อัลบั้มพระ ประวัติ และวัตถุมงคล

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย ปู ท่าพระ, 26 ธันวาคม 2013.

  1. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    27369014_1183903025074002_3887764545343220979_o.jpg

    27500653_1183902665074038_4559259905618516613_o.jpg

    82810189_1787876491343316_7808607365715984384_o.jpg

    81509209_1780032278794404_5654042686739447808_o.jpg


    วัดพระธาตุลำปางหลวง
    พระธาตุประจำปีฉลู

    เบิกฤกษ์โหมโรงวัดแรกในทริปเชียงรายด้วยวัดพระธาตุลำปางหลวง วัดสำคัญในจังหวัดลำปาง เทศกาลงานบุญ จึงมีนักท่องเที่ยวแวะเวียนมากราบไหว้ทำบุญกันมาก เนื่องจากทริปนี้ไม่ได้มาที่ลำปางโดยตรงเป็นการแวะเข้ามากราบองค์พระธาตุเพื่อเป็นสิริมงคลก่อนแอ๋วเชียงราย จึงไม่ได้ถ่ายภาพไว้มากนัก แต่วัดนี้เคยมาครั้งแรกเมื่อสองปีก่อน จึงขอนำภาพเก่าที่เคยถ่ายไว้มาลงเป็นหลักนะครับสำหรับวัดนี้

    วัดแห่งนี้มีตำนานโบราณสถาน โบราณวัตถุอยู่มากมาย ถ้าจะชมให้ทั่วก็จะต้องใช้เวลานานมาก ใครชอบแนวนี้ไม่ควรพลาดลองหาโอกาสแวะมากราบไหว้กันดู


    *************
    ประตูโขง

    เป็นฝีมือช่างหลวงโบราณที่สวยงามก่ออิฐถือปูนทำเป็นซุ้มยอดแหลมเป็นชั้น ๆ มีสี่ทิศ ประดับตกแต่งด้วยลวดลาย ปูนปั้น รูปดอกไม้ และสัตว์ในหิมพานต์ ประตูโขงแห่งนี้ใช้เป็นสัญลักษณ์เมืองลำปางในตราจังหวัดลำปาง

    เมื่อมาถึงทางเข้าก็จะพบกับบันไดนาคที่มีรูปแบบทางศิลปะเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว ทอดยาวลงมาจากซุ้มโขงประตูที่อยู่สูงขึ้นไป เหมือนเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกการขึ้นสู่แดนศักดิ์สิทธิ์ที่แยกตัวออกจากโลกมนุษย์

    บันได “มกรคายนาค” เป็นรูปแบบศิลปะที่นิยมและพบเห็นมากในถิ่นล้านนา บันไดหรือทางเข้าวัดนิยมทำเป็นรูปนาคโดยมีมกรหรือเหรากำลังทำท่าคายนาคออกมาจากปาก แต่บางคนก็ตั้งข้อสังเกตุว่ากำลังจะกลืนนาคเข้าไป
    สำหรับความหมายของมกรคายนาคนั้น เท่าที่ทราบมามีการตีความไปสองทาง

    • ทางแรกคือ มกร เป็นสัตว์ในความเชื่อของพม่า และนาคสัตว์ในความเชื่อของล้านนา มกรคายนาคจึงเหมือนสัญลักษณ์การมีอิทธิพลเหนือล้านนาของพม่า ทั้งนี้เพราะเมื่อหลายร้อยปีก่อน ล้านนาตกอยู่ใต้อิทธิพลของพม่าอยู่นาน มกรคายนาคจึงเป็นสัญลักษณ์ว่าถ้ามกรหุบปากนาคก็จะถูกงับตาย ดังเช่นถ้าพม่าจะใช้กำลังบีบล้านนาก็จะต้องตายเหมือนนาคที่ยังคาอยู่ในปากของมกร

    • ส่วนการตีความอีกทางหนึ่งคือการหลุดพ้นความเป็นตัวตน พ้นจากอัตตา เหมือนนาคที่กำลังจะหลุดพ้นจากมกร ถ้าตั้งใจก็สามารถพ้นจากปากของมกรได้ เหมือนดังคนที่สามารถพ้นจากความยึดติดในอัตตาได้นั่นเอง

     
  2. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,565
    ค่าพลัง:
    +53,107
    ตะกรุดคู่ชีวิต หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง ออกวัดบางไผ่
    received_3031609133518303.jpeg received_830721140733356.jpeg received_1226792397517077.jpeg received_556672848263824.jpeg
     
  3. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    82946655_1782280645236234_1128916391223623680_o.jpg

    27173875_1183902668407371_1520574748627599354_o.jpg

    27710200_1183902671740704_4945552296489463899_o.jpg

    27503727_1183902741740697_7755558000806991514_o.jpg

    พระเจ้าล้านทอง วัดพระธาตุลำปางหลวง

    หลังจากที่เดินขึ้นบันไดนาคมาก็จะผ่านซุ้มประตูโขง ซึ่งจะลวดลายดอกไม้และสัตว์หิมพานต์ ก็จะถึงพระวิหารหลวง ราวกับว่าเราได้เปลี่ยนภพภูมิจากโลกมนุษย์มายังดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ภายในพระวิหารหลวงมีพระเจ้าล้านทองเป็นพระประธาน ซึ่งประดิษฐานอยู่ในกู่อีกทีหนึ่ง ซึ่งเป็นศิลปนิยม มีให้เห็นมากมายในถิ่นล้านนา

    “พระเจ้าล้านทอง" วัดพระธาตุลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัสดุสัมฤทธิ์ลงรักปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง ๓ ศอก ๒ คืบ ศิลปะสมัยล้านนา กล่าวกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่งดงามที่สุดของเมืองลำปาง มีความศักดิ์สิทธิ์มาก เจ้าหาญศรีธัตถะมหาสุรมนตรี เจ้านครลำปางสร้างเมื่อพุทธศักราช ๒๐๓๙ สมัยเดียวกับพระเจ้าติโลกราชแห่งเมืองเชียงใหม่

    พระเจ้าล้านทอง อยู่ในวิหารหลวง มีกู่(ซุ้มปราสาท)สีทองซึ่งบรรจุพระเจ้าล้านทอง เป็นประธานของพระวิหาร ลักษณะการสร้างกู่(ซุ้ม)ครอบพระพุทธรูปแบบนี้ ได้ข้อมูลมาว่า บางแห่งเรียกว่า โขงพระเจ้า

    โขงพระเจ้าล้านทอง ภายในวิหารหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง

    หลังผ่านประตูโขง ย่างเข้าสู่วิหารหลวง เราจะได้เห็นพระประธานประดิษฐานภายในมณฑปปราสาท องค์พระเรียกขานกันว่า พระเจ้าล้านทอง ตัวมณฑปเรียกตามคำช่างล้านนาว่า โขงพระเจ้า หรือบ้างเรียกว่า กู่พระเจ้าสันนิษฐานว่า โขงพระเจ้าล้านทองสร้างเมื่อพ.ศ.2106 พร้อมกับการหล่อพระเจ้าล้านทอง จารึกที่วิหารหลวงระบุว่า เจ้าเมืองลำปางให้หล่อพระพุทธรูปที่อยู่ในมณฑปนี้

    มณฑปพระเจ้าล้านทองเป็นอาคารย่อมุมสิบสอง ปรากฏลวดลายปูนปั้นตกแต่งตั้งแต่ชั้นฐานจนถึงยอด ปราสาทเป็นเครื่องแสดงความมีฐานันดรสูง ใช้เป็นที่ประดิษฐานวัตถุอันควรค่าแก่การบูชา โขงพระเจ้าล้านทองทำเป็นปราสาทซ้อนชั้น รวมมี 8 ชั้น ส่วนกลางของอาคาร เรียกว่า เรือนธาตุ บนผนังเรือนธาตุและเสารับซุ้มตกแต่งด้วยลายกาบบน กาบล่าง และประจำยามอก เช่นเดียวกับที่ประตูโขง แต่ละด้านของเรือนธาตุ ทำเป็นกระเปาะรูปเหลี่ยมยื่นออกจากระนาบผนัง เรียกว่า ยกเก็จ (หรือบ้างว่ายื่นเก็จ) เหนือเก็จทั้งสี่ทิศมีซุ้ม ซุ้มใช้แทนความหมายของหลังคาปราสาท ซุ้มด้านตะวันออกมีช่องเว้า เรียกว่า จระนำ เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าล้านทอง พระพุทธรูปปางมารวิชัย วัสดุสำริด ลงรักปิดทอง ลวดลายประดับบนซุ้มด้านตะวันออก มีรายละเอียดตกแต่งโดดเด่นกว่าด้านอื่นๆ ปลายกรอบซุ้มของซุ้มลดชั้นล่างเป็นพญาลวง ปลายยอดซุ้มเป็นหางลวงเกี้ยว บนกรอบซุ้มประดับหงส์ ออกหางเป็นช่อกระหนก ลดหลั่นกันตามแนวกรอบ หน้าบันซุ้มเป็นลายพรรณพฤกษา ปั้นลายให้ดูลอยตัว ปลายกรอบซุ้มลดชั้นบนเป็นมกรคายนาค ลำตัวทอดขึ้นเป็นกรอบซุ้ม ปลายหางไขว้เกี้ยวกันเป็นปลายยอดซุ้ม บนกรอบซุ้มประดับใบระกา ภายในบรรจุลายกระหนก

    โขงพระเจ้าล้านทอง ภายในวิหารหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นมณฑปปราสาทแบบล้านนา สร้างเมื่อกว่า 400 ปีก่อน โดดเด่นด้วยลวดลายประดับ น่าชมเช่นเดียวกับประตูโขง


    ที่มา : พรรณนิภา ปิณฑวณิช. (2546). การศึกษารูปแบบทางสถาปัตยกรรมวัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.


    ที่มาประวัติพระเจ้าล้านทอง:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กุมภาพันธ์ 2020
  4. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    27503696_1183902868407351_6710380837429537178_o.jpg

    82009070_1784606285003670_2813299249276518400_o.jpg

    พระวิหารหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง

    เป็นวิหารประธานของวัด ตั้งอยู่บนแนวเดียวกับประตูโขง และองค์พระธาตุเจดีย์ เป็นวิหารจั่วรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทรงวิหารโล่งตามแบบล้านนายุคแรก หลังคาจั่วซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ภายในวิหารบรรจุมณฑป(กู่)พระเจ้าล้านทอง ด้านในของแนวคอสอง มีภาพเขียนสีโบราณเรื่องชาดก

    ไม้วาเสี่ยงทาย ที่คนนิยมไปอธิษฐานเสี่ยงทายก็อยู่ที่ด้านข้าง
    พระประธานในพระวิหารหลังนี้



    81575105_1781123322018633_8033343754272243712_o.jpg

    ลวดลายหน้าบันพระวิหารงดงามมาก
     
  5. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,565
    ค่าพลัง:
    +53,107
    1580806531905.jpg 1580806533608.jpg 1580806535941.jpg
     
  6. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    27356049_1183902738407364_5148234811368829309_o.jpg

    82411373_1785591701571795_7532620274877857792_n.jpg


    พระธาตุลำปางหลวง

    ตามตำนานกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระเถระสามองค์ได้เสด็จจาริกไปตามบ้านเมืองต่างๆ จนถึงบ้านลัมภะการีวัน (บ้านลำปางหลวง) พระพุทธเจ้าได้ประทับเหนือดอยม่อนน้อย มีชาวลัวะคนหนึ่งชื่อลัวะ อ้ายกอนเกิดความเลื่อมใสได้นำน้ำผึ้ง บรรจุกระบอกไม้ป้างมะพร้าว และมะตูมมาถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ ได้ฉันน้ำผึ้ง แล้วทิ้งกระบอกไม้ป้างไปทางทิศเหนือ แล้วทรงพยากรณ์ว่า สถานที่แห่งนี้ต่อไปจะมีชื่อว่า ลัมพกัปปะนคร แล้วได้ทรงลูบพระเศียรได้พระเกศามาหนึ่งเส้น มอบให้แก่ลัวะ อ้ายกอนผู้นั้น ลัวะอ้ายกอนได้นำพระเกศานั้น บรรจุในผอบทองคำ และใส่ลงในอุโมงค์พร้อมกับถวายแก้วแหวนเงินทองเป็นเครื่องบูชา แล้วแต่งยนต์ผัด (ยนต์หมุน)รักษาไว้ และถมดินให้เรียบเสมอกัน แล้วก่อเป็นพระเจดีย์สูงเจ็ดศอกเหนืออุโมงค์นั้น พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ต่อไปว่า หลังจากพระองค์ปรินิพพานแล้ว 218 ปี จะมีพระอรหันต์ 2 องค์ ชื่อพระกุมาระกัสสะปะเถระ นำเอาอัฐิพระนลาตเบื้องขวา (กระดูกหน้าผาก) และพระเมฆิยะเถระนำอัฐิพระศอ (กระดูกคอ) ด้านหน้าและด้านหลัง มาบรรจุเพิ่มไว้ในที่นี้อีก และเจดีย์นี้จะปรากฏเป็นพระเจดีย์ทองคำ ได้ชื่อว่า ‘ลัมภะกัปปะ’ พยากรณ์เสร็จสรรพ พระพุทธเจ้าก็ออกเสด็จจาริกไปโปรดสัตว์ยังบ้านเมืองอื่นต่อ ในสมัยต่อมาได้มี กษัตริย์เจ้าผู้ครองนครลำปางอีกหลายพระองค์ มาก่อสร้างและบูรณะซ่อมแซม จนกระทั่งเป็นวัดที่มีความงาม อย่างที่เป็นอยู่ ในปัจจุบัน

    ในทางประวัติศาสตร์นครลำปาง วัดพระธาตุลำปางหลวงมีประวัติว่า เมื่อปี พ.ศ. 2275 นครลำปางว่างจากผู้ครอง นครและเกิดความ วุ่นวายขึ้น สมัยนั้นพม่าเรืองอำนาจได้แผ่อิทธิพลปกครอง อาณาจักร ล้านนาไว้ได้ทั้งหมด พม่าได้ยึดครองนครเชียงใหม่ ลำพูน โดยแต่งตั้งเจ้าผู้ครองนคร อยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์พม่า ท้าวมหายศเจ้าผู้ครองนครลำพูนได้ยกกำลังมายึดนครลำปาง โดยได้มาตั้งค่ายอยู่ภายในวัดพระธาตุลำปางหลวง ครั้งนั้นหนานทิพย์ช้าง ชาวบ้านปงยางคก (ปัจจุบันอยู่อำเภอห้างฉัตร) วีรบุรุษ ของชาวลำปาง ได้รวบรวมพลทำการต่อสู้ทัพเจ้ามหายศ โดยลอบเข้ามาในวัด และใช้ปืนยิงท้าวมหายศตาย แล้วตีทัพลำพูนแตก พ่ายไป ปัจจุบันยังปรากฏรอยลูกปืนอยู่บนรั้ว ทองเหลืองที่ล้อมองค์พระธาตุเจดีย์ ต่อมาหนานทิพย์ช้างได้รับสถาปนาขึ้นเป็น พระยาสุลวะลือไชยสงคราม เจ้าผู้ครองนครลำปาง และเป็นต้นตระกูล ณ ลำปาง เชื้อเจ็ดตน ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน ณ น่าน


    ตำนานอีกเรื่องหนึ่งของวัดพระธาตุลำปางหลวง ซึ่งเล่าขานสืบต่อกันมาอย่างแพร่หลาย คือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเจ้าแม่จามเทวีหรือพระนางจามเทวี


    เรื่องราวโดยละเอียดของพระนาง บันทึกไว้ในเอกสารโบราณหลายชิ้น ที่สำคัญก็เช่น จามเทวีวงศ์ พงศาวดารเมืองหริปุญไชย และ ชินกาลมาลีปกรณ์ ฯลฯ

    แต่ละตำนานก็ระบุวัน เดือน ปี รวมทั้งข้อมูลรายละเอียดบางช่วงบางตอนผิดแผกแตกต่างกัน (โดยเฉพาะประวัติความเป็นมาในช่วงต้นของพระนางจามเทวี ซึ่งโลดโผนพิสดารแทบจะไม่ตรงกันเลย) จนถึงบัดนี้ก็ยังไม่มีข้อสรุปที่ถูกต้องแน่ชัด พูดแบบกว้างๆ พระนางจามเทวีเป็นกษัตริย์ที่สำคัญองค์หนึ่งแห่งนครหริภุญชัย (หรือ จังหวัดลำพูนในปัจจุบัน) ทรงนำความเจริญหลากหลายประการ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ตลอดจนความรุ่งเรืองทางด้านศิลปะและอารยธรรม มาสู่ดินแดนภาคเหนือ

    สรุปความรวมๆ จากตำนานหลายเล่ม พอจะประมวลคร่าวๆ ได้ว่า พระนางจามเทวีเป็นพระธิดา ของเจ้าผู้ครองนครละโว้ (บางตำราก็อ้างว่า พระนางเป็นชาวหริภุญชัยโดยกำเนิด แต่พระเจ้ากรุงละโว้นำไปชุบเลี้ยง เป็นลูกบุญธรรม) ต่อมาได้เสด็จเดินทางไปครองเมืองหริภุญชัย ระยะเวลาสร้างเมืองนั้น ปราชญ์หลายท่าน คำนวณศักราชจากเอกสารโบราณ แล้วประมาณว่าอยู่ในระหว่าง พ.ศ. 1071-1204 เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้อง กับวัดพระธาตุลำปางหลวง ตำนานเล่าไว้ว่า

    ล่วงสู่ พ.ศ. 1200 เศษ คราวหนึ่งเจ้าแม่มหาเทวี (พระนางจามเทวี) เสด็จไปทัพยังแม่สลิต จนการทั้งปวงสำเร็จเรียบร้อย ระหว่างเส้นทางกลับ ได้แวะพักตั้งค่ายยังบริเวณที่เรียกว่า สบยาว (ปัจจุบันคือ ตำแหน่งที่ปากห้วยแม่ยาวไหลมาบรรจบ แม่น้ำวัง ทางทิศใต้ห่างจากวัดพระธาตุลำปางหลวงประมาณ 2 กิโลเมตร) ตกดึกก็ปรากฏแสงไฟจากละแวกใกล้เคียง และลอยพุ่งลงมายังกลางค่ายพัก เบื้องต้นพระนางจามเทวี เข้าพระทัยว่า ชาวบ้านละแวกนั้นหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ของพระองค์ แกล้งจุดไฟโตนดเล่น รุ่งขึ้นจึงทรงไต่ถามบรรดาเสนาบดีผู้ใหญ่ ได้ความว่า หามีผู้ใดพบเห็นประกายไฟนั้น ไม่มีเพียงพระนางองค์เดียวที่ทอดพระเนตรเห็น ในที่ประชุมนั้น มีชายผู้หนึ่งชื่อ ล่ามพันทอง กราบทูลว่า ที่พระแม่เจ้าอยู่หัว ได้เห็นไฟโตนดตกนั้น หาใช่ไฟโตนดไม่ ที่แท้คือพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าที่ตั้งอยู่วัดลัมภะกัปปะนคร หากเสด็จแสดงปาฏิหาริย์ให้พระแม่เจ้าอยู่หัวได้ทราบ ทั้งนี้โดยบุญญาธิการของพระแม่เจ้าอยู่หัวต่างหาก เมื่อฟังคำกราบทูลแล้ว พระนางก็เข้าพระทัยโดยปัญญา และมีรับสั่งให้เตรียมพลยกไปยังลัมภะกัปปะนคร แล้วเสด็จกราบไหว้บูชาองค์พระธาตุด้วยอาการอันเคารพยิ่ง ฝ่ายชาวบ้านเมื่อทราบข่าว ก็ชักชวนกันมาเข้าเฝ้า เพื่อชื่นชมพระบารมี พระนามจามเทวีทรงตรัสถามถึงทุกข์สุขต่างๆ กับปวงเหล่าชาวบ้าน จนทราบว่า เรื่องเดือดเนื้อร้อนใจ สาหัสเพียงอย่างเดียว ก็คือ ขาดแคลนน้ำสำหรับใช้กินดื่ม ต้องนำเกวียนไปบรรทุกจากแม่น้ำวังและห้วยแม่ยาว กินระยะทางไกล พอประทังความยากลำบากชั่วครั้งชั่วคราว ส่วนบริเวณเขตย่านกลางเมือง ขุดบ่อไว้มากมาย ก็หาน้ำมิได้เลย พระนางจามเทวีจึงทรงกราบไหว้พระธาตุ กล่าวสัจจะอธิษฐานว่า แม้นที่นี้เป็นสถานที่ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าจริงแล้วไซร้ ข้าพเจ้าขอให้สายน้ำจงแตกออกตรงใจกลางเมืองนี้ เพื่อให้เป็นที่อาศัย แก่หมู่คนทั้งหลายอันได้รับความเดือดร้อนนั้น แล้วพระองค์ก็ทรงเสด็จกลับ ยกทัพยาตราไปจนกระทั่งแวะพัก ที่เมืองตาลเมืองรมณีย์ (เมืองตาลหรือเมืองรมณีย์ เป็นเมืองร้างตั้งอยู่ระหว่างดอยขุนตาล ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของที่ว่าการอำเภอห้างฉัตร)

    ย้อนกลับมายังลัมภะกัปปะนคร เมื่อขบวนทัพของพระแม่เจ้าเสด็จกลับไปแล้ว เย็นวันนั้นหญิงชรานาม ยายลอน ได้พบที่บริเวณหนึ่ง ปรากฏรอยน้ำซึมออกมาบนผิวดิน จึงขุดให้ลงลงไป เห็นสายน้ำพวยพุ่งหลากไหล ยายลอนก็บอกกล่าว ชักชวนชาวบ้านอื่นๆ มาดู และช่วยกันใช้จอบเสียมขุด น้ำนั้นก็ยิ่งไหลแรง คนทั้งปวงก็พูดลงเนื้อความตรงกันหมดว่า ชะรอยจะเป็นด้วยบุญญาธิการแห่งพระแม่เจ้ากระทำสัจจะอธิษฐานเป็นแน่แท้ เมื่อลองดื่มกิน ก็พบว่า น้ำบ่อนี้แปลกกว่าบ่ออื่น คือ ใสเย็นมีรสกินอร่อย รุ่งขึ้นผู้เป็นจ่าบ้าน (พ่อเมือง) ก็หาหม้อน้ำใหม่อย่างดี ตักตวงน้ำจากบ่อจนเต็ม ห่อหุ้มด้วยผ้าอย่างดี แล้วใช้คนหามมุ่งตรงไปยังเมืองตาล พระนางจามเทวีทอดพระเนตรเห็น ทรงตรัสถามว่า นี้เป็นสิ่งใด คนเหล่านั้นก็กราบทูลเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จึงทรงมีรับสั่งให้นางเฒ่าแก่ข้าราชบริพาร ชิมดื่มดู นางเฒ่าแก่กราบทูลว่า น้ำนี้มีรสดีกว่าน้ำเจ็ดริน อันอยู่ในเมืองหริภุญชัยของพระองค์ สดับฟังดังนั้น พระนางจามเทวีจึงมีรับสั่งต่ออำมาตย์ จัดส่งผู้คนกลับไปยังลัมภะกัปปะนคร เพื่อหาที่ทางสำหรับปลูกแต่งพลับพลา ที่ประทับ ครั้นแล้วเสร็จ พระนางจามเทวีก็ยาตราทัพจากเมืองตาล เสด็จไปยังพลับพลานั้น ทรงชำระสระสรงพระวรกาย โดยใช้น้ำจากบ่อที่ได้อธิษฐานไว้จนหมดจด แล้วเสด็จไปนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ แล้วก็ให้มีการฉลองสมโภช พระบรมสารีริกธาตุตลอด 7 วัน 7 คืน ถวายนาราคาล้านเบี้ยให้เป็นนาประจำพระบรมสารีริกธาตุ ถวายล่ามพันทองและนางดอกไม้ (ซึ่งเป็นทาสชายหญิงของพระองค์) พร้อมด้วยเหล่าบริวารอีก 8 ครัว ให้อยู่เฝ้าปฏิบัติรักษาพระธาตุ อีก 2 ครัวให้เฝ้ารักษาบ่อน้ำ เสร็จสรรพเรียบร้อยแล้ว พระองค์จึงเสด็จกลับ ตำนานเรื่องพระนางจามเทวีกับวัดพระธาตุลำปางหลวง ก็สิ้นเนื้อความแต่เพียงเท่านี้

    ที่มา: http://www.lampang.go.th/travel/weblp/page/page1.html



    27709688_1183902721740699_8371134430939468394_o.jpg

    82335351_1784611235003175_3830133508223795200_o.jpg



    วัดพระธาตุลำปางหลวงเป็นปูชนีย์ที่สำคัญของจังหวัดลำปางเป็นเสมือนศูนย์รวมของชุมชนที่สำคัญแห่งหนึ่ง จนวัดพระธาตุลำปางหลวงได้ชื่อว่าเป็นวัดที่สวยงามที่สุดของล้านนา ภายในวัดพระธาตุลำปางหลวงมีความงดงามอลังการของสถาปัตยกรรมล้านนา ตั้งแต่พระเจดีย์ พระวิหาร ซุ้มประตูโขง จนถึงซุ้มพระเจ้าล้านนา ซึ่งเป็นพระประธานในวิหารหลวง ล้วนแล้วแต่สะท้อนถึงความรุ่งเรืองของพุทธศาสนาและศิลปกรรมในล้านนาสมัยนั้นเป็นอย่างดี

    วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของนครลำปาง เพราะเป็นวัดที่มีมาแต่โบราณ โดยเฉพาะเป็นวัดที่พระมหากษัตริย์ไทย เจ้าผู้ครองนครลำปางและภาคเหนือทั้งหมดเคยเสด็จและยกย่องว่าเป็นหลักของบ้านเมืองสืบมาทุกยุคทุกสมัย เป็นวัดที่ตำนานระบุไว้ชัดเจนว่า มีพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าส่วนสำคัญบรรจุอยู่ในองค์พระธาตุเจดีย์ที่เป็นประธานของวัด เป็นวัดทีประดิษฐาน “พระแก้วมรกต” อันล้ำค่าอีกองค์หนึ่งของประเทศไทย และยังคงประดิษฐานอยู่จนถึงทุกวันนี้และเป็นวัดที่มีอนุสรณ์แห่งการกอบกู้อิสรภาพของชาติไทยในดินแดนล้านนา ไม่ให้ตกเป็นทาส (เมืองออกของประเทศอื่น) ซึ่งได้รับความสำเร็จเป็นปฐมที่วัดแห่งนี้คือ “พ่อเจ้าทิพย์ช้าง” หรือ “พญาสุลวฤาไชยสงคราม”

    วัดพระธาตุลำปางหลวงแห่งนี้มิได้มีความสำคัญสำหรับชาวนครลำปางเท่านั้น ทุกวันนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของชาวไทยและต่างประเทศเข้ามาเยือนอย่างไม่ขาดสาย เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านชาวเมืองทั้งใกล้และไกลต่างพากันมากราบไหว้บูชาอยู่เนืองนิตย์ พระมหากษัตริย์ไทยทรงใช้สถานที่แห่งนี้ประกอบพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็เคยเสด็จมานมัสการพระธาตุลำปางหลวงมาแล้วครั้งหนึ่งความเชื่อทางคติธรรม สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ภายในวัดแห่งนี้นอกจากจะมีหน้าที่ใช้สอยทางพิธีกรรมในศาสนาแล้ว ยังมีความหมายสำคัญที่แฝงอยู่ก็คือ ช่างโบราณได้จำลองจักรวาลที่มีอยู่ในคัมภีร์โบราณเช่น ในไตรภูมิพระร่วงมาไว้ที่นี่ กล่าวคือ พระธาตุเจดีย์อันเป็นศูนย์กลางของวัดก็คือสัญลักษณ์ที่แทนเขาพระสุเมรุอันเป็นศูนย์กลางจักรวาล เพราะฉะนั้นในขณะเดียวกันองค์พระธาตุจึงเปรียบได้กับพระเจดีย์จุฬามณี ที่ประดิษฐานบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อันเป็นวิมานของพระอินทร์

    ดังนั้นการได้นมัสการองค์พระธาตุลำปางหลวงจึงเปรียบได้ว่าเป็นการได้กราบไหว้บูชาพระเจดีย์จุฬามณีอันศักดิ์สิทธิ์ไปพร้อมกันด้วย ดังนั้นลานทรายภายในวัดพระธาตุลำปางหลวงจึงมีความหมายที่เปรียบได้กับมหาสมุทรสีทันดร มีคุณค่าและความหมายพิเศษกว่าเม็ดทรายข้างถนนทั่ว ๆ ไป และปัจจุบันก็เป็นเพียงแห่งเดียวในภาคเหนือที่ยังคงสภาพดังกล่าวได้อย่างสมบูรณ์และงดงามที่สุด แม้แต่เชียงใหม่ที่เมืองหลวงของล้านนาเองในปัจจุบันก็ยังไม่มีที่หลงเหลืออยู่ในสภาพที่สมบูรณ์เท่ากับวัดพระธาตุลำปางหลวงเลย

    ที่มา: https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/808834


    27500611_1183902781740693_8368895821246799744_o.jpg

    พระธาตุลำปางหลวงเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนปีฉลู ด้วยเริ่มสร้างในปีฉลูและเสร็จในปีฉลูเช่นกัน ฐานเป็นบัวลูกแก้ว ส่วนองค์เป็นทรงกลมแบบล้านนาภายนอกบุด้วยทองจังโก ยอดฉัตรทำด้วยทองคำ มีลายสลักดุนเป็นลวดลายประจำยามแบบต่าง ๆ ลักษณะเจดีย์แบบนี้ได้ส่งอิทธิพลต่อพระธาตุหริภุญไชย และพระบรมธาตุจอมทอง ภายในองค์พระเจดีย์บรรจุพระเกศา และพระอัฐิธาตุจากพระนลาฎข้างขวา พระศอด้านหน้าและด้านหลัง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กุมภาพันธ์ 2020
  7. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    27503281_1183902925074012_1506371899519982178_o.jpg

    27356247_1183902898407348_4935821255079896938_o.jpg


    27500746_1183902938407344_7242088878150621808_o.jpg


    วิหารพระพุทธ วัดพระธาตุลำปางหลวง
    (ภายในวิหารมีภาพเงาพระธาตุเช่นกัน)

    วิหารต่างๆในวัดพระธาตุลำปางหลวงมีอายุหลายร้อยปี เป็นแหล่งชุมนุมศิลปกรรมแบบล้านนาหลากรูปแบบ ตั้งแต่พระพุทธรูป ลายทองประดับ ปูนปั้น จนถึงจิตรกรรม

    นอกจากวิหารหลวงแล้ว ภายในเขตพุทธาวาสยังมีวิหารอีก 4 หลัง ได้แก่ วิหารพระพุทธ วิหารพระเจ้าศิลา วิหารต้นแก้ว และวิหารน้ำแต้ม อีกทั้งยังมีอาคารอื่นๆ อาทิ อุโบสถ หอพระพุทธบาท

    ทางทิศใต้ของพระธาตุเจดีย์เป็นที่ตั้งของวิหารพระพุทธ หรือวิหารลายคำ โดดเด่นด้วยลายประดับสีทองบนพื้นสีแดง ทั้งบนผนังด้านนอก-ด้านใน และต้นเสา นับเป็นตัวอย่างลวดลายลงรักปิดทองแบบล้านนาที่หาชมได้ไม่มากแห่งนัก สันนิษฐานว่า วิหารพระพุทธสร้างในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 ผ่านการบูรณะซ่อมแซมเรื่อยมา ตัวอาคารมีขนาด 5 ห้อง สร้างครึ่งปูนครึ่งไม้ ปิดล้อมด้วยผนังโดยรอบ ช่วงห้องหน้าเป็นมุขโถง ล้อมด้วยกำแพงเตี้ยๆ หลังคาลดชั้นด้านหน้าและหลัง ด้านละ 1 ชั้น แต่ละชั้นมีผืนหลังคา 2 ตับ ประตูทางเข้าหลักมีซุ้มประตูก่ออิฐถือปูน เป็นซุ้มซ้อน 3 ชั้น ประดับลวดลายปูนปั้นลงรักปิดทอง กรอบซุ้มเป็นวงโค้งกรอบหยัก ปลายกรอบซุ้มเป็นรูปตัวเหงา หน้าบันใต้กรอบซุ้มเป็นลายใบไม้ หน้าบัน คำช่างล้านนาเรียกว่า หน้าแหนบ ประดับด้วยลายแกะไม้ประดับกระจกจีน เป็นลายประเภทพรรณพฤกษา ดอกไม้ใบไม้ ลายประแจจีน

    พระประธานประดิษฐานในห้องที่สี่ของวิหาร ช่วงเสาคู่หน้าพระประธานมีการทำหน้าแหนบ หน้าแหนบปีกนก ด้านล่างของหน้าแหนบทั้งสองมีโก่งคิ้ว ทั้งหมดนี้ช่วยขับเน้นความโดดเด่นของพระประธาน

    พระประธานมีนามว่า พระเจ้าองค์หลวงเมืองเขลางค์ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อพระพุทธ ภายในห้องส่วนนี้ตกแต่งด้วยลายคำ และภาพอดีตพุทธเจ้า


    ที่มา:


    27369006_1183902811740690_2169350545374128855_o.jpg

    27368288_1183902815074023_4637583924065768997_o.jpg

    ซุ้มพระบาท
    (ไฮไลท์ของวัดพระธาตุลำปางหลวงที่มาแล้วต้องชม)

    สร้างครอบพระพุทธบาทไว้ ฐานก่อขึ้นเป็นชั้นคล้ายฐานเจดีย์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 1992ภายในมองเห็นแสงหักเห ปรากฏเป็นเงาพระธาตุ และพระวิหารในด้านมุมกลับ แต่มีข้อห้ามไม่ให้ผู้หญิงขึ้น(ผู้หญิงสามารถไปชมเงาพระธาตุได้ที่วิหารพระพุทธ)


    27356013_1183902885074016_2295595840453432194_o.jpg

    ต้นขะจาว เป็นต้นไม้พระราชทานประจำจังหวัดลำปาง ถ้าหากจะพูดถึงต้นขะจาวตามตำนานพระธาตุลำปางหลวงแล้ว มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับต้นขะจาว หรือไม้ขะจาวดังว่า...
    ไม้ขะจาว ปลูกครั้งพุทธกาล เป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ที่ครั้งหนึ่งได้มีมีชาวลัวะคนหนึ่งได้นำ กิ่งขะจาวทำเป็นไม้คานหาบกระบอกน้ำผึ้ง มะพร้าวและมะตูม มาถวายพระพุทธองค์ซึ่งประทับอยู่ ณ วัดพระธาตุลำปางหลวง ภายหลังอธิษฐานนำไม้ขะจาว โดยใช้ทางปลายปักลงไม่นานไม้คานที่ปักไว้ ก็แตกกิ่งก้านเจริญเติบโตเกิดเป็นกิ่งก้านสาขาขึ้นมา สร้างความแปลกใจให้ชาวบ้าน และชาวบ้านเชื่อว่าเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ จึงได้นำเอารากไม้ขะจาวไปบูชาหรือนำไปเป็นเครื่องรางของขลังห้อยคอเช่นเดียวกับ ตระกุดผ้ายันต์
    ตำนานต้นขะจาว เป็นเรื่องเล่าที่เล่าสืบต่อกันมาช้านาน เป็นตำนานและเป็นสิ่งสำคัญที่มี หลักฐานคงอยู่ให้ผู้ที่ได้ไปเที่ยวชมวัดพระธาตุลำปางหลวง ได้แวะชม ที่วัดพระธาตุลำปางหลวงนี้มีตำนานเล่าเรื่องต้นขะจาวดังข้างต้น เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ยังคงมีต้นขะจาวที่เห็นลักษณะลำต้นที่มีส่วนปลายปักอยู่บนพื้นดิน และส่วนลำต้นนั้นมีกิ่งก้านงอกออกมาเต็มไปหมด แต่กิ่งก้านนั้นจะชี้ลงดิน พอนานไปลำต้นเดิม ก็แห้งพุพังจนไม่เห็นซากเดิมของต้นขะจาว มีแต่ต้นที่งอกออกมาตรงส่วนเดิมของต้นขะจาวนั้นเป็นพุ่มใหญ่ บางส่วนสูงมองดูไกล ๆ เหมือนต้นโพธิ์


    ที่มา: http://www.lampang.go.th/travel/weblp/page/page1.html


    วิหารน้ำแต้ม
    (หารูปไม่เจอ)

    วิหารน้ำแต้ม หรือวิหารภาพเขียนสี (แต้ม แปลว่า ภาพเขียน) ในวัดพระธาตุลำปางหลวง ตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๐๔๔ เป็นวิหารที่เก่าแก่แห่งหนึ่งทางภาคเหนือ

    ลักษณะทางสถาปัตยกรรม วิหารน้ำแต้มเป็นวิหารขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือขององค์พระธาตุลำปางหลวง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เป็นวิหารโถงขนาด ๕ ห้อง มีผนังปิดทึบเฉพาะห้องท้ายวิหารที่ยกเก็จออกไปเท่านั้น แผงผังโดยทั่วไปของวิหารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มียกเก็จออกทางด้านหน้า ๒ ช่วง ด้านหลัง ๑ ช่วง ฐานที่รองรับตัววิหารเป็นพื้นปูนยกสูงขึ้นมา หลังคาเป็นทรงแบบล้านนาเรียกว่า ขื่อม้าตั่งไหม หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินลดหลั่นเป็นชั้นลงมา ชายคาของหลังคาด้านข้างคลุมลงมาต่ำมากจึงทำให้รูปทรงของวิหารดูค่อนข้างเตี้ย เพื่อกันน้ำฝนและแสงแดด

    ด้านจุดเด่นของวิหารนั่นก็คือภาพจิตรกรรมศิลปะล้านนาบนแผงไม้คอสองที่กล่าวกันว่าเก่าแก่ที่สุด และเหลือเพียงแห่งเดียวในเมืองไทย ซึ่งหาดูได้ยากมาก ภาพจิตรกรรมนี้อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ลงมา แต่ปัจจุบันภาพเขียนลบเลือนไปมากแล้ว

    บนแผ่นไม้แผงคอสองของวิหาร เป็นเรื่องท้าวสักกะเรื่องพระนางสามาวดี ซึ่งเป็นนิทานธรรมบท ทั้งสองเรื่องเป็นนิทานอธิบายพระสูตในพระไตรปิฎกที่พระพุทธโฆษาจารย์ แปลจากภาษาลังกา เมื่อประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๐ สันนิษฐานว่า แพร่หลายเข้ามาในไทยพร้อมกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙ –๒๐

    โดยนักวิชาการสันนิษฐานจากรูปแบบศิลปะและตัวอักษรธรรมล้านนาที่อธิบายประกอบภาพ รวมทั้งเอกสารตำนานต่างๆ สามารถสรุปได้ว่า ภาพเขียนในวิหารน้ำแต้มได้รับอิทธิพลจากศิลปะพุกาม ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๒ – ๒๓

    เรียกได้ว่าวิหารแห่งนี้เป็นสถานที่ที่เมื่อมาถึงลำปางแล้ว ต้องไปดูตัววิหารที่สร้างแบบฉบับโครงสร้างล้านนาที่สวยงามยิ่ง รวมถึงจิตรกรรมฝาผนังบนแผ่นไม้ที่เก่าแก่ ที่ช่างบรรจงวาดออกมาเพื่อเป็นธรรมะสอนใจแก่คนที่ได้พบเห็น เพราะสิ่งเหล่านี้หาดูได้ยากยิ่งนัก และเป็นสิ่งที่เราควรอนุรักษ์ไว้


    ที่มา : กชมน ศรีนรคุตร


    นอกจากนี้ยังมีโบราณสถานและโบารณวัตถุ ให้ผู้สนใจได้มาศึกษากันอีกมากมาย ที่วัดพระธาตุลำปางหลวงแห่งนี้
     
  8. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    82519359_1790969507700681_9136856354537865216_o.jpg

    83716799_1792684867529145_5394563968423428096_o.jpg

    82391311_1789960111134954_3921795304390656000_o.jpg

    วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม

    ออกจากว้ดพระธาตุลำปางหลวงก็มุ่งหน้ามายังวัดพระแก้วดอนเต้า วัดนี้เป็นวัดสำคัญที่เคยประดิษฐานพระแก้วมรกต และพระแก้วดอนเต้า ที่สำคัญตอนนี้องค์พระธาตุกำลังบูรณะอยู่จึงแวะเข้ามากราบไหว้และทำบุญ

    ***************

    พระบรมธาตุดอนเต้าซึ่งเป็นพระเจดีย์องค์ใหญ่ บรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า

    วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ตั้งอยู่ริมแม่น้ำวัง ในเขตตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง บริเวณที่ตั้งวัดเป็นเนินดิน สูงขนาดใหญ่ แต่เดิมวัดพระแก้วดอนเต้ากับวัดสุชาดารามเป็นคนละวัดแต่ตั้งอยู่ติดกัน ต่อมาภายหลังได้มีประกาศของ กระทรวงศึกษาธิการให้ทั้งสองวัด เป็นวัดเดียวกัน จึงได้มีการรื้อกำแพงกั้นเขตวัดออก วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม พระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ ตั้งอยู่ที่ ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง มีเนื้อที่ 51 ไร่ 2 งาน 61 ตารางวา เป็นวัดที่เก่าแก่และสวยงามมีอายุนับพันปี เคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร

    วัดพระแก้วดอนเต้า เป็นวัดเก่าแก่มีประวัติความเป็นมามากกว่า 500 ปี เคยเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต จากหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ กล่าวว่า พระเจ้าสามฝั่งแกนเจ้าเมืองเชียงใหม่ ได้จัดขบวนช้างไปรับพระแก้วมรกตจากเชียงรายเพื่อจะอัญเชิญมา ประดิษฐานยังนครเชียงใหม่ ครั้นถึงทางแยกเมืองนครลำปาง ช้างก็ตื่นวิ่งเข้าไป ในนครลำปาง ในที่สุดพระเจ้าสามฝั่งแกนต้องยินยอมให้ พระแก้วมรกต ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระแก้วดอนเต้า เป็นเวลาถึง 32 ปี ต่อจากนั้นจึงอัญเชิญไปประดิษฐานยังเมืองเชียงใหม่ต่อมา พระเจ้าไชยเชษฐาซึ่ง เคยมาครอง เมืองเชียงใหม่ได้กลับไปครองเมืองหลวงพระบาง จึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปและได้นำไป ประดิษฐานอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์ ต่อเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขณะเมื่อทรงเป็นเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ยกทัพไปตีหัวเมืองลาวจนถึงเวียงจันทน์ จึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตจากเวียงจันทน์มาประดิษฐานที่กรุงธนบุรี ต่อมาเมื่อได้สถาปนา กรุงเทพ ฯ เป็นเมืองหลวง จึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนตราบเท่าทุกวันนี้

    วัดสุชาดารามสร้างขึ้นราว พ.ศ.2325-2352 เมื่อครั้งชาวเชียงแสนถูกกวาดต้อนมาตั้งชุมชนในเมืองเขลางค์ เพื่อระลึกถึงคุณงามความดีของนางสุชาดาหลังจากได้รับโทษประหารชีวิตด้วยความเข้าใจผิดและมาปรากฎความจริงในภายหลัง เชื่อกันว่าที่ตั้งของวัดแห่งนี้คือบ้านและไร่แตงโมของ เจ้าแม่สุชาดาในอดีต ต่อมาเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2527 กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการรวมวัดสุชาดารามเข้ากับวัดพระแก้วดอนเต้า และเรียกวัดแห่งนี้ว่า วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม

    อุโบสถวัดสุชาดารามเป็นสถาปัตยกรรมแบบพื้นเมืองฝีมือช่างเชียงแสน มีลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ประดับด้วยภาพจิตรกรรมลายไทยลงรักปิดทอง ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยบนฐานชุกชี

    เหตุที่วัดนี้ได้ชื่อว่าวัดพระแก้วดอนเต้า มีตำนานกล่าวว่า นางสุชาดา ได้พบแก้วมรกตในแตงโม (หมากเต้า) และนำมาถวายพระเถระรูปนั้นจึงจ้างช่างให้นำมรกตนั้นไปแกะสลักเป็นพระพุทธรูปซึ่งก็คือ พระแก้วดอนเต้า ซึ่งต่อมาได้รับการอัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดพระธาตุลำปางหลวงสาเหตุจากตำนานบอกว่า มีผู้ไปฟ้องเจ้าเมืองลำปางในขณะนั้นว่า พระเถระและนางสุชาดาเป็นชู้กัน เจ้าเมืองลำปางจึงให้จับนางสุชาดาไปประหารชีวิต ส่วนพระเถระองค์นั้นทราบข่าวก็ได้อัญเชิญพระพุทธรูปหนีไป โดยได้นำไปฝากไว้ที่วัดพระธาตุลำปางหลวงจนถึงปัจจุบัน ส่วนสถานที่ตั้งบ้านของนางสุชาดาก็ได้มีผู้มีจิตศรัทธาในคุณงามความดีของนาง บริจาคเงินสร้างวัดขึ้นชื่อวัดสุชาดาราม

    ย้อนรอยคำสาปเมืองลำปาง!!! เรื่องเล่าสุดสะพรึง! จากแรงอธิษฐานของ “นางสุชาดา” หญิงบริสุทธิ์ผู้ถูกตราหน้าว่าเป็นชู้กับพระมหาเถระ???

    ความศักดิ์สิทธิ์ของ พระแก้วมรกต หรือ พระแก้วหมากเต้า ที่ประดิษฐานในวัดพระธาตุลำปางหลวง ตําบลลําปางหลวง อําเภอเกาะคา จังหวัดลําปาง อันเป็นที่เคารพบูชาของชาวลำปางมาอย่างช้านาน มีที่มาที่ไปเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์อันน่าสลดใจ ของนางสุชาดา หญิงสาวผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนา แต่กลับถูกตราหน้าว่าเสพเมถุนกับพระ จนทำให้เธอต้องถูกประหาร!! ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนั้น เป็นที่มาของอาถรรพ์คำสาปเมืองลำปางที่บอกเล่ากันมาชั่วลูกชั่วหลาน .....

    ตำนานกล่าวไว้ว่า หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว 1000 ปี ได้มีผู้มีบุญจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงมาเกิดและได้บวชเป็นพระเถระ ในเวลาต่อมาก็มีเทวดาจากสวรรค์ลงมาเกิดเช่นกัน ชื่อว่า “นางสุชาดา” นางได้อุุปัฏฐากพระมหาธาตุเจ้าม่อนดอนเต้าและพระมหาเถระเรื่อยมา จนวันหนึ่งพระมหาเถระอยากสร้างพระพุทธรูป แต่ก็หาวัสดุไม่ได้ พญานาคทราบเรื่อง จึงเกิดความศรัทธา ใช้อิทธิฤทธิ์เสกแก้วมรกตไว้ในผลแตงโม ซึ่งอยู่สวนหลังบ้านของนางสุชาดา ....

    ต่อมานางสุชาดาได้นำแตงโมผลนี้ ไปถวายแก่พระมหาเถระ เมื่อผ่าดูแล้วก็พบว่ามีแก้วมรกต หรือหินหยกอยู่ภายใน พระมหาเถระ จึงมีความปรารถนาแกะหินหยกให้เป็นพระพุทธรูป แต่ปรากฏว่า แกะเท่าไหร่ก็ไม่สำเร็จ พระอินทร์ทรงทราบเรื่อง จึงแปลงกายลงมาเป็นมนุษย์ แล้วอาสาแกะสลักหินหยกให้เป็นองค์พระ ซึ่งสำเร็จอย่างรวดเร็ว

    หลังจากนั้นจึงได้จัดงานสมโภชพระพุทธรูปแก้วมรกต ทำให้วัดแห่งนี้ ถูกเรียกว่า "วัดพระแก้วดอนเต้า" ต่อมา มีผู้คนร่ำลือกันว่า พระมหาเถระและนางสุชาดาเสพเมถุนกัน เรื่องนี้ทราบถึงเจ้าเมืองลำปางในสมัยนั้น พระองค์ไม่ทรงพิจารณาไต่สวนหาข้อเท็จจริง กลับตัดสินประหารชีวิตนางสุชาดาทันที ก่อนถูกประหาร นางสุชาดาได้ตั้งจิตอธิษฐานอย่างแรงกล้า ว่า หากนางบริสุทธิ์ ขอให้เลือดพุ่งขึ้นสู่อากาศ อย่าได้ตกลงสู่พื้นดิน

    หลังจากนั้นนางสุดาชาก็ถูกประหารชีวิตด้วยดาบ เป็นที่น่าอัศจรรย์ต่อสายตาของผู้คน เมื่อเลือดของนางพุ่งขึ้นสู่อากาศ ไม่ตกลงพื้นแม้แต่หยดเดียว เหตุการณ์นี้ล่วงรู้ถึงเจ้าเมืองลำปาง พระองค์ทรงเสียพระทัยมาก เสด็จลุกจากพระแท่นที่นั่งแล้วก็ล้มลงขาดใจตายทันที ส่วนพระมหาเถระ เกรงว่าจะเกิดภัยกับตน จึงหนีไป พร้อมอัญเชิญพระแก้วมรกตไปอยู่ที่วัด วัดลัมภะกัปปะ หรือ วัดพระธาตุลำปางหลวงในปัจจุบัน

    สำหรับตำนานคำสาปของนางสุชาดา ได้ปรากฏอยู่หลายแหล่ง อาจมีบางเหตุการณ์ที่คลาดเคลื่อนกันไปบ้าง คือ สาเหตุที่นางสุชาดาถูกประหาร บางแหล่งก็ว่า มาจากการกล่าวหาของเจ้าเมืองลำปางในสมัยนั้น ที่ไม่พอพระทัย เหตุที่นางได้นำแก้วมรกตไปถวายแก่พระมหาเถระ แทนที่จะมาถวายกับพระองค์ และที่สำคัญคือ “คำสาปนางสุชาดา” ซึ่งนางได้ลั่นวาจาไว้ ก่อนถูกประหาร

    โดยนางได้กล่าวสาปแช่งเจ้าเมืองลำปาง ให้กรรมตามทันโดยเร็ว ตลอดจนลูกหลานก็อย่าให้เจริญรุ่งเรือง แต่ถ้าลูกหลานคนใดที่ไม่เชื่อว่านางได้กระทำความผิด และไม่ต้องการคำสาปนี้ ก็ให้นำขนุนลูกแรกที่ปลูกได้ ไปถวายแก่พระสงฆ์ พร้อมอุทิศบุญและขออโหสิกรรมต่อนาง จะทำให้คำสาปไม่ปรากฎผล และในที่สุดกรรมก็ตามทันเจ้าเมืองหลังจากที่รู้ว่าเลือดของนางสุชาดาพุ่งขึ้นสู่อากาศ เจ้าเมืองก็เกรงกลัวต่อคำสาป จนล้มป่วยและกระอักพระโลหิตตาย

    เรื่องนี้เป็นที่โจษจันกันมาก จนถึงยุคหลัง “หลวงพ่อเกษม เขมโก” พระอริยะสงฆ์แห่งล้านนา ซึ่งท่านสืบเชื้อสายมาจากสกุล ณ ลำปาง ท่านได้ให้ลูกหลานของตระกูล ณ ลำปาง ร่วมกันสร้างกุศลให้กับนางสุชาดา โดยการสร้างศาลเจ้าแม่สุชาดาที่ริมฝั่งแม่น้ำวัง ซึ่งในอดีตเคยเป็นสถานที่ประหารนางสุชาดานั่นเอง และให้สร้างสะพานเสตุวารี ข้ามแม่น้ำวัง แล้วอุทิศกุศลผลบุญทั้งหมดให้กับนางสุชาดา เป็นการขออโหสิกรรม พร้อมกับถอนคำสาปของนางสุชาดาที่มีต่อตระกูล ณ ลำปางในที่สุด …!!!



    83337752_1791775610953404_5253227748742135808_o.jpg

    82616423_1791783100952655_3314379945395879936_o.jpg

    มณฑปปราสาทศิลปะพม่า วัดพระแก้วดอนเต้า

    ลำปางได้ชื่อว่ามีวัดศิปะพม่ามากที่สุดในประเทศ เหตุที่เป็นเช่นนี้หาข้อมูลมาได้ความว่า เมื่อราวสมัยรัชกาลที่ ๕ ชาวฝรั่งได้รับสัมปทานเข้ามาทำการตัดไม้ในบ้านเราสมัยนั้นคนไทยยังไม่มีความรู้ความชำนาญในการตัดไม้ ฝรั่งเหล่านั้นเคยรับสัมปทานตัดไม้ในพม่ามาก่อนรู้ว่าชาวพม่าซึ่งมีความชำนาญจึงว่าจ้างชาวพม่าเข้ามา ซึ่งลำปางได้ชื่อว่ามีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์มากในสมัยนั้น

    ด้วยความคนพม่าจะมีความเคารพในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก รวมทั้งเชื่อในเรื่องของเทพยดาอารักษ์เจ้าป่าเจ้าเขา เมื่อมีการตัดไม้มากๆ เพื่อเป็นการไถ่บาปและสร้างบุญกุศลจึงมีการสร้างวัดกันขึ้น เพื่อใช้อุทิศส่วนกุศล จังหวัดลำปางจึงมีวัดศิลปะพม่าอยู่มากมายนั่นเอง



    82597765_1792687414195557_7846786674334892032_o.jpg
    ร่วมทำบุญซื้อทองจังโก หุ้มองค์พระธาตุ

     
  9. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    27173234_1183302928467345_1194495186072272682_o.jpg

    27625465_1183303031800668_388296963536444652_o.jpg


    27355554_1183303108467327_1335694179037722584_o.jpg

    พระธาตุดอนเต้าก่อนการบูรณะ ถ่ายเมื่อ ๒ ปีก่อน


    27356288_1183303045134000_1849787584472257244_o.jpg
    รูปปั้นจำลองช้างทรงพระแก้วมรกต


    27500282_1183302921800679_596680014473527419_o.jpg
    นางสุชาดานำแตงโมมาถวายพระเถระ

     
  10. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    83738755_1793561584108140_7458302969696485376_o.jpg

    83583132_1794595214004777_1984303671327850496_o.jpg


    ออกจากวัดพระแก้วดอนเต้าไปไม่ไกลก็ถึงสุสานไตรลักษณ์ อันเป็นที่พำนักของต๋นบุญแห่งเมืองเขลางค์ หรือนครลำปาง

    "หลวงพ่อเกษม เขมโก "

    วัตรปฏิบัติของหลวงพ่อเกษมย่อมเป็นคำสอนที่สำคัญที่ท่านได้แสดงให้ดู ภาพพระภิกษุผู้สูงวัยร่างกายผ่ายผอม นั่งภาวนากลางแดดกลางฝน อย่างไม่สะทกสะท้านต่อแดดฝนลมหนาวอยู่กลางป่าช้าแต่เพียงลำพังวันแล้ววันเล่านับเดือนนับปี ไม่สนใจใยดีต่อลาภยศสรรเสริญ ฉันอาหารแต่เพียงพอให้ขันธ์ ๕ ดำรงอยู่ได้ ภาพเหล่านี้เป็นสิ่งที่เหล่าศิษยานุศิษย์เห็นกันจนชินตา และนำมาซึ่งความเลื่อมใสศรัทธา ต่อหลวงปู่ครูบาเจ้าเกษม เขมโก

    หลวงปู่ครูบาเจ้าเกษม เขมโก ท่านเกิดในตระกูล ณ ลำปาง โดยเป็นหลานของเจ้าหลวงบุญวาทย์วงศ์มานิต เจ้าหลวงผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย ด้านการศึกษาเล่าเรียนท่านก็ได้เรียนจบชั้น ป. ๕ ซึ่งถือว่าสูงมากแล้วในสมัยนั้น ต่อมาท่านก็มีโอกาสได้บวชเรียนก็ได้เข้าเรียนพระปริยัติธรรมต่อก็เจริญรุ่งเรืองยิ่งๆขึ้นมา จนพระผู้ใหญ่แต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส ท่านก็สนองคุณครูบาอาจารย์อยู่ช่วงหนึ่ง แต่งานด้านการปกครองวุ่นวายไม่เหมาะกับจริตนิสัยของท่าน หลวงปู่จึงได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาส และออกเดินทางหาความสงบ สุดท้ายก็มาอยู่ที่สุสานไตรลักษณ์ อันเป็นป่าช้า ใช้เป็นที่เจริญจิตภาวนา พิจารณาอารมณ์จิตของตน จนหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง



    7-_1_1.jpg


    คำไหว้หลวงพ่อเกษม เขมโก
    พื่อเผยแพร่เป็นธรรมทาน

    "โอกาสะ โอกาสะ อาจาริโย เมนาโถ ภันเต โหนตุ อายัสมา เขมโก ภิกขุ
    เมนาโถ ภันเต โหตุ อาจาริยัง วันทามิหัง"

    แล้วต่อด้วย

    "วันทามิ ภันเต สัพพังอะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อนุโมธิตัพพัง สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ธาตัพพัง" สาธุ สาธุ อนุโมทามิ


    ...จุดธูป 1 ดอก แล้วกราบแค่อกเพียง 1 ครั้ง...***ห้ามกราบลงพื้น***
    Cr.หนังสือรวมภาพวัตถุมงคลหลวงพ่อเกษม เขมโก (ฉบับสมบูรณ์)
     
  11. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    82657303_1795572077240424_954303988998602752_o.jpg


    สุสานไตรลักษณ์ กฏแห่งพระไตรลักษณ์ ทุกชีวิตไม่พ้น เกิดแก่เจ็บตาย ปีเก่าผ่านไปปีใหม่เข้ามา เวลาเหลือน้อยลงทุกที


    83644344_1798261343638164_6311535994311016448_o.jpg

    83823922_1798261376971494_9000407807639420928_o.jpg


    สุสานไตรลักษณ์

    สุสานไตรลักษณ์ เป็นที่พำนักจำพรรษาของหลวงปู่ครูบาเจ้าเกษม เขมโก โดยด้านหน้าได้สร้างรูปเหมือนยืนขนาดใหญ่ของหลวงปู่เอาไว้ให้คนกราบไหว้บูชาระลึกถึงท่าน ปัจจุบันเป็นแลนด์มาร์กที่สำคัญของจังหวัดลำปาง ที่ใครผ่านมาก็ต้องแวะ เพื่อกราบไหว้ขอพรระลึกถึงคำสอนของหลวงปู่

    ทำไมถึงต้องสร้างเป็นรูปหล่อยืนลักษณะนี้ พอดีผมมีหนังสือที่ระลึกครบ ๘๐ พรรษาของหลวงปู่อยู่ ในหนังสือมีภาพถ่ายหลวงปู่ยืนในลักษณะนี้อยู่พร้อมคำบรรยายว่า ยืนพิจารณาซากศพ หลวงปู่อยู่จำพรรษาที่สุสานไตรลักษณ์ การสร้างรูปหล่อยืนพิจารณาซากศพก็ดูจะเหมาะสมที่สุด หลวงปู่ท่านคงพิจารณาถึงกฏธรรมดาแห่งโลกนี้ตามความเป็นจริงจนเขี่ยวชาญช่ำชอง ความจริงที่ว่าสรรพสิ่งในโลกล้วนแล้วแต่ อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา มีความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปในที่สุด จะยากดีมีจนร่ำรวยด้วยยศฐาบรรดาศักดิ์ สุดท้ายก็ต้องตาย ทรัพย์สินทั้งหลายที่พยายามหามาสุดท้ายก็นำติดตัวไปไม่ได้ แม้แต่ร่างกายสุดท้ายเขาก็เอาไปเผายังเมรุ ไม่มีใครนำอะไรไปได้ นอกจากบุญและบาปที่จะตามติดเป็นเงาตามตัว ไปข้ามภพข้ามชาติรอเวลาที่จะส่งผล


    83500853_1798261333638165_1222163116222054400_o.jpg


    "อนิจจา วต สังขารา อุปปาทวยธัมมิโน

    อุปปัชชิตวา นิรุชชันติ เตสัง วูปสโม สุโข"

    อนิจจา วต สังขารา -สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ......


    อุปปาทวยธัมมิโน -มีอันเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา.......


    อุปปัชชิตวา นิรุชฌันติ -บังเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป......

    เตสัง วูปสโม สุโข -การเข้าไประงับสังขารเหล่านั้นเสียได้ เป็นความสุข.....


    มรณานุสติกรรมฐาน เป็นพระกรรมฐานที่สำคัญมากอีกกองหนึ่งที่บรรดาครูบาอาจารย์ท่านจะเจริญกันอยู่เป็นปกติ เพราะมีประโยชน์มากความตายนั้นอยู่เพียงปลายจมูกของเราทุกคน ทำให้ไม่หวั่นหรือไม่ประมาทต่อความตาย สิ่งใดควรทำยังไม่ได้ทำก็ให้เร่งขวนขวาย สิ่งใดควรละควรเลิกก็จะได้ละเลิก เมื่อเวลานั้นมาถึงก็จะได้ไม่ต้องเสียใจว่าเพราะเราได้ทำทุกอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ดีแล้ว

    แม้องค์หลวงปู่สิม แห่งถ้ำผาปล่องท่านก็นิยมเทศน์เรื่อง “มรณัง เม ภวิสสติ” แปลว่าเราจักต้องดาย ขนาดว่าท่านไปงานวันเกิดหลวงพ่อไพบูลย์ วัดอนาลโย ท่านยังขึ้นเทศน์เรื่องนี้ นี่ถ้าเป็นชาวบ้านทั่วไปงานมงคลมาพูดเรื่องตายๆ กัน คงต้องมีวางมวยกันแน่ แต่สำหรับปราชญ์ผู้รู้แจ้งแล้วท่านถือว่าการเทศน์เรื่องตาย ก็เพื่อให้ไม่ประมาทในชีวิต อันเป็นปัจฉิมโอวาทของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังความว่า

    “วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ”


    แปลว่า

    “สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจง (ยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น) ให้ถึงพร้อม ด้วยความไม่ประมาทเถิด”



    83802192_1795582173906081_4419527725610434560_o.jpg
     
  12. จำปาแมน

    จำปาแมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    854
    ค่าพลัง:
    +2,166
    น้อมกราบลป.ครูบาเจ้าเกษม เขมโก สาธุๆๆครับพี่นิพน สุวรรณ
    ที่นำเรื่องราวดีๆธรรมมะสถานที่รูปภาพ สวยงาม. มาเผยแพร่
     
  13. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาติดตาม พูดคุย กดไลค์ให้ครับ เป็นกำลังใจที่ดีมากครับ
     
  14. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    83854443_1800989083365390_9039500647212253184_o.jpg

    83750042_1801993843264914_7082397815518789632_o.jpg


    ท้าวเวสสุวรรณ สุสานไตรลักษณ์

    ปัจจุบันสุสานไตรลักษณ์ได้จัดระเบียบใหม่ ภายในสะอาดโล่งโปร่งตา ด้านหลังเป็นลานจอดรถ และมีห้องน้ำสะอาดสะอ้าน มีแม่บ้านคอยดูแลอยู่ และด้านในสุดตอนนี้มีสิ่งก่อสร้างเพิ่มมาอีก ๒ อย่าง คือวิหารพระพุทธ และรูปหล่อท้าวเวสสุวรรณ ใหญ่ยักษ์ รูปลักษณ์ค่อนข้างแปลกตา ยืนเด่นงามสง่า ไปค้นหาข้อมูลมาได้ความว่า

    การจัดสร้างรูปหล่อท้าวเวสสสุวรรณและวิหารพระพุทธ เป็นดำริของ นายไพจิตร ธรรมโรจน์พินิจ(เสี่ยปอ ประตูน้ำ) ประธานอุปถัมป์มูลนิธิหลวงพ่อเกษม เขมโก สำหรับองค์ท้าวเวสสุวรรณ หล่อด้วยทองเหลือง
    ขนาดสูง ๑๔ เมตร น้ำหนัก ๑๙ ตัน



    83799019_1802047969926168_5344346489244090368_o.jpg



    ทางภาคเหนือนี้นอกจากการบูชาพระอุปคุตแล้ว ก็เห็นจะมีท้าวเวสสุวรรณ ที่ได้รับความนิยมกันมาก ยุคเก่าก็เหรียญวัดเจดีย์สถาน ถือเป็นอันดับหนึ่งแห่งล้านนา ยุคหลังที่ได้รับความนิยมก็มีของครูบาจันทร์ วัดน้ำแป้ง ท้าวเวสสุวรรณวัดดอนแก้วเป็นต้น แม้ทางเว็บพระล้านนาก็เปิดกระดานประมูลท้าวเวสสุวรรณให้เป็นการเฉพาะเลย

    ประวัติของท้าวเวสสุวรรณนี้มีปรากฏทั้งในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาพุทธ ซึ่งก็จะแตกต่างกันออกไปตามคติความเชื่อ ในทางพระพุทธศาสนา ท้าวเวสสุวรรณ เป็นเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาซึ่งจะมีความใกล้ชิดกับมนุษย์ และเป็นหนึ่งในจตุโลกบาล มีหน้าที่ดูแลแพระพุทธศาสนา วัดวาอารามต่างๆจึงนิยมสร้างรูปหล่อของท่านขึ้นมาไว้คุ้มครองวัด

    ตามความเชื่อของคนไทยท้าวเวสสุวรรณ ก็เป็นยักษ์ใหญ่เจ้าแห่งภูตผีปิศาจ กระบองของท่านทรงผลานุภาพมาก ถือเป็นหนึ่งในห้าสุดยอดอาวุธของเหล่าเทพยดาที่ไม่มีสิ่งใดกล้าต่อกร พระเกจิผู้ทรงคุณจึงสร้างวัตถุมงคลท้าวเวสสุวรรณไว้ให้เหล่าศิษยานุศิษย์ไว้บูชา ป้องกันตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งยามต้องเดินทางไปต่างถิ่น สิ่งลีลับอาถรรพ์คุณไสยต่างๆหากมีขึ้นสร้างอันตรายก็ย่อมพ่ายแพ้ไป และนอกจากนี้ยังเชื่อว่าท้าวเวสสุวรรณเป็นเจ้าแห่งทรัพย์อีกด้วย

    แม้พระเดชพระคุณหลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุงก็ยังเล่าถึงท้าวเวสสุวรรณอยู่เสมอๆ รวมทั้งมีเหรียญหลังท้าวเวสสุวรรณด้วย ซึ่งเป็นเหรียญหลักที่ได้รับความนิยมมาก

    การบูชาท้าวเวสสุวรรณ ก็ควรจะระลึกถึง ท้าวจตุโลกบาลที่เหลืออีกสามองค์ด้วย เพราะหลวงพ่อฤาษีท่านเคยบอกว่าท้าวเวสุวรรณนั้นเป็นหัวหน้าจตุโลกบาล และที่สำคัญเรื่องของเทวดานี่หลวงพ่อเคยเล่าว่าต้องบอกต้องขอให้เขาช่วยนะ ถ้าไม่บอกไม่ขอบางทีเขาก็ยืนดูเฉยไม่ช่วยเหมือนกัน



    83612395_1802052573259041_5977734095298363392_o.jpg


    เทวตานุสติกรรมฐาน เป็นหนึ่งในกรรมฐาน ๔๐ คุณธรรมที่จะทำให้เกิดเป็นเทวดาได้คือ หิริโอตัปปะ ความละอายและเกรงกลัวต่อผลของปาป หันมามองในยุคนี้หาได้มีความละอายและเกรงกลัวบาปกันกันเลย ทุกคนเลือกที่จะเกิดได้ พระพุทธองค์ทรงชี้ทางไว้แล้ว อยูที่เราเองเลือกที่จะไปทางใด
     
  15. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    84567944_1805678836229748_8114586110102863872_o.jpg

    83923533_1805678949563070_3443710722167537664_o.jpg

    83995717_1805678886229743_4625068969017999360_o.jpg

    84622312_1803758359755129_3288681111659479040_o.jpg

    วิหารพระพุทธ สุสานไตรลักษณ์

    สร้างวาระเดียวกับองค์ท้าวเวสสุวรรณ และตั้งอยู่ใกล้ๆกัน ตัววิหารมีขนาดเล็กแต่มีความสวยเด่นเป็นสง่างดงามมาก ยิ่งพยานาคคู่ช่วยขับให้ดูเด่นสง่า สยบทุกสายตาให้จับจ้องมองมา

    ภายในประดิษฐานพระพุทธมงคล ๖๐ พรรษา

    พระพุทธมงคล ๖๐ พรรษา พระพุทธรูปหล่อโลหะสัมฤทธิ์ปิดทองขนาดใหญ่ ที่หลวงพ่อเกษม เขมโก ได้มีเมตตาอธิษฐานจิตไว้ สร้างในวโรกาสที่หลวงพ่อเกษมได้ครองสมณเพศมาจนครบ ๖๐ พรรษาพอดีในวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๓๖ เดิมประดิษฐานอยู่ในอาคารปฏิบัติธรรม ต่อมาทางมูลนิธิฯ เห็นว่าควรสร้างวิหารประดิษฐานท่านให้เป็นสัดส่วน ผู้คนจะได้เข้ามากราบขอพรได้



    83687598_1803758406421791_483474615855742976_o.jpg


    มกรคายนาค มีให้เห็นทั่วไปในถิ่นล้านนา ทางภาคกลางจะสร้างเป็นพยานาคเฉยๆ ส่วนมกรคายนาคนั้นมีความนัยแฝงอยู่ดังนี้

    บันได “มกรคายนาค” เป็นรูปแบบศิลปะที่นิยมและพบเห็นมากในถิ่นล้านนา บันไดหรือทางเข้าวัดนิยมทำเป็นรูปนาคโดยมีมกรหรือเหรากำลังทำท่าคายนาคออกมาจากปาก แต่บางคนก็ตั้งข้อสังเกตุว่ากำลังจะกลืนนาคเข้าไป
    สำหรับความหมายของมกรคายนาคนั้น เท่าที่ทราบมามีการตีความไปสองทาง

    ทางแรกคือ มกร เป็นสัตว์ในความเชื่อของพม่า และนาคสัตว์ในความเชื่อของล้านนา มกรคายนาคจึงเหมือนสัญลักษณ์การมีอิทธิพลเหนือล้านนาของพม่า ทั้งนี้เพราะเมื่อหลายร้อยปีก่อน ล้านนาตกอยู่ใต้อิทธิพลของพม่าอยู่นาน มกรคายนาคจึงเป็นสัญลักษณ์ว่าถ้ามกรหุบปากนาคก็จะถูกงับตาย ดังเช่นถ้าพม่าจะใช้กำลังบีบล้านนาก็จะต้องตายเหมือนนาคที่ยังคาอยู่ในปากของมกร

    ส่วนการตีความอีกทางหนึ่งคือการหลุดพ้นความเป็นตัวตน พ้นจากอัตตา เหมือนนาคที่กำลังจะหลุดพ้นจากมกร ถ้าตั้งใจก็สามารถพ้นจากปากของมกรได้ เหมือนดังคนที่สามารถพ้นจากความยึดติดในอัตตาได้นั่นเอง
     
  16. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    84208272_1806608289470136_4934781830986465280_o.jpg

    83777891_1806614032802895_174172382825545728_o.jpg


    ระหว่างทางคือกำไร

    บ่ายคล้อยตะวันย้อยต่ำ เราก็ออกเดินทางจากลำปาง มุ่งหน้าสู่เชียงราย เส้นทางนี้ผมเคยมาด้วยรถทัวร์เมื่อหลายปีก่อนเพื่อไปทำธุระแม่สายแต่มาตอนกลางคืนและจำไม่ได้แล้วว่าเป็นอย่างไร มาครั้งนี้จึงได้ดื่มด่ำกับธรรมชาติอย่างเต็มที่ ความสุขไม่ได้เกิดขึ้นเพียงเมื่อตอนเราถึงจุดหมาย แต่ระหว่างทางที่ไป วิถีชีวิต ต้นไม้ สายน้ำ ลำธาร ป่าเขา และการได้นั่งเม้าท์มอย ไปกับสิ่งต่างๆ บางครั้งอาจยกเอาตำนานเล่าขานในสถานที่ที่เราผ่านไป มาพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ย่อมเป็นกำไรระหว่างเดินทาง

    จุดที่เราจอดรถถ่ายรูปกันไม่รู้เรียกว่าเขาอะไร เส้นทางช่วงตรงนี้จะคดๆโค้งๆไปมาขึ้นๆลงๆบ้าง แต่เป็นช่วงสั้นๆ เส้นทางขึ้นเชียงรายสะดวกสบายมาก เราเลิดเพลินอยู่กับธรรมชาติจนเข้าเขตพะเยา อากาศที่เคยแจ่มใสก็เริ่มครึ้ม มีฝนตกมาเป็นละอองแค่นั้น



    84182946_1808287772635521_5900635502440087552_o.jpg

    84337693_1808287842635514_8610287110575882240_o.jpg

    83918344_1808287762635522_3000643042668445696_o.jpg
    (ช่วงข้ามแม้น้ำอิง ที่เห็นสุดปลายแม่น้ำคือกว๊านพะเยา แม่น้ำอิงเป็นหนึ่งในแม่น้ำไม่กี่สายที่ไหลย้อนทวนขึ้นเหนือไปออกแม่น้ำโขงที่ จ.เชียงราย)


    เรามาถึงเชียงรายในตอนหัวค่ำหลังจากทานอาหารกันแล้วก็วางแผน สำหรับทริปในวันรุ่งขึ้น การมีเพื่อนอยู่ในพื้นที่อยู่แล้วทำให้คุยกันง่าย เสร็จสรรพเรียบร้อยก็แยกย้ายเข้านอน อากาศกำลังเย็นสบายทีเดียว

     
  17. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    83829046_1809232459207719_1711082676867301376_o.jpg

    83818416_1809232382541060_5999386305337753600_o.jpg

    83998649_1809232429207722_2565302838263545856_o.jpg

    84362687_1809232405874391_4940570394634485760_o.jpg

    84536227_1809232522541046_1272710444594757632_o.jpg

    84693816_1809232489207716_7145413129009102848_o.jpg


    ไร่ชาฉุยฟง(๑)

    หลังจากที่เข้านอนกันกลางดึกคืนนั้นผมสะดุ้งตื่นด้วยเสียงฝนตกลงมา แต่ด้วยความง่วงเพลียจากการเดินทาง นอนฟังเสียงฝนไปได้ไม่นานก็ผล็อยหลับไปอีก จนเสียงนาฬิกาปลุกที่ตั้งเอาไว้ดังขึ้นฝนหยุดตกไปแล้ว จึงตื่นขึ้นทำธุระส่วนตัวจนเสร็จก็มาปลุกผู้ร่วมทริปให้ตื่น ระหว่างนั่งรอก็เปิดดูข่าว เห็นบอกว่าทางแม่ฮ่องสอนและเชียงใหม่ฝนเทกระหน่ำลูกเห็บตก ทางเชียงแสนพายุพัดต้นไม้และเสาไฟหักล้มระเนระนาด ก็กังวลใจนิดหน่อยเพราะตามโปรแกรมวันนี้เราจะต้องขึ้นดอยตุงด้วยจะเป็นอะไรรึป่าว

    เปิดทริปเชียงรายด้วยบรรยากาศสบายๆกับไร่ชาฉุยฟง

    เช้าวันที่ ๓๐ ธันวาคม เมื่อทุกคนพร้อมก็ออกเดินทางไปยังเป้าหมายแรก ไร่ชาฉุยฟง ปัจจุบันเป็นหนึ่งในสถานที่ที่สำคัญที่คนมาเที่ยวเชียงรายต้องแวะมาเที่ยวเก็บภาพและชิมชากัน ไร่ชาฉุยฟงเป็นไร่ชาที่เก่าแก่และขึ้นชื่อของเชียงราย ด้วยภูมิประเทศที่สวยงามไร่ชาโอบล้อมไปตามเนินเขา และถ้ามาในช่วงหน้าหนาวหมอกลงอย่างนี้ เดินถ่ายรูปกันเพลินเลย ด้วยพื้นที่ราวๆ ๕๐๐ ไร่ จึงมีมุมสวยมากมายให้นักท่องเที่ยวได้เก็บภาพกัน
     
  18. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    85215630_1811267359004229_7600395619017949184_o.jpg

    84027358_1811267422337556_5288090217327099904_o.jpg

    84462632_1811267792337519_3748236444758441984_o.jpg

    85057201_1811267432337555_3992380755438206976_o.jpg

    86193636_1812085542255744_6649139132654157824_o.jpg


    ไร่ชาฉุยฟง(๒)

    ไร่ชาฉุยฟงที่ได้รับความนิยมปัจจุบันมีอยู่ 2 แห่ง แห่งแรกตั้งอยู่ในเขตพื้นที่บ้านพญาไพร ตำบลเทอดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวง ที่นี่ไม่มีร้านอาหาร และแห่งที่สองอำเภอแม่จัน จังหวัด เชียงราย ที่นี่มีร้านอาหาร ซึ่งบริการ อาหาร เครื่องดื่ม และเบเกอรี่ เป็นแหล่งปลูกชาชั้นดี ของ บริษัท ฉุยฟงที จำกัด ซึ่งป็นผู้ผลิตใบชารายใหญ่ที่สุดในจังหวัดเชียงราย โดยมี ประสบการณ์ยาวนานในการเพาะปลูกชามากว่า 40 ปี ปัจจุบัน บริษัท ฉุยฟง เป็นผู้ผลิตชาผู้จัดจำหน่าย และผู้ส่งออก มีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ผู้ใช้ทางด้านอุตสาหกรรม เช่น โออิชิ มาลี ยูนีฟ ลิปตัน เป็นต้น ไร่ชาตั้ง อยู่บนเนื้อที่กว่า1,000 ไร่(รวมทั้ง 2 ที่) ตั้งอยู่ในภูมิประเทศแถบเทือกเขาสูง ซึ่งอยู่บนพื้นที่ี่ สูงกว่าระดับน้ำทะเลกว่า 1,200 เมตร และมีบรรยากาศ โดยรอบปกคลุมด้วยหมอกตลอดปี ด้วยความความสวยงามของไร่ชาที่กว้างใหญ่กว่า พันไร่ โดยจะปลูกโค้งวน ตามสันเขาและลดหลั่นเป็นขั้นบันได ซึ่งดูสวยงามแปลกตากว่าไร่ชาที่อื่น ทำให้ไร่ชาฉุยฟง กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว แห่งใหม่ ใน จ.เชียงราย ซึ่งเริ่มได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว

    ประวัติไร่ชาฉุยฟง

    https://mgronline.com/smes/detail/9560000100355
     
  19. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    84418751_1812085532255745_6732279752360460288_o.jpg

    86281896_1812085638922401_4877908964974526464_o.jpg

    85029569_1812085615589070_5070683826116624384_o.jpg

    86191407_1812085518922413_7365740639146737664_o.jpg


    ไร่ชาฉุยฟง(๓)

    คำว่า “ฉุยฟง” ในภาษาจีน หมายถึง “ภูเขาที่เขียวชอุ่ม” จุดเด่นของไร่แห่งนี้อยู่ที่การปลูกแบบขั้นบันได ไร่ชาที่เราไปกันนี้อยู่ที่ อ.แม่จัน ซึ่งเดินทางสะดวกมากไม่ต้องขึ้นภูเขาสูง แถมยังมีร้านอาหารให้เลือกซื้อเลือกดื่มกันได้สะดวก ที่นี่จึงเหมาะสำหรับมาท่องเที่ยว ส่วนที่ อ.แม่ฟ้าหลวงนั้นต้องขึ้นเขาและที่นั้นไม่มีร้านอาหาร


    ทริปนี้เป็นทริปแรกที่หัดถ่ายวิดีโอ ไม่ค่อยชำนาญเท่าไรก็จะฝึกไปเรื่อยๆ การถ่ายเป็นคลิปก็จะได้มุมมองที่กว้างกว่าภาพถ่าย แต่ละอย่างก็จะมีจุดดีจุดด้อยแตกด่างกันไป
    ในการเอาไปใช้งาน




     
  20. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,565
    ค่าพลัง:
    +53,107
    1583564748323.jpg 1583564746471.jpg 1583564744715.jpg 1583564742696.jpg 1583564740394.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...