10 วิธีลดเสี่ยง ห่างภัยมะเร็งร้าย

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย สันโดษ, 2 พฤศจิกายน 2008.

  1. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870




    [​IMG]

    [​IMG]


    มะเร็งเป็นโรคที่เกิดกับใครก็ได้ ไม่ว่าเด็ก คนแก่ ผู้หญิงหรือผู้ชาย จะร่ำรวยหรือยากจน มะเร็งยังคงเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของผู้คนทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา แต่ข่าวดีก็ยังมีอยู่ นั่นคือองค์ความรู้เกี่ยวกับสาเหตุของโรคมะเร็งได้รับการพัฒนาไปมากพอจนเราเรียนรู้ที่จะป้องกันตัวเองจากโรคมะเร็งได้

    ในงานเปิดตัว บัตร Healthy Living Club บัตรรักษาสุขภาพของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล มีการให้ความรู้กับประชาชนในเรื่องสุขภาพหลายอย่างที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งคือ เรื่องโรคมะเร็ง พร้อมคำแนะนำ 10 ประการ ที่ปฏิบัติได้เพื่อชีวิตห่างไกลโรคมะเร็ง

    [​IMG]1. ลด หรือเลิกบุหรี่

    การเลิกสูบบุหรี่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมครั้งสำคัญที่สุดที่จะลดความเสี่ยงจากมะเร็งปอดและโรคอื่นๆ ที่มีสาเหตุมาจากบุหรี่ เลิกบุหรี่อาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ขอคำปรึกษาถึงวิธีการเลิกแบบต่างๆ จากแพทย์ได้ ทั้งการรักษาด้วยยาหรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

    [​IMG]2. กินอาหารที่มีประโยชน์

    ตอนเด็กๆ หลายคนอาจเซ็งที่ถูกบังคับให้กินผัก แต่เมื่อโตขึ้นจะรู้ว่าผักเป็นประโยชน์มากต่อตัวเราเอง ผักจำพวกบร็อกโคลี่ กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี และกะหล่ำขาว อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นในการต่อสู้กับมะเร็ง รวมทั้งเป็นส่วนประกอบสำคัญในตำรับอาหารต้านมะเร็ง นอกจากนี้ ผลเบอร์รี่ ถั่วแดง และชาเขียว ก็อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่นเดียวกับไวน์แดง ช็อกโกแลต และถั่วพีแกน สารต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้ช่วยร่างกายต่อต้านปฏิกิริยาเคมีที่ส่งผลร้ายต่อเซลล์ปกติซึ่งในท้ายที่สุดอาจกลายเป็นเซลล์มะเร็ง อย่างไรก็ตาม ควรกินแต่พอประมาณ

    [​IMG]3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

    การออกกำลังกายนานครั้งละ 30 นาที 3-5 วัน ต่อสัปดาห์ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งหลายชนิด อาทิ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งลำไส้ การออกกำลังกายในที่นี้ไม่จำเป็นต้องเป็นการออกกำลังกายอย่างหนักหน่วงแบบ นักกีฬา แต่การเล่นโยคะ เดิน หรือเต้นแอโรบิกก็ถือเป็นการออกกำลังกายที่ช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งได้ดีที่สุดเช่นกัน นอกจากนี้การออกกำลังกายยังช่วยไม่ให้เป็นโรคอ้วน ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งหลายชนิด

    [​IMG]4. ตรวจสุขภาพประจำปี

    มีหลักฐานยืนยันว่าการตรวจสุขภาพประจำปีและการตรวจพบมะเร็งแต่เนิ่นๆ ทำให้โอกาสที่จะรักษาจนหายมีมากขึ้นเท่านั้น และยังช่วยให้การรักษาฟื้นฟูทำได้เร็วขึ้นโดยมีผลข้างเคียงลดลง ดังนั้น ควรตรวจร่างกายสม่ำเสมอและขอคำแนะนำจากแพทย์เรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งที่เหมาะกับวัย เช่น ผู้หญิงในวัย 40 ปีขึ้นไปควรทำแมมโมแกรมเพื่อตรวจหามะเร็งเต้านม หรือชายในวัย 40 ปีขึ้นไปควรตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก โดยที่มะเร็งบางชนิดอาจไม่แสดงอาการในระยะเริ่มแรก

    [​IMG]5. ดื่มแต่พอดี

    การดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไปอาจเป็นผลร้ายต่อตับมากเป็นพิเศษ แม้แพทย์จะแนะนำให้ผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอเหมาะ (ไม่เกิน 2 แก้วต่อวัน)

    [​IMG]6. สืบสาวเรื่องราวครอบครัว

    มะเร็งหลายชนิดมักเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ หรือพูดง่ายๆ มะเร็งสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นได้ ดังนั้นการได้ทราบว่าคนในครอบครัวของคุณมีประวัติเจ็บป่วยด้วยมะเร็งชนิดใดถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการป้องกันมะเร็ง โดยการพยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง และควรแจ้งประวัติการเจ็บป่วยของคนในครอบครัวให้แพทย์ทราบ เพื่อแพทย์จะให้คำแนะนำและดูแลได้เหมาะสม

    [​IMG]7. หลีกเลี่ยงแสงแดด

    รังสีอัลตราไวโอเลต (ยูวี) ในแสงแดดเป็นสาเหตุหลักของมะเร็งผิวหนังซึ่งส่วนมากสามารถป้องกันได้ง่ายๆ 2 วิธีคือ ใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF ตั้งแต่ 30 ขึ้นไปเมื่อต้องอยู่กลางแจ้ง และพยายามหลีกเลี่ยงการเผชิญแสงแดดโดยตรงในช่วงเวลา 10.00-16.00 น. ซึ่งเป็นช่วงที่รังสียูวีมีความเข้มสูงสุด

    [​IMG]8. มีเพศสัมพันธ์ปลอดภัย

    เพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยไม่เพียงช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เท่านั้น แต่ยังเป็นกุญแจสำคัญในการลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูกซึ่งเป็น สาเหตุสำคัญในการเสียชีวิตของผู้หญิงไทยและผู้หญิงทั่วโลก เชื่อกันว่าประมาณร้อยละ 70 ของมะเร็งปากมดลูกมีสาเหตุมาจาก Human Papillomavirus (HPV) ที่สำคัญ เชื้อ HPV นี้ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งที่ทวารหนัก และอวัยวะเพศอีกด้วย แต่ปัจจุบันมีการพัฒนาวัคซีนชนิดใหม่ซึ่งมีประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อ HPV ได้ในระดับหนึ่ง โดยต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์

    [​IMG]9. นอนหลับให้สนิท

    จากการศึกษาพบว่า การนอนหลับสนิทจะมีผลไม่ทำให้เป็นมะเร็ง เนื่องจากสารเมลาโทนินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สมองผลิตในระหว่างการนอนหลับมีคุณสมบัติต่อสู้กับมะเร็ง แต่เมลาโทนินจะช่วยป้องกันมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อการนอนนั้นเป็นการ นอนหลับสนิทต่อเนื่องในห้องมืดเท่านั้น

    [​IMG]10. หลีกเลี่ยงการเผชิญกับสารเคมีอันตราย

    สารจำพวกยาฆ่าแมลง น้ำยาทำความสะอาด น้ำมันเบนซินนั้น เต็มไปด้วยสารเคมีอันตรายที่เกี่ยวโยงกับการเกิดมะเร็ง แม้การควบคุมสิ่งแวดล้อมรอบตัวจะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การจำกัดหรือหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีเหล่านี้ในบ้านหรือที่ทำงานย่อมเป็นการลดโอกาสในการสัมผัสกับสารก่อมะเร็ง นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารกันไฟ หรือ PBDE ซึ่งมักจะใช้กับผ้า เฟอร์นิเจอร์ และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ด้วยเช่นกัน





    ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
    [​IMG]
     
  2. plemiwmiw

    plemiwmiw Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2008
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +31
    อ่านแล้ว ได้ประโยชน์มากมาย เปิ้ลก็เพิ่งไปผ่าตัดเมื่อวันพฤหัส เอาชิ้นเนื้อไปตรวจ ว่าจะเป็นมะเร็งอะป่าว......รอผลตรวจ อยู่อย่างลุ้นระทึก งืมๆๆ
     
  3. terryh

    terryh เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    768
    ค่าพลัง:
    +1,280
    ข้อมูลทางวิชาการจากทีมคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคมะเร็งระดับโลก

    คำยืนยันจากทีมนักวิทยาศาสตว์ ทีมคณะแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญโรคมะเร็งที่มีชื่อเสียงระดับโลก ได้ระบุอย่างชัดเจน การบริโภคเนื้อสัตว์ มาก ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงสูงต่อโรคมะเร็งร้ายหลาย ชนิด ๆ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด มะเร็งตับอ่อน มะเร็งเลือด นอกจากมะเร็งต่อมลูกหมาก จากการวิจัยล่าสุด หลายมหาวิทยาลัยแพทย์ชั้นนำระดับโลกกว่า 50 แห่งทั้งในยุโรป และ สหรัฐ


    ข้อมูลจาก

    NATIONAL CANCER INSTITUE ( NCI - USA )
    ศูนย์โรคมะเร็งแห่งสหรัฐ

    AMERICAN INSTITUE CANCER RESEARCH ( AICR )
    สถาบันศึกษา โรคมะเร็งแห่งสหรํฐ



    References

    1. <LI id=cite_note-0>^ Oxford English Dictionary, Second Edition, 1989 <LI id=cite_note-1>^ Larousse Gastronomique, first edition <LI id=cite_note-2>^ USDA-Safety of Fresh Pork...from Farm to Table <LI id=cite_note-3>^ Iowa State Animal Science <LI id=cite_note-4>^ The Omnivore's Dilemma by Michael Pollan <LI id=cite_note-5>^ Breast Cancer Risk Linked To Red Meat, Study Finds, Washington Post,2005 <LI id=cite_note-6>^ Eating Lots of Red Meat Linked to Colon Cancer, American Cancer Society <LI id=cite_note-7>^ Red meat 'linked to cancer risk', BBC News, 2005 <LI id=cite_note-8>^ Study Links Meat Consumption to Gastric Cancer, National Cancer Institute <LI id=cite_note-9>^ Study links red meat to some cancers, CNN, 1996 <LI id=cite_note-Fraser-10>^ <SUP>a</SUP> <SUP>b</SUP> <SUP>c</SUP> <SUP>d</SUP> <SUP>e</SUP> <CITE style="FONT-STYLE: normal">Fraser GE (September 1999). "Associations between diet and cancer, ischemic heart disease, and all-cause mortality in non-Hispanic white California Seventh-day Adventists". Am. J. Clin. Nutr. 70 (3 Suppl): 532S–538S. PMID 10479227.</CITE> <LI id=cite_note-11>^ <CITE style="FONT-STYLE: normal">Giovannucci E, Rimm EB, Colditz GA, et al (October 1993). "A prospective study of dietary fat and risk of prostate cancer". J. Natl. Cancer Inst. 85 (19): 1571–9. doi:10.1093/jnci/85.19.1571. PMID 8105097.</CITE> <LI id=cite_note-12>^ "Second Expert Report - Food, Nutrition, Physical Activity, and the Prevention of Cancer: a Global Perspective" <LI id=cite_note-13>^ BBC NEWS, Red meat 'linked to cancer risk' , 2005, http://news.bbc.co.uk/2/hi/health/4088824.stm <LI id=cite_note-14>^ BBC NEWS, Red Meat Cancer Risk found, 2006, http://news.bbc.co.uk/2/hi/health/4662934.stm <LI id=cite_note-15>^ BBC NEWS, Red meat 'linked to cancer risk' , 2005, http://news.bbc.co.uk/2/hi/health/4088824.stm <LI id=cite_note-16>^ Science Daily, Study Shows Lean Red Meat Can Play A Role In Low-Fat Diet, 1999, http://www.sciencedaily.com/releases/1999/07/990702075933.htm <LI id=cite_note-17>^ <CITE style="FONT-STYLE: normal">Davidson MH, Hunninghake D, Maki KC, Kwiterovich PO, Kafonek S (June 1999). "Comparison of the effects of lean red meat vs lean white meat on serum lipid levels among free-living persons with hypercholesterolemia: a long-term, randomized clinical trial". Arch. Intern. Med. 159 (12): 1331–8. PMID 10386509.</CITE> <LI id=cite_note-18>^ <CITE style="FONT-STYLE: normal">Massey LK (March 2003). "Dietary animal and plant protein and human bone health: a whole foods approach". J. Nutr. 133 (3): 862S–865S. PMID 12612170.</CITE> <LI id=cite_note-19>^ <CITE style="FONT-STYLE: normal">van Dam RM, Rimm EB, Willett WC, Stampfer MJ, Hu FB (2002). "Dietary patterns and risk for type 2 diabetes mellitus in U.S. men". Ann. Intern. Med. 136 (3): 201–9. PMID 11827496.</CITE> <LI id=cite_note-20>^ Harvard School of Public Health, Food Pyramids: What Should You Really Eat, 2008, http://www.hsph.harvard.edu/nutritionsource/what-should-you-eat/pyramid-full-story/index.html <LI id=cite_note-21>^ United States Department of Agriculture, Inside the Pyramid, 2005, http://www.mypyramid.gov/pyramid/meat.html <LI id=cite_note-22>^ Harvard School of Public Health, The Healthy Eating Pyramid from Harvard School of Public Health, 2006, http://hms.harvard.edu/public/disease/nutrition/bigpyramid.html
    2. ^ Kansas State University Agricultural Experiment Station and Cooperative Extension Service, Red Meats: Nutrient Contributions to the Diet, September 1990, http://www.oznet.ksu.edu/library/fntr2/mf974.pdf
    3. ^ The Nutrition Reporter newsletter, Alpha-Lipoic Acid: Quite Possibly the "Universal" Antioxidant, July 1996, http://www.thenutritionreporter.com/Alpha-Lipoic.html
    4. ^ Real Men Eat Meat
    <!-- NewPP limit reportPreprocessor node count: 1555/1000000Post-expand include size: 12597/2048000 bytesTemplate argument size: 6327/2048000 bytesExpensive parser function count: 0/500--><!-- Saved in parser cache with key enwiki:pcache:idhash:1764200-0!1!0!default!!en!2 and timestamp 20081102142534 -->Retrieved from "http://en.wikipedia.org/wiki/Red_meat"
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • c1.jpg
      c1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      174.2 KB
      เปิดดู:
      84
    • c2.jpg
      c2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      209.3 KB
      เปิดดู:
      52
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤศจิกายน 2008
  4. terryh

    terryh เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    768
    ค่าพลัง:
    +1,280
    ข้อมูลเพิ่มเติม

    นสพ วอชิงตันโพส สหรัฐ ได้ลงตีพิมพ์ข่าวหน้าหนึ่ง ถึงมหันตภัยร้ายจากเนื้อสัตว์ ก่อให้เกิดโรคมะเร็งร้าย อ้างอิงจากการศึกษา วิจัย โดยมหาวิทยาลัยแพทย์ ชื่อดัง ม ฮาววาด์ สหรัฐ โดยความร่วมมือกับ สถาบันศึกษาวิจัยโรคมะเร็งแห่งชาติ

    ทางการสหรัฐได้สั่งระงับเมนูอาหารจานเนื้อ ในโรงเรียนชั้นประถมหลายหมื่นแห่งทั่วสหรัฐ เพื่อลดภาวะการเจ็บป่วยจากโรคมะเร็งในเด็ก ๆ ซึ่งมีการเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • c4.jpg
      c4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      175.4 KB
      เปิดดู:
      59
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤศจิกายน 2008
  5. terryh

    terryh เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    768
    ค่าพลัง:
    +1,280
    ตระหนักถึงภัยร้ายจากโรคมะเร็ง

    น่าแปลกใจ ที่ทางการไทย เรายังวางเฉยไม่ให้ความสนใจในการกระตุ้นประชาสัมพันธ์ให้คนไทยได้ตระหนักถึงภัยร้ายของโรคมะเร็ง ซึ่งมีการศึกษา วิจัยโดยผู้เชี่ยวชาญโรคมะเร็งได้ระบุอย่างชัดเจน เนื้อสัตว์ เป็นหนึ่งในต้นเหตุหลักสำคัญของโรคมะเร็งหลาย ๆ ชนิด ซึ่งทวีความรุนแรงคร่าชีวิตชาวไทยปีละหลายแสนคน ตัวเลขกำลังพรุ่งสูงขึ้นในแต่ละปี รวมถึงโรคไขมันอุดตัน และ โรคหัวใจ นอกจากโรคเบาหวาน และ มะเร็งเลือด

    ในตปท ได้รณรงค์อย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะในตะวันตกได้ออกข่าวเตือน ในแต่ละสัปดาห์ในวารสารสุขภาพ นสพ และสื่อ ๆ อืน ๆ ให้ประชาชนได้ตระหนักถึงภัยร้าย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • c3.jpg
      c3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      159.4 KB
      เปิดดู:
      52
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤศจิกายน 2008
  6. terryh

    terryh เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    768
    ค่าพลัง:
    +1,280
    วารสารสื่อสุขภาพในตะวันตก

    สื่อวารสารสุขภาพ และ นสพ ในตะวันตกได้ลงข่าวเรื่องเตือนประชาชนได้ตระหนักถึงความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง จากการบริโภคเนื้อสัตว์

    จากผลการศึกษา วิจัยโดยทีมคณะนักวิทยาศาสตร์ และ ทีมคณะแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ โรคมะเร็ง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • c13.jpg
      c13.jpg
      ขนาดไฟล์:
      151.2 KB
      เปิดดู:
      58

แชร์หน้านี้

Loading...