เรื่องเด่น อะไรเป็นเหตุให้พุทธสาวกสำเร็จธรรมด้วยข้อธรรมะที่แตกต่างกัน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 10 กรกฎาคม 2020.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,427
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,473
    ?temp_hash=49d22a9bfad96b3f2318587136e4eafe.jpg

    อะไรเป็นเหตุให้พุทธสาวกสำเร็จธรรมด้วยข้อธรรมะที่แตกต่างกัน
    อะไรเป็นเหตุให้พุทธสาวกสำเร็จธรรมด้วยข้อธรรมะที่แตกต่างกัน ?

    ตอบ:

    จะขอตอบในประเด็นที่บรรลุธรรมเร็วช้าต่างกัน เนื่องด้วยบำเพ็ญบารมีมาต่างกัน เสียก่อน

    บางท่านอธิษฐานบารมีเป็นปกติสาวก ก็บำเพ็ญบารมีเต็มเร็ว และการบำเพ็ญบารมีไม่ต้องยิ่งใหญ่ จึงเต็มเร็วและบรรลุได้

    ผู้ที่บำเพ็ญบารมีสูง ผลของการบรรลุก็ต่างกัน และอัธยาศัยของสัตว์โลกที่สั่งสมมาก็ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นวิธีการบำเพ็ญบารมีก็ไม่เหมือนกัน บางคนบำเพ็ญด้วยศรัทธามาก บางคนบำเพ็ญด้วยวิริยะมาก บางคนบำเพ็ญด้วยสติมาก บางคนบำเพ็ญด้วยสมาธิมาก บางคนบำเพ็ญด้วยปัญญา คืออินทรีย์ความเป็นใหญ่ในการบำเพ็ญบารมีไม่เท่ากัน เหตุแห่งการพิจารณาสภาวธรรมและบรรลุในข้อธรรมต่างๆ กัน จึงเป็นไปด้วยอินทรีย์ไม่เหมือนกัน เช่นบางคนรักสวยรักงาม การบำเพ็ญบารมีเป็นไปด้วยศรัทธาจริต อย่างนี้ถ้าได้พบพระพุทธเจ้า กัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ที่รู้อัธยาศัย รู้อินทรีย์ว่าแก่กล้าด้านไหน ? ก็จะสามารถชี้แนะในจุดนั้นที่เคยสร้างสมอบรมมาแต่ในอดีต ยกตัวอย่างเช่น มีลูกศิษย์พระสารีบุตร อยู่ในสำนักของพระสารีบุตร เป็นผู้รักสวยรักงาม พระสารีบุตรเห็นว่ารักสวยรักงามจึงให้อสุภกัมมัฏฐาน ทำอย่างไรก็ไม่บรรลุ จึงพาลูกศิษย์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงทราบอัธยาศัยของคนๆ นี้ เดิมเป็นช่างทอง ชอบทำดอกบัวสวยๆ พระพุทธเจ้าเลยให้ดอกบัวเป็นนิมิต ให้พิจารณากัมมัฏฐานคือดอกบัวว่าสวยขึ้นมาอย่างนี้ และพระพุทธเจ้าได้โอภาสแสงสว่างไปด้วยพระฤทธิ์ให้ดอกบัวมันสวย ช่างทองถูกใจมาก ใจจดจ่อจนใจเป็นสมาธิแน่วแน่มั่นคง และใจหยุดนิ่ง พอใจหยุดพอเหมาะ พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้เห็นด้วยพระฤทธิ์ว่า ดอกบัวเหี่ยว ค่อยๆ เหี่ยวแห้งไป เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา บรรลุเลย นี่ทรงทราบอัธยาศัยของสัตว์ แปลว่าทรงมีอาสยานุสยญาณ และอินทริยปโรปริยัติญาณ ซึ่งเป็นญาณสำคัญของพระพุทธเจ้าเพื่อใช้ในการโปรดสัตว์

    พระพุทธเจ้ามีพระญาณทั้ง 2 ซึ่งบำเพ็ญมานาน อินทริยปโรปริยัติญาณ คือญาณหยั่งรู้อินทรีย์ของสัตว์ว่า สัตว์บำเพ็ญมาแก่กล้ามาทางไหน ทางศรัทธา ทางวิริยะ ทางสติ ทางสมาธิ หรือทางปัญญา ซึ่งอินทรีย์นั้นจะแก่กล้าเป็นพละ จึงชื่อว่า อินทรีย์ 5 พละ 5 ซึ่งจะมีผลให้ข้อธรรมอื่นๆ เจริญขึ้น เป็นโพธิปักขิยธรรมทั้ง 37 ประการ เจริญให้สามารถตรัสรู้พระอริยสัจ 4 เป็นพระอรหันตขีณาสพได้

    และทรงมีอาสยานุสยญาณ รู้อัธยาศัยของสัตว์ว่าบำเพ็ญมาอย่างไร พระองค์จะให้ข้อธรรมที่ถูกทั้งอินทรีย์ที่เคยสร้างสมอบรมมาและอัธยาศัยของบุคคล และครูบาอาจารย์มีสิ่งนี้ก็ช่วยได้บ้างครับ


    ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    2018-01-07_072238x.jpg

    อินทริยปโรปริยัติญาณและอาสยานุสยญาณของพระพุทธองค์

    [๒๖๙] อินทรียปโรปริยัตตญาณของพระตถาคตเป็นไฉน ฯ ในอินทรียปโรปริยัตตญาณนี้ พระตถาคตย่อมทรงเห็นสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีกิเลสธุลีน้อย ในปัญญาจักษุ มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ มีอินทรีย์แก่กล้ามีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการชั่ว พึงให้รู้แจ้งได้โดยง่าย พึงให้รู้แจ้งได้โดยยากบางพวกมีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บางพวกมิได้เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย ฯ

    [๒๗๐] คำว่า มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธา เป็นคนมีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคล ผู้ไม่มีศรัทธา เป็นคนมีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ บุคคลผู้ปรารภความเพียรเป็นคนมีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้เกียจคร้าน เป็นคนมีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีสติตั้งมั่น เป็นคนมีกิเลสธลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีสติหลงลืม เป็นคนมีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น เป็นคนมีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นเป็นคนมีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีปัญญา เป็นคนมีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีปัญญาทรามเป็นคนมีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ ฯ

    [๒๗๑] คำว่า มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธา เป็นคนมีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาเป็นคนมีอินทรีย์อ่อน … บุคคลผู้มีปัญญา เป็นคนมีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้มีปัญญาทราม เป็นคนมีอินทรีย์อ่อน ฯ

    [๒๗๒] คำว่า มีอาการดี มีอาการชั่ว ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธา เป็นคนมีอาการดี บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เป็นคนมีอาการชั่ว …บุคคลผู้มีปัญญา เป็นคนมีอาการดี บุคคลผู้มีปัญญาทราม เป็นคนมีอาการชั่ว ฯ

    [๒๗๓] คำว่า พึงให้รู้แจ้งได้โดยง่าย พึงให้รู้แจ้งได้โดยยาก ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธา เป็นคนพึงให้รู้แจ้งได้โดยง่าย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เป็นคนพึงให้รู้แจ้งได้โดยยาก บุคคลผู้มีปัญญา เป็นคนพึงให้รู้แจ้งได้โดยง่าย บุคคลผู้มีปัญญาทราม เป็นคนพึงให้รู้แจ้งได้โดยยาก ฯ

    [๒๗๔] คำว่า บางพวกมีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บางพวกมิได้เห็น ปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย ความว่า
    บุคคลผู้มีศรัทธา เป็นคนมีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เป็นคนมิได้เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้มีปัญญา เป็นคนมีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้มีปัญญาทราม เป็นคนมิได้เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย ฯ

    [๒๗๕] ชื่อว่าโลก คือ ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก โลกคือภพวิบัติ โลกคือ สมภพวิบัติ โลกคือภพสมบัติ โลกคือสมภพสมบัติ

    โลก ๑ คือสัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร
    โลก ๒ คือ นามและรูป
    โลก ๓ คือเวทนา ๓
    โลก ๔คืออาหาร ๔
    โลก ๕ คือ อุปาทานขันธ์ ๕
    โลก ๖ คือ อายตนะภายใน ๖
    โลก ๗ คือ ภูมิเป็นที่ตั้งวิญญาณ ๗
    โลก ๘ คือ โลกธรรม ๘
    โลก ๙ คือ ภพเป็นที่อาศัยอยู่ของสัตว์ ๙
    โลก ๑๐ คือ อายตนะ ๑๐
    โลก ๑๒ คือ อายตนะ ๑๒
    โลก ๑๘ คือ ธาตุ ๑๘ ฯ

    [๒๗๖] ชื่อว่าโทษ คือ กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง อภิสังขารทั้งปวง กรรมอันเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่ภพทั้งปวง เป็นโทษ ความสำคัญในโลกนี้และโทษนี้ว่าเป็นภัยอันแรงกล้า ปรากฏแล้วด้วยประการดังนี้ เหมือนความสำคัญในศัตรูผู้เงื้อดาบเข้ามาจะฆ่าฉะนั้น พระตถาคตย่อมทรงรู้ ทรงเห็น ทรงทราบชัด ทรงแทงตลอดซึ่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ด้วยอาการ ๕๐ นี้ นี้เป็นอินทรียปโรปริยัตตญาณของพระตถาคต ฯ

    ที่มา พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๓ ขุ. ป.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,427
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,473
    ทางหลุดพ้นจากทุกข์ในชีวิตของสัตว์โลกมี 5 ทาง

    (พระสาวกทั้งหลายที่ได้บรรลุธรรมในสมัยพุทธกาลนั้นมี 5 สาเหตุนี้)

    1. ได้ฟังธรรมะจากพระศาสดาหรือจากภิกษุก็ตาม ได้รู้เข้าใจชัดในธรรม เกิด ปีติ เกิดความสุข เกิดความตั้งมั่น เกิดปัญญาหลุดพ้นจากอาสาวะกิเลสทั้งปวง

    2. ได้ฟังธรรมแล้วยังไม่หลุด แต่เมื่อจดจำธรรมะได้แล้วไปแสดงธรรมะให้ผู้อื่นฟัง เราผู้แสดงธรรมะก็รู้แจ้งชัดเจนในธรรมะจนเกิดปีติเกิดความสุขเกิดความตั้งมั่นแห่งจิต

    เกิดปัญญาหลุดพ้นจากอาสาวะกิเลสทั้งปวง

    3.หากแสดงธรรมให้ผู้อื่นฟังแล้วตัวเองก็ไม่บรรลุ ให้นำธรรมะที่จดจำนั้นมาใคร่ครวญพิจารณาในใจ จนเข้าใจแจ่มแจ้ง เกิดปีติ เกิดความสุข เกิดจิตตั้งมั่น

    เกิดปัญญาหลุดพ้นจากอาสาวะทั้งปวง

    4.หากใคร่ครวญธรรมะในใจแล้วยังไม่หลุดพ้น บางท่านนำธรรมะที่จำมาแล้ว มาสวดสาธยายออกเสียง แล้วรู้ชัดเจนแจ่มแจ้งในธรรมจนเกิดปีติเกิดความสุข

    เกิดจิตตั้งมั่น เกิดปัญญาแล้วหลุดพ้นจากอาสาวะทั้งปวง

    5.หากทำทั้ง 4ข้อแรกแล้วยังไม่หลุดพ้น แสดงว่าจิตใจอ่อนแอมาก จิตขาดกำลังสติ สมาธิ ท่านให้ทำสมาธิเพื่อรวบรวมความสงบให้เกิดขึ้นกับใจ

    เมื่อจิตมีกำลังสมาธิขึ้นแล้วจึงพิจารณาในธรรมที่ได้จดจำมา จนเกิดปีติ เกิดความสุข เกิดความตั้งมั่น เกิดปัญญา หลุดพ้นจากอาสาวะทั้งปวง

    (อธิบายขยายความจากวิมุตตายตนะสูตร ทางหลุดพ้น 5 ประการ))

    zw1unGwOJfhHuSqMtiy98T-CKZOQKCIX3XvC1w9OVfOm&_nc_ohc=G3ioQ6oePdcAX-0I2nb&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,427
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,473
    ๖. วิมุตตายตนสูตร
    ว่าด้วยเหตุแห่งวิมุตติ
    [๒๖]@เชิงอรรถ :
    @๑ ศีล ในที่นี้หมายถึงปาริสุทธิศีล ๔ ซึ่งเป็นพื้นฐานแห่งการบรรลุอริยมรรค (ม.มู.อ. ๒/๔๕๒/๒๕๔,
    @องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๕/๑๐)
    @๒ สุตะ ในที่นี้หมายถึงการฟังธรรมที่เป็นสัปปายะ (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๕/๑๐)
    @๓ สากัจฉา ในที่นี้หมายถึงการสนทนาบอกความเป็นไปแห่งจิตของตน (ม.มู.อ. ๒/๔๕๒/๒๕๔,
    @องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๕/๑๐)
    @๔ สมถะ ในที่นี้หมายถึงสมาบัติ ๘ ที่เป็นพื้นฐานแห่งวิปัสสนา (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๕/๑๐)
    @๕ วิปัสสนา ในที่นี้หมายถึงอนุปัสสนา ๗ ประการ คือ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา
    @นิพพิทานุปัสสนา วิราคานุปัสสนา นิโรธานุปัสสนา และปฏินิสสัคคานุปัสสนา
    @องค์ ๕ ประการนี้เปรียบเหมือนกระบวนการปลูกมะม่วง คือ
    @ศีล เปรียบเหมือนการทำร่องน้ำรอบต้นไม้ เพราะเป็นมูลเหตุให้สัมมาทิฏฐิเจริญ
    @สุตะ เปรียบเหมือนการรดน้ำให้เหมาะแก่เวลา เพราะเพิ่มพูนภาวนา
    @สากัจฉา เปรียบเหมือนการตัดแต่งกิ่ง เพราะนำความยุ่งยากแห่งภาวนาออกไปได้
    @สมถะ เปรียบเหมือนการทำทำนบกั้นน้ำให้แข็งแรง เพราะทำภาวนาให้มั่นคงยิ่งขึ้น
    @วิปัสสนา เปรียบเหมือนการใช้จอบขุดราก เพราะขุดรากตัณหา มานะ และทิฏฐิได้
    @(ม.มู.อ. ๒/๔๕๒/๒๕๕, องฺ.เอกก.ฏีกา ๑/๑๑/๙๓, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๕/๙-๑๒)
    {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๒}
    พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]


    ๓. ปัญจังคิกวรรค ๖. วิมุตตายตนสูตร


    เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
    ๑. ศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูบางรูปแสดงธรรม๑-
    แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอรู้แจ้งอรรถ๒- รู้แจ้งธรรมในธรรม๓- นั้น
    ตามที่ศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูบางรูปแสดง
    แก่เธอ เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมี
    ปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ
    ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติประการ
    ที่ ๑ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศ
    กายและใจอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป
    ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจาก
    โยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ
    ๒. ศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูบางรูปไม่ได้แสดงธรรม
    แก่ภิกษุ แต่ภิกษุแสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียน
    มาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร เธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรมในธรรมนั้นตาม
    ที่ภิกษุแสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดย
    พิสดาร เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมี
    ปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ
    ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติประการ
    ที่ ๒ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท ฯลฯ หรือเธอย่อม
    บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ
    ๓. ศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูบางรูปไม่ได้แสดงธรรม
    แก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาตาม
    ที่ตนได้เรียนมา แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร แต่ภิกษุสาธยายธรรมตามที่ตนได้
    @เชิงอรรถ :
    @๑ ธรรม ในที่นี้หมายถึงอริยสัจ ๔ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๖/๘)
    @๒ รู้แจ้งอรรถ ในที่นี้หมายถึงรู้ความหมายแห่งบาลีนั้นว่า ‘ศีลมาในที่นี้ สมาธิมาในที่นี้ ปัญญามาในที่นี้’
    @(องฺ.ติก.อ. ๒/๔๓/๑๕๒-๑๕๓, องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๖/๘)
    @๓ รู้แจ้งธรรม ในที่นี้หมายถึงรู้บาลีคือพระพุทธพจน์ เช่น ทรงจำบาลีที่ให้รู้ความหมายได้อย่างถูกต้อง
    @(องฺ.ติก.อ. ๒/๔๓/๑๕๒-๑๕๓, องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๖/๘, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๖/๑๓)
    {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๓}
    พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]


    ๓. ปัญจังคิกวรรค ๖. วิมุตตายตนสูตร


    สดับมาตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร เธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม
    ในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุสาธยายธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตน
    ได้เรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ย่อมเกิด
    ปราโมทย์ เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ
    เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นเหตุแห่ง
    วิมุตติประการที่ ๓ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความ
    เพียร ฯลฯ หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอัน
    ยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ
    ๔. ศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูบางรูปไม่ได้แสดงธรรม
    แก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้
    เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ไม่ได้สาธยายธรรมตามที่ตนได้สดับมา
    ตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร แต่ภิกษุตรึกตามตรองตามเพ่ง
    ตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมา เธอรู้
    แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรมในธรรมนั้นตามที่ภิกษุตรึกตามตรองตามเพ่ง
    ตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมา เมื่อเธอ
    รู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมีปราโมทย์ ย่อม
    เกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข
    เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติประการที่ ๔ ซึ่งเป็น
    เหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท ฯลฯ หรือเธอย่อมบรรลุธรรม
    อันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ
    ๕. ศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูบางรูปไม่ได้แสดงธรรม
    แก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตน
    ได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ไม่ได้สาธยายธรรมตามที่ตนได้สดับ
    มาตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร และไม่ได้ตรึกตามตรองตามเพ่ง
    ตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมา แต่เธอ
    เรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาดี มนสิการดี ทรงจำไว้ดี
    แทงตลอดดีด้วยปัญญา เธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรมในธรรมนั้นตามที่
    เธอได้เรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาดี มนสิการดี ทรงจำไว้ดี
    แทงตลอดดีด้วยปัญญา เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ย่อมเกิด
    {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๔}
    พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]


    ๓. ปัญจังคิกวรรค ๗. สมาธิสูตร


    ปราโมทย์ เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ
    เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นเหตุ
    แห่งวิมุตติประการที่ ๕ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท ฯลฯ
    หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่
    ยังไม่ได้บรรลุ
    ภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้แล ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่
    ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะ
    ที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจาก
    โยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ
    วิมุตตายตนสูตรที่ ๖ จบ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...