>>> อวดรู้ (รู้แล้วได้อะไร) <<<

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย nouk, 19 กรกฎาคม 2012.

  1. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    เรื่องการปฏิบัติน้จึงสำคัญมาก ดูผู้รู้นี่แหละ ถ้ามันคิดชัง ทำไมถึงชัง ถ้ามันรัก ทำไมถึงรัก จะเป็นจิตหรือเจตสิกก็ไม่รู้ จึ้เข้าตรงนี้ จึงแก้เรื่องที่มันรักหรือชังนั่น ให้หายออกจากใจได้ จะเป็นอะไรก็ตาม ถ้าทำจิตให้หยุดรักหรือหยุดชังได้ จิตก็พ้นจากทุกข์แล้ว จะเป็นอะไรก็ช่าง มันสบายแล้ว ไม่มีอะไร มันก็หยุด

    เมื่อ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เกิดขึ้นมาบ่อยๆ ได้พิจารณาบ่อยๆ ด้วยอาการที่เราตั้งใจมิได้เผลอ จึงรู้อาการของสิ่งเหล่านี้ว่า มันเกิดตามความเป็นจริงของมัน เมื่อรู้เรื่อยๆ ไป ก็เกิดปัญญา เมื่อรู้ตามความเป็นจริง ตามสภาวะของมัน สัญญาจะหลุด เลยกลายเป็นตัวปัญญา จึงเป็นศีล สมาธิ ปัญญา รวมเป็นอันเดียวกัน

    ถ้าปัญญากล้าขึ้น ก็อบรมสมาธิให้มั่นขึ้นไป เมื่อสมาธิมั่นขึ้นไป ศีลก็มั่นก็สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เมื่อศีลสมบูรณ์ขึ้น สมาธิก็กล้าขึ้นอีก เมื่อสมาธิกล้าขึ้น ปัญญาก็กล้ายิ่งขึ้น สามอย่างนี้เป็นไวพจน์ซึ่งกันและกัน

    ต้นกะบกต้นนี้ใบเป็นอย่างไร หยิบมาดูใบเดียวเท่านั้นก็เข้าใจได้แล้ว มันมีสักหมื่นใบก็ช่างมัน ใบกะบกเป็นอย่างนี้ ดูใบเดียวเท่านี้ ใบอื่นก็เหมือนกันหมด ถ้าจะดูลำต้นกะบกต้นอื่น ดูต้นเดียวก็จะรู้ได้หมด ดูต้นเดียวเท่านั้น ต้นอื่นก็เหมือนกัน ถึงมันจะมีแสนต้นก็ตาม เข้าใจต้นเดียวเท่านั้นก็พอแล้ว

    ศีลก็ดี สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดี สิ่งทั้งสามประการนี้ท่านเรียกว่ามรรค อันมรรคนี้ยังมิใช่ศาสนา อีกซ้ำยังไม่ใช่สิ่งที่พระศาสดาต้องการอย่างแท้จริง แต่เป็นหนทางที่จะดำเนินเข้าไป เหมือนที่ท่านมาจากกรุงเทพฯ จะมาวัดหนองป่าพง ท่านคงไม่ต้องการหนทาง ท่านต้องการถึงวัดต่างหาก แต่หนทางเป็นสิ่งจำเป็นแก่ท่านที่จะต้องมา

    ฉะนั้น ถนนที่ท่านมานั้น มันไม่ใช่วัด มันเป็นเพียงถนนมาวัดเท่านั้น แต่ก็จำเป็นต้องมาตามถนน จึงจะมาถึงวัดได้ ศีลก็ดี สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดี ถ้าจะพูดว่านอกศาสนา แต่ก็เป็นถนนเข้าไปถึงศาสนา

    เมื่อคราวปฏิบัตินั้น มีความสงสัยอยู่ว่า สมาธิเป็นอย่างไรหนอ คิดหาไป นั่งสมาธิไป จิตยิ่งฟุ้ง ยิ่งคิดมาก เวลาไม่นั่งค่อยยังชั่ว แหม มันยากจริงๆ ถึงยากก็ทำไม่หยุด ทำอยู่อย่างนั้น ถ้าอยู่เฉยๆ แล้วสบาย เมื่อตั้งใจว่าจะทำให้จิตเป็นหนึ่งยิ่งเอาใหญ่ มันยังไงกัน ทำไมจึงเป็นอย่างนี้

    ต่อมาจึงคิดได้ว่า มันคงเหมือนลมหายใจเรานี้กระมัง ถ้าว่าจะตั้งให้หายใจน้อย หายใจใหญ่ หรือให้มันพอดี ดูมันยากมาก แต่เวลาเดินอยู่ ไม่รู้ว่าหายใจเข้าออกตอนไหน ในเวลานั้นดูมันสบายแท้ จึงรู้เรื่องว่า อ้อ อาจจะเป็นอย่างนั้นก็ได้ เวลาเราเดินไปตามปกติมิได้กำหนดลมหายใจ มีใครเคยเป็นทุกข์ ถึงลมหายใจไหม? ไม่เคย มันสบายจริงๆ
    ถ้าจะไปนั่งตั้งใจเอาให้มันสงบ มันก็เลยเป็นอุปทานยึดใส่ ตั้งใส่ หายใจสั้นๆ ยาวๆ เลยไม่เป็นอันกำหนด จิตเกิดมีทุกข์ยิ่งกว่าเก่า เพราะอะไร? เพราะความตั้งใจของเรากลายเป็นอุปทานเข้าไปยึด เลยไม่รู้เรื่อง มันลำบาก เพราะว่าเราเอาความอยากเข้าไปด้วย

    สมาธิไม่ต้องเท่าไหร่ ดูอาการภายนอกเลย ดูเหตุผล พิจารณาเรื่อยไป เราเอาความสงบนี้มาพิจารณา รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ที่มากระทบ แม้จะดี จะชั่ว สุข ทุกข์ ทั้งหลายทั้งปวง

    เหมือนกับคนขึ้นต้นมะม่วงแล้วเขย่าลูกหล่นลงมา เราอยู่ใต้ต้นมะม่วงคอยเก็บเอา ลูกไหนเน่าเราไม่เอา เอาแต่ลูกที่ดีๆ ไม่เปลืองแรง เพราะว่าไม่ได้ขึ้นต้นมะม่วง คอยเก็บอยู่ข้างล่างเท่านั้น

    ข้อนี้หมายความว่าอย่างไร อารมณ์ทั้งหลายทั้งปวงเกิดมา เอาความรู้มาให้เราหมด มิได้ไปปรุงแต่งมัน ลาภ ยศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์ มันมาเอง เรามีความสงบ มีปัญญา สนุกเฟ้น สนุกเลือกเอา ใครจะว่าดี ว่าชั่ว ว่าร้าย ว่าโน่นว่านี่ ต่างๆ นานา ล้วนแล้วแต่เป็นกำไรของเราหมด เพราะมีคนเขย่าให้มะม่วงหล่นลงมา เราก็สนุกเก็บเอา ไม่กลัว จะกลัวทำไม มีคนขึ้นเขย่าลงมาให้เรา ลาภก็ดี ยศก็ดี สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์ ทั้งหลายทั้งปวง เหล่านี้เปรียบเหมือนมะม่วงหล่นลงมาหาเรา เราเอาความสงบมาพิจารณาเก็บเอา เรารู้จักแล้ว ลูกไหนดี ลูกไหนเน่า เมื่อเริ่มพิจารณาสิ่งเหล่านี้ อาการที่พิจารณาออกจากความสงบเหล่านี้ เรียกว่าปัญญา เป็นวิปัสสนา ไม่ได้แต่งมัน ถ้ามีปัญญา มันเป็นของมันเอง ไม่ต้องไปตั้งชื่อมัน

    ถ้ามันรู้แจ้งน้อย ก็เรียกว่า วิปัสสนาน้อย ถ้ามันรู้อีกขนาดหนึ่ง ก็เรียกว่า วิปัสสนากลาง ถ้ามันรู้ตามความเป็นจริง ก็เรียกว่า วิปัสสนาถึงที่สุด
     
  2. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    เมื่อเราทำไปถึงขั้นนี้แล้ว เราก็ปล่อยตามบุญวาสนาบารมีของเรา แต่เราไม่หยุดทำความเพียร จะช้าหรือเร็ว เราบังคับไม่ได้ เหมือนปลูกต้นไม้ มันจะรู้จักของมัน มันอยากเร็วก็รู้ว่ามันหลง มันอยากช้าก็รู้ว่ามันหลง เมื่อทำแล้วมันจึงเกิดผลขึ้นมา

    เหมือนเราปลูกต้นไม้ เช่น ปลูกพริกต้นนี้ หน้าที่ของเราคือขุดหลุมปลูก ให้น้ำ ให้ปุ๋ย ป้องกันแมลงให้มันเท่านั้น นี่เรื่องของเรา นี่เรื่องศัทธาของเรา ส่วนต้นพริกจะโตก็เป็นเรื่องของมัน ไม่ใช่เรื่องของเรา จะไปดึงให้มันยืดขึ้นมาก็ไม่ได้ ผิดเรื่อง เราต้องให้น้ำ เอาปุ๋ยใส่ให้

    ถ้าเราปฏิบัติอย่างนี้ก็จะสบาย จะถึงชาตินี้ก็ช่าง ถึงชาติหน้าก็ตาม เรามีศรัทธาอย่างนี้แล้ว มีความรู้สึกแน่นอนแล้วอย่างนี้ จะเร็วหรือช้านั้น เป็นเรื่องของบุญวาสนาบารมีของเรา ทีนี้ก็รู้สึกสบาย เหมือนขับรถม้า ก็มิได้เอารถไปก่อนม้า แต่ก่อนมันเอารถไปก่อนม้า ถ้าไถนาก็เดินก่อนควาย หมายความว่าใจมันเร็วมาก ร้อนมาก ทีนี้ไม่เป็นอย่างนั้น ไม่เดินก่อน ต้องเดินตามหลังควาย

    ถ้าเอาน้ำให้กิน เอาปุ๋ยให้กิน กินไปเถอะ มดปลวกมาข้าจะไล่ให้เจ้า เท่านั้แหละต้นพริกต้นนี้มันก็จะงามขึ้นเอง เมื่อมันงามแล้วเราจะบังคับว่า แกต้องเป็นดอกเดี๋ยวนี้ ไม่ใช่เรื่องของเรา อย่าทำ เราจะเป็นทุกข์เปล่าๆ มันจะเป็นของมันเอง เมื่อมันเป็นดอกแล้ว เราจะให้เป็นเม็ดเดี๋ยวนี้ อย่าไปบังคับมัน ทุกข์จริงๆ นา ทุกข์จริงๆ เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว เรารู้จักหน้าที่ของเรา ของเขา หน้าที่ของใครของมัน จิตก็จะรู้หน้าที่การงาน ถ้าจินไม่รู้หน้าที่การงาน ก็จะไปบังคับต้นพริกให้มีผลในวันนั้นเอง ให้มันโตเป็นดอกเป็นผลขึ้นในวันนั้น นั่นล้วนแต่เป็นตัวสมุทัย เหตุให้ทุกข์เกิดขึ้นมาทั้งนั้น ถ้ารู้อย่างนี้ คิดอย่างนี้ รู้ว่ามันหลง มันผิด รู้อย่างนี้แล้วก็ปล่อย ให้เป็นเรื่องบุญวาสนาบารมีต่อไป

    เราทำของเราไป ไม่ต้องกลัวว่าจะนาน ร้อยชาติ พันชาติก็ช่างมัน จะชาติไหนก็ตาม ปฏิบัติสบายๆ นี่แหละ

    พวกญาติโยมถึงปฏิบัติอยู่บ้าน ก็พยายามให้มีศีล 5 กาย วาจา ของเราพยามให้เรียบร้อย พยายามดีๆ เถอะ ค่อยทำค่อยไป

    การทำสมถะนี่ อย่านึกว่าไปทำครั้งหนึ่งสองครั้งแล้ว มันไม่สงบก็เลยหยุด ยังไม่ถูก ต้องทำนานอยู่นะ ทำไมถึงนาน คิดดูสิเราปล่อยมากี่ปี เราไม่ได้ทำ มันว่าไปทางโน้นก็วิ่งตามมัน มันว่าไปทางนี้ก็วิ่งตามมัน ทีนี้จะหยุดให้มันอยู่เท่านี้ เดือนสองเดือนจะให้มันนิ่ง มันก็ยังไม่พอ คิดดูเถิด

    การปฏิบัตินั้นให้พยายามทำ มันจะสงบหรือไม่สงบก็ช่าง ปล่อยไว้ก่อน เราเรื่องเราปฏิบัติเป็นเรื่องแรก เอาเรื่องเราได้สร้างเหตุนี้แหละ ถ้าทำแล้ว ผลจะเป็นอย่างไรก็ได้ เราได้ทำแล้ว อย่ากลัวว่าจะไม่ได้ผล มันไม่สงบ เราได้ทำแล้ว

    ถ้าจะนั่งสมาธิ อย่าคิดมาก ถ้าอยากให้มันเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ หยุดดีกว่า เวลานั่งสมาธิเราตั้งใจว่า "เอาละ จะเอาให้มันแน่ๆ ดูที" เปล่า! วันนั้นไม่ได้เรื่องเลย แต่คนเราชอบทำอย่างนั้น บางคืนพอเริ่มนั่งก็นึกว่า เอาละวันนี้อย่างน้อยตีหนึ่งจึงจะลุก คิดอย่างนี้ไม่นานหรอก เวทนามันรุมเอาเกือบตาย

    มันจะดีเวลานั่งโดยไม่ต้องกะต้องเกณฑ์ ไม่มีที่จุดที่หมาย ทุ่มหนึ่ง สองทุ่ม สามทุ่ม ก็ช่างมัน นั่งไปเรื่อยๆ วางเฉยไว้ อย่าบังคับมัน อย่าไปหมายมั่น อย่าไปบังคับหัวใจว่า จะเอาให้มันแน่ๆ มันก็ยิ่งไม่แน่ ให้เราวางใจสบายๆ หายใจก็ให้พอดี อย่าเอาสั้น เอายาว อย่าไปแต่งมัน กายก็ให้สบาย ทำเรื่อยไป

    มันจะถามเราว่า จะเอากี่ทุ่ม จะเอานานเท่าไหร่ มันมาถามเรื่อย เราต้องตวาดมัน "เฮ้ย อย่ามายุ่ง" ต้องปราบมันไว้เสมอ เพราะพวกนี้มีแต่กิเลส มากวนทั้งนั้น อย่าเอาใจใส่มัน ต้องตัดมันไว้อย่างนี้ แล้วเราก็นั่งเรื่อยไป ตามเรื่องของเรา วางใจสบาย ก็เลยสงบ
     
  3. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ถ้าเราทำภาวนา อย่าให้กิเลตัณหามันรู้เงื่อนรู้ปลายได้

    จิตของเราก็เหมือนควาย อารมณ์คือต้นข้าว ผู้รู้ก็เหมือนเจ้าของ ควายจะต้องกินต้นข้าว ต้นข้าวเป็นของที่ควายจะกิน เวลาเราไปเลี้ยงควาย ทำอย่างไร ปล่อยมันไป แต่เราพยายามดูมันอยู่ ถ้ามันเดินไปใกล้ต้นข้าว เราก็ตวาดมัน ควายได้ยินก็จะถอยออก แต่เราอย่าเผลอนะ ถ้ามันดื้อไม่ฟังเสียง ก็เอาไม้ค้อนฟาดมัน มันจะได้กินต้นข้าวหรือ แต่เราอย่าไปนอนหลับกลางวันก็แล้วกัน ถ้าขืนนอนหลับ ต้นข้าวหมดแน่ๆ

    เราการปฏิบัติก็เช่นกัน เมื่อเราดูจิตของเราอยู่ ผู้รู้ดูจิตเจ้าของ ผู้ใดที่ตามดูจิต ผู้นั้นจักพ้นจากบ่วงมาร

    จิตอันหนึ่ง ผู้รู้อันหนึ่ง รู้ออกมาจากจิตนั่นแหละ ผู้รู้จะตามดูจิต ผู้รู้นี้จะเกิดปัญญา จิตนั้นคือความนึกคิด ถ้าพบอารมณ์นั้นก็แวะไป ถ้าพบอารมณ์อีกมันก็แวะไปอีก มันเข้าจับทันที เหมือนกับควายนั่นแหละ

    เมื่อมันเข้าจับ ผู้รู้ต้องสอนต้องพิจารณา จนมันทิ้ง อย่างนี้จึงสงบได้ จับอะไรมาก็มีแต่ของไม่น่าเอา มันก็หยุดเท่านั้น มันก็ขี้เกียจเหมือนกัน เพราะมีแต่ถูกด่าถูกว่าเสมอ ทรมานมันเข้า ทรมานเข้าไปถึงจิต หัดมันอยู่อย่างนี้แหละ

    เขาว่าเราทำผิด แต่เราไม่ผิดดังเขาว่า เขาพูดไม่ถูก ก็ไม่รู้จะไปโกรธเขาทำไม เพราะเขาพูดไม่ถูกตามความจริง ถ้าเราผิดดังเขาว่า ก็ถูกดังเขาว่าแล้ว ไม่รู้จะไปโกรธเขาทำไมอีก ถ้าคิดได้ดังนี้ รู้สึกว่าสบายจริงๆ มันเลยไม่มีอะไรผิด ล้วนแต่เป็นธรรมทั้งหมด

    อาตมา (หลวงพ่อชา) ปฏิบัติอย่างนี้ ถ้าปฏิบัติอย่างนี้มันลัดตรงจริงๆ เราจะไม่เอาใจใส่ทั้งความสุข และความทุกข์ จะวางมัน สัมมาปฏิปทา ต้องเดินสายกลาง สงบจากความสุข ความทุกข์ ความดีใจ เสียใจ นี้คือลักษณะปฏิบัติ ถ้าใจเราเป็นอย่างนี้แล้ว หยุดได้ หยุดถามได้ ไม่ต้องไปถามใคร

    ต้องเป็นผู้ละ พูดจาน้อย มักน้อย เป็นคนละทิฏฐิมานะทั้งหลายทั้งปวง คนพูดผิดก็ฟังได้ คนพูดถูกก็ฟังได้หมด

    ดูจิตดูใจเรา คล้ายๆ กับว่า จิตมันวางเป็นปกติ ถ้ามันเคลื่อนออกจากปกติ เช่น มันคิดมันนึกต่างๆ นั่นเป็นสังขาร สังขารนี้มันจะปรุงเราต่อไป ระวังให้ดี ให้มันรู้ไว้ ถ้ามันเคลื่อนออกจากปกติแล้ว ไม่เป็นสัมมาปฏิปทาหรอก

    อาตมาเห็นว่าจิตนี้เหมือนกับจุดๆ เดียวเท่านั้น อันที่เรียกว่าเจตสิกนั่นเป็นแขก แขกมาพักอยู่ตรงนี้ คนนั้นมาเยี่ยมเราบ้าง คนโน้นมาเยี่ยมเราบ้าง มาพักอยู่ตรงนี้ เราจึงเรียกพวกนั้น ที่ออกจากจิตของเรามา เป็นเจตสิกหมด

    ทีนี้เรามาทำจิตของเราให้เป็นผู้รู้ ตื่นอยู่ คอยรักษาจิตของเราอยู่ ถ้าแขกมาเมื่อไหร่ โบกมือห้าม มันจะมานั่งที่ไหน มีที่นั่งที่เดียวเท่านั้น เราก็พยายามรับแขกอยู่ตรงนี้ตลอดวัน

    พูดถึงอาคันตุกะ แขกที่จรมาปรุงมาแต่งต่างๆ นานา ให้เราเป็นไปตามเรื่องของมัน อาการของจิตที่เป็นไปตามเรื่องของมัน นี่แหละเรียกว่า เจตสิก มันจะเป็นอะไร จะไปไหนก็ช่างมัน ให้เรารู้จักอาคันตุกะที่มาพัก ที่รักแขกมีเก้าอี้ตัวเดียวเท่านั้นเอง เราเอาผู้หนึ่งไปนั่งไว้แล้ว มันก็ไม่มีที่นั่ง มันมาที่นี่ มันก็จะมาพูดกับเรา ครั้งนี้ไม่ได้นั่ง ครั้งต่อไปก็จะมาอีก มาเมื่อไหร่ก็พบแต่ผู้นี้นั่งอยู่ ไม่หนีสักที มันจะทนมากี่ครั้ง

    ไฟอยู่บ้านเขา ไปจับมันก็ร้อน ไฟอยู่บ้านเรา ไปจับมันก็ร้อนเหมือนกัน

    ถาม ผมได้พากเพียรอย่างหนักในการปฏิบัติกรรมฐาน แต่ยังไม่มีที่ท่าว่าจะได้ผลคืบหน้าเลย

    ตอบ เรื่องนี้สำคัญมาก อย่าพยายามที่จะเอาอะไรๆ ในการปฏิบัติ ความอย่างแรงกล้าที่จะหลุดพ้นหรือรู้แจ้งนั้นจะเป็นความอยากที่ขวางกั้นท่านก็ได้ จะเร่งความเพียรทั่งกลางคืนกลางวันก็ได้ แต่ถ้าการฝึกปฏิบัตินั้นยังประกอบด้วยความที่อยากจะบรรลุเห็นแจ้งแล้ว ท่านจะพบความสงบไม่ได้เลย แรงอยากจะเป็นเหตุให้เกิดความสงสัยและความกระวนกระวายใจ ไม่ว่าท่านจะฝึกปฏิบัตินานเท่าใดหรือนานสักเพียงใด ปัญญา (ที่แท้) จะไม่เกิดขึ้นจากความอยากนั้น ดังนั้นจงเพียงแต่ละความอยากเสีย จงเฝ้าดูจิตและกายอย่างมีสติแต่อย่ามุ่งหวังที่จะบรรลุถึงอะไร อย่ายึดมั่นถือมั่นแม้ในเรื่องการฝึกปฏิบัติหรือในการรู้แจ้ง
     
  4. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    เหตุที่พระพุทธองค์ทรงห้าม "สงฆ์สาวกอ้างสำเร็จอรหันต์?

    แม้ชาวพุทธทั่ว ๆ ไป จะมีศรัทธาปรารถนาให้พระพุทธศาสนา ยืนยงคงอยู่เป็นประโยชน์ต่อโลกไปอีกนาน ๆ แต่ก็มีชาวพุทธจำนวนไม่น้อยที่ศรัทธาความเชื่อมั่นไม่ได้ตั้งอยู่บนรากฐานของปัญญา จึงทำให้ความเชื่อถูกหมอกควันของมิจฉาทิฐิปรุงแต่งให้หันเหไปในแนวทางที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาได้ เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายหลายอย่างตามมา อย่างที่เป็นอยู่ในยุคปัจจุบัน

    ในกรณีที่มีการพูดถึงเรื่องของ การอวดอุตริมนุสธรรม ของพระภิกษุสงฆ์บางรูปบางพวก จนเป็นเหตุทำให้เกิดกระแสมากมายหลายมุมมอง ล้วนแล้วแต่เป็นผลกระทบที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แก่วงการคณะสงฆ์ สร้างความเศร้าหมองให้กับพระพุทธศาสนา และดูเหมือนว่า สิ่งเหล่านี้ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง

    ซ้ำยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อประโยชน์แก่กลุ่มคนบางกลุ่ม หรือเอื้อประโยชน์อันใดแก่ใครก็ตาม แต่ถ้าสิ่งเหล่านี้เป็นการทำลายพระพุทธศาสนาก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง สมควรที่ชาวพุทธทุกคนจะร่วมกันหาทางระงับยับยั้งให้หยุดอยู่โดยเร็ว เพื่อไม่เป็นการเปิดโอกาสให้คนที่ไม่ประสงค์ดีต่อพระพุทธศาสนาเข้ามาทำลายได้...

    อุตริมนุสธรรม หมายถึง ธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์หรือธรรมของมนุษย์ผู้ยวดยิ่ง ได้แก่คุณวิเศษซึ่งมนุษย์ธรรมดาไม่สามารถมีหรือเป็นได้ มิใช่วิสัยของมนุษย์ทั่วไป แต่เป็นวิสัยของท่านผู้บรรลุธรรมขั้นสูงแล้ว ได้แก่ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรค และ ผล

    การที่มีพระภิกษุบางรูปบางกลุ่มออกมาแสดงตน หรือพูดให้ผู้อื่นเข้าใจว่า ตนได้ฌานชั้นนั้นชั้นนี้ ตนได้บรรลุวิโมกข์ ได้สมาธิสามารถเข้าสมาบัติได้ หรือได้สำเร็จมรรคสำเร็จผลอย่างนั้นอย่างนี้ เรียกว่า อวดอุตริมนุสธรรม

    ปัจจุบัน คำนี้ถูกนำมาใช้เรียกผู้ที่ชอบอวดอ้างตนเหนือกว่าคนอื่น หรือทำอะไรที่แผลง ๆ ที่คนทั่วไปเขาไม่ทำกันว่า อวดอุตริ หรือ อุตริ เฉย ๆ เช่น ใช้ว่า อย่าอุตริไปทำเข้า จะเสียแรงเปล่า (หนังสือคำวัด พระธรรมกิตติวงศ์ ทองดี สุรเตโช)

    มูลเหตุเกิดการอวดอุตริมนุสธรรม ความจริงการอวดอ้างคุณวิเศษเพื่อลาภเพื่อชื่อเสียงหรือเรียกศรัทธาจากคนทั่วไปเพียงเพื่อการดำรงชีวิติอยู่อย่างไม่ลำบาก ก็เคยมีมาแต่ครั้งโบราณแล้ว ใช่ว่าเพิ่งจะมาเกิดมีขึ้นในยุคปัจจุบันนี้เท่านั้น
     
  5. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ในสมัยที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังดำรงพระชนม์ชีพอยู่ พระองค์ประทับอยู่ที่กูฎาคารศาลา ป่ามหาวัน เมืองเวสาลี ภิกษุจำนวนมากซึ่งอยู่อาศัยจำพรรษาที่ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาอย่างมีความสุข ต่อมาเกิดภัยพิบัติแห้งแล้ง ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ทำให้เกิดข้าวยากหมากแพง ประชาชนที่อยู่อาศัยในถิ่นนั้นเดือดร้อน อดอยากแทบไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เลย อย่าว่าแต่จะเจียดข้าวปลาอาหารมาเพื่อทำบุญทำทานแก่พระสงฆ์เลย แม้แต่ข้าวจะกินประทังชีวิตยังแทบไม่พอ

    ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้พระภิกษุสงฆ์เหล่านั้นได้รับความลำบากยิ่งนัก และเกิดความคิดขึ้นเพื่อหาทางเอาตัวรอด พร้อมทั้งปรึกษาหารือกันว่า ทำอย่างไร พวกเราถึงจะไม่อดอยากไม่ลำบากอย่างที่เป็นอยู่ขณะนี้?

    บางพวกก็เสนอว่า ให้ทำงานช่วยชาวบ้านหรือประกอบอาชีพเหมือนชาวบ้าน บ้างก็ว่าช่วยกันรับอาสาเมื่อชาวบ้านมีความจำเป็นและร้องขอความช่วยเหลือ อีกพวกก็บอกด้วยความมั่นใจว่า ทั้งสองอย่างนั้นไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม

    ทำให้เกิดความเสื่อมเสียแก่วงการพระสงฆ์ได้ ทางที่ดีสู้อวดอุตริมนุสธรรมของกันและกันให้พวกชาวบ้านได้ยินจะดีกว่า

    ในที่สุด ก็ได้ข้อสรุปเป็นแนวความคิดเดียวกันตามอย่างสุดท้าย

    จากนั้นพวกเธอก็ได้พากันกล่าวอวดอ้างคุณวิเศษของกันและกันต่าง ๆ เช่นว่า พระภิกษุรูปนั้น ได้ฌานชั้นนั้นชั้นนี้ พระภิกษุรูปนี้ได้สมาบัติชั้นนั้น ชั้นนี้ ทำให้ชาวบ้านต่างพากันแตกตื่นตื้นตันใจ ได้มีโอกาสพบเห็น และได้ทำบุญกับพระที่มีศีลมีธรรมอันงดงามเช่นนี้ ถือว่า เป็นลาภของพวกเราเสียเหลือเกิน จึงพากันแห่เข้าไปหาเพื่อจะได้ใกล้ชิด อย่างน้อยขอให้ได้เห็นได้กราบได้ไหว้หรือได้ถวายทานก็ถือว่าเป็นโชควาสนาของพวกเขาแล้ว แม้ว่าตัวเองจะอดอยาก พ่อแม่ครอบครัว แทบไม่มีกินก็ยอม เพราะพวกเขาถือว่าจะได้บุญมาก ส่งผลทำให้ภิกษุเหล่านั้นอยู่จำพรรษาที่นั่นอย่างมีความสุข ทั้งที่เป็นถิ่นทุรกันดารซึ่งชาวบ้านกำลังตกระกำลำบาก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กรกฎาคม 2013
  6. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    หลังจากออกพรรษาแล้ว พวกเธอก็ได้เดินทางเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ ที่ประทับ ได้รับการต้อนรับจากรพระพุทธองค์เป็นอย่างดี จากนั้นพระพุทธองค์ก็มีพระปฏิสัณฐานและมีพระดำรัสว่า ภิกษุทั้งหลายพวกเธอพอดำรงค์ชีวิตอยู่ได้หรือไม่ ?

    ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า พวกข้าพระองค์สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่ลำบากเลย

    พระพุทธองค์ดำรัสถามต่อว่า พวกเธอดำรงค์ชีวิตอยู่ได้ด้วยวิธีใด?

    พวกเธอจึงได้กราบทูลเรื่องราวที่เกิดขึ้นทั้งหมดให้พระพุทธองค์ได้ทรงทราบ แต่กลับถูกพระพุทธองค์ตำหนิว่าเป็นการดำรงชีวิตที่ไม่ถูกต้องไม่เหมาะสม แก่ความเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนามีใจความว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย ในโลกนี้มีมหาโจรอยู่ ๕ จำพวก คือ โจรบางพวก พากันคิดว่า ทำอย่างไรหนอพวกเราถึงจะมีบริวารมาก ๆ มีพวกมาก ๆ เที่ยวทำความผิดเข่นฆ่าปล้นจี้ชาวบ้าน ทำร้ายเผาผลาญบ้านเรือนทรัพย์สินของชาวบ้านให้เสียหาย ในที่สุดพวกเขาก็ทำได้อย่างที่คิดไว้ทุกอย่าง"

    เปรียบได้กับพระภิกษุใจบาปบางพวกที่คิดว่า "ทำอย่างไรหนอ พวกเราถึงจะมีพรรคพวก มีบริวารมาก ๆ เที่ยวไปตามหมู่บ้านต่างๆ หาวิธีการทำให้ชาวบ้านเกิดศรัทธาเลื่อมใส เพื่อจะได้ปัจจัยมากๆ ดำรงชีวิตอยู่อย่างสบาย และต่อมาพวกเขาก็ทำได้อย่างที่คิดเอาไว้" พระภิกษุเหล่านี้ถือว่า เป็นมหาโจรพวกที่หนึ่ง

    พระภิกษุใจบาปบางพวก ได้รับการศึกษาพระธรรมวินัยมาอย่างดีแล้ว แทนที่จะนำหลักธรรมที่ได้เรียนรู้มาไปใช้เป็นแนวทางประพฤติดีปฏิบัติชอบเพื่อยกตนให้พ้นจากทุกข์ในวัฏสงสาร แต่กลับเที่ยวยกตนว่าได้รู้เอง เข้าใจเอง ไม่ได้เรียนรู้จากใคร ไม่มีผู้ใดเสี้ยมสอนตน พระภิกษุใจบาปพวกนี้ถือว่า เป็นมหาโจรพวกที่สอง

    พระภิกษุใจบาปบางพวก จ้องจับผิดเพื่อกำจัดภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์มีศีลมีธรรมดีงาม ด้วยอาบัติปาราชิกอันหามูลมิได้ ภิกษุใจบาปพวกนี้ถือว่า เป็นมหาโจรพวกที่สาม

    พระภิกษุใจบาปบางพวก ต้องการเอาใจประจบสอพลอชาวบ้าน จึงจัดของที่เป็นครุภัณฑ์ของสงฆ์บางอย่าง ซึ่งไม่ควรนำไปใช้อย่างอื่น โดยนำไปมอบให้ชาวบ้านที่สนิทสนมกัน หรือผู้มีฐานะดี เพื่อจะให้เขารักหรือได้ลาภสักการะ ภิกษุใจบาปพวกนี้ถือเป็นมหาโจรพวกที่สี่

    พระภิกษุใจบาปเหล่านั้น พากันกล่าวอุตริมนุสธรรมอันไม่มีอยู่ในตน หรือไม่มีอยู่ในภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เพื่อให้ได้มาซึ่งลาภสักการะจากชาวบ้านที่หลงมาศรัทธาเลื่อมใสด้วยความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเช่นนั้นจริง ๆ พวกเธอแสดงอาการอยากได้ไม่มีขอบเขตออกมาอย่างชัดเจน ไม่ต่างจากพวกโจรพวกขโมยที่เที่ยวลักของชาวบ้านเขากิน ภิกษุใจบาปเหล่านี้ ถือเป็นมหาโจรพวกที่ห้า
     
  7. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ลักษณะของพฤติกรรมโจรของภิกษุใจบาปเหล่านั้น คล้ายกับตั้งใจประพฤติตัวเป็นอย่างหนึ่ง แต่มีเจตนาให้ชาวบ้านเขาเข้าใจเป็นอีกอย่างหนึ่ง เพื่อลวงให้เขาเชื่อแล้วหลอกเอาปัจจัยมาบริโภคเอง กริยาอาการเช่นนั้นของภิกษุเหล่านั้น ผู้ไม่มีศีลไม่มีธรรมไม่สำรวมกลืนกินก้อนข้าวของชาวบ้าน เหมือนกลืนกินก้อนเหล็กที่ถูกไฟเผาจนแดงร้อนแรงยิ่งให้ล่วงล้ำเลยลำคอลงไปอย่างทรมาน

    พระภิกษุเหล่านั้น นอกจากมีฐานะไม่ต่างจากมหาโจร ๕ จำพวกดังกล่าวแล้ว ยังไม่สมควรจะกล่าวอ้างว่าตนเป็น "ปาปมุตติ" พ้นจากบาป พ้นจากอาบัติ ทำความผิดอะไรก็ไม่เป็นบาป ไม่มีอาบัติติดตัว คงเป็นได้แค่คนตาบอดหลงทางเดิน เพลินลงหุบเหวคือ มิจฉาทิฐิ อย่างไม่ต้องสงสัย เพราะท่านผู้ที่จะได้ชื่อว่าเป็นปาปมุตติได้นั้น ก็คือพระอรหันต์ผู้ห่างไกลจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองไม่ยึดติดตัวตนได้อย่างเด็ดขาดแท้จริงเท่านั้น

    (อ.ธรรมจักร สิงห์ทอง : วิถีบุญ วิถีธรรม : พระเครื่อง : คมชัดลึก : วันศุกร์ที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๘)
    http://www.komchadluek.net/column/pra/2005/03/25/01.php
     
  8. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    พิจารณาไตรลักษณ์ : ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา

    พิจารณาไตรลักษณ์ : ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา
    วิธีเจริญวิปัสสนาเมื่อเจ็บไข้หรือเมื่อจะตาย พึงศึกษาธรรมไว้ในใจดังนี้ว่า


    อาตุระกายัสสะ เม สะโต เมื่อกายของเราอาดูรกระวนกระวายอยู่ด้วยทุกขเวทนา

    จิตตัง อะนาตุรัง ภะวิสสะติ จิตของเราจักไม่อาดูรเดือดร้อนไปตามกาย

    ภิทุรายัง กาโย กายนี้มันจักแตก

    วิราคะธัมมัง วิญาณัง วิญญาณจิตผู้รู้แจ้งนี้มันจักดับไป เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ช่างมันเถิด

    อนิจจา สังขารา เพราะสังขารคือร่างกาย จิตใจนี้มันไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วแตกดับไป เป็นของธรรมดาของมันอย่างนั้นเอง

    ตัง กุเตตถะ ลัพภา ความเที่ยงยั่งยืนอยู่นั้นจะได้มาแต่ไหน ในสังขารคือร่างกายจิตใจ เหล่านี้เล่า
     
  9. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    พิจารณาไตรลักษณ์ในขันธ์ห้า อายตนะหก ธาตุหก และนามรูป

    ที่มา: http://www.oknation.net/blog/print.php?id=420479

    อนึ่ง พึงเห็นจริงแจ้งชัดด้วยปัญญา ดังนี้ว่า

    ๑. เปล่า ไม่มีใครเกิด ไม่มีใครตาย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ขันธ์ห้า มันเกิด ขันธ์ห้า มันแตกไปต่างหาก ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ขันธ์ห้า ต่างหาก ช่างมันเถิด

    ๒. เปล่า ไม่มีใครเกิด ไม่มีใครตาย จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ อายตนะหก มันเกิดขึ้น อายตนะหก มันดับไปต่างหาก ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน อายตนะหก ต่างหาก ช่างมันเถิด

    ๓. เปล่า ไม่มีใครเกิด ไม่มีใครตาย ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ วิญญาณ ธาตุหก มันเกิดขึ้นต่างหาก ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ธาตุหก ต่างหาก ช่างมันเถิด

    ๔. เปล่า ไม่มีใครเกิด ไม่มีใครตาย นามรูป มันเกิดขึ้น นามดับรูปแตก ไปต่างหาก ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน นามรูป ต่างหาก ช่างมันเถิด
    อนึ่ง เมื่อเกิดก็ไม่ได้เอาอะไรมา เมื่อตายก็ไม่ได้เอาอะไรไป ข้าวของที่มีวิญญาณแลไม่มีวิญญาณหมดทั้งสิ้น เป็นของกลางสำหรับแผ่นดิน ไม่ใช่ของใคร ช่างมันเถิด เมื่อพิจารณาด้วยปัญญา เห็นจริงแจ้งชัดอย่างว่ามานี้แล้ว จิตก็ไม่อาดูรเดือดร้อนไปตามกายที่กระวนกระวายอยู่ด้วยทุกขเวทนา

    อนึ่ง ก็ไม่อาลัยพัวพันติดอยู่ในเข้าของเหล่านั้นหมดทั้งสิ้น ด้วยความเห็นจริงแจ้งชัดดังนี้
    .
    "เมื่อปฏิบัติทำใจได้อย่างนี้ ขณะหนึ่งครู่หนึ่งนั้นก็ดี ก็ได้ชื่อว่าดื่มกินซึ่งรสคือ พระนฤพาน เป็นธรรมที่ผู้ตายไม่มี เป็นอันได้ประสพพบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยน้ำใจ ในขณะหนึ่งนั้นครู่หนึ่งนั้น เพราะพระองค์ทรงตรัสไว้ว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราผู้ตถาคตดังนี้"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กรกฎาคม 2013
  10. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    อนึ่ง พึงพิจารณาด้วยปัญญา ให้เห็นจริงแจ้งชัดดังนี้ว่า

    รูปัง อะนิจจัง รูปเป็นของทรุดโทรมไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วแตกทำลายไป ดังฟองก้อนใหญ่ตั้งขึ้นแล้ว แตกละลายเป็นน้ำไป ฉะนั้น

    เวทนา อะนิจจา ความสบาย แลไม่สบาย แลเฉยๆ อยู่ที่วิญญาณรู้แจ้ง มันไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วดับไป ดังต่อมน้ำตั้งขึ้นใสๆ แล้วแตกไปโดยเร็ว ฉะนั้น

    สัญญา อะนิจจา ความสำคัญจำหมายไว้ มันไม่เที่ยง ปรากฏขึ้นแล้วหายไป ดังพยับแดดเข้าใกล้แล้ว หายไปหมดไม่ปรากฏ ฉะนั้น

    สังขารา อะนิจจา ความคิดเป็นเครื่องตกแต่งจิตที่เป็นบุญแลบาป มันไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วดับสูญไป ไม่มีแก่นสารอันใด ดังต้นกล้วยฉะนั้น

    วิญญาณัง อะนิจจัง จิตผู้รู้แจ้งอารมณ์ มันไม่เที่ยง เกิดขึ้น หลอกลวงให้สัตว์ลุ่มหลง ว่าของเรา ว่าเรา ว่าตัว ว่าตน แล้วดับไป ดังมายาหลอกลวงให้ลุ่มหลง เหมือนกะเล่นกล ฉะนั้น

    รูปัง อะนัตตา รูป เป็นของทรุดโทรม ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน

    เวทนา อะนัตตา สุขทุกข์อุเบกขาเฉยๆ ที่วิญญาณรู้แจ้ง ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน

    สัญญา อะนัตตา ความสำคัญจำหมายไว้ ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน

    สังขารา อะนัตตา เจตนาเป็นเครื่องตกแต่งจิตที่เป็นบุญแลเป็นบาป ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน

    วิญญาณัง อะนัตตา จิตผู้รู้แจ้งอารมณ์ ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน

    สัพเพ สังขารา อะนิจจา ธรรมที่ปัจจัยตกแต่งสร้างขึ้นคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หมดทั้งสิ้น มันไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วแปรปรวนแตกดับไป

    สัพเพ ธัมมา อะนัตตา ธรรมทั้งสิ้น ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เพราะว่าตัวตนสัตว์บุคคลไม่มี มีแต่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นตัวทุกข์ แลมีทุกข์ ดับหมดคือพระนฤพาน แลมีสภาวะธรรมอย่างหนึ่งไปต่างหาก ไม่มีใครผู้ใดผู้หนึ่ง
     
  11. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ปล่อยวาง ละสักกายทิฏฐิ

    เมื่อพิจารณาด้วยปัญญาเห็นจริงแจ้งชัดว่า เรา เขา สัตว์บุคคล ตัวตน ไม่มีดังนี้แล้ว ก็ปล่อยวางเสียได้ ไม่ถือว่าของเรา ว่าเราว่าตัวตน ละสักกายทิฏฐิได้ ในขณะหนึ่งครู่หนึ่งนั้นก็ดี ก็ได้ชื่อว่า ดื่มกินซึ่งรสคือพระนฤพาน เป็นธรรมที่ผู้ตายไม่มี แลได้ประสพพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยน้ำใจ ในขณะหนึ่งนั้นครู่หนึ่งนั้น เพราะพระองค์ทรงตรัสไว้ว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราผู้ตถาคต ดังนี้

    อนึ่ง เมื่อพิจารณาด้วยปัญญาเห็นจริงแจ้งชัดว่า เรา เขา สัตว์บุคคล ตัวตน ไม่มีดังนี้แล้ว ใจก็บริสุทธิ์เป็นสุขใหญ่ยิ่ง ทุกข์โทมนัสคับแค้นเครื่องร้อนใจก็ดับเสียได้ คุณคือใจบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้า แลคุณพระธรรมที่ดับเพลิงเครื่องร้อนใจได้ แลคุณพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดี คือละกิเลสเครื่องเศร้าหมองเสียได้ ก็ย่อมปรากฏขึ้นในใจของตน เป็นผู้มีความเชื่อความเลื่อมใส หยั่งลงไปในคุณพระรัตนตรัย เป็นอันได้ถึงสรณะทั้งสามนี้ เป็นที่พึ่งของตนด้วยดี ด้วยปัญญาที่มาพิจารณาเห็น ซึ่งสภาวะธรรมทั้งสิ้นเป็นอนัตตา ดังว่ามานี้นี้ วิธีเจริญวิปัสสนาก็วิปัสสนานี้ มีผลอานิสงส์ยิ่งใหญ่กว่า ทาน ศีล พรหมวิหารภาวนา ย่อมทำผู้ที่เจริญนั้นให้มีสติ ไม่หลงทำกาลกิริยา มีสุคติภพ คือมนุษย์แลโลกสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า นี้ว่าโดยยังไม่บรรลุมรรคผลทำให้แจ้งซึ่งพระนฤพาน ถ้าอุปนิสัยมรรคผลมี ก็ย่อมทำผู้นั้นให้บรรลุมรรคผลทำให้แจ้งซึ่งพระนฤพานได้ ในชาตินี้นั่นเทียว

    อนึ่ง เมื่อเกิดก็ไม่ได้เอาอะไรมา เมื่อตายก็ไม่ได้เอาอะไรไป ทรัพย์สมบัติข้าวของเงินทองหมดสิ้น ไม่ใช่ของเรา เป็นของกลางสำหรับแผ่นดิน ตายแล้วทิ้งเสียหมด เอาไปก็ไม่ได้ อย่าหลงมัวเมาไปเลย แต่ความแก่ความเจ็บความตายนี้ เป็นของๆ เราแท้หนีไม่พ้น เหตุนั้น เราจงอุตส่าห์รีบเร่งก่อสร้างบุญกุศล ซึ่งเป็นที่พึ่งของตน จงอุตส่าห์บำเพ็ญศีล แลเจริญจตุรารักข์ แลวิปัสสนา ซึ่งว่ามานี้เป็นทางสวรรค์แลนฤพานเถิด ดีกว่าประกอบกิจอื่นๆ ที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตน เตรียมตัวไว้รอความตายเถิดดีกว่า เพราะเราจะต้องตายเป็นแท้ แต่ไม่รู้ว่าเมื่อไร

    อนึ่ง ยากนักที่จะได้เกิดเป็นมนุษย์ เพราะต้องตั้งอยู่ในธรรมของมนุษย์คือ ศีล ๕ แลกุศลกรรมบถ ๑๐ จึงจะได้มาเกิดเป็นมนุษย์ ได้ชีวิตที่เป็นมานี้ก็ได้ด้วยยากยิ่งนัก เพราะอันตรายของชีวิตทั้งภายในภายนอกกาย มีมากต่างๆ การที่ได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ได้ด้วยยากยิ่งนัก เพราะกาลที่เปล่าว่างอยู่ ไม่มีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลกยืดยาวนานนัก บางคาบบางสมัยจึงจะมีพระพุทธเจ้าเกิดในโลกสักครั้งสักคราวหนึ่ง เหตุนั้น เราทั้งหลายพึงอยู่ด้วยความไม่ประมาทเถิด อย่าให้เสียทีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนานี้เลย
     
  12. mam7734

    mam7734 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    319
    ค่าพลัง:
    +349
    หวัดดีค่ะ คุณนุ๊ก สบายดีหรือเปล่า ตอนนี้เก่งแล้วเนอะ ส่วนเราแอบอ่านอย่างเดี่ยว
     
  13. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    สวัสดีค่ะคุณแหม่ม เราสบายดี คิดถึงคุณแหม่มนะคะ เงียบไปนานเลย
    คุณแหม่ม สบายดีมั้ยยยยย

    เรายังไม่เก่งหรอก เรื่อยๆ ค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กรกฎาคม 2013
  14. mam7734

    mam7734 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    319
    ค่าพลัง:
    +349
    บอกตามตรงตอนนี้ที่บ้านเดือนร้อนนิดหน่อย คุณนุ๊กคิดว่าจะมีนาคที่คิดทำร้ายมนุษย์อยู่บ้างหรือเปล่า หมายถึงอาจเป็นนาคคนละสายกัน
     
  15. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    มี...นะ ถ้าเป็นเจ้ากรรมนายเวรกันมาก่อนน่ะ
    คุณแหม่ม ได้เจอหรอ ที่บ้านเดือดร้อนอะไรบอกได้หรือเปล่าหนอ
    อยากรู้อีกแระ เผื่อว่าจะได้ช่วยกันระดมสมอง อิอิ
     
  16. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร : พุทธปฐมเทศนา

    บทสวดธรรมจักรกัปปวัตตนสูตรนี้เป็นพุทธปฐมเทศนา ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวคือ เป็นเทศนากัณฑ์แรกที่ทรงแสดงเมื่อ ๔๕ ปีก่อนพุทธศักราช (หรือก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน ๔๕ พรรษา ) ซึ่งวันที่ทรงแสดงธรรมจักรกัปปวัตตนสูตรตรงกับวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะหรือเดือน ๘ ซึ่งในเวลาต่อมาเรียกวันนี้ว่า วันอาสาฬหบูชา แปลว่า การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๘ สถานที่ที่ทรงแสดงปฐมเทศนาคือ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ทรงแสดงโปรดนักบวช ๕ รูปหรือที่เรียกว่า ปัญจวัคคีย์ ซึ่งมีท่าน โกณฑัญญะ เป็นหัวหน้ารวมอีก ๔ รูป ได้แก่ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และ อัสสชิ ซึ่งเป็นคณะพระอรหันต์รุ่นแรกในบวรพระพุทธศาสนา

    นอกจากนี้ยังทำให้เกิดรัตนะที่ ๓ คือสังฆรัตนะ จึงทำให้เกิดพระรัตนตรัยครบทั้ง ๓ องค์ขึ้นอีกด้วย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ และพระสังฆรัตนะ เนื้อหาที่เด่นที่สุดกล่าวถึงเรื่องของอริยสัจ ๔ อันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาดังพุทธพจน์ที่ปรากฏในพระไตรปิฎก
    กล่าวไว้ดังต่อไปนี้

    " ท่านมีอายุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลาย ที่เที่ยวไปบนพื้นแผ่นดินทั้งสิ้นทั้งปวง ย่อมประชุมลงในรอยเท้าช้างรอยเท้าช้างนั้นกล่าวได้ว่าเป็นยอดในบรรดารอยเท้า และรอยเท้าช้างเหล่านั้นโดยความมีขนาดใหญ่ฉันใด กุศลธรรมทั้งสิ้นทั้งปวงก็สงเคราะห์ลงในอริยสัจ ๔ ฉันนั้น . . "

    ( พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ ๒๕๒๕ : ๒๔๕ )
     
  17. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    นอกจากนี้ในธรรมจักรกัปปวัตตนสูตรยังกล่าวถึงเรื่องสำคัญอีก ๔ เรื่อง ได้แก่

    เรื่องที่ ๑ ทางเอียงสุดทั้งสองสาย ได้แก่ กามสุขัลลิกานุโยค คือการหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุขทั้งหลาย และ อัตตกิลมถานุโยค คือการบีบเค้นทรมานตนเองให้เดือดร้อน

    เรื่องที่ ๒ ทางสายกลาง หรือ มัชชิมาปฏิปทา คือ อริยมรรค์ มีองค์ ๘ อันได้แก่ สัมมาทิฐิ : ความเห็นชอบ , สัมมาสังกัปปะ : ความคิดชอบ , สัมมาวาจา : พูดชอบ , สัมมากัมมันตะ : กระทำชอบ ,สัมมาอาชีวะ : เลี้ยงชีพชอบ , สัมมาวายามะ : ความเพียรชอบ, สัมมาสติ : ความระลึกชอบ และสัมมาสมาธิ : ความตั้งจิตมั่นชอบ

    เรื่องที่ ๓ จากนั้นทรงตรัสถึงหัวใจของพระพุทธศาสนา คือ อริยสัจ ๔ คือ
    ๑. ทุกข์ มีทั้งสิ้น ๑๑ ประการ คือ ความเกิด (ชาติ) , ความแก่ (ชรา), ความตาย (มรณะ) , ความโศก (โสกะ) , ความร่ำไรรำพัน (ปริเทวะ) , ความไม่สบายกาย (ทุกขะ) ,ความไม่สบายใจ (โทมนัส) , ความคับแค้นใจ (อุปายาส) , ความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจ (อัปปิยะสัมปะโยค) ,และ ความไม่สมหวัง (อิจฉิตาลาภะ)
    ๒. ทุกขสมุทัย (เหตุแห่งทุกข์) มี ๓ ประการ คือ กามตัณหา (ความอยากได้กามคุณทั้ง ๕ : รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส) , ภวตัณหา (ความอยากในภาวะของตน อยากเป็นนั่น อยากเป็นนี่) และ วิภวตัณหา (ความไม่ต้องการในสิ่งที่ไม่ปรารถนา)
    ๓. ทุกขนิโรธ คือ ความดับทุกข์ คือการดับตัณหาทั้งหลายทั้งปวง เพื่อความเป็นอิสระไม่ติดข้องหลุดพ้น สงบ และ ปลอดโปร่ง
    ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา คือ หนทางแห่งการดับทุกข์ ซึ่งก็คือ มรรคมีองค์ ๘

    เรื่องที่ ๔ กิจในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ปริญญา (การกำหนดรู้) , ปหนะ (การละวาง) , สัจฉิกิริยา (การทำให้แจ้ง) และ ภาวนา (การเจริญในสิ่งที่ควรคือกิจในมรรค)
     
  18. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    อานิสงส์ของการสวดบทธัมมจักร ฯ

    อานิสงส์ของการสวดบทธัมมจักร ฯ

    ท่านใดได้สวดบทธัมมจักรนี้ จะทำให้ชีวิตเจริญก้าวหน้ารุ่งเรืองเพราะธัมมจักรฯ นี้เป็นพระธรรมเทศนากัณฑ์แรก เป็นเป็นวงล้อธรรมที่หมุนครั้งแรกของบวรพระพุทธศาสนาจึงนับว่าเป็นการลำบากที่ผู้คนทั้งหลายจะได้สวดและเป็นการเปลื้องทุกข์ภัยต่างๆนานา แม้ปรารถนา ในสิ่งใดย่อมได้ตามใจปรารถนาทุกประการแล.........

    บทสวดธรรมจักรกัปปวัตตนสุตร นี้ พระอานนทะเถระพุทธอุปัฏฐากขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้กล่าวแสดงต่อคณะสงฆ์ในการทำสังคายนาครั้งที่ ๑ หลังการเสด็จดับขันธปรินิพพาน ว่าดังนี้ว่า .......
     
  19. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย ฯ
    ข้าพเจ้าได้สดับฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ในสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับยับยั้งอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ฯ

    ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ
    ในกาลครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเตือนสติเหล่าภิกษุปัญจวัคคีย์ให้ตั้งใจฟังและพิจารณาตามพระดำรัสของพระองค์อย่างนี้ว่า ฯ

    เทวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตไม่ควรปฏิบัติให้หนักไปในส่วนที่สุด ๒ อย่างคือ

    โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค หีโน * คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต.. (ออกเสียงว่า ฮีโน)
    การประพฤติปฏิบัติตนเพื่อแสวงหาความสุขอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่ารักน่าปรารถนา ซึ่งเป็นธรรมอันเลวเป็นเหตุให้ต้องมีบ้านเรือน เป็นธรรมของคนผู้ครองเรือนผู้หนาไปด้วยกิเลส ไม่ใช่ธรรมอันจะนำจิตใจออกจากกิเลสไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย
     
  20. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต ฯ
    และอีกอย่างหนึ่งคือ การประพฤติปฏิบัติด้วยการทรมานร่างกายให้ได้รับความลำบาก ซึ่งมีแต่ทำให้ใจเป็นทุกข์ทรมานอย่างเดียว ไม่เป็นทางนำจิตใจออกจากกิเลส และไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติ เพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย ฯ

    เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมาปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตได้รู้ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง โดยไม่เข้าไปใกล้ส่วนที่สุด ๒ อย่างนั้นแล้ว

    จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
    ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น สามารถทำดวงตา คือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ให้เป็นไปเพื่อ ใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ฯ

    กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมาปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งสามารถทำดวงตา คือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ที่ตถาคตรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่งนั้น คือการปฏิบัติอย่างไร ?
     

แชร์หน้านี้

Loading...