แนะนำพระดี มีพลังมหัศจรรย์ อาถรรพ์หนุนชีวิต อิทธิฤทธิ์มหาศาล

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย หนุ่มเมืองแกลง, 15 พฤษภาคม 2010.

  1. Dhanainan

    Dhanainan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    569
    ค่าพลัง:
    +2,174
    ราตรีสวัสดิ์ครับทุกท่าน ขอชาร์ตแบตซัก 5 ชั่วโมงก่อน
     
  2. PITINATTH73

    PITINATTH73 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    2,991
    ค่าพลัง:
    +9,624
    ผมขอตัวพักผ่อนก่อนครับ ญาติธรรมทุกๆท่าน
     
  3. SpringDove

    SpringDove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,488
    ค่าพลัง:
    +4,807
    ขอบคุณมากค่ะ คุณ Siwarit สำหรับคำเสนอแนะ และ บทสวดมนต์

    นกมารู้จักพระแม่กวนอิมตอนอายุ 18-19 หลังจากที่เข้ามาเรียนในกทม.นะคะ ตอนอยู่ต่างจังหวััดไม่เคยรู้จักท่านเลย รู้จักจากเพื่อนแล้วก็มีไปกราบไหว้ท่านตามที่ต่างๆ แล้วเพื่อนก็บอกว่า ถ้านับถือท่านแล้วต้องไม่ท่านเนื้อวัวนะ นกก็เลิกทานเนิ้อวัวทันทีตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา มีเรื่องนี้แหละ ที่เป็นสัจจะกับตนเองที่นกคิดว่าตนเองทำได้เด็ดขาด
    มีอาหารบางอย่างหมอห้ามยังทำไม่ได้เลยค่ะ หรืออาหารบางอย่างสัญญากับตนเองว่าจะงด แต่ก็ทำไม่ได้เด็ดขาด

    มีถามอีกเรื่องไม่ทราบว่าพระแม่กวนอิมกับพระแม่ทับทิมเป็นองค์เดียวกันไหมค่ะ
     
  4. SpringDove

    SpringDove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,488
    ค่าพลัง:
    +4,807
    คุณหนุ่มมีเรื่องเล่าดีๆ มาให้อ่านอีกแล้ว ขอบคุณค่ะ

    คุณหนุ่มค่ะพระรุ่นที่กำลังสร้างนี้ คุณหนุ่มน่าจะพิมพ์รูปภาพบูชาของหลวงพ่อสุนทรบ้างนะคะ
    ศิษย์ต่างแดนอยากมีัไว้บูชาบ้างค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มีนาคม 2011
  5. หนุ่มเมืองแกลง

    หนุ่มเมืองแกลง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2007
    โพสต์:
    32,522
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +210,857
    ผมเองนับถือเจ้าแม่กวนอิมเช่นกันครับ แต่ผมยังกินเนื้อบ้างตามสะดวก แต่ไม่บ่อยนัก ผมเดินสายกลางๆแบบที่ไม่มีวงขีดจำกัดแบบคนอื่นมากนัก แค่คิดดี ทำดี ปฏิบัติดี ใช้หลักของการใช้เหตุผลในการตัดสินใจ ทำประโยชน์ต่อส่วนรวมบ้าง ผมว่าดีกว่าอะไรทั้งสิ้น กราบพระสักร้อยองค์แต่คิดเลว ทำเลว ก็ไม่เกิดผลอะไร เหมือนคนที่ท่องบทสวดมนต์ทั้งคืน แต่ตื่นเช้ามาด่าลั่นตลาดนั่นแหละครับ

    เดี๋ยวนี้ในเมืองไทยเราเอง มีอะไรแปลกๆมาก เวลาหนาวๆยังเห็นเด็กสาวๆใส่สั้นๆอย่างมั่นใจ แต่ห่อตัวทำเหมือนหนาว(ใจ) เมื่อก่อนใครบอกว่ากินข้าวเหมือนแมวดม เดี๋ยวนี้ต้องบอกว่าแมวกินข้าวมากกว่าสาวๆยุคใหม่ อีกหน่อยจะได้ยินข่าวว่า แมววิ่งชนสาวสมัยใหม่จนล้มทั้งยืนและซี่โครงหัก คนยุคใหม่บ้านเราเห่อของต่างประเทศเช่นนักร้องเกาหลี นักร้องญี่ปุ่น เคยถามว่าฟังออกหรือว่าเขาร้องอะไร คำตอบคือ ฟังไม่ออกหรอกแต่ชอบเท่านั้นเอง กรี๊ดจนเป็นลมก็ยังมี ขอเงินพ่อแม่เอามาซื้อตั๋วแพงๆแบบที่พ่อแม่ต้องรับจ้างครึ่งเดือนทีเดียว ถามว่าแล้วแม่ทำไมให้เงินมาซื้อตั๋วแพงๆแบบนี้ เธอตอบว่า ก็บอกว่าเป็นกิจกรรมของโรงเรียนยังไงแม่ต้องหาเงินให้แน่นอน คนญี่ปุ่นเจอพิษภัยธรรมชาติ เขาใช้สติในการแก้ไขปัญหาทุกอย่าง หากเป็นเมืองไทย ยังนึกภาพไม่ออกว่าจะเป็นไงบ้าง
     
  6. หนุ่มเมืองแกลง

    หนุ่มเมืองแกลง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2007
    โพสต์:
    32,522
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +210,857
    คนที่ส่งรายละเอียดวัน-เดือน-ปีเกิด มาเพิ่มเติมให้ผมเพื่อทำแผ่นดวงชะตา รบกวนแจ้งเลขรับจองให้ด้วยนะครับ เพื่อสะดวกในการลงบันทึก

    คนที่โอนเงินเพิ่มเติม สำหรับค่าจองบูชาพระในรายการเดิมที่รับจองไว้แล้ว ก็ขอรบกวนแจ้งเลขรับจองของพระที่ท่านโอนเงินมาชำระเพิ่มนั้นด้วยครับ
     
  7. หนุ่มเมืองแกลง

    หนุ่มเมืองแกลง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2007
    โพสต์:
    32,522
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +210,857
    มัชฌิมาปฏิปทาการเดินสายกลาง


    "มัชฌิมาปฏิปทา" แปลว่า ทางสายกลาง หมายถึง ข้อปฏิบัติที่ทำให้บรรลุนิพพานไม่ตึงหรือหย่อนเกินไป ซึ่งประกอบด้วย สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติและสัมมาสมาธิ

    นิพพาน หรือ นิโรธ เป็นความสุขที่คนในสังคมอินเดียโบราณต่างมุ่งแสวงหา เพราะถือว่าเป็นความสุข สงบที่เป็นอมตะ ไม่ผันแปร ในการแสวงหานั้น มีหลักความเชื่ออยู่ ๒ อย่าง คือความเชื่อที่ว่า การจะบรรลุถึงนิพพานได้นั้น มีได้ด้วยการทรมานตนเองให้ลำบาก กับความเชื่อที่ว่าการจะบรรลุถึงนิพพานนั้น มีได้ด้วยการทำตนเองให้พร้อมพรั่งด้วยสิ่งอำนวยความสุขต่างๆ

    เมื่อเกิดความเชื่อเช่นนั้น จึงทำให้เกิดการปฏิบัติต่างๆ ติดตามมา ผู้ที่เชื่อว่าการบรรลุนิพพาน มีได้ด้วยการทรมานตนเองให้ลำบาก ก็ได้ทรมานตนเองด้วยวิธีต่าง ๆ อาทิ อดอาหารจนร่างกายซูบผอม นอนบนหนาม เอาขี้เถ้าทาตัว และไม่อาบน้ำ ส่วนผู้ที่เชื่อว่า การบรรลุนิพพาน มีได้ด้วยการทำตนเองให้พร้อมพรั่งด้วยสิ่งอำนวยความสุขต่าง ๆ ก็ได้แสวงหาสะสม และหมกมุ่นอยู่กับการเสพสุข แล้วในที่สุดผู้ที่มีความเชื่อ ๒ อย่างนั้น ก็ไม่ได้บรรลุนิพพานอย่างที่หวังไว้ เพราะฝ่ายแรกตึงเกินไป และฝ่ายหลังหย่อนเกินไป เพราะเริ่มต้นมาจากการปฏิบัติผิดนั่นเอง

    พระพุทธเจ้า ก่อนตรัสรู้ทรงปฏิบัติตามข้อปฏิบัตินี้มาแล้ว ครั้นทรงเห็นว่าไม่ใช่ทาง หรือข้อปฏิบัติให้ได้บรรลุนิพพาน จึงทรงแสวงหาทางสายใหม่ ในที่สุดก็ทรงพบอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ
    อริยมรรค มีองค์ ๘

    "อริยมรรค" แปลว่า หนทางที่ประเสริฐ (อริยะ =ประเสริฐ มรรค = หนทาง) หนทางที่ประเสริฐ ตามความหมายในพระพุทธศาสนา หมายถึง หนทางที่ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๘ อย่าง หากเปรียบเหมือนถนนหนึ่งเส้น ก็จะมี ๘ เลนในเส้นทางเดียว

    * ๑. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ

    * ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ

    * ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ

    * ๔. สัมมากัมมันตะ การทำงานชอบ

    * ๕. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ

    * ๖. สัมมาวายามะ เพียรชอบ

    * ๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ

    * ๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจมั่นชอบ


    องค์ประกอบทั้ง ๘ นี้ มิใช่ทาง ๘ ทาง หรือ หลักการทำต้องยกขึ้นมาปฏิบัติให้เสร็จส้นไปทีละข้อตามลำดับ แต่ เป็นส่วนประกอบ ของทางสายเดียวกัน ต้องอาศัยกันและกัน เหมือนเกลียวเชือก ๘ เกลียว ที่รวมกันเข้าเป็นเชือกเส้นเดียวกัน และต้องปฏิบัติเคียงข้างกันไปโดยตลอด

    ทางสายกลางที่ว่านั้น เริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจเป้าหมายให้ชัดเจน แล้วคิดหาทางไปถึงเป้าหมายนั้นให้ได้ ซึ่งก็พบว่าต้องเริ่มต้นด้วยการทำจิตให้สงบไม่เอนเอียงไปทางข้างตึงหรือข้าง หย่อน โดยอาศัยการฝึกสติเป็นตัวนำ พร้อมทั้งเพียรระวังไม่ให้ความคิดที่ไม่ดีเกิดขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็เพียรละให้ได้ในขณะเดียวกัน ก็เพียรให้เกิดความคิดที่ดีและเพียรรักษาความคิดที่ดีที่เกิดขึ้นแล้วให้คง อยู่ และพบต่อไปว่าจิตสงบแล้วพฤติกรรมต่าง ๆ ทั้งทางกายและวาจาก็สงบด้วย เมื่อสงบครบทั้งกาย วาจา และใจแล้ว ก็ได้บรรลุถึงเป้าหมายสูงสุด คือ นิพพาน

    ในวิถีชีวิตของปุถุชนนั้น ย่อมมีความเสร็จเป็นเป้าหมายของชีวิต ความสำเร็จได้ ย่อมแตกต่างกันไปตามความปรารถนาของแต่ละคน บางคนปรารถนาความร่ำรวยเป็นความสำเร็จ บางคนปรารถนาความมีชื่อเสียงเป็นความสำเร็จ

    ความร่ำรวยและความมีชื่อเสียงมีองค์ประกอบให้ถึงความ สำเร็จได้ ๒ ส่วน ส่วนแรกเกิดจากผู้ปรารถนาเอง และส่วนที่ ๒ เกิดจากสิ่งแวดล้อมสนับสนุน อันอาจได้แก่ บุคคล กาลเทศะ ผู้ปรารถนาต้องทำให้เกิดความพอดีระหว่างตนเองกับสิ่งแวดล้อมสนับสนุน

    ความพอดีส่วนตนนั้นก็เริ่มจากทำความเข้าใจความสำเร็จให้ ชัดเจนว่า คืออะไร มีขอบเขตแค่ไหน แล้วคิดหาทางไปสู่ความสำเร็จนั้นได้อย่างไร เมื่อพบทางแล้ว ก็ประคับประคองความคิดนั้นให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องในลักษณะไม่เคร่งเครียดจน กร้าว และปล่อยเฉยจนเฉื่อยชา ในขณะเดียวกันก็ประคับประคองการแสดงออกทั้งทางกายและวาจา ให้สอดคล้องกับความคิด จนเข้าได้กับบุคคลกาลเทศะ อย่างไม่เสียหลักธรรม

    ความพอดีดังกล่าวมานี้ เรียกได้ว่า "ทางสายกลาง"ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติส่วนตน ส่วนที่เกี่ยวกับส่วนรวมก็มีทางนำมาประยุกต์ใช้ได้ คืองานของหมู่คณะ จะสำเร็จได้ก็ด้วยอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่าย หากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องยึดถือทางสายกลาง ก็ย่อมทำให้งานดำเนินไปได้ด้วยดี แม้จะไม่ราบรื่นและไม่เรียบร้อยในตอนแรก แต่ด้วยอาศัยการทำงานแบบทางสายกลาง ก็จะทำให้เกิดความคิด การกระทำและคำพูดที่พอดีต่อกัน ในกลุ่มผู้ร่วมงาน ซึ่งในที่สุดก็ยอมรับกันได้ ไม่เกิดการแบ่งฝ่ายซึ่งทำให้เกิดอุปสรรค
     
  8. หนุ่มเมืองแกลง

    หนุ่มเมืองแกลง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2007
    โพสต์:
    32,522
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +210,857
    ความน่าจะเป็นบนเส้นทางธรรม




    ในพุทธประวัติเวลาเล่าถึงตอนที่สาวกหรือแม้แต่คนธรรมดาที่ได้ฟังโอวาทของพระ พุทธเจ้าแล้วเข้าใจแจ่มแจ้ง มัก จะใช้คำพูดว่าเกิดดวงตาเห็นธรรม สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในทันที ดิฉันสงสัยว่า การเกิดดวงตาเห็นธรรม สำเร็จเป็นพระอรหันต์มันเป็นความรู้สึกที่สามารถเปรียบได้กับความรู้สึกแบบ ไหนในทางโลก และที่ว่าดวงตาเห็นธรรมนั้นเห็นเท่ากับที่พระพุทธองค์ตรัสรู้เลยหรืออย่างไร เคยอ่านว่าคนเหล่านั้นอาจเกิดมาแล้วหลายชาติ แต่บางคนก็ไม่ใช่ทำไมถึงได้บรรลุกันง่ายดายขนาดนั้นคะ





    “ดวงตาเห็นธรรม” เป็นคำเรียกผู้ที่บรรลุ “โสดาปัตติผล” เป็นพระ “โสดาบัน” (ผู้แรกหยั่งลงสู่กระแสพระนิพพาน) ซึ่งถือเป็นพระอริยบุคคลขั้นต้นในสี่ขั้น กล่าวคือ

    (๑) พระโสดาบัน

    (๒) พระสกทาคามี

    (๓) พระอนาคามี

    (๔) พระอรหันต์

    การ บรรลุโสดาบันที่ถือว่าเป็นการได้ดวงตาเห็นธรรมนั้น จะเกิดขึ้นกับผู้ที่ปฏิบัติธรรมตามแนวอริยมรรคมีองค์ ๘ หรือเจริญสติปัฏฐาน ๔ (ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ต่างชื่อเท่านั้น) เมื่อเกิดอาการเช่นว่านั้น จิตจะสว่างกระจ่างแจ้ง เข้าใจในสัจธรรมพื้นฐานของรูปและนามอย่างชัดเจนว่าเป็นเพียงสิ่งปรุงแต่งที่ เกิดขึ้น ดำรงอยู่ และแตกดับไปตามธรรมดา ข้อความที่ท่านยกขึ้นมาเป็นบทอ้างอิงประกอบการอธิบายอาการของผู้เกิดดวงตา เห็นธรรมก็คือ จิตจะเกิดการตื่นรู้ว่า

    “ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ, สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ”

    “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา”

    การ ได้ดวงตาเห็นธรรมก็คือการเห็น “ไตรลักษณ์” นั่นเอง ที่ว่า “เห็น” นั้น ไม่ใช่การเห็นด้วยตาเนื้อ เห็นด้วยความเข้าใจในระดับเหตุผล แต่ เป็นการเห็นด้วยตาคือปัญญาของจิตที่อบรม ฝึก หัด พัฒนาจนสุกงอมถึงที่สุดแล้ว อาการได้ดวงตาเห็นธรรมนั้น เปรียบง่ายๆ เหมือนคนที่หยิบพริกขี้หนูขึ้นมาเม็ดหนึ่งแล้วกัดกร้วมลงไป พอรู้ว่า “เผ็ด” เท่านั้น ก็จะจำไปจนตาย รสชาติของพริกที่ “เผ็ด” นั้น จะกลายเป็นประสบการณ์ที่ฝังอยู่ในความรู้สึกไปตราบนานเท่านานโดยไม่ต้องการ คำอธิบาย หากแต่เป็น “ประสบการณ์ตรง” ที่ระบบประสาททั้งหมดสัมผัสได้เองโดยตรง หรือเหมือนกับคนที่ถูกใครสักคนเอาปืนจ่อหัวพร้อมลั่นไก จู่ๆ นาทีนั้น โดยไม่ต้องอ้างเหตุผล ความหวาดกลัวก็จะเกิดขึ้นมา เหงื่อเม็ดโป้งๆ ก็จะซึมออกมาเองโดยธรรมชาติ คนที่ถูกปืนจ่อหัวนั้นจะปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างเองโดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องการให้ใครมาเสี้ยมสอนแม้แต่น้อย ประสบการณ์การบรรลุธรรม เป็นเรื่องเหนือ “สมอง” เป็นเรื่องพ้น “ตรรกะ” อย่างสิ้นเชิง การบรรลุธรรม เป็นประสบการณ์ตรงของ “จิต” ล้วนๆ พูดอีกนัยหนึ่งตามสำนวนนักปฏิบัติก็คือ เป็นเรื่อง “เหนือคิด” หรือ “นอกเหตุเหนือผล” ต้องหยั่งรู้หยั่งเห็นด้วยตนจึงจะเข้าใจ เพราะการบรรลุธรรมเป็นเรื่องเข้าใจยาก จึงเมื่อมีคนมาถามพระพุทธองค์ หรือพุทธสาวกคนสำคัญๆ ว่าภาวะหลังการบรรลุธรรมเป็นอย่างไร ท่านเหล่านั้นจึงตอบด้วยการ “นิ่ง” การตอบด้วยการนิ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการตอบปัญหาที่เรียกว่า “ฐปนียปัญหา” คือ “ตอบด้วยการไม่ตอบ” นั่นเอง

    การที่คนสมัยพุทธกาลบรรลุธรรมกัน ง่ายๆ นั้นเป็นเพราะเรา “มองชั้นเดียว” แต่หากมองตามเหตุปัจจัยหลายชั้น ก็ จะพบว่า สาวกแต่ละคนล้วนแล้วแต่ได้บำเพ็ญบารมีมาแล้วทั้งสิ้น เช่น พระยสกุลบุตรที่เพียงแต่ได้นั่งฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าว่าด้วยเรื่อง “ทาน สีล สวรรค์ กาม และการหลีกออจากกาม” ก็สามารถบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ออกบวช หรือแม้แต่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ก็ยังไม่ได้ออกบวชเช่นกัน นั่นเป็นเพราะว่า ในหลายชาติภพมาแล้ว ท่านได้สั่งสมเหตุปัจจัยมาพอสมควร

    เช่น ในชาตินี้ที่ท่านเบื่อ “กามารมณ์” จนมองเห็นสาวสรรค์กำนัลในว่าเป็นดั่งซากศพ ก็เพราะว่า ในชาติที่ผ่านมาท่านได้อุทิศตนทำงานอาสาสมัครร่วมกันเก็บศพไม่มีญาติไปเผา ยังฌาปนสถาน เมื่อท่านเห็นซากศพมาจนชินในชาติที่แล้ว จิตจึงเกิดการเบื่อหน่ายคลายความกำหนัด มาในชาตินี้ จิตที่เบื่อมาแล้วระดับหนึ่ง ถูกตอกย้ำด้วยสภาพแวดล้อมเดิมๆ จึงเบื่อเต็มกลืน ถึงขนาดอุทานออกมาว่า

    “ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ”

    พระพุทธองค์ได้ทรงสดับดังนั้นจึงตรัสตอบว่า

    “ที่ไม่วุ่นวายหนอ ที่นี่ไม่ขัดข้องหนอ”

    ข้อ ความที่ “ตรงกันข้าม” อย่างสิ้นเชิงเช่นนี้ มีพลังดึงดูดให้ยสกุลบุตรพุ่งตรงเข้าไปหาต้นเสียงคือพระพุทธเจ้าทันที เมื่อน้ำแห่งโพธิปัญญานั้นเต็มปรี่มาแล้วระดับหนึ่ง จึงเมื่อน้ำหยดสุดท้ายจากปรีชาญาณของพระพุทธองค์หยดลงไปเติมเป็นหยุดสุดท้าย น้ำในแก้วนั้นก็พลันล้นทะลักออกมาเป็น “ดวงตาเห็นธรรม” อย่างง่ายดาย

    กรณี ของพระยสะคือสิ่งที่พิสูจน์ให้เห็นว่า ไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ เลย ที่เราเห็นว่าง่ายเพราะเรามองแต่ “ยอด” ทว่าไม่เห็น “ราก” และองค์ประกอบอื่นอีกมากมายต่างหาก
    ใช่หรือไม่ว่า เราทุกคน ต่างเคยมี “ชาติที่แล้ว” มาด้วยกันแทบทั้งนั้น และ นั่น จึงทำให้เราสันนิษฐานได้ว่า บางที ชาตินี้ อาจเป็นชาติที่เรากำลังจะเต็มเปี่ยมก็เป็นได้ เราทุกคน จึงเป็นผู้มีสิทธิ์ที่จะเห็นธรรมด้วยกันทั้งนั้น ไม่มีใครได้เปรียบใคร หรือไม่มีใครด้อยกว่าใคร ทุกคนล้วนดำเนินอยู่บนวิถีแห่ง “ความน่าจะเป็น” บนเส้นทางธรรมเสมอกัน
     
  9. หนุ่มเมืองแกลง

    หนุ่มเมืองแกลง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2007
    โพสต์:
    32,522
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +210,857
    อานาปานสติ(สำหรับคนทั่วไป อย่างง่าย ขั้นต้นๆ เพื่อรู้จักไว้ทีก่อน)


    ในกรณีปรกติ ให้นั่งตัวตรง (ข้อกระดูกสันหลัง จดกันสนิท เต็มหน้าตัด ของมันทุกๆ ข้อ) ศีรษะตั้งตรง ตามองไปที่ปลายจมูกให้อย่างยิ่ง จนไม่เห็นสิ่งอื่น จะเห็นอะไรหรือไม่เห็น ก็ตามใจ ขอให้จ้องมองเท่านั้น พอชินเข้า ก็จะได้ผลดีกว่าหลับตา และไม่ชวนให้ง่วงนอน ได้ง่ายด้วย โดยเฉพาะ คนขึ้ง่วง ให้ทำอย่าง ลืมตานี้ แทนหลับตา ทำไปเรื่อยๆ ตามันจะหลับ ของมันเอง ในเมื่อถึงขั้นที่ มันจะต้องหลับตา หรือจะหัดทำ อย่างหลับตาเสีย ตั้งแต่ต้น ก็ตามใจ แต่วิธีที่ลืมตานั้น จะมีผลดีกว่า หลายอย่าง แต่ว่า สำหรับบางคน รู้สึกว่าทำยาก โดยเฉพาะ พวกที่ยึดถือ ในการหลับตา ย่อมไม่สามารถ ทำอย่างลืมตา ได้เลย มือปล่อยวาง ไว้บนตัก ซ้อนกัน ตามสบาย ขาขัด หรือ ซ้อนกัน โดยวิธีที่จะ ช่วยยัน น้ำหนักตัว ให้นั่งได้ถนัด และล้มยาก ขาขัด อย่างซ้อนกัน ธรรมดา หรือ จะขัดไขว้กัน นั่นแล้วแต่ จะชอบ หรือ ทำได้ คนอ้วนจะขัดขา ไขว้กันอย่างที่ เรียกขัดสมาธิเพชร นั้น ทำได้ยาก และ ไม่จำเป็น แต่ขอให้นั่งคู้ขามา เพื่อรับน้ำหนักตัว ให้สมดุลย์ ล้มยากก็พอแล้ว ขัดสมาธิ อย่างเอาจริง เอาจัง ยากๆ แบบต่างๆ นั้น ไว้สำหรับ เมื่อจะเอาจริง อย่างโยคี เถิด

    ในกรณีพิเศษ สำหรับคนป่วย คนไม่ค่อยสบาย หรือ แม้แต่ คนเหนื่อย จะนั่งอิง หรือ นั่งเก้าอี้ หรือ เก้าอี้ผ้าใบ สำหรับเอนทอด เล็กน้อย หรือ นอนเลย สำหรับคนเจ็บไข้ ก็ทำได้ ทำในที่ ไม่อับอากาศ หายใจได้สบาย ไม่มีอะไรกวน จนเกินไป เสียงอึกทึก ที่ดังสม่ำเสมอ และ ไม่มีความหมาย อะไร เช่น เสียงคลื่น เสียงโรงงาน เหล่านี้ ไม่เป็นอุปสรรค (เว้นแต่ จะไป ยึดถือเอาว่า เป็นอุปสรรค เสียเอง) เสียงที่มี ความหมายต่างๆ (เช่น เสียงคนพูดกัน) นั้นเป็นอุปสรรค แก่ผู้หัดทำ ถ้าหาที่เงียบเสียง ไม่ได้ ก็ให้ถือว่า ไม่มีเสียงอะไร ตั้งใจทำไป ก็แล้วกัน มันจะค่อยได้เอง

    ทั้งที่ตามองเหม่อ ดูปลายจมูกอยู่ ก็สามารถ รวมความนึก หรือ ความรู้สึก หรือ เรียกภาษาวัดว่า สติ ไปกำหนด จับอยู่ที่ ลมหายใจ เข้าออก ของตัวเองได้ (คนที่ชอบหลับตา ก็หลับตาแล้ว ตั้งแต่ตอนนี้) คนชอบลืมตา ลืมไปได้เรื่อย จนมันค่อยๆ หลับของมันเอง เมื่อเป็นสมาธิ มากขึ้นๆ เพื่อจะให้กำหนดได้ง่ายๆ ในชั้นแรกหัด ให้พยายาม หายใจ ให้ยาวที่สุด ที่จะยาวได้ ด้วยการฝืน ทั้งเข้า และ ออก หลายๆ ครั้งเสียก่อน เพื่อจะได้รู้ของตัวเอง ให้ชัดเจนว่า ลมหายใจ ที่มันลาก เข้าออก เป็นทาง อยู่ภายในนั้น มันลาก ถูก หรือ กระทบ อะไรบ้าง ในลักษณะอย่างไร และกำหนดได้ง่ายๆ ว่า มันไปรู้สึกว่า สุดลง ที่ตรงไหน ที่ในท้อง (โดยเอาความรู้สึก ที่กระเทือน นั้น เป็นเกณฑ์ ไม่ต้อง เอาความจริง เป็นเกณฑ์) พอเป็นเครื่องกำหนด ส่วนสุดข้างใน และส่วนสุดข้างนอก ก็กำหนดง่ายๆ เท่าที่จะกำหนดได้ คนธรรมดา จะรู้สึกลมหายใจ กระทบปลาย จะงอยจมูก ให้ถือเอา ตรงนั้น เป็นที่สุดข้างนอก (ถ้าคนจมูกแฟบ หน้าหัก ริมฝีปากเชิด ลมจะกระทบ ปลายริมฝีปากบน อย่างนี้ ก็ให้กำหนด เอาที่ตรงนั้น ว่าเป็นที่สุดข้างนอก) แล้วก็จะได้ จุดทั้งข้างนอก และข้างใน โดยกำหนดเอาว่า ที่ปลายจมูก จุดหนึ่ง ที่สะดือจุดหนึ่ง แล้วลมหายใจ ได้ลากตัวมันเอง ไปมา อยู่ระหว่าง จุดสองจุด นี้ ขึ้นลงอยู่เสมอ ทีนี้ ทำใจของเรา ให้เป็นเหมือน อะไรที่คอย วิ่งตามลมนั้น ไม่ยอมพราก ทุกครั้ง ที่หายใจทั้งขึ้น และลง ตลอดเวลา ที่ทำสมาธินี้ นี้จัดเป็นขั้นหนึ่ง ของการกระทำ เรียกกันง่ายๆ ในที่นี้ก่อนว่า ขั้น "วิ่งตามตลอดเวลา"

    กล่าวมาแล้ว่า เริ่มต้นทีเดียว ให้พยายามฝืนหายใจให้ยาวที่สุด และให้แรงๆ และหยาบที่สุด หลายๆ ครั้ง เพื่อให้พบจุดหัวท้าย แล้วพบเส้นที่ลาก อยู่ตรงกลางๆ ได้ชัดเจน เมื่อจิต(หรือสติ) จับหรือ กำหนดตัวลมหายใจ ทึ่เข้าๆ ออกๆ ได้ โดยทำความรู้สึก ที่ๆ ลมมันกระทบ ลากไป แล้วไปสุดลง ที่ตรงไหน แล้วจึงกลับเข้า หรือ กลับออก ก็ตาม ดังนี้แล้ว ก็ค่อยๆ ผ่อน ให้การหายใจนั้น ค่อยๆ เปลี่ยน เป็นหายใจอย่างธรรมดา โดยไม่ต้องฝืน แต่สตินั้น คงที่กำหนดที่ ลมได้ตลอดเวลา ตลอดสาย เช่นเดียวกับเมื่อ แกล้งหายใจหยาบๆ แรงนั้นเหมือนกัน คือกำหนด ได้ตลอดสาย ที่ลมผ่าน จากจุดข้างใน คือ สะดือ (หรือท้องส่วนล่างก็ตาม) ถึงจุดข้างนอก คือ ปลายจมูก (หรือ ปลายริมฝีปากบน แล้วแต่กรณี) ลมหายใจ จะละเอียด หรือ แผ่วลงอย่างไร สติก็คงกำหนด ได้ชัดเจน อยู่เสมอไป โดยให้การกำหนด นั้น ประณีต ละเอียด เข้าตามส่วน ถ้าเผอิญเป็นว่า เกิดกำหนดไม่ได้ เพราะลมละเอียดเกินไป ก็ให้ตั้งต้นหายใจ ให้หยาบ หรือ แรงกันใหม่ (แม้จะไม่เท่าทีแรก ก็เอาพอให้กำหนด ได้ชัดเจน ก็แล้วกัน) กำหนดกันไปใหม่ จนให้มีสติ รู้สึก อยู่ที่ ลมหายใจ ไม่มีขาดตอน ให้จนได้ คือ จนกระทั่ง หายใจอยู่ตามธรรมดา ไม่มีฝืนอะไร ก็กำหนดได้ตลอด มันยาว หรือสั้นแค่ไหน ก็รู้ มันหนัก หรือเบาเพียงไหน มันก็รู้พร้อม อยู่ในนั้น เพราะสติ เพียงแต่คอยเกาะแจอยู่ ติดตามไปมา อยู่กับลม ตลอดเวลา ทำได้อย่างนี้ เรียกว่า ทำการบริกรรม ในขั้น "วิ่งตามไปกับลม" ได้สำเร็จ การทำไม่สำเร็จนั้น คือ สติ (หรือความนึก) ไม่อยู่กับลม ตลอดเวลา เผลอเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ มันหนีไปอยู่ บ้านช่อง เรือกสวนไร่นา เสียเมื่อไหร่ ก็ไม่รู้ มารู้เมื่อ มันไปแล้ว และก็ไม่รู้ว่า มันไปเมื่อไหร่ โดยอาการอย่างไร เป็นต้น พอรู้ ก็จับตัวมันมาใหม่ และฝึกกันไป กว่าจะได้ ในขั้นนี้ ครั้งหนึ่ง ๑๐ นาที เป็นอย่างน้อย แล้วจึงค่อยฝึกขั้นต่อไป

    ขั้นต่อไป ซึ่งเรียกว่า บริกรรมขั้นที่สอง หรือ ขั้น "ดักดู อยู่แต่ ตรงที่แห่งใด แห่งหนึ่ง" นั้น จะทำต่อเมื่อ ทำขั้นแรก ข้างต้นได้แล้ว เป็นดีที่สุด (หรือใคร จะสามารถ ข้ามมาทำขั้นที่สอง นี้ได้เลย ก็ไม่ว่า) ในขั้นนี้ จะให้สติ (หรือความนึก) คอยดักกำหนด อยู่ตรงที่ใด แห่งหนึ่ง โดยเลิก การวิ่งตามลมเสีย ให้กำหนดความรู้สึก เมื่อลมหายใจ เข้าไปถึง ที่สุดข้างใน (คือสะดือ) ครั้งหนึ่ง แล้วปล่อยว่าง หรือวางเฉย แล้วมากำหนด รู้สึกกัน เมื่อลมออก มากระทบ ที่สุดข้างนอก (คือปลายจมูก) อีกครั้งหนึ่ง แล้วก็ปล่อยว่าง หรือ วางเฉย จนมีการกระทบ ส่วนสุดข้างใน (คือสะดือ) อีก ทำนองนี้ เรื่อยไป ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อเป็นขณะที่ปล่อยว่าง หรือ วางเฉย นั้น จิตก็ไม่ได้หนี ไปอยู่บ้านช่อง ไร่นา หรือที่ไหน เลยเหมือนกัน แปลว่า สติคอยกำหนด ที่ส่วนสุด ข้างในแห่งหนึ่ง ข้างนอกแห่งหนึ่ง ระหว่างนั้น ปล่อยเงียบ หรือ ว่าง เมื่อทำได้อย่างนี้เป็นที่แน่นอนแล้ว ก็เลิกกำหนด ข้างในเสีย คงกำหนด แต่ข้างนอก คือที่ปลายจมูก แห่งเดียวก็ได้ สติคอยเฝ้ากำหนด อยู่แต่ที่ จะงอยจมูก ไม่ว่าลมจะกระทบ เมื่อหายใจเข้า หรือเมื่อหายใจออก ก็ตาม ให้กำหนดรู้ ทุกครั้ง สมมติเรียกว่า เฝ้าแต่ตรงที่ ปากประตู ให้มีความรู้สึก ครั้งหนึ่งๆ เมื่อลมผ่าน นอกนั้น ว่าง หรือ เงียบ ระยะกลาง ที่ว่าง หรือ เงียบ นั้น จิตไม่ได้หนี ไปอยู่ที่บ้านช่อง หรือที่ไหน อีกเหมือนกัน ทำได้อย่างนี้ เรียกว่า ทำบริกรรมในขั้น "ดักอยู่แต่ ในที่แห่งหนึ่ง" นั้น ได้สำเร็จ จะไม่สำเร็จ ก็ตรงที่จิตหนีไป เสียเมื่อไหร่ ก็ไม่รู้ มันกลับเข้าไป ในประตู หรือ เข้าประตูแล้ว ลอดหนีไปทางไหนเสียก็ได้ ทั้งนี้เพราะระยะที่ว่าง หรือ เงียบนั้น เป็นไปไม่ถูกต้อง และทำไม่ดีมาตั้งแต่ข้างต้น ของขั้นนี้ เพราะฉะนั้น ควรทำให้ดี หนักแน่น และแม่นยำ มาตั้งแต่ขั้นแรก คือ ขั้น "วิ่งตามตลอดเวลา" นั้นทีเดียว

    แม้ขั้นต้นที่สุด หรือที่เรียกว่า ขั้น "วิ่งตามตลอดเวลา" ก็ไม่ใช่ทำได้โดยง่าย สำหรับทุกคน และเมื่อทำได้ ก็มีผลเกินคาดมาแล้ว ทั้งทางกายและทางใจ จึงควรทำให้ได้ และทำให้เสมอๆ จนเป็นของเล่น อย่างการบริหารกาย มีเวลา สองนาทีก็ทำ เริ่มหายใจ ให้แรงจนกระดูกลั่น ก็ยิ่งดี จนมีเสียงหวีด หรือ ซูดซาด ก็ได้ แล้วค่อยผ่อน ให้เบาไปๆ จนเข้า ระดับปรกติ ของมัน ตามธรรมดาที่คนเราหายใจ อยู่นั้น ไม่ใช่ระดับปรกติ แต่ว่า ต่ำกว่า หรือ น้อยกว่าปรกติ โดยไม่รู้สึกตัว โดยเฉพาะ เมื่อทำกิจการงานต่างๆ หรือ อยู่ในอิริยาบถ ที่ไม่เป็นอิสระ นั้น ลมหายใจของตัวเอง อยู่ในลักษณะ ที่ต่ำกว่าปรกติ ที่ควรจะเป็น ทั้งที่ตนเอง ไม่ทราบได้ เพราะฉะนั้น จึงให้เริ่มด้วย หายใจอย่างรุนแรง เสียก่อน แล้วจึงค่อยปล่อย ให้เป็นไป ตามปรกติ อย่างนี้ จะได้ลมหายใจ ที่เป็นสายกลาง หรือ พอดี และทำร่างกาย ให้อยู่ในสภาพ ปรกติด้วย เหมาะสำหรับ จะกำหนด เป็นนิมิต ของอานาปานสติ ในขั้นต้น นี้ด้วย ขอย้ำ อีกครั้งหนึ่งว่า การบริกรรมขั้นต้น ที่สุดนี้ ขอให้ทำ จนเป็นของเล่นปรกติ สำหรับทุกคน และทุกโอกาสเถิด จะมีประโยชน์ ในส่วนสุขภาพ ทั้งทางกาย และทางใจ อย่างยิ่ง แล้วจะเป็น บันได สำหรับขั้นที่สอง ต่อไปอีกด้วย

    แท้จริง ความแตกต่างกัน ในระหว่างขั้น "วิ่งตามตลอดเวลา" กับขั้น "ดักดูอยู่เป็นแห่งๆ" นั้น มีไม่มากมายอะไรนัก เป็นแต่เป็นการ ผ่อนให้ประณีตเข้า คือ มีระยะ การกำหนดด้วยสติ น้อยเข้า แต่คงมีผล คือ จิตหนีไปไม่ได้ เท่ากัน เพื่อให้เข้าใจง่าย จะเปรียบกับ พี่เลี้ยง ไกวเปลเด็ก อยู่ข้างเสาเปล ขั้นแรก จับเด็กใส่ลงในเปล แล้วเด็กมันยัง ไม่ง่วง ยังคอยจะดิ้น หรือ ลุกออกจากเปล ในขั้นนี้ พี่เลี้ยง จะต้องคอย จับตาดู แหงนหน้าไปมา ดูเปล ไม่ให้วางตาได้ ซ้ายที ขวาที อยู่ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เด็ก มีโอกาสตกลงมา จากเปลได้ ครั้นเด็กชักจะยอมนอน คือ ไม่ค่อยดิ้นรนแล้ว พี่เลี้ยง ก็หมดความจำเป็น ที่จะต้อง แหงนหน้าไปมา ซ้ายทีขวาที ตามระยะ ที่เปลไกวไป ไกวมา พี่เลี้ยง คงเพียงแต่ มองเด็ก เมื่อเปลไกว มาตรงหน้าตน เท่านั้น ก็พอแล้ว มองแต่เพียง ครั้งหนึ่งๆ เป็นระยะๆ ขณะที่เปลไกว ไปมา ตรงหน้าตน พอดี เด็กก็ไม่มีโอกาส ลงจากเปล เหมือนกัน เพราะ เด็กชักจะยอมนอน ขึ้นมา ดังกล่าวมาแล้ว ระยะแรก ของการบริกรรม กำหนดลมหายใจ ในขั้น "วิ่งตามตลอดเวลา" นี้ ก็เปรียบกันได้กับ ระยะที่พี่เลี้ยง ต้องคอยส่ายหน้า ไปมา ตามเปลที่ไกว ไม่ให้วางตาได้ ส่วนระยะที่สอง ที่กำหนดลมหายใจเฉพาะที่ปลายจมูก หรือที่เรียกว่า ขั้น "ดักอยู่ แห่งใดแห่งหนึ่ง" นั้น ก็คือ ขั้นที่ เด็กชักจะง่วง และยอมนอน จนพี่เลี้ยง จับตาดูเฉพาะ เมื่อเปลไกว มาตรงหน้าตน นั่นเอง

    เมื่อฝึกหัด มาได้ถึง ขั้นที่สอง นี้อย่างเต็มที่ ก็อาจฝึกต่อไป ถึงขั้นที่ ผ่อนระยะการกำหนดของสติ ให้ประณีตเข้าๆ จนเกิดสมาธิ ชนิดที่แน่วแน่ เป็นลำดับไป จนถึงเป็นฌาณ ขั้นใด ขั้นหนึ่ง ได้ ซึ่งพ้นไปจาก สมาธิอย่างง่ายๆ ในขั้นต้นๆ สำหรับ คนธรรมดาทั่วไป และไม่สามารถ นำมากล่าว รวมกัน ไว้ในที่นี้ เพราะเป็นเรื่อง ที่ละเอียด รัดกุม มีหลักเกณฑ์ ซับซ้อน ต้องศึกษากัน เฉพาะผู้สนใจ ถึงขั้นนั้น

    ในชั้นนี้ เพียงแต่ขอให้สนใจ ในขั้นมูลฐาน กันไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเป็น ของเคยชิน เป็นธรรมดา อันอาจจะ ตะล่อมเข้าเป็น ชั้นสูงขึ้นไป ตามลำดับ ในภายหลัง ขอให้ ฆราวาสทั่วไป ได้มีโอกาส ทำสมาธิ ชนิดที่อาจทำ ประโยชน์ทั้ง ทางกาย และทางใจ สมความต้องการ ในขั้นต้น เสียชั้นหนึ่งก่อน เพื่อจะได้เป็นผู้ชื่อว่า มีศีล สมาธิ ปัญญา ครบสามประการ หรือ มีความเป็น ผู้ประกอบตนอยู่ใน มรรคมีองค์แปดประการ ได้ครบถ้วน แม้ในขั้นต้น ก็ยังดีกว่า ไม่มีเป็นไหนๆ กายจะระงับ ลงไปกว่า ที่เป็นอยู่ ตามปรกติ ก็ด้วยการฝึกสมาธิ สูงขึ้นไป ตามลำดับๆ เท่านั้น และจะได้พบ "สิ่งที่มนุษย์ ควรจะได้พบ" อีกสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้ไม่เสียที ที่เกิดมา.
     
  10. หนุ่มเมืองแกลง

    หนุ่มเมืองแกลง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2007
    โพสต์:
    32,522
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +210,857
    สมาธิขั้นใด ที่จำเป็นในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน


    สมาธิหรือสมาบัติขั้นใดกันแน่? ที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติวิปัสสนา(วิปัสสนากรรมฐาน) เป็นปัญหาที่ขบคิดตีความหรือวิจิกิจฉากันอย่างกว้างขวาง แม้ในจิตของนักปฏิบัติเองว่า สมาธิหรือฌานสมาบัติขั้นใดกันแน่ ที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติธรรมหรือพระกรรมฐานให้ก้าวหน้า กล่าวคือ จึงเป็นปัจจัยหนุนการวิปัสสนา เพื่อให้ถึงจุดมุ่งหมายแห่งพุทธธรรมเป็นสำคัญ

    สมาบัติ ๘ อันมี รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ นั้นมีมาก่อนพุทธกาลเสียอีก แม้องค์พระศาสดาก็ทรงเล่าเรียนมาจากพระคณาจารย์ เป็นสิ่งที่ปฎิบัติกันโดยทั่วไปในหมู่พราหมณ์และโยคี ตลอดจนในศาสนาอื่นๆมาช้านาน จึงยังไม่ใช่หนทางของการหลุดพ้นอย่างสิ้นเชิง เหตุเพราะขาดปัจจัยอันสำคัญยิ่งในพระศาสนา คือขาดการวิปัสสนา อันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดปัญญาในการหลุดพ้นหรือปัญญาวิมุตติ จึงจะทำให้เจโตวิมุตติอันเกิดแต่สมาบัติ ๘ อันยังเป็นเพียงวิขัมภนวิมุตติที่เสื่อมไปได้ เป็นสัมมาวิมุตติคือมรรคองค์ที่ ๑๐ อันไม่กลับกลายหายสูญหรือปรวนแปร

    สมาบัติ ๘ ก็คือ สภาวะผลอันสุขสงบประณีตที่เกิดขึ้น จากการปฏิบัติฌาน,สมาธินั่นเอง ซึ่งเมื่อนำไปเป็นปัจจัยเครื่องหนุนการเจริญวิปัสสนา ก็ย่อมทำให้การเจริญวิปัสสนานั้นเป็นไปได้อย่างมีกำลังและรวดเร็วขึ้น แต่พึงเข้าใจอย่างถูกต้องด้วยว่าไม่ใช่เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญญาวิมุตติ ขึ้นโดยตรงจึงเป็นปัจจัยเครื่องเกื้อหนุนต่อการวิปัสสนา ดังที่ตรัสแสดงไว้ใน สัลเลขสูตร ดังนี้

    อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงบรรลุฌาน(ทั้งหลาย)

    มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น

    และกล่าวถึงองค์ฌาน อันเกิดแต่สมาธิอยู่ ตามลำดับของฌานนั้นๆ

    ภิกษุนั้น(มัก)จะพึงมีความคิด(อย่างผิดๆ)อย่างนี้(ขึ้นมาได้)ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรม(ที่เป็น)เครื่องขัดเกลากิเลส(อย่างถูกต้องดีแล้ว)

    ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือฌาน(ทั้งหลาย)นี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ

    เรากล่าวว่า (ยัง)เป็น(เพียง)ธรรมเครื่องอยู่(ให้)เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ

    (สัลเลขสูตร)

    ดังท่านได้แบ่งพระอรหันต์เจ้า ออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ด้วยกัน กล่าวคือ

    พระสุกขวิปัสสก เป็นผู้เจริญวิปัสสนาล้วนจนสำเร็จพระอรหัตถผล ไม่ได้ฌานสมาบัติ ไม่ได้อภิญญา

    พระสมถยานิก มาจากคำว่า สมถะ+ยาน คือ ผู้มีสมถะเป็นยาน(พาหนะ,เครื่องนำไป) จึงหมายถึง ผู้เจริญสมถกรรมฐาน จนได้ฌานก่อนแล้ว จึงเจริญวิปัสสนาให้เกิดปัญญาวิมุตติสืบต่อไป

    หรือแยกแยะโดยละเอียด ท่านได้จัดไว้ ๕ ประเภท ด้วยกัน

    ๑. พระปัญญาวิมุต พระผู้เจริญวิปัสสนาล้วนสำเร็จพระอรหันต์ ไม่ได้ฌานสมาบัติ ไม่ได้อภิญญา
    ๒. พระอุภโตภาควิมุต คือ พระอรหันต์ผู้บำเพ็ญสมถะมาเป็นอย่างมากจนได้สมาบัติ ๘ แล้ว จึงใช้สมถะนั้นเป็นฐานบำเพ็ญวิปัสสนาต่อไปจนบรรลุอรหัตตผล กล่าวคือ หลุดพ้นทั้งสองส่วน กล่าวคือ แบ่งเป็นสองวาระ คือหลุดพ้นจากรูปกายด้วยอรูปสมาบัติ เป็นวิกขัมภนะหนหนึ่งแล้ว แล้วจึงหลุดพ้นจากนามกายด้วยอริยมรรค เป็นสมุจเฉท อีกหนหนึ่ง

    ๓. พระเตวิชชะ ผู้ได้วิชชา ๓ จากสมาบัติ

    ๔. พระฉฬภิญญะ ผู้ได้อภิญญา ๖ จากสมาบัติ

    ๕. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔ ปัญญาแตกฉาน มี ๔ กล่าวคือ อาจได้สมาบัติ หรือไม่ได้สมาบัติก็ได้ แต่ท่านปัญญาแตกฉานใน ๔ นี้

    ๕.๑ อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ ความแตกฉานสามารถอธิบายเนื้อความย่อของภาษิตโดยพิสดาร และความเข้าใจที่สามารถคาดหมายผลข้างหน้า อันจะเกิดสืบเนื่องไปจากเหตุ

    ๕.๒ ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม ปัญญาแตกฉานในธรรม, เห็นคำอธิบายพิสดาร ก็สามารถจับใจความมาตั้งเป็นหัวข้อได้ เห็นผลก็สืบสาวไปหาเหตุได้

    ๕.๓ นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ คือ ภาษา ปัญญาแตกฉานในภาษา คือเข้าใจภาษา รู้จักใช้ถ้อยคำให้คนเข้าใจ ตลอดทั้งรู้ภาษาต่างประเทศ

    ๕.๔ ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ ความแตกฉานในปฏิภาณได้แก่ไหวพริบ คือ ความแตกฉานในปฏิภาณได้แก่ไหวพริบ คือ โต้ตอบปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันท่วงที หรือแก้ไขเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ฉับพลันทันการ โต้ตอบปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันท่วงที หรือ แก้ไขเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ฉับพลันทันการ

    ทั้ง ๕ นี้ มีผลที่เหมือนกันทุกประการ กล่าวคือ บรรลุถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดของพุทธธรรม กล่าวคือ ดับทุกข์โดยสิ้นเชิง หรือสิ้นกิเลสตัณหาโดยสิ้นเชิง

    ทั้ง ๕ นี้ มีเหตุที่เป็นปัจจัยให้เกิดขึ้นเหมือนกันทุกประการเช่นกันก็คือ การเจริญวิปัสสนาหรือวิปัสสนากรรมฐาน จนเกิดปัญญาวิมุตติ เป็นที่สุด

    ส่วนพระอรหันต์ในข้อ ๒, ๓, ๔, ๕ นั้น ผู้บรรลุต้องได้สมาบัติ อันคือ สภาวะผลอันประณีตของฌานเสียก่อน ร่วมกับวิปัสสนากรรมฐาน กล่าวคือ ไม่ว่าอย่างไรเสียก็ต้องเจริญวิปัสสนา จนเกิดปัญญาวิมุตติอีกครั้งเป็นสำคัญ จึงถึงที่สุดแห่งทุกข์หรือได้พุทธธรรมได้

    จากการนี้ ถ้านักปฏิบัติโยนิโสมนสิการโดยแยบคาย คงพอเข้าใจได้ว่า อะไรเป็นเหตุปัจจัยสำคัญ ให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์? อะไรเป็นเครื่องเกื้อหนุนเครื่องอุดหนุนในการปฏิบัติพระกรรมฐาน? เพื่อให้ถึงจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติแห่งพุทธธรรมอย่างถูกต้องแนวทางได้ ชัดเจนขึ้น

    ดังนั้นพระสุกขวิปัสสก ท่านอาศัยสมาธิ เพียงระดับใช้ในการงานวิปัสสนาได้ดี ก็พอเพียงแล้ว ดังเช่น วิปัสสนาสมาธิ

    ส่วนพระสมถยานิก ท่านต้องผ่านการปฏิบัติฌานสมาธิอย่างแก่กล้า จนถึงขั้นสมาบัติ อันเป็นภาวะสงบประณีตซึ่งพึงเข้าถึงอันเกิดแต่ฌาน ๔ อรูปฌาน ๔

    เหตุที่กล่าวอ้างในเหตุเกิดของพระอริยเจ้าเสียโดยละเอียดนั้น ก็เพื่อทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง ก็เพียงเพื่อป้องกันการหลงผิดในการปฏิบัตินั่นเอง เพราะล้วนเกิดขึ้นแต่อวิชชา จึงถูกโมหะเข้า ครอบงำให้หลงผิด เดินทางหรือปฏิบัติผิด จนเกิดโทษขึ้นนั่นเอง เพราะฌานสมาธิหรือสมาบัติ อันเป็นปัจจัยเครื่องเกื้อหนุนนั้น ก็อุปมาได้ดั่งยา ถ้าบริโภคอย่างถูกต้องก็ยังประโยชน์ยิ่ง ย่อมช่วยรักษาร่างกายให้หายเจ็บไข้ได้ป่วย แต่ถ้าหลงทานผิดหรือพร่ำเพรื่อ เสีย ด้วยไม่รู้ ไม่จำกัดปริมาณ ก็จักกลับกลายเป็นยาพิษ ทำลายผู้บริโภคนั้นเสียเองให้ถึงทุกข์หรือถึงแก่ความตายได้ ฌานสมาธิหรือสมาบัติก็ฉันนั้น

    ส่วนใหญ่นักปฏิบัติมีความตั้งใจดี มาปฏิบัติธรรมอย่างจริงจังด้วยความเห็นชอบอันประเสริฐยิ่งแล้วอันคือสัมมา ทิฏฐิ แต่ขาดสัมมาสังกัปปะเสียโดยไม่รู้ตัว จึงไปหลงเจริญแต่ในสมถกรรมฐาน ก็ด้วยความไม่เข้าใจเพราะไม่ได้ศึกษาอย่างจริงจัง จึงเข้าใจผิด หลงคิดไปเองว่า ตนเองนั้นได้ทำการเจริญวิปัสสนาไปด้วยแล้วคือปฏิบัติ"สมถวิปัสสนา" กล่าวคือ ด้วยคิดว่าได้ปฏิบัติดีแล้วทั้งฝ่ายสมถะและวิปัสสนาด้วยอวิชชาก็มี ทั้งๆที่ปฏิบัติอยู่ในเพียงสมถะเท่านั้น ดังนั้นบางท่านเมื่อปฏิบัติไป ก็มีความคิดความเห็น เตลิดเปิดเปิงหลงไหลหรือมิจฉาทิฏฐิไปในทางฤทธิ์ทางเดชหรือปาฏิหาริย์ด้วย อวิชชาก็มี, บ้างก็เห็นว่าต้องเจริญสมาธิหรือฌานสมาบัติจนเชี่ยวชาญถึงรูปฌาน ๔ หรือสมาบัติ ๘ เสียก่อนเท่านั้น จึงจะเจริญวิปัสสนาได้ด้วยอวิชชาก็มี จนหลงติดเพลินไปในฌานสมาธิเสียก่อนก็มี, บ้างก็เข้าใจว่าต้องเจริญสมาธิหรือฌานสมาบัติให้ประณีตแล้ว ปัญญาความรู้หรือญาณต่างๆก็จักบังเกิดผุดขึ้นเองในที่สุด ด้วยอวิชชาก็มี, มาปฏิบัติเพราะทุกข์กายทุกข์ใจรุ้มเร้าร้อนรนหาทางออกไม่ได้ จึงเร่งรีบขาดการศึกษาหรือโยนิโสมนสิการก็มี, ศึกษาแล้วแต่แบบทางโลกจนคิดว่าเข้าใจดีแล้ว แต่ขาดการโยนิโสมนสิการจึง หลงก็มีเป็นจำนวนมาก, มาปฏิบัติเพราะต้องการสั่งสมบุญเพื่อแก้กรรมอันหลอกหลอนเร่าร้อนก็มี, มาสั่งสมบุญเพียงเพื่อหวังสะสมผลบุญในภพชาตินี้และภพชาติหน้าก็มี ฯลฯ. จึงล้วนเป็นเหตุให้ขาดการเจริญในวิปัสสนาอันเป็นปัจจัยสำคัญหรือหัวใจของการ ปฏิบัติในพระพุทธศาสนา และยิ่งเมื่อมาปฏิบัติโดยขาดครูบาอาจารย์ที่เข้าใจธรรมแท้จริง หรือปฏิบัติจากการอ่านศึกษาเองโดยขาดการโยนิโสมนสิการ จึงเกิดความเข้าใจผิดพลาด หรือหลงไปติดสุขอยู่แต่ในสมถกรรมฐานหรือสมาบัติแต่ฝ่ายเดียว โดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชา เนื่องด้วยยังให้เกิดความสุข ความสงบอันประณีตยิ่งกว่ากามคุณทั้ง ๕ เสียอีก แต่เป็นอย่างยิ่งในระยะหนึ่งเท่านั้นเอง ยังกลับกลายไม่เที่ยงเป็นเพียงวิกขัมภนวิมุตติ จึงกลับกลายเป็นทุกข์ได้อีก และอาจเป็นทุกข์เสียยิ่งกว่าเดิมด้วยอวิชชาความเข้าใจผิด ด้วยปฏิบัติผิดนั่นแล

    และยังมีนักปฏิบัติอีกประเภทแอบจิตอยากได้โลกียอภิญญาประเภทมีฤทธิ์มีเดชก็ มีมาก ไม่ว่าจะด้วยโมหะอันเกิดแต่ความไม่รู้ด้วยอวิชชา หรือความคึกคะนองอวดเก่งอวดกล้าอันเกิดจากอำนาจของฌานสมาธิที่คัดหลั่งมาโดย ตรง หรือโลภะเพื่อประโยชน์ในทางโลกก็ตามที จึงมุ่งเน้นปฏิบัติแต่ด้านสมถะล้วนแต่ฝ่ายเดียวขาดการวิปัสสนา จนต้องประสบทุกข์โทษภัยเป็นที่สุด ด้วยไปติดบ่วงของฌานสมาบัติอันประณีตเสียจนดิ้นไม่หลุดไปจนวันตาย และสภาวะอันสุขสงบประณีตเหล่านั้นก็แปรไปเป็นทุกข์อย่างยิ่งยวดเสียด้วยใน ที่สุด ด้วยคิดเข้าใจว่าจักควบคุมบังคับได้ตามใจปรารถนาด้วยอวิชชา จึงไม่รู้ว่าการเลื่อนไหลเข้าไปติดเพลินของฌานสมาบัตินั้นช่างแสนง่ายดายและ แสนละเอียดอ่อนนอนเนื่อง จนจัดเป็นสังโยชน์ขั้นสูงหรือขั้นละเอียดคือรูปราคะและอรูปราคะ ที่ปุถุชนยังไม่สามารถสลัดออกได้ จึงพากันเป็นทุกข์กันจนวันตายดังที่มีพระอริยะได้กล่าวไว้เป็นอเนก

    ส่วนการจะไม่ปฏิบัติสมาธิเสียเลยก็ไม่ได้ เพราะเป็นมรรคองค์ที่ ๘ กล่าวคือ เป็นข้อปฏิบัติอันสำคัญยิ่งในการปฏิบัติวิปัสสนาเพื่อยังให้เกิดสัมมาญาณ เช่นกัน เพราะสมาธินั้นเป็นทั้ง กำลังของจิต๑ เป็นเครื่องอยู่แทนกามในเบื้องต้น๑ ความสงบเป็นเครื่องหนุนปัญญา๑ ฯ. แต่สมาธิขั้นไหน จึงเหมาะต่อการวิปัสสนา ที่ยังให้ถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดของพุทธธรรม นักปฏิบัติจึงต้องคิดพิจารณาหรือดำริชอบ(สัมมาสังกัปปะ)ด้วยว่า ปฏิบัติด้วยจุดประสงค์อะไรเป็นสำคัญ สมาธิขั้นใดจึงเหมาะแก่อินทรีย์ตน รวมทั้ง เพศ(ภิกษุ, ฆราวาส ฯ.), อาชีพการงาน, เวลา ฯ. เหล่านี้ก็มีส่วนเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์เป็นเหตุปัจจัยอันสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เช่นกัน ดังในเพศฆราวาส ผู้เขียนก็แนะนำให้ปฏิบัติ "วิปัสสนาสมาธิ" ซึ่งเหมาะต่อทุกเพศ ทุกฐานะ ฯ. ตลอดจนเหมาะอย่างยิ่งในยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ต้องดิ้นรนเร่าร้อนเต้นเร่า และรัดตัวในการดำเนินชีวิตกันเป็นอย่างยิ่ง

    ด้วยเหตุดังนี้ ผู้เขียนขอกราบอาราธนารวบรวมข้อคิดข้อธรรมของเหล่าพระอริยเจ้า นำมาแสดงเป็นลำดับต่อไป เพื่อให้ใช้วิจารณญาณ เพื่อประกอบการพิจารณาให้เกิดปัญญาด้วยตนเองว่า ปฏิบัติสมาธิเพื่ออะไร โดยมีจุดประสงค์อะไร จะได้พิจารณาด้วยตนเองว่า ควรปฏิบัติหรือใช้สมาธิในขั้นใด สมาธิอย่างไร จึงเหมาะสมหรือพอเพียงต่อการวิปัสสนาให้ถึงจุดหมายในพุทธธรรมในที่สุด โดยไม่หลงทางหรือหลงจุดประสงค์ของการปฏิบัติ

    ผู้เขียนจึงขอกราบอาราธนาข้อธรรมจากหนังสือ"พุทธธรรม" โดย ท่านพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ปัจจุบันท่านดำรงพระสมณศักดิ์ "พระพรหมคุณาภรณ์" เป็นลำดับแรก เพื่อให้นักปฏิบัติได้พิจารณาให้เกิดปัญญามั่นคงในการปฏิบัติให้เป็นไปอย่าง ถูกต้องแนวทาง ตามที่ท่านได้บันทึกไว้ในหนังสือ"พุทธธรรม"อันทรงคุณค่ายิ่ง มีความดังต่อไปนี้

    "สมาธิ เป็นองค์ธรรมที่สำคัญยิ่งข้อหนึ่งก็จริง แต่ก็มีขอบเขตความสำคัญที่พึงตระหนักว่า สมาธิมีความจำเป็นแค่ไหนเพียงใด ในกระบวนการปฏิบัติ เพื่อเข้าถึงวิมุตติ อันเป็นจุดหมายของพุทธธรรม(ธรรมของพระพุทธเจ้า อันมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่ความสุข อันเกิดจากการหลุดพ้นจากความทุกข์ - webmaster) ขอบเขตความสำคัญนี้ อาจสรุปดังนี้

    ๑. ประโยชน์ของสมาธิ ในการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงจุดหมายของพุทธธรรมนั้น อยู่ที่การนำมาใช้เป็นที่ทำการสำหรับให้ปัญญาปฏิบัติการอย่างได้ผลที่สุด และสมาธิที่ใช้ในการนี้ก็ไม่จำต้องเป็นขั้นที่เจริญถึงที่สุด ลำพังสมาธิอย่างเดียวแม้จะเจริญถึงขั้นฌานสูงสุด หากไม่ก้าวสู่ขั้นใช้ปัญญาแล้ว ย่อมไม่สามารถทำให้ถึงจุดหมายของพุทธธรรมได้อย่างเป็นอันขาด

    ๒. ฌานต่างๆทั้ง ๘ ขั้น แม้จะเป็นภาวะจิตที่ลึกซึ้ง แต่ในเมื่อเป็นผลของกระบวนการปฏิบัติที่เรียกว่าสมถะอย่างเดียวแล้ว ยังเป็นเพียงโลกีย์เท่านั้น จะนำไปปะปนกับจุดมุ่งหมายทางพุทธธรรมหาได้ไม่

    ๓. ในภาวะแห่งฌานที่เป็นผลสำเร็จของสมาธินั้น กิเลสต่างๆสงบระงับไป จึงเรียกว่าเป็นการหลุดพ้นเหมือนกัน แต่ความหลุดพ้นนี้มีชั่วคราวเฉพาะเมื่ออยู่ในภาวะนั้นเท่านั้น และถอยกลับสู่สภาพเดิมได้ ไม่ยั่งยืนแน่นอน ท่านจึงเรียกการหลุดพ้นชนิดนี้ว่าเป็นโลกียวิโมกข์ (ความหลุดพ้นขั้นโลกีย์) เป็นกุปปวิโมกข์ (ความหลุดพ้นที่กำเริบคือเปลี่ยนแปลงกลับกลายหายสูญได้) และเป็นวิกขัมภนวิมุตติ (ความหลุดพ้นด้วยข่มไว้ คือ กิเลสระงับไปเพราะถูกกำลังสมาธิข่มไว้ เหมือนเอาแผ่นหินทับหญ้า ยกแผ่นหินออกเมื่อใด หญ้าย่อมกลับงอกงามขึ้นได้ใหม่)

    จากข้อพิจารณาที่กล่าวมานี้ จะเห็นว่า ในการปฏิบัติเพื่อเข้าสู่จุดมุ่งหมายของพุทธธรรมนั้น องค์ธรรมหรือตัวการสำคัญที่สุดที่เป็นตัวตัดสินใจในขั้นสุดท้าย จะต้องเป็นปัญญา และปัญญาที่ใช้ในการปฎิบัติการในขั้นนี้ เรียกชื่อเฉพาะได้ว่า วิปัสสนา ดังนั้น การปฏิบัติจึงต้องก้าวมาถึงขั้นวิปัสสนาด้วยเสมอ ส่วนสมาธินั้น แม้จะจำเป็น แต่อาจยืดหยุ่นเลือกใช้ขั้นใดขั้นหนึ่งก็ได้ เริ่มแต่ขั้นต้นๆ ที่เรียกวิปัสสนา-สมาธิ ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับขณิกสมาธิ และอุปจารสมาธิ เป็นต้นไป..........................."

    (พุทธธรรม หน้า ๘๖๘ - ๘๖๙)

    ลำดับต่อไปผู้เขียน ขอกราบอาราธนาข้อธรรมจากหลวงตา มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน

    "หลักใหญ่ให้จิตสงบได้นั้นแหละของดี เพียงจิตสงบเท่านั้นก็ตัดความกังวลวุ่นวาย ซึ่งเคยประจำจิตเสียดแทงจิตออกได้โดยลำดับลำดา จนถึงกับเป็นขั้นสบาย เพราะฉนั้นผู้ภาวนาเมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว จึงมักขี้เกียจในการพิจารณาธรรมทั้งหลายด้วยปัญญา นอนจมอยู่กับสมาธินั้นเสียไม่ออกพินิจพิจารณา สุดท้ายก็เข้าใจว่าความรู้ที่แน่วแน่แห่งความเป็นสมาธิของตนนั้นเป็นมรรคผล นิพพานไปเลย ในข้อนี้ผมเคยเป็นแล้ว จึงได้นำมาอธิบายให้ท่านทั้งหลายได้ทราบ ว่าสมาธิต้องเป็นสมาธิ ปัญญาต้องเป็นปัญญา เป็นคนละสัดเป็นคนละส่วน เป็นคนละอันจริงๆ ไม่ใช่อันเดียวกัน หากเป็นอยู่ในจิตอันเดียวกันนั่นแล เป็นแต่เพียงไม่เหมือนกัน.............ผู้ที่เป็นสมาธิ ถ้าไม่ออกพิจารณาทางด้านปัญญา จะเป็นสมาธิอย่างนั้นตลอดไป จนกระทั่งวันตาย ก็หาเป็นนิพพานได้ไม่ หาเป็นปัญญาได้ไม่ ต้องเป็นสมาธิอยู่ตลอดไป นี่ละท่านจึงสอนให้ออกพิจารณาทางด้านปัญญา มีความจำเป็นอย่างนี้ให้ทุกๆท่านจำไว้ให้แม่นยำ นี่สอนด้วยความแม่นยำด้วย สอนด้วยความแน่ใจของเจ้าของ เพราะได้ผ่านมาแล้วอย่างนี้ ติดสมาธิก็เคยติดมาแล้ว.............."

    (จาก หลักเกณฑ์การปฏิบัติสมาธิ - ปัญญา (๓ พฤษภาคม ๒๕๔๑) โดย พระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน)

    ลำดับต่อไปผู้เขียน ขอกราบอาราธนาข้อธรรมจากหลวงปู่ดูลย์ อตุโล

    มีผู้ไปกราบเรียนหลวงปู่(หมายถึง หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) เรื่องสมาธิว่าปฏิบัติได้ดีอย่างยิ่ง เหลือแต่ความสุข สุขอย่างยิ่ง เย็นสบาย แม้จะให้อยู่อย่างนี้นานเท่าไรก็ได้

    หลวงปู่ยิ้มแล้วพูด

    "เออ ก็ดีแล้วที่ได้ผล พูดถึงความสุขในสมาธิมันก็สุขจริงๆ จะเอาอะไรมาเปรียบเทียบมิได้ แต่ถ้าติดอยู่แค่นั้น มันก็ได้แค่นั้นแหละ ยังไม่เกิดปัญญาอริยมรรค ที่จะตัด ภพ ชาติ ตัณหา อุปาทาน ให้ละสุขนั้นเสียก่อน แล้วพิจารณาขันธ์ ๕ ให้แจ่มแจ้งต่อไป"

    (จาก อตุโล ไม่มีใดเทียม หน้า๔๙๕)

    ลำดับต่อไปผู้เขียน ขอกราบอาราธนาข้อธรรมจาก ท่านพุทธทาส ที่กล่าวแสดงทั้งสมถกรรมฐานหรือสมาธิ และสมถวิปัสสนา

    "........ในการเจริญสมาธิ ก็เป็นอย่างเดียวกันอีก คือ สมาธิเอาบุญก็ได้ เอากุศลก็ได้ สมาธิเพื่อดูนั่นดูนี่ ติดต่อกับคนโน้นคนนี้ที่โลกอื่น ตามที่ตนกระหาย จะทำให้เก่งกว่าคนอื่น หรือ สมาธิเพื่อการไปเกิดในภพนั้น ภพนี้ อย่างนี้เรียกว่า สมาธิเอาบุญ หรือ ได้บุญ เพราะทำใจให้ฟู ให้พอง ตามความหมายของมันนั่นเอง(webmaster-บุญ แปลว่า ความใจฟู ความอิ่มเอิบ) ซึ่งเป็นของที่ปรากฏว่า ทำอันตรายแก่เจ้าของถึงกับต้องรับการรักษาเป็นพิเศษ หรือรักษาไม่หายจนตลอดชีวิตก็มีอยู่ไม่น้อย เพราะว่าสมาธิเช่นนี้ มีตัณหาและทิฎฐิเป็นสมุฎฐาน แม้จะได้ผลอย่างดีที่สุด ก็เพียงได้เกิดในวัฏสงสารตามที่ตนปรารถนาเท่านั้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน ส่วนสมาธิที่มีความมุ่งหมาย เพื่อการบังคับใจตัวเองให้อยู่ในอำนาจ เพื่อกวาดล้างกิเลสอันกลุ้มรุมจิตให้ราบเตียน ข่มขี่มิจฉาทิฏฐิอันจรมาในปริมณฑลของจิต ทำจิตให้ผ่องใส เป็นทางเกิดของวิปัสสนาปัญญา อันดิ่งไปยังนิพพาน เช่นนี้เรียกว่า สมาธิได้กุศล ไม่ทำอันตรายใคร ไม่ต้องหาหมอรักษา ไม่หลงวนเวียน ในวัฎสงสาร จึงตรงกันข้ามจากสมาธิเอาบุญ"

    (จาก บุญ กับ กุศล โดย ท่านพุทธทาส)

    ลำดับต่อไปผู้เขียน ขอกราบอาราธนาข้อธรรมจาก ท่านหลวงปู่ เทสก์ เทสรังสี

    ในหนังสือส่องทางสมถวิปัสสนาของหลวงปู่ เทสก์ เทสรังสี ได้มีกล่าวถึงการปฏิบัติไว้ทั้ง ๒ ทาง คือแบบสมถะหรือสมาธิล้วนๆ และอีกแบบหนึ่งที่ท่านกล่าวว่า แนวนี้เดินสมํ่าเสมอกว่าแนวสมถะล้วนๆ คือ แนวสมถวิปัสสนา กล่าวคือ การใช้สมาธิเป็นบาทฐานของวิปัสสนานั่นเอง ท่านได้กล่าวไว้ดังนี้

    "บริกรรมหรือเพ่งอย่างนั้นเหมือนกัน(หมายถึงเหมือนสมถะ) แต่ไม่ให้จิตสงบ คือน้อมจิตให้เข้าไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว(webmaster - เช่นในข้อธรรม หรือนิมิตอันดีงามถูกต้องเช่น อสุภหรือธาตุ) เพ่งพิจารณานิมิตนั้นให้เป็นธาตุหรือเป็นอสุภ ยกขึ้นสู่(การพิจารณาด้วยปัญญาใน)ไตรลักษณ์เป็นต้น เมื่อเห็นชัดแล้วจิตจะรวมลงไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว หรือจะเป็นสมาธิ หรือจะเกิดปัญญาให้สลดสังเวชก็ได้ พูดย่อๆ เรียกว่า หัดสมถะเป็นไปพร้อมกันกับวิปัสสนา" (ก็คือ สมถวิปัสสนา)

    (จาก ส่องทางสมถวิปัสสนา)

    ส่วนใน โมกขุบายวิธี ก็มีกล่าวไว้เช่นกันถึงการปฏิบัติแต่สมถะแต่ฝ่ายเดียว จนยังให้โทษ

    "ฌาน ได้แก่ การเพ่ง และเพ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว จะเป็นกสิณ หรืออะไรก็ได้ทั้งนั้น แต่ข้อสำคัญจะต้องให้จิตจับจ้องอยู่ในเฉพาะอารมณ์อันนั้นเป็นใช้ได้ เบื้องต้นจะต้องตั้งสติควบคุมจิตให้แน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียวอย่างแน่น แฟ้น เมื่อจิตถอนออกจากอารมณ์อื่นมารวมอยู่ในอารมณ์อันเดียวเรียกว่า เอกัคคตารมณ์ เสวยความสุขอันไม่เคยได้รับมาแต่ก่อน จิตก็จะยินดีและน้อมเข้าไปสู่เอกัคคตารมณ์อย่างยิ่ง เรียกว่า เพ่งเอาความสุขอันเกิดจากเอกัคคตารมณ์เป็นอารมณ์ของฌานต่อไป จนเป็นเหตุให้เผลอตัวลืมสติไปยึดมั่นเอาเอกัคคตาว่าเป็นของบริสุทธิ์และดี เลิศ จิตตอนนี้จะรวมวูบเข้า ภวังค์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆ กับเผลอสติ หรือลืมสติไปเสียเลยอยู่พักหนึ่ง แล้วจึงรู้สึกตัวขึ้นมา แต่ผู้ที่เคยเป็นบ่อยและชำนาญแล้ว จะมีลักษณะเช่นนั้นเหมือนกันแต่เป็นไม่แรง และนิมิตหรือความรู้อะไรจะเกิดก็มักเกิดในระยะนี้ เมื่อนิมิตและความรู้เกิดขึ้นแล้ว จิตที่อยู่ในเอกัคคตานั้นจะวิ่งตามไปอย่างง่ายดาย จิตที่อยู่ในเอกัคคตารมณ์เป็นของเบาและไวต่ออารมณ์มาก(อารมณ์ จึงหมายถึง ไวต่อสิ่งที่จิตไปยึดเหนี่ยวในการกระทบเช่น รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ความคิดต่างๆ - webmaster) ที่เรียกว่า จิตส่งใน เป็นภัยต่อผู้เจริญฌานอย่างยิ่ง บางทีอาจทำให้เสียผู้เสียคนไปก็มี ฌานมีเอกัคคตารมณ์เป็นเครื่องวัดในที่สุด แต่ไม่มีปัญญาจะพิจารณาสังขารให้เห็นเป็นพระไตรลักษณญาณได้ กิเลสของผู้ได้ฌานก็คือมานะแข็งกระด้างทิฐิถือรั้นเอาความเห็นของตัวว่าเป็น ถูกทั้งหมด คนอื่นสู้ไม่ได้ เรื่องนี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความแน่วแน่ของฌานหรือทิฐินิสัยเดิมของ แต่ละบุคคลอีกด้วย ผู้ที่ผ่านเรื่องนั้นมาด้วยกันแล้วหรือมีจิตใจสูงกว่าเท่านั้นจึงจะแก้และ แสดงให้เขาเห็นจริงตามได้ ถ้าแก้ไม่ตกก็เสียคนไปเลย"

    จาก โมกขุบายวิธี โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

    การฝึกหัดสมถะ (ที่เรียกว่า ฌาน สมาธิ) นี้ ความประสงค์ที่แท้จริงทางพุทธศาสนา ก็คือต้องการความสงบแห่งจิต เพื่อรวบรวมกำลังใจ ให้มีความเข้มแข็งอยู่ในจุดเดียว (ที่เรียกว่าเอกัคคตารมณ์) อันเป็นมูลฐานให้เกิดความรู้ความฉลาด สามารถรู้แจ้งเห็นจริงในสภาวธรรมทั้งหลายด้วยญาณทัสสนะ และขจัดสรรพกิเลสบาปธรรมทั้งปวงให้สิ้นไป มิใช่เพียงเพื่อจะนำไปใช้ด้วยเหตุอื่นภายนอก มีการนำไปใช้ในทางวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ เป็นต้น แต่เป็นการชำระใจให้ผ่องใสโดยเฉพาะจากนิวรณ์ ๕ เป็นต้น แต่เมื่อหัดให้ชำนาญแล้ว จะนำไปใช้ในทางใดก็ได้ตามประสงค์ ถ้าหากการใช้นั้นไม่ทำให้เกิดโทษแก่ตนและคนอื่น

    จาก เทสโกวาท โดยหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หน้า ๘๔

    ปัญญาวิปัสสนา

    วิปัสสนาเป็นยอดเยี่ยมของปัญญาในพระพุทธศาสนา เป็นคู่กับสมถะคือสมาธินั่นเอง

    ท่าน ผู้รู้บางท่านถือว่าสมถะเป็นเรื่องหนึ่ง วิปัสสนาก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ผู้เจริญสมถะไม่ต้องเจริญวิปัสสนา เมื่อเจริญสมถะแก่กล้าแล้ว จึงค่อยเจริญวิปัสสนา ความข้อนั้นไม่จริง

    ตามความเป็นมา ผู้เจริญสมถะมักต้องเจริญวิปัสสนาเป็นคู่กันไป เช่น เจริญสมถะต้องพิจารณาธาตุ ๔ อินทรีย์ ๖ เป็นต้น

    จาก สิ้นโลก เหลือธรรม โดยหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หน้า ๕๗

    ลำดับต่อไปผู้เขียน ขอกราบอาราธนาข้อธรรมจาก หลวงพ่อชา สุภัทโท

    คำถาม - ขอให้(หลวงพ่อชา)อธิบายเพิ่มที่ว่าสมถะหรือสมาธิ และวิปัสสนาหรือปัญญานี้เป็นสิ่งเดียวกัน

    นี่ก็เป็นเรื่องง่ายๆ นี่เอง สมาธิ (สมถะ) และปัญญา (วิปัสสนา) นี้ ต้องควบคู่กันไป เบื้องแรกจิตจะตั้งมั่นเป็นสมาธิอยู่ได้โดยอาศัยอารมณ์ภาวนา จิตจะสงบตั้งมั่นอยู่ได้เฉพาะขณะที่ท่านนั่งหลับตาเท่านั้น นี่คือสมถะและอาศัยสมาธิเป็นพื้นฐาน ช่วยให้เกิดปัญญาหรือวิปัสสนาได้ ในที่สุดแล้วจิตก็จะสงบไม่ว่าท่านจะนั่งหลับตาอยู่หรือเดินอยู่ในเมือง วุ่นวาย เปรียบเหมือนกับว่า ครั้งหนึ่งท่านเคยเป็นเด็ก บัดนี้ท่านเป็นผู้ใหญ่ แล้วเด็กกับผู้ใหญ่นี้เป็นบุคคลคนเดียวกันหรือเปล่า ท่านอาจจะพูดได้ว่าเป็น คนคนเดียวกัน หรือถ้ามองอีกแง่หนึ่งท่านก็อาจจะพูดได้ว่าเป็นคนละคนกัน ในทำนองเดียวกัน สมถะกับวิปัสสนา ก็อาจจะพูดได้ว่าเป็นคนละเรื่องกัน หรือเปรียบเหมือนอาหารกับอุจจาระ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นคนละสิ่งกัน
    อย่าเพิ่งเชื่อสิ่งที่ผมพูดมานี้ จงฝึกปฏิบัติต่อไป และเห็นจริงด้วยตัวของท่านเอง ไม่ต้องทำอะไร พิเศษไปกว่านี้ ถ้าท่านพิจารณาว่าสมาธิและปัญญาเกิดขึ้นได้อย่างไรแล้ว ท่านจะรู้ความจริงได้ด้วยตัว ของท่านเอง
    ทุกวันนี้ผู้คนไปยึดมั่นอยู่กับชื่อเรียก ผู้ที่เรียกการปฏิบัติของพวกเขาว่า “วิปัสสนา” สมถะก็ถูกเหยียดหยาม หรือผู้ที่เรียกการปฏิบัติของพวกเขาว่า “สมถะ” ก็จะพูดว่าจำเป็นต้องฝึกสมถะก่อน วิปัสสนา เหล่านี้เป็นเรื่องไร้สาระ อย่าไปวุ่นวายคิดถึงมันเลย เพียงแต่ฝึกปฏิบัติไป แล้วท่านจะรู้ได้ด้วย ตัวท่านเอง

    คำถาม - ในการปฏิบัติของเรา จำเป็นที่จะต้องเข้าถึงฌานหรือไม่

    ไม่ ฌานไม่ใช่เรื่องจำเป็น ท่านต้องฝึกจิตให้มีความสงบ และมีอารมณ์เป็นหนึ่ง(เอกัคคตา) แล้วอาศัยอันนี้สำรวจตนเอง ไม่ต้องทำอะไรพิเศษไปกว่านี้ ถ้าท่านได้ฌานในขณะฝึกปฏิบัตินี้ก็ใช้ได้เหมือนกัน แต่อย่าไปหลงติดอยู่ในฌาน หลายคนชะงักติดอยู่ในฌาน มันทำให้เพลิดเพลินได้มากเมื่อไปเล่นกับมัน ท่านต้องรู้ขอบเขตที่สมควร ถ้าท่านฉลาดท่านก็จะเห็นประโยชน์และขอบเขตของฌาน เช่นเดียวกับที่ท่านรู้ขั้นความสามารถของเด็ก และขั้นความสามารถของผู้ใหญ่

    จาก หลวงพ่อชา สุภัทโท ตอบปัญหาธรรม

    ลำดับต่อไปผู้เขียน ขอกราบอาราธนาข้อธรรมจาก ท่านหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

    "....แล้วการที่เรามาใช้ปัญญาพิจารณา เหตุผลต่างๆ ที่จิตใจมันยึดมั่นถือมั่นอยู่นั้น อันนั้นมันเป็นวิธีการที่จะละอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นให้หมดไปสิ้นไป แต่ลำพังสมาธินั้น เพียงแต่ระงับความอยาก ความหิวไปได้ชั่วระยะหนึ่งเท่านั้นเอง ส่วนที่จะละความอยากความหิวให้มันขาดเด็ดออกไปจากจิตใจได้ ต้องอาศัยปัญญา....(และ)ปัญญานั้นก็ต้องเกิดจากสมาธิ(เป็นเครื่องหนุน) ....ฯ."

    จาก บุญญาพาชีวิตรอด



    หลักปฏิบัติ สมถสมาธิ(สมถกรรมฐาน)

    - ให้หยุดคิดหยุดนึกทั้งปวง มีแต่สติหรือจิตตั้งมั่นอยู่แต่ในอารมณ์ อันมีสุขและกำลังยิ่ง

    หลักปฏิบัติ วิปัสสนา(วิปัสสนากรรมฐาน)

    - ให้หยุดแต่การคิดนึกปรุงแต่ง มีแต่สติหรือจิตอยู่กับการคิดพิจารณา(ใช้ปัญญา)ในเหล่าธรรมอันเป็นกุศล อันเป็นปัญญายิ่ง

    ส่วนหลักปฎิบัติ สมถวิปัสสนา

    - เมื่อปฏิบัติสมถสมาธิ(สมถกรรมฐาน)เป็นสุขและมีกำลัง แล้วเจริญวิปัสสนา(วิปัสสนากรรมฐาน) จึงยังทั้งสุขและกำลังและปัญญาอันยิ่งขึ้นๆไป

    หนึ่งในสมถวิปัสสนาอันดีงามยิ่ง คือวิปัสสนาสมาธิ
     
  11. หนุ่มเมืองแกลง

    หนุ่มเมืองแกลง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2007
    โพสต์:
    32,522
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +210,857
    หากใครพบหินกระโดด ที่มักมีคนเอามาเสนอขายตามจังหวัดชายแดนทั้งกาญจนบุรี ตาก แม่ฮ่องสอน และบอกว่าเป็นเหล็กไหลชนิดหนึ่ง ให้ดูเฉยๆไว้ก่อน อย่าเสียเงินซื้อไม่ว่าจะก้อนละ 1,000.- หรือก้อนละแสนบาท ของจริงก็มีแต่หายากมาก พวกฤาษีในป่าในถ้ำจะมีติดตัวกันแทบทุกคน
    ของที่เอาออกมาขายกันนั้น ก้อนขนาดเท่าเม็ดถั่วดำ(ใหญ่กว่าถั่วเขียว) จะหมุนได้เองเมื่อวางบนพื้นที่เป็นโลหะ หรือบนโต๊ะ ไม่ใช่เหล็กไหลอะไร เป็นหินแร่ชนิดหนึ่งในป่ากะเหรี่ยง เหมือนเป็นแหล่งพลังงานแม่เหล็ก ที่มีการผลักและดันกับสนามแม่เหล็กโลก เพิ่งเห็นเพื่อนไปซื้อมาแล้วเสียดายเงินแทน ซื้อมาก็หลายบาทเสียด้วย อย่าสนใจว่ามันเป็นของวิเศษของแท้อะไรเลย กะเหรี่ยงเดี๋ยวนี้ไม่ใช่คนโง่แบบเก่าแล้ว เพราะผมก็เคยโดนมาแล้วเมื่อสี่ปีก่อน
     
  12. หนุ่มเมืองแกลง

    หนุ่มเมืองแกลง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2007
    โพสต์:
    32,522
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +210,857
    ผู้ที่นำเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งเก่าและใหม่ หรือเครื่องช่วยการศึกษาอื่นๆ ไปบริจาคให้นักเรียนโรงเรียนวัดหนองสะเดา หรือมอบให้ไว้ที่หลวงพ่อสุนทร เมื่อท่านได้บริจาคให้แล้ว รบกวนแจ้งให้ผมทราบด้วยครับ แจ้งด้วยว่าท่านบริจาคอะไรและจำนวนกี่ชุด โดยแจ้งทาง pm หรือ แจ้งมาที่เมลล์ siamaraya@gmail.com เพราะผมได้เตรียมทำของพิเศษไว้ให้ท่านแล้ว ไม่มีขายและดีมากๆแน่นอน เพื่อตอบแทนน้ำใจที่ท่านได้บริจาคเป็นทานต่อเด็กด้อยโอกาสเหล่านี้ ขออนุโมทนากับจิตใจอันเป็นกุศลแบบนี้ด้วยครับ
     
  13. แก้วสว่าง

    แก้วสว่าง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    3,232
    ค่าพลัง:
    +49,927
    สมาชิกใหม่ แก้วสว่าง

    สวัสดีครับ! ผมในฐานะสมาชิกใหม่จากที่ผมได้ติดตามอ่านเรื่องราวต่างๆของคุณหนุ่มเมืองแกลง จากเจตนารมณ์ของคุณหนุ่มที่ได้ร่วมสร้างบุญครั้งยิ่งใหญ่ในครั้งนี้ถือเป็นเรื่องที่ดีมากเพราะเป็นเจตนาในการสร้างพระัด้วยใจจริงโดยไม่เห็นแต่ประโยชน์ส่วนตัวนับว่าหายากมากครับถ้าทุกๆคนได้เห็นเจตนาที่ดีที่ได้ร่วมการสร้างบุญของคุณหนุ่มในครั้งนี้ถือว่าเป็นบุญกุศลอันแรงกล้าผมขออนุโมทนาด้วยครับ!
     
  14. นำทาง

    นำทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,181
    ค่าพลัง:
    +7,865
    สวัสดียามเช้าทุกท่านครับ
    ขอให้วันนี้เป็นวันที่สดใส งานการราบรื่น ไม่มีอุปสรรค ก่อนพักผ่อนในวันเสาร์ อาทิตย์
     
  15. ตรีนิสิงเห

    ตรีนิสิงเห เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    810
    ค่าพลัง:
    +1,339
    พี่หนุ่มครับ ผมได้รับพระของขวัญที่ระลึกจากการส่งมวลสารไปร่วมสร้างพระจากพี่หนุ่มเรียบร้อยแล้่วนะครับ ถูกใจมาก อาราธนาขึ้นแล้วครับ ขอบพระคุณพี่หนุ่มมากๆครับ
     
  16. nott17

    nott17 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    2,431
    ค่าพลัง:
    +20,656
    เรียนสอบถามพี่หน่มและผู้รู้ครับ ผมหาหน้าที่พี่หนุ่มโพสต์ไม่เจอครับ
    เรื่องของดวงชะตาที่จะบรรจุในองค์พระครับ
    1.แก้ไขดวงชะตาได้หรือปล่าวครับ เนื่องจากจะใส่ของลูกนะครับ(เดิมเป็นของผมเอง)จะเป็นการยุ่งยากหรือปล่าวครับ
    2.พระที่มีดวงชะตาของลูก แต่เรานำมาบูชาก่อน จะเป็นอย่างไรหรือปล่าวครับ(ลูกยังเด็ก จะให้เขาตอนโต)
    3.กรณีที่คนบูชา แต่ไม่ใช่เจ้าของดวงชะตาที่บรรจุ จะเป็นอย่างไรหรือปล่าวครับ
    รบกวนด้วยนะครับ
     
  17. 15 ค่ำ

    15 ค่ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    2,108
    ค่าพลัง:
    +10,573
    ชื่อนี้คุ้นๆ สวัสดีครับอาจารย์ ^ ^
     
  18. nicklc

    nicklc เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    550
    ค่าพลัง:
    +143
    สวัสดีตอนสายๆพี่หนุ่มและทุกๆท่านครับ วันสุดท้ายของสัปดาห์แล้ว ขอให้มีความสุขกับการทำงานนะครับ
     
  19. หนุ่มเมืองแกลง

    หนุ่มเมืองแกลง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2007
    โพสต์:
    32,522
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +210,857
    -ของคุณ nott17 ยังไม่ได้เขียนครับ ยังส่งมาแก้ไขได้ครับ
    -หากเราต้องการหนุนดวงตัวเอง ใช้ของตัวเองเหมาะที่สุดครับ
    -พุทธคุณของพระเครื่องมีอยู่แล้วสำหรับคุ้มครองและความศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ ทุกคนสามารถใช้ได้ผลดีเช่นกันครับ แต่หากเราเอาดวงชะตาของตนเองใส่ไว้ ก็เป็นการหนุนในวาสนาและความสำเร็จของเจ้าของ เหมือนพระไม้แกะบรรจุดวงชะตาของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว แต่หากเจ้าของเสียชีวิตแล้ว ลูกหลานก็ยังบูชาได้ผลดีครับ
     
  20. หนุ่มเมืองแกลง

    หนุ่มเมืองแกลง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2007
    โพสต์:
    32,522
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +210,857
    ขอบคุณมากครับ ผมเองเคยมีวิบากกรรมมากมาย ชีวิตลุ่มๆดอนๆ จากคนเคยรวย โลดแล่นในสังคมจอมปลอม แล้วจนลงมากๆ ระเหเร่ร่อนไปทำงานยังต่างแดนที่ลำบากและเอาชีวิตเสี่ยงภัย ต้องจากครอบครัวและทุกอย่างที่มี เคยน้ำตาตกในจนได้ไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่พบเจออย่างมหัศจรรย์ไว้และไหว้เจดีย์ชะเวดากองในพม่า กำหนดเจตนาตั้งใจชัดไว้ว่า จะขอสร้างกุศลใหญ่และทำบุญต่อศาสนาอย่างแท้จริงและคนส่วนใหญ่สักครั้ง เมื่อชีวิตดีขึ้นและมีโอกาสจะทำได้ตามจังหวะและโอกาส จึงอยากทำแบบที่เคยให้สัจจะไว้ แต่การจะให้ทุกคนเห็นค่าของสิ่งที่ทำเหมือนกัน คงเป็นไปไม่ได้ วิบากของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
     

แชร์หน้านี้

Loading...