ความหมายของพระนิพพาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 20 มีนาคม 2015.

  1. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ตัณหาได้ชื่อว่า วานะ (สภาพสืบต่อภพ) เพราะสืบต่อภพน้อยภพใหญ่
    ส่วนบรมสุขที่ไม่ตายไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า พระนิพพาน เพราะหลีกออกจากตัณหา สมจริงดังพุทธวจนะว่า

    สภาพสงบแห่งสังขารทั้งปวง สภาพสละจากอุปธิทั้งปวง สภาพสิ้นไปแห่งตัณหา สภาพไม่กำหนัดยินดี สภาพดับตัณหา สภาพหลีกออกจากตัณหา
    ความสิ้นไปแห่งกิเลสทั้งมวลพึงมีได้ด้วยการบรรลุธรรมใด พระศาสดาผู้ทรงฉลาด
    ในพระนิพพานทรงแสดงธรรมนั้นว่า พระนิพพาน
     
  2. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    อ้าว..วานะ(สภาพสืบต่อ) แล้ว.. สันตติ ล่ะ แปลว่าอิหยังลุง อย่ามากั๊กดิ:'(
     
  3. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    ..นี่..ลุงหมาน นะชอบค้าขาย-ตามสวนมะพร้าวโดยเฉพาะ.. มะพร้าว ตลาดสี่มุมเมืองขายดีนะผมว่า แต่ปลูกยังไงล่ะ..ปลุกเป็นปล่าว :'(
     
  4. GipBall

    GipBall เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    109
    ค่าพลัง:
    +182
    อารมณ์นิพพาน (เอาแบบลูกทุ่ง)
    1.เวลาคนอื่นเขาพูดอะไรที่มันผิดเช่นเรื่องทั่วไป ที่มันผิดเราฟังได้ สมองรู้ในเนื่อเรื่อง แต่เราจาแย้งหรือไม่แย้งนั้นอีกเรื่อง เพราะใจของเรามันไม่ได้ถูกพลังงานของความอยากเอาชนะมากระตุ้นใจ......แต่ถ้าเป็นเรื่องที่เราถูกใส่ร้ายว่าเราขโมยของทั้งๆๆที่เราไม่ได้ขโมย อันนี้อารมณ์นิพพานเขาจาแย้งนะเพราะมันคนระเรื่องกัน

    2.อารมณ์เฉยๆๆในฌานต่างเหมือนอารมณ์นิพพาน แต่ต่างที่ หูฟังในสิ่งที่เขาพูดแต่ไม่รู้เรื่อง สมองไม่รับรู้เนื้อเรื่อง (แต่หัวจาตึงเขาเรียกว่ามึน)

    3.ถ้าอารมณ์ว่างในอรูปฌานต่างกันที่ (หัวไม่ตึง)โล่ง ฟังรู้รู้เรื่อง และโต้งแย้งจาเป็นจาตายเพื่อเอาชนะ ต่างกันอีกนิด พอออกมาจาผัสสะนั้นแล้วความว่างของอรูปฌานมันจาตัดความคิดออกเลย เหมือนอารมณ์นิพพานแป๊ะ แต่ต่างที่ ไม่กลัวบาป เถียงเอาชนะ กล้าลุย แต่อารมณ์ดับเร็ว (อรูปฌานขอเรียกว่าอารมณ์ว่าง ส่วนอารมณ์นิพพานขอเรียกว่าอารมณ์ อุเบกขา ส่วนอารมณ์รูปฌานนั้นขอเรียกว่าอารมณ์เฉย ไม่รับรู้อารมณ์ใดๆๆมึน ๆๆๆๆๆ)ส่วนอารมณ์ที่ใกล้นิพพานก็มีอีกอย่าง อารมณ์เอ๋อ คนเอ๋อสมองเขาไม่ค่อยคิดอะไรมาก แต่จิตเป็นพวกโมหะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 20 มีนาคม 2015
  5. GipBall

    GipBall เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    109
    ค่าพลัง:
    +182
    อีกวิธี ถ้าเช็คจิตของ อารมณ์นิพพานจิตเขาจาอยู่ภูมินิพพาน จิตของฌานก็อยู่ภูมิฌาน จิตของอรูปก็อยู่ภูมิรูป จิตของเอ๋อก็อยู่ภูมิเดรฉาน

    อาจารย์เพิ่นว่าไว้นะ ไม่ใช่เราว่า
     
  6. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    พระพุทธอุทาน ที่ได้ทรงเปล่งออกภายใต้ต้นโพธิ์เมื่อตอนตรัสรู้ใหม่ๆว่า

    วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา แปลว่า
    จิตของเราสิ้นการปรุงแต่ง, บรรลุพระนิพพานเพราะสิ้นตัณหาแล้ว

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  7. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    ".....ใน สิ่งนั้น แหละ นาม รูป ดับสนิทไม่เหลือ นาม รูป ดับสนิทไม่เหลือในสิ่งนั้น เพราะ การดับสนิท ของวิญญาณ".

    ในปฏิจสมุปบาท เพราะ มี วิญญาณ เป็นปัจจัยจึงมี นาม รูป.......
    หาก วิญญาณ ดับสนิท นาม รูป ก็จะไม่มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย.....
    สิ้นสุด การเกิด ดับไม่เหลือต่อไป นั่นคือ วิญญาณไม่มีการปรุงแต่ง
    เป็น อสังขตะธรรม นาม รูป ก็ต้อง ดับไปด้วย .

    ทีนี้ ก็เหลือวิธีที่จะทำให้ วิญญาณ ดับสนิท ทำอย่างไร ???????
     
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    นิ + วาน = นิพพาน (หลักไวยากรณ์ แปลง ว ที่ วาน เป็น พ = พาน แล้วซ้อน พ = นิพพาน

    นิ ไม่มี, ออก

    วาน = ตัณหา

    นิพพาน แปลว่า ออกไปจากตัณหาา, ไม่มีตัณหา

    เทียบอริยสัจ
    -ทุกข์
    -สมุทัย = ตัณหา
    -นิโรธ = นิพพาน
    -มรรค
     
  9. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    เพราะ ธรรมทั้งปวงเป็น อนัตตา

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

    _________________________________________________

    ๙. อนัตตเหตุสูตร
    ว่าด้วยความเป็นอนัตตาแห่งเหตุปัจจัย

    [๔๗] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้รูปเกิดขึ้น ก็เป็นอนัตตา
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า?

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนาเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้เวทนาเกิดขึ้น ก็เป็นอนัตตา
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนาเกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า?

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญาเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้สัญญาเกิดขึ้น ก็เป็นอนัตตา
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญาเกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า?

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้สังขารเกิดขึ้น ก็เป็นอนัตตา
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารเกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า?

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้วิญญาณเกิดขึ้น ก็เป็นอนัตตา
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า?

    อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้

    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ

    เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น
    เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
    กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

    จบ สูตรที่ ๙.
    _______________________________________________

    ดูๆไป คาถานี้ คล้ายๆเซน แต่จะเป็นเซนไปได้อย่างไร?
    ในเมื่อพุทธพจน์ทุกคำ เป็นเถรวาทโดยแท้

    ชาวเถรวาท ผู้นี้ จึงขอใช้คาถาเถรวาทบทนี้ เทียบเคียงกับธรรมอื่นๆ ดูบ้าง
    เพราะธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตาอยู่แล้ว

    โอภาสเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้โอภาสเกิดขึ้น ก็เป็นอนัตตา
    โอภาสเกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า?

    แสงเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้แสงเกิดขึ้น ก็เป็นอนัตตา
    แสงเกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า?

    หลงติดแสง ระวัง! จะเป็นแมลงเม่า บินเข้ากองไฟ

    เอวัง...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มีนาคม 2015
  10. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    [๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความนั้นเป็นไฉน
    รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?

    พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
    ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
    ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
    ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.


    ---ตรัสให้พิจารณาโดยยถาภูตญาณทัสสนะ---

    [๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล
    รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง
    ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก
    หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้
    ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่ารูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ

    เธอทั้งหลายพึงเห็นรูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ นั้น
    ด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า
    นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา

    [๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก ผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่ อย่างนี้
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ
    เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด
    เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น
    เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว


    อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว
    กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

    [๒๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว
    พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี เพลิดเพลินภาษิตของผู้มีพระภาค.

    ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่
    จิตของพระปัญจวัคคีย์ พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น

    ---อนัตตลักขณสูตร จบ---

    ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์.

    จาก พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔
    มหาวรรค ภาค ๑ อนัตตลักขณสูตร

    -------------------------------

    ในตอนท้ายอนัตตลักขณสูตรได้สรุปความลงว่า
    เมื่อพระผู้มีพระภาคย์ตรัสเรื่องราวนี้จบลง
    จิตของพระปัญจวัคคีย์ ก็หลุดพ้นจากอุปาทานที่ทำให้เข้าไปยึดถือขันธ์ ๕

    ทั้งนี้แสดงว่า
    บุคคลที่เข้าไปยึดถือขันธ์ ๕ และปล่อยวางขันธ์ ๕ เสียได้ในที่สุดนั้น
    ก็คือ จิต นั่นเอง

    ซึ่งย่อมเห็นได้ชัดเจนที่สุดว่า
    จิต กับ ขันธ์ ๕ นั้น เป็นคนละอย่างกัน ไม่ใช่อย่างเดียวกัน.


    อุปมาดัง คน ที่เข้าไปยึดถืออาศัย บ้าน อยู่
    คนย่อมไม่ใช่บ้าน และบ้านย่อมไม่ใช่คน ข้อนี้ฉันใด
    จิต กับ ขันธ์ ๕ ก็ฉันนั้น


    ดังนั้นจึงแยกกล่าวให้ละเอียดได้ว่า
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่ จิต

    แต่จิตเป็นผู้รู้ว่า
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มาเกิดขึ้นที่จิต แล้วก็ดับไปจากจิต


    -------------------------------

    คำว่า อนตฺตา ภาษามคธ เป็นคำปัดปฏิเสธ แปลเป็นภาษาไทยว่า ไม่ใช่ตัวตน

    คำนี้ พระพุทธเจ้าตรัสมีในอนัตตลักขณสูตร คือ
    ทรงแยกอัตตภาพร่างกายของคนออกแสดงเป็น ๕ หมวด ๕ กอง
    เรียกว่า ปัญจขันธ์ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

    แล้วตรัสปฏิเสธ ด้วยคำว่า อนตฺตา ไม่ใช่ตัวตน
    ซึ่งสามัญชนชาวโลกยึดถืออยู่ว่าเป็นอัตตาตัวตนโดยความสำคัญผิด
    เพราะฤทธิ์อวิชชา ไม่เห็นอัตตาอื่นนอกจากขันธ์ ๕ นั้น

    แต่พระองค์ทรงเห็นอื่นนอกจากขันธ์ ๕ นั้น
    เป็นตัวธรรมลี้ลับอยู่ ณ ภายใน คือ วิมุตติจิต วิมุตติธรรม

    จึงตรัสปัดปฏิเสธขันธ์ ๕ นั้น ด้วยคำว่า อนตฺตา ไม่ใช่ตัวตนได้
    คือ ทรงรู้จักสิ่งที่ใช่แล้ว จึงตรัสว่า สิ่งที่ถืออยู่นั้นไม่ใช่

    ทรงอธิบายขยายคำ อนตฺตา นั้นไว้ว่า
    เนตํ มม เนโสหมสฺมิ น เมโส อตฺตาติ ดังนี้ แปลว่า
    สิ่งนั้นไม่ใช่เรา เราไม่เป็นสิ่งนั้น สิ่งนั้นไม่เป็นอัตตาตัวตนของเรา ดังนี้

    เพราะรูปขันธ์ คือ ร่างกาย ก็เป็นธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม
    คุมกันเข้าเรียกสรีรยนต์กลไก มีทางดักจับอารมณ์อยู่ ๕ แห่ง คือ
    ตาดักรูปภาพ หูดักเสียง จมูกดักกลิ่น ลิ้นดักรส ผิวหนังดักเย็นร้อนอ่อนแข็ง

    ส่วนเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ๔ นี้
    ก็เป็นกิริยาจิตที่รับสัมผัสกับอารมณ์ภายนอกจากทวารนั้นๆ หาใช่ตัวตนไม่

    แต่เหล่าพุทธมามกชน ผู้ศึกษาปฏิบัติพระพุทธศาสนาโดยส่วนมาก
    เห็นว่า พระพุทธศาสนาถือว่าไม่มีตัวตน ยึดคำว่า อนตฺตา นั้นเป็นหลักอ้าง

    คำว่า ไม่มี กับ ไม่ใช่ หมายความคนละอย่าง

    คำปัดปฏิเสธว่าไม่มี หมายถึง สิ่งที่จำนงหวังจะได้ แต่สิ่งที่ต้องการนั้นไม่มี

    ส่วนคำปัดปฏิเสธว่าไม่ใช่ นั้น หมายถึง สิ่งที่ยึดถืออยู่แล้ว
    แต่หมายผิด ยึดผิด ถือผิด เข้าใจว่าถูกเพราะฤทธิ์อวิชชา

    ผู้รู้ เช่น พระพุทธจ้าตรัสว่า ไม่ใช่ ... สิ่งที่ใช่มีอยู่ แต่สิ่งที่ยึดถืออยู่นั้นไม่ใช่

    เจริณในธรรมทุกๆท่าน
     
  11. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    จิต และ วิญญาณขันธ์

    ทั้งนี้แสดงว่า
    บุคคลที่เข้าไปยึดถือขันธ์ ๕ และปล่อยวางขันธ์ ๕ เสียได้ในที่สุดนั้น
    ก็คือ จิต นั่นเอง

    ซึ่งย่อมเห็นได้ชัดเจนที่สุดว่า
    จิต กับ ขันธ์ ๕ นั้น เป็นคนละอย่างกัน ไม่ใช่อย่างเดียวกัน.


    อุปมาดัง คน ที่เข้าไปยึดถืออาศัย บ้าน อยู่
    คนย่อมไม่ใช่บ้าน และบ้านย่อมไม่ใช่คน ข้อนี้ฉันใด
    จิต กับ ขันธ์ ๕ ก็ฉันนั้น


    ดังนั้นจึงแยกกล่าวให้ละเอียดได้ว่า
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่ จิต

    แต่จิตเป็นผู้รู้ว่า
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มาเกิดขึ้นที่จิต แล้วก็ดับไปจากจิต

    _____________________________________________



    <center>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส</center> <table align="center" background="" width="90%" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr><td>[​IMG]</td> </tr><tr><td vspace="0" hspace="0" bgcolor="darkblue" width="100%">[​IMG]</td></tr></tbody></table>
    <center>คำว่าใจมีชื่อต่างๆ </center> [๙๔๕] คำว่า เมื่อใด ในคำว่า เมื่อใด ภิกษุพึงรู้ความขุ่นใจ ความว่า ในกาลใด.

    คำว่า ใจ คือ จิต ใจ มานัส หทัย บัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุอันเกิดแต่ผัสสะเป็นต้นนั้น.
    จิตเป็นธรรมชาติขุ่นมัว เศร้าหมอง ยุ่ง วุ่น หวั่นไหว หมุนไป ไม่สงบ เพราะกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ราคะ โทสะ โมหะ
    ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความหัวดื้อ ความแข่งดี
    ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง
    ความเดือดร้อน ทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง.

    คำว่า เมื่อใด ภิกษุพึงรู้ความขุ่นใด ความว่า ภิกษุพึงรู้ รู้ทั่ว รู้วิเศษ รู้วิเศษเฉพาะ แทงตลอดความที่จิตขุ่น
    เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อใด ภิกษุพึงรู้ความ ขุ่นใจ.

    __________________________________________________

    ผมเจอ ข้อความ ที่ สนับสนุน ว่า
    จิต กับ วิญญาณขันธ์ เป็นสิ่งเดียวกัน
    มีประมาณ 72 แห่ง ที่กล่าว ข้อความนี้ไว้ ในพระไตรปิฏก


    ผมเป็นผู้เพ่งธรรม และ เรียนธรรมตามลำดับ และ ยังเป็นผู้ใหม่อยู่
    เพิ่งจะอ่านพระไตรปิฏกมาได้ระยะหนึ่ง
    ผมคิดว่า การเข้าใจพยัญชนะ และ อรรถะ ผิดไป น่าจะส่งผลเสียในการเรียนรู้ธรรมต่อไปในอนาคต


    ผมไม่ใข่ เซน แต่เป็น เถรวาท... ครับ

    .
     
  12. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ไช่ครับ จิตยึดขันธื์ห้า นั่นแหล่ะคือ กิริยา แต่ ถ้าไม่พูดกิริยาอาการอุปทาน มันก็คือ จิตหรือวิญญาณขันธ์ ตัวเดียวกันครับ

    อิอิ คนแถวนี้ มันคิดเอาเองครับ มันเก่งทางด้านวิปัสนึกครับ

    คนเรารู้ตัวถึงรู้ธรรม แต่บางคนรู้แต่ธรรมแต่ไม่รู้ตัวครับ พวกธรรมมะทูดทั้งหลาย อย่าเสียเวลามาคุยเลยครับ อิอิ เสียเวลาเปล่าครับ
     
  13. ศรีอารย์

    ศรีอารย์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +71
    สาธุครับ จิตเป็นธาตุรู้ รู้ทุกอย่าง แต่ไม่รู้ตัวของมันเอง
     
  14. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424

    ดีแล้ว ๆ ที่มีความเห็นอย่างนี้ได้
    การปฏิบัติมันควรจะต้องเริ่มทำความเห็นให้ถูกตรงอย่างนี้เป็นต้นไป
     
  15. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424

    เรื่องเป็นเซนหรือเถรวาทนี่ ผมมองว่า
    มันเป็นเรื่องที่มาแบ่งแยกกันทีหลังนะ
    ต้นเดิม มาจากพระโอษฐ์ทั้งสิ้น ไม่ได้เป็นอะไรนอกจาก
    เป็นหลักธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดาเท่านั้น



    สังขารไม่เที่ยงหนอ..
     
  16. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    พอดี ผมชอบกิน มะพร้าว ลุงหมาน นี่ รู้ใจผมจริงๆ

    มี คุณ หลงเข้ามา อีกราย ชอบเอามะพร้าว มาบริการ เห็นทีไร อดใจไม่ค่อยไหว
    กินมะพร้าว ของคุณหลง เป็นประจำ เดี๋ยวนี้ไม่เห็นเลย สงสัยไปบวชแล้วมั้ง

    ผมจะหลงไปอยู่ลัทธิเซน ก็เพราะคุณหลงเข้ามา นี่แหละ(ใช้รูปแทนตัว เป็น รูปหมายิ้ม)
    แกโพสเซน เล่นกับ ผม อยู่ 2-3 ครั้ง ผมก็เล่นกับแกด้วยด้วย ทำเอาเพื่อนๆ งงกันใหญ่??
    นี่แหละ ข้อเสีย ของเซน ศาสนาพุทธ ยากอยู่แล้ว เซนยิ่งมาทำให้ยากเข้าไปอีก...
     
  17. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ใช่ครับ คุณหลงเข้ามา บวชเป็นพระนานแล้ว
    จะเข้ามาเล่นใน ชื่อ "จิตสิงห์" ครับ
     
  18. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    มิน่าล่ะ เห็นกระทู้ของ คุณจิตสิงห์ ทีไร สะดุดตาทุกที
    ที่แท้ก็เป็น คุณ หลงเข้ามา ที่เป็นพระไปแล้ว นี่เอง

    ______________________________________________________________________________

    อีกอย่างนึง
    คุณสับสน ชอบ แซว ลุงหมานว่า ติด ตำรา ผมเลยโดนหางเลขไปด้วย เพราะติดตำราเหมือนกัน

    แต่ขอบอก คุณสับสน นะ
    ถ้าติด ตำราถูกเล่ม ละก็ มีโอกาสพ้นบ่วงมาร นะครับ
    ดูเถรใบลานเปล่าซิ(พระโปฐิลเถระ) เห็นครูบาอาจารย์ท่านว่า ติดตำราพระไตรปิฎกในพระพุทธเจ้ามาถึง ๗ พระพุทธเจ้า
    สุดท้าย ก็วิมุตติหลุดพ้น จนได้

    ติดตำรา ขอให้ติดถูกเล่มเถอะ ได้ผลแน่ ถึงจะนานไปนิด ก็พ้นนะครับ

    อ้อ...หลวงพ่อชื่อดังแถวบ้านผมเคยพูดว่า
    "ถึงธรรมะงุ่นง่านสักเพียงใด ก็ยังดีกว่าธรรมที่ปราดเปรียว มิใช่หรือ"
     
  19. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อันนี้พอเข้าใจนะ...!!! แต่พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี ท่านยังไม่สิ้นตัณหา แล้วท่านบรรลุธรรมอะไร นี่ซิ ธรรมภูต
    ท่านจึงได้เป็นพระอริยะบุคคลได้ ขยายๆ หน่อย
     
  20. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    นกุลปิตาสูตร
    ว่าด้วยกายเปรียบด้วยฟองไข่

    [๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เภสกฬาวัน
    (ป่าเป็นที่นางยักษ์ชื่อเภสกฬาอยู่อาศัย)
    อันเป็นสถานที่ให้อภัยแก่หมู่มฤค ใกล้เมืองสุงสุมารคิระในภัคคชนบท ฯลฯ

    ครั้งนั้นแล คฤหบดีชื่อนกุลบิดาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
    ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

    พระพุทธเจ้าข้า
    ข้าพระองค์เป็นผู้แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยแล้วโดยลำดับ
    มีกายกระสับกระส่าย เจ็บป่วยเนืองๆ พระพุทธเจ้าข้า

    ก็ข้าพระองค์มิได้เห็นพระผู้มีพระภาคและภิกษุทั้งหลาย ผู้ให้เจริญใจอยู่เป็นนิตย์

    ขอพระผู้มีพระภาคโปรดสั่งสอนข้าพระองค์
    ขอพระผู้มีพระภาคโปรดพร่ำสอนข้าพระองค์
    ด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์
    เพื่อความสุขแก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนานเถิด.

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า นั่นถูกแล้วๆ คฤหบดี อันที่จริง
    กายนี้กระสับกระส่าย เป็นดังว่าฟองไข่ อันผิวหนังหุ้มไว้

    ดูกรคฤหบดี ก็บุคคลผู้บริหารกายนี้อยู่
    พึงรับรองความเป็นผู้ไม่มีโรคได้แม้เพียงครู่เดียว
    จะมีอะไรเล่า นอกจากความเป็นคนเขลา

    ดูกรคฤหบดี เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
    เมื่อเรามีกายกระสับกระส่ายอยู่ จิตของเราจักไม่กระสับกระส่าย

    ดูกรคฤหบดี ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล.

    [๒] ครั้งนั้นแล คฤหบดีชื่อนกุลบิดา ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
    ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้ว
    เข้าไปหาท่านพระสารีบุตร อภิวาทแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

    ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวกะนกุลปิตคฤหบดีว่า
    คฤหบดี อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก สีหน้าของท่านบริสุทธิ์ เปล่งปลั่ง
    วันนี้ ท่านได้ฟังธรรมีกถาในที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคหรือ?

    นกุลปิตคฤหบดีตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ไฉนจะไม่เป็นอย่างนี้เล่า
    พระผู้มีพระภาคทรงหลั่งอมฤตธรรมรดข้าพเจ้าด้วยธรรมีกถา.

    ส. ดูกรคฤหบดี พระผู้มีพระภาคทรงหลั่งอมฤตธรรมรดท่านด้วยธรรมีกถาอย่างไรเล่า?

    น. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ (ข้าพเจ้าจะเล่าถวาย) ข้าพเจ้าเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
    ถวายอภิวาทแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

    พระพุทธเจ้าข้า
    ข้าพระองค์เป็นผู้แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยแล้วโดยลำดับ
    มีกายกระสับกระส่าย เจ็บป่วยเนืองๆ พระพุทธเจ้าข้า

    ก็ข้าพระองค์มิได้เห็นพระผู้มีพระภาคและภิกษุทั้งหลายผู้ให้เจริญใจอยู่เป็นนิตย์

    ขอพระผู้มีพระภาคโปรดสั่งสอนข้าพระองค์
    ขอพระผู้มีพระภาคโปรดพร่ำสอนข้าพระองค์
    ด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์
    เพื่อความสุขแก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนานเถิด.

    เมื่อข้าพเจ้ากราบทูลอย่างนี้แล้ว
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า นั่น ถูกแล้วๆ คฤหบดี อันที่จริง
    กายนี้กระสับกระส่าย เป็นดังว่าฟองไข่ อันผิวหนังหุ้มไว้

    ดูกรคฤหบดี ก็บุคคลผู้บริหารกายนี้อยู่
    พึงรับรองความเป็นผู้ไม่มีโรคได้แม้เพียงครู่เดียว
    จะมีอะไรเล่า นอกจากความเป็นคนเขลา

    ดูกรคฤหบดี เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
    เมื่อเรามีกายกระสับกระส่ายอยู่ จิตของเราจักไม่กระสับกระส่าย

    ดูกรคฤหบดี ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    พระผู้มีพระภาคทรงหลั่งอมฤตธรรมรดข้าพเจ้าด้วยธรรมีกถาอย่างนี้แล.

    [๓] ส. ดูกรคฤหบดี ก็ท่านมิได้ทูลสอบถามพระผู้มีพระภาคต่อไปว่า

    พระพุทธเจ้าข้าด้วยเหตุเท่าไรหนอ?
    บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับกระส่ายและเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่าย

    และก็ด้วยเหตุเท่าไรหนอ?
    บุคคลแม้เป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย แต่หาเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายไม่

    น. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ามาแม้แต่ที่ไกล
    เพื่อจะทราบเนื้อความแห่งภาษิตนั้นในสำนักท่านพระสารีบุตร
    ดีละหนอ ขอเนื้อความแห่งภาษิตนั้นจงแจ่มแจ้งกะท่านพระสารีบุตรเถิด.

    ส. ดูกรคฤหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.

    นกุลปิตคฤหบดี รับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว
    ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวว่า สักกายทิฏฐิ ๒๐

    [๔] ดูกรคฤหบดี ก็อย่างไรเล่า?
    บุคคลจึงชื่อว่า เป็นผู้มี กาย กระสับกระส่ายด้วย
    จึงชื่อว่า เป็นผู้มี จิต กระสับกระส่ายด้วย

    ดูกรคฤหบดี คือ
    ปุถุชน ผู้มิได้สดับแล้วในโลกนี้
    มิได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
    มิได้รับแนะนำในอริยธรรม มิได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย
    ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ มิได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม

    ย่อมเห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน ๑
    ย่อมเห็น ตน มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ๑
    ย่อมเห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ใน ตน ๑
    ย่อมเห็น ตน ใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ๑

    เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า
    เราเป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของเรา

    เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า
    เราเป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของเรา

    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้น ย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป

    เพราะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป
    โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส จึงเกิดขึ้น

    ดูกรคฤหบดี ด้วยเหตุอย่างนี้แล
    บุคคลจึงชื่อว่า เป็นผู้มี กาย กระสับกระส่าย
    และเป็นผู้มี จิต กระสับกระส่าย


    [๕] ดูกรคฤหบดี ก็อย่างไรเล่า?
    บุคคลแม้เป็นผู้มี กาย กระสับกระส่าย
    แต่หาเป็นผู้มี จิต กระสับกระส่ายไม่

    ดูกรคฤหบดี คือ
    อริยสาวก ผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้
    ผู้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ผู้ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
    ผู้ได้รับแนะนำดีแล้วในอริยธรรม ผู้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย
    ผู้ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ผู้ได้รับแนะนำดีแล้วในสัปปุริสธรรม

    ย่อมไม่เห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน ๑
    ย่อมไม่เห็น ตน มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ๑
    ย่อมไม่เห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ใน ตน ๑
    ย่อมไม่เห็น ตน ใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ๑

    ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า
    เราเป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของเรา

    เมื่ออริยสาวกนั้น ไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า
    เราเป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของเรา

    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป

    เพราะรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป
    โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส จึงไม่เกิดขึ้น

    ดูกรคฤหบดี อย่างนี้แล
    บุคคลแม้มี กาย กระสับกระส่าย
    แต่หาเป็นผู้มี จิต กระสับกระส่ายไม่

    ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำเช่นนี้แล้ว
    นกุลปิตคฤหบดี ชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระสารีบุตร ฉะนี้แล.


    นกุลปิตาสูตร

    ...........................

    สรุป

    ปุถุชน ผู้มิได้สดับ……
    เพราะรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป
    โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส จึงเกิดขึ้น

    ดูกรคฤหบดี ด้วยเหตุอย่างนี้แล
    บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มี กาย กระสับกระส่าย
    และเป็นผู้มี จิต กระสับกระส่าย

    *

    พระอริยสาวก ผู้ได้สดับ......
    เพราะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป
    โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส จึงไม่เกิดขึ้น

    ดูกรคฤหบดี อย่างนี้แล
    บุคคลแม้มี กาย กระสับกระส่าย
    แต่หาเป็นผู้มี จิต กระสับกระส่ายไม่.

    ............................

    สรุปชัดๆ คือ

    ปุถุชน กายกระสับกระส่าย จิตกระสับกระส่าย
    เมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แปรปรวนไป (กายกระสับกระส่าย)
    ทุกข์จึงเกิดขึ้นที่จิต (จิตกระสับกระส่าย)

    *

    พระอริยสาวก กายกระสับกระส่าย จิตหากระสับกระส่ายไม่
    เมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แปรปรวนไป (กายกระสับกระส่าย)
    ทุกข์ไม่เกิดขึ้นที่จิต (จิตหากระสับกระส่ายไม่)

    *

    เพราะ ปุถุชน ไม่ได้รับการอบรมจิต
    จิตมีอวิชชาครอบงำอยู่ ไม่รู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
    จิตรู้ผิดหลงผิดจากความเป็นจริง
    จึงหลงเข้าใจผิดว่าขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) เป็น ตน

    เพราะจิตยึดถือขันธ์ ๕ เป็นตน
    เมื่อขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) แปรปรวนไป
    จิตจึงแปรปรวนตาม

    *

    พระอริยสาวก ได้รับการอบรมจิต
    จิตหลุดพ้นจากการครอบงำของอวิชชา
    เกิดวิชชาขึ้นแทนที่ รู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
    จิตเป็นพุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่นผู้เบิกบาน
    รู้เห็นด้วยปัญญาตามความเป็นจริงแล้วว่า
    ขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ไม่ใช่ตน

    จิตปล่อยวางการยึดถือขันธ์ ๕ เป็นตน
    เมื่อขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) แปรปรวนไป
    จิตจึงไม่แปรปรวนตาม

    จิตรู้อยู่ เห็นอยู่ว่า ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตนของเรา

    ^

    นกุลปิตาสูตร พระสูตรนี้ ชี้ชัดเจนให้เห็นว่า
    วิญญาณขันธ์ เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ ไม่ใช่ จิต

    แต่ปุถุชนไม่ได้รับการอบรมจิต
    จิตมีอวิชชาครอบงำอยู่(ไม่รู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง)
    หลงเข้าใจผิด ว่าขันธ์ ๕ ซึ่งก็รวม วิญญาณขันธ์ ด้วยเป็น ตน

    จึงหลงเกิดตายตามขันธ์ ๕ หรือ ก็คือ เกิดดับตามวิญญาณขันธ์ นั่นเอง
    จึงบอกว่า จิตเกิดดับ ด้วยอำนาจอวิชชาที่ครอบงำนั่นเอง
    เพราะไม่รู้จักตนเองที่แท้จริง ว่าตนเป็นผู้รู้ ผู้เห็นอยู่
    เมื่อขันธ์ ๕ แปรปรวนไป จิตจึงแปรปรวนตามขันธ์ ๕ ที่แปรปรวนไป


    เมื่อปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ ตามเสด็จพระบรมศาสดา
    เพราะอวิชชาดับไปจากจิต......วิญญาณดับ...ฯลฯ.....ทุกข์ดับ ปฏิจจสมุปบาทธรรมดับ

    จิต ผู้รู้ ผู้เห็น รู้ผิดเห็นผิดไปจากความเป็นจริงมาตลอดเพราะอวิชชาครอบงำ
    เกิดวิชชาขึ้นแทนที่ (รู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง)
    จิตเป็นพุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

    รู้เห็นด้วยปัญญาตามความเป็นจริงแล้ว เกิดญาณรู้แล้ว
    ญาณรู้ คือ จิตผู้รู้ (พุทโธ = ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน)

    จิต รู้อยู่ เห็นอยู่ ว่าขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตน
    จิตปล่อยวางการยึดถือขันธ์ ๕ เป็นตน
    เมื่อขันธ์ ๕ แปรปรวนไป จิตจึงไม่แปรปรวนตามขันธ์ ๕ ที่แปรปรวนไป

    พระพุทธพจน์ คือ พระพุทธพจน์ ไม่ใช่อาจาริยวาท

    แม้อาจาริยวาท ก็ยังกล่าวไว้ว่า ให้เชื่อพระพุทธพจน์ก่อน ใครไม่เชื่อชื่อว่าไม่เคารพ
    ส่วนของอาจาริยวาทเอง ต้องนำมาเทียบเคียงกับพระพุทธพจน์ก่อน เมื่อลงกันได้ค่อยเชื่อ
    ถ้าลงกันไม่ได้ ต้องถือเอาพระพุทธพจน์ก่อน

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน


     

แชร์หน้านี้

Loading...