เรื่องเด่น มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 17 สิงหาคม 2019.

  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,359
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,119
    ค่าพลัง:
    +70,465
    c_oc=AQk7fNd5j2KiSEEOm0iBpFWtMpeTAQyrMJ76ignSZRWJ7ptes6STUNRqbBE5Qp5_P08&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    ถาม : คำว่ามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ เป็นอย่างไรครับ ?
    ตอบ: กรรมเหล่านั้นจะชักนำเราไป หาบุคคลที่มีกรรมเหมือน ๆ กัน หรือมีกรรมเนื่องกันมา

    คัดลอกข้อความเพียงบางส่วนมาจาก
    เก็บตกบ้านอนุสาวรีย์ต้นเดือนเมษายน ๒๕๕๓ กระทู้ที่ ๑๐๑


    ถ่ายภาพมาจาก วัดพิพัฒน์มงคล อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,359
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,119
    ค่าพลัง:
    +70,465
    อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ นิวรณวรรคที่ ๑๗. ฐานสูตร



    อรรถกถาฐานสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยในฐานสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-
    บทว่า ชราธมฺโมมฺหิ แปลว่า เราเป็นผู้มีความแก่เป็นสภาพ.
    บทว่า ชรํ อนตีโต ความว่า เราไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ย่อมเที่ยวไปในภายในความแก่นั่นเอง.
    แม้ในบททั้งหลายที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.
    ในบททั้งหลายว่า กมฺมสฺสโก เป็นต้น กรรมเป็นของเราคือเป็นของมีอยู่ของตน เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่ามีกรรมเป็นของตน.
    บทว่า กมฺมทายาโท แปลว่า เราเป็นทายาทของกรรม. อธิบายว่า กรรมเป็นมรดก คือเป็นสมบัติของเรา กรรมเป็นกำเนิดคือเป็นเหตุเกิดของเรา เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่ามีกรรมเป็นกำเนิด. กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ของเรา เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่ามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์. อธิบายว่ามีกรรมเป็นญาติ. กรรมเป็นที่อาศัย คือเป็นที่พึ่งของเรา เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่ามีกรรมที่อาศัย.
    บทว่า ตสฺส ทายาโท ภวิสฺสามิ แปลว่า เราเป็นทายาทของกรรมนั้น. อธิบายว่า เราจักเป็นผู้รับผลที่กรรมนั้นให้.
    บทว่า โยพฺพนมโท ได้แก่ ความเมาเกิดขึ้น ปรารภความเป็นหนุ่มสาว.
    แม้ในบททั้งหลายที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.
    บทว่า มคฺโค สญฺชายติ ได้แก่ โลกุตตรมรรคย่อมเกิดขึ้นพร้อม.
    บทว่า สํโยชนานิ ปหียนฺติ ความว่า สัญโญชน์ ๑๐ ประการ เธอย่อมละได้โดยประการทั้งปวง.
    บทว่า อนุสยา พยนฺตี โหนฺติ ความว่า อนุสัย ๗ ประการสิ้นสุดแล้ว คือมีทางรอบๆ ตัดขาดแล้ว.
    ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวิปัสสนาในฐานะทั้ง ๕ ในหนหลังไว้แล้ว ด้วยประการฉะนี้ ตรัสโลกุตรมรรคในฐานะทั้ง ๕ เหล่านี้.
    บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงสรุปด้วยคาถาทั้งหลาย จึงตรัสว่า พฺยาธิธมฺมา เป็นต้น.
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ญฺตวา ธมฺมํ นิรูปธึ ความว่า รู้ธรรมคือพระอรหัตที่ปราศจากอุปธิแล้ว.
    บทว่า สพฺเพ มเท อภิโภสฺมิ ความว่า เราครอบงำความเมาแม้ทั้ง ๓ อย่างเหล่านี้ได้ทั้งหมด. อธิบายว่า เราก้าวล่วงเสียแล้วดำรงอยู่.
    บทว่า เนกฺขมฺมํ ทฏฺฐุ เขมโต ความว่า เห็นการบรรพชาโดยความเป็นของเกษม.
    บทว่า ตสฺส เม อหุ อุสฺสาโห นิพฺพานํ อภิปสฺสโต ความว่า สำหรับเราผู้เห็นชัดซึ่งพระนิพพาน อยู่ได้มีความพยายามแล้ว.
    บทว่า อนิวตฺติ ภวิสฺสามิ ความว่า เราจักเป็นผู้ไม่กลับไปจากการบรรพชา จักไม่กลับไปจากการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ จักไม่กลับไปจากพระสัพพัญญุตญาณ.
    บทว่า พฺรหฺมจริยปรายโน คือ จักเป็นผู้มีมรรคพรหมจรรย์เป็นเบื้องหน้า.
    ด้วยบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นโลกุตระไว้ ด้วยประการฉะนี้.
    จบอรรถกถาฐานสูตรที่ ๗
     

แชร์หน้านี้

Loading...