ภูไท...ภาษาภูไท...วันละคำ

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย ติงติง, 29 มิถุนายน 2011.

  1. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    ^^
    ครูติงเป็นสาวสกลคนโก้
    แต่มาอยู่ยโสเมืองยศสุนทรดอกเด้อค่าแปะแปะคนดีศรีอยุธยาเอย....
     
  2. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    สอยๆ สาวซำน้อยหัดสอย
    สาวเอกอังกฤษบ่ฮู้จัก A B C D
    บัดบ่าวภูไทพาไปบิ๊กซี ละบอกว่า Do it again เด้ออ้าย....
     
  3. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    [FONT= ][/FONT]
    [FONT= ][/FONT]
    [FONT= ]สอย... สอย... สาวนักเรียนบ่ฮู้จักนายกรัฐมนตรี [/FONT]
    [FONT= ]บัดถืกเขาจี้ ละฮู้จักฮ้อง...นายกซอยข่อยแน่ [/FONT]
    [FONT= ][/FONT]
    [FONT= ][/FONT]
     
  4. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    สอย... สอย... สาวส่ำน้อยบ่เคยเบิ่งทีวี บัดได้โผขี้ถี่ละว่า ช่องเจ็ดสีทีวีเพื่อคุณ ....

    โผ หมายถึง สามี
    ขี้ถี่ หมายถึง ขี้เหนียว
     
  5. ped2011

    ped2011 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +1,096
    อีกสามเดือนก็จะเถิงงานครบรอบ งานคล้ายวันมรณภาพหลวงปู่มั่น ผมหวังว่าคงได้ นั่งจิบน้ำสมุนไพรกับครูติง ตามภาพที่คูติงเบิ่งในห้องพระสายหลวงปู่มั่นฯเด้อ
    ชวนน้องอุ๋มอิ๋มและคนอื่นๆมาด้วยเด้อ ช่วงนั้นอากาศดี๊ดี ผู้คนที่ไปจากกท.จะเอาแค้มปไปกางพัก เป็นที่สนุกแบบเที่ยวทางธรรม ได้ทั้งบุญ ได้ทั้งเที่ยว

    วันที่ส่งแผ่นซีดีไปไห้ครูติงวันนั้น จำไม่ได้ว่าได้ส่งแผ่นดีวีดีงานวันครบรอบไปไห้ครูติงด้วยหรือเปล่า ผมตัดต่อเองกะมือเลยล่ะ แต่แบบพอดูได้หนุกๆแบบชนบทบ้านเฮาล่ะครู ถ้ายังผมจะส่งไปใหม่นะ ที่อยู่น่าจะยังอยู่ แต่ตอนนี้ไปชมภาพให้หน่อย ถ่ายเองกะมือ

    PIC_0923.JPG 001.JPG

    รูปภาพ1.png

    ขอประชาสัมพันธ์ซะเลย

    ปีที่แล้วผมทำซีดีธรรมะของพระสายป่าไปแจกในงานประมาณสองพันกว่าแผ่น เป็นเงินจากเพื่อนๆ รวมกันเป็นปัจจัยเพื่อเผยแผ่ธรรมะ ปีนี้ผมตั้งใจจะทำแผ่นธรรมะให้เยอะกว่าปีที่แล้ว เพราะมีคนที่ไปในงานแล้วได้ไม่ครบเยอะมาก แต่ไม่รู้ว่าจะได้เท่าไหร่ ใครที่ต้องการร่วมบุญก็เชิญนะครับ แผ่นซีดีเปล่ากล่องละ170 บาท X 50 แผ่น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • PIC_0907.JPG
      PIC_0907.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.3 MB
      เปิดดู:
      46
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 กรกฎาคม 2011
  6. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    น้อมอนุโมทนาค่ะ
    ติงอยากไปตั้งโรงทานจังเลย
    งานฉลองพระใหญ่ภูสูง ติงเอาไอติมมาจากสกลนคร ๑๐ ถัง
    ใครๆก็ว่าอร่อย...แป๊บเดียวหมด
    ตรงกับวันหยุดหรือเปล่านะคะ
    อยากไปนั่งจิบน้ำสมุนไพรแบบโบราณ และคุยสัพเพเหระ....
    วาสนาจะมีบ่หนอ

     
  7. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    ใกล้ๆวัดป่าภูริทัตตถิราวาส มีสวนหวายที่ราคาถูกมาก ๑๐๐ บาท ได้หวายตั้ง ๔๐ หน่อ แกงอร่อยมากค่ะ
    ติงเคยซื้อไปฝากเพื่อนๆ และแกงไปวัด
     
  8. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    <DD>ภาษาภูไทวันนี้ ขอนำเสนอ</DD><DD>กะเทม ความหมาย กระเทียม</DD><DD>โฮงเฮน ความหมาย โรงเรียน</DD><DD>โก๊ย ความหมาย กล้วย</DD><DD>เหม่อ ความหมาย ใหม่</DD><DD>เห้า ความหมาย เข้า (เช่นเห้าไป หมายถึงเข้าไป)</DD><DD>โหเจ๋อ ความหมาย หัวใจ</DD>
     
  9. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    ภาษาผู้ไท
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    <!-- /tagline --><!-- subtitle -->
    ภาษาผู้ไท (เขียน ผู้ไทย หรือ ภูไท ก็มี) เป็นภาษาในตระกูลภาษาไท-กะได มีผู้พูดจำนวนไม่น้อย กระจัดกระจายในภูมิภาคต่างๆ ของไทยลาว และเวียดนาม เข้าใจว่า ผู้พูดภาษาผู้ไทมีถิ่นที่อยู่ดั้งเดิมอยู่ในเมือง แถง หรือ เดียนเบียนฟู ของเวียดนาม เรียกว่า ชาวไทดำ ในปัจจุบัน มีการจัดให้ภาษาผู้ไทเป็นกลุ่มย่อยของภาษาไทดำอีกทอดหนึ่ง

    ลักษณะของภาษา
    ด้วยภาษาผู้ไทเป็นภาษาในตระกูลไท จึงมีลักษณะเด่นร่วมกับภาษาไทยด้วย นั่นคือ
    • เป็นภาษาคำโดด มักเป็นคำพยางค์เดียว
    • เป็นภาษามีวรรณยุกต์
    • โครงสร้างประโยคแบบเดียวกัน คือ "ประธาน กริยา กรรม" ไม่ผันรูปตามโครงสร้างประโยค
    หน่วยเสียงในภาษาผู้ไทหน่วยเสียงพยัญชนะ<TABLE style="TEXT-ALIGN: left" border=1 cellSpacing=0 cellPadding=3><TBODY><TR><TD>ฐานกรณ์ของเสียง</TD><TD>ริมฝีปากล่าง-ฟัน</TD><TD>ริมฝีปาก</TD><TD>โคนฟัน</TD><TD>เพดานส่วนแข็ง</TD><TD>เพดานส่วนอ่อน</TD><TD>ช่วงคอ</TD></TR><TR><TD>เสียงหยุด (ไม่ก้อง)</TD><TD>-</TD><TD>/ป/</TD><TD>/ต/</TD><TD>/จ/</TD><TD>/ก/</TD><TD>/อ/</TD></TR><TR><TD>เสียงหยุด (ไม่ก้อง)</TD><TD>-</TD><TD>/พ/</TD><TD>/ท/</TD><TD>-</TD><TD>/ค/</TD><TD>-</TD></TR><TR><TD>เสียงหยุด (ก้อง)</TD><TD>-</TD><TD>/บ/</TD><TD>/ด/</TD><TD>-</TD><TD>-</TD><TD>-</TD></TR><TR><TD>เสียงขึ้นจมูก</TD><TD>-</TD><TD>/ม/</TD><TD>/น/</TD><TD>/ญ/</TD><TD>/ง/</TD><TD>-</TD></TR><TR><TD>เสียงเสียดแทรก</TD><TD>/ฟ/</TD><TD>/ส/</TD><TD>-</TD><TD>-</TD><TD>-</TD><TD>/ห/</TD></TR><TR><TD>กึ่งสระ</TD><TD>/ว/</TD><TD>-</TD><TD>-</TD><TD>/ย/</TD><TD>-</TD><TD>-</TD></TR><TR><TD>ลอดข้างลิ้น</TD><TD>-</TD><TD>/ล/</TD><TD>-</TD><TD>-</TD><TD>-</TD><TD>-</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ในที่นี้ขออธิบายเฉพาะเสียงที่แตกต่างจากภาษาไทยมาตรฐาน ดังนี้
    • /ญ/ เป็นหน่วยเสียงพิเศษ ที่ไม่พบในภาษาไทยภาคกลาง แต่พบได้ในภาษาไทยถิ่นอีสาน เหนือ และใต้ (บางถิ่น) ในภาษาผู้ไท บางถิ่นผู้พูดใช้เสียง /ญ/ โดยตลอด บางถิ่นใช้ทั้งเสียง /ญ/ และ / ย/ โดยไม่แยกแยะคำศัพท์
    หน่วยเสียงสระ
    ภาษาผู้ไทมีสระเดี่ยว 9 ตัว หรือ 18 ตัวหากนับสระเสียงยาวด้วย โดยทั่วไปมีลักษณะของเสียงคล้ายกับสระในภาษาไทยถิ่นอื่น (เพื่อความสะดวก ในที่นี้ใช้อักษร อ ประกอบสระ เพื่อให้เขียนง่าย)

    <TABLE style="TEXT-ALIGN: left" border=1 cellSpacing=0 cellPadding=3><TBODY><TR><TD>สระสูง</TD><TD>อิ, อี</TD><TD>อึ, อือ</TD><TD>อุ, อู</TD></TR><TR><TD>สระกลาง</TD><TD>เอะ, เอ</TD><TD>เออะ, เออ</TD><TD>โอะ, โอ</TD></TR><TR><TD>สระต่ำ</TD><TD>แอะ,แอ</TD><TD>อะ,อา</TD><TD>เอาะ, ออ</TD></TR></TBODY></TABLE>

    อนึ่ง ในภาษาผู้ไทมักไม่ใช้สระประสม นิยมใช้แต่สระเดี่ยวข้างบนนี้ ตัวอย่างคำที่ภาษาไทยกลางเป็นสระประสม แต่ภาษาผู้ไทใช้สระเดี่ยว
    <TABLE class=wikitable><TBODY><TR><TH>ภาษาไทยกลาง</TH><TH>ภาษาผู้ไท</TH></TR><TR><TD>/หัว/</TD><TD>/โห/</TD></TR><TR><TD>/สวน/</TD><TD>/โสน/</TD></TR><TR><TD>/เสีย/</TD><TD>/เส/</TD></TR><TR><TD>/เขียน/</TD><TD>/เขน/</TD></TR><TR><TD>/เสือ/</TD><TD>/เสอ/</TD></TR><TR><TD>/มะเขือ/</TD><TD>/มะเขอ/</TD></TR></TBODY></TABLE>

    หน่วยเสียงวรรณยุกต์ในภาษาผู้ไท มีด้วยกัน 5 หน่วย

    พยางค์
    พยางค์ในภาษาผู้ไทมักจะเป็นพยางค์อย่างง่าย ดังนี้
    • เมื่อประสมด้วยสระเสียงยาว พยางค์อาจประกอบด้วยพยัญชนะต้น สระ และวรรณยุกต์ โดยจะมีพยัญชนะตัวสะกดหรือไม่ก็ได้
    • เมื่อมีสระเสียงสั้น พยางค์ประกอบด้วยพยัญชนะต้น สระ วรรณยุกต์ และพยัญชนะตัวสะกด
    ลักษณะเด่นของภาษาผู้ไท
    ลักษณะเด่นอื่นๆ ของภาษาผู้ไท มีดังนี้
    1. เสียงท้ายคำถาม
    • เผอ,ผิเหลอ,ผะเหลอ = อะไร
    <DL><DD>"นี้แม่นเผอ" = นี่คืออะไร</DD><DD>"เว้าผิเหลอหว่ะ" = พูดอะไรน่ะ</DD><DD>"จักแม่นผะเหลอ" = ไม่รู้อะไร</DD></DL>
    • เผ่อ,ผู้เหล่อ = ใคร
    <DL><DD>"แม้ ล่ะ ไป๋ เหย้ม เผ่อ" = แม่จะไปเยี่ยมใคร</DD><DD>"ผู้เหล่อล่ะไป๋กับข้อยแด่" = ใครจะไปกับผมบ้าง</DD></DL>
    • ซิเหล่อ,เนอะเห่อ = ที่ไหน
    <DL><DD>"เพิ้น ล่ะ ไป๋ ซิ เหล่อ" = เขาจะไปไหน</DD><DD>"เจ้าอยู่เนอะเห่อหว่ะ" = คุณอยู่ที่ไหนน่ะ</DD></DL>
    • มิ = ไม่
    <DL><DD>"ไป๋ลึมิไป๋" = ไปหรือไม่ไป</DD><DD>"มิได้" = ไม่ได้,ไม่มี</DD></DL>2. สระประสมในภาษาไทยถิ่นอื่น มักเป็นสระเดี่ยวในภาษาผู้ไท
    • สระ เอีย เป็น เอ
    <DL><DD>กระเทียม - กะเท่ม</DD><DD>โรงเรียน - โฮงเฮน,โลงเลน</DD></DL>
    • สระ เอือ เป็น เออ
    <DL><DD>น้ำเชื่อม - น้ำเซิ้ม</DD><DD>ใส่เสื้อ - เส่อเส้อ</DD></DL>
    • สระ อัว เป็น โอ
    <DL><DD>กล้วย - โก๊ย</DD></DL>3. สระใอ(ไม้ม้วน)ในภาษาไทกลาง เมื่อพูดในภาษาผู้ไท มักออกเสียงสระเออ ดังนี้
    <DL><DD>ใหม่-เหม่อ</DD><DD>ใส่-เส่อ</DD><DD>หัวใจ-โหเจ๋อ</DD><DD>ใกล้-เข้อ,เก้อ</DD><DD>แกงมะเขือใส่เนื้อเสือ กินบนเรือ เพื่อกลับบ้าน-แกงมะเขอเส่อเน้อเสอ กินเทิงเฮอ เพ้อเมอเฮิน</DD></DL>4. สระไอ(ไม้มลาย)ในภาษาไทยกลาง จะออกเสียง จัตวา (+)ในสำเนียงภูไท ดังนี้
    <DL><DD>ไป-ไป๋,</DD></DL>5. ข บางคำจะออกเสียงเป็น ห, ค บางคำจะออกเสียงเป็น ฮ ดังนี้
    <DL><DD>เข้า-เห้า,ข้า-ห้า,ค้าขาย-ฮ้าหาย</DD><DD>คนห้าคนฆ่าคนห้าคน-ฮนห้าฮนห้าฮนห้าฮน</DD></DL>6. คำที่สะกดด้วย -อก จะออกเสียง สระ เอาะ(เสียงสั้น) ดังนี้
    <DL><DD>นอก-เน้าะ,จอก-เจ้าะ,คอก-เค่าะ,ปลอก-เป๊าะ</DD></DL><TABLE class=wikitable><TBODY><TR><TH>ภาษาไทยกลาง</TH><TH>ภาษาผู้ไท</TH></TR><TR><TD>/หัว/</TD><TD>/โห/</TD></TR><TR><TD>/สวน/</TD><TD>/โสน/</TD></TR><TR><TD>/เสีย/</TD><TD>/เส/</TD></TR><TR><TD>/เขียน/</TD><TD>/เขน/</TD></TR><TR><TD>/เสือ/</TD><TD>/เสอ/</TD></TR><TR><TD>/มะเขือ/</TD><TD>/มะเขอ/</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    เพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาถิ่นมากขึ้น ขอเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับภาษาไทยถิ่นอีสานนะคะ
    ภาษาไทยถิ่นอีสาน
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    ภาษาไทยถิ่นอีสาน เป็นภาษาท้องถิ่นที่ใช้พูดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นภาษาลาวสำเนียงหนึ่ง ในสำเนียงภาษาถิ่นของภาษาลาวซึ่งแบ่งเป็น 6 สำเนียงใหญ่ คือ:
    1. ภาษาลาวเวียงจันทน์ ใช้ในประเทศลาวท้องที่ เมืองเวียงจันทน์ บอลิคำไซ และในประเทศไทยท้องที่ จ.ชัยภูมิ หนองบัวลำภู หนองคาย (อ.เมือง ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ โพนพิสัย) ขอนแก่น (อ.ภูเวียง ชุมแพ สีชมพู ภูผาม่าน หนองนาคำ เวียงเก่า หนองเรือบางหมู่บ้าน) ยโสธร (อ.เมือง ทรายมูล กุดชุม บางหมู่บ้าน) อุดรธานี (อ.บ้านผือ เพ็ญ บางหมู่บ้าน)
    2. ภาษาลาวเหนือ ใช้ในประเทศลาวท้องที่ เมืองหลวงพระบาง ไซยะบูลี อุดมไซ ในประเทศไทยท้องที่ จ.เลย อุตรดิตถ์ (อ.บ้านโคก น้ำปาด ฟากท่า) เพชรบูรณ์ (อ.หล่มสัก หล่มเก่า น้ำหนาว) ขอนแก่น (อ.ภูผาม่าน และบางหมู่บ้านของ อ.สีชมพู ชุมแพ) ชัยภูมิ (อ.คอนสาร) พิษณุโลก (อ.ชาติตระการ และนครไทยบางหมู่บ้าน) หนองคาย (อ.สังคม) อุดรธานี (อ.น้ำโสม นายูง บางหมู่บ้าน)
    3. ภาษาลาวตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้ในประเทศลาวท้องที่เมืองเซียงขวาง หัวพัน ในประเทศไทยท้องที่บ้านเชียง อ.หนองหาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี และบางหมู่บ้าน ใน จ.สกลนคร หนองคาย และยังมีชุมชนลาวพวนในภาคเหนือบางแห่งในจังหวัด สุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ ไม่กี่หมู่บ้านเท่านั้น
    4. ภาษาลาวกลาง แยกออกเป็นสำเนียงถิ่น 2 สำเนียงใหญ่ คือ ภาษาลาวกลางถิ่นคำม่วน และถิ่นสะหวันนะเขด ถิ่นคำม่วน จังหวัดที่พูดในประเทศไทย เช่น จ.นครพนม สกลนคร หนองคาย (อ.เซกา บึงโขงหลง บางหมู่บ้าน) ถิ่นสะหวันนะเขด จังหวัดที่พูดมีจังหวัดเดียว คือ จ.มุกดาหาร
    5. ภาษาลาวใต้ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงจำปาสัก สาละวัน เซกอง อัตตะปือ จังหวัดที่พูดในประเทศไทย จ.อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร
    6. ภาษาลาวตะวันตก ไม่มีใช้ในประเทศลาว เป็นภาษาที่ใช้ในท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ท้องที่ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มหาสารคาม และบริเวณใกล้เคียงมลฑลร้อยเอ็ด ของประเทศสยาม
    ส่วนภาษาเขียนในอดีตใช้อักษรธรรมล้านช้างหรือตัวธรรม สำหรับบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมะหรือพระพุทธศาสนา และเขียนด้วยอักษรไทน้อยหรือตัวลาว(เป็นอักษรลาวล้านช้างโบราณมีความแตกต่างกับอักษรลาวในสปป.ลาวในปัจจุบันเล็กน้อย)สำหรับเรื่องราวทางโลก อักษรลาวล้านช้าง(ตัวลาวหรืออักษรไทน้อย)มีพยัญชนะ 20 เสียง สระเดี่ยว 18 เสียง สระประสม 2-3 เสียง บางท้องถิ่นไม่มีเสียงสระเอือ ในปัจจุบันนิยมใช้อักษรไทยสำหรับเขียนบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ทั้งในทางโลกและทางธรรม เนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่ไม่สามารถอ่านตัวอักษรธรรมและอักษรลาวออก แต่ความนิยมในการเขียนบันทึกเป็นภาษาถิ่นไม่ค่อยได้รับความนิยมนัก โดยส่วนใหญ่ภาษาเขียนในท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย(อีสาน)จะใช้อักษรไทยและบันทึกเป็นภาษาไทยกลางเป็นหลักแทน
     
  11. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    ผญาภาษาภูไท

    ฮีตภูไท อย่าเห้อหมอง คองภูไทอย่าเห้อเศร้า อย่าเห้อลืบเสตอ ห่อเสเล่ม อย่าสุละเซอไฟ ไหลเซอน้ำเด้อซุมเซ้อแนวภูไท

    ฮีตแต๋ปู่ เฮ้อพาเด๋วสืบไว้ ฮีตภูไท เฮ้อพาเด๋วต่อ มิเฮ้อเฮ้ฮอยควาย มิเฮ้ญ่ายฮ้อยซ้าง ฝนต๊กก๋ะเฮ้อเลิ๊มปิอ๊า ฟ้าฮ้องก๋ะเฮ้อเลิ้มปิเอา เย้อไทเฮาเอย

    หนังสือก๊อม ต่างคนต่างมี ก๊อนคี้ซีก๊อนน้อยก๊อนใหญ่ ปี๊งกบกะยังมีคู (ครู) จี๋ปู๋กะยังมีวาด เป็นโงมิเฮ้อเห็นแก่ญ้า เป็นคี้ค้า (ขี่ข้า) มิเฮ้อเห็นแก่กิ๋น
     
  12. Jubb

    Jubb เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,267
    ค่าพลัง:
    +2,134
    คึดฮอด=คิดรอด ใช่ป่าวครับ?
     
  13. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    คึดฮอด ความหมาย คิดถึง
    คึดฮอดอ้ายหลาย ความหมาย คิดถึงพี่มาก
     
  14. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    มื่อนี่ น้องอุ๋มอิ๋มไป๋สิเหลอน่อ....มิเห็นมาโพสต์เห้ออ่านเลย
     
  15. อุ๋มอิ๋ม555

    อุ๋มอิ๋ม555 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    111
    ค่าพลัง:
    +33
    ภาษาภูไท^^
    ม่ะสะลี = ข้าวโพด
    ม่ะติ่ง = กระดุม
    กองแหน = กำไลข้อมือ


    กะมิเว้าผิเลอ = ก็ไม่พูดอะไร
    แนวเผิ่นพอเจอ = แนวที่คุณพอใจ
    มิได๋ผิเลอ = ไม่ได้พูดอะไร

    อ้ายดีเจอนำ = พี่ดีใจด้วย
    กินก้อยคาบนึ่งกะเอา = กินก้อยมื้อหนึ่งก็เอา
    มิสมเดียว = ไม่เหมาะสมกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กรกฎาคม 2011
  16. อุ๋มอิ๋ม555

    อุ๋มอิ๋ม555 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    111
    ค่าพลัง:
    +33
    อุ๋มอิ๋มเว้านำมิเป็นเดาะภาษาภูไท (พิมพ์ถูกไม่เนี่ยเรา เเง่ๆๆ):z17
     
  17. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    เยอะกิ๋นมะสะลีเด้
     
  18. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    อุ๋มอิ๋มว่าไหมคะ....ว่าดูเหมือนฝันของเราสองคน ไม่มีโอกาสเป็นจริงสักที(ไมโลดิบ ๕๕๕)
    โจโจ้ ก็บ่ฮู้ไป๋สิเหลอ....
     
  19. อุ๋มอิ๋ม555

    อุ๋มอิ๋ม555 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    111
    ค่าพลัง:
    +33

    จริงๆๆค่ะไม่มีโอกาสใด้ไปกิงไมโลดิบกันสักที....โจโจ้ก็ไม่ยอมมุดรั่วไปเลยฮ๋าๆๆ
     
  20. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    [​IMG]

    ๕๕๕๕ น้องภู่ ดูสิเอาภาพอาหารมา กำลังหิวเหมือนจะทานช้างได้ทั้งตัว
    แต่อุ๊ย! ดูดีๆแล้วทานไม่ได้ค่ะ นั่นดูคล้ายๆสาโทเลยนะคะ OTOP ชาวภูไท
     

แชร์หน้านี้

Loading...