ยิ่งกว่า"อนันตริยกรรม"?

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย priscillaria, 30 มีนาคม 2006.

  1. priscillaria

    priscillaria เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    131
    ค่าพลัง:
    +112
    ข่าวรัฐสภาไทย

    วัดปรอทการเมืองในยามนี้อุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีทีท่าจะลด บวกกับอากาศภายนอกร้อนจนเหงื่อท่วมยิ่งทำให้การเมืองใกล้ถึงจุดเดือด

    ยิ่งเห็นโพลแล้วก็เศร้าใจและน่าเป็นห่วงเพราะความเห็นแตกต่างทางการเมืองทำให้ถกเถียงกันจนขาดสติ สังคมแบ่งเป็นสองฝ่าย แม้ในครอบครัวยังทะเลาะเบาะแว้ง บางครอบครัวรุนแรงถึงขั้นพ่อลูกทำร้ายกัน เพื่อนบ้านเพื่อนร่วมงานแตกแยก ถึงยิงฟันกันก็มีตามที่เป็นข่าว

    แต่ที่เศร้าใจกว่านั้นคือ "ตัวต้นเหตุแห่งปัญหากลับมองไม่เห็นตัวเองเป็นปัญหา"

    แล้วไฟร้อนทางการเมืองจะดับลงได้อย่างไร?

    คำสอนของพระพุทธองค์กว่า 2,500 ปี ท่านทรงชี้หนทางดับทุกข์ไว้ "เหตุแห่งทุกข์เกิดที่ไหนดับที่นั่น"!

    เมื่อดับไม่ตรงกับเหตุที่เกิด บ้านเมืองจึงร้อนระอุวุ่นวายใกล้ปรอทแตกในขณะนี้

    หากผู้นำประเทศอย่าง "ท่านทักษิณ" ยืนยันมิใช่ต้นเหตุแห่งทุกข์ ก็ต้องพร้อมจะเผชิญและยอมรับกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในไม่ช้านี้

    เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตาม "ตถตา" ดังที่ท่านทักษิณเคยท่องจำมาพูดไว้

    ส่วนผลกรรมที่ตามมาจะเป็น "อกุศลกรรม" หรือ "กุศลกรรม" ก็อยู่ที่ท่านสะสมไว้คงต้องรอดูกัน

    ระหว่างที่รอดูผลแห่งกรรมนั้น มีโอกาสได้เปิดหนังสือธรรมะของท่านพุทธทาสภิกขุและท่านพระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) มาเติมปัญญาอันน้อยนิดที่ยังโง่เขลาตามไล่ไม่ทันพวกสัตว์การเมืองยุคดิจิตอล

    สิ่งหนึ่งที่ได้คิดจากคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุที่เคยกล่าวไว้ ใน "มาตุบูชานุสรณ์ : รำพึงเพื่อเป็นที่ระลึกแด่แม่ผู้ล่วงลับไปแล้ว" ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์พุทธศาสนา ปีที่ 16 เล่ม 3 สิงหาคม 2491 นั้น

    "...เราไม่สามารถถึงกับพลิกแผ่นดิน เราสามารถเพียงทำไปเรื่อยๆ ตามสติกำลัง มีผลเท่าไรก็เอาเท่านั้น แต่เราหวังอยู่ว่า การกระทำด้วยความจงรักต่อพระศาสนาของเรานี้ อาจมีคนเอาไปคิดไปนึก แล้วอาจมีคนทำตามมากขึ้น

    จนกระทั่งผู้มีอำนาจท่านทำ หรือประชาชนทั้งโลกพากันทำ มันก็อาจมีการพลิกแผ่นดินได้เหมือนกัน แม้เราจะไม่ได้พลิกเอง ผลก็เท่ากัน..."

    ผมตัดตอนคำกล่าวของท่านพุทธทาสภิกขุมาเพียงบางส่วน เพื่อเทียบเคียงให้บรรดาเพื่อนพี่น้องพันธมิตรฯผู้รักชาติได้ฉุกคิดกัน

    ขณะเดียวกันยังได้อ่านพจนานุกรมพุทธศาสน์ของพระธรรมปิฎก ว่าด้วยเรื่อง "ครุกรรม" ซึ่งเป็น "กรรมหนัก" ทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล

    ถ้าเป็นฝ่าย "กุศล" ได้แก่ ฌานสมาบัติ แต่ถ้าเป็น "อกุศล" ได้แก่ "อนันตริยกรรม"

    ผมยกมาเฉพาะ "อนันตริยกรรม" ซึ่งเป็นกรรมบาปหนักที่สุด เป็นกรรมที่ให้ผลก่อนกรรมอื่นๆ ถึงขั้น ตัดทางสวรรค์ ตัดทางนิพพาน

    มีการขยายความให้เข้าใจง่าย หมายถึง บากปรรมหนักที่สุด แม้ต่อให้ทำบุญ ต่อให้สำนึกผิดอย่างไรๆ ตายไปจากความเป็นชาตินี้ก็ไม่มีทางถึงสวรรค์ หรือบำเพ็ญภาวนาอย่างไรๆ กระทำให้ถูกต้องตามกติกาช่องไหนก็ตาม ตลอดทั้งชาตินี้ก็ไม่มีทางได้บรรลุมรรคผลเลย

    มีทางเดียวที่ไปได้คือ ประตูนรก!

    "อนันตริยกรรม" (กรรมหนักที่สุดฝ่ายบาปอกุศล ซึ่งให้ผลทันที
     
  2. priscillaria

    priscillaria เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    131
    ค่าพลัง:
    +112
    อ่านที่เขียนถึงนายทาสแล้ว เลยต้องไปหามาอ่าน<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เพราะไม่ได้สนใจอ่านหนงสือธรรมะเท่าไร<o:p></o:p>
    อ่านแล้วอยากหลับทุกที<o:p></o:p>
    นายทาสของคุณ ทาสไหนแน่<o:p></o:p>
    ทาสที่เป็นสมาชิกบอร์ดพลังจิตหรือป้าว<o:p></o:p>
    ถ้าใช้ก็แบนไปสิ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    แต่ถ้าคุณหมายถึงพุทธทาสก็เขียนมาให้ชัดเจน <o:p></o:p>
    ไม่ใช้เขียนว่า พ.ทาส หรือ นาย ทาส เพราะอาจเป็น<o:p></o:p>
    นายทาส ที่เป็นสามาชิกบอร์ดแห่งนี้ หรือใครก็ไม่รู้ที่ชื่อทาส<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ถ้าหากเป็นพุทธทาส <o:p></o:p>
    เพื่อความเป็นธรรมของผู้ที่ตายไปแล้วนะ<o:p></o:p>
    เลยต้องไปค้นหาสักหน่อย<o:p></o:p>
    เพราะไม่ค่อยจะได้อ่าน...บอกตรงๆว่า ขี้เกียจอ่าน<o:p></o:p>
     
  3. priscillaria

    priscillaria เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    131
    ค่าพลัง:
    +112
    http://www.buddhadasa.com/index.html<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เรื่องคำสอนของพระพุทธเจ้า<o:p></o:p>
    นี่ท่านจะเห็นได้เองทันทีว่า การถาม เรื่องเกิดทางเนื้อหนัง แล้วตายเข้าโลง แล้วว่า เกิดหรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้า ท่านไม่ยอมพูด ด้วย ที่ว่า ไม่เป็น เงื่อนต้น ของความดับทุกข์นั้น ก็เพราะว่า เมื่อผู้ถามถามอย่างไร ผู้ตอบตอบให้ฟัง ผู้ถามก็เห็นด้วยตนเองไม่ได้ มันจึงได้แต่โง่ลง เป็นครั้งที่สองอีก คือเชื่อตามที่ผู้พูด พูด หรือ ผู้บอก บอก ครั้งยังไม่เข้าใจ ก็ถามอีก ผู้บอกก็บอกอีก คนฟังก็ต้องโง่เชื่อไปตามคำบอกเรื่อยไปๆ ไม่มีที่สิ้นสุด เพราะมันไม่อาจจะเห็นได้ด้วยตาว่า ว่าหลังจากเข้าโลงไปแล้ว มันจะไปเกิด ได้อย่างไร เป็นคนๆเดียวกัน หรือเปล่า แล้วบุญกุศลนั้น มันจะไปถึง จริงหรือเปล่า นี่เป็น เรื่องสำคัญที่สุด ของพุทธศาสนา ว่า มันไม่ได้หมายถึง "ความเกิด" อย่างนั้น ถามไปเท่าไร มันก็เป็นเรื่อง ไกลออกไปทุกที ไกลออกไปทุกที จนไม่มีทาง ที่จะพูดถึง เรื่องดับทุกข์ แล้วผู้ถาม ก็ต้องเชื่อ ตามผู้บอก ซึ่งบอกเรื่อยไป ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีประโยชน์อะไร<o:p></o:p>
    พระพุทธองค์ ตรัสว่า มาพูดถึงเรื่องที่จำเป็น หรือที่สำคัญดีกว่า คือ มาพูดถึง เรื่องที่ว่า เกิดอยู่นี่มันเป็นทุกข์ แล้วทำอย่างไร จึงจะไม่เป็นทุกข์ อย่าไปพูดว่า ตายแล้วเกิดหรือไม่เกิด อันเป็นเรื่อง ข้างหน้าโน้น พูดเดี๋ยวนี้ ที่นี่เลยว่า ที่เกิดอยู่นี่ เป็นทุกข์ หรือ ไม่เป็นทุกข์ ถ้าเป็นทุกข์ ละก็ จะแก้ทุกข์อย่างไร? ท่านทรงชี้ให้เห็นว่า ความยึดมั่น ถือมั่น ว่าตัวกู ว่าของกู นี้มันเป็นทุกข์ พูดกันพักเดียว คนฟังนั้น เขาฟังเข้าใจ ไม่ต้องเชื่อ พระพุทธเจ้า แต่เขาเชื่อตัวเองเท่านั้น พระพุทธเจ้า ท่านก็กำชับว่า อย่าเชื่อตถาคต แม้พระสารีบุตร ก็กล้าปฏิญาณ ต่อหน้า พระพุทธเจ้าว่า ไม่เชื่อพระพุทธเจ้า แต่เชื่อตัวเอง อย่างนี้ ในกรณีของธรรมะ เป็นอันว่า ในกรณีของธรรมะ ในพุทธศาสนานี้แล้ว ต้องเชื่อสิ่งที่เห็นได้ด้วยตนเอง ฉะนั้น พระพุทธเจ้า ท่านสามารถ ที่จะทรงแสดง ให้เขาทราบ เขาเห็นด้วยตนเอง ว่าการยึดมั่น ถือมั่น ว่าตัวกู ว่าของกู นี้มันเป็นทุกข์ และความเกิด นั่นมันเป็น ความเกิด ที่ทำให้เป็นทุกข์ ขึ้นมา ก็ต่อเมื่อ มีความยึดมั่น ถือมั่น ว่าความเกิดของกู นั่นเอง<o:p></o:p>
    เมื่อเห็นว่า ความยึดมั่นถือมั่นว่า ตัวกู-ของกู นี้เป็นความทุกข์แล้ว เสร็จไปขั้นหนึ่งแล้ว ท่านก็อธิบายต่อไปอีก ขั้นหนึ่ง ว่า ความรู้สึกว่า ตัวกู-ของกูนี้ มันเป็นมายา มันไม่ใช่ตัวจริง คือมันเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อได้ เห็นรูป ได้ฟังเสียง ได้ดมกลิ่น ได้ลิ้มรส ที่เรียกว่า สัมผัส แล้วเกิดเวทนา- แล้วเกิดตัณหา- แล้วเกิดอุปาทาน มันเพิ่งเกิดหยกๆ ตรงนี้ และชั่วครู่ ชั่วขณะเท่านั้น มันเป็นมายาอย่างนี้ โดยที่แท้จริงแล้ว มันไม่มี ตัวกู-หรือตัวเรา ของกู-หรือของเรา นี้มันไม่มี มันเป็นความเข้าใจผิด เป็นความยึดมั่น ถือมั่น ที่เกิดขึ้นมาจาก ความไม่รู้ หรืออวิชชา ในขณะที่เห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส สัมผัส หรือ คิดนึก ด้วยใจ นั่นเอง ท่านอุตส่าห์ ทรงพร่ำสอน ตรงนี้ จนผู้ฟังนั้น เห็นเองอีก เห็นได้ด้วยตนเอง ว่า มันไม่มีตัวกู มันมีแต่ความสำคัญผิด ว่าตัวกู เกิดขึ้นเป็น egoism อย่างที่อธิบายแล้ว แต่วันก่อนนี้ ขึ้นมาในใจ แล้วไปยึดมั่น ถือมั่น สิ่งนั้นว่า ตัวกู แท้จริงแล้ว ตัวกูไม่มี มีแต่จิต ที่ประกอบด้วย อวิชชา มันก็ต้องรู้สึกว่า ตัวกู เสมอไป ถ้าประกอบด้วย สติปัญญา คือ ว่างแล้วก็ไม่มีตัวกู เสมอไป แล้วอันไหนเป็น ความเท็จ อันไหนเป็น ความจริง ผู้นั้น ก็จะเห็นได้ด้วย ตัวเองทันทีว่า ที่ว่างจากตัวกู นั่นแหละคือความจริง เลยกลายเป็น บุคคลที่เห็นได้ว่า ตัวกูไม่มี เมื่อตัวกู มันไม่มีแล้ว ใครมันจะตาย แล้วใครมันจะเกิด การที่มาถามทีแรกว่า ตายแล้วเกิดไหม? นั้นจึงเป็น ปัญหาที่โง่ที่สุด คือมันไม่เป็นปัญหาเลย มันก็เลยหยุดไปเอง เพราะมันเป็น การตอบเสร็จ ไปเลยในตัวเอง ว่าไม่มีใครตาย ไม่มีใครเกิด ในทำนองที่ เกิดทางเนื้อหนัง ที่ตายเข้าโลง แล้วเกิดอย่างนี้ มันไม่มี มันมีแต่จิต ที่เปลี่ยนแปลงไป ตามสิ่งปรุงแต่งเท่านั้น มีความเกิดขึ้น แห่งความ ยึดมั่น ถือมั่น ว่า ตัวกู-ของกู เท่านั้น พอเรารู้แจ้ง เห็นจริง ในข้อนี้ เราขจัดมันไป เสียได้ สิ่งที่เรียกว่า ตัวกู-ของกู ไม่มี เรื่องก็จบกัน คือ สิ้นสุดกันลง เพียงเท่านั้น สิ่งที่เหลืออยู่ ก็เป็นเพียง จิตที่ว่าง ไม่มีความทุกข์เลย ไม่มีความรู้สึกว่า ตัวกู-ของกู มาวี่แววเลย ปัญหาเรื่อง ตายแล้ว เกิดหรือไม่ ก็เลยเป็นหมัน<o:p></o:p>
    ทุกๆอย่างนั้น เห็นได้ด้วยตนเองหมด ว่าที่พระพุทธเจ้า ท่านเรียกว่า ความเกิด ความแก่ ความตายนั้น มันหมายถึงอะไร? แล้วก็รีบ ขจัดสิ่งเหล่านี้ ออกไปให้หมด จนไม่มีการเกิดขึ้นมาเลย แล้วเรื่องก็สิ้นสุดลง ไม่ต้องพูดถึงชาติโน้น ไม่ต้องพูดถึงชาตินี้ ไม่ต้องพูดถึงชาติที่แล้วมา พูดแต่เรื่องเดี๋ยวนี้ ปัจจุบันอย่างยิ่ง ที่นี่และเดี๋ยวนี้ ที่จะต้องรีบศึกษา ให้เข้าใจ จนไม่มีความรู้สึกว่า เป็นตัวกู-หรือของกู นั่นแหละ แล้วร่างกายนี้ อัตตภาพนี้ ซึ่งประกอบอยู่ ด้วยร่างกาย และจิตใจนี้ จะเป็นของเด็ก หรือ ผู้ใหญ่ ของคนแก่ คนเฒ่า อะไรก็ตาม จะสะอาด ปราศจาก ตัวกู-ว่างจากตัวกู แล้วก็ ไม่มีความทุกข์เลย ในพระบาลี ก็ยังมีพูดถึง ผู้ที่เป็นพระอรหันต์ ตั้งแต่อายุเพียง ๑๕ ปี นี้ก็หมายถึงเป็นเด็ก แต่มีน้อยมาก มีแต่ที่พูดถึง ผู้สูงอายุ ได้เป็นพระอรหันต์นั้น เป็นจำนวนมากที่สุด เพราะว่า สามารถ ผ่านสิ่งต่างๆ มา ประจักษ์ชัด ด้วยตนเอง ทั้งนั้น กล่าวคือ มีความแจ่มแจ้ง ในทางจิต หรือทางวิญญาณ เป็นเรื่องๆ ไปอยู่เป็นประจำ เรียกว่า spritual experience, คือว่า experience อันนี้ไม่ใช่สัมผัส ทางเนื้อ ทางหนัง ทางวัตถุ แต่เป็นสิ่งที่เคย ถูกเข้าแล้ว โดยทางจิตใจ โดยทางวิญญาณ รู้รสมาแล้ว ทางจิตใจ รู้รสมาแล้ว ทางวิญญาณ ในส่วนลึก ว่า มันเป็นอย่างไร ซึ่งคนเรา ตั้งแต่เกิด ขึ้นมาแล้ว กว่าจะตายนี้ มันประสบ กับสิ่งเหล่านี้ นับไม่ถ้วน ถ้าเขาเป็นคนฉลาด สังเกตแล้ว สิ่งเหล่านี้ มันจะมีประโยชน์ มากที่สุด คือ มันจะสอน ให้ทุกคราวไปว่า ไม่มีสิ่ง ที่ควรเรียกว่า ตัวกู หรือ ของกู ทุกคราวไป ไม่เท่าไร เขาจะมีความรู้ มากพอ อย่างที่ว่า พระพุทธเจ้าตรัส สะกิดคำเดียว เขาก็เป็น พระอรหันต์แล้ว คือไม่กี่นาที ที่ได้คุยกับพระพุทธเจ้า ก็กลายเป็น พระอรหันต์ไป นี้เรียกว่า เป็นผลของ สิ่งๆเดียว คือความเข้าใจถูก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ เข้าใจถูก เรื่องความทุกข์ หรือในเรื่องที่ว่า "ความเกิด เป็นตัวความทุกข์" อันเป็นคำ ที่สำคัญ คำแรกที่สุด ที่ท่านทั้งหลาย จะต้องสนใจ และเข้าใจ.<o:p></o:p>
    ธ-มหา-๑ ๓๖/๑๓๙-๑๔๒<o:p></o:p>
    http://www.buddhadasa.com/FAQ/index_FAQ.html<o:p></o:p>
    เรื่องเทวดา เปรต โอปาติกะ เคนเอาบางส่วนมาลงไว้ให้อ่านแล้ว<o:p></o:p>
     
  4. priscillaria

    priscillaria เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    131
    ค่าพลัง:
    +112
    ไปหามาแล้ว
    เค้าเขียนผิดตรงไหน
    ใช้เหตุผลแจ้งให้ทราบด้วย
    แล้วก็ไม่ใช้ศิษย์พุทธทาสนะย่ะ...อย่ามั่ว

    แค่เป็นชาวพุทธธรรมดาคนหนึ่ง
    ที่ไม่ได้สนใจปฏิบัติ และก้อขี้เกียจอ่าน
    แต่ก้ออยากรู้ขอเท็จจริง
    อย่างมีเหตุมีผล
    ไม่ใช่เขียนลอยๆ ใครก้อเขียนได้

    แล้วทำตัวเป็นลูกผู้ชายหน่อย
    เขียนข่มขู่ผู้หญิงในกระทู้ของเรานะ
    มันสมควรหรอป้าว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มีนาคม 2006

แชร์หน้านี้

Loading...