เสียงธรรม ธรรมโอสถรักษาโรคกายและใจจาก“คิริมานนทสูตร”

ในห้อง 'บทสวดมนต์' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 5 กรกฎาคม 2009.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,489
    ธรรมโอสถรักษาโรคกายและใจจาก“คิริมานนทสูตร”

    ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.อภิณัฏฐ์ กิติพันธุ์

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
    [​IMG]

    01 บทสวดภาษาบาลี คิริมานนทสูตร
    02 บทสวดแปลไทยคิริมานนทสูตร
    03 ธรรมโอสถจากคิริมานนทสูตร
    04 หลักการรักษาโรคกาย เข้าใจโรคใจ
    05 แก้ไขความสำคัญผิดในทุกข์ แห่งชีวิต ด้วยคิริมานนทสูตร
    06 สัมมาสติจากคิริมานนทสูตร
    07 ทำความรอบรู้ในปกติแห่งโรคกาย
    08 เติมกำลังใจ ให้อาหารกาย
    09 สู่สัมมาทิฏฐิ เจริญอริยมรรค ฯ

    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]

    ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.อภิณัฏฐ์ กิติพันธุ์
    -----------------------------------
    ประวัติการศึกษา
    นาฏศิลปโขน ชั้นต้น วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ รุ่นที่ ๑๐
    ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาอิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่
    วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    ดุษฏีบัณฑิต สาขาพุทธปรัชญา มหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งศรีลังกา ๒๕๔๓
    ศึกษาวิชาครูผู้ประกอบพิธีไหว้ครู ครอบครูนาฏศิลปและรับการถ่ายทอดท่ารำหน้าพาทย์
    พราหมณ์ เข้าเสมอเถร พราหมณ์ออก โปรยข้าวตอก จากครูทองใบ เรืองนนท์
    ศิลปินแห่งชาติ สาขาละครชาตรี
    รับมอบโองการไหว้ครู ไม้เท้าครู เป็นครูผู้ประกอบพิธีไหว้ครู ครอบครู
    จากครู ม.ร.ว จรูญ สุขสวัสดิ์
    รับมอบตำหรับพิธีการไหว้ครู จากครูธีรยุทธ ยวงศรี

    ปัจจุบัน
    ประธานชมรมชีวานุภาพ
    ผู้ทรงคุณวุฒิ ภาควิชาดนตรีพิธีกรรม
    สถาบันบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา
    รองประธานมูลนิธิคณะสงฆ์ภาค ๑๐
    อาจารย์พิเศษ วิชาวิถีธรรมชาติ ภูมิปัญญาตะวันออก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
    ประธานชมรมชีวานุภาพ วิปัสสนาจารย์ ศูนย์กัมมัฎฐานวัดเทพากรกรุงเทพ
    วิทยากรรายการ “ ปฏิบัติธรรมกับพระสูตร ” บ้านพระอาทิตย์
    วิทยากรรายการ “ พลังชีวิต ” ทางรายการ ASTV3
    ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 15.00-16.00 น.
    วิทยากรบรรยายรายการ “ ธรรมะกับชีวิต ” สถานีวิทยุ ๙๗.๗๕ เมกกะเฮิร์ซ
    ทุกวันอาทิตย์ เวลา 05.00-06.00 น .
    วิทยากรบรรยายธรรมะภาคปฏิบัติ ตามแนวทางมหาสติปัฏฐาน
    ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรมต่างๆ ทั่วประเทศกว่า ๑๗ ปี
    วิทยากรนำปฏิบัติธรรมดินแดนพุทธภูมิ ณ ประเทศอินเดีย ศรีลังกา เนปาล ธิเบต จีน กว่า ๕๒ ครั้งในรอบ ๑๘ ปี

    ผลงาน
    ประธานและผู้ก่อตั้งชมรมชีวานุภาพ
    ผู้ร่วมจัดสร้างและก่อตั้ง วัดกุดระหวี่ จังหวัดยโสธร
    วัดนาจาน วัดไทยไวสาลี ประเทศอินเดีย
    ประธานผู้ดำเนินการจัดทอ ทอดถวายผ้าจุลกฐิน (กฐินแล่น) แก่วัดต่างๆ ๑๘ ครั้ง ณ พุทธศักราช ๒๕๕๑
    ริเริ่มก่อตั้งหลักสูตรวิปัสสนากัมมัฎฐาน วัดทุ่งศรีเมือง ในความเห็นชอบของพระสิริพัฒนาภรณ์ เจ้าอาวาส
    เรียบเรียงหนังสือบทสวดเพื่อเจริญธรรม “ ธรรมธารี ” หนังสือโอปะนยิโก
    คัมภีร์วิสุทธิมรรค ฉบับประชาชน
    โครงการรวบรวมบันทึกเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง ๘๔ เพลง เพื่อพิธีกรรมแห่งการบูชา
    น้อมเกล้าถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
    โครงการรวบรวมบันทึกเผยแพร่ดนตรีโหมโรง
    ซึ่งรวบรวมเพลงตระโหมโรงที่หาฟังยาก
    บรรเลงโดย อาจารย์เดช คงอิ่ม
    ดร . สุรินทร์ สงค์ทอง
    และคณะวงดนตรีบ้านชีวานุภาพ
    การบรรยายประกอบการแสดงดนตรีไทยพรรณนา ชุด ปฐมสมโพธิ ๒๕๔๘
    ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    การบรรยายประกอบการแสดงดนตรีไทยพรรณนา ชุด ไชยชนะพุทธเจ้า ๒๕๔๙
    ณ หอประชุม เมืองไทยประกันชีวิต รัชดา
    การบรรยายประกอบการแสดงดนตรีไทยพรรณนา ชุด มหาทศชาติแห่งโพธิสัตว์ ๒๕๕๐
    ณ หอฟังดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    การบรรยายประกอบการแสดงดนตรีไทยพรรณนา ชุด อมรินทรามหาเทวะ แห่งพระพุทธศาสนา ๒๕๕๑
    ณ ห้องประชุมชั้น ๑๐ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบ พระชนมพรรษา โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า

    เกียรติคุณที่ได้รับ
    รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณเบญจมดิเรกคุณาภรณ์ สาขาผู้บำเพ็ญประโยชน์ทางพระศาสนา
    พุทธศักราช ๒๕๔๓ ได้รับเลือกจากการประชุมองค์กรทางพุทธศาสนาแห่งโลก ครั้งที่ ๕
    ประเทศศรีลังกา ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์เกียรติคุณ ประจำสังฆสภา ประเทศศรีลังกา
    พุทธศักราช ๒๕๔๕ รับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักรทองคำ
    จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สาขาเผยแพร่พุทธศาสนาในประเทศ
    พุทธศักราช ๒๕๔๗ ได้รับการคัดเลือกจากสังฆสภาศรีลังกา
    ให้เป็นผู้รักษาพระคิวธาตุ จากวัดมหิยังคณะ ซึ่งมอบให้แก่ประเทศไทย ในโอกาสครบรอบ ๒๕๐ ปี
    ความสัมพันธ์ไทย- ศรีลังกา ซึ่งปัจจุบันประดิษฐาน ณ บ้านชีวานุภาพ จ.ยโสธร
    ในวันที่ ๑๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙
    ได้รับการเชิดชูเกียรติจากมหาสังฆสภาแห่งประเทศศรีลังกา ให้ดำรงตำแหน่ง
    สัทธรรมะโชติกะ ศาสนบัณฑิต
    e-mail: apinatk@gmail.comwww.shevanupap.net
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กรกฎาคม 2009
  2. kennek

    kennek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,163
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +17,232
    อนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ
     
  3. wat86

    wat86 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +0
    อนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ
     
  4. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    เป็นพระสูตรและการบรรยายที่มีประโยชน์มาก
    ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ
     
  5. เพลงเพลิง

    เพลงเพลิง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +476
    ฟังแล้วรู้สึกแช่มชื่นขึ้นมา ทั้งกายทั้งจิต อนุโมทนาครับ
     
  6. manop_225

    manop_225 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2009
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +0
    ขออนุโมทนาครับ
     
  7. คนบรรพต

    คนบรรพต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2007
    โพสต์:
    647
    ค่าพลัง:
    +4,456
    ขออนุโมทนาด้วยครับผม
     
  8. ธิดารัตน์

    ธิดารัตน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,939
    ค่าพลัง:
    +4,568
    อนุโมทนาสาธุค่ะ

    คิริมานนทสูตรดีจริงๆค่ะฟังแล้วเราไม่ยึดติดกับกายดี^_____^"
     
  9. F-5E

    F-5E เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    352
    ค่าพลัง:
    +964
    อนุโมทนาด้วยคนครับ
     
  10. นุภาวัฒน์

    นุภาวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    774
    ค่าพลัง:
    +270
    อนุโมทนาสาธุ ขอเซฟหน่อยนะครับ
     
  11. ดับเพลิงกิเลส

    ดับเพลิงกิเลส สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มกราคม 2009
    โพสต์:
    44
    ค่าพลัง:
    +10
    ขอเซฟเก็บไว้นะครับ อนุโมทนา ครับ ผมจะเอาไปให้ผู้สนใจ ต่อไป ครับ
     
  12. อาสาเมืองพิมาย

    อาสาเมืองพิมาย สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2009
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +4
    อนุโมทนาครับ จาก กู้ภัย ฮุก31พิมาย
     
  13. พัฒนา55

    พัฒนา55 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2009
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +0
    ฟ้งแล้วดีจริงเข้าใจ อนุโมทนาบุญค่ะวันพระ ไม่กินเนื้อวัว ควายได้บุญค่ะ
     
  14. phra sakn

    phra sakn สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +22
    ขอนุโมทนาสาธุ
    ขอรับแจกเพื่อธรรมทาน
    แต่บางไฟว์เซ็บเก็บ ไม่ได้
    น่าเสียดายหน๋อ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 กรกฎาคม 2009
  15. danuphat rongrat

    danuphat rongrat สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +5
    อนุโมทนาครับ
     
  16. narongrit2517

    narongrit2517 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +0
    อนุโมทนา สาธุๆๆ
     
  17. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    อนุโมทนา สาธุการ ท่านศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.อภิณัฏฐ์ กิติพันธุ์
    อนุโมทนา ท่านเจ้าของกระทู้ค่ะ สาธุ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ตุลาคม 2009
  18. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    คิริมานันทะสุตตะปาโฐ<O:p</O:p

    <O:p</O:p

    พระสูตรเพื่อการวิปัสสนา โดยการพิจารณา สัญญา ต่าง ๆ ๑๐ ประการ เพื่อให้เข้าใจความจริง
    <O:p

    เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง<O:p</O:p
    วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม เตนะ โข ปะนะ <O:p</O:p
    สะมะเยนะ อายัสมา คิริมานันโท อาพาธิโก โหติ ทุกขิโต<O:p</O:p
    พาฬหะคิลาโน อะถะโข อายัสมา อานันโท เยนะ ภะคะวา<O:p</O:p
    เตนุปะสังกะมิ อุปะสังกะมิตวา ภะคะวันตัง อะภิวาเทตวา เอกะมันตัง<O:p</O:p
    นิสีทิ เอกะมันตัง นิสินโน โข อายัสมา อานันโท ภะคะวันตัง<O:p</O:p
    เอตะทะโวจะ ฯ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    อายัสมา ภันเต คิริมานันโท อาพาธิโก ทุกขิโต พาฬหะคิลาโน<O:p</O:p
    สาธุ ภันเต ภะคะวา เยนายัสมา คิริมานันโท เตนุปะสังกะมะตุ<O:p</O:p
    อะนุกัมปัง อุปาทายาติ ฯ สะเจ โข ตวัง อานันทะ คิริมานันทัสสะ<O:p</O:p
    ภิกขุโน อุปะสังกะมิตวา ทะสะ สัญญา ภาเสยยาสิ ฐานัง โข<O:p</O:p
    ปะเนตัง วิชชะติ ยัง คิริมานันทัสสะ ภิกขุโน ทะสะ สัญญา<O:p</O:p
    สุตวา โส อาพาโธ ฐานะโส ปะฏิปปัสสัมเภยยะ ฯ กะตะมา ทะสะ ฯ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ๑. อะนิจจะสัญญา <O:p</O:p
    ๒. อะนัตตะสัญญา <O:p</O:p
    ๓. อะสุภะสัญญา <O:p</O:p
    ๔. อาทีนะวะสัญญา<O:p</O:p
    ๕. ปะหานะสัญญา <O:p</O:p
    ๖. วิราคะสัญญา <O:p</O:p
    ๗. นิโรธะสัญญา <O:p</O:p
    ๘. สัพพะโลเกอะนะภิระตะสัญญา <O:p</O:p
    ๙. สัพพะสังขาเรสุอะนิจจะสัญญา <O:p</O:p
    ๑๐. อานาปานัสสะติ ฯ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ๑. กะตะมา จานันทะ อะนิจจะสัญญา ฯ อิธานันทะ ภิกขุ<O:p</O:p
    อะรัญญะคะโต วา รุกขะมูละคะโต วา สุญญาคาระคะโต วา<O:p</O:p
    อิติ ปะฏิสัญจิกขะติ <O:p</O:p
    รูปัง อะนิจจัง <O:p</O:p
    เวทะนา อะนิจจา <O:p</O:p
    สัญญา อะนิจจา<O:p</O:p
    สังขารา อะนิจจา <O:p</O:p
    วิญญาณัง อะนิจจันติ ฯ อิติ อิเมสุ ปัญจะสุ <O:p</O:p
    อุปาทานักขันเธสุ อะนิจจานุปัสสี วิหะระติ ฯ อะยัง วุจจะตานันทะ อะนิจจะสัญญา ฯ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ๒. กะตะมา จานันทะ อะนัตตะสัญญา ฯ อิธานันทะ ภิกขุ<O:p</O:p
    อะรัญญะคะโต วา รุกขะมูละคะโต วา สุญญาคาระคะโต วา อิติ<O:p</O:p
    ปะฏิสัญจิกขะติ <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    . จักขุง อะนัตตา <O:p</O:p
    ๒. รูปา อะนัตตา <O:p</O:p
    ๓. โสตัง อะนัตตา<O:p</O:p
    ๔. สัททา อะนัตตา <O:p</O:p
    ๕. ฆานัง อะนัตตา <O:p</O:p
    ๖. คันธา อะนัตตา <O:p</O:p
    ๗. ชิวหา อะนัตตา<O:p</O:p
    ๘. ระสา อะนัตตา <O:p</O:p
    ๙. กาโย อะนัตตา <O:p</O:p
    ๑๐. โผฏฐัพพา อะนัตตา <O:p</O:p
    ๑๑. มะโนอะนัตตา <O:p</O:p
    ๑๒. ธัมมา อะนัตตาติ ฯ
    <O:p</O:p
    อิติ อิเมสุ ฉะสุ อัชฌัตติกะพาหิเรสุ อายะตะเนสุ <O:p</O:p
    อะนัตตานุปัสสี วิหะระติ ฯ อะยัง วุจจะตานันทะ อะนัตตะสัญญา ฯ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ๓. กะตะมา จานันทะ อะสุภะสัญญา ฯ อิธานันทะ ภิกขุ<O:p</O:p
    อิมะเมวะ กายัง อุทธัง ปาทะตะลา อะโธ เกสะมัตถะกา<O:p</O:p
    ตะจะปะริยันตัง ปูรันนานัปปะการัสสะ อะสุจิโน ปัจจะเวกขะติ อัตถิ<O:p</O:p
    อิมัสมิง กาเย เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ มังสัง นะหารู<O:p</O:p
    อัฏฐี อัฏฐิมิญชัง วักกัง หะทะยัง ยะกะนัง กิโลมะกัง ปิหะกัง<O:p</O:p
    ปัปผาสัง อันตัง อันตะคุณัง อุทะริยัง กะรีสัง ปิตตัง เสมหัง ปุพโพ<O:p</O:p
    โลหิตัง เสโท เมโท อัสสุ วะสา เขโฬ สิงฆาณิกา ละสิกา<O:p</O:p
    มุตตันติ ฯ อิติ อิมัสมิง กาเย อะสุภานุปัสสี วิหะระติ ฯ อะยัง<O:p</O:p
    วุจจะตานันทะ อะสุภะสัญญา ฯ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ๔. กะตะมา จานันทะ อาทีนะวะสัญญา ฯ อิธานันทะ ภิกขุ<O:p</O:p
    อะรัญญะคะโต วา รุกขะมูละคะโต วา สุญญาคาระคะโต วา อิติ <O:p</O:p
    ปะฏิสัญจิกขะติ พะหุทุกโข โข อะยัง กาโย พะหุอาทีนะโวติ ฯ อิติ<O:p</O:p
    อิมัสมิง กาเย วิวิธา อาพาธา อุปปัชชันติ ฯ เสยยะถีทัง ฯ จักขุโรโค<O:p</O:p
    โสตะโรโค ฆานะโรโค ชิวหาโรโค กายะโรโค สีสะโรโค กัณณะโรโค<O:p</O:p
    มุขะโรโค ทันตะโรโค กาโส สาโส ปินาโส ฑะโห ชะโร กุจฉิโรโค<O:p</O:p
    มุจฉา ปักขันทิกา สุลา วิสูจิกา กุฏฐัง คัณโฑ กิลาโส โสโส<O:p</O:p
    อะปะมาโร ทันทุ กัณฑุ กัจฉุ ระขะสา วิตัจฉิก โลหิตัง ปิตตัง<O:p</O:p
    มะธุเมโห อังสา ปิฬะกา ภะคัณฑะลา ฯ ปิตตะสะมุฏฐานา อาพาธา<O:p</O:p
    เสมหะสะมุฏฐานา อาพาธา วาตะสะมุฏฐานา อาพาธา สันนิปาติกา<O:p</O:p
    อาพาธา อุตุปะริณามะชา อาพาธา วิสะมะปะระหาระชา อาพาธา<O:p</O:p
    โอปักกะมิกา อาพาธา กัมมะวิปากะชา อาพาธา สีตัง อุณหัง ชิฆัจฉา<O:p</O:p
    ปิปาสา อุจจาโร ปัสสาโวติ ฯ อิติ อิมัสมิง กาเย อาทีนะวานุปัสสี<O:p</O:p
    วิหะระติ ฯ อะยัง วุจจะตานันทะ อาทีนะวะสัญญา ฯ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ๕. กะตะมา จานันทะ ปะหานะสัญญา ฯ อิธานันทะ ภิกขุ<O:p</O:p
    อุปปันนัง กามะวิตักกัง นาธิวาเสติ ปะชะหะติ วิโนเทติ พยันตีกะโรติ<O:p</O:p
    อะนะภาวัง คะเมติ อุปปันนัง พยาปาทะวิตักกัง นาธิวาเสติ ปะชะหะติ<O:p</O:p
    วิโนเทติ พยันตีกะโรติ อะนะภาวัง คะเมติ อุปปันนัง วิหิงสาวิตักกัง<O:p</O:p
    นาธิวาเสติ ปะชะหะติ วิโนเทติ พยันตีกะโรติ อะนะภาวัง คะเมติ<O:p</O:p
    อุปปันนุปปันเน ปาปะเก อะกุสะเล ธัมเม นาธิวาเสติ ปะชะหะติ<O:p</O:p
    วิโนเทติ พยันตีกะโรติ อะนะภาวัง คะเมติ ฯ อะยัง วุจจะตานันทะ<O:p</O:p
    ปะหานะสัญญา ฯ

    ๖. กะตะมา จานันทะ วิราคะสัญญา อิธานันทะ ภิกขุ<O:p</O:p
    อะรัญญะคะโต วา รุกขะมูละคะโต วา สุญญาคาระคะโต วา อิติ <O:p</O:p
    ปะฏิสัญจิกขะติ เอตัง สันตัง เอตัง ปะณีตัง ยะทิทัง สัพพะสังขา<O:p</O:p
    ระสะมะโก สัพพูปะธิปะฏินิสสัคโค ตัณหักขะโย วิราโค นิพพานันติ ฯ<O:p</O:p
    อะยัง วุจจะตานันทะ วิาคะสัญญา ฯ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ๗. กะตะมา จานันทะ นิโรธะสัญญา ฯ อิธานันทะ ภิกขุ<O:p</O:p
    อะรัญญะคะโต วา รุกขะมูละคะโต วา สุญญาคาระคะโต วา อิติ<O:p</O:p
    ปะฏิสัญจิกขะติ เอตัง สันตัง เอตัง ปะณีตัง ยะทิทัง<O:p</O:p
    สัพพะสังขาระสะมาโถ สัพพูปะธิปะฏินิสสัคโค ตัณหักขะโย นิโรโธ<O:p</O:p
    นิพพานันติ ฯ อะยัง วุจจะตานันทะ นิโรธะสัญญา ฯ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ๘. กะตะมา จานันทะ สัพพะโลเก อะนะภิระตะสัญญา<O:p</O:p
    อิธานันทะ ภิกขุ เย โลเก อุปายุปาทานา เจตะโส อะธิฏฐานาภินิเวสา-<O:p</O:p
    นุสะยา เต ปะชะหันโต วิระมะติ นะ อุปาทิยันโต อะยัง<O:p</O:p
    วุจจะตานันทะ สัพพะโลเก อะนะภิะระตะสัญญา ฯ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ๙. กะตะมา จานันทะ สัพพะสังขาเรสุ อะนิจจะสัญญา<O:p</O:p
    อิธานันทะ ภิกขุ สัพพะสังขาเรหิ อัฏฏิยะติ หะรายะติ ชิคุจฉะติ ฯ<O:p</O:p
    อะยัง วุจจะตานันทะ สัพพะสังขาเรสุ อะนิจจะสัญญา
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ๑๐. กะตะมา จานันทะ อานาปานัสสติ อิธานันทะ ภิกขุ<O:p</O:p
    อะรัญญะคะโต วา รุกขะมูละคะโต วา สุญญาคาระคะโต วา นิสีทะติ<O:p</O:p
    ปัลลังกัง อาภุชิตวา อุชุง กายัง ปะณิธายะ ปะริมุขัง สะติง อุปัฏฐะเปตวา ฯ โส สะโต วะ <O:p</O:p
    อัสสะสะติ สะโต ปัสสะสะติ ฯ
    <O:p</O:p
    ทีฆัง วา อัสสะสันโต ทีฆัง อัสสะสามีติ ปะชานาติ<O:p</O:p
    ทีฆัง วา ปัสสะสันโต ทีฆัง ปัสสะสามีติ ปะชานาติ <O:p</O:p
    รัสสัง วา อัสสะสันโต รัสสัง อัสสะสามีติ ปะชานาติ<O:p</O:p
    รัสสัง วา ปัสสะสันโต รัสสัง ปัสสะสามีติ ปะชานาติ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    สัพพะกายะปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ<O:p</O:p
    สัพพะกายะปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ<O:p</O:p
    ปัสสัมภะยัง กายะสังขารัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ<O:p</O:p
    ปัสสัมภะยัง กายะสังขารัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
    <O:p</O:p
    ปีติปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ<O:p</O:p
    ปีติปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    สุขะปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ <O:p</O:p
    สุขะปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
    <O:p</O:p
    จิตตะสังขาระปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ<O:p</O:p
    จิตตะสังขาระปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ<O:p</O:p
    ปัสสัมภะยัง จิตตะสังขารัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ<O:p</O:p
    ปัสสัมภะยัง จิตตะสังขารัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ<O:p</O:p
    จิตตะปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ<O:p</O:p
    จิตตะปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    อะภิปปะโมทะยัง จิตตัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ<O:p</O:p
    อะภิปปะโมทะยัง จิตตัง ปัสสะสิสสามิติ สิกขะติ<O:p</O:p
    สะมาทะหัง จิตตัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ<O:p</O:p
    สะมาทะหัง จิตตัง ปัสสะลิสสามีติ สิกขะติ
    <O:p</O:p
    วิโมจะยัง จิตตัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ <O:p</O:p
    วิโมจะยัง จิตตัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ<O:p</O:p
    อะนิจจานุปัสสี อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ<O:p</O:p
    อะนิจจานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    วิราคานุปัสสี อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ<O:p</O:p
    วิราคานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ<O:p</O:p
    นิโรธานุปัสสี อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ<O:p</O:p
    นิโรธานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
    <O:p</O:p
    ปะฏินิสสัคคานุปัสสี อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ <O:p</O:p
    ปะฏินิสสัคคานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    อะยัง วุจจะตานันทะ อานาปานัสสะติ ฯ
    <O:p</O:p
    สะเจ โข ตวัง อานันทะ คิริมานันทัสสะ ภิกขุโน<O:p</O:p
    อุปะสังกะมิตวา อิมา ทะสะ สัญญา ภาเสยยาสิ ฐานัง โข ปะเนตัง<O:p</O:p
    วิชชะติ ยัง คิริมานันทัสสะ ภิกขุโน อิมา ทะสะ สัญญา สุตวา<O:p</O:p
    โส อาพาโธ ฐานะโส ปะฏิปปัสสัมเภยยาติ ฯ

    <O:p</O:p
    อะถะโข อายัสมา อานันโท ภะคะวะโต สันติเก อิมา ทะสะ<O:p</O:p
    สัญญา อุคคะเหตวา เยนายัสมา คิริมานันโท เตนุปะสังกะมิ<O:p</O:p
    อุปะสังกะมิตวา อายัสมะโต คิริมานันทัสสะ อิมา ทะสะ สัญญา อะภาสิ ฯ

    <O:p</O:p
    อะถะโข อายัสมะโต คิริมานันทัสสะ อิมา ทะสะ สัญญา<O:p</O:p
    สุตวา โส อาพาโธ ฐานะโส ปะฏิปัสสัมภิ ฯ วุฏฐะหิ จายัสมา<O:p</O:p
    คิริมานันโท ตัมหา อาพาธา ตะถาปะโน จะ ปะนายัสมะโต<O:p</O:p
    คิริมานันทัสสะ โส อาพาโธ อะโหสีติ <O:p</O:p


    <O:p></O:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ตุลาคม 2009
  19. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    อาพาธสูตร (คิริมานนทสูตร)<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ<O:p</O:p
    ขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น<O:p</O:p
    พุทธวัจนะ ดั่งว่า ...<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระคิริมานนท์อาพาธ ได้รับทุกข์เป็นไข้หนัก

    ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

    "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระคิริมานนท์อาพาธ ได้รับทุกข์เป็นไข้หนัก ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดอนุเคราะห์เสด็จเยี่ยมท่านพระคิริมานนท์ยังที่อยู่เถิด พระเจ้าข้า"
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า <O:p</O:p

    "ดูก่อนอานนท์ ถ้าเธอพึงเข้าไปหา แล้วกล่าว สัญญา ๑๐ ประการ แก่คิริมานนท์ภิกษุไซร้ ข้อที่อาพาธของคีริมานันทภิกษุ จะพึงสงบระงับโดยฉับพลัน เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ สัญญา ๑๐ ประการนั้นเป็นฐานที่จะมีได้ สัญญา ๑๐ ประการเป็นไฉน ? คือ -

    อนิจจสัญญา ๑ อนัตตสัญญา ๑ อสุภสัญญา ๑ อาทีนวสัญญา ๑ ปหานสัญญา ๑ วสิราคสัญญา ๑ นิโรธสัญญา ๑ สัพพโลเก อนภิรตสัญญา ๑ สัพพสังขาเรสุ อนิฏฐสัญญา ๑ และอานาปานัสสติ ๑ <O:p</O:p

    ดูก่อนอานนท์ ก็อนิจจสัญญาเป็นไฉน ?
    ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
    รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง ย่อมพิจารณาเห็น โดยความเป็นของไม่เที่ยง ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ด้วยประการอย่างนี้
    ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า อนิจจสัญญา
    <O:p</O:p
    ดูก่อนอานนท์ ก็อนัตตสัญญาเป็นไฉน ?
    ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดีอยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า จักษุเป็นอนัตตา รูปเป็นอนัตตา หูเป็นอนัตตา เสียงเป็นอนัตตา จมูกเป็นอนัตตา กลิ่นเป็นอนัตตา ลิ้นเป็นอนัตตา รสเป็นอนัตตา กายเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา ใจเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา ย่อมพิจารณาเห็น โดยความเป็นอนัตตาในอายตนะทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ๖ ประการเหล่านี้ ด้วยประการอย่างนี้
    ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า อนัตตสัญญา<O:p</O:p

    ดูก่อนอานนท์ ก็อสุภสัญญาเป็นไฉน ?
    ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้นั่นแลเบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบเต็มด้วยของไม่สะอาด มีประการต่าง ๆ ว่า
    ใน กายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม เนื้อหัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ย่อมพิจารณาเห็น โดยความเป็นของไม่งามในกายนี้ ด้วยประการดังนี้
    ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า อสุภสัญญา
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ดูก่อนอานนท์ ก็อาทีนวสัญญาเป็นไฉน ?
    ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก เพราะฉะนั้นอาพาธต่าง ๆ จึงเกิดขึ้นในกายนี้ คือ -
    โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคที่ใบหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝีโรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด หูด โรคละออง บวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง

    อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีไข้สันนิบาต อาพาธอันเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธอันเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธอันเกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธอันเกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ย่อมพิจารณาเห็น โดยความเป็นโทษในภายนี้ ด้วยประการดังนี้
    ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า อาทีนวสัญญา
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ดูก่อนอานนท์ ก็ปหานสัญญาเป็นไฉน ?
    ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งกามวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว
    ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งพยาบาทวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา
    ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งวิหิงสาวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว
    ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันชั่วช้า อันเกิดขึ้นแล้ว และเกิดขึ้นแล้ว
    ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า ปหานสัญญา<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ดูก่อนอานนท์ ก็วิราคสัญญาเป็นไฉน ?
    ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
    ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา ธรรมเป็นที่สำรอกกิเลส ธรรมชาติเป็นที่ดับกิเลสและกองทุกข์
    ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า วิราคสัญญา <O:p</O:p

    ดูก่อนอานนท์ นิโรธสัญญาเป็นไฉน ?
    ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
    ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา ธรรมเป็นที่ดับโดยไม่เหลือ ธรรมชาติเป็นที่ดับกิเลสและกองทุกข์
    ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า นิโรธสัญญา<O:p</O:p

    ดูก่อนอานนท์ สัพพโลเก อนภิรตสัญญาเป็นไฉน ?
    ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละอุบาย (ตัณหาทิฐิ) และอุปาทานในโลก อันเป็นเหตุตั้งมั่น ถือมั่น และอนุสัยแห่งจิต ย่อมงดเว้น ไม่ถือมั่น
    ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า สัพพโลเก อนภิรตสัญญา<O:p</O:p

    ดูก่อนอานนท์ สัพพสังขาเรสุ อนิฏฐสัญญาเป็นไฉน ?
    ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมอึดอัด ย่อมระอา ย่อมเกลียดชัง แต่สังขารทั้งปวง
    ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า สัพพสังขาเรสุ อนิษฐสัญญา<O:p</O:p

    ดูก่อนอานนท์ อานาปานัสสติเป็นไฉน ?
    ดูก่อนอานนท์ ภิกษูในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
    <O:p</O:p
    เธอเป็นผู้มีสติ หายใจเข้า เป็นผู้มีสติ หายใจออก
    เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว
    เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
    ย่อมศึกษาว่า จักเป็นกำหนดรู้กาย (ลมหายใจ) ทั้งปวง หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้กายทั้งปวง หายใจออก
    ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขาร (ลมหายใจ) หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก
    ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้ปีติ หายใจออก
    ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตตสังขาร (เวทนา) หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตตสังขาร หายใจออก
    ย่อมศึกษาว่า จักระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักระงับจิตตสังขาร หายใจออก
    ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิต หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิต หายใจออก
    ย่อมศึกษาว่า จักยังจิตให้บันเทิง หายใจเข้าย่อมศึกษาว่า จักยังจิตให้บันเทิง หายใจออก
    ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตให้มั่น หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตให้มั่น หายใจออก
    ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิต หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิตให้หายใจออก
    ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความเป็นของไม่เที่ยง หายใจออก
    ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความคลายกำหนัด หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัด หายใจออก
    ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความดับสนิท หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความดับสนิท หายใจออก
    ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสลัดคืน หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความสลัดคืน หายใจออก
    ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า อานาปานัสสติ<O:p</O:p

    ดูก่อนอานนท์ ถ้าเธอพึงเข้าไปหา แล้วกล่าวสัญญา ๑๐ ประการนี้ แก่คิริมานนทภิกษุไซร้ ข้อที่อาพาธของคิริมานนทภิกษุ จะพึงสงบระงับโดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้"

    ลำดับนั้นแล ท่านพระอานนท์ ได้เรียนสัญญา ๑๐ ประการนี้ ในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้ไปหาท่านพระคิริมานนท์ยังที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวสัญญา ๑๐ ประการแก่ท่านพระคิริมานนท์

    ครั้งนั้นแล อาพาธนั้นของท่านพระคิริมานนท์ ได้สงบระงับโดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนี้ ท่านพระคิริมานนท์หายจากอาพาธนั้น
    ก็แลอาพาธนั้น เป็นโรคอันท่านพระคิริมานนท์ ละได้แล้วด้วยประการนั้น แล<O:p</O:p
    <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ตุลาคม 2009
  20. Bacary

    Bacary เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,211
    ค่าพลัง:
    +23,196
    อนุโมทนาสาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...