ตั้งสติกำหนดรู้ สัญญา แยกสัญญาออกจากจิตนี่ทำได้ใช่ไหม ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เสขะ บุคคล, 1 กรกฎาคม 2015.

  1. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,021
  2. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    จะไป ขั้นนั้น ต้องมีความ แยบคายในการเห็น ขณะทำกรรมฐาน

    นามรูปนั้น เมื่อกระทบ ด้วยวิญญาณ แล้ว มันจะต้องมี เวทนาปักลงไป เสมอ

    โดยมาก หากกำหนดเวทนายังไม่เป็น ยังได้แค่ รู้สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุข จิตจะมี
    กำลังไม่พอ ในการ สมาทานสิกขา

    ถ้า สุข ทุก อทุกขมสุข กลายเป็นสิ่ง ถูกยกขึ้นพิจารณาได้แล้ว ก็จะแนะนำให้ กำหนดรู้
    ยิ่งๆ ขึ้นไปว่า

    นามรูปปรากฏ วิญญาณกระทบรู้ เวทนาปัก แล้วก็ ดับ ไปแล้ว !!!

    เน้นว่า เวทนาดับไปปีมะโว้แล้ว หลังจากนั้น จึงวิปลาสไปตาม " การหมายรู้ "

    สัญญา " จะเป็นการหมายรู้ " ไม่ใช่ " การรู้ว่าคืออะไร "

    พูดแบบ ภาษาอังกฤษ การหมายรู้( sensation) ส่วน รู้ว่าคืออะไร( acknowlege)

    เหมือนเรา ยก มะนาวต่างดุดขึ้นมา การหมายรู้หากเกิด น้ำลายจะเริ่มสอ

    หลังจากกรบวนการนั้นเกิดไปหมดแล้ว จึงเข้าไป acknowledge แล้ว บัญญติภาษา
    มารองรับว่า " เปรี้ยว " พอ ทิฏฐิดำริว่า "เปรี้ยว" หากเวทนาเกิดต่อ จะกลายเป็น สังขาร
    ทำให้ เปรี้ยวต่อ อยากต่อ หรือไม่ชอบ ชอบ หรือไปโน้นเลย อาหารลอยมา นายช่างยิ้มหัวร่อ


    กลับมา ดู สัญญา ระดับ sense ยังไม่บัญญัติเป็น ศัพท์ เป็นแค่ อาการหมายรู้

    ยกอาการ หมายรู้นั้น ปรากฏในจิต ให้ชำนาญพอ แล้ว มีสติ มีสัมปชัญญะ รู้ว่า เวทนาเกิด
    แล้ว ก็ดับไปแล้ว ....... จิต ถึงจะ ยก อาการ สัญญา มาภาวนา เหมือน ตาเห็นรูปได้

    ซึ่งถ้าทำได้ จากเมื่อก่อน ต้อง สมาทานสามัญลักษณะ จะ เปลี่ยนเป็น ภาวนาด้วย
    การตามเห็น อนิจสัญญา อนัตตสัญญา ทุกขัง

    ทุกขัง จะมาทีหลัง หลังจากยก สัญญาขันธ์ ภาวนาเป็น ธรรมานุปัสสนา ได้แล้ว

    ที่ทุกขัง มันปรากฏทีหลัง เพราะ จิตที่กำนดรู้ อนิจจสัญญา อนัตตาสัญญา หรือ
    แม้นแต่ อเนญชาสัญญา หรือ แม้นแต่ "อโลภะ อโทษะ อโมหะ" จิตนั้น จะแนบ
    กับฌาณ แบบ เคียงคู่กันไป ( การภาวนา สมถะ และ ปัญญา ไม่ก้ำเกินกัน ไม่มี
    ส่วนใดอันตรธานหายไป เวลา จิตไปทำกิจสมถะ หรือ วิปัสสนา)


    **************

    ปล.ลิง การจะ ยกสัญญา มาภาวนา จะต้อง ยก ที่พระพุทธองค์ ทรงเลือกให้ บางพระสูตรมี 7
    บางพระสูตรมี10 หากเป็น ปฏิสัมภิทาญาณจะยก 200 กว่าตัว

    สัญญาที่เลือกให้เขาไปเห็น จะทำให้ ล่วงส่วน ลาดไปนิพพาน

    สัญญาที่ไปหยิบมั่วๆซั่วๆ มันจะไปโน้น องค์ประถม องค์มัธยม เท้าสฟิงค์ เป็นต้น !!! [ ไม่เท่าทัน ทิฏฐิ เสร็จ มาร หมดแหละ ]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กรกฎาคม 2015
  3. ABT

    ABT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +1,524
    ขออนุญาตตอบด้วยความรู้ที่มีนิดหน่อยอาจไม่ชัดเจนด้วยไปยังไม่ถึงอาศัยการอ่านจากครูบาอาจารย์ต่าง ๆ การใช้สติกำหนดรู้สัญญา และการแยกสัญญาออกจากจิต ทำได้ครับ สติกำหนดรู้ ปัญญาแยกสัญญา เกิดและดับตรงไหน เก็บไว้ที่ใดของจิต รู้ชัดแล้ว จึงใช้ปัญญาแยกสัญญาออกจากจิต แล้วปล่อยวางสัญญาครับ ประมาณนี้ครับ ท่านว่าให้ปฏิบัติเองหากบอกวิธีหมดจะเป็นสัญญาไม่เป็นวิมุติครับ ผิดถูกอย่างไรต้องขออภััยครับ
     
  4. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    การภาวนานั้น หากมี สัมมาญาณ จะไม่ปฏิเสธ " สัญญาเกิดก่อน ญาณเกิดทีหลัง "

    การภาวนาที่ไม่มีสัมมาญาณ จะด้น เด้า เดาธรรมะ ไปวาดภาพ สัญญา เป็น วัตถุ
    แล้วก็ คิดเอา ปรุงแต่งเอาว่า สัญญาต้องดับ เลยไปแยก สัญญาออก มุ่งดับสัญญา นิ่งโง่

    หากภาวนาเป็น จะต้องไป ดับสัญญา ทำไม ในเมื่อ มันเป็น ปัจจัยบางประการในการมี " ญาณ "


    เว้นแต่ " ญาณ " นั้นจะเกิดจาก การด้นเดาเอาว่า เป็น ญาณ ก็เลย ไม่รู้ว่า
    มันต้องใช้ สัญญานำหน้าก่อน อย่าไปดับ [ หากทำถูกต้อง จะทราบ ปัญญานิรุตติ
    มี พระพุทธองค์ผู้เดียว เป็นผู้ยก ....หากภาวนาผิด จะเกิดการวิปลาส สำคัญว่า เจอสิ่งที่พระพุทธองค์ไม่เคยตรัส ]

    หากไปดับ สัญญา ................... ญาณ ขี้โม้ เต็มกระโถน ข้างธรรมาส แน่นอน


    ปล.ลิง อย่าว่าแต่ สัญญาดับ ญาณก็ต้องดับ และแม้นแต่ ปัญญา ก็ต้องดับ ยกขึ้นรู้ได้
    ยกเห็น ปัญญาดับไม่ได้ อย่าโม้ว่า มีสติ มีสัมปชัญญะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กรกฎาคม 2015
  5. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,021
    ดูก่อนอานนท์ ก็อาทีนวสัญญา เป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก เพราะฉะนั้น อาพาธต่างๆ จึงเกิดขึ้นในกายนี้ คือ โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคที่ใบหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เชื่อมซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด หูด โรคละอองบวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีไข้สันนิบาต อาพาธอันเกิดแก่ฤดูแปรปรวน อาพาธอันเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธอันเกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธอันเกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นโทษในกายนี้ ด้วยประการดังนี้ ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า อาทีนวสัญญา.

    (คิริมานนทสูตร)


    สนใจบทนี้ครับ อาทีนวสัญญา
    ยกตัวอย่างการใช้สัญญาเป็นที่ตั้งของสติ ไม่ต้องไปแยกแยะว่าเป็นขันธ์อะไร

    ตั้งใจระลึกสัญญาความทุกข์ ทั้งหลายๆ ไปเรื่อยๆ เป็นกรรมฐาน แค่นั้น ไม่ต้องมากกว่านั้นใช่ไหม ครับ ?
     
  6. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ต้อง สังเกตตัว " ปิติ " ....ที่มันจะต้องปรากฏ ....

    คำว่า " ผมสนใจบทนี้ " มันมีหลายแง่ แง่แค่ได้ยินได้ฟังปฏิปทาการภาวนา อันนี้
    มันจะแค่ มีธรรมฉันทะ เพราะ ศรัทธา .....มันจะ มะงุมมะงาหราเข้าปฏิบัติ แต่ทว่า
    เวลาเกิด "ปิติ" จิตมันผลิกแง่มุมอื่น

    คำว่า ชอบใจบทนี้ คือ สมาทานปฏิปทานี้แล้ว พิจารณาแล้ว ขนมันพอง มันเหมือน
    สยองๆ แต่มันมีอาการ แลอยู่ กายมันจะกลายเป็นคูหากลวงๆ แล้ว ปิติซ่านไป
    ทั่วกาย อันนี้ ก็ใช้ได้ .....จัดเป็น สมถะนำหน้าสัญญา มันจะผลิกเห็นโน้น เห็นนี่
    ก็ต้อง ภาวนาเห็นซ้ำแล้วซ้ำเล่า อย่าเอาเห็นครั้งเดียวแล้ว ฮานาก้า ไปนั่งชูคอแบบ ปู่ฉับฉล

    แต่ถ้า ตรึกเฉยๆ แล้ว มันมี แนวรบ คือ เห็นอุปกิเลสไหลไป ไหลมาในจิต เช่น
    เห็น กองกระดูก เห็นหู เห็น... นะ คือ ขนาดเห็นแบบนั้น แล้ว อุปกิเลสมันยัง
    เกิดได้( พวกชอบของแปลก ) อันนี้ จิตตรึกอาพาธ แต่ กิเลสมันตีคู่ ตลอด
    ตรงนี้ก็จะเป็นการเดิน วิปัสสนานำหน้า ......ต้องมีความเป็นกลางต่อการเห็น ก็จะ
    ภาวนาจนเกิด สมาธิ จิตตั้งมั่นได้ [ ปิติเกิดเพราะจิตคลายออกจากอุปกิเลส ]

    แต่.....มันมี ปิติอีกตัว ที่เป็น ขนพองสยองเกล้าแต่ทว่า มันไม่กุมจิต มันเบื่อ
    หน่ายเห็น ขันธ์5 เป็นเรือนว่างกลวงๆ แต่คับแคบ แล้วจิตตั้งมั่นได้นานๆ อันนี้
    ก็จะอีกอารมณ์หนึ่ง จิตมันถอยจากโลก....ซึ่งถ้าได้แบบนี้ ตรงวรรคทีว่า
    " อาพาธอันเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธอันเกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง "
    จะเป็น ตัวศิลปในการภาวนา อันนี้จะไม่ป่วยไข้แล้ว จะป่วยยาก จึงต้องไปดู
    พวก ป่วยเพราะธาตุกินธาตุ ธาตุคายธาตุ จิตมันปักในรูปได้ไม่นานมันก็ต้อง
    แปรปรวนไปเพราะจิตมันมี"...."ของมัน [ ดูกายต้องเห็นจิตไม่เที่ยงได้ ...ถ้า
    ดูกายอย่างเดียวไม่เห็นความแปรปรวนต้นรากที่จิต ก็ คิดมากไป สมาธิไม่พอ ยัง
    หา จิตตั้งมั่นไม่เจอ หาใจไม่เจอ ]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กรกฎาคม 2015
  7. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ถ้าเอาแนว พระป่า ก็จะ พูด หรือ ถามสั้นๆว่า

    " มีอะไรเป็นวิหารธรรม "

    ต้องตอบได้แบบเปรี้ยงเลย ไม่ใช่ ถามแล้ว นึกอยู่ อะไรว๊า

    ถ้า นึกอยู่อะไรว๊า ก็ เปรี้ยงเลย ตกกุฏิ เอาได้

    และถ้า ตอบได้....ส่วนใหญ่จะเงียบ ไม่กล่าวอะไรต่อ ...........
     
  8. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,021

    ไม่มีเครื่องอยู่อะไรเป็นชิ้นเป็นอันครับ
    พิจารณาทุกข์ที่อมอยู่ ไปเรื่อยๆ พยายามตั้งสติให้เป็นปัจจุบันกาย ก็เท่านั้นหละครับ
     
  9. GipBall

    GipBall เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    109
    ค่าพลัง:
    +182
    มันแยก เฉพราะสัญญาอย่างเดียวไม่ได้หรอก .....มันจาแยกได้ไงฟังแล้วงงงงงงง....เพราะในชีวิตประจำวันที่เราใช้ชีวิต..มันก็มีทั้ง สิ่งที่เราคุย เรามอง ดูหนัง ฟังเพลง...เดิน ขับรถ แล้วจาไปเอา ผู้รู้ไปดูเพราะสัญญาได้ไง....พูดเป็นหนังกาตูนไปได้....มันก็มีสิ่งที่ดู สัญญามั่ง สังขารมัง กายมั่ง เวทนามั่ง ..เราไปจำแนกเฉพราะสัญญาตัวเดียวได้ไง....ปัญญาอ่อนหรือเปล่า....ตัวไหนแรงกว่าผู้รู้ก็วิ่งไปตรงนั้น เช่นสังขารแรงกว่าผู้รู้ก็วิ่งไปเกาะสังขาร...เวทนากายแรงกว่าผู้รู้ก็วิ่งไปเกาะเวทนา...
     
  10. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,021
    อย่าถือสาเลยครับ ผมสติปัญญามีไม่มาก จะถือว่าสติปัญญาอ่อนก็ยอมรับครับ

    อย่างผู้รู้หรือสติไปรู้กาย ผมก็พิจารณาไปเห็นว่าไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ผู้รู้ สติก็ส่วนนึง กายก็ส่วนนึง, ผู้รู้ สติก็ส่วนนึง เวทนาก็ส่วนนึง, ส่วนสัญญา สังขาร ก็กำลังพิจารณาไปว่าประมาณเดียวกัน ถ้าคุณเห็นว่ามันเป็นอันเดียวสิ่งเดียวกันก็แล้วแต่ความเห็นของใคร ส่วนตัวผมเห็นว่าแบบนี้ก็ว่าไปตามนั้นครับ
     
  11. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    เชยระเบิดระเบ้อ

    ถ้า พูดแบบสวนป๊าป ก็จะทำอุบายยกขึ้นถามว่า " แล้วรู้ได้อย่างไรว่า ไม่มีวิหารธรรม "

    ถ้า พูดแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย " เพียรตั้งสติ(นำหน้า)ให้เป็นปัจจุบันกาย " คืออัลลัยว่ะ ? [ แกล้งถามนะ อย่า ตอบ ]

    ถ้า เอาแนวพระ ก็จะ หันไปทำอย่างอื่นเลย ไม่พูด ( ไม่มีกิจจะต้องพูด )



    แต่ถ้า ตัวผมเองหละ .....ก็จะ

    " ฮัดชัดช่า ก็รู้ว่าไม่มีวิหารธรรม นั่นแหละ สุดยอดการรู้ "
    เพราะทันทีที่รู้ว่า ไม่มีวิหารธรรม ก็ พอกพูลสุญญาคารวิหาร เรียบร้อยแล้ว

    ถ้าจะ ฝุ้งธรรมให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ก็จะกล่าวถึง วิญญาณกสิณ ที่ ในหลวง ถามปัญหา
    เอากับพระ พระตอบไม่ได้ แต่ คุณ !! คุณนั่นแหละ ไม่ต้องถามให้เสียเวลา
    ไม่ต้องบัญญัติชื่อด้วย เพราะ บัญญติเมื่อไหร่ ตกจากกรรมฐานทันที



    ปล. อนึ่ง การรู้ทุกข์ รู้อุปปายาส รู้อุปปาธิ ที่หมุนวน เหยียบหัวอก เหยียบขันธ์5 แม้นจิต
    บางที นักภาวนาทำตัวเหมือน บัวที่โพล่พ้นน้ำแล้ว แต่ ไม่ยอมเอะใจ ใช้ปัญญาอันยิ่ง
    นมสิการ นิโรธน ที่ปรากฏอยู่ตลอดเวลา บัวไม่หันไปหาแสง มันก็ ซื่อบื้ออยู่อย่างนั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กรกฎาคม 2015
  12. GipBall

    GipBall เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    109
    ค่าพลัง:
    +182
    เคยเห็นความคิดหายไปหรือยัง
     
  13. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    อิทธิบาท4 ในส่วนของ โพธิปักขยิธรรม นั้น .....ผู้ภาวนา ส่วนใหญ่ มักไม่ทราบ


    อิทธิบาท4 ในส่วนของโพธิปักขยิธรรม ที่มีเหตุปัจจัยจาก สติปัฏฐาน4 เพียงพอ
    มันจะมี รสของการภาวนาไปทาง สุญญตา นิรามิส

    อิทธิบาท4 ที่เป็นของชาวบ้าน ไม่ต้องรอให้ พระพุทธเจ้ามาประกาศ จะมีรส เป็นอามิส
    และที่สำคัญคือ " ทำตามๆกันไป "



    อิทธิบาท4 ที่เป็นธรรมของชาวบ้าน เป็นเรื่องนอกแนว จึงมี อาการ หากทำไม่เหมือนใคร มันก็
    ไม่กล้ากล่าวว่า " ข้าภาวนาอยู่ "

    เวลา ปฏิบัติธรรมแล้ว เกิดอาการเห็นธรรม เห็นไปแล้ว เกิดความรู้สึกว่า ไม่เหมือนใคร ก็เลย
    ไปเชื่อ ทิฏฐินั้น ก็เลย กระมิดกระเมี้ยน กล้าๆ กลัวๆ ไม่กล้าพูดว่า ภาวนามายังไง

    พอภาวนาแล้ว เอ้อ เห็นโน้น เห็นนี่ รู้สึกนู้น ดับไอ้นี้ เทียบเคียงแล้ว มันเหมือนเขา ก็เอา
    เชียว กล้าพูดกล้าแสดงออก ทั้งที่ มันเป็น ธรรมก๊อปปี้ เป็นธรรมลามกจกเปรต
    ทำตามๆกันไป


    ดังนั้น

    คุณเจ้าของกระทู้ ต้องตั้งจิตให้ตรง ต้องสมาทานสิกขา ให้อาจหาญ ร่าเริง กล้าคิด
    กล้าพูด กล้าแสดงออก ( แต่ไม่ต้องสะกิดบอกใคร นะเว้ยเฮ้ย )

    เราสมาทานสิกขา เพื่อความ รู้เฉพาะตัว( กิเลสสิ้นไป พ้นกิเลสไป ...รสของปัจจัตตัง แท้
    ไม่เทียม) หากปัจจัตตังมีการ ตั้งจิตไว้ตรง ซื่อตรงต่อธรรม ไม่มีหลอก จะมา กระมิดกระเมี้ยน
    ไอ้นั่นก็กล่าวไม่ได้ ไอ้นี้ก็กล่าวไม่ได้ เพราะ มันไม่เหมือนใคร เลยไม่อยากจะกล่าว

    นะ..........


    เอาไป พินาดูดีๆ ป่านนี้แล้ว ยังมุ่งทำ อิทธิบาท4 เพื่อ อามิส เพื่อเหมือนใคร

    หรือ

    จะเอา อิทธิบาท4 ที่จิตมันสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม รู้เฉพาะตัว กล้าหาญ ร่าเริง
    ด้วยการสำรอก อัตตาวาทุปาทาน อุปาธิต่างๆ ไปเรื่อยๆ ไม่เห็นต้องเหมือนใคร ไม่เห็น
    ต้องเที่ยวไปเชื่อมัน !!
     
  14. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ปฏิบัติไป เพื่อมุ่งเอา ความคิดหาย ส้นตี !!!!
     
  15. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,021
    ความคิดเป็น มรรค ก็มีถูกไหมครับ ?
     
  16. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,021


    คหสต. วิธีการภาวนาของแต่ละคนรายละเอียดปลีกย่อย ก็คงแล้วแต่อุปนิสัยใจคอ คงไม่มีใครเหมือนใครเป๊ะๆแน่ แต่ถ้าจะตรวจสอบผลการปฏิบัติ ผลน่าจะต้องเป็นอันเดียวกันไม่ต่าง ถ้าตรวจสอบตนเองแล้วต่าง คงต้องมีอันหนึ่งที่ไม่จริง คิดว่าแบบนั้นครับ
     
  17. โป

    โป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    183
    ค่าพลัง:
    +256
    คำว่ากำหนดที่หมายถึงการตั้งใจทำนั้น ชั้นนี้ไม่มีแล้วครับ...

    ชั้นนี้เพียงแค่รู้ ในแบบแตะปล่อยๆแค่นั้นครับ
     
  18. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,021
  19. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    633
    ค่าพลัง:
    +790
    อ่านมาครับ สัญญาเป็นเจตสิก หนึ่งในเจ็ด เรียกว่า
    สัพพจิตตสาธารณะ ๗ copy วิกิมา ว่าหมายถึงเจตสิกที่เกิดกับจิตทั้งปวง เป็นกลุ่มเจตสิกที่ประกอบได้กับจิตทั่วไปทุกดวง (89 หรือ121ดวง) เจตสิกกลุ่มนี้เวลาเข้าประกอบ จะเข้าพร้อมกันทั้ง 7 ดวง แยกจากกันไม่ได้

    ถ้าในการฝึก อรูปฌาณ ชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ

    เนวสัญญานาสัญญายตนะนี้ กำหนดว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ คือ ทำความรู้สึกตัวเสมอว่า ทั้งมีสัญญาอยู่นี้ก็ทำความรู้สึกเหมือนไม่มีสัญญา คือไม่ยอมรับรู้จดจำอะไรหมด ทำตัวเสมือนหุ่นที่ไร้วิญญาณ ไม่รับรู้ ไม่รับอารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้น หนาวก็รู้ว่าหนาวแต่ไม่เอาเรื่อง ร้อนก็รู้ว่าร้อนแต่ไม่ดิ้นรนกระวนกระวาย มีชีวิตทำ เสมือนคนตาย คือไม่ปรารภสัญญาคำจดจำใด ๆ ปล่อยตามเรื่องเปลื้องความสนใจใด ๆ ออกจนสิ้น จนจิตเป็นเอกัคคตาและอุเบกขารมณ์

    และการดับสัญญามีที่กล่าวเฉพาะเรื่อง นิโรธสมาบัติ (อ่านว่า นิโรดสะมาบัด, นิโรดทะ- ) แปลว่า การเข้านิโรธ, การเข้าถึงความดับ หมายถึงการเข้าถึงความดับสัญญา (ความจำ) และเวทนา (ความรับอารมณ์) ทั้งหมด ซึ่งสามารถดับได้ถึง 7 วัน เรียกว่าเข้านิโรธสมาบัติ เรียกย่อว่า เข้านิโรธ เรียกเต็มว่า เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ

    นิโรธสมาบัติ ต้องเป็นพระอรหันต์และพระอนาคามีผู้ได้สมาบัติ 8 จึงจะสามารถเข้าได้

    เคยอ่านจากที่อื่นมา แต่ขอcopy วิกิเพื่อไม่ต้องพิมพ์ที่อาจคลาดเคลื่อน ผมเลยสรุปว่า แยกสัญญาจากจิตไม่ได้ ตามท่านball21

    แต่เราสามารถใช้จิตนี้สังเกตดูว่าสัญญาเกิด ดับ และรับรู้ว่า สัญญาก็อย่าง เวทนาก็อย่าง สังขารก็อย่าง เจตนาก็อย่าง มโนก็อย่าง เอกัคคตาก็อย่างเห็นมันแยกกันในจิตที่เฝ้าดู แม้พูดว่าสัญญา เป็นสัพพะจิตตะสาธารณะ เกิดพร้อมจิตทุกดวง แต่เวลาฝึกดูจะเห็นมันเกิดดับเป็นช่วง เมื่อจิตรับรู้ทางวิญญาณทั้งหก สัญญาก็เกิดแล้วดับไปในแต่ละการรับรู้ เวทนา สังขารก็เกิดและดับต่อมา อย่างรวดเร็ว สังขารจะพุ่งไปสุดจนเกิดภพใหม่หรือไม่ก็แล้วแต่ ก็จะวนมาซ้ำกระบวนการอีก คือ วิญญาณสัญญา เวทนา สังขาร ก็จะเกิดดับวนกันต่อเนื่องไป

    ผู้ฝึกจับที่ผัสสะทั้งหกทางอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วจะเห็นสังเกตเห็น สัญญาเกิดสัญญาาดับ เป็นอนิจจัง มันเป็นของมัน เราไปบังคับมันไม่ได้ว่าอย่าเกิดอย่าดับ เอาแค่นั้นแหละครับ แล้วไปวิปัสสนาต่อไป
     
  20. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ---สัญญา ตามนัย อริยสัจ--พระวจนะ"ภิกษุทั้งหลาย สัญญา เป็นอย่างไรเล่า ภิกษุทั้งหลายหมู่แห่งสัญญาหกเหล่านี้ คือ สัญญาในรูป สัญญาในเสียง สัญญาในกลิ่น สัญญาในรย สัญญาในโพฐัพพะ และสัญญาในธัมมารมณ์ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสัญญา ความเกิดขึ้นแห่งสัญญามีได้ เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความดับไม่เหลือแห่งสัญญามีได้ เพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ อริยะมรรคมีองคืแปดนี้นั้นเอง เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสัญญาได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ การพูดจาชอบ การทำงานชอบ การเลี้ยงชีพชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ---ขนธ.สํ.17/74/115:cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...