นักปฏิบัติที่ไม่อาศัยตำรา เชิญแก้ข้อสงสัยให้หน่อย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 12 เมษายน 2015.

  1. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    ลูกผสม



    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
    อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
    ๔. มหาจุนทสูตร
    [๓๑๗] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาจุนทะอยู่ที่นิคมชื่อสัญชาติในแคว้น เจดีย์ ครั้งนั้น ท่านพระมหาจุนทะเรียกภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระมหาจุนทะแล้ว ท่านพระมหาจุนทะได้กล่าวดังนี้ว่า

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบธรรมในธรรมวินัยนี้ ย่อมรุกรานภิกษุผู้เพ่งฌานว่า
    ก็ภิกษุผู้เพ่งฌานเหล่านี้ ย่อมเพ่งฌาน ยึดหน่วงฌานว่า เราเพ่ง ฌานๆ ดังนี้ ก็
    ภิกษุเหล่านี้ เพ่งฌานทำไม เพ่งฌานเพื่ออะไร เพ่งฌานเพราะ เหตุไร
    ภิกษุผู้ประกอบธรรม ย่อมไม่เลื่อมใสในการเพ่งฌานนั้น
    และภิกษุผู้เพ่งฌาน ย่อมไม่เลื่อมใสในการประกอบธรรมนั้น ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชน หมู่มาก
    เพื่อความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุผู้เพ่งฌานในธรรมวินัยนี้ ย่อมรุกรานพวกภิกษุผู้ประกอบธรรมว่า
    ก็ภิกษุผู้ประกอบธรรมเหล่านี้ ย่อมเป็นผู้ฟุ้ง เฟ้อ เย่อหยิ่ง วางท่า ปากจัด พูดพล่าม มีสติหลงใหล
    ไม่มีสัมปชัญญะ มีใจไม่ตั้งมั่น มีจิตฟุ้งซ่าน มีอินทรีย์ปรากฏว่า เราประกอบธรรมๆ ดังนี้ ก็
    ภิกษุเหล่านี้ ประกอบธรรมทำไม ประกอบธรรมเพื่ออะไร ประกอบธรรมเพราะเหตุไร
    ภิกษุผู้เพ่งฌาน ย่อมไม่เลื่อมใสในการประกอบธรรมนั้น
    และภิกษุผู้ประกอบธรรม ย่อมไม่เลื่อมใสในการเพ่งฌานนั้น ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก
    เพื่อความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง
    ภิกษุผู้ประกอบธรรมในธรรมวินัยนี้ ย่อมสรรเสริญภิกษุผู้ประกอบธรรมเท่านั้น ไม่สรรเสริญภิกษุผู้เพ่งฌาน
    ภิกษุผู้ประกอบธรรม ย่อมไม่เลื่อมใสในการเพ่งฌานนั้น
    และภิกษุผู้เพ่งฌาน ย่อมไม่เลื่อมใสในการประกอบธรรมนั้น ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก
    เพื่อความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ


    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง
    ภิกษุผู้เพ่งฌานในธรรมวินัยนี้ ย่อมสรรเสริญภิกษุผู้เพ่งฌานเท่านั้น ไม่สรรเสริญภิกษุผู้ประกอบธรรม
    ภิกษุผู้เพ่งฌาน ย่อมไม่เลื่อมใสในการประกอบธรรมนั้น
    และภิกษุผู้ประกอบธรรม ย่อมไม่เลื่อมใสในการเพ่งฌานนั้น ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก
    เพื่อความสุข แก่ชนหมู่มาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

    เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
    เราทั้งหลายเป็น ผู้ประกอบธรรม จักสรรเสริญภิกษุผู้เพ่งฌาน ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่าน ทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า บุคคลผู้ที่ถูกต้องอมตธาตุด้วยกาย เป็นอัจฉริยบุคคล หาได้ยากในโลก ฯ

    เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
    เราทั้งหลายเป็น ผู้เพ่งฌาน จักสรรเสริญภิกษุผู้ประกอบธรรม ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่าน ทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า บุคคลผู้ที่แทงทะลุ เห็นข้ออรรถอันลึกซึ้งด้วยปัญญานั้น เป็นอัจฉริยบุคคล หาได้ยากในโลก
    จบสูตรที่ ๔
    _______________________________________________________

    ลุงหมาน ห้าม นักตำรา เข้ากระทู้
    ตั้งใจถามเฉพาะ นักปฏิบัติ

    แต่ผมมัน เป็นลูกผสม จึงไม่ตกเข้าฟากไหน-ฝั่งไหน
    จึงขอ เอาพุทธพจน์ มาโพส ตามที่เคย ทำมาครับ

    วันนี้ระบายสีอักษร น้อยไปหน่อย เพราะรีบจะไปเที่ยวกับลูกเมีย
    ถ้ามีเวลาดึกๆ จะมา จัดวรรคตอน และ ระบายสีอักษร ตามสไตล์ส่วนตัว ครับ

    เอวัง...

    อ้อ..คุณสับสน เห็นว่า ห้องนี้จะเหมาะแต่พวกอภิญญาเท่านั้น??
    แต่ ผม เห็นว่า ผู้ปรารถนา ปฏิสัมภิทา๔ ก็น่าจะมีสิทธฺิ์ ใช้ห้องนี้นะ ครับ
    เพราะปฏิสัมภิทา๔ เมื่อกระทำสำเร็จ จะได้ อภิญญา แถมมาด้วยเสมอ ครับ
    _____________________________________________

    กลับมา จัดวรรคตอน และ ระบายสีอักษร ตามสไตล์ OKแล้ว ครับ..

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มกราคม 2017
  2. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    :cool: เป็นคำถามที่กว้างเกินไป-เอาคำถามใหม่ให้แคบลงเป็นเฉพาะเรื่องไปซิ จะได้หาให้ดูไง.:'(
     
  3. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    พระพุทธเจ้ามีอายุเท่าไหร่? ง่ายไปไหม?
     
  4. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    แล้วมันเกี่ยวกับภาคปฏิบัติตรงไหน..ท่านผู้เป็น ธรรมกถึกชั้นยอดหือ.:'(
     
  5. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    มันต้องรอบรู้
     
  6. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    สับสน ปฏิบัติเท่านั้นจึงรู้ได้เอง
     
  7. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    ศจ.ไวน์เบิร์กกล่าวว่า
    "ศาสนาเป็นสิ่งที่ดูหมิ่นศักดิ์ศรีของมนุษย์
    ไม่ว่าจะมีหรือไม่ศาสนา คนดีก็จะทำความดี
    และคนชั่วก็จะทำความชั่ว

    แต่ถ้าจะให้คนทำความชั่วละก็
    นั่นต้องอาศัยศาสนา"

    นักวิทยาศาสตร์ท่านนี้ กล่าวถึงศาสนา
    เฉพาะด้านลบไม่ทราบว่าเป็นนักวิทย์ฯ
    ประเภทไหน?!และฝังใจกับด้านลบของ
    ศาสนาอะไร?!

    เพราะคนทำชั่วก็คือทำชั่ว โดยไม่ต้องมีศาสนา
    หรือกฏหมายอะไร ไปเป็นปัจจัยในการทำความชั่ว
    แต่ตรงกันข้ามศาสนาและกฎหมายต่างหาก ที่เป็นตัว
    ชี้ว่า การได้ทำอย่างนี้หรือ ทำอย่างนั้นไปแล้ว
    จะเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา
    ของสังคม และจะมีผลให้ต้องถูกลงโทษจาก
    กฎเกณฑ์ของสังคม

    ส่วนกฎแห่งกรรมไม่ต้องกล่าวก็ได้ เพราะนักวิทย์
    คนนี้แกเจ็บแค้นกับศาสนาอย่างฝังใจ และคนที่เชิด
    ชูนักวิทย์คนนี้ก็จะพอใจอยู่กับการยึดความคิดตัว
    เป็นสรณะที่แปรปรวนตลอดเวลา
    เพราะความคิดและปรัชญาหรืออุดมการณ์
    ส่วนตนไม่เคยเป็นอมตะธรรมสักครั้ง
     
  8. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    คนไม่มีศาสนา ในสายตาลุงแมว
    ไม่ใช่เป็นคนชั่วกว่าคนมีศาสนา

    เพียงแต่คนที่มีศาสนาและประพฤติตนตาม
    หลักศาสนาด้วยสัมมาทิษฐิ
    มีโอกาสทำความชั่วได้น้อยกว่า
    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง"ศาสนาพุทธ"
     
  9. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ถูกใจเธอมากเลยซิกับ. ศจ. อะไรคนนี้. โอ้ยไอคิวต่ำเท่าดินที่ติดปลายเล็บเปรียบเทียบกับดินทั้งปฐพีเลยล่ะ. ผมจะบอกให้นะไอ้ศิลธรรมเรื่องคุณงามความดีนี้นั้นมันยังน่ารังเกลียดอยู่นะสำหรับแก่นของศาสนาพุทธ. ศจ.มันเขาใจคำว่าศาสนาแค่ไหน. ศาสนาก็แค่แปลว่าคำสอน. คำสอนของใครล่ะ. ทุกคนเป็นเจ้าลัทธิได้ทั้งนั้นมีคำสอนได้ทั้งนั้น คุณก็เป็นได้ถ้าคุณคิดว่ามันดี

    แต่ผมไม่ตั้งล่ะเพราะสิ่งที่ดีที่สุดได้เกิดขึ้นมีมาแล้วคือคำสอนของพระสมณโคดม เรื่องศาสนา(คำสอน)ใครๆเป็นผู้ประกาศได้ทั้งนั้นนะไม่มีใครไปจำกัดสิทธิได้อยู่แล้ว แต่ใครจะเชื่อนี้อีกเรื่องนึงนะ ศจ.อะไรนั่นมันสอนลูกมันให้รู้จักความดีมั้ยล่ะ. มันก็คงตองสอนมันก็คือศาสนาของมันเองนั่นแหล่ะ ศาสนา(คำสอน)มันก็มีอยู่ในชีวิตประจำวันนั้นแหล่ะครับ และศาสนาจะมาดูหมิ่นมนุษย์ตรงไหนกัน ?

    ศาสนาพุทธนั้นแปลว่าคำสอนของผู้รู้. แล้วรู้อะไร. รู้เรื่องสูงสุดเท่าที่มนุษย์จะรู้ได้คือ. การพ้นทุกข์ดับทุกข์นั่นเอง. แต่มันเหนือโลกนะการพ้นทุกข์นี่. มันอาจจะดูไกลไปสักหน่อย. ใช่แน่นอนมันต้องไกลซิ. เพราะมันไม่ใช่สาธารณญานที่ทุกคนจะเข้าถึงได้โดยง่ายส่วนเรื่องศิลธรรมอะไรนั้นมันมีมาก่อนพระพุทธองค์ตรัสรู้ตั้งนานแล้ว. แต่พระองค์ก็รับไว้เพราะมันดีแก่มนุษย์.

    ส่วนกฎกติอะไรใหม่ๆสำหรับการสร้างเผ่าพันธุ์ใหม่ที่จะรักษาคำสอนเรื่องการหลุดพ้นนั้น. พระองค์ก็ออกกฎมาเพื่อจะให้คำสอนนั้นอยู่ได้นานที่สุดเท่าจะคงอยู่ได้. ศจ.อะไรนี้นั้นมันได้รางวัลจากคนโง่ทั้งนั้น. คนโง่ให้คนโง่มันคงไม่แปลกแล้วก็มีคนโง่เชื่อเข้าไปอีกคือคุณนั้นเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 เมษายน 2015
  10. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ถ้าคุณจะเอาแค่การกระทำความดีอะไรๆก็ไม่จำเป็นต้องเชื่อใครหรอกครับ. สังคนก็ได้หล่อหลอมคุณให้มีจิตสำนึกดีอยู่บ้าง. หรืออาจจะเชื่อศจ.อะไรของคุณก็ได้ตามสบายเลยนะ. แต่ถ้าอยากได้อมตะธาตุนั้นมีทางเดียวคือคำสอนของพระตถาคตเจ้าเท่านั้น ผมก็พอสอนได้นะเพราะผมหยั่งลงมั่นในตถาคต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 เมษายน 2015
  11. VERAJAK

    VERAJAK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    998
    ค่าพลัง:
    +1,579
    ขออนุญาติแย้งหน่อยนะครับเป็นช้อคิด2เรื่องครับ
    1ท่านมีจิตดีนะครับที่จะแนะนำเค้าแต่ท่านต้องรู้จิตผู้ที่ท่านจะแนะนำด้วยว่าเค้าพร้อมจะฟังและทำตามใหม ถ้าพร้อมจะเกิดประโยชน์ต่อผู้อื่นและเรา นั้นสมควรยกธรรมขึ้นกล่าวได้ แต่ถ้าจิตเค้ามืดบอดดังบัวโคลนตมแม้แต่พระพุทธเจ้ายังไม่ทรงสอนคนเหล่านี้เลย. แล้วท่านจะเสียเวลาเฝ้าเพียรแนะเค้านั้นมิเท่ากับเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์รึ มิได้มีประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น เอาเวลาทำตนให้แจ้งในทุกข์ไม่ดีกว่าเหรอครับ หรือเอาเวลาไปทำคุณประโยชน์อย่างอื่นจะได้ประโยชน์มากกว่า แม้แต่องค์สมเด็จบรมครูยังวางอุเบกขากับชนเหล่านี้ด้วยทรงเล็งเห็นด้วยทศญาณแล้วว่าพร่ำสอนคนเหล่านี้จะไม่เกิดประโยชน์ ท่านจึงทรงมิพูดด้วย มิทรงตรัสสั่งสอน แล้วท่านยังจเมัวเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์เพื่ออะไรครับ
    2. การสอนนั้นพระพุทธองค์เท่านั้นที่เป็นพระบรมครูแห่งมนุษย์และเทวดา พระองค์สามารถฝึกบุรุษที่ควรฝึกได้มิมีใครเสมือน พวกเราเป็นเพียงพุทธบุตร นำพระธรรมแห่งพระองค์มาบอกต่อเท่านั้น มิสามารถสั่งสอนผู้ใดได้ครับ. พระพุทธวจนะ เมื่อบุคคลยังมิสามารถนำตนให้พ้นจากหลุมที่ตกอยู่นี้จะสั่งสอนให้ผู้อื่นพ้นจากหลุมนั้นมิใช่วิสัยที่จะพึ่งเป็นไปได้ แต่หากบุคคลที่สามารนำตนพ้นจากหลุมแล้วจึงจะสามารถข่วยบุคคลอื่นให้พ้นจากหลุมน้้นย่อมเป็นไปได้อย่างแน่นอน
    ท่านมีจิตเจตนาที่ดีผมขออนุโมทนาสาธุครับ แต่สิ่งที่ผมโพสนี้เป็นเพียงข้อคิดเห็นให้ท่านพิจารณาดูนะครับ. สาธุ
     
  12. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ขออธิบายอย่างนี้นะครับ พระศาสดาท่านอนุเคราะห์ชาวโลกด้วยบอกกล่าวแก่ชาวโลกตลอด45พรรษาท่านเสียสละมากมายนัก. ผมเองเป็นสาวกท่านกระทำการกล่าวธรรมตามภูมิที่มีอยู่น้อยนิด. ไม่มีญานหยั่งรู้เหมือนพระองค์ว่าใครควรสั่งสอนได้. ผมจึงต้องพยามกล่าวธรรมกับสิ่งที่ผมคิดว่าเขาหลงผิดหลงประเด็นซึ่งการกล่าวธรรมนั้นถ้าผู้ใดเห็นเป็นประโยชน์นำไปใช้ได้ก็จะเกิดประโยชน์แก่ตัวเขาเองถ้าไม่เห็นประโยชน์ก็คงเสมอตัวของเขา. แต่สวนที่ผมได้กล่าวธรรมนั้นย่อมมีประโยชน์แก่ตัวผมมากมายเลยที่เดียว. อย่างน้อยผมก็ได้กล่าวในสิ่งที่มีประโยชน์และผมก็ยังได้ระลึกถึงธรรมนั้นด้วย. และยังเป็นกระจกเงาส่องสะท้อนกลับมาหาตัวผมเองด้วย. และก็ยังถือว่าใช้เวลาว่างมีประโยชน์. ขอแชร์ประสบการณ์ครั้งหนึ่งนะครับ. ผมสนทนากับผู้เป็นอาจารย์ท่านหนึ่งท่านมีลูกศิษย์ลูกเยอะมาก. แต่ท่านปรารถนาที่จะก้าวสู่อริยบุคคล. แต่ยังมีวัตรที่ไม่สามารถก้าวเข้าสู่อริยชนได้คือ. ท่านยังถือวัตตโกตูหลมงคลอยู่ ผมได้มีการเสนอคำของตถาคตเกี่ยวกับเรื่องนี้. แม้การสนทนานั้นอาจจะดูแรงขนาดท่านด่าผมควาย ผมก็ต้องทนให้เขาด่าเพราะถ้าคนๆนี้สามารถเข้าใจในคำตถาคตเกี่ยวกับเรื่องนี้ท่านผู้นั้นก็จะข้ามเรื่องมงคลนอกศาสนาไปได้ก็จะมีโอกาสเข้าสู่อริยชนได้. ในที่สุดท่านก็ขอบคุณผมที่นำแสงสว่างให้กับเขาได้. ผมได้ทำในสิ่งที่สมควรทำแก่เพื่อนมนุษย์ผมก็สุขใจแล้วครับ. สาธุที่แนะนำครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 เมษายน 2015
  13. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ในหมู่ผู้สนใจศึกษาศาสนาจะมีข้อโต้แย้งกันเสมอระหว่างการศึกษาจากตำรา คือศึกษาด้านปริยัติ กับอีกฝ่ายหนึ่งเน้นการปฏิบัติและไม่เน้นการศึกษาจากตำรา ว่าแนวทางใดจะให้ผลดีกว่ากัน

    สำหรับหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ท่านเสนอแนะให้ดำเนินสายกลาง นั่นคือถ้าเน้นเพียงด้านใดด้านหนึ่ง แล้วละเลยอีกด้านหนึ่ง ก็เป็นการสุดโต่งไป

    หลวงปู่ท่านแนะนำลูกศิษย์ลูกหาที่มุ่งปฏิบัติธรรมว่า ให้อ่านตำรับตำราส่วนที่เป็นพระวินัยให้เข้าใจ เพื่อที่จะปฏิบัติไม่ผิดแต่ในส่วนของพระธรรมนั้นให้ตั้งใจปฏิบัติเอา

    จากคำแนะนำนี้แสดงว่าหลวงปู่ถือเรื่อง การปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระวินัยเป็นเรื่องสำคัญ และจะต้องมาก่อน ศึกษาให้เข้าใจ และปฏิบัติตนให้ถูก แล้วเรื่องคุณธรรมและปัญญาสามารถสร้างเสริมขึ้นได้ถ้าตั้งใจ

    ยกตัวอย่างในกรณีของ หลวงตาแนน

    หลวงตาแนนไม่เคยเรียนหนังสือ ท่านมาบวชพระเมื่อวัยเลยกลางคนไปแล้ว ท่านเป็นพระที่มีความตั้งใจดี ว่าง่ายสอนง่าย ขยัน ปฏิบัติกิจวัตรไม่ขาดตกบกพร่อง เห็นพระรูปอื่นเขาออกไปธุดงค์ก็อยากไปด้วย จึงไปขออนุญาตหลวงปู่

    เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว หลวงตาแนนก็ให้บังเกิดความวิตกกังวลปรับทุกข์ขึ้นว่า กระผมไม่รู้หนังสือ ไม่รู้ภาษาพูดเขา จะปฏิบัติกับเขาได้อย่างไร”

    หลวงปู่จึงแนะนำด้วยเมตตาว่า

    “การปฏิบัติไม่ได้เกี่ยวกับอักขระ พยัญชนะ หรือคำพูดอะไรหรอกที่รู้ว่าตนไม่รู้ก็ดีแล้ว สำหรับวิธีปฏิบัตินั้น ในส่วนวินัยให้พยายามดูแบบเขา ดูแบบอย่างครูบาอาจารย์ผู้นำ อย่าทำให้ผิดแผกจากท่าน ในส่วนธรรมะนั้น ให้ดูที่จิตของตัวเอง ปฏิบัติที่จิต เมื่อเข้าใจจิตแล้วอย่างอื่นก็เข้าใจได้เอง” เนื่องจากหลวงปู่ได้อบรมสั่งสอนลูกศิษย์ผู้ปฏิบัติมามากต่อมากท่านจึงให้ข้อสังเกตในการปฏิบัติธรรม ระหว่างผู้ที่เรียนน้อยกับผู้ที่เรียนมากมาก่อนว่า

    “ผู้ที่ยังไม่รู้หัวข้อธรรมอะไรเลย เมื่อปฏิบัติอย่างจริงจัง มักจะได้ผลเร็วเมื่อเขาปฏิบัติจนเข้าใจจิต หมดสงสัยเรื่องจิตแล้ว หันมาศึกษาตริตรองข้อธรรมในภายหลัง ก็จะรู้แจ้งแทงตลอด แตกฉานน่าอัศจรรย์”

    “ส่วนผู้ที่ศึกษาเล่าเรียนมาก่อน แล้วจึงหันมาปฏิบัติต่อภายหลังจิตจะสงบเป็นสมาธิยากกว่า เพราะชอบใช้วิตกวิจารมาก เมื่อจิตวิตกวิจารมาก วิจิกิจฉาก็มาก จึงยากที่จะประสบผลสำเร็จ”

    อย่างไรก็ตาม ข้อสังเกตดังกล่าว หลวงปู่ย้ำว่า “แต่ทั้งนี้ก็ไม่เสมอไปทีเดียว” แล้วท่านให้ข้อแนะนำต่อไปอีกว่า

    “ผู้ที่ศึกษาทางปริยัติจนแตกฉานมาก่อนแล้ว เมื่อหันมามุ่งปฏิบัติอย่างจริงจัง จนถึงขั้นอธิจิต อธิปัญญาแล้ว ผลสำเร็จก็จะยิ่งวิเศษขึ้นไปอีก เพราะเป็นการเดินตามแนวทางปริยัติ ปฏิบัติ ย่อมแตกฉานทั้งอรรถะและพยัญชนะ ฉลาดในการชี้แจงแสดงธรรม”

    หลวงปู่ได้ยกตัวอย่างพระเถระทั้งในอดีตและปัจจุบันเพื่อสนับสนุนความคิดดังกล่าว ก็มีท่านเจ้าคุณ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท จันทร์) แห่งวัดบวรนิวาส กรุงเทพฯ และท่านอาจารย์พระมหาบัว ณานสมฺปนฺโน แห่งสำนักวัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานีเป็นต้น

    ทั้งสององค์นี้ “ได้ทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ อาจหาญชาญฉลาดในการแสดงธรรม เป็นประโยชน์ใหญ่หลวงแก่พระศาสนาเป็นอย่างยิ่ง”

    โดยสรุป หลวงปู่สนับสนุนทั้งตำรา คือ ปริยัติและปฏิบัติ ต้องไปด้วยกันและท่านย้ำว่า

    “ผู้ใดหลงใหลในตำราและอาจารย์ ผู้นั้นไม่อาจพ้นทุกข์ได้ แต่ผู้ที่จะพ้นทุกข์ได้ ต้องอาศัยตำราและอาจารย์เหมือนกัน”

    พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)
     
  14. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    อธิบายอย่างนี้แน่นอนไม่คลอนแคลน
    ลุงแมวอ่านแล้วโปร่งเบา ไม่มึนตึบ
    ไม่สงสัยในคำแสดง สงสัยอยู่เพียงว่า
    เมื่อไรเราจะไปถึงจุดนั้น
     
  15. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ในพระศาสนานี้ก็จะเห็นมีแต่หลวงพ่อสิทธัตถะ แห่งวัดเชตวันวรวิหารเท่านั้น
    ที่ไม่ต้องใช้ตำรา โดยใช้ความเพียรเพ่งลองผิดลองถูกไม่น้อยกว่า ๔ อสงไขยแสนกัปป์
    แล้วได้นำเอาวิชาที่พ้นทุกข์ที่พระองค์ค้นพบมา แจกจ่ายแสดงธรรมให้สาวกได้บรรลุตามได้

    แม้กระทั้งเทวดามารพรหมนั้นนับจำนวนเป็นโกฎิๆ เหล่าพระอรหันตสาวกเห็นคุณค่า
    จึงจัดทำสังคยาเป็นพระไตรปิฎก บางท่านก็เรียกว่าตำรา หลังจากหลวงพ่อได้ดับขันธปรินิพพานได้ ๓ เดือน
    หลังจากนั้นหลายประเทศก็ได้ทำสังคายนาเป็นภาษาของตน เพื่อสะดวกกับการศึกษาสืบทอดต่อๆกันมา
    จนถึงทุกวันนี้ นี่แหละตำราเป็นที่มาจากหลวงพ่อสิทธัตถะ แห่งวัดเชตวันวรวิหาร

    ผู้ที่เกลียดตำรานั่นหมายถึงได้ดูหมิ่นพระธรรมคำสอนอันที่รักยิ่งของพระองค์
    จนถึงกับท่านได้กล่าวว่า เรามองไม่เห็นผู้ใดเลย ที่เราควรจะเคารพยิ่งไปกว่าพระธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 เมษายน 2015
  16. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชี้ชัดที่สุดของ{พระสัพพัญญู}คือผู้รอบรู้ทุกสิ่ง


    ผู้ที่ไม่รู้จักไม่เข้าใจในศาสนา แต่อยากจะอภิปรายให้ความเห็นที่ไปที่มาของศาสนา เป็นคนพาลพาโลหาใช่เป็นบัณฑิต




    "องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ทรงเป็นพระสัพพัญญูคือเป็นผู้รอบรู้อย่างยิ่ง ทรงล่วงรู้ทั้งหมดแม้แต่เหตุเกิดของทุกศาสนา ทรงทราบที่มาและที่ไปจุดมุ่งหมายสูงสุดของทุกคำสอน รู้กรรม รู้เผ่า รู้พันธุ์ รู้ชาติ รู้ตำรา คำสั่งสอนของทุกศาสนาทั้งในที่ลับปกปิดสูญหายและที่แจ้งเปิดเผยไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งไปกว่ามายาคติที่สร้างภพสร้างชาติ ของผู้เป็นเจ้าลัทธิศาสนาชนชาตินั้นๆ พระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาเป็นทางสายเอกเพียงทางเดียว เป็นทางตรงไม่มีสอง ไม่มีสองสถานะคือทำลายและสาปแช่งกล่าวให้ร้ายผู้อื่นผู้ใดและมีความอ่อนโยนเมตตารักอ่อนโยนอย่างบริสุทธิ์ใจ อุปมาดั่งเหรียญสองด้านนั้นด้วย นั่นมิใช่ฐานะ!ไม่ใช่ความหมายของคำว่า"ศาสนา"

    " ศาสนาที่แท้จริงเมื่อปฎิบัติตามย่อมส่งผลให้มีความเจริญเพียงอย่างเดียว ไม่มีตกต่ำเลย และเมื่อไม่รู้ไม่ปฎิบัติตาม ศาสนาที่แท้จริงนั้นก็ไม่ได้ส่งผลลงโทษสาปแช่งดูหมิ่นให้ใครเสียหาย นี่จึงเรียกว่าได้ศาสนาอันเป็นที่พึ่งอย่างจริงแท้ "

    ฉนั้น "ศาสนาใดที่เป็นอยู่อย่างนั้น หรือไม่มีศาสนาไว้เป็นที่พึ่งนับถือเลย หรือเขาจะนับถือตนเองเป็นที่สุด ก็ช่างเขาเถิด" ใครชอบแบบนั้นก็ถือเอาตามกันไป

    แต่อย่ามา กล้ำกรายแผ่นดินธรรม ดินแดนนี้

    พระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาไม่ได้มีบัญญัติการลงโทษและสาปแช่ง กับผู้ที่ไม่ได้เห็นตามชอบใจตามเอาไว้ อย่างเดียรถีย์เข้าใจ

    ศาสนาพุทธซึ่งเป็นพระศาสนาของ"พระธรรมราชา" คือราชาแห่งธรรมทั้งมวล ธรรมที่เป็นทางสายกลางและหลุดพ้นเพียงหนึ่งเดียวในสหโลกธาตุในอนันตริยะจักรวาล นอกจากนั้นไม่มีธรรมที่หลุดพ้นจากความทุกข์ได้


    ฉนั้นคำสั่งสอนของความเชื่อใดที่ยังหวังให้ผู้อื่นเสวยความสุขสบายในสรวงสวรรค์นั้นอยู่ ผู้สั่งสอนผู้อื่นให้แสวงหาความทุกข์ในรูปแห่งความสุขนั้น จึงไม่รู้จักความสุขความทุกข์อย่างแท้จริง เมื่อไม่รู้จักทุกข์ และทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ย่อมไม่ได้พบกับความสุขอันเป็นบรมสุขที่แท้จริงมีแต่ในพระนิพพานเพียงเท่านั้น เป็นความสุขอันแท้จริงที่ไม่ใช่มายาคติปรุงแต่งสร้างเสริมกันขึ้นมา เชื่อเถิดว่า " ความเบื่อหน่าย เกิดขึ้นได้ในทุกๆที่ทุกๆสถานะ ยกเว้นเพียงสถานะเดียว "คือรสแห่งวิมุติสุขอันเป็นบรมสุขของพระนิพพาน เป็นยอดโอชารส เหนือสภาวะปรุงแต่งทำเทียมทั้งมวล


    วาทีสูตรนี้ แม้ครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุด ด้วยอรรถพยัญชนะ เสียง รูป ถูกต้องเพียงไร เหล่าเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายผู้ห่างไกลพระธรรม ต่อให้พบพระพุทธเจ้าอยู่ตรงหน้าก็ไม่มีทางได้ประโยชน์อะไร?
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 เมษายน 2015
  17. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    "ศาสนาเป็นสิ่งที่ดูหมิ่นศักดิ์ศรีของมนุษย์
    ไม่ว่าจะมีหรือไม่ศาสนา คนดีก็จะทำความดี
    และคนชั่วก็จะทำความชั่ว
    แต่ถ้าจะให้คนดีทำความชั่วละก็
    นั่นต้องอาศัยศาสนา"

    เป็นข้อสังเกตุหนึ่ง คำว่า ถ้าจะทำให้คนดีทำชั่วต้องอาศัยศาสนา คงจะเกิดจากการที่เขาเห็นคนฆ่ากันในนามของศาสนา ฆ่าและทำร้ายกันในนามของพระเจ้า ฆ่าและทำร้ายกันในนามของผู้นำลัทธิ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เขาฝ่าฝืนในสิ่งที่พระเจ้า หรือผู้นำศาสนาบอก แต่กลับเป็นว่าเขาทำในสิ่งที่เขาเชื่อว่าพระเจ้าหรือผู้นำทางศาสนาบอกให้ทำ นี่คงเป็นที่มาของคำว่า ถ้าจะให้คนดีทำความชั่วต้องอาศัยศาสนา แต่ถ้าศาสนานั้นไม่สรรเสริญการฆ่าและเบียดผู้อื่นในนามของศาสนา หรือของศาสดา ผู้นำลัทธิ คำกล่าวนี้ก็ใช้ไม่ได้
     
  18. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับอนาถบิณฑิกเศรษฐี
    ที่น่าสนใจมีตอนหนึ่งว่า

    พราหมณ์ผู้ดับกิเลสเสียได้แล้ว ไม่ติดอยู่ในกามทั้งหลาย
    เป็นผู้เย็น ปราศจากอุปธิ ย่อมเป็นสุขเสมอไป ผู้ที่ตัดตัณหา เครื่องเกี่ยวข้อง
    ได้หมดแล้ว กำจัดความกระวนกระวายในใจเสียได้ เป็นผู้สงบ
    อยู่เป็นสุข เพราะถึงสันติสุขด้วยใจ
     
  19. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    ดูก่อนพราหม์-ธรรมกถึก..เหตุใดยังเยิ่นเย้อ มิแปรเปลี่ยน..:'(
     
  20. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พระปุณณมันตานีบุตรเถระ
    เอตทัคคะในทางผู้เป็นพระธรรมกถึก

    พระปุณณมันตานี เกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล ในหมู่บ้านพราหมณ์โทณวัตถุ อัน
    ไม่ห่างไกลจากกรุงกบิลพัสดุ์มากนัก เดิมท่านมีชื่อว่า “ปุณณะ” แต่เนื่องจากมารดาของท่านชื่อ
    นางมันตานี คนทั่วไปจึงมักเรียกท่านว่า “ปุณณมันตานีบุตร” และโดยสายเลือดนับว่าท่านเป็น
    หลานของพระอัญญาโกณฑัญญะ
    พระปุณณมันตานี ได้เข้ามาบวชในพุทธศาสนา โดยการชักนำของ
    พระอัญญาโกณฑัญญเถระ ผู้เป็นลุง ในสมัยเมื่อพระพุทธองค์หลังจากทรงจำพรรษาแรกที่ป่า
    อิสิปตนมฤคทายวัน พอออกพรรษาแล้วทรงส่งสาวกจำนวน ๖๐ รูป ออกประกาศพระศาสนา
    นับว่าเป็นพระธรรมทูตรุ่นแรก พระอัญญาโกณฑัญญะ ก็เป็นอีกรูปหนึ่งในจำนวนนั้นด้วย ท่าน
    ได้กลับไปที่บ้านของท่านแสดงธรรมโปรดญาติพี่น้อง ขณะนั้น ปุณณมันตานี บุตรหลานชาย
    ของท่านเกิดศรัทธาเลื่อมใสขอบวชในพุทธศาสนา ซึ่งท่านให้บรรพชาเป็นสามเณรไว้ก่อน แล้ว
    พาไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าที่กรุงราชคฤห์ พระพุทธองค์ประทานการอุปสมบทให้ เมื่อบวช
    แล้วไม่นานอุตสาห์บำเพ็ญเพียร เจริญวิปัสสนากรรมฐานก็ได้บรรลุพระอรหัตผล

    ปฏิบัติอย่างไรสอนอย่างนั้น
    เมื่อท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว มีปฏิปทาตั้งมั่นอยู่ในคุณธรรม ๑๐ ประการ คือ:-
    ๑ อัปปิจฉตา เรื่องความปรารถนาน้อย
    ๒ สันตุฏฐิตา เรื่องความสันโดษ
    ๓ ปวิเวกตา เรื่องความสงัด
    ๔ อสังสัคคตา เรื่องความไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ
    ๕ วิริยารัมภะ เรื่องความเพียร
    ๖ สีลตา เรื่องศีล
    ๗ สมาธิ เรื่องสมาธิ
    ๘ ปัญญา เรื่องปัญญา
    ๙ วิมุตติ เรื่องความหลุดพ้น
    ๑๐ วิมุตติญาณทัสนะ เรื่องความรู้ความเห็นว่าหลุดพ้น
    คุณธรรม หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กถาวัตถุ ๑๐ ประการนี้กล่าวสั้น ๆ ก็คือ มักน้อย
    สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ปรารภความเพียร บริบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา
    วิมุตติ วิมุตติญาณทัสนะ ท่านพระปุณณมันตานีบุตรเถระ จะสั่งสอนบริษัทบริวารของท่านด้วย
    คุณธรรม ๑๐ ประการนี้ จากท่านจนได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน ด้วยเหตุนี้ ภิกษุผู้เป็นศิษย์ของ
    ท่านไม่ว่าจะไปสู่ที่ใด ๆ ก็จะพากันกล่าวยกย่องพรรณนาคุณของพระปุณณมันตานีบุตรเถระ ผู้
    เป็นพระอุปัชฌาย์ของตน ให้ปรากฏแก่พุทธบริษัทในที่นั้น ๆ เสมอ แม้พระสารีบุตรเถระ ได้
    ทราบข่าวคุณธรรมของท่านแล้ว ก็มีความปรารถนาจะได้สนทนาธรรมกับท่าน

    สนทนาธรรมกับพระสารีบุตร
    สมัยหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเสด็จมายังเมืองสาวัตถี ณ ที่นั้นพระสารีบุตรกับพระ
    ปุณณมันตานีบุตร ได้มีโอกาสพบกัน พระสารีบุตรได้สนทนาไต่ถามท่านเกี่ยวกับวิสุทธิ
    ๗ ประการ อันได้แก่:-
    ๑ สีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล
    ๒ จิตตวิสุทธิ ความหมดจดแห่งจิต
    ๓ ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ
    ๔ กังขาวิตรณวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย
    ๕ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นว่า หรือมิใช่ทาง
    ๖ ปฏิปาญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติ
    ๗ ญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะกล่าวคือมรรคญาณ
    พระปุณณมันตานีบุตร ได้ถวายคำอธิบายว่า วิสุทธิ ๗ นี้ ย่อมเป็นปัจจัยอาศัยส่งต่อกัน
    ไปจนถึงพระนิพพาน ท่านเปรียบเหมือน ๗ คัน ที่ส่งต่อ ๆ พลัดกันไปโดยลำดับ
    เมื่อการสนทนาไต่ถามกันและกันจบลง พระเถระทั้งสองต่างก็กล่าวอนุโมทนาคุณกถา
    ของกันและกัน และแยกกันกลับสู่ที่พักของตน
    เพราะความที่พระปุณณมันตานีบุตรเถระ ท่านดำรงต้นตั้งมั่นอยู่ในคุณธรรมเช่นไร ก็
    สั่งสอนบรรดาศิษย์และพุทธบริษัทอื่น ๆ ให้ดำรงอยู่ในคุณธรรมนั้นด้วย
    พระผู้มีพระภาค จึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ใน
    ทาง ผู้เป็นพระธรรมกถึก
    พระปุณณมันตานีบุตรเถระ ดำรงอายุสังขาร ช่วยกิจการพระศาสนาพอสมควรแก่กาล
    เวลาแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน
    ไม่ได้ปฎิบัติไม่ได้คิดไม่ได้พิจารณาไม่ได้ทำในเรื่องใด ไม่สอนในเรื่องนั้นแล จึงรู้จริงเฉพาะทางที่ตนทราบตามภาวะฐานะธรรม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 เมษายน 2015

แชร์หน้านี้

Loading...