ฌาน 4 แล้วจากนั้นฝึก อะไรต่อ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย GunzEarn, 23 พฤษภาคม 2009.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    สมาบัติ
    สมาบัติ แปลว่า การเข้าถึงฌาน, การบรรลุฌาน, ธรรมที่พึงเข้าถึงฌาน
    สมาบัติ โดยทั่วไปหมายถึงทั้งฌานและการเข้าฌาน ที่กล่าวว่า เข้าสมาบัติ ก็คือ เข้าฌาน นั่นเอง
    สมาบัติ มี 8 อย่าง เรียกว่า สมาบัติ ๘ ได้แก่ รูปฌาน 4, อรูปฌาน 4, เรียกแยกว่ารูปสมาบัติ อรูป สมาบัติ เรียกรวมว่า ฌานสมาบัติ
    สมาบัติ อีกอย่างหนึ่งคือ นิโรธสมาบัติ หรือ สัญญาเวทยิตนิโรธ ซึ่งละเอียดสุขุมกว่าอรูปฌาน เมื่อรวมกับสมาบัติ 8 ข้างต้นก็เป็น 9 มีคำเรียกต่างหากว่า อนุปุพพวิหารสมาบัติ

    อ้างอิง


    ;42
    <!-- NewPP limit reportPreprocessor node count: 36/1000000Post-expand include size: 6019/2048000 bytesTemplate argument size: 557/2048000 bytesExpensive parser function count: 0/500--><!-- Saved in parser cache with key thwiki:pcache:idhash:110980-0!1!0!!th!2 and timestamp 20090524202141 -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 พฤษภาคม 2009
  2. GunzEarn

    GunzEarn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +34
    ปกติผมนอนตะแคงขวานะครับ

    อีกอย่างนะครับ ตอนที่ผมทรงสมาธิไปนาน ๆ มือขวาแขนขวาผมมันขยับเองแม้แต่ตัวผม ที่ว่าคงนั่งสมาธิอยู่ยังขยับสั่นเอง แล้วก็ กำมือเองบ้าง ทุบตัก บ้าง บางทีไหล่ซ้ายผมยกขึ้นมาหน่อย อย่างว่านะครับ จิตมันสั่งให้กายขยับเอง ส่วนผมก็เพียงดูมันไป พิจารณาไปว่ากายไม่ใช่เรา จิตไม่ใช่เราเห็นตามจริง พอผ่านไปซักแปปมันก็จะเบาบางไป บางครั้งก็ขึ้นมาอีก

    (ผมเพ่งไปที่ ตรงหน้านะครับ ที่เพ่งตรงหน้าเพราะลมผมมันแทบไม่มีก็เลยย้าย เพื่อไม่ให้รู้สึกอึดอัด ผมจะดูลมหายใจในช่วงแรกเพื่อตัดจิตปรุงแต่ง จิตแทรกแทรง พอจิตเป็นอารมเดียวแล้วก็ย้ายไปที่ตรงหน้า แล้วก็พิจารณาใจพวกความอยาก ความเจ็บ ความต่างๆ ก็กายบ้าง ประมาณเนี่ยหละครับ จิตช่วงนี้จะดูเหมือนโล่งโล่ง)

    แล้วก็ คอยดู อาการมัน ไปเรื่อยๆ ( จิตมันสั่ง อย่าง ที่คุณเอกวีร์ กล่าวมา ทั้งสองข้อ แบบนั้น) จากนั้นผมก็ออกจากสมาธิ แล้วก็ ลองเพ่งไปที่ กาย ใช่ครับ มันก็ขยับ ได้ตามที่นึก เพราะจิตมีผล แล้วก็พิจารณาลองเพ่งไปที่อื่น มือก็ ขยับเองโดยที่ไม่ได้นึกเพราะจิตสั่งเอง แต่ไม่หนักเท่าตอนทรงสมาธิอยู่ จากนั้น ผม ก็ หยุด ซักพัก ส่วนหนึ่ง เหนื่อยกาย ที่จิตสั่งด้วย ผม นั่ง ราว 2 ชั่วโมง ครับ (ในช่วงหลังผมไม่ค่อยอยากจะให้ใครเห็นผมเลยครับ ตอนผมทรงสมาธิ เพราะเดี่ยวเขาจะเข้าใจผิดด้วย ถ้าคนไม่รู้อะคร้บ เกี่ยวกับกายที่จิตสั่งเอง อีกอย่างผมคงต้องตัดเล็บให้สั้นลง ปล่อยไว้เฉยๆไม่ได้ละ)


    .....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 พฤษภาคม 2009
  3. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    มาร่วมด้วย ช่วยคุณกั๊นซ์คิดอีกคน
    ความเห็นเรานะ คุณมาถูกทางแล้ว ถ้าภาษาชาวบาลีก็ประมาณว่า
    คุณทำสมถะจนสงบ จิตผู้รู้ แยกตัวออกมาจาก "อะไรก็ไม่รู้" แล้วก็จิตผู้รู้
    ก็กำลังพิจารณาวิปัสสนาดู กายและจิตทำงานไป ด้วยปัญญาที่เห็นว่า
    กายและใจ ไม่ใช่เรา จิตผู้รู้ กำลังสะสมปัญญา และความรู้ ไปเรื่อยๆ
    เป็นวาสนาเก่าของคุณที่ทำมา คงหลายชาติแล้ว ถึงมาปฏิบัติต่อยอดของเดิมได้
    พอจิตผู้รู้ วิปัสสนาไปสักพัก สมาธิก็จะถอยลงทำให้จิตผู้รู้ กลับไปรวมกับ "อะไรก็ไม่รู้"
    อีกที ทำให้การเห็นหายไป พอคุณไปทำความสงบ ก็รวมสมาธิมาทรงได้อีก จิตผู้รู้
    ก็แยกตัวออกมาวิปัสนาอีก คงจะวนเวียนไปจนกว่าอิ่ม คือสะสมสัมมาสมาธิ
    สัมมาสติ สัมมาปัญญา พอถึงระดับหนึ่ง ก็จะเดินมรรคของแท้ เพื่อหลุดพ้นจากอวิชชา
    ออกมาได้ ตามขั้นตอนในพระไตรปิฎก ก็มี 4 ขั้น

    เราเข้าใจว่าเป็นอย่างนี้นะ เรายังไม่รู้เหมือนที่คุณรู้คุณเป็นอยู่ตอนนี้ คุณเห็นชัดกว่า
    เราเพียงแค่รู้สึกเอา เพราะทรงสมาธิน้อยกว่า เราดูความคิดที่มันทำงานเอง เราพิจารณา
    กายอย่างคุณไม่ได้ เราเห็นเพียงแค่ ความคิดมันไม่ใช่าเรา เราก็พิจารณาไปตามนี้
    ในวงกายและใจ เราเรียกว่าเป็นการเจริญสติพิจารณากายและใจ ว่ามันไม่ใช่เรา
    ซึ่งเราคิดว่า เป็นการเจริญสติปัฏฐาน4 แบบที่เราเข้าใจ

    คุณลองหาศึกษาจากครูบาอาจารย์ เรื่องการปฏิบัติสติปัฐาน4 ดูเพิ่มเติมนะ
    เพื่อทำความใจสภาวะตนเอง และสร้างความมั่นใจให้ตนเอง ว่าเดินได้ถูกทางแล้ว

    เรามีคำเทศน์ที่ชอบมาก พระท่านว่า
    "จิตผู้รู้เหมือนฟองไข่ เมื่อเติบโตเต็มที่จะเจาะเปลือกไข่ออกมาเอง"

    เราเชื่อว่า คุณเดินมาถูกทาง และเป็นทางที่เรากำลังเดินตามหลังคุณไป
    เป็นการเจริญสติปัฏฐาน4 แบบสมถะสลับวิปัสสนา
     
  4. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ข้อแรกเลยนะครับ จขกท : อย่าไปกลัว อย่าไปเกลียด (อย่าเจริญพยาคติ)

    ข้อนี้สำคัญมาก ไม่เช่นนั้นแล้ว เราจะกลายเป็นนักภาวนาเจริญภพเจริญชาติ แทน
    ที่จะเป็นนักภาวนาตัดภพตัดชาติ

    เช่น การกลัวว่าจะมีอะไรแปลกๆ จะเห็นว่า มันสร้างภพของคนกังวล ขึ้นมา เสร็จแล้ว
    ก็หันมาดูเล็บ แล้วเกิดความกลัวว่ามันจะเป็นอันตราย(ภพย่อยเกิด) คุณจึงดำริที่จะตัดเล็บ

    การตัดเล็บนั้น ก็ควรต้องตัดตามปรกติ ก็ให้เป็นเหตุผลตามปรกติ อย่าให้การตัดเล็บมี
    เหตุผลเกี่ยวเนื่องมาจากความไม่ชอบใจที่เกิดจากการปฏิบัติ มันจะต่างกัน

    * * * *

    ต่อไปผมจะยังไม่อธิบายทางเดินต่อไปนะครับ แต่ขอจรนัยสิ่งที่คุณเห็นเทียบ
    ลงหลักการปฏิบัติ เพื่อให้คุณรู้ว่า คุณกำลังทำอะไรอยู่บ้าง

    งานของนักภาวนา มีสองอย่าง คือ สมถะ และ วิปัสสนา ซึ่งงานสองอย่างนี้จะ
    ต้องเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง คำว่าปัญญาอันยิ่ง ผมขอกล่าวอธิบายว่า หมาย
    ถึงจะต้องทำตลอดเวลาให้ได้ทั้งวันทั้งคืน โดยที่จะทำอันไหนก็ให้เป็นไปตาม
    ความเหมาะสมของกาลเทศะ

    การทำสมถะนั้น ผลของสมถะบางตัวอาจให้ผลเป็นความเย็น สงบ แก่จิต บาง
    ตัวก็ให้นิมิต บางตัวก็ให้เห็นหนทางของอิทธิบาท แต่ไม่ว่าอะไรก็ตามที่ได้
    จากผลของการทำสมถะ เราจะนิยามว่า อาการของสมถะ เช่น สามารถย้อน
    ดูภาพในอดีตได้ ดูนรก สรรค์ได้ เรารวมเรียกว่า อาการของสมถะ จะมีหลายสำ
    นักจะพูดว่า เป็นการเห็นอันวิเศษ เสร็จแล้วก็เผลอใช้คำว่า วิปัสสนา เพราะว่า
    คำว่า วิปัสสนา นั้นจะแปลว่า การเห็นอันวิเศษ....ทำให้เกิดการลักลั่นของการ
    ใช้คำ ระหว่างการใช้คำว่า วิปัสสนา ในหน้าที่ของหัวเรื่อง กับคำว่า วิปัสสนาใน
    หน้าที่ของคำกริยา

    ดังนั้นก็ต้องระมัดระวังการทำความเข้าใจคำศัพท์ ที่เป็นภาษาต่างประเทศ เรา
    จะต้องดูว่า คำศัพท์นั้นใช้ในหน้าที่อะไร อย่างคำว่า วิปัสสนา นั้น หากใช้ใน
    หน้าที่ชื่อเฉพาะ เราจะหมายถึง การทำสติปัฏฐาน 4 เท่านั้น

    * * * *

    กล่าวอารัมภบทเสียยาว ก็เพื่อจะบอกว่า ตอนที่คุณทำสมาธิดูลม แล้ว
    เอาไปเกาะใบหน้า(กาย) แล้วจึงเห็นเวทนากาย ดูไปเรื่อยๆ แล้วก็ออก

    ช่วงดังกล่าวคือ งานของ สมถะ

    หลังจากออกแล้ว คุณจะมีจิตใจที่สงบ รู้อยู่ลึกๆว่า ความคิดฝุ้งซ่านในกามกิเลส
    นิวรณ์นั้นยังไม่ปรากฏมากในจิต คุณจึงน้อมเอาจิตที่สงบอยู่นั้นไปทำการเห็น
    อันวิเศษ.....ตรงนี้สำคัญนะ จะเริ่มแล้วว่า ยังเป็นการเห็นอย่างวิเศษแบบสมถะ
    หรือว่า ทำการเห็นอย่างวิเศษแบบสติปัฏฐาน จะมีจุดตัดสิน

    หากคุณน้อมจิตไปยังแขนขา แล้วใช้จิตที่สงบนั้นน้อมสั่งกายให้ขยับ โดยไล่
    ไปตามองค์ประกอบที่ขยับได้ ไม่ว่าจะหูกระดิก ปากสั่น กล้ามเนื้อหน้าอกสั่น
    น่องสั่น ขาสั่น มือสั่น มือขยับ ขาขยับดีด คิ้วกระดก เหล่านี้คือกำลังทำการ
    เห็นแบบสมถะอยู่ ...ซึ่งแปลว่า ไม่ใช่การถอยออกมาวิปัสสนาสติปัฏฐาน

    หากคุณเพียงแค่น้อมให้ใจสงบ เห็นอยู่ว่าใจสงบ รู้ชัดว่าใจสงบ แล้วไม่ยึดมั่น
    ถือมั่นเอาจิตนั้นไว้(ไปใช่งานอะไร) เพียงแต่ระลึกรู้ถึงการมีของจิตสงบเท่านั้น
    แล้วระหว่างนั้น เกิดกายขยับเพราะจิตบางตัวมันสั่ง แบบนี้คุณจะเริ่มเข้าสู่การ
    ทำสติปัฏฐาน4 ให้เห็นกายมันขยับแล้วอย่าไปคว้าเอามาเป็นเรา ให้เห็นและ
    รู้ว่าเห็น เมื่อฝึกดูแบบนี้ สติคุณจะได้รับการฝึกให้ไวขึ้น เมื่อไวพอแล้วคุณจะเห็น
    เองว่า จิตที่มันสั่งให้กายขยับ มีเหตุปัจจัยจากเรื่องอะไร ซึ่งเป็นไปได้หลายทาง
    เช่น

    1. เกิดจากการคว้าเอาจิตสงบกลับมาเป็นตนแล้วเพ่งไปที่กาย ( ทำสมถะ )

    2. เกิดจากสัญญาขันธ์อ่อนๆ เช่น จิตมันไปนึกถึงเกมส์ที่เล่น จิตมันไปนึกถึงคนที่น่าชก จิต
    มันไปนึกถึงกิจกรรมที่น่าสนุก ยังค้างคาในอารมณ์ มันสั่งให้กายขยับ บางที่ไม่ออกที่กาย
    แต่ผุดเป็นคำพูดในความคิด เป็นคำด่า คำปรามาส ( เห็นจิต : ทำวิปัสสนา )

    3. เกิดจากสังขารขันธ์อ่อนๆ ก็จะร่ายรำเป็นเรื่องเป็นราว ดิ้นกระแด่วๆ เป็นเรื่องเป็นราว
    อันนี้จะรู้เหตุยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ให้รู้ว่า หากเกิดขึ้น แปลว่า เราปรุงเหตุใหญ่ไว้ผิด
    ตั้งแต่ตอนเริ่มต้นทำสมถะ ให้เลี่ยงการทำสมถะในอารมณ์ชนิดนั้นเสีย ( เห็นจิต : ทำ
    วิปัสสนา)

    4. เกิดเวทนาขันธ์กายยุกยิ๊ก จิตตั้งมั่นอยู่ที่ฐานสติ ฐานรู้ไม่ได้ เกิดการไหลไปแนบ ไปคว้า
    อาการเวทนา ก็จะต้องขยับกาย หากฝืนไว้ก็จะสั่นริ๊กๆ , หากข่มได้เป็นผลแต่กลับ
    พอใจนิดๆ คิ้วจะกระตุกกระหยิ่ม ,หากไม่ฝืนก็จะเอื้อมมือไปเกา หรือไม่ก็เผลอขยับกาย
    แก้อาการไปเลย ซึ่งตัวที่ผลักดันให้จิตออกจากฐานไปแนบเวทนาคือ จิตยินดี
    ยินร้าย ( เห็นเวทนา : ทำวิปัสสนาสติปัฏฐาน )

    5. เกิดวิญญาณขันธ์ อาการรู้สึกมีบางอย่างภายในกายไหลไปไหลมา บางที่
    เหมือนไหลจากแขนซ้ายไปแขนขวา ไหลจากขาขึ้นแขน ไหลจากจากแขน
    กระโดดไปปลายขาไหลกับมา บางทีไหลไปที่ตาวูบวาบๆดันในตา บางที่ไหล
    ไปที่ลมหายใจกระทบตรงนู้นตรงนี้ บางทีเกิดความร้อนเย็นไหลไปไหลมา ซึ่ง
    อาจจะมีผลต่อการขยับของกาย สรรพรางกาย ร่วมด้วย ( เห็นวิญญาณ[จิต:
    เกิดดับทางทวาร6] : ทำวิปัสสนาสติปัฏฐาน )

    * จะเห็นว่า หากยึดการเห็นแบบข้อ 1 เราจะได้การเห็นแบบ สมถะ ทำให้ไม่
    เห็นการทำงานของ ขันธ์5 เหมือนอย่างในข้อ 2-5 ที่แต่ละกองขันธ์มัน
    สามารถทำอะไรๆเองได้ โดยไม่ขึ้นกับเรา พ้นการควบคุมบังคับบัญชาจากเรา
    (ไม่ใช่เรา) ซึ่งการเห็นว่า กายจิตไม่ใช่เรานั้น จะเห็นได้เฉพาะการทำวิปัสสนา
    เรียกว่า ให้ผลการเห็น สัมมาทิฏฐิ ละสักกายทิฏฐิ(การยึดจิตสังขารเป็นตน)

    แต่การเห็นว่า กายเราน่าเกลียดสกปรกไม่น่าภิรมณ์ เสร็จแล้วก็ต้องครองอารมณ์
    วิรัติ ต้องดำริเจตนาจะรักษาศีลจะเป็นเรื่องของสมถะกรรมฐาน เป็นเรื่อง
    ทิฏฐิชุกรรม(ทำกรรมให้ตรง ให้เอื้อต่อการการทำความสงบ) ไม่ใช่ตัว
    สัมมาทิฏฐิ(เป็นไปเพื่อการมีอธิศีล มหาศีล) โดยตรง

    อ้อ! กรณีที่คุณ จขกท ต้องการทำอสุภกรรมฐาน หรือ กายคตาดูอาการ32
    สงสัยว่า หากคุณจขกท เริ่มจากการพิจารณา เล็บ สงสัยจะเป็นช่องเข้ากรรม
    ฐานได้ ( ขอตั้งเป็นข้อสังเกตุนะครับ )

    * * *

    จะเห็นว่า การทำวิปัสสนาสติปัฏฐานนั้น จะให้ดีคือ การตามรู้ ตามดู ตามที่มันเป็น เห็น
    อะไรแล้วก็ไม่ต้องแก้ เราแค่ตามรู้ไปเรื่อยๆ ให้เห็นการเกิดดับของ กาย เวทนา จิต และ
    ธรรม

    ซึ่งจะต่างจากการทำสมาธิ ที่จะต้องมีการแก้อารมณ์ อย่างเช่น คุณเพ่งลมหายใจจงใจ
    มากเกินไปจนแน่น ทำให้ต้องย้ายที่เพ่ง แบบนี้คือต้อแก้อารมณ์สำหรับการทำสมถะ แต่
    จริงการทำสมถะที่ดีจะต้องให้ความสุข คุณแก้อารมณ์ก็เพื่อแสวงหาความสุข ตรงนี้ให้
    ระวังจะกลายเป็นการฝึกแก้อารมณ์กรรมฐานไปเรื่อยๆ จะทำให้ฝึกสมถะไม่สำเร็จ คุณ
    ควรยึดอารมณ์เดิม แต่ให้รู้ทันอาการเจตนาที่ใส่แรงเกินไป เช่นการดูลม หากอึดอัดก็
    แปลว่าใส่เจตนาแรงไป ให้ผ่อนลงแต่ให้ตามดูลมเหมือนเดิม ให้ดีก็ถอยออกมาทำวิปัสสนา
    ดูเสียหน่อยว่าจิตใจเป็นอย่างไร เห็นเหตุแล้วก็ผ่อนลมหายใจยาวววววว แล้วค่อยเริ่ม
    ดูลมใหม่ จะทำให้ดีขึ้น และไม่ต้องเปลี่ยนอารมณ์กรรมฐานด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 พฤษภาคม 2009
  5. tro

    tro สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +21
    ท่านเอกวีร์ ยัง ร่ายเวทย์ มนตรา...ซะ ยาวเฟื้อย เหมือนเดิม เลยท่าน
    ............
    ภาษาธรรม ของ ท่าน มัน ฟัง ยาก เอาซะจริงๆ...นะ ..ขอบอก
    ...
    อะไร มัน จะ วัยสะรุ่น ซะ ขนาดนั้น....ต้องแปลไทย เป็นไทย.....ทุกทีเลย
    ...
    เฮ้อ...เซ็งเอกวีร์........เรื่องการใช้ ภาษา สอนธรรม ซะจิงจิ้ง......อิอิ
     
  6. nanakorn

    nanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +155
    ผู้ที่ฌาน 4 เน้น ผู้ที่ได้ ฌาน 4 ควรจะถอย มา อานาปาน ทำจนคล่อง
    แล้ว ค่อยลงไตรลักษณ์ กำลังของสมถะใน ฌานนี้ จะส่งผลสามารถให้วิปัสนาได้แจ้งพอประมาณ สามารถสำเร็จวิชาสามได้ หากไม่เพลินในที่เห็น
     
  7. ..กลับตัวกลับใจ..

    ..กลับตัวกลับใจ.. Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    325
    ค่าพลัง:
    +96
    ...ดูตัวเองทานข้าวก็เพลินดีนะ..
     
  8. เดินทาง

    เดินทาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +38
    โห มีสติรู้ได้ดีจัง ผมยังต้วมเตี้ยมอยู่เลย
    ลองจำลักษณะ เบาและไหวของลมดูนะครับ ฝึกให้ใจจำลักษณะของลมดู
    พอใจเริ่มจำลักษณะได้ จะเริ่มเห็นการพัดไหวของลมในร่างกาย ตามอิริยาบท หรือนอนหงายก็ได้ครับ
    สติจะเริ่มไวกับพวกการสั่นไหว แต่พอไม่ฝึกต่อมันจะเริ่มค่อยๆจางคลายลงนะครับ

    น่าจะฝึกอินทรียสังวรศีลเพิ่มจากศีลปกติ มีสติสำรวมรู้ทันเมื่อมีการกระทบอารมณ์ทางตา หู จมูก
    ลิ้น กาย และใจ อกุศลความเบียดเบียนผู้อื่นดับลงที่ใจ เพราะมีสติ สำรวม รู้ทัน ดับที่ใจ ไม่ให้
    ไหลออกไปทาง กาย วาจา รู้สึกเขาเรียกว่ารักษาศีลที่ใจนะครับ
    คนที่เขาฝึกสติได้ดีๆ สติเขาจะจำลักษณะภาวะต่างๆได้เลยดับได้ไว ศีลเลยปกติ เพราะมีสติ
    กาย วาจา จึงไม่ไหลออกตามอารมณ์ เลยไม่เป็นไปตามกิเลสนะครับ กายวาจาเป็นไปเพราะเหมาะ
    เพราะควร เป็นกุศล อ่านมาเข้าใจได้ประมาณนี้ครับ อนุโมทนาครับ
     
  9. เดินทาง

    เดินทาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +38
    อนุโมทนาครับ

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=2 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=maintitle vAlign=top>
    อานาปานสติ วิถีแห่งความสุข
    โดย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
    อานาปานสติ วิถีแห่งความสุข ๑
    อานาปานสติ วิถีแห่งความสุข ๒
    อานาปานสติ วิถีแห่งความสุข ๓



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. GunzEarn

    GunzEarn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +34
    สุดท้าย ต้องเปลี่ยน จากรู้ลม ไป ตัวจิตรู้ คือ ตัวที่ทำให้รู้กาย (เหนือสะดีืือผม ตำแหน่งที่พอรู้กายทั้งหมด)ถ้าไม่ทำ นอนไม่หลับ มือ ไม้ ขา ก็ ขยับ ไป หมด แม้แค่เพ่ง อะไรซักอย่าง ยัง ขยับ ไม่ใช่ขยับนิดเดียว มีช่วงหนึ่งผมนั่งสมาธิ มือขวามัน ขยับ ไป กระทบเอว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤษภาคม 2009
  11. GunzEarn

    GunzEarn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +34
    ว่าแต่ คุณเอกวีร์ เคยผ่าน มา ก่อนเหรอเปล่า ถึงรู้อะึครับ ที่ผมเป็นอยู่
     
  12. GunzEarn

    GunzEarn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +34
    ถ้า ถึง ตรง นี้ แล้ว อารมจะอยู่ อารมเดียว จิตฟุ้งซ่าง จะ น้อย มาก แม้ออกจากสมาธิก็ตาม (แต่ต้องคงระดับสมาธิไปครับ)
     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เหมือน ร่างกายขาดสติทำงานเองอยู่นอกเหนือการควบคุมของเรา
    แต่มีผู้รู้ ไปเห็นกายมันขยับเอง
    กายทำงานเอง ใจอยู่ส่วนหนึ่ง จิตที่ควบคุมกายอยู่คืออะไรก็ไม่รู้
    เราก็พูดตามที่อ่านอาการที่คุณบรรยายมา
    ถ้าเป็นเรา จะตามรู้อาการ อะไรขยับเองก็ตามรู้ไป เอาสติไปรู้ที่กาย
    ไม่รู้เรียกว่าเป็น กายคตาสติ หรือเปล่านะ เพื่อให้เรารู้สึกตัวอยู่ที่กาย
    และเพื่อกระตุ้นให้กายมีสติตามขึ้นมา ถ้าจิตที่ควบคุมกายมีสติขึ้นมา ก็จะหยุดอาการแปลก
    ไปเอง เราเทียบจากที่เราตามรู้ตามดูความคิดของเราน่ะ จิตที่คิดของเราก็ไม่สติมันถึง
    คิดเอาคิดเอา สั่งให้หยุดก็ไม่ได้ แต่พอคิดแล้วรู้ตัวว่าคิดอยู่นะ เรียกว่ารู้สึกตัวทันเวลาที่คิด
    ความคิดมันหยุดไปเอง ไม่ต้องไปห้ามไปบังคับให้หยุด แค่พอรู้สึกตัว ก็หยุดไปเอง

    ไม่รู้ว่าว่าเราคิดถูกไหมนะ แต่เราเข้าใจอย่างนี้ เป็นมุมมองเรานะ
     
  14. GunzEarn

    GunzEarn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +34
    คุณ k kwan คุณต้องฝึก อานาปาสติ บ่อยๆ ครับ เรื่องรู้ลม จากนั้น คุณจะเห็นกายได้ชัด
    ว่ากายไม่ใช่ตัวเรา จิตไม่ใช่ตัวเรา (ตามความเป็นจริง เห็นมันขยับจริงๆ เอง ต่างจากกับคำว่าเราไปขยับมันนะคับ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤษภาคม 2009
  15. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    เป็นสิ ไม่งั้นบรรยายไม่ถูก ตอนผมเห็นนี่ ขาผมเต๊ะไปข้างหน้า เนื่องจากผมทำสมาธิบน
    เก้าอี้ทำงาน อาการที่จะรำนี่จ่อๆ เหมือนกัน แต่ยั้งเอาไว้ได้ ผมแค่ลองปล่อยเพื่อรู้ดูทาง
    เข้าทางออก นอกจากนี้ก็เคยลองเล่น PSI-Ball ซึ่งมันจะต้องหมุนมือโดยให้มือมันหมุน
    ไปเองซึ่งก็แค่ลองให้เห็น เพราะหลังจากจุดนี้ส่วนใหญ่แล้วมันจะไปลงที่ กายคตา หรือ
    การเห็น ธาตุ4 อยาตนะ6 เหมือนของพุทธศาสนา แต่ว่าของแบบอื่นเขาจะนิยามชื่อให้
    มันดูมันส์ในอารมณ์ไปอย่างนั้น

    แล้วอีกอย่าง หากเราผลิกไปเป็นสมาธิแบบพุทธศาสนาได้ มันปราณีตกว่า แล้วมัน
    ช่วยเราให้มีกิเลสที่ลดลงได้ รู้สึกได้ วัดผลได้ด้วยตัวเอง ก็เลยทำให้จิตใจมันวิ่งเข้า
    ช่องของสมาธิพุทธศาสนา จะฝืนก็ไม่ได้ เพราะจะไปสนองตัณหาทยานอยากเข้า

    ผมเห็น จขกท โพสในหลายกระทู้อยู่ว่า สนใจเรื่องอภิญญา ตรงนี้อย่าไปตกใจกลัว ใน
    ความเห็นที่ว่า หากมาทำสมาธิแบบพุทธศาสนาแล้วจะทำให้ไม่รู้อภิญญา เพราะหมด
    อยากหมดตัณหา ...ผมว่าตรงนี้มันดีเสียอีก มันจะวัดได้ว่า เราเป็นตัณหาจริต หรือ
    ทิฏฐิจริตกันแน่ หากเราเป็นตัณหาจริตนะ เข้ามาภาวนาแบบพุทธศาสนาอย่างไรก็เป็น
    ตัณหาจริตเหมือนเดิม เพราะคำว่า จริต ก็คือ พื้นนิสัย หากเรามีพื้นนิสันที่แท้จริงเป็น
    อย่างไร ไม่มีทางที่พื้นนิสัยมันจะเปลี่ยนไป แต่ทว่าหากคุณเป็นพวกทิฏฐิจริต(ฝุ้งโดย
    ความคิดนึกปรุงแต่ง-จินตนาการ)คุณก็จะได้ไม่เผลอไปทำในสิ่งที่ไม่ตรงพื้นนิสัย หาก
    เราทำอะไรไม่ตรงพื้นนิสัยที่แท้จริง พยายามเท่าไหร่ก็จะยิ่งลำบากคับข้องใจ ท้อเสีย
    ก่อนที่จะสำเร็จ

    แหะ แหะ ผมก็บ่นหน่อยละนะ ตามประสาคนแก่ เดี่ยวว่ากันต่อ ในเรื่องการปฏิบัติ
     
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ก็เข้าใจว่าร่างกายขยับไปเอง ไม่เกี่ยวกับเรา เราไม่ได้สั่ง
    ร่างกายมันทำงานของมันเอง พ้นจากเราไปแล้ว
    คน(จิต)ที่ขยับร่างกายนั้นแหละค่ะ ที่ไม่รู้ตัว มีแต่เราที่รู้ตัวอยู่
    คุณรู้ไหม ว่าใครขยับร่างกายอยู่ เพราะคุณรู้อยู่ว่าไม่ใช่คุณ
    ที่ถามเพราะอยากรู้จริงๆนะคะ ว่าคุณรู้สึกอย่างไร ถือว่าตอบเป็นวิทยาทาน นะคะ
     
  17. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ตรงนี้เป็นไม้เด็ดของการภาวนาของพุทธศาสนา

    เวลาที่เราไปเห็นอะไรก็ตามที่มันปรากฏให้เรารู้ นั่นแปลว่า มันกำลังถูก
    จิตหนึ่งที่เป็นเรา เฝ้ามองพฤติกรรมของมัน ซึ่งจะเกิดทัศนะเห็นว่า เรา
    ไม่ได้สั่ง เราไม่ใช่คนทำ เราไม่ได้บังคับบัญชามัน อีกทั้งการกระทำของ
    มันก็เอาแน่เอานอนไม่ได้ เมื่อเกิดขึ้นก็เพราะมีเหตุ พอหมดเหตุมันก็หยุด
    เอาดื้อๆ ด้วยการเห็นแบบนี้ โดยเราเป็นผู้ตั้งมั่นในการรู้ ในการดู แบบนี้
    เราจะฉลาดในการเห็น การไปการมาของมัน การมีอยู่ของมัน(สัจจญาณ)
    มันมีอยู่แล้วมันทำงานอย่างไร(กิจญาณ) มีผลต่อกายใจเราอย่างไร
    (กตญาณ) อะไรคือสิ่งที่ทำให้มันมีเหตุใกล้ให้เกิด เมื่อเรารู้ถ้วนในลักษณะ
    ของมัน เราก็จะฉลาด ซึ่งความฉลาดตรงนี้จริงๆแล้วอยู่ที่การรู้ ตรงที่เรารู้
    ว่ามันปรากฏตรงนั้นคือสมาธิในพุทธศาสนา ตรงที่เราเติมรู้บรรยายออก
    มาตรงนั้นเป็นเรื่องสมมติบัญญติ (ถ้าเป็นศาสนาอื่น หลักวิชาอื่น เขาก็สนุก
    กันตรงนี้ แต่ศาสนาพุทธนี่เราจะรู้จริงด้วยการไม่สร้างคำพูด คือเราเน้นที่
    ความรู้แจ้ง(Intuition) เราไม่เน้นการสร้างคำ เพราะมันช้า สู้รู้ตามจริงไม่ได้
    -- ที่ศาสนาพุทธไม่เน้นการเติมรู้ เติมบัญญัติ ก็เพราะเราเน้น การปล่อยความรู้
    เพื่อรู้ หากเรารู้ได้โดยการรู้จริง เราก็ไม่จำเป็นต้องอาศัยบัญญัติเพื่อแสดงตน
    ว่ารู้แต่อย่างใด )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤษภาคม 2009
  18. GunzEarn

    GunzEarn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +34
    จิตรู้ เป็นตััวสั่ง ถ้าเราไม่เข้าไปดู ตัวที่ทำให้รู้กาย เวลาคุณเพ่งหรือทำสมาธิ หรือ อารมเป็นสมาธิ ก็แล้ว แต่ กายคุูณ มันขยับ เอง เห็นได้ ชัดคือ มือกับเท้า

    จิตรู้ เป้นส่วนของตัวเรา

    เรารู้สึกอารมเดียวอารมสงบ จิตไม่ฟุ้งซ่าง
    ความรู้สึก ไม่ได้กลัีว ไม่ได้เกลียด แต่สงสัย จึงพิจารณา

    โดยปกติหากคนไม่ได้ฝึกฝนสมาธิ จิตกับกายมันอยู่ด้วยทำให้เราดูไม่ออก พอฝึกไประยะหนึ่ง จิตมันจะอยู่กับความคิดแทนครับ ทำให้เวลาเรานึกคิดให้กาย นิ้วขยับ ก็แล้วแต่การฝึกฝน

    (ผมพยายามอธิบาย ละครับ คุณจะเข้าใจนะครับ ^ ^)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤษภาคม 2009
  19. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ใกล้ละ เฉียดแล้วครับ ผมขอกราบอนุญาติชี้อีกนิด อย่าพึ่งรำคาญนะครับ
    หากผมชี้ให้เห็น จิตผู้รู้ ที่เป็นของพุทธศาสนาได้ หากคุณเห็นได้ คุณจะบิน
    เดี่ยวได้เอง

    ตรงจิตที่สั่งกายขยับ ตรงนั้นจะมีอาการไหลได้ มันต้องไหลไปไหลมา เพื่อ
    ไปสั่งตรงนั้นตรงนี้ อะไรที่มันเคลื่อนไปเคลื่อนมาได้ ไม่ใช่ จิตผู้รู้ แต่
    เป็นจิตมัน(มันไหนก็ไม่รู้ เอาเป็นว่าไม่ใช่เรา)

    กายที่มันถูกสั่งให้ขยับ หรือแม้แต่ที่มันขยับเอง ส่วนนั้นก็ไม่ใช่เรา คุณรู้สึก
    ไหมว่า กายเองก็พ้นการควบคุมจากเรา เพราะมีจิตมันที่ไม่ใช่เรา มันสั่ง
    ได้

    ทั้งจิตที่มันสั่งงานได้ และกายที่ขยับได้ เรารวมเรียกว่า สักกายทิฏฐิ หมาย
    ถึง มันคือจินตภาพที่หลอกหลอนเราให้เห็นว่า นั่นคือสิ่งที่รวมมาเป็นตัวตนเรา

    มาถึงตรงนี้ คุณควรสงสัยว่า แล้วเราอยู่ตรงไหน

    ผมก็ขอชี้ว่า เราอยู่ตรงที่คนเฝ้ารู้ เฝ้าดู ที่อยู่นิ่งๆ คอยเฝ้าดู นั่นแหละครับ
    เราอยู่ตรงนั้น ประภัสสรอยู่ตรงนั้นหากไม่เคลื่อนมาฉวยเอาจิตมัน หรือกาย
    มาเป็นเรา และตรงนี้แหละ คือ จิตผู้รู้ ผู้ตื่น จิตพุทธะอยู่ตรงนี้ มีความไม่
    เที่ยงเป็นธรรมดา แต่สามารถอบรมให้ตั้งมั่นอยู่ที่รู้ได้(สัมมาสมาธิอยู่ตรงนี้)

    และทันทีที่ตั้งมั่นรู้ เห็นแล้วว่า เราคือ ผู้เฝ้าดู(มีความไม่เที่ยงอยู่ลึกๆ) แล้ว
    แลเห็น จิตทีมันทำงาน(ขันธ์5) และกายธาตุที่เป็นเพียงแค่ไหวไปไหวมา
    ตามอาหารที่ปรุงเข้าไปโดยจิต(กายมันจะถูกสั่งงานด้วยระบบไฟฟ้า ฮอรโมน
    เคมี : ธาตุไหลไปไหลมา ใช้แล้วก็เสียลำเลียงออก) เราจะเห็นทันทีว่า
    เรายึดมั่นถือมั่นสิ่งเหล่านั้นเป็นตนอยู่ เราไปยึดเอาสิ่งที่ไม่เที่ยงเป็นตนอยู่
    มันควรไหมที่เราจะยึดเป็นตนหากมันมีความไม่เที่ยง เป็นเพียงสิ่งถูกรู้ถูกดู
    เป็นแค่ object ที่ถูกยึดถือ ...หากเราสามารถเห็นตรงตามความเป็นจริง
    โดยไม่คิดเอา จะเกิดปัญญาในการละคลาย ละวางการยึดมั่นถือมั่นนี้ลง
    โดยที่การวางนั้นไม่ใช่การเกลียดกลัวกายและใจตน ไม่ปฏิเสธการมีของ
    มันตามเหตุปัจจัยวาสนาบารมี ทั้งนี้เพราะ เรารู้หนทางหลุดพ้นอีกจิตหนึ่ง
    ที่อยู่เป็นปรมัตถ์สัจจ(สัจจสูงสุด)ให้เราได้รู้ว่ามีอยู่
     
  20. กิดากร

    กิดากร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    264
    ค่าพลัง:
    +1,046
    ถ้าคุณเชื่อว่าใช่ก็ณาน 4 แบบฉาบฉวยเอามาใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้หรอก ใช้คาถายังไม่ได้เลย ไม่เชื่อลองดูสิ 555

    ถ้าเป็นณานจริง ๆ ปัญญาที่เกิดและสภาวะธรรมที่เกิดมันจะบอกคุณเองว่าควรทำอะไรต่อไป แต่คุณทรงอารมณ์ณานได้รึยัง ????? ผู้ทรงณานเค้าไม่มาตั้งกระทู้แบบนี้ให้เสียเวลาแม้แต่วินาทีเดียวหรอกครับ

    ที่อยากแนะนำ คือเอาเวลาฝึกทรงอามรณ์ให้คล่อง 1234 4231 อะไรแบบนี้ดีกว่า จะมาเสียเวลาตั้งกระทู้ถามคนอื่น และไอ้คนที่คอยแนะนำก็ใช่ว่ามันจะเก่งกว่าคุณรวมถึงผมด้วย ฟังคำแนะนำจากหลายคนเคยได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ทำให้คุณไขว้เขวเปล่า ๆ ทำใจให้ว่างเหมือนแก้วน้ำที่ว่างเปล่าดีกว่า และใช้ปัญญาพิจารณาสภาวะธรรมที่เกิดดีกว่า อารมณ์ฉาบฉวยผมก็เคยเกิด แต่ผู้ที่ทรงณานจริง ๆ เค้าไม่มาตอบคำถามคุณหรอกผมจะบอกให้ เพราะมันเป็นการขัดขวางปัญญาที่จะเกิดของคุณ ผู้ที่ปฏิบัติปัญญามันจะเกิดตามสภาพของแต่ละคน ถ้าคุณไม่ทำใจให้ว่างพร้อมที่จะรับสภาวะธรรมที่เข้ามากระทบแล้วใช้ปัญญาพิจารณาสภาวะธรรมนั้น คุณไม่มีวันไปนิพพานได้หรอก เพราะมัวแต่อาศัยปัญญาของคนอื่น คำตอบของคนอื่น ผมก็ไม่ได้เก่งไปกว่าคุณแต่ปัญญาที่ผมได้มันบอกผมอย่างนี้ เห็นหลายกระทู้แล้วรู้สึกว่ารำคาญ ความสงสัยต่าง ๆ ของผู้คนในกระทู้เหล่านี้ไปฟังหลวงพ่อฤษีเทศน์คนเดียวพอ ทำปัญญาให้เกิดแล้วจะรู้เองว่าควรทำอะไรต่อ

    ปล.ทั้งนี้ทั้งนั่นจริตของคุณกับผมอาจไม่เหมือนกัน ผมปราถนาพุทธภูมิ เลยต้องอาศัยการเรียนรู้ส่วนตัวเป็นหลัก ไม่ค่อยสนใจว่าจะต้องมีครูอะไรหรอก ฟังหลวงพ่อสอนพอแล้ว ไปหาปัญญาเอาเอง แต่ถึงอย่างไรหากคุณสำเร็จก่อนผมก็ขออนุโมทนาด้วย และกรุณากลับมาสอนผมด้วยเมื่อปัญญาของคุณเกิดแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤษภาคม 2009
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...