สำนักวัดนาป่าพงคึกฤทธิ์และสาวกพลาด! สร้าง" พุทธวจน " ปลอม

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 7 กรกฎาคม 2015.

  1. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    "เรื่องใหญ่ "

    ขนาดพระเจ้าแผ่นดิน ท่านก็ยังทรงจัดพิมพ์และเผยแพร่ตามรอยประวัติศาสตร์ ที่ในอดีต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย รับพระบรมราชโองการให้จัดการพระราชทานพระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. 2436 ฉบับที่ได้จัดพิมพ์เป็นชุดครั้งแรกของโลกไปทั่วสยามประเทศ เมื่อปี พ.ศ.2436

    แล้ว

    คึกฤทธิ์ ลุแก่อำนาจอะไร คิดชั่วช้าเลวทรามอันใด จึงคิดว่าจะเอาหนังสือที่มีชื่อใหม่ทั้งๆที่ก๊อปปี้มาจากต้นฉบับ ปี2436 และต้องการให้มาทดแทนพระไตรปิฏก ฉบับที่พระบาทสมเด็จฯท่านและพระบรมวงศานุวงค์ฯทรงทะนุบำรุงตลอดถึงอาณาประชาราษฎร์ ที่ร่วมน้อมเกล้าถวายแด่พระพุทธศาสนา
    ถ้ามีเจตนาที่ดีทำไมจึงไม่ร่วมมือร่วมใจ จัดพิมพ์ พระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยามขึ้นใหม่ด้วยเลย ทำไมจึงไปอวดอ้างสร้าง "พุทธวจนปิฏก" ขึ้นมาใหม่และจะหวังให้มาแทนที่พระไตรปิฏกไทย ฉบับสยามรัฐฉบับแรกและทุกๆฉบับในโลก ทั้งๆที่ลอกของเก่าเขามาทั้งนั้น แต่พยายามสื่อว่าเป็นความสามารถของตนเอง และบุคคลในสำนักวัดนาป่าพง
    เป็นการไม่จงรักภักดี ต่อชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ และกับพี่น้องประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีจิตกุศลร่วมน้อมเกล้าถวายเลย

    ทำเกินไปแล้ว คึกฤทธิ์ อย่าคิดว่าจะมีคนมองไม่ออก ถึงเจตนานี้
    ตกม้าตายครั้งนี้ เจ็บปวดหน่อยนะ


    พิมพ์ใหม่พระไตรปิฎกภาษาไทย
    ฉบับ จปร. ร.ศ.112
    2436 พระไตรปิฎกไทยฉบับแรก
    ก่อนจะยกระดับขึ้นเป็น “ฉบับสยามรัฐ”
    และเป็น “ต้นฉบับ” ของทุกฉบับในเมืองไทย
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ผู้ทรงให้กำเนิดพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับแรก
    2431 เริ่มสังคายนาพระไตรปิฎก กว่าจะจบก็ตก พ.ศ.2436
    รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) 112

    ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในสมัยรัตนโกสินทร์
    ตราครุฑ ตราแผ่นดิน
    เป็นเครื่องหมายว่า พระพุทธศาสนาคงอยู่คู่แผ่นดินไทย
    เก่าแก่แค่ไหน ก็เชิญทัศนา
    มหาดไทยจัดพิมพ์พระไตรปิฎกถวายเป็นพระราชกุศล
    วันที่ 19 ก.ย. ที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) นายประชา เตรัตน์ รองปลัดมท. และโฆษกมท.ฝ่ายข้าราชการประจำเปิดเผยว่า มท.ร่วมกับมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล จัดพิมพ์พระไตรปิฎก ชุด จ.ป.ร. อักษรสยาม 2436 ขึ้นใหม่ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 12 สิงหาคม 2555 และในโอกาสครบรอบ 120 ปี กระทรวงมหาดไทย


    นายประชากล่าวว่า ท่านผู้หญิงดร.ทัศนีย์ บุณยคุปต์ ประธานมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล ได้มอบพระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม (ฉบับพิมพ์ดิจิตอล) เป็นต้นฉบับให้แก่ นายพระนาย สุวรรณรัฐ ปลัดมท. ในโอกาสที่กระทรวงมหาดไทยจะจัดพิมพ์และเผยแพร่ตามรอยประวัติศาสตร์ ที่ในอดีต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย รับพระบรมราชโองการให้จัดการพระราชทานพระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. 2436 ฉบับที่ได้จัดพิมพ์เป็นชุดครั้งแรกของโลกไปทั่วสยามประเทศ เมื่อปี พ.ศ.2436

    นายประชากล่าวอีกว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงอนุโมทนาต้นฉบับพระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม ที่กระทรวงมหาดไทยจัดพิมพ์ใหม่ เนื่องในวาระ 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ในวันที่ 21 ก.ย. เวลา 15.00 น. ที่ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อพระราชทานพระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม ให้แก่กระทรวงมหาดไทยเชิญไปประดิษฐาน ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ในฐานะผู้แทนคณะสงฆ์ไทย

    นายประชากล่าวเพิ่มเติมว่า พร้อมทั้งพระราชทานพระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม ที่จัดพิมพ์ขึ้นใหม่ แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ ให้เป็นชุดประจำจังหวัดทุกจังหวัด จึงขอเชิญชวนประชาชนชาวไทยทั่วทั้งประเทศ ร่วมน้อมเกล้าฯ ถวายบุญกิริยาในการจัดพิมพ์และพระราชทานพระไตรปิฎก เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และเพื่อความสามัคคีและสวัสดีมงคลของชาติไทย

    ลิงค์นี้สำคัญมากนะครับ หวังว่าจะช่วยให้พวกท่านทั้งหลาย ล่วงรู้ที่ไปที่มา ของการมีอยู่ของพระไตรปิฏก ฉบับสยามรัฐที่สำนักวัดนาป่าพงนำมากล่าวอ้างในเรื่องต่างๆ

    เชิญพิจารณา เก็บข้อมูลบันทึกให้ดีๆ


    http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2470/D/3927.PDF

    http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2468/D/2981.PDF

    http://www.alittlebuddha.com/News 2012/September 2012/11 September 2012.html




    ใหญ่มาจากไหน

    "พุทธวจนปิฏกจะมาแทนพระไตรปิฏกทั้งหมดในประเทศไทย และในโลก"
    คึกวจน

    https://youtu.be/fJ69eQETA6A

    คลิปอ้างอิงการจัดสร้างก๊อปปี้ พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐมาเป็นของสำนักตนเอง
    https://youtu.be/ini5R9z-HS8

    คลิปความเป็นมาของหนังสือ พุทธวจน-ปิฎก
    https://youtu.be/MoBa5Q0UbZ0
    ข่าว : ข่าวสด
    20 กันยายน 2555


    ปีพุทธศักราช 2555 ได้มีการจัดพิมพ์เฉลิมฉลอง 2600 ปีไปแล้ว
    แต่อีกสองปีถัดมา สำนักวัดนาป่าพง ในปี 2557 เปิดตัวหนังสือ "พุทธวจน-ปิฎก"หนังสือพุทธวจนบาลี ไทย -พระไตรปิฏก 33 เล่มใหญ่ ฉลอง 2600 ปีตามหลัง
    เผยแพร่เมื่อ 17 พ.ค. 2014
    "หนังสือพุทธวจนบาลี ไทย -พระไตรปิฏก 33 เล่มใหญ่ ฉลอง 2600 ปี"
    วันที่ 12 พฤษภาคม 2557 เป็นวันจัดงาน "รัก ศรัทธา ตถาคต 2557" วันเปิดตัวหนังสือ "พุทธวจน-ปิฎก" ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในโลกโดยคณะบุคคลท­ี่มีความรัก ความศรัทธา ในการตรัสรู้ของพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้­า ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เพื่อเผยแผ่คำสั่งสอนของพระองค์อย่างถูกต้­อง โดยผ่านหนังสือ "พุทธวจน-ปิฎก" ให้ชาวโลกรับรู้เพื่อให้เกิดศรัทธา ที่มีความคิดริเริ่มจากพระอาจารย์ศึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล เจ้าอาวาสวัดนาป่าพง
    หนังสือ "พุทธวจน-ปิฎก" เป็นหนังสือที่รวบรวมคำสอนขององค์พระสัมมา­สัมพุทธเจ้า ที่ออกจากพระโอษฐ์ของพระองค์ โดยไม่มีการตัดทอนบิดเบือน หรือแต่งเติมจากชนรุ่นหลังให้ชาวพุทธได้รู­้จัก ได้เข้าใจอย่างถูกต้อง เพื่อให้เกิดความเลื่อมใสนำไปสู่การสืบค้น­ได้ด้วยตนเองผ่านสื่อที่ทันสมัย ง่ายสะดวก และรวดเร็ว ให้เกิดศรัทธาเพื่อดำเนินชีวิตตามคำสั่งสอ­นของพระศาสดาให้ชีวิตเห็นธรรมที่เป็นจริงอ­ย่างท่องแท้

    เมื่อกล้าทุบของเก่าที่ได้มีการบูรณะรักษาอยู่เนืองๆ แน่ใจหรือว่าอ้างพระไตรปิฏกสยามรัฐเป็นต้นแบบ แต่ทว่าได้ปฎิเสธอะไร?ิที่มีปรากฎในพระไตรปิฏกสยามรัฐบ้าง ถ้าคิดว่าสมบูรณ์ที่สุดแล้วไปตัดต่อตัดทอน พระธรรมและพระสูตรอะไรออกบ้าง การนำข้อมูลที่เป็นเท็จเผยแผ่ออกสู่สาธารณชน เพื่ออะไร?

    สรุปพระไตรปิฏกที่อ้างว่าสมบูรณ์ที่สุด และในการจัดสร้างเขาก็สร้างให้สมบูรณ์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้อยู่แล้ว. แต่ที่นี้กลับว่าต้นฉบับบกพร่อง จึงต้องคัดลอกเอาเฉพาะพุทธวจน จากพระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐและฉบับใบลานหลวง แล้วจะต่างอะไรกับฉบับอื่นๆ

    {O}ความชั่วไม่ทำเสียเลยประเสริฐกว่า ความชั่วย่อมเผาผลาญในภายหลัง ฯก็กรรมใดทำแล้ว ไม่เดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้นเป็นความดี ทำแล้วประเสริฐกว่า หญ้าคาอันบุคคลจับไม่ดี ย่อมบาดมือนั่นเองฉันใด ฯความเป็นสมณะ อันบุคคลปฏิบัติไม่ดี ย่อมฉุดเข้าไปเพื่อเกิดในนรก ฉันนั้น ฯ{O}


    มีการตัดทอนพระสูตร พระอภิธรรม อรรถกถาต่างๆที่ปรากฎอยู่ ในพระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐทิ้ง แต่อ้างฉบับสยามรัฐเป็นต้นแบบ ได้ฉิบหายกันล่ะทีนี้ คึกฤทธิ์ ซ่อนเมฆเอาไว้ เผื่อลูกศิษย์อาจาร์ยตัวดีมาอ่าน

    หมิ่นเบื้องสูงและทำลายสถาบัน โดนเต็มๆ คึกฤทธิ์ก็คึกฤทธิ์เถอะ!
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Tripitaka 243601.jpg
      Tripitaka 243601.jpg
      ขนาดไฟล์:
      60.4 KB
      เปิดดู:
      385
    • Tripitaka 243602.jpg
      Tripitaka 243602.jpg
      ขนาดไฟล์:
      53.3 KB
      เปิดดู:
      317
    • Tripitaka 243603.jpg
      Tripitaka 243603.jpg
      ขนาดไฟล์:
      28.3 KB
      เปิดดู:
      240
    • Tripitaka 243604.jpg
      Tripitaka 243604.jpg
      ขนาดไฟล์:
      60.6 KB
      เปิดดู:
      164
    • Tripitaka 243605.jpg
      Tripitaka 243605.jpg
      ขนาดไฟล์:
      44.5 KB
      เปิดดู:
      158
    • 3927.PDF
      ขนาดไฟล์:
      325.8 KB
      เปิดดู:
      135
    • 39271.pdf
      ขนาดไฟล์:
      325.8 KB
      เปิดดู:
      99
    • 39272.pdf
      ขนาดไฟล์:
      325.8 KB
      เปิดดู:
      109
    • 39273.pdf
      ขนาดไฟล์:
      325.8 KB
      เปิดดู:
      100
    • 39274.pdf
      ขนาดไฟล์:
      325.8 KB
      เปิดดู:
      137
    • 39275.pdf
      ขนาดไฟล์:
      325.8 KB
      เปิดดู:
      138
    • 39276.pdf
      ขนาดไฟล์:
      325.8 KB
      เปิดดู:
      98
    • 39277.pdf
      ขนาดไฟล์:
      325.8 KB
      เปิดดู:
      97
    • 39278.pdf
      ขนาดไฟล์:
      325.8 KB
      เปิดดู:
      106
    • 39279.pdf
      ขนาดไฟล์:
      325.8 KB
      เปิดดู:
      110
    • 392710.pdf
      ขนาดไฟล์:
      325.8 KB
      เปิดดู:
      130
    • 392711.pdf
      ขนาดไฟล์:
      325.8 KB
      เปิดดู:
      85
    • 392712.pdf
      ขนาดไฟล์:
      325.8 KB
      เปิดดู:
      94
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มีนาคม 2016
  2. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ความเป็นมาของหนังสือ พุทธวจนปิฎก
    https://youtu.be/MoBa5Q0UbZ0


    ที่สาธยายเอ่ยความสุดพรรณนาสาไถมา ไม่เกี่ยวกับการจัดให้มีจัดสร้าง ในความเป็นมาของพุทธวจนปิฏก แต่กล่าวโยงไปถึง คนมืดบอดที่มองไม่เห็นไม่ศรัทธา ไม่สนใจใส่ใจในพระธรรมคำสั่งสอน นี่ไม่ใช่ความผิดของ {O}พระไตรปิฏก{O}ฉบับใดๆ ที่สำนักวัดนาป่าพงกล่าวหาว่าบกพร่องบิดเบือนมีแต่คำสาวก สรุปลดคำแต่งใหม่ 70 % ในพระไตรปิฏกพระใบลานหลวงและพระไตรปิฏกฉบัับสยามรัฐ หรืออื่นๆนอกเหนือจากนั้นด้วย เมื่อเอาฉบับใดมาเป็นต้นฉบับ ก็ต้องลดฉบับนั้น จะอ้างว่าลดที่อื่น แล้วที่เอามาเป็นต้นฉบับไปตัดต่อ ตัดทิ้ง อะไรไปบ้าง กว่าจะรู้ว่าพลาด ก็สายไปเสียแล้ว

    มิจฉาทิฏฐิเป็นยอดโทษฉันใด สัมมาทิฏฐิก็เป็นยอดคุณฉันนั้น

    บุคคลผู้มีสัมมาทิฏฐิประจำใจจึงเหมือนมีกุญแจไขเข้าไปในห้วงอันเต็มไปด้วยสาระ
    ส่วนคนมีมิจฉาทิฏฐิประจำใจ หาเป็นเช่นนั้นไม่
    มีแต่จะเดินเข้ารกเข้าพง นำชีวิตไปสู่ความล่มจมล้มเหลว
    เปรียบด้วยเรือ สัมมาทิฏฐิก็เป็นหางเสือให้เรือแล่นไปในทางอันถูกต้อง
    หลีกหินโสโครกและอันตรายต่างๆ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มีนาคม 2016
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    คอมเมนท์จาก
    " Kanyanat Chamwecha มึงไม่รู้จริงแล้วเสือกมาพูดพร่อยๆมึงศึกษาบ้างหรือเปล่า ว่า"***ท่านอาจารย์คัดลอกพระไตรปิฏกฉบับหลวงแต่คัดลอกเฉพาะคำของพระศาสดาเท่านั้นคำแต่งใหม่ที่ไม่ใช่ของพระพุทธเจ้าท่านเอาออก***" แล้วท่านก็ไม่ได้นำมาอ้างว่าเป็นหนังสือท่าน บาปกรรมจะกินหัวกะบาลพวกมึง โง่แล้วอวดฉลาด เขียนมาได้บินเบือน ถ้าไม่เคยศึกษาไม่เคยฟังท่านสอนมึงอย่าได้เสือกมาพูดให้พระปฏิบัติอย่างท่านเสียหาย ท่านเอาคำสอนของพระพุทธเจ้ามาสอนให้คนเลิกงมงายเลิกเชื่อกราบไหว้ต้นไม้ ภูเขา และอื่นๆ ไม่รู้จะพูดอย่างไรกับพวกนี้จริงๆ"
    ---------------------------------------------------------------
    ชัดเจน สำนักวัดนาป่าพง จากผลกรรมที่เผาตำราฆ่าอาจาร์ย วันนี้ก็เลยโดนศิษย์ก้นห้องงานธรรม เผาและฆ่าตนเองทิ้งบ้าง ทำกรรมใดไว้ย่อมได้รับผลกรรมนั้น พฤติกรรมชั่วช้าได้ปรากฎขึ้นแล้ว สงสัยจะหลงมึนเมาจนมองสัจธรรมข้อนี้ไม่ออก
    กรรมสนองกรรม


    วิสัชนา-
    สรุปพระไตรปิฏกที่อ้างว่าสมบูรณ์ที่สุด และในการจัดสร้างเขาก็สร้างให้สมบูรณ์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้อยู่แล้ว. แต่ที่นี้กลับว่าต้นฉบับบกพร่อง แล้วจะต่างอะไรกับฉบับอื่นๆ ที่บอกว่ามีคำแต่งใหม่ ไม่ควรศึกษา ไปหาคนใหม่มาวิสัชนา. เอาที่ฉลาดๆไม่สางใยพันตนเองมาตอบ ศิษย์คึกฤทธิ์ผู้น่าสงสาร

    ผิดว่าไปตามผิดไม่เอาตามเจตนา อย่ามาโยงมั่ว แบบพระเสพเมถุนเพื่อดับทุกข์ไม่เป็นปาราชิก ที่นี่ไม่มีไปหาเอาเอง
    ขนาดลูกศิษย์ปลายแถวมันยังรู้เลยว่า อาจาร์ยสุดที่รักของมัน. กล่าวหาว่าพระไตรปิฏกสยามรัฐและพระไตรปิฏกฉบับหลวงบกพร่อง มีคำอื่นปลอมปน จึงถือวิสาสะตัดออกทิ้งโดยพละการ เป็นกล่าวหาสมเด็จสังฆราชพระราชาคณะและพระเจ้าแผ่นดิน เป็นเพียงชนรุ่นหลังไม่รู้ความอันใดในการชำระพระไตรปิฏกแต่งเติมแต่งคำใหม่ไม่รักษาคำพระศาสดา. ผิดมหันต์สำนักวัดนาป่าพง


    ฉนั้นการกล่าวนำเอามาอ้างว่ามีต้นแบบต้นฉบับที่ดีเก่าสมบูรณ์ที่สุด ไม่ต้องเถียงกับข้อมูลที่ได้ที่นำมาเป็นต้นแบบ คำกล่าวนี้จึงตกไป เพราะการกระทำที่ปรากฏ ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของ พระไตรปิฏกฉบับใดๆหรือสำนักใดๆเลย ไม่มีการคงสภาพเดิม แม้ได้อ้างมาเป็นต้นแบบก็นำมาย่ำยีตัดทอนลบขีดฆ่าทำลายทิ้งด้วยกันทั้งนั้น สรุปดังนี้

    หมิ่นพระบรมเดชานุภาพพระปรีชาญานขององค์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ (หม่อมเจ้าภุชงค์ ชมพูนุท สิริวฑฺฒโน) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม, พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระราชาคณะ อันทรงมีพระราชวินิจฉัยดีแล้ว ตลอดจนอาณาประชาราษฎร์ โดยกล่าวหาว่าเป็นชนรุ่นหลัง ไม่รู้ความ ไม่สามารถคัดแยกอันใดคือพุทธวจนะ อันใดคือคำแต่งใหม่ ตั้งแต่ริเริ่มทรงมีพระราชดำริเห็นควรจัดสร้าง จนถึงเมื่อแล้วเสร็จ เป็นทำลายความภาคภูมิใจปิติชื่นชมโสมนัสกันเลยทีเดียว.

    เมื่อกล้าทุบของเก่าที่ได้มีการบูรณะรักษาอยู่เนืองๆ แน่ใจหรือว่าอ้างพระไตรปิฏกสยามรัฐเป็นต้นแบบ แต่ทว่าได้ปฎิเสธอะไร?ิที่มีปรากฎในพระไตรปิฏกสยามรัฐบ้าง ถ้าคิดว่าสมบูรณ์ที่สุดแล้วไปตัดต่อตัดทอนพระสูตรอะไรออกบ้าง การนำข้อมูลที่เป็นเท็จเผยแผ่ออกสู่สาธารณชน เพื่ออะไร? ฉนั้นเมื่อมีเจตนาและมุมมองอย่างนี้ก็วิสัชนาได้ว่า พระไตรปิฏกทุกๆฉบับไม่มีความแตกต่างกัน เพราะยังไงๆ สำนักวัดนาป่าพงที่นำโดยคึกฤทธิ์ ก็ตัดแต่งต่อเติม ทุกๆฉบับไม่เว้นแม้แต่ฉบับสยามรัฐหรือฉบับหลวงใดๆ โดยหมายให้พุทธวจนปิฏกที่สำนักตนจัดทำขึ้น เป็นหนึ่งเดียวในสหโลกธาตุคงไม่รู้สินะว่า พระไตรปิฏกสยามรัฐได้ผนวกกับ พระไตรปิฏกคัมภีร์พระใบลานหลวงเป็นหนึ่งเดียวกันไปแล้ว


    ไม่ศึกษาเล่าเรียนให้ดีด้วยปัญญาของตนเอง. แต่ไปกล่าวหาว่าพระไตรปิฏกเป็นฝ่ายผิด. ร้องรำทำชั่วเองโทษปี่โทษกลอง

    อหังการมากสำนักวัดนาป่าพง

    "ไม่ได้นำมาเป็นหนังสือของท่าน แต่พุทธวจนปิฏกจะมาแทนพระไตรปิฏกทั้งหมดในประเทศไทยและในโลก"
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มีนาคม 2016
  4. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    สำนักวัดนาป่าพง ในการชำระ พระไตรปิฏก ได้ทำถูกขั้นตอนหรือไม่?

    คำตอบคือไม่เลย ได้กระทำการลุแก่อำนาจชั่วไปแล้ว

    ผิดเต็มประตูห้องงานธรรม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    {O}ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติทรงสั่งสอนอย่างนี้.{O}
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    "เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดแห่งโลก เราเป็นผู้ประเสริฐสุดในโลก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ย่อมไม่มี"
    จงเข้าใจว่าคำว่า บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน คือจะต้องรู้เป็นที่สุดแล้ว คือยกเว้นคนนอกศาสนา คนในฟังอ่านพิจารณาแล้วถูกหมด
    ถ้าไม่สามารถอย่าคิดเอง อย่าเอาหัวข้อธรรมใดธรรมหนึ่งไปประมวลว่าเป็นที่สุด ทั้งๆก็ไม่ถึงที่สุด

    "มหาบพิตร ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค ตถาคตรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ด้วยตนเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน"

    ตอบตรงตามหลักธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพระบรมมหาศาสดาเป็นใหญ่ ให้กว้างขวางลึกซึ้ง
    ไม่เอาบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นที่ตั้งมากกว่าพระองค์ ถ้าจะสอนธรรมของพระองค์ จะยกพระดำรัสวาจาของพระองค์มาสอน เพราะทรงตรัสไว้ดีแล้วด้วยพระปรีชาญาณ ควรอธิบายเนื้อหาธรรมนั้นอย่างเต็มความสามารถที่สุด แสดงธรรมอย่างมีเหตุ มิใช่ไม่มีเหตุ ทรงประกาศอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์ มิใช่ไม่บริสุทธิ์


    แสดงธรรมใด ต้องมีพื้นฐาน คือ รู้ธรรมนั้น ไม่รู้เนื้อหาความหมาย เหตุและผลแน่ชัด อย่านำมาแสดง เวลามีบุคคลสงสัยหวังความเจริญในธรรม เขาถามมา จะตอบเขาไม่ได้
    ทางรอดที่บริสุทธิ์หมดจดคือ ต้องแสดงเนื้อความประโยค ที่ได้ตีความหมายให้รู้ซึ้งถึงเจตนาของอาจารย์ผู้สอน ให้ถูกต้องตามหลักธรรมทั้งมวลฯ โดยพิจารณาอย่างถี่ถ้วนรอบรู้ในธรรมของอาจารย์ดีแล้ว โดยนำสรุป เข้าสู่กระบวนการไตร่ตรอง พิจารณาตามหลักธรรมทั้งหลายฯ สรุปผลให้เป็น [สัมมาทิฏฐิ] นั่นคือ การแสดงเป็นอรรถาธิบาย โดยบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน ที่ไม่ว่าผู้ใด ก็ไม่สามารถหาเหตุข้อติดขัดใดๆ มาโต้แย้งได้


    {O} ภิกษุ ท.! โลกธรรม มีอยู่ในโลก. ตถาคต ย่อมตรัสรู้ ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งโลกธรรมนั้น; ครั้นตรัสรู้แล้ว รู้พร้อมเฉพาะแล้ว ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ.
    ภิกษุ ท.! ก็อะไรเล่า เป็นโลกธรรมในโลก?
    ภิกษุ ท.! รูป เป็นโลกธรรมในโลก. ตถาคต ย่อมตรัสรู้ ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งรูปอันเป็นโลกธรรมนั้น; ครั้นตรัสรู้แล้ว รู้พร้อมเฉพาะแล้วย่อ...มบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ.
    ภิกษุ ท.! บุคคลบางคน แม้เราตถาคตบอก แสดง บัญญัติ ตั้งขึ้นไว้เปิดเผย จำแนกแจกแจง ทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ อยู่อย่างนี้ เขาก็ยังไม่รู้ไม่เห็น. ภิกษุ ท.! กะบุคคลที่เป็นพาล เป็นปุถุชน คนมืด คนไม่มีจักษุคนไม่รู้ไม่เห็น เช่นนี้ เราจะกระทำอะไรกะเขาได้.
    ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือน ดอกอุบล หรือดอกปทุม หรือดอกบัวบุณฑริกก็ดี เกิดแล้วเจริญแล้วในน้ำ พ้นจากน้ำแล้วดำรงอยู่ได้โดยไม่เปื้อนน้ำ, ฉันใด; ภิกษุ ท.! ตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดแล้วเจริญแล้ว ในโลกครอบงำโลกแล้วอยู่อย่างไม่แปดเปื้อนด้วยโลก.{O}

    มิจฉาทิฏฐิเป็นยอดโทษฉันใด สัมมาทิฏฐิก็เป็นยอดคุณฉันนั้น
    บุคคลผู้มีสัมมาทิฏฐิประจำใจจึงเหมือนมีกุญแจไขเข้าไปในห้วงอันเต็มไปด้วยสาระ
    ส่วนคนมีมิจฉาทิฏฐิประจำใจ หาเป็นเช่นนั้นไม่
    มีแต่จะเดินเข้ารกเข้าพง นำชีวิตไปสู่ความล่มจมล้มเหลว
    เปรียบด้วยเรือ สัมมาทิฏฐิก็เป็นหางเสือให้เรือแล่นไปในทางอันถูกต้อง
    หลีกหินโสโครกและอันตรายต่างๆ


    อย่าฆ่าอาจารย์ เพราะมีผู้รู้เห็น รักอาจารย์ ต้องพิจารณาธรรมจากอาจารย์ ให้ดีแล้วค่อย เอามาสอน เอามาประกาศ อย่าทำร้ายอาจารย์ อันเป็นเหตุให้สำนักอื่นที่ขัดกันหาเหตุโจทก์อธิกรณ์ได้


    ผู้นำธรรมมาแสดงสั่งสอนผู้อื่น ด้วยไม่รู้จักการตีความให้บริสุทธิ์ แล้วจึงนำมาแสดง อันจะเกิดเป็นขวัญและกำลังใจในการปฎิบัติธรรม โดยไม่ทำลายขวัญกำลังใจและศรัทธา ผู้เดินมาตามหลัง ทั้งจะถูกเยาะเย้ยจากศาสนาอื่น เดียร์ถีย์นอกลัทธินิยมนั่นด้วย โดยแสวงอื่น คือการเพ่งโทษ ย่อมทำลายมรรค ๘ ในทั้งตนเองและผู้อื่นด้วย สาธุธรรมฯ

    " ไม่มีปฎิสัมภิทาญานและไม่รู้จักปฎิสัมภิทาญาน องค์กำเนิดธรรม ขาดคุณสมบัติ แต่จะสร้างพระไตรปิฏกขึ้นมาเอง จุดจบที่สมควรแก่เอ็งก็ต้องพบกับความวิบัติฉิบหาย ถูกสาปแช่งถูกประนามเป็นอย่างนี้ล่ะคึกเอ๊ย รับผลกรรมตามกรรมทั้งในโลกปัจจุบันนี้และภพหน้าไปเถิด ลูกศิษย์บางส่วนที่ตายและกำลังจะตายได้ ไปรอเอ็งอย่างใจจดใจจ่อที่ในนรกแล้ว "
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มีนาคม 2016
  7. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    กระทู้สำนักวัดนาป่าพงคึกฤทธิ์และสาวกพลาด! สร้าง" พุทธวจน " ปลอม

    1,269 others like this.และท่านอื่นๆ

    "ขออนุโมทนาบุญฯ ที่ท่านได้มีโอกาสผ่านตาได้อ่านและศึกษา ใน ปฎิสัมภิทาญาน โดยปฎิสัมภิทามรรค โดยที่ข้าพเจ้าแสดงไว้นี้ "

    นิรุตติญานทัสสนะถ้าถึง แต่โดยรวมคือกระแสนิรุตติญานโดยสัจฉิกัฐปรมัตถ์ธรรม

    เมื่อมีปฎิสัมภิทาญานที่บริบูรณ์ก็จะสามารถล่วงรู้ สัจฉิกัฐปรมัตถ์ธรรมในทุกๆนิกายพุทธรวมทั้งที่ปนอยู่ ในศาสนาอื่น หรือลัทธิอื่นๆอีกด้วย เพราะฉนั้นจึงต้องจบด้วยมรรคมีองค์ ๘ นี่คือการพิจารณาด้วย สภาวะธรรม ฉนั้น การระบุสิ่งใดว่าปลอม หรือไม่ปลอม ต่อให้มีคำแท้มาปนก็ตาม ต้องดูเจตนา กงจักรเป็นดอกบัวได้ฉันใดก็ฉันนั้นด้วย โฆฆะบุรุษเป็นเหตุ

    ถ้าบรรลุคุณวิเศษ โดยปฎิสัมภิทาญาน จะสามารถล่วงรู้ภาษาที่ทรงไว้ซึ่งพระพุทธวจนะในพระธรรมคำสั่งสอน แม้ไม่เคยได้เรียนมาเลยก็ตามในชาตินี้ และยังรู้ภาษาอื่นๆภาษาสัตว์และมนุษย์และอมนุษย์ตลอดจนถึงมฤตยู อีกด้วย

    ภัย ๕ ประการจักเริ่มต้นขึ้นแล้ว เราจึงต้องพยายามหยุดสัทธรรมปฎิรูป ให้ได้นานที่สุด



    มั่นใจคนที่รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ต้องได้อ่าน ตอนนี้ สำนักวัดนาป่าพง ได้เดินทางเข้าสู่ การทำลายสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์อย่างเต็มตัวแล้ว ข่าวสารกำลังกระจายไปสู่พี่น้องเหล่าพุทธศาสนิกชนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตามเพจต่างๆ เราเปิดเผยความจริง เราสู้เพื่อปกป้องรักษา พิทักษ์รักพระพุทธศาสนาและสถาบันของชาติบ้านเมือง ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือส่วนได้ส่วนเสีย ไม่มีการว่าจ้าง หรือ รับมีรับจ่าย หรือรับสิทธิ์สินบนใดๆ ให้กระทำการเปิดโปงหรือใส่ความใดๆแก่ สำนักวัดนาป่าพง หรือ อลัชชีคึกฤทธิ์ และศิษย์สำนัก มีแต่ความจริง กล่าวจริง ไม่มีข้อมูลอันเป็นเท็จ โจทก์จริง ด้วยโลกะวัชชะของเหล่าพุทธบริษัท ที่มีดวงตาไม่มืดบอด ไม่เคยตำหนิพระไตรปิฏกว่าไม่ได้เรื่อง ไม่สมบูรณ์ หรือไม่ดีอย่างหนึ่งอย่างใด เพราะอาศัยสติปัญญา มีความคิดอ่านพิจารณามากเพียงพอแก่การศึกษา ไม่ได้ตำหนิพระไตรปิฏก ไม่ได้ตำหนิพระสังฆราชและพระราชาคณะ ที่ทรงชำระพระไตรปิฏก แม้ฉบับหลวงก็ดี ฉบับสยามรัฐก็ดี หรือฉบับอื่นๆก็ดี ว่าเป็นชนรุ่นหลังแต่งคำปลอม ยัดเรื่องนอกแนวเข้าสู่พระไตรปิฏก


    อย่างที่ คึกฤทธิ์ชาวคณะสำนักวัดนาป่าพงพูดและกระทำอยู่ในทุกๆวันนี้ โดยมีเจตนาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของบรรพกษัตริย์ จนถึงพระบรมวงค์สานุวงค์ในราชกาลปัจจุบัน และอาณาประชาราฏร์ ที่พระองค์ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาจัดสร้างจัดพิมพ์มาโดยตลอด จนถึงเมื่อปี ๒๕๕๕ ฉลอง ๒๖๐๐ปี แต่สำนักวัดนาป่าพงประกาศจะเอาหนังสือ พุทธวจนปิฏก ซึ่งเป็นสัทธรรมปฎิรูป โดยแอบอ้างว่ารู้พุทธวจนกว่าผู้ใด ที่ไม่ถูกต้องในระเบียบการชำระ มาแทนที่พระไตรปิฏกในประเทศไทยและในโลก เป็นการทำลายสถาบัน ชาติและบ้านเมืองให้เกิดความวุ่นวายสับสนแตกแยกในบวรพระพุทธศาสนา และได้หลอกลวงกลุ่มพุทธบริษัท ที่ยังอ่อนต่อการพิจารณาศึกษา ในการเจริญในพระสัทธรรม ด้วยจิตที่เปรียบประดุจลูกโคอ่อนแรกเกิด ลืมตาขึ้นมา ไม่ได้เห็นแม่วัว ได้ไปเห็นเสือก็คิดว่าเป็นพ่อแม่ของตน จึงต้องตกเป็นอาหารของเหล่าพยัคฆ์ราชสีห์ไปดังนี้แล

    ขอท่านผู้อ่าน ที่มาด้วยมิตรก็ดีไม่ใช่มิตรก็ดี โปรดพิจารณา ช่วยกันตักเตือนญาติมิตรสหาย และบุตรหลานของท่าน อย่าได้หลงเชื่อ สำนักที่สร้างสัทธรรมปฎิรูปนี้ เพื่อความพ้นภัยในวัฎสงสาร ขอให้ท่านทั้งหลายเจริญในพระสัทธรรมอันสมเด็จพระบรมหาศาสดาทรงตรัสไว้ดีแล้วนั้นเทอญฯ

    ด้วยรักและปรารถนาดี


    ว่าที่ พระธรรมบุตร ธรรมราชา

    ขออนุโมทนาบุญฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มีนาคม 2016
  8. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ตายห่า !! นี่หรือ การ สวดพระปาฎิโมกข์ของสำนักวัดนาป่าพง
    ว่าแล้วเชียวมันวิสัชนาพระสูตรผิด มันเลยทำลายพระวินัยและพระสูตรพ่วงกันไปหมด


    ปฏิจฉันนสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่างนี้ ปิดบังไว้จึงเจริญ เปิด
    เผยไม่เจริญ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ มาตุคาม ปิดบังเอาไว้จึงจะงดงาม เปิดเผย
    ไม่งดงาม ๑ มนต์ของพราหมณ์ ปิดบังเข้าไว้จึงรุ่งเรือง เปิดเผยไม่รุ่งเรือง ๑
    มิจฉาทิฐิ ปิดบังไว้จึงเจริญ เปิดเผยไม่เจริญ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่าง
    นี้แล ปิดบังไว้จึงเจริญ เปิดเผยไม่เจริญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่างนี้
    เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ๓ อย่างเป็นไฉน คือ ดวงจันทร์ เปิดเผย
    จึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ๑ ดวงอาทิตย์ เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ๑
    ธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้แล้ว เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่างนี้แล เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ฯ


    ฉิบหายไปใหญ่แล้ว ! ไปถึงการกระทำเรื่องดูหมิ่นเหยียดหยามศาสนาอื่น

    ห้ามสวดปาติโมกข์ในบริษัทที่มีคฤหัสถ์
    ก็โดยสมัยนั้นแล พระเทวทัตต์สวดปาติโมกข์ในบริษัทที่มีคฤหัสถ์ปนอยู่ด้วย. ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ในบริษัทที่มีคฤหัสถ์ปนอยู่ด้วย รูปใดสวด ต้อง อาบัติทุกกฏ.



    https://youtu.be/6Wu4YdmLQbw
     
  9. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    สมเด็จพระบรมมหาศาสดา ทรงแสดงธรรมอย่างมีเหตุ มิใช่ไม่มีเหตุ การจัดทำสื่อแบบนี้ เป็นการดูหมิ่นเหยียดหยามศาสนาอื่น ไม่ใช่วิธีการปฎิบัติตามแนวทางคำสั่งสอน ในพระพุทธศาสนา

    ***เราอยากจะฝากบอกเอาไว้ว่า นี่เป็นการกระทำของสำนักวัดนาป่าพงเพียงสำนักเดียว ไม่เกี่ยวข้องกับทางสำนักสงฆ์ มหาเถรสมาคมหรือวัดตลอดจนถึงพุทธบริษัทเหล่าอื่น ***

    พรหมจริยสูตร
    ว่าด้วยเหตุประพฤติพรหมจรรย์
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้เราประพฤติมิใช่เพื่อ
    หลอกลวงคน มิใช่เพื่อเรียกร้องคน (ให้มานับถือ) มิใช่เพื่ออานิสงส์ ลาภสักการะ และความสรรเสริญ มิใช่เพื่ออานิสงส์เป็นเจ้าลัทธิและแก้ลัทธิอย่างนั้นอย่างนี้ มิใช่เพื่อให้คนรู้จักตัวว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ที่แท้พรหมจรรย์นี้ เราประพฤติเพื่อสังวร เพื่อปหานะ (ความละ) เพื่อวิราคะ (ความหายกำหนัดยินดี) เพื่อนิโรธะ (ความดับทุกข์)
    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นได้ทรงแสดง
    พรหมจรรย์ อันเป็นการละเว้นสิ่งที่กล่าว
    ตามกันมา เป็นทางหยั่งลงสู่พระนิพพาน
    เพื่อสังวร เพื่อปหานะ.
    ทางนั้น มหาบุรุษทั้งหลายผู้แสวง
    หาคุณอันใหญ่ได้ดำเนินแล้ว ชนเหล่าใด
    ดำเนินตามทางที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้
    ้ แล้วนั้น ชนเหล่านั้นชื่อว่าทำตามคำสอน
    ของพระศาสดา จักกระทำที่สุดทุกข์ได้.
    จบพรหมจริยสูตรที่ ๕


    "ไม่อยากจะคิดถ้าหลุดไปฝั่งสายพราหมณ์ฮินดู" สร้างความฉิบหายให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียงให้กับพระพุทธศาสนาแท้ๆ ไอ้สำนักเลวๆ
    "มันวิสัชนา ผิดเลยชวนชาวบ้านชาวเมืองมาดูมันทำปาฏิโมกข์" ทำพระปาฏิโมกข์ไม่เป็นไม่ผ่าน โง่จริงๆสำนักนี้ "
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    นี่หรือ "พุทธวจน" สำนักวัดนาป่าพง
    ก็โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงฉลองพระบาทเสด็จพระดำเนินอยู่ในที่แจ้งภิกษุเถระทั้งหลายทราบว่า พระศาสดามิได้ทรงฉลองพระบาทเสด็จพระพุทธดำเนินอยู่ ดังนี้จึงเดินไม่สวมรองเท้า เมื่อพระศาสดาเสด็จพระพุทธดำเนินมิได้ทรงฉลองพระบาท แม้เมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายเดินก็ไม่สวมรองเท้า
    แต่พระฉัพพัคคีย์เดินสวมรองเท้า บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย
    จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เมื่อพระศาสดาเสด็จพระพุทธดำเนินมิได้ทรงฉลองพระบาทแม้เมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายเดินก็ไม่สวมรองเท้า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้สวมรองเท้าเล่า?
    แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
    พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าเมื่อเราผู้ศาสดาเดินมิได้สวมรองเท้า แม้เมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายเดินก็ไม่สวมรองเท้า แต่พระฉัพพัคคีย์เดินสวมรองเท้า จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริงพระพุทธเจ้าข้า.
    พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราผู้ศาสดาเดินมิได้สวมรองเท้า แม้เมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายเดินก็ไม่สวมรองเท้า แต่ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงได้เดินสวมรองเท้าเล่า
    อันคฤหัสถ์ชื่อเหล่านี้นุ่งห่มผ้าขาว ยังมีความเคารพ มีความยำเกรง มีความ
    ประพฤติเสมอภาค ในอาจารย์ทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งศิลปะซึ่งเป็นเครื่องเลี้ยงชีพอยู่
    ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย พึงงามในธรรมวินัยนี้เป็นแน่ ถ้าพวกเธอบวชในธรรมวินัยอันเรากล่าวดีแล้วอย่างนี้จะพึงมีความเคารพ มีความยำเกรง มีความประพฤติเสมอภาค อยู่ในอาจารย์ ในภิกษุปูนอาจารย์ในอุปัชฌายะ ในภิกษุปูนอุปัชฌายะ การกระทำของเหล่าโมฆบุรุษนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ
    เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส .ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เมื่ออาจารย์ ภิกษุปูนอาจารย์ อุปัชฌายะ ภิกษุปูนอุปัชฌายะ เดินมิได้สวมรองเท้าภิกษุไม่พึงเดินสวมรองเท้า รูปใดเดินสวมรองเท้า ต้องอาบัติทุกกฏ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้าภายในอาราม รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เมื่อไม่เอาอรรถกถา จะเอาการวิธีโดย "กฐินขันธกะ" มีวิธีการจัดทำถูกต้องหรือไม่ แค่การจัดเย็บย้อมก็ไม่เป็นอันกรานแล้วกี่ข้อที่ผิดจากการเป็นอันกราน เป็นผ้าที่เกิดไม่บริสุทธิ์
    นี่หรือกระทำตามที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ "เข้าใจแค่ประกาศหาผ้ามาตัดๆเป็นแผ่นๆห่อสำหรับอะไร? คนไปร่วมงาน คงจะรู้ดี
    ทำไมไม่เย็บกับมือสอยกับมือล่ะครับ สอยจักรเย็บจักรทำไม นี่หรือ พุทธวจน
    ผ้าที่ทำนิมิตนั้นเตรียมไว้กี่วันแล้ว ทั้งการจัดทำ "เป็นเดือน" นี่หรือผ้ากฐิน ที่จะเกิดตามมีตามได้ ปีหน้าก็จะเตรียมไว้อีก สั่งจองสั่งซื้อไว้อีก ทำเป็นหีบห่อ สั่งจองจากโรงงาน ฯลฯ
    สงสารพวกโลกสวยตาใสสมองกลวงเสียจริงๆ
    นี่หรือ กฐินที่ถูกต้อง


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล กฐินเป็นอันกราน อย่างนี้ไม่เป็นอันกราน.
    กฐินไม่เป็นอันกราน
    [๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่า กฐินไม่เป็นอันกราน คือ:-
    ๑. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงขีดรอย
    ๒. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงซักผ้า
    ๓. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงกะผ้า
    ๔. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงตัดผ้า
    ๕. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงเนาผ้า
    ๖. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงเย็บด้น
    ๗. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงทำลูกดุม
    ๘. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงทำรังดุม
    ๙. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงประกอบผ้าอนุวาต
    ๑๐. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงประกอบผ้าอนุวาตด้าน
    ๑๑. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงดามผ้า
    ๑๒. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงย้อมเป็นสีหม่นเท่านั้น
    ๑๓. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ทำนิมิตได้มา
    ๑๔. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่พูดเลียบเคียงได้มา
    ๑๕. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ยืมเขามา
    ๑๖. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่เก็บไว้ค้างคืน
    ๑๗. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่เป็นนิสสัคคีย์
    ๑๘. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่มิได้ทำกัปปะพินทุ
    ๑๙. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นจากผ้าสังฆาฏิเสีย
    ๒๐. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นจากผ้าอุตราสงค์เสีย
    ๒๑. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นจากผ้าอันตรวาสกเสีย
    ๒๒. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นจากจีวรมีขันธ์ ๕ หรือเกิน ๕ ซึ่งตัดดีแล้ว ทำให้มีมณฑล
    เสร็จในวันนั้น
    ๒๓. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นจากการกรานแห่งบุคคล
    ๒๔. กฐินไม่เป็นอันกรานโดยชอบ ถ้าภิกษุผู้อยู่นอกสีมาอนุโมทนากฐินนั้น แม้อย่างนี้
    กฐินก็ชื่อว่าไม่เป็นอันกราน.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล กฐินไม่เป็นอันกราน.
    กฐินเป็นอันกราน
    [๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่า กฐินเป็นอันกราน คือ:-
    ๑. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าใหม่
    ๒. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าเทียมใหม่
    ๓. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าเก่า
    ๔. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าบังสุกุล
    ๕. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ตกตามร้าน
    ๖. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้ทำนิมิตได้มา
    ๗. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้พูดเลียบเคียงได้มา
    ๘. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้ยืมเขามา
    ๙. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้เก็บไว้ค้างคืน
    ๑๐. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้เป็นนิสสัคคีย์
    ๑๑. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ทำกัปปะพินทุแล้ว
    ๑๒. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าสังฆาฏิ
    ๑๓. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าอุตราสงค์
    ๑๔. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าอันตรวาสก
    ๑๕. กฐินเป็นอันกราน ด้วยจีวรมีขันธ์ ๕ หรือเกิน ๕ ซึ่งตัดดีแล้ว ทำให้มีมณฑลเสร็จ
    ในวันนั้น
    ๑๖. กฐินเป็นอันกราน เพราะการแห่งบุคคล
    ๑๗. กฐินเป็นอันกราน ถ้าภิกษุอยู่ในสีมาอนุโมทนากฐินนั้น แม้อย่างนี้ กฐินก็ชื่อว่า
    เป็นอันกราน.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล กฐินเป็นอันกราน.
    ก ฐิ น
    คำว่า กฐิน หรือ กฐินะ นี้ เป็นภาษาบาลี จัดเป็นสังฆกรรมชนิดหนึ่ง โดยมีชื่อมาจากไม้ชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับขึง ผ้าเป็นสี่เหลี่ยมเพื่อขึงผ้าให้ตึงสำหรับเย็บทำเป็นจีวร ซึ่งสมัยโบราณที่เครื่องเย็บปักถักร้อยยังไม่มีเครื่องจักรเช่นปัจจุบัน จึงเรียกไม้ชนิดนี้ว่า “ไม้สะดึง” ที่ลาดหรือกางออกไปเพื่อขึงเย็บจีวร การกรานกฐินเป็นคำมาจากกิริยาที่ลาดหรือกางไม้ สะดึงนั้น
    คำว่า "กฐิน" มีความหมายที่เกี่ยวข้องกันอยู่หลายความหมายดังนี้ กฐินที่เป็นชื่อของกรอบไม้ กรอบไม้แม่แบบสำหรับ ทำจีวร ซึ่งอาจเรียกว่าไม้สะดึงก็ได้ เนื่องจากในครั้งพุทธกาลการทำจีวรให้มีูรูปลักษณะตามที่กำหนดกระทำได้โดยยาก จึงต้องทำกรอบไม้สำเร็จรูปไว้ เพื่อเป็นอุปกรณ์สำคัญในการทำเป็นผ้านุ่ง หรือผ้าห่ม หรือผ้าห่มซ้อนที่เรียกว่า ไตรจีวร เป็นส่วนรวม ผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ในภาษาไทยนิยมเรียก ผ้านุ่ง ว่า สบง ผ้าห่ม ว่า จีวร และ ผ้าห่มซ้อน ว่า สังฆาฏิ
    การทำผ้าโดยอาศัยแม่แบบเช่นนี้ หรือทาบผ้าลงไปกับแม่แบบแล้วตัดเย็บย้อมทำให้เสร็จในวันนั้นด้วยความสามัคคี
    ของสงฆ์ เป็นการร่วมใจกันทำกิจที่เกิดขึ้นและเมื่อทำเสร็จ หรือพ้นกำหนดกาลแล้ว แม่แบบ หรือกฐินนั้นก็รื้อเก็บไว้ใช้
    ในการทำผ้า เช่นนั้นในปีต่อๆ ไป การรื้อแบบไม้นี้เรียกว่า เดาะ ฉะนั้น คำว่า กฐินเดาะ หรือ เดาะกฐิน จึงหมายถึงการ
    รื้อไม้แม่แบบเพื่อเก็บไว้ใช้ในโอกาสหน้า
    มูลเหตุแห่งการกรานกฐิน
    กล่าวในสมัยพุทธกาลในคัมภีร์พระวินัยปิฏกกฐินขันธกะว่า มีพระภิกษุจากเมืองปาฐารัฐ หรือ ปาไถยรัฐ จำนวน ๓๐ รูป ซึ่งถือธุดงควัตรอย่างยิ่งยวด มีความประสงคจะเข้าเฝ้าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งขณะนั้นได้พักอยู่ ณ พระเชตวัน มหาวิหาร กรุงสาวัตถี แคว้นโกศล จึงพากันเดินทางมุ่งหน้าไปยังเมืองนั้น พอถึงเมืองสาเกตก็เป็นวันเข้าพรรษาพอดี เดินทางต่อไปมิได้ต้องอยู่จำพรรษาที่เมืองสาเกตตามพระวินัยบัญญัติ ขณะที่จำพรรษาอยู่ ณ เมืองสาเกต เกิดความ ร้อนรนอยากเฝ้าพระพุทธเจ้าเป็นกำลัง ดังนั้นพอออกพรรษาปวารณาแล้วก็รีบเดินทางต่อ การเดินทางในสมัยพุทธกาล ในเขตประเทศอินเดียของพระภิกษุทั้ง ๓๐ รูป ท่านเดินทางด้วยเท้าไม่มีพาหนะอื่นใดจึงเดินทางได้ช้าซึ่งเมืองสาเกต อยู่ห่างจากกรุงสาวัตถีเป็นระยะทางประมาณ ๖ โยชน์ (๑ โยชน์ = ๑๖ ก.ม.) หรือประมาณ ๙๖ กิโลเมตร แต่ระยะนั้น มีฝนตกมากหนทางที่เดินชุ่มไปด้วยน้ำ เป็นโคลนเป็นตม ต้องบุกต้องลุยกรำฝนทนแดดไปตลอดทาง ทำให้สบง จีวร ของพระภิกษุเหล่านั้นต่างก็เปียกชุ่มโชกไปด้วยน้ำฝนไปตาม ๆ กันบางท่านก็จีวรขาดทะลุและเปรอะเปื้อน
    ไปด้วยโคลนตม จนกระทั่งถึงกรุงสาวัตถีได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าสมความประสงค์
    เมื่อพระพุทธองค์ทรงเห็นความลำบากตรากตรำของพระภิกษุเหล่านั้น ต่อมาจึงเรียกประชุมสงฆ์และยกเรื่องราวของ
    พระภิกษุทั้ง ๓๐ รูปนั้นเป็นเหตุ แล้วจึงทรงมีพระบรมพุทธานุญาตตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาว่าให้พระภิกษุที่จำพรรษา
    ครบไตรมาส (๓ เดือน) ให้รับผ้ากฐินเสียก่อน ทั้งนี้เพราะว่าแม้ออกพรรษาแล้วก็ตามฝนก็ยังไม่หมดเสียทีเดียว
    ถ้าไม่มีความจำเป็นมากก็ให้อยู่รับผ้ากฐินเสียก่อนแล้วจึงเดินทางไปยังที่อื่น แล้วทรงกำหนดเวลาอันเป็นเขตของกฐิน
    ไว้ว่าตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ สามารถรับผ้ากฐินได้ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำกลางเดือน ๑๑ หรือประมาณไม่เกิน ๑ เดือน
    หลังจากออกพรรษา
    โดยความเป็นจริงแล้วเรื่องผ้ากฐินนั้นเป็นเรื่องของพระภิกษุสงฆ์อย่างเดียวในการทำผ้า เมื่อพระภิกษุไปได้ผ้ามาจากที่ ต่าง ๆ แล้วนำมารวมกันเย็บให้เป็นผืนเดียวแล้วตกลงกันว่าจะมอบจีวรชุดนี้ให้แก่พระภิกษุรูปใด(ซึ่งในสมัยพุทธกาลนั้น ผ้าส่วนใหญ่เป็นผ้าบังสุกุลหรือผ้าที่พิจารณามาจากผ้าห่อศพ ผ้าจึงมีจำนวนน้อยและ หายากการจะทำเป็นจีวรจึงทำได้ เพียงผืนเดียว) และยอมมอบผ้าที่ทำเป็นจีวรนั้นให้แก่พระภิกษุที่มีผ้าเก่าที่สุดนำไปใช้นุ่งห่ม
    ในธรรมบทภาค ๔ กล่าวว่าในครั้งพุทธกาลมีการประชุมใหญ่ในการทำผ้า เมื่อครั้งพระอนุรุทธะได้ผ้าบังสุกุลมาจะทำจีวร เปลี่ยนผ้าครองสำรับเก่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบจึงพร้อมด้วยพระภิกษุ ๕๐๐ รูป เสด็จไปประทับเป็นประธาน
    ในวันนั้น พระอสีติมหาสาวกก็ไปร่วมประชุมช่วยทำผ้ากฐิน พระมหากัสสปะนั่งอยู่ต้นผ้า พระสารีบุตรนั่งอยู่ท่ามกลางผ้า
    พระ อานนท์นั่งอยู่ปลายผ้า พระภิกษุสงฆ์ช่วยกันกรอด้ายสำหรับเย็บ พระบรมศาสดาทรงสนเข็ม พระโมคคัลลานะเป็นผู้ อุดหนุนกิจการทั้งปวง ประชาชนต่างนำสิ่งของไปถวาย เมื่อผ้าทำเสร็จแล้วจึงมีการประชุมสงฆ์ทำสังฆกรรมเกี่ยวกับ
    ผ้ากฐิน
    ต่อมาด้วยเหตุการณ์ต่าง ๆ ของสังคมในอินเดีย มีผู้ศรัทธานำผ้ากฐินมาถวายแต่ไม่ปรากฏนามว่าผู้ใด เป็นผู้ได้ถวายผ้า กฐินเป็นคนแรกที่พระพุทธเจ้าทรงมีพระบรมพุทธานุญาต
    ผ้าที่ควรทำเป็นผ้ากฐินมี ๕ ชนิด คือ
    ๑. ผ้าใหม่ ๔. ผ้าบังสุกุล
    ๒. ผ้าเทียมใหม่ ๕. ผ้าตกตามร้าน
    ๓. ผ้าเก่า



    https://youtu.be/FMQo1qegF3U
     
  12. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ
    โย ธมฺม ปสฺสติ โส ม ปสฺสติ


    {O} อภยปริตร {O}
    ทิพยวิเศษบริสุทธิธรรม
    {O}ปฎิสัมภิทาญาน{O}


    * อนุชานามิ ภิกฺขเว สรภญฺญ ํ*

    ผู้รักษาพระปริตรยุคกึ่งพุทธกาลเวียนมาจบในภัทรกัลป์พระพุทธศากยมุนีลำดับที่๔

    https://www.facebook.com/1000106283...35155/?type=2&theater&notif_t=video_processed

    อรรถกถา มหาสุบินชาดก
    ว่าด้วย มหาสุบิน
    พระบรมศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภมหาสุบิน ๑๖ ข้อ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ลาวูนิ สีทนฺติ ดังนี้.
    ดังได้สดับมา วันหนึ่ง พระเจ้าโกศลมหาราชเสด็จเข้าสู่นิทรารมย์ในราตรีกาล ในปัจฉิมยาม ทอดพระเนตรเห็นพระสุบินนิมิตรอันใหญ่หลวง ๑๖ ประการ ทรงตระหนกพระทัยตื่นพระบรรทม ทรงพระดำริว่า เพราะเราเห็นสุบินนิมิตรเหล่านี้ จักมีอะไรแก่เราบ้างหนอ เป็นผู้อันความสะดุ้งต่อมรณภัยคุกคามแล้ว ทรงประทับเหนือพระแท่นที่ไสยาสน์นั่นแล จนล่วงราตรีกาล
    ครั้นรุ่งเช้า พวกพราหมณ์ปุโรหิตเข้าเฝ้ากราบทูลถามว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์บรรทมเป็นสุขหรือ พระเจ้าข้า?
    รับสั่งตอบว่า ท่านอาจารย์ทั้งหลาย เราจักมีความสุขได้อย่างไร เมื่อคืนนี้เวลาใกล้รุ่ง เราเห็นสุบินนิมิตร ๑๖ ข้อ ตั้งแต่เห็นสุบินนิมิตรเหล่านั้นแล้ว เราถึงความหวาดกลัวเป็นกำลัง
    เมื่อพวกปุโรหิตกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า โปรดตรัสเล่าเถิดพระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์สดับแล้ว จักทำนายถวายได้ จึงตรัสเล่า พระสุบินที่ทรงเห็นแล้วให้พวกพราหมณ์ฟัง แล้วตรัสว่า เพราะเหตุเห็นสุบินเหล่านี้ จักมีอะไรแก่เราบ้าง?
    พวกพราหมณ์พากันสลัดมือ. เมื่อรับสั่งถามว่า เพราะเหตุไร พวกท่านจึงพากันสลัดมือเล่า? พวกพราหมณ์จึงพากันกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระสุบินทั้งหลายร้ายกาจนัก
    รับสั่งถามว่า พระสุบินเหล่านั้นจักมีผลเป็นประการใด? พวกพราหมณ์ จึงพากันกราบทูลว่า จักมีอันตรายใน ๓ อย่างเหล่านี้ คือ อันตรายแก่ราชสมบัติ ๑ อันตรายคือโรคจะเบียดเบียน ๑ อันตรายแก่พระชนม์ ๑ อย่างใดอย่างหนึ่ง.
    รับสั่งถามว่า พอจะแก้ไขได้ หรือแก้ไขไม่ได้.
    พราหมณ์ทั้งหลายกราบทูลว่า ขอเดชะ พระสุบินเหล่านี้หมดทางแก้ไขเป็นแน่แท้ เพราะร้ายแรงยิ่งนัก แต่พวกข้าพระองค์ทั้งหลายจักกระทำให้พอแก้ไขได้ เมื่อพวกหม่อมฉันไม่สามารถเพื่อจะแก้ไขพระสุบินเหล่านี้ได้แล้ว ขึ้นชื่อว่าความเป็นผู้สำเร็จการศึกษา จักอำนวยประโยชน์อะไร?
    รับสั่งถามว่า ท่านอาจารย์ทั้งหลายจักกระทำอย่างไรเล่าถึงจักให้คืนคลายได้ พวกพราหมณ์พากันกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พวกข้าพระองค์ต้องบูชายัญด้วยวัตถุอย่างละ ๔ ทุกอย่าง พระเจ้าข้า.
    พระราชาทรงสะดุ้งพระทัยตรัสว่า ท่านอาจารย์ทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราขอมอบชีวิตไว้ในมือของพวกท่านเถิด พวกท่านรีบกระทำความสวัสดีแก่เราเร็วๆ เถิด.
    พวกพราหมณ์พากันร่าเริงยินดีว่า พวกเราต้องได้ทรัพย์มาก จักต้องได้ของเคี้ยวกินมากๆ แล้วพากันกราบทูลปลอบพระราชาว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า อย่าได้ทรงวิตกเลยพระเจ้าข้า แล้วพากันออกจากราชนิเวศน์ จัดทำหลุมบูชายัญที่นอกพระนคร จับฝูงสัตว์ ๔ เท้ามากเหล่า มัดเข้าไว้ที่หลักยัญ รวบรวมฝูงนกเข้าไว้เสร็จแล้ว เที่ยวกันขวักไขว่ไปมา กล่าวว่า เราควรจะได้สิ่งนี้ๆ.
    ครั้งนั้นแล พระนางมัลลิกาเทวีทรงทราบเหตุนั้น ก็เข้าเฝ้าพระราชา กราบทูลถามว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พวกพราหมณ์พากันเที่ยวขวักไขว่ไปมา มีเรื่องอะไรหรือเพคะ? พระราชาตรัสว่า แน่ะนางผู้เจริญ เธอมัวแต่สุขสบายจึงไม่รู้ว่า อสรพิษมันสัญจรอยู่ใกล้ๆ หูของพวกเรา. พระนางทูลถามว่า ข้าแต่มหาราช เรื่องนั้นคืออะไรเพคะ? พระราชารับสั่งว่า เราฝันร้ายถึงปานนี้ พวกพราหมณ์พากันทำนายว่า อันตรายใน ๓ อย่างไม่อย่างใดอย่างหนึ่งก็จักปรากฏ เพื่อบำบัดอันตรายเหล่านั้น ต้องบูชายัญ จึงต้องสัญจรไปมาอยู่บ่อยๆ
    พระนางมัลลิกากราบทูลถามว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ก็ผู้ที่เป็นยอดพราหมณ์ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ทูลกระหม่อมได้ทูลถามถึงการแก้ไขพระสุบินแล้วหรือเพคะ? ทรงรับสั่งถามว่า นางผู้เจริญ พระผู้เป็นยอดพราหมณ์ในโลกพร้อมทั้งเทวโลกนั้น เป็นใครกันเล่า?
    พระนางกราบทูลว่า ทูลกระหม่อมไม่ทรงรู้จัก มหาพราหมณ์โคดมผู้ตถาคต หมดกิเลสบริสุทธิ์แล้ว เป็นสัพพัญญู เป็นบุคคลผู้เลิศในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ดอกหรือเพคะ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นคงทรงทราบเหตุในพระสุบินแน่นอน ขอเชิญทูลกระหม่อม เสด็จพระราชดำเนินไปกราบทูลถามเถิด เพคะ. พระราชาทรงรับสั่งว่า ดีละ เทวีแล้วเสด็จไปยังพระวิหาร ถวายบังคมพระบรมศาสดา แล้วประทับนั่งอยู่.
    พระศาสดาทรงเปล่งพระสุรเสียงอันไพเราะ ตรัสถามว่า มหาบพิตร เหตุไรเล่า บพิตรจึงเสด็จมา ดุจมีราชกิจด่วน. พระราชากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อใกล้รุ่ง หม่อมฉันเห็นมหาสุบิน ๑๖ ข้อ สะดุ้งกลัว บอกเล่าแก่พวกพราหมณ์ พวกพราหมณ์ทำนายว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระสุบินร้ายแรงนัก เพื่อระงับสุบินเหล่านั้นต้องบูชายัญ ด้วยยัญญวัตถุ อย่างละ ๔ ครบทุกอย่าง แล้วพากันเตรียมบูชายัญ ฝูงสัตว์เป็นอันมากถูกมรณภัยคุกคาม ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์เป็นบุคคลผู้เลิศในโลก ทั้งเทวโลก เญยยธรรมที่เข้าไปกำหนดอดีต อนาคต ปัจจุบัน ที่ยังไม่มาถึงซึ่งคัลลองในญาณมุขของพระองค์นั้นมิได้มีเลย ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดทำนายผลแห่งสุบินของหม่อมฉันเหล่านั้นเถิด พระเจ้าข้า.
    พระศาสดาตรัสว่า ขอถวายพระพร เป็นเช่นนั้นทีเดียวมหาบพิตร ในโลกทั้งเทวโลก เว้นตถาคตเสียแล้ว ผู้อื่นที่จะได้ชื่อว่าสามารถรู้เหตุ หรือผลของพระสุบินเหล่านี้ ไม่มีเลย ตถาคตจักทำนายให้มหาบพิตร ก็แต่ว่ามหาบพิตรจงตรัสบอกพระสุบิน ตามทำนองที่ทรงเห็นนั้นเถิด.
    พระราชาทรงรับพระพุทธดำรัสว่า ดีละ พระพุทธเจ้าข้า เริ่มกราบทูลพระสุบิน ตามทำนองที่ทรงเห็นอย่างถี่ถ้วน โดยทรงวางหัวข้อไว้ดังนี้ ว่า
    โคอุสุภราชทั้งหลาย ๑ ต้นไม้ทั้งหลาย ๑ แม่โคทั้งหลาย ๑ โคทั้งหลาย ๑ ม้า ๑ ถาดทอง ๑ สุนัขจิ้งจอก ๑ หม้อน้ำ ๑ สระโบกขรณี ๑ ข้าวไม่สุก ๑ แก่นจันทน์ ๑ น้ำเต้าจม ๑ ศิลาลอย ๑ เขียดขยอกงู ๑ หงส์ทองล้อมกา ๑ เสือกลัวแพะ ๑
    แล้วตรัสว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นสุบินข้อ ๑ อย่างนี้ก่อนว่า
    โคผู้ สีเหมือน ดอกอัญชัน ๔ ตัว ต่างคิดว่าจักชนกัน พากันวิ่งมาสู่ท้องพระลานหลวงจากทิศทั้ง ๔ เมื่อมหาชนประชุมกันคิดว่า พวกเราจักดูโคชนกัน ต่างแสดงท่าทางจะชนกัน บรรลือเสียงคำรามลั่นแล้วไม่ชนกัน ต่างถอยออกไป
    หม่อมฉันเห็นสุบินนี้เป็นปฐม อะไรเป็นผลของสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลของสุบินข้อนี้ จักไม่มีในชั่วรัชกาลของมหาบพิตร ในชั่วศาสนาของตถาคต แต่ในอนาคต เมื่อโลกหมุนไปถึงจุดเสื่อม ในรัชกาลของพระราชาผู้กำพร้า ผู้มิได้ครองราชย์โดยธรรม และในกาลของหมู่มนุษย์ผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อกุศลธรรมลดน้อยถอยลง อกุศลธรรมหนาแน่นขึ้น ในกาลที่โลกเสื่อม ฝนจักแล้ง และตีนเมฆจักขาด ข้าวกล้าจักแห้ง ทุพภิกขภัยจักเกิด เมฆทั้งหลายตั้งขึ้นจากทิศทั้ง ๔ เหมือนจะย้อยเม็ด พอพวกผู้หญิงรีบเก็บข้าวเปลือกเป็นต้น ที่เอาออกผึ่งแดดไว้เข้าภายในร่ม เพราะกลัวจะเปียก เมื่อพวกผู้ชายต่างถือจอบถือตะกร้าพากันออกไป เพื่อจะก่อคันกั้นน้ำ ก็ตั้งเค้าจะตก ครางกระหึ่ม ฟ้าแลบ แล้วก็ไม่ตกเลย ลอยหายไป เหมือนโคตั้งท่าจะชนกันแล้วไม่ชนกันฉะนั้น นี้เป็นผลของสุบินนั้น แต่ไม่มีอันตรายไรๆ แก่มหาบพิตร เพราะเรื่องนั้นเป็นปัจจัย มหาบพิตรเห็นสุบินนี้ ปรารภอนาคต ฝ่ายพวกพราหมณ์อาศัยการเลี้ยงชีวิตของตน จึงทำนายดังนี้.
    พระบรมศาสดา ครั้นตรัสบอกผลแห่งสุบินด้วยประการฉะนี้แล้ว ตรัสว่า จงตรัสเล่าสุบินข้อที่ ๒ เถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นสุบินข้อ ๒ อย่างนี้ว่า
    ต้นไม้เล็กๆ และกอไผ่ แทรกแผ่นดินพอถึงคืบหนึ่งบ้าง ศอกหนึ่งบ้าง เพียงแค่นี้ก็ผลิดอกออกผลไปตามๆ กัน
    นี้เป็นสุบินข้อที่ ๒ ที่หม่อมฉันได้เห็น อะไรเป็นผลของสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลแม้ของสุบินข้อนี้ ก็จักมีในกาลที่โลกเสื่อม เวลามนุษย์มีอายุน้อย ด้วยว่าสัตว์ทั้งหลายในอนาคตจักมีราคะกล้า กุมารีมีวัยยังไม่สมบูรณ์ จักสมสู่กะบุรุษอื่น เป็นหญิงมีระดู มีครรภ์ พากันจำเริญด้วยบุตรและธิดา ความที่กุมารีเหล่านั้น มีระดูเปรียบเหมือนต้นไม้เล็กๆ มีดอก กุมารีเหล่านั้นจำเริญด้วยบุตรและธิดา ก็เหมือนต้นไม้เล็กๆ มีผล ภัยแม้มีนิมิตรนี้เป็นเหตุ ไม่มีแก่มหาบพิตรดอก.
    จงตรัสเล่าข้อที่ ๓ ต่อไปเถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นแม่โคใหญ่ๆ พากันดื่มนมของฝูงลูกโค ที่เพิ่งเกิดในวันนั้น.
    นี้เป็นสุบินข้อที่ ๓ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลแห่งสุบินนั้น พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร แม้ผลของสุบินนี้ ก็จักมีในอนาคตเหมือนกัน จักมีผลในเวลาที่มนุษย์ทั้งหลาย พากันละทิ้งเชษฐาปจายิกกรรม คือความเป็นผู้ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ เพราะในอนาคต ฝูงสัตว์จักมิได้ตั้งไว้ซึ่งความยำเกรงในมารดาบิดา หรือในแม่ยาย พ่อตา ต่างแสวงหาทรัพย์สินด้วยตนเองทั้งนั้น เมื่อปรารถนาจะให้ของกินของใช้แก่คนแก่ๆ ก็ให้ ไม่ปรารถนาจะให้ก็ไม่ให้ คนแก่ๆ พากันหมดที่พึ่ง หาเลี้ยงตนเองก็ไม่ได้ ต้องง้อพวกเด็กๆ เลี้ยงชีพ เป็นเหมือนแม่โคใหญ่ๆ พากันดื่มนมลูกโคที่เกิดในวันนั้น แม้ภัยมีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ไม่มีแก่มหาบพิตร.
    ตรัสเล่า สุบินข้อที่ ๔ ต่อไปเถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นฝูงชนไม่เทียมโคใหญ่ๆ ที่เคยพาแอกไป ซึ่งสมบูรณ์ด้วยร่างกายและเรี่ยวแรง เข้าในระเบียบแห่งแอก กลับไปเทียมโครุ่นๆ ที่กำลังฝึกเข้าในแอก โครุ่นๆ เหล่านั้นไม่อาจพาแอกไปได้ ก็พากันสลัดแอกยืนเฉยเสีย เกวียนทั้งหลายก็ไปไม่ได้.
    นี้เป็นสุบินข้อที่ ๔ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลของสุบินนี้พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลของสุบินแม้ข้อนี้ ก็จักมีในรัชสมัยของพระราชา ผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรมในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า
    ในภายหน้า พระราชาผู้มีบุญน้อย มิได้ดำรงในธรรม จักไม่พระราชทานยศแก่มหาอำมาตย์ผู้เป็นบัณฑิตฉลาดในประเพณี สามารถที่จะยังสรรพกิจให้ลุล่วงไปได้ จักไม่ทรงแต่งตั้งอำมาตย์ผู้ใหญ่ ผู้เป็นบัณฑิตฉลาดในโวหารไว้ในที่วินิจฉัยคดีในโรงศาล
    แต่พระราชทานยศแก่คนหนุ่มๆ ตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้วนั้น แต่งตั้งบุคคลเช่นนั้นไว้ในตำแหน่งผู้วินิจฉัยอรรถคดี คนหนุ่มพวกนั้นไม่รู้ทั่วถึงราชกิจ และการอันควรไม่ควร ไม่อาจดำรงยศนั้นไว้ได้ ทั้งไม่อาจจัดทำราชกิจให้ลุล่วงไปได้ เมื่อไม่อาจก็จักพากันทอดทิ้งธุระการงานเสีย
    ฝ่ายอำมาตย์ที่เป็นบัณฑิตเป็นผู้ใหญ่ เมื่อไม่ได้ยศ ถึงจะสามารถที่จะให้กิจทั้งหลายลุล่วงไป ก็จักพากันกล่าวว่า พวกเราต้องการอะไรด้วยเรื่องเหล่านี้ พวกเรากลายเป็นคนภายนอกไปแล้ว พวกเด็กหนุ่มเขาเป็นพวกอยู่วงใน เขาคงรู้ดี แล้วไม่รักษาการงานที่เกิดขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ความเสื่อมเท่านั้นจักมีแก่พระราชาเหล่านั้น ด้วยประการทั้งปวง เป็นเสมือนเวลาที่คนจับโครุ่นๆ กำลังฝึก ยังไม่สามารถจะพาแอกไปได้ เทียมไว้ในแอก และเป็นเวลาที่ไม่จับเอาโคใหญ่ๆ ผู้เคยพาแอกไปได้ มาเทียมแอก ฉะนั้น.
    แม้ภัยมีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ย่อมไม่มีแก่มหาบพิตร
    เชิญตรัสบอกสุบินที่ ๕ เถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นม้าตัวหนึ่ง มีปากสองข้าง ฝูงชนพากันให้หญ้าที่ปากทั้งสองข้างของมัน มันเคี้ยวกินด้วยปากทั้งสองข้าง.
    นี้เป็นสุบินที่ ๕ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลของสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลของสุบินแม้นี้ ก็จักมีในรัชกาลของพระราชาผู้ไม่ดำรงในธรรม ในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า
    ในกาลภายหน้า พวกพระราชาโง่เขลา ไม่ดำรงธรรม จักทรงแต่งตั้งมนุษย์โลเล ไม่ประกอบด้วยธรรม ไว้ในตำแหน่งวินิจฉัยคดี คนเหล่านั้นเป็นพาล ไม่เอื้อเฟื้อในบาปบุญ พากันนั่งในโรงศาล เมื่อให้คำตัดสิน ก็จักรับสินบนจากมือของคู่คดีทั้งสองฝ่ายมากิน เป็นเหมือนม้ากินหญ้าด้วยปากทั้งสอง ฉะนั้น.
    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ย่อมไม่มีแก่มหาบพิตรดอก.
    เชิญตรัสบอกสุบินที่ ๖ เถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นมหาชนขัดถูถาดทองราคาตั้งแสนกระษาปณ์ แล้วพากันนำไปให้หมาจิ้งจอกแก่ตัวหนึ่ง ด้วยคำว่า เชิญท่านเยี่ยวใส่ในถาดทองนี้เถิด หมาจิ้งจอกแก่นั้น ก็ถ่ายปัสสาวะใส่ในถาดทองนั้น.
    นี้เป็นสุบินข้อที่ ๖ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลแห่งสุบินข้อนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลของสุบินนี้ ก็จักมีในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า
    ในกาลภายหน้า พวกพระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ทรงรังเกียจกุลบุตรผู้สมบูรณ์ด้วยชาติเสีย แล้วไม่พระราชทานยศให้ จักพระราชทานให้แก่คนที่ไม่มีสกุลเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สกุลใหญ่ๆ จักพากันตกยาก สกุลเลวๆ จักพากันเป็นใหญ่ ก็เมื่อพวกมีสกุลเหล่านั้น ไม่อาจเลี้ยงชีวิตอยู่ได้ จักคิดว่า เราต้องอาศัยพวกเหล่านี้เลี้ยงชีวิตสืบไป แล้วก็พากันยกธิดาให้แก่ผู้ไม่มีสกุล การอยู่ร่วมกับคนพวกไม่มีสกุลของกุลธิดาเหล่านั้น ก็จักเป็นเช่นเดียวกับถาดทองรองเยี่ยวหมาจิ้งจอก
    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ย่อมไม่มีแก่มหาบพิตร.
    เชิญตรัสบอกสุบินที่ ๗ เถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นอย่างนี้ บุรุษผู้หนึ่งฟั่นเชือก แล้วหย่อนไปที่ใกล้เท้า แม่หมาจิ้งจอกโซตัวหนึ่งนอนอยู่ใต้ตั่งที่บุรุษนั่ง กัดกินเชือกนั้น เขาไม่ได้รู้เลยทีเดียว.
    นี้เป็นสุบินข้อที่ ๗ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลแห่งสุบินข้อนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลแม้ของสุบินข้อนี้ ก็จักมีในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า
    ในกาลภายหน้า หมู่สตรีจักพากันเหลาะแหละโลเลในบุรุษ ลุ่มหลงในสุรา เอาแต่แต่งตัว ชอบเที่ยวเตร่ตามถนนหนทาง เห็นแก่อามิส เป็นหญิงทุศีล มีความประพฤติชั่วช้า พวกนางจักกลุ้มรุมกันแย่งเอาทรัพย์ ที่สามีทำงาน มีกสิกรรมและโครักขกรรมเป็นต้น สั่งสมไว้ด้วยยาก ลำบากลำเค็ญ เอาไปซื้อสุราดื่มกับชายชู้ ซื้อดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้มาแต่งตน คอยสอดส่องมองหาชู้ โดยส่วนบนของบ้านที่มิดชิดบ้าง โดยที่ซึ่งลับตาบ้าง แม้ข้าวเปลือกที่เตรียมไว้สำหรับหว่าน ในวันรุ่งขึ้น ก็เอาไปซ้อม จัดทำเป็นข้าวต้ม ข้าวสวย และของเคี้ยวเป็นต้น มากินกัน เป็นเหมือนนางหมาจิ้งจอกโซ ที่นอนใต้ตั่งคอยกัดกินเชือกที่เขาฟั่นแล้ว หย่อนลงไว้ใกล้ๆ เท้าฉะนั้น
    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร.
    เชิญตรัสเล่าสุบินข้อที่ ๘ เถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นตุ่มน้ำเต็มเปี่ยมลูกใหญ่ใบหนึ่ง ตั้งอยู่ที่ประตูวัง ล้อมด้วยตุ่มเป็นอันมาก วรรณะทั้ง ๔ เอาหม้อตักน้ำมาจากทิศทั้ง ๔ และทิศน้อยทั้งหลาย เอามาใส่ลงตุ่มที่เต็มแล้วนั่นแหละ น้ำก็เต็มแล้วเต็มอีก จนไหลล้นไป แม้คนเหล่านั้น ก็ยังเทน้ำลงในตุ่มนั้นอยู่เรื่อยๆ แต่ไม่มีผู้ที่จะเหลียวแลดูตุ่มที่ว่างๆ เลย.
    นี้เป็นสุบินข้อที่ ๘ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลของสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลแห่งสุบินนี้ จักมีในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า
    ในกาลภายหน้า โลกจักเสื่อม แว่นแคว้นจักหมดความหมาย พระราชาทั้งหลายจักตกยาก เป็นกำพร้า องค์ใดเป็นใหญ่ องค์นั้นจักมีพระราชทรัพย์เพียงแสนกระษาปณ์ในท้องพระคลัง พระราชาเหล่านั้นตกยากถึงอย่างนี้ จักเกณฑ์ให้ชาวชนบททุกคนทำการเพาะปลูกให้แก่ตน พวกมนุษย์ถูกเบียดเบียน ต้องละทิ้งการงานของตน พากันเพาะปลูกปุพพันพืช(๑) แลอปรันพืช(๒) ให้แก่พระราชาทั้งหลายเท่านั้น ต้องช่วยกันเฝ้าช่วยกันเก็บเกี่ยว ช่วยกันนวด ช่วยกันขน ช่วยกันเคี่ยวน้ำอ้อยเป็นต้น และช่วยกันทำสวนดอกไม้ สวนผลไม้ พากันขนปุพพันพืชเป็นต้นที่เสร็จแล้ว ในที่นั้นๆ มาบรรจุไว้ในยุ้งฉางของพระราชาเท่านั้น แม้ผู้ที่จะมองดูยุ้งฉางเปล่าๆ ในเรือนทั้งหลายของตนจักไม่มีเลย จักเป็นเช่นกับการเติมน้ำใส่ตุ่มที่เต็มแล้ว ไม่เหลียวแลตุ่มเปล่าๆ บ้างเลย นั่นแล.
    (๑) อาหารมีข้าวสาลีเป็นต้น
    (๒) ของว่างหลังอาหาร มีถั่ว งา เป็นต้น

    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ จะยังไม่มีแก่มหาบพิตร.
    เชิญตรัสเล่าสุบินที่ ๙ เถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นโบกขรณีสระหนึ่ง ดารดาษไปด้วยปทุม ๕ สี ลึก มีท่าขึ้นลงรอบด้าน ฝูงสัตว์สองเท้าสี่เท้า พากันลงดื่มน้ำในสระนั้นโดยรอบ น้ำที่อยู่ในที่ลึก กลางสระนั้นขุ่นมัว ในที่ซึ่งสัตว์สองเท้าสี่เท้าพากันย่ำเหยียบ กลับใสสะอาดไม่ขุ่นมัว หม่อมฉันได้เห็นอย่างนี้.
    นี้เป็นสุบินข้อที่ ๙ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลของสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลแห่งสุบินนี้ จักมีในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า
    ในกาลภายหน้า พระราชาทั้งหลายจักไม่ตั้งอยู่ในธรรม ลุอคติด้วยอำนาจความพอใจเป็นต้น เสวยราชสมบัติ จักไม่ประทานการวินิจฉัยอรรถคดีโดยธรรม มีพระหฤทัยมุ่งแต่สินบน โลเลในทรัพย์ ขึ้นชื่อว่าคุณธรรมคือความอดทน ความเมตตา และความเอ็นดูของพระราชาเหล่านั้น จักไม่มีในหมู่ชาวแว่นแคว้น จักเป็นผู้กักขฬะ หยาบคาย คอยแต่เบียดเบียนหมู่มนุษย์ เหมือนหีบอ้อยด้วยหีบยนต์ จักกำหนดให้ส่วยต่างๆ บังเกิดขึ้น เก็บเอาทรัพย์
    พวกมนุษย์ถูกรีดส่วยอากรหนักเข้า ไม่สามารถจะให้อะไรๆ ได้ พากันทิ้งคามนิคมเป็นต้นเสีย อพยพไปสู่ปลายแดน ตั้งหลักฐาน ณ ที่นั้น ชนบทศูนย์กลางจักว่างเปล่า ชนบทชายแดนจักเป็นปึกแผ่นแน่นหนา เหมือนน้ำกลางสระโบกขรณีขุ่น น้ำที่ฝั่งรอบๆ ใส ฉันใด ก็ฉันนั้น.
    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ย่อมไม่มีแก่มหาบพิตร.
    เชิญตรัสเล่าพระสุบินข้อที่ ๑๐ เถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้เห็นข้าวสุก ที่คนหุงในหม้อใบเดียวกันแท้ๆ แต่หาสุกทั่วกันไม่ เป็นเหมือนผู้หุงตรวจดูแล้วว่าไม่สุก เลยแยกกันไว้เป็น ๓ อย่าง คือ ข้าวหนึ่งแฉะ ข้าวหนึ่งดิบ ข้าวหนึ่งสุกดี.
    นี้เป็นสุบินที่ ๑๐ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลแห่งสุบินข้อนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลแม้ของสุบินข้อนี้ จักมีในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า
    ในกาลภายหน้า พระราชาทั้งหลายจักไม่ดำรงในธรรม เมื่อพระราชาเหล่านั้นไม่ดำรงในธรรมแล้ว ข้าราชการก็ดี พราหมณ์และคฤหบดีก็ดี ชาวนิคมชาวชนบทก็ดี รวมถึงมนุษย์ทั้งหมด นับแต่สมณะและพราหมณ์ จักพากันไม่ตั้งอยู่ในธรรม แม้เทวดาทั้งหลายก็จักไม่ทรงธรรม
    ในรัชกาลแห่งอธัมมิกราชทั้งหลาย ลมทั้งหลายจักพัดไม่สม่ำเสมอ พัดแรงจัด ทำให้วิมานในอากาศของเทวดาสั่นสะเทือน เมื่อวิมานเหล่านั้นถูกลมพัดสั่นสะเทือน ฝูงเทวดาก็พากันโกรธ แล้วจักไม่ให้ฝนตก ถึงจะตก ก็จะไม่ตกกระหน่ำทั่วแว่นแคว้น มิฉะนั้น จักไม่ตกให้เป็นอุปการะแก่การใด การหว่านในที่ทั้งปวงจักไม่ตกกระหน่ำทั่วถึง แม้ในชนบท แม้ในบ้าน แม้ในตระพังแห่งหนึ่ง แม้ในสระลูกหนึ่ง เหมือนกันกับในแคว้นฉะนั้น เมื่อตกตอนเหนือของตระพัง ก็จักไม่ตกในตอนใต้ เมื่อตกในตอนใต้ จักไม่ตกในตอนเหนือ ข้าวกล้าในตอนหนึ่งจักเสียเพราะฝนชุก เมื่อฝนไม่ตกในส่วนหนึ่ง ข้าวกล้าจักเหี่ยวแห้ง เมื่อฝนตกดีในส่วนหนึ่ง ข้าวกล้าจักสมบูรณ์
    ข้าวกล้าที่หว่านแล้วในขอบขัณฑสีมาของพระราชาพระองค์เดียวกัน จักเป็น ๓ สถาน ด้วยประการฉะนี้ เหมือนข้าวสุกในหม้อเดียว มีผลเป็น ๓ อย่าง ฉะนั้น.
    ภัยแม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ จะยังไม่มีแก่มหาบพิตร.
    เชิญตรัสเล่าสุบินที่ ๑๑ ต่อไปเถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นคนทั้งหลายเอาแก่นจันทน์มีราคาตั้งแสนกษาปณ์ ขายแลกกับเปรียงเน่า.
    นี้เป็นสุบินข้อที่ ๑๑ ของหม่อมฉัน อะไรเป็นผลแห่งสุบินนี้เล่า พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร แม้ผลแห่งสุบินนี้ ก็จักมีในอนาคต
    ในเมื่อศาสนาของตถาคตเสื่อมโทรมนั่นแล ด้วยว่า ในกาลภายหน้า พวกภิกษุอลัชชีเห็นแก่ปัจจัยจักมีมาก พวกเหล่านั้นจักพากันแสดงธรรมเทศนาที่ตถาคตกล่าวติเตียนความละโมบในปัจจัยไว้แก่ชนเหล่าอื่น เพราะเหตุแห่งปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้น จักไม่สามารถแสดงให้พ้นจากปัจจัยทั้งหลาย แล้วตั้งอยู่ในฝ่ายธรรมนำสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ มุ่งตรงสู่พระนิพพาน
    ชนทั้งหลายก็จะฟังความสมบูรณ์แห่งบท และพยัญชนะ และสำเนียงอันไพเราะอย่างเดียวเท่านั้น แล้วจักถวายเอง และยังชนเหล่าอื่นให้ถวายซึ่งปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้น อันมีค่ามาก
    ภิกษุทั้งหลายอีกบางพวก จักพากันนั่งในที่ต่างๆ มีท้องถนน สี่แยก และประตูวัง เป็นต้น แล้วแสดงธรรมแลกรูปิยะ มีเหรียญกษาปณ์ครึ่งกษาปณ์ เหรียญบาท เหรียญมาสกเป็นต้น โดยประการฉะนี้
    ก็เป็นเอาธรรมที่ตถาคตแสดงไว้ มีมูลค่าควรแก่พระนิพพาน ไปแสดงแลกปัจจัย ๔ และรูปิยะมีเหรียญกษาปณ์และเหรียญครึ่งกษาปณ์เป็นต้น จักเป็นเหมือนฝูงคนเอาแก่นจันทน์มีราคาตั้งแสน ไปขายแลกเปรียงเน่า ฉะนั้น.
    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร.
    เชิญตรัสเล่าสุบินที่ ๑๒ ต่อไปเถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นกระโหลกน้ำเต้าจมน้ำได้ อะไรเป็นผลแห่งสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลแห่งสุบินนี้ ก็จักมีในอนาคตกาล เมื่อโลกหมุนไปถึงจุดเสื่อมในรัชกาลของพระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม
    ด้วยว่า ในครั้งนั้น พระราชาทั้งหลายจักไม่พระราชทานยศแก่กุลบุตรผู้สมบูรณ์ด้วยชาติ จักพระราชทานแก่ผู้ไม่มีสกุลเท่านั้น พวกนั้นจักเป็นใหญ่ อีกฝ่ายหนึ่งจักยากจน ถ้อยคำของพวกไม่มีสกุล ดุจกระโหลกน้ำเต้า ดูประหนึ่งหยั่งรากลงแน่นในที่เฉพาะพระพักตร์พระราชาก็ดี ที่ประตูวังก็ดี ที่ประชุมอำมาตย์ก็ดี ที่โรงศาลก็ดี จักเป็นคำไม่โยกโคลง มีหลักฐานแน่นหนาดี
    แม้ในสังฆสันนิบาต (ที่ประชุมสงฆ์) เล่า ในกิจกรรมที่สงฆ์พึงทำและคณะพึงทำก็ดี ทั้งในสถานที่ดำเนินอธิกรณ์เกี่ยวกับบาตร จีวร และบริเวณเป็นต้นก็ดี ถ้อยคำของคนชั่วทุศีลเท่านั้น จักเป็นคำนำสัตว์ออกจากทุกข์ได้ มิใช่ถ้อยคำของภิกษุผู้ลัชชี เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จักเป็นเหมือนกาลเป็นที่จมลงแห่งกระโหลกน้ำเต้า แม้ด้วยประการทั้งปวง
    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร.
    เชิญตรัสเล่าสุบินที่ ๑๓ เถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นศิลาแท่งทึบใหญ่ ขนาดเรือนยอดลอยน้ำเหมือนดังเรือ อะไรเป็นผลแห่งสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลแห่งสุบินแม้นี้ ก็จักมีในกาลเช่นนั้นเหมือนกัน ด้วยว่า
    ในครั้งนั้น พระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรมทั้งหลาย จักพระราชทานยศแก่คนไม่มีสกุล พวกนั้นจักเป็นใหญ่ พวกมีสกุลจักตกยาก ใครๆ จักไม่ทำความเคารพในพวกมีสกุลนั้น จักกระทำความเคารพในพวกที่เป็นใหญ่ฝ่ายเดียว ถ้อยคำของกุลบุตรผู้ฉลาดในการวินิจฉัย ผู้หนักแน่น เช่นกับศิลาทึบ จักไม่หยั่งลง ดำรงมั่นในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระราชา หรือในที่ประชุมอำมาตย์ หรือในโรงศาล เมื่อพวกนั้นกำลังกล่าว พวกนอกนี้จักคอยเยาะเย้ยว่า พวกนี้พูดทำไม
    แม้ในที่ประชุมภิกษุ พวกภิกษุ ก็จักไม่เห็นภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ผู้ควรทำความเคารพว่า เป็นสำคัญ ในฐานะต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว ทั้งถ้อยคำของภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักเหล่านั้น ก็จักไม่หนักแน่นมั่นคง จักเป็นเหมือนเวลาเป็นที่เลื่อนลอยแห่งศิลาทั้งหลายฉะนั้น.
    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร
    เชิญตรัสเล่าพระสุบินข้อที่ ๑๔ เถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นฝูงเขียดตัวเล็กๆ ขนาดดอกมะซาง วิ่งไล่กวดงูเห่าตัวใหญ่ๆ กัดเนื้อขาดเหมือนตัดก้านบัว แล้วกลืนกิน.
    นี้เป็นสุบินข้อที่ ๑๔ อะไรเป็นผลแห่งสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลแห่งแม้สุบินข้อนี้ ก็จักมีในอนาคต ในเมื่อโลกเสื่อมโทรมดุจกัน ด้วยว่า
    ในครั้งนั้น พวกมนุษย์จะมีราคะจริตแรงกล้าชาติชั่ว ปล่อยตัวปล่อยใจตามอำนาจของกิเลส จักต้องเป็นไปในอำนาจแห่งภรรยาเด็กๆ ของตน
    ผู้คนมีทาสและกรรมกรเป็นต้นก็ดี สัตว์พาหนะมีโคกระบือเป็นต้นก็ดี เงินทองก็ดี บรรดามีในเรือนทุกอย่าง จักต้องอยู่ในครอบครองของพวกนางทั้งนั้น
    เมื่อพวกสามีถามถึงเงินทองโน้นๆ ว่าอยู่ที่ไหน หรือถามถึงจำนวนสิ่งของว่ามีที่ไหนก็ดี
    พวกนางจักพากันตอบว่า มันจะอยู่ที่ไหนๆ ก็ช่างเถิด กงการอะไรที่ท่านจะตรวจตราเล่า ท่านเกิดอยากรู้สิ่งที่มีอยู่และไม่มีอยู่ในเรือนของเราละหรือ แล้วจักด่าด้วยประการต่างๆ ทิ่มตำเอาด้วยหอกคือปาก กดไว้ในอำนาจ ดังทาสและคนรับใช้ ดำรงความเป็นเจ้าเป็นใหญ่ของตนไว้สืบไป
    เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จักเป็นเหมือน เวลาที่ฝูงเขียดขนาดดอกมะซาง พากันขยอกกินฝูงงูเห่าซึ่งมีพิษแล่นเร็ว ฉะนั้น.
    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็จักไม่มีแก่มหาบพิตรดอก
    เชิญตรัสบอกนิมิตรที่ ๑๕ เถิด.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้เห็นฝูงพญาหงษ์ทองที่ได้นามว่าทอง เพราะมีขนเป็นสีทอง พากันแวดล้อมกาผู้ประกอบด้วยอสัทธรรม ๑๐ ประการ เที่ยวหากินตามบ้าน.
    อะไรเป็นผลแห่งพระสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลแห่งสุบินนี้ ก็จักมีในอนาคต ในรัชกาลของพระราชาผู้ทุรพลนั่นแหละ ด้วยว่า
    ในภายหน้า พระราชาทั้งหลายจักไม่ฉลาดในศิลปะ มีหัสดีศิลปะเป็นต้น ไม่แกล้วกล้าในการยุทธ ท้าวเธอจักไม่พระราชทาน ความเป็นใหญ่ให้แก่พวกกุลบุตรที่มีชาติเสมอกัน ผู้รังเกียจความวิบัติแห่งราชสมบัติของพระองค์อยู่ จักพระราชทานแก่พวกพนักงานเครื่องสรงและพวกกัลบกเป็นต้น ซึ่งอยู่ใกล้บาทมูลของพระองค์ พวกกุลบุตรผู้สมบูรณ์ด้วยชาติ และโคตร เมื่อไม่ได้ที่พึ่งในราชสกุล ก็ไม่สามารถเลี้ยงชีวิตอยู่ได้ จักพากันปรนนิบัติบำรุงฝูงชนที่ไม่มีสกุล มีชาติและโคตรทราม ผู้ดำรงอิสริยยศ
    จักเป็นเหมือนฝูงพญาหงษ์ทอง แวดล้อมเป็นบริวารกา ฉะนั้น.
    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร.
    เชิญตรัสเล่าสุบินที่ ๑๖ ต่อไปเถิด มหาบพิตร.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในกาลก่อนๆ เสือเหลืองพากันกัดกินฝูงแกะ แต่หม่อมฉันได้เห็นฝูงแกะพากันไล่กวดฝูงเสือเหลือง กัดกินอยู่มุ่มม่ำๆ ทีนั้น เสืออื่นๆ คือเสือดาว เสือโคร่ง เห็นฝูงแกะอยู่ห่างๆ ก็สะดุ้งกลัว ถึงความสยดสยอง พากันวิ่งหนีหลบเข้าพุ่มไม้และป่ารก ซุกซ่อนเพราะกลัวฝูงแกะ.
    หม่อมฉันได้เห็นอย่างนี้ อะไรเป็นผลแห่งสุบินนี้ พระเจ้าข้า?
    มหาบพิตร ผลแห่งสุบินแม้นี้ ก็จักมีในรัชกาลแห่งพระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ในอนาคตเหมือนกัน ด้วยว่า
    ในครั้งนั้น พวกไม่มีสกุลจักเป็นราชวัลลภ เป็นใหญ่เป็นโต พวกคนมีสกุลจักอับเฉาตกยาก ราชวัลลภเหล่านั้นพากันยังพระราชาให้ทรงเชื่อถือถ้อยคำของตน มีกำลังในสถานที่ราชการ มีโรงศาลเป็นต้น ก็พากันรุกเอาที่ดินไร่นาเรือกสวนเป็นต้น อันตกทอดสืบมาของพวกมีสกุลทั้งหลายว่า ที่เหล่านี้เป็นของพวกเรา เมื่อพวกผู้มีสกุลเหล่านั้นโต้เถียงว่า ไม่ใช่ของพวกท่าน เป็นของพวกเรา แล้วพากันมาฟ้องร้องยังโรงศาลเป็นต้น พวกราชวัลลภก็พากันบอกให้เฆี่ยนตีด้วยหวายเป็นต้น จับคอไสออกไป พร้อมกับข่มขู่คุกคามว่า พ่อเจ้าไม่รู้ประมาณตน มาหาเรื่องกับพวกเรา เดี๋ยวจักไปทูลพระราชา ให้ลงพระราชอาญาต่างๆ มีตัดตีน ตัดมือ เป็นต้น
    พวกผู้มีสกุลกลัวเกรงพวกราชวัลลภ ต่างก็ยินยอมให้ที่ทางที่เป็นของตนว่า ที่ทางเหล่านี้ ถ้าเป็นของท่าน ก็เชิญครอบครองเถิด แล้วพากันกลับบ้านเรือนของตน นอนหวาดผวาไปตามๆ กัน
    แม้ภิกษุผู้ชั่วช้าทั้งหลายเล่า ก็จักพากันเบียดเบียนภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ตามชอบใจ พวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักเหล่านั้น ไม่ได้ที่พำนัก ก็พากันเข้าป่า แอบแฝงอยู่ในที่รกๆ
    ข้อที่กุลบุตรผู้มีชาติสกุลทั้งหลาย และภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักทั้งหลาย ถูกคนชาติชั่ว และถูกภิกษุผู้ลามกทั้งหลายเข้าไปประทุษร้ายอย่างนี้ จักเป็นเหมือนกาลที่พวกเสือดาว และเสือโคร่งทั้งหลาย พากันหลบหนีเพราะกลัวฝูงแกะ ฉะนั้น.
    ภัย แม้มีสุบินนี้เป็นเหตุ ก็ยังไม่มีแก่มหาบพิตร ด้วยสุบินนี้ที่มหาบพิตรเห็นแล้ว ปรารภอนาคตทั้งนั้น แต่พวกพราหมณ์มิได้ทำนายสุบินนั้น ด้วยความจงรักภักดีในพระองค์ โดยถูกต้องเท่าที่ถูกที่ควร ทำนายไปเพราะอาศัยการเลี้ยงชีพ เพราะเห็นแก่อามิสว่า พวกเราจักได้ทรัพย์กันมากๆ
    ครั้นทรงทำนายผลแห่งสุบินใหญ่ๆ ๑๖ ข้อ อย่างนี้แล้ว ตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่บพิตรได้เห็นสุบินเหล่านี้ แม้พระราชาทั้งหลายแต่ก่อนๆ ก็ได้ทรงเห็นแล้วเหมือนกัน แม้พวกพราหมณ์ก็ถือเอาสุบินเหล่านี้ นับเข้าในยอดยัญพิธีอย่างนี้เหมือนกัน ภายหลังอาศัยคำแนะนำที่พวกเป็นบัณฑิตพากันกราบทูล จึงถามพระโพธิสัตว์ แม้ท่านโบราณกบัณฑิตทั้งหลาย เมื่อทำนายสุบินเหล่านี้แก่พระราชาเหล่านั้น ก็พากันทำนายทำนองนี้แหละ
    อันพระเจ้าปเสนทิโกศลทูลอาราธนา จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
    ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์กำเนิดในตระกูลอุทิจจพราหมณ์ เจริญวัยแล้วบวชเป็นฤๅษี ให้อภิญญาสมาบัติเกิดแล้ว ได้ประลองฌานอยู่ในหิมวันตประเทศ
    ในครั้งนั้น ณ พระนครพาราณสี พระเจ้าพรหมทัตทรงเห็นพระสุบินเหล่านี้ โดยทำนองนี้เหมือนกัน มีพระดำรัสถามพวกพราหมณ์ พวกพราหมณ์ปรารภจะบูชายัญอย่างนี้เหมือนกัน บรรดาพราหมณ์เหล่านั้น ท่านปุโรหิตมีศิษย์เป็นบัณฑิตฉลาด กล่าวกะอาจารย์ว่า ท่านอาจารย์ครับ คัมภีร์พระเวทย์ทั้ง ๓ ท่านอาจารย์ให้ผมเรียนจบแล้ว ในพระเวทย์ทั้ง ๓ คัมภีร์นั้น ข้อที่ว่า การฆ่าคนหนึ่งแล้ว ทำให้เกิดความสวัสดีแก่อีกคนหนึ่ง ไม่มีเลยมิใช่หรือ ขอรับ?
    ท่านอาจารย์ตอบว่า พ่อคุณ ด้วยอุบายนี้ทรัพย์จำนวนมากจักเกิดแก่พวกเรา ส่วนเจ้าชะรอยอยากจะรักษาพระราชทรัพย์กระมัง?
    มาณพกล่าวว่า ท่านอาจารย์ครับ ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงกระทำงานของพวกท่านไปเถิด กระผมจักกระทำอะไรในสำนักของพวกท่านได้. แล้วเดินเรื่อยไปจนถึงพระราชอุทยาน.
    ในวันนั้นเอง แม้พระบรมโพธิสัตว์ก็รู้เหตุนั้น คิดว่า วันนี้ เมื่อเราไปถึงถิ่นมนุษย์ ความพ้นจากการจองจำจักมีแก่มหาชน ดังนี้แล้ว จึงเหาะมาทางอากาศ ลงที่อุทยานนั่งเหนือแผ่นศิลาอันเป็นมงคล ประหนึ่งรูปที่หล่อด้วยทองฉะนั้น มาณพเข้าไปหาพระโพธิสัตว์ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง ได้ทำการต้อนรับพระโพธิสัตว์ แม้พระโพธิสัตว์ก็ได้ทำการปฏิสันถารอย่างไพเราะกับเขาแล้ว ถามว่า เป็นอย่างไรเล่าหนอ พ่อมาณพ พระราชายังจะเสวยราชสมบัติโดยธรรมอยู่หรือ?
    มาณพกราบเรียนว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ พระราชายังได้พระนามว่า ธรรมิกราชอยู่ดอกครับ ก็แต่ว่า พวกพราหมณ์กำลังชักจูงพระองค์ให้วิ่งไปผิดทาง พระราชาทรงเห็นพระสุบิน ๑๖ ข้อ ตรัสบอกแก่พวกพราหมณ์ พวกพราหมณ์กล่าวว่า พวกเราจักต้องบูชายัญ แล้วเตรียมการทันที พระคุณเจ้าผู้เจริญขอรับ การที่พระคุณเจ้าทำให้พระราชาทรงเข้าพระทัยว่า ขึ้นชื่อว่า ผลแห่งสุบินนี้เป็นอย่างนี้ แล้วช่วยให้มหาชนพ้นจากภัย จะมิควรหรือขอรับ?
    พระโพธิสัตว์กล่าวว่า พ่อมาณพ เราเองก็ไม่รู้จักพระราชา พระราชาเล่าก็มิได้ทรงรู้จักเรา ถ้าพระองค์เสด็จมาถาม ณ ที่นี้ เราพึงบอกแก่พระองค์ได้.
    มาณพกราบเรียนว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ กระผมจักนำพระองค์เสด็จมา ขอพระคุณเจ้าได้โปรดนั่งรอการมาของกระผม สักครู่หนึ่งนะขอรับ ขอให้พระโพธิสัตว์ปฏิญญาแล้ว ก็ไปสู่พระราชสำนัก กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ดาบสผู้เที่ยวไปในอากาศได้องค์หนึ่ง ลงมาในอุทยานของพระองค์ กล่าวว่า จักทำนายผลของพระสุบินที่พระองค์ทรงเห็น กำลังรอพระองค์อยู่. พระราชาทรงสดับคำของมาณพนั้น ก็รีบเสด็จไปพระอุทยาน ด้วยบริวารเป็นอันมากทันที ทรงไหว้พระดาบสแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง มีพระดำรัสถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ได้ยินว่า พระคุณเจ้าทราบผลแห่งสุบินที่กระผมเห็นหรือ?
    พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร อาตมาภาพทราบ.
    พระราชาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น นิมนต์พระคุณเจ้าทำนายเถิด.
    พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร อาตมาภาพจะทำนายถวาย เชิญมหาบพิตรตรัสเล่าพระสุบินตามที่ทรงเห็นให้อาตมาภาพฟังก่อนเถิด.
    พระราชาตรัสว่า ดีละ พระคุณเจ้าผู้เจริญ พลางตรัสว่า :-
    โคอุสุภราช ๑ ต้นไม้ทั้งหลาย ๑ แม่โคทั้งหลาย ๑ โคทั้งหลาย ๑ ม้า ๑ ถาดทอง ๑ นางสุนัขจิ้งจอก ๑ ตุ่มน้ำ ๑ โบกขรณี ๑ ข้าวไม่สุก ๑ จันทน์แดง ๑ น้ำเต้าจม ๑ ศิลาลอย ๑ เขียดขยอกงู ๑ หงษ์ทองล้อมกา ๑ เสือดาว เสือโคร่งกลัวแพะจริงๆ ๑ ดังนี้.
    แล้วตรัสบอกสุบิน ตามนิยมที่พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสบอก นั่นเอง
    แม้พระโพธิสัตว์ก็ทำนายผลแห่งสุบินเหล่านั้นโดยพิสดาร ตามทำนองที่พระศาสดาทรงทำนายในบัดนี้แหละ ในที่สุดถวายพระพรดังนี้ ด้วยตนเองว่า
    จะเป็นไปต่อเมื่อโลกถึงจุดเสื่อม ยังไม่มีในยุคนี้.

    อรรถาธิบายในคำนั้นมีดังนี้ คือ
    ดูก่อนมหาบพิตร ผลแห่งพระสุบินเหล่านั้นมีดังนี้ คือการบูชายัญที่กำลังดำเนินไป เพื่อปัดเป่าพระสุบินเหล่านั้น ย่อมดำเนินไปผิดหลักเกณฑ์ ท่านกล่าวอธิบายว่า ย่อมเป็นไปอย่างผิดตรงกันข้าม ความเสื่อมจากความจริง.
    เพราะเหตุไร?
    เพราะเหตุว่า ผลแห่งสุบินเหล่านี้ จักมีในกาลที่โลกถึงจุดเสื่อม คือในกาลที่ต่างถือเอาข้อที่มิใช่เหตุ ว่าเป็นเหตุ ในกาลที่ทิ้งเหตุเสีย ว่ามิใช่เหตุ ในกาลที่ถือเอาข้อที่ไม่จริง ว่าเป็นจริง ในกาลที่ละทิ้งข้อที่จริงเสีย ว่าไม่เป็นจริง ในกาลที่พวกอลัชชี มีมากขึ้น และในกาลที่พวกลัชชี ลดน้อยถอยลง ยังไม่มีในยุคนี้ หมายความว่าแต่ผลของพระสุบินเหล่านี้ ยังไม่มีในบัดนี้ คือในรัชกาลของมหาบพิตร หรือในศาสนาของตถาคตนี้ ในยุคนี้ คือในชั่วบุรุษปัจจุบันนี้
    เพราะเหตุนั้น การบูชายัญที่กำลังดำเนินไป เพื่อปัดเป่าผลแห่งพระสุบินเหล่านี้ จึงเป็นไปโดยคลาดเคลื่อน เลิกการบูชายัญนั้นเสียเถิด ภัยหรือความสะดุ้งอันมีพระสุบินนี้เป็นเหตุ ยังไม่มีแก่มหาบพิตร.
    พระมหาบุรุษทำพระราชาให้เบาพระทัย ปลดปล่อยมหาชนจากการจองจำแล้ว กลับเหาะขึ้นอากาศ ถวายโอวาทแด่พระราชา ชักจูงให้ดำรงมั่นในศีล ๕ แล้วถวายพระพรว่า ตั้งแต่บัดนี้ต่อไป มหาบพิตรอย่าได้ร่วมคิดกับพราหมณ์บูชายัญ ที่มีชื่อว่า ปสุฆาตยัญ (ยัญฆ่าสัตว์) อีกต่อไป
    ครั้นแสดงธรรมแล้ว กลับไปที่อยู่ของตนทางอากาศนั่นแล ฝ่ายพระราชาตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์ ทรงทำบุญมีให้ทานเป็นต้น แล้วเสด็จไปตามยถากรรม.
    พระบรมศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสให้พระเจ้าปเสนทิโกศลเลิกบูชายัญด้วยพระพุทธดำรัสว่า
    เพราะพระสุบินเป็นปัจจัย ภัยยังไม่มีแก่มหาบพิตรดอก มหาบพิตรจงสั่งให้เลิกยัญเสียเถิด พระราชทานชีวิตทานแก่มหาชนแล้ว ทรงสืบอนุสนธิ ประชุมชาดกว่า
    พระราชาในครั้งนั้น ได้มาเป็น พระอานนท์ ในครั้งนี้
    มาณพได้มาเป็น พระสารีบุตร
    ส่วนพระดาบสได้มาเป็น เราตถาคต ฉะนี้แล.

    ก็และครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว
    พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายยกบททั้ง ๓ มีอสุภาเป็นอาทิขึ้นสู่อรรถกถา กล่าวบททั้ง ๕ มีลาวูนิเป็นอาทิ ยกขึ้นสู่บาลีเอกนิบาต ด้วยประการฉะนี้.


    จบอรรถกถามหาสุบินชาดกที่ ๗
     
  13. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    แล้วสำนักใดใครกันเล่า ปรากฎมาทำลาย โดยไร้สติปัญญา เราถูกส่งมาเพื่อรักษาพระปริตร รอเราออกบวชสิ้นภพจบชาติก็จะรู้เอง ทุกกึ่งพุทธกาลจะเกิดธาตุอันตรธานปริวัตต์
    คำว่า อัตรธาน คือ ความเสื่อมสูญเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา มี ๕ ประการ คือ
    ๑.ปริยัติอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งพระปริยัติ
    ๒.ปฏิบัติอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งการปฏิบัติ
    ๓.ปฏิเวธอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งการสำเร็จมรรคผลนิพพาน
    ๔.ลิงคอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งเพศสมณะ
    ๕.ธาตุอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งพระบรมธาตุ

    สัญญานก็คือมีโฆฆะบุรุษในพระพุทธศาสนาเกิดมาเพื่อสร้างสัทธรรมปฎิรูปให้บังเกิด และประกาศทำลาย อภยปริตร สำนักนั้นก็คือสำนักวัดนาป่าพง ที่นำโดย คึกฤทธิ์


    บทสวดยอดนิยม อภยปริตรเป็นคำแต่งใหม่
    https://youtu.be/jBIMisvVwJY
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มีนาคม 2016
  14. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    จเช ธนํ องฺควรสฺส เหตุ องฺคํ จเช ชีวิตํ รกฺขมาโน
    องฺคํ ธนํ ชีวิตญฺจาปิ สพฺพํ จเช นโร ธมฺมมนุสฺสรนฺโต

    พึงสละทรัพย์ เพื่อรักษาอวัยวะ พึงสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต
    เมื่อเล็งเห็นประโยชน์สูงสุด พึงสละทั้งอวัยวะ และชีวิต เพื่อรักษาธรรมไว้

    https://youtu.be/QxPyyCvynLA
    *ขอเรื่องนี้สักเรื่อง เพราะเราเป็นผู้เสียหายโดยตรง เรา ว่าที่ พระภิกษุฉายา ธรรมบุตร ธรรมราชา ขอประกาศเป็นศัตรูกับโฆฆะบุรุษอย่าง คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล ผู้เป็นโฆฆะบุรุษในพระพุทธศาสนาเกิดมาเพื่อสร้างสัทธรรมปฎิรูปให้บังเกิด และประกาศทำลาย อภยปริตร สำนักนั้นก็คือสำนักวัดนาป่าพง นั่นคือสัญญานการเกิดเหตุและเภทภัยทั้ง ๕ ประการ ในทุกกึ่งพุทธกาลจะเกิดธาตุอันตรธานปริวัตต์
    คือ ความเสื่อมสูญเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา มี ๕ ประการ
    ๑.ปริยัติอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งพระปริยัติ
    ๒.ปฏิบัติอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งการปฏิบัติ
    ๓.ปฏิเวธอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งการสำเร็จมรรคผลนิพพาน
    ๔.ลิงคอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งเพศสมณะ
    ๕.ธาตุอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งพระบรมธาตุ
    เราขอประกาศ ว่าเราเป็นผู้ที่เข้าถึง๐ปฎิสัมภิทาญาน๐ เป็นผู้เชี่ยวชาญรอบรู้ในปฎิสัมภิทาญานในยุคปัจจุบันนี้ และในประเทศนี้ ซึ่งในกาลเวลานี้ ยังไม่มีผู้ใดจุติธรรมตามเรามา และไม่มีผุ้ใด ที่สามารถวิสัชนาหรือปรารภกถาปฎิสัมภิทาญาน ได้เทียมเท่าเราแม้แต่เพียงผู้เดียว และเราขอต่อต้านสำนักวัดนาป่าพง ที่สร้างสัทธรรมปฎิรูปโดยคึกฤทธิ์และคณะ ไปตราบสิ้นลมหายใจ
    "อภยปริตร"
    พระสัทธรรมของพระพุทธเจ้า ใน [o]พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทดั้งเดิม[o] หรือ {O} ทิพยวิเศษบริสุทธิธรรม {O} อันจุติธรรมด้วย [ปฏิสัมภิทาญาน] ได้ถูกถอดโดยสำนักวัดนาป่าพง และถูกบัญญัติใหม่ให้เป็นเดรัจฉานวิชา
    ***********เราขอท้าคึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล และ ทั้งลูกศิษย์ในสำนักทุกผู้ทุกตัวตนเลย ว่า"ปฎิสัมภิทาญาน"คืออะไร? มีผลอย่างไร เกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง และจงนำมาโพสตอบคำถามนี้ด้วย ถ้าแม้นสำนักตน ยังไม่รู้จัก ก็อนุเคราะห์ส่งเสริมให้ ไปถามท่านผู้รู้ใครก็ได้ในโลกใบนี้ หรือ สหโลกธาตุอื่นก็ได้ ในยุคนี้ ถ้าไม่มาตอบก็หมายความว่า คึกฤทธิ์และคณะลูกศิษย์แห่งสำนักวัดนาป่าพง ไม่มีคุณสมบัติ ๕ ประการในสากัจฉสูตร ************
    แต่เราคือผู้มีคุณสมบัติ ๕ โดยปฏิบัติอย่างไรสอนอย่างนั้น
    สากัจฉสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็น
    ผู้ควรสนทนาของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภสีลสัมปทาได้ ๑ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภสมาธิสัมปทาได้ ๑ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภปัญญาสัมปทาได้ ๑ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภวิมุตติสัมปทาได้ ๑ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภวิมุตติญาณทัสสนสัมปทาได้ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้
    แล ย่อมเป็นผู้ควรสนทนาของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ฯ

    ถ้าไม่รู้ อย่าสำคัญตนว่ารู้อรรถรู้ธรรม และมาจำแนกสั่งสอนคนไปในทางที่ผิดๆ เกินภาระหน้าที่ในคุณความสามารถที่มีในตน
    ผู้อ้างตนว่ารู้จักอรรถรู้จักธรรม แต่ ไม่รู้จักอรรถไม่รู้จักธรรมใน ปฎิสัมภิทามรรค ก็จะเป็น บุคคลที่อ้าง พุทธวจน ที่ไม่ถูกต้องและสมบูรณ์ ย่อมเป็นผู้ทำลายคุณความหมายและถอดถอนทำลายพระสัทธรรม ผู้ใดที่เหยียบย่ำองค์คุณในปฎิสัมภิทาญาน ของพระพุทธศาสนา ก็ย่อมมีจุดจบที่ไม่แตกต่างกันในจนถึงที่สุด
    ใครอยากจะเป็นเช่นนั้น ก็แล้วแต่กรรมแล้ว บุคคลเช่นนี้ ต่อให้พบพระพุทธเจ้าตรงหน้าก็ไม่มีทางได้อะไร? เพราะเข้าใจและเห็นว่า ในสิ่งที่ เป็นธรรม กล่าวว่านั่น ไม่เป็นธรรม
    ขอจบไว้ตรงนี้ มีคุณสมบัติ ๕ ประการ ในสากัจฉสูตรเมื่อไหร่ ค่อยมาเสวนาธรรมสากัจฉากัน ไม่งั้นก็ไม่มีความสามารถที่จะวิสัชนาและพยากรณ์ที่ปรารภมาในกถา อรรถธิบายที่เราแสดงมาในเรื่อง ปฎิสัมภิทาญาน ได้ พูดตามตรง คือต้อง ได้ปฎิสัมภิทาญาน จึงจะเข้าใจเรามากที่สุด ถ้าไม่มีก็จงสงบเสงี่ยมเจียมตัว
    *************************************************************
    คงจะพอรู้นะว่าคุณวิเศษของปัจเจกอริยะบุคคลจะส่งผลอย่างไรกับผู้ประทุษร้าย ใครอยากลองก็ขอให้ผู้นั้นเจริญๆ
    โย ทณฺเฑร อทณฺเฑสุ
    อปฺปทุฎฺเฐสุ ทุสฺสติ
    ทสนฺนมญฺญตรํ ฐานํ
    ขิปฺปเมว นิคจฺฉติ ฯ
    ผู้ทำร้ายลงทัณฑ์แก่บุคคล
    ผู้ไม่เบียดเบียน ไม่ทำร้ายใคร
    ย่อมได้รับผลสนองกลับอย่าง
    อย่างใดอย่างหนึ่งทันตาเห็น
    เวทนํ ผรุสํ ชานึ
    สรีรสฺส จ เภทนํ
    ครุกํ วาปิ อาพาธํ
    จิตฺตกฺเขปํว ปาปุเณ ฯ
    ได้รับเวทนาอย่างรุนแรง
    ได้รับความเสื่อมเสีย
    ถูกทำร้ายร่างกาย
    เจ็บป่วยอย่างหนัก
    กลายเป็นคนวิกลจริต
    ราชโต วา อุปสคฺคํ
    อพฺภกฺขานํ ว ทารุณํ
    ปริกฺขยํ ว ญาตีนํ
    โภคานํ ว ปภงฺคุณํ ฯ
    ต้องราชภัย
    ถูกกล่าวหาอย่างรุนแรง
    ไร้ญาติพี่น้อง
    ทรัพย์สมบัติก็พินาศสิ้น
    อถวาสฺส อคารานิ
    อคฺคิ ฑหติ ปาวโก
    กายสฺส เภทา ทุปฺปญฺโญ
    นิรยํ โส อุปปชฺชติ ฯ
    หรือไม่บ้านเรือนของเขาย่อมถูกไฟไหม้
    ตายไป เขาผู้ทรามก็ตกนรก
    *************************************************
    ใจความนี้คือปฎิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรม
    "ควรพิจารณาธรรมทั้งทุกหมวด ให้ทั่วถึงตามฐานะกาลของตน"
    บัณฑิตผู้เจริญในธรรมทั้งหลาย ควรเลือกเฟ้นพิจารณาธรรม ตามจริตธรรมที่สามารถเข้าถึงได้ในตน ด้วยอานุภาพของบุญบารมีที่สั่งสมมาก่อน และด้วยวุฒิปัญญาของตน ในชาติภพนี้ด้วยไปตามลำดับ อย่างมีความเคารพและตั้งใจ ละเอียดอ่อนในทุกๆห้วงความคิดพินิจพิจารณา หากคิดผิดเข้าใจผิด ก็หาหนทางแก้ไข จากสำนักอาจารย์ ท่านผู้รู้ที่อยู่ใน("สารคุณ") แม้เราเองก็จะต้องเพียรพยายาม พิจารณาธรรมเหล่านี้ด้วยตามฐานะกาล ตามสติปัญญาอันจะพึงมีพึงเกิดได้
    คือ
    "สิ่งที่ควรระมัดระวัง"
    ไม่ควรพิจารณาถึงธรรมที่ตนเองก็มิได้กระทำวัตรปฎิบัติให้ถึง โดยที่สภาวะของตนไม่เอื้ออำนวยแก่การบรรลุธรรมนั้น เพราะจะถูกบีบคั้นจากสภาวะทั้งปวงรอบข้างเป็นอย่างมากเพราะรู้แล้วไม่ปฎิบัติ ย่อมถือว่าไม่รู้ อุปมาเสมือนบุคคลขับยานพาหนะ ไปในท้องถนนที่คับคั่งแออัดไปด้วยยวดยาน เห็นสัญญานไฟแดงเตือนให้รถหยุด รู้แต่ยังดื้อดึงขับฝ่าย่อมมีเหตุอันตรายให้มาถึง
    ธรรมอื่นที่ทำให้ถึงปฎิบัติให้ถึงได้ทันที ทำหมดหรือยัง ? นี่คือความชัดเจน
    {O}ผู้เห็นธรรมมีเพียง ๓ สถานะ{O}เท่านั้น (เป็นเรื่องอจินไตยหากจะกล่าวถึงการกำเนิดของพระธรรมคัมภีร์)
    " ผู้เห็นธรรม๑ คือเห็นธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์,พระปัจเจกพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้เห็นโดยตรง" ซึ่ง"พระธรรมแม่บท"โดยปฎิสัมภิทาญาน"
    " ผู้เห็นธรรม๒ คือการพิจารณาธรรมตามพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรงด้วยพระประสงค์ให้เห็นตามด้วยพระทศพลญาน
    " ผู้เห็นธรรม๓ คือการพิจารณาธรรมตามพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สืบทอดจารึก ท่องจำมุขปาฐะตีพิมพ์กันมาด้วยความเพียรพยายาม ด้วยสภาวะบุญอันเข้าถึงในอดีตชาติที่สั่งสมการพิจารณาใคร่ครวญปฎิบัติมาดีแล้ว
    "จงพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงเถิดว่า"
    องค์สมเด็จพระบรมมหาศาสดาทรงจำแนกพระธรรมคำภีร์คำสั่งสอนออกมาเป็นทางสายกลางสายเดียวไม่มีแปลกแยกเป็นอื่น ผู้ที่ถือพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทโดยปฎิสัมภิทาญานได้ "เปรียบเสมือนผู้ถือแท่งทองชมพูนุช"เป็นแม่แบบ เป็น"รัตนมหาธาตุ"ย่อมสามารถมองล่วงรู้เห็นว่า ทองคำแท่งใดปลอมปน วัสดุอื่นตามได้อย่างละเอียด ว่ามีเหล็กบ้าง ตะกั่วบ้าง เป็นต้น ถ้าถึงกาลเวลานั้น คือมีผู้สามารถรวมรวมการแตกแยกของนิกายทั้งหมดมารวมกันเป็นหนึ่งเดียวได้เมื่อไร ด้วย ปาฎิหาริย์ ๓ ตอนนั้นจักรวรรดิธรรม ก็จะพร้อมเรียกชื่อ นิกาย อันมีนามแท้"ดั้งเดิม" อันเป็นนามที่แท้จริงของพระศาสนา เหมือนกับสมัยพุทธันดรก่อนๆ นั้นแล
    ปริศนาธรรมนี้ เราแก้ปัญหาและแสดงอรรถาธิบายให้ท่านโดยสมบูรณ์ยิ่งสุดความสามารถในกาลแล้ว [แสดงหัวข้อปัญหาธรรมใหญ่] เพื่อให้ได้ล่วงรู้ ในสิ่งที่ไม่เคยจะได้ยินได้ฟังได้รู้ อย่างชัดแจ้ง ถึงปัญหาของการทรงอยู่และลบเลือนแห่ง{พระสัทธรรม} การกำเนิด*สัทธรรมปฎิรูป*ที่กำเนิดในพระพุทธศาสนาและ#อสัทธรรม#ซึ่งเป็นคัมภีร์นอกพระพุทธศาสนาทั้งในที่เปิดเผยและลึกลับซ่อนเร้น อันเกินวิสัยสามัญบุคคลธรรมดาทั่วไปจะมองเห็นได้ ตามที่ปรากฎในการแสดงตามภาวะฐานะธรรมให้แล้ว ขอท่านทั้งหลายจงเจริญ ในธรรมอันดีขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้ดีแล้วนั่นเถิด
    สิ่งที่เราไปยึดนั้นหากเป็นสิ่งที่เป็น๐สัมมาทิฐิ๐จะเป็นเส้นสายตรงดิ่ง ทอดยาวถึงจุดหมายมีผลในการเจริญเข้าถึงสรรพธรรม แต่ถ้าเป็น#มิจฉาทิฐิ# ก็จะหมุนวนพันกันไปกันมาจับต้นชนปลายไม่ถูกทำให้ไม่มีทางเข้าถึงสรรพธรรมอันเจริญกว่าที่เสวยเวทนาอยู่ได้ อรรถนี้สาธยายโดยพิสดารโดย "เผยให้เห็นวิมุตติ แต่ถ้าผู้มีปัญญาธรรมอันสั่งสมมาดีแล้ว จะทราบรส อันสืบเนื่องมาจาก วิมุตติรส
    อรรถวาจาที่กล่าวเป็นการชี้ให้เห็นแนวทางการปฎิบัติทางเสื่อมเสียสูญ และยังแฝงฐานะที่ยังไม่สามารถเอาดีในทางใดๆนั้นได้ด้วย จะดีก็ยังไม่เอา จะเลวก็เป็นไม่ได้ หยุดอยู่กลับที่เสมือนบุคคลผู้หลงทางในการปฎิบัติ ท่านควรเดินทางอย่างระมัดระวัง พิษของเสี้ยนหนามกรวดแก้วขรุขระมีคมที่ยึดถือเดินอยู่ ไม่ใช่หนทางที่ควรปฎิบัติ ควรยอมรับตนและล้างใจให้สะอาดเถิด กี่มากน้อยแล้วบุคคลผู้ติดขัดในธรรม ผู้ย่อหย่อนทั้งหลาย กลับสามารถสำเร็จธรรม กลายมาเป็นยอดผู้รู้และอยู่ในสารคุณในอริยะวินัย
    "เรารอมานานแล้วที่จะได้กล่าวธรรมอย่างที่แสดงเอาไว้นี้ โดยพิศดารนั่นก็คือฐานะหนึ่งที่ยืนยันในการที่เรา เป็นผู้ที่รู้เห็นใน" พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทดั้งเดิม "ด้วยปฎิสัมภิทาญาณ เพื่อความสิ้นสงสัย เรานั้นก็ปราถนาให้ท่านทั้งหลายที่เห็นเนื้อความในอรรถที่เราแสดงเอาไว้โดยพิสดารนี้ ได้เป็นผู้ที่รู้ที่เห็น " พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทดั้งเดิม " ด้วยปฎิสัมภิทาญาณ เฉกเช่นเดียวกัน เราจึงไม่เป็นผู้มีความปรารถนาทรามปกปิดพระธรรมเอาไว้ เป็นผู้เปิดเผยและเอื้อเฟื้ออนุเคราะห์ในพระธรรม สมดังตรงตามที่พระบรมมหาศาสดาตรัสให้สอนเราเป็นธรรมทายาทที่ดี เมื่อรู้ดังนี้แล้วจงน้อมนำศรัทธาเข้าสู่ความเพียรพยายามอุตสาหะในการปฎิบัติเพื่อสรรเสริญบูชาอันพระรัตนตรัย เพื่อความสุขสวัสดิ์สถาพรของเหล่ามหาชนนั้นเทอญฯ"
    ภิกษุ ในกรณีนี้ ผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญามาก ย่อมไม่คิดไป
    ในทางทำตนเองให้ลำบากเลย ไม่คิดไปในทางทำผู้อื่นให้ลำบาก ไม่คิดไป
    ในทางทำทั้งสองฝ่ายให้ลำบาก เมื่อจะคิด ย่อมคิดอย่างเป็นประโยชน์
    เกื้อกูล แก่ตนเองเป็นประโยชน์ เกื้อกูลแก่ผู้อื่น เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ทั้งสองฝ่าย คือเป็นประโยชน์เกื้อกูล แก่โลกทั้งปวงนั่นเอง. ภิกษุ ! อย่างนี้
    แล ชื่อว่า ผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญามาก.

    {O}สรรพธรรมใด ที่นำพาอริยกุศลมาสู่ตนเองและยังผลแก่ผู้อื่นสรรพธรรมนั้น ล้วนเป็นที่ประเสริฐล้ำค่าเป็นที่มาแห่งการขจัดทุกข์บำรุงสุข และหลุดพ้นจากความไม่เที่ยงแท้ไม่แน่นอน ในการเวียนว่ายตายเกิด ในแดนวัฎสงสารให้จบสิ้นไป{O}
    {O}สรรพธรรมใด ที่นำพาอกุศลกรรมมาสู่ตนเองและผู้อื่น สรรพธรรมนั้นล้วนเป็นที่มาแห่งความทุกข์ทนทรมาน ในการเวียนว่ายตายเกิด ต้องเผชิญกับความไม่เที่ยงแท้แน่นอน ในแดนวัฎสงสารอย่างไม่มีที่่จบสิ้นไป{O}
    ความรู้นี้ไม่มีในร่างกาย ไม่มีในสมองเน่าๆของเรา นี่ไม่ใช่เรา ขออนุโมทนาบุญฯ
    ว่าที่ พระธรรมบุตร ธรรมราชา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 เมษายน 2016
  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    คึกฤทธิ์เป็นผู้ไม่รู้จัก**ปฎิสัมภิทาญาน** และไม่รู้จักกำลังแห่งพระทศพลญาน ๑๐ ซึ่งเป็นญานขององค์สมเด็จพระบรมมหาศาสดา ว่ามีความสามารถอย่างไร ไม่สามารถวิสัชนาพยากรณ์กถาที่ปรารถมาในพระสัทธรรมให้บริสุทธิ์ได้ เป็นผู้หลงทางมืดบอดในยุค มีจริตธรรมที่ต่ำช้า ลุแก่อำนาจนำอามิสทายาทที่เลี้ยงชีวิตด้วยเดรัจฉานวิชา ไปเปรียบเทียบปะปนกับพระมหาเถระ ตลอดจนเถรคาถาต่างๆ ว่าเป็นชนหมู่เหล่าพรรคพวกเดียวกัน เชือถือไม่ได้ โดยที่ตัวคึกฤทธิ์และสติปัญญาของคึกฤทธิ์เอง ไม่ได้บรรลุธรรมหรือคุณวิเศษอันใดเป็นแก่สารแก่มรรคผลเลย แม้แต่โลกียญาณ จงจดจำความพ่ายแพ้นี้ไว้ตลอดชีวิตเถิด "คึกฤทธิ์ เจ้าคนพาล"

    "ปฏิสัมภิทามรรคปกรณ์นี้นั้นสมบูรณ์ด้วยอรรถะ, พยัญชนะ, ลึกซึ้ง, มีอรรถลึกซึ้ง, ประกาศโลกุตระ, ประกอบด้วยสุญญตา
    ด้วยประการฉะนี้ นิรุตติปฏิสัมภิทานี้ ชื่อว่ามีสัททะคือเสียงเป็นอารมณ์ มิได้มีบัญญัติเป็นอารมณ์. เพราะเหตุไร? เพราะพระอริยบุคคลได้ยินเสียงแล้วย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, นี้มิใช่สภาวนิรุตติ.
    จริงอยู่ พระอริยบุคคลผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา ครั้นเขาพูดว่า ผสฺโส ก็ย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, ครั้นเขาพูดว่า ผสฺสา หรือ ผสฺสํ ก็ย่อมรู้ว่า นี้มิใช่สภาวนิรุตติ.
    แม้ในสภาวธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน."
    *********************************************************
    คึกฤทธิ์ผู้ไม่รู้จักปฎิสัมภิทาญาน ในสัญญาโดย พระไตรปิฏกพระธรรมคำภีร์ธรรมแม่บทดั้งเดิม{O} ทิพยวิเศษบริสุทธิธรรม{O} ]o[พระธรรมราชา]o[

    แต่เก่งกาจกล้าหาญชาญชัย มาทำลาย อ้างเป็นคำสาวกคิดขึ้นมาเอง โดยไม่รู้จักสัจฉิกัฐถปรมัตถ์ธรรม และน่าเสียใจ ที่คึกฤทธิ์ต้องพาเหล่าสาวกของตนเองไปลงนรกด้วยกัน ขนาดเผยธรรมโดยไม่ตระหนี่ ออกมาช่วยชี้ทางสว่างให้ขนาดนี้ ก็ยังไม่ลดอัตตาของมาร๕ แต่เชื่อเถอะว่า คนที่พอฉลาดในธรรมมีมรรคผล รู้ผิดชอบชั่วดี มีบุญเก่าส่งเสริม เขาจะทยอยออกมาเอง ตามกาล จะเหลือแต่คนที่โง่ๆไปนรก เพราะในอดีตชาติ มันก็เป็นทาสมาร๕มาก่อน ชาตินี้มันจึงไปศิโรราบมาร๕ เกิดใหม่มาแทนที่จะเลิกเป็นมาร ตีตัวออกห่าง ดันไม่เลิกนิสัยเดิม ที่เห็นกงจักรเป็นดอกบัว

    มารที่ไหนจะสอนธรรมงั้นหรือ? เยอะแยะไป มารที่สอนธรรมผิดๆ แต่คิดว่าตนถูกน่ะ ! สงสารชาวบ้านชาวเมืองที่ไปหลงเป็นสาวกตนเองบ้างเถอะ! ลาภยศสรรเสริญชื่อเสียงเงินทอง การขวนขวายแสวงหาในทางที่ผิดน่ะ พอได้แล้ว ถ้าคนมันบริสุทธิ์จริง แสดงธรรมงดงามสมบูรณ์ตามจริงและดีจริง บุคคลผู้ฉลาดในธรรม เขาจะออกมาตำหนิติเตียนทำไม คิดบ้าง พอเขาให้อธิบายก็บ่ายเบี่ยง อ้างเอาแต่พระบรมมหาศาสดามาข่มขู่สาธุชน ให้เกิดด่างพร้อยในศรัทธาธรรม อย่างผิดหลักกลามสูตร โดยยึดมานะทิฏฐิของตนเองเป็นใหญ่ นี่หรือคือ พระสงฆ์ที่อ้างตนว่าประเสริฐเลิศเลอที่สุดในพระพุทธศาสนา




    ด้วยสมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงประกอบด้วยพละ ๑๐ ย่อมปรากฏ ประจักษ์ รู้ได้ด้วยเวสารัชชญาณ ๔ ปฏิสัมภิทา๔ อภิญญา ๖ พุทธธรรม ๖ เดชธรรม พลธรรม คุณธรรม วิริยะ ปัญญา.
    และท่านสารีบุตร
    อุปติสสปริพาชก หรือท่านสารีบุตรบวชเป็นภิกษุได้ ๑๕ วัน ภิกษุสารีบุตร ได้ฟังธรรมเทศนา ของพระศาสดา ที่ทรงแสดงแก่ ทีฆนขปริพาชก ณ ถ้ำสุกรขาตา เขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์ ญาณ (ความรู้แจ้ง ในสัจธรรม) บารมีบังเกิดขึ้น ได้บรรลุธรรม เป็นพระอรหันต์ องค์หนึ่ง มีคุณวิเศษ เหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖

    เป็นธรรมดาสามารถที่ท่านสารีบุตรเป็นเพียงพระอัครสาวก ไม่ใช่ฐานะที่จะมีพระทศพลญาน ๑๐ อันหยั่งรู้ความสามารถของบุคคลอย่างแจ่มชัดได้ทั้งหมด ฯ โดยเฉพาะกับพุทธะเวไนย ที่องค์สมเด็จพระบรมมหาศาสดาต้องทรงตรัสสอนเอง นี่เป็นการแสดงฐานะอันทรงพระปรีชาญานของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่การตำหนิติเตียน พระสาวกอย่างที่ คึกฤทธิ์และบริษัทของคึกฤทธิ์เข้าใจและจาบจ้วงพระมหาอัครสาวกอยู่ บาปมหันต์นัก

    ในเรื่องที่ทรงตรัสถาม การพิจารณาว่าด้วยเหตุที่พระเทวทัตทำลายสงฆ์แล้ว พาภิกษุประมาณ๕๐๐ รูป หลีกไปทางคยาสีสะประเทศ ฯ
    ครั้งนั้น พระสารีบุตรพระโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
    ถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านพระสารีบุตรนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระเทวทัตทำลายสงฆ์แล้ว พาภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปหลีกไปทางคยาสีสะประเทศ
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร โมคคัลลานะ พวกเธอจักมีความการุญในภิกษุใหม่เหล่านั้นมิใช่หรือ พวกเธอจงรีบไป ภิกษุเหล่านั้นกำลังจะถึงความย่อยยับ
    พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะทูลรับสนองพระพุทธพจน์แล้ว ลุกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วเดินทางไปคยาสีสะประเทศ ฯ
    เพราะเหตุไร เพราะพระภิกษุ ๕๐๐ นั้น ไม่อยู่ในสารคุณมากเพียงพอ และจักถึงคราวิบัติ จึงได้ถูกชักจูงง่ายด้วยคำกล่าวที่ว่าร้ายพระอริยะทั้งหลาย" เป็นผู้มุ่งความเสื่อมเสีย ติโทษเอาซึ่งพระอริยะทั้งหลาย พระพุทธเจ้า ด้วยการที่พระเทวทัตกราบทูลข้อเสนอ ๕ ประการ (วัตถุ ๕ ) ต่อพระบรมศาสดา แต่พระบรมศาสดาทรงปฏิเสธใน ๔ ข้อข้างต้น แต่ภิกษุใดจะปฏิบัติโดยสมัครใจก็ไม่บังคับ
    และในข้อที่ ๔ นั้นทรงอนุญาตให้อยู่โคนไม้ได้ ๘ เดือน ช่วงเข้าพรรษาซึ่งตรงกับฤดูฝนให้อยู่ประจำวัด ส่วนข้อที่ ๕ นั้นทรงอนุญาตให้ฉันเนื้อที่บริสุทธิ์โดยเงื่อนไข ๓ ประการ คือ
    ๑. ไม่ได้เห็น
    ๒. ไม่ได้ฟัง
    ๓. ไม่ได้นึกรังเกียจว่าเขาฆ่ามาเพื่อตน

    จึงถึงกิริยาอาการด้วยการลบล้างคุณ "สมณธรรมของบุคคลเหล่านี้ไม่มี บุคคลเหล่านั้นไม่เป็นสมณ" เป็นการ "ว่าร้ายโดยมุ่งลบล้างคุณ" ซึ่งสำหรับบัณฑิตผู้เป็นปราช์ญแล้ว ผู้ที่เคารพนอบน้อมในพระสัทธรรม เคารพในองค์สมเด็จพระบรมมหาศาสดา อย่างท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรย่อมไม่เห็นดีเห็นงาม และจักเคร่งครัดในสารคุณจึงไม่ยินดีและยินยอมให้ภิกษุทั้ง ๕๐๐ ที่ติดตามพระเทวทัต กระทำการที่ไม่ดีงามในฐานะสงฆ์อีก ถ้าบวชให้ใหม่ สอนใหม่ให้สิกขาบทใหม่ก็เป็นฐานะที่มีได้

    จึงเป็นเหตุให้บัญญัติพระวินัยออกมาควบคุม ซึ่งทรงได้ล่วงรู้ด้วยพระทศพลญานล่วงหน้าอยู่แล้ว พระพุทธองค์ได้ทรงชี้แจงต่อที่ประชุมพระสงฆ์สาวกว่า การบัญญัติพระวินัยนั้นมีประโยชน์ต่อพระสงฆ์จำนวนมาก ต่อพระศาสนาและต่อพระสาวกที่มีศีลเป็นที่รัก พระพุทธองค์ทรงชี้ให้เห็นประโยชน์ ๑๐ ประการ ที่เกิดจากการบัญญัติพระวินัยไว้ดังนี้
    ๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์
    ๒. เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์
    ๓. เพื่อข่มบุคคลผู้แก้ยาก
    ๔. เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก
    ๕. พื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
    ๖. เพื่อกำจัดอาสวะอันจักมีในอนาคต
    ๗. เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
    ๘. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว
    ๙. เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
    ๑๐. เพื่อถือเอาตามพระวินัย (ยึดหลักพระวินัยเป็นปทัฏฐาน)
    มูลบัญญัติ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มาติกา คือสิกขาบทที่ตั้งไว้เป็นบทแม่ การบัญญัติพระวินัยนี้
    พระพุทธองค์มิได้ทรงบัญญัติไว้ล่วงหน้า ต่อเมื่อมีเหตุการณ์ความเสียหายน่าติเตียนของภิกษุบางรูปเกิดขึ้น พระพุทธองค์จึงประชุมพระสงฆ์สาวกทั้งหมด ไต่สวนมูลความผิดที่เกิดขึ้นว่าเกิดขึ้นจริงตามนั้นหรือไม่ และชี้แจงให้เห็นโทษความเสียหายที่เกิดจากความประพฤติของภิกษุบางรูปนั้นแล้ว ทรงถือเอาข้อความผิดนั้นเป็นต้นเหตุซึ่งเรียกว่า อาทิกัมมิกะ ทรงบัญญัติห้ามภิกษุรูปอื่นประพฤติเช่นนั้นอีก ถ้าใครฝ่าฝืนประพฤติเช่นนั้นอีกจะต้องอาบัติ คือ ต้องโทษ และแม้สิกขาบทอื่น ๆ ก็ตาม พระพุทธองค์ก็ทรงอาศัยเหตุเช่นนั้นเป็นมูลบัญญัติในการบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกเช่นกัน
    ***************************************************************
    หลังจากพระพุทธองค์ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ จำพรรษาและแสดงพระอภิธรรม ณ ดาวดึงส์ เสด็จลงมา ณประตูเมืองสังกัสสะ พระสารีบุตรพร้อมทั้งภิกษุ ภิกษุณี และสาธุชนจำนวนมาก มาเฝ้ารอรับเสด็จ
    พระพุทธองค์ได้ตรัสถามปัญหาในวิสัยของปุถุชนเป็นต้น พวกปุถุชนแก้ปัญหาได้ ในวิสัยของตนเท่านั้น ไม่สามารถจะแก้ปัญหา ในวิสัยของพระโสดาบันได้ พระอริยบุคคลทั้งหลาย มีพระโสดาบันเป็นต้นก็เหมือนกัน ไม่สามารถจะแก้ปัญหา ในวิสัยของพระอริยบุคคลทั้งหลาย มีพระสกทาคามีเป็นต้น พระมหาสาวกที่เหลือ ไม่สามารถจะแก้ปัญหา ในวิสัยของพระมหาโมคคัลลานะ พระมหาโมคคัลลานะไม่ สามารถจะแก้ปัญหา ในวิสัยของพระสารีบุตรเถระได้ แม้พระสารีบุตรเถระ ก็ไม่สามารถจะแก้ปัญหาในวิสัยของพระพุทธเจ้าได้เหมือนกัน
    ในครั้งนั้น มหาชนจึงได้รู้จักพระสารีบุตร ว่า เป็นผู้เลิศทางปัญญา
    พระสารีบุตร เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีปัญญามาก ฯ
    เวไนยบุคคล หรือ เวเนยยบุคคล นั้นได้แก่ บุคคลที่พึงแนะนำได้ บางคนก็เป็นพุทธเวไนย คือเป็นบุคคลที่พระพุทธเจ้าจะพึงแนะนำได้เท่านั้น มิใช่วิสัยของผู้อื่นที่จะแนะนำ อย่างเช่น สุภัททปริพาชกที่เข้ามาทูลถามปัญหากับพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตอนที่พระองค์จะเสด็จดับขันธ์ ปรินิพพาน เป็นต้น {O}สุภัททปริพาชกนั้นเป็นพุทธเวไนย ต้องพระพุทธเจ้าทรงโปรดจึงจะสำเร็จมรรคผลได้{O} " แต่บางท่านก็เป็นสาวกเวไนย คือเป็นบุคคลที่พระสาวกของพระพุทธเจ้า จะพึงแนะนำให้ตรัสรู้ธรรมได้ สำหรับพระพุทธเจ้านั้นก่อนที่พระองค์จะทรงแสดงธรรม ในตอนใกล้รุ่งพระองค์จะทรงตรวจดูหมู่สัตว์โลก ด้วยพระญาณของพระองค์เสียก่อนว่า ใครบ้างในวันนี้ที่พระองค์สามารถจะทรงแนะนำ ให้เข้าถึงสรณคมน์ และมรรคนิพพานได้ หรือใครที่พระองค์จะพึงแนะนำให้เขาได้เพียง ให้ทาน หรือรักษาศีล ถ้าทรงตรวจแล้วทรงทราบก็จะเสด็จไปโปรดผู้นั้น แม้ว่าจะอยู่ไกลแสนไกลก็ตาม

    จะบอกว่า พระสารีบุตรให้กรรมฐานผิดข้อนี้จึงตกไปเพราะไม่ใช่ฐานะ เพราะไม่รู้อัชฌาสัยของสัทธิวิหาริกของตนว่าเป็นพุทธเวไนย แต่ด้วยความเพียรของท่านในฐานะครูต้องพยามอย่างสมความสามารถ เมื่อพิจารณาจนถึงที่สุดแล้วจึงพาสัทธิวิหาริกของท่านหรืออดีตบุตรนายช่างทอง ไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระบรมมหาศาสดาทรงตรัส “ดูก่อนพระสารีบุตร เธอจะเห็นภิกษุที่เธอมอบกรรมฐานให้ และทำให้ลำบากตลอดทั้ง ๔ เดือน ในวันนี้ตถาคตจะทำให้ลูกศิษย์ของเธอบรรลุอรหันต์ไม่เกินเย็นนี้ ไปเถอะสารีบุตรไม่ต้องเป็นห่วง” และสัทธิวิหาริกผู้นั้นก็บรรลุธรรมในเย็นวันนั้น
    **************************************************************
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    สารีบุตร เราติเตียนกรรมไรๆ อันเป็นไปทางกายหรือทางวาจาของเธอไม่ได้เลย
    สารีบุตร เธอเป็นบัณฑิต สารีบุตร เธอเป็นผู้มีปัญญามาก เป็นผู้มีปัญญาแน่นหนา
    สารีบุตร เธอเป็นผู้มีปัญญาชวนให้ร่าเริง เป็นผู้มีปัญญาว่องไว เป็นผู้มีปัญญา
    หลักแหลม เป็นผู้มีปัญญาสยายกิเลสได้
    สารีบุตร โอรสพระองค์ใหญ่ของพระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมยังจักรอันพระราชบิดา
    ให้เป็นไปแล้ว ให้เป็นไปตามได้โดยชอบ ฉันใด สารีบุตร เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    ย่อมยังธรรมจักรอันยอดเยี่ยม อันเราให้เป็นไปแล้วให้เป็นไปตามได้โดยชอบแท้จริง ฯ

    ************************************************
    อานนท์ ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล ไม่ใช่คนมุทะลุ ไม่ใช่คนงมงาย
    ไม่ใช่คนมีจิตวิปลาส จะไม่ชอบสารีบุตร ฯ


    คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล แห่งสำนักวัดนาป่าพง และคณะลูกศิษย์ผู้โง่เขลาในพระสัทธรรม เป็นคนมีปัญญาอันมืดบอด กระทำตนให้ตกอยู่ในดินแดนแห่งความพินาศอย่างโง่เขลา คือ*คนพาล*ในที่นี้ ที่ไม่ล่วงรู้การมีอยู่ของพระสัทธรรม พระธรรมราชา พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บท ทิพยวิเศษบริสุทธิธรรม โดยปฎิสัมภิทาญาน แต่อวดอ้างตนรู้พุทธวจนะ ประกาศคำพุทธวจนะ โดยไม่มีคุณสมบัติ ๕ ประการ ในสากัจฉสูตร จึงไม่สามารถพยากรณ์กถาธรรมต่างๆได้อย่างถูกต้องได้ เป็นผู้ลบล้างพระสัทธรรม อย่างแท้จริงในยุคกึ่งพุทธกาลนี้ ด้วยต้องบุพกรรมที่ทำไว้ในเอนกอนันตชาติ กับพระพุทธศาสนาและ พระสงฆ์สาวกทั้งหลายฯ จึงต้องถึงคราวิบัติในชาตินี้

    ********************************************
    อนุวัตตนสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระเจ้าจักรพรรดิ์
    ทรงประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ ย่อมทรงยังจักรที่พระราชบิดาทรงให้เป็นไปแล้วให้เป็นไปตามโดยธรรมทีเดียว จักรนั้นย่อมเป็นจักรอันมนุษย์ผู้เป็นข้าศึกใดๆจะต้านทานมิได้ องค์ ๕ ประการเป็นไฉน คือ พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงรู้จักผล ๑ ทรงรู้จักเหตุ ๑ ทรงรู้จักประมาณ ๑ ทรงรู้จักกาล ๑ ทรงรู้จักบริษัท ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล ย่อมทรงยังจักรที่พระราชบิดาทรงให้เป็นไปแล้วให้เป็นไปตามโดยธรรมทีเดียว จักรนั้นย่อมเป็นจักรอันมนุษย์ผู้เป็นข้าศึกใดๆ จะต้านทานมิได้ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสารีบุตรประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมยังธรรมจักรชั้นเยี่ยมที่ตถาคตให้เป็นไปแล้ว ให้เป็นไปตามโดยชอบเทียว ธรรมจักรนั้นย่อมเป็นจักรอันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหมหรือใครในโลก จะคัดค้านไม่ได้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ พระสารีบุตรในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้รู้จักผล ๑ รู้จักเหตุ ๑ รู้จักประมาณ ๑ รู้จักกาล ๑ รู้จักบริษัท ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสารีบุตรประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แลย่อมยังธรรมจักรชั้นเยี่ยม ที่ตถาคตให้เป็นไปแล้วให้เป็นไปตามโดยชอบเทียวธรรมจักรนั้นย่อมเป็นจักรอันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆในโลก จะคัดค้านไม่ได้ ฯ
    *****************************************
    "น้องชายของท่านผู้ต้องบุพกรรมเกิดตามกันมา
    สามเณรเรวตะได้บรรลุพระอรหัตผล พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย เป็นพระอรหันต์ในพรรษานั้น เพราะท่านอยู่ในป่าไม้ตะเคียนเป็นเวลานานจึงได้นามใหม่ว่า “พระเรวตขทิรวนิยเถระ”
    พระเรวตะเถะรแสดงปฎิสัมภิทาญาน
    วิสุทธิมรรค ปกรณ์พิเศษอธิบายศีล สมาธิ ปัญญา ตามแนววิสุทธิ ๗ พระพุทธโฆษาจารย์ พระอรรถกถาจารย์ชาวอินเดียเป็นผู้แต่งที่มหาวิหารในเกาะลังกา;
    พระพุทธโฆษาจารย์ผู้นี้เป็นบุตรพราหมณ์ เกิดที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้พุทธคยา อันเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในแคว้นมคธ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๙๕๖ เรียนจบไตรเพทมีความเชี่ยวชาญมาก
    ต่อมาพบกับพระเรวตเถระ ได้โต้ตอบปัญหากัน สู้พระเรวตเถระไม่ได้ จึงขอบวชเพื่อเรียนพุทธวจนะ มีความสามารถมาก ได้รจนาคัมภีร์ญาโณทัย เป็นต้น พระเรวตเถระจึงแนะนำให้ไปเกาะลังกา เพื่อแปลอรรถกถาสิงหฬ กลับเป็นภาษามคธ ท่านเดินทางไปที่มหาวิหาร เกาะลังกา เมื่อขออนุญาตแปลคัมภีร์ ถูกพระเถระแห่งมหาวิหารให้คาถามา ๒ บท เพื่อแต่งทดสอบความรู้
    พระพุทธโฆษาจารย์จึงแต่งคำอธิบายคาถาทั้งสองนั้นขึ้นเป็นคัมภีร์วิสุทธิมรรค จากนั้นก็ได้รับอนุญาตให้ทำงาน แปลอรรถกถาได้ตามประสงค์ เมื่อทำงานเสร็จสิ้นแล้ว ท่านก็เดินทางกลับสู่ชมพูทวีป
    พระพุทธโฆษาจารย์เป็นพระอรรถกถาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด มีผลงานมากที่สุด
    ดูกรภิกษุ โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคนพาล คนหลง ไม่ฉลาดอย่างไร
    ที่เธอได้กล่าวตู่สารีบุตรด้วยคำอันไม่มี เปล่า เท็จ ไม่เป็นจริง แต่เพราะเธอ
    เห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว กระทำคืนตามธรรม เราย่อมรับโทษของเธอนั้น
    ดูกรภิกษุ ข้อที่ภิกษุเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไป นี้เป็นความเจริญในวินัยของพระอริยเจ้า ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรสารีบุตร เธอจงอดโทษต่อโมฆบุรุษผู้นี้มิฉะนั้น เพราะโทษนั้นนั่นแล ศีรษะของโมฆบุรุษนี้จักแตก ๗ เสี่ยง ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรอานนท์ สารีบุตรพาเอาศีลขันธ์ สมาธิขันธ์
    ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ หรือวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ปรินิพพานไปด้วยหรือ?
    ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า หามิได้ พระเจ้าข้า ท่านพระสารีบุตรมิได้พาศีลขันธ์ปรินิพพานไปด้วย ฯลฯ มิได้พาวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ปรินิพพานไปด้วย ก็แต่ว่าท่านพระสารีบุตรเป็นผู้กล่าวแสดงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ไม่เกียจคร้านในการแสดงธรรม อนุเคราะห์เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ข้าพระองค์ทั้งหลายมาตามระลึกถึง โอชะแห่งธรรม ธรรมสมบัติ และการอนุเคราะห์ด้วยธรรมนั้น ของท่านพระสารีบุตร.

    เสียใจด้วยนะพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรและพระมหาเถระรูปต่างๆทรงเข้าสู่พระนิพพานไปแล้ว ไม่มีใครอดโทษให้กับพวกคนพาลอย่างคึกฤทธิ์และศิษย์สำนักวัดนาป่าพง อีกแล้ว จงรับพลวปัจจัยที่ได้สร้างไว้เถิด
    อย่าหวังว่าจะได้ {O}ธรรมสมบัติ{O} เลย ถ้ายังเป็นอย่างนี้ในทุกภพทุกชาติไป
    ***พวกคึกฤทธิ์และศิษย์อลัชชีสำนักวัดนาป่าพง**

    https://youtu.be/T7lpeiuTHcw
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มีนาคม 2016
  16. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ขออนุโมทนาบุญฯนี้ด้วย ขอให้ท่านเจริญในพระสัทธรรมอันยิ่งขึ้นไป
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    วัดนั้นโดยเจ้าอาวาส จักต้องยินยอมให้เราถือ นิสสัย ๔ ออกอารัญญิกธุดงค์ บิณฑปาติกธุดงค์ ปังสุกูลิกธุดงค์ โดยสำคัญ และรู้สถานะธรรมของเรา ว่าเราจักไปเพียงรูปเดียวในวิสัยอย่างพระปัจเจก จนกว่าจะได้ปาฎิหาริย์ ๓ เราจึงจะกลับมา มี"มหาวัฎร"ที่เราต้องบำเพ็ญ ตามอย่างเท่าที่อินทรีย์สังขารเราจะทานทนได้

    ซึ่งก็คงจะเป็นที่ใดที่หนึ่งหรืออาจเป็นที่เดิม
    ------------------------------------
    ดูก่อนสารีบุตร อนึ่ง เราย่อมเข้าใจประพฤติพรหมจรรย์
    ประกอบด้วยองค์ ๔ คือ เราเป็นผู้บำเพ็ญตบะและเป็นเยี่ยมกว่าผู้บำเพ็ญตบะทั้งหลาย เราประพฤติเศร้าหมองและเป็นเยี่ยมกว่าผู้พระพฤติเศร้าหมองทั้งหลายเราเป็นผู้เกลียดบาปและเป็นเยี่ยมกว่าผู้เกลียดบาปทั้งหลาย เราเป็นผู้สงัดและเป็นเยี่ยมกว่าผู้สงัดทั้งหลาย.


    ดูก่อนสารีบุตร บรรดาพรหมจรรย์มีองค์ ๔ นั้น วัตรต่อ
    ไปนี้เป็นพรหมจรรย์ของเราโดยความที่เราเป็นผู้บำเพ็ญตบะ คือเราเป็นอเจลกคนเปลือย ไร้มารยาท เลียมือ เขาเชิญให้มารับภิกษาก็ไม่มา เขาเชิญให้หยุดก็ไม่หยุดไม่ยินดีภิกษาที่เขานำมาให้ ไม่ยินดีภิกษาที่เขาทำเฉพาะ ไม่ยินดีภิกษาที่เขานิมนต์. เรานั้นไม่รับภิกษาปากหม้อ ไม่รับภิกษาจากหม้อข้าว ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมธรณีประตูให้ ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมท่อนไม้ให้ ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมสากให้ ไม่รับภิกษาที่ของคนสองคนผู้กำลังบริโภคอยู่ ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษาของหญิงผู้กำลังให้ลูกดูดนม ไม่รับภิกษาของหญิงผู้คลอเคลียบุรุษ ไม่รับภิกษาที่นัดแนะการทำไว้ ไม่รับภิกษาในที่ซึ่งสุนัขได้รับเลี้ยงดู ไม่รับภิกษาในที่มีแมลงวันไต่ตอมเป็นกลุ่มๆไม่กินปลา ไม่กินเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มยาดอง. เรานั้นรับภิกษาที่เรือนหลังเดียว เยียวยาอัตภาพด้วยข้าวคำเดียวบ้าง รับภิกษาที่เรือนสองหลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๒ คำบ้าง ฯลฯ รับภิกษาที่เรือน ๗ หลังเยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๗ คำบ้าง. เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษาในถาดน้อยใบ


    เดียวบ้าง ๒ ใบบ้าง ฯลฯ ๗ ใบบ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้วันหนึ่งบ้าง ๒
    วันบ้าง ฯลฯ ๗ วันบ้าง เป็นผู้ประกอบด้วยความขวนขวายในการบริโภค
    ภัตตาหาร ที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือนเช่นนี้บ้าง. เรานั้นเป็นผู้มีผักดองเป็นภักษา
    บ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษา
    บ้าง มียางเป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง มีรำเป็นภักษาบ้าง มีข้าว
    ตังเป็นภักษาบ้าง มีกำยานเป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัยเป็น
    ภักษาบ้าง มีเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่นเยียวยาอัตภาพ.
    เรานั้นทรงผ้าป่านบ้าง ผ้าแกมบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง ผ้าบังสุกุลบ้าง ผ้าเปลือก
    ไม้บ้าง หนังเสือบ้าง หนังเสือทั้งเล็บบ้าง ผ้าคากรองบ้าง ผ้าปอบ้าง ผ้า
    ผลไม้บ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยผมบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยขนสัตว์บ้าง ผ้าทำด้วยชนปีกนกเค้าบ้าง เป็นผู้ถอนผมและหนวด คือ ประกอบความขวนขวายในการถอนผมและหนวดบ้าง เป็นผู้ถือยืน คือ ห้ามอาสวะบ้าง เป็นผู้กระโหย่ง คือประกอบความเพียรในการกระโหย่ง [เดินกระโหย่งเหยียบพื้นไม่เต็มเท้า] บ้างเป็นผู้นอนบนหนาม คือ สำเร็จการนอนบนหนามบ้าง เป็นผู้ประกอบความ
    ขวนขวายในการลงน้ำวันละสามครั้งบ้าง เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการ
    ย่างและบ่มกายมีประการมิใช่น้อยเห็นปานนี้ ด้วยประการฉะนี้อยู่ ดูก่อนสารี-
    บุตร นี้แหละเป็นพรหมจรรย์ของเรา โดยความที่เราเป็นผู้บำเพ็ญตบะ.
    พรหมจรรย์เศร้าหมอง

    ดูก่อนสารีบุตร บรรดาพรหมจรรย์มีองค์ ๔ นั้น พรหมจรรย์นี้เป็นวัตรในการประพฤติเศร้าหมองของเรา. มนทิน คือ ธุลีละอองสั่งสมในกาย เรานับด้วยปีมิใช่น้อย จนเป็นสะเก็ด เปรียบเหมือนตอตะโก มีธุลีละอองสั่งสมนับด้วยปีมิใช่น้อย จนเกิดเป็นสะเก็ด ฉันใด มนทิน คือ ธุลี




    ละอองสั่งสมในกายเรานับด้วยปีมิใช่น้อย จนเกิดเป็นสะเก็ด ฉันนั้นเหมือนกัน
    กัน. ดูก่อนสารีบุตร เรามิได้คิดที่จะลูบคลำปัดละอองธุลีนี้ด้วยฝ่ามือ ดูก่อน
    สารีบุตร ความคิดแม้อย่างนี้ไม่ได้มีแก่เราเลย ดูก่อนสารีบุตร นี้แหละ เป็น
    วัตรในความประพฤติเศร้าหมองของเรา.


    ดูก่อนสารีบุตร บรรดาพรหมจรรย์มีองค์ ๔ เหล่านั้น
    พรหมจรรย์นี้เป็นวัตรในความประพฤติเกลียดบาปของเรา. เรานั้นมีสติก้าวไป
    ข้างหน้า มีสติถอยกลับ. ความเอ็นดูของเราปรากฏเฉพาะ จนกระทั่งในหยด
    น้ำว่า เราอย่าได้ล้างผลาญสัตว์เล็ก ๆ ที่อยู่ในที่อันไม่สม่ำเสมอเลย. ดูก่อน
    สารีบุตร นี้แหละเป็นวัตรในความประพฤติเกลียดบาปของเรา.


    ดูก่อนสารีบุตร บรรดาพรหมจรรย์มีองค์ ๔ เหล่านั้น
    พรหมจรรย์นี้เป็นวัตรในความสงัดของเรา. เรานั้นเข้าอาศัยชายป่าแห่งใด
    แห่งหนึ่งอยู่ ในกาลใด. เราได้พบคนเลี้ยงโค หรือคนเลี้ยงปศุสัตว์ หรือ
    คนหาบหญ้า หรือคนหาฟืน หรือคนเที่ยวหาผลไม้เป็นต้นในป่า จากชัฏไป
    สู่ชัฏ จากที่ลุ่มไปสู่ที่ลุ่ม จากที่ดอนไปสู่ที่ดอน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะ
    เราคิดว่า คนเหล่านั้น อย่าได้เห็นเราเลยและเราก็อย่าได้เห็นคนเหล่านั้นเลย.

    ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนเนื้อที่เกิดในป่า เห็นมนุษย์ทั้งหลายแล้วก็วิ่ง
    หนีจากป่าไปสู่ป่า จากชัฏไปสู่ชัฏ จากที่ลุ่มไปสู่ที่ลุ่ม จากที่ดอนไปสู่ที่ดอน
    แม้ฉันใด ดูก่อนสารีบุตร เราก็ฉันเหมือนกัน ในกาลใด เราได้พบคนเลี้ยง
    โค หรือคนเลี้ยงปศุสัตว์ หรือคนหาบหญ้า หรือคนหาฟืน หรือคนเที่ยวหา
    ผลไม้เป็นต้น ในป่าในกาลนั้น เราก็เดินหนีจากป่าไปสู่ป่า จากชัฏไปสู่ชัฏ
    จากที่ลุ่มไปสู่ที่ลุ่ม จากที่ดอนไปสู่ที่ดอน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเรา
    คิดว่า คนเหล่านั้นอย่าได้เห็นเราเลย และเราก็อย่าได้เห็นคนทั้งหลายเลย. ดู
    ก่อนสารีบุตร นี้แหละเป็นวัตรในความประพฤติสงัดของเรา.


    ความแตกต่างในการบำเพ็ญเพียร
    ดูก่อนสารีบุตร เรานั้นแลคลานเข้าไปในคอกที่เหล่าใดออก
    ไปแล้วและปราศจากคนเลี้ยงโค กินโคมัยของลูกโคอ่อนที่ยังไม่ทิ้งแม่. มูตร
    และกรีสของเรายังไม่หมดสิ้นไปเพียงไร เราก็กินมูตรและกรีสของตนเองเป็น
    อาหาร. ดูก่อนสารีบุตร นี้แหละเป็น"วัตร"ในโภชนะ"มหา"วิกัฏของเรา.

    ดูก่อนสารีบุตร เรานั้นแล เข้าอาศัยแนวป่าอันน่ากลัวแห่ง
    ใดแห่งหนึ่งอยู่. นี้เป็นความน่ากลัวแห่งแนวป่านั้น. บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งยังไม่
    ปราศจากราคะเข้าไปสู่ป่านั้น โดยมากขนพอง. ดูก่อนสารีบุตร เรานั้นแล
    ในราตรีที่หนาว ฤดูเหมันต์ ตั้งอยู่ในระหว่างเดือน ๓ ต่อเดือน ๔ เป็นสมัย
    มีหิมะตก ในราตรีเห็นปานนั้น [เรา] อยู่ในที่แจ้งตลอดคืน กลางวันเราอยู่
    ในแนวป่า ในเดือนท้ายฤดูร้อน กลางวันเราอยู่ในที่แจ้ง กลางคืนเราอยู่ใน
    แนวป่า. ดูก่อนสารีบุตร เป็นความจริง คาถาอันน่าอัศจรรย์เล็กน้อยนี้ ที่
    เราไม่ได้ยินมาก่อน ปรากฏแก่เราว่า
    นักปราชญ์ผู้เสาะแสวงหา ความ
    หมดจด อาบแดด อาบน้ำค้าง เป็นคน
    เปลือย ทั้งมิได้ผิงไฟ อยู่คนเดียวในป่า
    อันน่ากลัว.

    ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมสำเร็จการนอนแอบอิงกระดูกศพใน
    ป่าช้า. พวกเด็กเลี้ยงโคเข้ามาใกล้เราแล้ว ถ่มน้ำลายรดบ้าง ถ่ายปัสสาวะรด
    บ้าง โปรยฝุ่นรดบ้าง เอาไม้ยอนที่ช่องหูบ้าง. เราไม่รู้สึกว่า ยังจิตอันลามก
    ให้เกิดขึ้นในพวกเด็กเหล่านั้นเลย. ดูก่อนสารีบุตร นี้แหละเป็นวัตรในการอยู่
    ด้วยอุเบกขาของเรา.


    ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้
    มีทิฐิอย่างนี้ว่า ความหมดจดย่อมมีด้วยอาหาร. พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า พวก
    เราย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยอาหารขนาดเท่าผลพุทรา. พวกเขาย่อมเคี้ยวกินผลพุทราบ้าง ผลพุทราป่นบ้าง ดื่มน้ำพุทราบ้าง บริโภคผลพุทราที่ทำเป็น
    ชนิดต่าง ๆ บ้าง. ดูก่อนสารีบุตร เรารู้สึกว่า กินผลพุทราผลเดียวเท่านั้น.
    ดูก่อนสารีบุตร เธอจะพึงมีความสำคัญว่า พุทราในสมัยนั้น ชะรอยจะผลใหญ่
    เป็นแน่. ข้อนี้ เธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น. แม้ในกาลนั้น ผลพุทราที่เป็นขนาดใหญ่นั่นเทียวก็เหมือนในบัดนี้ .

    ดูก่อนสารีบุตร เมื่อเรากิน [อาหารเท่า] ผลพุทรา
    ผลเดียวเท่านั้น ร่างกายก็ถึงความซูบผอมยิ่งนัก. อวัยวะน้อยใหญ่ของเราเปรียบเหมือนเถาวัลย์ที่มีข้อมากและข้อดำ เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง.ตะโพกของเราเปรียบเหมือนรอยเท้าอูฐ เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง.กระดูกสันหลังของเรานูนขึ้นเป็นปุ่ม ๆ เหมือนเถาสะบ้า เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. กระดูกซี่โครงของเราเหลื่อมขึ้นเหลื่อมลงเห็นปรากฏเหมือนกลอนแห่งศาลาเก่าเหลื่อมกันฉะนั้น เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง.ดวงตาของเราลึกเข้าไปในเบ้าตา เหมือนเงาดวงดาวปรากฏในบ่อน้ำอันลึกฉะนั้นเพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. หนังศีรษะของเราอันลมถูกต้องแล้วก็เหี่ยวแห้งเปรียบเหมือนน้ำเต้าขมที่ถูกตัดขั้วแต่ยังอ่อนอันลมแดดสัมผัสแล้วย่อมเป็นของเหี่ยวแห้งไป ฉะนั้น เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง.

    ดูก่อนสารีบุตร เรานั้นแลคิดว่าจะลูบคลำผิวหนังท้อง ก็คลำถูกกระดูกสันหลังทีเดียวคิดว่าจะลูบคลำกระดูกสันหลัง ก็คลำถูกผิวหนังท้องทีเดียว ดูก่อนสารีบุตรผิวหนังท้องของเราติดกระดูกสันหลัง เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง.


    เรานั้นคิดว่า จะถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ก็ชวนล้ม ณ ที่นั้นเอง เพราะความ
    ที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. เรานั้นเมื่อจะยังร่างกายให้คล่องแคล่ว ก็ลูบตัวด้วยฝ่ามือ. เมื่อเราลูบตัวด้วยฝ่ามือ ขนทั้งหลายมีรากอันเน่าก็หลุดจากกาย เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง.วาทะและทิฐิของสมณพราหมณ์บางพวก


    ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่าง
    นี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า ความหมดจดย่อมมีได้ด้วยอาหาร. พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า
    เราย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยถั่วเขียว ฯลฯ พวกเราย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยงา
    ฯลฯ พวกเราย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยข้าวสาร ดังนี้. พวกเขาเคี้ยวกิน
    ข้าวสารบ้าง ข้าวสารป่นบ้าง ดื่มน้ำข้าวสารบ้าง ย่อมบริโภคข้าวสารที่จัดทำ
    ให้แปลกมีประการมิใช่น้อยบ้าง. ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมรู้สึกว่า กินข้าวสาร
    เมล็ดเดียวเท่านั้น. ดูก่อนสารีบุตร เธอจะพึงมีความสำคัญว่า ข้าวสารในสมัย
    นั้น ชะรอยจะเมล็ดใหญ่เป็นแน่. ข้อนี้ เธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น. แม้ในกาล
    นั้น ข้าวสารที่เป็นขนาดใหญ่นั้นเทียว ก็มีเมล็ดเท่าข้าวสารในบัดนี้. ดูก่อน
    สารีบุตร เมื่อเรากินข้าวสารเมล็ดเดียวเท่านั้น ร่างกายก็ถึงความซูบผอมยี่งนัก.
    อวัยวะน้อยใหญ่ของเรา เปรียบเหมือนเถาวัลย์ที่มีข้อมากและข้อดำ เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. ตะโพกของเราเปรียบเหมือนรอยเท้าอูฐ เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่งเอง. กระดูกสันหลังของเรานูนขึ้นเป็นปุ่ม ๆ เหมือนเถาสะบ้า เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. กระดูกซี่โครงของเราเหลื่อมขึ้นเหลื่อมลงเห็นปรากฏเหมือนกลอนแห่งศาลาเก่าเหลื่อมกันฉะนั้น เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. ดวงตาของเราลึกเข้าไปในเบ้าตาเหมือนเงาดวงดาวปรากฏในบ่อน้ำอันลึกฉะนั้น เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. หนัง




    ศีรษะของเราอันลมถูกต้องแล้ว ก็เหี่ยวแห้งเปรียบเหมือนน้ำเต้าขมที่ถูกตัดขั้วแต่ยังอ่อน อันลมแดดสัมผัสแล้ว ย่อมเป็นของที่เหี่ยวแห้งไปฉะนั้น เพราะ
    ความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. ดูก่อนสารีบุตร เรานั้นแลคิดว่าจะลูบคลำผิว
    หนังท้องก็คลำถูกกระดูกสันหลังทีเดียว คิดว่าจะลูบคลำกระดูกสันหลัง ก็คลำถูกผิวหนังท้องทีเดียว. ดูก่อนสารีบุตร ผิวหนังท้องของเราติดกระดูกสันหลังเพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. เรานั้นคิดว่า จะถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะก็ซวนล้ม ณ ที่นั้นเอง เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง เรานั้นเมื่อจะยังร่างกายให้คล่องแคล่วก็ลูบตัวด้วยฝ่ามือ เมื่อเราลูบตัวด้วยฝ่ามือ ขนทั้งหลายมีรากอันเน่าก็หลุดร่วงจากกาย เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง.


    ดูก่อนสารีบุตร ด้วยการปฏิบัติอย่างไม่มีใครสู้แม้นั้น ด้วยปฏิปทาแม้
    นั้น ด้วยความเพียรที่กระทำได้แสนยากนั้น เราก็ไม่ได้บรรลุธรรมอันยิ่งของ
    มนุษย์ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษ พอแก่ความเป็นอริยะ ข้อนั้นเพราะเหตุ
    อะไร เพราะมิใช่ปฏิปทาที่เป็นเหตุบรรลุปัญญาอันประเสริฐ ปัญญานี้แล
    ที่ซึ่งเราได้บรรลุแล้วเป็นของประเสริฐ นำสัตว์ออกจากทุกข์ได้ เป็นทางสิ้น
    ทุกข์โดยชอบแห่งบุคคลผู้กระทำอยู่ตามนั้น.

    นึกถึงความเหน็ดเหนื่อยลำบากพระวรกายของพระมหาโพธิสัตว์แล้ว เราเจ็บปวดใจและซาบซึ้งน้ำพระทัยของพระองค์ยิ่งนัก


    ความเดือดร้อนจักเกิดแก่ผู้ใด เมื่อมีผู้ประกอบความเพียรเช่นนี้ เขาย่อมเลี้ยงดูอุ้มชูดูแลปกป้องเรา ไม่อย่างนั้นเขาก็จักลำบากยิ่งกว่าเรา ด้วยบุพกรรมที่ต้องกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มีนาคม 2016
  18. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +3,207
    เสียดายค่ะที่ไม่ได้เป็นผู้ชาย...และบวชไปก็ไม่ได้ศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าเสียก่อน จึงปฏิบัติผิดบ้างถูกบ้าง พอกลับออกมาแล้วจึงรู้ได้ว่าศีลย่อมรักษาประพฤติธรรม

    อย่างเช่น พระสมณโคดม เว้นขาดจากติรัจฉานกถา อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญ บางจําพวกฉัน โภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยัง ประกอบติรัจฉานกถาเห็นปานนี้อยู่เนือง ๆ คือ เรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอํามาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องสงคราม เรื่องข้าว เรื่องนํ้า เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้า เรื่องตรอก เรื่องท่านํ้า เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วยประการนั้น ๆ. เรื่องความเจริญ และความเสื่อมด้วยประการนั้น ๆ.

    แม้แต่เรื่องญาติ เรื่องบ้าน เรื่องโลก เรื่องเบ็ดเตล็ดยังต้องเว้นขาด แม้แต่การสนทนาให้สนทนาเฉพาะที่จำเป็นและเป็นไปเพื่อธรรมะเท่านั้น หากกระทำแล้วก็นำมาซึ่งเรื่องราว

    การบวชประพฤติพรหมจรรย์ที่รักษาศีลบริสุทธิ์ของพระศาสนาคือจะต้องประพฤติสมบูรณ์ด้วยศีล 43 ข้อ ที่ประกอบด้วยจุลศีล 26 ข้อ มัฌชศีล 10 ข้อ และ มหาศีล 7 ข้อตามที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้..ว่าเราประพฤติถึงพร้อมมิได้ล่วงละเมิดศีลพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์นี้เลย

    นักบวชที่รักษาศีลบริสุทธิ์ตนเองคิดว่าต้องอยู่ในศีล 43 ข้อ นี้เท่านั้นถึงเป็นพระที่แท้ นะคะ

    ถ้าไม่อย่างนั้นก็คงจะเหมือนกับคำที่พระพุทธองค์ตรัสว่า

    เนื้อความในตายนสูตรกล่าวถึงการบรรพชาอุปสมบทเป็นทางเบื้องต้นของการตัดกระแสแห่งตัณหาและการบรรเทากาม มีเนื้อความสมบูรณ์ว่า “ครั้งหนึ่งตายนเทวบุตรผู้เป็นเจ้าลัทธิมาแต่ก่อน เมื่อราตรีปฐมยามสิ้นไปแล้ว มีวรรณอันงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า “ท่านจงพยายามตัดกระแสตัณหา จงบรรเทากามเสียเถิดพราหมณ์ มุนีไม่ละกาม ย่อมไม่เข้าถึงความที่จิตแน่วแน่ได้ ถ้าบุคคลจะพึงทำความเพียร พึงทำความเพียรนั้นจริงๆ พึงบากบั่นทำความเพียรนั้นให้มั่น เพราะว่าการบรรพชาที่ปฏิบัติย่อหย่อน ยิ่งเรี่ยรายโทษดุจธุลี ความชั่วไม่ทำเสียเลยประเสริฐกว่า ความชั่วย่อมเผาผลาญในภายหลัง ก็กรรมใดทำแล้ว ไม่เดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้นเป็นความดี ทำแล้วประเสริฐกว่า หญ้าคาอันบุคคลจับไม่ดี ย่อมบาดมือนั่นเองฉันใด ความเป็นสมณะอันบุคคลปฏิบัติไม่ดี ย่อมฉุดเข้าไปเพื่อ เกิดในนรก ฉันนั้น กรรมอันย่อหย่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง วัตรอันใดที่เศร้าหมอง และพรหมจรรย์ที่น่ารังเกียจ ทั้งสามอย่างนั้น ไม่มีผลมาก” ตายนเทวบุตร ครั้นได้กล่าวดังนี้แล้วก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วอันตรธานไปในที่นั้นเอง

    และกามนั้นน่าจะหมายถึง การทำจิตใจให้ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ไหลกับกับกระแสของโลกนี่เอง

    จึงอนุโมทนาบุญกับท่านด้วยค่ะ ที่บวชแล้วประพฤติการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าด้วยความถึงพร้อมและดีงามนะคะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • kaa05.jpg
      kaa05.jpg
      ขนาดไฟล์:
      433.8 KB
      เปิดดู:
      91
  19. เทพบุตรลั้ลลาลั้ลลั้ลลาาา

    เทพบุตรลั้ลลาลั้ลลั้ลลาาา เพื่อมวลมนุษย์แลสรรพสัตว์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    872
    ค่าพลัง:
    +1,936
    ขออนุโมทนากับการจะบวชของท่าน ยังเคลือบแคลงใจว่า เมื่อท่านไปแล้ว ใครจะปักหลักซดกับสำนักวัดนาป่าพง ขอชื่นชมที่ท่านยอมสร้างกรรมสร้างอริ เพราะต้องการจะปกป้องพระสัทธรรม ..ปล. ขออนุญาติติงนิดๆคือ ธุดงค์วัตรนั้นมิใช่นิสสัย ท่านชอบข้อใหน หรือหลายข้อก็สมาทานแล้วถือปฏิบัติได้เลย ส่วนนิสสัยนั้นพระนวกต้องถือปฏิบัติกับพระเถระผู้เข้าเกณฑ์ให้นิสสัยได้ตามพระวินัย พระนวกะไม่ควรจาริกไปลำพังจะขาดน้สสัย เว้นเสียแต่จะมีพรรษาครบห้า หรือมีเหตุเปนน้สสัยมุตกะ คือพ้นนิสสัย เช่นสวดปาฏิโมกข์ได้ ได้ฌาณ ฯ.
     
  20. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    -----------------------------------
    วัดนั้นโดยเจ้าอาวาส จักต้องยินยอมให้เราถือ นิสสัย ๔ ออกอารัญญิกธุดงค์ บิณฑปาติกธุดงค์ ปังสุกูลิกธุดงค์ โดยสำคัญ และรู้สถานะธรรมของเรา ว่าเราจักไปเพียงรูปเดียวในวิสัยอย่างพระปัจเจก จนกว่าจะได้ปาฎิหาริย์ ๓ เราจึงจะกลับมา มี"มหาวัฎร"ที่เราต้องบำเพ็ญ ตามอย่างเท่าที่อินทรีย์สังขารเราจะทานทนได้

    ซึ่งก็คงจะเป็นที่ใดที่หนึ่งหรืออาจเป็นที่เดิม


    สติวินัย ไม่ใช่ฐานะที่จะต้อง ไประคนหมู่ เป็นวิสัยของผู้ต้องวิมุตติแล้ว สาธุฯ


    การลงทัณฑ์สงฆ์จะเริ่มหลังจากนั้น สหชาติแห่งเราจะทำกิจนั้นด้วย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 244389031.gif
      244389031.gif
      ขนาดไฟล์:
      66.8 KB
      เปิดดู:
      108
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มีนาคม 2016

แชร์หน้านี้

Loading...