รบกวรสอนใช้กล้องถ่ายพระมั่งครับมือใหม่

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย djnutza161, 24 กุมภาพันธ์ 2011.

  1. djnutza161

    djnutza161 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +0
    คือถ่ายทีไรก้อไม่ชัดครับเปิดแฟรชก้อแล้วปิดก้อแล้ว

    ใช้samsungอ่ะครับ

    ลองถ่าย3-4องแล้ว

    ก้อยังไม่ได้รบกวนผู้รู้ที
     
  2. วายุเหิน

    วายุเหิน สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +18
    ลองปรับกล้องไปที่การถ่ายภาพมาโครดูนะครับแล้วลองปรับระยะของ(ระยะที่ยืนถ่ายภาพ)โฟกัสดูว่าตรงใหนชัดที่สุด หรือไม่ก็ตั้งที่โปรแกรม autoเลยมันง่ายดีครับ ลองนะครับ:cool:
     
  3. oondoyja

    oondoyja เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    802
    ค่าพลัง:
    +2,661
    สงสัยต้องให้พี่ ทอดาว เปิดครอสส่อนอีกซักรอบ คราวก่อนไม่ได้เรียนเลยเสียดายมาก
     
  4. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    18,949
    ค่าพลัง:
    +53,093

    ตามนี้เลยครับ .........
     
  5. narmja

    narmja เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    7,921
    ค่าพลัง:
    +8,496
    ยาวหน่อยนะครับ รวบรวมมาให้


    นับว่าเป็นโชคดีของพวกเราในยุคสมัยนี้ที่วิทยาการต่าง ๆรอบตัวได้ก้าวหน้าไปมาก ซึ่งทำให้ผู้คนในยุคสมัยนี้ต่างก็มีเครื่องไม้เครื่องมือที่อำนวยความสะดวกสะบายมากมาย ซึ่งกล้องถ่ายภาพก็เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ใช้บรรทึกความทรงจำต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความทรงจำที่อยากจดจำ หรืออยากจะลืมในบางครั้ง (อันนี้สาว ๆส่วนมากเคยเจอคือ รูปถ่ายกับแฟนเก่า)
    อย่างการถ่ายภาพพระเครื่องก็ถือเป็นการบรรทึกความทรงจำในสิ่งที่เป็น วัตถุยึดเหนี่ยวจิตใจ (บางท่านใช้ทำประวัติสมบัติส่วนตัวด้วย) ช่วยให้เรามีความสงบมากในขณะที่เราบรรทึกภาพองค์ท่านอย่างมาก ถือเป็นการทำสมาธิได้อย่างนึง ครับ ดังนั้นก่อนที่เราจะพูดถึงการถ่ายภาพ เรามาทำความเข้าใจถึงหลักในการทำงานคร่าว ๆของกล้องที่เราจะนำมาถ่ายภาพพระเครื่องกันซักนิดซึ่งขอแนะนำให้ใช้กล้อง ดิจิตอล ครับ
    ซึ่งกล้องถ่ายภาพดิจิตอลในยุคปัจจุบันนี้มีราคาที่ถูกลงมากแถมยังได้มีฟังชั่นต่าง ๆมากมายที่ช่วยให้เราสามารถถ่ายภาพต่างได้สวยงามมากขึ้น และง่ายมากยิ่งขึ้นอีกด้วย แต่ต้องขอยกไว้ไปต่อตอนหน้า นะ ครับ เพราะพึ่งหัดเขียนบล็อกแค่นี้ก็ใช้เวลาหลายชั่วโมงแล้ว อะ ครับ
    ขอบคุณทุก ๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียน ครับ
    มีความเห็นอะไรก็เชิญเสนอแนะได้ นะ ครับ

    ต่อเลยครับหลังจากไปพักผ่อนนอนหลับเนื่องจากการเวียนหัว ที่ต้องทำความเข้าใจกับระบบจัดการต่าง ๆของเวบบล็อก อะ ครับ
    เข้าเรื่องต่อเลย นะ ครับ การถ่ายภาพพระด้วยกล้อง ดิจิตอล ก่อนอื่นเราต้องทราบข้อมูลความจำเป็นของฟังชั่นที่เราจำเป็นต้องใช้ในการถ่ายภาพคือ
    1 เลนซ์ของตัวกล้องถ้าต้องการให้ผลงานออกมาดีมาก ควรพิจารณากล้องที่มีตัว เลนซ์ ที่เป็นกระจก ซึ่ง เลนซ์กระจกนั้นให้ความสว่าง ความคมชัดได้ดีกว่า เลนซ์พลาสติก นั่นเพราะคุณสมบัติที่มีความโปร่งแสงมากกว่า ครับ
    2 กล้องที่มีระบบถ่ายภาพในโหมด มาโคร จะเป็น มาโครเฉย ๆ หรือซุปเปอร์ มาโคร ก็ได้ การถ่ายโดยโหมด ซุปเปอร์ มาโคร ซึ่งตรงนี้ผู้คนส่วนมากจะเข้าใจว่าถ้าเป็น ซุปเปอร์มาโครจะถ่ายภาพได้ชัดมากกว่าอันนี้ก็มีส่วนถูก เพียงครึ่งเดียวเพราะ องค์ประกอบในการถ่ายภาพ มาโคร นั้นขึ้นอยู่กับการควบคุมการเปิดหน้ากล้อง และแสง ด้วย ครับ ซึ่งอันนี้ก็เลยเป็นที่มาของ ข้อ 3 อะ ครับ
    3 กล้องที่มีระบบการปรับชัตเตอร์สปีด และหน้ากล้องได้ (F) ตอนที่ผมเริ่มถ่ายภาพพระใหม่ ๆนั้น กล้องที่จะมีระบบปรับชัตเตอร์สปีด และหน้ากล้องได้ (F) นั้นจะมีราคาที่สูงมาก ๆ ซึ่งทำได้แค่ยืนมองดูในตู้โชว์แล้วทำตาปริบ ๆแล้วก็เดินจากไป หาซื้อหนังสือที่เขียนเกี่ยวกับ กล้องตัวนั้นมาอ่านแล้วก็จินตนาการถึงการทำงานของมัน และภาพที่ได้ออกมาจากกล้องตัวนั้น ซึ่งไม่เหมือนในปัจจุบันนี้ ทุกอย่างที่ต้องการต่าง ๆ ถูกบรรจุอยู่ใน กล้องคอมแพ็ค ซึ่งมีราคาหลักพันปลายถึงหมื่นต้น เท่านั้น สาเหตุที่ต้องปรับชัตเตอร์สปีด และหน้ากล้องได้ (F) นั้นเพื่อความชัดลึกของภาพ หมายความว่าถ้าเราแบ่งวัตถุประธานของภาพออกเป็นชั้นสัก 3 ชั้นในแนวดิ่งคือ บน กลาง และลึก ถ้าเราปรับชัตเตอร์สปีดไว้เร็ว และหน้ากล้องนั้นเราต้องปรับไปในอัตราส่วนที่เป็นไปในแนวเดียวกันคือ กดปุ่มลั่นชัตเตอร์ปุ๊บตัวชัตเตอร์ทำงานทันทีเราต้องปรับหน้ากล้องให้กว้างตามไปด้วย (F 4-8 โดยประมาณ) ก็จะถ่ายภาพได้ความคมชัดแค่ชั้นบนของวัตถุประธานของภาพซึ่งเป็นสาเหตุให้ภาพที่ถ่ายออกมาส่วนมากจะดูไม่ค่อยชัด ถ้าเกิดเราปรับชัตเตอร์สปีดให้ช้าลงอีกสักนิดประมาณ 5-18 วินาทีเราต้องปรับหน้ากล้องให้แคบลงอีกสักหน่อย (F 10-16 โดยประมาณ) ภาพก็จะชัดเพิ่มขึ้นถึงชั้นที่ 2 คือชั้นกลาง ก็จะทำให้เราได้ภาพที่มีความชัดเจนในระดับที่เป็นน่าพอใจได้แต่ยังไม่ถึงขั้นดีแต่ความชัดระดับนี้เหมาะสมกับการถ่ายภาพ พระสมเด็จ และเหรียญพระ หรือพระเครื่องที่ไม่มีความหนามากนัก สุดท้ายการปรับชัดเตอร์สปีดให้ช้าลงประมาณ 20-30 วินาที เราต้องปรับหน้ากล้องให้แคบลงเพิ่มอีก ครับ (F 20-32 โดยประมาณ) ชัตเตอร์สปีดระดับนี้เหมาะสำหรับการถ่ายภาพพระรูปหล่อ พระกริ่ง และพระกรุต่าง ๆที่มีขนาดใหญ่ หรือพระที่มีซอกมุมมาก ๆ ทั้งหมดทุกระดับของการปรับชัตเตอร์สปีด และหน้ากล้องนั้นเราต้องปรับแสง (โคมไฟ) ตามไปด้วยเช่น

    ถ้าเราถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์สปีดเร็ว หน้ากล้องกว้าง (F 4-8) นั้นเราต้องใช้แสงที่สว่างมากเช่นแสงแฟลช

    ถ้าเราถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์สปีดปานกลาง (5-18 วินาที) หน้ากล้องต้องแคบลงหน่อย (F 10-16) แสงที่ใช้ก็เป็นแสงนิออนปรกติทั่วไปก็เพียงพอ

    ถ้าเราถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์สปีดนาน (20-30 วินาที) หน้ากล้องต้องแคบลงอีกหน่อย (F 20-32) แสงที่ใช้นั้นต้องลดลงอย่างมาก ทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับสีขององค์พระอีกด้วยถ้าองค์พระสีเข้มมากแสงก็ยิ่งต้องลดลงอีก ครับ ทั้งนี้ทุกสิ่งทุกอย่างต้องทดลองทดสอบจนคุ้นเคยจึงจะถ่ายภาพออกมาได้ชัด ครับ
    4 อันนี้เป็นอุปกรณ์เสริมครับคือ ขาตั้งกล้องต้องเป็นขาที่มั่นคงแข็งแรง หรือเราจะดัดแปลงหาเหล็กไปให้ช่างโรงกลึงทำก็ได้ครับแต่ที่สำคัญต้องแข็งแรงและตั้งได้นิ่งที่สำคัญอีกอย่างนึงคือ ต้องสามารถปรับเลื่อนขึ้นลงได้สัก 2 ฟุตเพื่อขนาดขององค์พระ และระยะของโฟกัส
    5 กระจกใสสำหรับวางพระถ่ายเพื่อที่เวลาถ่ายภาพจะได้ไม่มีเงามืด และตะกร้าสี่เหลี่ยมครับ หรือจะเป็นกล่องอะไรก็ได้ที่มีขนาดสักประมาณ 6 นิ้ว x 10 นิ้ว (ผมใช้ตะกร้าครับสะดวกหาง่าย) ที่สำคัญควรมีความลึกสัก 5 นิ้วขึ้นไป ครับ แล้วหายางรองพระมาตัดเป็นแผ่นรองที่ด้านล่างของตะกร้าควรมีสีเข้ม และสีอ่อนเอาไว้เปลี่ยนเวลาถ่ายภาพพระสีเข้ม ๆ หรือจะใช้กระดาษสีรองก็ได้ แต่ห้ามใช้ของที่มีมันเงารองเพราะจะทำให้ตัววัดแสงในกล้องทำงานเพี้ยนได้

    6 สุดท้ายก็โคมไฟครับทีผมใช้ตอนนี้เป็นแบบที่เป็นหลอดนิออนแบบตั้งโต๊ะ แล้วใช้กระดาษ 80 แกรมปิดหน้าหลอดทั้งหมด หรือท่าน ๆจะใช้แบบไหนก็ได้แล้วแต่สะดวก และประหยัด

    เอาละครับทีนี้เราก็พร้อมที่จะลงมือถ่ายภาพกันได้แล้ว อะ ครับ

    ผมลืมสิ่งที่สำคัญที่สุดไป อะ ครับ คือท่านต้องมีคอมพิวเตอร์ที่มี โปรแกรมโฟโต้ฉ้อป (Photoshop) ด้วย

    มาถึงตอนนี้ผมได้รับการติดต่อสอบถามจากเพื่อนๆ สมาชิกมาอย่างมากว่าจะใช้กล้องถ่ายภาพแบบไหนดี ตรงนี้หละครับเป็นทางแยกสำคัญที่เราต้องตัดสินใจในเรื่องงบประมาณ และก่อนที่เราจะตั้งงบประมาณเราต้องตอบคำถามกับตัวเองก่อนว่า เรามีความซีเรียสกับผลงานของภาพระดับไหนเช่น

    ก. แค่ถ่ายภาพลงเวปสอบถามพูดคุยหาเพื่อนสนุกๆ เท่านั้น
    ข. ถ่ายภาพลงเวปเพื่อการพาณิชย์
    ค. ทุกอย่างที่กล่าวมา แต่เน้นคุณภาพเพื่อเก็บเป็น คอลเลคชั่นผลงานส่วนตัว ด้วย
    ถ้าเกิดคำตอบคือข้อ ก. อุปกรณ์ที่ต้องการก็แค่กล้อง คอมแพ็คดิจิตอล ที่มีราคาแค่หลักพัน ก็เพียงพอแล้ว ครับ

    ถ้าเกิดคำตอบคือข้อ ข. (ผมอยากรวมกลุ่ม ก. ที่คิดว่าจะซื้อของถูกๆ ใช้ก่อนพอเก่งแล้วค่อยเปลี่ยน ผมอยากแนะนำให้ท่านลงทุน เลย อะครับ จะได้เสียเงินทีเดียว และจะได้ไม่มีอุปกรณ์เหลือใช้ ด้วย) กลุ่มนี้ผมอยากแนะนำให้ใช้ กล้องคอมแพ็คดิจิตอล ที่มีราคาประมาณ หมื่นต้นไม่เกินหมื่นกลาง (12,000-15,000)

    ถ้าเกิดคำตอบคือข้อ ค. ผมแนะนำให้ท่านใช้ กล้องดิจิตอลที่เป็นแมนนวล (Dslr) + เลนซ์ มาโคร เพราะคุณภาพของไฟล์ภาพที่ได้นั้นดีสมราคาจริงๆ ซึ่งยังไม่มี กล้องคอมแพ็ค ตัวไหนให้คุณภาพได้เท่า (อาจจะมีแต่ผมไม่รู้ก็ได้ ครับ ถ้าใครทราบโปรดแนะนำด้วย) ซึ่งงบประมาณจะอยู่ที่ 30,000/+-นิดหน่อย อะ ครับ
    หวังว่าเพื่อนๆ สมาชิกคงจะหาคำตอบให้ตัวท่านเองได้ นะ ครับ คราวหน้าเราจะได้เริ่มลงมือถ่ายภาพ กัน

    วันนี้เรามาเริ่มถ่ายภาพกันเลย ครับ
    อันดับแรกผมแนะนำให้ถ่ายภาพในท่านั่ง ครับ เพราะจะได้ไม่ปวดขา และหลัง
    ตัวกล้องให้ติดเข้ากับขาตั้งกล้องและในตัวขาตั้งกล้องนั้น ผมอยากแนะนำให้ท่านไปโรงกลึงให้เค้ากลึงเหล็กมีความยาวสัก 6 นิ้วให้ปลายด้านนึงเป็นเกลียวตัวผู้เพื่อขันเข้าทางด้านท้ายของตัวกล้องส่วนอีกด้านนึงให้ช่างต๊าปเกลียวใน เพื่อที่จะได้นำไปขันเข้าต่อกับขากล้องซึ่งควรถอแท่นขาตั้งไปให้ช่างกลึงเค้าวัดเกลียวด้วย นะ ครับ เพื่อนำมาต่อกับขาตั้งกล้องผมแนะนำให้ท่านวางตัวกล้องในแนวนอนครับ เพราะสะดวกในการจัดแต่งองค์ประกอบ ,องค์พระ และแสงได้สะดวก ที่สำคัญควรหาระดับน้ำมาช่วยจัดเพื่อให้ตัวกล้องตั้งในแนวนอนที่ราบเรียบจริงๆ ไม่เอียงซ้าย เอียงขาว และไม่ก้มหน้ามากเกินไปเพราะเมื่อทำการถ่ายภาพออกมารูปองค์พระจะได้สมจริงไม่หดสั้น และบิดเบี้ยวเกินเป็นความจริง (ห้ามน้ำระดับน้ำที่เป็นแม่เหล็กมาวางไว้บนกล้องเด็ดขาดเพราะแม่เหล็กจะทำให้ระบบ อิเล็กโทรนิค ในตัวกล้องเสียหายให้นำแม่เหล็กออกให้หมดเสียก่อน นะ ครับ) คราวนี้ตัวกล้องจะอยู่ในตำแหน่งที่คงที่ จะมีการขยับก็แค่เลื่อนขึ้นลงเท่านั้น
    พอเราตั้งกล้องได้แล้วที่นี้ก็มาจัดพื้นที่สำหรับวางองค์พระ ตำแหน่งคือใต้กล้องในแนวดิ่งคราวนี้เราก็นำตะกร้าหรือกล่องอะไรก็ได้ที่มีขนาดตามที่ได้กล่าวไว้แล้ว หรือแล้วแต่สะดวกมาวางใต้กล้องแนะนำควรมีความลึกพอประมาณเพื่อลดแสงสะท้อนที่จะเข้ามาในกล้อง และควรหาสิ่งของมาใส่ในตะกร้าหรือกล่องเพื่อถ่วงให้มีความหนักไม่สามารถเลื่อนหนีได้ คราวนี้ให้หากระดาษสี หรือยางรองขอบพระมาปูรองที่พื้นของตะกร้าหรือกล่อง
    แนะนำ วัตถุที่จะนำมารองพื้นตะกร้าหรือกล่องนั้นควรเป็นวัตถุที่ไม่สะท้อนแสงหรือเป็นมันวาว เพื่อที่จะได้ลดแสงไม่ให้เข้าไปกวนระบบวัดแสงของกล้อง วัตถุรองพื้นนี้ควรมี สีเทาอ่อนๆ หรือดำ เพื่อความสะดวกในเวลาที่เรานำไฟล์ของภาพไปลบแบ็คกราวออก
    เทคนิค ถ้าท่านถ่ายภาพด้วยกล้อง คอมแพ็คดิจิตอล ที่ไม่สามารถปรับหน้ากล้องได้ควรใช้ตัวรองพื้นสีเทา (หรือจะเป็นสีน้ำตาลอ่อนๆก็ได้) เพียงอย่างเดียวเพราะสีเทาเป็นสีที่ช่วยให้ตัววัดแสงในกล้องทำงานได้ดีที่สุด เพราะภาพที่ได้ออกมาจะง่ายต่อการตบแต่งด้วยโปรแกรมมาก หรือท่านที่ใช้กล้อง ดิจิตอลที่สามารถปรับแต่งหน้ากล้องได้จะใช้ วัตถุรองพื้นสีเทาก็ได้ แต่การที่ใช้วัตถุสีเทารองพื้น นี้มีข้อเสียอยู่ว่าเมื่อเราทำการลบแบ็คกราวออกแล้วที่ขอบของภาพที่ได้จะมีสีขาวโดยรอบ ถ้าเรารองพื้นด้วยสีแดงเราก็จะได้ภาพที่มีสีแดงโดยรอบ ถ้าจะแก้ไขก็ควรใช้วัตถุรองพื้นสีดำรองพื้นแต่จะยากมากเวลาที่เราจะลบแบ็กราวออกนอกเสียจากว่า กล้องของท่านสามารถปรับหน้ากล้องได้แคบมากๆ เพื่อถ่ายให้ภาพได้ความชัดลึกมากสุดๆ นั้นเองซึ่งจะช่วยให้ภาพคมชัดไปถึงส่วนลึกที่สุดของภาพทำให้สามารถแยกออกระหว่างองค์พระและแบ็คกราวก็จะง่ายในการลบแบ็คกราวออก
    เมื่อวางตะกร้าหรือกล่องเสร็จแล้ว และได้ทำการรองพื้นแล้วคราวนี้เราก็นำแผ่นกระจกใสมาวางเหนือตะกร้าหรือกล่อง ตัวแผ่นกระจกควรมีขนาดใหญ่กว่าตะกร้าหรือกล่องเล็กน้อยเพื่อความสะดวกในการเลื่อนให้องค์พระอยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ และควรทำความสะอาดกระจกนี้ทั้งสองด้าน ถ้ากระจกนี้มีความสะอาดเพียงพอท่านก็ไม่จำเป็นที่จะต้องนำภาพไปลบแบ็คกราวออกเลยสามารถที่จะนำภาพนั้นไปใช้ได้เลย ละ ครับ
    เมื่อเตรียมพื้นที่ต่างๆ เสร็จเรียบร้อยแล้วคราวนี้ก็มาถึงเรื่องแสงครับ แนะนำว่าควรปิดแสงแฟลชที่ตัวกล้องก่อนอื่น แล้วให้ใช้โคมไฟครับเพราะเราต้องมีการเลื่อนเข้าออก และยกขึ้นหรือก้มลงอีกด้วย ครับ เพื่อความเหมาะสมกับลักษณะขององค์พระซึ่งมีสีสรรและรูปลักษณ์ที่แตกต่างกันหลายลักษณะ ครับ ส่วนตำแหน่งการวางของแสงแนะนำว่าควรจะอยู่ที่ทิศเหนือส่องลงทิศใต้ คือจากด้านบนขององค์พระลงสู่ด้านล่างขององค์พระ เพื่อภาพที่ได้จะได้มีแสงเงาและเหลี่ยมมุมดูไม่แบนจะเกินไปการว่างแสงในตำแหน่งนี้ยังทำให้ภาพดูเป็นสามมิติอีกด้วย ที่สำคัญต้นกำเนิดของแสงนั้นควรจะมีตำแหน่งเดียวดังที่ได้กล่าวมาแล้วแสงไฟที่นอกเหนือจากนั้นควรปิดให้หมดเพราะมีส่วนกระทบกับการถ่ายภาพทั้งนั้นเพราะกล้องดิจิตอลนั้นไวต่อแสงมาก คราวนี้ก็มาถึงส่วนสำคัญคือว่าแล้วเราจะใช้หลอดไฟขนาดไหนจึงจะเหมาะสม ในส่วนตัวผมนั้นใช้โคมไฟที่เป็นหลอดนีออนแล้วปิดด้วยกระดาษสีขาวหนา 80 แกรม วางห่างจากองค์พระประมาณ 1 ฟุต และทำมุม 45 องศากับองค์พระ ระยะห่างในการวางโคมไฟนั้นยังขึ้นอยู่กับการปรับรูรับแสงอีกด้วย ครับ ส่วนพวกท่านนั้นจะใช้แตกต่างจากผมก็ได้ ครับ ข้อสำคัญเราครวญถ่ายภาพให้ภาพพระที่ได้ออกมานั้นให้ออกมามืดเล็กน้อย (อันเดอร์) เพราะจะง่ายในการใช้โปรแกรมตบแต่งช่วย ถ้าเราถ่ายภาพออกมาโดยให้แสงสว่างมากเกินไปภาพที่ได้ออกมานั้นจะยากมากในการตบแต่งแก้ไข หรือไม่ก็ไม่สามารถแก้ไขใดๆ ได้เลยนอกเสียจากทำการถ่ายใหม่ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเทคนิคในการถ่ายภาพด้วยกล้อง ดิจิตอลที่สามารถปรับหน้ากล้องได้ ส่วนกล้องคอมแพ็คที่ไม่สามารถปรับแต่งหน้ากล้องได้นั้นก็สามารถใช้แสงในแนวนี้ได้เหมือนกันเพียงแต่ต้องเลื่อนโคมไฟเข้ามาใกล้อีกเท่านั้น ซึ่งกล้องชนิดนี้ต้องใช้แสงที่สว่างมากขึ้นอีกหน่อย ครับ หรือท่านจะทดลองใช้ไฟแบบไม่ต้องพลางแสงก่อน แล้วค่อยๆ หาวัตถุที่มีความทึบแสงเริ่มจากน้อยๆ ไปจนถึงกระดาษ 80 แกรม ทั้งนี้ทั้งนั้นท่านต้องทดลองเลื่อนหาตำแหน่งไฟดูด้วยตัวเองด้วยนะ ครับ เพราะว่ากล้องของแต่ละท่านนั้นคงมีส่วนที่แตกต่างกันอยู่บ้าง ครับ
    คราวนี้เราก็สามารถเริ่มต้นถ่ายภาพพระได้แล้วละครับ ทำการเปิดตัวกล้องเปิดระบบมาโครของตัวกล้องคือหมุนปุ่มคอนโทลไปที่รูปดอกไม้แล้วเปิดให้ทำงาน ปิดระบบแฟลช ควรตั้งคุณภาพของ ไฟล์ ไว้ที่สูงสุด นะ ครับ อย่าเสียดายเมมโมรี่ เลยครับ เพื่อเราอยากจะนำภาพไปอัดจะได้ภาพที่มีคุณภาพแล้วจัดนำพระมาวางบนกระจกใสแล้วเลื่อนกระจกไปมาเพื่อให้องค์พระอยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางของจอภาพ ถ้าภาพที่ได้ยังไม่เต็มเฟรมก็เลื่อนกล้องขึ้นลงจนได้ภาพที่เต็มเฟรมพอดี แนะนำถ้ากล้องของท่านมีระบบมาโครที่สามารถถ่ายภาพได้ใกล้มากๆ อยากให้ท่านวางตัวกล้องให้ห่างจากองค์พระประมาณ 2-3 นิ้ว เพื่อที่ว่าตัวกล้องจะได้ไม่ปิดบังแสงจากโคมไฟมากเกินไปให้เราซูมที่ตัวกล้องเพื่อดึงภาพเข้ามาแทนแต่ก็อย่าซูมเข้ามาจนเกินโฟกัสของเลนซ์ นะครับเพราะภาพจะไม่คมชัดเท่าที่ควร จากนั้นเราก็เลื่อนโคมไฟขึ้นลงเข้าออกจนได้ความสว่างทั่วทั้งภาพ แนะนำให้หากระดาษแข็งสีขาวขนาดประมาณ 2x3 นิ้วมาวางใต้องค์พระเพื่อสะท้อนแสงลบเงามืดที่ใต้องค์พระควรวางกระดาษนี้ห่างออกมาประมาณ 1 นิ้วหรือแล้วแต่เหมาะสม แล้วทำการปรับแต่งหน้ากล้องตามลักษณะขององค์พระว่าควรเปิดหน้ากล้องเท่าไหร่ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น ที่นี้เราก็กดปุ่มชัตเตอร์ลงมาครึ่งนึงเพื่อให้กล้องทำการโฟกัส และวัดแสงเราเช็คดูตัววัดแสงที่ตัวกล้องว่าแสงที่โชว์นั้น อันเดอร์หรือโอเวอร์ให้ท่านเลื่อนปรับโคมไฟจนตัววัดแสงที่ตัวกล้องอยู่ในลักษณะต่ำกว่ากึ่งกลางเล็กน้อย (1ขีด) เมื่อได้ดังนี้แล้วเราก็ค่อยๆ กดชัดเตอร์อย่างแผ่วเบาเพื่อลั่นชัตเตอร์เพื่อป้องกันไม่ให้กล้องสั่นไหว เพราะการถ่าย มาโคร แม้แต่การสั่นเสทือนเล็กน้อยก็ทำให้ภาพไหวขาดความคมชัดได้ ครับ
    เป็นการจบในวิธีการถ่ายภาพแล้วครับ ทั้งนี้ทั้งนั้นท่านต้องทำการซ้อมถ่ายภาพบ่อยๆ เพื่อให้เกิดความชำนาญ ครับ ลำดับต่อไปก็จะพูดถึงการใช้โปรแกรมกันแล้ว หละ ครับ...

    ผมจะพยายามมาอัพ บล็อก ให้เร็วที่สุด นะ ครับ ถ้าจะช้าไปบ้างก็ขอ อภัย นะ ครับ เพราะคอมผมมีตัวเดียวอยู่ที่ทำงาน ซึ่งผมต้องทำงานไปด้วย และเขียน บล็อก ไปด้วย อะ ครับ ซึ่งทำให้บางวันก็เขียนได้ยาว บางวันก็สั้น อะ ครับ และถ้ามีส่วนหนึ่งส่วนใดทำให้ขัดข้องใจก็ ขออภัย นะ ครับ
    ถ้าเกิดบทความในบล็อกนี้มีประโยชน์กับคุณบ้าง ก็โปรดลงชื่อเยี่ยมเยียน เป็นกำลังใจ หรือแสดงความคิดเห็นได้ตามแต่ จะ เห็นชอบ นะ ครับ ขอบคุณ ครับ

    ข้อ 3 มีการแก้ไขใหม่ ครับ โปรดอ่าเพิ่มเติมใหม่ ครับ

    รูปภาพที่เราถ่ายจะออกมาสวยหรือไม่ขึ้นอยู่กับส่วนผสมระหว่าง น้ำหนักของแสง และการเปิดหน้ากล้องรวมถึงการเปิดชัตเตอร์สปีดด้วย
    ซึ่งการที่เราจะผสมทุกสิ่งให้เข้ากันและลงตัวนั้น เราต้องหมั่นซ้อม ครับ แนะนำต่อการถ่ายภาพพระ 1 องค์เราควรถ่ายสัก 3 ภาพในช่วงรูรับแสงที่แตกต่างกันออกไป แล้วจดไว้ ครับว่ารูปนี้เราถ่ายที่หน้ากล้องเท่าไหร่สปีดเท่าไหร่และตำแหน่งรูปที่เท่าไหร่ พอเวลาเรามาเปิดดูที่ คอม เราก็ตรวจดูว่าภาพไหนที่ดูดีที่สุด ในหน้ากล้อง และสปีดเท่าไหร่ในคราวต่อไปเราก็จะได้สูตรในการถ่ายแล้ว อะ ครับ
    เพิ่มเติม iso ที่ผมใช้อยู่ที่ 100 กับ 200 ขึ้นอยู่กับความเข้มของสีขององค์พระ ครับ (สีเข้มมากใช้200 ครับ)


    1. ใช้ขาตั้ง
    2. โคมไฟแรง ๆ 2-3 ดวง ควรให้หลอด 5000K หาผ้าขาวหรือพลาสติคสีขาวขุ่นมาบังเพื่อลดแสง
    3. เอาพระวางไว้บนกระจก ชนิดกันแสงสะท้อน ซื้อได้ตามร้านทำกรอบรูปทั่วไป หาอะไรมารองให้ห่างจากพื้นที่เป็นแบคกราวสัก 3-5 นิ้ว ถ้าสูงมากเดี๋ยวกระจกมันจะสะท้อนแสงได้นะครับ หาผ้าสีมารองที่พื้นทำเป็นฉากหลัง สีแดง สีขาว สีดำ แล้วแต่ความต้องการ
    3. พระเครื่องนะครับไม่ใช่พระบูชา เอฟ 11 ก็เหลือกิน แต่ถ้ามันดึงแบคกราวน์มาชัดด้วย ก็เปิดเอฟให้กว้างขึ้นหน่อย

    ๑.หลอดตะเกรียบ Cool Daylight 14w.
    ๒.โคมไฟแบบปรับหัวก้มเงยได้(ผมใช้แบบหนีบเอาครับ(มีขายตามห้างต่างๆราคาประมาณ๔๕บาท)
    ๓.กล่องถนอมอาหารฝาใสๆสูงประมาณ๑๐ซม.หรือกล่องที่ทำมาจากกระจกก็ได้ครับ
    ๔.ผ้าขาวหรือกระดาษสีขาว
    ๕.ขาตั้งกล้อง(ไม่ต้องก็ได้ถ้ามือนิ่ง)
    ๖.ยางลบหรือดินน้ำมัน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • cstand.jpg
      cstand.jpg
      ขนาดไฟล์:
      49.3 KB
      เปิดดู:
      1,576
    • showimage.jpg
      showimage.jpg
      ขนาดไฟล์:
      50.1 KB
      เปิดดู:
      437
    • ReplyID0000069-PIC1.jpg
      ReplyID0000069-PIC1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      54.6 KB
      เปิดดู:
      462
    • r_4145_1.jpg
      r_4145_1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      85.5 KB
      เปิดดู:
      407
    • 00017_1.jpg
      00017_1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      38 KB
      เปิดดู:
      649
    • photset1.gif
      photset1.gif
      ขนาดไฟล์:
      17.4 KB
      เปิดดู:
      530
    • photset2.gif
      photset2.gif
      ขนาดไฟล์:
      14 KB
      เปิดดู:
      1,045
    • 77.jpg
      77.jpg
      ขนาดไฟล์:
      54.9 KB
      เปิดดู:
      598
  6. narmja

    narmja เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    7,921
    ค่าพลัง:
    +8,496
    ถ่ายรูปพระเครื่องง่ายนิดเดียว<TABLE border=0 width="100%"><TBODY><TR><TD> หลังจากที่ได้รับความรู้จากเว็บแห่งนี้มานาน ก็เริ่มลงมือปฏิบัติกันสักที ด้วยงานอดิเรกอย่างหนึ่งของผมก็คือสะสมพระเครื่องและมักที่จะต้องถ่ายรูปอัดใส่กระดาษ รวมไปถึงการโพสรูปพระลงอินเตอร์เน็ต ดังนั้นจึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องถ่ายรูปด้วยคนเอง ครั้งแรกก็ใช้กล้องคอมแพ็คธรรมดาโดยการเข้าโหมดมาโคร แต่ใช้สักระยะ รู้สึกไม่ค่อยพอใจในคุณภาพสักเท่าไหร่ หลังๆ มาจึงลงทุนกัดฟันซื้อ DSLR มาใช้ด้วยเหตุผลที่ต้องการคุณภาพที่มากกว่า โดยเลือกเป็น Nikon D50 มาเป็นกล้องคู่กาย ซึ่งจริงๆ แล้วจะเป็นยี่ห้ออะไรก็ไม่สำคัญหรอกครับ สำคัญที่เทคนิคการถ่ายมากกว่า พอดีได้เลนส์มาโครรุ่นเก่า 105 mm. มาโฟกัสกับวัดแสงไม่ทำงาน แต่ไม่ใช่ปัญหาสำหรับกล้องดิจิตอลเพราะสามารถถ่ายแล้วเห็นภาพได้ จากนั้นก็เริ่มลองผิดลองถูก ถ่ายๆ แก้ๆ ไปก็หลายครั้ง จนถูกใจบรรดาเซียนพระเครื่อง ซึ่งไม่มีทฤษฎีบอกว่าต้องแบบนี้หรือแบบนั้นถูก แต่ต้องถูกใจบรรดาเซียนพระ ถึงจะได้เป็นที่ยอมรับว่า "ผ่าน" สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการถ่ายรูปพวกนี้คือ ระบบการจัดแสงและการจัดแสงครับผม ที่ผมใช้อยู่แล้วใช้ได้ดีตอนนี้ ก็หลอดไฟธรรมดานี่ล่ะครับ อาศัยการปรับ WB ให้เหมาะสม สำหรับกล้องที่สามารถ preset WB ได้ ก็สามารถทำได้โดยนำกระดาษขาวมาวางไว้ก่อน แล้วก็ถ่ายที่กระดาษขาวให้ขาว จากนั้นไปเซ็ทที่ custom ของ WB ให้เลือกภาพนี้เป็นค่าแสงหลัง จะทำให้อุณหภูมิสีที่ได้จะถูกต้อง และที่สำคัญคืออย่าปรับให้องค์พระสีเพี้ยนเป็นอันขาด ทีนี้มาลองดูอุปกรณ์ชุดของผมดูครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width="100%"><!--DWLayoutTable--><TBODY><TR><TD height=292 vAlign=top width=303> P001.jpg </TD><TD vAlign=top width=446>อุปกรณ์ที่ใช้งาน
    1. ขาตั้งกล้องแบบแข็งแรงทนทานที่รับน้ำหนักกล้องได้
    2. กล่องถ่ายรูปพระสุดหรู ทำขึ้นมาเอง
    3. กระดาษสีที่ใช้ในการเป็นสีพื้น
    4. พระเอกของงาน หลอดไฟตะเกียบ 2 ดวง(ซ้าย-ขวา)

    *** สำหรับเซ็ทไฟแบบนี้ ช่างภาพมืออาชีพ(สุดยอดโปรฯ) หลายท่าน ที่มองคัดค้านกันหัวชนฝา แสงเพี้ยนสีไม่ดี ไม่ใช้หลัก ต้องใช้แฟลช 2 ดวง 3 ดวง ตาแมว ฯลฯ จะให้มันยุ่งยากไปทำไม (ผลสุดท้ายก็ตกม้าตายมาหลายคน) ช่างภาพถ่ายรูปพระมืออาชีพ, ช่างถ่ายรูปพระของหนังสือพระ ก็ใช้สูตรเดียวกับผมนี่ล่ะครับ หลอดไฟ 2 ดวง ซ้าย-ขวา จบ....คงไม่ต้องบรรยายเพิ่มนะครับว่าทำไมต้องสองดวง แสงหลักดวงหนึ่ง แสงลบเงาอีกดวงหนึ่งไงครับ
    </TD></TR><TR><TD height=18> </TD><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width="100%"><!--DWLayoutTable--><TBODY><TR><TD height=285 vAlign=top width=300> P002.jpg </TD><TD vAlign=top width=450>ส่วนประกอบกล่องสุดหรู(สร้างเองกับมือ)ไปซื้อก็แพงเป็นหมื่น
    1. กล่องไม้จะสร้างเองหรือไปจ้างทำก็ได้ ขนาดแล้วแต่ชอบ
    2. กระจกสำหรับวางพระจะใช้แบบธรรมดาหรือแบบตัดแสงก็ได้
    3. กระดาษสีพื้น
    *** ของผมทำเป็นกล่องขนาด 6นิ้ว เพราะไม่ได้ถ่ายพระอะไรใหญ่มากมาย ใครมีงบหน่อยก็ไปจ้างทำเป็นแบบกล่องอลูฯ ไปเลย ติดขาตั้งไฟพร้อมเสร็จมาเลยก็ได้ไม่ว่ากัน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    จากนั้นก็ขึ้นกล้องกับขาตั้งกล้องเลยครับ...ปรับกล้องลงมาให้ทำมุม 90 องศากับพื้น นำพระมาวางไว้บนกระจก ปรับมุมแสงแล้วถ่ายได้เลย ไม่ชอบสีพื้นก็เปลี่ยนใหม่ สำหรับรูรับแสง (f) นั้น ผมให้ความสำคัญมากครับ แนะนำที่ 8-11 เพื่อครอบคลุมให้ได้ระยะชัดลึกที่เหมาะสม ถ้าถ่ายพวกเหรียญไม่มีปัญหา แต่จะมีปัญหากับพระพวกมีมิติลึก เช่นพระคง คือชัดเฉพาะหน้าอกพระ กลุ่มโพธิ์ไม่ชัด หรือจะโฟกัสที่กลุ่มโพธิ์แต่หน้าอกพระหลุดโฟกัส งั้นก็ใช้ระยะชัดลึกไปเล้ย สำหรับผมปรับ 16-22 ...โฟกัสที่หน้าอกพระถ่ายระยะชัดลึกแล้วติดโพธิ์มาหน่อยๆ เอาเป็นว่าเก็บได้ทุกรายละเอียดพระ แบบประทับใจเซียน แล้วกันครับ ทั้งนี้ต้องใช้ขาตั้งกล้องทุกภาพนะครับ ชัตเตอร์จะนานเท่าไหร่ก็ช่าง ไม่สนเก็บได้ลึกทุกมิติพอ สิ่งสำคัญอีกอย่างคือระบบ WB กล้องท่านเองก็ปรับให้พอดีเถอะครับ และอีกอย่างอย่าให้สีองค์พระเพี้ยนนะครับ เป็นเรื่องสำคัญ จากนั้นนำมา crop ใน PhotoShop ถ้าเราถ่ายดีแล้วไม่จำเป็นต้องปรับแต่งสีอะไรเพิ่มเติมเลยครับ
     
  7. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    18,949
    ค่าพลัง:
    +53,093
    โอ้โห้ คุณน้ำจ้า มาเป็น ชุด สุดยอดครับ :cool:
     
  8. ouuu99

    ouuu99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    433
    ค่าพลัง:
    +969
    ใช้กล้องที่ macro ได้ใกล้สุดน่ะครับ ภาพของผมใช้ olympus 4cm + อุปกรณ์กิ๊กก๊อก ได้ประมาณนี้

    เอากล้องใส่ขาตั้งจัดให้ตรง พระผมวางบนกล่องขนมที่หมดแล้ว(มีรูปตัวอย่างมาด้วย กล่องนี้ขนาดกำลังดีทรงสูงฉากหลังเบลอสวย) ไฟ1ดวงวางที่13น กระดาษa4สีขาวกางขนานกับกล่องด้านตรงข้ามไฟเป็น reflex ไม่ให้เงาคมเกินไป

    ตอนถ่ายปรับโหมดmacro ตั้งเวลาให้มันถ่ายอัตโนมัติเพื่อไม่ให้ภาพสั่น ถ้าปรับได้ iso ต่ำสุดไว้ ดูspecกล้องนะครับว่ามาโครได้ใกล้สุดเท่าไหร่ โฟกัสติดแบบชัดหรือเปล่า ถ้าไม่ติดแสงอาจน้อยไปหรือกล้องใกล้วัตถุเกินไป ถ้าิโฟกัสติดแบบชัดแต่ถ่ายภาพออกมาเบลอลองตั้งเวลาถ่ายอัตโนมัติ ปรับisoต่ำๆ ออกมาสวยกริ๊บ

    ภาพฉากหลังเปลี่ยนเป็นกระดาษสีได้ ผมเอาผ้ายันต์ลองใส่ดู

    เพิ่งฝึกเหมือนกันครับ สนุกสนาน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P2240013.jpg
      P2240013.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1,000.3 KB
      เปิดดู:
      279
    • P2240034.jpg
      P2240034.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.1 MB
      เปิดดู:
      370
    • 1296984294.jpg
      1296984294.jpg
      ขนาดไฟล์:
      18.1 KB
      เปิดดู:
      204
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กุมภาพันธ์ 2011
  9. Beer1469

    Beer1469 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,021
    ค่าพลัง:
    +1,078
    แค่นี้ก็งามแล้วครับ เราไม่ได้มีอุปกรณ์แบบสตูดิโอ กล้องเราตัวนึงเกือบหมื่นถึงหมื่นนิดๆ จะไปสู้กล้องเค้าราคา 3-4หมื่น บางตัวเป็นแสน สู้เค้าไม่ได้หรอกครับ ได้แบบคุณOUUU99 ก็โอเคสวยแล้วครับ เปลี่ยนแบล๊คกราว ด้านหลังเป็นสีเข้มๆหน่อยเช่นแดงเข้มหรือสีดำไปเลย ก็จะได้ภาพที่สวยขึ้นครับ
     
  10. ส่องธรรม

    ส่องธรรม Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2010
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +55
    ขอบคุณครับได้ความรู้ดีมากเลย
     
  11. jojo-vee

    jojo-vee Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +43
    ตามหากระทู้ แบบพี่มานานเลยครับ
    เจอเเล้ว ดีใจจัง ... กำลังฝึกหัดถ่ายภาพพระ ครับ แต่ก็ ไม่ง่ายอย่างที่คิดเลย ... ขอบคุณมากๆครับที่นำมาเผยเเพร่ ชี้แนะเเนวทางให้เด็กน้อยตาดำๆ .. ิิิ
    ... หากมีอะไร ติดขัดสงสัย ขอรบกวนพี่ๆชี้แนะด้วยน่ะครับ ...
     

แชร์หน้านี้

Loading...