เสียงธรรม สติปัฏฐาน ๔ ทางสายเอก / หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

ในห้อง 'ธรรมเพื่อความหลุดพ้น' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 29 ตุลาคม 2017.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,601
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    บทส่งท้าย
    มนุษย์คนเรา ก็เป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง ในจำพวกของสัตว์ทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกนี้ พร้อมกันนั้นสัตว์ทุกๆประเภทต่างก็เกลียดทุกข์ ดิ้นรนเพื่อแสวงหาความสุขตามปรารถนาของตนๆ แต่ความสุขที่เขาเหล่านั้นต้องการ อาจไม่เหมือนกัน เพราะความแตกต่างในฐานะชั้นภูมิของเขาเหล่านั้น ไม่เหมือนกัน ความหวังและความปรารถนาที่ว่านั่นแล มันเป็นเครื่องดึงดูดให้เขาเหล่านั้น รักโลกนี้อันเต็มไปแล้วด้วยกองทุกข์ ให้เขาลืมเสียจากทุกข์เหล่านั้น เป็นพักๆไป แล้วเขาก็เห็นว่าโลกนี้เป็นสุข

    ความเสมอภาคของสัตว์เหล่านั้น นอกจากจะมีความแก่ ความเจ็บ ความตายแล้ว ยังมีทุกข์มีสุขประจำ มีการหลับการนอน การร้องไห้ และหัวเราะเพื่อแก้กลุ้ม ก็มีแก่สัตว์ทั่วไป ข้อสำคัญคือ การสืบพันธุ์เพื่อเป็นมรดกตกทอดมาให้แก่คนอื่นสัตว์อื่น เพื่อสร้างทุกข์ของโลกนี้ให้เจริญสืบไป หรืออาจเพื่อเป็นรังเรือนทุกข์ในอนาคตแก่ตนเองอีกด้วยก็ได้

    สัตว์ทั้งหลาย เกิดมาแล้ว ล้วนแล้วแต่เล็งผิดเป้าหมายของตนทั้งนั้น โดยเฉพาะคนเราแล้ว พลาดมากเป็นพิเศษ คือมีความต้องการไม่แน่นอน ปรารถนาสิ่งใดเมื่อได้สิ่งนั้นมาตามปรารถนาแล้ว แทนที่จะอิ่มจะพอแก่ความต้องการแล้ว แต่ก็ยังไม่พออีก สิ่งที่ได้มากลับเป็นของที่ไม่จุใจไปอีกแล้ว มันหิวไม่อิ่มอยู่ตลอดกาลอย่างนี้ ฉะนั้นคนเราจึงยุ่งและทุกข์มากกว่าสัตว์เหล่าอื่นเป็นไหนๆ ถึงแม้จะมีข้อกฏกติกาและระเบียบบังคับอย่างเฉียบขาด แต่ก็ยากที่จะเอาให้อยู่ได้ พร้อมกันนั้นสิ่งที่ผู้ประมาทแล้ว ไม่ค่อยคำนึงถึงเลย คือความแก่ และความตาย ค่อยด้อมๆตามหลังมาอย่างเงียบๆ หากมันได้โอกาสเมื่อไรแล้ว มันจะตะครุบฟัดเหวี่ยงเอาอย่างไม่มีปรานีเลยทีเดียว

    มนุษย์ เป็นสัตว์ที่ฉลาดเฉียบแหลมกว่าเพื่อนมาก แต่เป็นที่น่าเสียดาย แทนที่จะนำเอาความฉลาดเฉียบแหลมนั้น มาใช้สร้างความสุขความเจริญให้แก่ตนและคนอื่น กลับมาสร้างความทุกข์เดือดร้อน ให้แก่ตนและคนอื่นสัตว์อื่นไปเสียฉิบ สู้ความแหลมของหนามทุเรียนไม่ได้ ซึ่งมันมีไว้เพื่อป้องกันตัวเท่านั้น แต่ใครอย่าไปแตะต้องมันนะ แล้วก็อย่าไปใกล้ต้นมันเวลามันหล่น

    คนเรา เป็นสัตว์ร้ายกว่าเขาทั้งหมด เกิดมาเพื่อทำลายโลกแท้ เริ่มต้นแต่สืบพันธุ์มนุษย์มาเพื่อให้มาตาย เมื่อเกิดมามากๆตามไม่ทัน ก็คิดทำลายล้างผลาญกัน เมื่อใช้อาวุธที่มีประจำตัวของแต่ละบุคคลทำลายกันไม่ทันกับความต้องการ ก็คิดสร้างอาวุธที่ร้ายแรงประหารกันตามทีละเป็นร้อยๆพันๆ ใครว่ามนุษย์เกิดมาสร้างโลกให้เจริญนั้น ไม่จริง ความจริงแล้ว จะสร้างความเจริญให้เฉพาะแก่ตัวเองและหมู่คณะในวงแคบๆของตนเอง หรือเฉพาะสถานที่ที่ตนต้องการเท่านั้น แต่มันไปทำลายบุคคลอื่น และสถานที่อื่นให้เดือดร้อนราบเรียบไปหมด สมัยนี้ ผู้ที่เกิดมาหาความสุขเพื่อตนและหมู่คณะของตนพอแล้ว คิดอิจฉาริษยาคนอื่นไม่ยักให้เขามาเกิดอีกด้วย

    คนผู้เห็นแก่ตัว มองพุทธศาสนาในแง่ร้ายว่า สอนให้คนอยู่กับที่ไม่ก้าวหน้า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ให้กำเนิดศาสนา พระองค์ทรงพิจารณาเห็นความเสื่อมโทรมของโลก โดยพระปัญญาอันชัดแจ้งแล้ว จึงทรงสละความสุขของพระองค์ทุกๆวิถีทางเพื่อประโยชน์แก่สัตว์โลก ทรงอาศัยพระมหากรุณาอันยิ่งใหญ่ แล้วทรงตั้งพระหฤทัยอนุเคราะห์ แนะนำพร่ำสอนเวไนยสัตว์ ให้ปฏิบัติเป็นผู้เสียสละตามพระบาทยุคล

    ผู้ไม่หลงผิด ปฏิบัติติดตามคำสอนของพระองค์แล้ว ย่อมได้รับความสุขความเจริญทั้งแก่ตนและบุคคลอื่น ได้ชื่อว่าพระองค์เกิดมาเพื่อทำโลกนี้ให้เจริญด้วยสติ อันเป็นที่ปรารถนาของเหล่าประชาสัตว์โดยแท้จริง

    [จบ เรื่องของความเกิด-ดับ: หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี]
    :- http://tesray.com/duality
     
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,601
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    สมาธิ โดยบริกรรมพุทโธ

    พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์
    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
    วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
    คำนำ
    ในหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนขอวิงวอน และร้องขอเชิญชวน ผู้ที่สอนภาวนากัมมัฏฐานทั้งหลาย ที่สอนภาวนากัมมัฏฐานในพุทธศาสนา จงสอนให้ยึดมั่นแนวเดียวกัน อย่าสอนไปคนละแบบต่างๆกัน จะเป็นทางหายนะแก่พระพุทธศาสนา จงสงสารผู้หวังดีกับพระพุทธศาสนาที่ตั้งใจเข้ามาปฏิบัติ เมื่อมาเห็นเช่นนั้นเข้าแล้วเลยท้อแท้ใจ

    อนึ่ง คนภายนอกพระพุทธศาสนาเขาจะเห็นไปว่า พระพุทธศาสนานี้สอนมีหลายทางหลายแบบ ไม่เป็นอันเดียวกัน ท่านทั้งหลายคงได้ดูตำรับตำราทางพระพุทธศาสนามากแล้วมิใช่หรือ

    พระพุทธศาสนาสอนให้เข้าถึงจิตถึงใจอันเดียว กิเลสทั้งหลายเกิดจากจิต จิตเป็นผู้ยึดเอากิเลสมาไว้ที่จิต จิตจึงเศร้าหมอง เมื่อจิตเห็นโทษของกิเลสแล้ว สละถอนกิเลสออกจากจิตได้แล้ว จิตก็ผ่องใสบริสุทธิ์

    นี่เป็นหลักพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้มิใช่หรือ

    ถึงผู้จะเข้าสู่อริยภูมิ ก็ต้องเข้าถึงจิตเป็นหนึ่ง เรียกว่า มัคคสมังคี จิตรวมศีลสมาธิปัญญา เข้ามาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จึงจะเข้าถึงอริยภูมิได้

    ปัญญาค้นคว้าหาเหตุผลของกิเลสนั้นๆ จนรู้ชัดเจนแจ่มแจ้งด้วยตนเองแล้ว นั่งอยู่ในที่เดียวนั้นก็เว้นจากความชั่วนั้นๆ ได้หมดจดสิ้นเชิง แล้วจิตก็แน่วแน่นลงเป็นสมาธิไม่ง่อนแง่นคลอนแคลนไปไหน

    หมดจากโทษนั้นๆ ก็จิตดวงนั้น ปัญญาความรู้เห็นโทษในกิเลสนั้นๆ ก็จิตดวงนั้น แล้วรวมลงแน่วแน่นลงสู่ในที่เดียว ก็จิตดวงนั้น แลต้องตามไปละถอนในที่ต่างๆ อยู่เฉพาะในที่เดียวในขณะจิตเดียว จิตของพระอริยเจ้าแต่ละขั้นจะเข้าถึงมัคคสมังคี รวมเป็นศีลสมาธิปัญญา เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันดังนี้

    แล้วจิตนั้น ก็ไม่ได้กลับเป็นอย่างนั้นอีก เมื่อถอนออกมาก็จะวิ่งไปตาม กามาพจรญาณสัมปยุต รู้เห็นตามวิสัยของกามาพจรทุกประการ แต่มีญาณ เป็นเครื่องรู้ตามเป็นจริง มิได้หลงไปตามอารมณ์นั้นๆ อย่างปุถุชนธรรมดา

    จงพากันมาทำความถูกต้องตามพุทธวจนะของพระองค์ อย่าพากันถือเอาคนนิยมมากเป็นประมาณ จงถือความถูกต้องเป็นหลักเกณฑ์ ครั้งพุทธกาล ครูทั้งหกมีสัญชัยปริพาชก เป็นต้น ก็มีคนนับถือมากมิใช่น้อย ในปัจจุบันนี้ ไสบาบา ดั่งเราเห็นอยู่ ซึ่งสอนให้สะสมกิเลส แต่คนก็ยังนับถือมาก

    ฉะนั้น ขอเชิญชวนท่านที่ปฏิบัติกัมมัฏฐานทั้งหลาย พึงพิจารณาตนเองว่า

    เราปฏิบัติอยู่ในแนวใด ถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วหรือยัง ถ้าไม่ถูกจงรีบแก้ไขให้ถูกต้องเสีย ก่อนจะสายเกินไป

    เราถือพระพุทธศาสนา เพื่อเทิดทูนบำรุงให้ศาสนารุ่งเรือง ได้มาปฏิบัติทำกัมมัฏฐานนี้ เป็นทางตรงต่อมรรคผลนิพพานโดยแท้ โดยเฉพาะพระภิกษุเราผู้เผยแพร่พระพุทธศาสนาควรสังวรระวังอย่างยิ่ง

    ผู้เขียนไม่มีความสามารถที่จะชี้แจงให้ท่านทั้งหลายเข้าใจลึกซึ้งกว่านี้ ถ้าท่านผู้ใดมีความสามารถชี้แจงให้เข้าใจได้แจ่มแจ้งกว่านี้ได้แล้ว ขอเชิญเถิด ผู้เขียนขออนุโมทนาด้วยอย่างยิ่ง ทุกๆคนคงมีความปรารถนา ที่จะให้พระพุทธศาสนาดำรงถาวรสืบต่อไป

    พระนิโรธรังสี ฯ
    ฝึกหัดสมาธิ
    โดยบริกรรมพุทโธ

    แสดง ณ วัดหินหมากแป้ง อำเภอเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
    วันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๘

    เมื่อเริ่มที่จะเข้าไปเรียนพระกัมมัฎฐาน ในคณะไหน สำนักพระอาจารย์องค์ใด ผู้ที่ท่านชำนิชำนาญในพระกัมมัฏฐานนั้นๆแล้ว พึงตั้งจิตเชื่อมั่นในพระอาจารย์องค์นั้นว่า ท่านองค์นี้แหละ เป็นผู้ชำนาญในพระกัมมัฏฐานนี้โดยเฉพาะแน่แท้ แล้วก็ให้เชื่อมั่นในพระกัมมัฏฐานที่ท่านสอนนั้นว่าเป็นทางที่ถูกต้องแน่นอน และพึงให้ความเคารพในสถานที่ตนไปทำกัมมัฏฐานนั้นอีกด้วย แล้วจึงเข้าไปเรียนเอาพระกัมมัฏฐานนั้นต่อไป

    โบราณาจารย์ท่านมีพิธีปลูกศรัทธาเบื้องต้น ก่อนเรียนเอาพระกัมมัฏฐาน คือ

    • จัดยกครูด้วยเทียนขี้ผึ้ง ๕ คู่ ดอกไม้ขาว ๕ คู่ เรียกว่า ขันธ์ ๕
    • เทียนขี้ผึ้ง ๘ คู่ ดอกไม้ขาว ๘ คู่ เรียกว่า ขันธ์ ๘
      หรือ เทียนขี้ผึ้งคู่ หนักเล่มละ ๑ บาท ดอกไม้ขาวเท่ากับเทียน
    แล้วอาราธนาเอาพระกัมมัฏฐานทั้ง ๔๐ ให้เข้ามาอยู่ในขันธสันดานของข้าพเจ้าในกาลบัดนี้ แล้วจึงเรียนเอาพระกัมมัฏฐานนั้นต่อไป พิธีแยบยลโบราณกาลท่านดีเหมือนกัน ยังมีพิธีอีกมากมาย แต่ผู้เขียนยังไม่กล่าวถึง จะกล่าวถึงพิธีง่ายๆพอทำได้ในตอนต่อไป

    เมื่อปลูกศรัทธาความเชื่อมั่นให้มีขึ้นในจิตใจของตนดังกล่าวมาแล้ว จึงเข้าไปหาพระอาจารย์ที่ชำนาญในกำมัฏฐานนั้นๆ ถ้าท่านชำนาญทางฝ่ายบริกรรม สัมมาอะระหัง ท่านก็สอนให้บริกรรมภาวนาว่า สัมมาอะระหังๆๆ ให้กำหนดเป็นดวงแก้วใสๆ อยู่เหนือสะดือขึ้นไป ๒ นิ้ว แล้วเอาจิตไปตั้งไว้ไว้ตรงนั้น ภาวนาไปเรื่อยๆ อย่าให้จิตหนีหายไปจากดวงแก้ว หมายความว่า เอาดวงแก้วเป็นที่ตั้งของดวงจิตก็แล้วกัน

    เมื่อเข้าไปหาพระอาจารย์ที่ชำนาญในด้านภาวนายุบหนอพองหนอ ท่านก็จะสอนให้ภาวนายุบหนอพองหนอ ให้กำหนดเอาจิตไปไว้ที่อิริยาบถต่างๆ เช่น ยกเท้าขึ้นว่าหยุบหนอ เหยียบเท้าลงก็ว่าพองหนอ หรือพิจารณาให้เห็นความเกิดและความดับทุกอิริยาบถ อย่างนี้เรื่อยไปเป็นอารมณ์

    เมื่อท่านเข้าไปหาพระอาจารย์ที่ชำนาญในด้านอิทธิฤทธิ์ ท่านก็สอนคาถาภาวนาให้ว่า นะมะพะธะ นะมะพะธะ ให้เอาจิตเป็นอารมณ์อันหนึ่ง จิตจะพาไปเห็นเทพ นรก อินทร์ พรหม ต่างๆนานาหลายอย่าง จนเพลินอยู่กับอารมณ์นั้นๆ

    เมื่อเข้าไปหาพระอาจารย์ที่ท่านชำนาญในด้านอานาปานสติ ท่านก็จะสอนให้กำหนดลมหายใจเข้า-ออก ให้จิตตั้งมั่นกับลมหายใจเข้า-ออก อย่างเดียวเป็นอารมณ์

    เมื่อเข้าไปหาพระอาจารย์ที่ท่านชำนาญในด้านภาวนาพุทโธ ท่านก็จะสอนให้บริกรรมว่า พุทโธๆๆ แล้วให้เอาจิตไปตั้งมั่นอยู่ในบริกรรมนั้น จนชำนาญเต็มที่แล้ว ก็จะสอนให้พิจารณา “พุทโธ” กับ “ผู้ว่าพุทโธ” เมื่อพิจารณาเห็นเป็นคนละอันกันแล้ว พึงจับเอา “ผู้ว่าพุทโธ” ส่วน “พุทโธ” นั้นจะหายไป เหลือแต่ “ผู้ว่าพุทโธ” อย่างเดียว

    ให้ยึดเอา “ผู้ว่าพุทโธ” นั้นเป็นหลักต่อไป

    คนในสมัยนี้หรือในสมัยไหนก็ตาม หรือจะมีความรู้ความสามารถสักปานใดก็ช่าง ไม่ได้โทษว่า คนเหล่านั้นมักตื่นเต้นในสิ่งที่ตนยังไม่เคยทดสอบหาความจริง แล้วหลงเชื่อตาม เพราะเขาเหล่านั้นอยากรู้อยากเห็นของจริง โดยเฉพาะคนถือพระพุทธศาสนามาแล้ว และพุทธศาสนาก็แสดงถึงเหตุผลซึ่งเป็นจริงทั้งนั้น แต่ทำไมต้องไปหลงเชื่อตามคำโฆษณาซึ่งมีอยู่ดาษดื่นทั่วไป นี่จะเป็นเพราะคนสมัยนี้ใจร้อน ยังไม่ทำเหตุให้ถึงพร้อมแต่อยากได้ผลเร็ว อย่างที่เขาพูดกันว่า “คนสมัยปรมาณู” นั้นกระมัง

    พุทธศาสนาสอนเข้าถึงจิตใจอันเป็นนามธรรม ส่วนร่างกายมันเป็นรูปธรรม รูปธรรมมันต้องอยู่ในบังคับบัญชาของนามธรรม เมื่อเริ่มหัดสมาธิฝึกหัดจิตใจให้สงบไม่วุ่นวาย ในขณะนั้นไม่เห็นไปทำความเดือดร้อนให้แก่ใครทั้งหมด ฝึกหัดไปจนเป็นชำนาญได้ที่แล้ว ผู้นั้นก็สงบเยือกเย็น มีคนฝึกหัดอย่างนี้จำนวนมากๆเข้า โลกอันนี้ก็จะมีแต่ความสงบสุขทั่วกัน ส่วนรูปธรรมนั้นเราจะฝึกให้สงบได้ก็แต่เมื่อจิตบังคับอยู่เท่านั้น เมื่อจิตเผลอกายก็จะเป็นไปตามเรื่องของมัน ฉะนั้น เรามาฝึกหัดจิตบริกรรมพุทโธ ลองดู

    ปุพพกิจก่อนทำสมาธิ
    ปุพพกิจก่อนทำสมาธิ ก่อนจะทำกัมมัฏฐานภาวนาพุทโธ พึงทำปุพพกิจเบื้องต้นก่อน คือ ตั้งจิตให้เกิดศรัทธาเลื่อมใสให้เต็มที่ ดังได้อธิบายมาข้างต้น แล้วพึงกราบ ๓ หนแล้วกล่าว

    อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ภควา
    พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ถูกถ้วนดีแล้ว

    พุทฺธํ ภควนฺตํ อภิวาเทมิ
    ข้าพเจ้า อภิวาทกราบไหว้ซึ่งพระผู้เป็นเจ้านั้น
    (พึงกราบลงหนหนึ่ง)

    สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม
    พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว

    ธมฺมํ นมสฺสามิ
    ข้าพเจ้านมัสการ กราบไหว้ซึ่งพระธรรมเจ้านั้น
    (พึงกราบลงหนหนึ่ง)

    สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสฺโฆ
    พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ ท่านปฏิบัติดีแล้ว

    สงฆํ นมามิ
    ข้าพเจ้านอบน้อมซึ่งพระสงฆ์
    (พึงกราบลงหนหนึ่ง)

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสฺมพุทฺธสฺส
    (กล่าว ๓ จบ)

    ระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระศาสดาเอกของโลก ทรงพ้นจากทุกข์และกิเลสทั้งปวงทรงอยู่เกษมสำราญทุกเมื่อ
    (พึงกราบลง ๓ หน)

    หมายเหตุ ปุพพกิจเบื้องต้นที่นำมาแสดงให้ดูนี้ เป็นแต่ตัวอย่างเท่านั้น หากใครได้มากจะไหว้มากก็ได้ ไม่ขัดข้อง แต่ต้องไหว้ก่อนนั่งสมาธิทุกครั้งไป เว้นแต่ว่าสถานที่ไม่อำนวย

    พึงนั่งสมาธิดังนี้
    พึงนั่งสมาธิดังนี้ เอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ตั้งตัวให้ตรงแล้วนึกเอาคำบริกรรมพุทโธๆ กำหนดไว้ที่ท่ามกลางหน้าอก คือ “ใจ” อย่าให้จิตส่งส่ายไปมาข้างหน้าข้างหลัง พึงตั้งสติสำรวมจิตให้อยู่คงที่เป็นเอกัคตาจิตแน่วแน่ จิตก็จะเข้าถึงสมาธิได้เลย

    เมื่อเข้าถึงสมาธิแล้ว บางทีก็ไม่รู้ตัวหายเงียบไปเลย ไม่รู้ว่าเรานั่งนานสักเท่าใด กว่าจะออกจากสมาธิก็เป็นเวลาตั้งหลายชั่วโมงก็มี เพราะฉะนั้น การนั่งสมาธิจึงไม่ต้องกำหนดเวลา ให้ปล่อยตามเรื่องของมันเอง

    จิตที่เข้าถึงสมาธิแท้ คือ จิตที่เป็นเอกัคตาจิต ถ้าไม่เข้าถึงเอกัคคตาจิตได้ชื่อว่ายังไม่เป็นสมาธิ เพราะใจแท้มีอันเดียว ถ้ามีหลายอันอยู่ยังไม่เข้าถึงใจ เป็นแต่จิต

    “จิต” กับ “ใจ”
    ก่อนจะฝึกหัดสมาธิ พึงข้าใจถึง “จิต” กับ “ใจ” เสียก่อน ในที่นี้พึงเข้าใจกันเสียก่อนว่า “จิต” กับ “ใจ” มิใช่อันเดียวกัน

    • “จิต” เป็นผู้นึกคิดนึกปรุงแต่งสัญญาอารมณ์สรรพสิ่งทั้งปวง
    • “ใจ” เป็นผู้นิ่งอยู่เฉยๆ เพียงแต่รู้ว่านิ่งอยู่เฉยๆ ไม่มีคิดนึกปรุงแต่งอะไรอีกเลย
    เปรียบเหมือนแม่น้ำ กับคลื่นของแม่น้ำ เมื่อคลื่นสงบแล้ว จะยังเหลือแต่แม่น้ำอันใสแจ๋วอยู่อย่างเดียว

    สรรพวิชาทั้งหลาย และกิเลสทั้งปวง จะเกิดมีขึ้นมาได้ ก็เพราะจิตคิดนึกปรุงแต่งแส่ส่ายหามา สิ่งทั้งปวงเหล่านั้น จะเห็นได้ชัดด้วยใจของตนเอง ก็ต่อเมื่อ จิตนิ่งแล้วเข้าถึงใจ

    น้ำเป็นของใสสะอาดโดยธรรมชาติอยู่แล้ว เมื่อมีผู้นำเอาสีต่างๆ มาประสมกับน้ำนั้น น้ำนั้นย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามสีนั้นๆ แต่เมื่อกลั่นกรองเอาน้ำออกมาจากสีนั้นๆ แล้ว น้ำก็จะใสสะอาดตามเดิม “จิต” กับ “ใจ” ก็อุปมาอุปมัยดังอธิบายมานี้

    แท้จริงพระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสเทศนาไว้แล้วว่า จิตอันใด ใจก็อันนั้น ถ้าไม่มีใจ จิตก็ไม่มี จิตเป็นอาการ ใจไม่มีอาการ การฝึกหัดสมาธิภาวนา ไม่ว่าจะฝึกหัดโดยอาจารย์ใดและวิธีอะไรก็แล้วแต่เถิด ถ้าถูกทางแล้ว จะต้องเข้าถึงใจทั้งนั้น

    เมื่อเข้าถึงใจ เห็นใจของตนแล้ว ก็จะเห็นสรรพกิเลสของตนทั้งหมด เพราะจิตมันสะสมกิเลสไว้ที่จิตนั้นทั้งหมด คราวนี้เราจะจัดการอย่างไรกับมันก็แล้วแต่เรา

    หมอซึ่งจะรักษาโรคนั้นๆ ให้หายได้เด็ดขาด ก็ต้องค้นหาสมุฏฐานของโรคนั้นให้รู้จักเสียก่อน แล้วจึงจะวางยาให้ถูกกับโรคนั้นได้

    เราบริกรรมพุทโธๆๆ ไปนานๆเข้า จิตก็จะค่อยคลายความฟุ้งซ่าน แล้วจะค่อยมารวมเข้ามาอยู่กับพุทโธ จิตจะตั้งมั่นเป็นอารมณ์อันเดียวกับพุทโธ จนเห็นจิตที่ว่า พุทโธอันใดจิตก็อันนั้นอยู่ตลอดทุกเมื่อ ไม่ว่า ยืน เดิน นั่ง นอน อิริยาบถใดๆ ก็เห็นจิตใสแจ๋วอยู่กับพุทโธนั้น
    (มีต่อ๑)
     
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,601
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    ประคองจิต ไม่รีบร้อน
    เมื่อได้ถึงขนาดนั้นแล้ว ขอให้ประคองจิตนั้นไว้ในอารมณ์นั้น นานแสนนานเท่าที่จะนานได้ อย่าเพิ่งอยากเห็นนั่นเห็นนี่ หรืออยากเป็นนั้นเป็นนี้ก่อนเลย

    เพราะความอยาก เป็นอุปสรรคแห่งจิตที่เป็นสมาธิอย่างร้ายแรง

    เมื่อความอยากเกิดขึ้น สมาธิก็จะเสื่อมทันที สมาธิเสื่อมเพราะหลักสมาธิ คือ “พุทโธ” ไม่มั่นคง คราวนั้นแหละ คว้าหาหลักอะไรก็ไม่ได้ เกิดความเดือดร้อนใหญ่ คิดถึงแต่อารมณ์ที่เคยได้รับสมาธิความสงบสุขเมื่อก่อน จิตก็ยิ่งฟุ้งใหญ่ ฯลฯ

    ฝึกหัดสมาธิให้เหมือนชาวนาทำนา เขาไม่รีบร้อน เขาหว่านกล้า ไถ คราด ปักดำ โดยลำดับไม่ข้ามขั้นตอน แล้วรอให้ต้นข้าวแก่ ถึงอย่างนั้นเขาก็ยังไม่เห็นเมล็ดไม่เห็นรวงเลย แต่เขาก็มีความเชื่อมั่นของเขาว่า จะมีเมล็ดมีรวงวันหนึ่งข้างหน้าแน่ๆ เมื่อต้นข้าวแก่แล้วออกรวงมา จึงเชื่อแน่ว่าจะได้รับผลแน่นอน เขาไม่ไปดึงต้นข้าวให้ออกรวงเอาตามใจชอบ ผู้ไปกระทำเช่นนั้น ย่อมไร้ผลโดยแท้

    การฝึกสมาธิภาวนาก็เช่นเดียวกัน จะรีบร้อนข้ามขั้นตอนย่อมไม่ได้ ต้องตั้งจิตให้เลื่อมใสศรัทธาให้แน่วแน่ ว่าอันนี้ล่ะ เป็นคำบริกรรมที่จะทำให้จิตของเราเป็นสมาธิได้แท้จริง แล้วอย่าไปลังเลสงสัยว่า คำบริกรรมนี้จะถูกกับจริตนิสสัยของเราหรือไม่หนอ คำบริกรรมอันนั้น คนนั้นทำมันเป็นไปอย่างนั้นอย่างนี้ เราทำแล้วจิตไม่ตั้งมั่นอย่างนี้ใช้ไม่ได้

    ถ้าจิตตั้งมั่นแน่วแน่ในคำบริกรรมที่ตนภาวนาอยู่นั้นแล้ว เป็นใช้ได้ทั้งนั้น เพราะภาวนาก็เพื่อต้องการทำจิตให้แน่วแน่เท่านั้น ส่วนนอกนั้นมันเป็นตามบุญวาสนาของแต่ละบุคคล

    ครั้งพุทธกาล มีพระรูปหนึ่งไปภาวนาอยู่ใกล้สระน้ำแห่งหนึ่ง เห็นนกกระยางตัวหนึ่งโฉบปลากินเป็นอาหาร ท่านเลยถือเอาเป็นคำบริกรรมภาวนา จนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ นกกระยางกินปลาไม่เคยเห็นในกัมมัฏฐานบทใด แต่ท่านเอามาภาวนาจนสำเร็จ นี้เป็นตัวอย่าง

    จิตตั้งมั่นในคำบริกรรม
    จิตที่ตั้งใจอบรมให้อยู่ในขอบเขตของคำบริกรรมพุทโธๆๆ ซึ่งมีสติเป็นผู้ควบคุมแล้ว ย่อมจะละพยศตัวร้ายกาจของตัวเองได้ และเราก็ต้องฝึกฝนอบรม เพราะต้องการความสุขสงบของจิต ธรรมดาของจิตย่อมมีอารมณ์ส่งส่ายหาความฟุ้งซ่านเป็นวิสัยอยู่แล้ว ดังอธิบายมาแล้ว โดยมากมันจะส่งส่ายไปในอารมณ์เหล่านี้ คือ พอเริ่มบริกรรมพุทโธ เอาจิตไปตั้งไว้ในพุทโธๆ เท่านั้นแหละ มันจะไม่อยู่ในพุทโธๆ มันจะวิ่งไปหาการงานที่เราเริ่มจะทำหรือกำลังทำอยู่ ปรุงแต่งทำนั่นทำนี่วุ่นวายไปหมด กลัวการงานมันจะไม่ดีไม่งาม กลัวการงานนั้นมันจะไม่สำเร็จ การงานที่เรารับจากคนอื่น หรือรับเฉพาะส่วนตัวมันจะเสียผลประโยชน์หรือขายขี้หน้า เมื่อเรารับแล้วไม่ทำตาม ฯลฯ

    นี่เป็นเรื่องรบกวนใจไม่ให้เป็นสมาธิของผู้อบรมใหม่อย่างหนึ่ง เราดึงเอาจิตมาไว้ที่พุทโธๆๆ นั้นอีก บอกว่านั่นมิใช่หนทางแห่งความสงบ ทางสงบแท้ต้องเอาจิตมาตั้งไว้ที่พุทโธแห่งเดียว แล้วบริกรรมพุทโธๆๆ เรื่อยไป ฯลฯ

    ประเดี๋ยวส่งไปอีกแล้ว คราวนี้ไปถึงครอบครัวโน้น ส่งไปหาลูก ไปหาภรรยา ไปหาสามีโน้น เขาจะอยู่อย่างไร เขามีสุขภาพพลามัยดีหรือไม่หนอ ได้บริโภคอาหารดีมีรสหรือไม่หนอ ถ้าอยู่ห่างไกลกัน ก็คิดถึงที่อยู่ที่นอน จะอยู่จะกินอย่างไร ผู้จากไปก็คิดถึงผู้อยู่ทางบ้าน ผู้อยู่ทางบ้านก็คิดถึงผู้ไปไกล กลัวว่าจะไม่ปลอดภัย กลัวคนอื่นจะมาข่มเหง ไม่มีผู้อยู่เป็นเพื่อน กลัวจะเหงาหงอย ฯลฯ คิดไปร้อยแปดพันเก้าสุดแท้แต่จิตจะปรุงจะแต่งไป ซึ่งเรื่องเหล่านี้มันคิดไปเกินกว่าเหตุทั้งนั้น

    หรือถ้ายังเป็นโสดยังเป็นหนุ่มเป็นสาวอยู่ ก็จะปรุงจะแต่งไปในทางสนุกสนานเพลิดเพลินกับหมู่กับเพื่อน ที่เคยเที่ยวสนุกเฮฮาไปในที่ต่างๆ บางคนถึงกับอุทานออกมาเป็นเสียง ดังหัวเราะก้ากก็มี กิเลสตัวนี้มันร้ายแรงยิ่งกว่าเพื่อน

    เมื่อภาวนาพุทโธๆๆ กิเลสมันเห็นว่าไม่ได้การแล้วเขาจะหนีจากเราไปอีกแล้ว มันก็จะสรรหาสิ่งที่จะผูกมัดให้เราติดมั่นเข้าทุกที เราเกิดมาตั้งแต่เด็กจนโตเราไม่เคยฝึกสมาธิภาวนาเลย มีแต่ปล่อยให้จิตไปตามอารมณ์ของกิเลส เพิ่งมาฝึกหัดเดี๋ยวนี้เอง เมื่อมาภาวนาพุทโธๆๆ เพื่อให้จิตมันมารวมอยู่ที่พุทโธ จิตมันจึงดิ้น เหมือนกับบุคคลโยนปลาขึ้นจากน้ำไปที่บนหาด ปลาย่อมดิ้นหาน้ำเป็นธรรมดา เราดึงเอา “จิต” ให้เข้ามาหา “พุทโธ” อีก

    “พุทโธ” เป็นของเย็น
    “พุทโธ” เป็นของเย็น เป็นทางให้เกิดสันติสุขมีทางเดียวเท่านี้ที่จะทำให้พ้นจากทุกข์ในโลกนี้ได้

    เราดึงเอาจิตเข้ามาอยู่ในพุทโธๆ อีก หากคราวนี้พอสงบลงไปได้บ้าง พอรู้สึกว่าจิตมันอยู่ พอเห็นลางๆ ว่าจิตมันอยู่ มีความสุขสบาย ต่างกับจิตใจที่ไม่สงบ มีความทุกข์เดือดร้อน ตั้งใจระวังเอาสติประคองอารมณ์นั้นไว้ เอ้า ไปอีกแล้ว โน่น คราวนี้ไปยึดเอาผลประโยชน์มาเป็นเครื่องอ้างว่า ถ้าสิ่งนั้นเราไม่ทำหรือเราไม่แสวงหาก็จะเสียโอกาสอันมีค่ามหาศาล แล้วก็เอาจิตไปจดจ่ออยู่เฉพาะสิ่งนั้นแทนคำบริกรรมพุทโธ ส่วนพุทโธมันเลยหายไปไหนแล้วก็ไม่รู้ กว่าจะรู้ว่า “พุทโธ” มันหายเสียแล้ว ก็สายเสียแล้ว จึงว่าจิตนี้เป็นของดิ้นรนกระเสือกกระสน รักษาได้ยาก เหมือนกับลิงอยู่ไม่เป็นสุข ฯลฯ

    บางที นั่งสมาธิภาวนานานๆเข้า กลัวโลหิตจะไม่เดินหรือเดินไม่สะดวก กลัวเส้นประสาทจะตาย เกิดเป็นเหน็บชา ในที่สุดเป็นอัมพาต ถ้าไปภาวนาไกลบ้านหน่อย หรือในป่าก็ยิ่งกลัวใหญ่ กลัวเสือจะมากิน กลัวงูจะมากัด กลัวผีจะมาหลอกทำท่าทีต่างๆนานาใส่ ความกลัวตายยุบยิบไปหลายอย่างหลายประการ ล้วนแล้วแต่ตัวเองหลอกตัวเองทั้งนั้น ความจริงหาได้เป็นดั่งคิดนึกไม่ ตั้งแต่เราเกิดมาจนป่านนี้ ไม่เคยเห็นเสือกินคนเลยสักคนเดียว ผีก็ไม่เคยเห็นเลยสักที แม้แต่ตัวผีก็ไม่เคยเห็นสักเลยที ไม่ทราบว่าตัวมันเป็นอย่างไร แต่ก็ปรุงแต่งขึ้นมาหลอกตัวเอง

    อุปสรรคของการภาวนาที่ชักตัวอย่างมานี้ พอเป็นตัวอย่างเท่านั้น ความจริงแล้วมันมีมากกว่านี้ตั้งหลายเท่า ผู้ภาวนาแล้วจะรู้ด้วยตัวเอง

    หากว่าเรายึดเอาพุทโธๆมาไว้ที่ใจแล้ว เอาสติควบคุมจิตให้อยู่กับพุทโธอันเดียว ภัยอันตรายทั้งปวงจะไม่มาแผ้วผาน

    ขอให้เชื่อมั่นในพุทโธจริงๆเถิด รับรองว่าไม่มีอันตรายแน่นอน เว้นเสียแต่กรรมเก่าที่เขาเคยได้กระทำไว้ นั่นเป็นของสุดวิสัย แม้นพระพุทธเจ้าก็ป้องกันให้ไม่ได้

    เชื่อมั่นในพุทโธ
    ผู้ภาวนาทั้งหลายแรกๆ ศรัทธายังอ่อน ไม่ว่าจะบริกรรมอะไรก็แล้วแต่เถอะ จะต้องถูกกิเลสเหล่านี้รบกวนด้วยกันทั้งนั้น เพราะกิเลสเหล่านี้มันเป็นพื้นฐานของโลกและพื้นฐานของจิต เมื่อเรามาภาวนาทำจิตให้เป็นอันเดียวเท่านั้นแหละ กิเลสเห็นว่าเราจะหนีจากมัน กิเลสเหล่านั้นมันจะมารุมล้อม ไม่ให้เราหนีจากโลกนี้ได้

    ผู้มาเห็นโทษของมันว่าร้ายแรงอย่างนี้ แล้วทำใจให้กล้าหาญ ปลูกศรัทธาให้หนักแน่นมั่นคง คิดเสียว่าเราได้หลงเชื่อกิเลสมาหลายภพหลายชาติแล้ว คราวนี้เราจะยอมเชื่อคำสอนของพระพุทธเจ้า เอาพุทโธเป็นที่พึ่งล่ะ

    แล้วตั้งสติให้มั่นคงทำใจให้แน่วแน่ในพุทโธให้เต็มที่ ยอมสละชีวิตเพื่อบูชาพุทโธ ไม่ให้จิตหนีจากพุทโธ เมื่อเราตั้งปณิธานไว้อย่างนั้นแล้ว จิตก็ดิ่งลงสู่อารมณ์เข้าถึงสมาธิได้

    ผู้เข้าถึงสมาธิทีแรก จะมีอาการอย่างนี้คือ เราจะไม่ทราบเลยว่า สมาธิหรือจิตเป็นเอกัคคตารมณ์เป็นอย่างไร เราเพียงแต่ตั้งสติให้แน่วแน่สู่อารมณ์อันเดียว ด้วยอำนาจจิตตั้งมั่นสู่อารมณ์อันเดียวนั้นแหละ เป็นเหตุนำจิตให้เข้าถึงสมาธิได้ แล้วก็ไม่ได้คิดนึกว่า อาการของสมาธิเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ และอยากให้มันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แต่มันเป็นของมันเองโดยอัตโนมัติ ใครๆจะบังคับให้มันเป็นไม่ได้

    ในขณะนั้น จะมีความรู้สึกว่าเราอยู่อีกโลกหนึ่งต่างหาก (โลกจิต) มีความสุขสบายวิเวกหาอะไรเปรียบมิได้ในโลกนี้

    เมื่อจิตถอนออกจากสมาธิแล้วจะรู้สึกเสียดายอารมณ์อันนั้น และจำอารมณ์อันนั้นได้แม่นยำ ที่พูดกันอยู่ทุกวันนี้ ล้วนแล้วแต่จิตถอนออกมาจากอารมณ์นั้นทั้งนั้น ในขณะที่จิตกำลังรวมอยู่นั้น ใครจะพูดจะทำอะไรไม่รับรู้ทั้งหมด

    เราต้องฝึกจิตให้เข้าถึงสมาธิอย่างนี้อยู่บ่อยๆ เพื่อให้ชำนิชำนาญ แต่อย่าไปจำเอาอารมณ์เก่า อย่าอยากให้เป็นอย่างเก่า มันจะไม่เป็นอย่างนั้น ซ้ำจะยุ่งใหญ่ เป็นแต่เราค่อยภาวนาพุทโธๆ ให้จิตอยู่ในคำบริกรรมนั้นก็แล้วกัน มันจะเป็นอย่างไรก็ช่างมัน

    จิตเป็นสมาธิใหม่ๆ เมื่อมันเป็นอีกมันจะไม่เป็นอย่างเก่า แต่ก็ช่างมัน มันจะเป็นอย่างไรก็ช่างมัน ขอให้มันเป็นสมาธิก็แล้วกัน มันเป็นหลายอย่าง จึงได้ความรู้กว้าง และมีอุบายมาก

    ที่อธิบายมาโดยย่อนี้ พอเป็นนิทัศน์อุทาหรณ์ ขอผู้ทำตามนี้ จงอย่าได้เอามาใส่ใจ มันจะเป็นสัญญา ภาวนาจะไม่เป็นไป เพียงแต่จำไว้ว่าเป็นเครื่องเทียบเคียง ในเมื่อเราภาวนาเป็นไปแล้ว
    (มีต่อ ๒)
     
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,601
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    ฝึกจิต เห็นใจ
    ผู้ภาวนาทั้งหลาย ไม่ว่าจะภาวนาพุทโธหรือยุบหนอพองหนอ หรือสัมมาอะระหัง อะไรก็แล้วแต่ เมื่อจิตจะรวมเป็นสมาธิแล้ว ไม่คิดว่าจิตเราจะรวม หรือกำลังรวมอยู่หรืออะไรทั้งหมด แต่มันรวมของมันเองโดยอัตโนมัติ แม้ที่สุดแต่คำบริกรรมอยู่นั้น ก็ไม่ทราบมันวางเมื่อไร มันจะมีแต่ความสงบสุขอยู่อันหนึ่งต่างหาก ซึ่งมิใช่โลกนี้ และโลกอื่น หรืออะไรทั้งหมด และไม่มีใครหรือสิ่งอะไรทั้งสิ้น เป็นแต่สภาพของมันต่างหาก (ซึ่งเรียกว่า โลกของจิต)

    ในที่นั้นจะไม่มีคำว่าโลกนี้ หรืออื่นใดทั้งสิ้น สมมติบัญญัติในโลกอันนี้จะไม่ปรากฎในที่นั้น เพราะฉะนั้น ในที่นั้นมันจะไม่เกิดปัญหาอะไรๆทั้งสิ้น เป็นแต่หัดจิตให้เป็นสมาธิไว้ แล้วเทียบเคียงกับจิตไม่เป็นสมาธิ ว่าผิดแปลกแตกต่างกันอย่างไร จิตเข้าถึงสมาธิแล้ว เมื่อถอนออกมาพิจารณาในทางโลกกับทางธรรม มันต่างกันอย่างไรกับจิตที่ไม่ได้เป็นสมาธิ

    “จิต” กับ “ใจ” ในที่นี้ จะพูดถึงเรื่องจิตกับใจให้เข้าใจอีกครั้งหนึ่ง ไหนๆก็พูดถึงเรื่องฝึกหัดจิต (คือสมาธิ) ถ้าไม่เข้าใจถึงเรื่องจิตกับใจแล้ว ก็ไม่ทราบว่าจะฝึกหัดอบรมสมาธิได้ที่ไหนและอย่างไร

    เกิดมาเป็นคนหรือสัตว์แล้ว ใครๆก็มีจิตใจด้วยกันทุกคน แต่จิตและใจนี้มันทำหน้าที่ต่างกัน

    • จิต มันคิดให้นึก ให้ส่งส่าย และปรุงแต่งไปต่างๆนานา สารพัดร้อยแปดพันเก้า แล้วแต่กิเลสมันจะพาไป
    • ส่วนใจ นั้นคือผู้รู้อยู่เฉยๆ ไม่นึกคิด ไม่ปรุงแต่งอะไรทั้งหมด อยู่เป็นกลางๆในสิ่งทั้งปวง ตัวผู้รู้อยู่เป็นกลางๆ นั่นแหละคือใจ
    ใจ ไม่มีตัวตนเป็นนามธรรม เป็นแต่ผู้รู้เฉยๆ เราจะเอาไปไว้ที่ไหนก็ได้ ไม่ได้อยู่ในกายหรือนอกกาย ที่เรียกหทัยวัตถุว่าหัวใจนั้น ไม่ใช่ใจแท้ เป็นแต่เครื่องฉีดเลือดให้วิ่งไปทั่วร่างกาย แล้วยังชีวิตให้เป็นอยู่เท่านั้น ถ้าหัวใจไม่ฉีดเลือดให้เดินไปทั่วร่างกายแล้ว ชีวิตความเป็นอยู่ก็ดำรงอยู่ไม่ได้

    ใจ ตามภาษาชาวบ้านที่พูดกันเป็นประจำ เช่น คำว่า ฉันเสียใจ ฉันดีใจ ฉันร้อนใจ ฉันเศร้าใจ ฉันตกใจ ฉันน้อยใจ อะไรต่อมิอะไรก็ใจทั้งนั้น ฯลฯ แต่นักอภิธรรมเรียกเป็นจิตทั้งนั้น เช่น จิตเป็นกุศล จิตเป็นอกุศล จิตเป็นอัพยากฤต จิตเป็นกามพจร จิตเป็นรูปาพจร จิตเป็นอรูปาพจร จิตเป็นโลกุตตระ ฯลฯ

    แต่ตัวจิต และตัวใจแท้เป็นอย่างไร หาได้รู้ไม่

    จิต คือผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง ผู้แต่ง ต้องใช้อายตนะทั้งหกเป็นเครื่องมือ พอตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นสัมผัสรส กายสัมผัสเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ใจนึกคิดอารมณ์ต่างๆ ตามกิเลสของตนทั้งที่ดีและไม่ดี ดีก็ชอบใจ ไม่ดีก็ไม่ชอบใจ ล้วนแล้วแต่เป็น จิต คือตัวกิเลสทั้งนั้น นอกจากอาตยะหกนี้แล้ว จิตจะเอามาใช้ไม่ได้ ท่านแยกออกไปเป็น อินทรีย์หก ธาตุหก ผัสสะหก อะไรเยอะแยะ แต่ก็อยู่ในอาตนะหกนี้ทั้งนั้น นั่นเป็นอาการลักษณะของจิตที่ผู้ไม่รู้จักนิ่งเฉย

    ผู้หัดจิต คือ ผู้ทำสมาธิ จะต้องสำรวมจิต ที่มันดิ้นรนไปตามอาตนะทั้งหก ดังที่อธิบายมาแล้วนั้น ให้หยุดนิ่งอยู่ในคำบริกรรมพุทโธอย่างเดียว ไม่ให้ส่งส่ายไปมาหน้าหลัง หยุดนิ่งเฉยและรู้ตัวว่านิ่งเฉย นั่นแหละตัวใจ ใจแท้ไม่มีการใช้อายตนะใดๆทั้งหมด จึงเรียกว่าใจ

    ดังชาวบ้านเขาพูดกันว่า ใจๆ คือของกลางในสิ่งทั้งปวง เช่น ใจมือ ก็หมายเอาตรงกลางมือ ใจเท้า ก็หมายเอาตรงกลางของพื้นเท้า สิ่งทั้งปวงหมด เมื่อพูดถึงใจแล้วจะต้องชี้เข้าหาที่ตรงกลางทั้งนั้น แม้ที่สุดแต่ใจคนก็ต้องชี้เอาตรงท่ามกลางอก แท้จริงแล้วหาได้อยู่ที่นั้นที่นี้ไม่ดังอธิบายมาแล้ว แต่อยู่ตรงกลางสิ่งทั้งปวงหมด

    เพื่อให้เข้าใจชัดเข้าอีก ทดลองดูก็ได้ พึงอัดลมหายใจเข้าไปสักพักหนึ่งดู…ในที่นั้นจะไม่มีอะไรเลย นอกจากผู้รู้เฉยอย่างเดียว นั่นแหละ “ใจ” คือ “ผู้รู้” แต่การจับ “ใจ” อย่างนี้ จะอยู่ไม่นาน อยู่ได้ชั่วขณะที่กลั้นลมหายใจเท่านั้น แต่ทดลองดูเพื่อให้รู้จักว่า “ใจ” แท้มีลักษณะอย่างไรเท่านั้น

    การกลั้นลมหายใจนี้ ทำให้ทุกขเวทนาเบาบางลงบ้าง ผู้มีเวทนามากๆ จะต้องกลั้นลมหายใจด้วยตนเองเป็นประจำเป็นยาแก้ปวด หายปวดได้ขนานหนึ่ง ดีเหมือนกัน

    เมื่อรู้ว่า จิต และ ใจ มีหน้าที่และลักษณะต่างกันอย่างนี้แล้ว ก็จะฝึกจิตได้ง่ายขึ้น แท้จริง จิต และ ใจ ก็อันเดียวกันนั่นแหละ พระพุทธเจ้าตรัสว่า จิตอันใด ใจก็อันนั้น การฝึกหัดอบรมสมาธิเราฝึกหัดแต่เฉพาะจิตอย่างเดียวก็พอแล้ว เมื่อฝึกจิตได้แล้ว ก็จะเห็นใจขึ้นมาในที่นั้นเอง

    ระวังเสื่อม
    จิตนี้เมื่อเราฝึกหัดอบรมเต็มที่ ด้วยการเอาสติเข้าไปควบคุมให้อยู่ในพุทโธเป็นอันเดียวแล้ว จะไม่ส่งส่ายไปในที่ต่างๆ แล้วจะรวมเข้ามาเป็นหนึ่ง และคำบริกรรมนั้นก็จะหายไปโดยไม่รู้ตัว จะมีความสงบเยือกเย็นเป็นสุขหาอะไรเสมอเหมือนไม่ได้ ผู้ไม่เคยได้ประสบ เมื่อประสบเข้าแล้วจะบรรยายอย่างไรก็ไม่ถูก เพราะความสงบสุขชนิดนี้ ซึ่งไม่มีคนใดในโลกนี้ได้ประสบมาก่อน ถึงเคยได้ประสบมาแล้วก็มิใช่อย่างเดียวกัน ฉะนั้นจึงบรรยายไม่ถูก แต่อธิบายให้ตัวเองฟังได้ ถ้าจะอธิบายให้คนอื่นฟัง ก็จะต้องใช้อุปมาอุปมัยเปรียบเทียบจึงจะเข้าใจได้ ของพรรค์นี้มันเป็นปัจจัตตัง ความรู้เฉพาะตน

    ยิ่งเข้าไปกว่านั้นอีก ถ้าผู้นั้นได้บำเพ็ญบารมีมาแต่ชาติก่อนมากแล้ว จะเกิดอัศจรรย์ต่างๆนานา เป็นต้นว่าเกิดความรู้ความเห็น เห็นเทวดา ภูตผี เปรต อสุรกาย และเห็นอดีต อนาคต ของตนและคนอื่น ในชาตินั้นๆ ได้เคยเป็นอย่างนั้นมาแล้ว และจะเป็นอย่างนั้นต่อไปอีก โดยที่ตนไม่ตั้งใจจะให้เห็นอย่างนั้นเลย แต่เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว มันหากจะเห็นของมันเองอย่างน่าอัศจรรย์มาก

    เรื่องพรรค์นี้ ผู้ปฏิบัติสมาธิทั้งหลายใฝ่ใจนักหนา เมื่อเห็นหรือรู้แล้ว ก็คุยโม้ให้คนอื่นฟัง เมื่อคนอื่นทำตามแต่ไม่เห็น หรือไม่เป็นอย่างนั้นก็ชักให้ท้อใจ หาว่าบุญของเราน้อย วาสนาของเราไม่มี ชักคลายศรัทธาในการปฏิบัติ

    ส่วนผู้ที่เป็น และเห็นนั้นเห็นนี้ ดังที่ว่ามานั้น เมื่อเสื่อมจากนั้นแล้ว เพราะความที่เราไปหลงเพลินแต่ของภายนอกไม่ยึดเอาใจมาเป็นหลัก เลยคว้าอะไรก็ไม่ติด แล้วก็คิดถึงอารมณ์ของเก่าที่เราเคยได้เคยเห็นนั้น จิตก็ยิ่งฟุ้งใหญ่ ผู้ที่ชอบคุยก็เอาแต่ความเก่าที่ตนเคยได้รู้เคยได้เห็นนั้น มาคุยเฟื่องไปเลย นักฟังทั้งหลายชอบฟังนักแบบนี้ แต่นักปฏิบัติเบื่อ เพราะนักปฏิบัติชอบฟังแต่ของความเป็นจริงและปัจจุบัน

    พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาไว้ว่า พระศาสนาของเราจะเสื่อมและเจริญ ก็เพราะผู้ปฏิบัตินี้ทั้งนั้น การเสื่อมเพราะผู้ปฏิบัติได้ความรู้อะไรนิดๆหน่อยๆ ก็จะเอาไปคุยให้คนอื่นฟัง ไม่แสดงถึงหลักของสมาธิภาวนา เอาแต่ของภายนอกมาพูด หาสาระอะไรไม่ได้ อย่างนี้ทำให้พระศาสนาเสื่อมโดยไม่รู้ตัว

    ผู้ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญนั้น พูดแต่สิ่งที่เป็นจริงเป็นประโยชน์ และไม่พูดเล่น พูดมีเหตุมีผล ปฏิบัติภาวนาอย่างนี้ บริกรรมอย่างนี้ ทำจิตให้รวมได้ สงบระงับกิเลสความฟุ้งซ่านได้อย่างนี้

    ต้องยึดคำบริกรรมพุทโธเป็นหลัก
    ผู้บริกรรมภาวนาพุทโธๆๆ พึ่งทำใจเย็นๆ อย่าได้รีบร้อน ให้ทำความเชื่อมั่นในคำบริกรรมพุทโธ มีสติควบคุมจิตของตนให้อยู่ในพุทโธของตนก็แล้วกัน ความเชื่อมั่นเป็นเหตุให้ใจตั้งมั่นไม่คลอนแคลน ปล่อยวางความลังเลสงสัยอะไรทั้งหมด และจิตจะรวมเข้ามาอยู่ในคำบริกรรมพุทโธๆๆ มีสติควบคู่กับพุทโธเท่านั้น ตลอดเวลา จะยืน เดิน นั่ง นอน หรือประกอบกิจการงานอะไรทั้งหมด ก็จะมีสติรู้เท่าอยู่กับพุทโธอย่างเดียว ผู้ภาวนาสติยังอ่อนอุบายยังน้อย ต้องยึดคำบริกรรมพุทโธเป็นหลัก ถ้ามิฉะนั้นแล้วจะภาวนาไม่เป็น หรือเป็นไปแต่ยังจับหลักไม่ได้

    ทำสมาธิให้แก่กล้าจิตเด็ด ถ้าแก่กล้าภาวนาจิตเด็ดว่าจะเอาอย่างนี้ละ ถ้าไม่ได้พุทโธ ไม่เห็นพุทโธขึ้นมาในใจ หรือจิตไม่หยุดนิ่งอยู่กับพุทโธอันเดียวแล้ว เราจะไม่ยอมลุกจากที่นี้ แม้ชีวิตจะดับก็ช่างมัน อย่างนี้แล้วจิตก็จะรวมลงเป็นหนึ่งโดยไม่รู้ตัว คำบริกรรมที่ว่าพุทโธ หรือสิ่งใดที่เราข้องใจหรือสงสัยอยู่นั้น ก็จะหายไปในพริบตาเดียว แม้ร่างกายอันนี้ซึ่งเรายึดถือมานานแสนนาน ก็จะไม่ปรากฏในที่นั้น จะยังเหลือแต่ใจ คือผู้รู้ผู้สงบเยือกเย็น เป็นสุขอยู่อย่างเดียว

    ผู้ทำสมาธิได้อย่างนี้แล้วชอบใจนัก ทีหลังทำสมาธิก็อยากได้อย่างนั้นอีก มันเลยไม่เป็นอย่างนั้น นั่นแหละ ความอยากเป็นเหตุ มันจึงไม่เป็นอย่างนั้น

    สมาธิเป็นของละเอียดอ่อนมาก เราจะบังคับให้มันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ไม่ได้ และไม่ให้เป็นสมาธิก็ไม่ได้อีกเหมือนกัน

    ถ้าเราทำใจร้อนยิ่งไปกันใหญ่ เราต้องทำใจเย็นๆ จะเป็นสมาธิหรือไม่ก็ตาม เราเคยทำภาวนาพุทโธๆ ก็ภาวนาไปเรื่อยๆ ทำเหมือนกับเราไม่เคยภาวนาพุทโธมาแต่ก่อน ทำใจให้เป็นกลางวางจิตให้เสมอ แล้วผ่อนลมหายใจให้เบาๆ เอาสติเข้าไปกำหนดจิต ให้อยู่กับพุทโธอย่างเดียว เวลามันจะเป็นมันหากเป็นของมันเอง เราจะมาแต่งให้มันเป็นไม่ได้ ถ้าเราแต่งเอาได้ คนในโลกนี้ก็จะสำเร็จเป็นพระอรหันต์กันหมดแล้ว

    รู้แล้วแต่ก็ทำไม่ถูก ทำถูกแล้วอยากเป็นอย่างนั้นอีก ก็เป็นไม่ได้ เหล่านี้ล้วนแต่เป็นอุปสรรคของการทำสมาธิทั้งนั้น

    ผู้ภาวนาบริกรรมพุทโธ ต้องทำให้ชำนิชำนาญคล่องแคล่ว ในขณะที่อารมณ์ทั้งดีและชั่วมากระทบเข้า ต้องทำสมาธิให้ได้ทันที อย่าให้จิตหวั่นไหวไปตามอารมณ์ได้ นึกถึงคำบริกรรมพุทโธเมื่อไร จิตก็จะรวมได้ทันที อย่างนี้จิตจะมั่นคงเชื่อตนเองได้

    เมื่อหัดให้ช่ำชองชำนิชำนาญอย่างนี้นานๆเข้า กิเลสความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง มันจะค่อยหายไปเอง ไม่ต้องไปชำระกิเลสตัวนั้นตัวนี้ว่า กิเลสตัวนั้นจะต้องชำระด้วยธรรมข้อนั้นๆ ด้วยวิธีอุบายอย่างนั้นๆ เราละกิเลสได้ด้วยอุบายอย่างไร ก็พึงยินดีเท่านั้น เอาเพียงแค่นี้ก็พอแล้ว

    กิเลสค่อยหายไปด้วยอุบายอย่างที่อธิบายแล้ว ดีกว่าเราจะไปละกิเลสด้วยการปรุงแต่ง เข้าฌานที่ ๑-๒-๓-๔ ด้วยการละ วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข มีเอกัคคตาและอุเบกขาเป็นอารมณ์ หรือทำให้ได้ ปฐมมรรค ด้วยการละกิเลส สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ไปมองดูแต่กิเลสนั้นๆว่า กิเลสตัวนั้นๆ เราทำให้ได้จิตอย่างนั้น เราพ้นจากกิเลสตัวนั้นๆได้แล้ว กิเลสเรายังเหลืออยู่อีกเท่านั้น ทำจิตให้ได้อย่างนั้นกิเลสของเราจึงจะหมดสิ้นไป

    แต่ไม่ได้มองดูจิต ผู้เกิดกิเลส ที่อยากรู้ อยากเห็น อยากเป็นว่า นั้นเป็นตัวกิเลสที่เกาะอยู่กับจิต พอเลิกการพิจารณานั้นแล้ว จิตก็จะอยู่อย่างเดิมไม่ได้อะไรเลย

    นอกจากไม่ได้อะไรแล้ว พอมีผู้มาแย้งความคิดความเห็น ซึ่งไม่ตรงต่อความเห็นของตนแล้ว จะต้องโต้แย้งอย่างรุนแรง เหมือนกับไฟลุกแล้วเอาน้ำมันมาราด ฉะนั้น

    ขอให้ยึดคำบริกรรมพุทโธไว้ให้มั่นคงเถิด ถ้าไม่ได้อะไรก็ยังพอมีคำบริกรรมไว้เป็นหลัก อารมณ์นั้นๆ ก็จะเบาบางลงได้บ้าง หรืออาจระงับหายไปก็เป็นไปได้ ดีกว่าไม่มีหลักอะไรเป็นเครื่องยึด

    แท้จริงผู้ภาวนาทั้งหลายต้องยึดเอาคำภาวนาของตนให้มั่นคง จึงจะได้ชื่อว่าภาวนามีหลัก เวลาภาวนาเสื่อมจะได้เอาเป็นหลัก

    พระพุทธเจ้าทรงเทศนาไว้ว่า ผู้ทำความเพียรเพื่อละกิเลสทั้งหลาย จงทำตัวให้เหมือนกับนักรบโบราณ สมัยก่อนต้องทำกำแพงล้อมเมืองให้แน่นหนา มีค่ายคูประตูหอรบเสร็จ เพื่อป้องกันข้าศึกอันจะมาราวี นักรบที่ฉลาด เมื่อออกรบกับข้าศึก เห็นว่าจะสู้ข้าศึกไม้ได้แล้ว ก็ล่าทัพกลับสู่พระนคร แล้วรักษาพระนครเอาไว้ไม่ให้ข้าศึกเข้ามาทำลายได้ พร้อมกันนั้น ก็สะสมรี้พลอาวุธ และอาหารให้พร้อมเพรียง (คือ ทำสมาธิ ให้มั่นคงกล้าหาญ) แล้วจึงออกรบข้าศึกอีกต่อไป (คือ มวลกิเลสทั้งปวง)

    สมาธิเป็นกำลังสำคัญมาก ถ้าไม่มีสมาธิแล้ววิปัสสนาจะเอากำลังมาจากไหน ปัญญาวิปัสสนามิใช่เป็นของจะพึงแต่งเอาได้เมื่อไร แต่เกิดจากสมาธิ ที่หัดได้ชำนิชำนาญมั่นคงดีแล้วต่างหาก

    ถึงผู้ได้สุกขวิปัสสกก็เถิด ถ้าไม่มีสมถะแล้วจะเอาวิปัสสนามาจากไหน เป็นแต่สมถะของท่านไม่คล่องเท่านั้น อย่างนี้พอฟังได้

    สมาธิมั่นคง พิจารณาเห็น
    ผู้ปฏิบัติทั้งหลาย เมื่อได้ทำสมาธิให้มั่นคงแน่นหนาดีแล้ว จนกระทั่งจะเข้าจะออกก็ได้ จะอยู่ให้นานๆ และพิจารณากายอันนี้ให้เป็นอสุภะ หรือเป็นธาตุก็ได้ พิจารณาคนในโลกนี้ทั้งหมดให้เป็นโครงกระดูกทั้งหมดก็ได้ หรือพิจารณาให้เห็นในโลกนี้ทั้งหมดว่างเป็นอัชฌัตตากาศ ว่างเปล่าไปหมดก็ได้ ฯลฯ

    จิตผู้มีสมาธิเต็มที่แล้ว ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน ย่อมเป็นสมาธิอยู่ตลอดเวลา แล้วก็มองเห็นกิเลสของตน ซึ่งเกิดจากจิตของตนได้ชัดเจนว่า กิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง มันเกิดจากสิ่งนี้ๆ และมันตั้งอยู่ได้ด้วยอาการอย่างนี้ๆ แล้วก็หาอุบายละด้วยอย่างนี้ๆ

    เหมือนกับน้ำในสระที่ขุ่นมาเป็นร้อยๆปี เพิ่งมาใสสะอาดมองเห็นสิ่งสารพัดที่มีอยู่ก้นสระว่า แต่ก่อนแต่ไรเราไม่นึกไม่คิดเลยว่า ในก้นสระนี้มันจะมีของเหล่านี้ นั้น เรียกว่า วิปัสสนา คือ ความรู้ความเห็นตามสภาพจริง มันเป็นจริงอย่างไร ก็เห็นตามความเป็นจริงอย่างนั้น ไม่วิปริตผิดแปลกจากความเป็นจริงของมัน

    สมถะก็ละกิเลสได้เหมือนกัน แต่ละได้เหมือนคนถางหญ้า ตัดแต่ต้นให้ขาด ไม่ขุดเอารากออกให้หมด รากมันย่อมมีเวลางอกขึ้นมาอีกในเมื่อฝนตกลงมา คือเห็นโทษในอารมณ์ที่มันเกิดจากอายตนะนะหกเหมือนกัน แต่เมื่อเห็นโทษก็รีบเข้าหาความสงบ โดยไม่พิจารณาอารมณ์นั้นๆให้ถี่ถ้วนอย่างสมาธิ สรุปความแล้วเรียกว่า ชอบเอาแต่ความสงบอย่างเดียว ไม่อยากพิจารณาให้เนิ่นช้า เหมือนกับตัวแย้อาศัยรูเป็นเครื่องป้องกันภัยอันตราย เมื่อเห็นศัตรูมาก็วิ่งเข้ารูเสีย พ้นภัยอันตรายไประยะหนึ่งๆ ก็เท่านั้น

    ผู้ต้องการขุดรากเหง้าของกิเลสในตัว เมื่อกิเลสมันเกิดจากอายตนะทั้งหกในตัวของตน เช่น ตาเห็นรูป หูได้ฟังเสียงเป็นต้น เกิดผู้ผัสสะขึ้นให้ยินดีหรือยินร้าย ดีใจและเสียใจ เป็นต้น แล้วเข้าไปยึดเอามาเป็นอารมณ์ของตน ขุ่นมัวอยู่ในใจ จนเป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อน ดิ้นรน กินไม่ได้นอนไม่หลับ จนกระทั่งทำอัตตนิบาต ฆ่าคนตายก็มี เมื่อเห็นชัดอย่างนี้แล้ว พึงทำสมาธิ ให้มั่นคงเป็นหลักเสียก่อน แล้วจึงตั้งจิตพิจารณาเฉพาะในอารมณ์นั้นๆ แต่สิ่งเดียว เช่น

    ตาเห็นรูปที่เป็น อิฏฐารมณ์ แล้วเกิดความยินดีพอใจขึ้น ก็ให้พิจารณาเฉพาะแต่ความยินดีพอใจนั้นว่า มันเกิดจากตา หรือเกิดจากรูปกันแน่

    เมื่อพิจารณาถึงรูป ก็เห็นว่า รูปมันเป็นแต่รูปธรรมต่างหาก มันจะดีหรือเลว มันไม่ได้มาชักชวนให้เราไปยินดี หรือยินร้าย หรือให้เราไปหลงรักหรือชัง มันเป็นแต่รูปเฉยๆ เกิดขึ้นมาแล้วก็ดับไป มันดับไปตามสภาพของมันต่างหาก

    เมื่อพิจารณาตามตาผู้ไปเห็นรูปเล่า ตาผู้ส่งส่ายไปเห็นรูป พอกระทบเท่านั้น แสงสะท้อนกลับเข้ามาหาจักษุประสาทเข้า ก็เป็นรูปต่างๆนานาเกิดขึ้น ตาก็ไม่ได้ชักชวนไปให้ยินดียินร้าย หรือให้รักให้ชังอะไร ตามีหน้าที่ให้เห็น เห็นรูปแล้วก็ดับไป

    สิ่งที่เป็นอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์ หรืออายตนะอื่นๆ ก็ให้พิจารณาอย่างเดียวกันนี้
    (มีต่อ ๓)
     
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,601
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    เพราะอายตนะทั้งหกเป็นต้นเหตุ
    เมื่อเราพิจารณาอย่างนี้แล้วก็จะเห็นชัดว่า สิ่งทั้งปวงหมดในโลกนี้ มันจะเกิดกิเลสขึ้นก็เพราะอายตนะทั้งหกนี้เป็นต้นเหตุทั้งนั้น ถ้าเราพิจารณาและไม่หลงตามอายตนะทั้งหกนี้ กิเลสก็จะไม่เกิดขึ้นในตัวของเรา ตรงกันข้าม มันจะเกิดปัญญาก็เพราะมีอายตนะทั้งหกนี้

    อายตนะทั้งหกนี้ เป็นสื่อกลางของความดีและความชั่ว จะไปสุคติและทุคติ ก็เพราะอายตนะทั้งหกเป็นต้นเหตุ

    โลกนี้จะกว้างก็เพราะจิตไม่มีสมาธิ ปล่อยตามอารมณ์ของอายตนะทั้งนั้น โลกนี้จะแคบก็เพราะจิตนี้ได้ฝึกหัดสมาธิ ให้อยู่ในบังคับของตน พิจารณาอารมณ์ของอายตนะทั้งหกแต่ภายใน คือ เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว อายตนะ เป็นต้นว่า ตาเห็นรูป หูฟังเสียง ฯลฯ เหล่านี้จะไม่ปรากฏเลย จะปรากฏแต่รูปที่เป็นนามธรรม เสียงที่เป็นนามธรรมปรากฏเกิดขึ้นในสมาธินั้น โดยเฉพาะอายตนะภายนอกจะไม่รู้เลย

    เมื่อทำสมาธิให้แน่วแน่นเต็มที่แล้ว พิจารณาเห็น โลกจิต นี้มันเป็นเหตุทำให้เกิดอายตนผัสสะ สัญญา และอารมณ์ และตลอดสรรพกิเลสทั้งปวงแล้ว จิตก็จะถอนจากสิ่งทั้งหมด จะยังเหลือแต่ “ใจ” คือ “ผู้รู้” อย่างเดียว

    “จิต” กับ “ใจ” ย่อมมีลักษณะอาการต่างกัน

    “จิต” ได้แก่ ผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง ผู้แต่ง และสัญญา อารมณ์ต่างๆ ตลอดถึงไปยึดเอาสิ่งต่างๆ มาไว้ที่จิต จิตเมื่อเห็นโทษทุกข์ทั้งหลาย ที่ยึดเอากิเลสทั้งปวงมาไว้ที่จิตของตน แล้ว ยอมสละถอนจากอารมณ์และกิเลสทั้งปวงจากจิต จิตนั้นก็เป็นใจ จิตกับใจมีลักษณะอาการต่างกันอย่างนี้

    “ใจ” คือ ผู้เป็นกลาง วางเฉย ไม่คิดนึกอะไรทั้งสิ้น เป็นแต่รู้ตัวอยู่ว่าวางเฉย ใจเป็นธรรมชาติเป็นกลางแท้ กลางไม่มีอดีตอนาคต ไม่มีบุญหรือบาป ไม่ดีและไม่ชั่วนั้นเรียกว่า “ใจ” สิ่งทั้งปวงหมด ถ้าพูดถึงใจแล้ว จะต้องหมายเอาตรงใจกลางทั้งนั้น แม้แต่ใจของคนซึ่งเป็นนามธรรม ก็ต้องชี้เข้าไปที่ท่ามกลางอก แต่ใจแท้ไม่ทราบว่าอยู่ตรงไหน เราเอาความรู้สึกไปไว้ในกายส่วนใดส่วนหนึ่ง ลองดูซิ จะรู้สึกขึ้นในที่นั้น หรือเอาความรู้สึกนั้นไปไว้ภายนอกกาย เป็นต้นว่าเอาไปไว้ที่เสาหรือที่ฝาผนังบ้าน ก็จะมีความรู้สึกอยู่ ณ ที่นั้น

    เป็นอันสรุปได้ว่า ใจแท้ คือ ความรู้สึกเฉยอยู่เป็นกลางๆ เมื่อมีความรู้สึกกลางๆอยู่ ณ ที่ใด ใจก็อยู่ ณ ที่นั้น

    ที่ชาวบ้านเขาพูดกันว่า หัวใจๆ นั้น มิใช่ใจแท้ เป็นแต่หทัยวัตถุ เครื่องสูบฉีดเลือดให้ไปหล่อเลี้ยงสรีระร่างกาย เพื่อให้อยู่ได้ ถ้าไม่มีเครื่องสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงร่างกายแล้วกายอันนี้ก็จะอยู่ไม่ได้ต้องตาย สมองก็เหมือนกัน จะคิดดีหรือไม่ดีก็เพราะสมองเป็นเครื่องใช้ของจิตใจ ระบบประสาทของสมองเป็นรูปธรรม เมื่อปัจจัยต่างๆ ของรูปธรรมขาดไป รูปธรรมย่อมอยู่ไม่ได้ต้องดับไป

    แต่ “จิต” ซึ่งเป็นนามธรรมนั้น ในพุทธศาสนาท่านว่า ยังเหลืออยู่ เกิดได้อีก นามธรรมจะดับ ก็ต่อเมื่อ ปัญญาไปรู้เหตุรู้ผลของนามธรรมนั้นๆ แล้วถอนมูลเหตุของมันเสีย

    ให้เหลืออยู่แต่ใจไม่ปรุงแต่ง
    ศาสตร์ทั้งหลายซึ่งมีอยู่ในโลกนี้ทั้งหมดสอนกันไม่มีที่สิ้นสุด ยิ่งเรียนยิ่งสอนก็ยิ่งกว้างขวางออกไปทุกที มีพุทธศาสนาเท่านั้นที่สอนให้ถึงที่สุดได้ พุทธศาสนาสอนเบื้องต้นให้รู้จักกาย อันนี้ว่า มีสิ่งต่างๆประกอบกันเข้า จึงเรียกว่าสรีระร่างกาย (คือ อาการสามสิบสอง) และมีหน้าที่อะไรบ้าง พร้อมกันนั้น ก็สอนให้เห็นเป็นของ “อสุภะ” เป็นของจริงไปในตัว สอนให้รู้จักโลกอันนี้ (คือ มนุษย์) ที่ประกอบไปด้วย “ทุกข์” ทั้งนั้น ผลที่สุดก็ต้องแตกดับไปตามธรรมดาของมัน

    ฉะนั้น เมื่อเราเกิดขึ้นมาได้ก้อนนี้แล้ว ถึงจะเป็นของไม่งามเต็มไปด้วย “อสุภะ” และประกอบไปด้วย “ทุกข์” นานัปการก็ตาม แต่เราก็ได้มาพึ่งอาศัยอยู่ชั่วระยะหนึ่ง พึงทำคุณงามความดีใช้หนี้โลกเสีย ก่อนจะตายไปจากโลกนี้

    พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่า คน (คือ โลกอันนี้) แตกดับสลายไปเป็นธรรมดา แต่ “จิต” คือ เจ้าของของโลกนั้น เมื่อมีกิเลสอยู่จะต้องกลับมาเกิดอีก ฉะนั้นพระพุทธองค์จึงทรงสอนให้ฝึกหัดสมาธิ อันเป็นเรื่องของจิตโดยเฉพาะ เมื่อฝึกหัดทำสมาธิเข้าแล้ว หากมีอายตนผัสสะจะรู้สึกอยู่แต่ภายใน คือ “จิต” ผู้เดียว ผู้เห็นผู้ฟังจะไม่เกี่ยวด้วยตาและหู อายตนผัสสะ จะรู้ด้วย “จิต” อย่างเดียว (ได้ชื่อว่าทำโลกนี้ให้แคบเข้ามา)

    อายตนะทั้งหลาย เป็นเครื่องวัดจิตของตนได้อย่างดีที่สุด เมื่ออายตนะผัสสะมากระทบจิตของเรา เราหวั่นไหวไหม เมื่อหวั่นไหวมาก ก็แสดงว่ามีสติน้อย มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ก็ยังน้อย เมื่อหวั่นไหวน้อยหรือไม่หวั่นไหวเสียเลย ก็แสดงว่าเรามีสติมาก มีธรรมเป็นเครื่องอยู่มาก และรักษาตัวได้เลย

    เปรียบเหมือนกับพระเทวทัตและพระโพธิสัตว์ ย่อมก่อเวรก่อกรรมแก่กันมาโดยตลอด พระโพธิสัตว์ถ้าไม่มีพระเทวทัตก็จะไม่ได้สร้างบารมีให้เต็มเปี่ยม เมื่อบารมีเต็มเปี่ยมแล้วจึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้พระองค์ก็ได้ทรงผจญพญามารอันมีแสนยานุภาพมหึมา เมื่อตรัสรู้แล้ว ก็มีลูกสาวพญามาราธิราชทั้งสามนางมาทดสอบอีกที เป็นอันว่าชาวโลกซ้องสาธุการว่า พระพุทธเจ้าทรงชนะกิเลสเด็ดขาดในโลกนี้โดยสิ้นเชิง

    เมื่ออายตนะภายในยังมีอยู่ มโนผัสสะก็ยังเป็นอารมณ์อยู่ ฉะนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายมาเห็นโทษสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น จึงยอมถอนออกจากสิ่งเหล่านั้นเสีย ยังคงเหลือแต่ “ใจ” ที่เป็นกลางๆๆ ไม่คิด ไม่นึก ไม่ปรุง ไม่แต่ง แล้วโลกอันนี้มันจะมีมาแต่ที่ไหน พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ถึงที่สุดของโลก ด้วยประการอย่างนี้

    นั่งสมาธิภาวนา
    (ท่านอาจารย์อบรมนำก่อน)

    เราพากันมาสำรวมจิตกันเถิด จิตนี้พวกเราเคยปล่อยให้มันเสาะแสวงหาสิ่งที่มันชอบใจมานานแล้ว และสิ่งนั้นมันก็เคยได้มาแล้ว แต่จิตมันก็ไม่พอสักทีหาอยู่ร่ำไป เมื่อไรมันจะรู้จักจบจักพอกันสักที คนที่อยู่รอบๆ ตัวของเรานี้ เราก็เห็นตำตาอยู่แล้ว เมื่อตายไปก็ไม่เห็นเอาอะไรไปด้วย แม้แต่ร่างกายอันนี้ ก็ทอดทิ้งถมพื้นแผ่นดินด้วยกันทั้งนั้น

    แต่จิตที่อยู่นิ่งไม่แส่ส่ายแสวงหาอะไรทั้งหมด ตั้งมั่นอยู่กับพุทโธอันเดียว เรายังไม่เคยได้เลย จงพากันมาภาวนาพุทโธๆ ให้จิตมันหยุดนิ่งอยู่อันเดียว ลองดูซิ บางทีจิตที่อยู่กับพุทโธอันเดียว กลับจะได้มากกว่า และเป็นของแปลกประหลาดกว่าที่เป็นมาแล้ว

    ทุกสิ่งทุกอย่างมันออกจากหนึ่ง สิ่งอันหนึ่งทั้งนั้น เช่น การนับก็ตั้งต้นจากหนึ่งก่อน หนึ่งสองหนก็เป็นสอง หนึ่งสามหนก็เป็นสาม ดังนี้เป็นต้น หรือต้นหมากรากไม้ทั้งปวงก็ออกมาจากหนึ่งทั้งนั้น (คือ รากของมัน) คนเราก็เหมือนกัน เมื่อเกิดมาทีแรก ก็เกิดจากปฏิสนธิจิตดวงเดียวแท้ๆ เมื่อคลอดออกมาแล้วมีอายตนะ ขันธ์ห้า เครื่องใช้หลายอย่าง จิตก็ปรุงแต่งไปหลายอย่างหลายอัน จนนับจิตไม่ถ้วน ไม่ทราบว่าจิตมีกี่ดวง ยุ่งกันไปหมด จิตเดิมแท้เลยไม่เห็น

    ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงสอนให้ค้นหาจิต คือภาวนาพุทโธ เอาจิตมารวมอยู่ในพุทโธอันเดียวจึงจะเห็นจิต การค้นหาจิตเราจะต้องทำภาวนาพุทโธ ทำให้จิตรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจึงจะเห็นจิตของตน เมื่อเราค้นหาจิตเห็นจิตแล้ว และเห็นว่านี่คือต้นตอของจิต ของสิ่งทั้งปวงที่มีอยู่ในโลกนี้ จิตที่มากหลายอย่างนั้น มันออกไปจากจิตอันเดียวนี้

    เมื่อจิตอยู่นิ่งกับพุทโธอันเดียว สรรพกิเลสทั้งหลายก็ไม่มี แล้วจงใช้สติประคองจิตอันนั้น ให้นิ่งอยู่กับพุทโธอันเดียวเสียก่อน อย่าให้ส่งส่ายไปมาทุกอริยาบถทั้งสี่ ทำให้ชำนิชำนาญคล่องแคล่ว จนเราจะให้อยู่ก็ได้ หรือเราจะให้คิดค้นพิจารณาในธรรมต่างๆก็ได้ หรือคิดค้นธรรมต่างๆ แล้วจะให้มานิ่งอยู่กับใจก็ได้ เมื่อเข้าใจถึงแล้วพุทโธไม่ต้องบริกรรมก็ได้

    “จิต” กับ “ใจ” มันต่างกัน จิต คือ ผู้คิด ผู้ส่งส่าย ผู้ปรุงแต่ง ใจ คือ ผู้รู้ตัว แล้วนิ่งเฉยไม่คิดไม่นึก เรียกว่าใจ ดังอธิบายมาข้างต้น

    เมื่อไม่อยากให้กิเลสมารบกวน จงอย่าคิดนึก ทำใจให้เป็นกลางๆ วางเฉยแล้วนิ่งอยู่ กิเลสทั้งปวงก็จะไม่มารบกวนอีกต่อไป

    [จบ ฝึกหัดสมาธิโดยบริกรรมพุทโธ: หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี]
    :- http://tesray.com/focusing-on-buddho
     
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,601
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    ส่องทางสมถวิปัสสนา
    โดย
    พระราชนิโรธรังสี (เทสก์ เทสรังสี)
    วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่
    จังหวัดหนองคาย
    คำนำ

    หนังสือเล่มนี้ข้าพเจ้าเขียนขึ้นเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติเฉพาะผู้ฝึกหัดจิตโดยตรง ถ้าผู้ยังไม่เคยฝึกหัดจิตแล้วก็ยากที่จะเข้าใจได้ เพราะเขียนตามอาการความเป็นไปในการปฏิบัติจิต ที่จะเขียนหนังสือเล่มนี้ ก็เพราะข้าพเจ้ามาคำนึงถึงผู้ปฏิบัติทั้งหลาย โดยส่วนมากเป็นผู้มีการศึกษาน้อย แต่มากด้วยศรัทธา ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติพระกรรมฐานกันอย่างจริงจัง แต่การปฏิบัตินั้นผู้ฝึกหัดใหม่ทั้งหลายไม่ค่อยมีฝั่งมีฝา ไม่รู้ว่าปฏิบัติเป็นไปแล้วหรือยังไม่เป็นไป ถ้าเป็นไปแล้วก็ไม่รู้ว่าเป็นไปแค่ไหน จะหาร่องรอยยึดเอาหลักฐานแน่นอนไม่ได้ จึงพากันเสื่อมเสียจากการปฏิบัตินั้นก็มี เพราะอุบายสอนผู้ฝึกหัดจิตนั้นไม่เหมือนเรียนปริยัติ

    ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงได้เขียนแนวทางปฏิบัติ ซึ่งผู้ฝึกหัดจิตทั้งหลายพากันดำเนินอยู่แล้วเป็นส่วนมาก การดำเนินพระกรรมฐานนี้มีนัยเป็นอันมาก แต่เมื่อรวมความลงแล้วมีอยู่ ๒ ประการ คือ

    ๑. การเจริญพระกรรมฐาน บริกรรมหรือเพ่งเอาอันใดอันหนึ่งเป็นนิมิต ไม่ว่าภายนอกหรือภายใน เพื่อให้จิตสงบอย่างเดียว แล้วกำหนดเอาแต่ผู้รู้ แล้วอยู่ด้วยอาการอย่างนั้น เป็นที่พอใจและปรารถนา พูดง่ายๆ เรียกว่าฝึกหัดเอาแต่สมถะอย่างเดียว

    ๒.บริกรรมหรือเพ่งอย่างนั้นเหมือนกัน แต่ไม่ให้จิตสงบ คือน้อมจิตให้เข้าไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว เพ่งพิจารณานิมิตนั้นให้เป็นธาตุหรือเป็นอสุภ ยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์เป็นต้น เมื่อเห็นชัดแล้วจิตจะรวมลงไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว หรือจะเป็นสมาธิ หรือจะเกิดปัญญาให้สลดสังเวชก็ได้ พูดย่อๆ เรียกว่าหัดสมถะเป็นไปพร้อมกันกับวิปัสสนา

    ในหนังสือเล่มนี้ ข้าพเจ้าเขียนตามแนวข้อ ๒ นี้ เพราะว่าแนวนี้เดินสม่ำเสมอดีกว่าแนวที่หนึ่ง แต่เมื่อฝึกหัดแนวที่หนึ่งนั้นชินติดมามากแล้วจะเปลี่ยนแนวมาฝึกหัดแนวที่สองนี้ ชักให้ลำบากไปสักหน่อย ผู้ฝึกหัดแนวที่สองนี้ชำนาญแล้ว ถึงจะฝึกหัดแนวที่หนึ่งก็ไม่ยาก บางที่เป็นไปเองก็มี ความจริงนักฝึกหัดที่แท้จริงแล้ว ควรฝึกหัดให้ได้ทั้ง ๒ อย่างจะเป็นการดีมาก ถ้ามิเช่นนั้นจะไม่รู้ความเป็นไปแห่งการปฏิบัติตามแนวทางทั้ง ๒ นั้น ว่ามีรสชาติต่างกันอย่างไร

    หนังสือเล่มนี้ ข้าพเจ้าให้ชื่อว่า ส่องทางสมถวิปัสสนา อธิบายว่า “ส่องไปข้างหน้า” คือจะต้องดำเนินไปตามแนวทางนี้ก็ได้ “ส่องกลับข้างหลัง” คือผู้ที่ฝึกหัดจิตที่เป็นมาแล้ว แต่ไม่รู้อาการเหล่านั้นว่าอะไรเป็นอะไร เมื่อมาพิจารณาตามนัยนี้แล้วก็อาจช่วยความรู้ขึ้นอีกก็ได้ หนังสือเล่มนี้ข้าพเจ้าเขียนไว้เพื่อเป็นอุบายสำหรับผู้ฝึกหัดจิตโดยเฉพาะ จะเอาไปใช้เป็นตำรากันจริงจังไม่ได้ เพราะตำราเดิมของท่านมีหลักฐานบริบูรณ์ดีอยู่แล้ว เมื่อฝึกหัดจิตตามแนวนี้ได้แล้ว ก็อาจจะส่องตลอดถึงตำราเดิมก็ได้

    ฉะนั้น ข้าพเจ้าหวังว่าหนังสือเล่มนี้คงจะอำนวยผลให้แก่ท่านผู้ที่เป็นนักฝึกหัด นักสนใจ ในทางพระกรรมฐานตามสมควรแก่เหตุการณ์นั้นๆ



    เทสรังสี
    วัดเขาน้อยนาวา

    อำเภอท่าแฉลบ จังหวัดจันทบุรี
    ๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๒

    ส่องทางสมถวิปัสสนา

    บทเบื้องต้นหน้าวิชา

    สุตฺสูสํ ลภเต ปญฺญํ

    ผู้ฟังดี ย่อมได้ ปัญญา


    พุทธโอวาท ศาสนาคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นคำสอนที่มีรสชาติอันอร่อยสุขุมมาก เหล่าชุมชนทั่วไปฟังได้ ปฏิบัติได้ รู้ได้ ตามชอบใจ ตามภูมิแลฐานะของตนๆ ไม่เป็นการข่มขืนขัดขวางต่อนิสัยและระบอบใดๆ ของใครในโลกทั้งนั้น คำสอนของพระองค์เป็นแต่ชี้แนวทางปฏิบัติให้ พร้อมทั้งบอกเหตุผลของการปฏิบัตินั้นๆ ใครจะปฏิบัติตามหรือไม่ คำสอนนั้นก็มิได้ลงโทษหรือให้คุณแม้แต่ประการใด โทษแลคุณย่อมเป็นของอำนวยให้ผลตามเหตุนั้นเท่านั้น พระองค์ได้ทรงแสดงข้อปฏิบัติไว้พร้อมด้วยพระทัยอันเต็มเปี่ยมไปด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ โดยมิได้หวังการตอบแทนแม้แต่ประการใดเลย พระองค์นั้นเป็นผู้ทรงไว้แล้วซึ่งพระวิสุทธิคุณอันวิเศษ หากิเลสทั้งหลายมีอคติเป็นต้น มิได้เจือปนไปในพระทัยของพระองค์เลย พระองค์ได้ทรงไว้แล้วซึ่งสติปัฏฐานทั้งสามบริบูรณ์ทุกเมื่อ คือว่า

    พระองค์มิได้หลงดีใจต่อผู้ปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ ๑

    มิได้เสียใจต่อผู้ไม่ปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ ๑

    ใครจะปฏิบัติตามบ้างไม่ปฏิบัติตามบ้าง พระองค์เจ้าก็มีสติตั้งมั่นอยู่ทุกเมื่อไม่หลงยินดีและยินร้าย ๑

    ฉะนั้น พระองค์จึงทรงมีวิสารทแกล้วกล้าสามารถอาจหาญ โปรดประทานพระโอวาทในที่ทุกแห่ง แล้วทรงบัญญัติศีล สมาธิ ปัญญาเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด มีวิมุติอันเป็นยอดเยี่ยม โดยมิได้หวาดหวั่นต่ออุปสรรคใดๆ ทั้งนั้น

    สาธุชนทั้งหลายจึงไม่ควรประมาท ในการที่พวกเราได้มาเกิดเป็นมนุษย์ชาติ เป็นคติอันอุดมสมบูรณ์ไปด้วยของวิเศษต่างๆ มีอริยทรัพย์เป็นเครื่องประดับ ซึ่งสาธุชนทั้งหลายพากันปรารถนาอยู่แล้ว อนึ่ง พระพุทธโอวาทที่ชี้ขุมทรัพย์นับตั้งอนันต์นี้ มิใช่เป็นของหาได้ง่ายเมื่อไร เราเกิดมานับเป็นแสนชาติอนันต์ ซึ่งจะได้พบปะโอวาทคำสั่งสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธนี้ก็สุดวิสัย อย่าพึงพากันเข้าใจว่าเป็นของหาได้ง่าย ฉะนั้น เมื่อมรดกอันมีค่าสามารถแลกเอาซึ่งของวิเศษทั้งหลาย มีมนุษยสมบัติ สวรรคสมบัติ พระนิพพานสมบัติ เป็นต้น อันมนุษย์ในโลกนี้ปรารถนาอยู่แต่ยังไม่พึงเห็น เวลานี้มรดกนั้นได้ตกเข้ามาถึงมือของพวกเราแล้วตามความประสงค์ ไฉนเล่าพวกเราจึงไม่ยอมรับแลใช้จ่ายให้เป็นประโยชน์แก่เราบ้างเลย สาธุชนทั้งหลายจงพากันรีบรับ จงพากันรีบชม จงพากันรีบใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ตนเสีย ในเมื่อทรัพย์ของดีมีอยู่ ในเมื่อมีผู้ชี้ขุมทรัพย์แลคุณค่าพร้อมทั้งอุบายใช้จ่ายทรัพย์นั้น จะได้ทันแก่กาลสมัยที่ตนปรารถนา อย่าได้พากันยึดหน่วงด้วยบ่วงของมาร ภาระหนักจงพากันพักไว้ก่อน ตอนหลังยังมีถมไป อุบายใช้ทรัพย์นับไม่ถ้วน ล้วนแต่เป็นของดีมีคุณ พระพุทธองค์ทรงจำแนกแจกไว้ในคัมภีร์เป็นอเนก แต่ในที่นี้จะชี้แจงอุบายจ่ายทรัพย์ถุงน้อยๆ อันมีคุณค่าเป็นอนันต์ ขอสาธุชนทั้งหลายผู้อ่านอย่าพากันเข้าใจว่าเป็นอุบายของผู้แต่ง ความจริงมีในพระคัมภีร์แล้ว แต่เป็นของกว้างมาก ยากที่ผู้จะหยิบเอามาใช้จ่ายให้ทันแก่ความต้องการของตนได้ ฉะนั้น จึงได้ย่นย่อเอาแต่หัวข้ออันจะพึงปฏิบัติมาแต่งไว้ในหนังสือเล่มนี้

    ผู้เริ่มจะเรียนบทกฎใช้ทรัพย์ จะตื่นจากหลับกลับจากความหลง อย่าพึงส่งจิตคิดไปตามสงสาร จงเห็นเป็นของน่ารำคาญ สงสารมันลวงเราผูกมัดรัดรึงตึงเครียดไม่เกลียดหน่าย หลงมัวเมา แก่เฒ่า หนุ่มสาว แม้แต่ชั้นเด็กๆ ก็ไม่รู้จักอิ่มพอ รสสงสารทำให้คนเมาไม่รู้จักสร่าง ตัวแก่จนจวนจะดับจิตยังไม่คิดถึงที่พึ่งของตน สิ่งอื่นนอกจากความดีที่มีอยู่ในตนแล้ว คนอื่นที่ไหนใครเขาจะให้พึ่งได้ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เราคนเดียวทั้งนั้น ตายแล้วไม่มีใครเป็นเพื่อนของเราเลย จงเริ่มรีบเรียนบทกฎใช้ทรัพย์ไว้สำหรับตน คนเราทุกๆ คนยังเดินทางอยู่ไม่รู้จักจบ ซ้ำจะต้องประสบพบกับภัยใหญ่ในวันหนึ่งข้างหน้า (กล่าวคือ พยาธิและมรณะ)

    เมื่อเราเรียนรู้วิชาใช้ทรัพย์พร้อมกับคุณค่าของทรัพย์ไว้ได้แล้ว จะได้ทุ่มเททรัพย์ของตนที่มีอยู่นั้นต่อสู้กับปฏิปักษ์ พึงทราบเถิดว่า สนามยุทธหมู่ไพรีสี่สหาย นายทหาร ๔ คนพากันชุมชุกสนุกใจอยู่ในไพรขันธ์ ต่างขยันทำกิจตามหน้าที่ไม่มีเกียจคร้านเลย คนหนึ่งดักต้นทางพบแล้วปล่อยไป คนที่สองด้อมมองตามทุกฝีย่าง คนที่สามคุกคำรามตามทารุณแสนร้ายกาจ คนที่สี่มองมับเมียงคอยเหวี่ยงเปรี้ยงให้บรรลัย

    สี่สหายนายโจรใหญ่นี้ทำเป็นมิตรสนิทสนมกับเรา นั่งนอนยืนเดินอยู่กิน พูดจาเฮฮาหัวเราะ เศร้าโศกสุขทุกข์ เขาย่อมเป็นไปกับเราทั้งนั้น เล่ห์กลมารยาของเขาลึกล้ำมาก ยากที่บุคคลจะรู้เหลี่ยมของเขา เว้นเสียแต่พระพุทธองค์เจ้าและพระอรหันตขีณาสพทั้งหลายเท่านั้นจะรู้กลอุบายของเขา ฉะนั้น สาธุชนทั้งหลายผู้เห็นภัยแล้วกลัวต่อนายโจรทั้งสี่สหาย พึงพากันยินดีเรียนเอาวิชาคือพุทธมนต์ไว้สำหรับป้องกันตน พุทธมนต์นั้นมี ๒ ประเภท พึงรู้คุณวิเศษแลลักษณะอาการของพุทธมนต์นั้นมีดังนี้ก่อนคือ การศึกษาเล่าเรียนท่องบ่นบทบาทอรรถบาลี ซึ่งมีในพระคัมภีร์ทั้งหลาย เรียกว่าพระปริยัติธรรม วิชาขั้นนี้เป็นวิชาขั้นต้น มนต์นี้เรียนแล้วไม่สาธยายเสกเป่า คือไม่ปฏิบัติตามความรู้ความเข้าใจนั้น พวกไพรีทั้งสี่ย่อมยิ้มกริ่ม มนต์นั้นย่อมไม่สำเร็จประโยชน์อันยิ่งใหญ่ไพศาลแก่ตน ตรงกันข้าม ถ้าปฏิบัติเขาย่อมเกรงขาม ฉะนั้น ท่านจึงแสดงมนต์ประเภทนี้ไว้ว่ามีทั้งคุณและโทษดังนี้ อลคทฺทูปมาปริยตฺติ พระปริยัติเปรียบด้วยอสรพิษ คือ ผู้ศึกษาเล่าเรียนทรงจำไว้ไม่ดี ไม่ตรึกตรองให้ถ่องแท้ จะเข้าใจผิดๆ ถูกๆ แล้วนำไปใช้ย่อมให้โทษแก่ผู้นั้น นิสฺสรณตฺถปริยตฺติ พระปริยัติที่บุคคลท่องบ่นจดจำเล่าเรียนทรงไว้เข้าใจแจ่มแจ้งแล้ว โดยมีความประสงค์จะทำตนให้พ้นจากโอฆะโดยการเรียนนั้น ภณฺฑาคาริกปริยตฺติ ได้แก่การศึกษาเล่าเรียนของพระอริยเจ้าผู้ท่านสิ้นกิเลสแล้วดังนี้ เป็นพุทธมนต์ที่หนึ่ง

    พุทธมนต์ที่สองนั้น ได้แก่ สมถวิปัสสนากรรมฐาน อธิบายว่า ผู้ซึ่งได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมอย่างนั้นมาแล้วก็ดี หรือเรียนแต่น้อยๆ เฉพาะอุบายของกรรมฐานนั้นก็ดี แล้วตั้งหน้าตั้งตาเจริญพระกรรมฐานนั้นเรื่อยไป วิชาประเภทหลังนี้นายโจรทั้งสี่มีความกลัวมาก

    พุทธมนต์ทั้ง ๒ ประเภทนี้เป็นวิชาป้องกันตัวในเมื่อเข้าสู้ยุทธไพรี ๔ นายนั้น สาธุชนทั้งหลายไม่ควรประมาท ควรพากันเรียนไว้ให้ช่ำชองอาจหาญ จะพาข้ามด่านไปได้ก็เพราะวิชานี้

    ต่อไปนี้จะแสดงวิชาประเภทที่ ๒ ซึ่งเรียกว่าสมถวิปัสสนานั้นต่อไป วิชาประเภทนี้เป็นวิชาที่เรียนแล้วลงมือกระทำกันจริงๆ เหตุการเรียนมากและเรียนน้อยไม่สู้จะสำคัญนัก ส่วนสำคัญอยู่ที่กำลัง ๕ ประการ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เท่านั้น มีกำลังทั้ง ๕ นี้เป็นทุนอุดหนุนแล้ว แม้จะเรียนบทกรรมฐานเพียงสักว่า “ความตายของเราเที่ยง” เท่านี้ก็สามารถจะต่อสู้ชิงชัยได้ สมกับพระสูตรท่านแสดงไว้ว่า “ปุถุชนผู้เรียนมากแลเรียนน้อย เมื่อปฏิบัติแล้วย่อมเข้าใจถึงธรรมได้เหมือนกัน” ดังนี้ อธิบายว่า ธรรมทั้งหลายย่อมเกิดที่ใจมิได้มีในที่อื่น พระปริยัติธรรมทั้งหลายถึงจะมากมายสักเท่าไร ก็บัญญัติตามลักษณะและกิริยาที่แสดงออกมาจากใจทั้งนั้น ผู้รู้จักลักษณะอาการของใจหยาบก็บัญญัติได้น้อย ผู้รู้ละเอียดก็บัญญัติได้มาก เหตุนั้นท่านจึงแสดงวิมุตติของพระขีณาสพไว้ถึง ๔ ชั้นคือ พระสุกขวิปัสสก พระเตวิชชะ พระฉฬภิญญะ พระจตุปฏิสัมภิทัปปัตตะ ดังนี้ พวกท่านทั้งหลายย่อมเข้าถึงวิมุตติหลุดพ้นกิเลส เข้าถึงพระนิพพาน ก็รู้รสชาติที่เป็นแก่นสารด้วยใจของตนเองทั้งนั้น พระอรหันต์ ๔ เหล่านั้น มิได้วิวาทเป็นปฏิปักษ์ข้าศึกแก่กันและกันเลย ไม่เหมือนปุถุชนพวกเราทั้งหลาย ผู้ตาบอดคลำช้างต่างก็พากันเข้าใจว่าของตนถูก ผลที่สุด พวกตาบอดเหล่านั้นเกิดทะเลาะทุบต่อยกันขึ้นเพราะช้างตัวเดียวเป็นเหตุ

    พระโลกเชษฐ์พระองค์ได้ทรงแสดงธรรม เครื่องตัดสินพระธรรมวินัยในพระศาสนานี้ไว้แล้วถึง ๘ ประการว่า ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อราคะ ธรรมเหล่านั้นมิใช่ธรรม มิใช่วินัย คำสอนของพระองค์ ดังนี้เป็นต้น เมื่อพระธรรมยังไม่มีใครบัญญัติ พระสัพพัญญูผู้วิเศษปฏิบัติถูกต้องแล้ว รู้แจ้งด้วยพระองค์เองแล้ว บัญญัติเหล่านั้นสอนพระสาวกทั้งหลาย เมื่อพระสาวกองค์ใดปฏิบัติถูกต้องเข้า ธรรมเหล่านั้นย่อมมาปรากฏชัดในใจของท่าน ความรู้ความฉลาดความหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เกิดมีขึ้นเฉพาะในใจของท่าน ด้วยการใช้อุบายของพระองค์ ความหลุดพ้นเพราะเห็นสภาวธรรมตามเป็นจริง จึงทอดทิ้งกิเลสทั้งหลาย มีขันธูปธิ เป็นต้น ไม่ต้องเชื่อคนอื่นอีกแล้ว ฉะนั้น ผู้ยังไม่ถึงวิมุตติจะบัญญัติธรรมใดๆ ก็ยังเป็นสมมติอยู่นั่นเอง ตกลงว่าสมมติทับสมมติเรื่อยไป ส่วนท่านที่ถึงวิมุตติแล้ว แม้จะบัญญัติธรรมเหล่าใดๆ บัญญัตินั้นก็ถูกต้องตามบัญญัติจริงๆ เพราะความในใจของท่านยังเป็นวิมุตติอยู่ตามเดิม

    สมถ-วิปัสสนานี้ เป็นวิถีทางตรงที่จะให้ถึงซึ่งวิมุตติ แล้วเกิดปฏิเวธ บัญญัติสภาวะสิ่งนั้นๆ ให้เป็นไปตามความจริงถูกต้องได้ สมถะเป็นปฏิปักษ์แก่กามภพ ตัดหนทางอันคดเคี้ยวให้ตรง ด้วยองค์ฌานแลสมาธินั้นๆ วิปัสสนาปัญญา รอบรู้เห็นอยู่เฉพาะซึ่งของจริงทั้งหลาย เป็นต้นว่าเห็นทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เป็นจริงอยู่อย่างนั้น ไม่แปรผันยักย้ายเป็นอื่นไปเลย จิตวางเฉย รู้เท่าทันต่อสิ่งเหล่านั้นแล้ว ไม่ถือมั่นด้วยอัตตานุทิฏฐิ ตัดกระแสของภพทั้งสามให้ขาดไปด้วยวิปัสสนาอยู่ในที่เดียว

    อุบายของสมถะนี้ท่านแสดงไว้มีมากมายหลายอย่าง จะต่างกันก็แต่อุบายเบื้องต้นเท่านั้น เมื่อเข้าถึงองค์ของสมถะแล้วก็อันเดียวกัน คือเอกัคคตารมณ์ ฉะนั้น ในคัมภีร์พระวิสุทธิมรรค พระพุทธโฆษาจารย์เจ้าท่านจึงแสดงสมถะ ฌาน สมาธิ เป็นอันเดียวกัน เพราะธรรมทั้งสามนี้ มีพระกรรมฐาน ๔๐ เป็นอารมณ์เหมือนกันทั้งนั้น ต่างแต่ผลัดกันเป็นเหตุเป็นผลแห่งกันและกันเท่านั้น (ดังจักอธิบายต่อไปข้างหน้าเรื่องรูปฌาน ๔ และสมาธิ)

    จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ

    จิตที่อบรมดีแล้วนำความสุขมาให้
    (ต่อ ๑)

     
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,601
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    พระกรรมฐานทั้งหลาย ๔๐ มีกสิณ ๑๐ เป็นต้น มีอาหาเรปฏิกูลสัญญาเป็นปริโยสาน เมื่อน้อมเข้ามาให้มีอยู่เฉพาะที่กาย วาจา ใจ ของตนแล้ว จะเห็นได้ชัดเจนว่าตัวของเราทั้งก้อนนี้เป็นที่ประชุมที่ตั้งของพระกรรมฐาน หรือเป็นแหล่งของสมถะ ฌาน สมาธิ ตลอดถึงปัญญาและวิมุตติด้วย เพราะเหตุที่เราไม่เข้าไปเพ่งพิจารณาที่กายนี้ ตามวิถีที่พระพุทธองค์เจ้าทรงสอนไว้ จึงไม่เห็นธรรมวิเศษของดีทั้งหลาย มีสมถะเป็นต้นฯ ฉะนั้น ในที่นี้จะได้ยกเอาพระกรรมฐาน อันเป็นแหล่งของสมถะ ฌาน สมาธิ คือ กายนี้อย่างเดียวมาแสดงพอเป็นสังเขป เมื่อเจริญกรรมฐานอันนี้ได้แล้ว กรรมฐานอื่นนอกจากนี้ก็ไม่ต้องลำบาก

    กายคตานี้ท่านแสดงไว้มีหลายนัย เช่น แสดงเป็นธาตุ ๔ อสุภ ๑๐ เป็นต้น ในที่นี้จะรวมย่อเข้าแสดงเป็นอันเดียว ให้ชื่อว่า อสุภกายคตา แล้วจะจำแนกออกไปพอเป็นสังเขปบ้างเล็กน้อยดังนี้


    กายคตา พิจารณากายให้เห็นเป็นธาตุ เมื่อผู้จะพิจารณากายนี้ให้เห็นเป็นธาตุ ๔ แล้ว พึงน้อมเอาจิตที่สงบพอเป็นบาทฐานซึ่งได้อบรมไว้แล้วด้วยการบริกรรมพุทโธๆ ดังนี้เป็นต้นนั้น เข้าไปเพ่งพิจารณาเฉพาะอาการของกายทั้งหลาย ที่เรียกว่า ทวตฺตึสาการ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น แล้วอย่าให้จิตนั้นส่งไปในที่อื่น น้อมเอาจิตนั้นเพ่งเฉพาะสิ่งเดียว เช่นจะเพ่งผม ก็ให้เพ่งเอาแต่เฉพาะผมอย่างเดียวเสียก่อนว่า ผมๆๆ เท่านั้นเรื่อยไป พร้อมกับคำนึงและทำความเชื่อมั่นว่านั่นเป็นธาตุดินจริงๆ ดังนี้ ถ้าจะเพ่งอาการอื่นต่อไปมีขนเป็นต้น ก็ให้เพ่งมีอาการและลักษณะเช่นนั้นเหมือนกัน อาการเพ่งอย่างนี้ ถ้าชัดส่วนใดส่วนหนึ่งแล้ว ส่วนอื่นๆ ก็จะชัดไปตามกัน แต่เมื่อจะเพ่งส่วนใด ขอให้ชัดในส่วนนั้นเสียก่อน อย่าพึงรีบร้อนไปเพ่งส่วนนั้นบ้าง ส่วนนี้บ้าง อาการโน้นบ้าง อาการนี้บ้าง พระกรรมฐานจะไม่ชัด อาการเพ่งอย่างนี้เรียกว่าเพ่งส่งตามอาการ บางคนมักจะให้เกิดความเจ็บปวดขึ้นตรงที่เพ่งนั้นๆ เพราะจิตยังไม่สงบหรือกำหนดอุบายยังไม่ถูก บางทีถูก เช่นอย่างว่าเพ่งผมแล้วอย่าสำคัญว่าผมมีอยู่ที่ศีรษะของเราดังนี้ก็แล้วกัน มันจะมีมาในที่ใดมากแลน้อย ประการใดก็ดี ให้เพ่งแต่ว่าผมเท่านั้นก็พอแล้วฯ


    ถ้าดังอธิบายมานี้ยังไม่ชัด พึงน้อมเอาอาการทั้งหลายมีผมเป็นต้น ให้เข้ามาตั้งเฉพาะผู้มีความรู้สึก “คือใจ” แล้วเพ่งโดยดังนัยก่อนนั้น เมื่อยังไม่ชัด พึงนึกน้อมเอาธาตุดินภายในกายนี้มีผมเป็นต้น ว่าต้องเป็นดินแน่ แล้วน้อมออกไปเทียบกับธาตุดินภายนอก ว่าต้องเป็นอย่างนั้นเหมือนกันดังนี้ก็ได้ หรือน้อมเอาธาตุดินภายนอกเข้ามาเทียบกับธาตุดินภายในกายของเรานี้ว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นแน่ ดังนี้ก็ได้ เมื่อเห็นชัดโดยอาการอย่างนั้น เรียกว่าเห็นโดยอนุมาน พอเป็นมุขบาทของฌานสมาธิได้บ้าง


    ถ้าหากความเห็นอันนั้นแก่กล้า จะสามารถตัดความกังขาลังเลสงสัยเสียได้จริงๆ ว่าสิ่งนั้นต้องเป็นอย่างนั้นทีเดียว จะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้แน่นอน จนจิตนั้นถอนออกจากความถือมั่นสำคัญเดิม ด้วยอำนาจของความหลง จิตตกลงเชื่อแน่วแน่แจ่มใสมีสติรู้อยู่ทุกระยะที่รู้ที่เห็นที่พิจารณาทุกอาการทุกส่วน เรียกว่าเห็นด้วยอำนาจของ สมาธิ มีสมาธิเป็นภูมิฐาน


    เมื่อความรู้ความเห็นอันนั้นมีกำลังเพียงพอ ปัญญาเข้าไปตรวจดูว่าของเหล่านี้มีอยู่ภายในเช่นไร ภายนอกทั้งหมดก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน ของที่หยาบและละเอียดย่อมมีสภาวะเป็นเหมือนกันทั้งนั้น ในโลกนี้มีธาตุ ๔ ทั้งหมดล้วนแต่เกิดจากธาตุ ๔ ตายแล้วเกิด ตายแล้วเกิด กี่ร้อยกี่พันชาติ ก็มีสภาวะเป็นอย่างเดียวกันทั้งนั้น เห็นอย่างนี้เรียกว่าเห็นด้วย วิปัสสนาปัญญา


    เมื่อเพ่งพิจารณาโดยอาการทั้งสาม ดังที่อธิบายมาแล้วนี้ เมื่อถึงกาลสมัยซึ่งมันจะเป็นไปเอง โดยที่ไม่ได้ตั้งใจอยากจะให้มันเป็น หรือตกแต่งเอาด้วยประการใดๆ จิตที่เพ่งพิจารณาอยู่นั้นจะรวมลงมีอาการให้วุ่นวายคล้ายกับเผลอสติหรือบางทีก็เผลอเอาจริงๆ ดังนี้เรียกว่าจิตเข้าสู ภวังค์ คือเป็นภพใหญ่ของจิตที่ยังไม่ปราศจากอุปธิ รวมเอาขันธ์ทั้งห้า ซึ่งเป็นส่วนภายนอกเข้าไว้ในที่เดียวกัน ในขณะเดียวกันนั้น บางทีจะปรากฏภาพที่เราเพ่งพิจารณามาแล้วแต่เบื้องต้น เช่น เพ่งผมให้เป็นดินนั้นแปรเป็นสภาพที่ละเอียดชัดขึ้นกว่าแต่ก่อน เพราะได้เห็นด้วยขันธ์ในอันบริสุทธิ์ มิได้เห็นด้วยขันธ์อันหยาบๆ ภายนอกนี้ บางทีเมื่อภาพชนิดนั้นไม่ปรากฏ จะมีปีติปรากฏขึ้นในขณะนั้นให้เป็นเครื่องอัศจรรย์ เช่นทำให้กายหวั่นไหวหรือโยกคลอน สะอื้นน้ำตาร่วง กายเบา เหล่านี้ หรืออาจจะให้เห็นอะไรต่ออะไรมากอย่างนานัปการ ทำผู้ทำกรรมฐานให้ชอบใจมาก ถ้าผู้เจริญวิปัสสนาแล้วเกิดอาการเหล่านี้ จัดเป็นอุปกิเลสของวิปัสสนา ถ้าท่านผู้หาอุปธิมิได้ในขันธสันดานของท่านแล้ว อาการเหล่านี้เป็นวิหารธรรม เพื่อวิหารสุขในทิฏฐธรรมของท่าน ถ้าผู้เจริญสมถะอยู่ ความรู้ความเห็นอย่างนั้นเรียกว่ารู้เห็นด้วยอำนาจภวังค์ ความรู้ความเห็นสามตอนปลายนี้ เรียกว่า ปัจจักขาสิทธิ


    การเพ่งพิจารณากายนี้ มีนัยวิจิตรพิสดารมาก แต่เมื่อสรุปใจความลงแล้ว ผู้มายึดเอากายนี้เพ่งเป็นต้นทางแล้ว ปลายทางก็มีอาการเป็น ๒ คือ เห็นชัดด้วยอนุมาน ๑ เห็นชัดด้วยปัจจักขาสิทธิ ๑ ปัจจักขาสิทธิยังแจกออกไปอีกเป็น ๓ คือ เห็นชัดด้วยสมาธิ ๑ เห็นชัดด้วยฌาน ๑ เห็นชัดด้วยวิปัสสนาปัญญา ๑ ฉะนั้น ความรู้ความเห็นซึ่งเกิดจากการเพ่งพิจารณากายมีแยบคายออกเป็นทาง ๓ เส้น ดังอธิบายมาแล้วนี้ จะไม่นำมาอธิบายอีก จะแสดงแต่ต้นทาง มีพิจารณากายให้เป็นอสุภเป็นต้น ผู้พิจารณากายพึงรู้เอาโดยนัยดังอธิบายมาแล้วนั้นเถิด


    กายคตา การพิจารณากายให้เป็นอสุภ พึงเพ่งพิจารณากายก้อนนี้ อันเป็นที่ตั้งของอัตตานุทิฏฐิให้เกิดอุปธิกิเลส เป็นเหตุให้เราหลงถือว่าเป็นสุภของสวยงาม ให้เป็นอสุภ แล้วจะได้ละวิปลาส หลงถือของไม่สะอาดสวยงาม แล้วรู้ตามเป็นจริง


    กายนี้เป็นของอสุภมาแต่กำเนิด เมื่อจะเกิดมาเป็นกายก็เอาอสุภคือสัมภวธาตุ (เลือดขาว) ของมารดาบิดามาประสมกันเข้าแล้วจึงเกิดเป็นกายได้ เมื่อเจริญเติบโตขึ้นมา ซึ่งนอนอยู่ในครรภ์ของมารดานั้น ก็นอนอยู่ในอสุภ เกลือกกลั้วด้วยน้ำเลือดน้ำเน่าของมารดา อาศัยน้ำเลือดน้ำเน่าเหล่านั้นเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงจึงเจริญมา เปรียบเหมือนตัวหนอนซึ่งเกิดอยู่ในหลุมคูถ บ่อนกินคูถเป็นอาหารจึงเติบโตขึ้นมาได้ฉะนั้น ตัวหนอนบ่อนกินคูถเป็นอาหารด้วยมุขทวาร ยังดีกว่าทารกที่รับอาหารด้วยสายรกสืบจากมารดาเข้าไปหล่อเลี้ยงชีวิตโดยอาการซึมซาบเข้าไปทางสายสะดือนั้นเสียอีก


    เมื่อคลอดออกมาก็เป็นของน่าอุจาดเหลือที่จะทน เปรอะเปื้อนด้วยน้ำเน่าแลน้ำหนอง เหม็นสาบเหม็นโขงยิ่งร้ายกว่าผีเน่าที่นอนอยู่ในโลง คนทั้งหลายนอกจากมารดาบิดาแลญาติที่ใกล้ชิดแล้ว ไม่อาจมองดูได้ เมื่อเจริญเติบโตขึ้นมาทุกระยะวัยนั้นเล่า ก็อาศัยของเน่าปฏิกูลเป็นเครื่องบำรุงมาตลอดกาล เช่นอาหารที่รับประทานเข้าไปเป็นต้น จะเป็นของดีวิเศษปรุงสำเร็จมาแล้วด้วยของดีอันมีค่า เมื่อเข้ามาถึงมุขทวารแล้ว อาหารเหล่านั้นก็เป็นของปฏิกูลคลุกเคล้าไปด้วยเขฬะน้ำลายอันเป็นของน่าเกลียดหน่ายทั้งตนแลคนอื่นด้วย เมื่อกลืนล่วงลำคอลงไปอยู่ในกระเพาะอาหารแล้ว เปื่อยเน่าเท่ากับหลุมคูถที่หมักหมมมานานตั้งหลายปี ของปฏิกูลซึ่งมีอยู่ภายในทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมซึมซาบไหลออกมาภายนอก เกรอะกรังอยู่ตามผิวหนังแลช่องทวารต่างๆ แมลงหวี่แมลงวันพวกหลงของเน่าสำคัญว่าเป็นของดี พากันยื้อแย่งไต่ตอมกิน ในกายนี้ทั้งหมดจะหาของดีสักชิ้นหนึ่งก็ไม่ได้ เว้นไว้แต่บุคคลผู้ยังหลงสำคัญว่าเป็นของดีสะอาด จึงสามารถหลงรักและชมชอบว่าเป็นของดีสะอาด ทั้งๆ ที่เขายังหลงอยู่นั้นเอง จึงได้หาเครื่องทาหาของย้อมมาประพรมเพื่อกลบกลิ่นอันไม่พึงใจ แต่เขาเหล่านั้นหารู้ไม่ว่า การทำเช่นนั้นเพื่อกลบกลิ่นกลับเข้าไปตรงกันข้ามไปเสียว่าเพื่อความหรูหราและเพลิดเพลินเจริญใจแก่ตนและบุคคลผู้ที่ได้เห็นได้ดู ข้อนี้อุปมาเหมือนกับหีบศพที่กลบให้มิดปิดให้ดี ระบายสีให้สะอาดวาดลวดลายด้วยน้ำทอง คนทั้งหลายมองดูแล้วชมว่าสวย ที่ไหนได้ ภายในเป็นซากอสุภ


    พิจารณากายนี้ให้เป็นอสุภดังแสดงมาแล้วนี้ก็ได้ หรือจะพิจารณาโดยอนุพยัญชนะคือ ทวตฺตึสาการ อาการ ๓๒ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น ให้เป็นอสุภแต่ละอย่างๆ ดังแสดงมาแล้วข้างต้นก็ได้ เมื่อผู้มาพิจารณาโดยนัยนี้ให้เห็นเป็นอสุภดังแสดงมานี้แล้ว ย่อมละเสียซึ่งความเมาในรูปนี้ได้


    กายคตา พิจารณาให้เห็นเป็นทุกข์ ให้พิจารณาจำเดิมแต่ตั้งปฏิสนธิอยู่ในครรภ์ของมารดา นั่งขดคู้อยู่ด้วยอิริยาบถเดียว สิ้นทศมาสสิบเดือน อาศัยผลกรรมตามสนองจึงประคองชีวิตมาได้โดยความลำบาก แม้แต่อาหารที่จะเลี้ยงชีพเป็นต้นว่าข้าวแลน้ำก็มิได้นำเข้าทางมุขทวาร อาศัยรสชาติอาหารของมารดาที่ซึมซาบออกไปจากกระเพาะแล้วนั้น ค่อยซึมซาบไปหล่อเลี้ยงโดยสายรกที่ติดต่อจากมารดาเข้าไปโดยทางสายสะดือ ลมหายใจเล่าก็ต้องอาศัยลมหายใจของมารดาที่กลั่นกรองแล้วออกจากปอด เข้าไปสูบฉีดทีละนิดทีละหน่อยพอให้มีชีวิตเป็นไป ความอึดอัดเพราะการคับแคบก็เหลือที่จะทนทาน อาหารที่มารดารับเข้าไปถ้าเป็นของร้อนและเผ็ดแสบ ทารกที่อยู่ในครรภ์ก็ร้อนและเผ็ดแสบไปด้วย ความทุกข์ในเมื่ออยู่ในครรภ์เหลือที่จะทนทาน แต่เป็นการจำเป็น บุญกรรมตามสนองไว้จึงไม่ถึงกับตาย แต่เมื่อทุกข์ถึงขนาดเพราะได้รับการกระทบกระทั้ง บางกรณีก็ถึงซึ่งชีวีไปได้อยู่ในครรภ์นั่นเอง เมื่อคลอดจากครรภ์ของมารดานั้น ความทุกข์ก็แสนสุดขนาดเหลือที่จะประมาณ ท่านเปรียบไว้ว่า เหมือนกับช้างสารที่หนีนายพรานออกไปในช่องหินที่คับแคบในระหว่างภูเขาทั้งสอง ฉะนั้น


    ความทุกข์เมื่ออยู่ในครรภ์ จะว่าเป็นนรกใหญ่ของมนุษย์ในชาตินี้ก็ว่าได้ คราวเมื่อคลอดออกมา เท่ากับว่านายนิรยบาลทำทัณฑกรรมก็ว่าได้ นับแต่วันคลอดแล้วมา อาการของทุกข์ในกายนี้ย่อมขยายตัวออกมาให้ปรากฏทุกระยะ จำเดิมแต่ทุกข์เพราะหิวกระหาย ทุกข์เพราะกายนี้คอยรับเอาซึ่งสัมผัส เกิดจากเย็นร้อนอุตุฤดูต่างๆ หรือเกิดแผลพุพองเปื่อยเน่า แมลงต่างๆ ต่อยกัด สัตว์เล็กสัตว์โตรบกวนราวี ถูกโบยตีทารุณทัณฑกรรมต่างๆ หลายอย่างเหลือที่จะคณนานับ ทุกข์สำคัญคือทุกข์ที่มีประจำในตัวไม่รู้จักจบสิ้น ทุกข์เหล่านั้นเรียกว่า โรค ๖๔ ประการ มีโรคเกิดประจำ ตา หู จมูก เป็นต้น


    ปกิณณกทุกข์ นั้นมีทุกข์เกิดจากความโศกเศร้า เสียใจอาลัยโทมนัสขัดแค้นเป็นต้น ทุกข์เหล่านี้จะเรียกว่าทุกข์ที่เป็นบริวารของนรกก็ว่าได้


    ปริเยสิกทุกข์ ทุกข์เพราะการแสวงหาเลี้ยงชีพ เป็นต้นว่า การกสิกรรม อดทนต่อแดดและฝน โสมมด้วยของสกปรกตลอดวัน พอตกกลางคืนพักผ่อนรับประทานเสร็จแล้วค่อยสบายนอนหลับสนิท บางทีกลางคืนทำงานตลอดรุ่ง กลางวันพักผ่อนนอนสบายใจ หรือบางทีทำงานอาชีพตลอดวันยังค่ำคืนยังรุ่ง หาเวลาว่างมิได้ดังนี้ก็ดี หรืออาชีพด้วยการค้าขาย มีการหลอกลวงหรือฉ้อโกงกัน เกิดทะเลาะวิวาททุบต่อยจนถึงฆ่ากันตาย ด้วยการอาฆาตบาดหมางเพราะอาชีพนั้นดังนี้ก็ดี ถ้าจะเปรียบแล้วทุกข์ทั้งหลายเหล่านี้ก็เหมือนกับว่าทุกข์ของเปรต ที่เป็นเศษจากผลกรรมที่ตกนรกเล็กน้อยแล้วนั้น มารับผลของกรรมที่เป็นบุญ ได้รับความสุขในเวลากลางคืน ในเวลากลางวันไปเสวยผลของกรรมที่เป็นบาปได้รับทุกข์ บางทีในเวลากลางคืนได้รับผลของกรรมที่เป็นบาป เป็นทุกข์ในเวลากลางคืน กลางวันได้รับผลของบุญที่เป็นสุข


    กายอันนี้เกิดมาทีแรกก็เป็นทุกข์ ความเป็นอยู่ในปัจจุบันก็เป็นทุกข์ คราวที่สุดจวนจะตายก็เป็นทุกข์ หาความสุขสบายของกายอันนี้แม้แต่น้อยหนึ่งย่อมไม่มีเลย เว้นไว้แต่ผู้ยังหลงมัวเมาเข้าใจว่าทุกข์เป็นสุขเท่านั้น เหตุนี้พระพุทธองค์จึงได้ทรงตรัสไว้ว่า “ในโลกนี้นอกจากทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นย่อมดับไป ย่อมไม่มีอะไร” ดังนี้ ฉะนั้น ผู้มาพิจารณากายนี้ให้เห็นเป็นทุกข์ดังอธิบายมานี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในกายนี้ แล้วพยายามหาวิถีทางที่จะหนีให้พ้นจากทุกข์


    กายคตา พิจารณาให้เห็นเป็นอนิจจัง จำเดิมแต่กายนี้ปฏิสนธิ อาการของกายนี้ทุกส่วนยังไม่ปรากฏ เป็นของเล็กน้อยละเอียดที่สุด จิตเข้ามายึดถือเอาปฏิสนธิจากสัมภวธาตุของมารดาบิดาอันผสมกัน แล้วกลั่นกรองให้เป็นของละเอียด จนเป็นน้ำมันใสมีประมาณเล็กน้อยที่สุด น้ำมันแต่ละหยดนั้นแหละจะค่อยแปรมาโดยลำดับ คือ จะแปรมาเป็นน้ำมันข้น แล้วแปรมาเป็นน้ำล้างเลือด แล้วแปรมาเป็นน้ำเลือด แล้วแปรมาเป็นก้อนเลือด แล้วแปรมาเป็นก้อนเนื้อ


    ดังในกายวิรติคาถา ข้อ ๒,๓,๔ ฉบับสิงหล พ.ศ. ๒๔๒๔ ท่านกำหนดเด็กอยู่ในครรภ์ ๙ เดือนไว้ดังนี้ ๑๕ วันทีแรกเกิดเป็นกระดูกอ่อนแลวิถีประสาท ร่างกายโต ๑/๘ ของนิ้ว ย่างเข้า ๒๑ วัน ร่างกายนี้กลมงอเหมือนตัวหนอนหรืออักษร S เกิดช่องทรวงอก ช่องท้อง ปุ่มที่จะเป็นมือและเท้างอกออกมาบ้างนิดหน่อย ร่างกายโตเท่าฟองไข่นกพิราบ หนัก ๑ กรัม ยาว ๑ นิ้ว ข้างโตเป็นศีรษะ ข้างเล็กเป็นเท้า ลำไส้เกิดในตอนนี้ ลายเป็นจุดๆ ที่ตัวคือสันหลัง จุดดำคือลูกตา มีหลอดเล็กๆ เท่าขนไก่ไหวอยู่ริกๆ หลังจุดนี้คือหัวใจ เดือนที่ ๒ เกิดเยื่อบางๆ หุ้มจุดดำๆ รอบสายสะดือ ตอนนี้ร่างกายของเด็กโตเท่าฟองไข่ไก่ หนัก ๕ กรัม ยาว ๔ นิ้ว ปาก จมูก หู ตา มือ เท้า งอกขึ้นเป็นจุด มือและเท้ายังไม่แตกแยก ติดกันเป็นพืด เหมือนเท้าเป็น เดือนที่ ๓ โตเท่าฟองไข่ห่านหนัก ๕-๖ ออนซ์ เท้าและมือแยกออกเป็นนิ้วๆ สายสะดือและตัวของเด็กยาว ๖ นิ้วเท่ากัน เดือนที่ ๔ อวัยวะในกายของเด็กนั้นเกือบจะบริบูรณ์หมด ดวงตายังไม่ลืม เล็บทั้งหลายงอกแต่เพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น ถ้าตั้งใจฟังที่ครรภ์ของมารพา ในตอนนี้จะได้ยินเสียงหัวใจของเด็กเต้น ระยะนี้เด็กดิ้นได้แล้ว สายสะดือยาว ๗ นิ้ว เด็กหนัก ๑ ปอนด์ เดือนที่ ๕ อาการต่างๆ ของเด็กครบบริบูรณ์ ผมมีสีเข้ม ตาลืมได้แล้ว เด็กหนัก ๑ ปอนด์ สายสะดือยาว ๑๐ นิ้ว ตอนนี้ฟังเสียงหัวใจของเด็กเต้นได้ยินถนัด เดือนที่ ๖ สายสะดือและตัวของเด็กยาว ๑๒ นิ้ว เด็กหนัก ๒ ปอนด์ บางทีอาจคลอดเดือนนี้ก็ได้แต่ไม่ค่อยรอด เดือนที่ ๗ ตัวของเด็กเพิ่มขึ้นถึง ๔ ปอนด์ สายสะดือแลตัวของเด็กยาว ๑๔ นิ้วเท่ากัน แต่เล็บยังไม่งอกเต็ม ถ้าคลอดในเดือนนี้พอมีหวังเลี้ยงได้บ้าง เดือนที่ ๘ อวัยวะครบทุกส่วน ตัวเด็กและสายสะดือของเด็กยาว ๑๖ นิ้วเท่ากัน เด็กหนัก ๖ ปอนด์ เดือนที่ ๙ เป็นเดือนที่ครบกำหนดคลอด มีอวัยวะครบบริบูรณ์ ตัวเด็กแลสายสะดือยาว ๑๗ นิ้ว หนัก ๗ ปอนด์ ถ้าเป็นหญิงมักเบากว่าชาย หัวใจของหญิงเต้นเร็วกว่าชาย (หญิงบางคนตั้งครรภ์ถึงสิบเดือนจึงคลอด แต่โดยมาก ๙ เดือนกับ ๑๔-๑๕-๑๖ วันเป็นพื้น)


    อาการ อนิจจัง แปรปรวนของกาย เมื่ออยู่ในครรภ์ย่อมเป็นมาอย่างนี้ เมื่อคลอดออกมาแล้วย่อมแปรไปโดยลำดับ คือเป็นเด็กแล้วเป็นหนุ่มเป็นสาว แล้วแก่เฒ่าชรา ที่สุดกายนี้ก็แตกสลายไป อาศัยไม่ได้แล้ว ทอดทิ้งเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ ไปตามเดิม ผู้มาพิจารณากายนี้เห็นเป็นอนิจจัง ดังแสดงมานี้แล้ว จะเห็นร่างกายนี้ไม่มีแก่นสารเลย แล้วจะได้แสวงหาธรรมะที่เป็นสาระ สมกับพระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ชนทั้งหลายเหล่าใดรู้สิ่งที่เป็นสาระโดยเป็นสาระด้วย สิ่งที่หาใช่สาระโดยหาใช่สาระด้วย ชนเหล่านั้นย่อมถึงสารธรรม ดังนี้


    กายคตา พิจารณาให้เห็นเป็นอนัตตา กายนี้เป็นทุกข์เป็นอนิจจัง แปรปรวนมาโดยลำดับยักย้ายมาทุกระยะ หาได้เว้นไม่แม้แต่วินาทีเดียว ใครจะรักใคร่จะชอบหรือเกลียดโกรธเขาโดยประการใดๆ ก็ดี หรือจะปรนปรือปฏิบัติ ถนอมเลี้ยงเขาโดยทุกสิ่งทุกประการ กายนี้ก็มิได้มีใจสงสารเอ็นดูกรุณาแก่เราเลยสักนิดสักหน่อย จะระทมทุกข์ร้อนอาลัยไม่อยากให้เขาเป็นไปเช่นนั้น เขาย่อมไม่ฟังเสียงทั้งนั้น กายเขามีหน้าที่จะรับทุกข์เขาก็รับไป เขามีหน้าที่จะแปรปรวนเป็นอนิจจัง เขาก็เป็นไปตามสภาพของเขา ฉะนั้น พระรัฐปาลเถรเจ้า จึงแสดงความข้อนี้แก่พระเจ้าโกรัพยราชว่า “โลกนี้ (คือขันธโลก) ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ใครจะป้องกันไม่ได้ทั้งนั้น ไม่มีใครเป็นใหญ่ โลกนี้ฟูอยู่ (ด้วยความไม่พอไม่อิ่มเป็นนิตย์) เป็นทาสของตัณหา ตายแล้วละทิ้งหมด ไปคนเดียว” ดังนี้


    เมื่อผู้มาพิจารณากายนี้ให้เห็นเป็นอนัตตา ดังแสดงมานี้แล้ว ก็จะละเสียได้ซึ่ง อตฺตานุทิฏฐิ และ อสฺมิมาน ที่เห็นว่าเป็นตนเป็นตัวเอาจริงๆ แล้วหลงเข้ามายึดมั่นด้วยความสำคัญผิด


    กายคตา พิจารณาให้เห็นเป็นของตาย กายอันนี้เราได้รับแบ่งส่วนตายมาจากบิดามารดา บิดามารดาของเราได้รับแบ่งส่วนของตายมาจากปู่ย่า ตายาย ปู่ย่าตายายของเรา ได้รับแบ่งส่วนตายมาจากบรรพบุรุษแต่ก่อนๆ โน้นโดยลำดับมา ตกลงว่าทุกๆ คนที่เกิดมาแล้วนี้ ย่อมได้รับมรดกคือความตายมาจากบรรพบุรุษแต่ก่อนๆ โน้นโดยลำดับมาด้วยกันทั้งนั้น


    คนเราในโลกนี้ทั้งหมดซึ่งมองเห็นกันอยู่ในเดี๋ยวนี้ก็คือคนตายนั่นเอง จะมีใครเหลืออยู่ในโลกนี้ได้ เว้นไว้แต่ตายก่อนตายหลังเท่านั้น ถึงแม้ตัวของเราเองซึ่งมีชีวิตเป็นอยู่ได้เพราะอาหารในเดี๋ยวนี้ก็ดี ได้ชื่อว่า “กินเพื่ออยู่ อยู่เพื่อตาย” คนแลสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ ย่อมเหมือนกันทั้งหมด จะมีชื่อเสียงและยศศักดิ์ มั่งมีและทุกข์จน ทุกชั้นทุกวรรณะ โดยสมมติและนิยมว่า สมณชีพราหมณ์นักพรต ผู้ดีวิเศษมีฤทธิ์เดชตปธรรมทั้งหลายสักเท่าใดก็ดี ก็หนีจากอาการทั้ง ๒ นี้ไม่ได้ทั้งนั้น ความเกิดและความตายทั้ง ๒ นี้ย่อมเป็นเครื่องหมายส่อแสดงว่า “โลกมี” ดังนี้


    ความตายย่อมมีประจำอยู่ในกายของเรานี้ทุกลมหายใจเข้าออก ตายมาทุกระยะทุกวัย ตายโดยอายุขัย คือสิ้นลมหายใจแล้วย่อมทอดทิ้งกายนี้ให้กลิ้งอยู่เหนือแผ่นปฐพี ท่านอุปมาไว้เหมือนท่อนไม้แลท่อนฟืน ฉะนั้น สิ่งของทั้งหลายที่เราสำคัญหมายมั่นว่าเป็นของๆ เรา ความจริงเปล่าทั้งนั้น ดูแต่กายนี้เมื่อวิญญาณไปปราศแล้ว ก็ต้องทอดทิ้งไว้บนดินแล้วหนีไปแต่ตนคนเดียว ผู้มายึดมั่นสำคัญกายนี้ อันเป็นของไม่มีสาระว่าเป็นของมีสาระ ย่อมไม่ถึงธรรมที่เป็นสาระ มีแต่ความดำริผิดเป็นที่ไป ฉะนั้น พึงพิจารณากายนี้ให้เป็นของตาย สลายตามเป็นจริง ซึ่งเป็นคู่กันกับความเกิด แล้วจะได้ละเลิกถือของไม่มีสาระว่าเป็นของมีสาระเสียได้
    (ต่อ ๒)
     
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,601
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    กายคตา พิจารณาให้เห็นเป็นอริยสัจ คือให้เห็นทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค พิจารณาเอาแต่เฉพาะกายอย่างเดียวให้เห็นเป็นอริยสัจดังนี้ คือ

    พิจารณาให้เห็นเป็นทุกข์นั้น ให้พิจารณาดังอธิบายมาแล้วข้างต้น

    พิจารณาให้เป็นสมุทัยนั้น คือ กายนี้มีวิถีประสาทรับส่งอารมณ์ ซึ่งเกิดจากทวารนั้นๆ มีจักษุทวารเป็นต้น เข้าไปหาจิตซึ่งเป็นเหตุจะให้ได้รับความสุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัส เป็นอาทิ จึงเรียกว่ากายเป็นสมุทัย เมื่อประสาทนั้นๆ กระด้างหรือตาย อายตนะทั้งหลายมีจักษุประสาทเป็นต้นย่อมไม่ทำหน้าที่ของตนเรียกว่า มรรค คือเป็นเหตุจะให้ดับความรู้สึกในอารมณ์นั้นๆ เมื่อประสาทเหล่านั้นไม่ทำหน้าที่แล้ว เวทนาทั้งหลายมีจักษุเวทนาเป็นต้นย่อมไม่มีดังนี้เรียกว่านิโรธ อริยสัจจะครบพร้อมทั้งสี่ย่อมมีทั้งรูปทั้งนาม จริงอยู่ที่ว่ามานี้เป็นอริยสัจของผู้อยู่ในภวังคจิตอย่างเดียว และประสงค์จะอธิบายให้ทราบว่ากายอย่างเดียวเป็นอริยสัจครบทั้งสี่ จึงได้อธิบายดังนี้ ส่วนอริยสัจในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มีพร้อมทั้งรูปและนามอยู่แล้ว เป็นอริยสัจของพระองค์ที่ทรงตรัสรู้ชอบเอง ด้วยพระองค์เองแล้ว อันนั้นไม่มีปัญหา แต่ในที่นี้จะนำเอามาแสดงไว้พอให้เป็นสังเขป เพื่อผู้สนใจทั้งหลายจะได้นำเอามาเทียบเคียงกันกับอริยสัจที่อธิบายข้างต้นนั้น

    อริยสัจในพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนั้น พระองค์ทรงแสดงว่า ทุกข์ คือความไม่สบายกายไม่สบายใจ เป็นของทนได้ยาก เป็นของควรกำหนด สมุทัย (เป็นนามธรรมเฉพาะ) คือใจเข้าไปยึดขันธ์ นั้นเป็นของควรละ นิโรธ คือการละสมุทัย แล้วทุกข์ก็ไม่มี มรรค คือปัญญา สัมมาทิฏฐิความเห็นชอบไม่วิปริต คือเห็นว่ากายกับจิตเป็นคนละอัน ด้วยอำนาจความยึดมั่นสำคัญผิด กายและจิตจึงเป็นเราเป็นเขาเป็นตนเป็นตัวไป

    อริยสัจนี้ พระองค์ทรงแสดงไว้ว่ามีปริวัฏละ ๓ เป็นไปในสัจจะ ๔ คือ
    รอบที่ ๑ ทุกข์ เป็นของควรกำหนด เราได้กำหนดแล้ว
    รอบที่ ๒ สมุทัย เป็นของควรละ เราได้ละแล้ว
    รอบที่ ๓ นิโรธ เป็นของควรทำให้แจ้ง เราทำให้แจ้งแล้ว
    รอบที่ ๔ มรรค เป็นของควรเจริญ เราได้เจริญแล้ว


    รวมเรียกว่าอริยสัจ ๔ มีปริวัฏเวียนไปในสัจจะละ ๓ รวมเป็นอาการ ๑๒ ดังนี้ สัจจะที่แสดงมานี้ย่อมทำกิจในขณะเดียวกัน อธิบายว่าคำว่าทุกข์เป็นของควรกำหนด เมื่อกำหนดทุกข์อยู่นั้นถ้าหากมันจะถึงอริยสัจจริงๆ แล้วย่อมเข้าไปเห็นอาการของสมุทัย คือผู้ไปยึดถือทุกข์ อาการเห็นชัดอย่างนี้จัดเป็นปัญญาสัมมาทิฏฐิ การเข้าไปเห็นทุกข์กับผู้ไปยึดถือทุกข์เป็นคนละคนไปว่า ทุกข์มิใช่ผู้ยึดถือ ผู้ยึดถือมิใช่ทุกข์ แล้วทุกข์ย่อมดับไป จักได้ชื่อว่านิโรธ เรียกว่าทำกิจในขณะเดียวกันดังนี้ อริยสัจตอนนี้เป็นอริยสัจของผู้มีสมาธิและปัญญาพร้อมกันบริบูรณ์ ได้ชื่อว่าเป็นอริยสัจในองค์มรรคแท้


    กายคตา พิจารณาให้เห็นเป็นสติปัฏฐาน คือสติเข้าไปตั้งไว้เฉพาะในกาย แล้วพิจารณากายนี้ให้เห็นเป็นธาตุ ๔ หรือเป็นอสุภ เป็นต้น ดังอธิบายมาแล้วในข้อต้นนั้น จนจิตเห็นชัดเชื่อแน่วแน่ว่าต้องเป็นอย่างนั้นจริงๆ จึงถอนเสียได้ซึ่งอัตตานุทิฏฐิเห็นว่าเป็นตน เป็นตัว เป็นเรา เป็นเขา กายนี้เป็นสักแต่ว่าธาตุ ๔ เป็นต้นเท่านั้น แล้วพิจารณาธาตุ ๔ เป็นต้นนั้นให้ละเอียดลงไปอีกว่า ถ้าหากเราไม่สมมติว่าธาตุ ๔ เป็นตนแล้ว ของเหล่านั้นก็ไม่มีชื่อ เป็นแต่สักว่าสิ่งหนึ่งเท่านั้น ซึ่งปรากฏอยู่ที่เฉพาะทวารทั้งหลายมีจักษุทวารเป็นต้น ไม่ใช่ตัวตนเราเขา


    ส่วนสติปัฏฐานอันอื่นนอกจากนี้คือ เวทนา จิต ธรรม ก็ให้พิจารณาโดยนัยเดียวกัน พิจารณาอย่างนี้เรียกว่าพิจารณาให้เป็นสติปัฏฐาน


    โพธิปักขิยธรรมทั้งหลายอื่นนอกจากนี้ มีสัมมัปปธานเป็นต้น พิจารณากายนี้ให้เป็นไปในธรรมนั้นๆ ได้ทั้งนั้น การพิจารณากายนี้มีนัยกว้างขวางวิจิตรพิสดารมากเหลือที่จะนำมาแสดงให้สิ้นสุดลงได้ ฉะนั้นกายนี้จะเรียกว่า มหาฐาน เป็นที่ตั้งที่ชุมนุมของธรรมทั้งหลาย ทั้งที่เป็นฝ่ายดีแลฝ่ายชั่วก็ได้ ผู้มาพิจารณากายนี้โดยแสดงมาแล้วนั้นเป็นต้น เรียกว่าพิจารณาธรรม ผู้มารู้มาเห็นเช่นนี้เรียกว่าเห็นธรรม อย่าพึงสงสัยและเข้าใจว่าธรรมมีในที่อื่น ถ้าธรรมมีในที่อื่นนอกจากกายกับใจนี้แล้ว ธรรมอันนั้นก็มิใช่ธรรมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์วิมุตติหลุดพ้นได้ อย่าพึงสงสัยในความรู้ความเห็นแลการปฏิบัติของตนว่าไม่ใช่ บางทีได้ฟังอุบายและความรู้ความเห็นของคนโน้นเขาว่าอย่างโน้น คนนี้เขาว่าอย่างนี้ แล้วให้นึกชอบใจในอุบายของเขา เลยสงสัยในอุบายของตนเกรงว่าจะไม่ถูก แล้วทำกำลัง ๕ มีศรัทธาเป็นต้นให้เสื่อมไป ผู้มาเจริญกายคตานี้ย่อมมีอุบายแปลกๆ ต่างกัน หลายอย่างหลายประเภท แล้วแต่นิสัยวาสนาของตนจะบันดาล จะให้เสมอเหมือนกันทั้งหมดย่อมไม่ได้ ฉะนั้นจึงไม่ควรที่จะสงสัยซึ่งอุบายนั้นๆ ผลของการปฏิบัติแลนิสัยวาสนาใครๆ แต่งเอาไม่ได้ทั้งนั้น เราจะแต่งเอาได้ก็แต่ปฏิปทา วาสนาและผลนั้นย่อมบันดาลให้เอง


    เมื่อเข้าใจดังนี้แล้ว พึงเจริญให้มากกระทำให้ยิ่ง จึงจะได้รับความรู้ความเห็นอันจริง อุปมาเหมือนต้นไม้ เมื่อบำรุงราก ลำต้น กิ่ง ใบ ให้เจริญดีอยู่แล้ว เราไม่ต้องสงสัย คงจะได้รับผลอันเป็นที่พึงใจในวันหนึ่งข้างหน้า การพิจารณากายคตามีการพิจารณาให้เห็นเป็นธาตุ ๔ เป็นต้น ให้เป็นสติปัฏฐานเป็นปริโยสาน โดยนัยดังแสดงมาแล้วนี้จะเอาเป็นอารมณ์ของฌานก็ได้ เอาเป็นอารมณ์ของสมาธิก็ได้ คำว่าสมถะหมายเอาการกระทำใจให้สงบจากความวุ่นวายภายนอก มีการส่งใจไปตามอายตนะทั้งหลาย มีตาเป็นต้น แล้วใจนั้นสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เรียกว่าสมถะ สมาธิก็นับเข้าในสมถะนี้ด้วย แต่มีลักษณะอาการคุณวิเศษต่างกันอยู่บ้างดังจะอธิบายต่อไปนี้





    สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย


    ความบริสุทธิ์ ไม่บริสุทธิ์ เฉพาะตน คนอื่นจะทำให้ไม่ได้




    สมถะ สมถะเมื่อแยกออกไปแล้ว มี ๒ ประเภทคือ สมถะทำความสงบเฉยๆ ๑ สมถะที่ประกอบด้วยองค์ฌาน ๑


    สมถะทำความสงบเฉยๆ นั้น จะกำหนดพระกรรมฐานหรือไม่ก็ตาม แล้วทำจิตให้สงบอยู่เฉยๆ ไม่เข้าถึงองค์ฌาน อย่างนี้เรียกว่า ตัตรมัชฌัตตุเปกขา ย่อมมีแก่ชนทั่วไปในบางกรณี ไม่จำกัดมีได้เฉพาะผู้เจริญพระกรรมฐานเท่านั้น


    ส่วนสมถะที่ประกอบไปด้วยองค์ฌานนั้น มีได้แต่เฉพาะผู้เจริญพระกรรมฐานเท่านั้น เมื่อถึงซึ่งความสงบครบด้วยองค์ฌานแล้ว เรียกว่า ฌานุเปกขา ฌานุเปกขานี้ท่านจำแนกไว้เป็น ๒ ประเภท คือฌานุเปกขาที่ปรารภรูปเป็นอารมณ์ เอารูปเป็นนิมิต เรียกว่ารูปฌาน ๑ อรูปฌาน ปรารภนามนามเป็นอารมณ์ เอานามเป็นนิมิต ๑ แต่ละประเภทท่านจำแนกออกไว้เป็นประเภทละ ๔ รวมเรียกว่ารูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ จึงเป็นสมาบัติ ๘


    ฌานนี้มีลักษณะอาการให้เพ่งเฉพาะในอารมณ์เดียว จะเป็นรูปหรือนามก็ตาม เพื่อน้อมจิตให้สงบปราศจากกังวลแล้วเข้าถึงเอกัคคตารมณ์ มีความสุขเป็นที่นิยมแลปรารถนา เมื่อสมประสงค์แล้วก็ไม่ต้องใช้ปัญญาวิพากษ์วิจารณ์ในสังขารทั้งหลายมีกายเป็นต้น ดังแสดงมาแล้วนั้นก็ดี หรือจะพิจารณาใช้แต่พอเป็นวิถีทางเดินเข้าไปเท่านั้น เมื่อถึงองค์ฌานแล้วย่อมมีลักษณะแลรสชาติ สุข เอกัคคตา และเอกัคคตา อุเบกขา เสมอเหมือนกันหมด ฉะนั้น ฌานนี้จึงเป็นของฝึกหัดได้ง่าย จะในพุทธกาลหรือนอกพุทธกาลก็ตาม ผู้ฝึกหัดฌานนี้ย่อมมีอยู่เสมอ แต่ในพุทธศาสนา ผู้ฝึกหัดฌานได้ช่ำชองแล้ว มีวิปัสสนาปัญญาเป็นเครื่องคุ้มครองฌานอยู่ เนื่องด้วยอุบายของพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเป็นเครื่องส่องสว่างให้ จึงไม่หลงในฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้นฌานของท่านเลยเป็นวิหารธรรม เครื่องอยู่ของท่านผู้ขีณาสพ เรียกว่า โลกุตรฌาน ส่วนฌานที่ไม่มีวิปัสสนาปัญญาเป็นเครื่องคุ้มครอง เรียกว่า โลกิยฌาน เสื่อมได้ และเป็นไปเพื่อก่อภพก่อชาติอีก ต่อไปนี้จะได้แสดงฌานเป็นลำดับไป


    รูปฌาน เมื่อผู้มาเพ่งพิจารณาพระกรรมฐานบทใดบทหนึ่งอยู่ มีกายคตาเป็นต้น จนปรากฏพระกรรมฐานนั้นชัดแจ่มแจ้งกว่าอนุมานทิฏฐิ ซึ่งได้กำหนดเพ่งมาแต่เบื้องต้นนั้น ด้วยอำนาจของจิตที่เปลี่ยนจากสภาพเดิม อันระคนด้วยอารมณ์หลายอย่าง และเป็นของหยาบด้วย แล้วเข้าถึงซึ่งความผ่องใสในภายในอยู่เฉพาะอารมณ์อันเดียว เรียกง่ายๆ ว่า ขันธ์ทั้งห้าเข้าไปรวมอยู่ภายในเป็นก้อนเดียวกัน ฉะนั้น ความชัดอันนั้นจึงเป็นของแจ้งชัดกว่าความแจ้งชัดที่เห็นด้วยขันธ์ ๕ ภายนอก พร้อมกันนั้น จิตจะมีอาการวูบวาบรวมลงไป คล้ายกับจะเผลอสติแล้วลืมตัว บางทีก็เผลอสติแล้วลืมตัวเอาจริงๆ แล้วเข้าไปนิ่งเฉยอยู่คนเดียว ถ้าหากผู้สติดีหมั่นเป็นบ่อยๆ จนชำนาญแล้ว ถึงจะมีลักษณะอาการอย่างนั้นก็ตามรู้ตามเห็นอยู่ทุกระยะ ลักษณะอย่างนี้เรียกว่า ”จิตเข้าสู่ภวังค์” เป็นอย่างนั้นอยู่ขณะจิตหนึ่งเท่านั้น แล้วลักษณะอย่างนั้นหายไป ความรู้อยู่หรือจะส่งไปตามอาการต่างๆ ของอารมณ์ก็ตามเรื่อง บางทีจะแสดงภาพให้ปรากฏในที่นั้นด้วยอำนาจของสังขารขันธ์ภายใน ให้ปรากฏเห็นเป็นต่างๆ เช่น มันปรุงอยากจะให้กายนี้เป็นของเน่าเปื่อยปฏิกูล หรือสวยงามประการใดๆ ภาพก็จะปรากฏขึ้นมาในที่นั้นโดยไม่รู้ตัว ดังนี้เป็นต้น แล้วขันธ์ทั้งสี่มีเวทนาขันธ์เป็นอาทิก็เข้ารับทำหน้าที่ตามสมควรแก่ภาวะของตนๆ เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต บางทีส่งจิตนั้นไปดูสิ่งต่างๆ ที่ตนต้องการแลปรารถนาอยากจะรู้ ก็ได้เห็นตามเป็นจริง บางทีสิ่งเหล่านั้นมาปรากฏขึ้นเฉยๆ ในที่นั้นเอง พร้อมทั้งอรรถแลบาลีก็มีได้ ลักษณะอย่างนี้เรียกว่าใช้ขันธ์ภายในได้


    ยังอีก ขันธ์ภายในจะต้องหลอกลวงขันธ์ภายนอก เช่น บางคนซึ่งเป็นคนขี้ขลาดมาแล้วแต่ก่อน พอมาอบรมถึงจิตในขณะนี้เข้าแล้ว ภาพที่ตนเคยกลัวมาแล้วแต่ก่อนๆ นั้น ให้ปรากฏขึ้นในที่นั้นเอง สัญญาที่เคยจำไว้แต่ก่อนๆ ที่ว่าเป็นของน่ากลัวนั้นก็ยิ่งทำให้กลัวมากขึ้นจนขวัญหนีดีฝ่อ ด้วยสำคัญว่าเป็นของจริงจังอย่างนี้เรียกว่าสังขารภายในหลอกสังขารภายนอก เพราะธรรมเหล่านี้เป็นสังขตธรรม ด้วยอำนาจอุปาทานนั้นอาจทำผู้เห็นให้เสียสติไปได้ ผู้ฝึกหัดมาถึงขั้นนี้แล้วควรได้รับคำแนะนำจากท่านผู้รู้ผู้ชำนาญ เมื่อผ่านพ้นในตอนนี้ไปได้แล้ว จะทำหลังมือให้เป็นฝ่ามือได้ดี เรื่องเหล่านี้ผู้เจริญพระกรรมฐานทั้งหลาย มีความมุ่งหมายเป็นส่วนมาก ผู้ที่ยังไม่เคยเป็น แต่เพียงได้ฟังเท่านั้น ตอนปลายนี้ชักให้กลัวเสียแล้วไม่กล้าจะทำต่อไปอีก ความจริงเรื่องเหล่านี้ผู้เจริญพระกรรมฐานทั้งหลาย เมื่อทำถูกทางเข้าแล้วย่อมได้ประสบทุกคนไป แลเป็นกำลังให้เกิดวิริยะได้อย่างดีอีกด้วย ภวังค์ชนิดนี้เป็นภวังค์ที่นำจิตให้ไปสู่ปฏิสนธิเป็นภพชาติ ไม่อาจสามารถจะพิจารณาวิปัสสนาชำระกิเลสละเอียดได้ ฉะนั้น ท่านจึงจัดเป็นอุปกิเลส


    ฌานทั้งหลาย มีปฐมฌานเป็นต้น ท่านแสดงองค์ประกอบไว้เป็นชั้นๆ ดังจะแสดงต่อไปนี้ แต่เมื่อจะย่นย่อใจความเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ แล้ว ฌานต้องมีภวังค์เป็นเครื่องหมาย ภวังค์นี้ท่านแสดงไว้มี ๓ คือ ภวังคบาต ๑ ภวังคจลนะ ๑ ภวังคุปัจเฉทะ ๑


    ภวังคบาต เมื่อจิตตกลงสู่ภวังค์นั้นมาอาการให้วูบวาบลง ดังแสดงมาแล้วในข้างต้น แต่ว่าเป็นขณะจิตนิดหน่อย บางทีแทบจะจำไม่ได้เลย ถ้าหากผู้เจริญบริกรรมพระกรรมฐานนั้นอยู่ ทำให้ลืมพระกรรมฐานที่เจริญอยู่นั้น แลอารมณ์อื่นๆ ก็ไม่ส่งไปตามขณะจิตหนึ่ง แล้วก็เจริญบริกรรมพระกรรมฐานต่อไปอีกหรือส่งไปตามอารมณ์เดิม


    ภวังคจลนะ เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน แต่ว่าเมื่อถึงภวังค์แล้ว เที่ยวหรือซ่านอยู่ในอารมณ์ของภวังค์นั้น ไม่ส่งออกไปนอกจากอารมณ์ของภวังค์นั้น ปฏิภาคนิมิตและนิมิตต่างๆ ความรู้ความเห็นทั้งหลายมีแสงสว่างเป็นต้น เกิดในภวังค์นี้ชัดมาก จิตเที่ยวอยู่ในอารมณ์นี้


    ภวังคุปัจเฉทะ เมื่อจิตตกลงสู่ภวังค์แล้วขาดจากอารมณ์ภายนอกทั้งหมด แม้แต่อารมณ์ภายในของภวังค์ที่เป็นอยู่นั้น ถ้าเป็นทีแรกหรือยังไม่ชำนาญในภวังค์นั้นแล้วก็จะไม่รู้ตัวเลย เมื่อเป็นบ่อยหรือชำนาญในลักษณะของภวังค์นี้แล้วจะมีอาการให้มีสติรู้อยู่ แต่ขาดจากอารมณ์ใดๆ ทั้งหมด ภวังค์นี้จัดเป็นอัปปนาสมาธิได้ ฉะนั้นอัปปนานี้บางท่านเรียกว่าอัปปนาฌาน บางทีท่านเรียกว่า อัปปนาสมาธิ มีลักษณะผิดแปลกกันนิดหน่อยดังอธิบายมาแล้วนั้น เมื่อถอนออกจากอัปปนาสมาธิแล้ว มาอยู่ในอุปจารสมาธิ ไม่ได้เป็นภวังคจลนะ ในตอนนี้พิจารณาวิปัสสนาได้ ถ้าเป็นภวังคจลนะแล้วมีความรู้แลนิมิตเฉยๆ เรียกว่า อภิญญา ภวังค์ทั้งสามดังแสดงมานี้เป็นเครื่องหมายของฌาน

    ความแปลกต่างของฌาน ภวังค์ สมาธิ จะได้แสดงตอนอรูปฌานต่อไป


    รูปฌาน มี ๔ คือ ปฐมฌาน ๑ ทุติยฌาน ๑ ตติยฌาน ๑ จตุตฺถฌาน ๑


    ปฐมฌาน นั้นประกอบด้วยองค์ ๕ คือ มีวิตก ยกเอาพระกรรมฐานบทใดบทหนึ่งขึ้นมาเพ่งพิจารณาให้เป็นอารมณ์ ๑ วิจารเพ่งคือพิจารณาเฉพาะอยู่แต่พระกรรมฐานนั้นอย่างเดียว ๑ เห็นชัดในพระกรรมฐานนั้นแล้วเกิดปีติ ๑ ปีติเกิดแล้วมีความเบากายโล่งใจเป็นสุข ๑ แล้วจิตนั้นก็แน่วอยู่ในเอกัคคตา ๑ เรียกว่าปฐมฌานมีองค์ ๕


    ทุติยฌาน มีองค์ ๓ ด้วยอำนาจเอกัคคตา จิตนั้นยังไม่ถอนกิจ ซึ่งจะยกเอาพระกรรมฐานมาพิจารณาอีกย่อมไม่มี ฉะนั้นฌานชั้นนี้จึงคงยังปรากฏเหลืออยู่แต่ปีติ สุข เอกัคคตาเท่านั้น


    ตติยฌาน มีองค์ ๒ ด้วยอำนาจเอกัคคตา จิตติดอยู่ในอารมณ์ของตนมาก เพ่งเอาแต่ความสุขอย่างเดียว จึงยังคงเหลืออยู่เพียง ๒ คือ สุขกับเอกัคคตา


    จตุตฺถฌาน มีองค์ ๒ เหมือนกัน คือ เอกัคคตาที่เพ่งเอาแต่ความสุขนั้นเป็นของละเอียด จนสุขนั้นไม่ปรากฏ เพราะสุขนั้นยังเป็นของหยาบกว่าเอกัคคตา จึงวางสุขอันนั้นเสีย แล้วยังคงมีอยู่แต่เอกัคคตากับอุเบกขา


    ฌานทั้งสี่นี้ละนิวรณ์ ๕ (คือสงบไป) ได้แล้วตั้งแต่ปฐมฌาน ส่วนฌานนอกนั้นกิจซึ่งจะต้องละอีกย่อมไม่มี ด้วยอำนาจการเพ่งเอาแต่จิตอย่างเดียวเป็นอารมณ์หนึ่ง จึงละองค์ของปฐมฌานทั้งสี่นั้นเป็นลำดับไป แล้วยังเหลืออยู่แต่ตัวฌานตัวเดียว คือ เอกัคคตา ส่วนอุเบกขา เป็นผลของฌานที่ ๔ นั้นเอง แต่ปฐมฌานปรารภพระกรรมฐานภายนอกมาเป็นเหตุจำเป็น จึงต้องมีหน้าที่พิเศษมากกว่าฌานทั้ง ๓ เบื้องปลายนั้น ฌานทั้ง ๔ นี้ปรารภรูปเป็นเหตุ คือ ยกเอารูปพระกรรมฐานขึ้นมาเพ่งพิจารณา แล้วจิตจึงเข้าถึงซึ่งองค์ฌาน ฉะนั้นจึงเรียกว่า รูปฌาน


    อรูปฌาน อรูปฌานนี้ ในพระสูตรต่างๆ โดยส่วนมากท่านไม่ค่อยจะแสดงไว้ เช่น ในโอวาทปาฏิโมกข์ เป็นต้น พระองค์ทรงแสดงแต่รูปฌาน ๔ เท่านั้น ถึงพระองค์ทรงแสดงอานิสงส์ของการเจริญกายคตากรรมฐานไว้ว่ามีอานิสงส์ ๑๐ ข้อ ๑๐ ความว่า ได้ฌานโดยไม่ลำบาก ดังนี้ แต่เมื่อกล่าวถึงวิหารธรรมของท่านผู้ที่เข้าสมาบัติแล้ว ท่านแสดงอรูปฌานไว้ด้วย สมาบัติ ๘ ฌานทั้ง ๘ นี้ บางทีท่านเรียกว่า วิโมกข์ ๘ บ้าง แต่ท่านแสดงลักษณะผิดแปลกออกไปจากฌาน ๘ นี้บ้างเล็กน้อย อรรถรสแลอารมณ์ของวิโมกข์ ๓ เบื้องต้น ก็อันเดียวกันกับรูปฌาน ๓ นั่นเอง เช่น วิโมกข์ข้อที่ ๑ ว่า ผู้มีรูปเป็นอารมณ์แล้วเห็นรูปทั้งหลายดังนี้เป็นต้น แต่รูปฌานแสดงแต่เพียง ๓ รูปฌานที่ ๔ เลยแสดงเป็นรูปวิโมกข์เสีย อรูปวิโมกข์ที่ ๔ เอาสัญญาเวทยิตนิโรธมาเข้าใส่ฌานทั้ง ๘ รวมทั้งสัญญาเวทยิตนิโรธเข้าด้วยเป็น ๙ ฌานทั้งหมดนี้เป็นโลกีย์โดยแท้ แต่เมื่อท่านผู้เข้าฌานเป็นอริยบุคคล ฌานนั้นก็เป็นโลกุตตระไปตาม เปรียบเหมือนกับฉลองพระบาทของพระราชา เมื่อคนสามัญรับมาใช้แล้วก็เรียกว่ารองเท้าธรรมดา ฉะนั้น ข้อนี้จะเห็นได้ชัดทีเดียวดังในเรื่องวิโมกข์ ๘ นี้ พระองค์ทรงแสดงแก่พระอานนท์ว่า อานนท์ ภิกษุจะฆ่าวิโมกข์ ๘ นี้ได้ด้วยอาวุธ ๕ ประการ คือ เข้าวิโมกข์ได้โดยอนุโลมบ้าง ทั้งอนุโลมแลปฏิโลมบ้าง เข้าออกได้ในที่ตนประสงค์ เข้าออกได้ซึ่งวิโมกข์ที่ตนประสงค์ เข้าออกได้นานตามที่ตนประสงค์ จึงจะสำเร็จ เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ดังนี้


    ฉะนั้น ต่อไปนี้จะนำเอาอรูปฌาน ๔ มาแสดงไว้ในที่นี้ด้วย เพื่อผู้ที่สนใจจะได้นำไปวิจารณ์ในโอกาสอันสมควร ผู้ได้รูปฌานที่ ๔ แล้วจิตตกลงเข้าถึงอัปปนาเต็มที่แล้ว ฌานนี้ท่านแสดงว่าเป็นบาทของอภิญญา คือเมื่อต้องการอยากจะรู้จะเห็นอะไรต่ออะไร แล้วน้อมจิตนั้นไปเพื่อความรู้ในสิ่งนั้นๆ (คือถอนจิตออกมาจากอัปปนามาหยุดในอุปจาระ) แล้วสิ่งที่ตนต้องการรู้นั้นก็จะปรากฏชัดขึ้นมาในที่นั้นเอง เมื่อไม่ทำเช่นนั้น จะเดินอรูปฌานต่อ ก็มาเพ่งเอาองค์ของรูปฌานที่ ๔ คือเอกัคคตากับอุเบกขามาเป็นอารมณ์ จนจิตนั้นนิ่งแน่วแน่แล้วไม่มีอะไร ไม่ใส่ใจในเอกัคคตาแลอุเบกขาแล้ว คงยังเหลือแต่ความว่างโล่งเป็นอากาศอยู่เฉยๆ


    อรูปฌานที่ ๑ จึงได้ยึดเอามาเป็นอารมณ์ เรียกว่า อากาสานัญจายตนะ


    อรูปฌานที่ ๒ ด้วยอำนาจจิตเชื่อน้อมไปในฌานกล้าหาญ ย่อมเห็นอาการของผู้รู้ว่าจิตไปยึดอากาศ อากาศเป็นของภายนอก วิญญาณนี้เป็นผู้ไปยึดถือเอาอากาศมาเป็นอารมณ์ แล้วมาชมว่าเป็นตนเป็นตัว วิญญาณนี้เป็นที่รับเอาอารมณ์มาจากอายตนะภายนอก วิญญาณจึงได้กลับกลอกแลหลอกลวง เวลานี้วิญญาณล่วงพ้นเสียได้แล้วจากอายตนะทั้งหลาย วิญญาณไม่มีอะไรเป็นเครื่องหมาย บริสุทธิ์เต็มที่ แล้วก็ยินดีในวิญญาณนั้น ถือเอาวิญญาณมาเป็นอารมณ์ข่มนิวรณธรรม อยู่ด้วยความบริสุทธิ์อันนั้น ดังนี้ เรียกว่าวิญญาณัญจายตนะ เป็นอรูปฌานที่ ๒


    อรูปฌานที่ ๓ วิญญาณเป็นอรูปจิต เมื่อติดอยู่กับวิญญาณแล้ว นิมิตอันเป็นของภายนอกซึ่งจะส่งเข้าไปทางอายตนะทั้ง ๕ มันก็ไม่รับ เพ่งเอาแต่ความละเอียดแลความบริสุทธ์อันเป็นธรรมารมณ์ภายในอย่างเดียว จิตเพ่งผู้รู้ดูผู้ละเอียดก็ยิ่งเห็นแต่ความละเอียด ด้วยความน้อมจิตเข้าไปหาความละเอียดจิตก็ยิ่งละเอียดเข้าไปทุกที เกือบจะไม่มีอะไรเลยก็ว่าได้ ในที่นั้นถือว่าน้อยนิดเดียวก็ไม่มี (คืออารมณ์หยาบไม่มี) เรียกว่า อากิญจัญญายตนะ เป็นอรูปฌานที่ ๓


    อรูปฌานที่ ๔ ด้วยอำนาจการเพ่งว่าน้อยหนึ่งในที่นี้ก็ไม่มีดังนี้อยู่ เมื่อจิตน้อมไปในความละเอียดอยู่อย่างนั้น ความสำคัญนั่นนี่อะไรต่ออะไรย่อมไม่มี แต่ว่าผู้ที่น้อมไปหาความละเอียดแลผู้รู้ว่าถึงความละเอียดนั้นยังมีอยู่ เป็นแต่ผู้รู้ไม่คำนึงถึง คำนึงเอาแต่ความละเอียดเป็นอารมณ์ ฉะนั้น ในที่นั้นจะเรียกว่าสัญญาความจำอารมณ์อันหยาบก็ไม่ใช่ เพราะไม่มีเสียแล้ว จะเรียกว่าไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ แต่ความจำว่าเป็นของละเอียดยังมีปรากฏอยู่ ฌานชั้นนี้ท่านจึงเรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นอรูปฌานที่ ๔


    เมื่อแสดงมาถึงอรูปฌานที่ ๔ นี้ ท่านผู้อ่านทั้งหลายสมควรจะได้อ่านฌานวิเศษ คือ สัญญาเวทยิตนิโรธต่อไปอีกด้วย เพราะเป็นฌานแถวเดียวกัน แลเป็นที่สุดของฌานทั้งหลายเหล่านี้ คือผู้เข้าอรูปฌานที่ ๔ ชำนาญแล้ว เมื่อท่านจะเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ก็มายึดเอาอรูปฌานที่ ๔ นี้เองมาเป็นอารมณ์ ด้วยการไม่ยึดเอาความหมายอะไรมาเป็นนิมิตอารมณ์เสียก่อนเมื่อจะเข้า ตามนัยของนางธัมมทินนาเถรี ตอบปัญหานางวิสาขอุบาสก ดังนี้ ไม่ได้คิดว่าเราจักเข้า หรือเข้าอยู่ หรือเข้าแล้ว เป็นแต่น้อมจิตไปเพื่อจะเข้า ก็ได้อบรมจิตไว้อย่างนั้นแล้วก่อนแต่จะเข้า เมื่อเข้านั้นวจีสังขารคือความวิตกดับไปก่อน แล้วกายสังขารคือลมหายใจ แลจิตสังขารคือเวทนา จึงดับต่อภายหลัง ส่วนการออกก็ไม่ได้คิดอย่างนั้นเหมือนกัน เป็นแต่ได้กำหนดจิตไว้แล้วก่อนแต่จะเข้าเท่านั้น ว่าเราจะเข้าเท่านั้นวันแล้วจะออก เมื่อออกนั้นจิตสังขารเกิดก่อน แล้วกายสังขาร-วจีสังขารจึงเกิดตามๆ กันมา เมื่อออกมาทีแรก ผัสสะ ๓ คือ สุญญตผัสสะ ๑ อนิมิตตผัสสะ ๑ อัปปณิหิตผัสสะ ๑ ถูกต้องแล้ว ต่อนั้นไปจิตนั้นก็น้อมไปในวิเวกดังนี้




    เอเสว มคฺโค นตฺถญฺโญ ทสฺสนสฺส วิสุทฺธิยา


    ทางอื่นนอกจากนี้แล้ว ที่จะเป็นไปเพื่อความเห็นอันบริสุทธิ์ ย่อมไม่มี




    สมาธิ เมื่อผู้มาเพ่งพิจารณาพระกรรมฐานบทใดบทหนึ่งอยู่ มีกายเป็นต้นแล้วจิตนั้นย่อมตั้งมั่น แน่วแน่อยู่เฉพาะหน้าในอารมณ์อันเดียว แต่ไม่ถึงกับเข้าสู่ภวังค์ที่เรียกว่า ฌาน มีสติสัมปชัญญะตั้งมั่นรู้ตัวอยู่ จิตหยาบก็รู้ว่าหยาบ ละเอียดก็รู้ว่าละเอียด รู้จริงเห็นจริงตามสมควรแก่ภาวะของตน หากจะมีธรรมารมณ์ต่างๆ เกิดขึ้นในขณะนั้น จิตนั้นก็มิได้หวั่นไหวไปตามธรรมารมณ์นั้นๆ ย่อมรู้อยู่ว่าอันนั้นเป็นธรรมารมณ์ อันนั้นเป็นจิต อันนั้นเป็นนิมิตดังนี้เป็นต้น เมื่อต้องการดูธรรมารมณ์นั้นก็ดูได้ เมื่อต้องการปล่อยก็ปล่อยได้ บางทียังมีอุบายพิจารณาธรรมารมณ์นั้นให้ได้ปัญญา เกิดความรู้ชัดเห็นจริงในธรรมารมณ์นั้นเสียอีก อุปมาเหมือนบุคคลผู้นั่งอยู่ที่ถนนสี่แยก ย่อมมองเห็นผู้คนที่เดินไปมาจากทิศทั้ง ๔ ได้ถนัด เมื่อต้องการติดต่อกับบุคคลเหล่านั้นก็ได้สมประสงค์ เมื่อไม่ต้องการติดต่อก็ทำกิจตามหน้าที่ของตนเรื่อยไปฉะนั้น ดังนี้เรียกว่าสมาธิ


    สมาธินี้ท่านจำแนกไว้เป็น ๓ ชั้นคือ


    ขณิกสมาธิ สมาธิที่เพ่งพิจารณาพระกรรมฐานอยู่นั้น จิตรวมบ้าง ไม่รวมบ้าง เป็นครู่เป็นขณะ พระกรรมฐานที่เพ่งพิจารณาอยู่นั้นก็ชัดบ้าง ไม่ชัดบ้าง เปรียบเหมือนสายฟ้าแลบในเวลากลางคืนฉะนั้น เรียกว่า ขณิกสมาธิ


    อุปจารสมาธิ นั้นจิตค่อยตั้งมั่นเข้าไปหน่อยไม่ยอมปล่อยไปตามอารมณ์จริงจัง แต่ตั้งมั่นก็ไม่ถึงกับแน่วแน่เป็นอารมณ์อันเดียว ถึงเที่ยวไปบ้างก็อยู่ในของเขตของจิต อุปมาเหมือนวอก เจ้าตัวกลับกลอกถูกโซ่ผูกไว้ที่หลัก หรือนกกระทาขังไว้ในกรงฉะนั้น เรียกว่าอุปจารสมาธิ


    อัปปนาสมาธิ นั้นจิตตั้งมั่นจนเต็มขีด แม้ขณะจิตนิดหน่อยก็มิได้ปล่อยให้หลงเพลินไปตามอารมณ์ เอกัคคตารมณ์จมดิ่งนิ่งแน่ว ใจใสแจ๋วเฉพาะอันเดียว มิได้เกี่ยวเกาะเสาะแส่หาอัตตาแลอนัตตาอีกต่อไป สติสมาธิภายในนั้น หากพอดีสมสัดส่วน ไม่ต้องระวัง ไม่ต้องตั้งสติรักษา ตัวสติสัมปชัญญะสมาธิ มันหากรักษาตัวมันเอง อัปปนาสมาธินี้ละเอียดมาก เมื่อเข้าถึงที่แล้ว ลมหายใจแทบจะไม่ปรากฏ ขณะมันจะลง ทีแรกคล้ายกับว่าจะเคลิ้มไป แต่ว่าไม่ถึงกับเผลอสติเข้าสู่ภวังค์ ขณะสนธิกันนี้ท่านเรียกว่า โคตรภูจิต ถ้าลงถึงอัปปนาเต็มที่แล้วมีสติรู้อยู่ เรียกว่า อัปปนาสมาธิ ถ้าหาสติมิได้ ใจน้อมลงสู่ภวังค์เข้าถึงความสงบหน้าเดียว หรือมีสติอยู่บ้างแต่เพ่งหรือยินดีชมแต่ความสุขอันเกิดจากความสงบอันละเอียดอยู่เท่านั้น เรียกว่า อัปปนาฌาน


    อัปปนาสมาธินี้มีลักษณะคล้ายกับผู้ที่เข้าอัปปนาฌานชำนาญแล้ว ย่อมเข้าหรือออกได้สมประสงค์ จะตั้งอยู่ตรงไหน ช้านานสักเท่าไรก็ได้ ซึ่งเรียกว่าโลกุตตรฌาน อันเป็นวิหารธรรมของพระอริยเจ้า อัปปนาสมาธิเมื่อมันจะเข้าทีแรก หากสติไม่พอเผลอตัวเข้า กลายเป็นอัปปนาฌานไปเสีย
    (ต่อ ๓)
     
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,601
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    ฌาน แล สมาธิ มีลักษณะและคุณวิเศษผิดแปลกกันโดยย่ออย่างนี้ คือ

    ฌาน ไม่ว่าหยาบและละเอียด จิตเข้าถึงภวังค์แล้วเพ่งหรือยินดีอยู่แต่เฉพาะความสุขเลิศอันเกิดจากเอกัคคตารมณ์อย่างเดียว สติสัมปชัญญะหายไป ถึงมีอยู่บ้างก็ไม่สามารถจะทำองค์ปัญญาให้พิจารณาเห็นชัดในอริยสัจธรรมได้ เป็นแต่สักว่ามี ฉะนั้น กิเลสทั้งหลายมีนิวรณ์ ๕ เป็นต้น จึงยังละไม่ได้ เป็นแต่สงบอยู่


    ส่วน สมาธิ ไม่ว่าหยาบแลละเอียด เมื่อเข้าถึงสมาธิแล้ว มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ตามชั้นแลฐานะของตน เพ่งพิจารณาธรรมทั้งหลายอยู่ มีกายเป็นต้น ค้นคว้าหาเหตุผลเฉพาะในตน จนเห็นชัดตระหนักแน่วแน่ตามเป็นจริงว่า สิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เป็นต้น ตามชั้นตามภูมิของตนๆ ฉะนั้น


    สมาธิจึงสามารถละกิเลส มีสักกายทิฏฐิเสียได้ สมาธินี้ถ้าสติอ่อน ไม่สามารถรักษาฐานะของตนไว้ได้ ย่อมพลัดเข้าไปสู่ภวังค์เป็นฌานไป ฌานถ้ามีสติสัมปชัญญะแก่กล้าขึ้นเมื่อไร ย่อมกลายเป็นสมาธิได้เมื่อนั้น ในพระวิสุทธิมรรคท่านแสดงสมาธิเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับฌาน เช่นว่า สมาธิกอปรด้วยวิตก วิจาร ปีติ เป็นต้น ดังนี้ก็มี บางทีท่านแสดงสมาธิเป็นเหตุของฌาน เช่นว่าสมาธิเป็นเหตุให้ได้ฌานชั้นสูงขึ้นไป ดังนี้ก็มี บางทีท่านแสดงสมาธิเป็นฌานเลย เช่นว่าสมาธิเป็นกามาพจร รูปาพจร อรูปาพจร ดังนี้ก็มี แต่ข้าพเจ้าแสดงมานี้ก็มิได้ผิดออกจากนั้น เป็นแต่ว่าแยกแยะสมถะฌาน สมาธิ ออกให้รู้จักหน้าตามันในขณะที่มันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าเท่านั้น สำหรับผู้ฝึกหัดเป็นไปแล้วจะไม่งง ที่ท่านแสดงไว้แล้วนั้นเป็นการยืดยาว ยากที่ผู้มีความทรงจำน้อยจะเอามากำหนดรู้ได้


    นิมิต เมื่ออธิบายมาถึง ฌาน สมาธิ ภวังค์ ดังนี้แล้ว จำเป็นจะลืมเสียไม่ได้ซึ่งรสชาติอันอร่อย (คือ นิมิต) ซึ่งเกิดขึ้นในระยะของสิ่งเหล่านั้น ผู้เจริญพระกรรมฐานย่อมปรารถนาเป็นอย่างยิ่งแทบทุกคนก็ว่าได้ ความจริงนิมิตมิใช่ของจริงทีเดียวทั้งหมด นิมิตเป็นแต่นโยบายให้พิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริงก็มี ถ้าพิจารณานิมิตนั้นไม่ถูกก็เลยเขวไปก็มี ถ้าพิจารณาถูกก็ดีมีปัญญาเกิดขึ้น นิมิตที่เป็นของจริงคือนิมิตเป็นหมอดูไม่ต้องใช้วิพากษ์วิจารณ์อย่างนี้ก็มี นิมิตนั้นเมื่อจะเกิดก็เกิดเอง เป็นของแต่งเอาไม่ได้ เมื่อจะเกิด เกิดจากเหตุ ๒ ประการ คือเกิดจากฌาน ๑ สมาธิ ๑ เมื่ออบรมและรักษาธรรม ๒ ประการนี้ไว้ไม่ให้เสื่อมแล้ว นิมิตทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นเองอุปมาดังต้นไม้ที่มีดอกและผล ปรนปรือปฏิบัติรักษาต้นมันไว้ให้ดีเถิด อย่ามัวขอแต่ดอกผลของมันเลย เมื่อต้นของมันแก่แล้ว มีวันหนึ่งข้างหน้าไม่ช้าคงได้รับดอกแลผลเป็นแน่นอน ดีกว่าจะไปมัวขอผลแลดอกเท่านั้น


    นิมิต ที่เกิดจากฌานนั้น เมื่อจิตตกเข้าถึงฌานเมื่อไรแล้ว นิมิตทั้งหลายมีอสุภเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นในลำดับดังได้อธิบายมาแล้วในข้างต้นว่า จิตเมื่อเข้าจะเข้าถึงฌานได้ย่อมเป็นภวังค์เสียก่อน ภวังค์นี้เป็นเครื่องวัดของฌานโดยแท้ ถ้าเกิดขึ้นในลำดับของภวังคบาต เกิดแวบขึ้นครู่หนึ่งแล้วนิมิตนั้นก็หายไปพร้อมทั้งภวังค์ด้วย ถ้าเป็นภวังคจลนะ พอเกิดขึ้นแล้วภวังค์นั้นก็เร่ร่อนเพลินไปตามนิมิตที่น่าเพลิดเพลินนั้นโดยสำคัญว่าเป็นจริง ถ้านิมิตเป็นสิ่งที่น่ากลัว กลัวจนตัวสั่น เสียขวัญ บางทีก็รู้อยู่ว่านั่นเป็นนิมิตมิใช่ของจริง แต่ไม่ยอมทิ้งเพราะภวังค์ยังไม่เสื่อม ภวังคจลนะนี้เป็นที่ตั้งของวิปัสสนูปกิเลสทั้ง ๑๐ มีโอภาโส แสงสว่างเป็นต้น ถ้าไม่เข้าถึงภวังค์ มีสติสัมปชัญญะแก่กล้าเป็นที่ตั้งของปัญญาได้เป็นอย่างดี มีวิปัสสนาปัญญาเกิดขึ้นในที่นี้เอง นิมิตนั้นเลยกลายเป็นอุปจารสมาธินิมิตไป ส่วนภวังคุปัจเฉทะไม่มีนิมิตเป็นเครื่องปรากฏ ถ้ามีก็ต้องถอยออกมาตั้งอยู่ในภวังคจลนะเสียก่อน ตกลงว่านิมิตมีที่ภวังคจลนะอยู่นั่นเอง


    นิมิตที่เกิดในสมาธิ เมื่อเกิดขึ้นในภูมิของขณิกสมาธิ วับแวบขึ้นครู่หนึ่งแล้วก็หายไป อุปมาเหมือนกันกับบุคคลผู้เป็นลมสันนิบาตมีแสงวูบวาบเกิดขึ้นในตา หาทันได้จำว่าเป็นอะไรต่ออะไรไม่ ถึงจะจำได้ก็อนุมานตามทีหลังคล้ายๆ กับภวังคบาตเหมือนกัน ถ้าเกิดในอุปจารสมาธินั้น นิมิตชัดเจนแจ่มแจ้งดี เป็นที่ตั้งขององค์วิปัสสนาปัญญา เช่นเมื่อพิจารณาขันธ์ ๕ อยู่ พอจิตตกลงเข้าถึงอุปจารสมาธิแล้ว หรือเข้าถึงอัปปนาสมาธิแล้วถอนออกมาอยู่ในอุปจารสมาธิ นิมิตปรากฏชัดเป็นตามจริงด้วยความชัดด้วยญาณทัสสนะในที่นั้น เช่น เห็นรูปขันธ์เป็นเหมือนกับต่อมน้ำ ตั้งขึ้นแล้วก็ดับไป เห็นเวทนาเป็นเหมือนกับฟองแห่งน้ำ เป็นก้อนวิ่งเข้ามากระทบฝั่งแล้วก็สลายเป็นน้ำตามเดิม เห็นสัญญาเป็นเหมือนพยับแดด ดูไกลๆ คล้ายกับเป็นตัวจริง เมื่อเข้าไปถึงที่อยู่ของมันจริงๆ แล้ว พยับแดดนั้นก็หายไป เห็นสังขารเหมือนกับต้นกล้วยซึ่งหาแก่นสารในลำต้นสักนิดเดียวย่อมไม่มี เห็นวิญญาณเปรียบเหมือนมายาผู้หลอกให้จิตหลงเชื่อ แล้วตัวเจ้าของหายไปหลอกเรื่องอื่นอีก ดังนี้เป็นต้น เป็นพยานขององค์วิปัสสนาปัญญาให้เห็นแจ้งว่า สัตว์ที่มีขันธ์ ๕ ต้องเหมือนกันดังนี้ทั้งนั้น ขันธ์มีสภาวะเป็นอยู่อย่างนี้ทั้งนั้น ขันธ์มิใช่อะไรทั้งหมด เป็นของปรากฏอยู่เฉพาะของเขาเท่านั้น ความถือมั่นอุปาทานย่อมหายไป มิได้มีวิปลาสที่สำคัญว่าขันธ์เป็นตนเป็นตัว เป็นอาทิ




    นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา ปญฺญาย ปริสุชฺฌติ


    แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี ผู้จะบริสุทธิ์เพราะปัญญา





    วิปัสสนาปัญญา วิปัสสนาปัญญาเป็นผลออกมาจากอุปจารสมาธิโดยตรง ได้อธิบายมาแล้วข้างต้นว่า อุปจารสมาธิเป็นที่ตั้งขององค์ปัญญา อธิบายว่า วิปัสสนาปัญญาจะเกิดนั้น สมาธิต้องตั้งมั่นลงเสียก่อนจึงจะเกิดขึ้นได้ มิใช่เกิดเพราะฌานซึ่งมีแต่การเพ่งความสุขสงบอยู่หน้าเดียว และมิได้เกิดจากอัปปนาสมาธิอันหมดจากสมมติสัญญาภายนอกเสียแล้ว จริงอยู่ เมื่อจิตยังไม่ถึงอัปปนาสมาธิ วิปัสสนาปัญญาไม่สามารถจะทำหน้าที่ละสมมติของตนให้ถึงอาสวขัยได้ แต่ว่าอัปปนาเป็นของละเอียดกว่าสัญญาภายนอกเสียแล้ว จะเอามาใช้ให้เห็นแจ้งในสังขารนี้อย่างไรได้ อัปปนาวิปัสสนาปัญญาเป็นผู้ตัดสินต่างหาก อุปจารวิปัสสนาปัญญาเป็นผู้สืบสวนคดี ถ้าไม่สืบสวนคดีให้มีหลักฐานถึงที่สุดแล้ว จะตัดสินลงโทษอุปาทานอย่างไรได้ ถึงแม้ว่าอัปปนาวิปัสสนาปัญญาจะเห็นโทษของอุปาทานว่าผิดอย่างนั้นแล้ว แต่ยังหาหลักฐานพยานยังไม่เพียงพอ ก็คงไม่สมเหตุสมผลอยู่นั่นเอง เหตุนั้น วิปัสสนาปัญญาจึงได้ยึดเอาตัวสังขารนี้เป็นพยาน เอาอุปจารสมาธิเป็นโรงวินิจฉัย ท่านแสดงวิปัสสนาปัญญาไว้มีถึง ๑๐ นัยดังนี้ คือ


    ๑. สมฺมสนญาณ ปัญญาพิจารณาสังขารเฉพาะในภายในเห็นเป็นอนิจจาทิลักษณะแล้ว พิจารณาสังขารภายนอกก็เป็นสภาวะอย่างนั้นด้วยกันหมดทั้งสิ้น หรือประมวลสังขารทั้งสองนั้นเข้าเป็นอันเดียวกันแล้วพิจารณาเห็นอย่างนั้น


    ๒. อุทยพฺพยญาณ ปัญญาพิจารณาสังขารทั้งที่เกิดแลที่ดับโดยลักษณะอย่างนั้น


    ๓. ภงฺคญาณ ปัญญาพิจารณาสังขารเฉพาะแต่ฝ่ายทำลายอย่างเดียว โดยลักษณะอย่างนั้น


    ๔. ภยตูปฏฺฐานญาณ เมื่อปัญญาพิจารณาเห็นอย่างภังคญาณนั้น แล้วมีความกลัวต่อสังขารเป็นกำลัง


    ๕. อาทีนวญาณ ปัญญาพิจารณาสังขารเห็นเป็นโทษเป็นของน่ากลัว อุปมาเหมือนเรานอนอยู่บนเรือนที่ไฟกำลังไหม้อยู่ฉะนั้น โดยลักษณะอย่างนั้น


    ๖. นิพฺพิทาญาณ ปัญญาพิจารณาเห็นเป็นของน่าเกลียดน่าหน่าย ว่าเราหลงเข้ามายึดเอาของไม่ดีว่าเป็นของดี โดยลักษณะอย่างนั้น


    ๗. มุญฺจิตุกมฺยตาญาณ ปัญญาพิจารณาสังขารแล้ว ใคร่หนีให้พ้นเสียจากสังขารนั้น เหมือนกับปลาที่ติดอวนหรือนกที่ติดข่ายฉะนั้น โดยลักษณะนั้น


    ๘. ปฏิสงฺขาญาณ ปัญญาพิจารณาสังขารโดยหาอุบายที่จะเอาตัวรอดด้วยอุบายต่างๆ ดังญาณทั้งหกในเบื้องต้นนั้น


    ๙. สงฺขารุเปกฺขาญาณ ปัญญาพิจารณาสังขารโดยอุบายต่างๆ อย่างนั้น เห็นชัดตามเป็นจริงไม่มีสิ่งใดปกปิด แล้วไม่ต้องเชื่อคนอื่นหมด หายความสงสัยแล้ววางเฉยในสังขารทั้งปวง โดยลักษณะนั้น


    ๑๐. สจฺจานุโลมิกญาณ ปัญญาพิจารณาสังขารโดยอนุโลมกลับถอยหลังว่า มันเป็นจริงอย่างไร มันก็มีอยู่อย่างนั้น ตัวสัญญาอุปาทานต่างหากเข้าไปยึดมั่นสำคัญมันว่าเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ แต่แล้วสังขารมันก็เป็นอยู่ตามเดิม หาได้ยักย้ายไปเป็นอื่นไม่ สมกับที่พระองค์ทรงแสดงแก่พระอานนท์ว่า อานนท์ ผู้ที่จะพิจารณาสังขารเห็นจริงตามพระไตรลักษณญาณแล้ว จึงจะมีขันติอนุโลม ถ้าหาไม่แล้วขันติอนุโลมย่อมมีไม่ได้ดังนี้


    วิปัสสนานี้บางแห่งมีเพียง ๙ ท่านเรียกว่า วิปัสสนาญาณ ๙ ยกสัมมสนญาณออกเสีย ยังคงเหลืออยู่ ๙ นั่นเอง ในที่นี้นำมาแสดงให้ครบทั้ง ๑๐ เพื่อให้ทราบความละเอียดของวิปัสสนานั้นๆ


    ความจริงวิปัสสนาญาณทั้งสิบนี้จะเกิดได้พร้อมๆ กันในวิถีจิตเดียวก็หามิได้ เมื่อจะเกิดนั้นย่อมเกิดจากภูมิของสมาธิเป็นหลัก สมาธิเป็นเกณฑ์ ถ้าหากสมาธิหนักแน่นมาก หรือถอนออกจากอัปปนาใหม่ๆ แล้ว วิปัสสนาญาณทั้งหกเหล่านี้คือ อุทยัพพยญาณ ภังคญาณ ภยตูปัฏฐานญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ มุญจิตุกัมยตาญาณ มักเกิด ถ้าหากอุปจารสมาธิแก่กล้า วิปัสสนาญาณทั้งสองเหล่านี้ คือ สัมมสนญาณ กับ ปฏิสังขาญาณ มักเกิด เรียกกันง่ายๆ ว่า ถ้าอุปจารสมาธิกล้าก็คือหนักไปทางปัญญา อัปปนาสมาธิกล้าก็คือหนักไปในทางสมถะ


    ถ้าสมถะกับปัญญามีกำลังพอเสมอเท่าๆ กัน ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันแล้ว สังขารุเปกขาญาณย่อมเกิดขึ้น หรือจะเรียกอีกนัยหนึ่งว่า มัคคสมังคี ส่วนสัจจานุโลมิกญาณ เป็นผลพิจารณาอนุโลมตามสัจธรรม ไม่แย้งสมมติบัญญัติของโลกเขา ความจริงของเขาเป็นอยู่อย่างไร ก็ให้เป็นไปตามความเป็นจริงของเขาอย่างนั้น ส่วนความจริงของท่านผู้รู้จริงเห็นจริงแล้ว ย่อมไม่เสื่อมไปตามเขา ถ้าเป็นผลของโลกุตตระ พระอริยเจ้าทั้งหลายท่านย่อมพิจารณาอนุโลมตามพระอริยสัจของท่าน คือ เห็นตามความจริง ๔ ประการ ได้แก่ จริงสมมติ จริงบัญญัติ จริงสัจจะ จริงอริยสัจ วิชาของพระอริยเจ้าจึงได้ชื่อว่า วิชชาอันสมบูรณ์ทุกประการ


    ส่วนสัมมสนญาณเป็นวิปัสสนาญาณตัวเดิม อธิบายว่า สัมมสนญาณนี้เป็นที่ตั้งของวิปัสสนาญาณทั้งเก้า เมื่อวิปัสสนาญาณตัวนี้ทำหน้าที่ของตนอยู่นั้น วิปัสสนาญาณนอกนี้ย่อมมาเกิดขึ้นในระหว่าง แล้วแต่จะได้โอกาสสมควรแก่หน้าที่ของตน เช่น สัมมสนญาณ พิจารณาสังขารทั้งปวงอยู่โดยพระไตรลักษณ์ พอเห็นชัดเป็นทุกข์ ภยตูปัฏฐานญาณก็เกิด เห็นเป็นอนิจจัง ภังคญาณก็เกิด เห็นเป็นอนัตตา มุญจิตุกัมยตาญาณก็เกิด เป็นอาทิ ฉะนั้น สัมมสนญาณจึงได้ชื่อว่าเป็นฐานที่ตั้งของวิปัสสนาทั้งเก้านั้น


    สัมมสนญาณนี้ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค พระสารีบุตรเถระท่านแสดงภูมิฐานไว้กว้างขวางมาก ถ้าต้องการ เชิญดูในคัมภีร์นั้นเถิด หากจะนำเอามาลงในหนังสือเล่มนี้ ก็จะเป็นหนังสือเล่มโตเกินต้องการไป แต่จะนำเอาใจความย่อๆ พอเป็นนิเขปมาแสดงไว้สักเล็กน้อยว่า ปัญญาการพิจารณาสังขารทั้งปวง ทั้งภายใน ภายนอก หยาบ ละเอียด ใกล้ ไกล อดีต อนาคต เข้ามารวมไว้ในที่เดียวกัน แล้วพิจารณาให้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ดี พิจารณากายโดยทวัตติงสาการก็ดี พิจารณาขันธ์ทั้ง ๕ อายตนะภายใน ๖ ภายนอก ๖ ผัสสะ ๖ วิญญาณ ๖ หรือธาตุ ๔ ธาตุ ๑๘ โดยนัยดังพิจารณาสังขารทั้งปวง รวมเรียกว่า สัมมสนญาณแต่ละอย่างๆ ฉะนั้น สัมมสนญาณจึงเป็นของกว้างขวางมาก แลเป็นภูมิฐานของวิปัสสนาทั้งหลายด้วย วิปัสสนาทั้งหลายมีสัมมสนญาณเป็นต้น เมื่อพิจารณาสังขารทั้งหลายอยู่ ย่อมมาปรากฏชัดเฉพาะอยู่ในที่เดียวโดยไตรลักษณญาณ มีอาการดังนี้จึงจะเรียกว่าวิปัสสนาแท้


    อนึ่ง วิปัสสนานี้ ถ้าภูมิคือสมาธิยังไม่มั่นคงพอ อาจกลายเป็นฌานไป อาจทำปัญญาให้เขวไปเป็นวิปลาส หรือเป็นอุปกิเลส เป็นอุจเฉททิฏฐิ แลสัสสตทิฏฐิ ไปก็ได้ เหตุนี้ วิปัสสนาปัญญาท่านจึงแสดงไว้เป็น ๒ คือ โลกีย์ ๑ โลกุตตระ ๑ อธิบายว่าที่เป็นโลกีย์นั้น วิปัสสนาเข้าไปตั้งอยู่ในโลกิยภูมิ มีสมถะและวิปัสสนาอันเจริญไม่ถึงขีด คือ ไม่สม่ำเสมอกัน ไม่มีปฏิสังขาญาณเป็นเครื่องตัดสิน มีสัจจานุโลมิกญาณเป็นเครื่องอยู่ ส่วนโลกุตตรวิปัสสนาปัญญาเข้าถึงมัคคสังคี ตัดเสียซึ่งอุปกิเลสแลทิฏฐิวิปลาส อุจเฉททิฏฐิได้


    มรรค มรรคปฏิปทาหนทางปฏิบัตินั้น ดำเนินเข้าไปในกามาพจรภูมิก็ได้ เข้าในรูปาพจรภูมิก็ได้ อรูปาพจรภูมิก็ได้ เข้าไปในโลกุตตรภูมิก็ได้ มรรคใดซึ่งมีสัมมาทิฏฐิเป็นแก่นสาร มีมรรคทั้งเจ็ด คือ สัมมาสังกัปโปเป็นต้น สัมมาสมาธิเป็นปริโยสาน เป็นบริขารบริวารที่สัมปยุตเข้ากับภูมินั้นๆ ได้ชื่อว่ามรรคในภูมินั้น


    ในที่นี้จะอธิบายเฉพาะมรรคที่เกิดในวิปัสสนาญาณอย่างเดียวตามความประสงค์ในที่นี้ คือ นับตั้งต้นแต่เจริญสมถะมาจนกระทั่งถึงวิปัสสนาญาณนี้ จัดเป็นมรรควิถีหนทางปฏิบัติที่จะให้ข้ามพ้นจากทุกข์ทั้งนั้น แต่บางทีในวิถีทางที่เดินมานั้น อาจพลัดโผเข้าช่อมตกหลุมบ่อและวกเวียนบ้างเป็นธรรมดา อย่างที่อธิบายมาแล้วไม่ผิด คือ อาจเขวไปเป็นอุปกิเลส แลทิฏฐิวิปลาส แลอุจเฉททิฏฐิ สัสสตทิฏฐิ เพราะมรรคยังไม่ชำนาญ คือ ทางยังไม่ราบรื่น เมื่อไม่เป็นเช่นนั้น นายตรวจเอก คือ มัคคามัคคญาณทัสสนะก็จะไม่มีหน้าที่จะทำ แต่ถ้ามรรคนั้นเป็นโลกุตตระ คือ เป็นเอกสมังคีประชุมลงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว ทางที่สองซึ่งจะนำพระอริยเจ้าให้หลงแวะเวียนอีก คือ เป็นมิจฉาทิฏฐิย่อมไม่มี มรรคแท้มีอันเดียวเท่านั้น แต่มรรคส่วนมากท่านแสดงไว้มีองค์ ๘ ประการ มีสัมมาทิฏฐิความเห็นชอบเป็นต้น มีสัมมาสมาธิความตั้งใจมั่นเป็นปริโยสาน แต่ในที่บางแห่ง เช่น ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ท่านแสดงว่า มรรคมีองค์อวัยวะ ๘ ของพระอริยเจ้ามีอันเดียว องค์อันเดียว นั้นไม่แก่ทางมัชฌิมาเป็นกลาง แท้จริงทางนั้นเอกเป็นมัชฌิมานี้เป็นทางของพระอริยเจ้าโดยตรง องค์อวัยวะทั้ง ๗ มารวมอยู่ในองค์อันหนึ่ง คือ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ สัมมาทิฏฐิต้องละเสียซึ่งอดีตอนาคตสัญญา เพ่งพิจารณาขันธ์รู้แจ้งแทงตลอดเห็นตามสภาวะเป็นจริงทุกสิ่งถ้วนถี่ ทั้งขันธ์ภายนอก ภายใน หยาบและละเอียดเสมอกับด้วยปัญจขันธ์ คือ สัมมสนญาณประหารโสฬสวิจิกิจฉาให้ขาดด้วยอำนาจปฏิสังขาญาณ ผ่านพ้นมหรรณพโอฆสงสารด้วยอุเบกขาญาณเข้าถึงซึ่งมรรคอันเอก จิตสงบวิเวกอยู่ด้วยญาณ ด้วยอำนาจมัคคปหาน อาการทั้งหลาย ๗ มีสัมมาสังกัปปะเป็นต้น มีสัมมาสมาธิเป็นปริโยสาน หยุดการทำหน้าที่ นี่แลจึงเรียกว่า ทางมัชฌิมาเป็นทางเอก เป็นทางวิเวกบริสุทธิ์หมดจด หากจะไปกำหนดตามอาการเป็นต้นว่า สัมมาทิฏฐิความเห็นชอบ คือ เห็นอริยสัจธรรมทั้ง ๔ ตามเป็นจริง เป็นต้น ย่อมไม่พ้นจากโสฬสวิจิกิจฉา กำหนดว่าสัมมาสมาธิความตั้งใจมั่นเป็นปริโยสานแล้ว เป็นอาการ ย่อมไม่ข้ามพ้นจากสัญญาอนาคตไปได้แน่ แต่เมื่อเข้าถึงมัชฌิมาทางอันเอกแล้ว ย่อมรู้แจ้งซึ่งอาการบริขารบริวารของสัมมาทิฏฐิได้เป็นอันดี เป็นต้นว่า การเพ่งพิจารณาพระกรรมฐาน มีกายคตา อสุภ เป็นต้น ก็เพื่อพ้นจากความดำริในกาม การพิจารณาว่าอันนั้นเป็นอสุภ เป็นธาตุ เป็นต้น เรียกว่าบ่นคนเดียว ไม่เสียดสีใคร ได้ชื่อว่าสัมมาวาจา การประกอบตามหน้าที่ของสมถะหรือวิปัสสนา ไม่ต้องไปเกะกะระรานกับคนอื่นๆ เรียกว่าสัมมากัมมันตะ การมีสติเพ่งพิจารณาองค์สมถะแลวิปัสสนาอยู่นั้น ได้ชื่อว่ามีชีวิตอันไม่เปล่าเสียจากประโยชน์ ได้ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ การเพ่งพิจารณาสมถะทั้งปวงก็ดี หรือเจริญวิปัสสนาปัญญาทั้งสิ้นก็ดี ได้ชื่อว่าเป็นการพายการแจวอยู่แล้ว ด้วยเรือลำเล็กลอยในน้ำคือโอฆะ จึงเรียกว่าสัมมาวายามะ การเจริญสมถวิปัสสนามาโดยลำดับไม่ถอยหลัง มีสติตั้งมั่นจึงไม่เสื่อมจากภูมินั้นๆ เรียกว่าสัมมาสติ ใจแน่วแน่มั่นคงตรงต่อสัมมาทิฏฐิตั้งแต่ต้นจนกระทั่งสมังคี มัชฌิมาทางเอกนี้ ไม่มีวิปลาสและอุจเฉททิฏฐิ สัสสตทิฏฐิ โสฬสวิจิกิจฉาเป็นเครื่องกั้นนั่นแล จักได้ชื่อว่า สัมมาสมาธิ องค์อริยมรรคแท้


    บริวารบริขารทั้ง ๗ ของสัมมาทิฏฐิ ถ้าเป็นอริยมรรคแล้ว ย่อมรวมเป็นอันเดียว มีในที่เดียวไม่แตกต่างกันออกไปเลย จะสมมติบัญญัติหรือไม่ก็ตาม ย่อมมีอยู่เป็นอยู่อย่างนั้นนั่นเอง จึงได้นามสมัญญาว่าทางอันเอก มรรค ๘ นี้รวมสมังคีเป็นองค์อันหนึ่งในภูมิของพระอริยเจ้าแต่ละภูมินั้นครั้งเดียว ในสมัยวิมุตติแล้วไม่กลับเป็นอีกต่อไปในสมัยอื่น นอกนี้เป็นมัคคปฏิปทาดำเนินตามมรรคเท่านั้น ดังจักมีคำถามว่า ถ้ามัคคสมังคีเกิดมีในภูมิของพระอริยเจ้าแต่ละชั้นนั้นครั้งเดียวแล้วไม่กลับเกิดอีก ถ้าอย่างนั้นพระอริยเจ้าก็เป็นอริยะแต่ขณะมัคคสมังคีสมัยวิมุตติ นอกจากนั้นแล้วก็เป็นปุถุชนธรรมดาซิ ตอบว่ามิใช่อย่างนั้น มัคคสมังคีสมัยวิมุตตินี้มีเฉพาะในภูมิของพระอริยะเท่านั้น แล้วเป็นของแต่งเอาไม่ได้ แต่งได้แต่มัคคปฏิปทา คือ สมถะแลวิปัสสนาเท่านั้น เมื่อธรรมทั้งสองนั้นมีกำลังสม่ำเสมอไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันแล้วเมื่อไร มัคคสมังคีสมัยวิมุตติก็เกิดขึ้นเมื่อนั้น เมื่อเกิดขึ้นครู่หนึ่งขณะหนึ่งแล้วก็หายไป นอกจากนั้น ถ้าเป็นพระเสขบุคคลก็ดำเนินมัคคปฏิปทาขั้นสูงต่อๆ ไป อย่างนั้นอีกเรื่อยๆ ไป ถ้าเป็นพระอเสขบุคคลแล้ว มัคคปฏิปทานั้นก็เป็นวิหารธรรมในทิฏฐธรรมหรือสัลเลขปฏิปทาของท่านต่อไป ท่านแสดงไว้ในอภิธัมมัตถสังคหะว่า พระอริยมรรคของพระอรหันต์ทำหน้าที่ปหานกิเลสทั้งหลายมีอุปธิกิเลสเป็นต้นแล้ว ผลก็เกิดขึ้นในลำดับครู่หนึ่งแล้วก็หายไป แท้จริงของ ๒ อย่างนี้แต่งเอาไม่ได้ คือ ภวังคจิต ๑ มัคคสมังคี ๑ แต่ภวังคจิตถึงแต่งเอาไม่ได้ก็จริง แต่เข้าถึงที่เดิมได้บ่อยๆ เพราะภวังคจิตมีอุปธิยึดมั่นอยู่ในภูมินั้นๆ ส่วนมัคคสมังคีไม่มีอุปธิเข้ายึดมั่นเฉพาะในภูมินั้นๆ เสียแล้ว ฉะนั้น พระเสขบุคคลถึงหากว่าท่านยังไม่ถึงพระนิพพาน ก็เพราะละอุปธิอันละเอียดยังไม่หมด แต่ท่านได้รับรสของอมตะแล้ว หรือที่เรียกว่าตกถึงกระแสพระนิพพานแล้ว มีคติอันไม่ถอยหลังเป็นธรรมดา ถึงพระโสดาทั้งสามชั้นนั้นก็ดี หรือพระสกิทาคาก็ดี ท่านก็มีคติแน่นอนไม่ต้องตกอบายอีกเป็นแท้ ถึงท่านเดินทางยังไม่ตลอดมีอุปสรรคพักผ่อนนอนแรมตามระยะทาง (คือตาย) ก็ดี แต่ท่านยังมีจุดมุ่งหมายที่ปลายทางอยู่เสมอ แลตื่นนอนแล้ว นิสัยตักเตือนเป็นเพื่อนสหายพอสบอุบายที่เหมาะเจาะก็รีบเดินทันที เหตุนั้นพระเสขะทั้ง ๒ องค์นี้จะว่าเสื่อมได้ก็ใช่เพราะไม่ติดต่อตายในกลางคัน ภูมินั้นก็พักไว้ไปเสวยผลเสียก่อน หรืออินทรีย์ยังไม่แก่กล้าสามารถจะเดินให้ทันเขา แต่ตอนหลังนี้ไม่มีปัญหา จะว่าไม่เสื่อมก็ได้ เพราะว่านิสัยนั้นยังมีอยู่ อุปมาเหมือนกับพืชผลที่บุคคลเก็บมาไว้ข้างในไม่เหี่ยวแห้ง ถึงแม้จะนำไปปลูกในประเทศที่ใดๆ ก็ดี เมื่อมีผลขึ้นมาแล้วจะต้องมีรสชาติอย่างเดิมอยู่นั้นเอง ฉะนั้น เรื่องนิสัยนี้ ถ้าผู้ใช้ความสังเกตจะทราบได้ชัดทีเดียวว่าทุกๆ คนย่อมมีนิสัยไม่เหมือนกัน นิสัยของแต่ละคนนั้นจะแสดงให้ปรากฏตั้งแต่เด็กๆ จนกระทั่งแก่ ย่อมจะแสดงอาการอยู่ในขอบเขตอันเดียวกันเรื่อยๆ มาทีเดียว นิสัยเป็นของละได้ยาก เว้นไว้แต่พระสัมมาสัมพุทธะเท่านั้นจะละได้ ส่วนพระอรหันต์ขีณาสพละไม่ได้ เช่นพระสารีบุตรเถระเป็นตัวอย่าง นิสัยท่านเคยเกิดเป็นวานรมาแล้วแต่ก่อน ครั้นมาในชาตินี้ถึงเป็นพระขีณาสพแล้ว นิสัยนั้นก็ยังติดตามมาอยู่ เมื่อท่านจะเดินเหินไปในที่เป็นหลุมบ่อโขดหิน ท่านมักชอบกระโดดอย่างวานร นี้เป็นตัวอย่าง


    สโมธานปริวัฏ สมถวิปัสสนาดังแสดงมาแล้วตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ เป็นวิถีทางเดินของผู้ปฏิบัติทั้งหลาย ทุกๆ คนจะเว้นเสียไม่ได้ ชื่อแลอาการของสมถวิปัสสนาดังแสดงมาแล้วหรือนอกออกไปกว่านั้นก็ดี ถึงจะมีมากสักเท่าใด ผู้ฝึกหัดพระกรรมฐานมากำหนดเพ่งเอาแต่เฉพาะกายอย่างเดียว โดยให้เห็นเป็นธาตุเป็นอสุภเป็นต้น เท่าที่อธิบายมาแล้วข้างต้นนั้น เท่านี้ก็เรียกว่าเดินอยู่ในวิถีขอบเขตของทางทั้ง ๒ นั้นอยู่แล้ว การปฏิบัติไม่เหมือนเรียนปริยัติ เรียนปฏิบัตินั้นเราเรียนแล้วได้น้อยหรือมากก็ตาม ตั้งหน้าตั้งตาลงมือทำตามให้รู้รสชาติของความรู้นั้นจริงๆ เรียนเพื่อหาความรู้ในการที่จะถอนตนออกจากเครื่องยุ่งเหยิง แม้แต่บทพระกรรมฐานที่เรียนได้แล้วเอามาเจริญบริกรรมเพ่งพิจารณาอยู่นั้นก็ดี ถ้าหากเข้าถึงสมถวิปัสสนาอันแท้จริงแล้วก็จะสละทิ้งหมดทั้งนั้น คงยังเหลืออยู่แต่ความรู้ความชัดอันเกิดจากสมถวิปัสสนานั้นเท่านั้น สัญญาปริยัติจะไม่ปรากฏ ณ ที่นั้นเลย แต่มโนบัญญัติจะปรากฏขึ้นมาแทนที่ ฉะนั้น ความรู้ความเห็นอันนั้นจึงเป็นปัจจัตตัง จึงถึงองค์พระธรรมนำผู้รู้ผู้เห็นนั้นให้บริสุทธิ์หมดจดได้ ส่วนการเรียนพระปริยัติ เรียนเพื่อจดจำตำราคัมภีร์ มีจำบาลี บทบาท อักขระ พยัญชนะ เป็นต้น อันเป็นพุทธวจนะรากเหง้าของพุทธศาสนา ต้องใช้กำลังสัญญาจดจำเป็นใหญ่ คนเรียนพระกรรมฐานอื่นๆ นอกจากรูปกายนี้แล้ว (ข้าพเจ้าเห็นว่า) ไม่เหมาะแก่ผู้ปฏิบัติซึ่งมีการจดจำพระปริยัติน้อย เพราะกายนี้เพ่งง่าย รู้ง่าย จำได้ง่าย เพราะมีอยู่ในตัวทุกเมื่อ แหละถึงเราจะไม่ทราบว่าธรรมทั้งหลายมีกรรมฐาน ๔๐ เป็นต้น มีอยู่ในตนก็ดี เมื่อเราเพ่งพิจารณาในรูปกายนี้ ก็ได้ชื่อว่าเจริญพระกรรมฐานทั้งหลายเหล่านั้นอยู่แล้ว แล้วเป็นที่ตั้งอุปาทานอันเป็นแหล่งแห่งกิเลสทั้งหลาย มีสักกายทิฏฐิความหลงถือว่าเป็นเราเป็นเขา เป็นต้น


    เมื่อมาเพ่งรูปกายนี้โดยวิธีที่แสดงมาข้างต้นนั้น หากมาเห็นชัดตามเป็นจริงว่ารูปกายนี้เป็นแต่สักว่าธาตุดินเป็นต้น เมื่อจิตยังไม่หลุดพ้นจากอุปาทาน ก็ได้ชื่อว่าเห็นอาการของธรรมทั้งหลายอยู่แล้ว หรือเห็นด้วยจิตอันดิ่งแน่วแน่ด้วยองค์ภวังค์ ก็พอจะยังนิวรณธรรมให้สงบอยู่ได้ ถ้าสมาธิแน่วแน่ดี อันมีวิปัสสนาเป็นผลเกิดขึ้นในที่นั้น ก็จะย้อนกลับมาเพ่งวิพากษ์วิจารณ์รูปสังขารตัวนี้เอง เมื่อเห็นตามเป็นจริงแล้ว ก็จะทิ้งอุปธิตัวนี้แหละ


    ฉะนั้น รูปกายนี้จึงได้ชื่อว่าเหมาะ สมควรที่จะเอามาเป็นอารมณ์เจริญกรรมฐานของผู้มีการจดจำน้อย เมื่อผู้มาเพ่งพิจารณารูปกรรมฐานอันนี้เป็นอารมณ์อยู่ จะได้ความรู้จากรูปอันนี้เป็นอันมาก เช่น จะรู้ว่ารูปอันนี้สักแต่ว่าธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๖ หรือเป็นอสุภเป็นต้น เมื่อจิตพลิกกลับจากสัญญาอุปาทานที่เข้ามายึดถือใหม่นี้ แล้วเข้าไปรู้เห็นด้วยความรู้ความเห็นอันเป็นภาวะเดิมของตัว สัญญาอุปาทานใหม่นี้จะเป็นที่ขบขันมิใช่น้อย สมถะหรือฌานและสมาธิจะเกิดขึ้นได้ก็เพราะมาปรารภเอารูปกรรมฐานอันนี้เป็นอารมณ์ วิปัสสนาเห็นแจ้งชัดได้ก็เพราะมาเพ่งเอารูปสังขารอันนี้เป็นที่ตั้ง ฉะนั้น ทางทั้ง ๒ เส้นนี้เป็นของเกี่ยวพันกันไปในตัว


    อธิบายว่าเมื่อเจริญสมถะมีกำลังแล้ววิปัสสนาจึงจะเดินต่อ เมื่อเดินวิปัสสนาเต็มที่แล้ว จิตก็ต้องมาพักอยู่ในอารมณ์ของสมถะนั้นเอง ทั้งที่จิตเดินวิปัสสนาอยู่นั้น เช่น พิจารณาเห็นสังขารเป็นอนิจจลักษณะเป็นต้น จิตก็สงบเพ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียวนั้นเอง วิปัสสนาจึงแจ้งชัด ซึ่งจัดว่ามีสมถะอยู่พร้อมแล้ว เมื่อเจริญสมถะอยู่ เช่น เพ่งพิจารณารูปกายอันนี้ให้เป็นธาตุ ๔ เป็นต้น ตามความเป็นจริงแล้ว จิตนั้นสงบแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันนั้น ความเห็นตามเป็นจริงก็ได้ชื่อว่าวิปัสสนาอยู่แล้ว สมถะแลวิปัสสนาทั้งสองนี้ มีวิถีทางเดินอันเดียวกัน คือ ปรารภรูปขันธ์นี้เป็นอารมณ์เหมือนกัน จะมีแยกกันอยู่บ้างก็ตอนปลาย คือว่าเมื่อเจริญสมถะอยู่นั้น จิตตั้งมั่นแล้วน้อมไปสู่เอกกัคคตารมณ์หน้าเดียว จนจิตเข้าถึงภวังค์นั้นแล จึงจะทิ้งวิปัสสนา เรียกว่าสมถะแยกทางตอนปลายออกจากวิปัสสนา ถ้าวิปัสสนาเดินออกนอกขอบเขตของสมถะ หรือสมถะอ่อนไปจนเป็นเหตุให้ฟุ้งซ่านตามอาการของสัญญา มีส่งตามตำราแลแบบแผนเป็นต้น เรียกว่าวิปัสสนาแยกออกจากสมถะ หรือจิตที่เพลินมองดูตามนิมิตต่างๆ ซึ่งเกิดจากสมถะนั้นก็ดี ถึงจิตนั้นจะแน่วแน่อยู่ในนิมิตนั้นก็ตาม เรียกว่าวิปัสสนาแปรไปเป็นวิปัสสนูปกิเลส เรียกว่าวิปัสสนาแยกทางออกจากสมถะเสียแล้ว


    สมถวิปัสสนานี้ เมื่อมีกำลังเสมอภาคกันเข้าเมื่อไรแล้ว เมื่อนั้นแล มรรคทั้งแปดมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น จะมารวมกันเข้าเป็นองค์อันเดียว อย่าว่าแต่มรรคทั้งแปดเลย อริยสัจธรรมทั้งสี่ก็ดี โพธิปักขิยธรรมทั้งสามสิบเจ็ดก็ดี หรือธรรมหมวดอื่นๆ นอกจากนี้ก็ดี ย่อมมารวมอยู่ในมรรคอันเดียวในขณะเดียวกันนั้น ขณะนั้นท่านจึงเรียกว่า สมัยวิมุตติ หรือ เอกาภิสมัย รู้แจ้งแทงตลอดในสัพพเญยยธรรมทั้งปวงขณะเดียว ของไม่รวมกันอยู่ ณ ที่เดียวจะไปรู้ได้อย่างไร จึงสมกับคำว่า ผู้มีเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ จึงจะถึงวิมุตติธรรมได้ดังนี้


    ดังจักมีคำถามว่า มรรคทั้งแปดทำไมจึงมารวมเป็นอันเดียวกัน แล้วธรรมทั้งหลายมีอริยสัจ ๔ เป็นต้น ก็มารวมอยู่ในที่นั้นด้วย ส่วนผู้ที่มาอบรมให้เป็นไปเช่นนั้นแต่ก่อนๆ ก็ไม่ทราบว่าอะไรเป็นธรรมหมวดไหน แต่ในเวลาธรรมมารวมเข้าเป็นอันเดียวกันแล้วทำไมจึงรู้ได้ (ข้าพเจ้าขอตอบโดยอนุมานว่า) เพราะจิตเดิมเป็นของอันเดียว ที่ว่าจิตมีมากดวง เพราะจิตแสดงอาการออกไปจึงได้มีมาก เมื่อจิตมีอันเดียว ธรรมอันบริสุทธิ์ที่จะให้หลุดพ้นจากอาการมาอย่างก็ต้องมีอันเดียวเหมือนกัน จิตอันเดียว ธรรมอันเดียว จึงเข้าถึงซึ่งวิมุตติได้ จึงเรียกว่า เอกาภิสมัยวิมุตติ


    ส่วนท่านผู้ที่มาอบรมให้เป็นไปเช่นนั้นได้ แต่เมื่อก่อนๆ ถึงจะไม่รู้ว่า อันนั้นเป็นธรรมชาตินั้นๆ ก็ดี แต่เมื่อมารวมอยู่ในที่เดียวกันแล้ว ย่อมเห็นทั้งหมดว่าอันนั้นเป็นธรรมอย่างนั้น มีกิเลสและไม่มีกิเลส แสดงลักษณะอาการอย่างนั้นๆ ย่อมปรากฏชัดอยู่ในที่อันเดียว ส่วนสมมติบัญญัติจัดเป็นหมวดเป็นหมู่แต่งตั้งขึ้นมาตามลักษณะที่เป็นจริงอยู่นั้น จึงมีชื่อเรียกต่างๆ เป็นอย่างๆ ออกไป สำหรับผู้รู้อยู่ในที่เดียว เมื่อเห็นชัดเช่นนั้นแล้ว ใครจะสมมติบัญญัติหรือไม่ก็ตาม สิ่งเหล่านั้นย่อมเป็นอยู่อย่างนั้นๆ ทีเดียว ข้อนี้เปรียบเหมือนกับกล้องจุลทรรศน์รวมดึงดูดเอาเงาของภาพทั้งหลายที่มีอยู่ข้างหน้าเข้ามาไว้ที่เดียวทั้งหมด แล้วทำภาพในขณะเดียวกันทั้งหมด แต่กล้องนั้นมิได้สมมติบัญญัติภาพเหล่านั้นเลย


    ฉะนั้น สมถวิปัสสนาที่แสดงมาแต่ต้นจนอวสานนี้ เป็นวิถีทางของพระโยคาวจรผู้เจริญสมถวิปัสสนา เพื่อให้ถึงซึ่งมรรคอันสูงขึ้นไปโดยลำดับ ถ้าเป็นมรรคสามในข้างต้น ความรู้ ความเห็น การละ ก็เป็นไปตามภูมิของตนโดยลำดับของมัคคสมังคีนั้น มีผลเกิดขึ้นในความอิ่มความเต็มแล้ว วางเฉยขณะหนึ่งแล้วก็หายไป ต่อนั้นไปก็ดำเนินมัคคปฏิปทาต่อไปอีก ในสมัยวิมุตติอื่นก็เช่นนั้นเหมือนกัน ถ้าเป็นมรรคที่สูงสุดยอดเยี่ยมของมรรคทั้งหลายแล้ว ต่อจากผลนั้นมามีลักษณะจิตอันหนึ่ง ให้น้อมไปในวิเวกเป็นอารมณ์ แล้วย้อนกลับมาตรวจดูมัคคปฏิปทา อันปหานกิเลสแล้วชำนะธรรมารมณ์อันเป็นเครื่องอยู่ต่อไป ข้อนี้อุปมาเหมือนบุรุษผู้ชาวสวนถางป่า เมื่อเขาถางป่าเตียนหมดแล้วก็ใช้ไฟเผา จนทำให้ที่เขาถางนั้นเป็นเถ้าเป็นฝุ่นไปหมด เมื่อป่าที่เขาเผานั้นเตียนโล่งไปหมดแล้ว เขาก็มาตรวจดูภูมิภาคเหล่านั้นด้วยความปลาบปลื้ม ที่ไหนสมควรจะเพาะปลูกพืชพรรณธัญญชาติสิ่งใด ในที่ไหน เขาก็ปลูกตามชอบใจ


    ฉะนั้น ขอสาธุชนผู้หวังอมตรสให้ปรากฏในมัคควิถี จงพากันยินดีในทางอันเอกจะได้ถึงวิเวกอันเกษมศานต์ การกระทำพระกรรมฐานดังแสดงมาแล้วนี้มิใช่เป็นการยากลำบากนัก ถ้าหากรู้จักหนทางแล้ว เดินพริบหนึ่งขณะจิตเดียวก็จะถึงซึ่งเอกายนมรรค ไม่จำเป็นจะต้องพักผ่อนนอนแรมตามระยะทางให้ชักช้า ขอแต่เชิญพากันตั้งศรัทธาปสาทะในมัคคปฏิปทาเป็นนายหน้าก็แล้วกัน คุณมหันต์อันเราประสงค์คงได้แน่
    ..............จบบริบูรณ์............
    :- https://sites.google.com/site/smartdhamma/sxng-thang-smtha-wipassna
     
  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,601
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    ถาม ตอบปัญหาธรรม โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ตอนที่ ๑

    ถาม ตอบปัญหาธรรม โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ตอนที่ ๒

    ถาม ตอบปัญหาธรรม โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ตอนที่ ๓

    ฐากูร เกิดรัตน์
    Sep 4, 2017
    จากหนังสือ "ปุจฉาวิสัชชนาในต่างประเทศ โดย พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (เทสก์ เทสรังสี)" เสียงอ่านโดยมนต์ประทีป อมะรักษ์ และฐากูร เกิดรัตน์ ผลิตและเผยแพร่โดยกองทุนสัจธรรมทานเพื่อเผยแผ่ธรรม (กองทุน สธธ)

     
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,601
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    ถาม ตอบปัญหาธรรมโดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ตอนที่ ๔

    ถาม ตอบปัญหาธรรมโดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ตอนที่ ๕

    ฐากูร เกิดรัตน์
    จากหนังสือ "ปุจฉาวิสัชชนาในต่างประเทศ โดย พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์" เสียงอ่านโดยมนต์ประทีป อมะรักษ์ และฐากูร เกิดรัตน์ ผลิตและเผยแพร่โดยกองทุนสัจธรรมทานเพื่อเผยแผ่ธรรม (กองทุน สธธ)

     
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,601
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    ถาม ตอบปัญหาธรรมโดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ตอนที่ ๖

    ถาม ตอบปัญหาธรรมโดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ตอนที่ ๗

    ถาม ตอบปัญหาธรรมโดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ตอนที่ ๘ จบบริบูรณ์

    ฐากูร เกิดรัตน์
    จากหนังสือ "ปุจฉาวิสัชชนาในต่างประเทศ โดย พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์" เสียงอ่านโดยมนต์ประทีป อมะรักษ์ และฐากูร เกิดรัตน์ ผลิตและเผยแพร่โดยกองทุนสัจธรรมทานเพื่อเผยแผ่ธรรม (กองทุน สธธ)

     
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,601
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ประวัติและคำสอนหลวงปู่เทสก์

    พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ คือชื่อของ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ซึ่งกรรมฐาน พระภิกษุฝ่ายวิปัสสนาธุระสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่มีชื่อเสียง F-Dhamma1.png

    หลวงปู่เทสก์ เกิดเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2445 และได้มรณภาพลงในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 รวมอายุ 92 ปี กับ 235 วัน พรรษา 71

    หลวงปู่เทสก์เข้าอุปสมบท 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 ที่วัดหินหมากเป้ง จังหวัดหนองคาย หลวงปู่ได้บวช และสังกัดฝ่ายธรรมยุติก หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หรือ พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ เกิดที่บ้านนาสีดา ตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2445 ปีขาล หลวงปู่เทสก์เกิดในครอบครัวชาวนา หลวงปู่เทสก์เป็นบุตรของนายอุส่าห์ นางครั่ง เมื่อหลวงปู่เทสก์อายุได้ 18 ปี ได้บวชเณรและติดตาม พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ออกธุดงค์ ได้มีโอกาสศึกษาธรรมที่วัดสุทัศนาราม จังหวัดอุบลราชธานี และวัดศรีทอง

    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสีได้เข้าอุปสมบท ที่พัทสีมาวัดสุทัศนาราม ในวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 โดยพระมหารัฐเป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาปิ่น ปัญญาพโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ระหว่างที่ท่ายออกธุดงค์ กับพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ได้มีโอกาสเข้ากราบนมัสการ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

    Monk1.jpg การจาริกธุดงค์ ของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ท่านได้จาริกธุดงที่ป่าเมี่ยง ดอยแม่ปั๋ง จังหวัดเชียงใหม่ และท่านได้ปฏิบัติกรรมฐานในแถบภาคเหนือ ถิ่นของชาวเผ่ามูเซอร์ ท่านหลวงปู่เทสก์ ได้จาริกโปรดคนบริเวณจังหวัดลำพูน หลังจาก ในปี พ.ศ. 2492 นั้นท่านได้กลับมาพำนักที่วัดอรัญญวาสี อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ท่านได้ไปเยี่ยมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโตที่อาพาธ ณ วัดบ้านหนองผือนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จนกระทั่งท่านหลวงปู่มั่นได้มรณภาพลง ในปี พ.ศ. 2493 หลังจากที่หลวงปู่มั่นมรณภาพ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ก็ไปจำพรรษาที่ภาคใต้ ในแถบจังหวัดภูเก็ต พังงา และกระบี่ เป็นเวลา 15 ปี จากนั้นได้กลับมาจำพรรษาที่วัดถ้ำขาม อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร และวัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ในเวลาต่อมา

    สมณศักดิ์ของหลวงปู่เทสก์ เทศรังสี

    • ได้สมณศักดิ์ เป็น พระครูสัญญาบัตรที่ พระครูนิโรธรังสี เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2498
    • ได้รับสมณศักดิ์ เป็น พระราชาคณะยกฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาจารย์ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2500
    • ได้รับสมณศักดิ์ เป็น พระราชาคณะชั้นราชฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม อรัณยวาสี เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2533
    ในวาระสุดท้ายของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ท่านพำนัก ณ วัดถ้ำขาม และมาณภาพลงอย่างสงบ ในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 เวลา 21.45 น อายุได้ 93 ปี 71 พรรษา ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานน้ำหลวงสรงศพและทรงพระราชทานหีบทองทึบ และรับงานบำเพ็ญกุศลอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์

    พิธีพระราชทานเพลิงศพ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ได้จัดขึ้นที่วัดหินหมากเป้ง จังหวัดหนองคาย ในทุกๆ วันที่ 17 ธันวาคม ของทุกปี สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะให้ผู้แทนพระองค์นำแจกันดอกไม้วางหน้าพระอัฐิหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ณ วัดหินหมากเป้ง

    คำสอนของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

    “ชีวิตและเลือดเนื้อตลอดถึงข้อวัตร ที่หลวงปู่ทำอยู่ทั้งหมด ขอมอบบูชาพระรัตนตรัยเหมือนกับบุคคลเด็ดดอกไม้บูชาพระฉะนั้น”

    “”คนเราเกิดมาในเมืองมนุษย์ ต้องพบมนุษย์อยู่ร่ำไป พระพุทธเจ้าสอนให้อยู่ด้วยความสงบวิเวกด้วยใจ อย่าไปยึดเอาเรื่องของคนอื่นมาไว้เป็นอารมณ์ของใจ แล้วก็จะวิเวกอยู่คนเดียว ถ้าใจไม่สงบแล้วจะอยู่ในป่าคนเดียวมันก็ไม่สงบอยู่ดีๆนั่นเอง””
    :- https://beezab.com/หลวงปู่-เทสก์-เทสรังสี/
     
  14. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,601
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง หนองคาย เทศน์เรื่องที่พึ่งที่อาศัย

    urai1791
    Mar 15, 2022
     
  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,601
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง หนองคาย เทศน์เรื่องความเสื่อมสูญของชีวิต

    urai1791
    3,803 views Jan 2, 2022
     
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,601
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    อาจารย์ยอด : หลวงปู่เทศก์ เทสรังสี ขึ้นดอยมูเซอ [พระ] new

    อาจารย์ยอด
    51,881 views Apr 2, 2022
     
  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,601
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง หนองคาย เทศน์เรื่องจิตที่ควรชมและขนาบ

    urai1791
    Mar 1, 2022
     
  18. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,601
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง หนองคาย เทศน์เรื่องจิต

    urai1791
    Feb 2, 2022
     
  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,601
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง หนองคาย เทศน์เรื่องธรรมอาศัยความสงบ

    urai1791
    Jun 4, 2022
     
  20. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,601
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047

แชร์หน้านี้

Loading...