WarRoom - อาสาสมัครเตรียมการเฝ้าระวังประสานงานเตรียมพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์ปี 2013

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Falkman, 24 เมษายน 2011.

  1. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    ต้องขออภัยลูกค้าทุกท่านที่ต้องการนำรถมาฝากด้วยนะคะ เนื่องจาก

    ขณะนี้มีลูกค้ามาฝากรถเป็นจำนวนมาก ทำให้ที่จอดรถ 3,000 คันของศูนย์ฯเต็มแล้วคะ

    ฟิวเจอร์พาร์คขอบขอบคุณทุกท่านที่ให้ความไว้วางใจนำมาของท่านมาฝากกับเรา


    เราจะดูแลรถของท่านเป็นอย่างดีที่สุดคะ และสำหรับลูกค้าที่ต้องการฝากรถ

    ตอนนี้ที่ ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต เปิดรับลงทะเบียนประชาชนผู้ได้รับผล กระทบจากน้ำท่วม สามารถเข้ามาพักในธรรมศาสตร์


    โดยจัดที่พักและรับบริการฝากรถ ที่บริเวณยิมเนเซียม 2

    โดยเริ่มลงทะเบียนตั้งแต่เวลา 11.00 น. เป็นต้นไปคะ #Future Park Society
     
  2. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    บขส.วิ่งทุกเส้นทางตามปกติ-สายเหนือเลี่ยงถ.สายเอเชีย

    วันเสาร์ที่ 08 ตุลาคม 2011 เวลา 12:10

    บริษัทขนส่ง จำกัด (บขส.) แจ้งว่า เปิดบริการทุกเส้นทางตามปกติ โดยสายเหนือได้เลี่ยงผ่านถนนสายเอเชียที่ขณะนี้ยังประสบปัญหาน้ำท่วมสูง โดยเฉพาะตั้งแต่กิโลเมตรที่ 19 - 30 ไปเดินรถผ่านเส้นทางบางบัวทอง สุพรรณบุรี อ่างทอง แทน

    ขณะที่ จ.นครสวรรค์ ขอให้ผู้ที่จะผ่านนครสวรรค์ไปยังภาคเหนือ ใช้เส้นทางสายอินทร์บุรี ตาคลี เขาทราย พิจิตร วังทอง และ จ.พิษณุโลก
     
  3. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    ผู้ว่าฯกปน. ยืนยัน ยังผลิตน้ำประปาได้

    ข่าวสังคม วันเสาร์ที่ 8 เดือนตุลาคม พ.ศ.2554 12:33 น.

    ผู้ว่าการประปานครหลวง ยืนยัน ยังผลิตน้ำประปาแจกจ่ายประชาชนได้ตามปกติ ขอให้มั่นใจในคุณภาพน้ำ เนื่องจากระบบการผลิต มีประสิทธิภาพ



    นายเจริญ ภัสสะ ผู้ว่าการประปานครหลวง หรือ กปน. กล่าวยืนยันว่า แม้สถานการณ์น้ำจะไหลเข้าท่วมในหลายพื้นที่ของ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี และนนทบุรี แต่ขณะนี้ การประปานครหลวง ยังสามารถผลิตน้ำ และจ่ายน้ำประปาไปให้ประชาชนได้ตามปกติ และขอให้ประชาชนมั่นใจในคุณภาพของน้ำว่า สะอาดและปลอดภัย และน้ำที่ท่วมสูงนั้น จะไม่สามารถไหลซึมเข้ามาปะปนได้ เนื่องจากมีกระบวนการผลิตที่ได้มาตราฐาน อีกทั้ง การประปานครลวง เคยมีประสบการณ์ในการรับมือกับวิกฤตดังกล่าวมาก่อนเมื่อปี 2538 และ 2549 สามารถควบคุมคุณภาพของน้ำได้

    อย่างไรก็ตาม สำหรับโรงงานผลิตน้ำประปานั้น ทางเจ้าหน้าที่ ได้มีการป้องกันไว้แล้ว โดยมีการยกหม้อแปลงไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญในการผลิต จึงขอให้ประชาชนมั่นใจ ส่วนจุดเสี่ยงและเปราะบางมากที่สุดในการเตรียมรับมือปริมาณน้ำนั้น คือ ฝั่งตะวันออกและตะวันตก อาทิ เขตหนองจอก มีนบุรี และลาดกระบัง เป็นต้น
    Link : ผู้ว่าฯกปน ยืนยัน ยังผลิตน้ำประปาได้
     
  4. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    ผู้ว่าฯกปน. ยืนยัน ยังผลิตน้ำประปาได้

    ข่าวสังคม วันเสาร์ที่ 8 เดือนตุลาคม พ.ศ.2554 12:33 น.

    ผู้ว่าการประปานครหลวง ยืนยัน ยังผลิตน้ำประปาแจกจ่ายประชาชนได้ตามปกติ ขอให้มั่นใจในคุณภาพน้ำ เนื่องจากระบบการผลิต มีประสิทธิภาพ



    นายเจริญ ภัสสะ ผู้ว่าการประปานครหลวง หรือ กปน. กล่าวยืนยันว่า แม้สถานการณ์น้ำจะไหลเข้าท่วมในหลายพื้นที่ของ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี และนนทบุรี แต่ขณะนี้ การประปานครหลวง ยังสามารถผลิตน้ำ และจ่ายน้ำประปาไปให้ประชาชนได้ตามปกติ และขอให้ประชาชนมั่นใจในคุณภาพของน้ำว่า สะอาดและปลอดภัย และน้ำที่ท่วมสูงนั้น จะไม่สามารถไหลซึมเข้ามาปะปนได้ เนื่องจากมีกระบวนการผลิตที่ได้มาตราฐาน อีกทั้ง การประปานครลวง เคยมีประสบการณ์ในการรับมือกับวิกฤตดังกล่าวมาก่อนเมื่อปี 2538 และ 2549 สามารถควบคุมคุณภาพของน้ำได้

    อย่างไรก็ตาม สำหรับโรงงานผลิตน้ำประปานั้น ทางเจ้าหน้าที่ ได้มีการป้องกันไว้แล้ว โดยมีการยกหม้อแปลงไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญในการผลิต จึงขอให้ประชาชนมั่นใจ ส่วนจุดเสี่ยงและเปราะบางมากที่สุดในการเตรียมรับมือปริมาณน้ำนั้น คือ ฝั่งตะวันออกและตะวันตก อาทิ เขตหนองจอก มีนบุรี และลาดกระบัง เป็นต้น
    Link : ผู้ว่าฯกปน ยืนยัน ยังผลิตน้ำประปาได้
     
  5. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    30จว.ยังวิกฤตเดือดร้อน7.6แสนครัวเรือน

    ข่าวสังคม วันเสาร์ที่ 8 เดือนตุลาคม พ.ศ.2554 11:40 น.


    ปภ. สรุป 30 จังหวัด ยังวิกฤต ประชาชน ได้รับความเดือดร้อน ร่วม 8 แสนครัวเรือน กรมอุทกศาสตร์ เตือน น้ำทะเลจะหนุนสูง ช่วงกลางเดือน ต.ค. ระหว่างวันที่ 12-16 ต.ค.54


    ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม รายงานสรุปสถานการณ์อุทกภัย พื้นที่ประสบปัญหาอุทกภัย รวม 30 จังหวัด อาทิ จ.สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี เดือดร้อนกว่า 218 อำเภอ 1,498 ตำบล ประชาชน ได้รับความเดือดร้อน รวม 762,765 ครัวเรือน จำนวนผู้เสียชีวิต รวม 253 ราย จำนวนผู้สูญหาย รวม 4 ราย พื้นที่การเกษตร คาดว่า จะเสียหาย 7,528,805 ไร่ ทางหลวง เส้นทางที่ไม่สามารถสัญจรได้ 54 สาย ใน 14 จังหวัด ทางหลวงชนบท เส้นทางที่ไม่สามารถสัญจรได้ 154 สาย ใน 28 จังหวัด

    ด้าน กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ น้ำทะเลจะหนุนสูงในช่วงกลางเดือน ต.ค. ระหว่างวันที่ 12-16 ต.ค. 54 และอีกครั้งในช่วงปลายเดือน ต.ค. ระหว่างวันที่ 28-30 ต.ค. 54 ขณะที่ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ให้เฝ้าระวังภาคกลางตอนล่าง ระหว่างวันที่ 13-17 ต.ค. 54 (สูงสุด 17 ต.ค. 54) และช่วงปลาย เดือน ต.ค. ระหว่างวันที่ 26-31 ต.ค. 54 (สูงสุด 29 ต.ค. 54) และภาคตะวันออก รวมทั้ง กรุงเทพมหานคร สำหรับ พื้นที่น้ำล้นตลิ่งและน้ำท่วมขังในเขตภาคกลาง ลุ่มแม่น้ำ เจ้าพระยา (จ.นครสวรรค์ สิงห์บุรี ชัยนาท อุทัยธานี อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา และ จ.สุพรรณบุรี) เฉพาะ จ.ลพบุรี และ จ.พระนครศรีอยุธยา คาดว่า สถานการณ์น้ำท่วม จะขยายพื้นที่เพิ่มมากขึ้น และระดับน้ำจะสูงขึ้นจากปริมาณน้ำฝนและน้ำเหนือที่จะไหลมาสมทบ
    Link : 30จว ยังวิกฤตเดือดร้อน7 6แสนครัวเรือน
     
  6. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    วิกฤตหนัก! อยุธยาแจ้งรถออกจากเกาะเมือง

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 ตุลาคม 2554 14:56 น.

    เจ้าหน้าที่ได้ประชาสัมพันธ์ให้รถเล็กที่เดินทางออกมาจากเกาะเมืองอยุธยา เพื่อมุ่งหน้าสู่ศูนย์อพยพผู้ประสบอุทกภัย ผ่านเส้นทางเลี่ยงเมือง วัดใหญ่ชัยมงคล ศูนย์ราชการ ที่ผ่านสะพานข้ามคลองสวนพลู ให้เร่งเดินทางออกมา เนื่องจาก ถนนฝั่งขาเข้า คอสะพานและผิวถนนเริ่มหายไป หลังจากถูกกระแสน้ำพัดอย่างรุนแรง พร้อมกับ ระดับน้ำบนสะพานเริ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าอีกไม่นานรถเล็กจะไม่สามารถผ่านเส้นทางดังกล่าวได้

    ทั้งนี้ บรรยากาศล่าสุด ประชาชน ได้รีบเดินทางออกมาทำให้การจราจรเริ่มติดขัด ท่ามกลางการดูแลของเจ้าหน้าที่ ที่พยายามช่วยให้รถวิ่งและดูแลความปลอดภัยของประชาชนอย่างเต็มที่
     
  7. somsweet

    somsweet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2011
    โพสต์:
    6,138
    ค่าพลัง:
    +9,874
    เตือนภัย<TABLE border=0 cellSpacing=3 cellPadding=5 width="91%" align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG] [ 14:44 น. 8 ต.ค. 54] กรมชลเตือนไปยังประชาชนที่อยู่ริมน้ำท่าจีนให้เริ่มเก็บของขึ้นที่สูงและติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด dajimdream </TD></TR><TR><TD bgColor=#eaf9ff>[​IMG] [ 13:45 น. 8 ต.ค. 54] เปิด 15 จุดเสี่ยงพื้นที่ กทม.ชั้นใน เผชิญน้ำท่วม เขตสาทร เขตพญาไท เขตพระโขนง เขตวัฒนา เขตวังทองหลาง เขตบึงกุ่ม เขตดินแดง เขตจตุจักร เขตราชเทวี เขตราชเทวี เขตบางแค เขตยานนาวา เขตประเวศ เขตพระนคร http://bit.ly/rpqesa

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=3 cellPadding=5 width="91%" align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffcc>[ 12:13 น. 8 ต.ค. 54] กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ เตือน 12-16 ตค.น้ำทะเลหนุนสูง ขอให้ ปชช. ที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เฝ้าระวังระดัีบอย่างใกล้ชิด http://bit.ly/o9Rx9T </TD></TR><TR><TD bgColor=#eaf9ff>[​IMG] [ 11:46 น. 8 ต.ค. 54] นายก อบต.นาแก อ.งาว จ.ลำปาง เตือน ปชช. ในพื้นที่ให้เฝ้าดินถล่ม หลังพบรอยแยกบนภูเขาดอยแม่ฮ้างดิน http://bit.ly/pNb2k7 </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG] [ 11:33 น. 8 ต.ค. 54] ศภช.เตือน 4 จังหวัดตะวันออก ตราด ชลบุรี ระยอง และจันทบุรี เฝ้าระวังน้ำป่า-ดินถล่ม ในวันที่ 8-10 ต.ค.นี้ โดยคุณ Anyamin_nna </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 ตุลาคม 2011
  8. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    พายุ 2 ลูก

    [​IMG]
     
  9. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    เปิด 15 จุดเสี่ยงน้ำท่วม พื้นที่ กทม.ชั้นใน

    [​IMG]

    ผอ.สำนักการระบายน้ำ กทม. เผยจุดเสี่ยงน้ำท่วมซ้ำซาก 15 แห่ง ถ้า น้ำฝน น้ำเหนือ และน้ำทะเลหนุน ก็เสี่ยงจะเกิดน้ำท่วมได้

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า (8 ต.ค.)นายสัญญา ชีนิมิตร ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพ มหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า สำหรับพื้นที่ชั้นใน กทม.จากการสำรวจพบว่า มี 15 พื้นที่เป็นจุดอ่อนและเสี่ยงต่อน้ำท่วม ถ้า 3 น้ำมาพร้อมกัน ทั้งน้ำฝน น้ำเหนือ และน้ำทะเลหนุน ก็เสี่ยงจะเกิดน้ำท่วมได้ เพราะกรุงเทพฯเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ ง่ายต่อน้ำท่วมขัง ได้แก่

    1)เขตสาทร ย่านถนนจันทร์ เซนต์หลุยส์ สาธุประดิษฐ์

    2)เขตพญาไท ถนนพหลโยธิน ช่วงคลองสามเสน-คลองบางซื่อ

    3)เขตพระโขนง ถนนสุขุมวิท จากคลองพระโขนง-ซอยลาซาล

    4)เขตวัฒนา ซอยสุขุมวิท 39 และ 49

    5)เขตวังทองหลาง ถนนลาดพร้าว จากคลองลาดพร้าว-ห้างเดอะมอลล์

    6)เขตบึงกุ่ม ถนนนวมินทร์ จากคลองดอนอีกา-แยกถนนประเสริฐมนูกิจทั้งสองฝั่ง

    7)เขตดินแดง ถนนรัชดาภิเษก หน้าห้างโรบินสัน

    8)เขตจตุจักร ถนนรัชดาภิเษก แยกลาดพร้าว

    9)เขตราชเทวี ถนนเพชรบุรี จากถนนบรรทัดทอง-แยกราชเทวี

    10)เขตราชเทวี ถนนนิคมมักกะสัน

    11)เขตราชเทวี ถนนพระรามที่ 6 หน้าตลาดประแจจีน

    12)เขตบางแค ถนนเพชรเกษม ซอย 63 (ซอยวัดม่วง)

    13)เขตยานนาวา ถนนเย็นอากาศ จากถนนนางลิ้นจี่- ซอยศรีบำเพ็ญ

    14)เขตประเวศ ถนน ศรีนครินทร์ ช่วงคลองตาสาด-คลองตาช้าง และ

    15)เขตพระนคร ถนนสนามไชยและถนนมหาราช


    นายสัญญา กล่าวต่อว่า ปัจจุบัน กทม.เตรียมรับมือเต็มที่ เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำตลอด 24 ช.ม. ล่าสุดซื้อกระสอบทรายเพิ่มอีก 1.5 ล้านถุง เพราะทุกเขตขอเข้ามา นอกจากนี้ยังได้ขุดลอกคลองให้ระบายน้ำได้เร็วขึ้น ดูแลประตูระบายน้ำ เครื่องสูบน้ำ สถานีสูบน้ำ รวมถึงประสานงานกับกรมชลประทานช่วยบริหารจัดการน้ำผ่านคลองและอุโมงค์ลงสู่ทะเล

    "ถ้าน้ำมามากเกิน คนกรุงต้องยอมรับสภาพ ซึ่งปริมาณน้ำฝน กทม.รับมือได้เต็มที่ 1,500-1,600 ลบ.เมตรต่อวินาที ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยารับได้ 3,000-3,500 ลบ.เมตรต่อวินาที" นายสัญญา กล่าว

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 ตุลาคม 2011
  10. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    นครสวรรค์วิกฤติหนักน้ำท่วมรถติด-ปทุมฯเร่งช่วยกรอกทราย

    วันที่ 08 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เวลา 14:28 น. ข่าวสดออนไลน์

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    จากสถานการณ์น้ำท่วมที่นครสวรรค์ ซึ่งท่วมมานานเกือบ 2 เดือนแล้ว ต่อมาเขื่อนภูมิภพลเร่งระบายน้ำมากขึ้นทำให้น้ำจากแม่น้ำปิงไหลทะลักเข้าท่วมหมู่บ้านหลายแห่งอย่างกระทันหัน ช่วงระยะเวลา 2 วันน้ำขึ้นเกือบ 2 เมตร โดยเฉพาะหมู่บ้านดรีมแลนด์ หมู่บ้านเอื้ออาทร1-2 หมู่บ้านสุขสวัสดิ์ 12 หมู่บ้านศรีมาย ชาวบ้านขนย้ายของไม่ทัน ทิ้งรถจมน้ำหลายสิบคัน ในวันนี้น้ำยังเพิ่มระดับสูงขึ้นไม่ขาด บ้านหลายหลังน้ำท่วมจมมิดถึงหลังคา หลายครอบครัวขนย้ายสิ่งของ ย้ายรถยนต์ รถจักรยานยนต์จำนวนหลายร้อยคัน ออกมากอง มาจอดข้างถนนพหลโยธิน บริเวณโรงปูนตรานกอินทรีย์ ซึ่งถนนพหลโยธินเป็นเส้นทางสายเดียวที่เหลืออยู่ในการเดินทางขึ้นสู่ภาคเหนือ ทำให้มีปริมาณรถจำนวนมาก ส่งผลให้รถติดอย่างหนัก จราจรต้องมาระบายรถ ส่วนการเดินทางของ ส่วนการเดินทางเข้า-ออกจากบ้านของประชาชนต้องใช้เรือ

    นายชัยโรจน์ มีแดง ผู้ว่าฯนครสวรรค์ ทำหนังสือประสานงานขอใช้สถานที่ให้ผู้อพยพภัยน้ำท่วมมาพักที่ รร.นครสวรรค์ รร.อนุบาลเมืองนครสวรรค์ วิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์ วัดคีรีวงศ์ และสนามกีฬาจังหวัดนครสวรรค์แล้ว โดยในขณะนี้พ่อค้า-แม่ค้าจากตลาดริมปิง ต้องย้ายมาขายของที่สนามกีฬาจังกวัดเป็นการชั่วคราวเนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำปิงสูงขึ้นจนทางตลาดไม่สามารถป้องกันได้ ต้องย้ายตลาดทันที

    ด้านจ.สุพรรณบุรี ผู้สื่อข่าวรายงานว่าถนนสายสุพรรณบุรี- ป่าโมก ช่วงสะพานไผ่ขวาง ถนนสาย 340 คู่ขนานขาออก ช่วงบริเวณหน้าสำนักงานขนส่งสุพรรณบุรี และคู่ขนานขาเข้าบริเวณปั้ม ปตท.เลี่ยงเมืองที่เป็นจุดพักรถใหญ่แห่งหนึ่ง ถนนมีน้ำท่วมขังสูงบริเวณส่งผลให้รถเล็กไม่สามารถสัญจรผ่านได้การจราจรติดขัดบางช่วงเจ้าหน้าที่ต้องเร่งนำป้ายเตือนมาติดไว้เพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนทราบเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ และพยายามแก้ไขโดยการนำกระสอบทรายมาวางกั้นเป็นแนวยาวพร้อมสูบน้ำออกเพื่อให้รถสามารถสัญจรได้ตามปรกติต่อไป

    จ.ปทุมธานี เจ้าหน้าที่จากทางเทศบาลนครรังสิต ออกประกาศรวมกำลังคน จากชาวบ้านในย่านรังสิต ให้ช่วยกันกรอกกระสอบทรายกั้นประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ ต.ประชาธิปัตย์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี เนื่องจากระดับน้ำเริ่มปริ่มคัน และมีทีท่าจะเพิ่มสูงขึ้น แต่กำลังคนของเจ้าหน้าที่จากเทศบาลนครรังสิตมีกำลังคนไม่เพียงพอ และเริ่มหมดแรง จึงต้องวอนขอความช่วยเหลือกับทางชาวบ้านเพื่อป้องกันน้ำไม่ให้เข้าท่วมภายในย่ารังสิต
     
  11. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    แนวทางการแก้ปัญหาน้ำท่วม (ระยะยาว) ในลุ่มน้ำภาคกลาง

    Posted by เพชรพรหมาฯ , ผู้อ่าน : 12 , 14:33:07 น.

    หมวด : ทั่วไป

    ปัญหาน้ำท่วมจังหวัดต่างๆ ของภาคกลาง ซึ่งอยู่ในเขตลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในขณะนี้ ได้ทำความเสียหายต่อประเทศชาติในทุกๆ ด้าน อย่างที่ไม่สามารถประเมินออกมาเป็นมูลค่าได้ ซึ่งปัญหาน้ำท่วมดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานนับเดือน ซึ่งไม่เหมือนกับอุทกภัยที่เกิดขึ้นในภูมิภาคอื่นของประเทศ ที่เป็นเป็นลักษณะ "มาไวไปไว"

    เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่า อุทกภัยในลุ่มน้ำภาคกลางที่เกิดขึ้นมาทุกครั้ง มีสาเหตุสำคัญเพียงประการเดียวคือ แม่น้ำเจ้าพระยาไม่สามารถระบายน้ำลงทะเลที่จังหวัดสมุทรปราการได้ทัน กับปริมาณน้ำจำนวนมากมายที่มาจากลุ่มน้ำในภาคเหนือนั่นเอง ดังนั้นทุกคนจึงเห็นว่าการไหลของกระแสน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาในขณะนี้ซึ่งมีน้ำล้นตลิ่ง แต่ก็เป็นไปด้วยความล่าช้ามาก ไม่เหมือนกับแม่น้ำสายอื่นๆ ที่มีความเชี่ยวกรากมากกว่านี้มากนัก

    โดยลักษณะภูมิประเทศในภาคกลางแล้ว ความแตกต่างของระดับความสูงพื้นที่จากระดับน้ำทะเลในจังหวัดต่างๆ มีความใกล้เคียงกัน การไหลของกระแสน้ำจึงไม่มาก เมื่อน้ำไหลมาในปริมาณมากมหาศาลจึงไหลบ่าท่วมพื้นที่ในลุ่มน้ำ และสร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก ซึ่งเกิดขึ้นเป็นช่วงเวลานานนับเดือน นอกจากนั้นยังก่อให้เกิดสันดอนปากน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นบริเวณกว้างมาก กินพื้นที่หลายสิบตารางกิโลเมตร นับเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การไหลของแม่น้ำเจ้าพระยามีความล่าช้ามาก ดังนั้นแนวทางการแก้ปัญหานี้อันดับแรก รัฐบาลจำเป็นต้องดำเนินการขุดสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยา ออกไปให้หมดหรือให้มากที่สุด

    ประการต่อมารัฐบาลต้องลงทุนขุดคลองขนาดกว้างอย่างน้อย 50 เมตร แยกออกจากแม่น้ำเจ้าพระยา จำนวนอย่างน้อย 3 คลอง เลือกสถานที่และภูมิประเทศให้เหมาะสม โดยขุดคลองตรงไปลงทะเลที่อ่าวไทย เพื่อช่วยเรงการระบายน้ำลงทะเลให้เร็วที่สุด

    ประการสุดท้ายเป็นข้อเสนอแนะให้ขุดคลองอีกเช่นกัน เพื่อผันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา ไปยังแม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางประกง ซึ่งแม่น้ำทั้งสามสายนี้จะไปมีทางออกทะเลที่อ่าวไทยเช่นกัน

    แนวทางการแก้ปัญหาของผู้เขียนทั้งหมดนี้ถึงแม้ว่าจะใช้งบประมาณมากมายมหาศาล จะช่วยแก้ปัญหาอุทกภัยในเขตภาคกลางหรือลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรืออย่างน้อยก็ให้เป็นไปในลักษณะ "มาไวไปไว" ทำให้ลดความเสียหายในทุกๆ ด้านกับประเทศชาติได้ตลอดไปอีกด้วย


     
  12. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    จนท.เผยน้ำท่วมหนักในฟิลิปปินส์อาจะยืดเยื้อร่วมเดือน ยอดเหยื่อพุ่ง 95 ราย

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 ตุลาคม 2554 14:58 น.

    [​IMG]

    เอเอฟพี - หัวหน้าศูนย์จัดการ และลดความเสี่ยงภัยพิบัติแห่งชาติฟิลิปปินส์เผย น้ำท่วมใหญ่ในประเทศอันเป็นผลกระทบจากไต้ฝุ่น 2 ลูกซ้อน อาจกินเวลานาน 1 เดือน ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตจากพายุทั้ง 2 ลูกเพิ่มเป็น 95 รายแล้ว

    เบนิโต รามอส หัวหน้าศูนย์ป้องกันพลเรือนดังกล่าวเผยว่า เหตุน้ำท่วมสูงถึงระดับเอวหลังไต้ฝุ่นเนสาด และนาลแกนั้นเลวร้ายลงเรื่อยๆ เนื่องจากฝนที่ตกอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ตามแนวชายฝั่งทางเหนือของกรุงมะนิลา

    "น้ำท่วมครั้งนี้เป็นผลมาจากเนสาด และนาลแก ที่นี่ยังคงมีฝนตกอยู่ เราจึงคาดว่าอีกอย่างน้อย 2 สัปดาห์กว่าที่น้ำจะลด หากฝนจะหยุดตกในเร็ววันนี้" รามอสระบุขณะลงพื้นที่ตรวจสอบ โดยเสริมว่า หากฝนยังตกต่อไป อาจต้องใช้เวลา 1 เดือนน้ำจึงจะลด

    ศูนย์ภัยพิบัติเผยว่า ประชาชนมากกว่า 586,000 รายยังคงไร้ที่อยู่อาศัย เนื่องจากน้ำท่วมหนัก บางรายต้องอพยพออกจากบ้านเนื่องจากเกรงระดับน้ำที่อาจเพิ่มสูงขึ้น และสภาพความไม่ปลอดภัย

    ทั้งนี้ ไต้ฝุ่นเนสาดพัดถล่มทางเหนือของฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 27 กันยายนที่ผ่านมา ตามด้วยพายุนาลแก เพียง 5 วันหลังจากนั้น ทำให้เกิดสตอร์มเซิร์จ น้ำท่วม และดินถล่มในหลายพื้นที่

    สำหรับยอดผู้เสียชีวิตโดยรวมจากวาตภัยทั้ง 2 นั้นเพิ่มขึ้นเป็น 95 ราย ขณะที่ยังมีเหยื่ออีก 34 รายสูญหาย ในจำนวนนั้นถูกกระแสน้ำท่วมพัดพาไป หรือเสียชีวิตในระหว่างพายุพัดผ่าน ด้วยกระแสลมรุนแรงที่ทำลายอาคารบ้านเรือน หรือโค่นต้นไม้ล้ม

    แม้ว่าพายุทั้ง 2 ลูกจะเคลื่อนตัวผ่านไปแล้ว แต่ความกดอากาศต่ำยังครอบคลุมหลายพื้นที่ในประเทศ ทำให้ฝนตกหนัก โดยเฉพาะในพื้นที่น้ำท่วม ซึ่งความเสียหายที่มีการประเมินไว้จากพายุทั้งสองอยู่ที่ประมาณ 322 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และคาดว่าตัวเลขน่าจะสูงขึ้นอีก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 ตุลาคม 2011
  13. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    คู่มือ!รับสถานการณ์น้ำท่วม

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

    [​IMG]

    อ่านคู่มือรับสถานการณ์น้ำท่วม..ทั้งเตรียมพร้อมก่อนและหลังเกิด และโรคที่พึงระวัง รวมถึงแหล่งบริจาคและที่ติดต่อฉุกเฉิน

    เหตุการณ์ อุทกภัยที่เกิดขึ้นในรอบหลายปีที่ผ่านมาได้ได้สร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและหน่วยงานในพื้นที่น้ำท่วม โดยทางรัฐและหน่วยงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบต้องกรทำการป้องกันและฟื้นฟู ระบบสาธารณูปโภคที่สำคัญก่อน อาจไม่สามารถให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนได้อย่างทันที ดังนั้นประชาชนจึงควรมีความพร้อมในการเตรียมรับสถานการ์น้ำท่วมเพื่อป้องกัน และบรรเทาภัยที่จะเกิดขึ้นได้

    การเตรียมการก่อนน้ำท่วม

    การป้องกันตัวเองและความสียหายจากน้ำท่วม ควรมีการเตรียมการไว้ล่วงหน้า เพราะหากรอให้มีการเตือนภัยเวลามักไม่เพียงพอ รู้จักกับภัยน้ำท่วมของคุณ สอบถามหน่วยงานที่มีการจัดการด้านน้ำท่วม ด้วยคำถามดังต่อไปนี้

    - ภายในละแวกใกล้เคียงในรอบหลายปี เคยเกิดน้ำท่วมสูงที่สุดเท่าไร
    - เราสามารถคาดคะเนความเร็วน้ำหรือโคลนได้หรือไม่
    - เราจะได้การเตือนภัยล่วงหน้าก่อนที่น้ำจะมาถึงเป็นเวลาเท่าไหร่
    - เราจะได้รับการเตือนภัยอย่างไร
    - ถนนเส้นใดบ้าง ในละแวกนี้ที่จะถูกน้ำท่วมหรือจะมีสิ่งกีดขวาง

    ]การรับมือสำหรับน้ำท่วมครั้งต่อไป

    1. คาดคะเนความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับทรัพย์สินของคุณเมื่อเกิดน้ำท่วม
    2. ทำความคุ้นเคยกับระบบการเตือนภัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและขี้นตอนการอพยพ
    3. เรียนรู้เส้นทางการเดินทางที่ปลอดภัยที่สุด จากบ้านไปยังที่สูงหรือพื้นที่ปลอดภัย
    4. เตรียมเครื่องมือรับวิทยุแบบพกพา อุปกรณ์ทำอาหารฉุกเฉินแหล่งอาหารและไฟฉาย รวมทั้งแบตเตอร์รี่สำรอง
    5. ผู้คนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงต่อภัยน้ำท่วม ควรจะเตรียมวัสดุ เช่น กระสอบทราย แผ่นพลาสติก ไม้แผ่น ตะปู กาวซิลิโคน เพื่อใช้ป้องกันบ้านเรือน และควรทราบแหล่งวัตถุที่จะนำมาใช้
    6. นำรถยนต์และพาหนะไปเก็บไว้ในพื้นที่ซึ่งน้ำไม่ท่วมถึง
    7. ปรึกษาและทำข้อตกลงกับบริษัทประกันภัย เกี่ยวกับการประกันความเสียหาย
    8. บันทึกหมายเลขโทรศัพท์สำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉินและเก็บไว้ตามที่จำง่าย
    9. รวบรวมของใช้จำเป็นและเสบียงอาหารที่ต้องการใช้ ถายหลังน้ำท่วมไว้ในที่ปลอดภัยและสูงกว่าระดับที่คาดว่าน้ำจะท่วมถึง
    10. ทำบันทึกรายการทรัพย์สินมีค่างทั้งหมด ถ่ายรูปหรือวีดีโอเก็บไว้เป็นหลักฐาน
    11. เก็บ บันทึกรายการทรัพย์สิน เอกสารสำคัญและของมีค่าอื่นๆ ในสถานที่ปลอดภัยห่างจากบ้านหรือห่างไกลจากที่น้ำท่วมถึง เช่น ตู้เซฟที่ธนาคาร หรือไปรษณีย์
    12. ทำแผนการรับมือน้ำท่วม และถ่ายเอกสารเก็บไว้เป็นหลักฐานที่สังเกตุได้ง่าย และติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วมที่เหมาะสมกับบ้านของคุณ


    ถ้าคุณคือพ่อแม่

    - ทำการซักซ้อมและให้ข้อมูลแก่บุตรหลานของคุณ ขณะเกิดน้ำท่วม เช่น ไม่สัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้า ปลั๊กไฟ หลีกเลี่ยงการเล่นน้ำและอยู่ใกล้เส้นทางน้ำ
    - ต้องการทราบหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินของหน่วยงานท้องถิ่น
    - ต้องการทราบแผนฉุกเฉินสำหรับ โรงเรียนที่บุตรหลานเรียนอยู่
    - เตรีมแผนการอพยพสำหรับครอบครัวของคุณ
    - จัดเตรียมกระสอบทราย เพื่อกันน้ำไม่ให้เข้าสู่บ้านเรือน
    - ต้องมั่นใจว่าเด็กๆ ได้รับทราบแผนการรับสถานการณ์น้ำท่วมของครอบครัวและของโรงเรียน


    การทำแผนรับมือน้ำท่วม

    การจัดทำแผนรับมือน้ำท่วม จะช่วยให้คุณนึกถึงสิ่งต่างๆ ที่จะต้องทำหลังได้รับการเตือนภัยเดินสำรวจทั่วทั้งบ้านด้วยคำแนะนำที่กล่าว มา พร้อมทั้งจดบันทึกด้วยว่าจะจัดการคำแนะนำอย่างไร ในช่วงเวลาที่ทุกๆ คนเร่งรีบและตื่นเต้นเนื่องจากภัยคุกคาม สิ่งที่สำคัญที่จะลืมไม่ได้ก็คือ หมายเลขโทรศัพท์ต่างๆ ที่สำคัญไว้ในแผนด้วย


    ถ้าคุณมีเวลาเล็กน้อยหลังการเตือนภัย :

    สิ่งที่ต้องทำและมีในแผน

    - สัญญาเตือนภัยฉุกเฉิน และสถานีวิทยุ หรือสถานีโทรทัศน์ที่รายงานสถานการณ์
    - รายชื่อสถานที่ 2 แห่งที่สมาชิกในครอบครัวสามารถพบกันได้หลังจากพลัดหลงโดยสถานที่แรกให้อยู่ ใกล้บริเวณบ้านและอีกสถานที่อยู่นอกพื้นที่ที่น้ำท่วมถึง

    ระดับการเตือนภัยน้ำท่วม

    ลักษณะการเตือนภัยมี 4 ประเภท คือ

    1. การเฝ้าระวังน้ำท่วม : มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดน้ำท่วมและอยู่ในระหว่างสังเกตุการณ์
    2. การเตือนภัยน้ำท่วม : เตือนภัยจะเกิดน้ำท่วม
    3. การเตือนภัยน้ำท่วมรุนแรง : เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง
    4. ภาวะปกติ : เหตุการณ์กลับสู่ภาวะปกติหรือเป็นพื้นที่ไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม

    สิ่งที่คุณควรทำ : หลังจากได้รับการเตือนภัยจากหน่วยงานด้านเตือนภัยน้ำท่วม

    1. ติดตามการประกาศเตือนภัยจากสถานีวิทยุท้องถิ่น โทรทัศน์หรือรถแจ้งข่าว
    2. ถ้ามีการเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลันและคุณอยู่ในพื้นที่หุบเขาให้ปฎิบัติดังนี้
    - ปีนขึ้นที่สูงให้เร็วสุดเท่าที่จะทำได้
    - อย่าพยายานำสัมภาระติดตัวไปมากเกินไป ให้คิดว่าชีวิตสำคัญที่สุด
    - อย่าพยายามวิ่งหรือขับรถผ่านบริเสณน้ำหลาก
    3. ดำเนินการตามแผนรับมือน้ำท่วมที่ได้วางแผนไว้แล้ว
    4. ถ้ามีการเตือนภัยการเฝ้าระวังน้ำท่วมจะยังมีเวลาในการเตรียมแผนรับมือน้ำท่วม
    5. ถ้ามีการเตือนภัยน้ำท่วมและคุณอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมถึง

    ควรปฎิบัติดังนี้

    - ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและแก๊ซถ้าจำป็น
    - อุดปิดช่องน้ำทิ้งอ่างล่างจาน
    - พื้นที่ห้องน้ำและสุขภัณฑ์ที่น้ำสามารถไหลเข้าบ้าน
    - อ่านวิธีการที่ทำให้ปลอดภัยจากเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่ออยู่นอกบ้าน
    - ล็อคประตูบ้านและอพยพขึ้นที่สูง
    - ถ้าไม่มีที่ปลอดภัยบนที่สูง ให้ฟังข้อมูลจากวิทยุหรือโทรทัศน์เกี่ยวกับสถานที่หลบภัยของหน่วยงาน

    6. หากบ้านพักอาศัยของคุณไม่ได้อยู่ในที่น้ำท่วมถึง
    - อ่านวิธีการที่ทำให้ความปลอดภัยเมื่ออยู่ในบ้าน

    7. หากบ้านพักอาศัยของคุณไม่ได้อยู่ในที่น้ำท่วมถึงแต่อาจมีน้ำท่วมในห้องใต้ดิน
    - ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในห้องใต้ดิน
    - ปิดแก็ซหากคาดว่าน้ำจะท่วมเตาแก็ซ
    - เคลื่อนย้ายสิ่งของมีค่าขึ้นข้างบน
    - ห้ามอยู่ในห้องใต้ดิน เมื่อมีน้ำท่วมถีงบ้าน

    น้ำท่วมฉับพลัน

    คือ น้ำท่วมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากในบริเวณที่ลุ่มต่ำ ในแม่น้ำ ลำธารหรือร่องน้ำที่เกิดจากฝนที่ตกหนักมากติดต่อกันหรือจากพายุฝนที่เกิดซ้ำที่หลายครั้ง น้ำป่าอาจเกิดจากที่สิ่งปลูกสร้างโดยมนุษย์ เช่น เขื่อนหรือฝายพังทลาย
    - ถ้าได้ยินการเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลันให้วิ่งไปบนที่สูงทันที
    - ออกจารถและที่อยู่ คิดอย่างเดียวว่าต้องหนี
    - อย่าพยายามขับรถหรือวิ่งย้อนกลับไปทางที่ถูกน้ำท่วม


    ปลอดภัยไว้ก่อนเมื่ออยู่นอกบ้าน

    - ห้ามเดินตามเส้นทางที่น้ำไหล
    มีผู้คนจำนวนมากเสียชีวิตจากจมน้ำตายในขณะที่น้ำกำลังมาความสูงของน้ำแค่ 15 ซม. ก็ทำให้เสียหลักล้มได้ ดังนั้นถ้ามีความจำเป็นต้องเดินผ่านที่น้ำไหลให้ลองนำไม้จุ่มเพื่อวัดระดับ น้ำก่อนทุกครั้ง

    - ห้ามขับรถในพื้นที่ที่กำลังโดนน้ำท่วม
    การ ขับรถในพื้นที่ที่น้ำท่วมมีความเสียงสูงมากที่จะจมน้ำ หากเห็นป้ายเตือนตามเส้นทางต่างๆ ห้ามขับรถเข้าไปเพราะอาจมีอันตรายข้างหน้า น้ำสูง 50 ซม. พัดรถยนต์จักรยสานยนต์ให้ลอยได้

    - ห้ามเข้าใกล้อุปกรณ์ไฟฟ้าและสาย :
    กระแส ไฟฟ้าสามารถวิ่งผ่านได้ เมื่อเกิดน้ำท่วมแต่ละครั้งจะมีผู้เสียชีวิต เนื่องจากไฟดูดมากกว่าสาเหตุอื่นๆ เมื่อเห็นสายไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุดเสียหายกรุณาแจ้ง 191 หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    หลังน้ำท่วม

    3 ขั้นตอนที่คุณควรทำในวันแรก ๆ หลังจากเหตุการณ์น้ำท่วม

    ขั้นตอนที่ 1 : เอาใจใส่ตัวเอง

    หลังผ่านเหตุการณ์น้ำท่วม คุณและครอบครัวอาจเกิดความซึมเศร้า และต้องใช้เวลากลับสู่ภาวะปกติอย่าลืมว่าเหตุการณ์น้ำท่วมนั้นอาคารบ้าน เรือน ได้รับความเสียหาย คุณต้องดูแลตัวเองและครอบครัว พร้อมกับการบูรณะบ้านให้กลับบ้านเหมือนเดิม อุปสรรคที่สำคัญคือ ความเครียด รวมทั้งปัญหาอื่น เช่น นอนหลับยาก ฝันร้ายและปัญหาทางกาย โรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งคุณและครอบครัวควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้

    1. ให้เวลากับครอบครัวเพราะความอบอุ่นในครอบครัวอาจช่วยเยี่ยวยารักษาได้ดี
    2. พูดคุยปัญหากลับเพื่อนและครอบครัว ร่วมแบ่งปันความกังวลจะช่วยให้ได้ระบายและผ่อนคลายความเครียด
    3. ผักผ่อนและกินอาหารที่เป็นประโยชน์ เพราะมีปัญหาทั้งความเครียดและทางกายเพิ่มขึ้นเมื่อร่างกายอ่อนแอ
    4. จัดรำดับสิ่งที่จำเป็นต้องทำตามลำดับก่อนหลังและค่อย ๆ ทำ
    5. ขอความช่วยเหลือจากจิตแพทย์เมื่อเกิดอาการซึมเศร้าจนที่จะรับมือได้
    6. ดูแลเด็กๆให้ดี และโปรดเข้าใจเด็กมีความตื่นกลัวไม่แพ้กัน และอย่าตำหนิเด็กที่มีพฤติกรรมแลก ๆ หลังจากน้ำท่วม เช่น ฉี่รดที่นอน ดูดนิ้วโป้งหรืเกาะคุณอยู่ตลอดเวลา จำไว้ว่าเด็กพึ่งผ่านเหตุการณ์ที่รุนแรงในชีวิต
    7. ระวังเรื่องสุขอนามัย เมื่ออยู่ในพื้นที่เคยน้ำท่วม

    ขั้นตอนที่ 2 การจัดการดูแลบ้านของคุณ

    ที่ผ่านมามีผู้คนจำนวนมากเสียชีวิตเนื่องจากน้ำท่วมส่วนใหญ่เกิดจากถูกไฟดูด หรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากน้ำลดสิ่งแรกที่ต้องทำเมื่อกลับบ้านคือ การตรวจสอบความปลอดภัย ก่อนเข้าบูรณะและอยู่อาศัย โดยมีขั้นตอนดังนี้

    1.ปรับจูนคลื่นวิทยุโทรทัศน์ ฟังรายงานสถานการณ์
    2.ติดต่อบริษัทประกันภัย เพื่อตรวจสอบความเสียหาย และซ่อมแซมทรัพย์สินต่าง ๆ
    3.เดินตรวจตารอบ ๆ บ้าน และเซ็คสายไฟฟ้า สายถังแก็สโดยถ้าหากเกิดแก็สรั่วจะสามารถรู้ได้จากกลิ่นแก็สให้ระวังและรีบ โทรแจ้งร้านที่เป็นตัวแทนจำหน่าย
    4.ตรวจสอบความเสียหายของโครงสร้าง ตัวบ้าน ระเบียง หลังคา ให้แน่ใจว่าโครงสร้างทุกอย่างปลอดภัย
    5.ตัดระบบไฟฟ้าที่จ่ายเข้าบ้าน
    6.ปิดวาล์วแก็สให้สนิทหากได้กลิ่นแก็สรั่วก่อไม่ควรเข้าใกล้บริเวณนั้น
    7.เข้าไปในบ้านอย่างระมัดระวัง แลพอย่าใช้วัสดุที่ทำให้เกิดประกายไฟ
    8.ถ่ายรูปความเสียหาย เพื่อเรียกร้องค่าชดเชยจากประกัน (ถ้ามี)
    9.เก็บกู้สิ่งของที่มีค่า และห่อหุ้มรูปภาพหรือเอกสารสำคัญ
    10.เก็บกวาดทำความสะอาดบ้าน เปิดหน้าต่างและประตู เพื่อระบายอากาศ และตรวจสอบความมั่นคงของโครงสร้างพื้นฐานของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ
    11.ซ่อมแซมโครงสร้างที่เสียหาย
    12.เก็บกวาดกิ่งไม้หรือสิ่งปฏิกูลในบ้าน
    13.ตรวจ หารอยแตกหรือรั่วของท่อน้ำถ้าพบให้ปิดวาฃ์วตรงมิเตอร์น้ำ และไม่ควรดื่มและประกอบอาหารด้วยน้ำจากก๊อกน้ำ จนกว่าจะรู้ว่าสะอาดและปลอดภัย
    14 ระบายน้ำออกจากห้องใต้ดินอย่างช้า ๆ เนื่องจากแรงดันน้ำภายนอกอาจจะมากจนทำให้เกิดรอยแตกของผนังหรืพื้นห้องใต้ดิน
    15.กำจัดตะกอนที่มาจากน้ำเนื่องจากเซื้อโรคส่วนมากมักจะมาจากตะกอน

    โรคที่มากับน้ำท่วม

    โรคน้ำกัดเท้าและผื่นคัน

    เกิด ขึ้นได้ก็เพราะผิวหนังเท้าของเรา โดยเฉพาะที่ง่ามเท้าเกิดเปียกชื้นและสกปรก เวลาที่เท้าสกปรก สิ่งสกปรกจะเป็นอาหารอย่างหนึ่งที่ทำให้เชื้อราหรือเชื้อโรคเจริญเติบโตได้ ดี เท้าที่แช่น้ำหรือเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา จะทำให้ผิวหนังที่เท้าอ่อนส่วนผิว ๆของหนังจะเปื่อยและหลุดออก เศษผิวหนังที่เปื่อยนี้จะทำให้เชื้อโรคที่ปลิวไปปลิวมาเกาะติดได้ง่าย และผิวที่เปื่อยก็เป็นอาหารของเชื้อราได้ดี เชื้อราจึงไปอาศัยทำให้เกิดแผลเล็กๆขึ้นตามซอกนิ้วเท้าเกิดเป็นโรคน้ำกัด เท้าขึ้น
    โรคน้ำกัดเท้า มักพบว่ามีอาการคันและอักเสบตามซอกนิ้วเท้า (หรือนิ้วมือ) และถ้ามีเชื้อแบคทีเรียเข้าแทรกซ้อนด้วย ก็จะทำให้อักเสบเป็นหนอง และเจ็บปวดจนเดินลำบากได้

    ไข้หวัด

    ไข้หวัดเป็นการติดเชื้อของจมูก และคอ บางครั้งเรียก upper respiratory tract infection URI เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งรวมเรียกว่า Coryza viruses ประกอบด้วย Rhino-viruses เป็นสำคัญ เชื้อชนิดอื่นๆมี Adenoviruses, Respiratory syncytial virus เมื่อเชื้อเข้าสู่จมูก และคอจะทำให้เยื่อจมูกบวม และแดง มีการหลังของเมือกออกมาแม้ว่าจะเป็นโรคที่หายเองใน 1 สัปดาห์แต่เป็นโรคที่นำผู้ป่วยไปพบแพทย์มากที่สุดโดยเฉลี่ยเด็กจะเป็นไข้ หวัด 6-12 ครั้งต่อปี ผู้ใหญ่จะเป็น 2-4 ครั้ง ผู้หญิงเป็นบ่อยกว่าผู้ชายเนื่องจากใกล้ชิดกับเด็ก คนสูงอายุอาจจะเป็นปีละครั้ง


    โรคเครียดวิตกกังวล

    ความเครียดเป็นระบบเตือนภัยของร่างกายให้เตรียมพร้อมที่กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การมีความเครียดน้อยเกินไปและมากเกินไปไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ส่วนใหญ่เข้าใจว่าความเครียดเป็นสิ่งไม่ดีมันก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หัวใจเต้นเร็ว แน่นท้อง มือเท้าเย็น แต่ความเครียดก็มีส่วนดีเช่น ความตื่นเต้นความท้าทายและความสนุก สรุปแล้วความเครียดคือสิ่งที่มาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตซึ่งมี่ทั้ง ผลดีและผลเสีย

    โรคตาแดง

    โรคตาแดงเป็นโรคตาที่พบได้บ่อย เป็นการอักเสบของเยื่อบุตา(conjuntiva)ที่คลุมหนังตาบนและล่างรวมเยื่อบุตา ที่คลุมตาขาว โรคตาแดงอาจจะเป็นแบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง สาเหตุอาจจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีบ ไวรัส Chlamydia trachomatis ภูมิแพ้ หรือสัมผัสสารที่เป็นพิษต่อตา สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส มักจะติดต่อทางมือ ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัวโดยมากใช้เวลาหาย 2 สัปดาห์ ตาแดงจากโรคภูมิแพ้มักจะเป็นตาแดงเรื้อรัง มีการอักเสบของหนังตา ตาแห้ง การใช้contact lens หรือน้ำยาล้างตาก็เป็นสาเหตุของตาแดงเรื้อรัง

    โรคอุจาจระร่วง

    โรคอุจจาระร่วง หมายถึง ภาวะที่มีการถ่ายอุจจาระเหลว จำนวน 3 ครั้งต่อกันหรือมากกว่า หรือถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 1 ครั้ง ใน 1 วัน หรือถ่ายเป็นมูกหรือปนเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อในลำไส้จากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว ปรสิตและหนอนพยาธิ สถานีอนามัย โรงพยาบาลชุมชนในประเทศไทยมักจะหาสาเหตุของเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดอาการ อุจจาระร่วงไม่ได้ ก็จะให้การวินิจฉัยจากอาการ อาการแสดงและลักษณะอุจจาระได้แก่ บิด (Dysentery) อาหารเป็นพิษ (Food poisoning) ไข้ทัยฟอยด์ (Typhoid fever) เป็นต้น ในกรณีที่มีอาการของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันไม่ใช่โรคดังกล่าวข้างต้น และอาการไม่เกิน 14 วัน ก็จะรายงานเป็นโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute diarrhea)


    แหล่งให้ความช่วยเหลือน้ำท่วม

    กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

    - เว็บไซต์ disaster.go.th
    - สายด่วนนิรภัย หมายเลขโทรศัพท์ 1784
    - ขบวนช่วยเหลือน้ำท่วมออกเรื่อย ๆ ขอรับบริจาคเน้นไปที่ น้ำ, ยาแก้ไข้, เสื้อ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-241-7450-6 แผนที่คลิกที่นี่

    6. กรุงเทพมหานคร
    - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย อาคารศาลาว่าการกทม.1 (เสาชิงช้า), ศาลาว่าการกทม.2(ดินแดง) และที่สำนักงานเขตทุกแห่งทั่วกรุงเทพฯ 50 แห่ง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-354-6858

    7. สภากาชาดไทย
    - สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-251-7853-6 , 02-251-7614-5 ต่อ 1603

    - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “สภากาชาดไทยช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย” เลขที่บัญชี 045-3-04190-6 แล้วแฟ็กซ์ใบนำฝากพร้อมเขียนชื่อและที่อยู่มาที่ สำนักงานการคลัง สภากาชาดไทย ถึงหัวหน้าฝ่ายการเงิน หมายเลขโทรสาร 02-250-0120 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-256-4066-8

    - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย 1871 ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 หากมาจากถนนพระราม 4 ให้เลี้ยวตรงแยกอังรีดูนังต์ เมื่อเข้าสู่ถนนอังรีดูนังต์ให้ชิดซ้ายทันที เนื่องจากอยู่ต้นๆถนน (ทางด้านพระราม 4) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-251-7853-6 ต่อ 1603 หรือ 1102 หากเป็นวันหยุดราชการ ต่อ 1302 , 02-251-7614-5 หมายเลขโทรสาร 02-252-7976

    - สามารถลงทะเบียนร่วมเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมได้ที่ http://www.rtrc.in.th/ หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-251-7853-6 , 02-251-7614-5 ต่อ 1603 มาช่วยแพ็คชุดธารน้ำใจ หรือช่วยขนพวกข้าวสารอาหารแห้งขึ้นรถบรรทุก แต่มีเงื่อนไขอยู่ว่า ต้องการผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง และสามารถยกของหนักได้ (เพราะงานค่อนข้างหนัก และต้องยกของหนัก) เป็นผู้ชายก็จะดีมาก หากเราต้องการกำลังพล จะโทรศัพท์ไปติดต่อว่าจะสะดวกมาในวันที่เราแพ็คของหรือไม่ เป็นราย ๆ ไป

    ข้อมูลจาก <http://www.cendru.net>

    ---------------------------------------
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 ตุลาคม 2011
  14. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    ผู้ว่าฯ กทม.ทำพิธีไล่น้ำศาลหลักเมือง ขอพรแม่พระคงคาให้น้ำลด

    วันเสาร์ที่ 08 ตุลาคม 2011 เวลา 15:24 น.

    เมื่อเวลา 14.39 น. วันนี้ ( 8 ต.ค. ) ม.ร.ว.สุขมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ประกอบพิธีไล่น้ำ ณ ศาลหลักเมือง เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่น เรียกขวัญและกำลังใจให้กับประชาชนชาวกรุงเทพฯ ให้คลายความกังวลจากสถานการณ์น้ำ เนื่องจากมีแนวโน้มว่าน้ำจะท่วมพื้นที่กรุงเทพฯ อีกทั้งเพื่อเป็นการขอพรจากแม่พระคงคา สิ่งศักดิ์ ช่วยบันดาลให้น้ำที่ท่วมในพื้นที่กรุงเทพฯ ลดลงอย่างรวดเร็ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 ตุลาคม 2011
  15. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    เจ้าพระยาทะลัก-ถ.งามวงศ์วานจราจรติดขัด

    หลังจากที่ฝนตกตลอดทั้งคืนที่ผ่านมา ทำให้ถนนงามวงศ์วานน้ำท่วมขัง การจราจรติดขัด โดยเฉพาะการจราจรบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรทั้งขาเข้าและขาออก นอกจากนี้ระดับน้ำเจ้าพระยาบริเวณท่าเรือปากเกร็ด เพิ่มระดับสูงขึ้นและไหลทะลักเข้าท่วมแนวคันกั้นน้ำของเทศบาลนครปากเกร็ด ท่าเรือข้ามฝาก และตลาดเก่าริมน้ำ ชาวบ้านเร่งเสริมแนวกระสอบทรายให้สูงขึ้นกว่าเดิม

    วันที่ 08 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เวลา 13:13 น. ข่าวสดออนไลน์

    [​IMG]

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 ตุลาคม 2011
  16. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    แผ่นดินไหว 5.6 ริกเตอร์ที่อินโดนีเซีย

    วันเสาร์ที่ 08 ตุลาคม 2011 เวลา 14:19 น.

    สำนักงานธรณีวิทยา หรือUSGS รายงานว่า เกิดแผ่นดินไหววัดแรงสั่นสะเทือนได้ 5.6 ริกเตอร์ใกล้ชายฝั่งทางใต้ของจังหวัดปาปัว ในอินโดนีเซีย เมื่อเวลา 12.38 น.ตามเวลาไทยในวันนี้ จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวลึกลงไปในพื้นดิน 18.30 กิโลเมตร

    [​IMG] [​IMG]
     
  17. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
  18. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    ปริมาณน้ำฝน เมื่อวาน 7 ต.ค. 54

    [​IMG]
     
  19. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 ตุลาคม 2011
  20. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    แผนภาพแสดงปริมาณน้ำฝนใน 24 ชั่วโมง ข้างหน้า

    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...