>>> อวดรู้ (รู้แล้วได้อะไร) <<<

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย nouk, 19 กรกฎาคม 2012.

  1. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    เดินด้วยสุญตา

    อีกประเภทหนึ่ง คือ เดินเป็นวงกลม รอบสิ่งสักการะ ที่เรียกว่า เดินประทักษิณ
    เวียนขวา เพื่อทำความเคารพ การเดินเป็นวงกลม รอบศาสนวัตถุ ยังมีความ
    หมายถึง สุญตา (ความว่าง) ด้วย เดินจนรู้สึกว่า ไม่มีผู้เดิน ไม่มีใครเป็นผู้เดิน
    ไม่รู้สึกว่าตัวเราเป็นผู้เดิน ไม่มีการเดิน เหลือแต่ธาตุรู้ คือ ใจของเราไปๆ มาๆ
    เท่านั้นเอง
     
  2. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    วางมือตรงไหนดี

    นอกจากจะเดินช้าเดินเร็วตามความเหมาะสม เดินเป็นเส้นตรง หรือเดิน
    รูปแบบวงกลมตามอัธยาศัยแล้ว ยังสงสัยอยู่ว่าจะเอามือวางไว้ตรงไหน

    มีอุทาหรณ์เล่าว่า ผู้เฒ่าท่านหนึ่งเป็นผู้อนุรักษ์หนวด ไม่นิยมตัดหนวด
    ไว้หนวดเสียยาวเฟื้อยลากดิน ต่อมามีผู้สัมภาษณ์ผู้เฒ่าว่า "ท่านไว้หนวด
    เคราขาวยาวลากดินแบบนี้ เวลานอนหลับ หนวดของท่านจะอยู่ในผ้าห่ม
    หรืออยู่ข้างนอกผ้าห่ม" ท่านผู้เฒ่าผู้อนุรักษ์หนวดตอบไม่ถูก "แต่ไหน
    แต่ไรมาก็ไม่ได้สนใจ จะอยู่ข้างนอกหรือข้างในผ้าห่มก็นอนอยู่ได้สบาย"

    คืนนั้น ท่านผู้เฒ่าสนใจแต่ว่าหนวดของตนอยู่ข้างนอกหรืออยู่ข้างในผ้าห่ม
    พอหนวดอยู่ข้างนอก ก็รู้สึกเกะกะ นอนไม่สนุก ดูมันแปลกไปหมด พอหนวด
    อยู่ข้างในก็หวนรำคาญ วุ่นวาย ยุ่งเหยิง ปรากฏว่าคืนนั้นท่านผู้เฒ่าหนวดยาว
    นอนไม่หลับทั้งคืน เพราะมัววุ่นวายอยู่กับหนวด

    การเดินจงกรมไม่มีรูปแบบการวางมือที่ตายตัว แต่ที่นิยมกันก็เอามือขวากุม
    มือซ้ายแนบชิดติดลำตัว ถือเป็นกิริยาที่สุภาพสำรวม บางท่านถนัดเอามือขวา
    ไขว้หลังเดิน ส่วนมากเป็นผู้ใช้ความคิดสุขุม ก็ใช้ได้ พระบางรูปเดินพนมมือ
    ประสานไว้แนบอก เดินจงกรมภาวนาไปมา บางท่านนิยมกอดอกใช้ความคิด
    เป็นตัวของตัวเอง จะเดินกอดอกก็ย่อมได้

    สรุปแล้ว ถนัดเอามือไว้ตรงไหนอย่างไร ก็วางไว้สักแห่งเถอะ
     
  3. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    การทอดสายตา

    สายตาเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการเดิน เดินหลับตาไม่ได้ ต้องเพ่งมอง
    ไปข้างหน้า เดินแหงนหน้าก็มากไป เดินก้มหน้าก็น้อยไปอีก เดินเพ่งตรง
    ไปข้างหน้า ก็พอดีเกินไป เหมือนเถรตรง ไม่มีดีสักอย่าง

    เอาอย่างพอดีๆ คือ เดินตัวตรง ศีรษะตั้งตรง ทอดสายตาไปข้างหน้า แล
    ดูพื้นข้างหน้า มองดูบนทางที่เราจะเดิน บนเส้นทางสายนี้เราชำนาญ ก็
    ต้องศึกษาดูทางที่เราจะไป ทอดสายตาแลดูต่ำ มองดูพื้นข้างหน้า ความ
    รู้สึกอยู่ที่เท้าทั้ง 2 ข้าง เท้าขวาคือสุริยัน เท้าซ้ายคือจันทรา ตัวเราอยู่
    ตรงกลาง สุริยันจันทราเคลื่อนคล้อย คือเท้าขวาซ้ายเคลื่อนไป หมุนเวียน
    เปลี่ยนไปเป็นสันตติ จิตเกาะอยู่ที่เท้า เท้าเกาะอยู่ที่พื้น พื้นส่งถึงใจ
    ประสานแนบชิดต่อกันเป็นเอกภาพหนึ่งเดียวกัน เหมือนจอมยุทธร่ายรำ
    กระบองย่อมอาศัยแขนซ้ายขวารวมกำลังส่งกระแสไปที่กระบอง กระบอง
    และแขนทั้งสอง ต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กลมกลืนกันไป ฉันใดฉันนั้น
     
  4. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    พุทโธ...หนอ

    คำภาวนาเป็นอุบายน้อมจิตสู่สมาธิ ให้ตั้งมั่นจนเป็นฌาน เป็นวิปัสสนาปัญญา
    ไร้ขอบเขต มีหลายแบบ ดังต่อไปนี้

    แบบพุทโธ คือ กำกับเท้าทั้งขวาซ้าย เท้าขวาพุทธ เท้าซ้ายโธ หรือบางคน
    ถนัดเท้าซ้ายนำหน้า เท้าขวาตามมา ก็ซ้าย พุท ขวา โธ ก็ใช้ได้ดีทั้งนั้น

    แบบหนอ คือ ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ

    ขวา ยกส้นขวาขึ้น
    ย่าง ปลายเท้าออกไป
    หนอ เท้าแตะพื้น
    ซ้าย ยกส้นซ้ายขึ้น
    ย่าง ปลายเท้าออกไป
    หนอ เท้าแตะพื้น

    3 ขั้นตอน เป็นจังหวะ สติพร้อมอยู่กับปัจจุบันธรรม แบบพุทโธ มีพระอาจารย์
    มั่น ภูริทัตตเถระ เป็นแบบฉบับ แบบหนอ มีพระเทพสิทธิมุนี เป็นแบบฉบับ

    ดีทั้งนั้น เพียงแต่ทำจริง เล่นจริงๆ เท่านั้นแหละ
     
  5. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    แบบอาการ 32

    ครูบาอาจารย์บางท่าน มีอุบายทางใจอันแยบยล ให้เราได้เห็นเป็นปฏิปทา
    ในการเดินจงกรม คือ ก้าวเท้าขวาซ้าย หรือ ซ้ายขวา 32 ก้าว พิจารณา
    อาการ 32 อย่างละก้าว ก้าวละ 1 อาการ เท้าซ้าย เท้าขวา เป็น 1 ก้าว
    หรือเท้าขวา เท้าซ้าย เป็น 1 ก้าว แล้วแต่ถนัดข้างไหนออกก่อน

    32 ก้าวอาการ มีดังนี้
    เกสา ผม
    โลมา ขน
    นะขา เล็บ
    ทันตา ฟัน
    ตะโจ หนัง
    มังสัง เนื้อ
    นะหารู เอ็น
    อัฏฐิ กระดูก
    อัฏฐิมิญชัง เยื่อกระดูก
    วักกัง ม้าม
    หะทะยัง หัวใจ
    ยะกะนัง ตับ
    กิโลมะกัง พังผืด
    ปิหะกัง ไต
    ปัปผาสัง ปอด
    อันตัง ไส้ใหญ่
    อันตะคุณัง ไส้น้อย
    อุทริยัง อาหารใหม่
    กะรีสัง อาหารเก่า
    ปิตตัง น้ำดี
    เสมหัง เสลด
    ปุพโพ น้ำหนอง
    โลหิตัง เลือด
    เสโท เหงื่อ
    เมโท น้ำมันข้น
    อัสสุ น้ำตา
    วะสา น้ำมันเหลว
    เขโฬ น้ำลาย
    สิงฆาณิกา น้ำมูก
    ละสิกา น้ำไขข้อ
    มุตตัง น้ำปัสสาวะ
    มัตถะเก มัตถะลุงคัง มันสมองศีรษะ

    เดินไปแต่ละก้าว ถอดชิ้นส่วนออกก้าวละชิ้น 32 ก้าว 32 ชิ้นส่วน หวนกลับ
    มาดู ว่างเปล่าเหลืออยู่แต่ธาตุรู้ คือใจ
     
  6. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    แบบหายใจ

    แบบหายใจ เป็นแบบดัดแปลงประยุกต์ขึ้นใช้ให้กลมกลืนกับเท้า ซ้ายขวา
    ขวาซ้าย ในการเดินจงกรม เดินช้า เดินเร็ว เดินกลมๆ หรือตรง เดินในชีวิต
    ประจำวัน เราเคยได้ยินคำว่า เดินลมปราณ นั่งเดินลมปราณมาแล้ว ตอนนี้
    จะตรงคำว่า เดินเดินลมปราณ คือ เดินไปด้วย กำหนดหายใจเดินลมปราณ
    ไปด้วย เท่ไปอีกอย่างหนึ่ง

    องค์ภาวนาที่ใช้ มีพุทโธ-พุทโธ หรือไม่ก็ นะมะ-พะทะ ในทำนองเดียวกัน
    สมมติว่า เท้าขวานำ เท้าซ้ายตาม พุทโธ กำกับขวาซ้าย กลมกลืนกันไป
    1 ก้าว หายใจเข้า และพุทโธ กำกับขวาซ้าย หายใจออกอีก 1 ก้าว

    สรุป
    เป็น 2 ก้าว หายใจเข้าพุทโธขวาซ้าย ก้าวหนึ่ง และหายใจออกพุทโธ
    ขวาซ้ายอีกก้าวหนึ่ง

    ส่วนองค์ภาวนา นะมะ-พะทะ ก็เดินทำนองเดียวกัน สมมติว่า เท้าซ้ายนำ
    หน้าเท้าขวาตามมา ก็หายใจนะมะซ้ายขวา 1 ก้าว กับ พะทะ ซ้ายขวาอีก
    1 ก้าว เข้าออกๆ เป็นลมกลมกลืน

    ใครติดพุทโธ ก็ใช้ท่องพุทโธให้ติดเป็นนิสัย เป็นไปโดยไม่ต้องกำหนดจิต
    อัตโนมัติในตัวเอง บางท่านรู้สึกว่านะมะพะทะ สนุกกว่า คล่องตัวกว่า ก็ใช้
    นะมะพะทะ ประจำตัว ทำอย่างเดียวได้หลายอย่าง คือ เป็นการออกกำลัง
    กายด้วยเป็นบุญญานิสงส์ เดินจงกรมด้วยได้เดินลมปราณเพิ่มพูนกำลังกาย
    ใจด้วย ได้รับความเพลิดเพลินสนุกสนานด้วย นี้แล เรียกว่า เดินจงกรม
     
  7. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    การถ่อมตน

    เหตุผลที่แม่น้ำและทะเล สามารถเป็นเจ้าเหนือลำห้วยภูเขานับร้อยๆ ได้
    ก็เพราะมันรู้จักต่ำกว่าลำห้วย นั่นทำให้มันสามารถปกครองลำห้วยทั้งปวง
    จากภูเขาไว้ได้

    บางสิ่งเพิ่มขึ้นด้วยการทำให้น้อยลง บางสิ่งน้อยลงด้วยการเพิ่มขึ้น สิ่ง
    หนึ่งถ่อมตนเพื่อให้ได้มา อีกสิ่งหนึ่งได้มาเพราะรู้จักถ่อมตน คุณธรรม
    ที่ยิ่งใหญ่คือ "การถ่อมตน" การรู้จักคารวะอ่อนน้อมและถ่อมตน เป็น
    มงคลอันสูงสุด.
     
  8. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    วิญญาณ คืออะไร?

    ก่อนที่จะทำความเข้าใจเรื่องวิญญาณกันให้ถูกต้อง เรื่องที่จะกล่าว
    ต่อไปนี้ ถือเป็นความสำคัญอย่างยิ่ง ควรสนใจเป็นพิเศษต่อคำที่จะ
    กล่าวต่อได้ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลที่ปรากฏอยู่
    เฉพาะหน้า นั่นคือ.....

    คำว่า "รู้"
    คำว่า "ประสาทรับรู้"

    ในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์นั้นอธิบายว่า เซลล์ใดเป็นเส้นประสาท
    ถ้ามีอารมณ์มากระทบ เซลล์ประสาทจะสามารถรับรู้อารมณ์นั้น เซลล์
    ใดไม่ใช่เซลล์ประสาท แม้มีอารมณ์มากระทบ ก็จะไม่เกิดการรับรู้

    ในทางพุทธศาสตร์ก็เสนอมติเป็นเช่นเดียวกันกับวิทยาศาสตร์ คือ เว้น
    ปสาทรูปเส้นเสียแล้วการรับรู้ก็เกิดขึ้นไม่ได้ เพียงแต่ว่าพระพุทธเจ้าทรง
    คัดแยกออกจากกันว่ารู้ ตัวรู้ การรู้ ภาวะรู้ สภาพรู้ กิริยารู้ อาการรู้
    เป็นธรรมชาติต่างชนิดกับเซลล์ประสาท แม้จะอาศัยเกิดร่วมกัน
    แต่มิใช่สิ่งเดียวกัน แล้วทรงตั้งชื่อเรียกตัวรู้นี้ว่า "วิญญาณ"
    (ส่วนตัวประสาทก็ตั้งชื่อเรียกว่า ปสาทรูป)

    วิญญาณเป็นธรรมชาติคนละอย่างต่างสถานะ ต่างชนิดกันกับเซลล์ประสาท
    เพราะประสาทเป็นรูปธรรม มีมวลน้ำหนัก มีรูปทรง แต่วิญญาณ เป็นนามธรรม
    ไร้มวล ไร้น้ำหนัก ไรู้รูปทรง เป็นแต่ความรู้สึกล้วนๆ "วิญญาณ" แปลว่า "รู้"
    ไม่ใช่แปลว่า "รับรู้" เป็นเพียงสภาวะรู้ ไม่มีผู้รับรู้ อาศัยปสาทรูปเกิด ไม่อาศัย
    สิ่งอื่นเกิด เว้นปสาทรูปเสียแล้ว วิญญาณก็เกิดขึ้นไม่ได้ (นักวิทยาศาสตร์เข้า
    ใจว่า ประสาทกับตัวรู้ที่อาศัยเกิดกับประสาท เป็นสิ่งเดียวกัน)

    ตัว "รู้" นี้ ภาษาบาลีเรียกว่า "วิญญาณ"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กรกฎาคม 2012
  9. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ธรรมชาติใดย่อมรู้อารมณ์ ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า "วิญญาณ"

    วิญญาณมีการรู้อารมณ์ เป็นลักษณะ
    มีการเป็นประธานของธรรมที่เกิดร่วม (เช่น เวทนาสัญญาฯ) เป็นกิจ
    มีการสืบต่อ เป็นผล
    มีสังขาร เป็นเหตุใกล้

    คำว่า "วิญญาณ" แปลว่า ธรรมชาติรู้ (อารมณ์) ความรู้แจ้ง, ความรู้ชัด,
    ความรู้, รู้, ใจ, จิต

    พระพุทธองค์ทรงแสดงว่าวิญญาณมี 6 ชนิด คือ
    จักขุวิญญาณ รู้ทางตา
    โสตวิญญาณ รู้ทางหู
    ฆานวิญญาณ รู้ทางจมูก
    ชิวหาวิญญาณ รู้ทางลิ้น
    กายวิญญาณ รู้ทางกาย
    มโนวิญาณ รู้ทางใจ

    ส่วนชนิดของประสาทอันเป็นกลไกรับกระทบอารมณ์ก็ทรงจำแนก
    ไปตามประเภทของความสามารถในการรับกระทบผัสสะ แบ่งออก
    เป็น 6 ประเภท เช่นกันคือ

    จักขุปสาท ประสาทตา
    โสตปสาท ประสาทหู
    ฆานปสาท ประสาทจมูก
    ชิวหาปสาท ประสาทลิ้น
    กายปสาท ประสาทกาย
    หทัยวัถตุ เซลล์สมอง (ตำราโบราณว่า ได้แก่ หัวใจ)

    บางทีก็ทรงเรียกว่า จักขุวัตถุ โสตวัตถุ ฆานวัตถุ ชิวหาวัตถุ
    กายวัตถุ หทัยวัตถุ เพราะหมายเอาความที่ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นรูป
    ไม่ใช่นามจึงใช้คำว่า วัตถุ สรุปก็คือ วัตถุทั้งหมด เป็นรูปธรรม
    วิญญาณทั้งหมดเหล่านั้นเป็นนามธรรม ที่ไม่ทรงใช้คำว่า
    หทัยประสาทนั้น ยังหาคำอธิบายที่ชัดเจนในชั้นพระคัมภีร์ (ทั้ง
    ในพระไตรปิฎกและอรรถกถา) ไม่ได้ แต่สันนิษฐานว่า เพราะมี
    โครงสร้างที่ซับซ้อนแตกต่าง และดำเนินไปในภารกิจที่ลึกซึ้ง
    กว่า ในกรณีที่ใช้คำว่า วัตถุ เหมือนกันหมดทุกทวาร เพราะหมาย
    เอาความที่เป็นรูปธรรมเหมือนกัน สถานภาพไม่ใช่นามดังกล่าวแล้ว
     
  10. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    รูปมีวิญญาณครองกับรูปไม่มีวิญญาณครอง

    รูปบางชนิดมีวิญญาณครอง บางชนิดไม่มีวิญญาณครอง (บางทีก็เรียกว่า
    สังขารมีวิญญาณครองกับสังขารไม่มีวิญญาณครอง) เมื่อศาสนาพุทธเผย
    แผ่เข้ามาถึงเมืองไทย ความคิดเห็นและความเชื่อของคนในท้องถิ่นแถบนี้
    ที่มีต่อคำว่า วิญญาณ นั้น มีลักษณะคล้ายๆ กับคำว่า "ชีวะ" หรือ "ชีวาตมัน"
    ของพราหมณ์ คำว่า ชีวาตมัน มาจากคำว่า ชีวะ + คำว่า อาตมัน

    ชีวะ แปลว่า ชีวิต
    อาตมัน แปลว่า ตัวตน

    แปลรวมว่า ตัวตนของชีวิต ซึ่งศาสนาพราหมณ์เชื่อว่ามีตัวตนชีวิตที่เป็นอมตะ
    (มีลักษณะเป็นปรกายหรือกายทิพย์) สิงอยู่ในร่างกายคนและสัตว์ ถ้าร่างกาย
    นี้ตายลง ชีวาตมันจะไม่ตาย ล่องลอยออกจากร่างแล้วไปหาที่เกิดใหม่ ชาติ
    แล้วชาติเล่าไม่รู้จบ นักการศาสนาของไทยในยุคต้นๆ ได้รับอิทธิพลทาง
    วัฒนธรรมจากพราหมณ์ จึงตีความอนุโลมตามความเชื่อของพราหมณ์ว่า
    วิญญาณ คือ ตัวตนชีวิตที่สิงอยู่ในร่างคนและสัตว์ ความผิดพลาดอยู่ตรงที่
    ไปเข้าใจว่า วิญญาณมีความหมายเป็นอันเดียวกับคำว่า ชีวาตมัน ของ
    พราหมณ์ ดังนั้น จึงอธิบายว่า

    รูปมีวิญญาณครอง ได้แก่ คนและสัตว์
    รูปไม่มีวิญญาณครอง ได้แก่ วัตถุสิ่งของ อิฐ หิน ดิน ทราย ภูเขา ต้นไม้ ฯลฯ

    แต่โดยแท้ที่จริงแล้ว คำว่า "วิญญาณ" ถูกใช้ในความหมายของพุทธธรรมอย่าง
    แท้จริงแล้วละก็ คำว่า "วิญญาณ" นี้ จะแปลว่า "รู้" (อารมณ์) เท่านั้นเอง นับ
    แต่มีมนุษย์อาศัยอยู่บนโลกใบนี้เป็นต้นมา ไม่เคยมีใครบัญญัติใช้คำศัพท์ใดๆ
    ที่ตรงกับความหมายของคำว่า "วิญญาณ" ในเชิงกายวิภาคและนามวิภาคแบบ
    ของพระพุทธเจ้าเลย กล่าวคือ

    ทรงมีพุทธมติว่าต้อง มีประสาท มีอารมณ์ มีผัสสะ มาประชุมกัน วิญญาณ
    (ตัวรู้จึงจะเกิดขึ้นได้) จวบจนกระทั่งวงการแพทย์เจริญก้าวหน้ามากขึ้น ได้
    มีการวิจัยองค์ประกอบทางชีวภาพของมนุษย์ในเชิงกายวิภาค จึงได้พบว่า
    มีเซลล์ประสาททำหน้าที่รับรู้อารมณ์ และได้ตั้งชื่อเรียกสภาพรู้หรือตัวรู้นี้ว่า
    รีเซฟเตอร์ (รู้ระดับประสาทสัมผัส) แม้อย่างนั้น วิทยาศาสตร์ก็เข้าใจว่า
    ตัวประสาทกับตัวรู้เป็นสิ่งเดียวกัน

    ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสว่าไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ทรงคัดแยกออกมาต่างหากและชี้ให้
    เห็นว่าไม่ใช่สิ่งเดียวกัน เพราะประสาทมีมวล มีน้ำหนัก มีรูปทรง แต่วิญญาณ
    ไร้มวล ไร้น้ำหนัก ไร้รูปทรง (ทรงวิจัยมาก่อนทั้งกายวิภาคและนามวิภาค)
     
  11. yui_61

    yui_61 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    293
    ค่าพลัง:
    +1,285
    พี่นุ๊กค่ะ ช่วยไขข้อสงสัยให้หนูหน่อยค่ะ
    คือหนูสงสัยเรื่องการเกิดเป็นชายและหญิงของมนุษย์อ่ะค่ะ

    หนูเคยอ่านเจอจำไม่ได้แล้วค่ะว่าอ่านมาจากไหน
    ว่าถ้าเกิดเป็นชายก็ต้องเป็นชาย ไปตลอด
    ถ้าเกิดเป็นหญิงก็ต้องเป็นหญิงไปตลอด

    ยกเว้นแต่ว่ามีการอธิษฐานเป็นพิเศษถึงเกิดข้ามไปอีกเพศหนึ่งได้
    เลยสงกะัสัยว่ามันจริงหรือเปล่า

    รบกวนพี่นุ๊กไขข้อข้องใจให้หนูด้วยค่ะ
    ขอบคุณค่ะ
     
  12. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    สวัสดีค่ะคุณ yui_61 ยินดีต้อนรับสู่ห้องคนอวดรู้ค่ะ
    ว่างๆ เข้ามาอีกและอย่าลืมมาอวดรู้บ้างนะคะ

    การเกิดมาเป็นชายหรือหญิง แน่นอนย่อมมีเหตุให้เกิดดังนั้นค่ะ

    ตอบตามหลักพระอภิธรรม ได้ดังนี้

    การเกิดเป็นหญิงและชาย ย่อมมาจากผลของกุศล กรรม ฝ่ายชายนั้นเป็นกุศล
    ทำด้วยจิตที่มีความกล้าแข็งมั่นคง เพศชายจึงถือว่าเป็นอุดมเพศ โดยเฉพาะ
    อย่างยิ่งในการประพฤติพรหมจรรย์ แม้ผู้ที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าก็ต้องถือ
    กำเนิดมาในบุรุษเพศเท่านั้น ไม่อาจเป็นหญิงได้

    การได้เกิดมาเป็นหญิงก็มาจากกุศล แต่เวลาทำกุศลจิตไม่ได้เข้มแข็งก็มีสิทธิ์เกิด
    มาเป็นหญิง หรือบางคนพอใจเยื่อใยในความเป็นหญิงก็มักเกิดเป็นหญิง อย่างนี้
    ก็เป็นได้...หรือมีกรณีอื่นอีกคือ ถูกอกุศลกรรมตัดรอน จึงแทนที่จะได้เกิดเป็นชาย
    กลับได้เกิดเป็นหญิง เช่นอดีตของพระอานนท์ที่เคยผิดศีลกาเมฯ จึงต้องไปเกิด
    เป็นหญิงถึง 500 ชาติเป็นต้น
     
  13. yui_61

    yui_61 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    293
    ค่าพลัง:
    +1,285
    ขอบคุณมากเลยค่ะ ช่วยไขข้อข้องใจให้กระจ่างเลยค่ะ

    และก็จะแวะเข้ามาอีกค่ะ ได้ความรู้เยอะเลยค่ะ
     
  14. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    วิญญาณกับจิตต่างกันอย่างไร

    คำว่า จิต เป็นไวยพจน์ของคำว่า วิญญาณ "ก็วิญญาณนั้น พระพุทธเจ้าตรัส
    เรียกว่า "จิต" แม้มีพยัญชนะต่างกันแต่มีความหมายเป็นอันเดียวกัน เหมือนกับ
    คำว่า สุริโย สุริยัน ดวงตะวัน ดวงอาทิตย์ ซึ่งมีพยัญชนะต่างกันแต่มีความหมาย
    เป็นอันเดียวกัน

    นอกจากนี้ยังมีคำที่เป็นไวยพจน์อีกหลายคำ เช่น มโน มนัส หทัย
    มัณฑระ มนายตนะ มนินทรีย์ มโนวิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์
     
  15. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ขอตัดตอนเรื่องวิญญาณปฏิสนธิ มาให้อ่านกันนะคะ

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "อานนท์ ข้อที่เรากล่าวเช่นนี้ว่า เพราะวิญญาณ
    เป้นปัจจัย นาม-รูป (ขันธ์ 5) จึงมี เธอพึงทราบเหตุผลที่วิญญาณปัจจัย
    นาม-รูปจึงมี ดังต่อไปนี้

    "ก็ถ้าวิญญาณไม่หยั่งลงในท้องมารดา นาม-รูปจักก่อตัวในท้องมารดาได้หรือ"

    พระอานนท์ทูลตอบ "ไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า"

    พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า "ก็ถ้าวิญญาณหยั่งลงในท้องมารดาแล้วล่วงเลยไป
    นาม-รูปจักบังเกิดขึ้นเพื่อความเป็นอย่างนี้ได้หรือ"

    พระอานนท์ทูลตอบ "ไม่ได้เลยพระพุทธเจ้าข้า"

    พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า "ก็ถ้าวิญญาณเด็กชายหรือเด็กหญิงผู้เยาว์วัยจักขาด
    ความสืบต่อ นาม-รูปจักเจริญงอกงามไพบูลย์ได้หรือ"

    พระอานนท์ตอบว่า "ไม่ได้เลยพระพุทธเจ้าข้า"

    พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า "อานนท์ เพราะเหตุนั้น เหตุ ต้นเหตุ เหตุเกิด และ
    ปัจจัยแห่งนาม-รูป ก็คือ วิญญาณ นั่นเอง"
     
  16. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    วิญญาณปฏิสนธิ จัดเป็นผลของกรรมที่ส่งผลในรูปลักษณ์ของจิตขณะ
    แรกของภพ ซึ่งจะอุบัติขึ้น ณ ภพใดๆ ตามสมควรแก่กรรมที่ทำมา นับเป็นผล
    ของกรรมฝ่ายนามในปฏิสนธิกาล ทำงานเหมือนการจุดไฟแช็คให้ติดขึ้น หรือ
    มีลักษณะเหมือนเรานั่งอยู่ที่กรุงเทพฯ แล้วนึกถึงเชียงใหม่ กระพริบตาแว้บเดียว
    ความคิดก็ถึงเชียงใหม่แล้ว ความคิดไม่ต้องออกจากร่างแล้วเดินทางไปผ่าน
    อยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี นครสวรรค์ กำแพงเพชร ตามลำดับแต่อย่างใด

    ฉันใดฉันนั้น เมื่อจุติวัญญาณเกิดขึ้นตัดกระแสชีวิตในภพก่อนให้ขาดลงแล้ว
    ปฏิสนธิวิญญาณก็อุบัติขึ้น ณ ภพภูมิใหม่ทันที มีบางท่านสงสัยว่ามันต่อไม่ติด
    ระหว่างจุติกับปฏิสนธิ คือสงสัยว่า

    ชีวิตผุดขึ้นมาในภพอื่นโดยปราศจากพฤติกรรมการเดินทางได้อย่างไร และ
    ถ้าผุดขึ้นอย่างนั้น จะอธิบายความเชื่อมต่อสัมพันธ์กันระหว่างจิตตายกับจิต
    เกิดอย่างไร (จากตายไปหาเกิดส่งลูกและรับลูกกันอย่างไร)

    ตอบ
    วิญญาณทั้ง 6 คือ ตา (จักขุวิญญาณ) หู (โสตวิญญาณ) จมูก (ฆานวิญญาณ)
    ลิ้น (ชิวหาวิญญาณ) กาย (กายวิญญาณ) ใจ (มโนวิญญาณ) รู้อารมณ์สลับกัน
    ไปทวารนั้นบ้าง ทวารนี้บ้างต่อเนื่องไม่ขาดสายนั้น หามีผู้ใดสามารถหยุดยั้ง
    กระแสเกิดดับต่อเนื่องนี้ได้ไม่ ณ ขณะเฉพาะหน้านี้ใครจะสามารถห้ามกันไม่ให้
    การเห็น การได้ยิน การสัมผัส ณ ขณะถัดไปผุดขึ้นได้บ้าง

    แม้มนุษย์ผู้ปรารถนาจะหลับไม่ตื่นสักเพียงใดก็ไม่อาจยุติกระแสเกิดดับต่อเนื่อง
    ของวิญญาณ 6 นี้ได้ฉันใด ปฏิสนธิจิตก็เป็นสิ่งที่หามีผู้ใดสามารถยับยั้ง มิให้
    เกิดขึ้นหลังจากจุติจิตดับไปแล้ว ฉันนั้น

    จุติจิตเมื่อดับลงแล้ว ปฏิสนธิจิตย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไป (ไม่มีอะไรเกิดคั่น)
    เช่นเดียวกัน
     
  17. Tatojang

    Tatojang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2012
    โพสต์:
    356
    ค่าพลัง:
    +1,401
    สวัสดีเช้าวันพฤหัสในวันพระค่ะ
    คุณนุ๊กคะอยากจะทราบว่าเวลาสวดมนต์ขนจะลุกและจิ้งจกร้องทักนี่แปลว่าอะไรคะอยากทราบจริงๆค่ะ ขอบคุณค่ะ
     
  18. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    สวัสดีค่ะคุณ Totojang

    สวดมนต์แล้วขนลุก แสดงว่ามีเทวดามาฟังเราสวดมนต์และอนุโมทนาบุญค่ะ

    จิ้งจกทัก นั่นแสดงว่าคุณสวดผิดค่ะ อาจมีบางประโยคหรือบางอักขระที่ผิดค่ะ
     
  19. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    สงสัย จะกรรมตัดรอนในชาตินี้ค่ะ :'(
    เพราะกลิ่นอดีตของตัวเอง คงจะเป็นไปในทาง พระ ฤาษี นักรบ .. ฯลฯ


    เมื่อคืนฝันว่า ถูกขโมยรองเท้าไปสามคู่
    หายไปเลยหนึ่งคู่.. ได้คืนสอง..
    ที่ได้คืน ..หนึ่งคู่เป็นคู่ที่รองเท้าซ้ายขวาติดกันใส่แล้วเดินไม่สะดวก
    ส่วนอีกคู่ที่ได้คืนนั้นหายไปหนึ่งข้างจ๊ะ
     
  20. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    สวัสดีค่ะคุณปุณฑ์ หายไปหลายวันเลยนะคะ คิดถึงจัง

    นึกว่าลืมห้องนี้ซะแล้ว หมอเดาขอเดาว่า......

    การเดินทางที่วางแผนไว้จะไม่ราบรื่นค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...