ภูไท...ภาษาภูไท...วันละคำ

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย ติงติง, 29 มิถุนายน 2011.

  1. อุ๋มอิ๋ม555

    อุ๋มอิ๋ม555 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    111
    ค่าพลัง:
    +33
  2. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    อรุณสวัสดิ์ วันนี้ ให้มีสุข
    ปราศความทุกข์ โรคภัย ใจสดใส
    อ่านบทกลอน โต้ผญา ภาษาไทย
    ร่วมรักษ์ไว้ ภาษาเรา ให้เนานาน
     
  3. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    อุ๋มอิ๋ม<!-- google_ad_section_end -->น้อย อยู่ไส ไปสิเหลอ
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->Poohเพื่อนเกลอ <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->ป่ากุง<!-- google_ad_section_end -->ด้วย ช่วยเต็มที่
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->planet X บอกว่า ข้าขอที
    Jubb<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4849454", true); </SCRIPT> <!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4847435", true); </SCRIPT>เร็วรี่ ตามมา อย่าช้าพลัน


    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->MERA<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4846478", true); </SCRIPT> มาที่หก ในยกนี้
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->แปะแปะ<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4844965", true); </SCRIPT> มีความรู้ ดูขยัน
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->JOMKAMUNG และ <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->tbb_gt<!-- google_ad_section_end --> นับรวมกัน
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->ติงติง<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4851461", true); </SCRIPT>พลัน นับสิบได้ ไม่ขาดเกิน


    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->ธรรมนารี<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4838623", true); </SCRIPT>teelak มาสมทบ
    สร้อยฟ้า<!-- google_ad_section_end -->ตาม มาพบ<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4825995", true); </SCRIPT> ไม่ห่างเหิน
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->pedก็มา ณัฐกิตติ์ตอบ รับคำเชิญ
    <SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4835119", true); </SCRIPT>ราคุ<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4830945", true); </SCRIPT>เกริ่น หน้าแรก แฮกหมานเอย.


    สิบหกคน แล้วหนอ รอเพื่อนใหม่
    กำลังใจ เสริมพลัง ไม่รั้งเฉย
    อนุรักษ์ ภาษาไทย ไม่ละเลย
    อย่านิ่งเฉย ร่วมสืบสาน ตำนานดี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2011
  4. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    ภาษาภูไทวันนี้
    เสอ ความหมาย เสือ
    เม ความหมาย เมีย, ภรรยา
    เผอ ความหมาย ใคร
    เซ้อ ความหมาย ใช้
     
  5. อุ๋มอิ๋ม555

    อุ๋มอิ๋ม555 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    111
    ค่าพลัง:
    +33
    มาแล้วค่าาๆๆๆๆๆเอิ้กๆๆ อุ๋มอิ๋มมารายงานตัวค่ะ^0^
     
  6. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    ประเพณีบุญเดือนสามของชาวภูไท


    ประเพณีบุญเดือนสามตรงกับขึ้นสามค่ำเดือนสามของทุกปี ชาวภูไทถือว่ามื้อนี้เป็นมื้อดี เป็นมงคล สิยกบ้านใหม่หรือแต่งงานกะจัดในช่วงนี้ ถือได้ว่า เป็นปีใหม่ของชาวภูไทหรือตรุษภูไทกะว่าได้ ในวันขึ้นสามค่ำเดือนสามสี่มีการสู่ขวัญให้ผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เป็นการระลึกถึงบุญคุณพ่อแม่แล้วกะอวยพรให้พ่อแม่อายุมั่นขวัญยืนเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของลูกหลาน นอกจากนี้ผู้เฒ่าผู้แก่เพิ่นกะสิให้พรและผูกแขนให้ลูกให้หลานเพื่อเป็นศิริมงคลคือกัน
    พอถึงตอนเช้าของวันขึ้นสามค่ำเดือนตื่นเช้ามาผู้เฒ่าผู้แก่ เพิ่นกะสิไปเปิดประตูเล้าข้าวไว้ เอาเทียนกับดอกไม้5คู่ เพื่อไหว้พระแม่โพสพให้ปีหน้าได้ข้าวได้น้ำหลายกว่าเก่า เสร็จแล้วกะสิเอาน้ำอบน้ำหอมไปรดงัวควายระลึกถึงบุญคุณที่ซ่อยเฮาเฮ็ดไฮ่เฮ็ดนา พอสายๆประมาณเก้าโมงกะเริ่มผูกแขนผุเฒ่าผุแก่ พิธีของแต่ละเฮือนกะสิจัดไล่ๆกันไปตามเครือญาติ พอผูกแขนเสร็จแล้วกะมีการเลี้ยงข้าวปลาอาหารตามที่เจ้าภาพเพิ่นจัดหามาให้


    ในพีธีกะสิจัดพาขวัญ ประกอบด้วย ไก่ขวัญ เสื้อผ้าของผู้เจ้าของพิธี ผ้าไหมแพรวา ไข่ ข้าวเหนียว ฝ้ายผูกแขน น้ำอบน้ำหอม แล้วกะขันหมากเบ็ง ขันห้า

    [​IMG]

    พิธีกะเริ่มขึ้น หมอสูตรขวัญกะสิสูตรขวัญ แล้วกะให้ลูกๆแต่งขันห้ามาขอขมาพ่อแม่ที่ได้ล่วงเกินทั้งกายวาจาใจ โดยมีหมอสูตรขวัญพากล่าว

    [​IMG]

    พอลูกๆขอขมาเสร็จแล้วพ่อแม่กะสิกล่าวคำให้อภัยพร้อมทั้งอบรมสั่งสอนแล้วกะให้พรแก่ลูกๆ

    [​IMG]
    [​IMG]

    เสร็จแล้วลูกๆกะสิผูกแขนให้พ่อแม่และอวรพรให้พ่อให้แม่อายุมั่นขวัญยืน เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของลูกหลาน

    พอผูกพ่อแม่เสร็จแล้วกะสิผูกผู้เฒ่าผู้แก่ญาติผู้ใหญ่คนอื่นๆนำ

    [​IMG]
    [​IMG]

    ที่นี้ผู้เฒ่ากะสิผูกให้ลูกให้หลาน

    [​IMG]

    พอเสร็จพิธีกะจัดเหล้ายาปลาปิ้งมาสู่กันกินคุยกันตามประสาญาติพี่น้อง บางคนกะสิไปแอบคุยกันสองต่อสองคือจั่งในรูปนั่นหละ [​IMG]
     
  7. ped2011

    ped2011 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +1,096
    ถ้าอินางเหล่าอยู่ตั้งด่น ใจผุบ่าวล่ะคอยหา
    เจ้าไปอยู่ไสเฮ็ดอิหยังมา
    ฮู้บ่น้องหล่า มีคนถ้าคนคอย (คิฮอตเด๋)
    edit..ถ่าน้องอุ่มอิ๋มฮั่นล่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2011
  8. ped2011

    ped2011 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +1,096
    นั่งโซ้ยข้าวปุ้นยุนอกเฮือน
    ช่างแชเชือนบ่เอิ้นอ้ายสักคำ
    เป็นหยังน้อสาวอุ่มอิ๋มจังใจดำ
    บ่มานั่งกินกับหมู่อยู่ทางพิ้
     
  9. ped2011

    ped2011 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +1,096
    โอ้โฮ่! สุดยอดเลยงานนี้ คูติงเอาไป(good)(good)(good)โป้ง สงสัยนั่งแต่งยุเบิ๊ดคืน 555 เอาไปสองคะแนน เอิ้กๆๆ
     
  10. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    ๕๕๕ ขอบคุณหลายเด้อที่ซวดๆมา
    คูติงกะนั้งแต้งอยู้หน้าคอมฯฮั่นละ
    มื้อคืนกะนอนแอดแซดเบิดแฮงเข้าต้ม ละเบ๋ออ้ายเอย.....
     
  11. ped2011

    ped2011 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +1,096
    อุ๋มอิ๋มซ้อยบอกคูติง ทีหลังอย่ากินข้าวต้มมันบ่มีแฮง ต้องกินข้าวจี่ น้ำพริกปลาค้อน้อยป่นแก้มก่ะผักกระแหยงนา เท่านั้น
     
  12. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    [​IMG][​IMG][​IMG]

    อ้ายเอ้ย..จังมาเว่าเป๋นต๋าแซบหลายแถ่น้อ.....

     
  13. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

     
  14. Jubb

    Jubb เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,267
    ค่าพลัง:
    +2,134
    คุณครูฮับ แล้วเซิ้งนี่วัฒนธรรมภูไทหรือเปล่าครับ[​IMG]
     
  15. อุ๋มอิ๋ม555

    อุ๋มอิ๋ม555 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    111
    ค่าพลัง:
    +33
    เว้ามามีเเต่อันเป็นตาเเซบเอิ้กๆๆ(ภาษาอีสาน)
     
  16. อุ๋มอิ๋ม555

    อุ๋มอิ๋ม555 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    111
    ค่าพลัง:
    +33

    ฮ่าๆๆๆ อ่านเเล้วยิ้มๆๆๆๆๆๆ
    :d:d
     
  17. อุ๋มอิ๋ม555

    อุ๋มอิ๋ม555 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    111
    ค่าพลัง:
    +33
    อยากเสนอภาษาอันไพเราะ
    ฟังเสนาะพูดกันสำเนียงหวาน
    ไปสิเลอคือไปไหนใช้พูดกัน
    พูดทุกวันเอ๊ดเผอคือทำไร?
    แมงกะเบ้อคือผีเสื้อตัวน้อยๆ
    ไป๋โขหอยคือขุดหอยใช่อื่นไหน
    ไป๋นำเด๋ว คำนี้คืออะไร
    จะแปลให้ได้ว่าไปด้วยกัน
    มิได้เมอแปลว่าไม่ได้กลับ
    นอนมิลั๊บคิดฮอดบ้านแปลสินั่น

    นอนไม่หลับคิดถึงบ้านเรารู้กัน
    จงเรียนรู้ทุกวันจะเข้าใจ
    [/B][/B]
     
  18. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730

    [​IMG]

    เซิ้งกระติ๊บ

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    เซิ้งสวิง

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    เซิ้งแหย่ไข่มดแดง

    [​IMG] [​IMG]

    เซิ้งบั้งไฟ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2011
  19. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=3 width=300 align=center><TBODY><TR><TD class=table align=middle>เซิ้งบั้งไฟ</TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]
    เซิ้งบั้งไฟ เป็นประเพณีและพิธีกรรมที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล จากคตินิยมและความเชื่อเรื่องตำนานพญาคันคาก (คางคก) ซึ่งเป็นทั้งวรรณกรรมมุขปาฐะและวรรณกรรมจารึก อีกเรื่องหนึ่งคือ ตำนาน “ท้าวผาแดง – นางไอ่คำ” ซึ่งปราชญ์ชาวอีสาน ได้แต่งวรรณกรรมจากสังคมและความเป็นอยู่ของชุมชนชาวขอม

    การเซิ้งบั้งไฟ ถือว่าเป็นประเพณีที่ชุมชน ชาวอีสานสืบทอดกันมาพร้อมกับประเพณีการจุดบั้งไฟ คือก่อนที่จะทำบั้งไฟเพื่อจุดถวายพญาแถนบนสวรรค์ ชาวบ้านจะรวมตัวกันออกเซิ้ง(คือ การร้องหรือจ่ายกาพย์ประกอบการฟ้อน) ไปรอบๆหมู่บ้านหรือชุมชนใกล้เคียง เพื่อบอกบุญขอรับไทยทาน เพื่อซื้อ ขี้เกีย (ดินประสิว) มาทำเป็น หมื่อ (ดินปืน) เพื่อบรรจุทำเป็นบั้งไฟ และจุดในพิธีขอฝนต่อไป

    การเซิ้งบั้งไฟนั้นอาจจะเป็นผู้หญิงล้วน ชายล้วน หรือมีการสลับชายหญิงก็ได้ ท่าฟ้อนในการแห่บั้งไฟนั้นมีหลายท่า ยกตัวอย่างเช่น
    ท่าฟ้อนของคุ้มบ้านใต้สามัคคี อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร มีอยู่ด้วยกัน 6 ท่า คือ ท่าไหว้ครู ท่านาคพ่นน้ำ ท่าม้วนเชือก ท่าแงงคีง(ท่าชมโฉมตนเอง) ท่าส่อนฮวก(ช้อนลูกอ๊อด) และท่ายูงรำแพน

    ท่าฟ้อนของคุ้มบ้านท่าศรีธรรม อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร มี 13 ท่า คือ ท่าไหว้ครู ท่าเกี่ยวข้าว ท่าทวยเทพ ท่าแหวกม่านเข้าหอ ท่าเอิ้นบ่าว-อีแหลวเสิ่น ท่าประแป้ง ท่าเสือขึ้นภู ท่าปอบผีฟ้า-กาตบปีก ท่าบัวหุบ-บัวบาน ท่าสามก้าว ท่างามเดือน และท่าแผลงศร

    การแสดงเซิ้งบั้งไฟนั้นมีหลายแห่งที่คิดประดิษฐ์ในรูปแบบต่างๆกัน แต่ผู้เขียนขอยกตัวอย่างเพียง 1 สถาบันดังนี้
    ในปี พ.ศ.2525 นายจีรพล เพชรสม ผู้ช่วยผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ดในขณะนั้น รวมทั้งเหล่าคณาจารย์ คือ อ.ฉวีวรรณ พันธุ (ดำเนิน), อ.ทองคำ ไทยกล้า และ อ.ทรงศักดิ์ ประทุมศิลป์ อาจารย์สอนศิลปะพื้นเมือง แห่งวิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด ได้ออกพื้นที่ไปศึกษาค้นคว้า เรื่องราวในงานประเพณีแห่บั้งไฟ จากบ้านสังข์สงยางและบ้านสีแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด และการเซิ้งบั้งไฟของชาวอำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ มาสร้างสรรค์ผลงานทางนาฏศิลป์ เป็นชุดการแสดงที่มีชื่อว่า “เซิ้งบั้งไฟ” โดยการจำลองเหตุการณ์การแข่งขันบั้งไฟที่เมืองเอกธชีตา ในสมัยพระยาขอมเรืองอำนาจ โดยมีวัตถุประสงค์จะใช้กิจกรรมทางด้านนาฏศิลป์ สื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมรับรู้ถึงอดีตและความเป็นมา ของวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ และตลอดจนการมีส่วนร่วมในการสืบสานและเผยแพร่สู่อนุชนรุ่นหลังต่อไป

    ตัวอย่างกาพย์เซิ้งบั้งไฟ

    โอ เฮาโอศรัทธา เฮาโอ ขอเหล้าเด็ดนำเจ้าจักโอ
    ขอเหล้าโทนำเจ้าจักถ้วย หวานจ้วยๆต้วยปากหลานชาย
    เอามายายหลานชายให้คู่ ขั่นบ่คู่ตูข่อยบ่หนี
    ตายเป็นผีกะสินำมาหลอก ออกจากบ้านกะสิหว่านดินนำ
    หว่านดินนำกะให้แม่สาวย้าน..............................................


    การแต่งกาย
    การแต่งแบบชุดศรัทธา คือสวมเสื้อแขนกระบอกย้อมคราม มีการตกแต่งตัวเสื้อด้วยด้ายสีและกระดุมสีต่างๆ นุ่งโสร่งหรือผ้าซิ่นมัดหมี่คั่นต่อตีนซิ่น ที่เอวจะแขวนกระดิ่งหรือกระพรวนคอวัว สวมหมวกกาบเซิ้ง พาดสไบขิดสีแดงเฉียงไหล่ สวมส่วยมือ หรือถือร่มพื้นเมือง

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2011
  20. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    <DL><DT>การละเล่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    </DT><DT>
    </DT><DT>การละเล่นภาคะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งนอกจากชาวไทยแล้วยังมีชาวพื้นเมืองที่มีเชื้อสายเขมร เชื้อสายภูไท หรือผู้ไทย ลาว กุย แสก โซ่ง ฯลฯ การละเล่นพื้นเมืองจึงมีหลายประเภท
    การละเล่นประเภทต่างๆ

    </DT><DT> </DT><DT>การละเล่นกลองเส็ง กลองสองหน้า</DT><DD>การละเล่นกลองเส็ง,กลองสองหน้า เป็นการละเล่นพื้นเมืองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือบางจังหวัด ได้แก่ บุรีรัมย์ หนองคาย เลย และเพชรบูรณ์ บางแห่งเรียก “แข่งกลอง” ซึ่งเป็นการแข่งขันการตีกลองคู่ด้วยไม้ค้อนสองมือ กลองลูกหนึ่งจะหนักมาก ใช้คนหาม 2 คน สนามแข่งขันส่วนใหญ่อยู่ในวัด ตัดสินโดยการฟังเสียงกังวานที่ดังก้องสลับกัน ประกอบด้วยท่าตีที่สวยงาม เจ้าของกลองมักจะเป็นวัดในแต่ละหมู่บ้านที่สร้างกลองชนิดนี้ไว้ นิยมเล่นในเทศกาลเดือนหก จนถึงเข้าพรรษา</DD></DL><DL><DT>โปงลาง</DT><DD>โปงลางเป็นเครื่องดนตรีของชาวจังหวัดกาฬสินธุ์ วิวัฒนาการมาจากเกราะหรือขอลอ ตีเพื่อให้เกิดเสียงดัง โปง หมายถึง เสียงของโปง ลาง หมายถึงสัญญาณบอกลางดีหรือลางแห่งความรื่นเริง โปงลาง จึงหมายถึง เครื่องดนตรีที่มีเสียงแห่งลางดี ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เรียงร้อยกัน 12 ท่อน ใช้แขวนเวลาตี การบรรเลงใช้คน 2 คน ตีเข้าจังหวะเร็ว รุกเร้าด้วยความสนุกสนาน มักจะเล่นเข้าวงกัน</DD></DL><DL><DT>เซิ้ง</DT><DD>เซิ้งเป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการร่ายรำหมู่ ทั้งหมู่หญิงล้วน ชายล้วน และผสมทั้งชายหญิง เซิ้งเป็นคู่ ตั้งแต่ 3-5 คู่ เครื่องดนตรีประกอบการเล่นได้แก่ แกร๊ป โหม่ง กลองแตะ และกลองยาว ลีลาของการเซิ้งต้องกระฉับกระเฉง แคล่วคล่องว่องไว ทั้งนี้เพื่อมุ่งความสนุกสนานเพลิดเพลิน และผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจากการตรากตรำทำงาน กระบวนการเล่นเซิ้งจะนำสภาพการดำรงชีวิตมาดัดแปลงเป็นลีลาท่ารำ เช่น นำลักษณะการจับปลาโดยใช้สวิงมาประดิษฐ์เป็นลีลาการเล่น “เซิ้งสวิง” นำเอาอากัปกิริยาของหญิงสาวชาวบ้าน ที่นำอาหารใส่กระติ๊บไปส่งสามีและญาติที่กลางไร่กลางนา มาประดิษฐ์เป็นลีลาท่า “เซิ้งกระติ๊บข้าว” หรือนำการออกไปตีรังมดบนต้นไม้ เพื่อนำมาประกอบอาหาร มาประดิษฐ์เป็น “เซิ้งแหย่ไข่มดแดง”</DD></DL><DL><DD>ปัจจุบันเซิ้งได้วิวัฒนาการตามยุคสมัย มีการคิดท่าใหม่ๆขึ้นอีกมาก เรียกชื่อแตกต่างกันตามลักษณะของการเลียนแบบสภาพวัฒนธรรมที่มีอยู่ในพื้นเมืองนั้นเป็นหลัก เช่น เซิ้งโปง เซิ้งกระหยัง เซิ้งบั้งไฟ เซิ้งสุ่ม ฯลฯ และไม่ว่าจะคิดท่าใดๆขึ้น ลักษณะของเซิ้งก็จะบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ไว้ในลีลาการเต้น ท่าเดิมไม่แตกต่างกันเลย</DD></DL><DL><DT>กันตรึม</DT><DD>กันตรึมเป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวไทยเชื้อสายเขมรในเขตอีสานใต้ ซึ่งเป็นชุมชนที่ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาถิ่น เช่น จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ ตามประวัติแต่โบราณใช้สำหรับขับร้องประกอบการร่ายรำบวงสรวง รำคู่ และรำหมู่ ต่อมามีวิวัฒนาการของการเล่นคลายกับการเล่นเพลงปฏิพากย์ ในภาคกลาง มีกลองที่เรียกว่า “กลองกันตรึม” เป็นหลัก เมื่อตีเสียงจะออกเป็นเสียง กันตรึม โจ๊ะ ตรึม ตรึม การเล่นจะเริ่มด้วยบทไหว้ครู เพื่อระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า พระวิศวกรรม ครูบาอาจารย์ และเริ่มทักทายกัน เล่นได้ทุกโอกาสไม่กำหนดว่าเป็นงานมงคลหรืออวมงคล วงดนตรีประกอบด้วย กลอง ซอ ปี่อ้อ ขลุ่ย ฉิ่ง กรับ ฉาบ กล่าวกันว่า ท่วงทำนองของเพลงกันตรึมมีกว่า 100 ทำนอง บทเพลงจะเกี่ยวกับเรื่อเบ็ดเตล็ด ตั้งแต่เกี้ยวพาราสี โอ้โลม ชมธรรมชาติ แข่งขันปฏิภาณ สู่ขวัญ เล่าเรื่อง ฯลฯ การแต่งกายแต่งตามประเพณีของท้องถิ่น ผู้หญิงนุ่งซิ่น เสื้อแขนกระบอก ผ้าสไบเฉียงห่มทับ ผู้ชายนุ่งโจงกระเบน เสื้อคอกลมแขนสั้น ผ้าไหมคาดเอวและพาดไหล่</DD></DL><DL><DT>เดินไม้สูง</DT><DD>เดินไม้สูงเป็นการละเล่นของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่า เดินขาโกกเกก มักใช้ไม้ไผ่เป็นไม้ค้ำ มีง่ามสองอันสำหรับยืนเหยียบเพื่อใช้เดินต่างเท้า เวลาเดินมีเสียงดัง ก้าวจะยาว มักใชแข่งเรื่องความเร็ว</DD></DL>จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
     

แชร์หน้านี้

Loading...