จิตไม่เที่ยง จิตเกิดดับ ใครว่า จิตเที่ยง จิตดับไม่มี นี่เป็นความเห็นผิด

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมแท้, 5 พฤศจิกายน 2014.

  1. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    อสัญญีสัตว์..??
    ได้ทั้ง 8 รูปแบบ คืออะไรจ๊ะ..? อ้อความเชื่อ ในพรหมชาลสูตร
    นั่นเป็นความเชื่อ.. ของ...สมณพรามหณ์พวกหนึ่ง..
    ซึ่งมีทั้ง อสัญญีทิฏฐิ (และทิฏฐิอื่นๆ(ทิฏฐิ 62))
    ไม่ใช่สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัส.. แต่พระพุทธองค์ทรงทราบมากกว่านั้น
    อสัญญีทิฏฐิ ๘
    [๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการ
    ตายไม่มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา ด้วยเหตุ ๘ ประการ
    ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจาก
    การตายไม่มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา ด้วยเหตุ ๘ ประการ?
    สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมบัญญัติว่า เบื้องหน้าแต่ตาย
    ๓๕. (๑) อัตตาที่มีรูป ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
    ๓๖. (๒) อัตตาที่ไม่มีรูป ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
    ๓๗. (๓) อัตตาทั้งที่มีรูป ทั้งที่ไม่มีรูป ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
    ๓๘. (๔) อัตตาทั้งที่มีรูปก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
    ๓๙. (๕) อัตตาที่มีที่สุด ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
    ๔๐. (๖) อัตตาที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
    ๔๑. (๗) อัตตาทั้งที่มีที่สุด ทั้งที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
    ๔๒. (๘) อัตตาทั้งที่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย
    ไม่มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญาด้วยเหตุ ๘ ประการนี้แล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย
    ไม่มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา สมณพราหมณ์เหล่านั้น
    ทั้งหมดย่อมบัญญัติด้วยเหตุ ๘ ประการนี้เท่านั้น หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ บุคคลถืออย่างนั้น
    แล้ว ยึดอย่างนั้นแล้ว ย่อมมีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น และตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด ทั้งรู้ชัดยิ่ง
    กว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่นก็ทราบความเกิดขึ้น ความดับไป คุณและ
    โทษของเวทนาทั้งหลายกับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริงจึงทราบ
    ความดับได้เฉพาะตน เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.

    ..
    ซึ่งถ้าหากเข้าทาง เนวสัญญานาสัญญา ทำไมมาเป็นพรหมล่ะ..
    น่าจะเป็นพวกอรูป ไม่มีรูปมีจิต หรือเปล่าจ๊ะ
    แสดงว่า น่าจะเข้าทาง ปัญจมฌานหรือรูปฌานสี่ ซิจ๊ะ??
    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ตั้งฉาก [​IMG]
    คิดว่า ท่านผู้นี้คงไม่ได้กล่าวผิด อะนะ
    สภาวะ อสัญญี จะเกิดขึ้นเมื่อก้าวล่วง เนวะสัญญานาสัญญาฯ เท่านั้น พอๆกับ สัญญาเวทยิตฯ
    การเข้าไปในฌาน4 แล้วทุกอย่างดับวูบ นั่นเป็นการตกภวังค์ (อาการนี้จะเกิดแวบเดียว แทบเสี้ยววินาที) เสมือน รอยต่อจิต ต่อจิต (ถ้าได้เห็นก๋ถือว่า ได้เห็นจิตเกิดจิตดับ โดยอนุมาน)
    แต่ อสัญญีภูมินั้นต่างกันลิบลับ หล่นเข้าไปในภูมินี้ ทุกอย่างกลับมา อาจผ่านไปหลายชั่วโมง หรือ หลายวัน หรือ หลาย อาทิตย์ หรือ หลายปี ...
    รอยต่อ ระหว่างเนวะสัญญานาสัญญาฯ กับ สัญญาเวทยิทฯ มีจุดเด่น ที่เด่นชัดอยู่ ... (อันนี้ ไม่ขอกล่าว เมื่อล่วงถึง จะรู้เอง) ขณะที่ ขาดสติ หรือ กำลังสติไม่แกร่งกล้าพอ อาจจะหลุดเข้าไปใน อสัญญีสัตวภูมิ ซึ่งเป็นภพที่ยอดเยี่ยม แต่พระพุทธเจ้ามิได้สรรเสริญภพนี้ ฤาษีในอดีตกาลที่เข้าไปที่นี่แล้วจึงสำคัญผิดว่า นี่คือที่สุดแล้ว
    (พระพุทธเจ้า จึงพยายาม แก้ไขทิฏฐิ นี้)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤศจิกายน 2014
  2. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    อันนี้ลองวิเคราะห์ดู คำว่าย่อมมีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น
    น่าจะเชื่อมมาจาก ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านั่นเลย
    คือถืออย่างนั้น ยึดอย่างนั้น ย่อมมีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น
    แต่พระพุทธองค์ทรงรู้เหตุนั้นชัด ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น..
    ทั้งยังไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย

    อันนี้เป็นอสัญญีทิฏฐิของสมณพรามหณ์พวกหนึ่ง..
    ๓๕. (๑) อัตตาที่มีรูป ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
    ๓๖. (๒) อัตตาที่ไม่มีรูป ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
    ๓๗. (๓) อัตตาทั้งที่มีรูป ทั้งที่ไม่มีรูป ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
    ๓๘. (๔) อัตตาทั้งที่มีรูปก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
    ๓๙. (๕) อัตตาที่มีที่สุด ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
    ๔๐. (๖) อัตตาที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
    ๔๑. (๗) อัตตาทั้งที่มีที่สุด ทั้งที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
    ๔๒. (๘) อัตตาทั้งที่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.

    ..ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ บุคคลถืออย่างนั้น
    แล้ว ยึดอย่างนั้นแล้ว ย่อมมีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น
    และตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด ทั้งรู้ชัดยิ่ง
    กว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย
    เมื่อไม่ยึดมั่นก็ทราบความเกิดขึ้น ความดับไป คุณและ
    โทษของเวทนาทั้งหลายกับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริงจึงทราบ
    ความดับได้เฉพาะตน เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.
     
  3. ตั้งฉาก

    ตั้งฉาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +573

    ถูกแล้ว เป็นความเชื่อของ พราหม ทั้งสิ้น พระพุทธเจ้าต้องการถอดถอน สิ่งเหล่านี้ ออกจากทิฏฐิคนเหล่านั้น

    อสัญญีสัตวภูมิ พระพุทธเจ้า อ้างอิงไว้ (จริงๆ ก็มาจาก ไตรเวท แหละ ของพราหม)

    นอกเหนือจาก อริยะ เรียกสัตว์หมด แม้แต่ พรหมก็เป็นภพของสัตว์


    ความจงใจล่วงข้ามเนวะสัญญานาสัญญาฯ มิใช่เพื่อเข้าสู่อสัญญีภพ แต่เพราะกำลังสติไม่เพียงที่จะไปต่อ จึงไม่มีสัญญา (อาจทั้ง มีรูป และ ไม่มีรูป ขึ้นกะจิตสุดท้าย)

    แต่จริงๆ เราคงรู้กันอยู่ ว่า พระพุทธเจ้า มิได้แบ่งให้ อสัญญี อยู่ในส่วนใดๆทั้งสิ้น (ที่เรียกพรหม เพราะเรียกตามกันมา เพื่อความเข้าใจระดับช่าวบ้านให้เห็นง่ายๆ) ถ้าในระดับธรรมชั้นสุง แล้ว ไม่ใช่


    อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสกล่าว "แต่เมื่อตาย"

    ที่ได้มาร์คพยัญชนะสำคัญไว้ ฌาน4 นั้นตายแล้วเหรอ?
     
  4. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ที่ไหนๆ ก็คงว่า อสัญญีพรหม ได้ฌานสี่ หรือปัญจมฌานตามหลักอภิธรรม
    เขาแต่งมาจากคำสอนใครกันนะ?

    ชั้นที่ 11 อสัญญีสัตตาภูมิ[แก้]
    ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้หาสัญญามิได้ (คือมีแต่รูป) พรหมโลกชั้นที่ 11 อสัญญีสัตตาภูมิ เป็นที่อยู่ของพระพรหมผู้อุบัติเกิดด้วยอำนาจแห่งสัญญาวิราคภาวนา เสวยสุขอัน ประณีตนักหนา เคยเจริญภาวนากรรมบำเพ็ญสมถกรรมฐาน จนได้สำเร็จจตุตถฌาน อันเป็นรูปฌานขั้นสูงสุดสถิตย์อยู่ในปราสาท แก้ววิมานอันมโหฬารกว้างขวาง มีบุปผชาติประดับประดาเรียบ ไม่รู้แห้งเหี่ยว มีหน้าตาสวยสง่าอุปมาดังรูปพระปฏิมากรพุทธรูปทองคำขัดสี แต่มีอิริยาบถไม่เหมือนกัน บางองค์นั่ง บางองค์นอน บางองค์ยืน มีอิริยาบถใดก็ เป็นอย่างนั้นตลอดไป ไม่เคลื่อนไหว จักษุทั้งสองก็มิได้กะพริบเลย สถิตย์เสวยสุขเป็นประดุจรูปปั้น อยู่อย่างนั้นชั่วกาล มีอายุแห่งพรหมประมาณ 500 มหากัป
    พรหมภูมิ - วิกิพีเดีย
    ..

    จตุตถฌานภูมิ มี ๗ ภูมิ
    ๑๐. เวหัปผลาภูมิ เป็นที่ปฏิสนธิของปัญจมฌานวิบาก หรือเป็นที่เกิด ที่อยู่ ของพรหมที่ได้ปัญจมฌาน อันเป็นผลของปัญจมฌานกุสล
    ๑๑. อสัญญสัตตภูมิ เป็นที่ปฏิสนธิของปัญจมฌานวิบาก หรือเป็นที่เกิด ที่อยู่ ของพรหมที่ได้ปัญจมฌาน อันเป็นผลของปัญจมฌานกุสล ที่เจริญสัญญาวิราคะ ภาวนา ต่อไปอีกโสดหนึ่งด้วย
    ภูมิที่ ๑๐ และ ๑๑ รวม ๒ ภูมินี้เป็นชั้นเดียวกัน อยู่ในระดับเดียวกัน ไม่สูง ไม่ต่ำกว่ากัน และ อายุก็เท่ากันด้วย
    <TABLE border=1 cellSpacing=1 cellPadding=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 0.75pt; PADDING-LEFT: 0.75pt; PADDING-RIGHT: 0.75pt; PADDING-TOP: 0.75pt">๑๒. อวิหาภูมิ
    ๑๓. อตัปปาภูมิ
    ๑๔. สุทัสสาภูมิ
    ๑๕. สุทัสสีภูมิ
    ๑๖. อกนิฏฐาภูมิ
    </TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 0.75pt; PADDING-LEFT: 0.75pt; PADDING-RIGHT: 0.75pt; PADDING-TOP: 0.75pt">ทั้ง ๕ ภูมินี้ คือ สุทธาวาสภูมิ
    เป็นคนละชั้นกันทั้ง ๕ ภูมิและอยู่สูงต่ำกว่ากัน
    ตามลำดับ ทั้ง ๕ ชั้น



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ผู้ที่จะไปปฏิสนธิในสุทธาวาสภูมิได้นั้น จะต้องเป็นปัญจมฌานลาภีอนาคามิผล บุคคล คือ พระอนาคามีที่ได้ปัญจมฌานด้วย เพราะว่าสุทธาวาสภูมินี้เป็นที่อยู่ของ ผู้ที่มีจิตใจผุดผ่อง ไม่ข้องอยู่ในกามคุณทั้ง ๕ อย่างเด็ดขาด
    ปริจเฉทที่ ๕ - thepathofpurity
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤศจิกายน 2014
  5. testewer

    testewer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +758
    ขอตอบท่านผู้ถาม "ทิฏฐิของเรื่องอสัญญีทิฏฐิ " แบบนี้ว่า ธรรมที่ท่านสงสัยนี้เป็นธรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงการหลุดพ้นมากนัก แต่ผู้หลุดพ้นนี้ทราบดีโดยคำตอบ สิ่งที่ท่านถามมานี้เป็นเรื่องยากต่อการเข้าใจของปุถุชน แม้องค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนหลายๆท่านยังเข้าใจไม่ตรงกัน แล้วผู้อธิบายนี้จะมีความสามารถให้ผู้อ่านเข้าใจได้ตรงกันอย่างนั้นหรือ

    คำสอนขององค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าที่ยกมาในกระทู้ด้านบนก่อนหน้านี้ เป็นคำสอนที่สมบูรณ์อยู่เดิม และอธิบายสภาวะธรรมะ สภาวะจิตของผู้หลุดพ้นไว้ด้วย แต่หลายท่านก็ยังไม่เข้าใจ สำหรับผู้หลุดพ้นแล้ว มีจิตซึ่งละเอียดและประณีตกว่ามาก มีหรือจะไม่รู้ที่หยาบกว่า ถ้าอธิบายไปก็จะเพิ่มความลังเล ความสงสัย ไปเพิ่มนิวรณ์ ให้ผู้อ่านมากขึ้น เป็นสิ่งที่ไม่พึ่งกระทำ
     
  6. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์
    วรรคที่ ๑๕ อสัญญสัตตูปิกากถา


    อรรถกถาอสัญญสัตตูปิกากถา
    ว่าด้วยสมาบัติที่ให้เข้าถึงภพอสัญญสัตว์
    บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสมาบัติที่ให้เข้าถึงภพอสัญญสัตว์.
    ในเรื่องนั้น ภาวนาที่เป็นไปด้วยอำนาจแห่งสัญญาวิราคะ เป็นอสัญญสมาบัติบ้าง เป็นนิโรธสมาบัติบ้าง ชื่อว่าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ. เพราะฉะนั้น สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติจึงมี ๒ คือ เป็นโลกิยะและโลกุตตระ. บรรดาสมาบัติเหล่านั้น สมาบัติที่เป็นเหตุให้เข้าถึงอสัญญสัตว์ของปุถุชนเป็นโลกิยะ ที่เป็นของพระอริยะทั้งหลายเป็นโลกุตตระ แต่สมาบัติที่เป็นของพระอริยะนั้นย่อมไม่เป็นสมาบัติที่เป็นเหตุให้เข้าถึงความเป็นอสัญญสัตว์.
    ก็ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายเหตุวาททั้งหลายว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นสมาบัติที่ให้เข้าถึงความเป็นอสัญญสัตว์ โดยไม่แปลกกัน เพราะไม่ทำวิภาคอย่างนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
    ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อท้วงด้วยอำนาจแห่งกุสลมูล คืออโลภะเป็นต้น ว่ามีอยู่แก่ผู้เข้าอสัญญสมาบัติ แต่ไม่มีแก่ผู้เข้านิโรธสมาบัติ จึงกล่าวคำว่า อตฺถิ กุสลมูล... มีอยู่หรือเป็นต้น.
    ในปัญหาว่า แม้ในนิโรธสมาบัตินี้ ผู้เข้าก็ไม่มีสัญญา ได้แก่ ความเป็นผู้ไม่มีสัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้ว เพราะการเข้าสมาบัติในธรรมวินัยนี้ด้วยอำนาจแห่งสัญญาวิราคะ.
    คำว่า แม้ในภพแห่งอสัญญสัตว์นั้น ก็ตรัสด้วยความเป็นอสัญญสัตว์นั่นแหละ เพราะฉะนั้น ปรวาทีผู้ถือเอาปฏิญญานี้แล้วจึงให้ลัทธิตั้งไว้ แต่ก็ตั้งไว้โดยอุบายลวง. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ความเป็นผู้ไม่มีสัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตหมายเอานิโรธสมาบัติในพระธรรมวินัยนี้ คำว่า แม้ในภพอสัญญสัตว์นั้น ได้แก่นิโรธสมาบัติของพระอนาคามีผู้เคลื่อนจากโลกนี้ทีเดียว แม้เพราะเหตุนั้น ลัทธิที่ปรวาทีปฏิญญาตั้งไว้นี้ย่อมไม่ตั้งอยู่ได้เลย ดังนี้แล.

    อรรถกถาอสัญญสัตตูปิกากถา จบ.



    ********************

    อธิบาย อัด ตา กถา

    " วิราคะ " เป็นชื่อ ของ นิพพาน

    สัญญาวิราคะ เป็นอารมณ์ ก็ควรจะหมายถึง " ทรงอารมณ์พระนิพพาน " หรือ หน่วง
    เอา นิพพานเป็นอารมณ์ ทำให้เข้า นิโรธนสมาบัติ

    ซึ่ง นิพพาน จะหน่วงมาเป็นอารมณ์ได้ ภาษาโบราณ ระบุเอาไว้ว่า

    "... นิโรธสมาบัติของพระอนาคามีผู้เคลื่อนจากโลกนี้ทีเดียว.... " [ ที่ปรากฏว่า เคลื่อนจากโลกนี้ เฉพาะ .... หรือ Only man who take a misstake meditation ]

    หมายความว่า ภาวนาผิด ไปหน่วง นิพพานเป็นอารมณ์ คิดว่า คือการดับขันธ์
    ปรินิพพาน ที่ไหนได้ ตายเปล่า ไปเกิดเป็น สัตว์ไร้สัญญา ใน ภูมิพรหมอนาคามีเท่านั้น
    ไม่ได้ สำเร็จ อรหันต์

    จนกว่า วิบากจิตนั้นจะดับ ออกจากนิโรธนาสมาบัติ ก็จะ ค่อยมาแจ้งอีกทีว่า ซี้เลี้ยวว๊า
    แล้วก็ อ๋อ แล้วก็ ไม่ต้องเคลื่อนไปไหน จบกิจ อันตรธาน ไป ณ ขณะจิตนั้นๆ

    ความที่ไม่ กลับมาโลกอีก จึงได้ อนุโลมให้ ภาวนาได้ แต่ หากจะให้ถูกต้อง ก็กำหนด
    รู้ความพอใจ ความไม่พอใจ กำหนดเวทนา เอาอีกที ให้มันถูกฝาถูกตัว ภาวนาจบตั้งแต่
    ยังเป็น มนุษย์โน้น ก็ไม่ได้เสียหายอะไร

    อนึ่ง ตรงนี้ พระสารีบุตร เคยทำการ อธิบายแก่ ภิกษุ เป็นอีกปริเฉทหนึ่งด้วยว่า แต่มี
    บุคคลบางจำพวก อนาคามีบางจำพวก ทรงนิโรธนสมาบัติแล้ว แต่ ก่อนตาย ก่อนเคลื่อน
    จากโลก บางพวกไม่ได้ไป สุธาวาส แต่ไปเป็นสหายอยู่กับ "พวกสำเร็จด้วยใจ" ซึ่งก็มี
    ภิกษุชื่ออะไร จะไม่ได้ค่อยได้ น่าจะ อุบาลี ย้อนแย้งเป็นวรรคเป็นเวรกับ พระสารีบุตร

    ยกว่า พระสารีบุตร กล่าวธรรมไม่ใช่ธรรม ....ทำให้ พระพุทธองค์ ตรัสว่า " เบื่อหน่าย
    กับพวกไม่มีอินทรีย์แล้วไม่รู้ตัวว่าไม่มีอินทรีย์ " ตรัสแค่นั้น ก็ จบกถาไป ( หมายถึง พระ
    ที่เถียงกับ พระสารีบุตร ก็ไม่ยอมลงให้วันยันค่ำ )


    กลับมาที อัด ตา กถา

    จะเห็นว่า ตำรา ภูมิ11 จำศัพท์ไปกระเดียด ไปหยิบ " สัญญาวิราคะ " มีแก่ นักภาวนา
    โหลยโถ้ยบางจำพวก ที่ยกก้นว่า สำเร็จ "ปัญจมฌาณ" ( ฌาณของ พระโพธิสัตว์ ) พอยก
    ก้น พวกมืดแปดด้าน ทำฌาณไม่เป็น ว่า คือ ปัญจมฌาณ แล้ว ก็อาศัย อำนาจ มืดแปด
    ด้านไม่รู้ว่า อะไรคือนิพพาน รู้แต่ มีความมืดแปดด้านไม่ฮือไม่อือ คือ สัญญาวิราคะ แล้ว
    ประกาศว่า อสัญญีสัตตา พรหมลูกฟัก มี นิพพานเป็นอารมณ์ได้ ( มันจะไปเอามาจากไหน)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤศจิกายน 2014
  7. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ในกรณี สัตว์บางจำพวก ที่เอาแต่ ท่องจำ และ การถกเถียง ทางธรรมะ เป็นบ้าน เป็นหลัง

    พวกนี้ ทำฌาณไม่เป็น ปฐมฌาณ ก็ยังไม่เคยสัมผัส ไม่รู้เรื่อง จิตไม่โน้มไปด้วย เพราะถ้า
    ภาวนาแล้ว ปล่อยจิตให้โน้มไปสู่ฌาณ เวลา ถอยกลับมายังโลก จะปรากฏ ความคิด ดัง
    เซ็งแซ่ จับต้นชนปลายไม่ถูก จนเหมือนคน เสียสติในการพูดการจา ไปเข้าใจว่า สมอง
    เสียหาย เดี๋ยว ไอ้ที่ท่องๆไว้ จะหายไป พูดไม่ได้ อายเขาแย่ โดนข้อหา เอ๋อ

    ก็เลยไม่โน้มไปแม้กระทั่ง ปฐมฌาณ แล้วไป ต้านเอาไว้ ทำให้ จิตมันจะรวม ก็รวมไม่ได้
    ไปต้านเอาไว้ มันก็เกิดเป็นอาการหน่วงๆ บางประการ เป็นก้อนๆ ส่วนใหญ่จะ ดำๆ แข็งๆ

    แล้วไปเข้าใจว่า นั่นคือ รูปฌาณ อรูปฌาณ อาการมืดแปดด้าน สัญญาจับต้นชน
    ปลายไม่ได้คือ วิราคะสัญญา จริงๆคือ ( นานัตสัญญา ) ที่ จิตมันไม่ยอม ล่วงผ่าน
    แทนที่จะได้ ปฐมฌาณ ไม่เอา ไปเอา สภาวะมืดๆ แล้วอุปโลคกันเองว่า " สัญญาวิราคะ "
    [ สภาวะมืดๆ ตรงนี้ ทำให้ พวกเถียงเก่ง บางคน หลับได้นานสามสี่วัน หรือ เดือน
    โดยไม่กินข้าว กินปลา ได้เหมือนกัน ]

    พวกนี้ ทีมันมืดๆ ไม่ใช่อะไร มันเป็น ภพ อเวจีมหานรก ที่มืดๆ ไม่เห็นใคร ไม่เอาใคร

    ที่เกิด อารมณ์แบบนั้น มาห้อมล้อม เพราะ ไอ้ตอน ถุ่มเถียงกันทางธรรมะ มันจะเก็บ การ
    ไม่เอาโลก ไม่เอาใคร เก็บเอาไว้เป็น วิบาก ที่เรียกว่า อจิณกรรม

    ดังนั้น

    พวกที่ เน้นเถียงธรรมะ บางประเภท ไม่ใช่ได้ อสัญญีสัตตา(สัญญาวิราคะด้นเดาด่าสุ่ม)
    แต่น่าจะเรียกว่า ได้ วินาจสันตโลสัตตา คงจะเหมาะกว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤศจิกายน 2014
  8. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ผู้หลุดพ้นนี้ ทราบดีโดยคำตอบ เลยบอกใครไม่ได้เลยเหรอจ๊ะ
    ก็ดีแล้วจ๊ะ
    ฟังคำสอนของพระพุทธองค์ ดีกว่า

    พระไตรปิฏกยังมี ครูบาอาจารย์ที่ถ่ายทอด ยังมีอยู่..
    อรรถกถาก็ค้นได้ ยุคนี้ยังโชคดีอยู่มาก..เนอะ
    สมควรกระทำรึเปล่านะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤศจิกายน 2014
  9. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อรรถกถา แม้นหาได้

    ก็ต้อง อัด ตา กถา ย้ำๆ ให้ดีๆ


    ประโยคข้างบนนี้ มันตลก

    ตลก ตรงที่ สัญญาเวทยิตนิโรธน เป็น โลกียะ ได้

    แล้วไป บอกอีกว่า ปุถุชนที่ทำสัญญาเวทยิตนิโรธนได้ อันนั้น ให้ถือเป็น โลกียะ
    [ แต่ ในประโยค อรรถกถา ใช้คำอื่น อันนี้ แกล้ง อัด ตา กถา เข้าไป ]

    มันมีที่ไหน ปุถุชน ทำ สัญญาเวทยิตนิโรธนได้

    แม้นจะมี การถุ่มเถียงกัน ถึง ทักขินัยบุคคลประเภทที่9 ( โคตรภู )

    ก็ยังเป็นที่ ถกเถียงกันอยู่ว่า พระโพธิสัตว์เสพ สัญญาเวทยิตนิโรธน ได้ไหม
    โดยไปเทียบเอา " วิถีจิตก่อนบรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ " ก่อนจะขึ้น อาสวะขยะญาณ
    พระโพธิสัตว์ เสพอานาปานสติ เป็น กานคตาสติ แล้ว เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธน
    แล้วจึงออกมา พิจารณา จุตูปาตญาณ บุพเพวาสานุสติญาณ หลังจากนั้น จึง
    ค่อยนำเข้า อาสวะขยะญาณ (บรรลุ สัมมาสัมโพธิญาณ )

    นะ ...

    แต่เท่าที่จำได้ หลวงพ่อพุธ อธิบาย ถึง วิถีจิตท่านชายสิทธัตธะ ไว้อีกปริเฉทหนึ่ง

    ก็กล่าวถึงไว้ แล้วแต่ว่า ใครจะเอามาอ่าน " ประดับสุตตมัยยปัญญา " [ สาวก ที่ไหน
    จะต้องไป สนใจ วิถีจิต สัมมาสัมโพธิญาณ และ ยังมี อนุตระสัมมาสัมโพธิญาณ
    อีก 7 วันหลังจากนั้น ]





    แต่ แหม ปัญจมฌาณ มีแก่ บุคคลทั่วไป เพื่อให้มัน ลงกันได้ กับ สัญญาเวทยิตนิโรธน
    แล้ว ดันก้น ปุถุชน - อสัญญีสัตตา ว่า ได้สมาบัติจาก " ฌาณ5 "
    แล้ว วกเข้า สัญญาวิราคะ ............ สุดยอดของ การจับ ศัพท์ เลยนะเนี่ยะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤศจิกายน 2014
  10. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    อสัญญสัตตูปิกากถา
    [๑๖๓๐] สกวาที สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เป็นเหตุให้เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์​
    หรือ?
    ปรวาที ถูกแล้ว
    ส. กุศลมูลคืออโลภะ กุศลมูลคืออโทสะ กุศลมูลคืออโมหะ ศรัทธา วิริยะ
    สติ สมาธิ ปัญญา ของบุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มีอยู่หรือ?
    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
    ส. กุศลมูลคืออโลภะ กุศลมูลคืออโทสะ ฯลฯ ปัญญาของบุคคลผู้เข้า
    สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ไม่มีหรือ?
    ป. ถูกแล้ว
    ส. หากว่า กุศลมูลคืออโลภะ กุศลมูลคืออโทสะ กุศลมูลคืออโมหะ
    ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของบุคคลผู้เข้าสัญญเวทยิตนิโรธ
    ไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เป็นเหตุให้เข้าถึง
    ภพแห่งอสัญญสัตว์
    [๑๖๓๑] ส. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เป็นเหตุให้เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์ หรือ?
    ป. ถูกแล้ว
    ส. ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต ของบุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ
    มีอยู่หรือ?
    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
    ส. ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต ของบุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ
    ไม่มีหรือ?
    ป. ถูกแล้ว
    ส. บุคคลผู้ไม่มีผัสสะก็มีการเจริญมรรคได้ ฯลฯ บุคคลผู้ไม่มีจิต ก็มีการเจริญ
    มรรคได้ หรือ?
    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
    ส. บุคคลผู้มีผัสสะ มีการเจริญมรรคได้ ฯลฯ บุคคลมีจิต มีการเจริญมรรคได้
    มิใช่หรือ?
    ป. ถูกแล้ว
    ส. หากว่า บุคคลผู้มีผัสสะ มีการเจริญมรรคได้ ฯลฯ บุคคลผู้มีจิต มีการ
    เจริญมรรคได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เป็นเหตุให้
    เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์
    [๑๖๓๒] ส. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เป็นเหตุให้เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์ หรือ?
    ป. ถูกแล้ว
    ส. ชนเหล่าหนึ่งเหล่าใด เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ชนเหล่านั้นทั้งหมด เป็น
    ผู้เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์ หรือ?
    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
    [๑๖๓๓] ป. ไม่พึงกล่าวว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เป็นเหตุให้เข้าถึงภพแห่ง
    อสัญญสัตว์ หรือ?
    ส. ถูกแล้ว
    ป. แม้ในนิโรธสมาบัตินี้ ผู้เข้าก็ไม่มีสัญญา แม้ในภพแห่งอสัญญสัตว์นั้น
    ผู้เข้าถึงก็ไม่มีสัญญา มิใช่หรือ?
    ส. ถูกแล้ว
    ป. หากว่า แม้ในนิโรธสมาบัตินี้ ผู้เข้าก็ไม่มีสัญญา แม้ในภพแห่งอสัตว์
    นั้น ผู้เข้าถึงก็ไม่มีสัญญา ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่าสัญญาเวท-
    ยิตนิโรธสมาบัติ เป็นเหตุให้เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์
    อสัญญสัตตูปิกากถา จบ

    ..
    กรณีพวกสกวาทีถาม ปรวาทีตอบ นั่นถือเป็นเพียงทิฏฐิ
    ทั้งโลภะของสกวาที หรืออุบายลวงของปรวาที
    แม้นในอรรถกถา ก็กล่าวบอก
    จริงไม่จริง ต้องดูพระวจนะอีกที

    ..
    ส่วนเรื่องสัญญาเวทยิตนิโรธ เคยอ่านนานแล้ว
    บ้าง..ก็มีที่กล่าวว่าเป็น ฌานโลกีย์กึ่งโลกุตตระ(ไม่ใช่โลกียฌาน)
    ผู้เข้าได้เป็นพระอนาคามีขึ้นไปโดยเป็นผู้คล่องฌาน
    คือมรรคจิตเกิดแล้วไม่เกิดอีก แต่ผลสามารถเกิดได้เรื่อยๆ
    ที่ว่าเป็นโลกีย์คือดับสัญญาและเข้าสมาบัติ แต่ที่ว่าเป็นโลกุตตระเพราะเป็นฌานของพระอริยะ
    จัดอยู่ในอนุปุพพวิหาร9
    คือ รูปสมาบัติ4 อรูปสมาบัติ4 สัญญาเวทยิตนิโรธ1(ที่พักของพระอริยะ)
    ประมาณนี้จ๊ะ ใครสนใจลองค้นอ่านดู

    http://www.palapanyo.com/files/tpd/fcontent.php?f=Tripitaka-Attakata/81/src/810456.txt
    http://www.nkgen.com/434.htm
    http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤศจิกายน 2014
  11. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ก็ต้อง พินา นะ

    ถ้าจะ ยอมรับ สัญญาเวทยิตนิโรธน มีแบบ โลกียะ ได้
    หรือ จะกล่าวไปว่า มีแก่ ปุถุชน ได้

    ก็ต้อง ย้อนแย้งให้ดีๆว่า ทำไม พระโพธิสัตว์ ภาวนาเข้า
    อสัญญีสัตตา เรียกว่า พลาด

    ถ้า มันเป็น สิ่งดี สิ่งที่ ช่วยให้ ถึง ปลายทาง ถึงจุดหมายได้ [ นิโรธนสมาบัติ ย่อม
    มีอานิสงค์ให้ บรรลุแน่นอน แช่แป้ง ]

    แล้ว ทำไม การเสพสมาบัติ ด้วย อสัญญีสัตตา ( สัญญาเวทยิตนิโรธน ตรรกศาตร์ )
    ในบางตำราถึงกล่าวว่า ภาวนาพลาด [ อ้างจาก นิยตะ จะไม่เข้า พรหมลุกบวบ อีก ]
     
  12. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    เยอะซะขี้เกียจอ่าน

    อันนี้ความเห็นส่วนตัว ผมไม่รู้ผมเข้าใจถูกหรือเปล่า
    จิต = มีดวงเดียว ท่องเที่ยวไป เป็นเป็นเชื้อเกิด ถ้าดับ = นิพพาน
    แต่ที่เกิดๆดับๆ ทุกขณะ หรือบางขณะ คืออาการของจิต

    เหมือน แสงไฟ กับ หลอดไฟ ก็ถือว่าเป็นคนละอัน
     
  13. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,337
    ============

    ท่านรู้ได้อย่างไรว่า พลาด อะไรคือหมายถึง พลาด

    ความจริงพระโพธิสัตว์ผู้มีบารมีมาก ย่อมเจริญในฌาณสมาบัติ แม้การที่ตนจะเจริญ ซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ไม่ใช่เป็นกาลของท่าน เพราะด้วยวิปัสสนาที่ท่านสั่งสมมาดี ถือครองความเป็นผู้มีจิตสูง มีเมตตาไม่มีประมาณ ท่านย่อมรู้แจ้งในกาล ว่ายังไม่ถึงเวลา เพราะวิสัยแห่งพระโพธิสัตว์ ผู้เป็นนิยตะ ย่อมไม่กระทำสัญญาเวทยิตนิโรธ หากแต่รอเวลาตรัสรู้เท่านั้นในพระชาติสุดท้าย

    มันเป็นความเข้าใจ คนละส่วนกัน ที่ไม่ควรนำมาเปรีบเทียบกัน เพราะมีวิถีต่างกัน

    อุปมาดั่งการเป็นอริยะบุคคลของพระโสดาบันไปจนถึงพระอรหันต์ กับความเป็นพระโพธิสัตว์ นั่นเอง เพราะบัญญัติแห่งความเป็นโน่นนี่นั่น ขึ้นอยู่กับว่า เราบัญญัติมันไว้อย่างไรขอบข่ายมีแค่ไหนนั่นเอง

    แต่สิ่งที่เหนื่อสิ่งอื่นใดคือความเข้าใจในแก่นแท้อันเป็นความจริงนี่สิสำคัญและยิ่งใหญ่ที่ผู้มีปัญญาต้องรู้ต้องเข้าใจ ไม่อย่างนั้นจะนำตนและขนผู้อื่นข้ามทะเลได้อย่างไรครับ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2014
  14. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ทีเรียกว่า " พลาด " ก็เพราะว่า มันมี การภาวนาแบบหนึ่ง
    ที่เรียกว่า " การฉลาดในสัญญาอันเดียว "

    การฉลาดในสัญญาอันเดียว คือ การเอา สัญญาที่เคลื่อน เพียงตัวเดียว พอ
    มันเคลื่อนปั๊ป ก็กำหนดรู้ การเกิด การดับ ของ สัญญา ตัวนั้น เพื่ออาศัยระลึก

    การเอา สัญญา มาอาศัยระลึก ความเกิด ความดับ เพื่อเจริญสติ ตรงนี้จึงไม่
    จำเป็นต้องไปกังวลเรื่องการบัญญัติ สัตว์มีสัญญา หรือ สัตว์ไม่มีสัญญา หรือ
    สัตว์มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

    มันหมดความจำเป็น ที่จะต้องไป ห่วงเรื่อง สัญญา ที่กระเพื่อม สั่นไหว

    ดังนั้น มันจึงหมดความจำเป็นเรื่อง การเสพ การหมดสัญญา หรือ สิ่ง
    ที่นิยามกันว่า อสัญญีสัต ไปในตัว

    เพราะอะไร

    เพราะ กำหนดรู้ สัญญาเกิด สัญญาดับ มันก็ ประจักษ์ ภูมิจิต ภูมิธรรม ที่
    เป็นที่ความสิ้นไปของ " ขยะ " ที่เป็นฐานรองนั่งแห่ง สัตว์ ทั้งปวง อยู่แล้ว

    พระสารีบุตร จึงเป็น ผู้หนึ่งที่เป็น ตัวอย่างในการ มี "ฉลาดในการกำหนดรู้สัญญาอันเดียว"
    เพื่อดูความเกิด ความดับ จน หน้าตาสดใส ตะติ๊งโหน่ง จน ภิกษุหลายๆท่าน พอเจอ
    พระสารีบุตร ก็ทักว่า " ท่าน ท่าน ท่านภวานาอะไรมา ถึงได้ ดูกระจ่างใส ใช้แล้วตึง"

    ซึ่ง บทธรรม ที่ว่าด้วยการถามหา สะเนวล์ไวท์ แบบไหน ใช้แล้วใส ใช้แล้วตึง พอ
    แปลมาเป็น ภาษาทอย ก็ ทะลึ่งไปกล่าวว่า สัญญาเวทยิตนิโรธน โง่บานลาย กันไป


    สัญญาอันเดียว ที่เป็น สภาวะจิต ไม่ต้องเคลื่อนเข้าสู่ ภพ ภูมิ ฮาเฮว อะไร แม้
    กระทั่ง สัญญาเวทยิตนิโรธรนสมาบัติ คือ อานาปานสติ กรรมฐาน นี่แหละ

    ซึ่งเมื่อ ทำอานาปานสติ กรรมฐานได้อย่างยอดเยี่ยมแล้ว ไอ้เรื่อง สมาบัติ ก็เป็น
    สิ่งที่ ได้มาตาม วิบากแห่งจิต ของผู้ทำความเพียร ที่ฉลาดสุดลิ่มทิ่มประตู

    ไม่ใช่พวก ฉลาดสุดติ่ง ไปท่องคาถา จับมาพัด108 จบ ให้ความโลภ มันครอบใจ
    สัตว์กรุยทางให้สรรพสัตว์พร้อมแล่นไปสู่นรก ลายพร้อยเต็มหนังสัตว์ของมัน !!!
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2014
  15. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,337
    อสัญญี ต่อให้อ่านตำรามาเป็นล้านๆเล่มมันก็มีสภาวะเดียว ปฏิบัติเห็นมากี่แสนครั้งมันก็สภาวะอันเดียว ถ้าเข้าใจแก่นแท้แล้ว มันจบ มันอธิบายต่อเนื่องในความเกี่ยวข้องในความเป็นอสัญญีได้ เพราะอาศัย สัญญาวิราคะ คือความดับไปใน สัญญาปรุงแต่งทั้งปวง ฝ่ายนามลง คงเหลือแต่รูป ก็เท่านั้น

    แล้ว อัน ความดับไปแห่งสัญญาวิราคะ ละ ดับไปด้วยเหตุใด ด้วยเพราะอำนาจของฌาณสมาธิ หรือด้วยเพราะมีวิสัญญีภาพร่วมอยู่ อันหมายถึง ความไม่มีสติมากพอ อย่างนั้นหรือ

    แล้วสัญญาเวทยิตนิโรธ ละมันต่างกันห่างกันไกลแค่ไหนกับ ความดับไปแห่งสัญญาวิราคะ

    ในจุดนี้ผู้ปฏิบัติธรรม ต้องพิจารณาให้ดี สภาวะที่เกิด ทั้งฝ่ายรูปเป็นอย่างไร ดับไปหรือไม่ ฝ่ายนามละ มีกี่ตัว อะไรมันอยู่อะไรมันดับ หรือมันดับหมดเพราะอะไรทำให้ดับ คือเข้าไปรู้อะไร เห็นสัจจะธรรมอะไร ไตรลักษณ์มันเกิดกับรูปนาม ตามลำดับอย่างไร ครับ สาธุ
     
  16. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,337
    ว่าไปแล้ว มันก็เป้นธรรมดาของสัญญา คือ สัญญาอันเดียว

    สัญญามันก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไป สัญญาอันใหม่มันก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป สัญญามันก็ทำหน้าที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เช่นนี้ไม่จบสิ้น

    ถ้าท่านทำสัญญาอันเดียวดับได้ เห็นแจ้งในปัญญา รู้ทันเกิดดับ สัญญาอื่นๆก็ไร้ค่า มันก็ดับสนิทไม่มีเหลือ อสัญญีสภาวะมันก็ปรากฏ

    นั้่นแหละสภาวะมันก็เป็นธรรมดาแบบนี้ ปัญหาคือ ผู้ปฏิบัติแยกแยะอารมณ์ละเอียดเหล่านั้นได้หรือไม่ ตามทันหรือไม่
    ถามว่าทำไมต้องแยก ของที่รวม และบางครั้งให้รู้จักรวมของที่แยกกัน ก็เพราะมันมีเหตุมีผลนั่นเอง ถามว่าแล้วเหตุและผลที่ว่ามันคืออะไร

    คำตอบคือ มันไม่มีอะไรหรอกนอกจาก ปัญญา แล้วมันเกี่ยวอะไรกับปัญญา
    ก็เพราะปัญญาเกิดได้ด้วยการรู้แจ้งในสภาวะความจริงทั้งหมดนั่นเองครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2014
  17. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    คุณ TJS อย่าคิดว่า ไอ้ที่ผมโพสๆ นี่ ผมคุยกับคุณ นะ

    ถึงแม้นว่า จะมีการเอ่ยชื่อคุณ ก็ใช่ว่า จะมี เจตนาคุยกับคุณ

    การปรากฏของชื่อใดๆ ผมสามารถ เอามา รองบาท(า) เพื่อใช้เป็น สิ่งสมมติ ให้ภาษา
    คนมันเคลื่อนออกมาได้ ตรงเป้าหมาย ที่ไม่ใช่ สิ่งรองบาท(า)

    ดังนั้น

    อย่าละเมอ คิดว่า คุยอยู่กับ พวก ด้น เด้า เดาไป เรื่อยเปื่อย เก่งแต่ เอาน้ำลายที่
    เขาถุยทิ้งไป ขยำเป็นก้อน ว่าเป็นสิ่งที่ ตนรู้ ตนเข้าใจ
     
  18. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,337
    ผมคุยกัยใครก็ได้ครับ

    แต่ใคร จะไม่คุยกับผมอันนั้นก็เป็นเรื่องของท่านครับ

    ส่วนธรรมทาน ผมก็แสดงตามเหตุปัจจัย ตามภูมิ ไตรสิกขา ท่านใดจะเชื่อไม่เชื่อฟังไม่ฟังมัน แย้งไม่แย้ง มันก็เป็นสิทธิของท่านครับ

    ตามสบายครับ

    ผมไม่เคยรู้สึกอะไรใดๆกับใครหรืออะไร เพราะผมมีเฉพาะความรู้สึกที่มีกับตนเองครับ ไม่สนใจไหลตามจิตผู้อื่นครับ
     
  19. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,337
    ผมนี่ลูกพระพุทธเจ้า ลูกพระสารีบุตร ลูกพระโมคัลลา ลูกพระสังกัจจายน์ มีพ่อหลายคน เป็นธรรมบิดา ตัวเราเป็นอรหันบุตร แม้จะยังไม่ใช่อรหันต์ แต่ก็ได้ขอเดินตามท่านรู้แจ้งเหมือนท่าน

    สภาวะนี้รู้ดีย่อมได้อะไรดีๆจากท่านมาพอสมควรแล้ว

    เพราะตนย่อมเป็นที่พึ่งแห่งตนได้แล้ว จึงไม่ประมาทในการเดินมรรค เหมื่อนที่ใครบางท่าน อาจคิดว่าทำดีแล้วถูกแล้ว แต่อย่าคิดว่าไม่มีใครรู้ เพราะแท้จริง รู้ในรู้ในตนมันรู้ดีอยู่แล้วนั่นเองครับ รอเวลารู้ในรู้มันทำหน้าที่ของมันเมื่อไหร่ ก็ดับหมดทุกอย่างครับ ไม่มีอะไรให้ตนเองต้องวิตกกังวลใดๆอีกครับ
     
  20. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    ประสพการณ์ อสัญญี ที่เคยเป็นในอดีต

    +++ การปฏิบัติที่ทำให้ผมตกลงไปใน "อสัญญี" นั้นเกิดจากความ "ติดสงบ" ที่รู้จักกันและเรียกว่า "สมาธิหัวตอ" นั่นเอง

    +++ อาการเริ่มแรก จะได้ความ "สุข สงบ ร่มเย็น" แม้จะเดินในกลางแดดที่ร้อนอย่างไรก็ตาม แต่ความ "ร่มเย็น" ทั้งกายและใจ จะมีอยู่ตลอดเวลา

    +++ การพบปะพูดคุยกับคนอื่น หรือ "การเข้าสังคม" จะเป็นการ "รบกวน" ความร่มเย็น ตรงนี้ พอนานเข้าก็จะเห็นว่า "สังคม" เป็นอุปสรรคต่อ "ความร่มเย็น"

    +++ ไม่นานก็พยายามหาทาง "ปลีกตัว" (วิเวก) จากสังคม ไม่ยุ่งไม่สุงสิงกับใคร และ หามุมสงบอยู่เสมอ

    +++ พอนานเข้า แม้ว่าจะตัดสังคมออกแล้วก็ตาม ความวุ่นวายรำคาญใจ ก็ยังมีอยู่ เหตุเพราะ "ความคิดของตน" นั่นเอง เป็นอุปสรรคต่อ "ความร่มเย็น"

    +++ เมื่อเห็นตรงนี้ ก็จึงพยายาม "ตัดความคิดออกให้หมด" แล้ว "กลับสู่ ความร่มเย็น ของกายใจ" ตลอดเวลา (ไม่มีสติเป็นองค์ประกอบแม้แต่น้อย)

    +++ นานเข้า ไม่ว่า "จิตจะนึกคิดอะไร จะถูกตัดออกหมดทันที (ตัดสัญญา)" แล้วกลับสู่ "ความสงบร่มเย็น" ของกายใจ (เสพธรรมารมณ์) ต่อไป

    +++ ณ จุดนี้ เป็นอาการของ "ผู้ทรงฌาน (ฤษี) ตลอดเวลา" 7 ปี ไม่ว่าจะเป็น "ภพภูมิ รู้เห็น เบากายใจ อดีตอนาคต" อะไรต่าง ๆ ก็รู้ได้หมด


    +++ จากอาการ "อยู่กับความร่มเย็น" และ "ตัดสัญญา (ความจำ)" ทุกชนิด ไม่นาน แม้ว่าจะพูดคุยกับใครก็ตาม เมื่อคำพูดคำสุดท้าย จบลง "สัญญา (ความจำ) ในคำพูดนั้น ๆ ก็จบลงตามไปด้วย"

    +++ ไม่ว่า "ได้ยิน ได้ฟัง ได้พูด" อะไรก็ตาม เมื่อจบแล้ว "จะถูกตัดวาง และ ลืมโดยทันที" การละวางปล่อยวางนั้น จะถูก "วางที่สัญญา (ความจำ)"

    +++ จะเปิด "ตำรา" อะไรมาก็ตาม "จะเหมือน" ตลอดเวลา เช่น "การละวางปล่อยวาง" นิพพานคือ "การดับสนิท การดับเย็น" รู้เห็น อะไรต่อมิอะไร ก็เหมือนไปหมด ไม่ผิดแม้แต่นิดเดียว

    +++ การดำรงค์ชีพต่าง ๆ "เหมือนพระไม่มีผิด" และทุกอย่างคือ "การปล่อยวาง และ สงบเย็น ตลอดเวลา" ความเข้าใจในขณะนั้นกลายเป็นว่า "พระอรหันต์ ก็เท่านี้เอง" (ผิดถนัด)

    +++ ดังนั้นคำพูดที่ว่า "อสัญญีภูมิ คือ โลกียะนิพพาน" นั้น "ไม่ผิด" ตรงนี้ "ผู้ที่ผ่านมาแล้วเท่านั้น" จึงรู้ได้ชัดเจน

    +++ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม "ในเบื้องลึกของจิต" จะมีความรู้สึก "ทแม่ง ๆ อยู่ตลอดเวลา" ว่า "ยังไม่จบ" แต่ตำราทุกชนิดระบุว่า "จบแล้ว" แต่ตนเองไม่รู้ว่า "จบยังไง" แม้แต่นิดเดียว

    +++ สำหรับผมแล้ว "เป็นโชคดี" ระดับ 1/1,000,000 ที่ในขณะถอดจิตครั้งหนึ่ง (ปกติถอดรูปฌาน 4 แทบทุกวัน) มีพระสงฆ์มาเตือนว่า "โยม ฝึกมาผิดทางแล้วนะ โยม"

    +++ คำพูดประโยคเดียวเท่านั้น ทำให้ผม "เอะใจทั้ง ๆ ที่ยังถอดกายอยู่" ว่าสิ่งที่หลวงพ่อองค์นี้เตือนมานั้น "ถูกต้อง" หลังจากนั้นจึงได้ "หยุดการฝึกทุกชนิดลง"

    +++ ผลจากการ "หยุด" จึงทำให้เกิดอาการ "ฌานเสื่อม" ตรงนี้เป็น "ทุกข์" หากร่างกายแตกดับในระยะนั้น คง "ไม่พ้นอบาย" แน่นอน

    +++ ระยะของ "ฌานเสื่อม" กินเวลาอีก 7 ปี แต่ "สติและความจำ" ก็เริ่มกลับมาด้วยเหมือนกัน ตรงนี้เป็น "การแลกเปลี่ยนระหว่าง สติกับฌาน"


    +++ หลังจากที่ได้บวชแล้ว จึงเปลี่ยนวิธีการฝึกจาก "ตั้งจิตมั่น มาเป็น ตั้งสติมั่น" แทน จึงรู้ได้ว่า "ความจริงคืออะไร" และสามารถ "อยู่กับความเป็นจริง" ได้

    +++ ดังนั้น การถกเถียง "แย่งชิง" กันในเรื่อง "คำศัพท์" โดยไม่รู้จัก "อาการตามความเป็นจริง" นั้น แม้ว่า "จะเถียงชนะ" แต่ก็อาจก่อให้เกิด "วิบาก" ได้

    +++ หากการใช้ "คำศัพท์" นั้น ๆ ไม่สามารถ "ระบุอาการ" ได้ตรงกับความเป็นจริงแล้ว "การฝึกพลาด" ย่อมเกิดตามมาได้เสมอ


    +++ อาการแห่ง "ผู้วิเศษทรงฌาน" นั้นผมยุติมันลงได้สำเร็จตั้งแต่ปี 2529 วิถีแห่งปัจจุบันนั้น "อยู่กับสติ" และ "ธรรมมังสรณังคัจฉามิ" เป็นหลัก

    +++ อีกประการหนึ่งคือ "อสัญญี" นั้น ในยามปกติที่ "ทรงนิสัย สงบร่มเย็น" ตรงนี้เป็น "รูป"

    +++ และในยามที่เข้า "ตัดสัญญา และทรงอารมณ์ตรงนั้น" จะเป็น "อรูป" และลึกว่า "เนวสัญญา" (เหลือเพียงแค่ ยังไม่รู้จักความเป็น "ตน" เท่านั้น)

    +++ หากนับกันที่ "อารมณ์ฌานปกติ" แล้ว ที่ท่านตั้ง อสัญญี ไว้ติดกันกับ "สุทธาวาส" ก็ถือว่าไม่ผิด เว้นแต่ในกรณี "ดับสัญญา" ทิ้งเท่านั้นที่ในผัง ภพภูมิ ไม่มีระบุไว้ (โลกียะนิพพาน)


    +++ การฝึกปฏิบัติทั้งหลาย ควรฝึกจนรู้ว่า "ความเป็น ตน นั้นมาได้อย่างไร" ก็จะปฏิบัติไปได้ "ถูกทางเอง" โดยเริ่มที่ "สติ"

    +++ โพสท์นี้เห็นว่ามีการ "วิสัชชนา" กันในเรื่องของ "อสัญญี" จึงนำ "ประสพการณ์ที่ผ่านมาในอดีต" มาเล่าสู่กันฟังพอสังเขป เท่านั้นนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...