ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    เพื่อให้เข้ากับกระทู้หลัก (พระเครื่อง-วัตถุมงคล)

    พระผงชุดนี้ทั้งหมดสร้างโดย ท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร
    [​IMG]

    องค์แรก พระผงโสฬสพิมพ์ท่านเจ้าคุณนรฯ เจ้าคุณนรฯ และ หลวงปู่ทิม เสกครับ
    [​IMG]

    ด้านหลังครับ
    -----------------------------------------------------------------------
    องค์ที่ 2

    [​IMG]



    พระปิดตา 2 หน้า เจ้าคุณนรฯ และ หลวงปู่ทิม เสก

    [​IMG]

    ด้านหลังครับ

    หากว่าข้อมูลผิดพลาดประการใดต้องขอขมา และขอคำแนะนำด้วยครับ

    ขอขอบคุณ แหล่งที่มา >>ClickHere<<​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤษภาคม 2008
  2. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    องค์ที่ 3

    [​IMG]



    รูปเหมือนใบโพธิ์ท่านเจ้าคุณนรฯ

    [​IMG]

    ด้านหลัง
    เจ้าคุณนรฯ และ หลวงปู่ทิม เสก

    --------------------------------------------------------------------

    องค์ที่ 4

    [​IMG]


    พระผงสามเหลี่ยม พิมพ์พระพุทธ


    [​IMG]

    ด้านหลัง
    เจ้าคุณนรฯ และ หลวงปู่ทิม เสก
    หากว่าข้อมูลผิดพลาดประการใดต้องขอขมา และขอคำแนะนำด้วยครับ
    ขอขอบคุณ แหล่งที่มา >>ClickHere<<​
     
  3. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    องค์ที่ 5 ​

    [​IMG]


    พระผงพิมพ์พระปิดตาวังหน้า
    [​IMG]

    ด้านหลัง
    เจ้าคุณนรฯ และ หลวงปู่ทิม เสก
    -----------------------------------------------------------------------
    องค์ที่ 6 ​

    [​IMG]

    พระปิดตาชักยันต์
    [​IMG]

    ด้านหลัง
    หลวงปู่ทิม หลวงปู่ม่น วัดเนินตามาก เสก ​

    หากว่าข้อมูลผิดพลาดประการใดต้องขอขมา และขอคำแนะนำด้วยครับ
    ขอขอบคุณ แหล่งที่มา >>ClickHere<<​
     
  4. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    องค์ที่ 6

    [​IMG]

    พระปิดตาใบมะขาม

    [​IMG]

    ด้านหลัง

    หลวงปู่ทิม หลวงปู่ม่น วัดเนินตามาก เสก
    -----------------------------------------------------------------------
    องค์ที่ 7

    [​IMG]

    พระปิดตาบินเดี่ยว
    [​IMG]

    ด้านหลัง

    หลวงปู่ทิม เสก
    หากว่าข้อมูลผิดพลาดประการใดต้องขอขมา และขอคำแนะนำด้วยครับ
    ขอขอบคุณ แหล่งที่มา >>ClickHere<<​
     
  5. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    องค์ที่ 8

    [​IMG]

    พระปิดตาบินเดี่ยว รักแดง

    [​IMG]

    ด้านหลัง

    หลวงปู่ทิม เสก
    -----------------------------------------------------------------------
    องค์ที่ 9

    [​IMG]

    พระปิดตาแขนอ่อน

    [​IMG]

    ด้านหลัง

    หลวงปู่ทิม เสก

    หากว่าข้อมูลผิดพลาดประการใดต้องขอขมา และขอคำแนะนำด้วยครับ
    ขอขอบคุณ แหล่งที่มา >>ClickHere<<​
     
  6. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    องค์ที่ 10

    [​IMG]

    พระพุทธชินราช

    [​IMG]

    ด้านหลัง
    หลวงปู่ทิม เสก
    -----------------------------------------------------------------------
    องค์ที่ 11

    [​IMG]

    พระผงดำถ้ำผาป่อง รุ่น 1
    [​IMG]

    ด้านหลัง
    หลวงปู่ทิม หลวงปู่สิม เสก
    -----------------------------------------------------------------------
    องค์ที่ 12

    [​IMG]

    พระผงดำถ้ำผาป่อง รุ่น 2

    [​IMG]

    ด้านหลัง

    หลวงปู่ทิม หลวงปู่สิม + เกจิหลายองค์ เสก

    หากว่าข้อมูลผิดพลาดประการใดต้องขอขมา และขอคำแนะนำด้วยครับ
    ขอขอบคุณ แหล่งที่มา >>ClickHere<<​
     
  7. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    องค์ที่ 13

    [​IMG]

    พระปิดตาถ้ำผาป่อง พิมพ์ใหญ่
    [​IMG]

    ด้านหลัง
    หลวงปู่ทิม หลวงปู่สิม เสก
    -----------------------------------------------------------------------
    องค์ที่ 14

    [​IMG]

    พระปิดตาถ้ำผาป่อง พิมพ์เล็ก หรือ พระปิดตาอุดมความสุข

    [​IMG]

    ด้านหลัง
    หลวงปู่ทิม หลวงปู่สิม เสก

    หากว่าข้อมูลผิดพลาดประการใดต้องขอขมา และขอคำแนะนำด้วยครับ
    ขอขอบคุณ แหล่งที่มา >>ClickHere<<​
     
  8. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    องค์ที่ 15 ​

    [​IMG]

    พระปิดตา 2 หน้า ทิม-สิม ( สร้างน้อย )

    [​IMG]

    ด้านหลัง ​

    -----------------------------------------------------------------------

    องค์ที่ 16


    [​IMG]


    พระปิดตา 2 หน้า ทิม-สิม ( สร้างน้อย )

    หลวงปู่ทิม หลวงปู่สิม เสก ​

    [​IMG]

    ด้านหลัง
    หลวงปู่ทิม หลวงปู่สิม เสก
    -----------------------------------------------------------------------
    องค์ที่ 17 ​

    [​IMG]

    พระปิดตาหลังองค์พระ ​

    [​IMG]

    ด้านหลัง กดเป็นรูปองค์พระเข้าไป
    หลวงปู่ทิม เจ้าคุณนรฯ + เกจิหลายองค์ เสก ​

    หากว่าข้อมูลผิดพลาดประการใดต้องขอขมา และขอคำแนะนำด้วยครับ
    ขอขอบคุณ แหล่งที่มา >>ClickHere<<​
     
  9. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    องค์ที่ 18

    [​IMG]

    พระผงสุพรรณ

    [​IMG]

    ด้านหลัง

    หลวงปู่ทิมเสก

    -----------------------------------------------------------------------
    องค์ที่ 19

    [​IMG]

    พระปิดตาพิมพ์เจ้าจุ้ย

    [​IMG]

    ด้านหลัง
    หลวงปู่ทิม เสก

    หากว่าข้อมูลผิดพลาดประการใดต้องขอขมา และขอคำแนะนำด้วยครับ
    ขอขอบคุณ แหล่งที่มา >>ClickHere<<

     
  10. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    น้องโอ๊ตยิงชุดใหญ่เลยนะ มาชมพระปิดตาโสฬสมหาพรหม บินเดี่ยวหลวงปู่ทิมเสกของพี่บ้าง ได้มาจากอาจารย์ประถมเมื่อปี2529

    [​IMG]
     
  11. 16

    16 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    351
    ค่าพลัง:
    +419
    พี่โสระ เส้นลายมือละเอียด คมชัด สวยมากคร้าบ (y)
    .
    .
    .
    ( ว่าแต่พระพิมพ์มีเหลือเผื่อแจกน้องๆบ้างไหมล่ะนั้น :555: )
     
  12. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    และนี่ครับพระมงคลมหาลาภ ของวัดสัมพันธวงศ์ ที่มาของผงโสฬสมหาพรหม ที่อาจารย์ประถมนำมาผสมกับผงต่างๆ ทำพระปิดตาชุดนี้ขึ้นมาให้หลวงปู่ทิมเสก ผงคนละอย่างกันกับพระท่าดอกแก้ว ที่วงการเข้าใจผิดว่าโสฬสมหาพรหมคือผงชนิดเดียวกันกับท่าดอกแก้ว

    [​IMG]

    ท่านใดหาปิดตาโสฬสมหาพรหม ของหลวงปู่ทิมไม่ได้ ลองไปที่วัดสัมพันธวงศ์ เยาวราชดู ยังมีพระมงคลมหาลาภนี้เหลืออยู่ องค์ละประมาณพันบาท ทำบุญเข้าวัดได้พระดีมาบูชา ที่อายุการสร้างห้าสิบกว่าปีแล้ว และสุดยอดมากๆด้วยครับ
     
  13. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    <TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=2 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#b9dcf9>
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ประวัติการสร้าง[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]สมเด็จพระมงคลมหาลาภ
    (เดิมเรียก "พระพุทธมงคลมหาลาภ")
    [/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=a4 height=164 cellSpacing=2 cellPadding=3 width="100%" bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR bgColor=#e6f4ff><TD vAlign=top height=154><TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG] [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เป็นพระสมเด็จแบบสมเด็จพระพุฒาจารย์ พระแบบสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ พระพุทโธเล็ก พระวัดตะไกร และพระแบบวัดนางพระยา ฯลฯ

    พระเครื่องเหล่านี้สร้างเป็น ที่ระลึกในงานสมโภชพระพุทโธภาสชินราชจอมมุนี ซึ่งสร้างที่วัดสัมพันธวงศ์ พระนครแล้วเชิญไปประดิษฐานเป็นพระธาน ณ วัดสารนาถธรรมราม อำเภอแกลง จังหวัดระยอง พร้อมด้วยพระอัครสาวกซ้ายขวา เมื่อวันที่ ๕-๓๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๙๙ นั้น บางท่านยังไปทราบประวัติที่ควรทราบ ซึ่งเป็นเหตุจะจงใให้เกิดความเลื่อมใสสัทธา เพื่อได้เคารพบูชาให้แน่บแน่นสมกับเป็นปูชนียวัตถุที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นมงคลเหตุเครื่องเจริญอายุ วรรณะ สุขะ พละ แลลาภยศ สรรเสริญ สมบัติเกียรติศักดิ์ แลคุณธรรม คือเป็นสือสำคัญที่จะให้ใจเข้าถึงอิฐผลนั้นๆ อันนับว่าเป็นกำลังอันยิ่งใหญ่สำหรับชีวิต สามารถให้ถึงภาวะอันเป็นอิสสระเต็มที่ มีความเกษมนิรันดร

    เมื่อสร้างแจ้งให้ทราบแต่การประกอบพิธีบันจุพุทธมนต์เป็นพิเศษที่ยิ่งใหญ่โดยสังเขป ซึ่งยังไม่เคยเห็นทำที่ไหน คือจัดที่บูชาพร้อมเครื่องสังเวยต่างๆ มีเทียนธูป ข้าวตอก ดอกไม้ ๗ สี แลอาหารผลไม้ถึงอย่างละ ๓๗๕ ที่มีเบญจา มีเสวตฉัตร ๙ ชั้น สูง ๖ ศอก ๘ ต้น บายศรีเงิน บายศรีทอง ๙ ชั้น สูง ๖ ศอก อย่างละ ๘ ต้น บันจุพระพุทธมนต์ลงไปในน้ำ และผงที่จะสร้างพระนั้น โดยนิมนต์อาจารย์ผู้มีชื่อเสียงหลายวัดทำพิธีประจุมนต์ เข้าพิธีปลุกเศกมี


    พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) วัดบวรนิเวศวิหาร
    พระวรเวทย์คุณาจารจย์ (เมี้ยน ปภสสโร) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
    พระมหารัชชมังคลาจารย์
    พระครูวินัยธรเฟื่อง (ญาณปปทีโป)
    พระสอาด อภิวฒฒโน วัดสัมพันธวงศ์
    พระครูนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา
    พระอาจารย์บุ่ง วัดใหม่ทองเสน
    พระชอบ สัมมาจารี วัดอาวุธวิกสิตาราม ธนบุรี
    เป็นต้น


    พร้อมด้วยบันจุ เทพมนต์พรหมมนต์ โดยเชิญเทพแลพรหมผู้มีชื่อเสียงเก่าๆ มาเข้าทรงประกอบพิธีอธิษฐานบันจุมนต์ลงด้วย และบันจุมนต์โยคีโดยโยคีฮาเร็บ (อาจารย์ชื่น จันทรเพ็ชร) ผู้มีชื่อเสียงและ พ.ต.อ.ชะลอ อุทกภาชน์ ผู้เป็นศิษย์เป็นผู้ทำพิธีบรรจุ เสร็จพิธีแล้ว จึงได้ใช้ผงประสมทำเป็นองค์พระได้มงคลฤกษ์ จึงได้ทำพิธีปลุกเศกพระเครื่องนั้นอีกครั้งหนึ่ง

    พระเครื่องที่จะทำพิธีปลุกเศกนั้น ห่อด้วยผ้าขาว ๗ ชั้น ผ้าเขียว ๗ ชั้น พิธีนอกนั้นเหมือนเมื่อบันจุมนต์ลงในผงแลน้ำที่จะสร้างพระ ตั้งน้ำมนต์สำหรับแจกผู้ต้องการซึ่งมาร่วมพิธี ๔๐ ตุ่ม แต่ไม่ได้กล่าวถิ่นผงที่นำมาประสมสร้างพระนั้นว่ามีอะไรบ้าง มีผู้สนใจต้องการทราบอยู่เป็นจำนวนมา จึงสมควรเขียนประวัติ เนื่องด้วยผงที่นำมาประสมสร้างพระเครื่องนั้น ให้ท่านทราบไว้ด้วย ดังต่อไปน
    ี้

    ๑. ผงขอจากพระอาจารย์ต่างๆ ที่ท่านทำและรวบรวมไว้หลายวัด เช่นวัดพระเชตุพน วัดตรีทศเทพ วัดสัมพันธวงศ์ ฯลฯ ผงแป้งที่ทำแลผงจากพระของเก่าบ้าง
    ๒.ผงพระที่ทำด้วยว่านต่างๆ ที่นิยมว่าเป็นมงคลศักดิ์สิทธิ์ ๑๐๘ อย่าง ทำจากดอกไม้บูชาพระต่างๆ ๑๐๘ อย่าง
    ๓. ผงที่ทำด้วยดินจากท่าน้ำ ๗ ท่า และจากสระน้ำ ๗ สระ
    ๔. ผงที่ทำด้วยเอาคัมภีร์เก่าๆ ทั้งใบลานแลสมุดข่อยมาเผาบด ตั้งแต่หมายเลข ๑ ถึง ๕ นี้ประสมสร้างพระผงรุ่นก่อน แล้วเอาบดผสมเข้ากัน กับผงใหม่ที่นำมาเข้าพิธีนี้ด้วย
    ๕. ผงที่ได้จากดินที่สังเวชนียสถาน แห่งในอินเดียคือ ๑ ดินที่ลุมพินีระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และเทวทหะ ซึ่งเป็นที่ประสูดของพระพุทธเจ้า ๒ ดินที่มหาโพธิพุทธคยาที่ตรัสรู้ ๓ ดินทีสารนาถ มฤคทายวัน เมื่องพาราณสี ซึ่งเป็นที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจักร ๔ ดินที่กุสินนาราซึ่งเป็นที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน
    ๖. ดินจากสถานที่สำคัญอีก ๙ แห่ง คือดินจากสถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จเสวยวิมัติสุข ๗ แห่ง ปริเวณพุทธคยา มีที่รัตนะจงกลม แลที่สระมุจลินเป็นต้น แลดินที่พระคัณธกุฏีที่ประทับของพระพุทธเจ้าบนเขาคิชกูฏ (เมืองราชคฤห์) ๑ ดินที่พระคันธกุฏีที่ประทับในเมืองสาวัตถี ๓ ซึ่งพระครูสุภารพินิจ (โทน สุขพโล) วัดสัมพันธวงศ์ ได้ไปนมัสการปูชนียสถานนั้นๆ และได้นำมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๗ ผู้ที่มีพระเครื่องแบบพุทธมงคลมหาลาภ พระแบบสมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นต้นไว้บูชา เป็นอันได้ระฃึกถึงแลบูชา สังเวชนัยสถานด้วย
    ๗. ผงปูนขาวหินราชบุรี
    ๘. ผงปูนซิเมนต์ขาว และนอกจากนี้ ก็ยังมีดินเหนียวอย่างดี สีเหลือง แลน้ำอ้อยเป็นต้น


    ผงเหล่านี้นั้น ประสมกันมากบ้างน้อยบ้าง แล้วบดให้ละเอียดแร่งกรองด้วยผ้าป่าน สำเร็จเป็นผงที่จะสร้างพระเครื่อง ใช้น้ำมนต์ที่ทำไว้นั้นประสมกับของที่จะทำพระให้พระมีคุณภาพดี สวยงามทนทาน ศักดิ์สิทธิ์ต่อไป ประสมผงพิมพ์เป็นรูป พระพุทธมงคลมหาลาภ บ้างสมเด็จบ้าง

    ส่วนพระเครื่องอื่นสร้างด้วยดินประสมผงเผาแล้วนำมา เข้าพิธีปลุกเศกในคราวเดียวกันกับพระพุทธมงคลมหาลาภเสร็จพิธีแล้วแจกจ่ายในงานสมโภชพระพุทโธภาสชินราชจอมมุนี พร้อมด้วยพระอัครสาวก ในการต่อมา พระเครื่องเหล่านี้ เมื่อแจกจ่ายแก่ผู้จำนงในงานผูกพัทธสีมา อุโบสถวัดสารนาถธรรมารามแล้ว ก็จะได้จัดการทำพิธีบันจุในอุโบสถ หรือเจดีย์ตามควร เพื่อเป็นมิ่งขวัญแก่วัดสารนาถธรรมาราม อันเป็นมหาปูชนียสถานในกาลต่อไปฯ

    พระมหารัชชมังคลาจารย์
    เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์

    (บันทึกตามฉบับเดิมไม่เปลี่ยนแปลง)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  14. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    <TABLE height=947 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD colSpan=2>

    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>[​IMG]

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="60%">
    เรื่อง...ปฏิบัติเพื่อความสะอาด


    อาบอะไรล้างกันใหญ่ดูให้ดี

    ไม่น่าดูนั่นแหละดูให้ดีเอย

    อาบที่หนึ่งนั่นล้างส่วนร่างกาย

    ภาพพวกเซ็นอาบเป็นตัวอย่างดู

    อาบที่สองของล้างไล่กิเลส

    เที่ยวยึดนั่นยึดนี่ที่กอบกำ

    เอาน้ำคือธรรมะเข้าชะล้าง

    อะไรมาไม่ยึดมั่นไม่ขัดถู

    ยามอาบล้างท่าทางไม่น่าดู
    ยามชะล้างแสนยากลำบากมี



    </TD><TD vAlign=top width="40%">

    ดูอาบกันให้เต็มที่ไม่มีเฉย
    ขอเฉลยอรรถอ้าง ล้างตัวกู
    ย่อมทำได้โดยขยันหมั่นเช็ดถู
    ล้างตัวกูกันอย่างหนักด้วยรักทำ
    ที่เป็นเหตุเผลอไพล่ไถลถลำ
    เอามาทำเป็น ตัวกู และ ของกู
    ให้สว่างสะอาดสิ้นสงบอยู่
    สิ้น ตัวกู เป็นวิมุตติดีสุดดี
    อาบเสร็จแล้วสวยหรูชูศักดิ์ศรี
    ลุถึงที่สุขล้วนชวนชมเอยฯ
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2>อาบน้ำนั้น ตอนอาบไม่น่าดู อาบเสร็จแล้วสะอาดหมดจดฉันใด; ขณะปฏิบัติต่อสู้กับกิเลส น่าทรมาน ชนะกิเลสแล้วพบความสงบผาสุกฉันนั้น.

    อาบน้ำทางกาย ชำระเหงื่อไคล อาบทางใจคือชำระล้างความยึดถือว่า เรา ว่า ของเรา อันเป็นของสกปรกสำหรับใจ.

    เครื่องมือในการอาบน้ำ คือ ถังในภาพ ส่วนเครื่องอาบชำระใจ คือ การปฏิบัติธรรม.



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ขอขอบคุณ
    แหล่งที่มา : http://www.rosenini.com/spiritualtheatre/03.htm

    สาธุ สาธุ สาธุ
     
  15. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    <TABLE height=990 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD colSpan=2>

    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="60%" height=224>
    เรื่อง...เต่าหินตาบอด

    โอ้เต่าเอ๋ยขอถามความสักอย่าง
    ตัวเป็นหินตาก็บอดยอดเวรกรรม

    มนุษย์เอ๋ย!เราจะบอกกรอกหูเจ้า
    ธรรมของเจ้าคือตำราบ้าพอดู
    ที่เป็นหินหมายถึงเย็นอย่างนิพพาน
    ความหนวกบอดยอดสงบลบล้างกรรม
    อันตำรานั้นไม่ใช่พระธรรมเลย
    จะมีธรรมกันบ้างช่างกระไร


    </TD><TD vAlign=top width="40%">

    ดูท่าทางของเต่าเรานึกขำ
    มีพระธรรมอยู่บนหลังยังไม่รู้

    ตัวเราเองแหละคือธรรมตำตาอยู่
    ธรรมของตูคือตัวตูอยู่ที่ธรรม
    เพราะประหารอวิชชาไยว่าขำ
    เป็นความว่างมีประจำอยู่ร่ำไป
    คิดดูเถิดคนเอ๋ยอย่าไถล
    คว้าเอาไว้แต่คัมภีร์ดีนักเอยฯ
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2 height=183><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD width="28%" height=120>
    มนุษย์ :

    เต่า :


    </TD><TD width="72%">เต่านี้ช่างโง่เสียจริง มีคัมภีร์อยู่บนหลังแล้ว เหตุไฉนจึงไม่รู้ธรรมะ

    บนหลังฉันนี้ยังไม่ใช่ธรรมะแท้จริง. ความหนวกบอด คือ ความไม่ยินดียินร้ายในอารมณ์ที่มากระทบ; ความเย็นและสงบที่เนื้อตัวของฉันต่างหาก เป็นธรรมะที่แท้จริง.


    </TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=2>
    จะหาธรรมะที่แท้จริงที่ไหนอื่นเล่า มนุษย์เอ๋ย!
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  16. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,784
    ค่าพลัง:
    +16,097
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE borderColor=white cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" bgColor=white border=2><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><!--Last Update : 14 พฤษภาคม 2551 20:44:13 น.-->การพึ่งผู้อื่น


    <!--Main-->[SIZE=-1]บทกลอนจากหนังสือ คู่มือมนุษย์
    ของท่านพุทธทาสภิกขุ


    อันพึ่งท่าน พึ่งได้ แต่บางสิ่ง
    เช่นพึ่งพิง ผ่านเกล้า เจ้าอยู่หัว
    หรือพึ่งแรง คนใช้ จนควายวัว
    ใช่จะพ้น พึ่งตัว ไปเมื่อไร

    ต้องทำดี จนเกิดมี ที่ให้พึ่ง
    ไม่มีดี นิดหนึ่ง พึ่งเขาไฉน?
    ทำดีไป พึ่งตัว ของตัวไป
    แล้วจะได้ ที่พึ่ง ซึ่งถาวร

    พึ่งผู้อื่น พึ่งได้ แต่ภายนอก
    ท่านเพียงแต่ กล่าวบอก หรือพร่ำสอน
    ต้องทำจริง เพียรจริง ทุกสิ่งตอน-
    นี้,จึงถอน ตัวได้ ไม่ตกจม

    จะตกจน หรือว่า จะตกนรก
    ตนต้องยก ตนเอง ให้เหมาะสม
    ตนไม่ยก ให้เขายก นั้นพกลม
    จะตกหล่ม ตายเปล่า ไม่เข้าการฯ
    [/SIZE]
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ขอขอบคุณ

    http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=bookcase&month=14-05-2008&group=7&gblog=11
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  17. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,784
    ค่าพลัง:
    +16,097
    คติธรรมคำสอน ของ หลวงปู่ทวด


    <!-- Main -->[SIZE=-1]ธรรมประจำใจ
    พูดมาก เสียมาก พูดน้อย เสียน้อย ไม่พูด ไม่เสีย นิ่งเสีย โพธิสัตว์

    ละได้ย่อมสงบ
    ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ ล้วนแต่เคลื่อนที่ไปสู่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ทุกอย่างในโลกนี้ เคลื่อนไปสู่การสลายตัวทั้งสิ้น ไม่ยึด ไม่ทุกข์ ไม่สุข ละได้ย่อมสงบ

    สันดาน
    " ภูเขาถูกมนุษย์ทำลายลงมาได้ แต่สันดานของคนเราที่นอนนิ่งอยู่ในก้นบึ้ง ซึ่งไม่เหมือนกันย่อมขัดเกลาให้ดีเหมือนกันได้ยาก

    ชีวิตทุกข์
    การเกิดมาเป็นมนุษย์ชาติหนึ่ง จะว่าประเสริฐก็ประเสริฐ จะว่าไม่ประเสริฐก็ไม่ประเสริฐ จะเห็นได้ว่า ตื่นเช้าก็มีความทุกข์เข้าครอบงำ จะต้องล้างหน้า ล้างปาก ล้างฟัน ล้างมือ เสร็จแล้วจะต้องกินต้องถ่าย นี่คือความทุกข์แห่งกายเนื้อ เมื่อเราจะออกจากบ้านก็จะประสบความทุกข์ในหมู่คณะ ในการงาน ในสัมมาอาชีวะ การเลี้ยงตนชอบ นี่คือ ความทุกข์ในการแสวงหาปัจจัย

    บรรเทาทุกข์
    การที่เราจะไม่ต้องทุกข์มากนั้น เราจะต้องรู้ว่า เรานี้จะต้องไม่เอาชีวิตไปฝากสังคม เราต้องเป็นตัวของเราเองและเราจะต้องวินิจฉัย ในเหตุการณ์ที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับตัวเราว่าส่งใดเราควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ

    ยากกว่าการเกิด
    ในการที่เราเกิดมา ชีวิตแห่งการเกิดนั้นง่าย แต่ชีวิตแห่งการอยู่นั้นสิยาก เราจะทำอย่างไรให้อยู่ได้อย่างสุขสบาย

    ไม่สิ้นสุด
    แม่น้ำทะเล และมหาสมุทร ไม่มีที่สิ้นสุดของน้ำ ฉันใด กิเลสตัณหาของมนุษย์ก็ย่อมไม่มีที่สิ้นสุด ฉันนั้น

    ยึดจึงเดือดร้อน
    ทุกวันนี้ เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อน ก็เพราะมนุษย์ไปยึดโน่น ยึดนี่ ยึดพวกยึดพ้อง ยึดหมู่ยึดคณะ ยึดประเทศเป็นสรณะ โดยไม่คำนึงถึงธรรม สากลจักรวาลโลกมนุษย์นี้ ทุกคนมีกรรมจึงเกิดมาเป็นสัตว์โลก สัตว์โลกทุนคนต้องใช้กรรมตามวาระ ตามกรรม ถ้าทุกคนยึดถือเป็นอารมณ์ ก็จะเกิดการเข่นฆ่ากัน เกิดการฆ่าฟันกัน เพราะอารมณ์แห่งการยึดถืออายตนะ ฉะนั้น ต้องพิจารณาให้ถ่องแท้ว่า สิ่งใดทำแล้ว สัตว์โลกมีความสุข สิ่งนั้นควรทำ นี่คือ หลักความจริงของธรรมะ

    อยู่ให้สบาย
    ในภาวะแห่งการที่จะอยู่อย่างสบายนั้น เราต้องอยู่กันอย่างไม่ยึด อยู่กันอย่างไม่ยินดี อยู่กันอย่างไม่ยินร้าย อยู่กันอย่างพยายามให้จิตวิญญาณของนามธรรมนั้นเหนืออารมณ์ เหนือคำสรรเสริญ เหนือนินทา เหนือความผิดหวัง เหนือความสำเร็จ เหนือรัก เหนือชัง

    ธรรมารมณ์
    การอยู่อย่างมีธรรมารมณ์คือ การอยู่เหนือความรู้สึกทั้งปวง อยู่อย่างรู้หน้าที่การเป็นคน และรู้หน้าที่ในการงาน คือรู้ว่าสิ่งที่เราทำนั้น เป็นสิ่งที่เราต้องทำ ไม่ใช่ทำเพื่อหวังผลตอบแทน เพราะถ้าเราทำงานเพื่อหวังผลตอบแทนต่างๆแล้ว ถ้าสิ่งต่างๆไม่สัมฤทธิ์ผลตามความหวังนั้น เราย่อมเกิดความโทมนัส เสียใจน้อยใจ เป็นทุกข์

    กรรม
    ถ้าเรามีชีวิตอยู่อย่างที่ว่า เกิดเพราะกรรม อยู่เพื่อกรรม ทำเพราะกรรม ตายเพราะกรรมแล้ว ชีวิตการเป็นมนุษย์ย่อมมีความภิรมย์ มีความรื่นเริง

    มารยาทของผู้เป็นใหญ่
    " ผู้ใหญ่ไม่ใช่อยู่ที่เกิดก่อน ผู้ดีไม่ใช่อยู่ที่เรียนสูง " มารยาทจรรยาของการเป็นผู้ใหญ่ ก็คือต้องสุขุมรอบคอบ และไม่ยึดติดเสียงเป็นหลัก คือ ต้องไม่หวั่นไหวกับคำนินทาและสรรเสริญ

    โลกิยะหรือโลกุตระ
    คนที่เดินทางโลกุตระ ย่อมไปดีทางโลกิยะไม่ได้ คนที่เดินทางโลกิยะย่อมสำเร็จทางโลกุตระได้ยาก เพราะอะไร ? ถ้าคนหนึ่งสำเร็จได้ทั้งโลกิยะ และโลกุตระง่ายแล้ว ทำไม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธโคดม ต้องสละราชบัลลังก์แห่งจักรพรรดิไปเป็นธรรมราชาเล่า ถ้าเป็นไปได้ พระองค์เป็นมหาจักรพรรดิพร้อมทั้งธรรมราชา ไม่ดีหรือ? แต่มันเป็นไปไม่ได้ เพราะโลกของโลกิยะและโลกุตระเดินคู่ขนานกัน เราต้องตัดสินใจ ต้องมีความเด็ดเดี่ยวและกล้าหาญในการที่จะเลือกทางใดทางหนึ่ง

    ศิษย์แท้
    พิจารณากาย ในกาย พิจารณาธรรม ในธรรม พิจารณาวิญญาณ ในวิญญาณ นั่นแหละ คือ สานุศิษย์อันแท้จริงของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    รู้ซึ้ง
    ทุกอย่างจะต้องมีเหตุ เมื่อมีเหตุจึงจะมีผล ผลนั้นเกิดจากเหตุ เราได้วินิจฉัยข้อนี้แล้ว เราจึงรู้ซึ้งถึงพุทธศาสนา

    ใจสำคัญ
    การทำบุญนั้น จะต้องทำด้วยจิตใจบริสุทธิ์ จะต้องทำด้วยความศรัทธา ผลสะท้อนมันจะเกิดขึ้น เกินความคาดหมาย

    หยุดพิจารณา
    คนเรานี้ ถ้าไม่มีอะไรทำอยู่ในที่วิเวกคนเดียว จิตมันจะฟุ้งซ่าน และถ้าภาวะนั้นตนไม่ปล่อยให้จิตฟุ้งซ่านไปเรื่อยๆ คือหยุดพิจารณาแล้วค้นสัจจะของ ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมที่จะค้นหาสัจจะในธรรมะได้

    บริจาค
    ทำบุญสังฆทานเป็นจาคะ จาคะเป็นการบริจาคโภคทรัพย์ภายนอน การสวดมนต์เป็นการภาวนา การภาวนาเป็นการบริจาคภายใน เพราะฉะนั้น ถ้านับในด้านทิพย์อำนาจ การบริจาคภายในย่อมได้กุศล มากว่า การบริจาคภายนอน นี่คือเรื่องของนามธรรม

    ทำด้วยใจสงบ
    เราจะทำบุญก็ดี เราจะทำอะไรก็ดี จงทำด้วยความสงบ อย่าทำด้วยอารมณ์แห่งความร้อน เพราะการทำด้วยอารมณ์ร้อนนั้น มันจะพาเราไปสู่หายนะ เมื่อเกิดอารมณ์ร้อน เราจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จงอย่าทำ นั่งให้จิตใจมันสบายเสียก่อน เมื่อจิตใจสบายแล้วปัญญาก็เกิด เมื่อเกิดปัญญาแล้ว จะทำสิ่งใดก็เป็นไปโดยความสะดวก

    มีสติพร้อม
    จะทำสิ่งใดก็ตาม เราต้องมีสติพร้อม คือ อย่าให้มีโทสะ อย่าให้อารมณ์เข้ามาควบคุมสติ อย่าให้เรื่องส่วนตัวและขาดเหตุผลมาอยู่เหนือความจริง

    เตือนมนุษย์
    มนุษย์ผู้ใด เห็นแก่งานส่วนตัว มนุษย์ผู้นั้น จะไม่มีงานทำในไม่ช้า
    มนุษย์ผู้ใด เห็นแก่ทรัพย์ส่วนตัว มนุษย์ผู้นั้น จะไม่มีทรัพย์ครองในไม่ช้า
    มนุษย์ผู้ใด เห็นแก่นอนมาก มนุษย์ผู้นั้น จะไม่ได้นอนในไม่ช้า

    พิจารณาตัวเอง
    คืนหนึ่งก็ดี วันหนึ่งก็ดี ควรให้มีเวลาว่างสัก 5 นาที หรือ 10 นาที ไม่ติดต่อกับใคร ให้นั่งเฉยๆ คิดถึงเหตุการณ์ที่เราทำไปแต่ละวันๆ ว่าที่เราทำไปนั้นเป็นอย่างไร คือให้ปลีกตัวมีเวลาเป็นของตัวเองบ้าง คิดเอาแต่เรื่องของตัว อย่าไปคิดเรื่องของคนอื่น เพราะมนุษย์เราส่วนมากทุกวันนี้ มักเอาแต่เรื่องของคนอื่นมาคิด ไม่ค่อยคิดเรื่องของตัวเอง
    [/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]


    คัดลอกจากหนังสือ เรียนธรรมะบูชาพระสุปฏิปันโน เล่มของ หลวงปู่ทวด
    ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรม
    [/SIZE]
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [SIZE=-1]http://larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/007639.htm[/SIZE]
     
  18. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,784
    ค่าพลัง:
    +16,097
    <TABLE cellSpacing=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><!--Last Update : 14 พฤษภาคม 2551 19:36:24 น.-->"การถนอมเวลา"
    <!-- Main -->[SIZE=-1][​IMG][/SIZE]
    [SIZE=-1]พระธรรมโกศาจารย์ วัดประยูรวงศาวาส[/SIZE]
    [SIZE=-1]..................................................[/SIZE]
    [SIZE=-1]ท่านเมตตามาเทศน์สอนเรื่อง"การถนอมเวลา"ดังนี้[/SIZE]

    [SIZE=-1]การถนอม คือ การเห็นคุณค่า การนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์[/SIZE]
    [SIZE=-1]เวลา คือ สิ่งวัดการเปลี่ยนไปของธรรมชาติ เช่น เวลา เช้า สาย บ่าย เย็น เมื่อผ่านไปแล้วจะผ่านไปเลยไม่สามารถจะหวนคืนกลับมาได้[/SIZE]
    [SIZE=-1]เพราะฉะนั้นจึงต้องใช้เวลาที่ไม่หวลคืนกลับมาให้คุ้มค่าให้มีประโยชน์ หรือ คือ การถนอมเวลานั่นเอง ดังนี้[/SIZE]

    [SIZE=-1]๑.การใช้เวลามาช่วยรักษาความเศร้าเสียใจ [/SIZE]
    [SIZE=-1]ตัวอย่างเหตุการณ์คลื่นสึนามิที่ถล่มชายฝั่งทะเลทำให้ประชาชนที่อยู่อาศัยต้องสูญเสียทรัพย์สิน และ ชีวิต เมื่อเวลาผ่านไปก็จะช่วยเยียวยาจิตใจได้ ด้วยจิตใจที่ไม่ยอมแพ้ ไม่มีประโยชน์อะไรเลยที่จะไปเศร้าโศก กลับสิ่งที่สูญเสียไปแล้ว ไม่สามารถจะแก้ไขได้ จงลุกขึ้นสู้ต่อไป เมื่อกาลเวลาเยียวยาความเศร้าโศกหายไปแล้ว ด้วย การกลับมามีพลังลุกขึ้นต่อสู้อีกครั้ง[/SIZE]
    [SIZE=-1]๒.การใช้เวลาแต่ละนาทีให้มีประโยชน์ จงใช้เวลาอย่างมีความหมาย เช่น[/SIZE]
    [SIZE=-1]๒.๑จงใช้เวลากับสิ่งที่ประเทืองปัญญามากกว่าประเทืองอารมณ์ [/SIZE]
    [SIZE=-1]จะหาปัญญาได้ต้องเข้าไปหาที่ป่าช้า ไปหาที่วัด การเข้าสถานบันเทิงรื่นรมย์ประเทืองอารมณ์จะทำให้ลืมธรรมะ มองไม่เห็นความเป็นจริง แท้ของชีวิต[/SIZE]
    [SIZE=-1]๒.๒ จงใช้เวลาให้กับครอบครัวมากขึ้น พวกเรามักให้เวลากับลูกน้อยเกินไป เมื่อยามลูกต้องการเรา เรากับบอกว่าเราไม่ว่าง เมื่อเราว่างจะไปคุยกับเขา เช่น ตอนเข้าเสียคนเป็นเด็กเกเร สร้างปัญหาขึ้นแล้ว เรากลับไปมีเวลาให้ซึ่งสายเกินไปแล้ว น้ำขึ้นให้รีบตัก อย่ารอให้น้ำลดแล้วค่อยคิดจะมาตัก [/SIZE]
    [SIZE=-1]๓.ตัวเด็ก ๆ เองก็อย่าปล่อยเวลาให้ล่วงไปโดยเปล่าประโยชน์ ตอนเด็กไม่เรียนหนังสือ ตอนทำงานไม่เก็บเงิน อายุมากขึ้นเขาได้พักผ่อนกัน เมื่อไม่มีเงินเก็บก็จะยังคงต้องทำงานต่อไป อย่ามาคิดได้ตอนสาย ไปแล้ว "เวลาและวารีไม่เคยคอยใคร"[/SIZE]
    [SIZE=-1]๔.เวลาทำความดีไม่มีการรอไว้พรุ่งนี้จะทำความดี ให้ทำเดี๋ยวนี้ วันคืนล่วงไปเราทำความดีหรือยัง เช่น พ่อแม่ยังอยู่ไม่ปรนนิบัติ เมื่อท่านจากไปแล้วจะไม่สามารถปรนนิบัติได้ การที่ทำบุญอุทิศส่วนกุศลเมื่อท่านจากไปแล้ว เราไม่อาจทราบได้ว่า บุญกุศลนั้นจะไปถึงท่านได้หรือไม่ [/SIZE]
    [SIZE=-1]..........................[/SIZE]
    [SIZE=-1]ตอบคำถามจากทางบ้านว่าพระพุทธเจ้าทุกพระองค์เป็นกษัตริย์จริงหรือไม่[/SIZE]

    [SIZE=-1][​IMG][/SIZE]

    [SIZE=-1]พระเทพวิสุทธิกวี วัดราชาธิวาส[/SIZE]
    [SIZE=-1].......................................[/SIZE]
    [SIZE=-1]อย่าไปสนใจกับเรื่องที่ไม่ควรคิดว่า พระพุทธเจ้า จะต้องมาจากชนชั้นใด จากกษัตริย์ หรือ จากชาวบ้าน ใครก็ตามแม้แต่ตัวญาติโยมเอง ถ้าเดินตามทางอริยมรรค ที่มีอยู่แล้ว รอคอยให้คนมาค้นพบแล้วปฏิบัติตาม ย่อมจะได้เป็นอริยบุคคล ซึ่งขั้นสูงสุด คือ พระอรหันต์ หมดสิ้นกิเลศ โลภ โกรธ หลง แล้ว เมื่อเป็นพระอรหันต์ แล้ว สงสารเพื่อนมนุษย์ นำสิ่งที่ค้นพบ และ ปฏิบัติได้ผล แทนที่จะรู้ ปฏิบัติ ให้หลุดพ้นไปเพียงพระองค์เดียว กลับมีเมตตา อยากให้เพื่อนร่วมโลก ได้รู้และปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์ด้วย นำมาสั่งสอนเผยแพร่ ก็จะกลายมาเป็น พระพุทธเจ้า ได้ [/SIZE]

    [SIZE=-1]ขอให้ญาติโยมเลิกไปสงสัยอยากรู้ข้างต้น แต่ให้มั่นใจในพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ศึกษาและนำมาปฏิบัติตามอริยมรรค ก็จะบรรลุ เข้าสู่ความพ้นทุกข์ได้ จะดีกว่า มีประโยชน์กว่า จริงไหม[/SIZE]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    ขอขอบคุณ
    http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=panomsarakham&month=14-05-2008&group=8&gblog=12
     
  19. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,784
    ค่าพลัง:
    +16,097
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody> <tr> <td> <table border="2" bordercolor="white" cellpadding="3" cellspacing="0" width="100%"> <tbody> <tr> <td> <table border="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody> <tr> <td valign="top"><!--Last Update : 16 พฤษภาคม 2551 7:06:18 น.--> หลักการของ คัมภีร์พระอภิธรรม
    <!-- Main -->[SIZE=-1]คำว่า“อภิธรรม”นั้น กล่าวโดยความหมายแล้ว ในครั้งพุทธกาล ย่อมหมายถึง
    ธรรมอันยิ่งของผู้ที่มีจิตบริสุทธิ์ ได้บรรลุเข้าสู่สภาพเดิมของจิตแล้ว
    คือเป็นจิตของพระอรหันต์ขีณาสพ
    ได้แก่คำว่า “อภิธมฺเม” และ “อภิวินเย” เป็นต้น.

    ทั้งนี้หมายความว่า
    อภิธรรมเป็นเรื่องของการประพฤติตนของพระอรหันต์ขีณาสพ,ผู้มีจิตบริสุทธิ์แล้ว
    ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่า พระอรหันต์ประพฤติตนอย่างใดแล้วย่อมถูกต้อง
    ปราศจากโทษและพิษภัยใดๆทั้งสิ้น แต่เกิดประโยชน์แก่สังคมฝ่ายเดียวเท่านั้น.

    ในด้านที่เกี่ยวกับวินัยหรือข้อห้ามต่างๆนั้น
    ผู้ที่มีจิตบริสุทธิ์แล้ว ย่อมมีพลังจิตอันแรงกล้าถึงกับใช้ชีวิตเป็นเดิมพัน
    เพื่อไม่ให้ล่วงละเมิดข้อห้าม หรือทำสิ่งที่ไม่สมควรต่างๆด้วย,โดยเด็ดขาด
    เช่น พระติสสะเถระยอมทนรับการทรมานจากนายช่างเจียระไนเพชร,จนตัวตาย
    โดยไม่ยอมบอกว่านกกะเรียนได้กลืนเพชรเข้าไปในท้องแล้ว
    เพราะกลัวนกกะเรียนจะถูกฆ่าตาย เป็นต้น
    การรักษาวินัยอย่างเคร่งครัดเช่นนี้ จัดเป็น อภิวินัย.

    ส่วนในด้านธรรมนั้น
    ในครั้งพุทธกาล หมายถึง ความประพฤติตนของพระอรหันต์อย่างใดๆ ไม่ว่าจะพูด
    หรือทำสิ่งใดก็ตาม ล้วนแต่เป็นสัจธรรม ถูกต้อง เป็นจริงตามนั้นทุกประการ
    จึงเป็นผู้มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ เช่น พ่อค้าขนดีปลีใส่เกวียนไปขายแล้วขายไม่ได้
    เพราะได้ใช้โทสะโต้ตอบพระอรหันต์ผู้มีวาจาศักดิ์สิทธิ์
    จนต้องกลับมากล่าวขอลุแก่โทษใหม่ แล้วจึงกลับไปขายดีปลีนั้นได้หมด เป็นต้น
    ความประพฤติของพระอรหันต์ปรากฏจริง เป็นจริงขึ้น เช่นนี้เรียกว่า อภิธรรม.

    ครั้นกาลเวลาล่วงไปๆ ความเข้าใจเรื่องอภิธรรม, อภิวินัยของพระอรหันต์
    ได้คลี่คลายเปลี่ยนแปลงไปเป็นเรื่องข้อประพฤติปฏิบัติเพื่อจะให้เป็นพระอรหันต์ไป

    ดังนั้น จึงเป็นเรื่องของผู้ที่มีจิตยังไม่บริสุทธิ์ คือ ยังเป็นจิตสังขารอยู่
    แต่ต้องการปฏิบัติเพื่อทำให้จิตบริสุทธิ์ เป็นวิสังขาร (สิ้นการปรุงแต่ง) เท่านั้น.

    เพราะฉะนั้น
    เนื้อหาสาระของคัมภีร์พระอภิธรรม จึงว่าด้วยเรื่องสังขารธรรมหรือโลกียจิต
    ซึ่งเป็นสภาพใหม่ที่เกิดจากเหตุปัจจัยฝ่ายเดียวเท่านั้น
    ครั้นได้ถ่ายทอดสืบต่อๆกันมาตามเวลาที่ผ่านมานานเข้า
    ก็เกิดเข้าใจคลาดเคลื่อนขึ้นว่า
    สภาพเดิมของจิตอันประภัสสรผ่องใสนั้น,ไม่มี
    มีแต่จิตที่เกิดจากเหตุปัจจัยปรุงแต่ง สกปรก เศร้าหมอง ๑๒๑ ดวง
    ซึ่งเป็นสภาพใหม่ทั้งสิ้น

    คล้ายๆกับจะยืนยันว่า
    ถ้าเป็นน้ำแล้วก็ต้องเป็นน้ำที่สกปรก เพราะถูกแร่ธาตุหรือเกลือผสมอยู่ทั้งสิ้น
    น้ำสะอาดที่เป็นสภาพเดิม,ไม่มี ฉะนั้น.


    จากหนังสือ ธรรมประทีป ๙ ธรรมะภาคปฏิบัติ โดย อ.ไชยทรง จันทรอารีย
    [/SIZE]






    [SIZE=-1]ขอขอบคุณ[/SIZE]
    http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=nulek&month=16
    -05-2008&group=11&gblog=1

    [SIZE=-1] [/SIZE]
    [SIZE=-1]
    ์[/SIZE]
    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤษภาคม 2008
  20. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,784
    ค่าพลัง:
    +16,097
    สติเป็นเครื่องตัดเงื่อนต่อของการรับรู้อารมณ์
    <!-- Main -->[SIZE=-1]หลักธรรมในพระพุทธศาสนา
    ที่พระพุทธองค์ทรงนำมาสั่งสอนชาวพุทธอย่างกว้างขวางนั้น
    ไม่มีอะไรที่นอกเหนือไปจาก “จิต กับ อารมณ์” สองอย่างนี้เท่านั้น

    จิต คือ ผู้รู้อารมณ์
    และอารมณ์ คือ สิ่งที่ถูกจิตรู้


    นอกจากนี้แล้ว เป็นบริบทของพระพุทธศาสนา
    ที่แสดงถึงการเกี่ยวข้องของธรรมะสองประการนี้
    ในการอยู่ในโลก และ หลุดพ้นจากการเกี่ยวข้องกันในโลก ทั้งสิ้น

    ดังนั้นจิตจึงเป็นหัวข้อธรรมสำคัญ ที่ผู้ศึกษาธรรมะจะต้องศึกษาทำความรู้จักให้ดีก่อน
    ที่จะศึกษาธรรมะให้กว้างขวาง จนสามารถนำไปสู่การลงมือปฏิบัติจริงๆได้
    จนจิตหลุดพ้นจากการผูกพันเกี่ยวข้องกับอารมณ์ ที่เรียกว่า โลก
    อย่างสิ้นเชิงได้ในที่สุด

    จิตนี้เป็นธาตุที่ทรงไว้ซึ่งความรู้ (conciousness)
    อาศัยอยู่ในกายของแต่ละคนๆคนละดวง
    อุปมาดังเทพเจ้าที่อาศัยศาลเจ้าเป็นที่สิงสถิตฉะนั้น
    เมื่อศาลเจ้าที่อาศัยในปัจจุบันผุพังลง
    ก็ต้องย้ายไปหาศาลเจ้าใหม่สำหรับอาศัยต่อไปอีก
    ซึ่งเป็นเช่นนี้ไม่รู้จักจบสิ้น

    ดังนั้น จิตจึงเป็นหัวข้อธรรมที่มีอยู่ในโลกและชาวโลกรู้จักกันดีว่า
    จิตคือตัวรู้...เมื่อกระทบอารมณ์ที่เข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ความนึกคิดทางใจ
    ก็แสดงความรู้สึกเกี่ยวข้อง ยึดถืออารมณ์นั้นๆ แต่ละอย่าง แต่ละชนิดออกมา
    โดยไม่ต้องมีผู้ใดเสี้ยมสอนว่า ให้แสดงอาการชนิดนั้นๆออกมา
    หรือบัญญัติชื่อเรียกอาการนั้นๆว่าอย่างไร รวมทั้งเรียกตัวเองว่า เป็นผู้รู้อารมณ์ เลย

    คนตายไม่มีจิตอยู่ด้วย จึงไม่ใช่ผู้รู้อารมณ์
    และไม่มีอาการแสดงหรือสมมุติบัญญัติเกี่ยวกับอาการของจิต
    ซึ่งเป็นสัจธรรมที่รู้กันอยู่แล้วโดยทั่วไป
    โดยไม่ต้องให้พระพุทธองค์ทรงนำมาเทศน์สั่งสอนว่า
    คนเป็น มีจิต เป็นผู้รู้ และ คนตายไม่มีจิตเป็นผู้รู้แล้ว เช่นเดียวกับ ๒+๒ เป็น ๔ เป็นต้น

    การที่พระพุทธองค์ทรงพระเมตตานำเรื่องจิตเข้ามาสั่งสอนสังคมนั้น
    ก็เพื่อสร้างสติให้แก่ผู้ศึกษาธรรมะ ไม่ให้ยึดถืออารมณ์
    จนสร้างอาการของจิตที่เป็นอกุศล ( unwholesomeness )
    ขึ้นในสังคมในภายหลัง

    โดยละความหมายของจิตไว้ในฐานที่เข้าใจ ( left understood ) ว่า จิต คือ ผู้รู้
    ไม่ใช่ว่าไม่มีจิตเป็นผู้รู้ เพราะพระพุทธองค์ไม่ได้กล่าวไว้ให้แจ่มแจ้งชัดเจน

    ดังนั้น การที่พระพุทธองค์ทรงสอน
    ให้ทำสัมปชัญญะในการดื่ม เคี้ยว ลิ้ม ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ว่า
    อสิเต ปิเต ขายิเต สายิเต อุจฺจารปสฺสาว กมฺเม สมฺปชานการี นั้น


    ก็ละคำว่า จิต อยู่ในคนเป็น ที่มีจิตเป็นผู้รู้อยู่ด้วย
    ไม่จำเป็นต้องตรัสด้วยพระโอษฐ์จนละเอียดยิบให้เสียเวลาไปเปล่าๆ

    และจิตนี้ จะแสดงความรู้ และอาการของความรู้ (เจตสิก) ออกมาทุกครั้ง
    ที่มีอารมณ์มากระทบอายตนะ ๖ ทีละอารมณ์

    ถ้าเป็นจิตปุถุชน ก็ย่อมยึดถือความรู้นั้นไว้
    แล้วแสดงความประพฤติต่ออาการของความรู้ซึ่งติดข้องอยู่โดยเจตนา
    ซึ่งจัดเป็นกรรมในพระพุทธศาสนา

    พระพุทธองค์ตรัสเรียก จิตที่ติดข้องอารมณ์ว่า เป็นสัตว์
    เช่น ตรัสว่า ท้าวมหาพรหมก็ยังเป็นสัตว์อยู่
    เพราะถ้าหากสิ้นบุญลงเพราะฌานเสื่อมเมื่อใด
    ก็จะต้องจุติเข้าโลกแห่งกามาวจร ซึ่งมีอยู่ ๖ ชั้นต่อไป

    ส่วนพระพุทธองค์นั้น จิตว่างจากการยึดถืออารมณ์ทางอายตนะ ๖ ที่อาศัยกายนี้
    เพราะมีชีวิตเป็นปัจจัยแล้วอย่างสิ้นเชิงเด็ดขาด
    จึงไม่ใช่สัตว์ ดังนั้น จึงหลุดพ้นจากอาสวะกิเลสทั้งปวง

    และพระอริยสาวกที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย จนสติตื่นอยู่เป็นนิตย์
    อารมณ์ที่เกิดทางอายตนะ ๖ ไม่สามารถครอบงำปรุงแต่งจิตได้
    ก็ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
    กิจที่ควรทำๆเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นเช่นนี้ไม่มีอีก

    สติของพระอรหันต์ตื่นอยู่เช่นนี้ เรียกว่า สติตื่นเป็นชาคโร ไม่ดับ
    ดังนั้น กิเลสจึงไม่สามารถปรุงแต่งจิตได้เลย

    ส่วนสามัญชนนั้น สติไม่ตั้งอยู่อย่างต่อเนื่อง ขาดตอนจากการตั้งที่ฐานที่กำหนดบ้าง
    กิเลสจึงเข้าครอบงำจิตตอนที่ขาดตอนไปได้ เรียกว่า เผลอ นั่นเอง

    สติเป็นเครื่องตัดเงื่อนต่อของการรับรู้อารมณ์

    ดังกล่าวไว้ในเบื้องต้น จะเห็นว่าบรรดาธรรมะทั้งหลายในโลกนี้
    ล้วนแล้วแต่เกิดจากจิตผสมกับอารมณ์ทั้งสิ้น

    กล่าวคือ จิตแลบออกจากฐานที่ตั้งสติไปรับรู้และยึดถืออารมณ์ไว้
    แล้วส่งผลให้ทุกข์เกิดตามมาด้วยตลอดเวลา


    ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นทุกครั้งที่จิตแลบออกไปจากฐานที่ตั้งสติ
    ไม่ว่าจะเป็นครั้งใด เมื่อใด ตลอดชีวิตก็ตาม
    จิตที่แลบไปรับรู้อารมณ์ครั้งใดแล้ว ที่จะไม่เกิดทุกข์เลย, ไม่มี

    กล่าวให้ชัดที่สุดก็คือ การรับรู้อารมณ์ทางตาก็ดี หูก็ดี จมูกก็ดี ลิ้นก็ดี
    และกายสัมผัสก็ดี ล้วนแล้วแต่เป็นช่องทางของทุกข์ทั้งนั้น.

    สำหรับในวาระสุดท้ายของชีวิตแต่ละคนนั้น
    ขณะที่การรับรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส ได้ดับไปแล้ว
    ทุกข์ก็ยังเกิดขึ้นทางใจ (มโนทวาร) ได้
    โดยความนึกคิดถึงอารมณ์ทางใจที่ได้เคยกระทำมาเมื่อยังมีชีวิต,อย่างกระสับกระส่าย
    อารมณ์ซึ่งมีกรรมในอดีตกำกับอยู่เด่นชัดที่สุดจะครอบงำจิต
    และชักพาให้จิตเคลื่อน (จุติ) ออกไปสร้างภพชาติใหม่ เมื่อร่างกายตายสนิท.

    กรรมที่เด่นชัดที่สุดจะประชิดจิตในวาระสุดท้ายนี้
    และนำเข้าปฏิสนธิ (สืบต่อ) ในภพใหม่ ที่ทรามหรือประณีต
    ตามกำลังของกรรมที่ปรุงแต่งขณะนั้นเสมอไป

    และเมื่อได้เข้า ปฏิสนธิแล้วก็จะครอบครองรักษาร่างกายชุดใหม่ต่อไป
    ซึ่งเรียกว่า ภวังค์ จนเจริญเติบโตสมบูรณ์สำหรับใช้รับรู้อารมณ์ได้สืบต่อไปอีก.

    ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเรื่องของจิตที่ไม่ได้รับการฝึกฝนมาแต่ก่อน
    ดังนั้นจึงยึดถืออารมณ์ไว้ทุกชนิดที่เข้ามากระทบ
    ทำให้จิตผสมคลุกเคล้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ชั่วขณะหนึ่ง
    แล้วก็จืดจางผ่านพ้นไปตามลำดับ ได้แก่
    อารมณ์ทั้งหลายที่ผ่านเข้ามากระทบจิตทางตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัสในชีวิตประจำวัน
    ย่อมทำให้จิตแสดงอาการออกมาในรูปของความยินดี-ยินร้ายเหมือนกันหมด

    ซึ่งผู้ปฏิบัติ จะต้องใช้ ขันติ (ความอดทน) และ สัมปชัญญะ (ความรู้ตัวทั่วพร้อม)
    และรีบยกจิตออก ไปตั้งไว้ที่ฐานที่ตั้งสติ
    และเพ่งดูลมหายใจเข้าออกที่เคลื่อนผ่านจุดกระทบนี้อย่างคล่องแคล่วและต่อเนื่องกันไป
    จนไม่เกิดความยินดี-ยินร้ายขึ้นที่จิต ซึ่งเรียกว่า วิปัสสนา นั่นเอง

    ...การปฏิบัติสัมมาสมาธิเป็นบาทฐานสำคัญที่สุด
    ที่จะทำให้การปฏิบัติวิปัสสนาสำเร็จหรือล้มเหลว…

    จิตที่ได้รับการฝึกฝนจากการปฏิบัติสัมมาสมาธิดีแล้วนั้น
    ผู้ปฏิบัติย่อมรู้จักวิธีประคองจิตให้ตั้งอยู่ที่ฐานที่ตั้งสติได้ดี
    สติกับจิตย่อมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
    สติอยู่ที่ใด จิตจะอยู่ที่นั่น หรือ จิตอยู่ที่ใด สติจะอยู่ที่นั่น ด้วยกัน

    หากมีความรู้สึกนึกคิดอย่างไร ก็ยกสติไปตั้งกำกับไว้ จนความรู้สึกนึกคิดดับไป
    ไม่เปิดโอกาสให้อารมณ์ปรุงแต่งต่อไปอีกดังแต่ก่อน

    จิตที่ฝึกปฏิบัติสัมมาสมาธิได้ดีแล้วนี้ ย่อมมีพลังในการสลัดอารมณ์ออกไป
    เป็นจิตที่ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว และหลุดพ้นจากอารมณ์ทั้งหลายในที่สุด
    เป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา
    ที่จะใช้แก้ปัญหายุ่งยากต่างๆในสังคมให้หมดไปได้อย่างแท้จริง
    และพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จะคุ้มครองรักษาให้พ้นภัยทั้งหลายได้อย่างมิต้องสงสัย.

    ผู้ปฏิบัติสัมมาสมาธิสามารถทดสอบตัวเองว่า ปฏิบัติธรรมได้ผลเพียงใดหรือไม่
    ด้วยการให้จิตรับกระทบอารมณ์ใหญ่ๆซึ่งประทับใจดูว่า
    จิตของตนยังมั่นคง หรือหวั่นไหว ฟุ้งซ่านเพียงไรหรือไม่?
    ถ้ากระทบอารมณ์แล้วยังหวั่นไหว ฟุ้งซ่าน ยินดียินร้าย หรือ ยังหน้าเขียว ตาขุ่นอยู่
    ก็แสดงว่าจะต้องทบทวนการปฏิบัติ และวิธีปฏิบัติให้ดีและคล่องแคล่วยิ่งขึ้นอีก.

    กล่าวให้ชัดที่สุด ก็คือ ถ้ากายยังไม่สงบ จิตก็จะไม่มีทางสงบลงได้เลย
    แต่ถ้ากายสงบ จิตก็จะสงบตามด้วย เป็นธรรมดา.


    จากหนังสือ ธรรมประทีป ๘ ธรรมะภาคปฏิบัติ โดย อ.ไชยทรง จันทรอารีย
    [/SIZE]








    [SIZE=-1]ขอขอบคุณ[/SIZE]
    http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=nulek&month=10-05-2008&group=6&gblog=12[SIZE=-1]
    [/SIZE]
     

แชร์หน้านี้

Loading...