รวมพลคนสัมผัสญาณ"เจ้าแม่กวนอิม" 觀世音菩薩 結緣

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย horasarn, 1 ตุลาคม 2007.

  1. ดาบจันทรา

    ดาบจันทรา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2007
    โพสต์:
    986
    ค่าพลัง:
    +1,953
    ลูกสาวก็เลยถามว่าจะไปประเทศออสเตรเลีย ไม่ทราบเป็นอย่างไรบ้าง
    อาจารย์ก็เลยบอกว่า อ้าว ทำไมไม่ไป นิวซีแลนด์ ล่ะ มีเพื่อนอยู่
    ที่นั่นไม่ใช่หรือ ตัวลูกสาวเขาก็ตกใจว่า ทำไมอาจารย์ทราบได้
    อย่างไรว่ามีเพื่อนอยู่ที่นี่ เพราะตอนมายังไม่ได้เล่าอะไรให้
    อาจารย์ฟังเลย ลูกสาวก็เลยถามว่า จะไปทำงานออกแบบ
    ตกแต่งภายใน ไม่ทราบว่าจะได้ทำหรือเปล่า อาจารย์ก็เลย
    บอกว่า จะไปล้างจานไม่ใช่หรือ แล้วจะไปทำงานออกแบบ
    ได้อย่างไร ลูกสาวก็เลยอึ้ง สารภาพมาตรง ๆ ว่า
    จริง ๆ จะไปเรียนภาษา และก็จะไปทำงานล้างจาน คือ
    หาเงินเรียนไป ทำงานไปด้วย
     
  2. ดาบจันทรา

    ดาบจันทรา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2007
    โพสต์:
    986
    ค่าพลัง:
    +1,953
    มีญาติธรรมหลาย ๆ คน โทรเข้ามาสอบถามกับไอยเองว่า
    ตกลงแล้ว เรื่องราวของอาจารย์ Astro Neemo ที่ได้รับ
    ญาณนั้น เป็นของท่านใด องค์ใด หรือที่ไหนกันแน่
    ซึ่งเรื่องนี้ ตัวไอยเองก็เคยสอบถามกับท่านเหมือนกันว่า
    ตกลงอาจารย์นีโม่ได้รับการถ่ายทอดญาณบารมี
    ได้อย่างไร ซึ่งอาจารย์ท่านก็บอกว่า ให้ไปย้อนอ่านดู
    เรื่อง รวมพลคนสัมผัสญาณ "เจ้าแม่กวนอิม" ตั้งแต่ต้น
    ก็จะทราบได้เลยว่า อาจารย์นั้น ได้รับญาณบารมีจาก
    องค์พระอวโลกิเตศวร มาตั้งแต่เดิมแล้ว แต่ด้วยความ
    ที่ตัวท่านเองไม่ต้องการให้ตัวเอง และญาติธรรมมายึดติด
    ก็เลยยกประโยชน์ตรงนี้ ให้เป็นไปในรูปแบบอื่น ซึ่งทำให้
    หลาย ๆ คนเข้าใจผิดไปว่า เป็นเพราะท่านไปทำงาน
    ให้กลุ่มนั้น กลุ่มนี้ ท่านก็เลยได้รับญาณบารมีจากกลุ่มนั้น ๆ ไป
     
  3. ดาบจันทรา

    ดาบจันทรา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2007
    โพสต์:
    986
    ค่าพลัง:
    +1,953
    ดังนั้น ไม่ว่าการทำพิธีกรรมต่าง ๆ หรือรูปแบบกิจกรรมต่าง ๆ
    ที่ท่านได้ทำนั้น เป็นการได้รับการถ่ายทอดจากพระญาณบารมี
    ของพระพุทธองค์และพระโพธิสัตว์ทั่วทั้งจักรวาล ที่ท่านได้
    แผ่เมตตาบารมีมาโปรดสรรพสัตว์ โดยผ่านขันธ์ 5 ของ
    อาจารย์ ซึ่งเป็นพลังที่สะอาด บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มัวหมอง
    ตั้งแต่เริ่มต้น ท่ามกลาง จนถึงที่สุด

    และในการถ่ายทอดพระญาณบารมีให้กับบรรดาอาจารย์
    ของกลุ่มผู้ปฏิบัติศูนยตาธรรมนั้น ก็เพื่อให้ไปทำงานใน
    การโปรดสรรพสัตว์ และช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก ให้เขา
    มองเห็นถึงสัจธรรมอันแท้จริง โดยมีธรรมะของพระพุทธองค์
    ท่านเป็นแนวทาง
     
  4. ดาบจันทรา

    ดาบจันทรา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2007
    โพสต์:
    986
    ค่าพลัง:
    +1,953
    ยืนยันได้จากการถ่ายทอดมาเป็น รหัสจักรวาล 11:11
    แปลความหมายได้ว่า ถ่ายทอดพระญาณบารมีจาก
    พระเอกทศมุขีอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (กวนอิม11พักตร์)

    พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทรงเป็น อัครสาวกเบื้องซ้าย แห่ง
    พระอมิตาภตถาคต อันประทับอยู่ ณ. สุขาวดีโลกธาตุอันนับจาก
    สหาโลกธาตุ ( คือโลกที่เราเหยียบอยู่นี้ ) ไปทางหนประจิมได้
    ล้านโกฏิพุทธเกษตร พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทรงมีวาสนาต่อ
    โลกเรามาก ( คำว่า “วาสนา” ในที่นี้ทางมหายานมีความหมาย
    ถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลโดยมีความหมาย
    เป็นกลาง ๆ อาจเป็นในทางดีหรือร้ายก็ได้ ซึ่งไม่เหมือนกับคำว่า
    “วาสนา”ในทางเถรวาทซึ่งหมายถึงธรรมอันฝังอยู่ในส่วนลึก
    ภายในจิตใจที่แม้แต่พระอรหันต์ก็ยังละไม่ได้ [แต่ไม่ใช่อกุศลธรรม]
    ซึ่งมีแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่ละได้ )

    พระศากยมุนีตถาคตทรงตรัสหลายครั้งว่า
    “ดูกร อวโลกิเตศวร เธอมีวาสนาต่อสหาโลกธาตุนี้ยิ่งนัก
    ชนใดกล่าวนามแห่งเธอ รำลึกถึงเธอ เคารพบูชารูป
    ( อันได้แก่ภาพวาดและรูปปั้นเป็นต้น ) แห่งเธอ
    ย่อมพ้นจากทุกข์และภัยทั้งปวง”
    <O:p</O:p
    พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรนั้นทรงประทับอยู่ ณ.
    สุขาวดีโลกธาตุแห่งพระอมิตาภตถาคต กล่าวกันว่า
    สมัยเมื่อพระสุคตเจ้ายังมีพระชนม์อยู่นั้น พระโพธิสัตว์
    อวโลกิเตศวร ทรงประทับอยู่ในโลกนี้ และยังได้ทรงช่วย
    พระผู้มีพระภาคแสดงธรรมหลายครั้ง
     
  5. ดาบจันทรา

    ดาบจันทรา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2007
    โพสต์:
    986
    ค่าพลัง:
    +1,953
    แท้จริงแล้วสรรพสิ่งทั้งปวงคือนิรมานกายแห่งพระองค์ และ
    สรรพเสียงทั้งปวงคือเสียงแห่งพระองค์

    พระธรรมกายแห่งพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์คือ
    พระมหากรุณาธรรมนั้นทรงสถิตอยู่ทุกหนทุกแห่งทั่ว
    ทั้งสรรพโลกธาตุอนันตมหาจักรวาล ทรงเป็นพระบรมครู
    แห่งพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย
    พระองค์สถิตอยู่ทุกหนทุกแห่งไม่ว่าโดยไม่จำกัดว่าที่นั่น
    จะเป็นที่ไหน, ดีหรือไม่, สะอาดหรือไม่, นับถือศาสนา
    พุทธหรือไม่

    และท้ายที่สุดทรงสถิตอยู่ในใจสรรพชีวิตทั้งมวล วันนี้ถ้า
    ใครมีมหากรุณาจิต เขาคนนั้นก็คือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
    เป็นที่ทราบกันดีว่าพระนลาฏแห่งพระองค์นั้นทรงเทิดไว้ด้วย
    พระอมิตาภพุทธเจ้าแต่แท้จริงแล้วที่พระองค์เทิดไว้คือสรรพชีวิต
    ทั้งปวง ( เพราะสรรพชีวิตทั้งปวงคือพุทธะ ) พระองค์ไม่เคย
    ทอดทิ้ง ทรงคอยสอดส่องตลอดเวลา และคอยช่วยเหลือว่า
    ใครบ้างตั้งปณิธานเพื่อพระโพธิญาณ, ใครบ้างเข้าถึง
    กระแสมหากรุณาจิต, ใครบ้างที่อุทิศตนเพื่อสรรพชีวิต,
    ใครบ้างเข้าสู่กระแสแห่งพระสัทธรรม, ใครบ้างเข้าถึงกระแส
    แห่งการหลุดพ้นจากกองทุกข์คือวัฏฏะสงสาร ( นี่เป็นคำสอน
    สูงสุดในสายพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ 观音法门<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 พฤศจิกายน 2009
  6. ดาบจันทรา

    ดาบจันทรา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2007
    โพสต์:
    986
    ค่าพลัง:
    +1,953
    [​IMG]
     
  7. ดาบจันทรา

    ดาบจันทรา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2007
    โพสต์:
    986
    ค่าพลัง:
    +1,953
    เรียน กัลยณมิตรและญาติธรรมทุก ๆ ท่าน

    ไอยพึ่งได้รับแจ้งมาว่า มีผู้นำข้อความที่ได้โพสในกระทู้แห่งนี้
    ไปลงในกระทู้อื่น ๆ คงต้องขอความกรุณา ช่วยลบข้อความ
    ของไอย ที่ได้อ้างอิงลงไปโพสในกระทู้อื่น ๆ ด้วยค่ะ
    ถ้ามีข้อสงสัยในเรื่องของธรรมะ (สถานเดียว) หรือซักถาม
    ปัญหาธรรม ไอยยินดีตอบในทุก ๆ เรื่องของที่เป็นธรรมะเท่านั้น
    อย่านำข้อความของไอยไปพาดพิงแก่บุคคลใด หรือกลุ่มใด ๆ
    เลยค่ะ ส่วนที่ไอยนำข้อความของอาจารย์ Digital มาลงได้นั้น
    ไอยได้รับการอนุญาติจากตัวอาจารย์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
    ซึ่งอาจารย์ Digital ท่านบอกว่าให้ไอยช่วยโพสแจ้งไปยัง
    กระทู้อื่น ๆ ที่สมควร เพื่อให้ญาติธรรมที่ได้ทำบุญลงไปแล้วนั้น
    จะได้ไปร่วมบุญและทำขอขมาพระรัตนตรัยต่อหน้าพระสงฆ์ร่วมกัน

    ขอขอบคุณทุก ๆ ท่านที่หวังดี และมีความกรุณาต่อไอย
    แต่ขอให้พูดคุยสนทนากันในเพียงกระทู้นี้เท่านั้นนะค่ะ
    ด้วยความขอบคุณ / ไอย
     
  8. ดาบจันทรา

    ดาบจันทรา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2007
    โพสต์:
    986
    ค่าพลัง:
    +1,953
    กวนอิมปางที่ 1 พระอารยอวโลกิเตศวร หรือ พระปาริสุทธิ
    การุณย์โพธิสัตว์ โปรดผี เปรต และ สัมเวสี ที่อดอยาก คนจีน
    เรียกปางนี้ว่า เช็งกวนอิม คนญี่ปุ่นเรียก โชแคนนอน ถือว่าเป็น
    ปางใหญ่ซึ่งปรากฎในแดนสุขาวดี ในพระอิริยบทนั่งหรือยืนอยู่
    ทางเบื้องซ้ายของพระอมิตาพุทธเจ้า พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัว
    สีชมพู พระหัตถ์ขวาถือลูกประคำ หรือ แจกัน ซึ่งรูปลักษณะนี้
    กล่าวไว้ใน คัมภีร์อมิตยุรธยานสูตร ถือ เป็นปางประธาน ของ
    พระโพธิสัตว์ปางอื่น ๆ ทั้งหมด มุ่งโปรดสัตว์ทุกภพ ภูมิ มักจะ
    สร้างสักการะบูชาไว้ใน พุทธสถาน ยิ่งกว่าที่แห่งใด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 พฤศจิกายน 2009
  9. ดาบจันทรา

    ดาบจันทรา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2007
    โพสต์:
    986
    ค่าพลัง:
    +1,953
    กวนอิมปางที่ 2 พระสหัสหัตถ์สหัสสเนตร อวโลกิเตศวร
    ภาคนี้ถือว่ารับภาระทุกข์ของสรรพสัตว์มากที่สุด จึงต้อง
    มีถึง พันมือพันตา ประจำอยู่ใน นรกภูมิ คนจีนเรียกปางนี้ว่า
    เชียนโสว่กวนอิมญี่ปุ่น เรียก เซน จู แคนนอน
    ปางนี้สร้างขึ้นจากแนวคิดใน มหากรุณาธารณีสูตร
    เป็นปางที่เชื่อกันว่ามีบารมี อำนาจ ตบะมาก ทรงมุ่งใน
    การโปรดสัตว์ทั่วทุกภพภูมิในทศทิศนิยม สร้างแบบประมาณ
    ให้ดูสวย มีตั้งแต่ 20 กร 42 กรส่วนพระกรจำนวนมากนั้น
    นิยมสร้างไว้หลัง รัศมีพระวรกาย ส่วนด้านพระเศียรนั้น
    นิยมต่อยอดสูงไปเรื่อย ๆ มีตั้งแต่ 11 เศียร 27 เศียร 30 เศียร
    หรือ มากถึง 500 เศียร ก็เคยปรากฎ แต่พระเศียรยอดสุด
    ย่อมเป็น เศียรแห่ง องค์อมิตภพุทธเจ้า เท่านั้น
    นอกจากนั้นบริเวณฝ่ามือจะมี ดวงตาหนึ่งดวง แล หน้าผาก
    จะมี ดวงตาที่สาม ปางนี้ได้แพร่หลายในอินเดียก่อนและ
    พระภิกษุอินเดียท่านหนึ่ง ได้มาสร้างรูปเขียนที่เมืองจีน
    จากนั้นก็แพร่หลายอย่างรวดเร็ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 พฤศจิกายน 2009
  10. ดาบจันทรา

    ดาบจันทรา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2007
    โพสต์:
    986
    ค่าพลัง:
    +1,953
    กวนอิมปางที่ 3 พระหัยครีวอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์
    โปรดสัตว์เดรัจฉาน และเปี่ยมไปด้วย เมตตาเรียกอีกอย่างว่า
    กวนอิมหน้าม้า คนจีนเรียกปางนี้ว่า หมาเตา กวนอิม, มาเตา
    มิงหวาง ญี่ปุ่นเรียก บาโต แคนนอน พระหัยครีวโพธิสัตว์ นิยม
    ในธิเบต มองโกเลีย และญี่ปุ่นทางตอนเหนือ ซึ่งเป็นดินแดนที่
    ชาวบ้านหาเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะม้าใน
    คุณการัณฑพยุหสูตร นั้นศากยมุนีพุทธเจ้าได้ทรงตรัสว่า

    เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ชื่อ
    สิงหล มีอาชีพเป็นพ่อค้า ไปค้าขายทะเลกับคณะพ่อค้า แต่
    เรือสำเภาถูกอับปางลง ต้องไปติดอยู่บนเกาะของนางรากษส
    ด้วยความกรุณาของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ในรูปของม้า
    อัศดรสีขาว ชื่อว่า พลาหะ มาช่วย จึงพ้นภัย
     
  11. ดาบจันทรา

    ดาบจันทรา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2007
    โพสต์:
    986
    ค่าพลัง:
    +1,953
    ขอสลับเล่าเรื่องไขรหัสกรรมของกลุ่มผู้ปฏิบัติศูนยตาธรรม
    บ้างนะค่ะมีญาติธรรมคนหนึ่ง มาปรึกษาอาจารย์ว่า
    ทำอย่างไรดี ลูกสาวหนีออกจากบ้านมาได้ 5-6 ปีแล้ว
    และไม่เคยติดต่อกลับมาอีกเลยอาจารย์ก็เลยบอกว่า
    จำไม่ได้หรือ เราเมื่อตอนอายุ 20 ปี ก็หนีออกจากบ้านมามี
    สามีไม่ใช่หรือ ญาติธรรมได้ฟังดังนั้น ถึงกับนิ่งอึ้ง น้ำตาซึมเลย
    เขาจำได้แล้วว่า เมื่อตอนสาว ๆ ก็หอบผ้าหอบผ่อนหนีตามสามีมา
    ทำให้พ่อแม่ทุกข์ใจ เสียใจ เฉกเช่นเดียวกัน และมาถึงตอนนี้
    กฎแห่งกรรมนั้น ก็ได้สะท้อนมายังตัวเขา เหมือนที่เขาทำกับ
    พ่อแม่แบบเดียวกันเลย อาจารย์ถึงได้ย้ำหนักย้ำหนา
    ว่าเราไม่ควรก่อกรรมใด ๆ ทั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
    เพราะกรรม ทีเราได้ก่อไว้ด้วยความตั้งใจก็ดี ไม่ตั้งใจก็ดี
    เราก็จะได้รับผลของกรรมนั้นเสมออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
     
  12. ดาบจันทรา

    ดาบจันทรา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2007
    โพสต์:
    986
    ค่าพลัง:
    +1,953
    อย่างเช่นญาติธรรมคนนี้ ได้กระทำให้พ่อแม่เสียใจ พอมาถึง
    วันนี้ ลูกสาวตัวเองก็ทำให้ตัวเองเสียใจ เหมือนที่ตัวเองเคยทำ
    ไว้เฉกเช่นเดียวกัน กรรมนั้นก็เปรียบได้เหมือนกับบูมเมอแรง
    ยิ่งเราขว้างออกไปด้วยความเร็วและแรงเท่าใด กรรมนั้นก็จะ
    สะท้อนกลับมาหาเราด้วยความเร็วและแรงเท่ากัน ฉันใด ฉันนั้น
    เพราะฉะนั้น พึ่งหลีกเลี่ยงที่จะก่อกรรมใหม่ขึ้นมา ให้มีความ
    ระมัดระวัง อย่าประมาทในการดำเนินชีวิต ต้องระมัดระวัง
    สำรวม กาย วาจา ใจ กรรมเก่าขอให้หมดไป กรรมใหม่อย่า
    ได้พึงสร้าง
     
  13. ดาบจันทรา

    ดาบจันทรา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2007
    โพสต์:
    986
    ค่าพลัง:
    +1,953
    ข้อเตือนใจเพื่ออนาคต

    หญิง ชาย คฤหัสถ์ บรรพชิต ควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามี
    กรรมเป็นของตน เป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด
    มีกรรมเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่อาศัยเราทำกรรมใดไว้
    ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักเป็นทายาทของกรรมนั้น
    <O:p</O:p
    ถ้าท่านกลัวทุกข์ ก็อย่าทำกรรมชั่ว ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง
    ถ้าท่านจักทำหรือทำอยู่ ซึ่งกรรมชั่ว แม้จะเหาะหนีไป
    ก็จะไม่พ้นจากความทุกข๋ไปได้เลย
    <O:p</O:p
    ธัญชาติ ทรัพย์สิน เงินทอง หรือสิ่งของที่หวงแหนอย่างใด
    อย่างหนึ่งที่มีอยู่ ทาส กรรมกร คนงาน คนอาศัย
    ล้วนพาเอาไปไม่ได้ทั้งสิ้น จะต้องถูกละทิ้งไว้ทั้งหมด
    <O:p</O:p
    แต่บุคคลใดทำกรรมใด ด้วย กาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจ
    กรรมนั้นแหละเป็นของเขา และเขาจะพาเอากรรมนั้นไป
    อนึ่ง กรรมนั้นย่อมติดตามเขาไป เหมือนเงาติดตามตน ฉะนั้น
    <O:p</O:p
    ฉะนั้น บุคคลควรทำความดี สั่งสมสิ่งที่เป็นประโยชน์ภายหน้า
    ความดีทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ในปรโลก<O:p</O:p
     
  14. มองตน

    มองตน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +116
    ใช้จิตที่ละเอียดพิจารณาก็จะรู้ว่า อะไรจริง อะไรเท็จ
    จริง คือ เท็จ เท็จ คือ จริง........ของจริงนิ่งเป็นใบ้ ใครก็รู้
    แต่ของไม่จริงนี่ซิ.........โฆษณาโอ้อวดสารพัด

    อนิจจา......คนนอกศาสนาพุทธ มาสอนธรรมมะของพระพุทธองค์
     
  15. ydad89

    ydad89 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +46

    ขอโมทนากับท่านผู้กล้าด้วย ถ้าผู้ที่รู้จริงไม่ชี้ ใครเล่าจะเป็นผู้ชี้
     
  16. ดาบจันทรา

    ดาบจันทรา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2007
    โพสต์:
    986
    ค่าพลัง:
    +1,953
    เล่าเรื่องที่เป็นสาระธรรมไปแล้ว มาเล่าเรื่องขำขันของญาติธรรม
    ที่มาไขรหัสกรรมกันบ้างนะค่ะ จะได้พักผ่อนสมองกันบ้าง
    เดี๋ยวจะเครียด เรื่องเวรเรื่องกรรมไปเสียก่อน มีญาติธรรมคนหนึ่ง
    อุตส่าห์มาดูเป็นคนแรกเลย มาถึงก็ถามเลยว่า เคยทำเวรทำ
    กรรมอะไรไว้ ทำไมทำอะไรติดขัดไปหมด อาจารย์ดูให้
    ก็บอกว่า ไม่มีกรรมอะไรเขาก็ไม่เชื่อ พยายามจะเฟ้นให้
    อาจารย์ตอบให้ได้ แถมบอกว่า มนุษย์เราเกิดมาก็มีกรรมเป็น
    ของทุกคน ตัวเขาจะไม่มีกรรมเชียวเหรอ

    อาจารย์ก็เลยถามว่านึกดูซิว่า เราเคยมีอะไรที่ลำบาก
    หนักหนาสาหัสหรือไม่ ชีวิตคุณออกจะสบายด้วยซ้ำ
    ไม่มีทุกข์หนัก ๆ ไม่ต้องอนาทรร้อนใจ หรือมีเรื่อง
    เดือดร้อนอะไรที่หนักหนาเลยใช่หรือไม่ซึ่งตัวเขาก็
    ยอมรักว่าใช่ ชีวิตในครอบครัวก็สุขสบายตามอัตตภาพ
    มีกินไม่มีอดถึงไม่รวย แต่ไม่ยากจนข่นแค้น

    อาจารย์ก็เลยบอกว่า ชีวิตคุณไม่มีกรรมหนักอะไร<O:p</O:p
    แล้วจะหากรรมแบบไหนอีก เขาก็เลยบอกว่า ปัจจุบันไม่มี
    กรรม แล้วอดีตชาติมีกรรมหนักหนาอะไรมั้ยค่ะ
    อ้าว กรรมปัจจุบันไม่มี ก็จะดูกรรมในอดีตอีก แต่อาจารย์ท่าน
    ก็เมตตาดูให้ปรากฏว่า ผลออกมาเมื่อชาติก่อน
    เป็นผู้ปฏิบัติธรรม บวชชี ชาตินี้ถึงไม่อยากมีครอบครัว<O:p</O:p
    ซึ่งเขาก็ยอมรับว่าใช่ค่ะ อาจารย์ก็เลยแนะนำว่า ทุกวันพระ
    ให้กินเจ จะได้ปฏิบัติธรรมได้ดีขึ้น <O:p</O:p
     
  17. มองตน

    มองตน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +116
    ถ้ากระทำด้วยใจที่บริสุทธิ์ ไม่เห็นน่ากลัวอะไร

    การนำข้อความของบุคคอื่นมาโพสโดยไม่อ้างอิง และการยอมให้ผู้อื่นมาโพสโดยใช้ username ของตนเอง......ไม่น่าเกลียดกว่าหรือ
     
  18. horasarn

    horasarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +3,255
    การสวดภาวนาให้มหาสติแก่ผู้ป่วยหนัก

    หลังจากที่ได้คุยกับญาติธรรมหลายๆท่านและอ.จอนห์นี่ ที่สถานธรรมธนบุรีรมย์แล้ว รู้สึกหลายท่านให้ความสนใจในเรื่องการให้สติแก่ผู้ที่ใกล้จะเสียชีวิต โดยเฉพาะประสบการณ์ส่วนตัวของผมเองเคยไปช่วยสวดให้อนุสติแก่ผู้ที่ใกล้ถึงแก่ความตายและเพิ่งตายได้ไม่นานมาหลายต่อหลายศพ ก็รู้สึกว่าพิธีกรรมนี้ทางมหายานค่อนข้างที่จะมีระเบียบแบบแผนที่ดีมากๆ (ตามที่ผมแปลเอาไว้ในวีดีโอที่หน้าก่อนหน้านี้) ส่วนทางพุทธไทยเราก็มีเหมือนกันแต่ก็ไม่มีแบบแผนที่แน่นอน แล้วแต่จังหวะและโอกาส เช่นให้ผู้ป่วยสวด อะระหัง ๆ หรือ ระลึกถึงคุณความดีเอาไว้จนสิ้นลมหายใจ

    ผมเชื่ออย่างหนึ่งว่า ในขณะที่เรากำลังจะสิ้นใจนั้น หรือป่วยหนักจนไม่สามารถเอ่ยวาจาอะไรได้ ดวงตาทั้งคู่ก็จะดับลงไปก่อน และตามมาด้วยหูทั้งสองข้าง แต่ก็เคยเห็นบางคนยังพูดได้ แต่จะไม่ได้ยินเสียงของตัวเอง นี่ก็เป็นสัญญาณหนึ่งว่า คงจะต้องละสังขารไปในไม่ช้านี้แล้ว

    แต่หากในเวลานั้น ทุกๆคนช่วยกันสวดมนต์ภาวนาด้วยเสียงที่พอจะให้ผู้ป่วยได้ยิน และพร้อมกันนั้นก็ให้เขาได้สวดภาวนาไปด้วยในใจ อย่างนั้นก็จะทำให้ความหวาดกลัว ความหดหู่เศร้าหมองในใจนั้นผ่อนคลายลง พร้อมกันนั้นก็ให้ผู้ป่วยได้ระลึกถึงพุทธานุสติ(อันเป็นกรรมฐานกองหนึ่งที่ทำได้ง่าย) และทำให้จิตดวงสุดท้ายก่อนที่ดับลงไปเป็นจุติจิตจะได้ไม่เศร้าหมอง เป็นอาสันนกรรมฝ่ายกุศล ทำให้ผู้นั้นได้ไปเกิดในสุคติภพ

    และคิดว่าต่อไปจะนำเรื่องราวการให้มหาสติแก่ผู้ตายที่ได้ทำการบันทึกเอาไว้เป็นวีซีดี มาแปลลงให้เพื่อนๆได้รับรู้กันนะครับ
     
  19. horasarn

    horasarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +3,255
    <CENTER>ข้อดี...เกี่ยวกับการเตรียมตัวตาย

    </CENTER>


    [​IMG]
    สัจธรรมในชีวิตข้อหนึ่งที่ใครๆก็หนีไม่พ้น คือ ความตาย ไม่ว่าใครก็ต้องตายทั้งนั้น เราไม่ควรกลัวความตาย
    ความกลัวตายก็ทำให้บ่อยครั้งช่วงเวลาดีๆที่มีชีวิตอยู่สูญปล่าวอย่างน่าเสียดาย
    ทั้งๆที่เราควรใช้ทุกวินาทีที่มีอยู่ อย่างคุ้มค่าที่สุด เราจึงต้องรู้จักเตรียมตัวตาย ซึ่งคือ
    - ไม่ประมาทกับความตาย ใช้ชีวิตให้คุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุด
    - ไม่เกรงกลัวความตาย ระลึกอยู่เสมว่าเราสามารถตายได้ทุกวินาที แต่เมื่อถึงวินาทีนั้น เราจะไม่โวยวายตื่นกลัว เราจะสงบ มีสติตลอดเวลา
    - ไม่จำเป็นต้องเตรียมจัดงานศพ หรือบอกลาญาติพี่น้อง นั่นเป็นเพียงพิธีกรรม ความสำคัญอยู่ที่ใจคุณว่าพร้อมรับมันแค่ไหน
    เมื่อคุณได้รู้จักการเตรียมตัวตายแล้ว ก็จะทำให้คุณเป็นคนที่....
    - กระตือรือร้นอยู่เสมอ เพราะเป็นผู้เห็นคุณค่าของทุกเวลานาที
    - คุณจะนึกถึงตัวเองน้อยลง นึกถึงผู้อื่นมากขึ้น เพราะสุดท้ายแล้ว เมื่อตาย ก็ไม่มีใครสามารถเอาสิ่งอันเป็นที่รักติดตัวไปได้สักอย่าง
    - คุณจะไม่กลัวอะไรอีก เพราะหากคุณไม่ลอง ไม่ทำ ก็อาจไม่มีโอกาสแม้แต่จะคิด หากความตายมาถึงเร็วกว่าที่คิด
    - คุณจะเป็นคนที่เข้าใจอะไรได้ง่ายขึ้น ไม่ยึดติดกับความคิดของตนมากเกินไป แต่มองในมุมคนอื่น และรู้จักรับฟังคนอื่นมากขึ้น
    - คุณจะเป็นคนที่รู้จักคำว่าพอ ไม่มุ่งแต่จะแสวงหาทรัพย์สินอย่างบ้าคลั่งเหมือนก่อน หามาเท่าไรก็ใช้เท่านั้น และรู้จักใช้แต่สิ่งที่จำเป็น
    - คุณจะหวนกลับไปมองในสิ่งที่เคยละเลย หรือคิดว่าเป็นเพียงเรื่องเล็กๆน้อยๆ
    - คุณจะรู้จัก การให้อภัย ไม่มีประโยชน์ที่จะต้องเก็บความอาฆาตแค้นผูกพยาบาทไปยังภพหน้าด้วย
    - คุณจะให้อภัยคนอื่นเป็น ด้วยความรู้สึกไม่ค้างคาใจเลยสักนิด
    เพื่อให้คุณรู้สึกคุ้นเคย ไม่มองว่าความตายเป็นเรื่องอื่นไกล ก็ลองทำให้ความตายเป็นเรื่องธรรมดา เหมือนกับการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ เช่น...
    ระลึกอยู่เสมอ ก่อนออกจากบ้านว่านี่อาจเป็นวันสุดท้าย ไม่มีใครจะรู้ได้ว่า เมื่อก้าวออกจากบ้านไปแล้ว จะได้กลับมาอีก เพราะความตายไม่เคยบอกกล่าวล่วงหน้า หากคิดอยากจะทำอะไรต้องทำทันที การผัดวันประกันพรุ่งนอกจากจะไม่ทำให้งานนั้นๆสำเร็จเสร็จสิ้นแล้ว ยังทำให้ความตั้งใจอาจไม่มีวันบรรลุ หากว่าคุณต้องจากไปก่อน คุณจึงไม่ควรเป็นนุกฝัน แต่ต้องเป็นนักปฏิบัติอย่างจริงจัง อย่าทิ้งความตั้งใจของคุณเป็นภาระให้ผู้อื่นต้องมาสานต่อ เท่ากับทำให้คุณนอนตายตาไม่หลับ และยังทำให้คนอื่นต้องมาเดือดร้อนอีก หากคิดได้ว่าทุกวันเป็นวันสุดท้าย คุณก็จะทำทุกอย่างเต็มที่เสมอ

    ที่มา : จากหนังสือ สุขอย่างเซน ตอน สมัครใจตาย : อาจนรงค์ เรืองทิพย์​
     
  20. horasarn

    horasarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +3,255
    โครงการเผชิญความตายอย่างสงบ ของเครือข่ายพุทธิกา
    การช่วยเหลือผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยวิธีแบบพุทธ

    <!-- start main content -->
    <SMALL></SMALL>
    พระไพศาล วิสาโล ​
    ความเจ็บป่วยเมื่อเกิดขึ้นแล้ว มิได้เกิดผลกระทบต่อร่างกายเท่านั้น หากยังมีอิทธิพลต่อจิตใจด้วย

    คนที่เจ็บป่วยส่วนใหญ่แล้วจึงไม่ได้มีความเจ็บป่วยทางกายเท่านั้น หากยังมีความเจ็บป่วยทางจิตใจอีกด้วย ยิ่งผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยแล้ว ความเจ็บป่วยทางจิตใจเป็นสาเหตุแห่งความทุกข์ทรมานไม่น้อยไปกว่าความเจ็บป่วยทางกาย หรืออาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ เพราะสิ่งที่เผชิญเบื้องหน้าเขาคือความตายและความพลัดพรากสูญเสียอย่างสิ้นเชิง ซึ่งกระตุ้นเร้าความกลัว ความวิตกกังวล และความรู้สึกอ้างว้างโดดเดี่ยวให้ผุดขึ้นมาอย่างเข้มข้นรุนแรงอย่างที่ไม่เคยประสบมาก่อน
    ด้วยเหตุนี้ผู้ป่วยจึงต้องการการดูแลรักษาทางจิตใจไม่น้อยไปกว่าการดูแลทางร่างกาย และสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้ายซึ่งแพทย์หมดหวังที่จะรักษาร่างกายให้หายหรือดีขึ้นกว่าเดิมแล้ว การดูแลช่วยเหลือทางจิตใจกลับจะมีความสำคัญยิ่งกว่า เพราะแม้ร่างกายจะเสื่อมถอยลงไปเรื่อย ๆ แต่จิตใจยังมีโอกาสที่จะกลับมาดีขึ้น หายทุรนทุราย จนเกิดความสงบขึ้นได้แม้กระทั่งในวาระสุดท้ายของชีวิต ทั้งนี้เพราะกายกับใจแม้จะสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด แต่เมื่อกายทุกข์ ไม่จำเป็นว่าใจจะต้องเป็นทุกข์ไปกับกายด้วยเสมอไป เราสามารถรักษาใจไม่ให้ทุกข์ไปกับกายได้ ดังพระพุทธองค์ได้เคยตรัสแก่นกุลปิตา อุบาสกผู้ป่วยหนักว่า “ ขอให้ท่านพิจารณาอย่างนี้ว่า เมื่อกายเรากระสับกระส่าย จิตเราจะไม่กระสับกระส่าย .”
    ในสมัยพุทธกาล มีหลายเหตุการณ์ที่พระพุทธองค์และพระสาวกได้ทรงมีส่วนช่วยเหลือผู้ที่กำลังป่วยและใกล้ตาย เป็นการช่วยเหลือที่มุ่งบำบัดทุกข์หรือโรคทางใจโดยตรง ดังมีบันทึกในพระไตรปิฎกว่า คราวหนึ่งทีฆาวุอุบาสกป่วยหนัก ได้ขอให้บิดาช่วยพาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ และกราบทูลว่า ตนเองป่วยหนัก เห็นจะอยู่ได้ไม่นาน พระพุทธองค์ทรงแนะให้ทีฆาวุอุบาสกตั้งจิตพิจารณาว่า
    1. จักมีความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า
    2. จักมีความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระธรรม
    3. จักมีความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์
    4. จักตั้งตนอยู่ในศีลที่พระอริยะสรรเสริญ
    เมื่อทีฆาวุทูลว่าได้ประกอบตนอยู่ในธรรมทั้ง ๔ ประการแล้ว พระพุทธองค์ก็ทรงแนะให้ทีฆาวุพิจารณาว่าสังขารทั้งปวงนั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ทีฆาวุได้พิจารณาเห็นตามนั้น หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าได้เสด็จออกไป ไม่นานทีฆาวุก็ถึงแก่กรรม พระพุทธองค์ได้ตรัสในเวลาต่อมาว่าอานิสงส์จากการที่ทีฆาวุพิจารณาตามที่พระองค์ได้ตรัสสอน ทีฆาวุได้บรรลุเป็นพระอนาคามี
    ในอีกที่หนึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนว่า เมื่อมีอุบาสกป่วยหนัก อุบาสกด้วยกันพึงให้คำแนะนำ ๔ ประการว่า จงมีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และมีศีลที่พระอริยะสรรเสริญ จากนั้นให้ถามว่าเขายังมีความห่วงใยในมารดาบิดา ในบุตรและภริยา และในกามคุณ ๕ อยู่หรือ พึงแนะให้เขาละความห่วงใยในมารดาบิดา ในบุตรและภริยา และในกามคุณ ๕ ( รูป รส กลิ่นเสียง สัมผัสที่น่าพอใจ ) จากนั้นก็แนะให้เขาน้อมจิตสู่ภพภูมิที่สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ จนถึงขั้นละจากพรหมโลก น้อมจิตสู่ความดับแห่งกายตน ( สักกายนิโรธ ) อันเป็นความหลุดพ้นเช่นเดียวกับการหลุดพ้นจากอาสวะกิเลส
    กรณีของพระติสสะเป็นอีกกรณีหนึ่งที่น่าสนใจ พระติสสะได้ล้มป่วยด้วยโรคร้าย มีตุ่มขนาดใหญ่ขึ้นเต็มตัว ตุ่มที่แตกก็ส่งกลิ่นเหม็น จนผ้าสบงจีวรเปื้อนด้วยเลือดและหนอง เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบ จึงเสด็จไปดูแลรักษาพยาบาล ผลัดเปลี่ยนสบงจีวร ตลอดจนถูสรีระและอาบน้ำให้ พระติสสะเมื่อสบายตัวและรู้สึกดีขึ้น พระองค์ก็ตรัสว่า “ อีกไม่นาน กายนี้จะนอนทับแผ่นดิน ปราศจากวิญญาณ เหมือนท่อนไม้ที่ถูกทิ้งแล้ว หาประโยชน์ไม่ได้ ” พระติสสะพิจารณาตาม เมื่อพระพุทธองค์ตรัสเสร็จ พระติสสะก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ พร้อมกับดับขันธ์ไปในเวลาเดียวกัน
    จากตัวอย่าง ๓ กรณีที่เล่ามา มีข้อพิจารณา ๒ ประการ คือ
    1. ความเจ็บป่วยและภาวะใกล้ตายนั้น แม้จะเป็นภาวะวิกฤติหรือความแตกสลายในทางกาย แต่สามารถเป็น “ โอกาส ” แห่งความหลุดพ้นในทางจิตใจ หรือการยกระดับในทางจิตวิญญาณได้ ความเจ็บป่วยและภาวะใกล้ตายจึงมิได้เป็นสิ่งเลวร้ายในตัวมันเอง หากใช้ให้เป็นก็สามารถเป็นคุณแก่ผู้เจ็บป่วยได้
    2. คำแนะนำของพระพุทธเจ้า สามารถจำแนกเป็น ๒ ส่วนคือ
    • การน้อมจิตให้มีศรัทธาในพระรัตนตรัยและความมั่นใจในศีลหรือความดีที่ได้บำเพ็ญมา กล่าวอีกนัยหนึ่งคือการน้อมจิตให้ระลึกถึงสิ่งที่ดีงาม
    • การละความห่วงใยและปล่อยวางในสิ่งทั้งปวง เพราะแลเห็นด้วยปัญญาว่าไม่มีอะไรที่จะยึดถือไว้ได้เลย
    คำแนะนำของพระพุทธเจ้าดังกล่าว เป็นแนวทางอย่างดีสำหรับการให้ความช่วยเหลือทางจิตใจแก่ผู้ใกล้ตายในปัจจุบัน ในบทความนี้จะนำหลักการดังกล่าวมาประยุกต์สำหรับแพทย์ พยาบาล และญาติมิตรที่ต้องการช่วยเหลือผู้ใกล้ตาย โดยนำเอาประสบการณ์จากกรณีตัวอย่างอื่น ๆ มาประกอบเป็นแนวทางดังต่อไปนี้
    ๑ . ให้ความรักและความเห็นอกเห็นใจ

    ผู้ป่วยระยะสุดท้ายไม่เพียงถูกความเจ็บปวดทางกายรุมเร้าเท่านั้น หากยังถูกรบกวนด้วยความกลัว เช่น ความกลัวตาย กลัวที่จะถูกทอดทิ้ง กลัวที่จะตายอย่างโดดเดี่ยวอ้างว้าง กลัวสิ่งที่รออยู่ข้างหน้าหลังจากสิ้นลม ตลอดจนกลัวความเจ็บปวดที่จะเกิดขึ้น ความกลัวดังกล่าวอาจสร้างความทุกข์ให้แก่เขายิ่งกว่าความเจ็บปวดทางกายด้วยซ้ำ ความรักและกำลังใจจากลูกหลานญาติมิตรเป็นสิ่งสำคัญในยามนี้เพราะสามารถลดทอนความกลัวและช่วยให้เขาเกิดความมั่นคงในจิตใจได้ พึงระลึกว่าผู้ป่วยระยะสุดท้ายนั้นมีสภาพจิตที่เปราะบางอ่อนแออย่างมาก เขาต้องการใครสักคนที่เขาสามารถพึ่งพาได้ และพร้อมจะอยู่กับเขาในยามวิกฤต หากมีใครสักคนที่พร้อมจะให้ความรักแก่เขาได้อย่างเต็มเปี่ยมหรืออย่างไม่มีเงื่อนไข เขาจะมีกำลังใจเผชิญกับความทุกข์นานาประการที่โหมกระหน่ำเข้ามา
    ความอดทนอดกลั้น เห็นอกเห็นใจ อ่อนโยนและให้อภัย เป็นอาการแสดงออกของความรัก ความทุกข์ทางกายและสภาพจิตที่เปราะบางมักทำให้ผู้ป่วยแสดงความหงุดหงิด กราดเกรี้ยว ออกมาได้ง่าย เราสามารถช่วยเขาได้ด้วยการอดทนอดกลั้น ไม่แสดงความขุ่นเคืองฉุนเฉียวตอบโต้กลับไป พยายามให้อภัยและเห็นอกเห็นใจเขา ความสงบและความอ่อนโยนของเราจะช่วยให้ผู้ป่วยสงบนิ่งลงได้เร็วขึ้น การเตือนสติเขาอาจเป็นสิ่งจำเป็นในบางครั้ง แต่พึงทำด้วยความนุ่มนวลอย่างมีเมตตาจิต จะทำเช่นนั้นได้สิ่งหนึ่งที่ญาติมิตรขาดไม่ได้คือมีสติอยู่เสมอ สติช่วยให้ไม่ลืมตัว และประคองใจให้มีเมตตา ความรัก และความอดกลั้นอย่างเต็มเปี่ยม
    แม้ไม่รู้ว่าจะพูดให้กำลังใจแก่เขาอย่างไรดี เพียงแค่การใช้มือสัมผัสผู้ป่วยด้วยความอ่อนโยน ก็ช่วยให้เขารับรู้ถึงความรักจากเราได้

    เราอาจจับมือจับแขนเขา บีบเบา ๆ กอดเขาไว้ หรือใช้มือทั้งสองสัมผัสบริเวณหน้าผากและหน้าท้อง พร้อมกับแผ่ความปรารถนาดีให้แก่เขา สำหรับผู้ที่เคยทำสมาธิภาวนา ขณะที่สัมผัสตัวเขา ให้น้อมจิตอยู่ในความสงบ เมตตาจากจิตที่สงบและเป็นสมาธิจะมีพลังจนผู้ป่วยสามารถสัมผัสได้
    การแผ่เมตตาอย่างหนึ่งที่ชาวพุทธธิเบตนิยมใช้ ก็คือ การน้อมใจนึกหรืออัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้ป่วย ( หรือเรา ) เคารพนับถือ เช่น พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ หรือเจ้าแม่กวนอิม ให้มีความรู้สึกว่าท่านเหล่านั้นปรากฏเป็นภาพนิมิตอยู่เหนือศีรษะของผู้ป่วย จากนั้นจินตนาการว่าท่านเหล่านั้นได้เปล่งรังสีแห่งความกรุณาและการเยียวยา เป็นลำแสงอันนุ่มนวลอาบรดทั่วร่างของผู้ป่วย จนร่างของผู้ป่วยผสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับลำแสงนั้น ขณะที่น้อมใจนึกภาพดังกล่าว เราอาจสัมผัสมือของผู้ป่วยไปด้วย หรือนั่งสงบอยู่ข้าง ๆ เตียงผู้ป่วยก็ได้
    ๒ . ช่วยให้ผู้ป่วยยอมรับความตายที่จะมาถึง

    การรู้ว่าวาระสุดท้ายของตนใกล้จะมาถึงย่อมช่วยให้ผู้ป่วยมีเวลาเตรียมตัวเตรียมใจในขณะที่สังขารยังเอื้ออำนวยอยู่ แต่มีผู้ป่วยจำนวนมากที่ไม่คาดคิดมาก่อนว่าตนเป็นโรคร้ายที่รักษาไม่หายและอาการได้ลุกลามมาถึงระยะสุดท้ายแล้ว การปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปโดยปกปิดความจริงไม่ให้ผู้ป่วยรับรู้ย่อมทำให้เขามีเวลาเตรียมตัวได้น้อยลง อย่างไรก็ตามการเปิดเผยความจริงซึ่งเป็นข่าวร้าย โดยไม่ได้เตรียมใจเขาไว้ก่อน ก็อาจทำให้เขามีอาการทรุดหนักลงกว่าเดิม โดยทั่วไปแล้วแพทย์จะมีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ โดยเฉพาะหลังจากที่ได้สร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดหรือได้รับความไว้วางใจจากผู้ป่วยแล้ว แต่แม้กระนั้นการทำให้ผู้ป่วยยอมรับความตายที่กำลังจะเกิดขึ้น มักเป็นกระบวนการที่ใช้เวลานาน นอกเหนือจากความรักและความไว้วางใจแล้ว แพทย์ พยาบาล ตลอดจนญาติมิตร จำต้องมีความอดทน และพร้อมที่จะฟังความในใจจากผู้ป่วย
    แต่บางครั้งหน้าที่ดังกล่าวก็ตกอยู่กับญาติผู้ป่วยเนื่องจากรู้จักจิตใจผู้ป่วยดีกว่าแพทย์ ญาตินั้นมักคิดว่าการปกปิดความจริงเป็นสิ่งดีกว่า ( จะดีสำหรับผู้ป่วยหรือตนเองก็แล้วแต่ ) แต่เท่าที่เคยมีการสอบถามความเห็นของผู้ป่วย ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องการให้เปิดเผยความจริงมากกว่าที่จะปกปิด และถึงจะปกปิด ในที่สุดผู้ป่วยก็ย่อมรู้จนได้จากการสังเกตอากัปกิริยาของลูกหลานญาติมิตรที่เปลี่ยนไป เช่นจากใบหน้าที่ไร้รอยยิ้ม หรือจากเสียงที่พูดค่อยลง หรือจากการเอาอกเอาใจที่มีมากขึ้น
    อย่างไรก็ตามเมื่อบอกข่าวร้ายแล้ว ใช่ว่าผู้ป่วยจะยอมรับความจริงได้ทุกคน แต่สาเหตุอาจจะมีมากกว่าความกลัวตาย เป็นไปได้ว่าเขามีภารกิจบางอย่างที่ยังคั่งค้างอยู่ หรือมีความกังวลกับบางเรื่อง ญาติมิตรควรช่วยให้เขาเปิดเผยหรือระบายออกมา เพื่อจะได้บรรเทาและเยียวยา หากเขามั่นใจว่ามีคนที่พร้อมจะเข้าใจเขา เขาจะรู้สึกปลอดภัยที่จะเผยความในใจออกมา ขณะเดียวกันการซักถามที่เหมาะสมอาจช่วยให้เขาระลึกรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ทำให้เขามิอาจยอมรับความตายได้ หรือทำให้เขาได้คิดขึ้นมาว่าความตายเป็นสิ่งที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้และไม่จำต้องลงเอยอย่างเลวร้ายอย่างที่เขากลัว สิ่งที่ญาติมิตรพึงตระหนักในขั้นตอนนี้ก็คือรับฟังเขาด้วยใจที่เปิดกว้างและเห็นอกเห็นใจ พร้อมจะยอมรับเขาตามที่เป็นจริง และให้ความสำคัญกับการซักถามมากกว่าการเทศนาสั่งสอน
    การช่วยให้เขาคลายความกังวลเกี่ยวกับลูกหลานหรือคนที่เขารัก อาจช่วยให้เขาทำใจรับความตายได้มากขึ้น บางกรณีผู้ป่วยอาจระบายโทสะใส่แพทย์ พยาบาล และญาติมิตร ทั้งนี้เพราะโกรธที่บอกข่าวร้ายแก่เขาหรือโกรธที่ปิดบังความจริงเกี่ยวกับอาการของเขาเป็นเวลานาน ปฏิกิริยาดังกล่าวสมควรได้รับความเข้าใจจากผู้เกี่ยวข้อง หากผู้ป่วยสามารถข้ามพ้นความโกรธ และการปฏิเสธความตายไปได้ เขาจะยอมรับสภาพความเป็นจริงที่เกิดกับตัวเขาได้ง่ายขึ้น
    ในการบอกข่าวร้าย สิ่งที่ควรทำควบคู่ไปด้วยก็คือ การให้กำลังใจและความมั่นใจแก่เขาว่าเรา (ญาติมิตร) และแพทย์พยาบาลจะไม่ทอดทิ้งเขา จะอยู่เคียงข้างเขาและช่วยเหลือเขาอย่างเต็มที่และจนถึงที่สุด

    การให้กำลังใจในยามวิกฤตก็มีประโยชน์เช่นกัน ดังกรณีเด็กอายุ ๑๐ ขวบคนหนึ่ง อาการทรุดหนักและอาเจียนเป็นเลือด ร้องอย่างตื่นตระหนกว่า “ ผมกำลังจะตายแล้วหรือ ?” พยาบาลได้ตอบไปว่า “ ใช่ แต่ไม่มีอะไรน่ากลัว ลูกก้าวไปข้างหน้าเลย อาจารย์พุทธทาสรออยู่แล้ว หนูเป็นคนกล้าหาญ ข้าง ๆ หนูก็มีคุณพ่อคุณแม่คอยช่วยอยู่ ” ปรากฏว่าเด็กหายทุรนทุราย และทำตามคำแนะนำของแม่ที่ให้บริกรรม “ พุทโธ ” ขณะที่หายใจเข้าและออก ไม่นานเด็กก็จากไปอย่างสงบ
    ประโยชน์อย่างหนึ่งจากการบอกความจริงแก่ผู้ป่วยก็คือ ช่วยให้ผู้ป่วยตัดสินใจล่วงหน้าว่าเมื่อตนมีอาการเพียบหนัก ไม่มีความรู้สึกตัวแล้วจะให้แพทย์เยียวยารักษาไปถึงขั้นไหน จะให้แพทย์ยืดชีวิตไปให้ถึงที่สุดโดยใช้เทคโนโลยีทุกอย่างเท่าที่มี เช่น ปั๊มหัวใจ ต่อท่อช่วยหายใจ และท่อใส่อาหาร ฯ หรือให้งดวิธีการดังกล่าว ช่วยเพียงแค่ประทังอาการและปล่อยให้ค่อย ๆ สิ้นลมไปอย่างสงบ บ่อยครั้งผู้ป่วยไม่ได้ตัดสินใจในเรื่องนี้ล่วงหน้าเพราะไม่รู้สภาพที่แท้จริงของตัว ผลก็คือเมื่อเข้าสู่ภาวะโคม่า ญาติมิตรจึงไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกจากการขอให้แพทย์แทรกแซงอาการอย่างถึงที่สุด ซึ่งมักก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานแก่ผู้ป่วยโดยมีผลเพียงแต่ยืดกระบวนการตายให้ยาวออกไป และไม่ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นเลย ซ้ำยังสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก
    ๓ . ช่วยให้จิตใจจดจ่อกับสิ่งดีงาม

    การนึกถึงสิ่งดีงามช่วยให้จิตใจเป็นกุศลและบังเกิดความสงบ ทำให้ความกลัวคุกคามจิตได้น้อยลง และสามารถเผชิญกับความเจ็บปวดได้ดีขึ้น วิธีหนึ่งที่พระพุทธเจ้าและพระสาวกมักแนะนำให้ผู้ใกล้ตายปฏิบัติก็คือ การระลึกถึงและมีศรัทธามั่นในพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ จากนั้นก็ให้ตั้งตนอยู่ในศีลและระลึกถึงศีลที่ได้บำเพ็ญมา พระรัตนตรัยนั้นกล่าวอีกนัยหนึ่งคือสิ่งดีงามหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้ป่วยนับถือ ส่วนศีลนั้นก็คือความดีงามที่ตนได้กระทำมา
    เราสามารถน้อมนำให้ผู้ป่วยนึกถึงสิ่งดีงามได้หลายวิธี เช่น นำเอาพระพุทธรูปหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตลอดจนภาพครูบาจารย์ที่ผู้ป่วยเคารพนับถือมาติดตั้งไว้ในห้องเพื่อเป็นเครื่องระลึกนึกถึง หรือชักชวนให้ผู้ป่วยทำวัตรสวดมนต์ร่วมกัน นอกจากการอ่านหนังสือธรรมะให้ฟังแล้ว การเปิดเทปธรรมบรรยายหรือบทสวดมนต์เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยน้อมจิตของผู้ป่วยให้บังเกิดความสงบและความสว่าง การนิมนต์พระมาเยี่ยมและแนะนำการเตรียมใจ ยิ่งเป็นพระที่ผู้ป่วยเคารพนับถือ จะช่วยให้กำลังใจแก่เขาได้มาก อย่างไรก็ตามพึงคำนึงถึงวัฒนธรรมและความคุ้นเคยของผู้ป่วยด้วย สำหรับผู้ป่วยที่เป็นคนจีน ภาพพระโพธิสัตว์หรือเจ้าแม่กวนอิมอาจน้อมนำจิตใจให้สงบและมีกำลังใจได้ดีกว่าอย่างอื่น หากผู้ป่วยนับถือศาสนาอิสลามหรือศาสนาคริสต์ สัญลักษณ์ของพระเจ้าหรือศาสดาในศาสนาของตนย่อมมีผลต่อจิตใจได้ดีที่สุด
    นอกจากนั้นเรายังสามารถน้อมใจผู้ป่วยให้เกิดกุศลด้วยการชักชวนให้ทำบุญถวายสังฆทาน บริจาคทรัพย์เพื่อการกุศล และที่ขาดไม่ได้ก็คือชวนให้ผู้ป่วยระลึกถึงความดีที่ตนเองได้บำเพ็ญในอดีต ซึ่งไม่จำเป็นต้องหมายถึงการทำบุญกับพระหรือศาสนาเท่านั้น แม้แต่การเลี้ยงดูลูก ๆ ให้เป็นคนดี เสียสละ ดูแลพ่อแม่ด้วยความรัก ซื่อตรงต่อคู่ครอง เอื้อเฟื้อต่อมิตรสหาย หรือสอนศิษย์อย่างไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก เหล่านี้ล้วนเป็นบุญกุศลหรือความดีที่ช่วยให้เกิดความปีติปลาบปลื้มแก่ผู้ป่วย และบังเกิดความมั่นใจว่าตนจะได้ไปสุคติ
    ความภูมิใจในความดีที่ตนกระทำและมั่นใจในอานิสงส์แห่งความดีดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วย ในยามที่ตระหนักชัดว่าทรัพย์สินเงินทองต่างๆ ที่สะสมมานั้น ตนไม่สามารถจะเอาไปได้

    มีแต่บุญกุศลเท่านั้นที่จะพึ่งพาได้ในภพหน้า คนทุกคนไม่ว่าจะยากดีมีจน หรือทำตัวผิดพลาดมาอย่างไร ย่อมเคยทำความดีที่น่าระลึกถึงไม่มากก็น้อย ไม่ว่าเขาจะเคยทำสิ่งเลวร้ายมามากมายเพียงใด ในยามที่ใกล้สิ้นลมสิ่งที่เราควรทำคือช่วยให้เขาระลึกถึงคุณงามความดีที่เขาเคยทำ ซึ่งเขาอาจมองไม่เห็นเนื่องจากความรู้สึกผิดท่วมท้นหัวใจ ความดีแม้เพียงเล็กน้อยก็มีความสำคัญสำหรับเขาในช่วงวิกฤต ขณะเดียวกันสำหรับผู้ป่วยที่ทำความดีมาตลอด ก็อย่าให้ความไม่ดี ( ซึ่งมีเพียงน้อยนิด ) มาบดบังความดีที่เคยทำ จนเกิดความรู้สึกไม่ดีกับตนเอง บางกรณีญาติมิตรจำต้องลำดับความดีที่เขาเคยทำเพื่อเป็นการยืนยันและตอกย้ำให้เขามั่นใจในชีวิตที่ผ่านมา
    ๔ . ช่วยปลดเปลื้องสิ่งค้างคาใจ

    เมื่อผู้ป่วยรู้ว่าวาระสุดท้ายของชีวิตใกล้มาแล้ว สิ่งหนึ่งซึ่งจะทำความทุกข์แก่จิตใจ และทำให้ไม่อาจตายอย่างสงบ ( หรือ “ ตายตาหลับ ” ) ได้ ก็คือ ความรู้สึกค้างคาใจในบางสิ่งบางอย่าง สิ่งนั้นอาจได้แก่ภารกิจการงานที่ยังคั่งค้าง ทรัพย์สินที่ยังแบ่งสรรไม่แล้วเสร็จ ความน้อยเนื้อต่ำใจในคนใกล้ชิด ความโกรธแค้นใครบางคน หรือความรู้สึกผิดบางอย่างที่เกาะกุมจิตใจมานาน ความปรารถนาที่จะพบคนบางคนเป็นครั้งสุดท้าย โดยเฉพาะคนที่ตนรัก หรือคนที่ตนปรารถนาจะขออโหสิกรรม ความห่วงกังวลหรือความรู้สึกไม่ดีที่ค้างคาใจเป็นสิ่งที่สมควรได้รับการปลดเปลื้องอย่างเร่งด่วน หาไม่แล้วจะทำให้ผู้ป่วยทุรนทุราย หนักอกหนักใจ พยายามปฏิเสธผลักไสความตาย และตายอย่างไม่สงบ ซึ่งนอกจากจะหมายถึงความทุกข์อย่างมากแล้ว ในทางพุทธศาสนาเชื่อว่าจะส่งผลให้ผู้ตายไปสู่ทุคติด้วยแทนที่จะเป็นสุคติ
    ลูกหลานญาติมิตร ควรใส่ใจและฉับไวกับเรื่องดังกล่าว บางครั้งผู้ป่วยไม่พูดตรง ๆ ผู้อยู่รอบข้างควรมีความละเอียดอ่อน และสอบถามด้วยความใส่ใจและมีเมตตา ไม่รู้สึกรำคาญ ในกรณีที่เป็นภารกิจที่ยังคั่งค้าง ควรหาทางช่วยเหลือให้ภารกิจนั้นเสร็จสิ้น หากเขาปรารถนาพบใคร ควรรีบตามหาเขามาพบ หากฝังใจโกรธแค้นใครบางคน ควรแนะนำให้เขาให้อภัย ไม่ถือโทษโกรธเคืองอีกต่อไป ในกรณีที่เป็นความรู้สึกผิดที่ค้างคาใจเนื่องจากทำสิ่งที่ไม่สมควร ในยามนี้ไม่ใช่เวลาที่จะประณามหรือตัดสินเขา หากควรช่วยให้เขาปลดเปลื้องความรู้สึกผิดออกไป อาทิเช่น ช่วยให้เขาเปิดใจและรู้สึกปลอดภัยที่จะขอโทษหรือขออโหสิกรรมกับใครบางคน ขณะเดียวกันการแนะนำให้ฝ่ายหลังยอมรับคำขอโทษและให้อภัยผู้ป่วย ก็เป็นสิ่งสำคัญที่คนรอบข้างสามารถช่วยได้
    อย่างไรก็ตามการขอโทษหรือขออภัยนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะกับผู้น้อยหรือผู้ที่อยู่ในสถานะที่ต่ำกว่า เช่น ลูกน้อง ลูก หรือภรรยา วิธีหนึ่งที่ช่วยได้คือการแนะนำให้ผู้ป่วยเขียนคำขอโทษหรือความในใจลงในกระดาษ เขียนทุกอย่างที่อยากจะบอกแก่บุคคลผู้นั้น ก่อนเขียนอาจให้ผู้ป่วยลองทำใจให้สงบ และจินตนาการว่าบุคคลผู้นั้นมานั่งอยู่ข้างหน้า จากนั้นให้นึกถึงสิ่งที่อยากจะบอกเขา พูดในใจเหมือนกับว่าเขากำลังนั่งฟังอยู่ ทีนี้ก็นำเอาสิ่งที่อยากบอกเขาถ่ายทอดลงไปในกระดาษ เมื่อเขียนเสร็จแล้ว ผู้ป่วยจะขอให้ญาติมิตรนำไปให้แก่บุคคลผู้นั้น หรือเก็บไว้กับตัว ก็สุดแท้แต่ สิ่งสำคัญก็คือการเปิดใจได้เริ่มขึ้นแล้ว แม้จะยังไม่มีการสื่อสารให้บุคคลผู้นั้นได้รับรู้ แต่ก็ได้มีการปลดเปลื้องความรู้สึกในระดับหนึ่ง หากผู้ป่วยมีความพร้อมมากขึ้นก็อาจตัดสินใจพูดกับบุคคลผู้นั้นโดยตรงในโอกาสต่อไป
    บ่อยครั้งคนที่ผู้ป่วยอยากขอโทษก็คือคนใกล้ชิดที่อยู่ข้างเตียงนั่นเอง อาทิ ภรรยา สามี หรือลูก ในกรณีเช่นนี้จะง่ายกว่าหากผู้ใกล้ชิดเป็นฝ่ายเริ่มก่อนด้วยการกล่าวคำให้อภัย ไม่ถือโทษโกรธเคืองในความผิดพลาดที่ผ่านมา การที่ผู้ใกล้ชิดเป็นฝ่ายเริ่มต้นก่อนคือการเปิดทางให้ผู้ป่วยกล่าวคำขอโทษได้อย่างไม่ตะขิดตะขวงใจ แต่จะทำเช่นนั้นได้ผู้ใกล้ชิดต้องละทิฏฐิมานะหรือปลดเปลื้องความโกรธเคืองออกไปจากจิตใจก่อน
    มีผู้ป่วยคนหนึ่ง เมื่อครั้งยังมีสุขภาพดี มีภรรยาน้อยหลายคน ไม่รับผิดชอบครอบครัว สุดท้ายทิ้งภรรยาหลวงให้อยู่กับลูกสาว ต่อมาเขาเป็นโรคมะเร็ง อาการทรุดหนักเป็นลำดับ ไม่มีใครดูแลรักษา จึงขอมาอยู่บ้านภรรยาหลวง ภรรยาหลวงก็ไม่ปฏิเสธ แต่การดูแลรักษานั้นทำไปตามหน้าที่ พยาบาลสังเกตได้ว่าทั้งสองมีทีท่าห่างเหิน และเมื่อได้พูดคุยกับผู้ป่วย ก็แน่ใจว่าผู้ป่วยมีความรู้สึกผิดกับการกระทำของตนในอดีต พยาบาลแนะนำให้ภรรยาเป็นฝ่ายกล่าวคำให้อภัยแก่สามีเพื่อเขาจะได้จากไปอย่างสงบ แต่ภรรยาไม่ยอมปริปาก สามีมีอาการทรุดหนักเรื่อย ๆ จนพูดไม่ค่อยได้ นอนกระสับกระส่ายรอความตายอย่างเดียว แต่ปรากฏว่าวันสุดท้ายสามีรวบรวมกำลังทั้งหมดลุกขึ้นมาเพื่อเอ่ยคำขอโทษภรรยา พูดจบก็ล้มตัวลงนอนและหมดสติในเวลาไม่นาน สามชั่วโมงต่อมาก็สิ้นลมอย่างสงบ กรณีนี้เป็นตัวอย่างว่าความรู้สึกผิดนั้นตราบใดที่ยังค้างคาอยู่ก็จะรบกวนจิตใจเป็นอย่างมาก ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนไม่สามารถตายตาหลับได้หากยังไม่ได้ปลดเปลื้องความรู้สึกผิด แต่เมื่อได้กล่าวคำขอโทษแล้วก็สามารถจากไปโดยไม่ทุรนทุราย
    ในบางกรณีผู้ที่สมควรกล่าวคำขอโทษคือลูกหลานหรือญาติมิตรนั่นเอง ไม่มีโอกาสใดที่คำขอโทษจะมีความสำคัญเท่านี้อีกแล้ว แต่บ่อยครั้งแม้แต่ลูก ๆเองก็ไม่กล้าที่จะเปิดเผยความในใจต่อพ่อแม่ที่กำลังจะล่วงลับ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความไม่คุ้นเคยที่จะพูดออกมา สาเหตุอีกส่วนหนึ่งก็คือคิดว่าพ่อแม่ไม่ถือสาหรือไม่รู้ว่าตนได้ทำอะไรที่ไม่เหมาะสมลงไป ความคิดเช่นนี้อาจเป็นการประเมินที่ผิดพลาดจนแก้ไขไม่ได้
    มีหญิงผู้หนึ่งป่วยหนักใกล้ตาย พยาบาลแนะนำให้ลูกจับมือแม่และขอขมาแม่ แต่หลังจากที่ลูกพูดเสร็จแล้ว แม่ก็ยังมีทีท่าเหมือนมีอะไรค้างคาใจ พยาบาลสังเกตเห็นจึงถามลูกว่า มีอะไรที่ยังปกปิดแม่ไว้อยู่หรือเปล่า ลูกได้ฟังก็ตกใจ สารภาพว่ามีเรื่องหนึ่งที่ยังไม่ได้บอกแม่เพราะคิดว่าแม่ไม่รู้ นั่นก็คือเรื่องที่ตนได้อยู่กินกับหญิงคนหนึ่งจนมีลูกด้วยกัน สุดท้ายลูกได้ไปบอกความจริงแก่แม่ และขอโทษที่ได้ปกปิดเอาไว้ แม่ได้ฟังก็สบายใจ ที่สุดก็จากไปโดยไม่มีสิ่งใดค้างคาใจอีก
    การขอโทษหรือขอขมานั้น อันที่จริงไม่จำเป็นจะต้องเจาะจงต่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดก็ได้ เพราะคนเราอาจกระทำการล่วงเกินหรือเบียดเบียนใคร่ตอใครได้โดยไม่เจตนาหรือโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นเพื่อให้รู้สึกสบายใจและไม่ให้มีเวรกรรมต่อกันอีก ญาติมิตรควรแนะนำผู้ป่วยให้กล่าวคำขอขมาต่อผู้ที่เคยมีเวรกรรมต่อกัน หรือขออโหสิกรรมต่อเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายที่เคยล่วงเกินกันมา ทางด้านญาติมิตรก็เช่นกัน ในขณะที่ผู้ป่วยยังรับรู้ได้ ควรกล่าวคำขอขมาต่อผู้ป่วย นี้เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยกล่าวคำให้อภัยหรือให้อโหสิกรรมต่อญาติมิตรได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ ลูกหลานหรือญาติ ๆ อาจร่วมกันทำพิธีขอขมา โดยประชุมพร้อมกันที่ข้างเตียง และให้มีตัวแทนเป็นผู้กล่าว เริ่มจากการกล่าวถึงคุณงามความดีของผู้ป่วย บุญคุณที่มีต่อลูกหลาน จากนั้นก็กล่าวคำขอขมา ขออโหสิสำหรับกรรมใด ๆ ที่ล่วงเกิน เป็นต้น

    ๕ . ช่วยให้ผู้ป่วยปล่อยวางสิ่งต่าง ๆ

    การปฏิเสธความตาย ขัดขืนไม่ยอมรับความจริงที่อยู่เบื้องหน้า เป็นสาเหตุแห่งความทุกข์ของผู้ป่วยในระยะสุดท้าย และเหตุที่เขาขัดขืนดิ้นรนก็เพราะยังติดยึดกับบางสิ่งบางอย่าง ไม่สามารถพรากจากสิ่งนั้นได้ อาจจะได้แก่ ลูกหลาน คนรัก พ่อแม่ ทรัพย์สมบัติ งานการ หรือโลกทั้งโลกที่ตนคุ้นเคย ความรู้สึกติดยึดอย่างแน่นหนานี้สามารถเกิดขึ้นได้แม้กับคนที่มิได้มีความรู้สึกผิดค้างคาใจ เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมทำให้เกิดความกังวล ควบคู่กับความกลัวที่จะต้องพลัดพรากสิ่งอันเป็นที่รักเหล่านั้น ญาติมิตร ตลอดจนแพทย์และพยาบาลควรช่วยให้เขาปล่อยวางให้มากที่สุด เช่น ให้ความมั่นใจแก่เขาว่า ลูกหลานสามารถดูแลตนเองได้ หรือพ่อแม่ของเขาจะได้รับการดูแลด้วยดี หรือเตือนสติแก่เขาว่า ทรัพย์สมบัตินั้นเป็นของเราเพียงชั่วคราว เมื่อถึงเวลาก็ต้องให้คนอื่นดูแลต่อไป
    ในการช่วยเหลือทางจิตใจแก่ผู้ใกล้ตาย พระพุทธองค์ทรงแนะนำว่า นอกจากการน้อมจิตผู้ใกล้ตายให้ระลึกและศรัทธาในพระรัตนตรัย ตลอดจนการบำเพ็ญตนอยู่ในคุณงามความดีแล้ว ขั้นต่อไปก็คือการแนะนำให้ผู้ใกล้ตายละความห่วงใยในสิ่งต่าง ๆ อาทิ พ่อแม่ บุตรภรรยา รวมทั้งทรัพย์สมบัติและรูปธรรมนามธรรมที่น่าพอใจทั้งหลาย ปล่อยวางแม้กระทั่งความหมายมั่นในสวรรค์ทั้งปวง สิ่งเหล่านี้หากยังยึดติดอยู่ จะเหนี่ยวรั้งจิตใจ ทำให้ขัดขืนฝืนความตาย ทุรนทุรายจนวาระสุดท้าย ดังนั้นเมื่อความตายมาถึง ไม่มีอะไรดีกว่าการปล่อยวางทุกสิ่ง แม้กระทั่งตัวตน
    ในบรรดาความติดยึดทั้งหลาย ไม่มีอะไรที่ลึกซึ้งแน่นหนากว่าความติดยึดในตัวตน ความตายในสายตาของคนบางคนหมายถึงความดับสูญของตัวตน ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาทนไม่ได้และทำใจยาก

    เพราะลึก ๆ คนเราต้องการความสืบเนื่องของตัวตน ความเชื่อว่ามีสวรรค์นั้นช่วยตอบสนองความต้องการส่วนลึกดังกล่าวเพราะทำให้ผู้คนมั่นใจว่าตัวตนจะดำรงคงอยู่ต่อไป แต่สำหรับคนที่ไม่เชื่อเรื่องสวรรค์หรือภพหน้า ความตายกลายเป็นเรื่องที่น่ากลัวอย่างที่สุด
    ในทางพุทธศาสนา ตัวตนนั้นไม่มีอยู่จริง หากเป็นสิ่งที่เราทึกทักขึ้นมาเองเพราะความไม่รู้ สำหรับผู้ป่วยที่มีพื้นฐานทางพุทธศาสนามาก่อน อาจมีความเข้าใจในเรื่องนี้ไม่มากก็น้อย แต่คนที่สัมผัสพุทธศาสนาแต่เพียงด้านประเพณีหรือเฉพาะเรื่องทำบุญสร้างกุศล การที่จะเข้าใจว่าตัวตนนั้นไม่มีอยู่จริง ( อนัตตา ) คงไม่ใช่เรื่องง่าย อย่างไรก็ตามในกรณีที่ญาติมิตร แพทย์ และพยาบาลมีความเข้าใจในเรื่องนี้ดีพอ ควรแนะนำให้ผู้ป่วยค่อย ๆ ปล่อยวางในความยึดถือตัวตน เริ่มจากความปล่อยวางในร่างกายว่า เราไม่สามารถบังคับร่างกายให้เป็นไปตามปรารถนาได้ ต้องยอมรับสภาพที่เป็นจริง ว่าสักวันหนึ่งอวัยวะต่าง ๆ ก็ต้องเสื่อมทรุดไป ขั้นตอนต่อไปก็คือการช่วยแนะให้ผู้ป่วยปล่อยวางความรู้สึก ไม่ยึดเอาความรู้สึกใด ๆ เป็นของตน วิธีนี้จะช่วยลดทอนความทุกข์ ความเจ็บปวดได้มาก เพราะความทุกข์มักเกิดขึ้นเพราะไปยึดเอาความเจ็บปวดนั้นเป็นของตน หรือไปสำคัญมั่นหมายว่า “ ฉันเจ็บ ” แทนที่จะเห็นแต่อาการเจ็บเกิดขึ้นเฉย ๆ
    การละความสำคัญมั่นหมายดังกล่าวจะทำได้ต้องอาศัยการฝึกฝนจิตใจพอสมควร แต่ก็ไม่เกินวิสัยที่ผู้ป่วยธรรมดาจะทำได้ โดยเฉพาะหากเริ่มฝึกฝนขณะที่เริ่มป่วย มีหลายกรณีที่ผู้ป่วยด้วยโรคร้าย สามารถเผชิญกับความเจ็บปวดอย่างรุนแรงได้โดยไม่ต้องใช้ยาแก้ปวดเลย หรือใช้แต่เพียงเล็กน้อย ทั้งนี้เพราะสามารถละวางความสำคัญมั่นหมายในความเจ็บปวดได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือใช้ธรรมโอสถเยียวยาจิตใจ
    ๖ . สร้างบรรยากาศแห่งความสงบ

    ความสงบใจและการปล่อยวางสิ่งค้างคาติดยึดในใจผู้ป่วยนั้น จะเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องจำต้องมีบรรยากาศรอบตัวเอื้ออำนวยด้วย ในห้องที่พลุกพล่านด้วยผู้คนเข้าออก มีเสียงพูดคุยตลอดเวลา หรือมีเสียงเปิดปิดประตูทั้งวัน ผู้ป่วยย่อมยากที่จะประคองจิตให้เป็นกุศลและเกิดความสงบได้ กล่าวในแง่จิตใจของผู้ป่วยแล้ว สิ่งที่ญาติมิตร รวมทั้งแพทย์และพยาบาลสามารถช่วยได้เป็นอย่างน้อยก็คือ ช่วยสร้างบรรยากาศแห่งความสงบ งดเว้นการพูดคุยที่รบกวนผู้ป่วย งดการถกเถียงในหมู่ญาติพี่น้อง หรือร้องห่มร้องไห้ ซึ่งมีแต่จะเพิ่มความวิตกกังวลและความขุ่นเคืองใจแก่ผู้ป่วย เพียงแค่ญาติมิตรพยายามรักษาจิตใจของตนให้ดี ไม่เศร้าหมอง สลดหดหู่ ก็สามารถช่วยผู้ป่วยได้มาก เพราะสภาวะจิตของคนรอบตัวนั้นสามารถส่งผลต่อบรรยากาศและต่อจิตใจของผู้ป่วยได้ จิตของคนเรานั้นละเอียดอ่อน สามารถรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่นได้ แม้จะไม่พูดออกมาก็ตาม ความละเอียดอ่อนดังกล่าวมิได้เกิดขึ้นเฉพาะในยามปกติ หรือยามรู้ตัวเท่านั้น แม้กระทั่งผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะโคม่าก็อาจสัมผัสกับกระแสจิตของผู้คนรอบข้างได้ ดังจะได้กล่าวต่อไป
    นอกจากนั้นลูกหลานญาติมิตร ยังสามารถสร้างบรรยากาศแห่งความสงบได้ ด้วยการชักชวนผู้ป่วยร่วมกันทำสมาธิภาวนา อาทิ อานาปานสติ หรือการเจริญสติด้วยการกำหนดลมหายใจ หายใจเข้า นึกในใจว่าว่า “ พุท ” หายใจออก นึกในใจว่า “ โธ ” หรือนับทุกครั้งที่หายใจออกจาก ๑ ไปถึง ๑๐ แล้วเริ่มต้นใหม่
    หากกำหนดลมหายใจไม่สะดวก ก็ให้จิตจดจ่อกับการขึ้นลงของหน้าท้องขณะที่หายใจเข้าออก โดยเอามือทั้งสองข้างวางบนหน้าท้อง เมื่อหายใจเข้า ท้องป่องขึ้น ก็นึกในใจว่า “ พอง ” หายใจออก ท้องยุบ ก็นึกในใจว่า “ ยุบ ” มีผู้ป่วยมะเร็งบางคนเผชิญกับความเจ็บปวดด้วยการทำสมาธิ ให้จิตจดจ่ออยู่กับลมหายใจเข้าออกหรือการพองยุบของท้อง ปรากฏว่าแทบไม่ต้องใช้ยาแก้ปวดเลย อีกทั้งจิตยังแจ่มใส ตื่นตัว กว่าผู้ป่วยที่ใช้ยาดังกล่าวอีกด้วย การชักชวนผู้ป่วยทำวัตรสวดมนต์ร่วมกัน โดยมีการจัดห้องให้สงบและดูศักดิ์สิทธิ์ ( เช่น มีพระพุทธรูปหรือสิ่งที่น่าเคารพสักการะติดอยู่ในห้อง ) เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะสร้างบรรยากาศแห่งความสงบ และน้อมจิตของผู้ป่วยในทางที่เป็นกุศลได้ แม้แต่การเปิดเพลงบรรเลงเบา ๆ ก็มีประโยชน์ในทางจิตใจต่อผู้ป่วยด้วยเช่นกัน
    แม้ความสงบในจิตใจจะเป็นสิ่งสำคัญ แต่ในทางพุทธศาสนาถือว่าสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้าย ( และกับมนุษย์ทุกคนไม่ว่าปกติหรือเจ็บไข้ ) ก็คือ การมีปัญญาหรือความรู้ความเข้าใจแจ่มชัดในความเป็นจริงของชีวิต อันได้แก่ความไม่คงที่ ( อนิจจัง ) ไม่คงตัว ( ทุกขัง ) และไม่ใช่ตัว ( อนัตตา ) ความเป็นจริง ๓ ประการนี้หมายความว่าไม่มีอะไรสักอย่างที่เราจะยึดมั่นถือมั่นได้เลย ความตายเป็นสิ่งน่ากลัวเพราะเรายังยึดติดบางสิ่งบางอย่างอยู่ แต่เมื่อใดเราเข้าใจกระจ่างชัดว่าไม่มีอะไรที่จะติดยึดไว้ได้ ความตายก็ไม่น่ากลัว และเมื่อใดที่เราตระหนักว่าทุกสิ่งทุกอย่างย่อมแปรเปลี่ยนไป ไม่มีอะไรเที่ยงแท้ ความตายก็เป็นเรื่องธรรมดา และเมื่อใดที่เราตระหนักว่าไม่มีตัวตนที่เป็นของเราจริง ๆ ก็ไม่มี “ เรา ” ที่เป็นผู้ตาย และไม่มีใครตาย แม้แต่ความตายก็เป็นแค่การเปลี่ยนสภาพจากสิ่งหนึ่งไปเป็นอีกสิ่งหนึ่งตามเหตุปัจจัยเท่านั้น ปัญญาหรือความรู้ความเข้าใจในความเป็นจริงดังกล่าวนี้แหละที่ทำให้ความตายมิใช่เรื่องน่ากลัวหรือน่ารังเกียจผลักไส และช่วยให้สามารถเผชิญความตายได้ด้วยใจสงบ
    การช่วยเหลือที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ หลายวิธีสามารถนำมาใช้ได้แม้กระทั่งกับผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะโคม่าหรือหมดสติ ผู้ป่วยดังกล่าวแม้จะไม่มีอาการตอบสนองให้เราเห็นได้ แต่ใช่ว่าเขาจะหมดการรับรู้อย่างสิ้นเชิง มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่สามารถได้ยินหรือแม้แต่เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว รวมทั้งสัมผัสรับรู้ถึงพลังหรือกระแสจิตจากผู้ที่อยู่รอบตัว ผู้ป่วยบางคนเล่าว่าขณะที่อยู่ในภาวะโคม่าเนื่องจากครรภ์เป็นพิษ ตนสามารถได้ยินเสียงหมอและพยาบาลพูดคุยกัน บ้างก็ได้ยินเสียงสวดมนต์จากเทปที่ญาตินำมาเปิดข้างหู มีกรณีหนึ่งที่หมดสติเพราะหัวใจหยุดเต้น ถูกนำส่งโรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์ช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนด้วยการใช้ไฟฟ้ากระตุ้นหัวใจ ก่อนที่จะใส่ท่อช่วยหายใจพยาบาลผู้หนึ่งได้ถอดฟันปลอมของเขา ไม่นานเขาก็มีอาการดีขึ้น สัปดาห์ต่อมา เมื่อชายผู้นี้เห็นหน้าพยาบาลคนดังกล่าว เขาจำเธอได้ทันที ทั้ง ๆ ที่ตอนที่พยาบาลถอดฟันปลอมนั้นเขาหมดสติและจวนเจียนจะสิ้นชีวิต
    พ.ญ. อมรา มลิลาเล่าถึงผู้ป่วยคนหนึ่งซึ่งประสบอุบัติเหตุอย่างหนักและหมดสตินานเป็นอาทิตย์ ระหว่างที่นอนหมดสติอยู่ในห้องไอซียูนานเป็นอาทิตย์ เขารู้สึกเหมือนลอยเคว้งคว้าง แต่บางช่วงจะรู้สึกว่ามีมือมาแตะที่ตัวเขา พร้อมกับมีพลังส่งเข้ามา ทำให้ใจที่เคว้งคว้างเหมือนจะขาดหลุดไปนั้น กลับมารวมตัวกัน เกิดความรู้ตัวขึ้นมา สักพักความรู้ตัวนั้นก็เลือนรางไปอีก เป็นอย่างนี้ทุกวัน เขามารู้ภายหลังว่ามีพยาบาลผู้หนึ่งทุกเช้าที่ขึ้นเวร จะมาจับมือเขาแล้วแผ่เมตตาให้กำลังใจ ขอให้มีกำลังและรู้สึกตัว ในที่สุดเขาก็ฟื้นตัวกลับเป็นปกติ ทั้ง ๆ ที่หมอประเมินแต่แรกว่ามีโอกาสรอดน้อยมาก กรณีนี้เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ชี้ว่าแม้จะหมดสติแต่จิตก็สามารถสัมผัสรับรู้กระแสแห่งเมตตาจิตของผู้ที่อยู่ใกล้เคียงได้
    ด้วยเหตุนี้ลูกหลานญาติมิตรจึงไม่ควรท้อแท้หมดหวังเมื่อพบว่าผู้ป่วยได้เข้าสู่ภาวะโคม่าแล้ว ยังมีหลายอย่างที่เราสามารถทำได้ เช่น อ่านหนังสือธรรมะให้เขาฟัง พูดเชิญชวนให้เขาระลึกถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพนับถือ หรือนึกถึงสิ่งที่เป็นบุญกุศล รวมทั้งระลึกถึงความดีที่เคยบำเพ็ญ การพูดให้เขาหายกังวลกับลูกหลานหรือสิ่งที่ตนผูกพัน หรือแนะนำให้ปล่อยวางสิ่งต่าง ๆ ก็มีประโยชน์เช่นกัน ที่สำคัญก็คือการสร้างบรรยากาศแห่งความสงบ ลูกหลานญาติมิตรควรระมัดระวังคำพูดและการกระทำขณะที่อยู่ข้างเตียงผู้ป่วย ไม่ควรร้องไห้ฟูมฟาย ทะเลาะเบาะแว้ง หรือพูดเรื่องที่อาจกระทบกระเทือนใจผู้ป่วย พึงระลึกว่า อะไรที่ควรทำกับผู้ป่วยในยามเขายังรับรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ ก็ควรทำอย่างเดียวกันนั้นเมื่อเขาหมดสติ หากเคยชักชวนเขาทำวัตรสวดมนต์ หรือเปิดเทปบรรยายธรรมให้เขาฟัง ก็ขอให้ทำต่อไป
    ๗ . กล่าวคำอำลา

    สำหรับผู้ที่อยากเปิดเผยความในใจให้ผู้ป่วยรับรู้ เช่น ขอโทษ หรือกล่าวคำอำลาเขา ยังไม่สายเกินไปที่จะบอกกล่าวกับเขา มีหญิงชราผู้หนึ่งนั่งอยู่ข้างเตียงสามีด้วยความรู้สึกโศกเศร้าเสียใจมากเพราะไม่เคยบอกสามีว่าเธอรักเขาเพียงใด มาบัดนี้สามีของเธอเข้าขั้นโคม่าและใกล้ตาย เธอรู้สึกว่าสายเกินไปแล้วที่เธอจะทำอะไรได้ แต่พยาบาลให้กำลังใจเธอว่าเขายังอาจได้ยินเธอพูดแม้จะไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองใด ๆ เลยก็ตาม ดังนั้นเธอจึงขออยู่กับเขาอย่างเงียบ ๆ แล้วบอกสามีว่าเธอรักเขาอย่างสุดซึ้ง และมีความสุขที่ได้อยู่กับเขา หลังจากนั้นเธอก็กล่าวคำอำลาว่า “ ยากมากที่ฉันจะอยู่โดยไม่มีเธอ แต่ฉันไม่อยากเห็นเธอทุกข์ทรมานอีกต่อไป ฉะนั้นหากเธอจะจากไป ก็จากไปเถิด ” ทันทีที่เธอกล่าวจบ สามีของเธอก็ถอนหายใจยาวแล้วสิ้นชีวิตไปอย่างสงบ
    ขณะที่ผู้ป่วยกำลังจากไป และสัญญาณชีพอ่อนลงเป็นลำดับ หากลูกหลานญาติมิตรปรารถนาจะกล่าวคำอำลา ขอให้ตั้งสติ ระงับความโศกเศร้า จากนั้นให้กระซิบที่ข้างหู พูดถึงความรู้สึกดี ๆ ที่มีต่อเขา ชื่นชมและขอบคุณในคุณงามความดีของเขาที่ได้กระทำ พร้อมทั้งขอขมาในกรรมใด ๆ ที่ล่วงเกิน จากนั้นก็น้อมนำจิตผู้ป่วยให้เป็นกุศลยิ่งขึ้น โดยแนะนำให้เขาปล่อยวางสิ่งต่าง ๆ ทั้งหลายลงเสีย อย่าได้มีความเป็นห่วงกังวลใด ๆ อีกเลย แล้วให้ระลึกถึงพระรัตนตรัยหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เขานับถือ หากผู้ป่วยมีพื้นฐานทางด้านธรรมะ ก็ขอให้เขาปล่อยวางความสำคัญมั่นหมายในตัวตนและสังขารทั้งปวง น้อมจิตไปสู่ “ ความดับไม่เหลือ ” ตั้งจิตจดจ่อในพระนิพพาน จากนั้นก็กล่าวคำอำลา
    แม้ว่าจะได้กล่าวคำอำลาผู้ป่วยไปแล้วในขณะที่เขายังมีสติรู้ตัวอยู่ ( ดังได้กล่าวไว้ในบทก่อน ) แต่การกล่าวคำอำลาอีกครั้งก่อนที่เขาจะสิ้นลมก็ยังมีประโยชน์อยู่ ข้อที่พึงตระหนักก็คือการกล่าวคำอำลาและน้อมจิตผู้ป่วยให้มุ่งต่อสิ่งดีงามนั้นจะเป็นไปได้ดีก็ต่อเมื่อบรรยากาศรอบตัวของผู้ป่วยอยู่ในความสงบ ไม่มีการพยายามเข้าไปแทรกแซงใดๆ กับร่างกายของผู้ป่วย ในโรงพยาบาลส่วนใหญ่ หากผู้ป่วยอยู่ในห้องไอซียูและมีสัญญาณชีพอ่อนลงเจียนตาย หมอและพยาบาลมักจะพยายามช่วยชีวิตทุกวิถีทาง เช่น กระตุ้นหัวใจ หรือใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เท่าที่มี บรรยากาศจะเต็มไปด้วยความวุ่นวาย และยากที่ลูกหลานญาติมิตรจะกล่าวถ้อยคำใด ๆ กับผู้ป่วย เว้นแต่ว่าผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยแจ้งความจำนงล่วงหน้าว่าขอให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบโดยปราศจากการแทรกแซงใด ๆ
    โดยทั่วไปแพทย์และญาติผู้ป่วยมักจะคิดแต่การช่วยเหลือทางกาย โดยลืมคิดถึงการช่วยเหลือทางจิตใจ จึงมักสนับสนุนให้มีการใช้เทคโนโลยีการแพทย์ทุกอย่างเท่าที่มีเพื่อช่วยต่อลมหายใจผู้ป่วย ทั้ง ๆ ที่ในภาวะใกล้ตาย สิ่งที่ผู้ป่วยต้องการมากที่สุดได้แก่การช่วยเหลือทางจิตใจ

    ดังนั้นหากผู้ป่วยมีอาการหนักจนหมดหวังจะรักษาชีวิตไว้ได้แล้ว ญาติผู้ป่วยน่าจะคำนึงถึงคุณภาพหรือสภาวะจิตของผู้ป่วยมากกว่า ซึ่งหมายความว่า อาจต้องขอให้ระงับการกลุ้มรุมผู้ป่วย ปล่อยให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบท่ามกลางลูกหลานญาติมิตรที่ร่วมกันสร้างบรรยากาศอันเป็นกุศลสำหรับผู้ป่วยเพื่อไปสู่สุคติ จะว่าไปแล้วสถานที่ที่เอื้อให้เกิดบรรยากาศดังกล่าวอย่างดีที่สุดมักจะได้แก่บ้านของผู้ป่วยเอง
    ด้วยเหตุนี้ผู้ป่วยหลายคนจึงปรารถนาที่จะตายที่บ้านมากกว่าที่โรงพยาบาลหรือห้องไอซียู หากลูกหลานญาติมิตรมีความพร้อมที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยในทางจิตใจ การที่ผู้ป่วยจะตัดสินใจใช้ชีวิตช่วงสุดท้ายที่บ้านก็เป็นไปได้ง่ายขึ้น

    Posted in

    ลิ้งค์ไปที่โครงการเตรียมตัวตายอย่างสงบ
    http://web1.peacefuldeath.info/?q=node
     

แชร์หน้านี้

Loading...