพระรุ่นนี้อยู่ แค่ถุงก็ยังขลังเลย

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_8896.jpg
      IMG_8896.jpg
      ขนาดไฟล์:
      82 KB
      เปิดดู:
      1,244
    • IMG_8898.jpg
      IMG_8898.jpg
      ขนาดไฟล์:
      216.1 KB
      เปิดดู:
      1,177
  7. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    รูปต่อไปนี้ต้องขอบคุณคุณ wat.R หนึ่งในผู้ร่วมทำบุญล็อกเกตฉากทองนะครับ ที่ท่านได้นำล็อกเกตไปปลุกเสกที่อ่างทองให้ ระหว่างที่ผมติดสอบ โดยผมได้ขอให้ หลวงพ่อมี วัดม่วงคัน ท่านลงวิชามนต์พระสังข์(เรียกทรัพย์) ตำหรับหลวงพ่อนุ่ม วัดนางในให้ รวมทั้งขอหลวงพ่อเกลื่อน วัดรางฉนวน ท่านเดินจิตประจุพระจนบังเกิดดวงธรรมกาย ท่านอธิษฐานไปได้ประมาณ 10 นาที
    ท่านก็ว่า พอแล้วเนอะ มีดวง(ธรรมกาย)แล้วเนอะ

    คุณ wat.R สงสัยว่าหลวงปู่สำเร็จธรรมกายได้อย่างไร แต่เพียงคิดในใจเท่านั้น หลวงปู่ตอบให้ทันทีเลยว่า ตอนปี 2500 ท่านไปอยู่กับหลวงพ่อสด วัดปากน้ำตั้งหลายปี

    คุณ wat.R บอกว่าหลวงปู่ทุกองค์หลังจากเสกเสร็จท่านอนุโมทนาสาธุทุกองค์
    [​IMG]

    หลวงพ่อสม วัดโพธิ์ทอง คงไม่ต้องกล่าวถึงเพราะพี่ๆ รู้จักกันดีทุกคน

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_9264.jpg
      IMG_9264.jpg
      ขนาดไฟล์:
      246.5 KB
      เปิดดู:
      1,319
    • IMG_9265.jpg
      IMG_9265.jpg
      ขนาดไฟล์:
      196.7 KB
      เปิดดู:
      1,235
    • IMG_9274.jpg
      IMG_9274.jpg
      ขนาดไฟล์:
      252.2 KB
      เปิดดู:
      1,170
    • IMG_9275.jpg
      IMG_9275.jpg
      ขนาดไฟล์:
      215.9 KB
      เปิดดู:
      95
  8. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    อัพเดทวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2554


    ล็อกเกตพระแก้วมรกต ผ่านการพุทธาภิเษกแล้วดังนี้
    พิธีพุทธาภิเษก-เทวาภิเษก-มังคลาภิเษก
    1. พิธีพุทธาภิเษกพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอินทาราม วันที่ 15 พ.ย. 2552
    2. พิธีพุทธาภิเษก พญาวานร วัดบางพลีน้อย วันที่ 29 พ.ย. 2552
    3. พิธีพุทธาภิเษก วัดบางแคน้อย จ.สมุทรสงคราม วันที่ 6 ธ.ค. 2552
    4. พิธีพุทธาภิเษก วัดบวรสถานมงคล(อดีตวัดพระแก้ววังหน้า) วันที่ 19 ธ.ค. 2552
    5. พิธีเจริญพระพุทธมนต์ทำบุญครบรอบมรณภาพหลวงปู่หลุย จันทสาโร วันที่ 19 ธ.ค. 2552
    6. พิธีมหาพุทธาเษก "โครงการสร้างพระในใจ เทิดไท้องค์ราชันย์" วัดโฆสมังคลาราม จ.นครพนม วันที่ 26-28 ธ.ค. 2552
    7. พิธีสวดสักขีและเจริญพระพุทธมนต์จากพระสุปฏิปันโนสายวัดป่ากรรมฐาน 92 รูป วัดธรรมมงคล วันที่ 10 มกราคม 2553 (ด้วยความกรุณาอย่างหาที่สุดไม่ได้ของท่านพระอาจารย์ไม อินทสิริ ถือนำเข้าพิธี)
    8. พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลจัดสร้างโดยโรงพยาบาลภูมิพล ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2553
    9. พิธีสมโภชน์และพุทธาภิเษกหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ณ วัดแคราชานุวาส จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2553
    10. พิธีพุทธาภิเษก ที่วัดมหาวัน จังหวัดลำพูน ในวิหารโยงสายสิญจน์จากหน้าพระสิกขี(แม่พระรอด) วันที่ 26 มีนาคม 2553
    11. พิธีพุทธาภิเษกล็อกเกตพระแก้วมรกตภูริทัตตเถรานุสรณ์ วัดป่าสันติสามัคคีธรรม จังหวัดสุรินทร์ วันที่ 4 เมษายน 2553 พระเถราจารย์ที่เข้าร่วมพิธี

    - หลวงปู่ใสย ปัญญพโล วัดเขาถ้ำตำบล ประธานจุดเทียนชัย
    - หลวงตาเอียน วัดป่าโคกม่อน อริยเจ้าผู้เร้นกาย พระอาจารย์ของพระอาจารย์วัน อุตตโม ดับเทียนชัย
    - หลวงพ่อคูณ สุเมโธ วัดป่าภูทอง จ.อุดรธานี
    - พระอาจารย์ไม อินทสิริ
    - พระอาจารย์อุทัย วัดภูย่าอู่
    - หลวงปู่บุญมา วัดถ้ำโพงพาง จ.ชุมพร
    - พระอาจารย์แดง วัดลุมพินี จ.พังงา
    - หลวงปู่สุมโน วัดถ้ำสองตา
    - พระอธิการใจ วัดพระยาญาติ
    - หลวงปู่บุญมี วัดถ้ำเต่า
    ฯลฯ
    12. พิธีหล่อพระอัครสาวกและพระอรหันตสาวก วัดเขาวง(ถ้ำนารายณ์) อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี วันที่ 1 พ.ค. 2553 (เข้าพิธีเฉพาะพระปิดตาที่อุดหลัง)
    13. พิธีเจริญพระพุทธมนต์ในงานประจำปีของชมรมรักษ์พระธาตุแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ วันที่ 15 พฤษภาคม 2553
    14. พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลของวัดตาลเอน(วัดสาขาของวัดอัมพวัน สิงห์บุรี) จ.พระนครศรีอยุธยา วันที่ 20 ตุลาคม 2553
    15. พิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งชินบัญชรเพ็ชรกลับเหนือโลกและเหรียญหล่ออจิณไตย หลวงปู่ละมัย ฐิตมโน ณ คณะเวฬุวัน อ.พยุห์ จ.ศรีษะเกษ วันที่ 6 พ.ย. 2553
    16. พิธีพุทธาภิเษกพระปิดตาเมตตามหาลาภ วัดทุ่งเศรษฐี วันที่ 21 พ.ย. 2553(วันลอยกระทง)
    พระพรหมสุธี วัดสระเกศ ประธานจุดเทียนชัย
    เจริญจิตตภาวนาโดย
    พ่อท่านเลิบ วัดทองตุ่มน้อย จ.ชุมพร
    หลวงปู่ครูบาสิงโต วัดดอยแก้ว จ.เชียงใหม่
    หลวงพ่อนพวรรณ วัดเสนานิมิต จ.อยุธยา
    ครูบาคำเป็ง อาศรมสุขาวดี จ.กำแพงเพชร
    หลวงพ่อทอง วัดไร่กล้วย จ.ชลบุรี
    หลวงพ่อพูนทรัพย์ วัดอ่างศิลา จ.ชลบุรี
    หลวงปู่ปั้น วัดนาดี จ.สระบุรี
    หลวงพ่อเหลือ วัดขอนชะโงก จ.สระบุรี
    หลวงพ่อบุญ วัดทุ่งเหียง จ.ชลบุรี
    หลวงพ่อเจริญ วัดเกาะอุทการาม จ.นครราชสีมา
    พระครูคัมภีร์ปัญญาวิกรม วัดอรุณฯ กรุงเทพฯ
    พระครูญาณวิรัช วัดตะกล่ำ กรุงเทพฯ
    หลวงพ่อชวน วัดบ้านบึงเก่า จ.บุรีรัมย์
    พระมหาเนื่อง วัดราษฎร์บำรุง จ.ชลบุรี
    หลวงพ่อเณร ญาณวินโย วัดทุ่งเศรษฐี กรุงเทพฯ

    17. พิธีพุทธาภิเษกพระพุทธรูป ณ เทศบาลตำบลสำโรงเหนือ วันที่ 4 ธันวาคม 2553 (หลวงพ่อชาญ วัดบางบ่อ จุดเทียนชัย หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร ดับเทียนชัย)

    18. พิธีสวดบูชานพเคราะห์และพุทธาภิเษกท้าวเวสสุวรรณ ณ วัดจุฬามณี ต.บางช้าง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม วันที่ 26 ธันวาคม 2553 พระเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมพิธี

    ๑. หลวงปู่คง วัดเขากลิ้ง จ.เพชรบุรี
    ๒. หลวงพ่อชุบ วัดวังกระแจะ จ.กาญจนบุรี
    ๓. หลวงปู่ยวง วัดโพธิ์ศรี จ.ราชบุรี
    ๔. หลวงพ่ออุดม วัดประทุมคณาวาส จ.สมุทรสงคราม
    ๕. หลวงพ่ออวยพร วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
    ๖. หลวงพ่อไพศาล วัดทรงธรรมวรวิหาร จ.สมุทรปราการ
    ๗. หลวงพ่อผล วัดหนองแขม จ.เพชรบุรี
    ๘. หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง จ.ปทุมธานี
    ๙. หลวงพ่อสิริ สิริวฒฺฑโน
    ๑๐. หลวงพ่อเมียน จ.บุรีรัมย์
    ๑๑. หลวงพ่ออิฏฐ์ วัดจุฬามณี


    19. พิธีพุทธาภิเษกเหรียญครบรอบอายุ 93 ปี หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ วันที่ 12-13 มกราคม 2554





    พิธีปลุกเสก/อธิษฐานจิตเดี่ยว
    เรียงตามวาระดังนี้
    1. หลวงพ่อยวง วัดหน้าต่างใน
    2. หลวงพ่อแม้น วัดหน้าต่างนอก
    3. หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว(3 วาระ)
    4. หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน
    5. หลวงปู่เก๋ วัดปากน้ำ
    6. หลวงพ่อวิชัย วัดถ้ำผาจม(2 วาระ)
    7. หลวงปู่คำบ่อ วัดใหม่บ้านตาล(2 วาระ)
    8. พระราชวรคุณ(สมศักดิ์) วัดบูรพาราม
    9. หลวงปู่แปลง วัดป่าอุดมสมพร(2 วาระ)
    10. หลวงปู่เณรคำ(พระวิรพล) ขันติโก
    11. หลวงปู่สุมโน วัดถ้ำสองตา(2 วาระ)
    12. หลวงปู่เนย สมจิตโต วัดโนนแสนคำ
    13. หลวงปู่ผ่าน ปัญญาทีโป
    14. พระอาจารย์เจริญ วัดโนนสว่าง
    15. ครูบาดวงดี ยติโก วัดบ้านฟ่อน(2 วาระ)
    16. ครูบาจันทร์แก้ว คันธสีโล วัดศรีสว่าง (2 วาระ)
    17. ครูบาสาย วัดร้องขุด
    18. หลวงปู่ดี วัดเทพากร(2 วาระ)
    19. หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ สุสานทุ่งมน
    20. พ่อท่านหวาน วัดสะบ้าย้อย
    21. พระอาจารยไพบูลย์ สุมังคโร วัดอนาลโย(2 วาระ)
    22. หลวงปู่บุญมา วัดป่าสีห์พนม (4 วาระ)
    23. พระอาจารย์คูณ สุเมโธ วัดป่าภูทอง(5 วาระ)
    24. หลวงพ่อเปรื่อง วัดบางจาก
    25. หลวงปู่โปร่ง วัดตำหนักเหนือ
    26. หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต สวนอาหารสวนทิพย์
    27. หลวงพ่ออ้อน วัดบางตะไนย์
    28. หลวงพ่อสินธุ์ วัดสะพานสูง
    29. หลวงตาวาสน์ วัดสะพานสูง
    30. หลวงปู่อุดม ญาณรโต วัดป่าสถิตธรรมวนาราม
    31. หลวงพ่อพระมหาวิบูลย์ วัดโพธิคุณ
    32. พระอาจารย์ประกอบบุญ วัดมหาวัน
    33. หลวงปู่นาม วัดน้อยชมภู่(3 วาระ)
    34. หลวงปู่น่วม วัดโพธิ์ศรีเจริญ
    35. หลวงพ่อมนตรี วัดป่าวิสุทธิธรรม จังหวัดตราด
    36. หลวงปู่เกลี้ยง วัดเนินสุทธาวาส(2 วาระ)
    37. หลวงตาแตงอ่อน วัดป่าโชคไพศาล(2 วาระ)
    38. หลวงปู่วิไล วัดถ้ำพญาช้างเผือก(4 วาระ)
    39. พระอาจารย์สมหมาย วัดสันติกมลาวาส
    40. หลวงปู่สรวง วัดศรีฐานใน จ.ยโสธร( 2 วาระ)
    41. พระอาจารย์ทองพูล สิริกาโม วัดภูกระแต จ.บึงกาฬ
    42. หลวงปู่สำลี วัดถ้ำคูหาวารี(2 วาระ)
    43.พระอาจารย์อุทัย วัดถ้ำภูวัว
    44. หลวงพ่อปริ่ง วัดโพธิ์คอย
    45. พระอาจารย์ประสิทธิ์ วัดโฆสมังคลาราม
    46. หลวงปู่ครูบาตั๋น ปัญโญ ที่พักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น จังหวัดเชียงใหม่(2 วาระ)
    47. ครูบาอินถา วัดอินทราพิบูลย์
    48. ครูบาบุญมา วัดศิริชัยนิมิตร
    49. ครูบาบุญเป็ง วัดทุ่งปูน
    50. ครูบาสิงห์แก้ว วัดปางกอง
    51. ครูบากฤษดา วัดสันพระเจ้าแดง
    52. หลวงปู่บุญมา ข้างวิหารพระเจ้าเก้าตื้อ วัดสวนดอก
    53. พระอุดมญาณโมลี(จันทร์ศรี) วัดโพธิสมภรณ์(อายุ 100 ปี)
    54. พระอาจารย์สมบูรณ์ วัดป่าสมบูรณ์ธรรม
    55. หลวงปู่อ่ำ ธุดงคสถานสันติวรญาณ เพชรบูรณ์
    56. พระอาจารย์ไม อินทสิริ วัดหนองช้างคาว(3 วาระ)
    57. หลวงพ่อวิโรจน์ สำนักสงฆ์ดอยปุย
    58. หลวงปู่ประสาร สุมโน วัดป่าหนองไคร้(2 วาระ)
    59. หลวงปู่ลี ถาวโร วัดป่าหนองทับเรือ(3 วาระ)
    60. พระเทพเจติยาจารย์(วิริยังค์) วัดธรรมมงคล
    61. หลวงปู่บุญพิน กตปุญโญ วัดผาเทพนิมิต
    62. หลวงพ่อสวัสดิ์ วัดศาลาปูนวรวิหาร
    63. หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม (ปลุกเสกขณะเกิดสุริยุปราคาเมื่อวันที่ 15 มกราคม)
    64. หลวงพ่อวงศ์ สุภาจาโร วัดคำพระองค์ กิ่ง อ.เฝ้าไร่ หนองคาย(2 วาระ)
    65. หลวงปู่ทองอินทร์ วัดกลางคลองสี่
    66. หลวงปู่บุญ โสณโภ วัดทุ่งเหียง ชลบุรี
    67. พระครูวิจิตรธรรมารัตน์ วัดนามะตูม จังหวัดชลบุรี
    68. หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี
    69. หลวงพ่อฉาบ วัดศรีสาคร
    70. หลวงพ่อเอิบ วัดซุ้มกระต่าย (หนองหม้อแกง) จ.ชัยนาท
    71. หลวงพ่อพร้า วัดโคกดอกไม้
    72. หลวงพ่อแป๋ว วัดดาวเรือง
    73. หลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน วัดป่าโสตถิผล
    74. พ่อท่านเอื้อม กตปุญโญ วัดบางเนียน จังหวัดนครศรีธรรมราช(อายุ 105 ปี)
    75. หลวงพ่อจำลอง วัดเจดีย์แดง
    76. พ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ จังหวัดปัตตานี
    77. หลวงปู่เยี่ยม(ศรีโรจน์) วัดประดู่ทรงธรรม<!-- google_ad_section_end --> จ.อยุธยา(2 วาระ)
    78. ครูบาข่าย วัดหมูเปิ้ง ลำพูน
    79. ครูบาสุข วัดป่าซางน้อย ลำพูน
    80. ครูบาอุ่น วัดโรงวัว เชียงใหม่
    81. ครูบาบุญทา วัดเจดีย์สามยอด จ.ลำพูน
    82. ครูบาศรีวัย วัดหนองเงือก จ.ลำพูน
    83. หลวงพ่อผาด วัดบ้านกรวด จ.บุรีรัมย์(2 วาระ) (อายุ 100 ปี)
    84. หลวงพ่อพูลทรัพย์ วัดอ่างศิลา ชลบุรี
    85. หลวงปู่ใสย วัดเขาถ้ำตำบล ลพบุรี
    86. พระอาจารย์เจริญ วัดถ้ำปากเปียง เชียงใหม่(2 วาระ)
    87. พระอาจารย์อุทัย วัดภูย่าอู่ อุดรธานี(2 วาระ)
    88. หลวงพ่อบุญลือ วัดคำหยาด จ. อ่างทอง(2 วาระ)
    89. หลวงปู่ผาด วัดไร่้ จ.อ่างทอง
    90. หลวงพ่อเสียน วัดมะนาวหวาน จ.อ่างทอง(2 วาระ)
    91. หลวงปู่เปรี่ยม วัดบ้านคลองทรายเหนือ จ.สระแก้ว
    92. หลวงพ่อเณร วัดทุ่งเศรษฐี
    93. หลวงปู่ครูบาสิงห์โต วัดดอยแก้ว
    94. ครูบาเลิศ วัดทุ่งม่านใต้ ลำปาง
    95. ครูบาบุญมา วัดบ้านสา ลำปาง
    96. หลวงปู่ภัททันตะอาสภะมหาเถระอัครบัณฑิต วัดท่ามะโอ
    97. พระอาจารย์พรสิทธิ์ วัดสว่างอารมณ์<!-- google_ad_section_end -->
    98. หลวงพ่อสิน วัดละหารใหญ่ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง
    99. หลวงตาวรงคต วิริยธโร วัดถ้ำเมืองนะ จ.เชียงใหม่(อธิษฐานเฉพาะพระปิดตาที่ใช้อุดหลังล็อกเกต)
    100. หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี (2 วาระ)
    101. หลวงปู่อ่อง วัดสิงหาร จ.อุบลราชธานี<!-- google_ad_section_end -->
    102. หลวงพ่อแก่ วัดกล้วย พระนครศรีอยุธยา
    103. หลวงปู่ศรี วัดหน้าพระลาน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี
    104. หลวงพ่อผอง วัดพรหมยาม อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์
    105. หลวงปู่ละมัย ฐิตมโน สวนป่าสมุนไพร อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์(ไม่ทราบพรรษาแน่ชัด)
    106. หลวงปู่ปัญญา ปัญญาธโร วัดหนองผักหนามราษฎร์บำรุง อ.หนองใหญ่ จ. ชลบุรี (อายุ 106 ปี)
    107. หลวงปู่เรือง อาภัสโร ปูชนียสถานธรรมเขาสามยอด อ.เมือง จ.ลพบุรี
    108. หลวงพ่อสารันต์ วัดดงน้อย อ.เมือง จ.ลพบุรี<!-- google_ad_section_end -->
    109. หลวงพ่อชาญ วัดบางบ่อ อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ
    110. พระครูปัญญาวราภรณ์(สมภาร) วัดป่าวิเวกพัฒนาราม อ.พรเจริญ หนองคาย
    111. พระครูธรรมสรคุณ (เขียน) วัดกระทิง อ.เขาคิชฌกูฎ จ.จันทบุรี
    112. พระญาณวิศิษฎ์(ทอง) วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
    113. พระครูอุดมภาวนาจารย์(ทองสุก) วัดอนาลโยพิทยาราม อ.เมือง จ.พะเยา
    114. พระราชภาวนาพินิจน์(สนธิ์) วัดพุทธบูชา เขตบางมด กรุงเทพฯ
    115. หลวงพ่อทองคำ กาญจวัณโณ วัดถ้ำบูชา อ.เซกา จ.หนองคาย
    116. พระครูอุดมวีรวัฒน์ (คูณ) วัดอุดมวารี อ.พาน จ.เชียงราย
    117. พระครูปัญญาธรรมวัฒน์ (อินทร) วัดสันป่ายางหลวง อ.เมือง จ.ลำพูน
    118. พระครูสุนธรธรรมโฆษิต(หลวงเตี่ยสุรเสียง) วัดป่าเลิงจาน อ.เมือง จ.มหาสารคาม
    119. หลวงพ่อบุญส่ง วัดทรงเมตตาราม อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
    120. พระอาจารย์เกษมสุข วัดประดู่ธรรมาธิปัตย์ เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ
    121. หลวงปู่เชิญ เทพนภา จ.สิงห์บุรี<!-- google_ad_section_end -->
    122. พระครูภาวนาวิรัชคุณ(คง) วัดเขากลิ้ง อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี
    123. หลวงพ่อผล วัดหนองแขม จ.เพชรบุรี
    124. หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง อ.บางกระดี่ จ.ปทุมธานี
    125. หลวงพ่อยวง วัดโพธิ์ศรี อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี
    <!-- google_ad_section_end -->126. หลวงปู่มหาเจิม วัดสระมงคล จ.นครปฐม
    127. หลวงปู่พุทธา พุทธจิตโต วัดป่าหนองยาว
    128. หลวงตาเก่ง ธนวโร วัดบ้านนาแก
    129. หลวงพ่อบุญรัตน์ วัดโขงขาว อ.หางดง จ.เชียงใหม่
    130. ครูบาอินตา วัดศาลา อ.หางดง จ.เชียงใหม่
    131. หลวงปู่ท่อน วัดศรีอภัยวัน จ.เลย<!-- google_ad_section_end -->
    132. หลวงปู่สิริ อคฺคสิริ วัดละหาร อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
    133. พระครูพิพิธชลธรรม (หลวงปู่หลาย) วัดนาจอมเทียน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
    134. พระครูสันติธรรมาภิรม(อ่อน รัตนวัณโณ)วัดสันต้นหวีด อ.เมือง จ.พะเยา
    135. พระครูอดุลปุญญาภิรม(ผัด) วัดหัวฝาย อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย
    136. หลวงปู่ครูบาครอง ขัตติโย สำนักสงฆ์ท่าอุดม อ.เถิน จ.ลำปาง
    137. หลวงพ่อมหาสิงห์ วิสุทโธ วัดถ้ำป่าไผ่ อ.ลี้ จ.ลำพูน
    138. พระครูธรรมธรเล็ก วัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
    139. หลวงปู่หลุย วัดราชโยธา เขตสะพานสูง กรุงเทพฯ<!-- google_ad_section_end -->
    140. พระวิมลศีลาจาร (อำนวย ภูริสุนฺทโร) วัดบรมนิวาส เขตราชเทวี กรุงเทพฯ
    141. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์(มานิตย์) วัดสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ
    142. พระราชพิพัฒนาทร (ถาวร) วัดปทุมวนาราม เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
    143. หลวงพ่อสิริ สิริวัฒโน อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี
    144. หลวงปู่บู่ กิติญาโณ วัดสุมังคลาราม อ.เมือง จ.สกลนคร(ไม่ทราบพรรษาแน่ชัด)
    145. หลวงปู่สุธัมม์ ธัมมปาโล วัดเทพกัญญาราม อ.เมือง จ.สกลนคร
    146. พระครูโสภณสิริธรรม(สม) วัดโพธิ์ทอง อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง
    147. พระครูนิพัธธรรมรัต(เกลื่อน) วัดรางฉนวน อ.แสวงหา จ.อ่างทอง
    148. พระครูสิริบุญเขต(มี) วัดม่วงคัน อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง
    149. พ่อท่านเกลื่อน วัดประดู่หมู๋ (อายุ 104 ปี)
    150. พ่อท่านแก้ว วัดสะพานไม้แก่น (อายุ 100 ปี)
    151. พ่อท่านแสง วัดศิลาลอย
    152. พ่อท่านพรหม วัดพลานุภาพ
    153. พระอาจารย์ภัทร อริโย วัดนาทวี อ.นาทวี จ.สงขลา

    รายนามใหม่นี้ผมได้เพิ่มอายุของพระเกจิอาจารย์ที่มีอายุเกิน 100 ปี เพราะถือว่าอายุนี้คงสะสมบารมีมาอย่างแก่กล้าแล้ว <!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กุมภาพันธ์ 2011
  9. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 83 หลวงปู่บู่ กิติญาโณ

    [​IMG]
    ประวัติหลวงปู่บู่ กิตฺติญาโณ

    วัดสุมังคลาราม บ้านพังขว้างกลาง ต.พังขว้าง อ.เมือง จ.สกลนคร

    ตามข้อมูลที่คนเฒ่าคนแก่ ได้เล่าให้ฟังในเรื่องประวัติของหลวงปู่บู่ได้บอกว่า เป็นคนชาติลาวมาแต่กำเนิดได้มาอาศัยในแผ่นดินไทยเมื่อไหร่นั้นไม่ปรากฏชัดเจน การอ่านเขียนหนังสือนั้นไม่ค่อยเก่ง เพราะท่านมุ่งปฏิบัติดูจิตอย่างเดียว มีแต่คนเฒ่าคนแก่มีอายุ 70-80 ปี ได้เล่าให้ฟังว่าเคยเห็นท่านเมื่อตอนหนุ่มๆ เป็นอยู่อย่างไรทุกวันนี้ก็เป็นอย่างนี้ ไม่เห็นท่านแก่เลย ยังคงมีสุขภาพแข็งแรง ทุกวันนี้หน้าตาท่านสดใส มีประกายรัศมีเปล่งปลั่ง เมื่อมองดูใบหน้าก็บงบอกของผู้มีคุณธรรมสูงในจิต ที่รักษากายไม่ให้แก่ การออกบวชของหลวงปู่นั้นทราบจากพระครูสุวรรณสิริชัย เจ้าคณะพังขว้างเล่าว่า ท่านออกบวช 2 ครั้งแล้ว ครั้งแรกไม่ทราบ ครั้งที่ 2 บวชเมื่อปี พ.ศ. 2524 ถ้าจะไปถามเอาข้อมูลประวัติจากท่านไม่ได้อะไรดอก มีคนไปถามอายุหลวงปู่ ว่าหลวงปู่อายุกี่ปีแล้ว บวช มากี่พรรษาแล้วท่านก็จะตอบเท่าไหร่ตามแต่ท่านจะตอบหรือไม่สนใจตอบไปเลยก็มี ก็เลยไม่ทราบข้อมูลแน่ชัดเพราะหลวงปู่ท่านไม่ยึดติดกับอายุที่เป็นเพียง สมมุติตัวเลขท่านอยู่กับปัจจุบันดีกว่าดูๆไปท่านเหมือนหลวงปู่สรวง เทวดาเล่นดิน แห่งเมืองศรีสะเกษที่ไม่ทราบอายุเท่าไหร่กันแน่ ทุกวันนี้ท่านยังออกรับบิณฑบาตโยมทุกวันตามปกติ สุขภาพร่างกายแข็งแรงเดินจงกรมได้สะดวก และหลวงปู่ไม่คอยอาบน้ำ(สรง)เลย แต่แปลกที่ผิวพรรณของท่านยังเปล่งปลั่งอยู่เลย แสดงให้เห็นธรรมในจิตที่มีแต่ปิติสุข รักษากายไม่ให้แก่ ไม่เหมือนชาวบ้านทั่วไปชาวบ้านเหล่าว่าเวลาท่านจะอาบน้ำ(สรง) ก็ต่อเมื่อฝนตกลงมาเท่านั้น เมื่อ ใดฝนตกท่านจะเดินอาบน้ำจากธรรมชาติคนเดียวของท่านอย่างไม่สนใจใคร อีกอย่างหนึ่งโดยปกติหลวงปู่ท่านไม่ค่อยพูด อยู่เฉยๆ ที่กุฏิไม่ยุ่งวุ่นวายกับใครๆ มาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้วฉะนั้นประวัติหรืออายุของหลวงปู่บู่ จึงไม่ทราบชัดได้ชาวบ้านบางคนก็ว่า 80 ปีบ้าง 90 ปีบ้าง 100 ปีบ้าง ก็เลยไม่รู้จะเชื่อใครดี แม้ไปถามหลวงปู่ท่านก็ไม่บอก



    อภิญญา ปาฏิหาริย์ของหลวงปู่บู่

    เรื่องราวปาฏิหาริย์ของหลวงปู่บู่นั้นมีมากมาย แต่จะนำมาเล่าสู่ฟังบางเรื่อง ซึ่งเป็นการเล่าจากชาวบ้านที่ได้สัมผัสกับหลวงปู่บู่ล้วนไม่ธรรมดา น่าอัศจรรย์ใจ เช่น มี โยมคนหนึ่งเล่าว่า ได้ไปนิมนต์หลวงปู่บู่ไปฉันเพลที่บ้านมีงานบุญพอหลวงปู่รีบนิมนต์ก็บอกให้ โยมเดินทางไปก่อนเดี๋ยวจะตามไปทีหลังโยมก็รีบเดินกลับบ้านมาเตรียมข้าวปลา อาหารพอโยมคนนั้นมาถึงบ้านก็ต้องตกตลึงสุดขีด เมื่อสายตามองไปเห็นหลวงปู่บู่นั่งอยู่บนอาสนะสงฆ์เรียบร้อยแล้ว นับเป็นสิ่งอัศจรรย์ใจแกโยมเจ้าภาพอย่างมากทั้งที่ตัวเองก็รีบเดินไม่ได้แวะ ที่ไหนเลย แถมตอนนั้นหลวงปูยังไม่ได้ห่มจีวรเลยเกิดคำถามในใจตัวโยมว่า “แล้วหลวงปู่มาถึงก่อนเราได้อย่างไรหรือว่าหลวงปู่หายตัวได้กันแน่” เพราะถึงรีบเดินอย่างไรก็ไม่น่าถึงก่อนนับเป็นเรื่องน่าแปลกประหลาด

    พระครูสุวรรณสิริชัย เจ้าคณะตำบลพังขว้างเล่าว่า ครั้ง หนึ่งท่านเคยชวนหลวงปู่บู่ไปกราบนมัสการพระธาตุพนมไปโดยนั่งรถไปแต่หลวงปู่ บอกให้นั่งรถไปก่อนถ้ารีบเดี๋ยวท่านจะเดินไปเองพอพระครูสุวรรณสิริชัยนั่งรถ ไปถึงพระธาตุนครพนนมต้องตลึง เมื่อเห็นหลวงปู่บู่รออยู่ที่ พระธาตุนครพนมก่อนแล้ว เกิดคำถามว่าหลวงปู่มาถึงก่อนได้อย่างไรทั้งที่เดินเท้าเปล่าแต่กลับมาถึง ก่อนนั่งรถ และอีกครั้งหนึ่งพระครูสุวรรณสิริชัยเล่าว่า ท่านหยอกล้อเล่นกับหลวงปู่บู่โดยการสาดน้ำใส่หลวงปู่บู่แต่พอหลวงปู่บู่เอา มือปัดน้ำเท่านั้น น้ำที่สาดใส่ไม่เปียกตัวหลวงปู่บู่สักหยดเดียวเลย นับได้ว่าเป็นปาฏิหาริย์ซึ่งไม่ธรรมดา สร้าง ความอัศจรรย์ใจให้กับพระครูสุวรรณสิริชัยเจ้าคณะตำบลพังขว้างอย่างไม่น่า เชื่อท่านบอกว่าถ้าไม่เจอกับตัวเองจะไม่เจอใคร่ง่ายๆ แต่นี้เจอกับตัวเอง จึงว่าหลวงปู่บู่ไม่ธรรมดา เรื่องต่อมา ชาว บ้านเล่าว่ามีขโมยขึ้นกุฏิหลวงปู่บู่ เพื่อลักขโมยข้าวของในกุฏิ พอขโมยขึ้นมาบนกุฏิก็ค้นหาย่ามที่ใส่ปัจจัยที่หลวงปู่เก็บไว้ในย่ามเพื่อจะ ขโมยเอาเงินไป เมื่อขโมยล้วงมือลงไปในย่ามต้องตกใจสะดุ้งกลัวสุดขีดเมื่อในย่ามนั้นกลับ กลายเป็นงูทำธารตัวใหญ่นอนขดอยู่ในย่ามใบนั้น ทำให้ขโมยต้องทิ้งย่ามใบนั้นวิ่งหนีไปอย่างไม่ได้อะไรเลย แสดงให้เห็นว่าหลวงปู่ท่านไม่ธรรมดาเสกงูเฝ้าย่ามได้

    เรื่อง ต่อมาเกี่ยวกับไม้เท้าของหลวงปู่บู่ เวลาท่านจะออกไปนอกวัดหรือไปบิณฑบาตหลวงปู่จะเอาไม้เท้าซ่อนเอาไว้พุ่มไม้ ข้างทางเคยมีคนแอบจะไปขโมยเอาไม้เท้าหลวงปู่ที่ซ่อนเอาไว้แต่หาจนทั่วพุ่ม ไม้หาอย่างไรก็หาไม่เจอแต่พอหลวงปู่กลับมาแล้วเข้าไปหยิบเอาไม้เท้าออกมาจาก พุ่มไม้นั้นอย่างสะดวกสบาย สร้างความประหลาดใจให้กับคนที่คอยขโมยไม้เท้าหลวงปู่บู่ยิ่งนัก และ อีกหลายๆเรื่องเกี่ยวกับปาฏิหาริย์ เช่น โยมที่จังหวัดอุดรธานี เห็นท่านไปบิณฑบาตที่อุดรธานี และได้ใส่บาตรหลวงปู่ ทั้งที่ตัวหลวงปู่เองก็อยู่ที่วัดไม่ได้ไปไหนเลย บางคนเห็น หลวงปู่ไปบิณฑบาตที่ประเทศลาวหรือว่าบางคนไปขอถ่ายภาพหลวงปู่ ถ่ายอย่างไรก็ไม่ติดหรือถ่ายติดเมื่อกลับไปล้างภาพไม่มีภาพอะไรว่างเปล่า บางครั้งกล้องไม่ทำงานเอาดื้อๆ ถ้าหลวงปู่ไม่อนุญาตนับได้ว่าเป็นปาฏิหาริย์ของหลวงปู่บู่ เป็นพระอีกรูปหนึ่งที่ไม่ธรรมดาหาได้ยากในยุคกึ่งพุทธกาลนี้ ชาวบ้านเล่าว่าวันหนึ่งๆ หลวงปู่ไม่ได้ไปไหนเลยตั้งแต่มาอยู่ที่วัดคลาราม ท่านไม่ไปไหนและหลวงปู่ท่านไม่ชอบแสดงตัวโอ้อวดว่าท่านดีอย่างนั้นอย่างนี้กับใครต่อใคร นอกจากจะได้สัมผัสกับหลวงปู่เอง และเรื่องเล่าทุกเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องเล่าจากปากชาวบ้านที่ได้สัมผัสจากตัวเองทั้งนั้น ไม่ใช่เรื่องจากปากท่านเลย

    การเป็นผู้อยู่อย่างเหนือโลก

    หลวงปู่บู่เป็นพระที่สมควรได้คำว่า “ โลกอุดร” ถึงน่าจะเหมาะสมกับการเป็นอยู่ของหลวงปู่จริงๆ ซึ่งเหมือนกับปฏิปทาของหลวงปู่สรวง เทวดาเล่นดิน เหมือนแกะจากพิมพ์เดียวกัน การเป็นอยู่ของหลวงปู่บู่ อยู่อย่างเรียบง่ายทำตามได้ยาก เป็นพระที่มักน้อยจริงๆ สันโดษก็สันโดษจริงๆ กุฏิที่หลวงปู่อยู่จำวัดก็พังแหล่ไม่พังแหล่ เก่าสุดเก่า ถึงแม้จะมีศรัทธามาสร้างกุฏิถวายหลวงปู่หลังใหม่ก็ตาม หลวงปู่ไม่ได้ยินในลาภ ยังคงจำวัดในกุฏิเก่าๆ หลังเดิม เห็นแล้วทำตามหลวงปู่ได้ยากจริงๆ จีวรห่มก็เก่าๆ การเป็นอยู่หลับนอนก็เปลใต้ต้นมะม่วง บางครั้งก็ขึ้นไปนอนบนต้นมะม่วง การนอนของหลวงปู่จะนอนในท่าสีหะไสยาศตลอด บางวันอากาศร้อนๆหลวงปู่บู่ก็ลุกขึ้นมาก่อไฟผิง ไม่สนใจใคร ฝนตกก็เดินตากฝน หน้าหนาวหลวงปู่ก็เดินตากอากาศหนาว อย่างไม่กลัวความหนาว นับได้ว่าเป็นการอยู่ที่เป็นไปเพื่อการปล่อยวางในโลกกรรมอย่างแท้จริง โดยหลวงปู่ไม่ยินดียินร้ายในคำสรรเสริญ ยกย่อง คำนินทา ใครจะด่าว่าร้ายหลวงปู่ก็ช่าง จะมีลาภหรือไม่มีลาภ หลวงปู่ก็ไม่หวั่นไหว ใครจะมียศมีตำแหน่งหลวงปู่ก็นิ่งเฉย โลกใบนี้มันจะสุขหรือจะทุกข์มันก็เป็นมาอย่างนี้ตั้งแต่ไหนแต่ไร





    ให้โชคให้ลาภแม่น

    มีชาวบ้านเล่าว่าหลวงปู่ให้ปริศนาตัวเลขแม่นและมีครูบาอาจารย์รูปหนึ่งท่านบอกว่ามีโอกาส มาแถวนี้อย่าลืมไปกราบหลวงปู่บู่ วัดสุมังคลารามนะ เมื่อมีโอกาสเลยไปกราบหลวงปู่ และได้ถามหลวงปู่บู่เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2552 ที่ผ่านมาว่า “หลวงปู่อายุเท่าไหร่แล้ว” หลวงปู่ตอบว่า “ สิบหนึ่ง” พอได้ฟังก็งงๆ อยู่เหมือนกัน

    หลวงปู่ อายุปูนนี้แล้วจะมีอายุแค่สิบเอ็ดปีเป็นไปไม่ได้แน่ พอวันที่ 2 พ.ค. 52 หวยออก 2 ตัวล่าง 11 ตรงๆ และเมื่ออีกอาทิตย์หนึ่งถัดมาก็ได้ไปกราบหลวงปู่อีกครั้ง ก็เลยถามหลวงปู่อีกว่าหลวงปู่บวชมากี่พรรษาแล้ว หลวงปู่ตอบว่า “สิบหนึ่ง” เพราะดูตามความจริงหลวงปู่น่าจะเป็นพระมหาเถระแล้ว คงบวชมาไม่ต่ำกว่า 40 พรรษาอย่างแน่นอน พอมาวันที่ 16 พ.ค. 52 หวยออกเลขท้ายสามตัวบนออก 411 ทำให้หายสงสัยในหลวงปู่ทันที ใน ความมีเมตตาของหลวงปู่ ซึ่งการให้โชคให้ลาภนี้ หลวงปู่บู่จึงคล้ายกันกับหลวงปู่สรวง ที่ให้โชคให้ลาภแม่นมากแสดงว่าหลวงปู่บู่ไม่ธรรมดาจริงใครอยากไปสัมผัสกับ ตัวเองก็ขอเชิญเมื่อมีโอกาสแวะไปได้ที่วัดสุมังคลาราม ต. พังขวาง อ.เมือง จ. สกลนคร ของดีอยู่ใกล้ๆ แค่นี้เอง



    หลวงปู่เป็นพระอรหันต์

    เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2552 มี คณะของสำนักชลประทานมี่ 5 จากจังหวัดอุดรธานีได้ไปกราบนมัสการหลวงปู่บู่ พร้อมท่านพระอาจารย์ปกรณ์ กนฺตวีโร แห่งวัดถ้ำภูผาแด่น จ.สกลนคร ขณะที่สนทนากันส่วนมากจะเกี่ยวกับเรื่องธรรมะและการปฏิบัติกับหลวงปู่บู่ สังเกตดูใครถามท่านๆก็จะตอบถ้าไม่ถามท่านๆก็จะนิ่งเฉยเสียโดยไม่มีความรู้สึกยินดียินร้ายต่อสภาวะแวดล้อมขณะนั้นใดๆทั้งสิ้น มีบุคคลหนึ่งในคณะถามท่านถึงเรื่องความฝันเพราะอาจจะนำคำพูดของท่านมาตีเป็นเลฃหวยก็ได้ ว่าหลวงปู่ฝันดีบ่ ท่านก็บอกบ่ฝันดอก บุคคลนั้นก็ถามต่อว่าหลวงปู่ชอบเลขอะไร หลวงปู่ก็ตอบว่า ” มักเลข 8“ คำ ตอบของหลวงปู่ทำให้คณะของชลประทานนั้นถึงกับอึ้งและงงกันไปพักใหญ่ว่าหลวง ปู่ให้เลขตัวเดียวแล้วจะหาตัวเลขอื่นมาผสมอย่างไรให้ครบสองตัว ขณะที่ทุกคนในคณะกำลังงุนงงกับคำพูดปริศนาของหลวงปู่อยู่นั้น บุคคลที่ถามท่านก็นึกได้และเฉลยให้ทุกคนในที่นั้นฟังและได้ยินกันทั่วทุกคน จนทำให้คำพูดที่เป็นปริศนาของหลวงปู่หมดไป ว่าที่แท้คำว่า“ มักเลข 8” ของหลวงปู่นั้นคงหมายถึง ” มรรคแปด “ ซึ่งเป็นทางเดินแห่งพระอริยะมรรคของพระอรหันต์เท่านั้น เมื่อบุคคลนั้นในคณะเรียนถามหลวงปู่บู่อีกว่า มักเลข 8 หมายถึง มรรคแปด ไช่ไหม หลวง ปู่ท่านก็ได้แต่ยิ้มๆและไม่ตอบหรือพูดว่าอะไรแม้สักคำเดียว (มักภาษาลาวแปลว่าชอบ ภาษาธรรมแปลว่าทางเดินของพระอริยะมรรคอันมีองค์แปดนั่นเอง) คำตอบนี้พวกเราคงไม่ต้องเดากันนะครับว่าหลวงปู่บู่ ท่านหมายถึงอะไรและท่านเป็นพระอริยะบุคคลชั้นไหนแล้ว และจากวันที่คณะชลประทานกลับไปแล้วจะบังเอิญหรืออะไรก็แล้วแต่ปรากฏว่าสลากกินแบ่งรัฐบาลรางวัลที่ 1 งวดวันที่ 16 กรกฎาคม 2552 ออก 000816 มีเลข 8 ของหลวงปู่ออกมาจริงๆถ้าวันนั้นคนใดคนหนึ่งเป็นนักเล่นหวยละก็คงเล่นเป็นเลขวิ่งโดดๆเลข 8 เลขเดียวคงรวยเละแน่นอน
    [​IMG]

    .................................................................................

    เดี๋ยวได้รูปตอนหลวงปู่บู่เสกมา จะลงมาเล่า คุณ siriphan2009 เป็นผู้เมตตานำพระชุดนี้ไปเสกให้ เมื่อครั้งเดินทางไปเชิญปฐวีธาตุหลวงปู่คำพันธ์ที่ผมเป็นผู้ประสานงาน
    คุณsiriphan2009 เล่าว่า หลวงปู่บู่ได้ขอพระรุ่นนี้ด้วย แต่ไม่ได้ถวายท่านไป
    รายละเอียดจะมาเล่าอีกทีครับ

    แค่หลวงปู่ละมัย กับหลวงปู่บู่ พระเหนือโลกเสกก็เหลือกินแล้ว

    ยังมีหลวงปู่พระอภิญญาเหนือโลกอีกองค์ที่ท่านเป็นสหธรรมิกกับหลวงปู่สรวง ถ้ามีโอกาสจะขอเมตตาท่านลงกสิณไฟให้อีกที ไม่อยากเล่าเลยเพราะเล่าไปก่อนแล้วจะไม่ได้เสก
     
  10. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    และที่พิเศษสุดคือ เป็นพระที่ผ่านการอธิษฐานจิตจากพระเถระที่เคยร่วมปลุกเสกหลวงปู่ทวดปี 2497 ที่ยังมีชีวิตอยู่ครบทุกองค์ กล่าวคือ

    พ่อท่านเกลื่อน วัดประดู่หมู่ เป็นศิษย์พ่อท่านเอียด วัดเขาอ้อ เป็นศิษย์น้องอาจารย์นำ วัดดอนศาลา วิชาท่านเยอะมาก เลยนั่งอธิษฐานจิตพระกล่องเล็กๆกล่องเดียว พระแค่ 300กว่าองค์กว่า 40 นาที

    พ่อท่านแก้ว วัดสะพานไม้แก่น ตอนนั้นท่านติดตามพ่อท่านแดง วัดศรีมหาโพธิ์ไปเสกหลวงปู่ทวดปี 97 ท่านบำเพ็ญเพียรในป่าช้ามากว่า 30 ปี พลังจิตเข้มแข็งรุนแรงมาก

    พ่อท่านแสง วัดศิลาลอย

    โดยปลัดธเนศฯ เป็นผู้เมตตานำไปอธิษฐานจิตให้ คุณธเนศเคยพานักเขียนชื่อดัง เนาว์ นรญาณ ไปเสกพระที่ใต้และขอบารมีหลวงปู่ทวดมาแล้ว บุญกุศลนี้ขอให้ได้เป็นผู้ว่าเร็วๆนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กุมภาพันธ์ 2011
  11. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ขนาดพ่อท่านทอง วัดสำเภาเชย พ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ และพ่อท่านฉิ้น วัดหลักเมืองยะลา พระเกจิชื่อดัง ยังไม่ทันเสกหลวงปู่ทวดเลย เสียดายที่พ่อท่านแก้ว วัดปลักหนูใต้(อายุ 107 ปี)ละสังขารไปเสียก่อนและพ่อท่านผัน วัดทรายขาวท่านไม่อยู่ ไม่งั้นได้มาอีกองค์


    Next Station.......Chiang Mai
    ผมจะขึ้นนำพระไปเสกด้วยตัวเองครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กุมภาพันธ์ 2011
  12. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ใครเข้ามาก็เขียนอะไรลงไปบ้างสิครับ แนะนำครูบาอาจารย์ที่สมควรนำไปอธิษฐานจิตก็ได้ พระจะได้ขลังๆมาพลังพุทธคุณเยอะๆหน่อย
     
  13. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ขอความเห็นหนอ่ย ถ้าผมจะจัดทริปไปกราบทำบุญกับพระเกจิ ใกล้กรุงเทพอย่าง หลวงพอ่มหาสุรศักดิ์ หลวงปู่วิไล วัดโพธิ์งาม หลวงตาโต๊ะ(อายุ 103 ปี) เจ้าของวิชาเสริมดวงกันชง หลวงปู่เลิศ วัดโพธาวาส หลวงพ่อแถม วัดช้างแทกระจาด จนถึงหัวหินไปหาหลวงปู่องค์หนึ่งที่บุคคลสำคัญที่ไปในงานพระราชทานเพลิงหลวงปู่เหรียญ วรลาโภรับรอง
    มีใครสนใจไปมั๊ยครับ
     
  14. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    [​IMG]


    สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เกศาแก้ว ศิษย์หลวงปู่สิงห์ ขันตยาขโม เมตตาอธิษฐานจิต
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. ปัญจ

    ปัญจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2009
    โพสต์:
    27,337
    ค่าพลัง:
    +88,031
    ถ้าไม่ติดภารกิจ ก็จะไปด้วยครับ
    แต่เอาแน่ไม่ค่อยได้ งานชุกครับ
     
  16. พ่อน้องหนุน

    พ่อน้องหนุน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +5,562
    ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ เสียดายอยู่บ้านไกลไม่มีโอกาศได้ไปส่งกำลังใจไปแทนนะครับ./
     
  17. TSKing

    TSKing Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2010
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +39
    ผมขอสอบถามหน่อยครับว่า ถ้้าจะจองฉากเขียว ฉากดำ ฉากขาว อย่างละ 1 องค์ ยังมีให้บูชาไหมครับ ถ้ามีผมจะโอนให้เลยครับ ขอบคุณคับ

    ps.หากจะให้ช่วยพาไปหาครูบาอาจารย์แถวอุบล อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร ผมพาไปให้ได้นะครับ บริการขับรถให้ครับ ครูบาอาจารย์ที่ผมอยากแนะนำเพิ่มเติมก็มีดังนี้นะครับ

    อุบล-
    1. หลวงปู่โชติ อาภัคโค วัดภูเขาแก้ว เจ้าของตำรับกุมารทองเกล้านางนีเมาลีพระโพธิสัตว์ ศิษย์หลวงปู่ดี ฉันโน สายหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น
    2. หลวงพ่อสอน วัดหลวง ศิษย์หลวงปู่เครื่องวัดสระกำแพงใหญ่กับหลวงพ่อมุม ปราสาทเยอ และหลวงปู่มาที่ร้อยเอ็ด
    3. หลวงปู่มหาคำแดง วัดคัมภีรวาท ศิษย์ญาท่านกรรมฐานแพง สายสำเร็จลุน
    4. หลวงปู่คล้าย วัดบ้านกระะเดียน ศิษย์หลวงปู่ฤทธิ์ วัดกุศกร สายสำเร็จลุน ท่านได้รับวิชาต่อกระดูกจากญาท่านฤทธิ์มาครับ
    5. หลวงปู่จูม (อายุ 94) วัดธรรมรังษี ต.คำไหล อ.ศรีเมืองใหม่ ศิษย์ญาท่านกรรมฐานแพง สายสำเร็จลุน ท่านเิดินกลางฝนไม่เปียกครับ
    6. หลวงปู่บรรยงค์ อายุ 90 ปี วัดสว่างวารี บ้านตุงลุง อ.โขงเจียม ศิษย์ญาท่านกรรมฐานแพง สายสำเร็จลุน ท่านได้ฟังธรรมหลายครั้งจากหลวงปู่สิงห์ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นด้วยครับ
    7. หลวงปู่ศรี วัดภูตามุย อำเภอโขงเจียม อายุ 88 ปีครับ ท่านเป็นพระนักพัฒนาและปฏิบัติครับ
    8. หลวงปู่โทน พระทองคำ วัดบ้านพลับ อำเภอเขื่อนใน
    9.พระครูเกษมธรรมานุวัตร(หลวงพ่อบุญชู) วัดเกษมสำราญ อำเภอตระการพืชผล ศิษย์ญาท่านสวน
    10.แม่ชีนวล อายุราวๆ 100ปี วัดภูฆ้องคำ ตอนนี้ท่านย้ายวัดแล้วครับไปอยู่แถวๆวัดหลวงปู่สวนผมไม่แน่ใจ ท่านเป็นสหายธรรมสำเร็จตันศิษย์สายสำเร็จลุน และหลวงพ่อชา ผู้ที่หลวงปู่คำพันธ์ให้การยอมรับ
    11.หลวงพ่อสุพัฒน์ วัดป่าประชานิมิต อำเภอสำโรง ศิษย์หลวงปู่เจียม จังหวัดสุรินทร์

    ศรีสะเกษ -
    1.หลวงปู่เกลี้ยง วัดโนนแกลด
    2.หลวงปู่เส็ง วัดปราสาทเยอร์ใต้
    3.หลวงปู่เพ็ง วัดบ้านละทาย ศิษย์หลวงปู่อ้วน วัดโนนค้อครับ

    อำนาจเจริญ
    1.หลวงพ่อแสง วัดป่าฤกษ์อุดม
    2.หลวงปู่จอม วัดป่าบ้านดอนดู่
    3.หลวงปู่บุญหลาย วัดป่าโนนทรายทองครับ

    ยโสธร
    1.หลวงปู่สิงห์ทอง วัดป่าสุนทราราม
     
  18. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948

    เยี่ยมเลยครับพี่ เพราะผมกำลังจะไปอุบลราชธานีเหมือนกัน พอดีพี่รหัสผมได้เป็นหมอใช้ทุนที่รพ.สรรพประสิทธิ์ เลยอาจจะถือโอกาสไปเยี่ยมด้วยเลย ผมขอเบอร์หลังไมค์หน่อยนะครับ แต่เรื่องค่าน้ำมันและปัจจัยทำบุญผมขอออกเองทั้งหมดนะครับ
    ในอุบลราชธานี ยังมี
    หลวงปู่จันทร์หอม วัดบุ่งขี้เหล็ก

    หลวงปู่มาย วัดบ้านหนองดินดำ อายุ 109 ปี

    ญาท่านผอง วัดป่าโนนลำดวน อายุ 104 ปี

    โดยเฉพาะที่พี่กล่าวไปมี ศิษย์กรรมฐานของหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล รูปสุดท้ายรวมอยู่ด้วย ถ้าได้เกหมดคงจะขลังพอสมควร เพราะบางองค์ท่านยังทันเรียนวิชากับสมเด็จลุน
    บางองค์เป็นเพื่อนกับสมเด็จตันด้วยซ้ำครับ

    ขอบพระคุณในความปรารถนนาดีอีกครั้งนะครับ
     
  19. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    หลวงปู่เพ็ง วัดบ้านละทาย ศิษย์หลวงปู่อ้วน วัดโนนค้อ

    หลายคนยังไม่รู้ว่า หลวงปู่อ้วนท่านเป็นใคร ท่านเป็นอาจารย์ของหลวงพ่อสังข์ วัดนากันตม ที่เสกของเขมรได้ขลังมากๆ

    ขลังจนขนาดที่ท่านพรรษาน้อยกว่าหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี 20 กว่าปี หลวงปู่ยังบอกว่ามีพลังจิตตานุภาพและอาคมสูงมาก เท่าที่หลวงปู่โต๊ะท่านเคยออกปากชมในงานพุทธาภิเษกก็มีแต่หลวงปู่สังข์ กับหลวงพ่อกวยนี่แหละครับ ที่ท่านว่า พระครูชัยนาทมีอาคมแรงเหลือเกิน

    อยากให้ทุกท่านตั้งจิตมองการทำบุญเป็นหลักนะครับ พระเป็นของที่ระลึกเฉยๆ

    ที่หลวงปู่ชอบ วัดป่าสัมมานุสรณ์ ท่านเป็นที่รักของเทวดาและนาคทั้งหลายเพราะท่านเคยร่วมสร้างพระธาตุพนมนี่แหละ
    ผมทำพระอยากให้นำไปใช้กัน รับรองว่ามีพุทธคุณไม่แพ้ของใครทำครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กุมภาพันธ์ 2011
  20. KRITA

    KRITA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2007
    โพสต์:
    2,060
    ค่าพลัง:
    +7,264
    ขอโมทนาบุญทุกประการครับน้อง ได้ติดตามเห็นความตั้งใจ ความเสียสละ ความอดทน ผ่านข้อความในกระทู้นี้แล้วขอชมเชยด้วยความจริงใจครับ พี่เองเคยลุยไปตามทำบุญกับพระสมัยช่วงปี36ถึง40กว่า แล้วคิดถึงที่น้องทำตอนนี้ก็คงเทียบน้องไม่ได้ ถ้าจัดไปขอติดไปด้วยนะครับ:cool::cool::cool:
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...