ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย anand, 2 กันยายน 2009.

  1. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

    ทักขิณาสูตร
    ว่าด้วยความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา

    [๗๘] ภิกษุทั้งหลาย ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน? คือ
    ทักษิณาบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกก็มี ทักษิณาบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายกก็มี ทักษิณาไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกทั้งผ่ายปฏิคาหกก็มี ทักษิณาบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกทั้งฝ่ายปฏิคาหกก็มี.

    ก็ทักษิณาบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร? ทายกเป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ปฏิคาหกเป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม อย่างนี้แล ทักษิณาบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก.

    ทักษิณาบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก เป็นอย่างไร?
    ทายกเป้นผู้ทุศีล มีบาปธรรม ปฏิคาหกเป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม อย่างนี้แล ทักษิณาบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก.

    ทักษิณาไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกทั้งฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร? ทายกเป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม แม้ปฏิคาหกก็เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรมอย่างนี้แล ทักษิณาไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกทั้งฝ่ายปฏิคาหก.

    ทักษิณาบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกทั้งฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร? ทายกเป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม แม้ปฏิคาหกเป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม อย่างนี้แล ทักษิณาบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกทั้งฝ่ายปฏิคาหก.
    ภิกษุทั้งหลาย ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา ๔ ประการนี้แล.

    ทักขิณาสูตรที่ ๘ จบ

    อรรถกถาทักขิณาสูตรที่ ๘

    พึงทราบอธิบายในทักขิณาสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้.
    คำว่า ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา (ทกฺขิณาวิสุทฺธิโย) ได้แก่เหตุทั้งหลายแห่งความบริสุทธิ์ของทักษิณา คือทาน.
    คำว่า บริสุทธิ์ฝ่ายทายก (ทายกโต วิสุชฺฌฺติ) ความว่า ย่อมบริสุทธิ์โดยความมีผลมาก.
    คำว่า มีกัลยาณธรรม (กล์ยาณธมฺโม) คือ เป็นผู้มีธรรมอันสะอาด.
    คำว่า มีบาปธรรม (ปาปธมฺโม) คือ เป็นผู้มีธรรมลามก. ในคำว่า บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก (ปฏิคฺคาหกโต วิสุชฺฌติ) นี้ ควรกล่าวถึงพระเวสสันดรมหาราช. ได้ยินว่า พระเวสสันดรมหาราชนั้นให้ทารกแก่พราหมณ์ชื่อชูชก ทำมหาปฐพีให้ไหวแล้ว. ในคำว่า บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก (ปฏิคฺคาหกโต วิสุชฺฌติ) นี้ ควรกล่าวถึงชาวประมงผู้อยู่ที่ประตูปากแม่น้ำกัลยาณี. ได้ยินว่า ชาวประมงนั้นได้บิณฑบาตสามครั้งแก่ พระทีฆสุมนเถระ นอนบนเตียงมรณะกล่าวว่า "บิณฑบาตที่ได้ถวายแก่พระเป็นเจ้าทีฆสุมนเถระช่วยเราได้" ในคำว่า ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก (เนว ทายกโต) นี้ ควรกล่าวถึงนายพรานผู้อยู่บ้านวัฑฒมานะ. ได้ยินว่า นายพรานนั้นเมื่อทำบุญอุทิศเพื่อคนที่ตายแล้วจึงได้ให้แก่ปฏิคาหกผู้ทุศีลคนเดียว ๓ ครั้ง. ในครั้งที่ ๓ อมนุษย์ (ผู้ตายไปเกิดเป็นเปรต) ร้องว่า "ปฏิคาหกทุศีลปล้นเรา." ทักษิณาถึงผู้ตายนั้นในเวลาที่ทักษิณาอันเขาถวายแก่ภิกษุผู้มีศีลรูปหนึ่งแล้ว. ในคำว่า บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกทั้งฝ่ายปฏิคาหก (ทายกโต เจว ปฏิคฺคาหกโต จ วิสุชฺฌติ) นี้ บัณฑิตควรกล่าวถึงการถวายอสทิสทานแล.

    อรรถกถาทักขิณาสูตรที่ ๘ จบ

    พระไตรปิฎก และอรรถกถาแปล
    พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต
    อรรถกถาอปัณณกวรรค ทักขิณาสูตรที่ ๘
    หน้า ๒๔๒-๒๔๓
    ฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย
    เล่ม๓๕



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กันยายน 2009

แชร์หน้านี้

Loading...