เพราะอะไรจึงเรียกว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณฯ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 4 กรกฎาคม 2012.

  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๕
    รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ รูปอดีต รูปอนาคต รูปปัจจุบัน รูปภายใน
    รูปภายนอก รูปหยาบ รูปละเอียด รูปทราม รูปประณีตรูปไกล รูปใกล้
    ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่ารูปขันธ์
    [๓] ในรูปขันธ์นั้น รูปอดีต เป็นไฉน
    รูปใด ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความดับแล้ว ถึงความ
    ดับสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นแล้วปราศไปแล้ว ที่เป็นอดีตสงเคราะห์เข้ากับส่วนอดีต ได้แก่
    มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูปอดีต
    รูปอนาคต เป็นไฉน
    รูปใด ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดยิ่ง ยังไม่
    ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นอนาคต
    สงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้
    เรียกว่ารูปอนาคต
    รูปปัจจุบัน เป็นไฉน
    รูปใด เกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดยิ่งแล้วปรากฏแล้ว
    เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว ที่เป็นปัจจุบันสงเคราะห์เข้ากับส่วน
    ปัจจุบัน ได้แก่มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูปปัจจุบัน
    [๔] รูปภายใน เป็นไฉน
    รูปใด ของสัตว์นั้นๆ เอง ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน เฉพาะบุคคล
    อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูปที่อาศัยมหา
    ภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูปภายใน
    รูปภายนอก เป็นไฉน
    รูปใด ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นนั้นๆ ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตนเฉพาะบุคคล
    อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูปที่อาศัยมหา
    ภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูปภายนอก
    [๕] รูปหยาบ เป็นไฉน
    จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ รูปายตนะ
    สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ นี้เรียกว่ารูปหยาบ
    รูปละเอียด เป็นไฉน
    อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ อากาสธาตุรูปลหุตา
    รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปอุปจยะ รูปสันตติ รูปชรตา รูปอนิจจตากวฬิงการาหาร นี้เรียกว่า
    รูปละเอียด
    [๖] รูปทราม เป็นไฉน
    รูปใด ของสัตว์นั้นๆ ที่น่าดูหมิ่น น่าเหยียดหยาม น่าเกลียด น่าตำหนิ ไม่น่า
    ยกย่อง ทราม รู้กันว่าทราม สมมติกันว่าทราม ไม่น่าปรารถนาไม่น่ารัก ไม่น่าชอบใจ
    ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ นี้เรียกว่ารูปทราม
    รูปประณีต เป็นไฉน
    รูปใด ของสัตว์นั้นๆ ที่ไม่น่าดูหมิ่น ไม่น่าเหยียดหยาม ไม่น่าเกลียดไม่น่าตำหนิ
    น่ายกย่อง ประณีต รู้กันว่าประณีต สมมติกันว่าประณีต น่าปรารถนา น่ารัก น่าชอบใจ
    ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ นี้เรียกว่ารูปประณีต
    หรือพึงทราบรูปทรามรูปประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงรูปนั้นๆ เป็นชั้นๆไป
    [๗] รูปไกล เป็นไฉน
    อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร หรือรูปแม้อื่นใดมีอยู่ในที่ไม่ใกล้ ในที่ไม่ใกล้ชิด
    ในที่ไกล ในที่ไม่ใช่ใกล้ นี้เรียกว่ารูปไกล
    รูปใกล้ เป็นไฉน
    จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ หรือรูปแม้อื่นใดมีอยู่ในที่ใกล้เคียงในที่
    ใกล้ชิด ในที่ไม่ไกล ในที่ใกล้ นี้เรียกว่ารูปใกล้
    หรือพึงทราบรูปไกลรูปใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงรูปนั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป
     
  2. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    รูปมนุษย์เป็นรูปหยาบ หรือเป็นรูปละเอียดครับ...อธิบายด้วย
     
  3. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๔ หน้าที่ ๑๗๘/๓๓๙
    ทุกนิเทศ
    อุปาทาภาชนีย์
    [๕๑๕] รูปเป็นอุปาทา นั้น เป็นไฉน?
    จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ รูปายตนะ สัททายตนะ
    คันธายตนะ รสายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ อากาสธาตุ
    รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปอุปจยะ รูปสันตติ รูปชรตา รูปอนิจจตา กพฬิงการาหาร
    [๕๑๖] รูปที่เรียกว่า จักขายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    จักขุใด เป็นปสาท(ส่วนของร่างกาย)รูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ(ลักษณะความเป็นตัวตนหรือบุคคล)
    เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, สัตว์นี้เห็นแล้ว หรือเห็นอยู่ หรือจักเห็น หรือพึงเห็น ซึ่งรูปอันเป็นสิ่งที่เห็นได้
    และกระทบได้ ด้วยจักขุใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า จักขุบ้าง จักขายตนะ
    บ้าง จักขุธาตุบ้าง จักขุนทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง
    วัตถุบ้าง เนตรบ้าง นัยนะบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า จักขายตนะ
    รูปที่เรียกว่า จักขายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, รูปอันเป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ
    หรือพึงกระทบ ที่จักขุใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า จักขุบ้าง จักขายตนะ
    บ้าง จักขุธาตุบ้าง จักขุนทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง
    วัตถุบ้าง เนตรบ้าง นัยนะบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า จักขายตนะ
    รูปที่เรียกว่า จักขายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, จักขุใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่
    หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่รูปอันเป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้, นี้เรียกว่า จักขุบ้าง
    จักขายตนะบ้าง จักขุธาตุบ้าง จักขุนทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง
    เขตบ้าง วัตถุบ้าง เนตรบ้าง นัยนะบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า จักขายตนะ.
    รูปที่เรียกว่า จักขายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, เพราะอาศัยจักขุใด จักขุสัมผัสปรารภรูป เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น
    หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยจักขุใด เวทนา อันเกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
    เจตนา ฯลฯ จักขุวิญญาณปรารภรูป เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ
    เพราะอาศัยจักขุใด จักขุสัมผัส มีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น
    หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยจักขุใด เวทนาอันเกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
    เจตนา ฯลฯ จักขุวิญญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น
    หรือพึงเกิดขึ้น, นี้เรียกว่า จักขุบ้าง จักขายตนะบ้าง จักขุธาตุบ้าง จักขุนทรีย์บ้าง โลกบ้าง
    ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง เนตรบ้าง นัยนะบ้าง ฝั่งนี้บ้าง
    บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า จักขายตนะ.
    [๕๑๗] รูปที่เรียกว่า โสตายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    โสตใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, สัตว์นี้ฟังแล้ว หรือฟังอยู่ หรือจักฟัง หรือพึงฟัง ซึ่งเสียงอันเป็นสิ่งที่เห็น
    ไม่ได้ แต่กระทบได้ ด้วยโสตใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า โสตบ้าง
    โสตายตนะบ้าง โสตธาตุบ้าง โสตินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง
    เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า โสตายตนะ
    รูปที่เรียกว่า โสตายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    โสตใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, เสียงอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือ
    จักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่โสตใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า โสตบ้าง
    โสตายตนะบ้าง โสตธาตุบ้าง โสตินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง
    เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า โสตายตนะ
    รูปที่เรียกว่า โสตายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    โสตใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, โสตใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่
    หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่เสียงอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า โสตบ้าง
    โสตายตนะบ้าง โสตธาตุบ้าง โสตินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง
    เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า โสตายตนะ
    รูปที่เรียกว่า โสตายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    โสตใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, เพราะอาศัยโสตใด โสตสัมผัสปรารภเสียง เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่
    หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยโสตใด เวทนาอันเกิดแต่โสตสัมผัส ฯลฯ
    สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ โสตวิญญาณปรารภเสียง เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น
    หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยโสตใด โสตสัมผัส มีเสียงเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้ว หรือ
    เกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยโสตใด เวทนาอันเกิดแต่โสต
    สัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ โสตวิญญาณ มีเสียงเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้ว หรือ
    เกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น, นี้เรียกว่า โสตบ้าง โสตายตนะบ้าง โสตธาตุบ้าง
    โสตินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง
    บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า โสตายตนะ
    [๕๑๘] รูปที่เรียกว่า ฆานายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    ฆานะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, สัตว์นี้ ดมแล้ว หรือดมอยู่ หรือจักดม หรือพึงดม ซึ่งกลิ่นอันเป็นสิ่งที่เห็น
    ไม่ได้ แต่กระทบได้ ด้วยฆานะใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า ฆานะบ้าง
    ฆานายตนะบ้าง ฆานธาตุบ้าง ฆานินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง
    เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า ฆานายตนะ
    รูปที่เรียกว่า ฆานายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    ฆานะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, กลิ่นอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือ
    จักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่ฆานะใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า
    ฆานะบ้าง ฆานายตนะบ้าง ฆานธาตุบ้าง ฆานินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง
    ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า ฆานายตนะ
    รูปที่เรียกว่า ฆานายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    ฆานะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, ฆานะใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่
    หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่กลิ่นอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า
    ฆานะบ้าง ฆานายตนะบ้าง ฆานธาตุบ้าง ฆานินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง
    ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า ฆานายตนะ.
    รูปที่เรียกว่า ฆานายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    ฆานะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, เพราะอาศัยฆานะใด ฆานสัมผัสปรารภกลิ่น เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่
    หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัย ฆานะใด เวทนาอันเกิดแต่ฆานสัมผัส ฯลฯ
    สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ฆานวิญญาณ ปรารภกลิ่น เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือ
    จักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยฆานะใด ฆานสัมผัสมีกลิ่นเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้ว
    หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยฆานะใด เวทนาอันเกิดแต่
    ฆานสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ฆานวิญญาณ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้ว
    หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น, นี้เรียกว่า ฆานะบ้าง ฆานายตนะบ้าง
    ฆานธาตุบ้าง ฆานินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง
    ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียก ฆานายตนะ.
    [๕๑๙] รูปที่เรียกว่า ชิวหายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    ชิวหาใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, สัตว์นี้ ลิ้มแล้ว หรือลิ้มอยู่ หรือจักลิ้ม หรือพึงลิ้ม ซึ่งรสอันเป็นสิ่งที่เห็น
    ไม่ได้ แต่กระทบได้ ด้วยชิวหาใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า ชิวหา
    บ้าง ชิวหายตนะบ้าง ชิวหาธาตุบ้าง ชิวหินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระ
    บ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า ชิวหายตนะ
    รูปที่เรียกว่า ชิวหายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    ชิวหาใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, รสอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือ
    จักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่ชิวหาใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า
    ชิวหาบ้าง ชิวหายตนะบ้าง ชิวหาธาตุบ้าง ชิวหินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง
    ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า ชิวหายตนะ
    รูปที่เรียกว่า ชิวหายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    ชิวหาใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, ชิวหาใด เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่
    หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่รสอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า ชิวหา
    บ้าง ชิวหายตนะบ้าง ชิวหาธาตุบ้าง ชิวหินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระ
    บ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า ชิวหายตนะ
    รูปที่เรียกว่า ชิวหายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    ชิวหาใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, เพราะอาศัยชิวหาใด ชิวหาสัมผัสปรารภรส เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือ
    จักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยชิวหาใด เวทนาอันเกิดแต่ชิวหาสัมผัส ฯลฯ
    สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ปรารภรส เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิด
    ขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยชิวหาใด ชิวหาสัมผัส มีรสเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้ว
    หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยชิวหาใด เวทนาอันเกิดแต่
    ชิวหาสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ มีรสเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้ว
    หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น. นี้เรียกว่า ชิวหาบ้าง ชิวหายตนะบ้าง ชิวหา
    ธาตุบ้าง ชิวหินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง
    ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า ชิวหายตนะ
    [๕๒๐] รูปที่เรียกว่า กายายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, สัตว์นี้ ถูกต้องแล้ว หรือถูกต้องอยู่ หรือจักถูกต้อง หรือพึงถูกต้อง ซึ่งโผฏฐัพพะ
    อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ด้วยกายใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้
    เรียกว่า กายบ้าง กายายตนะบ้าง กายธาตุบ้าง กายินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง
    ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า กายายตนะ
    รูปที่เรียกว่า กายายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่
    กระทบได้, โผฏฐัพพะ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือ
    จักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่กายใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า กายบ้าง
    กายายตนะบ้าง กายธาตุบ้าง กายินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง
    เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า กายายตนะ.
    รูปที่เรียกว่า กายายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, กายใด เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือ
    จักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่โผฏฐัพพะ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า
    กายบ้าง กายายตนะบ้าง กายธาตุบ้าง กายินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระ
    บ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า กายายตนะ
    รูปที่เรียกว่า กายายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, เพราะอาศัยกายใด กายสัมผัส ปรารภโผฏฐัพพะ เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่
    หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยกายใด เวทนาอันเกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ
    สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ กายวิญญาณ ปรารภโผฏฐัพพะ เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือ
    จักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยกายใด กายสัมผัส มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ เกิด
    ขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยกายใด เวทนาอัน
    เกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ กายวิญญาณ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ เกิด
    ขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น, นี้เรียกว่า กายบ้าง กายายตนะบ้าง
    กายธาตุบ้าง กายินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง
    ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า กายายตนะ
    [๕๒๑] รูปที่เรียกว่า รูปายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    รูปใด เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ ได้แก่ สีเขียวคราม
    สีเหลือง สีแดง สีขาว สีดำ สีหงสบาท สีคล้ำ สีเขียวใบไม้ สีม่วง ยาว สั้น ละเอียด
    หยาบ กลม รี สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม สิบหกเหลี่ยม ลุ่ม ดอน เงา แดด
    แสงสว่าง มืด เมฆ หมอก ควัน ละออง แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ แสงดาว แสงกระจก
    แสงแก้วมณี แสงสังข์ แสงมุกดา แสงแก้วไพฑูรย์ แสงทอง แสงเงิน หรือรูปแม้อื่นใด
    เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ มีอยู่, สัตว์นี้ เห็นแล้ว หรือเห็นอยู่
    หรือจักเห็น หรือพึงเห็น ซึ่งรูปใด อันเป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ด้วยจักขุ อันเป็นสิ่งที่
    เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า รูปบ้าง รูปายตนะบ้าง รูปธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า
    รูปายตนะ.
    รูปที่เรียก รูปายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    รูปใด เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ ได้แก่ สีเขียวคราม
    สีเหลือง สีแดง สีขาว สีดำ สีหงสบาท สีคล้ำ สีเขียวใบไม้ สีม่วง ยาว สั้น ละเอียด
    หยาบ กลม รี สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม สิบหกเหลี่ยม ลุ่ม ดอน เงา แดด
    แสงสว่าง มืด เมฆ หมอก ควัน ละออง แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ แสงดาว แสงกระจก
    แสงแก้วมณี แสงสังข์ แสงมุกดา แสงแก้วไพฑูรย์ แสงทอง แสงเงิน หรือรูปแม้อื่นใด
    เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ มีอยู่, จักขุอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่รูปใด อันเป็น
    สิ่งที่เห็นได้และกระทบได้, นี้เรียกว่า รูปบ้าง รูปายตนะบ้าง รูปธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า
    รูปายตนะ.
    รูปที่เรียกว่า รูปายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    รูปใด เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ ได้แก่ สีเขียวคราม
    สีเหลือง สีแดง สีขาว สีดำ สีหงสบาท สีคล้ำ สีเขียวใบไม้ สีม่วง ยาว สั้น ละเอียด
    หยาบ กลม รี สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม สิบหกเหลี่ยม ลุ่ม ดอน เงา แดด
    แสงสว่าง มืด เมฆ หมอก ควัน ละออง แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ แสงดาว แสงกระจก
    แสงแก้วมณี แสงสังข์ แสงมุกดา แสงแก้วไพฑูรย์ แสงทอง แสงเงิน หรือรูปแม้อื่นใด
    เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ มีอยู่, รูปใด อันเป็นสิ่งที่เห็นได้
    และกระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่จักขุ อันเป็น
    สิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า รูปบ้าง รูปายตนะบ้าง รูปธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า
    รูปายตนะ.
    รูปที่เรียกว่า รูปายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    รูปใด เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ ได้แก่ สีเขียวคราม
    สีเหลือง สีแดง สีขาว สีดำ สีหงสบาท สีคล้ำ สีเขียวใบไม้ สีม่วง ยาว สั้น ละเอียด
    หยาบ กลม รี สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม สิบหกเหลี่ยม ลุ่ม ดอน เงา แดด
    แสงสว่าง มืด เมฆ หมอก ควัน ละออง แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ แสงดาว แสงกระจก
    แสงแก้วมณี แสงสังข์ แสงมุกดา แสงแก้วไพฑูรย์ แสงทอง แสงเงิน หรือรูปแม้อื่นใด
    เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ มีอยู่, เพราะปรารภรูปใด จักขุสัมผัส
    อาศัยจักขุ เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะปรารภรูปใด
    เวทนาอันเกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ จักขุวิญญาณอาศัยจักขุ
    เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ จักขุสัมผัส มีรูปใดเป็นอารมณ์
    อาศัยจักขุ เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เวทนาอันเกิดแต่
    จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ จักขุวิญญาณ มีรูปใดเป็นอารมณ์ อาศัยจักขุ
    เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น, นี้เรียกว่า รูปบ้าง รูปายตนะบ้าง
    รูปธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปายตนะ.
    [๕๒๒] รูปที่เรียกว่า สัททายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    เสียงใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ได้แก่ เสียงกลอง
    เสียงตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงขับร้อง เสียงประโคม เสียงกรับ เสียงปรบมือ
    เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันของธาตุ เสียงลม เสียงน้ำ เสียงมนุษย์ เสียงอมนุษย์
    หรือเสียงแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ มีอยู่, สัตว์นี้ ฟังแล้ว
    หรือฟังอยู่ หรือจักฟัง หรือพึงฟัง ซึ่งเสียงใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ด้วยโสต
    อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า สัททะบ้าง สัททายตนะบ้าง สัททธาตุบ้าง
    รูปทั้งนี้เรียกว่า สัททายตนะ.
    รูปที่เรียกว่า สัททายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    เสียงใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ได้แก่ เสียงกลอง
    เสียงตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงขับร้อง เสียงประโคม เสียงกรับ เสียงปรบมือ
    เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันของธาตุ เสียงลม เสียงน้ำ เสียงมนุษย์ เสียงอมนุษย์
    หรือเสียงแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ มีอยู่, โสต
    อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึง
    กระทบ ที่เสียงใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า สัททะบ้าง สัททายตนะบ้าง
    สัททธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า สัททายตนะ.
    รูปที่เรียกว่า สัททายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    เสียงใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ได้แก่ เสียงกลอง
    เสียงตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงขับร้อง เสียงประโคม เสียงกรับ เสียงปรบมือ
    เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันของธาตุ เสียงลม เสียงน้ำ เสียงมนุษย์ เสียงอมนุษย์
    หรือเสียงแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ มีอยู่, เสียงใด
    อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ
    ที่โสต อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า สัททะบ้าง สัททายตนะบ้าง สัททธาตุบ้าง
    รูปทั้งนี้เรียกว่า สัททายตนะ.
    รูปที่เรียกว่า สัททายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    เสียงใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ได้แก่ เสียงกลอง
    เสียงตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงขับร้อง เสียงประโคม เสียงกรับ เสียงปรบมือ
    เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันของธาตุ เสียงลม เสียงน้ำ เสียงมนุษย์ เสียงอมนุษย์
    หรือเสียงแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ มีอยู่, เพราะ
    ปรารภเสียงใด โสตสัมผัส อาศัยโสต เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึง
    เกิดขึ้น ฯลฯ เพราะปรารภเสียงใด เวทนาอันเกิดแต่โสตสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ
    โสตวิญญาณ อาศัยโสตเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ
    โสตสัมผัส มีเสียงใดเป็นอารมณ์ อาศัยโสตเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น
    หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เวทนาอันเกิดแต่โสตสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ โสตวิญญาณ
    มีเสียงใดเป็นอารมณ์ อาศัยโสต เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น,
    นี้เรียกว่า สัททะบ้าง สัททายตนะบ้าง สัททธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า สัททายตนะ.
    [๕๒๓] รูปที่เรียกว่า คันธายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ได้แก่ กลิ่นรากไม้
    กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นบูด กลิ่นเน่า กลิ่นหอม
    กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้
    มีอยู่, สัตว์นี้ ดมแล้ว หรือดมอยู่ หรือจักดม หรือพึงดม ซึ่งกลิ่นใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้ แต่กระทบได้ ด้วยฆานะ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า
    คันธะบ้าง คันธายตนะบ้าง คันธธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า คันธายตนะ.
    รูปที่เรียกว่า คันธายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ได้แก่ กลิ่นรากไม้
    กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นบูด
    กลิ่นเน่า กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็น
    ไม่ได้ แต่กระทบได้ มีอยู่, ฆานะอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือ
    กระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่กลิ่นใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้,
    นี้เรียกว่า คันธะบ้าง คันธายตนะบ้าง คันธธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า คันธายตนะ.
    รูปที่เรียกว่า คันธายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ได้แก่ กลิ่นรากไม้
    กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นบูด กลิ่นเน่า กลิ่นหอม
    กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้
    มีอยู่, กลิ่นใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ
    หรือพึงกระทบ ที่ฆานะอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า คันธะบ้าง คันธายตนะบ้าง
    คันธธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า คันธายตนะ.
    รูปที่เรียกว่า คันธายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ได้แก่ กลิ่นรากไม้
    กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นบูด กลิ่นเน่า กลิ่นหอม
    กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้
    มีอยู่ เพราะปรารภกลิ่นใด ฆานสัมผัส อาศัยฆานะ เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น
    หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะปรารภกลิ่นใด เวทนาอันเกิดแต่ฆานสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
    เจตนา ฯลฯ ฆานวิญญาณ อาศัยฆานะ เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือ
    พึงเกิดขึ้น ฯลฯ ฆานสัมผัส มีกลิ่นใดเป็นอารมณ์ อาศัยฆานะ เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่
    หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เวทนาอันเกิดแต่ฆานสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ
    ฆานวิญญาณ มีกลิ่นใดเป็นอารมณ์ อาศัยฆานะ เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น
    หรือพึงเกิดขึ้น นี้เรียกว่า คันธะบ้าง คันธายตนะบ้าง คันธธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า คันธายตนะ.
    [๕๒๔] รูปที่เรียกว่า รสายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    รสใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ได้แก่ รสรากไม้
    รสลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ เปรี้ยว หวาน ขม เผ็ด เค็ม ขื่น
    เฝื่อน ฝาด อร่อย ไม่อร่อย หรือรสแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้ มีอยู่, สัตว์นี้ ลิ้มแล้ว หรือลิ้มอยู่ หรือจักลิ้ม หรือพึงลิ้ม ซึ่งรสใด อันเป็น
    สิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ด้วยชิวหาอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า รสบ้าง
    รสายตนะบ้าง รสธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รสายตนะ.
    รูปที่เรียกว่า รสายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    รสใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ได้แก่ รสรากไม้
    รสลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ เปรี้ยว หวาน ขม เผ็ด เค็ม ขื่น
    เฝื่อน ฝาด อร่อย ไม่อร่อย หรือรสแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้ มีอยู่, ชิวหาอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่
    หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่รสใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า
    รสบ้าง รสายตนะบ้าง รสธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รสายตนะ.
    รูปที่เรียกว่า รสายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    รสใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ได้แก่ รสรากไม้
    รสลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ เปรี้ยว หวาน ขม เผ็ด เค็ม ขื่น
    เฝื่อน ฝาด อร่อย ไม่อร่อย หรือรสแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้ มีอยู่, รสใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่
    หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่ชิวหาอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า รสบ้าง
    รสายตนะบ้าง รสธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รสายตนะ.
    รูปที่เรียกว่า รสายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    รสใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ได้แก่ รสรากไม้
    รสลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ เปรี้ยว หวาน ขม เผ็ด เค็ม ขื่น
    เฝื่อน ฝาด เผ็ด อร่อย ไม่อร่อย หรือรสแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้ มีอยู่, เพราะปรารภรสใด ชิวหาสัมผัส อาศัยชิวหา เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่
    หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะปรารภรสใด เวทนาอันเกิดแต่ชิวหาสัมผัส ฯลฯ
    สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ อาศัยชิวหา เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น
    หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ ชิวหาสัมผัส มีรสใดเป็นอารมณ์ อาศัยชิวหาใด เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่
    หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เวทนา อันเกิดแต่ชิวหาสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
    เจตนา ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ มีรสใดเป็นอารมณ์ อาศัยชิวหา เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่
    หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น, นี้เรียกว่า รสบ้าง รสายตนะบ้าง รสธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า
    รสายตนะ.
    [๕๒๕] รูปที่เรียกว่า อิตถินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
    ทรวดทรงหญิง เครื่องหมายรู้ว่าหญิง กิริยาหญิง อาการหญิง สภาพหญิง ภาวะหญิง
    ของหญิง ปรารภได้ด้วยเหตุใด รูปทั้งนี้เรียกว่า อิตถินทรีย์.
    [๕๒๖] รูปที่เรียกว่า ปุริสินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
    ทรวดทรงชาย เครื่องหมายรู้ว่าชาย กิริยาชาย อาการชาย สภาพชาย ภาวะชาย
    ของชาย ปรากฏได้ด้วยเหตุใด รูปทั้งนี้เรียกว่า ปุริสินทรีย์.
    [๕๒๗] รูปที่เรียกว่า ชีวิตินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
    อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ ความ
    ประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิต อินทรีย์คือชีวิต ของรูปธรรมนั้นๆ อันใด รูป
    ทั้งนี้เรียกว่า ชีวิตินทรีย์.
    [๕๒๘] รูปที่เรียกว่า กายวิญญัติ นั้น เป็นไฉน?
    ความเคร่งตึง กิริยาที่เคร่งตึงด้วยดี ความเคร่งตึงด้วยดี การแสดงให้รู้ความหมาย
    กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ความแสดงให้รู้ความหมาย แห่งกายของบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล
    หรือมีจิตเป็นอกุศล หรือมีจิตเป็นอัพยากฤต ก้าวไปอยู่ ถอยกลับอยู่ แลดูอยู่ เหลียวซ้ายแล
    ขวาอยู่ คู้เข้าอยู่ หรือเหยียดออกอยู่ อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า กายวิญญัติ
    [๕๒๙] รูปที่เรียกว่า วจีวิญญัติ นั้น เป็นไฉน?
    การพูด การเปล่งวาจา การเจรจา การกล่าว การป่าวร้อง การโฆษณา วาจา วจีเภท
    แห่งบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล หรือมีจิตเป็นอกุศล หรือมีจิตเป็นอัพยากฤต อันใด นี้เรียกว่า วาจา,
    การแสดงให้รู้ความหมาย กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ความแสดงให้รู้ความหมาย ด้วยวาจานั้น
    อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า วจีวิญญัติ.
    [๕๓๐] รูปที่เรียกว่า อากาสธาตุ นั้น เป็นไฉน?
    อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติอันนับว่าความว่างเปล่า
    ช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง อันมหาภูตรูป ๔ ไม่ถูกต้องแล้ว อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า
    อากาสธาตุ
    [๕๓๑] รูปที่เรียกว่า รูปลหุตา นั้น เป็นไฉน?
    ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่หนัก แห่งรูป อันใด รูปทั้งนี้
    เรียกว่า รูปลหุตา.
    [๕๓๒] รูปที่เรียกว่า รูปมุทุตา นั้น เป็นไฉน?
    ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่แข็ง ความไม่กระด้าง แห่งรูป อันใด รูปทั้งนี้
    เรียกว่า รูปมุทุตา.
    [๕๓๓] รูปที่เรียกว่า รูปกัมมัญญตา นั้น เป็นไฉน?
    กิริยาที่ควรแก่การงาน ความควรแก่การงาน ภาวะที่ควรแก่การงาน แห่งรูป อันใด
    รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปกัมมัญญตา.
    [๕๓๔] รูปที่เรียกว่า รูปอุปจยะ นั้น เป็นไฉน?
    ความสั่งสมแห่งอายตนะทั้งหลาย อันใด อันนั้น เป็นความเกิดแห่งรูป รูปทั้งนี้
    เรียกว่า รูปอุปจยะ.
    [๕๓๕] รูปที่เรียกว่า รูปสันตติ นั้น เป็นไฉน?
    ความเกิดแห่งรูป อันใด อันนั้น เป็นความสืบต่อแห่งรูป รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปสันตติ.
    [๕๓๖] รูปที่เรียกว่า รูปชรตา นั้น เป็นไฉน?
    ความชรา ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความ
    เสื่อมอายุ ความหง่อมแห่งอินทรีย์ แห่งรูป อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปชรตา.
    [๕๓๗] รูปที่เรียกว่า รูปอนิจจตา นั้น เป็นไฉน?
    ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตก ความทำลาย ความไม่เที่ยง ความอันตรธาน
    แห่งรูป อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปอนิจจตา.
    [๕๓๘] รูปที่เรียกว่า กพฬิงการาหาร นั้น เป็นไฉน?
    ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น น้ำมัน
    น้ำผึ้ง น้ำอ้อย หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ อันเป็นของใส่ปาก ขบเคี้ยว กลืนกิน อิ่มท้อง ของ
    สัตว์นั้นๆ ในชนบทใดๆ สัตว์ทั้งหลาย เลี้ยงชีวิตด้วยโอชา อันใด รูปทั้งนี้ เรียกว่า
    กพฬิงการาหาร.
    รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทา.
    อุปาทาภาชนีย์ จบ.

    ---
    อภิธรรมเป็นธรรมชั้นลึก ผมไม่อธิบายครับ ความเพียรไม่พอครับ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนครับ พระสารีบุตรเคยบอกพระพุทธเจ้าว่า ปฏิจจสมุทปบาทเป็นธรรมที่เข้าใจได้ง่าย แต่พระพุทธเจ้าทรงยืนยันว่า ปฏิจจสมุทปบาทเป็นธรรมลึก ไม่ใช่ของง่าย ยากที่จะเข้าใจ นี่คำว่า "รูป" คำเดียวนะครับ ลุงหมานจะถามทำไมเนี้ย ผมเหนื่อยครับ ผมไปเฝ้าพระอินทร์ดีกว่า เพี้ยวววว....
     
  4. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ก็ไม่เป็นไรครับ เมื่อไม่อธิบายก็ไม่เป็นไร
    ผมนึกว่าจะเข้าใจอะไรได้ดีที่แท้ก็เพียงก๊อปปี๊เอามาลงเฉยๆ ใครๆเขาก็ทำได้ครับ
    ก็อธิบายเรื่อง "รูป" แล้วจะให้ไปถามเรื่องอะไร ก็ถามอย่างที่นำเอาลงนั่นแหละ

    พระอานนท์ครับไม่ใช่พระสารีบุตร ! ไปเฝ้าพระอินทร์กลับมาเมื่อไหร่ผมจะมาถามต่อครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 กรกฎาคม 2012
  5. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    อย่าละตรงนี้นะครับ
    เพราะหากเรามองจากข้างบนลงล่างจะได้วงกลมสามวงนะครับ

    อย่าละเมื่อยังไม่ลุดีหรือไม่ขอรับ

    เพราะเมื่อถึงตอนนั้นภพสามมิติที่เราจะต้องอธิบายนั้น

    ยากกว่าเขย่าไฮโลลูกเดียวเพราะไฮโลจะมีสามลูก

    หกอายาตะนะกลายเป็นสิบแปดอรหันต์ไปได้อย่างไรผมก็ยังมึนไม่หายเลยครับ

    เหยื่อตรงนี้ก็อุบายอีกแหละครับ
    ความจริงมันคือหลุม
    ใครหลุมใครติดตามตอนต่อไปนะครับ

    คือผมไปได้ฐานเจตีย์ก่อด้วยอิฐ
    ไม่ใช่อัฐ
    และต้องไม่ก่อด้วยอิจ

    เพราะแนวทางแห่งธรรมหรือไม่
    ธรรมนี้มีแต่กอใฝ่ ใฝ่กันทุกท่านอย่างไรในความดี

    ขอท่านเจริญในธรรมยิ่งครับ
     
  6. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    จะให้อธิบายอะไรอีกครับ ภาษาไทยเกือบทั้งหมด มีบาลีบ้างก็ไปเปิดพจนานุกรมเอาครับ ผมคัดลอกมาได้เพราะเคยอ่านเจอ ผมรู้ศึกษามาน้อย จำเท่าที่จำได้ครับ
     
  7. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    เห็นอิฐเป็นอิฐ เห็นอัฐเป็นอัฐ ไหนเลยจะเห็นธรรมเป็นธรรม "ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั่นเห็นตถาคต"
     
  8. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    ท่านคงอ้วนสักหน่อยนะครับ
    ในรูปของหยินและหยาง
    ตรงไหนคือลลิงรอเรือครับ

    ขอท่านเจริญในธรรมยิ่งแล้วครับ
     
  9. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ขอบคุณครับที่นำมาเสนอให้อ่าน การยกธรรมในพระไตรปิฎกมาอ้างอิงหรือเสนอนั้นเป็นการที่ดีที่สุดแล้ว
    แต่ว่าผู้นำมาเสนอนั้นก็ต้องเข้าใจในเรื่องนั้นๆได้ด้วย ต้องอธิบายได้ด้วย
    พระพุทธเจ้าท่านทรงเป็นผู้ชี้ทาง แต่คุณนำมาเสนอนั้นคุณกำลังนำทางมาบอก
    ถ้าคุณบอกไม่ได้แล้วใครจะบอก เพราะคุณเอามาบอกและสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั้นสรุปย่อได้เพียงรูปกับนาม
    ไม่ถามเรื่องรูปก็ต้องถามเรื่องนาม จริงไหม?

    จะให้อธิบายอะไรอีกครับ ภาษาไทยเกือบทั้งหมด มีบาลีบ้างก็ไปเปิดพจนานุกรมเอาครับ ผมคัดลอกมาได้เพราะเคยอ่านเจอ
    ผมรู้ศึกษามาน้อย จำเท่าที่จำได้ครับ

    ถ้าเป็นการตอบแบบนี้
    งั้นที่หลังก็เอาอย่างงี้ ว่าถ้าคุณอยากรู้ธรรมะอะไร คุณก็ไปค้นหาเอาในตู้พระไตรปิฎกนั่นแหละง่ายดี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 กรกฎาคม 2012
  10. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ลลิงตรงไหนรอเรือตรงนั้น
    พวกดำไปกับพวกดำ
    พวกขาวไปกับพวกขาว
    กรรมดำมีกรรมขาวมี
    ทำกรรมขาวให้มาก กรรมดำจะน้อยลง
    ทำกรรมขาวมากแค่ไหน กรรมดำก็ยังเป็นกรรมดำ ไม่ได้หายไปไหน
    กรรมย่อมส่งผลต่อผู้กระทำ นิพพานคือธรรมอันยิ่ง
     
  11. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ถูกแล้วครับ ผมเอาทางมาบอก จะถึงที่หมายต้องเดินทางไปด้วยลำแข้งของท่านเอง รู้แจ้งด้วยตัวท่านเองประเสริฐแล้วครับ
     
  12. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ถามแล้วบอกไม่ได้จะเรียกว่าเอาทางมาบอกได้ยังไง
    ต้องเป็นผู้รับผิดชอบทางนั้นด้วย ไม่ใช่ยกแผนที่มากางแล้วบอกว่าเดินเอาเอง โดยที่ผู้เดินก็ไม่รู้ทิศทางเดิน
    ผู้บอกก็ไม่รู้ทิศทางเดิน แล้วจะรู้ไหมว่าทิศทางที่ถูกต้องจะเดินไปทางไหน
     
  13. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    หากมีทางเดินอยู่ถนนนะครับ
    ทาง.......ผู้ใหญ่ท่านว่า
    กลางวันคนเดิน
    กลางคืนผีเดิน

    คนที่อยู่ป่า
    คนที่เลี้ยงช้าง
    เขามักถือคติอะไรไว้อย่างหนึ่งเสมอ

    หากขวางห้วยแล้วเอานำมาใช้คนเดียวตาบอดครับ
    อย่าลองนะครับไม่คุ้ม

    เขาถึงเรียกฝายไงครับ
    ช่วยกันทำแบ่งปันกันไป
    ผมเข้าใจว่า........ปันยา.......นะครับ........เรื่องทางโลก
    เพราะคนเกิดมามีโรคติดตัวมาแล้วคือหิวครับ

    ผมถามว่าคนต่างถิ่นมาตั้งรกราก
    มีสิบล้อ
    แต่แถวนี้เขาใช้อีแต๋นเพราะเบาดี
    เขาเล่นเบียดสิบล้อเร่งบึ้มๆ

    วันหนึ่งไปถนนอีกถนนที่ไม่เคยไปที่นั้น ติดหล่มแน่นอนครับ
    อีแต๋นยังพลาด ทีนี้หาอะไรเบคโครมาลากสิครับ
    เอาเป็นอันว่าเจตนาดีนั้น ดีครับ
    หลอกให้ไปนั่งเล่นหมากเก็บสักสามวันแล้วจะได้อรหันต์
    หลังสามวันเดี๋ยวรุ้ครับ

    ทางที่มีอยู่เขาเดินทุกวัน
    เพราะเคยมีอยู่แต่หากไปปิดทางเขาเบียดบังเขา
    ทุกคนทุกผีทุกครั้งที่เขามาตรงนี้เขาแช่ง
    ตาบอดมองไม่เห็นหรือไร

    ผลของกรรมและธรรมที่เขาไม่เชื่อกันครับ

    ขอท่านเจริญในธรรมยิ่งครับ
     
  14. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ผมบอกทางแล้ว ท่านต้องเริ่มเดินทางด้วยการก้าวเท้าแรก ผมเอาทางมาบอกแต่ไม่ได้ร่วมเดินทางไปกับท่าน ท่านต้องเดินต่อไปด้วยปลีแข้งตัวเองครับ ในระหว่างทางย่อมมีอุปสรรคบ้าง ท่านต้องแก้ไขด้วยตัวท่านเอง ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนครับ
     
  15. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    อนัตตลักขณสูตร

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๒๐/๓๐๔
    ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร
    [๒๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็น
    อนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ และบุคคล
    พึงได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า
    รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
    เวทนาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเวทนานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว เวทนานี้ไม่พึง
    เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของ
    เราจงอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้น เวทนาจึง
    เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาว่า เวทนาของเรา จงเป็นอย่างนั้นเถิด เวทนา
    ของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
    สัญญาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัญญานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สัญญานี้ไม่พึง
    เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา
    อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไป
    เพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา
    อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
    สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารเหล่านี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว
    สังขารเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของ
    เราจงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะ
    สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้
    ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้
    เป็นอย่างนั้นเลย.
    วิญญาณเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว วิญญาณนี้
    ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด
    วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้น
    วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด
    วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
    ตรัสถามความเห็นของพระปัญจวัคคีย์
    [๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความนั้นเป็นไฉน
    รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
    พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
    ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
    นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
    ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
    ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
    ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
    นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
    ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
    ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
    ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้น
    ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
    ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
    ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
    ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
    นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
    ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
    ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
    ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
    นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
    ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
    ตรัสให้พิจารณาโดยยถาภูตญาณทัสสนะ
    [๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใด
    อย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ
    ประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่ารูป เธอทั้งหลายพึงเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบ
    ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
    เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก
    หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าเวทนา เธอทั้งหลาย
    พึงเห็นเวทนานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
    นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
    สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบ
    หรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าเวทนา เธอทั้งหลายพึง
    เห็นสัญญานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่น
    ไม่ใช่ตนของเรา.
    สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก
    หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสังขาร เธอทั้งหลาย
    พึงเห็นสังขารนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
    นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
    วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก
    หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าวิญญาณ เธอทั้งหลาย
    พึงเห็นวิญญาณนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
    นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
    [๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้
    ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร
    ทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น
    เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว
    กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
    [๒๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี เพลิดเพลิน
    ภาษิตของผู้มีพระภาค. ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของพระปัญจวัคคีย์
    พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
    อนัตตลักขณสูตร จบ
     

แชร์หน้านี้

Loading...