จิตไม่เที่ยง จิตเกิดดับ ใครว่า จิตเที่ยง จิตดับไม่มี นี่เป็นความเห็นผิด

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมแท้, 5 พฤศจิกายน 2014.

  1. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ขันธ์ ๕ คือ รูป กับ นาม หรือ กาย กับ ใจ
    พูดง่าย ๆ ก็คือ ความรู้สึกนึกคิด ความรับรู้ที่มีต่อกายใจ
    อะไรต่ออะไรได้ทั้งหมด โดยมีตัววิญญาณขันธ์ทำหน้าที่รับรู้

    ทีนี้ประโยคที่ว่า เข้าไปเห็นไตรลักษณ์จริงของขันธ์ห้าขณะดับ
    เอาอะไรหนอไปเห็น เพราะวิญญาณขันธ์ก็ดับไปด้วยเสียแล้ว

    ตรงนี้แหละจะเป็นจุดหนึ่งที่พึงพิจารณา มันช่วยชี้อะไรบางอย่างอยู่
    จะเห็นว่า ใด ๆ ในโลกล้วนอนิจจัง โลกราบจริงหรือไม่จริง ก็อยู่ตรงนี้
     
  2. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    คงงั้นจ๊ะ
    ตัวนิพพานธาตุ เป็นไง ก็ไม่รู้เนอะ มันเห็นตัวเองได้ไหม ก็ไม่รู้เนอะ
    ไปอยู่ที่ไหน ก็ไม่รู้เนอะ
     
  3. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ที่ผมกล่าวนั่นแค่เริ่มต้นด้วยซ้ำ แค่เห็นถูกเห็นตรงเฉย ๆ เอง
    แต่ส่วนที่ครอบงำสัตว์ยิ่งไปกว่านั้นยังมีอยู่อีก ประมาทพลาดพลั้งก็ไปไม่ตลอดรอดฝั่งอยู่ดี
     
  4. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    จะพูดเรื่องอะไรจ๊ะ
     
  5. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ทำไมสมัยพุทธกาลคนฟังธรรมจึงบรรลุธรรมได้ง่าย
    เพราะปัญญาบารมีท่านมีมากแล้ว ขาดเพียงแค่คนชี้จุดให้พิจารณาเฉย ๆ
    พอพระพุทธองค์เสด็จมาโปรด พูดปั๊บก็มองออก เพราะเคยผ่านจุดนั้นมา
    น้อมเห็นตามความเป็นจริงได้ทันที แต่ก่อนอาจจะมองข้ามมาตลอด
    สมัยนี้ก็ไม่ต่างหรอก ถ้าว่าเคยบำเพ็ญมามากแล้ว ก็เป็นไปได้ทั้งนั้น

    ดังนั้นครูบาอาจารย์ท่านจึงมักพูดว่า จะว่ายากก็ยาก จะว่าง่ายก็ง่าย
    อยู่ที่ภูมิธรรมปัญญาบารมีของผู้นั้นเองจะมีมากน้อยแค่ไหน
    ถ้าถึงกาลถึงเวลาแล้ว ก็ไม่มีอะไรยากเกินไปทั้งนั้น
     
  6. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,650
    ค่าพลัง:
    +20,326
    สิ่งที่ท่านธรรมแท้ ยกมานั่นคือภาษธรรม นั่นคือปริยัติ

    ส่วนสิ่งที่กระผมกล่าวนั้นครอบคลุมแล้ว หากท่านลองพิจารณาให้ดี

    ความรอบรู้ นั้นประกอบด้วย
    1 การอาศัยปัญญาญาณ ประกอบรู้ หรือฝ่ายปัญญาวิมุตติ
    2 การอาศัยเจโตปริยญาณ ประกอบรู้หรือฝ่ายเจโตวิมุตติ

    จากทั้งสองข้อ อาจอาศัยส่วนเดียวข้อใดข้อหนึ่ง หรืออาจสัมปยุตร่วมกันก็ได้ขึ้นอยู่กับความรู้นั่นๆและขึ้นอยู่กับปัจจุบันกรรมนั้นๆ

    ความรู้อีกส่วนฝ่ายสัญญาปัญญา หรือจะเรียกว่า อตีตังคสัญญาปัญญาก็ได้เช่นกัน คือ เมื่อครั้นจะรู้เรื่องนี้ ก็สามารถระลึกรู้ได้ทันที นั่นเพราะอาศัย เจโตวิมุตติญาณร่วมด้วยเสมอ คือ มีกระบวนการว่า อตีตังคสัญญาปัญญาจะทำงานได้ ก็ต้องอาศัยกำลังจิตที่ฝึกฝนมาแล้วอย่างดี เมื่อสองส่วนทำหน้าที่สมบูรณ์ การระลุกรู้ในเรื่องนั้นๆก็แจ่มชัดรู้แจ้งสมบูรณ์

    อีกนิดที่สำคัญมาก คือ ปฏิเวธ แห่งปัญญาญาณ ให้ผลเป็นที่อัศจรรย์ ยิ่งเพราะในขณะที่ท่านพระอรหันต์ที่สั่งสมปัญญาญาณมามาก ละปล่อยวางเป็นปกติทุกขณะจิต เมื่อปฏิเวธให้ผล ย่อมปรากฏความละปล่อยวางเกิดขึ้นของมันเองในสภาวะนิพพาน อันหมายถึงผลคือความว่างปรากฏ ตรงนี้เองที่กล่าวว่าไม่ได้เกิดจากปัญญา ซึ่งมันก็จริง แต่หากพิจารณามูลเหตุ ปฏิเวธแห่งวิมุตติ เกิดได้อย่างไร ก็ขอตอบว่า แท้จริงรากเง้า ปฏิเวธก็เกิดได้ด้วยปัญญา และกำลังทางจิตเป็นพื้นฐานนั้นเอง

    การกล่าวแสดงธรรม ในบางเรื่องที่มีความซับซ้อนหากกล่าวแสดงแก่ผู้มีปัญญามากสามารถเข้าใจได้ง่ายก็ไม่เป็นไร แต่หากกล่าวกับผู้มีปัญญาน้อย ย่อมก่อให้เกิดความเข้าใจผิดหลงผิดได้

    ที่กระผมเข้ามาช่วยอธิบายจึงหวังสงเคราะห์ให้ผู้ที่ยังไม่เข้าใจโดยละเอียดให้เข้าใจว่า ปฏิเวธ หรือผลจิต ที่ท่านปุณฑ์กล่าวนั้นมีความเกิดขึ้นตั้งอยู่สำหรับอรหันต์จิต เป็นอย่างนี้ครับ

    ความเป็นอรหันต์ มรรคจิตนั้น ว่าไปแล้วเกิดขึ้นได้ยาก เข้าใจได้ยากยิ่งแล้ว แต่หากจะพูดเรื่องผลจิต หรือปฏิเวธ หรือผลจากมรรคจิต นั้นยิ่งกล่าวได้ยากยิ่งซับซ้อนยิ่งนักครับ

    ดังนั้นสิ่งที่ผมกล่าวมาก็เพื่อขยายธรรมให้ชัดเจนยิ่งขึ้นเท่านั้นเพื่อให้เห็นว่า มีที่มาที่ไป เหตุรากเง้าเป็นอย่างไร

    อนึ่ง กรรม หรือมรรค กระทำไว้แล้วอย่างไร ผลหรือปฏิเวธ ย่อมให้ผลอย่างนั้นไม่มีข้อยกเว้น แม้ความเป็นอรหันตวิธี ก็เช่นกันครับ

    เหตุแห่งการกระทำคือการตัดกิเลส ย่อมเข้าถึงความว่าง
    เหตุแห่งความเข้าถึงอรหันต์ คือความว่าง
    เหตุแห่งความเข้าถึงพระนิพพาน คืออรหันต์
    ประดุจความว่างที่อาศัยอยู่ในความว่าง มีผลคือว่าง ในว่าง ทั้งปวงเป็นลำดับขั้นนั่นเองครับ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤศจิกายน 2014
  7. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385

    คุณ Tboon ลองยกตัวอย่างการปฏิบัติที่เห็น วิญญาณขันธ์เกิด-ดับ ให้ดูหน่อยครับ
    เห็นว่าคุณ Tboon กล่าวว่า "เริ่มต้นซ้ำ"

    ถ้าแบบที่เห็น ไตรลักษณ์อยู่ ถ้าไม่เปลี่ยนไปทำเพื่อเข้าตัว เพิ่มตัวตน
    ก็เห็นความจริงกันเอง

    คุณ Tboon น่าจะไปกล่าวกับบุคคลที่เป็น "เดียรถีย์" อยู่
    สอนนอกแนวอยู่ ไม่ดีกว่าหรือครับ

    อันนั้นเหมือนจะน่าเชื่อถือ แต่ความจริงมันไปคนละทางกับ นิพพาน ด้วยซ้ำ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 พฤศจิกายน 2014
  8. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    แค่ปรารภในสิ่งที่อาจถูกมองข้ามกันไปเฉย ๆ น่ะครับ
     
  9. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    พอดีเลย ผมเพิ่งได้ ฟังเมื่อคืนนี้เอง
    จิต คือ พุทธะ (หลวงปู่ดุลย์)

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=ENslxqWJd1s]จิตคือพุทธะ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล (Full.) - YouTube[/ame]
     
  10. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    "ปัญญาบารมีท่านมีมากแล้ว"

    ที่ว่า "ปัญญาบารมี" หมายถึง อะไรครับ
    ถึงจะบรรลุขณะฟังธรรมได้
     
  11. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    คุณ Tboon ครับ ถ้ามองอุปทาน ไปยึดขันธ์ ได้
    ผมเชื่อว่าคุณคงเข้าใจ "จิตคือพุทธะ" ของหลวงปู่ดุลย์ ได้ไม่ยาก
    เพราะเป็นสภาวะที่เหนือสมมุติ แต่ หลวงปู่ท่านพยายามใช้สมมุติมาเพื่ออธิบาย
    เช่นเดียวกับพระพุทธองค์ ที่พระองค์พยายามใช้สมมุติมาอธิบายสอนสัตว์ทั้งหลาย

    จิต คือ พุทธะ คืออะไรครับ พอบอกได้ไหมครับ
     
  12. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,650
    ค่าพลัง:
    +20,326
    ๗. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ .
    มหากิริยาจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉยๆ ( ไม่สุขไม่ทุกข์ ) ไม่ประกอบด้วย
    ปัญญา เป็นจิตที่มีกำลัง (ไม่มีการชักชวน )

    ๘. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ .
    มหากิริยาจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉยๆ ( ไม่สุขไม่ทุกข์ ) ไม่ประกอบด้วย
    ปัญญา เป็นจิตที่มีกำลัง ( มีการชักชวน )
    ================

    สองข้อนี้ในแปดข้อ เป็นการกล่าวถึงสภาวะจิต อันเป็นธรรมชาติ อาการของจิต ที่น่าสนใจ ว่าด้วยอุเบกขาที่เกิดประกอบขึ้นกับจิต
    สองข้อนี้แสดงให้เห็นธรรมชาติของอาการของจิตที่เข้าไปสู่ความอุเบกขา ขออธิบายได้อย่างนี้ว่า
    ๗. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ .
    มหากิริยาจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉยๆ ( ไม่สุขไม่ทุกข์ ) ไม่ประกอบด้วย
    ปัญญา เป็นจิตที่มีกำลัง (ไม่มีการชักชวน )
    คือสภาวะจิตเข้าสู่อุเปกขา คือว่าง ปล่อยวาง ไม่มีอารมณ์สุขหรือทุกข์ เป็นอารมณ์สภาพว่างกลางๆ ไม่มีการปรุงแต่ง เป็นสภาพว่างที่เกิดของมันเอง เพราะแท้จริง ธรรมชาติ แห่งความว่าง แบบนี้ก็มีเกิดดับเป็นสภาพปรกติ โดยไม่จำเป็นต้องมีอะไรปรุงแต่งหรือก่อให่้เกิด คือมันเกิดของมันเอง แต่การเกิดในลักษณะแบบนี้ แท้จริงย่อมมีเหตุทำให้เกิด คือปัจจัยรอบด้านสมบูรณ์พร้อมจึงเกิด แต่เป็นความว่างหรืออุเปกขาที่เกิดได้ชั่วขณะเท่านั้น ไม่เที่ยง จีรัง เพราะอาศัยเหตุแห่งความสมดุลย์ ของปัจจัยรอบด้าน แต่เมื่อใดที่ปัจจัยรอบด้านเปลี่ยนไป ความว่างตัวนี้หรืออุเบกขาตัวนี้ก็ดับไป ด้วย

    ๘. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ .
    มหากิริยาจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉยๆ ( ไม่สุขไม่ทุกข์ ) ไม่ประกอบด้วย
    ปัญญา เป็นจิตที่มีกำลัง ( มีการชักชวน )
    กริยาของจิต อุเปกขาส่วนนี้ อาศัย ธรรมารมณ์เป็นเครื่องหนุนส่งให้เกิดอุเบกขา ว่าง ด้วยอาศัยกำลังจิต ที่เรียกว่า ฌาณสมาธิ เป็นเครื่องข่มไว้หรือเป็นเครื่องดำเนินไปให้เข้าสู่อุเบกขาหรือความว่าง ไม่สุขไม่ทุกข์ หรือกล่าวได้ว่า อาศัยสมาธิฌาณเป็นเครื่องชักนำไปสู่ความว่างเป็นกลางของจิตครับ
     
  13. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ถ้าคุณยังเห็นว่าผู้รู้เที่ยง นั่นแหละคือยังเห็นไม่หมด เห็นไม่รอบ
    ความจริงผู้รู้ก็เกิดดับเหมือนกัน โลกทั้งโลกมันเกิดดับหมด
    ไม่เว้นแม้แต่ผู้รู้นะ

    แต่ถ้าคุณ เห็นว่าผู้รู้เองก็ไม่เที่ยงก็คือไม่เที่ยง ก็สมาทานศึกษาต่อไป ก็แค่นั้นเอง
    คุณจะไปแคร์ทำไม สุขทุกข์ กิเลสมีมากน้อย ลดลงหรือไม่ คุณรู้ของคุณเอง
    ก็ปฏิบัติไปเถอะอย่างนั้น ถือว่ายังอยู่ในหนทาง
    ถ้าผมทำให้คุณขุ่นเคือง ก็ขออภัยด้วยละกัน
     
  14. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,650
    ค่าพลัง:
    +20,326
    ๕. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ .
    มหากิริยาจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉยๆ ( ไม่สุขไม่ทุกข์ ) ประกอบด้วย
    ปัญญา เป็นจิตที่มีกำลัง (ไม่มีการชักชวน )

    ๖. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ .
    มหากิริยาจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉยๆ ( ไม่สุขไม่ทุกข์ ) ประกอบด้วย
    ปัญญา เป็นจิตที่มีกำลัง ( มีการชักชวน )
    =========

    ส่วนสองข้อนี้ จัดได้ว่ามีความสำคัญมาก เพื่อมรรคผลแห่งนิพพาน กระผมขออธิบายได้ดังนี้คือ

    ๕. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ .
    มหากิริยาจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉยๆ ( ไม่สุขไม่ทุกข์ ) ประกอบด้วย
    ปัญญา เป็นจิตที่มีกำลัง (ไม่มีการชักชวน )
    กริยาของจิตข้อนี้ หมายถึงปฏิเวธที่ให้ผล คือรสเลิศของพระนิพพาน พระอรหันต์ผู้เดินมรรคสมบูรณ์เป็นปกติทุกวาระจิตสั่งสมมาแล้ว เมื่อถึงกาลหรือวาระ ผลแห่งมรรค ย่อมให้ผล ปรากฏแก่อรหันตจิตคือความว่างในความว่าง หรือว่างในนิพพาน เป็นสภาพว่างด้วยปฏิเวธ ไม่มีการชักนำปรุงแต่งให้ว่าง แต่เพราะธรรมชาติของความว่างที่ก่อไว้ดีคือประกอบด้วยปัญญาวิมุตติและเจโตวิมุตติในอดีตที่สร้างไว้ดีแล้วปรากฏเป็นผลทำให้ได้รับ คือว่าง เป็นปกติ ครับ

    ๖. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ .
    มหากิริยาจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉยๆ ( ไม่สุขไม่ทุกข์ ) ประกอบด้วย
    ปัญญา เป็นจิตที่มีกำลัง ( มีการชักชวน )
    กริยาของจิตข้อนี้ คือมรรคจิต หรือ ความว่าง ไม่สุขไม่ทุกข์ เกิดได้ด้วยเพราะอาศัยปัญญาเป็นเครื่องชักนำไปด้วยปัญญาวิมุตติ หรือเจโตวิมุตติ สัมปยุต มีกำลัง ชักนำไปสู่การตัดละปล่อยวางรูปนาม คงเหลือไม่สุขไม่ทุกข์คือว่างเกิดขึ้นทันที หรือที่เรียกปัญญาตัดกิเลส กำลังใจตัดกิเลส ดับ เมื่อดับ ความไม่สุขไม่ทุกข์ ก็ปรากฏว่างก็ปรากฏทันทีนั่นเองครับ เป็นสภาวะการตัดกิเลสที่กระทำต่อเนื่องไปเรื่อยๆจนหมดอาสวะ นั่นเองครับ


    สรุปคือ ในทางมรรควิธิ ผลวิธี นั้น สองข้อนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ที่ต้องทำความเข้าใจเรียนรู้ เพื่อมรรคผลนิพพาน นั่นเองครับ
    ส่วนข้ออื่นๆ เป็นไปเพื่อประกอบรู้ ธรรมชาติ ของจิต ที่ประกอบร่วมกันอยู่ เป็นเพียงเปลือกห่อหุ้มรอบนอก ยังไม่ใช่แก่นแท้ เพื่อความหลุดพ้นเหมือนสองข้อนี้คือข้อ5และ6ครับ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤศจิกายน 2014
  15. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,650
    ค่าพลัง:
    +20,326
    หรือกล่าวสรุปได้อีกว่า

    ข้อ5,6คือสภาพว่างถาวร เป็นว่างในพระนิพพาน

    ส่วนข้อ7,8เป็นสภาพว่างชั่วคราว หรือนิพพานชั่วคราวนั่นเองครับ

    ความว่างหากไปอ่านดูในพระคัมภีร์ มีมากมายนัก แต่แล้วที่สุดแห่งความว่าง ก็มีเพียงสองประการตามข้อ5,6เท่านั้นครับ สาธุ
     
  16. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    อะไรนะ สังขตธรรม กับ อสังขตธรรม นะเหรอ ว่าวกันไปว่าวกันมาก็มาที่เดิมอีกนั่นแหละ
     
  17. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    นิพพานเนี่ย ไปบรรยายว่ามันมีสภาพสภาวะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ นี่ไม่ควร
    มันเป็นเรื่องของอัตตา เป็นภพชาติขึ้นมาทันที ยิ่งถ้าไปกล่าวอย่างชื่นอกชื่นใจยิ่งแล้วใหญ่

    ยกเว้นแต่กรณีย้อมใจพวกกำลังใจอ่อน ๆ แต่พอมีหวังบ้าง
    ให้เห็นว่า มาทางนี้ก็ยังพอมีอะไรบ้าง ไม่สิ้นไร้ไม้ตอกเสียทีเดียว
    แต่เมื่อกำลังใจสูงแล้ว ท่านสอนตัดกระแส ข้ามกระแสหมด
    เรียกว่าโผล่หัวอัตตามาเมื่อไหร่ เป็นโดนตัดคอหมด ไม่มานั่งเอาอกเอาใจกันอยู่

    หนทางอริยะเขาจึงสอนสั่งกันแบบไม่ไว้หน้ากันเลย
    ใครทนไม่ได้นั่นแสดงว่า กำลังใจยังห่วยมาก
     
  18. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385

    ผมไม่ได้เห็นว่า "วิญญาณขันธ์เที่ยง" หรอกครับ
    แต่ที่ผมจะบอก คือ
    ผมชอบความกล้าหาญของคุณ Tboon
    ที่กล่าวแนะนำตรงๆกับ นักภาวนา ว่าให้เค้ามองให้เห็น
    "สิ่งที่ยิ่งขึ้นไปอีก"
    แต่สิ่งเหล่านั้น เค้าจะเห็นได้เอง
    แม้คุณ Tboon จะพยายามชี้ว่ามันมีมากกว่า "ทุกข์สภาพของขันธ์"
    คือ การเข้าไปยึดขันธ์

    นักภาวนา ที่เพิ่งภาวนา มันต้องเห็น "สภาพทุกข์ก่อน" อันดับแรก
    เห็นให้ได้ว่า ขันธ์5 มันเป็น
    ของไม่เที่ยงจริงไหม
    มีสภาพทุกข์ทนยากจริงไหม
    เป็นของเหนือความควบคุมจริงไหม
    ก่อนอื่นเลย

    ถึงจะเริ่มเห็นว่าแท้จริงไม่มี "เรา" อยู่ตรงไหน
    เห็นอย่างนี้ก่อน
    แต่จะนักภาวนาใหม่ เข้าไปเห็น ความยึดในขันธ์
    อย่างนี้มันเล็งผลเลิศ
    คนภาวนาจับจุดไม่ถูก เพราะยังไม่เห็นเลยว่า
    ขันธ์5 มันใช่ของ "กู" แน่ๆหรือเปล่า
    ยังอนุโลมไปสิ่งที่อ่านมา ฟังมา
    ว่าขันธ์ 5 นี้ มีสภาพเป็นไตรลักษณ์
    จนเข้าไปเห็นจริงๆ ถึงความจริงนั้นด้วยตัวเอง
    มันจึงจะละ(สังโยชน์) ได้จริง

    แค่นี้มันเห็นทุกข์ในอริยสัจ แล้ว แต่แบบหยาบๆ
    แต่แค่นี้ก็เพียงพอจะเกิดสัมมาทิฐิ นำทาง
    เข้าไปเห็นทุกข์ที่ละเอียดขึ้นไปอีก ได้เอง
    อย่างที่คุณ Tboon กล่าวไว้ คือ ทุกข์ที่ในอุปทาน
    แต่ผมกล้าบอกว่า ถ้าไม่ละความเห็นผิดในความเป็นตัวตนซะก่อน
    แต่จะกระโดดไปหาอุปทาน
    มันเหมือนงมเข็มในมหาสมุทร
    เป็นไปได้ แต่ยากมาก


    ที่คุณ Tboon ควรทำมากกว่า (จะทำไม่ทำก็ได้)
    ในเมื่อคุณ Tboon เห็นทางที่ถูกต้องแล้ว
    ก็ควรจะบอกกับคนที่ยังไม่รู้

    ที่เค้าทั้งหลาย บอกว่า จุดหมาย คือ นิพพาน
    แต่ทำจะเอาคุณวิเศษ ทายจิตทายใจ
    ยังติดดี จะเอาดี จะสั่งสมบารมี สะสมเมตตา
    ยังสร้างตัวตนไม่หยุด
    แล้วบอกว่าทางนี้แหละ คือ "นิพพาน"

    ชี้ให้เค้ารู้ก่อนซิครับ ถึง สัมมาทิฐิ จริงๆ เป็นอย่างไร
    เพราะมันเป็นคนละเรื่องกันเลยกับสิ่งที่พวกเค้าทำกันอยู่
    อย่างนี้ไม่ดีกว่าหรือครับ

    หรือใช้ธรรมที่รู้ปฏิบติมา ช่วยอธิบายกับคนที่หลงปรามาส คูรบาอาจารย์
    ให้เค้าเข้าใจได้ถูกต้อง ไปหลงไปปรามาสคำครู
    อย่างนี้เรียกว่า เกิดประโยชน์ครับ
     
  19. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    สาธุครับ คุณ Tboon

    ดังพุทธวจนนี้หรือเปล่าครับ

    อานนท์ ! เราไม่พยายามทำกะพวกเธอ อย่างทะนุถนอม
    เหมือนพวกช่างหม้อ ทำแก่หม้อ ที่ยังเปียก ยังดิบอยู่
    อานนท์ ! เราจักขนาบแล้ว ขนาบอีก ไม่มีหยุด
    อานนท์ ! เราจักชี้โทษแล้ว ชี้โทษอีก ไม่มีหยุด
    ผู้ใดมีมรรคผลเป็นแก่นสาร ผู้นั้นจักทนอยู่ได้.
    อุปริ. ม. ๑๔/๒๔๕/๓๕๖.

    คนเรา ควรมองผู้มีปัญญาใด ๆ ที่คอยชี้โทษ คอยกล่าว
    คำขนาบอยู่เสมอไป ว่าคนนั้นแหละ คือ ผู้ชี้ขุมทรัพย์
    ควรคบบัณฑิตที่เป็นเช่นนั้น
    เมื่อคบหากับบัณฑิตชนิดนั้นอยู่
    ย่อมมีแต่ดีท่าเดียว ไม่มีเลวเลย.
    ธ. ขุ. ๒๕/๒๕/๑๖.
     
  20. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    นิพพานชั่วคราวเป็นอย่างไรครับ

    ความว่างที่ว่า ว่างจากอะไรครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...