เรียนพระอภิธรรมกันเถอะค่ะ ปริยัติ และ ปฏิบัติไปด้วย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Mantalay, 12 กุมภาพันธ์ 2011.

  1. Kama-Manas

    Kama-Manas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    5,351
    ค่าพลัง:
    +6,491
    เข้ามาเรียนพระอภิธรรมค่ะ มีความรู้มากมาย ขอบคุณจขกท.
     
  2. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อือ! ไม่ได้เข้ามาเยี่ยมกระทู้เสียนาน เดินไปตั้งหลายหน้าแล้ว
    ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นครับ
     
  3. Mantalay

    Mantalay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,065
    ขอบพระคุณค่ะลุงหมาน และคุณKama-Manas ที่เข้ามาอ่าน
    [​IMG]
    [​IMG]
    ปัฎฐาน
    ในชีวิตประจำวัน
    ๑๓
    กัมมปัจจัย
    กรรมเป็นปัจจัยช่วยเกื้อกูล

    [​IMG]

    ปัจจยธรรม ได้แก่ กรรมในชาติปัจจุบันกับกรรมในอดีตชาติ

    ปัจจุปันนธรรม ได้แก่ ผลดี ผลชั่ว คุณโทษต่างๆ

    พระพุทธองค์ทรงแสดงว่า เจตนาเป็นตัวกรรม
    -การกระทำทางกายโดยมีเจตนา เรียกว่า "กายกรรม"
    -การพูดโดยมีเจตนา เรียกว่า "วจีกรรม"
    -การมีเจตนานึกคิด เรียกว่า "มโนกรรม"

    เพราะกรรมเจตนานั้น จึงก่อให้เกิดการเสวยผลทั้งทางที่ดีและไม่ดีต่างๆ นานา นี้แหละที่พระพุทธองค์ทรงเรียกว่า การทำอุปการะแห่งกัมมปัจจัย

    กรรมที่ว่านี้มี ๒ ประเภท คือ
    ๑) สหชาตกรรม คือ กรรมที่ก่อให้เกิดผลในขณะที่กำลังทำกรรมนั้น
    ๒) นานักขณิกกรรม คือ กรรมที่ก่อให้เกิดผลภายหลังจากที่ทำกรรมนั้นแล้ว

    ยกตัวอย่าง ในกรณีของบุคคลผู้ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต พึงทราบว่า ด้วยกำลังแห่งกรรมเจตนาที่มุ่งจะฆ่าผู้อื่นให้ถึงแก่ความตาย จะก่อให้ทั้งภาคนามธรรมกล่าวคือจิตใจ และภาครูปธรรมกล่าวคือร่างกายของบุคคลผู้จะฆ่านั้นเกิดภาวะแข็งกระด้าง, หยาบ, เหี้ยม, โหด

    ในกรณีของบุคคลผู้ทำการช่วยชีวิตผู้อื่นให้รอดพ้นจากความตาย พึงทราบว่า ด้วยกำลังแห่งกรรมเจตนาที่มุ่งจะช่วยชีวิตผู้อื่นให้รอดพ้นจากอันตรายจะก่อให้ทั้งภาคนามธรรมและรูปธรรมของผู้นั้นเกิดภาวะสุภาพอ่อนโยน

    เจตนาที่หยาบ ย่อมทำให้จิตใจและร่างกายหยาบไปด้วย เจตนาที่อ่อนโยน ย่อมทำให้จิตใจและร่างกายอ่อนโยนไปด้วย ก็ลักษณะเช่นนี้และท่านเรียกว่า เป็นการทำอุปการะด้วยสหชาตกัมมปัจจัย

    ในอดีตกาล ครั้งหนึ่งผู้ที่เคยให้ความช่วยเหลือบุคคลผู้หนึ่ง พอถึงปัจจุบัน เมื่อตนเองต้องการความช่วยเหลือบ้าง ผู้นั้นก็จะได้รับการช่วยเหลือตอบ ก็ดี การได้รับเบี้ยบำเหน็จ บำนาญ เมื่อตอนเกษียณอายุงาน ก็ดี... ในกาลครั้งหนึ่งเคยทำผิดกฏหมาย แม้ว่าจะสามารถหลบซ่อน หรือหลบหลีกกฏหมายได้อย่างไร แต่เมื่อความจริงปรากฏ เขาก็จะต้องรับโทษทัณฑ์ที่ได้กระทำหว้อย่างแน่นอน นี้แล คือตัวอย่างของการได้รับผลดี ผลชั่ว เพราะอำนาจของนานักขณิกกัมมปัจจัยเป็นเหตุ

    การที่บุคคลจะได้ชื่อว่าเป็นพุทธศาสนิกชนอย่างแท้จริงนั้น จะต้องเป็นผู้ที่เข้าใจเรื่องกรรมและเชื่อกรรมและผลของกรรม พระพุทธองค์ทรงรับรองไว้ด้วยพระองค์เองว่า เพราะบารมีกรรมที่พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญมาตลอด ๔ อสงไขย์กับอีก ๑ แสนกัปป์ จึงทำให้พระองค์สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ขอให้ท่านทั้งหลาย นึกถึงความแตกต่างแห่งกรรมและผลของกรรมระหว่างพี่น้องฝาแฝดผู้ซึ่งมีความละม้ายคล้ายคลึงกันในทางกายภาพ แต่จิตธาตุ(สภาพจิต) รวมถึงการได้รับผลแห่งกรรมนั้น แตกต่างกันราวกับฟ้ากะดิน ที่เป็นเช่นนี้ ก็เป็นเพราะความวิจิตรพิสดารแห่งกรรมนั่นเอง

    สุดท้ายนี้ ขอให้ท่านทั้งจงเอาใจใส่ตระหนักในเรื่องของกรรมให้ดี และจงมีศรัทธาสถาปนาจารึกไว้แต่กรรมดีเถิด

    [​IMG]

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 เมษายน 2011
  4. Mantalay

    Mantalay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,065
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 เมษายน 2011
  5. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    เข้ามาฟังครับ...ฟังแล้ว...รออ่านวิปากปัจจัยอยู่น่ะครับ...เหนื่อยนักก็พักบ้าง !

    ตัวหนังสืออ่านชัดเจนดี
     
  6. Mantalay

    Mantalay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,065
    [​IMG]
    ปัฎฐาน
    ในชีวิตประจำวัน
    ๑๔
    วิปากปัจจัย
    วิบากมีอิทธิพลต่อสภาพร่างกายและจิตใจ

    [​IMG]

    ปัจจยธรรม ได้แก่ วิบากนามขันธ์ทั้งหลาย

    ปัจจยุปันนธรรม ได้แก่ วิปากนามขันธ์และกัมมชรูปทั้งหลาย

    จิตและเจตสิกที่เป็นผลมาจากกุศลกรรมและอกุศลกรรม ท่านเรียกว่า วิบากนามขันธ์ ก็และการที่เกิดวิบากขันธ์(การได้เสวยสิ่งที่ไม่ดี) นั้นแล พระพุทธองค์ทรงเรียกว่า การทำอุปการะด้วยวิปากปัจจัย

    จักขุวิญญาณจิต ซึ่งเป็นจิตที่เห็นรูปารมณ์นั้น เป็นประเภทวิปากจิต, ซึ่งนอกจากจิตนี้แล้ว เจตสิกธรรม ๗ ดวง ที่เกิดร่วมกับจิตนั้น ประกอบด้วย
    ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์และ มนสิการ
    ซึ่งในบรรดาธรรมเหล่านั้น พึงทราบว่า
    -จักขุวิญญาณจิต จัดเป็นวิญญาณขันธ์
    -เืวทนา จัดเป็นเวทนาขันธ์
    -สัญญา จัดเป็นสัญญาขันธ์
    ส่วนเจตสิก ๕ ดวงที่เหลือ ซึ่งมีผัสสะและเจตนา เป็นต้น จัดเป็นสังขารขันธ์ ก็ทั้ง ๔ ขันธ์นี้เรียกว่า "นามขันธ์ ๔" ก็เป็นนามขันธ์ ๔ เหล่านี้และย่อมเกิดขึ้นพร้อมกัน ต่างก็ทำอุปการะโดยความเป็นเหตุเป็นผลต่อกันและกัน สลับเปลี่ยนกันไป ลักษณะเช่นนี้แล ท่านเรียกว่า "การทำอุปการะด้วยวิปากปัจจัย"

    ที่คนทั้งหลายพูดกันว่า
    "ดูด้วยตา" หรือ "เห็น" นั้น ก็คือการเกิดขึ้นแห่งจักขุวิญญาณจิตนั่นเอง

    ในการเห็นนั้น อาจเห็นทั้งสิ่งที่ดี หรือสิ่งที่ไม่ดี หากเห็นสิ่งดี ก็พึงทราบว่าเป็นการเกิดขึ้นแห่งจักขุวิญญาณจิตที่เป็นผลหรือวิบากแห่งกรรมที่ตนเคยกระทำไว้

    การที่คนเราเห็นสิ่งดีหรือไม่ดีนั้น ล้วนมาจากผลมาจากกุศลหรืออกุศลที่ตนเคยสร้างทั้งนั้น แม้ในกรณีของการได้ยินเสียง เป็นต้ัน ก็พึงทราบโดยนัยเดียวกันนี้

    หากเจอสิ่งที่ดี ก็จงใช้สติพิจารณาว่า "นี่คือการเสวยผลแห่งกุศลกรรมที่ตนได้เคยทำไว้" และหากเจอกับสิ่งที่ไม่ดี(ไม่น่าปราถนา) ก็จงจำไว้ด้วยว่า "นี่คือการเสวยผลแห่งอกุศลกรรม(บาป) ที่ตนเคยทำไว้"

    ว่าโดยธรรมชาติของมนุษย์แล้ว หากได้ประสบพบเจอกับอารมณ์หรือสิ่งที่ดี ก็จะเกิดความโสมนัสยินดี หากเจอกับอารมณ์หรือสิ่งที่ไมีพึงปรารถนา แ็จะเกิดความโทมนัส เสียใจ และจะส่งผลก่อให้เกิดความคิด, การใช้คำพูด, การกระทำที่เป็นเหตุใหม่ขึ้นมาอีก เรียกว่า เป็นการสร้างกรรมใหม่ขึ้นมาอีก นี่แหละคือ วัฏจักรแห่งการหมุนเวียนภพชาติ จากผลมาเป็นเหตุ จากเหตุมาเป็นผล วนไปเวียนมา ไม่มีที่สิ้นสุด

    สุดท้ายนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายจงเกิดปัญญาญาณเข้าใจเกี่ยวกับวิปากปัจจัยนี้ให้ดี เหมือนกับที่โบราณบัณฑิตท่านได้กล่าวไว้ว่า "ผู้ที่ถูกกระทำ คือ ผู้ชดใช้กรรมเก่า ส่วนคนที่กระทำเล่า คือ ผู้สร้างกรรมใหม่" เมื่อเข้าใจเช่นนี้แล้ว ก็จงอย่าเป็นผู้มีจิตใจร้อนรน คิดทุกครั้งก่อนที่จะพูดและทำ เกิดอะไรขึ้นก็อย่ารีบไปโทษใคร เพราะมันไม่ยุติธรรม จงจำไว้ว่า "มันเป็นโทษของวัฏฏะ" นี่แหละคือชีวิตที่ถูกลิขิตมาด้วยกรรม

    [​IMG]





     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 เมษายน 2011
  7. Mantalay

    Mantalay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,065
    ขอบพระคุณค่ะคุณแปะแปะ ที่ติดตามอ่าน
    มีออกแนวขี้เกียจบ้างค่ะ แหะๆๆ
    ติดตามอ่านต่อไปนะค่ะ
    [​IMG]
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=TclbIVRNoaQ"]YouTube - ???? ???????? ????[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 เมษายน 2011
  8. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    โดน!


    [​IMG]
     
  9. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    @(&(^&*^!(&#@)!*@_!)*#&#*(&@*(#^@&@
     
  10. Mantalay

    Mantalay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,065
  11. Mantalay

    Mantalay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,065

    [​IMG]
    ปัฎฐาน
    ในชีวิตประจำวัน
    ๑๕
    อาหารปัจจัย
    สารอาหารที่มีอุปการะเกื้อกูลต่อร่างกายและจิตใจ

    [​IMG]

    ปัจจยธรรม ได้แก่ รูปอาหารหรือที่เรียกว่า ธาตุวิตามิน ซึ่งมีอยู่ในอาหารการกิน และนามอาหาร กล่าวคือ ผัสสะ เจตนา วิญญาณ

    ปัจจยุปันนธรรม ได้แก่ การเจริญเติบโต แข็งแรง ทั้งทางกาย และทางจิตใจ

    การได้บริโภคอาหารจึงทำให้ชีิวิตของสรรพสัตว์เจริญเติบโต และมีพละกำลัง สุขภาพแข็งแรง เมื่อเจตนามีพลัง จึงทำให้พลังจิตและพลังกายแข็งแรง ก็ภาวะเช่นนี้แหละ พระพุทธองค์ทรงเรียกว่า "การทำอุปาการะด้วยอาหารปัจจัย"

    "สพฺเพ สตฺตา อาหารฏฺฐิติกา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงดำรงอยู่่ได้ด้วยอาหาร"
    หากเราไม่ได้บริโภคอาหาร ร่างกายก็จะเหี่ยวเฉา ผอมแห้งแรงน้อย โรคภัยเบียดเบียน เป็นเหตุให้อายุสั้น

    ด้วยเหตุนี้ ในวันหนึ่งๆ คนเราจึงต้องพิจารณาเลือกคัดสรรอาหารที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น กินอาหารที่มีสารอาหารครบ ๕ หมู่ เพื่อทิฏฐธรรมสุขวิหาร กล่าวคือ การมีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุขในชาติปัจจุบัน ตรงกันข้าม หากเรากินอาหารโดยไม่พินิจพิจารณา กินทุกอย่างที่ขวางหน้า แค่คำเดียวก็อาจตายได้ นี่แหละเขาเรียกว่า อาหารเป็นพิษ ผู้รู้จึงแนะนำตักเตือนในเรื่องของการกินอาหารว่า "หากเราอยากอายุสั้น ก็ให้กินอาหารที่มีอายุยาว หากอยากมีอายุยืนยาว ก็ให้กินอาหารที่มีอายุสั้น"

    พระพุทธองค์ทรงสอนให้เราใช้ปัญญาทำการปัจจเวกขณ์(พิจารณา)ก่อนกินอาหาร ทรงแนะให้กินแต่พอประมาณ(โภชเนมัตตัญญุตา) อย่ากินมากจนก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย นี่เป็นการอุปการะแห่งอาหารที่เป็นฝ่ายรูปธรรม

    ส่วนในเรื่องของอาหารที่เป็นฝ่ายนามธรรมนั้น เราทั้งหลายสามารถเข้าใจได้ไม่ยาก เช่น ในเวลาที่เราเิดินทางไกลในถิ่นทุรกันดาร เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าอยู่ หากบังเอิญพบเห็นแห่งน้ำหรือได้ยินได้ฟังว่ามีน้ำอยู่ตรงโน้นตรงนี้ จิตใจของเราก็จะรู้สึกสดชื่นมีพละกำลังขึ้น ราวกะว่าได้ดื่มได้กินโดยตรงฉันนั้น หรือในเวลาที่เราทำบุญให้ทานด้วยจิตที่เปี่ยมล้นด้วยศรัทธานั้น เวลาที่เราได้เห็นเครื่องไทยธรรม ก็ดี เห็นพระภิกษุสงฆ์ผู้จะมารับทาน ก็ดี จิตใจของเราย่อมเกิดความปลาบปลื้มยินดี มีน้ำมีนวลขึ้นอย่างเห็นได้ชัดนี่แหละท่านเรียกว่าเป็นการทำอุปการะแห่งนามาหารปัจจัย(เหตุปัจจัย กล่าวคือ อาหารที่เป็นฝ่ายนามธรรม)

    สุดท้ายนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายจงเลือกสรรใช้สอยอาหารปัจจัยให้ถูกต้องพอเหมาะพอควร เลือกเฉพาะอาหารที่เป็นประโยชน์ อย่าตามใจลิ้นตัวเองทั้งๆ ที่รู้ว่ากินเข้าไปแล้วมีแต่โทษ หากเอาชนะสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังนั้นได้ ชีวิตก็จะอยู่อย่างมีความสุข ปราศจากโรคภัยได้โดยไม่ต้องสงสัย

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 เมษายน 2011
  12. Mantalay

    Mantalay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,065
    [​IMG]
    ปัฎฐาน
    ในชีวิตประจำวัน
    ๑๖
    อินทริยปัจจัย
    ธรรมที่เป็นใหญ่ให้การอุปการะ

    [​IMG]

    ปัจจยธรรม มีอยู่ ๒ ฝ่าย คือรูปอินทรีย์ ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น กาย และรูปชีวิตอินทรีย์ นามอินทรีย์ ได้แก่ นามชีวิตอินทรีย์ จิต เวทนา และ ศรัทธา เป็นต้น

    ปัจจยุปันนธรรม : ความตื่นตัวในการรับอารมณ์ กล่าวคือ การได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส และสัมผัส

    ความสำเร็จแห่งการงาน อันเป็นผลมาจากจิตใจที่เข้มแข็ง ความสำเร็จแห่งการทำบุญกุศล เช่น การใหทาน เป็นต้น อันเนื่องมาจากความมีศรัทธาที่แรงกล้า การทำงานอันเป็นหน้าที่ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ พระพุทธองค์ทรงเรียกว่า เป็นการทำอุปการะแห่งอินทริยปัจจัย ยกตัวอย่าง ในประเทศหนึ่งๆ จะมีกลไกการปฏิบัติหน้าที่ที่รัฐได้มอบหมายให้ โดยแบ่งเป็นภาคหน่วยงานต่างๆ เช่น กระทรวง ทบวง กรม ฯลฯ ซึ่งในแต่ละหน่วยงานจำเป็นต้องรับผิดชอบภาระงานของตนๆ ไป เช่น กระทรวงพานิชย์ก็รับผิดชอบเรื่องเศรษฐกิจของประเทศ กระทรวงศึกษาธิการก็รับผิดชอบเรื่องการศึกษาของประชาชนในประเทศ กระทรวงกลาโหมก็รับผิดชอบเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ ดังนี้ เป็นต้น ซึ่งถ้าหากต่างคนต่างก็ปฏิบัติหน้าที่ของตนๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี โดยไม่มีการเข้ามายุ่งเกี่ยวก้างก่ายซึ่งกันและกันแล้วไซร้ ก็คงจะทำให้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรือง เป็นเหตุให้ประชาชนอยู่ดีกินดี มีความสุขทั้งกายและใจ ตรงกันข้ามหากหน่วยงานที่มีอยู่ไม่ค่อยจะเอาใจใส่ในงานของตน มัวแต่ไปเพ่งเล็ง ก้าวก่ายกิจการของหน่วยงานอื่น ผลที่จะติดตามมาก็คือความล้มเหลว ความทุกข์ยากก็จะเกิดแก่ประชาชนในประเทศนั้น

    ในส่วนของหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับความมั่นคงและความสงบสุขของประชาชนในประเทศนั้น นับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอิทธิพลและมีอำนาจมากที่สุด ซึ่งหากใช้อำนาจโดยพลการเข้าไปก้าวก่ายกิจการของหน่วยงานอื่นๆ ก็ย่อมจะนำมาซึ่งความหายนะแก่ประเทศชาติได้ ซึ่งในโลกนี้ ก็ย่อมมีประเทศที่มีสภาพดังกล่าวอยู่อีกมาก นี้ก็ถือว่าเป็นการนำเอาอินทริยปัจจัย(อำนาจบาตรใหญ่)ไปใช้อย่างผิดๆ อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์แก่บุคคลอื่น

    ขอให้เราท่านทั้งหลายจงมองตนเอง เป็นเหมือนกับประเทศๆ หนึ่ง จะเห็นว่าทุกสัดส่วนในร่างกายของเรานั้นต่างก็ได้ทำหน้าที่ของตนๆ เช่น ตา ซึ่งเรียกว่า จักขุนทรีย์ ก็ทำหน้าที่ของตน กล่าวคือ การเห็นเท่านั้น ไม่ได้ทำหน้าที่มีการได้ยิน เป็นต้นแต่อย่างใด ส่วนหู ซึ่งเรียกว่า โสตินทรีย์ ก็ทำหน้าที่เฉพาะการได้ยินเท่านั้น มิได้ทำหน้าที่อย่างอื่นใดแม้ในส่วนของอินทรีย์อื่นๆ เช่น จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็พึงทราบว่าต่างก็ทำหน้าที่ของตนๆ เท่านั้น

    แต่อย่างไรก็ตาม หากอินทรีย์ทั้งหลายที่ว่านี้มีการทำงานโดยบิดเบือน ก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ เช่น ขณะที่ตาเห็นแต่บอกว่า ไม่เห็น หรือทั้งๆ ที่ไม่เห็นแต่กลับบอกว่าเห็น ทั้งๆ ที่หูได้ยินแต่กลับบอกว่าไม่ได้ยิน หรือทั้งๆ ที่ไม่ได้ยินแต่กลับบอกว่าได้ยิน ดังนี้เป็นต้น การกระทำเช่นนี้ถือว่า เป็นการใช้สอยอินริยปัจจัยในทางที่ผิด ผลที่ตามมาก็คือทุกข์

    อนึ่ง นอกจากการใช้สอยปัจจัยข้างต้นแล้วยังมีการใช้สอยอินทริยปัจจัยที่เกี่ยวกับนามธรรมอีก เช่นศรัทธาและปัญญา สมาธิและวิริยะ ซึ่งอินทรีย์เหล่านี้จักต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง หากสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีมากเกินไปก็จะทำให้สิ่งหนึ่งอ่อนลง เช่น หากมีศรัทธา(สัทธินทรีย์)มากเกิน ก็จะทำให้บุคคลนั้นเชื่อจนงมงายอย่างไร้ความคิด ปราศจากสติปัญญา แม้ในส่วนของปัญญา(ปัญญินทรีย์) ก็เช่นเดียวกัน คือถ้าหากมีมากเกิน ก็จะทำให้คิดมาก ตรึกมาก เป็นเหตุให้ไม่ค่อยที่จะเชื่อสิ่งใดง่ายๆ แม้สิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่ควรเชื่อก็ตาม ทำให้กลายเป็นคนมีทิฏฐิสูง เป็นคนขวางโลกคอยแต่จะขัดคอคนอื่นอยู่ร่ำไป

    ด้วยเหตุนี้ จึงขอให้เราทั้งหลาย จงควบคุมและปรับสภาพอินทรีย์เหล่านั้นให้มีความเสมอภาคและเป็นไปในทิศทางที่ดี เป็นเหตุให้นำมาซึ่งคุณูปการแก่ทั้งตนเองและผู้อื่นเถิด

    [​IMG]

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 เมษายน 2011
  13. Mantalay

    Mantalay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,065
    อารมณ์ ๖
    [​IMG]
    อารมณ์มี ๖ คือ

    ๑. รูปารมณ์ ได้แก่ สีต่างๆ
    ๒. สัททารมณ์ ได้แก่ เสียงต่างๆ
    ๓. คันธารมณ์ ได้แก่ กลิ่นต่างๆ
    ๔. รสารมณ์ ได้แก่ รสต่างๆ
    ๕. โผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง
    ๖. ธรรมารมณ์ ได้แก่ จิต เจตสิก ปสาทรูป๕ สุขุมรูป๑๖ นิพพาน บัญญัติ
    อารมณ์หมายความว่า เป็นที่ยินดี เหมือนหนึ่งสวนดอกไม้เป็นที่ยินดีแก่คนทั้งหลาย ฉันใด อามรณ์ทั้ง ๖ มีรูปารมณ์ เป็นต้น ก็ย่อมเป็นที่ยินดีแก่จิต แลเจตสิกฉันนั้น ดังแสดงวจนัตถะว่า
    อา อภิมุขํ รมนฺติ เอตฺถาติ อารมฺมณํ
    จิตและเจตสิกทั้งหลาย มายินดีพร้อมหน้ากันในธรรมชาตินี้
    ฉะนั้น ธรรมชาตินี้ชื่อว่า อารมณ์ ได้แก่ อารมณ์๖


    อารมณ์นี้ เรียกว่า อาลัมพนะ ก็ได้ หมายความว่า เป็นที่ยึคหน่วงของจิตและเจตสิกทั้งหลายเหมือนหนึ่งคนชราหรือทุพพลภาพ ย่อมต้องอาศัยไม้เท้าหรือเชือกเป็นเครื่องยึคเหนี่ยวให้ ทรงตัวลุกขึ้นและเดินไปได้ ฉันใด จิตเจตสิกทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน ต้องมีอารมณ์เป็นเครื่องอาศัยยึค เพื่อเกิดขึ้นติดต่อกัน ฉันนั้น ดังแสดงวจนัตถะว่า
    จิตฺตเจตสิเกหิ อาลมฺพิยตีติ อาลมฺพนํ
    ธรรมชาติอันจิตและเจตสิกทั้งหลายยึคหน่วง
    ฉะนั้น จึงชื่อว่า อาลัมพณะ ได้แก่อารมณ์๖


    จิต ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ หมายความว่า รู้อารมณ์อยู่เสมอนั่นเอง
    เจตสิก ธรรมชาติที่อาศัยจิตเกิด เจตสิกนี้เมื่อเกิดขึ้นต้องเกิดในจิตเสมอ

    เหตุที่ทำให้ผลธรรมตั้งมั่นได้ในอารมณ์นั้น คือ เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง เป็นต้น ตลอดจนถึงจิตคิดนึกเรื่องราวต่างๆ แล้ว อกุศล คือ โลภจิต โทสจิต โมหจิต หรือ กุศลจิต คือ ศรัทธาจิต เมตตาจิต กรุณาจิต มุทิตาจิต ญาณสัมปยุตตจิต เหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้น และยึคเอาอารมณ์ต่างๆ เหล่านั้นไว้อย่างมั่นคง นี้แหละ คือ เป็นผลที่ตั้งมั่นในอารมณ์อันเกิดจากเหตุเหล่านั้น

    เหตุทำให้ผลธรรมเจริญขึ้นได้นั้น คือ เมื่อจิตที่ยึคเอาอารมณ์ต่างๆ นั้น ค่อยๆ มีกำลังมากขึ้นๆ หมายความว่า โลภะก็ดี โทสะก็ดี หรือศรัทธา เป็นต้น เหล่านั้นก็ดี เมื่อขณะแรกที่เกิดขึ้นนั้น ยังมีกำลังอ่อนอยู่ ยังไม่ทำให้ลุล่วงไปถึงทุจริตหรือสุจริตได้ แต่ครั้นเมื่อมีกำลังมากขึ้นแล้ว ย่อมสามารถทำให้ผู้นั้น กระทำทุจริตหรือสุจริตในบรรดาทุจริต ๑๐ หรือ สุจริต๑๐ นั้นลงไปได้ นี้แหละ คือเป็นผลที่เจริญขึ้นด้วยอาศัยเหตุเหล่านั้น

    [​IMG][​IMG]



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 เมษายน 2011
  14. Mantalay

    Mantalay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,065
    [​IMG]
    ปัฎฐาน
    ในชีวิตประจำวัน
    ๑๗
    ฌานปัจจัย
    ฌานคือพลังแห่งความเพ่งพินิจ พิชิตความสำเร็จ

    [​IMG]

    ปัจจยธรรม : ธรรมที่เป็นองค์ฌาน ๕ ประการคือ
    วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข และเอกัคคตา

    ปัจจยุปันนธรรม : การทำหน้าที่หรือการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่าง
    ใจจดใจจ่อทุ่มเททุกสัดส่วนทั้งกายและใจ

    ฌาน คือ การกระทำการเพ่งด้วยใจจดจ่อในสิ้งที่ตนกระทำอยู่ บางคนคิดว่าการเหาะเหินเดินอากาศหรือดำดินเท่านั้นเป็นฌาน นั่นเป็นการเข้าใจผิด

    ในการทำงานด้วยความเอาใจใส่และมีใจจดจ่อต่องานนั้น พึงทราบว่ามีสภาวธรรมที่ได้ชื่อว่าเป็นองค์ฌานอยู่ ๕ ประการ คือ

    (๑) วิตก ทำหน้าที่ตรึกหรือวางแผนในการทำงาน

    (๒) วิจาร ทำหน้าที่พิจารณาทบทวนเกี่ยวกับงานที่ทำ

    (๓) ปีติ มีความปลาบปลื้มยินดีในงานที่ทำ

    (๔) สุขเวทนา มีความสุขในงานที่ทำ

    (๕) เอกกัคคตา ทำหน้าที่ควบคุมให้จิตใจ
    มีความนิ่งอยู่แต่ในงานนั้นเพียงอย่างเดียว


    สภาวะ ทั้ง ๕ นี้รวมเรียกว่า "ฌาน"
    แต่หากแยกเรียกทีละอย่างก็จะเรียกว่า "องค์ฌาน"

    ธรรมดาว่าจิตใจของคนเรานั้นควบคุมยาก จากอารมณ์นั้นสู่อารมณ์นี้เป็นธรรมชาติที่แล่นไปสู่อารมณ์ต่างๆ แทบจะไม่มีการหยุดนิ่ง ซึ่งหากสภาวธรรมที่แล่นไปสู่อารมณ์ต่างๆ แทบจะไม่มีการหยุดนิ่ง ซึ่งหากสภาวธรรมที่เรียกว่า "ฌาน" นั้น มีกำลังน้อยกว่าก็จะไม่สามารถควบคุมจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวได้ หากจิตไม่ตั้งมั่นอยู่อารมณ์เดียว ก็จะกลายเป็นคนจับจด ยากที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จลุล่วงได้

    ขึ้นชื่อว่าคนบ้า ย่อมไม่อาจทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จได้ แม้แต่กินข้าวยังกินให้หมดจานไม่ได้ เดี๋ยวทำโน่น เดี๋ยวทำนี่ ทำไปเรื่อยเปื่อยเฉื่อยแฉกเพราะจิตไร้การควบคุมฉันใด เด็กที่เป็นโรคออทิสติก ย่อมไม่อาจจะอยู่นิ่งๆ ฉันใด ลิงเป็นสัตว์ที่ไม่ค่อยชอบอยู่นิ่งๆ ปีนจากต้นนี้ไปสู่ต้นโน้นฉันใด จิตใจของคนเราทั่วๆ ไปนั้นก็ไม่แตกต่างจากบุคคลเหล่านั้น ความจริงแล้วจิตของคนนั้นยิ่งกว่าจิตของลิงเสียอีก คือในเวลาหนึ่งๆ นั้น ลิงสามารถหีนป่ายได้แค่จากกิ่งไม้หนึ่งไปสู่กิ่งไม้หนึ่งเท่านั้น ส่วนจิตของคนนั้นสามารถรับอารมณ์ ๕ อย่างได้ในชั่วพริบตา

    หากคนเราทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน ก็จะทำให้คนๆ หนึ่งเมื่อยล้ามากเกิน อาจจะไม่สามารถที่จะเสร็จงานใดงานหนึ่งได้ เพราะความเป็นจริงแล้ว ในเวลาหนึ่งๆ คนเราควรทำงานให้เสร็จเพียงอย่างเดียว งานนั้นก็จะเสร็จเรียบร้อยสมบูรณ์ ท่านทั้งหลายจึงควรทำงานตามแนวทางของโบราณ ที่ท่านสอนฝากเราเอาไว้ว่า
    "กินทีละคำ ทำทีละอย่าง"

    สุดท้ายนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายจงมีความสามารถในการทำงานอย่างมีสมาธิจดจ่อ เพื่อความสำเร็จแห่งงานนั้นทุกท่านทุกคนเทอญ

    [​IMG]

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 เมษายน 2011
  15. Mantalay

    Mantalay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,065
    paderm
    วันที่ 18 เม.ย. 2553 21:43
    จาก... บ้านธัมมะ

    [​IMG]

    ฌานดับกิเลสไม่ได้ มรรคมีองค์ 8 ดับกิเลสได้ [มหาโควินทสูตร]

    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 35

    มหาโควินทสูตร

    ว่าด้วยอัฏฐังคิกมรรค ( มรรคมีองค์ 8 ) .............สมัยนั้น เราได้เป็นมหาโควินทพราหมณ์ เราแสดงทางนั้นเพื่อความ
    เป็นสหายแห่งพรหมโลกแก่หมู่สาวก ก็แต่ว่า ปัญจสิขะ พรหมจรรย์นั้นแล
    เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายก็เปล่า เพื่อคลายกำหนัดก็เปล่า เพื่อดับโดยไม่
    เหลือก็เปล่า เพื่อเข้าไปสงบก็เปล่า เพื่อรู้ยิ่งก็เปล่า เพื่อตรัสรู้ก็เปล่า เพื่อ
    พระนิพพานก็เปล่า เพียงเพื่อการเกิดขึ้นในพรหมโลกเท่านั้นเอง ดูก่อนปัญจสิขะ
    ก็พรหมจรรย์ของเรานี้แล จึงจะเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อ
    คลายกำหนัด เพื่อดับโดยไม่มีเหลือ เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อ
    พระนิพพาน. ก็แลพรหมจรรย์นั้นเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อ
    ความคลายกำหนัด เพื่อดับโดยไม่มีเหลือ เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้
    เพื่อพระนิพพานเป็นไฉน ทางประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนี้แล อัน
    ได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ พูดจาชอบ การงานชอบ อาชีพชอบ
    พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ก็นี้แล คือพรหมจรรย์นั้น ที่เป็นไป
    เพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับโดยไม่มีเหลือ
    เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน.

    [​IMG]





     
  16. Mantalay

    Mantalay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,065
    kanchana.c
    วันที่ 9 เม.ย. 2554 21:25
    จาก...บ้านธัมมะ
    [​IMG]
    แต่ละหนึ่ง

    เมื่อเกิดมาก็รู้สึกตัวว่าอยู่ในโลกที่มีคนมากมาย พ่อแม่ ตายาย พี่น้อง เพื่อนฝูง
    แต่เมื่อมามาฟังท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์บรรยายธรรมที่ท่านศึกษา พิจารณไตร่ตรอง จนเข้าใจจากพระไตรปิฎกแล้ว ก็ทำให้รู้ว่า อยู่คนเดียว ไม่มีใครอยู่ด้วยเลย แต่ละคนก็เป็นแต่ละหนึ่ง และในแต่ละหนึ่งนั้นก็ยังเป็นโลกทางตาเพียง ๑ ทางหู ๑ ทางจมูก ๑ ทางลิ้น ๑ ทางกาย ๑ และทางใจอีก ๑ และในแต่ละหนึ่งนั้นก็ยังแยกย่อยออกเป็นแต่ละ ๑ ขณะเท่านั้น ถ้าสามารถรู้ ได้ละเอียดถึงแต่ละขณะจิตที่เกิดขึ้นทำกิจการงานของตน ก็จะรู้ว่า ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ไม่มี ตัวตน มีแต่สภาพธรรมที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย จึงจะเรียกว่าเข้าใจธรรมที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงไว้ และท่านอาจารย์ได้พยายามพร่ำสอนซ้ำๆ บ่อยๆ เนืองๆว่า ทุกอย่างเป็นธรรม และธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ดังนั้นทุกสิ่งทุกอย่างจึงเป็นอนัตตา ไม่ ใช่เรา เพราะเกิดขึ้นเพียง ๑ ขณะ แล้วก็ดับไป แล้วจะมีเราอยู่ตรงไหน แต่ที่ต้องใช้คำว่า “เรา” เพราะเป็นสมมติบัญญัติให้รู้ว่า ไม่ใช่จิต เจตสิก รูปอื่น แต่เป็นจิต เจตสิก รูปนี้แหละ

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 เมษายน 2011
  17. Mantalay

    Mantalay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,065
    [​IMG]
    ปัฎฐาน
    ในชีวิตประจำวัน
    ๑๘
    มัคคปัจจัย
    ทางสู่ความสำเร็จ

    [​IMG]

    ปัจจยธรรม
    : องค์มรรคทั้งหลายที่มีสัมมาทิฏฐิ และ มิจฉาทิฏฐิ เป็นต้น

    ปัจจยุปันธรรม
    : การเดินถูกทางแล้วได้รับความสุข
    การเดินผิดทางแล้วได้รับความทุกข์

    ทาง หมายถึง เครื่องนำไปสู่ความสำเร็จอันเป็นจุดหมายหรือเป้าหมาย หากคนเราเดินอยู่บนเส้นทางแห่งความสุข เขาก็จะได้พบกับความสุขในที่สุด หากเดินอยู่บนเส้นทางแห่งความทุกข์ เขาก็จะได้พบกับความทุกข์เป็นจุดหมายสุดท้าย ลักษณะเช่นนี้ เรียกว่าเป็นการทำอุปการะแห่งมัคคปัจจัย


    ต่อไปนี้ เป็น สัจจมรรค เป็นทางดีทางถูก มี ๘ ประการดังนี้
    (๑) สัมมาทิฏฐิ............รู้โดยถูกต้อง
    (๒) สัมมาสังกัปปะ........คิดโดยถูกต้อง
    (๓) สัมมาวาจา............พูดโดยถูกต้อง
    (๔) สัมมากัมมันตะ........ทำโดยถูกต้อง
    (๕) สัมมาอาชีวะ..........เลี้ยงชีพโดยถูกต้อง
    (๖) สัมมาวายะมะ.........เพียรโดยถูกต้อง
    (๗) สัมมาสติ.............มีสติโดยถูกต้อง
    (๘) สัมมาสมาธิ..........มีสมาธิโดยถูกต้อง

    ทั้ง ๘ ประการข้างต้นนี้ มิใช่เป็นเพียงทางสำหรับโลกิยสุขเท่านั้น แต่ยังเป็นซูเปอร์ไฮเวย์ไปสู่โลกุตตรสุขด้วย พระพุทธองค์ทรงเรียกทางหลวงนี้ว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" มีอยู่แต่ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ผู้ใดเดินตามเส้นทางนี้ ก็จะพบกับความสุขทั้งโลกิยสุขและโลกุตตรสุข ตรงกันข้ามผู้ใดก็ตามที่เดินนอกเส้นทางดังกล่าว เขาผู้นั้นก็จะพบกับความทุกข์นานัปการ ดูพระเทวทัตเป็นตัวอย่างสิ แล้วจะเห็นว่า ท่านควรเลือกเดินบนเส้นทางมิจฉามรรคหรือสัมมามรรค

    สุดท้ายนี้ ขอให้ท่านสาธุชนจงสามารถเลือกเดินบนเส้นทางแห่งความสุขได้โดยทุกท่านทุกคนเทอญ

    [​IMG]
     
  18. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    อนุโมทนาครับ

    อย่าเพิ่งหนีกันไปไหนนะคุณ

    อยู่โพสอภิธรรมกันนานๆ

    เพื่อนสมาชิกตอนนี้ยังตามดูอยู่
     
  19. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    ขอให้ จขกท.จงเข้าถึงโดยเร็ววันด้วยครับ
    [​IMG]
     
  20. Mantalay

    Mantalay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,065
    [​IMG]
    +สาธุ สาธุ สาธุ ค่ะ คุณแปะๆ นั่นคือคำอธิษฐานเวลาทำบุญ
    หนูอธิษฐานประโยคเดียว ขอพบพระนิพพานโดยเร็ววันด้วยเทอญ

    หนูขอให้พลวปัจจัยของคุณแปะๆ จงส่งผลให้คุณแปะ
    พบพระนิพพานโดยเร็ววันด้วยเช่นกันค่ะ

    +ขอบคุณ คุณหลงเข้ามา และทุกๆ ท่านที่ติดตามอ่านนะค่ะ
    ขอบคุณค่ะ

    [​IMG]
    แต่ชีวิตประจำวันอกุศลมากมาย พ่ายแพ้มันง่ายดาย
    กำจัดอกุศลในชีวิต เริ่มด้วยการถือศีล 5ให้มั่นคง
    พระอาจารย์ถาม มีใครจะไปพระนิพพานชาตินี้มั่ง
    ไม่มีใครตอบ เพราะรู้ว่าไปยากๆๆๆๆๆๆๆ
    แต่การเกิดของเรามีแน่นอน เมื่อเราก้าวเดินทาง
    เข้าหาพระนิพพาน การเกิดต่อไป เราก็ก้าวเดินต่อไป
    ยังไงต้องเกิด เพราะฉะนั้นก็เดินทางกันต่อไปค่ะ

    [​IMG]

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=2A4AGTwqP9E&feature=related"]YouTube - ??????[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2011

แชร์หน้านี้

Loading...