อภินิหารพระอาจารย์ในดง

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย Kingkong1, 26 ตุลาคม 2012.

  1. Stradale

    Stradale เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2007
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +4,379
    130 สนใจครับ
     
  2. moo noi

    moo noi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    6,328
    ค่าพลัง:
    +23,902
    งั้น ขอฝากเนื้อฝากตัว ขอติดตามอ่านประสบการณ์ด้วยนะคะ.....^^
     
  3. ช40

    ช40 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2012
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +926
    ขอกราบคารวะ หลวงตาดำ ปรมาจารย์ใหญ่ในดงลึก ต้นสายโลกอุดร
     
  4. yaba150

    yaba150 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    983
    ค่าพลัง:
    +636
    131 เสกสรรค์ ใจดี ขอฝากตัวอีกคนครับ
     
  5. มรรค 8 ประการ

    มรรค 8 ประการ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    884
    ค่าพลัง:
    +2,642
    132.นายธนกร สงวนน้อย ขอสมัครเป็นศิษย์รับเคล็ดวิชาด้วยความเคารพอย่าสูงสุดครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 พฤศจิกายน 2012
  6. Rins

    Rins เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2011
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +489
    ขอเล่าวิชาคงกระพัน ที่เป็นวิชาแรกที่ท่านอาจารย์ชม สอนนะครับ
    ก่อนอื่นท่านสอนให้กราบไหว้ครูบาอาจารย์ ซึ่งสืบทอดกันมาจาก
    แม่ทัพสมัยโบราณ ซึ่งเมื่อก่อนแม่ทัพก่อนจะออกศึก หากเสกคุ้มครอง
    เฉพาะตัวเอง เรียกว่าวิชาคงกระพัน แต่ถ้าเสกแล้วสามารถคุ้มครองผู้อื่น
    ได้ด้วย เรียกว่า วิชา "แต่งกองทัพ" คุ้มครองได้กี่คน ก็แล้วแต่ผู้เรียน
    จะมีสมาธิอยู่ัขั้นไหน และประสบการณ์ในการฝึกวิชาคงกระพันมานานแค่ไหน
    เชี่ยวชาญชำนาญ สามารถคุ้มครองตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป และมีค่าครูซึ่งเงิน
    ในส่วนนี้ท่านอาจารย์บอกจะนำไปทำบุญ 6 บาท หรือ 12 บาทต่อวิชา
    เท่านั้นเองครับ
     
  7. Rins

    Rins เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2011
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +489
    วิชาคงกระพัน จะมีการเรียนอยู่ 2 วิธี วิธีแรก เสกปูนคาดคอ วิธีสอง เสกใบพลู
    ซึ่งวันที่ผมเรียน อาจารย์สอนแบบเสกปูนคาดคอ แต่หลักวิชา 2 วิชานี้เหมือนกัน
    เพียงแต่คาถาที่ใช้แต่ละวิธีไม่เหมือน

    เริ่มต้นท่านแนะนำวิธีการฝึกสมาธิเบื้องต้น ให้ลองหายใจสั้น หายใจยาว
    จนกว่าจะหาลมสบายของตนเอง ตั้งจิตไว้ที่จมูกบริเวณ ที่ลมกระทบชัดเจน
    หรือที่ดั้งจมูกก็ได้ ความสบายหรือความสุข จะเป็นเหตุใกล้ให้เกิดสมาธิ เมื่อ
    ได้สมาธิเบื้องต้นกันแล้วก็จะเริ่มฝึก ซึ่งจะต้องประกอบด้วยกัน 2 ส่วนคือ ศรัทธา
    หรือความเชื่อมั่น และพลังสมาธิ
     
  8. Rins

    Rins เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2011
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +489
    ปกติรสของปูนแดง ที่กินกับหมาก จะมีรสชาติเผ็ดร้อน กัดแสบลิ้น
    ท่านให้นำนิ้วป้ายปูนแดง และกลั้นลม บริกรรมคาถาในใจ และเพ่ง
    มองไปที่นิ้ว และเป่าไปที่นิ้ว จนกว่ารสของปูนแดงจะเปลียนรส
    ท่านจะให้ทดสอบลองเอานิ้วแตะๆ ที่ลิ้น ว่ารสชาติเปลี่ยนแปลง
    เป็นจืด หวาน เฉยๆ ถือว่าใช้ได้ ถ้ายังไม่เปลี่ยนแปลง ก็ให้บริกรรมใหม่
    ยังทดลองนำมีดแทงต่อไม่ได้ เมื่อใช้ได้แล้วค่อยนำมาป้ายคาดคอ

    หลังจากนั้นท่านอาจารย์ก็นำมีดเดินป่า สำลีแอลกอฮอล์เช็ด และ
    ไปลนไฟ เพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อน จากนั้นท่านก็จะสอบถามและให้
    บริกรรมคาถาในใจ และอัดลมไว้ และท่านก็จะดึงหนังที่ท้องแขน
    ออกมาและนำมีดเดินป่า ที่คมมาก ค่อยๆ กดดูปฏิกริยาหนังที่
    ท้องแขนว่ามีแรงต้านมากน้อยเพียงใด และท่านจะเริ่มกดแรงเรื่อยๆ
    จนมือสั่น หลังจากนั้นก็มาดูผลสอบรอยที่แทง สำหรับคนที่จิตใจยัง
    ไม่เชื่อมั่นเต็มร้อย ก็จะมีรูบุ๋มกดสองรู หน้าหลังท้องแขนเป็นรอยบุ๋มลงไป
    สำหรับคนที่จิตใจเชื่อมั่นเต็มร้อยก็จะมีรูบุ๋ม รูเดียว แต่ไม่มีเลือดซึมออกมา
    เหมือนเอาของที่ไม่คมมากดทับ อาจารย์บอกสมาธิขั้นต้นจะมีรอย ส่วน
    สมาธิขั้นกลางขึ้นไป แทงเสร็จแล้ว ก็ไม่มีรอยบุ๋มกดลงไปจะสังเกตุว่าวิธี
    ที่ท่านสอนเหมือนหลักวิทยาศาสตร์ ที่พิสูจน์ได้ และปลอดภัยครับ
     
  9. Rins

    Rins เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2011
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +489
    อาจารย์เคยบอกว่ายามคับขัน คงไม่มีปูนแดง จะเสกน้ำลายก็ได้
    หรือหากชำนาญ ก็อธิษฐานจิตในใจก็ได้ เคยสอบถามอาจารย์
    สามารถคุ้มครองตอนหลับได้ไหม ท่านบอกหากจะคุ้มครองทุกขณะ
    จะต้องเสกปูนคาดคอ ทุกค่ำเช้า วันละสองครั้ง และจะต้องทำจนกว่า
    จะครบ 5 ปี ถึงจะไม่ต้องเสกปูนคาดคอแล้ว จะคงกระพันอยู่ตัว

    ผมเคยอ่านตอนที่ท่านอาจารย์ชม หนุ่มๆ ไปเรียนวิชาคงกระพัน สำนักต่างๆ
    เหมือนท่านจะเรียนเสกน้ำมันงา มาด้วย ท่านบอกตอนเรียนกับอาจารย์เสกน้ำมันงาเสร็จก็ทดลองเฉือนฟันเลย ไม่เข้าไม่มีเลือดออก แต่พอท่านมาทดลองเสกน้ำมันงา ทำเอง แต่ตอนนั้นยังไม่มั่นใจเท่าไร เลยแขวนพระที่ท่านเชื่อมั่นด้วย และทดลองดู
    ผลปรากฎว่า เข้าครับ เลือดไหลออกมาเลย กลับไปสอบถามอาจารย์ ท่านบอกว่าให้
    เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง จะเสกน้ำมันงา ก็เสกน้ำมันงา จะอธิษฐานพระที่แขวนอยู่
    ก็เอาทางใดทางหนึ่ง สามารถคุ้มครองได้เหมือนกัน จิตต้องเชื่อมต่อกับคุณพระ
    จิตต้องเป็นหนึ่งไม่มีสอง อย่าลังเลสงสัย ผมเคยนำวิชาที่เรียนมาทดลองกับตัวเอง
    2-3 ครั้ง และก็ไม่ได้ฝึกต่อ เพราะที่ไปเรียนเพื่อพิสูจน์ว่าวิชามีจริง และท่านอาจารย์
    บอกว่าถึงจะแทงไม่เข้า ท่านก็อาจจะช้ำในตาย หรือหากไปเจอคนที่เขารู้วิชา และจิต
    เหนือกว่า ก็จะแทงเข้า ตอนที่ผมไปเรียนมีรุ่นพี่ ได้แนะนำว่า มีลูกศิษย์รุ่นพี่คนหนึ่ง
    เสกทุกวันค่ำเช้า เหมือนไปติดโรคไข้หวัดนก หรือโรคอะไรที่ติดจากนก แล้วถึงเวลา
    ก็ไม่ยอมให้หมอฉีดยาให้ หมอก็ฉีดยาไม่เข้า สุดท้ายตายด้วยโรคไข้หวัดนก
     
  10. Rins

    Rins เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2011
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +489
    สรุปคือไม่มีอะไรเหนือกรรมไปได้ และวิชาคงกระพัน ในขั้นต้น
    ไม่ได้เหนียวตลอดเวลา และจะต้องมีความอุตสาหะ เพียรพยายาม
    ซึ่งจริงๆ แล้วท่านอาจารย์ชม เคยบอกว่า วิชาเบื้องต้นพวกนี้เหมือน
    วิชาประถม คือให้เรียนให้รู้ พอผ่านแล้ว ให้เกิดความเชื่อมั่น และไป
    พยายามฝึกสมาธิให้สูงขึ้น เพื่อทดลองวิชาอื่นต่อ และฝึกสมาธิให้สูงขึ้น
    เพื่อเรียนวิชาต่อ สำหรับการฝึกที่ท่านเรียนมาจากสายในดง วัตถุประสงค์
    หลักคือการฝึกจิต ฝึกสมาธิ ให้สูงขึ้น และไปเรียนวิปัสสนาเพื่อพ้นทุกข์
    ซึ่งส่วนใหญ่สายวิชาในดง จะชอบฤทธิ์ ซึ่งจะได้สมาธิขั้นสูงเป็นพื้นฐาน
    ซึ่งง่ายต่อการเจริญวิปัสสนา ในขั้นต่อไป เพื่อไปสู่การพ้นทุกข์ เหมือนกับ
    พระอาจารย์หลวงพ่อจรัญ ครับ
     
  11. Rins

    Rins เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2011
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +489
    ไว้ว่างๆ ค่อยมาเล่าวิชาอื่นให้อ่านใหม่ นะครับ
     
  12. Kingkong1

    Kingkong1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    776
    ค่าพลัง:
    +2,281
    สาธุ ๆ ๆ ขอให้มาลงทุกวันนะครับ อย่างน้อยเช้า-เย็น ก็ยังดี
    เอาก่อนอาหารเช้าและก่อนนอนนะครับ ถ้าท่านมีเวลาว่างก็ขอ 3 เวลาก่อนอาหาร และก่อนนอน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤศจิกายน 2012
  13. moo noi

    moo noi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    6,328
    ค่าพลัง:
    +23,902
    ขอบคุณ คุณ Rins ที่นำความรู้มาเผยแพร่ค่ะ....^^
     
  14. ลูกน้ำเค็ม

    ลูกน้ำเค็ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    3,022
    ค่าพลัง:
    +14,548
    ผมว่าตามสะดวกดีกว่าครับ ผมจะรอติดตามเรื่อย ๆ ครับ ขอบคุณ คุณRins ด้วยครับที่นำประสบการณ์ความรู้ดี ๆ มาเล่าสู่กันฟัง :cool:
     
  15. Rins

    Rins เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2011
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +489
    ขอเพิ่มเติมสำหรับคำสอนเกี่ยวกับการฝึกสมาธิเบื้องต้นครั้งแรก
    ที่ผมเล่าให้ฟังวิธีฝึกอาจจะแบบย่อ ตามที่ผมจำที่อาจารย์ชม
    สอนได้ แต่ในหนังสือที่อาจารย์ชม แจกมาให้ สอนอย่างละเอียด
    เผื่อจะเป็นประโยชน์กับท่านที่สนใจเคล็ดลับในการฝึกสมาธิ ฝึกจิต
    เพื่อพัฒนาไปสู่ "จิตกับลมสมส่วนกัน" พระอาจารย์ในดงใช้คำนี้ ครับ

    ที่ตั้งจิต

    "การเริ่มฝึกสมาธิครั้งแรกให้หา "ที่ตั้งจิต" เสียก่อน โดยหายใจแรงๆ
    หลายครั้ง สังเกตุดูว่าลมหายใจกระทบที่ใดมาก หรือที่ซึ่งมีความไว
    ในการรู้สึกว่าลมมากระทบได้ดีกว่าที่อื่นในการฝึกสมาธิให้ใช้ตรงที่
    กระทบได้ดีนี้เป็นที่ "ที่ตั้งจิต" คือรวมสติมารับรู้ลมหายใจตรงที่ตั้งจิตนั้น
    คนที่จมูกงุ้มมาก จะรู้สึกว่าลมหายใจไปกระทบได้ดีกระทบได้ไวที่
    ปลายจมูก ก็ให้ใช้ปลายจมูกเป็นที่ตั้งจิต คนริมฝีปากเชิดมากก็จะรู้สึกว่า
    ลมกระทบได้ดีกระทบได้ไว ที่ริมฝีปาก ก็ให้ใช้ริมฝีปากเป็นที่ตั้งจิต
    คนทั่วๆ ไป จะรู้สึกไวตรงรูจมูก ทั้งสองไปพบกัน นั่นคือตรงรูดั้งจมูก
    คนทั่วๆ ไป จึงใช้ตรงรูดั้งจมูกเป็นที่ตั้งจิต คือเป็นที่รวมสติคอยรู้ลมหายใจ
    แล้วเริ่มฝึกสมาธิ โดยหายใจสม่ำเสมอให้ถูกต้อง"
     
  16. Rins

    Rins เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2011
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +489
    การหายใจที่ถูกต้อง

    "หายใจ เบา-ยาว-สม่ำเสมอ ต่อเนื่องกันไป เมื่อหายใจเข้าสุด
    ให้หยุดได้นิดหนึ่ง เมื่อหายใจออกก็หยุดได้นิดหนึ่ง ถ้าหยุดนานไป
    ในตอนปลายลมเข้า และออก จะทำให้อึดอัดไม่ปลอดโปร่ง ทำให้
    มึนศรีษะ เวียนศรีษะ ให้จัดลมหายใจเข้ากับออก ให้มีความยาว
    เท่าๆ กัน คือสั้น หรือยาว กว่ากันไม่มาก การหายใจจะเบาเพียงใด
    ยาวเพียงใด ผู้ฝึกจะต้องทดลอง หายใจเบาขึ้นบ้าง ยาวขึ้นบ้าง
    หายใจสั้นลงบ้าง หนักขึ้นบ้าง ตั้งใจสังเกตุว่าหายใจในลักษณะใด
    สบายที่สุด เหมาะที่สุด ก็ให้หายใจในลักษณะนั้นเรื่อยไป จำลมหายใจ
    นั้นให้แม่นยำ ซึ่งถือว่า เป็นการหายใจที่ถูกต้อง

    ตรงนี้สำคัญ " ในการฝึกครั้งต่อไป ก็ใช้ิิวิธีที่หายใจที่ถูกต้องนี้โดย
    ไม่ต้องทดลองเหมือนครั้งแรกอีก เพียงจัดเล็กน้อย ให้มีความสบาย
    ปลอดโปร่ง แล้วหายใจในลักษณะที่ถูกที่ดีนี้ต่อเนื่องกันไป"

    ผมจำคร่าวๆ ที่อาจารย์บอกได้ ว่าให้จำ ลมหายใจสบาย และครั้งต่อไป
    ให้เริ่มที่ลมสบาย หากสมาธิพัฒนาขึ้นไป ถึงจุดไหน ก็ให้จำลมหายใจ
    ช่วงนั้นให้แม่นยำ และ จิตกับลม จะสมส่วนกัน จะทำให้สมาธิพัฒนา
    เร็วขึ้น จบประถม แล้ว ให้เริ่มที่มัธยม เลย ไม่ต้องย้อนไปเรียนใหม่
    ที่ประถม จะเสียเวลา

    หากท่านใดนำเคล็ดลับนี้และไปลองฝึกสมาธิแล้วฝากมาเล่าให้ฟังด้วยนะครับ
    ว่าได้ผลดี หรือไม่ จะได้มีกำลังใจพิมพ์ต่อหากพิมพ์แล้วเกิดประโยชน์ หาก
    ไม่มีคนไ้ด้ประโยชน์ ก็อาจจะหยุดพิมพ์เพราะใช้เวลาในการพิมพ์นานอยู่เหมือนกัน
     
  17. อาโลกธรรม

    อาโลกธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +138
    สวัสดีครับอาจารย์ สันยาสี และพี่ๆเพื่อนๆสมาชิกทุกท่าน ครับ
    อดีตผมก็เคยได้ไป เรียนวิชากับ ท่าน อาจารย์ พันเอก ชม สุคนธรัตน์ ผ่านมายี่สิบกว่าปีเห็นจะได้ โดยไปกับ รุ่นพี่ คนหนึ่ง สมัยนั้นรุ่นพี่ท่านนี้ กำลังเรียน ม.รามคำแหง ได้ชวนผมไปเรียน (รุ่นพี่ท่านนี้ได้ไปเรียนวิชาอยู่ก่อนแล้ว)

    วันนั้นผมก็เรียนวิชาพื้นฐานคาถา คงกระพันเสกคาดปูน กับเสกดับความร้อนของน้ำ วันนั้นผมรู้สึกว่าคาถาเสกคาดปูนไม่ได้ทดลอง แต่ได้ทดลองวิชาดับความร้อนของน้ำ ไปช่วงบ่ายเกือบเย็นแล้วครับ มีคนไปเรียนวันนั้นไม่เกินสิบคนครับ
    โดยท่านอาจารย์ ได้ให้คนที่ไปเรียนในวันนั้น ไปตักน้ำมา แล้วก็ต้มน้ำให้เดือด โดยท่านอาจารย์จะเสกใบพลูลงไปในน้ำ แล้วให้ คนที่ไปเรียนลองตักน้ำกิน ว่าน้ำ จะร้อนหรือไม่ ผมได้ไปเรียน เพียงครั้งเดียว และก็ไม่ได้ครอบครู และก็ไม่ได้ไป อีก เลย ครับ ท่านอาจารย์ สอนเบื้องต้น เกี่ยวกับการกำหนด อัดลมหายใจ อย่างที่ท่าน
    Rins อธิบายนั่นแหละ ครับ

    ผมจำไม่ได้ว่า ค่าครูเท่าไหร่ นะครับ สมัยนั้น ผมยังวัยรุ่นอยู่ ท่านอาจารย์บอกว่าครูบาอาจารย์เขาไม่บอกศิษย์ง่ายๆในเคล็ดวิชา ซึ่งท่านอาจารย์บอกว่า อาจารย์รุ่นเก่าก่อนผูกเป็นคำกลอน ไว้ ว่าอย่างไรผมก็ลืมไปแล้ว ประมาณว่า นกบินลงกินน้ำ จำไม่ได้แล้วครับ ผิดพลาดขอโปรด อภัย (ไม่ได้เอาสมุดปากกาไปด้วย เป็นอุทาหรณ์ฝากไว้ด้วยครับ ไปไหน ขอให้พกปากกาสมุดกระดาษ ถ้าสมัยนี้ ก็ใช้โทรศัพท์ัอัดเสียงได้เลยครับ)
    ท่านใดที่เคยเรียนจำได้ก็ช่วยถ่ายทอด เป็นธรรม ทาน แก่ชนรุ่นหลังด้วยก็ดีครับ ท่านอาจารย์บอกว่าสูดลมหายใจเข้าแล้วกลั้นลมหายใจไว้ ในขณะที่กลั้นลมหายใจก็ท่องพระคาถาไปจะกี่จบก็แล้วแต่ จนกลั้นลมหายใจไม่ไหวปล่อยลมหายใจ ออกมา นี้นับเป็น หนึ่งคาบ( ผมเพิ่งถึงบางอ้อ ที่เคยอ่านว่าท่องพระคาถาต่างๆ พระคาถาบทนี้ ท่อง หนึ่งคาบบ้าง สองคาบบ้าง สามคาบบ้าง ฯคาบแปลว่าอะไร สมัยยังไม่รู้ก็ท่องพระคาถา เรียกว่าเป็นจบ หนึ่งจบสองจบสามจบบ้างฯ เพิ่งเข้าใจและรู้ ตอนมาเรียนกับท่าน อาจารย์ พันเอก ชม สุคนธรัตน์ นี้เอง) ความรู้นี้ถ้าเกิดประโยชน์ กับผู้ใฝ่รู้ ขอความดีบุญกุศลทั้งหลาย ในจักรวาลมอบแด่ท่านอาจารย์พันเอก ชม สุคนธรัตน์ ขอดวงจิตวิญญาณท่านอาจารย์สู่วิมานสรวงสวรรค์ ด้วยเทอญ. สาธุ.

    หากแม้น การกระทำใดที่เกล้ากระผมลูกหลานได้ พลาดพลั้งด้วยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม ด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ขอดวงจิตวิญญาณอันบริสุทธิ์ของท่านอาจารย์ พันเอก ชม สุคนธรัตน์ ได้โปรดงดโทษล่วงเกินนั้น แก่ เกล้ากระผมด้วยเทอญ.
     
  18. อาโลกธรรม

    อาโลกธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +138
    ณ. ปัจจุบัน ผมได้ ฝึกอารมณ์จิตกำหนดลมหายใจ เข้าออก อาปานนสติ พยายามทำทุกขณะจิต และพยายาม ฝึกกสิณสิบ ตามหนังสือ คัมภีร์พระวิสุทธิมรรค ตามคำเทศน์ ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี เสียงเทศน์มีในเวปนี้ละครับ พยายามฟังบ่อยๆ ให้ซึมลึกเข้าไปในสมองและจิตวิญญาณ เดี๋ยวก็รู้ เกิดปัญญา เหมือนอ่านหนังสือครั้งเดียว ไม่เข้าใจ ถ้าอ่านบ่อยๆ ก็เข้าใจไปเอง ทุกท่านก็คงเคยเป็น

    คำภาวนานั้น จะเป็นคำไหนก็ได้ ที่เราศรัทธา พุทธ โธ , อาโลโก,อาโลกสิณัง, ฉันทะ วิริยะ หายใจเข้า, จิตตะ วิมังสา หายใจออก กำหนดรู้ลมกระทบสามฐานมีในคำเทศน์ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ หรือจะภาวนา โดยใช้คำภาวนาทั้งสามก็ได้ หายใจเข้ากำหนดรู้ลมกระทบฐานพร้อม

    ทั้งคำภาวนาเช่น พุทธ กับ อาโลโก(อาโลโกกำหนดเห็นดวงภาพแสงสว่าง วงกลมเป็นปริมณฑล)ฉันทะ วิริยะ กำหนดคำภาวนาทั้งสามพร้อมๆกันให้ได้เสมอลมหายใจเข้า ส่วนหายใจออกก็ภาวนาทั้งสามคำพร้อมกัน หายใจออก โธ ,อาโลโก(อาโลโกกำหนดเห็นดวงกสิณภาพแสงสว่าง วงกลมเป็นปริมณฑล, จิตตะ วิมังสา เพื่อให้จิตไม่ฟุ้งซ่านแส่ส่ายไปที่อื่น อันนี้ เป็นการฝึกของกระผม ท่านใดเห็นต่างก็ขอได้โปรดอย่าปรามาส กันเลย นะครับ จุดหมายปลายทางทุกท่านที่ปฏิบัติล้วนปราถนาความหลุดพ้น ตามรอยบาท พระพุทธองค์ ตามรอยครูบาอาจารย์เจ้า ทั้งนั้น

    พระอรหันต์มีตั้งสี่แบบ สุขขวิปัสโก เตวิชโช ฉฬภิญโญ ปฏิสัมภิทัปปัตโต บารมีความเพียรแต่ละท่านไม่เหมือนกัน แล้วแต่ทางจริตของแต่ละท่านเลือกปฏิบัติเอาเองครับ ข้อความทั้งหมดเป็นข้อคิดเห็นเฉพาะบุคคล ผิดพลาดประการใด โปรดงดโทษ อโหสิกรรม แก่กระผม ด้วย เทอญ. ขออนุโมทนา

    พระกรรมฐาน - สมาธิ - Buddhism Audio พระกรรมฐาน - สมาธิ - Buddhism Audio
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤศจิกายน 2012
  19. unjung

    unjung Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +44
    เข้าไปอ่านหนังสือบางเล่มได้ที่Chom Sukantarat | Facebook
    แต่ถ้าสนใจเรียน มีศิษย์ท่านคนหนึ่งเปิดสอนอยู่
    ศิษย์พ่อชำนาญ วงษ์ไทย | Facebook
     
  20. unjung

    unjung Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +44
    ฝึกแล้วจิตเบาจิตเป็นสมาธิได้ง่ายครับ ไม่จำเป็นต้องนั่งสมาธิ อยู่ที่ไหนนั่งว่างๆผมลองทำรู้สึกว่าจิตสงบ สบาย มีสมาธิขึ้นกว่าเมื่อก่อนที่ยังไม่รู้วิธีนี้ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...